ขอรบกวนเรียนถามท่านที่ทราบครับ
แม้จะไม่ได้เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อมรรคผลของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาโดยตรง แต่ก็เป็นที่สงสัยมาตั้งแต่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อ
ทำให้ทราบว่าหลวงพ่อท่านบำเพ็ญบารมีขั้น วิริยะธิกะ ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีนานถึง 16 อสงไขยกับแสนกัป
ส่วน ศรัทธาธิกะและปัญญาธิกะ ใช้เวลาน้อยกว่าลงไป คือ 8 และ 4 อสงไขย
เลยมีความสงสัยว่า การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์จะเป็นแบบใดนั้น ท่านเป็นผู้เลือกเองตั้งแต่ปรารถนาพระโพธิญาณ หรือว่าขึ้นกับอะไร
มิฉะนั้นไฉนจึงเลือกการบำเพ็ญที่ใช้เวลานานมากถ้าสามารถเลือกที่เร็วกว่าได้
พยายามสอบถามก็ไม่มีท่านใดให้คำตอบกระจ่างได้สักที
จึงขอรบกวนสอบถามมาดังนี้ครับ
คมสัน
ผมก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน เคยสอบถามพุทธภูมิท่านหนึ่ง ท่านว่าอยู่ที่ปรารถนาอยากให้สมัยที่ตนเองเป็นพระพุทธเจ้ามีลักษณะอย่างไร
ถ้าอยากให้ทั้งโลกมีความสุขสบายเท่าเทียมกันหมด ไม่มีคนชั่วเลย ก็ต้องอธิฐานวิริยธิกะ
ถ้าอยากให้ในเขตศาสนาของตนมีความสุข นอกเขตตนเองอาจมีคนเลวบ้าง ไม่มีความสุขบ้าง ต้องศรัทธาธิกะ
ถ้าไม่ซีเรียสว่าลูกศิษย์ต้องมีความสุขสบายทุกคน มีคนดีบ้างเลวบ้าง แต่ก็บรรลุธรรมได้ ก็ปรารถนาปัญญาธิกะ
ไม่แน่ใจนะครับว่าถูกต้องจริงหรือไม่ ใครทราบโปรดตอบเพิ่มเติมด้วย จะเป็นพระคุณมากครับ
เรื่องนี้ตอบยากนะครับ มันเหมือนเป็นเรื่องปัจจัตตัง
คือ รู้ได้ด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับกำลังใจของผู้รับฟัง
ด้วย บางเรื่องเข้าใจยาก คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ยิ่ง
พูดให้ท่านที่ไม่ใช่วิสัยพุทธภูมิฟังยิ่งงงเข้าไปใหญ่
เอาเป็นว่ามาตราฐานก็คือ ตามที่หลวงพ่อสอนนั่น
แหละครับ ส่วนวิสัยการปรารถนาเราจะรู้ได้ด้วย
ตัวเอง ดูจากชีวิตประจำวันก็ได้
ถ้าจะทำอะไร ต้องคิดวิเคราะห์ก่อนเสมอ มักจะเป็นแบบปัญญา
ถ้าชอบทำอะไรแบบง่ายๆ สบาย(ไม่ใช่ขี้เกียจ)เช่น จะกินข้าวเย็น ซื้อข้าวกินก็ได้ อันนี้อาจเป็นศรัทธา
ถ้าจะกินมื้อเย็น ต้องทำเองทุกอย่าง ต้องให้อร่อยด้วย อันนี้มักจะเป็นวิริยะ
ข้อมูลนี้ ผมสังเกตเอาเองครับ อย่าเพิ่งนำไปใช้เป็นมาตราฐานอะไร!
แหม..คิดนานหลายเดือนเหลือเกินกว่าจะตอบ ไม่รุ้ว่าคนถามจะถามบุคคลทั่วไป หรือถามมุ่งเฉพาะผู้จัดทำเวป ถึงจะไม่มุ่งก็ขอแจมสักกะหน่อยน๊ะ ขอร๊าบ..!
