คิริมานนทสูตร (ธรรมะรักษาโรค) VIDEO และ MP3
webmaster - 23/3/10 at 15:14

......คิริมานนทสูตร (สัญญา ๑๐ ประการ) นับเป็นยอดพระสูตรๆ หนึ่งที่มีเนื้อหาสาระสำหรับมนุษย์อย่างเราๆ ที่มีสังขารไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องทนทุกข์ต่อโรคภัยไข้เจ็บที่คอยเบียดเบียนไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่งของชีวิต พระพุทธองค์ตรัสพระสูตรนี้ แก่พระอานนท์เพื่อนำไป แสดงแก่ "พระคิริมานนท์" ซึ่งกำลังอาพาธหนักจนไม่สามารถมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ ต่อเมื่อพระคิริมานนท์ได้ฟังพระสูตรบทนี้จากพระอานนท์แล้ว จึงทำให้ท่านหายจากอาพาธได้

คิริมานนทสูตร Vedio


(คลิกปุ่มเลื่อนฟังตอน 1 - 5 ในเครื่องเล่น อัพโหลดโดย suthamas )


(คลิกปุ่มตอนเดียวจบในเครื่องเล่น)



อรรถกถา อาพาธสูตร ที่ ๑๐


ว่าด้วยทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ ผู้อาพาธ

(ข้อมูลจาก - dhammathai.org)


(ภาพจาก - bloggang.com)

[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเขตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการ แก่ คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑

ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็อนัตตสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั้นแล เบื้องต้นแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง

อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแก่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย๑ และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา.

ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติ เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาวหรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร(ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร(เวทนา) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่าจักระงับจิตตสังขารหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก

ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ.

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนท์ ภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้.

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการ แก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแลอาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แล อาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล.

จบอาพาธสูตรที่ ๑๐

อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต อาพาธสูตร ข้อ ๖๐
ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๓๘ หน้า ๑๙๐


คิริมานันทะสุตตะปาโฐุ (บาลี) เสียงเด็ก




(เสียงสวดมนต์ "คิริมานันทสูตร" วัดมหาธาตุฯ)


..........เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม เตนะ โข ปะนะ
สะมะเยนะ อายัสมา คิริมานันโท อาพาธิโก โหติ ทุกขิโต
พาฬหะคิลาโน อะถะโข อายัสมา อานันโท เยนะ ภะคะวา
เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง
นิสีทิ เอกะมันตัง นิสินโน โข อายัสมา อานันโท ภะคะวันตัง
เอตะทะโวจะ ฯ

..........อายัสมา ภันเต คิริมานันโท อาพาธิโก ทุกขิโต พาฬหะคิลาโน
สาธุ ภันเต ภะคะวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมะตุ
อะนุกัมปัง อุปาทายาติ ฯ สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ
ภิกขุโน อุปะสังกะมิตวา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข
ปะเนตัง วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน ทะสะ สัญญา
สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยะ ฯ กะตะมา ทะสะ ฯ
อะนิจจะสัญญา อะนัตตะสัญญา อะสุภะสัญญา อาทีนะวะสัญญา
ปะหานะสัญญา วิราคะสัญญา นิโรธะสัญญา สัพพะโลเก
อะนะภิระตะสัญญา สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา อานาปานัสสะติ ฯ

