๑๐. ตึกเสริมศรี-เกษมศรี-สุขสวัสดิ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ ใช้เป็นสถานที่อบรมกรรมฐาน มีห้องพักสำหรับพระภิกษุ และพุทธบริษัท สร้างเมื่อ ๑๓ สิงหาคม
๒๕๑๖
ตอนที่ ๓ : เริ่มงานก่อสร้างฝั่งพระอุโบสถปี ๒๕๑๗
๑. ซุ้มประตูพระอุโบสถ ยกฉัตรยอดซุ้มเมื่อ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๗ เห็นหอนาฬิกาด้านขวา
๒. พระอุโบสถเริ่มสร้างปลายปี ๒๕๑๗ แล้วเสร็จปลายปี ๒๕๑๙ พระอุโบสถหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสร็จพระราชดำเนินถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ ในงานเททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ปาน และได้เสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถหลังจากโบสถ์เสร็จปี
๒๕๒๐
๓. กลุ่มพระอุโบสถ พลับพลาจตุรมุข และหอนาฬิกา
๔. กุฏิ ๑๐ หลัง และกุฏิป้อมติดกำแพงฝั่งพระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นกุฏิชุดแรก หลังจากที่ได้มาซื้อที่สร้างพระอุโบสถใหม่
๕. อาคารรัตนพฤกษ์ (เรือนกะเหรี่ยง) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗๒๕๑๘ ให้กะเหรี่ยงที่มากับหลวงปู่ครูบาชัยวงษาพัฒนาพัก
เมื่อคราวที่หลวงปู่มาในงานเดือนสิงหาคม ๒๕๑๘ ปัจจุบันเป็นที่พักของอุบาสิกา
๖. ศาลานวราชบพิตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ตั้งใจจะให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวที่สมเด็จมาเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน วันที่ ๑๐
สิงหาคม ๒๕๑๘ แต่ทางสำนักพระราชวังได้มาสร้างพลับพลาชั่วคราวที่บริเวณพลับพลาจตุรมุขปัจจุบัน ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับแขกของหลวงพ่อ
และที่ทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุ และญาติโยมพุทธบริษัท และเป็นสถานที่สำหรับติดต่อที่พักสำหรับญาติโยมที่มาพักเจริญกรรมฐาน
๗. อาคารธรรมสถิตย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นอาคารยาว ๒ ชั้น ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถมีทั้งหมด ๑๗ ห้อง สำหรับญาติโยมพุทธบริษัทมาพักเจริญกรรมฐาน
๘. พลับพลาจตุรมุข สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยสร้างทับบริเวณที่ตั้งพลับพลาชั่วคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ
เมื่อคราวสมเด็จมาเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน เมื่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘ ภายในประดิษฐพระพุทธชินราชจำลอง และรูปหลวงหลวงปู่ปาน หลวงปู่ใหญ่องค์จำลอง
สำหรับญาติโยมพุทธบริษัทที่ประสงค์จะปิดทองแก้บนสามารถปิดทองได้
๙. ศาลาพระพินิจอักษร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๘ ใช้เป็นศาลาการเปรียญปัจจุบัน
