บทสวดมนต์ฉบับโบราณ "อุปปาตะสันติ" (มหาสันติงหลวง) VIDEO และ MP3
kittinaja - 5/8/08 at 21:27
รวมพลังไทย เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553
......คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศ ไทย
ร่วมกับภาคประชาชนทุกหมู่เหล่าและทุกสาขาอาชีพ พร้อมใจกันจัดงาน รวมพลังไทย เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาติ
เสริมสร้างความรักความสามัคคี แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ บทอุปปาตะสันติ หรือ มหาสันติงหลวง โดย
พระเทพโมลี เจ้าคณะเขตดุสิต ประธานฝ่ายสงฆ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ก.ค. เวลา 15.00 น.
ในเวลา 16.30 น. ริ้วขบวนพลังมวลชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสาขาอาชีพ เคลื่อนจากแยกผ่านพิภพลีลา, หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน และบริเวณที่จอดรถราชนาวีสโมสร
เข้าสู่บริเวณที่รวมพล เวลา 17.40 น. เริ่มถ่ายทอดสดทางทีวีไปทั่วประเทศ เวลา 18.00 น. ร่วมกันร้องเพลงชาติไทย
เสร็จแล้วเข้าสู่พิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
จากนั้นเป็นภาพยนตร์ที่แสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์ จากนั้นประธานในพิธีเปิดกรวยกระทงดอกไม้
กล่าวถวายราชสดุดี นำกล่าวปฏิญาณตน กล่าวถวายพระพรชัยมงคล ร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีมหาราชา จุดพลุดอกไม้ไฟ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติ เสร็จพิธี.
ที่มา - dailynews.co.th
"อุปปาตะสันติ" (มหาสันติงหลวง) Vedio
"อุปปาตะสันติ" (มหาสันติงหลวง) Mp3
คลิปเสียงชุดนี้ ลิขสิทธิ์เป็นของวัดท่าซุง
อุปปาตะสันติ
มนต์สำหรับระงับเหตุร้ายทั้งปวง
ความหมายของ "คัมภีร์อุปปาตะสันติ"
.....คัมภีร์อุปปาตะสันติภาษาบาลีนี้ มีคำชี้แจงเพื่อทราบประวัติย่อต่อไปนี้
๑. อุปปาตะสันติ แยกเป็น ๒ คำ คือ
อุปปาตะ คำ ๑ และ
สันติ คำ ๑
อุปปาตะ แปลว่า เคราะห์กรรม, เหตุร้าย, อันตราย และแปลว่าสิ่งกระทบกระเทือน
อุปปาตะสันติ แปลว่าบทสวดสงบเคราะห์กรรม แปลว่าบทสวดสงบอันตราย แปลว่าบทสวดสงบเหตุร้าย และแปลว่าบทสวดสงบสิ่งกระทบกระเทือน
๒. คัมภีร์อุปปาตะสันติ เป็นวรรณคดีบาลีลานนาไทย พระสีลวังสะมหาเถระ แต่งที่เชียงใหม่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๐๑๐
เป็นคาถาล้วนจำนวน ๒๗๑ คาถา จัดเข้าในหนังสือประเภท เชียงใหม่คันถะ คือ คัมภีร์เชียงใหม่มีอายุประมาณ ๖๐๐ ปีเศษแล้ว
......มีคำเล่าว่า สมัยแต่งอุปปาตะสันตินั้น ที่เมืองเชียงใหม่นั้นมีโจรผู้ร้ายและ คนอัทธพาลชุกชุมมากผิดปกติ มีเหตุร้ายและสิ่งกระทบกระเทือนอยูเสมอ
