ศาลานวราช - ธรรมสถิตย์ - ธัมมวิโมกข์
webmaster - 29/6/08 at 17:10
คำว่า "ศาลานวราช" หมายถึง "พระราชาองค์ที่ ๙" คือ รัชกาลที่ ๙ นั่นเอง หลวงพ่อตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันนั่นเอง เพราะเดิมได้จัดทำห้องสุขา (ห้องพระบังคน) ไว้เผื่อพระองค์จะเสด็จใช้ห้องนี้
ปัจจุบันห้องพระบังคนนี้ใช้เป็นที่เก็บสิ่งของหลังศาลานวราช
ศาลาหลังนี้สร้างเสร็จประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๘ หลวงพ่อใช้เป็นที่รับแขกทั่วไป และเป็นที่จำหน่ายวัตถุมงคล หนังสือ เทปธรรมะไปด้วย
(ต่อมาได้ย้ายไปสร้างใหม่ที่ตึกรับแขก) ปัจจุบันเป็นสถานที่ติดต่อสำหรับผู้มาเข้าพักปฏิบัติธรรมภายในวัด และเป็นสถานที่ทำวัตรเช้าของพระภิกษุและญาติโยม
ตลอดถึงการเปิดเสียงตามสายด้วย
(ศาลาธรรมสถิตย์ เป็นอาคารที่พักสองชั้น 12 ห้อง มีห้องน้ำชั้นล่างในตัว สำหรับให้สตรีเข้าพักเท่านั้น)
(วิหารทั้งสองหลังนี้ อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ วิหารหลังแรก ชั้นบนเป็นที่เก็บพระพุทธรูป หน้าตัก ๕ นิ้วขึ้นไปถึง ๓๐ - ๖๐ นิ้ว
ชั้นล่างเป็น "สำนักงานธัมมวิโมขก์" ส่วนวิหารหลังที่สอง อยู่หลังโบสถ์เหมือนกัน แต่อยู่ระหว่างกลางมณฑปหลวงพ่อสิวลีและหลวงปู่ขนมจีน
เดิมหลวงพ่อตั้งใจจะสร้างเป็นที่เก็บพระศพของท่าน ถ้าเข้าไปข้างในจะยังเห็นโรงศพลงรักปิดทอง แต่ก่อนเคยเป็นสำนักงานธัมมวิโมกข์มาก่อน
ปัจจุบันย้ายไปที่วิหารหลังแรกแล้ว)
(อาคารที่พักแห่งนี้ เป็นแถวยาวชั้นเดียว มีหลายห้อง สำหรับผู้ชายเข้ามาพัก หรือนาคที่จะมาบวชที่วัด เดิมเป็นที่ว่าง
เคยเป็นสถานที่ "พระสุปฏิปันโน" นั่งเข้าแถวรับบิณฑบาตร ส่วนด้านหลังจะเป็น "กุฏิพระ ๑๐ หลัง" เคยเป็นที่พักของหลวงปู่ทางภาคเหนือ
ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ ที่บวชประจำวัดท่าซุงมานาน
ส่วนภาพต่อมาคือ กุฏิเจ้าอาวาส หลังคาทรงไทย ๓ ชั้น หลวงพ่อสร้างไว้ตรงนี้ เพื่อให้เป็นไปตามตำราของ "หลวงปู่ปาน" คือ
ถ้าเรายืนอยู่ตรงหน้าโบสถ์ จุดตำแหน่ง "กุฏิเจ้าอาวาส" จะอยู่หลังโบสถ์ตรงมุมด้านซ้ายมือของเรา ตามตำราการสร้างโบสถ์ ท่านบอกว่าตำแหน่งนี้ถือว่าเป็นมุม
"เศรษฐี" ถ้าทำตามนี้จะสร้างได้เสร็จตามความปรารถนา หากไปสร้างกุฏเจ้าอาวาสมุมขวามือของเรา จะเป็นตำแหน่ง "ทุคตะ" หมายถึงจะยากจน
สร้างอะไรก็ไม่สำเร็จนั่นเอง)
ระเบียบการเข้าพักปฏิบัติธรรม
พระเจ้าหน้าที่เปิดทำการ เวลา 09.00 - 10.30 น. ตอนบ่ายเวลา 13.00 - 16.00 น. (ตามปกติ ถ้าเป็นช่วงวันธรรมดา ที่วัดไม่ได้มีการจัดงานสำคัญ
ท่านสามารถมาพักที่วัดได้โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้)
- พักครั้งละไม่เกิน ๗ วัน
- การมาพักต้องติดต่อพระเจ้าหน้าที่ ณ ศาลานวราช (อยู่บริเวณโบสถ์ ติดกับหอนาฬิกา) โทรศัพท์ (056) 502 - 655
- ต้องมีบัตรประชาชนหรือใบขับขี่เป็นหลักฐาน
- หากเป็นพระต้องมีใบรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ท่านสังกัดมาแสดง
- พระเจ้าหน้าที่จะขอเก็บไว้ ๑ บัตรหรือใบต่อ ๑ ห้องพักเพื่อแลกกับกุญแจ (และไว้มาแลกคืนตอนกลับ)
- ต้องมาติดต่อพระเจ้าหน้าที่ (ไม่ว่าจะขอกุญแจหรือคืนกุญแจ) ในช่วงต่อไปนี้เท่านั้นคือ
- ที่พักมีพักเป็นห้องๆ หลายจุดในวัด แยกชาย-หญิง
- เตรียมเสื้อผ้าที่สุภาพมาให้เพียงพอ
- ทางวัดมีห้องน้ำไว้บริการเพียงพอ
- เรื่องอาหารการกินผู้มาปฏิบัติต้องรับผิดชอบตนเอง โดยมีร้านอาหารตั้งอยู่หลายจุดรอบๆวัด
- ภายในวัด มีร้านสหกรณ์ของวัดจำหน่ายของใช้จำเป็นทุกอย่าง
- ในวัดมีรถรางนั้ง ๒ แถวหรือไม่ก็มีรถสามล้อเครื่องให้ใช้บริการตามสะดวก
- ห้ามดื่มเหล้าและเล่นการพนันรวมทั้งอบายมุขทุกอย่าง
- ท่านต้องเคารพในสถานที่ และทำตามระเบียบของทางวัดอย่างเคร่งครัด