๑๐. วิหารหลังพระอุโบสถ เป็นสำนักงานธัมมวิโมกข์เก่า
๑๑. มณฑปหลวงปู่ปาน - หลวงปู่ใหญ่ หน้าพระอุโบสถ
ตอนที่ ๔ : ขยายอาณาเขตวัด
๑. ศาลาพระนอน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
๒. ตึกอำนวยการ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
๓. ตึกอินทราพงษ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
๔. เมรุสร้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ยังไม่ได้ใช้เผาศพเลย
๕. ห้องน้ำข้างเมรุ โปรดสังเกตว่าหากพูดถึงวัดท่าซุง ต้องพูดถึงสุขาทุกครั้งไป
๖. ตัวอาคารโรงพยาบาลแม่และเด็ก ที่สร้างครั้งแรก เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น โรงพยาบาลนี่สร้างพร้อมพระอุโบสถ คือเสร็จพร้อมกัน พระอุโบสถลงมือสร้างปลายปี
๒๕๑๗ โรงพยาบาลเริ่มสร้างเมื่อปลายปี ๒๕๑๘ แล้วเสร็จปลายปี ๒๕๑๙
๗. อนุสาวรีย์พระพินิจอักษร (ทองดี) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง) และสมเด็จพระปิยมหาราช อยู่ในบริเวณหน้าโรงพยาบาลแม่และเด็ก
๖๑
๘. ปี ๒๕๒๘ หลวงพ่อสร้างอาคารเป็นตึกเพิ่มเติมอีก ๒ หลัง สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเชื่อมตึกทั้งสอง สร้างประปา ไฟฟ้า ซื้อหม้อแปลงให้โรงพยาบาล
และมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ๕๐ กิโลวัตต์ ๑ เครื่อง คือ ตึกปฐมราชานุสรณ์ เป็นตึกคลอด และตึกทำงานของแพทย์และพยาบาล
หลังที่สอง คือตึกปัญจมราชานุสรณ์ เป็นตึกคนไข้ประเภทห้องพิเศษคนไข้พักได้ห้องละ ๒ คน รวมทั้งหมดรับคนไข้ภายในได้ ๘๔ คน หรือ ๘๔ เตียง
ชั้นล่างสุดเป็นใต้ถุนโปร่ง เป็นที่คลายเครียดของคนไข้ได้ดี พร้อมกับสร้างปั๊มน้ำสำหรับทำประปา โรงพยาบาลแม่และเด็ก ๖๑ ไว้อีกด้วย
๙. หอพระ เป็นอาคารทรงไทย ๒ ชั้น สร้างปี ๒๕๒๑ อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ชั้นล่างเป็นสำงานธัมมวิโมกข์ (ใหม่)
ชั้นบนสำหรับเก็บรักษาพระพุทธรูปที่มีญาติโยมพุทธบริษัทถวาย
๑๐. หอระฆัง - หอกลอง สร้างปี ๒๕๒๑
๑๑. ตึกกรรมฐาน ๔ ชั้น (ตึกเป๊บซี่) สร้างปี ๒๕๒๑
๑๒. ธนาคารข้าว สร้างปี ๒๕๒๑
๑๓. ตึกกองทุน สร้างปี ๒๕๒๑ ชั้นบนเป็นที่พักสงฆ์ ชั้นล่างเคยเป็นที่รับแขกหลวงพ่อตอนป่วยปี ๒๕๒๓
๑๔. ปั๊มน้ำมันสำหรับใช้ในกิจการของวัด (อยู่ข้างโบสถ์)
๑๕. เมื่อวัดขยายอาณาเขตออกไปกว่า ๒๐๐ ไร่ หลวงพ่อจึงต้องทำกำแพงล้อมที่ไว้กันที่หาย ปีถัดมา ๒๕๒๓ น้ำท่วมใหญ่ ที่ยังไม่หาย แต่กำแพงพัง
ไม่เป็นไรสร้างใหม่ได้
๑๖. พระจุฬามณี (พระวิสุทธิเทพ ) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ด้านหน้าซ้ายมีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์อยู่ด้านซ้าย และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
อยู่ด้านขวา
