พระมหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
webmaster - 29/6/08 at 18:51
ท่านสมาชิกต้องการฟังหลวงพ่อเล่าเรื่อง "การสร้างวัดท่าซุง" กรุณา Login ก่อนแล้วกลับมา.. คลิกที่นี่ »
วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร เป็นสถานที่ใช้เป็นที่ฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลังในช่วงวันปกติ เปิด ๙.๐๐ - ๑๑.๔๕น. และ ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. และทำวัตรเย็นเจริญกรรมฐาน
(แบบปกติ) เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๔๕ น.
ภายในวิหาร ๑๐๐ เมตรเป็นวิหารที่ปิดด้วยประจกใสเกือบทั้งหมดเป็น ที่ไว้พระศพองค์หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
ที่ประดิษฐานของพระประธาน (ทรงพุทธชินราช) และของสำคัญหลายอย่าง...ฯลฯ
สร้างวิหาร ๑๐๐ เมตรขึ้นมาได้อย่างไร
โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
มีหลายท่านพยากรณ์ราคา เอาราคาเยอะเสียอีกแล้ว บางท่านถามว่าถึง ๑๐๐ ล้านไหมครับ บางท่านถามว่าถึง ๗๐ ล้านไหมครับ บางท่านก็ถามว่า ถึง ๓๐ ล้านไหมครับ
แต่ท่านที่ถามว่า ๓๐ ล้านสร้างไม่ได้แน่ แต่อาตมาก็ขอบอกจริงๆ ราคา ๑๐ ล้านเศษ ไม่ใช่ ๓๐ ล้าน ไม่ใช่ ๑๐๐ ล้าน ไม่ใช่กี่ร้อยล้าน ไม่ใช่อย่างนั้น
ราคาจริงๆ ๑๐ ล้านเศษ เฉพาะตัวอาคารที่เป็นคอนกรีตทั้งหม รวมช่อฟ้า หน้าบัน พระพุทธรูป อะไรต่ออะไรหมดเสร็จไม่เกิน ๗ ล้านบาท และค่าหินอ่อนอีก
๑,๒๖๔,๓๔๑ บาทค่ากระจกที่ปิด ๔,๔๗๗,๗๘๕ บาท รวมค่าหินอ่อนกับค่ากระจก ๕,๗๔๒,๑๒๖ บาท
และต่อไปค่าแรงอีกไม่มากนัก เพราะแรงงานนี้เอาคนใกล้ๆตำบลนี่มาทำงานกันเป็นอันว่าช่างก่อสร้าง ๓ ช่าง ๓ กลุ่ม หัวหน้าช่างจบ ดุษฎีบัณฑิตประถม
คำว่า "ดุษฎีบัณฑิตประถม" ก็เพราะว่าในสมัยนั้นวิชาการที่บังคับให้เรียน บังคับแค่ ป.๔ ฉะนั้นทั้ง ๓ ช่างนี่จบ ป.๔ ทั้งหมดเลย
เรียกว่าเรื่องประถมนั้นไม่ต้องเรียนอีก เป็นดุษฎีบัณฑิตไปเลย
และสำหรับช่างปั้นนั้นช่างทำความสวยงามคือ นายประเสริฐ แก้วมณี กับนางจำเนียร แก้วมณี ..ภรรยา สามี..เป็นช่างปั้น ภรรยาเป็นช่างประดับ
ทั้สองคนนี่เก่งมาก็จบชั้นเดียวกัน คือ ป.๔ เหมือนกัน เป็นอันว่าช่างที่นี่เป็นช่าง ป. ๔ และเจ้อาวาสก็เป็นคน ป.๔ เหมือนกัน
(ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านมักจะออกเดินตรวจงานก่อสร้าง หลังจากรับแขกในตอนเย็นอยู่เสมอ)
การก่อสร้างพระวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรแรกเริ่มทีเดียวพระเดชพระคุณหลวงพ่อไม่ได้คิดจะสร้างพระวิหาร แก้ว ๑๐๐ เมตรให้ใหญ่โตมโหฬารแบบนี้ ขณะนั้นปี พ.ศ.๒๕๒๘
