ข่าวศูนย์ฯ (ธัมมวิโมกข์ มกราคม 2553) "เว็บวัดท่าซุง"
kittinaja - 1/1/10 at 07:53
ข้อมูลจาก.. หนังสือ "ธัมมวิโมกข์"
ฉบับ เดือน มกราคม ๒๕๕๓
"จามร" และ " วิชชุดา " - รวบรวม
ผู้ถ่ายภาพ นาย พสิษฐ์ หีบพร
วันที่ ๒๗ , ๒๘ , ๒๙ , ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ และ พระสงฆ์ ๓ รูป มี พระครูสังฆรักษ์สุรจิต, พระไพบูลย์, พระอาจินต์ เดินทางไปรับสังฆทาน และฝึกมโนมยิทธิ
ที่บ้านเลขที่ ๙ ซอยสายลม ๑ กรุงเทพ ฯ
วันที่ ๒๗ พ.ย. ฉันภัตตาหารเช้าแล้ว เวลา ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากวัดไปบ้านพล.อ.อ.อาทร โรจนวิภาต เพื่อรับสังฆทาน มีญาติโยมถวายสังฆทาน
และร่วมทำบุญหลายรายการ รวมเงินทั้งสิ้น ๒๖,๐๐๐ บาท
เวลา ๑๑.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพล เวลา ๑๒.๐๐ น. เดินทางเข้าบ้านสายลม
ตอนกลางคืน เวลา ๑ ทุ่ม ท่านพระครูปลัด อนันต์ ลงรับสังฆทาน และสนทนากับญาติโยมพุทธบริษัท เวลา ๓ ทุ่มขึ้นพัก
วันที่ ๒๘ , ๒๙ ธ.ค. มีการฝึกมโนมยิทธิ แบบครึ่งกำลัง ตั้งแต่เวลา ๑๒.๓๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น.
วันที่ ๒๘ ผู้ฝึกมโนมยิทธิขั้นต้น ๒๓๗ คน
ฝึกไปเห็นสภาวะพระนิพพานได้ ๑๗๙ คน
ผู้มาฝึกญาณ ๘ ๒๓๑ คน
ฝึกท่องเที่ยว ฯ - คน
รวมผู้มาฝึกมโนมยิทธิ ๔๖๘ คน
วันที่ ๒๙ ผู้ฝึกมโนมยิทธิขั้นต้น ๑๗๑ คน
ฝึกไปเห็นสภาวะพระนิพพานได้ ๑๓๘ คน
ผู้มาฝึกญาณ ๘ ๒๒๓ คน
ฝึกท่องเที่ยว ฯ ๒๐ คน
รวมผู้มาฝึกมโนมยิทธิ ๔๑๔ คน
รวมผู้มาฝึกมโนมยิทธิทั้ง ๒ วัน ๘๘๒ คน
งานบวชพระ (หมู่) และบวชพราหมณ์ปฏิบัติธุดงค์ ปี ๒๕๕๒
วันที่ ๖ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
งานนี้เวียนมาถึงทีไร..พระสงฆ์วัดท่าซุงและเจ้าหน้าที่เหน็ดเหนื่อยกันมาก เพราะจัดงานหลายวันติดต่อกัน
ก่อนงานก็ต้องจัดเตรียมสถานที่ทั้งพระสงฆ์ที่อยู่ธุดงค์ และฆราวาสพราหมณ์ชาย - พราหมณ์หญิง ก่อนงานทางวัดได้จัดปริวาส ๑ ครั้ง
เพื่อให้พระสงฆ์ที่อยู่ปริวาสช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่ให้อยู่ได้อย่างสะดวก ถางป่าและเก็บกิ่งไม้ โดยทางพระสายอีสานมาอยู่ปริวาส ๑๐ กว่ารูป มี
พระอาจารย์หนุน วัดพุทธโมกข์ จ.สกลนคร เป็นหัวหน้าคณะ
หลังเสร็จงานปริวานไม่กี่วัน คณะพระสงฆ์ก็มาทำความสะอาดพื้นที่ภายนอกอีก คือที่ ศาลา ๑๒ ไร่ ศาลา ๒ ไร่ ศาลา ๔ ไร่ ลานธรรม ห้องฝึกมโนมยิทธิที่ ๑๒ ไร่
ทำความสะอาดพื้นที่ในป่าศรีไพร ตัดหญ้าที่ปา ๑๐๐ ไร่ และที่ลานจอดรถ ๒๕ ไร่ ที่ลานธรรม ป่าศรีไพร
(ทำความสะอาดป่าศรีไพร)
ทุกงานที่ทางวัดมีงาน ก็ได้ พลังมด มาช่วยทุกครั้ง คือนักเรียนชาย - หญิง ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา
สามารถช่วยแบ่งเบาพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ได้มากจริง ๆ
พระสำออย พระสำเภา และคนงานวัดช่วยกันติดตั้งเต๊นท์พราหมณ์หญิงที่จะปักกลดลงป่า จำนวน ๑,๐๐๐ เต็นท์
เสร็จแล้วพระสงฆ์ช่วยกันตั้งเต๊นท์ที่ลานธรรมเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป รูปหล่อหลวงพ่อพระมหากัสสปะ รูปหล่อหลวงปู่ปาน และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ๒
องค์นี้หนักมาก พระอนุชิต จัดตั้งโต๊ะหมู่และหาของประดับตกแต่งให้สวยงาม
(โต๊ะหมู่ที่ลานธรรม)
พระสุรเชษฐ์ นำคณะติดป้ายชื่อที่ลานธรรม งานปีนี้ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสช่วยกันอย่างดี เพราะ คุณป้าเฉวียง คุณป้าเตี้ย
ปีนี้สุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนปีก่อน ๆ จึงต้องให้พัก คุณกู้และลูก ๆ อยู่คลอง ๑๔ ช่วยหาต้นไม้ประดับมาให้จำนวนมาก คณะคุณเหม่ย
เอาน้ำพุและดอกไม้ประดับมาช่วยตกแต่ง (ลานธรรม)
อาจารย์บุญเรือนกับเพื่อนๆ มาช่วยกันจัดดอกไม้และบายศรีประดิษฐ์ ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาที่ลานธรรม อย่างประณีตสวยงาม และมาตกแต่งที่อาสนสงฆ์
ศาลา ๑๒ ไร่ด้วย
พระบุญชู พระรุ่ง คุณลือชัย ช่วยติดตั้งเครื่องเสียงที่ลานธรรม
(จัดต้นไม้ที่ลานธรรม และปักธงรายรอบลานธรรม)
พระพิษณุและคณะ จัดร้านอาหาร และโต๊ะรับประทานอาหารที่ศาลา ๔ ไร่ เพื่อเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารแก่ญาติโยมที่มาร่วมงาน
พระสมมาศ จัดศาลา ๒ ไร่ เพื่อเป็นที่พักของพระอาคันตุกะที่มาร่วมอยู่ธุดงค์
พระทนงศักดิ์ และคณะ จัดห้องพักสำหรับผู้ฝึกมโนมยิทธิ ที่ศาลา ๑๒ ไร่
(สวนหย่อมหน้าห้องน้ำ)
พระสำเภา และคณะ ช่วยกันตกแต่งสวนที่หน้าห้องน้ำและหลังห้องน้ำ ข้างพระยืน ๓๐ ศอก
ทั้ง ๆ ที่มีแดดร้อน แต่ก็ทำไม่หยุด ก่อนนี้สถานที่ตรงนี้วางท่อน้ำและสิ่งของเกะกะ ไม่สวยงาม พระสำเภาและคณะก็ช่วยกันย้ายออกหมด
วันที่ ๓ - ๕ ธ.ค. นาค ๑๑๘ คน ที่จะมาทำการอุปสมบท มารับทราบระเบียบปฏิบัติในระหว่างบวช ซักซ้อมการขานนาค ที่ศาลาพระพินิจอักษร ปีนี้
หลวงพี่ชัยวัฒน์ สุขภาพไม่ค่อยดี จึงมอบหน้าที่ให้ พระเอกชัย สุธมฺมญาณสาโร ทำหน้าที่แทน พร้อมด้วยพระสงฆ์วัดท่าซุงเป็นผู้ฝึกซ้อม
แต่ท่านก็อุตส่าห์เมตตามาอบรมนาค เมื่อวันที่ ๓ ธ.ค.
