เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ (บาลี) VIDEO และ MP3
kittinaja - 24/11/08 at 10:06

(ปรับปรุงเมื่อ 3 เมษายน 2559)


ภาพจาก mos.e-tech.ac.th


โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาติโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)

ความหมายของโอวาทปาฏิโมกข์

.......โอวาทปาฏิโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน[1] คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ดังนี้

พระพุทธพจน์คาถาแรก
......ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่

1. ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน

2. การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน

3. พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา) ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ

4. พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้ต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน ( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอและไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือยจนเดือดร้อนทายก)

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง
ทรงกล่าวถึง "หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" หรือ หลักการ 3 กล่าวกันเป็นเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่

1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์


มีผู้อธิบายว่าทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม
หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6

1. การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
2. การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
3. ความสำรวมในปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
5. ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
6. ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)


ข้อมูลที่มา - th.wikipedia.org

อธิบายความเป็นมาของปาฏิโมกข์โดยย่อ



เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ (บาลี) แบบที่ 1 (MP 3)



เสียงสวดพระปาฏิโมกข์ (บาลี) แบบที่ 2 (MP 3)

หัวข้อที่สวดปาฏิโมกข์ มี 11 หมวด คือ บุพพกิจ, นะโม, ปาราชิก 4, สังฆาทิเสส 13, อนิยต 2, นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30, ปาจิตตีย์ 92, ปาจิตตีย์-สุรา, ปาฏิเทสนียะ 4, เสขิยวัตร 75, อธิกรณสมถะ 7


( กดปุ่ม Play แล้วรอโหลดสักครู่ ถ้าต้องการฟังแต่ละตอนให้กดปุ่ม << Previous หรือ Next >> )



สวดพระปาฏิโมกข์ แบบมหานิกาย - ธรรมยุต (Video)

.


ธรรมเนียมการฟังพระปาฎิโมกข์

......เนื่องจากการฟัง การฟังพระปาฎิโมกข์เป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นสังฆกรรมเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น แม้สามเณรก็เข้าร่วมไม่ได้ ในระหว่างที่กำลังสวดพระปาฏิโมกข์ หากมีผู้มิใช่ภิกษุเข้ามาในหัตถาส (ระยะหนึ่งศอก) ต้องเริ่มสวดปาฏิโมกข์ ใหม่ เพราะเป็น "สังฆกรรมวิบัติ"

.....ในปัจจุบันบางวัดที่ถือเคร่งถึงกับต้องปิดโบสถ์สวดพระปาฏิโมกข์ เพราะเกรงผู้สวดพระปาฏิโมกข์จะต้องอาบัติ เนื่องจากมีผู้มิใช่ภิกษุได้ยิน แต่บางวัดก็เปิดโบสถ์ตามปกติ เพราะถือเจตนาว่าสวดปาฏิโมกข์ให้ภิกษุฟัง ไม่ได้สวดให้ชาวบ้านฟัง ถ้าชาวบ้านเผอิญผ่านมาได้ยิน หรือเห็นก็ไม่เป็นไร เพียงอย่าให้ล่วงเข้ามาในหัตถบาสเท่านั้น บางคนจึงมีโอกาสได้เห็นพระสวดปาฏิโมกข์

......การที่ทรงห้ามภิกษุไม่ให้สวดพระปาฏิโมกข์ให้ผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุฟัง เนื่องจากพระปาฏิโมกข์เป็นการสวดทบทวนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้าม ภิกษุตามความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งก็มีหนักบ้างเบาบ้างตามความผิด หากชาวบ้านไม่เข้าใจ เนื่องจากอินทรีย์ยังอ่อน และหนักในศรัทธาจริต จะเกิดความคิดว่าทำไมภิกษุทำความผิดได้ขนาดนั้น เกิดเสื่อมศรัทธาในพระศาสนาลง ก็ห่างไกลจากความไฝ่ใจในธรรมได้ การห้ามภิกษุไม่ให้สวดพระปาฏิโมกข์ให้ผู้ที่มิใช่ภิกษุฟัง จึงไม่ใช่การกีดกัน หรือจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการเรียนรู้ศาสนา แต่เพื่ออนุเคราะห์เพื่อเกื้อกูลผู้ที่ยังอ่อนปัญญา

สำหรับพระปาฏิโมกข์ที่ภิกษุร่วมกันฟังทุกวันอุโบสถในปัจจุบันมีแบบแผนที่ควรทราบ ดังนี้

.......เมื่อภิกษุประชุมพร้อมกันตามเวลาที่ทางวัดกำหนดไว้แล้ว เรียกชื่อ หรือนับจำนวนพระภิกษุที่ร่วมฟังพระปาฏิโมกข์ เนื่องจากการสวดพระปาฏิโมกข์ทุกครั้งจะต้องทราบจำนวนพระภิกษุที่ร่วมลงอุโบสถ จึงจะสวดพระปาฏิโมกข์ได้

.......การนับจำนวนภิกษุสมัยก่อน บางครั้งก็นับโดยการวางไม้หรือก่อนหินไว้ด้านหน้าอุโบสถ ก่อนเข้าอุโบสถก็หยิบไม้หรือก้อนหินเข้าไปวางไว้ ภิกษุที่ทำหน้าที่นับจำนวนไม้ที่ถูกหยิบเข้ามา ท่อนไม้หรือก้อนหินมีจำนวนเท่าไร ภิกษุที่ร่วมฟังพระปาฏิโมกข์ก็มีจำนวนเท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อตามลำดับ จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วนำพระภิกษุทั้งนั้นกราบ ๓ หน แล้วสวดบททำวัตรพระต่อไป


webmaster - 3/4/16 at 10:18

.