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ป่วยหนักเรียก ว่าเข้าขั้นตรีฑูตหมอก็ได้ ทำการรักษาเป็นอย่างดี
แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อคิดว่าอย่างไรปี พ.ศ. ๒๕๒๙ คงจะไม่รอดแน่ เพราะสภาพ ของร่างกาย อยู่ในสภาพที่ใช้อะไรไม่ได้เลย ดูด้านไปหมดและหมดสภาพ
จึงนึกถึงพระพุทธเจ้าและนึกในใจว่า อยากจะสร้างพระใหญ่ๆ แต่ไม่ใหญ่มากนักจะสร้างพระยืนสัก ๓๐ ศอก และพระนั่งหน้าตัก ๘ ศอก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๙
ก็ได้สร้างพระยืน ๓๐ ศอก เหลือการสร้างพระนั่งก็คิดว่า จะเอาเงินมาจากไหน
ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาคือ คุณสุชาดี มณีวงศ์ ได้นำเงินถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินทำบุญ แบบไม่เจาะจง
แล้วแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อจะใช้จ่ายตามอัธยาศัย เป็นอันว่าก็ได้เงินเริ่มต้นสำหรับการสร้างพระ ๘ ศอก จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
(หมายเหตุ : คุณสุชาดี มณีวงศ์ เป็นผู้จัดทำรายการ "กระจกหกด้าน" ทางทีวีสีช่อง ๗)
ต่อมา คุณจันทนา วีระผล ทราบข่าว ก็ได้นำเงินมาถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่ออีก ๒๐๐,๐๐๐ บาทเพื่อสร้างพระ ๘ ศอก
ความตั้งใจเดิมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ จะสร้างพระนั่ง หน้าตัก ๘ ศอก บริเวณที่ดิน ๑๐๐ เมตรปัจจุบัน (ขณะนั้นยังไม่มีวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร)
จะสร้างแท่นสูง ๆ หน่อย แล้วทำหลังคาแบบมีเสา ๔ เสา มุงสังกะสี ต่อมาพอ ได้เงินเพิ่มมาก็คิดว่าจะสร้างให้ดีสักหน่อย มีช่อฟ้าหน้าบัน เอาขนาดเล็กๆ
ราคาไม่แพงมากนัก
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๐ ก็ได้ปรึกษากับพระท่านว่า จะสร้างพระ ๘ ศอกที่ไหนดี ถ้าสร้างที่ ๑๐๐ไร่ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะอยู่ลึกไป พื้นที่ก็เป็นที่ลุ่ม
ให้ซื้อที่หลังโรงพยาบาล (บริเวณที่ ๑๐๐ เมตรปัจจุบัน) และให้สร้างตรงนั้นจะเหมาะดีมาก
ปรากฎว่า ขณะนั้น เจ้าของที่กำลังขายกันอยู่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ก็ได้กราบ เรียนให้พระท่านทราบพระท่านก็บอกว่า ไม่เป็นไรให้ไปติดต่อจะจัดการให้
ซึ่งก็ได้ซื้อที่ตรงนั้น เนื้อที่ ๒๗ ไร่ จ่ายจริงประมาณ ๒๔ ไร่ ที่เหลือเจ้าของที่ถวายให้วัด
ประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ได้ปรึกษาพระท่านว่าจะสร้างตรงไหนดี อาคารควรจะสร้างเสา ๔ เสา หรือ เสาดี เพราะ มีเงินทุนประมาณ ๒๓๐,๐๐๐ บาทเศษ
พระท่านบอกว่า พระพุทธรูป ที่จะสร้างองค์นี้ (พระประธาน วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร) มีความสำคัญมาก และพระท่านได้ชี้สถานที่จะสร้างพระ เพราะที่ตรงนั้นแต่เดิม