ผมว่านะ..การปรารถนาพุทธภูมิ 3 ประเภท คงเป็นไปตามนิสัยของบุคคลผู้ปรารถนา หมายถึงแบ่งไปเองตามจริตของท่านผู้นั้น
โดยเฉพาะบุคคลแรกในโลกที่สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เพราะยังไม่เห็นคำถามคำตอบแบบนี้ในหนังสือเล่มไหน ใครเจอช่วยบอกด้วย)
นั่นก็คือ "สมเด็จพระพุทธสิกขี" ที่ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นศาสดาเอกของโลก คือเป็นต้นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต้องใช้เวลานานถึง 40 อสงไขย
ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านใช้เรียกพระนามว่า "สมเด็จองค์ปฐม" นั่นเอง
แสดงว่าผู้แสวงหาพระโพธิญาณเป็นองค์แรก จะต้องสร้างพระบารมีด้วยตนเอง ไม่มีตัวอย่าง ไม่มีเนื้อนาบุญให้บำเพ็ญเป็นแนวทาง
ไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ จึงจำเป็นต้องใช้กาลเวลานาน
ครั้นถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อมา ในขณะเป็นพระโพธิสัตว์เริ่มได้รับพุทธพยากรณ์ต่อๆ กันมา จนกระทั่งพระพุทธเจ้าอุบัติในโลกภายหลังอีกมากมายหลายพระองค์
ความรู้จากพระพุทธเจ้าองค์แรกนั่นแหละ จึงทำให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญพระบารมีไม่ต้องถึง 40 อสงไขย
อีกทั้งในขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์ได้ถวายทานกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงทำให้บารมีเต็มเร็วขึ้น เพราะมีเนื้อนาบุญเป็นที่รองรับ
ไม่เหมือนกับพระพุทธเจ้าองค์แรก ที่จะต้องแสวงหาเนื้อนาบุญด้วยตนเอง
ทั้งนี้ คงเป็นไปตามวิสัยของผู้ปรารถนานั่นเอง แล้วจึงได้แบ่งออกเป็นอัตโนมัติถึง 3 ประเภท ด้วยกันคือ
- บุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "ปัญญา" (คือบารมีทั้ง 10 ประการเต็มครบถ้วน แต่มี "ปัญญา" เป็นตัวนำ) ก็ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีเร็วหน่อย เพียงแค่ 4
อสงไขย อีกแสนกัป
- บุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "ศรัทธา" (คือ "ความเชื่อ" เป็นตัวนำ แต่ก็ทำบารมีทั้ง 10 ข้อเต็มบริบูรณ์)
จึงใช้เวลาบำเพ็ญบารมีช้าไปสักนิดเท่าตัว คือ 8 อสงไขย อีกแสนกัป
- ส่วนบุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "วิริยะ" (คือมี "ความเพียร" เป็นหลัก โดยการนำบารมีที่เหลือด้วย) จึงใช้เวลาบำเพ็ญบารมีนานมากอีกเท่าตัว คือ
16 อสงไขย อีกแสนกัป ถึงแม้จะใช้เวลาสร้างพระบารมีมานาน แต่พอได้ตรัสรู้อภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ สมัยของพระองค์นั้นก็จะมีแต่คนมีบุญมาเกิดทั้งสิ้น
ตามที่มีผู้ตอบได้ตอบไปแล้วนั้น
นี่เป็นหลักสูตรสั้นๆ แต่ในตำราบางแห่งยังกล่าวไว้อีกว่า...
- ปัญญาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 20 อสงไขย
- สัทธาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 40 อสงไขย
- วิริยาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 80 อสงไขย
ฟังแล้ว..โอย..เหนื่อย พอบำเพ็ญจนเต็มแล้ว ยังต้องรอเข้าคิวอีกนับแสน..ไปดีก่า อ้าว..ไปไหนละ โธ่..ขอไปนอนก่อนงัย..!
ทีมงานฯ
...ขอตอบตามที่ได้ยินมานะครับ...
...การปรารถนาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับครั้งแรกที่ปรารถนาครับว่าได้รู้หรือได้เห็นพระพุทธเจ้าแบบไหนครับ...
...คือได้รู้ว่ามีพระพุทธเจ้ากี่ประเภท แล้วก็ตั้งใจเลือกว่าจะบำเพ็ญแบบไหน...