พระอาคันตุกะและสามเณรที่มาร่วมอยู่ธุดงค์ ก็เดินทางมาตั้งแต่วันที่ ๓ ธ.ค. พระเจ้าหน้าที่ศาลานวราช และพระสงฆ์วัดท่าซุง ช่วยกันต้อนรับ
และลงทะเบียน ให้พักที่ศาลา ๒ ไร่ โดยมี พระสมมาศ เป็นผู้ดูแล
สำหรับผู้ที่บวชพราหมณ์ชาย - หญิง เริ่มมาสมัครตั้งแต่วันที่ ๓ ธ.ค. และให้ปักกลดลงป่าได้ในวันที่ ๓ ได้เลย
ปีนี้เจ้าหน้าที่ทหารมาช่วยดูแลให้ความสะดวกและปลอดอย่างรวดเร็ว
ในปีนี้ ท่านพระครูปลัดอนันต์ ได้มอบหมายให้พระคณะสงฆ์สงฆ์วัดท่าซุง มี พระนิติ พระสำเภา พระสุรเชษฐ์ พระสมนึก พระอวยพร พระชิดชนก พระชูชัย
พระวันชัย ร่วมกันวางแผนในการรับฆราวาสมาอยู่ธุดงค์ และมีฆราวาสชาย - หญิง มี คุณสุรสิทธิ์ และ ฆราวาส ๒๐ คน
ช่วยกันทำหน้าที่รับสมัครผู้อยู่ธุดงค์ของพราหมณ์ชาย -หญิง
มีนักเรียนโรงเรียนพระสุะรรมยานเถระวิทยาช่วยทำคอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลของผู้มาอยู่ธุดงค์ในป่าด้วย
ทางด้านที่พักศาลา ๓ ไร่ ก็จัดให้มีการลงชื่อในการเข้าพักด้วย ไม่เข้าพักง่าย ๆ เหมือนงานก่อน ๆ มี พระอวยพร และคณะ
เป็นเจ้าหน้าที่ต้อนรับอีกเช่นเดิม
ที่อาคาร ๒๕ ไร่ เป็นที่พักของพราหมณ์หญิง ไม่ลงป่าธุดงค์ มี พระนิติ พระวันชัย คุณสุรสิทธิ์และคณะ เป็นผู้ดูแลเช่นกัน
ที่ตึกขาว มี พระบุญชู และ พระวิเชียร (๒) พระสิทธิพล เป็นเจ้าหน้าที่ต้อนรับ
คุณนิรมล จันทร์คง (ต๋อย ) และเพื่อน ๆ ได้ช่วยกันเลี้ยงอาหารพระสงฆ์วัดท่าซุง พระอาคันตุกะและสามเณร ที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่
ใกล้ทางเข้าประตูด้านทิศตะวันตก เลี้ยงพระตั้งแต่วันที่ ๓ ธ.ค. ถึง ๗ ธ.ค. มีเจ้าหน้าที่ของวัด และนักเรียน ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา ช่วยจัดเลี้ยง และ
คณะศาลาเก่า ร่วมเลี้ยงด้วย ๑ วัน
สำหรับนาคพักที่ศาลา ๔ ไร่ และรับประทานอาหารที่ศาลา ๔ ไร่
พระเจ้าหน้าที่รับสมัครผู้ฝึกมโนมยิทธิขั้นต้น มี พระชาญชัย พระชูชัย พระวารีสมบูรณ์ พระธวัช ก็เตรียมสถานที่และเอกสารไว้รับสมัครผู้ฝึกที่ศาลา
๑๒ ไร่ด้านหน้า
เจ้าหน้าที่หน่วยยกทรง มี พระธวัชชัย ก็ช่วยกันเอาสิ่งของต่าง ๆ ที่สำหรับให้ญาติโยมได้ทำบุญ ไปจัดในเต็นท์ที่หน้าโบสถ์ ยกทรง
ไม่อยู่แล้ว แต่ก็มีรูปภาพยกทรง ตั้งอยู่ในที่ยกทรงเคยนั่งบอกบุญ
ที่ศาลา ๑๒ ไร่ มี พระมงคลเวทย์ และเจ้าหน้าที่ช่วยจัดสถานที่ ติดตั้งเครื่องเสียง และจัดห้องให้ผู้มาช่วยงานมาพัก จัดห้องพักพยาบาลใน ๑๒ ไร่
วันที่ ๕ ธ.ค. เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ ทำพิธีบวงสรวงเนื่องในพิธีบวชพระถือธุดงค์ ที่ด้านหน้าพระอุโบสถ
เสร็จแล้วไปอบรมนาคที่ศาลาพระพินิจอักษร
วันที่ ๖ ธ.ค. พิธีบรรพชาและอุปสมบทนาค ๑๑๘ คน
เวลา ๐๖.๐๐ น. พ่อ แม่ ญาติพี่น้องของนาค และท่านเจ้าภาพบวช ถวายพระไตรแก่นาค ๑๑๘ คน ที่ศาลาพระพินิจฯ
เวลา ๐๖.๓๐ น. วงโยธวาทิตของนักเรียน ร.ร. พระสุธรรมยานเถระวิทยา นำขบวนแห่นาค รอบกำแพงแก้วพระอุโบสถ
เวลา ๐๗.๐๐ น. เริ่มพิธีบรรพชาสามเณร ๑๑๘ องค์ที่พระอุโบสถวัดท่าซุง โดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี
เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อทำพิธีบรรพชาเสร็จแล้ว ก็ทำพิธีอุปสมบทสามเณร ชุดที่ ๑ พระคู่สวดในชุดนี้มี ๖ องค์ คือ
พระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร
พระสำออย สุธมฺมธนปาโล
พระบุญชู สุธมฺมอาภากโร
พระพระทนงศักดิ์ สุธมฺมสิริสาโร
พระสำเภา สุธมฺมปวโร
พระวิชิต สุธมฺมวิชโย
เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ เป็นประธานบวชพราหมณ์ชาย - หญิง ที่ศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระอุปัชฌาย์ , พระนวกะ , สามเณร , พระสงฆ์วัดท่าซุง และพระอาคันตุกะที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่ โดย
คณะจัดเลี้ยงคุณนิรมล จันทร์คง
เวลา ๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง ที่ศาลา ๑๒ ไร่ เป็นวันแรก ในการฝึกมโนมยิทธิของทุกปีที่ผ่านมา คนมาร่วมงานบวชธุดงค์