โบราณเขาฝังพระบรม สารีริก ธาตุ ไว้
เมื่อสร้างพระพุทธรูป ทับไว้แล้วคนจะได้ไม่ทำลาย พระบรม สารีริกธาตุและไม่เดินข้ามไปมา พระท่านได้แนะนำ การสร้างอาคารโดยยกพื้นขึ้นมาประมาณ 1เมตร
และยกเสาขึ้นมาประมาณ ๑ เมตร
แล้วทำ พื้นเอากว้าง ๒๘ เมตร และยาว๑๐๐ เมตรพอพระท่านบอกอย่างนั้น พระเดชพระคุณ หลวงพ่อลมขึ้น (จะเป็นลม) เพราะว่า มีเงินแค่ สองแสน เศษ แต่จะสร้างวิหาร
กว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร
ในที่สุดก็ได้กำหนดอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งต้นทิศตะวันตกหันทางยาวไปทางทิศตะวันออกกำหนด ตั้งแต่พระ ประธาน ๘ ศอก โดยให้สร้างรูปแบบ
พระพุทธชินราช
ต่อมาญาติโยมก็ทำบุญเข้ามาเรื่อยจึง ได้ติด กระจกภายในทั้งหมด สำหรับหลังคา พระท่าน ให้ทำเป็นมุข ๓ มุข เป็นยอด ๓ ยอด หมายถึง เป็น การบูชาพระไตรลักณาคมน์
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
และต่อมาพระท่าน ได้ให้ต่อเฉลียง ออกมาอีก ๑๒ เมตร ความยาว ๑๐๐ เมตร เพื่อจะได้มีบริเวณ โปร่งๆ บริเวณเฉลียง ก็ได้สร้างพระปัจเจกพุทธเจ้า (ดังรูป)
พระองค์ ท่านมีความสัมพันธ์กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อมากพระองค์หนึ่ง
บริเวณด้านหน้าวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรได้สร้าง มณฑปพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งก็เป็นพระที่มีความสำคัญ ยิ่งเช่นเดียว กัน และสร้างมณฑปหลวงปู่ปาน ซึ่งท่านเป็น
อาจารย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
โดยจะขอนำอีกเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงหลวงพ่อในงานพุทธาภิเษกบวงสรวงที่วิหาร ๑๐๐ เมตร ตอนต้นเริ่มบวงสรวงเสร็จ ทุกคนสมาทานเสร็จ และหลวงพ่อก็บอกให้ภาวนา
ตอนนั้นหลวงพ่อก็ขอพรขอพรว่าผลในคราวนี้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้บ้าง ใช่ไหม
อันดับแรกปลอดภัยทุกอย่าง หรือร่ำรวยอย่างนี้เป็นต้น พอขอไปได้ ๓ ข้อ ท้าวเวสสุวัณเอาหนังสือมากาง บอก ว่าวันนี้ท่านทำ ๓๐ ข้อ หลวงพ่อเลยเลิกขอเลย(หัวเราะ)
เราขออย่างเก่งก็ ๕ - ๖ ข้อใช่ไหม
ท้าวเวสสุวัณมาถึงกา หนังสือปั๊บ..บอกว่า "ท่านครับ วันนี้พระพุทธเจ้าท่านทำ ๓๐ ข้อ" ถามอะไรบ้าง ท่านบอกข้อปลีกย่อยทุกอย่าง แต่ว่าหวยคงไม่ออก ๓๐ นะ
นี่ฉันไม่ได้ใบ้หวยนะ นี่ฉันบันทึกเสียง จะหาว่าฉันให้หวยไม่ได้นะ ก็เป็นอันว่า วันนี้ท่านสงเคราะห์ ๓๐ ข้อ อะไรบ้างไม่ทราบ ข้อปลีกย่อยทุกอย่าง
มาตอนท้ายก็พูดถึงการทำ วันนี้ท่านนั่งกันเป็นระยะๆ