ว่าแต่ท่านทีมงาน ปราถนาพุทธภูมิ หรือว่า จะไปอยู่กับองค์หลวงพ่อในชาตินี้ละครับ โมทนาสาธุ
รูปสวยดีครับ สมัยนี้หาดูยากมาก ผมได้ย่อภาพให้เล็กลงแล้วละ แล้วไม่ทราบว่าท่านที่โพสรูปในเวปนี่ ปรารถนาอะไรละครับ เพราะทีมงานฯ มีหลายคน คงต้องไล่ตระเวณถามกันทีหลัง
ก็จะพยายามไปอยู่กับองค์หลวงพ่อละครับ คิดว่าเหนื่อยมานานเหลือเกินแล้วแต่คนเลวๆอย่างผมคงจะยากอ่ะครับ แต่จะตั้งใจให้ถึงที่สุดครับ โมทนา
โมทนาเช่นกัน อย่าเพิ่งถล่มตัวเอง ขอให้สมหวังตามที่ตั้งใจนะครับ แล้วภาพนี่ถ่ายที่ไหนเมื่อไรละ ถ้าเปิดเผยไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะครับ
ผมก็สงสัยเหมือนกันครับ จึงไปค้นคว้าในหนังสือต่างๆมาได้ดังนี้
พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ (พิมพ์ครั้งที่๖)(๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕)
หน้า ๕๓
พระพุทธภูมินี้มีอยู่ ๓ คือ
๑) ท่านที่เป็น อุคฆติตัญญู คือ ผู้รู้พลัน พอยกข้อความขึ้นก็รู้พลัน จึงบำเพ็ญ ปัญญาบารมีมาก และเข้มแข็งบำเพ็ญบารมี ๑๐ นั้นตลอดเฉพาะ-ออกคำตั้งปณิธาน
และได้รับพระพุทธพยากรณ์ เป็น นิตย แน่นอนแล้ว ต้องบำเพ็ญ มีระยะกาล ๔ อสงขัย ๑ แสนกัป จึงมีชื่อว่า พระปัญญาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์
๒) ท่านที่เป็น วิปจิตัญญู คือ ผู้รู้ด้วยฟังอธิบาย จึงได้สร้างสมขึ้นให้แจ่มแจ้ง จึงมี สัทธา - ความเชื่อมั่น บำเพ็ญบารมี ๑๐ ตามสมควรไม่หยุด
เฉพาะกาล - ออกคำตั้งปณิธาน และ ได้รับพระพุทธพยากรณ์เป็น นิยต แน่นอนแล้ว มีระยะกาลถึง ๘ อสงขัย ๒ แสนกัป จึงมีชื่อว่า
พระสัทธาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์
๓) ท่านที่เป็น เนยยะ คือ ผู้พอนำได้ มีเพียรมั่นคง บำเพ็ญบารมี ๑๐ ได้มากอย่างสบาย เพราะผ่านสิ่งกีดขวางได้หมด จึงเป็นผู้ยิ่งด้วย วิริย - ความเพียร
เฉพาะกาล - ออกคำปณิธาน และได้รับพระพุทธพยากรณ์เป็นนิยตแน่นอนแล้ว ต้องบำเพ็ญมีระยะกาล ๑๖ อสงขัย ๔ แสนกัป จึงได้มีชื่อว่า
พระวิริยาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์
อีกเล่มหนึ่งคือ ปฐมมูลลี อนุสรณ์ในงานทอดกฐิน วัดป่าเขาน้อย ต.วังทรายพูล จ.พิจิตร หน้า ๕๖
ตะโตปุคคลา ยังมีบุคคล ๓ คน เป็นสหายกัน เมื่อเห็นพระสัพพัญญูเจ้าติกคะมะ มีรัสมีรุ่งเรืองงามหาสิ่งใดจะเปรียบปานมิได้ ทั้ง ๓ คนนั้นก็เกิดความเลื่อมใส
มีใจชื่นชมยินดีในพระสัพพัญญูเจ้าองค์นั้น จึงพร้อมกันตั้งจิตอธิษฐานต่อพระพักตร์พระสัพพัญญูเจ้า แล้วว่า
เกิดมาในชาติใดๆ ขอให้ข้าได้เป็นพระสัพพัญญูเจ้าเหมือนกับพระองค์นี้
เมื่อพระสัพพัญญูเจ้าติกคะมะ ได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า
ถ้าท่านทั้ง ๓ ปรารถนาอยากเป็นพระสัพพัญญูเจ้าเหมือนอย่างเราแล้ว จงพากันสร้างรูปแห่งเราไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่มนุษย์ และเทวดาทั้งหลายเถิด