..........กะตะมา จานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจันติ ฯ อิติ อิเมสุ ปัญจะสุ
อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
อะนิจจะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ จักขุง อะนัตตา รูปา อะนัตตา โสตัง อะนัตตา
สัททา อะนัตตา ฆานัง อะนัตตา คันธา อะนัตตา ชิวหา อะนัตตา
ระสา อะนัตตา กาโย อะนัตตา โผฏฐัพพา อะนัตตา มะโน
อะนัตตา ธัมมา อะนัตตาติ ฯ อิติ อิเมสุ ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ
อายะตะเนสุ อะนัตตานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
อะนัตตะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา
ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ อัตถิ
อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง นะหารู
อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหะกัง
ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ
โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา ละสิกา
มุตตันติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อะสุภานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง
วุจจะตานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ พะหุทุกโข โข อะยัง กาโย พะหุอาทีนะโวติ ฯ อิติ
อิมัสมิง กาเย วิวิธา อาพาธา อุปปัชชันติ ฯ เสยยะถีทัง ฯ จักขุโรโค
โสตะโรโค ฆานะโรโค ชิวหาโรโค กายะโรโค สีสะโรโค กัณณะโรโค
มุขะโรโค ทันตะโรโค กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห ชะโร กุจฉิโรโค
มุจฉา ปักขันทิกา สุลา วิสูจิกา กุฏฐัง คัณโฑ กิลาโส โสโส
อะปะมาโร ทันทุ กัณฑุ กัจฉุ ระขะสา วิตัจฉิก โลหิตัง ปิตตัง
มะธุเมโห อังสา ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ ปิตตะสะมุฏฐานา อาพาธา
เสมหะสะมุฏฐานา อาพาธา วาตะสะมุฏฐานา อาพาธา สันนิปาติกา
อาพาธา อุตุปะริณามะชา อาพาธา วิสะมะปะระหาระชา อาพาธา
โอปักกะมิกา อาพาธา กัมมะวิปากะชา อาพาธา สีตัง อุณหัง ชิฆัจฉา
ปิปาสา อุจจาโร ปัสสาโวติ ฯ อิติ อิมัสมิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี
วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อุปปันนัง กามะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ
อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง พยาปาทะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง วิหิงสาวิตักกัง
นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ
อุปปันนุปปันเน ปาปะเก อะกุสะเล ธัมเม นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
ปะหานะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ วิราคะสัญญา อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง สัพพะสังขา
ระสะมะโก สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย วิราโค นิพพานันติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ วิาคะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง
สัพพะสังขาระสะมาโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย นิโรโธ
นิพพานันติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ เย โลเก อุปายุปาทานา เจตะโส อะธิฏฐานาภินิเวสา-
นุสะยา เต ปะชะหันโต วิระมะติ นะ อุปาทิยันโต อะยัง
วุจจะตานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิะระตะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ สัพพะสังขาเรหิ อัฏฏิยะติ หะรายะติ ชิคุจฉะติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ

..........กะตะมา จานันทะ อานาปานัสสติ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา นิสีทะติ
ปัลลังกัง อาภุชิตวา อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง
อุปัฏฐะเปตวา ฯ โส สะโต วะ อัสสสะสะติ สะโต ปัสสะสะติ ฯ

..........ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
..........ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามิติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะลิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะยัง วุจจะตานันทะ อานาปานัสสะติ ฯ

..........สะเจ โข ตวัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน
อุปะสังกะมิตวา อิมา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข ปะเนตัง
วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อิมา ทะสะ สัญญา สุตวา
โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ

..........อะถะโข อายัสมา อานันโท ภะคะวะโต สันติเก อิมา ทะสะ
สัญญา อุคคะเหตวา เยนายัสมา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตวา อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา
อะภาสิ ฯ

..........อะถะโข อายัสมะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา
สุตวา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปัสสัมภิ ฯ วุฏฐะหิ จายัสมา
คิริมานันโท ตัมหา อาพาธา ตะถาปะหีโน จะ ปะนายัสมะโต
คิริมานันทัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ ฯ



ธรรมโอสถรักษาโรคกายและใจจาก “คิริมานนทสูตร”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิณัฏฐ์ กิติพันธุ์ (ไฟล์เสียง WMA)

01 บทสวดภาษาบาลี คิริมานนทสูตร
02 บทสวดแปลไทยคิริมานนทสูตร
03 ธรรมโอสถจากคิริมานนทสูตร
04 หลักการรักษาโรคกาย เข้าใจโรคใจ
05 แก้ไขความสำคัญผิดในทุกข์ แห่งชีวิต ด้วยคิริมานนทสูตร
06 สัมมาสติจากคิริมานนทสูตร
07 ทำความรอบรู้ในปกติแห่งโรคกาย
08 เติมกำลังใจ ให้อาหารกาย
09 สู่สัมมาทิฏฐิ เจริญอริยมรรค ฯ

Download http://www.4shared.com/account/dir/Xi4EZA6R/sharing.html?sId=7SfmnoD49O24InDZ


webmaster - 10/6/11 at 16:24

(Update 10--6-2554)