พระพุทธเจ้าสูงสุด เต็มหมดนะ และก็รองลงมาหน่อยพระปัจเจกพุทธเจ้า รองลงมาก็เป็นพระอรหันต์หมด ด้านซ้ายมือ ของเรา แต่ขวา มือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าอยู่ทางด้านโน้น ใช่ไหม
ขวามือของท่านเป็นพรหม พรหมเต็มและซ้ายมือของท่าน ก็ท่าน ปู่พระอินทร์ เป็นเทวดาเต็ม และท่านท้าวมหาราช ๔
องค์คุมที่ของทั้งหมดที่โน้นและก็ท่านอินทกะทั้งหมดยืนล้อมอยู่ และยาวออกไปข้างนอกไกลมาก
เทวดาชั้นจาตุมหาราชอยู่เป็นทิศ คือทิศใครทิศมันคราวนี้เห็นจะ ไม่ใช่นับพันแล้ว มาช่วยทำประมาณ ๑๕ นาทีคงไม่พลาดนักหรอกเพราะว่าลืมตาดูนาฬิกา
ก็ทางด้านทิศเหนือเห็นเทวดา ชั้นจาตุมหาราช องค์หนึ่งวิ่งจากทิศตะวันออกไปด้านทิศตะวันตกแต่วิ่งไม่ไกล
ถามท่านท้าวมหาราชบอกว่า วิ่งไปทำไม ท่านบอกว่ามีผีคน ส่งมาเข้ามา แต่ไม่ได้ใกล้วิหารละนะ ไกลมาก มีผีคนส่งเข้ามา เลยถามว่าในเมื่อขณะ
ที่เทวดามากขนาดนี้เข้ามา ได้อย่างไร
ท่านบอก เขาบังคับมัน ถามว่า บังคับทำไม บอกว่า ให้มาทำลายพิธี การทำลายพิธีถามว่าทำอย่างไร บอกว่าเข้าคนใดคนหนึ่ง เป๊บป๊าบเข้ามาบางทีก็เสียใช่ไหม
แต่เข้ามาไม่ได้
พอดีเทวดาชั้นจาตุมหาราชด้านทิศเหนือ พวกยักษ์ซิ เข้าทางสำคัญด้วย ท่านจับได้ แล้วก็ไม่ได้เอาเข้ามา อยู่ไกลๆ ถามว่าจับได้แล้วทำอย่างไร ท่านบอกก็แก้
ปล่อยซิครับเพราะว่า ผีพวกนี้ที่เข้ามามีสายสิญจน์ผูกเอว และผูกคอเป็นจุดโยง
นี่เขาบังคับว่าต้องเข้ามาจุดนี้ เขาใช้คาถาบังคับนะ ผีพวกนี้แกก็ไม่อยากจะมา พอแก้แล้วแกเลยสารภาพว่า เขาบังคับครับ ถ้าไม่มาเขาก็เฆี่ยนก็ตี
มานี่ทราบแล้วว่า เข้าอย่างไรก็เข้าไม่ได้ พอประเดี๋ยวเขาก็จับมาอีก ๒ คน เป็น ๓ คนด้วยกัน
ถามเทวดาชั้นจาตุมหาราช ทำอย่างไรต่อไปท่านเลยบอกว่า อุทิศส่วนกศลให้ซิครับ สงสารมันก็เลยอุทิศส่วนกุศลให้ พออุทิศส่วนกุศลให้แก ก็หน้าตา สดเช่นสวยมาก
และก็มีผู้ชาย (๑ ใน ๓ คนนั้น)
คนหนึ่งบอกว่าประเดี๋ยวผมจะนำมาอีก ๓๐ ครับ ไม่ใช่มาเข้าใครนะ มาขอบุญ (หัวเราะ) และแกก็นำมาอีก ๓๐
เพราะว่าในเมื่อแกรับอุทิศส่วนกุศลแล้วแกก็เป็นเทวดา
ในเมื่อเป็นเทวดา คาถาอาคมที่เขาบังคับเขาใช้ไม่ได้และสามารถนำผีเข้ามาได้ ดีไหม หรือจะมาให้เข้าคนนี้ เอาซะเดี๋ยวนี้ดีไหม
และก็ต่อไปจากนั้นก็มีพิธีกรรม แต่ว่ากระแสที่ท่านทำวันนี้ไม่เหมือนวันอื่น วันอื่นเป็นกระแสลมบางๆ ใช่ไหมเหมือนกับกระแสลม
แต่วันนี้เหมือนกับเป็นคลื่นหนาทึบมากท่านทำทั้งหมดนะ ทั้งของที่มีอยู่ของที่วางไว้เพื่อทำและของทุกคนที่ใส่คอมาและทุกคนด้วยนะ ทุกคนด้วยทีนี้ตอนท้ายสุด
ตอนจะเลิกก็ถามถึงผล พอถามถึงผล
องค์ปัจจุบันท่านตอบ ถามว่าผลที่ทำวันนี้ส่วนใหญ่ มีอะไรบ้างครับ ท่านบอกว่า ด้านโชคก็จะให้ดูพระพุทธเจ้ามีนามในอิติปิโสว่า สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
