ชะยะปะริตตัง (มหาการุณิโก ฯ) VEDIO - MP3
webmaster - 10/7/08 at 23:12





บทชะยะปะริตตัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "บทมหาการุณิโก" ถือว่าจบบทสุดท้ายของ "บทถวายพรพระ" (เริ่มต้น อิติปิโส, พาหุง, มหาการุณิโก)

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง,

(พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา บำเพ็ญบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็มเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถึงความตรัสรู้ชอบอันสูงสุด,)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
(ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด ฯ)

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ,

(ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนต้นโพธิ์ แล้วถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงบันเทิงพระทัยอยู่บนบัลลังก์ที่มารไม่อาจจะผจญได้ เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น เทอญ,)

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง,
(เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งแจ้งดี,)

สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ,
(และขณะดี ครู่ยามดี ชื่อว่าบูชาดีแล้ว ในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย,)

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,
(กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด, (๑))

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา,
(มะโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด,)

ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
(บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นมงคลสูงสุดแล ฯ)

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
(ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)

สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
(ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
(ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)

สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
(ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
(ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)

สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
(ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)

(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑๙๕-๒๐๓)



(๑) (พวกพราหมณ์เขาถือว่า "การประทักษิณ" คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้นเป็นการให้เกียรติและเป็นการเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้น บาลีที่แสดง ไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนา และการที่กระทำกรรมทั้งหลายเป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็น มงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณอันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแล ฯ)