ก็ตั้งใจมาฝึกมโนมยิทธิด้วย ทั้งคนที่ยังฝึกไม่ได้ และคนที่ฝึกได้แล้ว และก็สนใจกันฝึกมากด้วย ในวันแรกนี้จะฝึกขั้นต้นกันมากที่สุด
ดังนั้น ทางวัดจึงต้องเชิญครูฝึกที่สอนที่บ้านสายลมและสอนที่ต่างจังหวัดมาช่วยฝึกด้วย ซึ่งครูฝึกทุกท่านก็เต็มใจมาช่วยฝึก
ครูฝึกที่เชิญมาช่วยฝึก มีรายนามดังนี้
คุณปราโมทย์ ณ ระนอง (ป้าโมทย์)
คุณเฉลียว อาณาวรรณ (ป้าเหลียว)
อาจารย์อนงค์ สินธุประมา
อาจารย์พัชรี สว่างจิตร (แป๊ว)
คุณคณิตพร บุณยเกียรติ (ฝึกญาณ ๘)
คุณประไพ สุนทราณู (แตน
คุณประภา หนูเกื้อ
คุณสุภาพร พฤกษาจันทนา (เล็ก)
คุณวนิดา อร่ามเมธาพงศา
คุณนิตยา สันติประเสริฐ (นิด)
คุณอมรรัตน์ เฉลิมชวลิต
คุณวัชรา หาญเบญจพงษ์
ดร. อัจฉรา เสาว์เฉลิม
ครูฝึกจากกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
คุณปาริชาติ แสงหิรัญ (ฝึกคนต่างประเทศ)
คุณทิพยา วิลาวัลย์ จาก จ. สระแก้ว
คุณชญาดา ชัชวาลหิรัญ จาก กรุงเทพฯ
คุณณิชนันท์ อดุลภัทร จากกรุงเทพ ฯ (มาช่วยฝึกครั้งแรกในปีนี้)
ครูฝึกที่วัดท่าซุง มีรายนามดังนี้
พระครูฝึก
ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทธฺญาโณ
พระอาจินต์ ธมฺมจิตฺโต (สรุป การฝึก)
พระธีระ สุธมฺมปริปุณฺโณ
พระสองเมือง สุธมฺมสุรปญฺโญ
พระดิเรก สุธมฺมถิรญาโณ
พระประสิทธิ์ สุธมฺมสุวีโร
พระพงศธร สุธมฺมเขมรโต
พระทนงศักดิ์ สุธมฺมสิริสาโร
พระสบสันต์ สุธมมฺอาทโร (ฝึกคนต่างประเทศ)
พระคนธี สุธมฺมคนฺโธ
พระชูชัย สุธมฺมคุณวโร
พระวิเชียร สุธมฺมวชิโร (๒)
พระพิชัย สุธมฺมสํวุฑฺโฒ
พระบัญชา สุธมฺมภทฺทปญฺโญ
พระเอกชัย สุธมฺมญาณสาโร
พระมานะ สุธมฺมมานิโต
ครูฝึกฆราวาส
คุณพรนุช คืนคงดี (ฝึกท่องเที่ยวตามภพต่าง ๆ)
คุณสุมณา ม่วงปฐม
คุณเครือพันธ์ เกษสมบูรณ์
แม่ชีสุนีย์ อินทมาน (ชีเล็ก)
คุณวิชชุดา ชัยกูล (แอน)
แม่ชีทัศนีย์ อาจบุตร
คุณงามนิจ เอกวัฒน์พานิชย์
ในเวลาเดียวกันของการฝึก พระชุดที่ ๒ ก็ทำพิธีอุปสมบทต่อไป เริ่มเวลา ๑๒.๓๐ น.
ในตอนบ่ายนี้ พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูอุปการพัฒนกิจ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ เสร็จเวลา ๑๕.๑๐ น.
พระคู่สวด คือ
พระบุญมา ปภาธโร
พระสุรเชษฐ์ สีลเตโช
พระพระครูใบฎีกาสมพงษ์ สมจิตฺโต
พระสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ
พระลำพึง สุธมฺมทีโป
พระจำเนียร สุธมฺมกาโม
สำหรับการฝึกมโนมยิทธิ วันนี้เป็นวันแรกของการฝึก ฝึกแต่ขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่มีการฝึกท่องเที่ยวตามภพต่าง ๆ และฝึกญาณ ๘ แต่ พระอาจินต์
ฝึกคนเก่าที่ได้แล้วที่ด้านหน้าพระประธาน ๑๒ ไร่
การฝึกมโนมยิทธิเสร็จเวลา ๑๔.๑๐ น. ฝึกเสร็จแล้วแยกย้ายกันกลับที่พัก
เวลา ๑๖.๐๐ น. เริ่มพิธีอุปสมบท ชุดที่ ๓ โดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ เสร็จเวลา ๑๙.๒๕
น.
พระพิกุล สุธมฺมจาโร
พระพิษณุ สุธมฺมธโร
พระอนุชิต สุธมฺมอชิโต
พระธวัชชัย สุธมฺมญาณวุฑฺโฒ
เวลา ๑๗.๐๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ นำทำวัตรเย็นที่ศาลา ๑๒ ไร่ และเจริญพระกรรมฐาน
เวลา ๑๙.๓๐ น. เริ่มพิธีอุปสมบท ชุดที่ ๔ พระอุปัชฌาย์คือ พระครูอุปการพัฒนกิจ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี เสร็จเวลา ๒๒.๑๕ น.
พระคู่สวด คือ
พระพระครูใบฎีกาสมพงษ์ สมจิตฺโต
พระสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ
พระลำพึง สุธมฺมทีโป
พระจำเนียร สุธมฺมกาโม
พระบุญชู สุธมฺมอาภากโร
พระพระทนงศักดิ์ สุธมฺมสิริสาโร
พระสำเภา สุธมฺมปวโร
พระวิชิต สุธมฺมวิชโย
จากนั้นพระใหม่ชุดที่ ๑ ชุดที่ ๒ ชุดที่ ๓ มารวมกันภายในพระอุโบสถ เพื่อฟังพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอุปการพัฒนกิจ บอกอนุศาสน์
เป็นอันว่าบวชเสร็จเรียบร้อย เวลา ๒๒.๓๕ น.
ตัวแทนพระใหม่ ถวายเครื่องไทยทานแด่พระอุปัชฌาย์ และพระคู่สวด รวม ๑๖ องค์ เรียบร้อยแล้ว พระทนงศักดิ์ นำอุทิศส่วนกุศล พระสงฆ์ให้พร
เป็นอันเสร็จการบวชโดยสมบูรณ์ เวลา ๒๓.๐๐ น. ลืมบอกไปว่า เมื่อบวชเสร็จทุกชุด คณะสาวจันท์ ช่วยกันถวายนํ้าปานะ
ที่ด้านหลังโบสถ์จนเสร็จสิ้นการบวช
วันที่ ๗ ธ.ค.