ไปไหนก็มีโชคมีลาภท่านบอก
ทุกคนหากว่า ตั้งตนอยู่ด้วยดีไม่ลืมท่าน คำว่าไม่ลืมก็หมายความว่าตอนเย็นหรือตอนเช้านี่พยายามบูชาพระก็นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระอริยสงฆ์
เทวากับพรหมทั้งหมด ท่านใช้หมดนะ
แล้วสวดอิติปิโส สวดอิติปิโสแล้วก็ขอพรท่าน ท่านบอกทุกคน จะมีโชคตาม ที่พระพุทธเจ้าท่านให้ก็จริง แต่ว่ากฎของกรรมบางอย่างอาจจะบีบบังคับ
อันนี้ต้องระวังให้ดีนะ
ท่านบอกว่าคนที่บูชาพระพุทธเจ้านี่ จะไม่ตกอับ แต่กรรมบางประเภทมันก็บังคับได้...อย่างเรื่องของ "อนาถบิณฑิกเศรษฐี" เป็นต้น
คราวนี้เรามาฟังป้าน้อยกับจุไรคุยกันภายในวิหาร ๑๐๐ เมตรกันบ้าง... (เป็นการสนทนาระหว่างจุไรกับป้าน้อย) ทั้งสองคนป้าหลานนั่งพักอื่มน้ำหายเหนื่อย
จุไรก็เริ่มต้นถามมาว่า
จุไร - คุณป้าค่ะ เวลานี้เรานั่งกันอยู่หน้าพระพุทธชินราช และพระพุทธชินราชองค์นี้ สวยงามมากพอสมควร
อยากจะถามว่าช่างที่ไหนปั้น
ป้าน้อย - หลานช่างที่ปั้น และช่างที่ประดับ เขาเป็นช่างสองคน เป็นสามีภรรยากัน คือนายช่างประเสริฐ
แก้วมณี สามีเป็นช่างปั้น และนางจำเนียร แก้วมณี เป็นช่างประดับ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งพระพุทธรูปก็ดี คือพระพุทธชินราชองค์นี้พร้อมทั้งแท่น แรงงานทั้งหมดตั้งแต่ปั้น และประดับ ตลอดจนปิดทองทั้งหมด
นายช่างประเสริฐกับจำเนียรแก้วมณีสองสามีรภรรยานี้เขาถวายแรงงานทั้งหมด
จุไร - แรงงานของเขาเท่าไร
ป้าน้อย - แรงงนของเขาจริงๆ ราคามันเป็นหมื่น เขาไม่ได้บอกหลวงปู่(ในที่นี่หมายถึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
หลวงปู่ถามเขาแล้ว เขาบอกราคามันเป็นหมื่น ความจริงหลายหมื่น แต่เขาบอกว่า เขาไม่เอาค่าแรงงาน ทั้งนี้เพราะว่าเขาเป็นช่างปั้นวัดนี้ทั้งหมด
จุไร - คุณป้าเจ้าขา หนูอยากจะถามว่าพระพุทธรูปก็ดี ช่อฟ้า หน้าบันก็ดีของวัดนี้ทั้งหมด เป็นฝีมือของใคร
ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของช่างประเสริฐเป็นช่างปั้น และการประดับประดาและการปิดทองเป็นฝีมือของจำเนียร ซึ่งเป็นภรรยา คอยควบคุมงาน
แต่ว่าบางส่วน อย่างเช่นอุโบสถ เฉพาะตัวช่อฟ้า หน้าบันนี้เป็นหน้าที่ของช่างเยี่ยม อำเภอโกรกพระ จังหวัดพระนครสวรรค์
จุไร - ฝีมือการปั้นของเขาทั้งหมด เรียกว่า ทั้งวัดที่เห็นมานี้รู้สึกว่า วิจิตรพิสดาร สวยสดงดงาม น่ารัก
อยากจะทราบว่า ช่างปั้น ช่างประดับทั้งสองคนนี้จบอะไรมา
ป้าน้อย - เห็นหลงปู่ท่านบอกว่า สองคนนี่เป็น ดุษฎีบัณฑิตประถม คำว่าบัณฑิต ท่านอธิบายว่า "ผู้รู้"
เป็นหมายความว่าเป็นผู้รู้ขั้นประถม จบประถามปีที่ ๔ ทั้งสองคน และช่างก่อสร้างทั้งหมด คือ ช่างชิต แก้วแดง ช่างวิเชียร พัฒนพันธ์ แล้วก็ช่างพร หนูสำเภา