พระสีลวังสะ จึงให้พระสงฆ์ สามเณรและประชาชนพากันสวดและฟังอุปปาตะสันติ เพื่อกลับร้ายให้กลายเป็นดี มีผู้เลื่อมใสคัมภีร์นี้มาก
และถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาชาวพม่ามีความเลื่อมใสนำคัมภีร์นี้เข้าไปในประเทศพม่า เข้าใจว่านำเข้าไป
ที่เมืองอังวะก่อนแล้วแพร่หลายไปทั่วประเทศพม่าสมัย ๕๐๐ ปีที่ล่วงแล้ว
ชาวพม่าทั้งพระสงฆ์และประชาชนถือว่า "คัมภีร์อุปปาตะสันติ" มีความศักดิ์สิทธิ์มาก นิยมท่อง นิยมสวดและนิยมฟังอย่างกว้างขวาง มีคำเล่ากันว่า
สมัยหนึ่งพวกจีนมาตีเมืองอ้งวะ ประเทศพม่า ชาวพม่าทั้งพระสงฆ์ ข้าราชการ และประชาชนพากันสวดคัมภีร์อุปปาตะสันติ พวกจีนได้ฟังอุปปาตะสันติโฆษณาคือ
เสียงกึกก้องของอุปปาตะสันติ ก็มีความกลัวแล้วพากันหนีกลับไป
๓. บุคคลและสภาวะที่อ้างถึงในคัมภีร์อุปปาตะสันติมี ๑๓ ประเภทคือ
๓.๑ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตถึงปัจจุบัน (เน้นที่ ๒๘ พระองค์)
๓.๒ พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓.๓ พระพุทธเจ้าในอนาคต ๑ พระองค์ คือ พระเมตไตรย
๓.๔ โลกุตตรธรรม ๙ และพระปริยัติธรรม ๑
๓.๕ พระสังฆรัตนะ
๓.๖ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ๑๐๘ รูป
๓.๗ พระเถรีชั้นผู้ใหญ่ ๑๓ รูป
๓.๘ พยานาค
๓.๙ เปรตบางพวก
๓.๑๐ อสูร
๓.๑๑ เทวดา
๓.๑๒ พรหม
๓.๑๓ บุคคลประเภทรวม เช่น เทวดา ยักษ์ ปีศาจ คือผีที่ทำสิ่งใดๆ อย่างโลดโผน และวิชชาธรหรือพิทยาธร(สันสกฤตเรียกวิทยาธร) ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเรียกพวก
เซอเร่อคือพ่อมด แม่มด หรือผู้วิเศษ พวกวิชชาธร เป็นพวกรอบรู้เรื่องเครื่องรางและเสน่ห์ต่างๆ สามารถไปทางอากาศได้
เรื่องราวเย็นอกเย็นใจที่สังคมมุ่งหวังและเสาะแสวงหา ที่กล่าวถึง ในคัมภีร์อุปปาตะสันติ มีประการที่สำคัญ ๓ อย่างคือ
ก. สันติหรือมหาสันติ ความสงบ ความราบรื่น ความเยือกเย็น ความไม่มีคลื่น
ข. โสตถิ ความสวัสดี ความปลอดภัย ความเป็นอยู่เรียบร้อย หรือตู้นิรภัย
ค. อาโรคยะ ความไม่มีสิ่งเป็นเชื้อโรค ความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพสมบูรณ์
คัมภีร์อุปปาตะสันติ มีข้อความขอความช่วยเหลือ ขอให้พระรัตนตรัยและบุคคล พร้อมทั้งสิ่งทรงอิทธิพลในจักรวาลรวม ๑๓ ประเภทดังกล่าวมาแล้วช่วยสร้างสันติ
หรือมหาสันติ ช่วยสร้างโสตถิและอาโรคยะ ช่วยปรุงแต่งสันติและอาโรคยะ ขอให้ช่วยรวมสันติ รวมโสตถิและรวมอาโรคยะ และขอให้ช่วยเป็นตู้นิรภัยคุ้มครองและ
กำจัดเหตุร้ายอันตรายหรือสิ่งกระทบกระเทือนต่างๆ อย่าให้เกิดมีในตน ในครอบครัว ในหมู่คณะ หรือในวงงานของตน และในวงงานของคนอื่นทั่วไป