เวลา ๐๖.๑๕ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ ์- สามเณร ที่ใต้อาคาร ๑๒ ไร่
เวลา ๐๗.๒๐ น. ทั้งพระสงฆ์ สามเณร และฆราวาส พราหมณ์ชาย - หญิง ร่วมกันทำวัตรเช้าที่ศาลา ๑๒ ไร่
ทำวัตรเสร็จแล้ว พระสงฆ์ สามเณร ที่อยู่ป่าธุดงค์ จัดกลุ่ม เป็น ๔ กลุ่ม เดินเข้าแถวเพื่อไปปักกลดในป่าหลังวัด
เนื่องจากสถานที่ศาลา ๔ ไร่ เป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหาร ฉะนั้น ในปีนี้จึงจัดกลุ่มพระเข้าป่าในศาลา ๑๒ ไร่
กลุ่มที่ ๑ พระบุญมา เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีพระพี่เลี้ยง ๘ องค์
กลุ่มที่ ๒ ท่านพระครูปลัดอนันต์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีพระพี่เลี้ยง ๘ องค์
กลุ่มที่ ๓ พระใบฎีกาประทีป เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีพระพี่เลี้ยง ๗ องค์
กลุ่มที่ ๔ พระอาจินต์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีพระพี่เลี้ยง ๘ องค์
การจัดกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มได้จัดเรียงตามพรรษาและวันบวช และมีบัตรติดหน้าอกทุก ๆ องค์ พระเจ้าหน้าที่ต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนเช้าวันที่ ๗
ซึ่งเป็นงานหนักและเร่งด่วนมาก ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องกำหนดวันเวลารับสมัครและเวลาปิดรับสมัครของพระอาคันตุกะและสามเณร ในวันที่ ๕ ธ.ค.
เพื่อจะได้จัดรายชื่อได้ทัน
พระเจ้าหน้าที่ในการจัดกลุ่มและทำบัตร คือ พระบุญมา พระวิชิต และคณะ ช่วยกันทำที่สำนักงานธัมมวิโมกข์ อยู่หลังโบสถ์
เวลา ๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์ สามเณร ที่เข้าไปปักกลดในป่าธุดงค์ ออกมาฉันภัตตาหารเพล ที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง วันนี้มีการฝึกท่องเที่ยว ฯ และญาณ ๘ แล้ว ฝึกท่องเที่ยว โดย คุณพรนุช เป็นผู้ฝึก
ฝึกที่ศาลา ๒ ไร่ ด้านหน้าพระประธาน
ฝึกญาณ ๘ โดย คุณคณิตพร ฝึกที่ศาลา ๒ ไร่ ด้านหลังพระประธาน
สรุปการฝึกท่องเที่ยวและญาณ ๘ โดย พระอาจินต์ ที่ศาลา ๑๒ ไร่ ด้านหน้าพระประธาน ฝึกเสร็จเวลา ๑๔.๑๐ น.
เวลา ๑๖.๐๐ น. พระสงฆ์ สามเณร และฆราวาส พราหมณ์ชาย - หญิง ร่วมกันทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน ที่ศาลา ๑๒ ไร่
เปิดปฐมนิเทศ
เวลา ๑๗.๔๕ น. เปิด ปฐมนิเทศ โดยลำดับแรก พระบุญชู สุธมฺมอาภากโร กล่าวอารัมภบทเปิดงานก่อน ได้บอกถึงการเตรียมงานในการจัดงานธุดงค์
ปีนี้ได้รับความช่วยเหลือจากพระอาคันตุกะที่มาจากต่างวัดมาก จากนั้นได้อาราธนา ท่านพระครูปลัดอนันต์ กล่าวเปิด
ปฐมนิเทศในการจัดงานธุดงค์ปีนี้ ท่านบอกว่า
"ขอบคุณและอนุโมทนากับพระสงฆ์และญาติโยมที่ได้มาร่วมปฏิบัติธุดงค์เป็นอันมาก เมื่อได้สมาทานธุดงค์แล้วขอให้สร้างกำลังใจให้เข้มแข็งและกล้าหาญ
เพื่อทำความดีให้บังเกิดแก่เรา อย่าหวั่นไหว การอยู่ธุดงค์ก็เพื่อความมักน้อยและสันโดษ งานธุดงค์ทุกปี เรามี ทหาร มาอยู่ช่วยดูแลด้วย
เพื่อระวังเหตุร้ายที่จะเกิดแก่วัด เพื่อให้เกิดความอบอุ่นใจแก่ท่านทั้งหลาย.."
ท่านพระครูปลัดอนันต์พูดจบแล้ว พระบุญชู ได้แจ้งยอดผู้มาอยู่ธุดงค์ในปีนี้ให้ทราบ
พระสงฆ์วัดท่าซุง ( พระพี่เลี้ยง ) ๓๑ องค์
พระอาคันตุกะและสามเณรมาร่วมอยู่ธุดงค์ ๒๕๔ องค์
พระนวกะ ๑๑๘ องค์
สามเณร (เดินทางมาจากต่างวัด) ๔๐ องค์
รวมทั้งสิ้น ๔๔๓ องค์
(ในจำนวนนี้มีพระสงฆ์เดินทางมาอยู่ธุดงค์ จากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ๒ รูป พระสงฆ์จากประเทศบังคลาเทศ ๒ รูป และสามเณรจากประเทศบังคลาเทศ ๑๒ รูป
)
ฆราวาส
พราหมณ์ชายที่อยู่ธุดงค์ในป่า ๒๘๐ คน
พราหมณ์หญิงที่อยู่ธุดงค์ในป่า ๑,๐๒๔ คน
พราหมณ์ชายที่อยู่ศาลา ๔ ไร่ ๑๗๘ คน
พราหมณ์หญิงที่อยู่อาคาร ๒๕ ไร่ ๑,๒๓๖ คน
รวม ๒,๗๑๘ คน
(ทั้งนี้ไม่รวมผู้ที่พักที่อาคารธรรมสถิตย์ ข้างโบสถ์ ที่ศาลา ๓ ไร่ ที่ตึกขาว ที่ห้องพักห้องแถว ๒ ชั้น )
และปีนี้มีผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเหมือนเช่นทุกปี มี
อังกฤษ ๓ คน เยอรมัน ๑๔ คน
มาเลเซีย ๒ คน ออสเตรเลีย ๑ คน
บาห์เรน ๑ คน ฮ่องกง ๑ คน
อเมริกา ๕ คน แคนาดา ๑ คน
เดนมาร์ค ๑ คน สวีเดน ๒ คน
สวิสเซอร์แลนด์ ๖ คน ลาว ๑ คน
จีน ๒ คน
รวม ๔๐ คน ( ยอดเมื่อวันที่ ๗ ธ.ค. )
จากนั้น พระบุญชูได้อาราธนา พระอาจินต์ ธมฺมจิตฺโต ชี้แจงเรื่องระเบียบวินัย และสมาทานธุดงค์
พระอาจินต์ กล่าวว่า ที่ต้องมีระเบียบวินัย ก็เพื่อความเรียบร้อยแก่การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใหญ่ สังคมใดไม่มีระเบียบวินัย
สังคมนั้นก็ดูไม่เรียบร้อย และจะมีความวุ่นวาย เพราะทำอะไรๆ ก็ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ขอให้ดูตัวอย่างเมื่อเช้านี้พระสงฆ์ - สามเณร เดินเข้าป่า จัดแถว
เดินเข้าเรียงกันตามลำดับ และก็ไม่คุยกัน นี่คือตัวอย่างความมีระเบียบเป็นรูปธรรม
ระเบียบนั้นคือการปฏิบัติ ผู้ที่ออกระเบียบก็เพื่อความเรียบร้อย ความสงบ ความปลอดภัย กับสังคม ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ปฏิบัติตาม
ผู้ที่ออกระเบียบก็จะมีบทลงโทษไว้ หนัก-เบาแล้วแต่กรณี สำหรับการลงโทษ จะเริ่มต้นด้วยการสวดอิติปิ โส ๑๐ จบ ล้างห้องน้ำ ๑๐ ห้อง ถ้าผิดซ้ำครั้งที่ ๒
เพิ่มเป็น ๒๐ จบ ผิดครั้งที่ ๓ เพิ่มเป็น ๓๐ จบ
พระอาจินต์ ได้ชี้แจงระเบียบปฏิบัติในระหว่างที่อยู่ธุดงค์ เป็นข้อ ๆ โดยละเอียด เพื่อรับรู้ร่วมกันทั้งหมดในที่ประชุมนี้