ช่างพเยาว์ ทั้งหมดนี้จบ ป.๔ หมด
จุไร - เห็นคนที่เขามาดู เขาพูดว่า ช่างที่นี่ เห็นหลวงปู่บอกว่าจบ ป.๔ เขาไม่เชื่อเขาบอกช่างจบ ป.๔
ทำไม่ได้
ป้าน้อย - ฝีมือทุกอย่าง ช่างก่อสร้างก็ดี ช่างประดับก็ตาม ช่างปั้นก็ตามที่นี่ ป.๔ ทั้งหมด
ป้าจึงเรียกว่า ดุษฎีบัณฑิตประถม คำว่าดุษฎี หมายถึงว่าเงียบ ไม่ต้องทำต่อไป จบบัณฑิต ก็หมายถึงรู้ ประถมก็คือประถม ก็มีความรู้จบประถมปีที่ ๔
ในระหว่างนั้น การเกณฑ์เข้าเรียน เกณฑ์แค่ ป.๔
จุไร - ที่พระบรมสารีริกธาตุ ที่เป็นเจดีย์ ใครปั้น
ป้าน้อย - เรื่องปั้นก็ช่างประเสริฐ ประดับก็เป็นช่างจำเนียร เหมือนกัน
จุไร - พระบรมสารีริกธาตุนี่ หลวงปู่ได้มาจากไหน
ป้าน้อย - เห็นหลวงปู่ท่านบอกว่า ได้มาหลายทาง ส่วนหนึ่งได้มาจากการบูชา บูชาแล้วก็มาเอง ก็เยอะ
และประการที่สอง บรรดาญาติโยมท่านให้มาก็มี และนอกจากนั้นส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องลงทุนกันมากคือ คณะชาวพิษณุโลกมี คุณลุงสันต์ ภู่กร กับ
คุณป้าเกศริน ภู่กร
ทั้งสองคนนี้ได้นำคณะของท่านไปขอซื้อจากคนที่เขาขุด เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เขาฝังไว้ และก็วัตถุบูชามีพระพุทธรูป มีเทวรูปเยอะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายนี้ลงทุนมาก แค่ตลับใส่พระบรมสารีริกธาตุซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นไม้จันทร์เก่าแล้ว เขาเอาตั้ง ๒๐,๐๐๐ บาท ท่านก็สู้
ทั้งนี้เพราะหวังเป็นพุทธบูชา
จุไร - ก็ถามว่า เจดีย์ทอง ที่หลวงปู่มาตั้งทั้งสองข้างเป็นทองจริงๆ หรือ
ป้าน้อย - เป็นทองจริงๆ เอามาตั้งแบบนี้ไม่ได้ ต้องฝัง และที่ตั้งนี้เป็นทองเหมือนกัน แต่เป็นทองชุบ
หมายความว่า ชุบหนาแบบกระไหล่ทั้งสององค์แต่ที่เป็นทองแท้ๆ อยู่ข้างล่าง
จุไร - พระบรมสารีริกธาตุเท่าที่เห็นมีแค่นี้หรือ
ป้าน้อย - มีอีกเยอะ ใส่เหยือกใหญ่ วันนั้นวันบรรจุเห็นเทกันขนาดหนัก เทใส่เหยือกใช้เวลานาน
พระบรมสารีริกธาตุ ถ้าตวงเป็นลิตรก็เกิน ๑๐ ลิตร
จุไร - ถ้าอย่างนั้นหลวงปู่ได้มาจากไหน
ป้าน้อย - ก็เป็นธรรมดาที่ป้าบอกแล้วว่าคนอื่นให้มาบ้าง ท่านบูชาเองบ้าง
จุไร - ที่หลวงปู่บูชาท่านเอามาให้บูชาที่นี่หรือป่าวที่ได้มา
ป้าน้อย - วันนั้นท่านบรรจุหมดมีเท่าไหร่ท่านบรรจุหมด แต่ก็ปรากฏว่า
หลังจากบรรจุแล้วก็มีพระบรมสารีริกธาตุมาอีก
จุไร - เห็นคนเขาพูดกันว่าหลวงปู่ให้คนบรรจุเงินบ้าง ทองบ้าง สตางค์บ้างทองเหลืองบ้าง ทองแดง
ตามอัธยาศัยสร้อยถนิมพิมพา ส่วนใหญ่ลงไปในฐานที่ตั้งพระบรมสารีริกธาตุ อย่างนี้ขโมยจะมาเอาไปได้ไหม