เมื่อทั้ง ๓ คนได้ฟังดังนั้นจึงปรึกษากันว่า เราจะสร้างพระพุทธรูปเจ้าอย่างไรจึงจะดี
ขณะนั้น ชายผู้หนึ่งจึงพูดว่า เราจักสร้างไว้ให้แล้วด้วยปัญญาพอเป็นที่ระลึกสักการะบูชาไว้ก่อน เมื่อจะสร้างไว้ให้สวยงามก็จะเป็นเวลานานนัก
ชายอีกคนหนึ่งจึงกล่าวอีกว่า เราจะสร้างให้ดีงามแต่พอสมควรตามศรัทธาแห่งเรา
ชายผู้หนึ่งจึงกล่าวอีกว่า เราจะสร้างไว้ให้ดีงามที่สุด เหมือนดังรูปพระสัพพัญญูเจ้า แม้ว่าจะนานเท่าใดก็ตาม เราจะอุตสาหะกระทำเพียรสร้างไว้ให้สวยงามจนได้
เมื่อคนทั้ง ๓ คนพูดไม่ตรงกัน ต่างคนต่างจะสร้างไว้ดังนั้น พระสัพพัญญูเจ้าทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์แล้วจึงพยากรณ์ว่า
ตระกูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันเกิดมาภายหน้านั้นจะมี ๓ จำพวกคือ ปัญญาธิกะจำพวก ๑ สัทธาธิกะจำพวก ๑ วิริยาธิกะจำพวก ๑
ในหนังสือ พรสวรรค์รวมเล่ม ๑-๒-๓ หน้า ๑๙๒ มีบอกว่า
ทางปัญญาธิกะนั้น ต้องรู้ให้จริง รู้มาก รู้ลึกซึ้ง
ปัญญาธิกะ บารมีทำยาก
ในหนังสือลูกศิษย์บันทึกเล่ม ๓ หน้า ๓๗๒ มีใจความว่า
"...ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านเคยตรัสให้ฟังว่า ถ้าพระเมตตรัย และ พระรามเจ้า ไม่ต้องการสมมติพิเศษมากเกินไป ก็เป็นพระพุทธเจ้า
ก่อนตถาคตไปนานแล้ว เพราะพระโพธิสัตว์ทั้ง ๒ ท่าน ได้รับคำพยากรณ์ก่อนตถาคต ๑๒ อสงไขย..."
สำหรับตัวผมเองคิดว่าคงเหมือนกับการเดินขึ้นภูเขา ที่มีทาง ๓ ทางให้เลือก
ทางแรก ชันที่สุด มีระยะทาง ๔ อสงขัย ก็ถึงยอด คือเดินลำบากที่สุด แต่ใกล้ที่สุด
ทางที่สอง ชันน้อยลงมาหน่อย เดินสบายขึ้น แต่ต้องเดินไกล อีกเท่าตัว จึงถึงยอด
ทางที่สาม ชันน้อยที่สุด เดินสบายกว่าทางอันก่อน แต่ต้องเดินไกล กว่าทางก่อน อีกเท่าตัว จึงถึงยอด
อันหลังสุดนี่เป็นความคิดเห็นของกระผมเองนะครับ
เพราะจริงๆแล้วก็ยังสงสัยอยู่ดี คงต้องรบกวนท่านอื่นๆช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ
สำหรับผมคงไม่ไหว มันไม่มีความเข็มแข็งเอาซะเลย หาทางไปอยู่กับองค์หลวงพ่อดีกว่า โมทนา
การปราถนาพุทธภูมิพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์ก็คือการบำเพ็ญเพียรบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ความเข็มข้นของจิตจะต้องทนทุกสภาวะเป็นงานและหน้าที่ขนสรรพสัตว์ให้พ้นวัตตะสงสาร ท่านใดคิดว่ารับหน้าที่อันหนักหน่วงนี้ได้ก็ขออนุโมทนาสาธุ
การปราถนาพุทธภูมิพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์ก็คือการบำเพ็ญเพียรบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ความเข็มข้นของจิตจะต้องทนทุกสภาวะเป็นงานและหน้าที่ขนสรรพสัตว์ให้พ้นวัตตะสงสาร ท่านใดคิดว่ารับหน้าที่อันหนักหน่วงนี้ได้ก็ขออนุโมทนาสาธุ