ทุกคนนั่งฟังด้วยความสงบ
เมื่อชี้แจงเรื่องระเบียบเสร็จแล้วจึงสมาทานธุดงค์ แต่ก่อนสมาทานธุดงค์ พระอาจินต์ ได้ ชี้แจงให้พระใหม่
และญาติโยมใหม่ที่ไม่เคยมาอยู่ธุดงค์ให้ทราบความหมายของธุดงค์แต่ละข้อ ทั้ง ๑๓ ข้อ แต่โดยย่อ และยังได้ยกคำพูดของ หลวงพ่อที่คัดลอกลงหนังสือ
"หลักการปฏิบัติธุดงค์" ด้วย
"การปฏิบัติธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อก็ดีอยู่ แต่จะให้ดีกว่านี้ต้องพิจารณาด้วย คือ ที่เราพอใจผ้าผืนเดียวนี้ เป็นการตัดความรุ่มร่าม
ตัดความละโมบในเครื่องอาภรณ์ เครื่องประดับ หรือเครื่องแต่งตัว และก็ต้องพิจารณาด้วยว่า การที่จะห่มผ้า การที่จะนุ่งผ้าใส่เสื้อ
เราไม่ต้องการความสวยสดงดงามของเสื้อผ้า เราห่มผ้า เราใส่เสื้อ เรานุ่งผ้า เพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน หรือเหลือบยุงเท่านั้น ไม่ต้องการความสวยสดงดงาม
ไม่ต้องการความเรียบร้อยใด ๆ ทั้งหมด เพราะเราคิดไว้เสมอว่า ชีวิตของเรามีความตายในที่สุด เราจะแต่งให้มันดียังไง มันก็แก่ไปทุกวัน ร่างกายเป็น
โรคนิทธัง เป็นรังของโรค มันป่วยทุกวัน แล้วในที่สุดมันก็ตาย"
พระอาจินต์ชี้แจงเรื่องระเบียบ และธุดงค์ เสร็จเวลา ๑๙.๑๐ น. จากนั้นท่านพระครูปลัดอนันต์ บอกอีกว่า ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ ก็ปฏิบัติตามกำลังของเรา
เช่นการถือธุดงค์ข้อนั่งเป็นวัตร เวลามาทำวัตรสวดมนต์ก็สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ดี ขอให้ ภาวนา ให้มาก ๆ เดินไปไหนมาไหนก็ อย่าทิ้งคำภาวนา
เวลา ๑๙.๓๕ น. พระอาจินต์นำ สมาทานธุดงค์ เสร็จเวลา ๑๙.๔๕ น. กราบพระ เสร็จแล้วแยกย้ายกลับที่พัก
วันที่ ๘ ธ.ค. เวลา ๐๔.๐๐ น. เปิดเสียงตามสาย พระสงฆ์และพราหมณ์ชาย-หญิง ตื่นนอน ก่อนเวลาเจริญพระกรรมฐาน เป็นช่วงเวลาว่างอยู่ครึ่งชั่วโมง
พระหัวหน้ากลุ่ม ๑ คือ พระบุญมา มอบหมายให้พระพี่เลี้ยงกลุ่ม ๑ นำเรื่องเบา ๆ ที่มีสาระมากล่าวให้พระสงฆ์และพราหมณ์ชาย-หญิงทราบ
(ปีนี้เป็นปีที่ ๒ ท่านพระครูปลัดอนันต์ มีความประสงค์ให้พระพี่เลี้ยงของแต่ละกลุ่มมาพูดในตอนเช้ามืด กลุ่มละวัน เปลี่ยนกันไป)
เวลา ๐๕.๐๐ น. ได้เวลาเจริญพระกรรมฐาน พระพี่เลี้ยงกลุ่มที่ ๑ ๓ องค์จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาที่หน้าพระประธาน (สมเด็จองค์ปฐมจำลอง) ,พระมหากัสสปะ ,
หลวงปู่ หลวงพ่อ
เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ควบคุมเสียงที่ลานธรรม พระบุญชู พระรุ่ง คุณลือชัย เจ้าหน้าที่ควบคุมเสียงที่ลานธรรม เปิดเทปบวงสรวงและชุมนุมเทวดา
บูชาพระรัตนตรัย สมาทานพระกรรมฐาน และเปิดเทปคำสอนโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ แล้วนั่งสมาธิ ๒๐ นาที
ฟังเสียงธรรมะ โดยหลวงพ่อที่ลานธรรม คนชอบมาก เหมาะกับบรรยากาศที่เงียบสงบ ปีนี้อากาศดีจริง ๆ
เวลา ๐๖.๐๐ น. เลิกกรรมฐาน อุทิศส่วนกุศล พระสงฆ์เดินไปเข้าแถวเตรียมออกบิณฑบาตที่ด้านหน้าปราสาททองคำ
๐๖.๑๕ น. พระสงฆ์ออกบิณฑบาต โดยแบ่งเป็น ๔ แถว ตามลำดับอาวุโส ญาติโยมรอใส่บาตร ยืนบ้าง นั่งบ้าง ทั้ง ๔ แถว
วันนี้คนใส่บาตรมาก ใส่บาตรเสร็จทุกแถว เวลา ๐๗.๐๕ น. พระสงฆ์เดินผ่านศาลา ๒ ไร่ ไปศาลา ๑๒ ไร่ นำบาตรไปวางบนอาสนสงฆ์ ปัจจัยที่ญาติโยมใส่ย่าม
เทออกใส่ในตู้เป็นส่วนกลาง
ญาติโยมบางส่วนช่วยกันจัดอาหารที่เจ้าหน้าที่ใส่รถมาจาก ๒๕ ไร่ พระเจ้าหน้าที่จัดอาหาร มี พระพิษณุ (๑) พระพงศธร พระภูรินทร์ พระเสนีย์ พระเชวง
ช่วยกันจัดอาหารขึ้นโต๊ะ
เวลา ๐๗.๓๙ น. พระสงฆ์ สามเณร และพราหมณ์ชาย - หญิง ร่วมกันทำวัตรเช้า ที่ศาลา ๑๒ ไร่ ท่านพระครูปลัดอนันต์ เป็นองค์นำ
เวลา ๐๘.๐๐ น. ทำวัตรเสร็จแล้ว พระสงฆ์ สามเณร นำบาตรไปรับภัตตาหาร ซึ่งพระเจ้าหน้า และญาติโยม ช่วยกันจัดไว้บนโต๊ะอาหารอย่างเรียบร้อย แบ่งเป็น ๓ โต๊ะ
จัดได้ ๖ แถว
อาหารที่ญาติโยมใส่บาตรวันนี้เยอะมาก ดูแล้วตาลายไปหมด ส่วนใหญ่พระก็ฉันกันไม่มาก อาหารส่วนที่เหลือก็ให้ญาติโยมที่มาปฏิบัติธุดงค์รับประทานกัน
ในระหว่างที่รอพระสงฆ์ - สามเณรตักอาหาร ท่านพระครูปลัดอนันต์มีเวลาว่าง ญาติโยมที่มีความจำเป็นต้องกลับก่อน ก็มาขอลาศีล และลาสมาทานธุดงค์
เวลา ๐๘.๓๐ น. พระสงฆ์ได้รับอาหารครบทุกองค์แล้ว นั่งพร้อมแล้ว ให้พร เสียงกระหึ่มก้องศาลา ๑๒ ไร่ และเริ่มฉันอาหาร การฉันอาหารของพระสงฆ์ - สามเณร
ก็สำรวมเรียบร้อย เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก
ในระหว่างพระสงฆ์ฉันอาหาร ญาติโยมก็ไปตักอาหารรับประทาน บางคนไม่รีบทานอาหาร ก็ช่วยม้วนเสื่อ และกวาดพื้นในศาลา ๑๒ ไร่ เพื่อได้บุญอีกส่วนหนึ่ง คือ
ไวยาวัจจมัย
เมื่อพระสงฆ์แลัสามเณรฉันอาหารเสร็จ ก็เอาบาตรไปล้างที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่ พระสงฆ์ที่เป็นเวรทำความสะอาดก็อยู่ทำความสะอาดต่อ (วันนี้เป็นเวรกลุ่มที่
๑) เป็นเวรแรก ทำความสะอาดเสร็จแล้วจึงกลับที่พัก แต่บางองค์ตื่นไม่ทันมาเจริญกรรมฐานในเวลาตีห้า ก็โดนทำโทษ โดย สวดอิติปิ โส ๑๐ จบ
ญาติโยมที่ตักอาหารมารับประทานที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่ นั่งรับประทานกันด้วยความสงบ เรียบร้อย
จากนั้นก็กลับที่พัก
เวลา ๑๑.๐๐ น. พระสงฆ์และสามเณรที่อยู่ในป่า ออกมาฉันน้ำปานะ ที่ใต้อาคาร ๑๒ ไร่
kittinaja - 1/1/10 at 08:10
เวลา ๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง ที่ศาลา ๑๒ ไร่ ผู้ฝึกขั้นต้นฝึกกันครบทุกห้อง มี ๓๘ ห้อง เลิกฝึกเวลา ๑๔.๑๐ น.