ป้าน้อย - ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องความสามรถของขโมยเพราะการใส่ไปใต้แท่นพระบรมสารีริกธาตุ
มันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความจริงท่านทำท่อฝังลึกลงใต้ดินเป็นหลุมใหญ่ใต้วิหาร ทั้งนี้กลบไว้ก็ดี แม้แต่ช่างก่อสร้างก็ยังไม่ทราบ
เวลาทำจริงๆ ช่างทำท่อบรรจุกับช่างก่อสร้างคนละคน ช่างที่ทำท่อบรรจุนี่เป็นช่างภายใน ถือเป็นความลับ ถ้าใส่ไปแล้วหล่นไปปุ๊บ
ก็จะไหลเลื่อนไปอยู่ใต้ดินลึกเป็นเมตร และก็เป็นทางเลี้ยวไป ไม่ใช่ตรง อย่างนี้ก็ถือว่ายากหน่อย จุไรฟังแล้วก็กราบพระพุทธชินราช
กราบพระบรมสารีริกธาตุตั้งใจบูชา
จุไรเห็นรูปปั้นหลวงปู่ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ภายในวิหาร ๑๐๐ เมตร เป็นรูปหล่อ เธอก็ถามว่า
จุไร - เอาช่างที่ไหนมาปั้นหุ่น
ป้าน้อย - เป็นฝีมือช่างประเสริฐ และช่างจำเนียร
จุไร - เวลาเขาหล่อ มีพิธีกรรมในการหล่อ หลวงปู่ทำอย่างไร
ป้าน้อย - มีพิธีกรรมพิเศษ ที่ท่านเรียนมาจากหลวงพ่อปาน ป้าเองก็อธิบายไม่ได้ แต่มีสิ่งแปลกอยู่อย่างหนึ่ง
วันนั้นปรากฏว่า เวลาเททองลมแรงมาก ช่างเททองไม่ค่อยจะลงต้องใช้เวลานาน
และช่างประเสริฐก็ปรารภว่า การเททองมีลมแรงแบบนี้ทองจะขาดตอนกัน จะไม่ประสนกันสนิท อย่างไรๆ ก็ตามรูปนี้ต้องเสีย แล้วก็ต้องแต่งเติมกันมาก
ฉะนั้น เวลาช่างทุบหุ่นออกดูจึงไม่ยอมทุบกลางวัน ทุบตอนกลางคืนตอนดึก ซึ่งคนไปหมดแล้ว เมื่อหุ่นเย็นดีแล้ว ทองเย็นดีแล้วก็พยายามทุบหุ่น
ตอนเช้าช่างประเสริฐเป็นผู้รับผิดชอบ ไปดูกลับมายิ้ม เช้ามืดนเธอว่าต้องมาดูเช้ามืด ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าเสียมากก็จะเข้าลังปกปิดทันที แล้วไปทำซ่อมกันทีหลัง
เมื่อไปดูแล้ว ปรากฏว่า ทุกคนทุกช่างอัศจรรย์หมด
ซึ่งตอนเช้า ช่างมายืนยันกับหลวงปู่ ป้าก็นั่งอยู่ที่นั่น บอกว่าการเทแบบนี้ จะเรียบร้อยเกือบไม่ต้องแต่ง ไม่เคยมีปรากฏการณ์มาก่อนถ้าลมแรงแบบนี้
ทุกรายทั้งหมด น้ำทองที่ไหลไปจะต้องขาดตอนไหลลงไปก่อนจะแข็งเร็ว ที่ไหลลงไปทีหลังจะประสานกันไม่ทัน
อย่างนี้ต้องซ่อมกันหนักแต่ภาพนี้เกือบไม่ต้องซ่อม เกือบไม่ต้องแต่ง เป็นอันว่าจดซ่อมจริงๆ ไม่มีเลย เรียบร้อย
แต่ว่าการแต่งต้องแต่งให้เรียบร้อยยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เรียบมากจริงๆ จุไรฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใส กราบ ดูถึงว่าความอัศจรรย์
ป้าน้อย - ก็บอกว่าเรื่องนี้ป้าไม่ถือว่า เป็นเรื่องมหัศจรรย์ ทั้งนี้เพราะว่าการหล่อพระ
ทุกช่างก็มีครูบาอาจารย์ มีวิธีกรรมอาจจะเหมือนๆกันทุกช่างก็ได้ หลังจากนั้น จุไรก็หันมาทางขวามือ ไปดูโลงศพ แล้วเธอก็ถามว่า
จุไร - โลงศพของใคร เครื่องตั้งศพใคร ทำไมถึงมาตั้งในวิหารแหม...