๑๗. ศาลา ๒ ไร่ สร้าง ๒๕๒๖ ใช้เป็นศาลาทำบุญเวลามีงานสำคัญ ชั้นบนเป็นที่เก็บพระพุทธรูปที่มีพุทธบริษัทนำมาถวาย
๑๘. ตึกสงวนจิตร และเพื่อน (ตึกกลางน้ำ) สร้างปี ๒๕๒๔ เป็นที่พักของหลวงพ่อมาระยะหนึ่ง (๒๕๒๖๒๕๓๒)
๒๙. ห้องพักของนักปฏิบัติพระกรรมฐานรอบตึกกลางน้ำ ๑๔๔ ห้อง สร้างปี ๒๕๒๕
๓๐. ตึกธัมมวิโมกข์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ใช้เป็นที่ฝึกกรรมฐาน และสำนักงานหนังสือธัมมวิโมกข์
๓๑. ตึกกรรมฐาน (ตึกเสือ) ด้านข้าง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ใช้เป็นที่อบรมกรรมฐาน และฝึกมโนมยิทธิ
[
๓๒. พระชำระหนี้สงฆ์รุ่นแรก จำนวน ๒๘ องค์
๓๓. ศาลาท่านปู่ ท่านย่า สร้างปี ๒๕๒๗
๓๔. อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช อยู่หน้าศาลาท่านปู่ ท่านย่า สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๗
๓๕. ศาลา ๓ ไร่ สร้าง ๒๕๒๗ ใช้เป็นที่พักพุทธบริษัทที่มาทำบุญ มีห้องน้ำ ๔๓ ห้อง มีห้องพักมากกว่า ๑๕๐ ห้อง
๓๖.บริเวณห้องอาหารสวนเวฬุวัน (สวนไผ่) สร้างปี ๒๕๒๗ สำหรับลูกหลานหลวงพ่อมาเปิดร้านจำหน่ายอาหาร พุทธบริษัทที่มาทำบุญ เพื่อหาเงินเข้าวัด มีห้องน้ำ ๔๑
ห้อง
๓๗. ทางเข้าศาลา ๔ ไร่
๓๘. ศาลา ๔ ไร่ สร้างปี ๒๕๒๘ ใช้เป็นที่ทำพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร
หอฉันและที่พักพระอาคันตุกะที่มาปฏิบัติพระกรรมฐาน สร้างปี ๒๕๒๘
ตอนที่ ๕ : กลับริมน้ำสะแกรัง
๑. ตึกรับแขกหลังใหม่ สร้างปี ๒๕๒๘ ใช้เป็นสถานที่รับแขก และจำหน่ายหนังสือ เทป และวัตถุมงคลของหลวงพ่อ
ชั้นบนใช้เป็นที่รับรองพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ที่นิมนต์มางานวัด
๒. ห้องน้ำบริเวณตึกรับแขกหลังใหม่ ภายในมี ๓๙ ห้อง นอกตึก ๘๗ ห้อง สร้างปี ๒๕๒๘
๓. อาคารห้องกรรมฐาน ๒๕ ไร่ มีห้องกรรมฐาน ๒๕๘ ห้อง ห้องน้ำ ๘๘๔ ห้อง เริ่มสร้างปลายปี ๒๕๒๘ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
๔. โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา ภาพลักษณะนี้จะเห็นได้เมื่อมาถึงหน้าโรงพยาบาล โรงเรียนนี้มีหอพักฟรี ไม่เก็บเงินค่าหอพัก เก็บค่าเล่าเรียน
ปีแรกปีเดียว ถ้าเด็กมีความประพฤติดีให้อยู่ต่อไปได้ ถ้ามีความประพฤติไม่ดีไล่ออกไป วัดสงเคราะห์นักเรียนปีละ ๔,๐๐๐ บาท ต่อ ๑ คน คือให้เครื่องแต่งกาย ๒
ชุด ไม่ต้องซื้อหนังสือเรียน ตลอดจนสมุดดินสอ เลี้ยงอาหารกลางวันฟรี
เด็กที่จะมาพักที่หอพักนี้ ต้องหาเงินค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าครูคุมหอพัก ครูจัดอาหาร รวมแล้วปีละ ๖,๐๐๐ บาท (วันละ ๒๐ บาท) เมื่อจะเข้าโรงเรียนนี้
ต้องฝึกกรรมฐานตามที่วัดกำหนดให้ได้ก่อน จึงเข้าเรียนโรงเรียนนี้ได้ สร้างเมื่อ ๒๕๒๘ แล้วเสร็จ ๒๕๒๙
๕. อาคารประปา ๑๒ ไร่ ใช้เป็นประปาสำหรับรองในคราววัดมีงาน ประปาปกติจะจ่ายน้ำไม่พอ