แล้วกลับไปที่พักของตัวเอง แต่บางส่วนก็พักที่ศาลา ๑๒ ไร่ เพราะที่กลดมันร้อน พระอาคันตุกะบางองค์ก็เดินเข้าป่า บางองค์ก็พักที่ศาลา ๒ ไร่
เวลา ๑๗.๐๐ น. พระสงฆ์และสามเณรที่อยู่ในป่า ออกมาฉันน้ำปานะ ที่ใต้อาคาร ๑๒ ไร่
เวลา ๑๗.๓๐ น. ร่วมกันทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐานที่ศาลา ๑๒ ไร่ เลิกเวลา ๑๙.๑๕ น. แยกย้ายกันกลับเข้าที่พัก
วันที่ ๙ - ๑๑ ธ.ค. ปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกับเมื่อวาน แต่ตอนพระไปรับอาหาร ก็มีญาติโยมบางคนขอลากลับบ้านก่อน ท่านพระครูปลัดอนันต์
ก็ทำพิธีลาธุดงค์ให้
ในวันที่ ๑๑ ธ.ค นี้ ก็เป็นวันสุดท้ายของการฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง ก่อนทำวัตรเย็น พระอาจินต์ ได้แจ้งผลการฝึกมโนมยิทธิให้ท่านพระครูปลัดอนันต์
และญาติโยมทราบ
สรุปยอด ผู้ฝึกใหม่ตั้งแต่วันที่ ๖ - ๑๑ ธ.ค. มีผู้ฝึกใหม่ทั้งสิ้น ๒,๑๗๑ คน
สามารถฝึกไปพระจุฬามณีได้ ๖๘ คน
สามารถไปพระนิพพานได้ ๑,๖๔๗ คน
ฝึกท่องเที่ยวตามภพต่าง ๆ ๒,๖๗๙ คน
ฝึกญาณ ๘ ๙๙๗ คน
ฝึกไม่ได้ ๔๕๖ คน (แต่ถ้าอยู่หลายวันได้ฝึกต่ออีกก็คงฝึกได้แล้ว
ซึ่งยอดก็จะรวมกับคนฝึกได้)
หลังจากเจริญพระกรรมฐานเสร็จแล้ว ท่านพระครูปลัดอนันต์ ให้ พระอาจินต์ หัวหน้าผู้ฝึกมโนมยิทธิในงานนี้
ได้แนะนำญาติโยมเกี่ยวกับการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง เพื่อให้ญาติโยมเข้าใจ และเตรียมตัวเตรียมใจซักซ้อมในการฝึกวันที่ ๑๒
วันที่ ๑๒ ธ.ค. ปฏิบัติภารกิจในตอนเช้าเช่นเดียวกับเมื่อวาน แต่รู้สึกว่าคนมาใส่บาตรพระสงฆ์กันเยอะ
เพราะเป็นวันแรกของการฝึกมโนแบบเต็มกำลังและเป็นวันทำพิธีเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพาน ๒ องค์ คนตั้งใจใส่บาตรที่เดินทางกันมาตั้งแต่เช้ามืด ก่อน ๖
โมงเช้า แต่ว่าเข้าประตูไป ๒๕ ไร่ไม่ได้ เพราะเป็นช่วงที่นั่งปฏิบัติพระกรรมฐานกัน ตำรวจทหารก็จัดจราจรเข้าไปหลบรถ
ที่จอดรถโรงงานขนมปังบ้างเต็มแล้วก็รออยู่ในรถบ้าง ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ฝึกมโนแบบเต็มกำลัง
เวลา ๑๑.๓๐ น. พระอาจินต์ แนะนำเรื่องการเตรียมตัวฝึก และการใช้กำลังใจในขณะฝึก มโนมยิทธิแบบเต็มกำลังว่าควรทำกำลังใจอย่างไร
ในระหว่างที่แนะนำ ครูผู้ช่วยฝึกก็นำ กระดาษคาถานะโมพุทธายะ ไปแจกให้แก่ผู้ฝึก ทุกคน เรียบร้อยแล้วก็กลับมานั่งที่ด้านหน้า พระประธาน
เวลา ๑๑.๕๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ และพระครูสังฆรักษ์สุรจิต ทำพิธีบวงสรวง เนื่องในการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง และทำนํ้ามนต์
เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ควบคุมเสียงศาลา ๑๒ ไร่ คือ พระมงคลเวทย์ และ คุณปรีชา พึ่งแสง เปิดเทปบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐาน
จบแล้วเปิดเทปคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลังโดย พระเดชพระคุณหลวงพ่อ จากนั้นให้ผู้ฝึกนำ กระดาษคาถานะโมพุทธายะ ปิดหน้า พนมมือ
ภาวนาว่า นะมะพะธะ
จากนั้น พระสงฆ์ ๘ รูป เข้าไปพรมนํ้ามนต์บวงสรวงให้ผู้ฝึกทุกคน ครูผู้ช่วยฝึก (คือคณะครูฝึกมโนมยิทธิแบบครึ่งกำลัง) ทำหน้าที่ครูผู้ช่วยฝึก
เวลา ๑๓.๑๐ น. หมดเวลาการฝึก พระสงฆ์ประพรมนํ้ามนต์บวงสรวงให้อีกครั้งหนึ่ง พระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่า เพื่อกันเฝือ
ครูผู้ช่วยฝึก ช่วยเดินเก็บกระดาษคาถานะโมพุทธายะกลับคืนมา
ผู้ฝึกในวันนี้ นับจากกระดาษคาถานะโมพุทธายะที่แจกไป จำนวน ๗,๕๐๐ คน โดย คุณสมจิตรและเพื่อน ๆ เป็นผู้นับยอดจากกระดาษคาถานะโมพุทธายะที่ใช้ไป
เมื่อเรียบร้อยแล้ว อุทิศส่วนกุศล กราบพระ เป็นเสร็จพิธีการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง
เวลา ๑๓.๔๕ น. เปิดโอกาสให้ถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ที่รับสังฆทาน มี ท่านพระครูปลัดอนันต์ พระครูสังฆรักษ์สุรจิต พระใบฎกาประทีป และ
พระอาจินต์
คนมาถวายสังฆทานกันมากจริง ๆ โดยเฉพาะสังฆทานชุดละ ๒,๐๐๐ บาท เข้าแถวกันยาวเหยียด เห็นแล้วชื่นใจจริง ๆ เลิกรับสังฆทาน เวลา ๑๕.๓๐ น.