๔. อานิสงฆ์การสวดและการฟังอุปปาตะสันติ มีคุณประโยชน์ตามที่กล่าวไว้ ในท้ายคัมภีร์ มีดังนี้
๔.๑ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมชนะเหตุร้ายทั้งปวงได้ และมีวุฒิภาวะคือ ความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
๔.๒ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมได้ประโยชน์ที่ตนต้องการ คือ ผู้ประสงค์ความปลอดภัยย่อมได้ความปลอดภัย คนอยากสบายย่อมได้ความสุข คนอยากมีอายุยืน
ย่อมได้อายุยืน คนอยากมีลูก ย่อมได้ลูกสมประสงค์
๔.๓ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ ย่อมไม่มีโรคลมเป็นต้นมาเบียดเบียน ไม่มีอกาละมรณะคือตายก่อนอายุขัย ทุนนิมิตรคือลางร้ายต่างๆ มลายหายไป
๔.๔ ผู้สวดหรือผู้ฟังอุปปาตะสันติ เมื่อเข้าสนามรบย่อมชนะข้าศึก ทั้งปวงและแคล้วคลาดจากอาวุธทั้งปวง
๕. เดชของอุปปาตะสันติ การสวดอุปปาตะสันติเป็นประจำ ย่อมมีเดชดังนี้
๕.๑ อุปปาตะ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากแผ่นดินไหวเป็นต้น ย่อมพินาศไป (ปะถะพะยาปาทิสัญชาตา)
๕.๒ อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากลูกไฟที่ตกจากอากาศหรือสะเก็ดดาว ย่อมพินาศไป (อุปปาตะจันตะลิกขะชา)
๕.๓ อุปปาตะ คือ คือเหตุร้ายหรือสิ่งกระทบกระเทือน อันเกิดจากการเกิดจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา เป็นต้น ย่อมพินาศไป (อินทาทิชะนิตุปปาตา)
๖. คัมภีร์อุปปาตะสันติ เป็นคัมภีร์ไทย แต่ต้นฉบับได้จากเมืองไทย ไปอยู่เมืองพม่าเสียนาน จนแทบกล่าวได้ว่า คนไทยสมัยหลังไม่มีใครรู้จัก
ไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อ ข้าพเจ้าจึงชำระและจัดพิมพ์เป็นอักษรไทย ด้วยวิธีเขียนให้คนอ่านคำบาลีทั่วไป สำหรับต้นฉบับนั้น ข้าพเจ้ามีแต่ฉบับเมืองพม่า
และเป็นอักษรพม่า โดยท่านอาจารย์ธรรมานันทะธัมมาจริยะ ครูพระไตรปิฏก ประจำวักโพธาราม ได้กรุณาถวาย ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณอย่างยิ่งไว้ในที่นี้
การที่ข้าพเจ้าได้ชำระและจัดพิมพ์อุปปาตะสันติ เป็นอักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ ข้าพเจ้าถือว่าเป็นการนำคัมภีร์ไทยโบราณกลับคืนสู่เมืองไทย
เพื่อให้คนไทยได้รู้จัก ได้ศึกษา ได้สวด และได้ฟังให้เกิดประโยชน์ทางสันติ ทางโสตถิและทางอาโรคยะ สืบไป
ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญชวนมวลพุทธศาสนิกชนชาวไทย พร้อมกันยกมือสาธุแสดงความชื่นชมโสมนัสต่อการกลับมาโดยสวัสดีของคัมภีร์อุปปาตะสันติ
โดยทั่วกันทุกท่านเทอญ
พระเทพเมธาจารย์ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
วัดโพธาราม จ.นครสวรรค์
webmaster - 15/7/10 at 09:00
(Update 15-07-53)