๖. โรงงานผลิตอิฐบล๊อค และคานสำเร็จ ดำเนินการเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๒๙ เพื่อผลิตอิฐบล๊อค และคาน สำหรับใช้ในการก่อสร้างภายในวัด
๗. มณฑปแก้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ถวายพระราชกุศลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คราวเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นมณฑปจตุรมุขประดับกระจกทั้งหลัง
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป และพระองค์ที่ ๑๐ และ ๑๑
๘. พระพุทธรูปในมณฑปแก้วจตุรมุข
๙. พระองค์ที่ ๑๐ (พระสมณโคดม) พระองค์ที่ ๑๑ (พระสิขีทศพล)
๑๐. หอพระไตรปิฏก ๖ ชั้น และพระยืน ๓๐ ศอก สร้างถวายเป็นพระราชกุศลฯ ปี ๒๕๓๐
๑๑. ห้องน้ำข้างหอพระไตรปิฏก
๑๒. ศาลา ๑๒ ไร่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยสร้างหลังคาคลุมเต็มพื้นที่ ๑๒ ไร่ ภายในมีพระพุทธรูปชำระหนี้สงฆ์จำนวน ๑๐๙ องค์ และห้องพักปฏิบัติกรรมฐาน ๖๗
ห้อง ห้องน้ำและห้องส้วม ๒๖๘ ห้อง เมื่อคราวมีงานเป่ายันต์เกราะเพชร หรืองานอื่นที่มีญาติโยมพุทธบริษัทมามาก ทางวัด
และทางโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยาจะมาตั้งร้านอาหาร เพื่อจำหน่ายอาหาร
๑๓. โรงสีข้าวพระสุธรรมยานเถระ สีข้าวเพื่อภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาผู้ปฏิบัติธรรม และนักเรียนประจำ บรรดาลูกพระสุธรรมฯ สร้างถวายเมื่อ ๑๑ มกราคม
๒๕๓๑
๑๔. วิหาร ๑๐๐ เมตร วิหารหลังนี้เริ่มสร้างเมื่อกลางปี ๒๕๓๐ แล้วเสร็จกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๒ รวมเวลาก่อสร้าง ๒ ปี อาคารชั้นบนประดับกระจกเงาภายนอกทั้งหมด
มียอดเป็นรูปยอดปราสาท ๓ ศอก ภายในอาคารชั้นล่างทั้งหมดประดับกระจกเงาทั้งหมด มีห้องสำหรับเจริญกรรมฐาน ๑๐ ห้อง มีพระพุทธรูปปางชินราชหน้าตัก ๙ ศอก ๑ องค์
มีห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีรูปพระอรหันต์องค์สำคัญ ๗ องค์ มีไฟฟ้าช่อสวยงามประดับภายในของวิหาร อีกภาพถ่ายจากถนนระยะไกล
๑๕. มณฑปท้าวจตุโลกบาล กำลังก่อสร้าง เพื่อเป็นเทวสถานของท้าวจาตุมหาราช
ตอนที่ ๖ : ข้ามถนนอีกครั้ง
๑. อาคารที่พัก และโรงครัวของหลวงพ่อ ปัจจุบัน หลวงพ่อเรียกว่า "เล้าเป็ด" เพราะตัวอาคารโย้ทั้งหลาย และพื้นก็เอียง
๒. บริเวณด้านหน้าวิหาร ๑๐๐ เมตร โดยรอบเป็นวิหารคดประดิษฐานพระพุทธรูปชำระหนี้สงฆ์จำนวน ๖๔ องค์
และมณฑปแก้วด้านหน้าจะเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อพระปัจเจกพุทธเจ้า และรูปหล่อหลวงปู่ปานที่จะทำพิธีเททองหล่อในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓
โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา จะเป็นประธานในพิธีเททอง.
*************************