แล้วแยกย้ายกันกลับที่พัก
เวลา ๑๖.๓๐ น. พระสงฆ์ สามเณรที่อยู่ในป่าออกมาฉันน้ำปานะ ที่ใต้อาคารศาลา ๑๒ ไร่
เวลา ๑๗.๐๐ น. ร่วมกันทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐานที่ศาลา ๑๒ ไร่ เลิกเวลา ๑๘.๑๕ น. พิธีหล่อสมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพาน
เวลา ๑๘.๓๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ นำพระสงฆ์และพราหมณ์ชาย - หญิง ไปหล่อสมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพานที่หน้าปราสาททองคำ เจ้าภาพหล่อพระ ๒
พระองค์นี้ คือ คณะเวปไซด์พลังจิต ๑ องค์ และ คณะคุณวันทนา - คุณสุดาลักษ์ จากอังกฤษ ๑ องค์ คณะทั้งสองให้เงินไว้นานแล้ว
เพิ่งมีโอกาสได้หล่อวันนี้
คณะนางฟ้า มี คุณสุดา (สุ) เป็นหัวหน้าและเพื่อน ๆ ช่วยกัยจำหน่ายแผ่นทองเหลืองให้แก่ผู้ที่มาร่วมพิธีเททองในคืนนี้ด้วย
จัดตั้งโต๊ะจำหน่ายแผ่นทองเหลืองที่ใกล้ปะรำพิธีเททอง ต้องขอโมทนากับคณะนางฟ้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยที่ให้ญาติโยมได้บุญในการเททอง
เงินที่เหลือก็ใช้ในการก่อสร้างวิหารทาน ธรรมทาน ซ่อมพระพุทธรูปที่วัดท่าซุงต่อไป แต่ถ้าหากว่าไม่ได้รับความสะดวกในการจัดสถานที่ให้ ก็ขออภัยมา ณ
โอกาสนี้ด้วย
พระสงฆ์ที่ช่วยกันจัดปะรำพิธีเททอง คือพระอนุชิต และเจ้าหน้าที่ของ ๐๗ พระสงฆ์ที่เป็นธุระจัดการในการทำพิธีเททอง มี พระสมนึก พระบุญชู
พระพิษณุ พระอวยพร พระสุรเชษฐ์
เมื่อ ท่านพระครูปลัดอนันต์ มาถึงปราสาททองคำ ได้นั่งรับแผ่นทองและปัจจัยจากญาติโยมอยู่ครู่หนึ่ง แล้วให้พระครูสมุห์พิชิต (หลวงพี่โอ) รับแทน
ท่านพระครูปลัดอนันต์เดินไปใกล้ปะรำพิธี เททอง เพื่อทำพิธีบวงสรวง ประกาศให้คณะเวปไซด์พลังจิต มาจุดธูปเทียนที่โต๊ะบายศรีชุดเล็ก
ท่านพระครูปลัดอนันต์จุดที่โต๊ะบวงสรวงชุดใหญ่ เริ่มบวงสรวง เวลา ๑๙. ๓๐ น.
พิธีบวงสรวงเสร็จแล้ว ได้ให้คณะเวปไซด์พลังจิต และคุณป้าวันทนา - คุณสุดาลักษ์ (ก๊อง) เอาทองคำ (ที่ญาติโยมถวายมา) ไปใส่ที่เบ้าหลอมทอง คนละถุงใหญ่
เมื่อได้ที่แล้ว ช่างเททองก็เทนํ้าทองลงเบ้าเท แล้วไปเทที่หุ่น พระสงฆ์ชยันโต และสวดอิติปิ โส ด้วย เสียงดังกระหึ่ม
เป็นที่ปลาบปลื้มใจแก่ผู้ได้มีโอกาสร่วมงานเททองหล่อพระในครั้งนี้
เมื่อเทองค์ที่ ๑ (ท่อนบน) เสร็จ ก็มาเท (ท่อนบน) องค์ที่ ๒ และเท (ท่อนล่าง) องค์ที่ ๑ องค์ที่ ๒ ตามลำดับ
ท่านพระครูปลัดอนันต์ เมตตาให้พระอาจินต์ เป็นตัวแทนทุกคน เท (ท่อนล่าง) องค์ที่ ๒ ด้วย
เสร็จพิธีเททองเวลา ๒๐.๓๐ น. พระสงฆ์ที่อยู่ป่าธุดงค์ไปฉันนํ้าปานะที่ใต้อาคาร ๑๒ ไร่ ญาติโยมที่ไม่อยู่ธุดงค์ บางท่านมีธุระก็เดินทางกลับ
บางท่านอยู่ต่อเพื่อฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลังวัที่ ๑๓
วันที่ ๑๓ ปฏิบัติภารกิจเช่นเมื่อวานนี้ ตอนเช้าญาติโยมมาใส่บาตรกันหนาแน่นเช่นเดิม เพราะเป็นวันอาทิตย์เป็นวันหยุดมีผู้เดินทางมาฝึกมโน
มยิทธิเต็มกำลังตั้งแต่วันเสาร์ และอยู่ค้างคืนเพื่อฝึกวันมโนมยิทธิเต็มกำลังในวันอาทิตย์ อีก ๑ วัน
วันที่ ๑๓ ฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง เป็นวันที่สอง วันนี้มีผู้มาฝึก จำนวน ๗,๓๐๐ คน พระอาจินต์ ให้คำแนะนำแต่เพียงเล็กน้อย
เวลา ๑๒.๐๐ น. คุณปรีชา พึ่งแสง เจ้าหน้าที่โสตทัศน์วัดท่าซุง เปิดเทปบวงสรวงและชุมนุมเทวดา สมาทานศีล ๘ สมาทานพระกรรมฐาน
และเปิดเทปคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ผู้มาฝึกตั้งใจฟัง จบแล้ว นั่งตามสบาย เอากระดาษคาถา นะโมพุทธายะ ปิดหน้า
พนมมือและภาวนาว่า นะมะพะธะ พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์
ฝึกเสร็จแล้ว ถวายสังฆทาน คนถวายเยอะอีกเช่นเดิม โดยเฉพาะสังฆทานชุดละ ๒,๐๐๐ บาท เข้าแถวกันยาวเหยียด ขออนุโมทนา สาธุ..
เวลา ๑๕.๐๐ น. เลิกถวายสังฆทาน
ในตอนเย็น เวลา ๑๖.๐๐ น. ทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน วันนี้กำหนดเวลาให้เร็วกว่าเดิม เพราะจะไปขอขมาสถานที่สำคัญในวัดต่อ เลิกกรรมฐานเวลา ๑๘.๐๐ น.