ป้าน้อย - ความจริงโลงศพอันเป็นที่สักการะบูชา นี่เป็นโลงของหลวงปู่ท่าน หลวงปู่ท่านเตรียมไว้
เพื่อเวลาท่านตายจริงๆ จะได้ไม่วุ่นวายเรื่องโลงศพ
และก็ประการที่สอง ท่านบอกว่า "เรื่องที่ตั้งของศพ เมื่อสมัยหลวงพ่อปานมรณภาพ ก็ยุ่งมาทีหนึ่งแล้วต่างคนต่างทะเลาะกัน เถียงกันว่าคนนั้นจะตั้งที่นั่น
คนนี้จะตั้งที่นี่
ในที่สุดก็ตั้งในกุฏิ กว่าจะปรึกษากันลงตัวกันได้ ก็สามวัน เสียเวลางานต่างๆ ทำให้สมองมึน ดีไม่ดีคนก็มึนตึงไปด้วย"
ก็รวมความว่าหลวงปู่เลยตัดสินใจว่าเอาอย่างนี้ดีกว่า ฉันสั่งตั้งเสียเอง ถ้าเวลาตายลงไป ตั้งตรงนี้ก็แล้วกัน ก็หมดเรื่องกันไป
(จบการสนทนาระหว่างป้าน้อยกับจุไร)
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ ท่านเจ้าอาวาส ก็ได้ มอบหมายให้ พระสามารถ สร้างบุษบก เพื่อประดิษฐานสังขาร
ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระสามารถก็ได้รีบเร่งสร้างเพื่อให้ทันเมื่อครบ ๑๐๐ วัน แล้วจะทำการย้ายสังขาร ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศล อยู่ที่ ศาลา ๑๒ ไร่ มาประดิษฐาน
ที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
พระสามารถได้ใช้เวลาประมาณ ๘๐ วัน ก็แล้วเสร็จได้ยกบุษบกขึ้นมาไว้ในวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตรแล้วสร้าง เป็น ห้องกระจก
เพื่อประดิษฐานสังขารของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
หลังจากนั้นก็ได้สร้างฐานโลงแก้ว จากเดิมเป็นโลงแก้วฝังมุข ได้ใช้เวลาสร้าง ๒ ปีเศษ ใช้งบประมาณ ๑๑ ล้านเศษ
ให้ช่างจากจังหวัดสุโขทัยถักผ้าห่มทองคำเพื่อคลุมสังขาร พระเดชพระคุณหลวงพ่อใช้งบประ มาณ ๒ ล้านเศษ
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตร เป็นองค์แสดง พระธรรมเทศนา งาน บำเพ็ญ กุศล ครบ ๑๐๐ วัน
ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุง เป็นเจ้าภาพทำบุญครบ ๑๐๐ วัน
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ เวลา ๑๒.๐๐ น. คณะศิษย์ได้นำศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เคลื่อนขบวนจากศาลา ๑๒ ไร่ ไปประดิษฐานที่วิหาร ๑๐๐ เมตร
โดยมีญาติโยมพุทธบริษัทมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
การสร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ โดยการดำเนินงาน ของท่านเจ้าอาวาส พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ ซึ่งได้รับ ความร่วม
มือได้รับการสนับสนุนจากพระสงฆ์ของวัดท่าซุง
ตลอดจนญาติโยมที่เป็นลูกศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ก็เพื่อทดแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของท่านอันจะหาสิ่งใดๆ มาเปรียบได้ และปฏิบัติ
ตามคำสั่งสอนของพระเดชพระคุณของหลวงพ่อ คือ
สร้างสิ่งเหล่านี้ให้สวยงาม เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลาย ได้เห็นภาพสวยงามยิ่ง จิตก็จำภาพอัน เป็นกุศลนี้ หากท่านก่อนตาย นึกถึงภาพเหล่านี้ได้
เพราะภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นธรรม แห่งองค์สมเด็จ สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างน้อย ท่านก็สามารถไปสวรรค์ได้หากกำลังใจท่านเข้มก็ไปพรหมได้
และหากกำลังใจท่านเข้มแข็งไปอีก ก็สามารถไปพระนิพพานได้
นอกจากนี้ในบริเวณวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ยังมีสถานที่อื่นอีก เช่น ร้านค้าสวัสดิการวัดท่าซุง (มินิมาร์ต) ร้านอาหารลูกหลวงพ่อ, ศาลามิตรศรัทธา. และร้าน
Coffee House
โดยมีพระชำระหนี้สงฆ์ประดิษฐานอยู่ด้านบน มีกำแพงล้อมรอบทั้งหมด พร้อมทั้งห้องน้ำอีกหลายสิบห้อง ลานจอดรถก็กว้างขวาง
เพื่อให้สะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งหลายด้วย
webmaster - 12/3/21 at 17:13
.