พระนวกะทั้ง ๑๑๘ องค์ มาขอขมาท่านพระครูปลัดอนันต์ และพระพี่เลี้ยงที่ด้านหน้าอาสนสงฆ์
ท่านพระครูปลัดอนันต์ให้โอวาทแก่พระนวกะ
เสร็จแล้วจึงเดินออกจากศาลา ๑๒ ไร่ ไปขอขมาสถานที่สำคัญในวัดท่าซุง มีทั้งหมด ๑๖ แห่ง แต่คืนวันนี้ไปขอขมา ๑๐ แห่งก่อน
จุดที่ ๑ พระประธานในพระอุโบสถ
จุดที่ ๒ หลวงพ่อพระสิวลี
จุดที่ ๓ หลวงพ่อขนมจีน
จุดที่ ๔ พระประธานที่ศาลาจตุรมุข
จุดที่ ๕ หลวงพ่อ ๕ พระองค์
จุดที่ ๖ พระยืน ๓๐ ศอก
จุดที่ ๗ เจดีย์พุดตาล
จุดที่ ๘ สมเด็จองค์ปฐม
จุดที่ ๙ พระยืน ๘ ศอก
จุดที่ ๑๐ พระศรีอาริยเมตไตรย
วันนี้ขอขมาเพียง ๑๐ จุด เพื่อไม่ให้พรุ่งนี้ต้องเดินไกลเกินไปและเหนื่อยเกินไป เสร็จเวลา ๒๐.๐๕ น. แล้วแยกย้ายกันกลับที่พัก
พระสงฆ์ไปฉันนํ้าปานะที่ใต้อาคาร ๑๒ ไร่
ปีนี้ไม่ปล่อยเวลาให้เป็นอิสระ เพราะการ ขอขมาเลิกเร็ว เวลา ๒๑.๐๐ น. ฟังเสียงตามสาย เวลา ๒๑.๓๐ น. เข้านอน ก่อนนอนผู้เข้าธุดงค์ในป่าต้องดับเทียน
ถ้าไม่ดับมีโทษ
วันที่ ๑๕ ธ.ค. ปฏิบัติภารกิจตามปกติ ผู้อยู่ธุดงค์บางท่านมีความจำเป็นต้องกลับก่อน ก็เหลือน้อยลง แต่ก็ยังใส่บาตรเป็นปกติ
วันนี้เสร็จเร็วกว่าเมื่อวาน
ท่านพระครูปลัดอนันต์ แจ้งให้พระสงฆ์-สามเณร และญาติโยมให้ทราบว่า ทางเจ้าหน้าที่ที่ดูแลคนเจ็บป่วยที่
ตึกขาว ได้ส่งรายงานผู้เจ็บป่วยในระหว่างที่อยู่ธุดงค์ มีจำนวนดังนี้
จำนวนผู้เจ็บป่วยทั้งหมด [/color]๔๐๗[/color] ราย แบ่งเป็น
พระภิกษุ-สามเณร ๓๔ ราย
แม่ชี ๒๔ ราย
พราหมณ์ชาย ๗๕ ราย
พราหมณ์หญิง ๒๗๒ ราย
ในจำนวนนี้นำส่งโรงพยาบาล ๗ ราย
การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยได้รับความเมตตาจากทางโรงพยาบาลจังหวัดอุทัยธานีและนายแพทย์ ๓ ท่าน คือ
นายแพทย์วิสุทธิ์ หิรัญญูปกรณ์
นายแพทย์กิตติศักดิ์
นายแพทย์โสภณ อัศวพลังกูล
นายแพทย์จารุภัทร์
แพทน์หญิงกิรดา ถิรวัฒนกุล
แพทย์หญิงนริศรา แสงปัดสา
พระสบสันต์ สุธมฺมอาทโร
ทพญ. รสวันต์ อัศวพลังกูล
พล.ท. นพ. ศุภวิทย์ มุตตามะระ
และพยาบาลจากโรงพยาบาลพระมงกุฏ และเจ้าหน้าที่ ๘ ท่าน คือ
พ.อ. หญิง อุไร สืบหล้า
คุณรัชนี บุญเสนอ
คุณบุญเรือน มากพึ่งพร
พ.ท. หญิง รังสินี พูลเพิ่ม
พ.ท. หญิง สิริมาศ มุตตามะระ
คุณสารภี แสงปัดสา
คุณปรีดา ถิรวัฒนกุล
คุณปิยนาถ ทิพย์มงคลชัย
ในปีนี้ได้จัดหน่วยปฐมพยาบาลไว้ที่ศาลา ๑๒ ไร่ด้วย โดยมี คุณรัชนี กับ คุณณิชกานต์ จากศูนย์ปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (โคราช)
ช่วยปฐมพยาบาลขั้นต้น ทำให้คนป่วยที่ตึกขาวไม่มากเหมือนปีก่อน ๆ
ในการป่วยหนักและฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ ของวัด คือ คุณพิสันต์
ได้ติดต่อประสานงานกับคณะแพทย์ที่ตึกขาวและช่วยนำส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก (คณะแพทย์ที่ตึกขาวบอกชื่นชมมา) งานนี้คุณพิสันต์
ก็ป่วยแทบแย่เหมือนกันแต่ก็ทำงานได้จบเสร็จงาน
เวลา ๑๗.๑๕ น. ร่วมกันทำวัตรเช้า เสร็จก็ฉันภัตตาหารเช้า
เวลา ๐๘.๕๕ น. ฉันเสร็จไปล้างบาตร พระนวกะเดินไปเอาชุดเสื้อกับกางเกงที่ศาลา ๔ ไร่ จะใช้ใส่ตอนลาสิกขา
เวลา ๐๙.๓๐ น. พระอาจินต์ นำขอขมาพระประธาน ๑๒ ไร่ และ ลาสมาทานธุดงค์
เวลา ๐๙.๔๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ ได้มอบหนังสือประวัติครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเคารพนับถือ ปฏิทินรูปหลวงพ่อพระยืน ๓๐ ศอก
(หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา) แผ่น ดี.วี.ดี. บันทึกภาพงานธุดงค์วัดท่าซุง ปี ๒๕๕๒ ผ้าปูอาสนะ ถวายพระอาคันตุกะและสามเณรที่มาอยู่ธุดงค์ จำนวน ๒๘๔ รูป
และถวายปัจจัยองค์ละ ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๘๔,๐๐๐ บาท เพื่อใช้เป็นค่ายานพาหนะเดินทางกลับ
เรียบร้อยแล้วพระสงฆ์ - สามเณรไปเข้าแถวในศาลา ๑๒ ไร่ ใกล้ประตูทางออกทิศตะวันตก เพื่อไปขอขมาสถานที่สำคัญในวัด อีก ๖ แห่ง คือ พระองค์ที่ ๑๐ และ
พระองค์ที่ ๑๑ ที่ มณฑปแก้ว
เวลา ๑๐.๓๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ และ พระอาจินต์ ทำพิธีบวงสรวง เนื่องในพิธีลาสิกขาของพระนวกะ ที่มณฑปท้าวมหาราชทั้ง ๔
พระอาจินต์ นำขอขมาท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ เสร็จแล้วเดินไปขอมา พระวิสุทธิเทพ ที่พระจุฬามณี แล้วเดินไปที่วิหาร ๑๐๐ เมตร
ขอขมา พระพุทธชินราช ในมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร