...โลกธรรม...
........ทางทีมงานฯ ได้รับข้อมูลส่งผ่าน U2U จากสมาชิกท่านหนึ่ง ซึ่งเคยไปร่วม "วันอัฏฐมีบูชา" (วันถวายเพลิงพระพุทธเจ้า) ทั้งสองแห่ง คือที่
วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง และ วัดพระแท่นดงรัง ได้เล่าถึงเหตุการณ์และมีความเห็นในเรืองนี้ ดังนี้ครับ......
U2U Inbox (40)
Subject: เรื่อง งานอัฏฐะมีบูชา ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์
From: ann
To: webmaster
Folder: Inbox
Sent: 18/8/10 at 20:26
Message: เคยไปงานอัฏฐะมีบูชา ที่วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง มาเป็นประจำเช่นกันค่ะ เพราะบ้านอยู่ไม่ไกลจากวัดเท่าไหร่ ขับรถประมาณ ๓๐ นาที่ก็ถึง
ปีนี้เขารณรงค์เกี่ยวกับประเพณีอัฏฐะมีบูชานี้เป็นพิเศษโดยทั่วไปเลยค่ะ เพราะเหตุผลที่ว่า ชาวพุทธในไทย ส่วนใหญ่ จะลืมวันนี้กันไปแล้วค่ะ
ที่ไปร่วมบุญมาก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับคุณ Shadow โพสมาค่ะ รู้สึกตรึงตา ตรึงใจ มาก โดย เฉพาะคุณแม่ค่ะ ท่านประทับใจมาก เด็กๆที่ไปด้วยก็ชอบใจ
ด้วยเหตุที่ตัวเองจบบัญชีมา เวลา เขาอ่านรายชื่อผู้ให้ทุนสนับสนุนในการจัดงาน มี อบจ.อุตรดิตถ์ สองแสน ททท. ห้าหมื่น อบต.ทุ่งยั้ง หนึ่งแสน
และจากพ่อค้าประชาชนทั่วไป ส่วนหน่วยงานราชการที่สนับสนุน ก็มีหลายหน่วยงาน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผอ.โรงเรียนใกล้เคียง อีกหลายโรงเรียน ฯลฯ ก็คำนวนในใจว่า การจัดงานแต่ละครั้ง ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทแน่นอน
จึงจะสามารถจัดงานได้ยิ่งใหญ่ประมาณนี้ ได้
และก็เป็นการบังเอิญที่ตัวเองโชคดี ที่ได้มีโอกาสไปร่วมงานที่วัดพระแท่นดงรัง ที่ จ.กาญจนบุรี ที่หนังสือเล่ม ๑๒ อ้างถึงนี้ด้วยค่ะ มันนานมาแล้ว นะคะ
จำไม่ได้ว่า ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือ ๒๕๓๙ นี่แหละ จำไม่ได้เพราะไปมาทุกงาน เริ่มจากงานตามรอยพระพุทธบาท ทั่วทุกภาคของประเทศ ภายใต้แนวความคิด
ของพระอาจารย์ผู้นำคณะที่ว่า ไปรวบรวมคณะศิษย์ของหลวงพ่อให้เป็นปึกแผ่น เป็นกลุ่มเป็นก้อน ทั่วทุกจังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีกิจกรรมตามรอยพระพุทธบาท
และ สักการบูชาสถานที่ ที่มีความสำคัญของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นเป็นตัวเชื่อมให้ได้มาพบกัน และ ได้รู้จักกัน เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มากๆค่ะ
จึงพยายามไปร่วมให้ได้ทุกงาน สำหรับงานที่วัดพระแท่นดงรังที่เมืองกาญจน์นี้ เรียกว่า งานรวมภาคค่ะ
กิจกรรมในงานก็เป็นไปตามความสำคัญของสถานที่ค่ะ คือเป็นความเชื่อว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน
มีพระแท่นปรินิพพานเป็นหินตามธรรมชาติอยูในมณฑปซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของวัด และของเมืองกาญจน์ นอกจากนั้นยังมี ภูเขาถวายพระเพลิงอยู่หลังวัดด้วย
ความน่าเชื่อว่าเป็นสถานที่ปรินิพพานจึงมีน้ำหนักมากขึ้น แต่การจัดงานถวายพระเพลิง หรือ อัฏฐะมีบูชาในครั้งนี้ไม่ได้จัดบนเขานี้นะคะ
เพราะสถานที่ไม่พอเพราะคนมากันเยอะมาก ต้องจัดที่สนามในวัด ไม่แน่ใจว่าสนามโรงเรียนหรือเปล่า ถ้าจะเป็นโรงเรียน ก็คงเป็นโรงเรียนที่อยู่ในวัดนี่แหละค่ะ
เพราะนานมากแล้วชักจะเลือนๆ
แต่สิ่งที่ไม่เลือนหายไปจากความทรงจำเลยคือ พระบรมศพจำลอง ที่ทำขึ้นสวยงามมาก เมรุที่จัดเพื่อจำลองงานถวายพระเพลิงพระบรมศพก็ยิ่งใหญ่อลังการ
สวดสดงดงามเป็นที่สุด ขบวนแห่ก็ยิ่งใหญ่ มาก นำโดยขบวนโยธวาทิต ต่อมา ก็เป็นคนแต่งชุดไทยถือป้าย คณะศิษย์พระราชพรหมยาน
จำได้แม่นว่าเป็นป้ายผ้าสีเหลืองขนาดใหญ่ ตัวหนังสือ สีแดง ระบายผ้าข้างล่างก็สีแดง ดูแล้วภาคภูมิใจมากว่า เราคือคณะศิษย์พระราชพรหมยาน ต่อด้วยขบวนพระสงฆ์
ถือเครื่องสักการบูชา ขบวนมัลลกษัตริย์ ขบวนเครื่องสักการะ ต่อไปก็เป็นป้าย คณะตามรอยพระพุทธบาท ตามด้วยคณะศิษย์ทั่วทุกภาคของประเทศ
แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายที่เรียบร้อยสวยงามเพื่อเป็นพุทธบูชา คับคล้ายคับคลาว่าขบวนแห่นี้ได้เคลื่อนขบวนเข้าในตลาด แล้วอ้อมวงเวียน
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร มาปิดกั้นถนน มาอำนวยความสะดวกให้อย่างดี พ่อค้าพระชาชน มามุงดูขบวนแห่ของเราสองข้างทางอย่างเนืองแน่น คิดว่า
เขาคงยังไม่เคยเห็นขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้ มาสักการบูชาสถานที่อันสำคัญของเขา เห็นเขาอ่านที่ป้าย คณะศิษย์พระราชพรหมยาน
เราก็รู้สึกภาคภูมิใจที่เราได้รวมพลังกันทำความดีอย่างยิ่งใหญ่ให้ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไป
สรุปแล้ว งานนี้ยิ่งใหญ่อลังการมาก มากกว่างานวัดบรมธาตุทุ้งยั้งอุตรดิตถ์หลายเท่า ทั้งๆที่นั่น จัดโดยหน่วยงานราชการใหญ่ตั้งหลายหน่วยงาน
พ่อค้าประชาชนหลายกลุ่มหลายฝ่าย แต่นี่ พวกเราคณะศิษย์พระราชพรหมยาน คณะเดียว สามัคคีกลมเกลียวกัน จัดพิธีอัฏฐะมีบูชา
เป็นพุทธบูชาด้วยจิตที่เคารพได้อย่างยิ่งใหญ่อลังการที่สุด ที่สุดในประเทศไทยที่เคยมีการจัดมาเลยก็ว่าได้ จนท่านเจ้าคุณรูปที่เป็นพระผู้ใหญ่ในเมืองกาญจน์
ที่มานั่งเป็นประธานในพิธี ( จำตำแหน่งของท่านไม่ได้ ) ท่านกล่าวสัมโมทนียกถา ปิดงาน ตอนหนึ่งประมาณนี้ว่า เห็นการบำเพ็ญกุศล ของทุกๆท่านแล้ว
ทำให้มีความเข้าใจทันทีว่า หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชพรหมยาน ท่านอบรมสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านมาดีจริงๆ
หลังจากจัดงานแล้ว ท่านเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง และ เจ้าหน้าที่ของทางการ จำได้ว่า เป็น ศึกษาธิการอำเภอ ที่ดูแลงานเกี่ยวกับการศึกษา
เกี่ยวกับวัดเกี่ยวกับพระภายในอำเภอทั้งหมดนี่แหละ( สมัยนั้นยังไม่มีสำนักงานพระพุทธศาสนาโดยตรง ) มาติดต่อทางคณะทำงานว่า มาจัดอย่างนี้ทุกๆปีได้มั๊ย
จัดให้เป็นงานประจำปีของวัดเลย เพราะวัดนี้ถ้าจัด พิธีอัฏฐะมีบูชาแล้ว จะได้เปรียบกว่าวัดอื่นๆที่จัดงานนี้ทั้งหมด
เพราะสถานที่เป็นต้นทุนที่ดีที่สุดสำหรับงานอัฏฐะมีบูชา เขามองไปถึงว่า สามารถจัดเป็นงานระดับชาติได้ด้วยซ้ำ
เขาบอกว่าถ้าให้ทางวัดจัดคงจะไม่สามารถจัดได้อย่างนี้ นี่ก็คือความภาคภูมิใจอีกข้อหนึ่ง ซึ่งจากที่ไปร่วมงานมาทั่วทุกภาคของประเทศ
ก็จะได้รับการตอบรับในลักษณะนี้ทุกแห่งว่า มาทุกปีได้มั๊ย มาทุกปีได้มั๊ย ที่ภาคอีสานที่ วัดพระธาตุพนม และทั่วทุกภาคก็เช่นกัน
แต่พระอาจารย์ผู้นำ ท่านบอกว่า ท่านจัดแล้ว ท่านจะไม่จัดซ้ำ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการรวบรวมกำลังใจของคณะศิษย์พระราชพรหมยาน
ทั่วทุกจังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว แล้วมีวัดท่าซุงเป็นศูนย์รวมน้ำใจอันยิ่งใหญ่ ของพวกเราคณะศิษย์พระราชพรหมยาน
และมีพระนิพพานเป็นจุดนัดพบสุดท้ายของลูกหลานของหลวงพ่อทุกๆคน การทำงานอันเป็นบุญกุศลภายนอกวัดอย่างนี้
ท่านทำเพื่อช่วยให้ลูกศิษย์หลวงพ่อที่อยู่ห่างไกลได้มีโอกาสพบหน้ารู้จักกัน สร้างสรรค์ความสามัคคีร่วมกัน หลังจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านมรณภาพไปไม่นาน
อย่างนี้หรือค่ะที่เรียกว่า "ทำแข่งกับเจ้าอาวาส" ทำไมไม่มองว่าท่านออกไปช่วยงานท่านเจ้าอาวาสต่างหาก เพื่อรวมรวบคนให้กลับมาที่วัดท่าซุงกันอีก
เหมือนกับสมัยที่ครูบาอาจารย์ยังอยู่
หมายเหตุ.... กลับจากงานนี้มาแล้ว ได้มีโอกาสมาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดท่าซุงหลายวัน ช่วงนั้นก็ได้ยินข่าวลือว่า มีการโจมตีพระอาจารย์ผู้ที่ไปจัดงานครั้งนี้
แต่ไม่ได้สนใจ เพราะคิดตามคำสอนของหลวงพ่อที่ว่า "นินทาปสังสา นัตถิโลเก อนินทิโต" เพราะหลวงพ่อท่านพูดบ่อยมาก จนจำได้ แต่ถ้าเขียนไม่ถูกก็ขออภัยด้วยค่ะ
พอมาเห็นที่คุณ shadow โพสข้อความในหนังสือเล่ม ๑๒ ก็ทำให้รู้ว่า ไม่ใช่นินทา ปสังสาธรรมดาเลย เพราะข่าวนี้ได้อ้างกรมการศาสนา
ได้อ้างว่าเจ้าอาวาสจะถูกสอบสวน อาจจะถึงถูกจับสึก อ้างถึงเบื้องสูง ทรงมีกระแสรับสั่งเชิงตำหนิติเตียน ย่อมสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจแก่ พระสงฆ์
และนักบวชในวัดท่าซุงเป็นอย่างมาก ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือนี้จริงๆ เพราะบุคคลที่ให้ข่าวเป็นผู้ใหญ่ เป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ เป็นเสาหลักของคณะศิษย์
หลังจากหลวงพ่อมรณภาพ ท่านพระครูปลัดอนันต์ และคณะสงฆ์และคณะศิษย์ ก็มีความเคารพเชื่อฟัง และหวังยึดคณะศิษย์ผู้ใหญ่ทุกๆ ท่านนี่แหละเป็นที่พึ่งแทนพ่อ
ในการที่จะขับเคลื่อนวัดของพ่อ ให้เจริญมั่นคงถาวรสืบไป จนถึงสิ้นศาสนาห้าพันปี
เพราะฉะนั้น จะเป็นข่าวที่ว่า ตำรวจสันติบาลแจ้งมาว่า จะมีพระและมีคนจำนวนหนึ่งจะนำรถมาจอดหน้าศาลา ๑๒ ไร่ และ จะชิงศพหลวงพ่อ พวกเราก็เชื่อ
และช่วยกันป้องกันอย่างเต็มที่ ศิษย์บางคนแม้เป็นผู้หญิงก็ยังคิดที่จะป้องกันเหตุร้ายนี้ด้วยชีวิต ข่าวที่บอกว่า จะมีคนมาทำไสยศาสตร์อย่างหนักในวัด
ระหว่างบำเพ็ญกุศลพระศพหลวงพ่อตลอดร้อยวันนี้ ให้เราระวังให้มากเราก็ระวัง จนระแวงกันเองก็มี คนใกล้ชิดท่านมากที่ชื่อ จ๊ะ (ชื่อสมมติ)
สงสัยใครก็ควักเอาน้ำมนต์มาพรมใส่คนนั้นอย่างไม่เกรงใจเลยก็มี ( เจ้าตัวก็ยังอยู่สามารถยืนยันได้ )
และ ข่าวที่บอกว่า หลวงพ่อจะฟื้นในเจ็ดวัน เราก็เฝ้ารอ เลื่อนไปเป็น ห้าสิบวันเราก็รอด้วยความหวัง เลื่อนไปร้อยวันจะฟื้นเราก็เชื่อและก็ยังเฝ้ารอ
แต่พอครบร้อยวันแล้ว มีเด็กหนุ่มที่เลื่อมใสท่านมากร่วมวงเสวนากับท่านประจำ ไปถามท่านว่าทำไมหลวงพ่อไม่ฟื้น หวังจะได้รับคำอธิบายว่า
เหตุการณ์เบื้องบนนั้นเป็นอย่างไร ถึงได้มีการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามนั้น แต่กลับได้รับคำตอบจากท่าน ด้วยอารมณ์ ที่ท่านมักจะบันทึกไว้ว่าเป็นอารมณ์ปฏิฆะ
กระชากเสียงว่า ร้อยวันไม่ฟื้น ร้อยปีก็อาจจะฟื้นก็ได้ สองร้อยปี สามร้อยปีก็อาจจะฟื้นก็ได้ ( อันนี้คนอยู่ในเหตุการณ์ด้วยยังอยู่ยืนยันได้ )
จึงเห็นด้วยกับคุณ shadow ที่ตั้งข้อสงสัยว่า การเข้าใจว่าตัวเองได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนหลวงพ่อในทุกๆเรื่องทุกๆอย่างนั้น มีผลดีผลเสีย ต่อคณะศิษย์
โดยทั่วไป ต่อวัดหรือไม่อย่างไร เพราะถ้าเข้าใจผิดจุดนี้ บทบาท การกระทำ คำพูด ความคิด มันก็ต้องเป็นไปแนวนี้ จะเป็นไปในแนวที่สนับสนุน ศิษย์รุ่นลูก หลาน
เหลน โหลน ให้บำรุงรักษาวัดให้วัฒนาสถาพรสืบไปนั้นก็เป็นไปไม่ได้ เหมือนที่มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าเราติดกระดุมเม็ดแรกผิดเสียแล้ว เม็ดอื่นๆก็ต้องผิดหมด
ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกถูก ก็จะหันมาสนับสนุน ท่านเจ้าอาวาส และ คณะสงฆ์ให้ทำงานไปได้ด้วยดีสืบไป สมกับที่หลวงพ่อตั้งไว้ในตำแหน่งไวยาวัจกร(
ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ ) มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เห็นว่าไม่ดี ก็บอก ก็ชี้ ก็แนะ ตักเตือนเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง
แม้มติสงฆ์ในเรื่องต่างๆ ท่านก็สามารถซักถามในข้อสงสัยของท่านก็ได้
อย่างคณะสงฆ์มีมติให้พระรูปหนึ่งรูปใดออกจากวัด ท่านก็ควรจะขวนขวายศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริง ซักถามข้อข้องใจในมตินั้นๆได้ เหตุ-ผล เห็นด้วย
-ไม่เห็นด้วยอย่างไรก็คุยกับ คณะกรรมการสงฆ์ได้ทุกรูปอยู่แล้ว ทั้ง๑๕ รูป ที่หลวงพ่อท่านตั้งไว้ ก็รู้จักท่านและให้ความเคารพท่านทุกรูป
แล้วจะได้ชี้แจงให้คนที่ไม่เข้าใจได้ทราบที่มาที่ไป เรื่องอย่างนี้จะให้พระท่านไปพูดมันไม่เหมาะ อย่างเช่น เมื่อครั้งมีพระรูปหนึ่ง ถูกมติสงฆ์ให้ออกจากวัด
กลับไปสร้างอาศรมติดกำแพงวัด แล้วยังมารับแขกที่บ้านสายลม กลางเดือน ทุกเดือนอีก ก็ปรากฏว่าท่านไม่เคยทำหน้าที่ไวยาวัจกรเลย
ไม่ชี้แจงความเป็นจริงแก่เจ้าของบ้านสายลม จึงเกิดเรื่องนี้ขึ้นเป็นเวลานาน จนเจ้าของบ้านเขาไปรู้ความเป็นจริงมาเอง เขาเลยงดนิมนต์พระรูปนี้ มาที่บ้านสายลม
ถ้าท่านไม่สำคัญผิดในความหมายของคำว่าไวยาวัจกร เหตุการณ์ต่างก็คงจะดีกว่านี้ แต่ด้วยความที่ติดกระดุมเม็ดแรกผิดนี่เอง จึงมีการบันทึกข้อข้องใจ
ข้อที่ท่านเรียกว่าอารมณ์ปฏิฆะ( ด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน )ไว้ในสมุดบันทึกเท่านั้น ไม่ได้นำมาพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ เพื่อสร้างสรรค์วัดของพ่อเรา
อย่างน่าเสียดาย เอาออกมาตีแผ่อีกทั้งที่เหตุการณ์ก็ผ่านไปนานแล้ว พร้อมกับความเสียหายที่เกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และ
ได้ผ่านไปนานแล้วเช่นกัน
ขอบารมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ขอบาระมีหลวงปู่ปาน หลวงพ่อ ท่านปู่ ท่านย่า
ท่านแม่ศรี พี่มเหสักขา เทพพรหมเทวดา ช่วยดลบันดาลให้ผู้ที่มีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา รักษาวัดวาอาราม มีวัดท่าซุงเป็นต้น จงมีกำลังกาย กำลังใจ
กำลังสติปัญญาที่เข้มแข็ง สามารถปฏิบัติตัดกิเลส เหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นสมุจเฉทปหาน เข้าถึงแดนพระนิพพานได้โดยง่าย โดยฉับพลัน
ในชาติปัจจุบันนี้จงทั่วกันด้วยเทอญ
.
ann
๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓
** ขอขอบคุณ คุณ ann มากครับ ทางทีมงานขออนุญาตจัดเว้นวรรคให้ดูอ่านง่ายขึ้น หากใครมีข้อมูลอะไรอีก กรุณาส่งมาได้เลยนะครับ
เท่าที่เคยไปในงานนี้กับเพื่อนๆ นะคะ ได้เห็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของวัดท่าซุงหลายท่านนี่คะ โดยเฉพาะพวกเรารู้จักกับ "พี่แดง" ขอโทษที่จะต้องเอ่ยนาม คือ
ท่านพลตรีศรีพันธ์ วิชพันธ์ ซึ่งเปนศิษย์เก่าแก่หลวงพ่อ เคยติดตามพระเดชพระคุณท่านไปในที่หลายแห่ง ท่านเป็นนายทหารผู้ใหญ่ มีตำแหน่งหน้าที่การงานสำคัญ
ทั้งทางธรรมท่านก็มีความรู้ ที่สามารถติดต่อพระและเทวดาได้เช่นกัน ตามที่อ่านในเวปนี้ ท่านมหาราชทั้ง ๔ ก็อนุญาตให้พี่แดงทำพิธีบวงสรวงได้
โดยไม่ต้องเปิดเทปหลวงพ่อ ซึ่งในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อทั้งหลายก็มีสิทธิ์อยู่เพียงแค่นี้
ฉะนั้น พี่แดงย่อมมีประสบการณ์ว่าอะไรควรหรือไม่ หากทำผิดพลาดเช่นนี้ ท่านคงจะคัดค้านหรือแนะนำว่าไม่สมควรทำแล้วค่ะ
แต่เมื่อกลับกันมาแล้วได้ไปพบปะสนทนากับพี่แดงที่วัดท่าซุง ปรากฏว่าพี่แดงปลื้มใจมีปีติมาก บอกว่าต้องน้ำตาไหลไปกับเหตุการณ์พิธีจำลองวันปรินิพพานมาก
เรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระแสข่าวงานนี้ที่ผ่านมานาน ตอนนี้ก็ยังสามารถสอบสวนทวนพยานกับผู้ที่ไปงานนี้ได้ ส่วนผู้ที่เขียนบันทึกคงไม่ได้ไป
หรือเพียงแค่รับฟังข่าว ควรจริงควรที่จะรับฟังข้อมูลหลักฐานเหล่านี้ได้นะคะ ถ้าจะมีใจเป็นธรรม น่าจะสอบถามพระหรือฆราวาสที่ไปในงาน
ก็สามารถที่จะรับรู้ความเป็นจริงได้ แล้วแจ้งข่าวที่ถูกต้องนี้ให้เข้าใจโดยทั่วไป พร้อมทั้งหลักฐานที่ท่านชี้แจงไว้ในหนังสือตามรอยพระพุทธบาทเล่ม 1
เพื่อเป็นการช่วยเหลือพระภิกษุภายในวัด มิให้เดืออร้อนเสื่อมเสียชื่อเสียง อีกทั้งเป็นการรักษาเกียรติภูมิของวัด
ในฐานะที่ได้รับหน้าที่เป็นไวยาวัจกรตามที่มีผู้โพสไว้ด้านบน
แต่นี่กลับอ้างคำตรัสของพระพุทธเจ้า แล้วแทรกความเห็นไปด้วย เป็นการย่ำยีทับถมพระในวัดด้วยกันเอง พร้อมทั้งดูหมิ่นท่านว่าไม่ใช่พระ
ทำไมถึงตัดสินด้วยเหตุเพียงแค่นี้เองหรือค่ะ แล้วความดีที่ท่านทำไว้ เช่น รับสมัครคนที่บวชพระ จัดงานธุดงค์มายาวนาน 10 กว่าปี
ช่วยเหลืองานหลวงพ่ออนันต์นับครั้งถ้วน นี่หรือค่ะ............... ต้องขอประทานโทษด้วยนะคะ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่คนเดียว.
"เฝือ" นี่ผมเข้าใจว่าหลวงพ่อจะเตือนพวกเราว่า เมื่อได้มโนฯได้ญาณอีก๘อย่าง ถึงแม้ว่าจะเห็นไม่ผิดแต่เมื่อนานเข้า ทิฏฐิมานะ ก็จะเกิดอุปทานก็จะตามมา
สิ่งที่ชำนาญก็จะเริ่มผิดๆถูกๆ ต่อมาก็ยกตนข่มท่าน ส่วนคนที่เก่งจริงๆนั้น ขออยู่ใต้เท้าหลวงพ่อเท่านั้น
สารบัญ
☺ ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
☺ คำตอบกระทู้ที่ 2 ของหนังสือธรรมะ เล่มที่ 12
☻ สรุปกระทู้ที่ 2 จากผู้ถาม
☺ ผู้ที่ปรารถนา "พุทธภูมิ" สายหลวงพ่อฯ (Update 22-8-53)
☺ รวบรวมคำสั่งของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายชีวิตหลวงพ่อ (Update 26-8-53)
ตามความเห็น ว่าการจำลองเหตุการณ์ จะให้เหมือนจริงคงเป็นไม่ได้ ไม่งั้นคงไม่ใช้คำว่าจำลอง อย่างกับรัชกาลที่ ๕ ทรงจำลองพระพุทธชินราช พิษณุโลก
มาไว้ที่วัดวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ มองอย่างไรก็ไม่เหมือนกัน จะคิดทำไม่สมพระเกียรติก็ไปคิดทำไม เพราะคนทำพิธีจำลองก็ต้องทำตามพุทธประวัติอยู่แล้ว
ถามว่าคนไหว้ได้บุญไหม แน่นอนค่ะ มันอยู่ที่เจตนา ถ้าหากคนที่ไปเห็นกับตาในงาน และเขายอมรับมานานนับ ๑๐๐ ปีแล้ว อย่างที่จังหวัดอุตรดิตถ์
วันวิสาขบูชาเดิมก็มีแค่บทสวดบูชา วันลอยกระทงก็เพิ่งทำกันในสมัยพระร่วงเจ้า ปัจจุบันก็ทำจนเป็นประเพณีไปแล้วเช่นกันค่ะ
ประเด็นความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ต้องทำตรงตามหลักพระไตรปิฎกทุกเหตุการณ์ เพราะนั่นเป็นเหตุการณ์จริง
แต่การจำลองย่อมทำได้พอให้เห็นเป็นแนวทางตามพระไตรปิฏกเท่านั้น เพื่อให้เกิดเป็นประเพณีอัฏฐะมีบูชา คือการย้อนรำลึกถึงวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
อันเป็นงานประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ หรืองานตักบาตรเทโว ประจำจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวพุทธ จะนานก็ไหน ก็ต้องให้เวลาเป็นตัวเปลี่ยนแปลง
อย่างที่คุณว่านะคะ
แต่กระทู้ที่โพ๊สกันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ว่าจะทำถูกตามพระไตรปิฎกหรือไม่ แต่จุดสำคัญว่าการจำลองถวายเพลิงพระพุทธเจ้า ทีทำเป็นหุ่นจำลอง
โดยผู้ทำมีเจตนาจะย้อนระลึกถึงเหตุการณ์ตอนนั้น ไม่ได้สร้างหุ่นพระพุทธเจ้าเอามาเผากันเล่นเป็นการปรามาสนะ ว่าทำถูกต้องหรือไม่
ผู้โพ๊สก็ยกตัวอย่างที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งมาเป็นตัวอย่าง จากนั้นก็มีผู้แนะนำให้อ่านรายละเอียดในหนังสือตามรอยเล่ม1 เท่านั้นละค่ะ
(อยากถามว่าหนังสือเล่มนี้จะหาได้ที่ไหนคะ)
ส่วนคำกล่าวถึงหลวงพ่อที่ว่า แม้แต่พระมหากัสสปะท่านยังไม่ใช้ ทิพจักขุญาณ เพราะ "มันเฝือ" น่าจะอธิบายเพิ่มเติมสักนิดนะคะว่า
การที่ท่านไม่ใช้ทิพจักขุญาณนั้น ไม่ใช่เพราะเฝือนะคะ ความหมายของหลวงพ่อนั้น หมายถึงพระอรหันต์ท่านไม่ค่อยใช้ทิพจักขุญาณ คือท่านไม่อยากรู้อยากเห็นอะไร
แต่ถ้าท่านใช้ก็ไม่ค่อยเผือนะคะ ขอบคุณค่ะ
สปาต้า - 19/8/10 at 14:39
ขอบคุณครับที่อธิบายให้ฟัง ผมก็อ่านที่หลวงพ่อพูดถึงเรื่อง "เฝือ" มานานแล้วเท่าที่จำได้ หลวงพ่อก็ได้พูดถึงเรื่องเฝือของพระอรหันต์
ที่ว่าพระอรหันต์ไม่ใช้ทิพจักขุญาณ เพราะถ้าดูแล้วจะไม่ถูกต้อง 100% ที่ถูกต้องมีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว เท่านั้น ผมจึงตีความหมายของหลวงพ่อเรื่อง เฝือ
ว่าหลวงพ่อยกตัวอย่างเรื่องพระมหากัสสปะ มาสั่งสอนลูกหลาน ว่าเก่งยังไงก็อาจจะผิดได้นะ ที่ไม่ผิดมีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
ส่วนประเพณีที่มีคนคิดตั้งขึ้นมาในภายหลังจะด้วยเจตนาดีก็ตาม แต่ถ้ามีคนบางส่วนอาจจะไม่เห็นด้วยเกรงว่าไม่เหมาะสมหรือไม่ ก็คงต้องใช้เวลาจริงๆครับ
ยกตัวอย่าง ถ้าเกิดมีคนคิดจะจำลอง วันประสูติ ให้เป็นประเพณี ณ.ปัจจุบัน อีกร้อยปีต่อจากนี้ก็คงมีทั้งคนที่ศรัทธาและคนที่ไม่เห็นด้วย
ตามที่ผมอ่านกระทู้ จับใจความได้ว่าประเพณีอัฏฐะมีบูชา ปัจจุบันเริ่มเหลือน้อยแห่ง เหตุอาจจะ อาจจะนะครับ
อาจจะมีหลายๆแห่งเริ่มไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่าไม่เหมาะสม จึงได้เริ่มเลิกๆกันไปตามกาลเวลา ส่วนประเพณีที่ทุกแห่งยอมรับก็จะอยู่กับกาลเวลาไปได้นาน
ส่วนที่ว่าเทียบกับพระไตรปิฏกไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้ได้แบบสมัยก่อน เพียงแต่ว่าถ้าผู้รู้ได้ข้อธรรมใดข้อธรรมหนึ่งใน พระไตรปิฏก
มาอธิบายให้ผมและทุกๆท่านเห็นได้ว่า เป็นประเพณีที่เหมาะสมหรือไม่ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ข้างความด้านบนที่ผมแสดงความเห็นนั้น
ผมก็ได้บอกถึงความรู้สึกของผมเท่านั้น คงต้องรอผู้รู้จริงมาช่วยแก้ปริศนานี้ อีกอย่าง หนังสือธรรมที่นำไปสู่ความหลุกพ้นและบันทึกของชาโดว์ ผมก็ไม่เคยอ่าน
อาจจะผ่านๆตาก็มีบ้าง จึงไม่ทราบรายละเอียดอะไรมากนัก จะขอแสดงความคิดเห็นตามที่อ่านในกระทู้นี้ เท่านั้น
เพียงลมหายใจเข้า-ออก - 19/8/10 at 14:48
เฮ้อ...................!
webmaster - 19/8/10 at 16:34
...........ตามที่ท่านบอกว่าพระอรหันต์ใช้ญาณ การรู้เห็นไม่เท่าพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่เฝือแน่นอน ผมตัดสินว่าถูกทั้งคู่นะครับ
แต่ส่วนที่คุณกล่าวว่า
"ส่วนประเพณีที่มีคนคิดตั้งขึ้นมาในภายหลังจะด้วยเจตนาดีก็ตาม แต่ถ้ามีคนบางส่วนอาจจะไม่เห็นด้วยเกรงว่าไม่เหมาะสมหรือไม่
ก็คงต้องใช้เวลาจริงๆครับ ยกตัวอย่าง ถ้าเกิดมีคนคิดจะจำลอง วันประสูติ ให้เป็นประเพณี ณ.ปัจจุบัน
อีกร้อยปีต่อจากนี้ก็คงมีทั้งคนที่ศรัทธาและคนที่ไม่เห็นด้วย
ตามที่ผมอ่านกระทู้ จับใจความได้ว่าประเพณีอัฏฐะมีบูชา ปัจจุบันเริ่มเหลือน้อยแห่ง เหตุอาจจะ อาจจะนะครับ
อาจจะมีหลายๆแห่งเริ่มไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่าไม่เหมาะสม จึงได้เริ่มเลิกๆกันไปตามกาลเวลา"
........ซึ่งคุณได้เชิญมาร่วมออกความเห็นนะครับ ตามที่คุณบอกว่า..
"อยากได้ข้อธรรมใดข้อธรรมหนึ่งใน พระไตรปิฏก มาอธิบายให้ผมและทุกๆท่านเห็นได้ว่า เป็นประเพณีที่เหมาะสมหรือไม่"
........ความจริงผมก็ไม่มีความรู้มากนัก ฉะนั้นจึงยังไม่เรียกว่าผู้รู้ แต่ขอนำความรู้มาให้ศีกษากันดังนี้ ซึ่งอาจจะมีข้อความซ้ำๆ กันบ้าง
แต่จำเป็นต้องนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิง จากข้อมูลทางส่วนราชการที่เชื่อถือได้ก่อน แล้วจะสรุปหลักฐานจากพระไตรปิฎกภายหลัง
ขอนำเวปไซด์ที่กล่าวถึงประเพณีอัฏฐะมีบูชานี้ จากเว๊บของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อนนะครับ
รูปภาพนี้มีคำว่า "วันเผาศพพระพุทธเจ้า" ด้วย เป็นคำที่อยู่ในภาพนี้มาก่อนนะครับ
อ้างอิงจากเวบไซด์ของ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"
http://www.skn.ac.th/skl/skn42/pts98/praputthjul.htm
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่
.......ประเพณีอัฐมีบูชา หรือพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว และผู้สนใจร่วมงาน ประเพณีอัฐมีบูชา ซึ่งกำหนดจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
ถึงวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 5 มิถุนายน 2553 ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ กล่าวว่า ประเพณีอัฐมีบูชา หรือพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง
เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของศาสนาพุทธ และมีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็น วันวิสาขบูชา และวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 เป็น
วันอัฐมีบูชา โดยประเพณีอัฐมีบูชานับเป็นที่สืบทอดมายาวนานของชาวอุตรดิตถ์ นอกจากจะเป็นการน้อมจิตรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตลอดจนพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
กิจกรรมของประเพณีพิธีอัฐมีบูชา
เริ่มต้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2553 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา โดยชาวตำบลทุ่งยั้งจะช่วยกันจัดจำลองพระบรมศพ หรือพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในอิริยาบถไสยาสน์ ประดิษฐานในพระเมรุที่ตกแต่งด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างสวยงาม และในเวลา 20.00 น. มีกำหนดการให้มีพิธีเวียนเทียน
วันที่ 29 พฤษภาคม 2 มิถุนายน 2553 มีการแสดงบนเวทีกลาง มีกิจกรรมบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อทางศาสนา ตักบาตร ทำบุญ สวดอภิธรรม และเทศนาธรรมเวลา 20.00 น.
โดยหัวหน้าส่วนราชการหมุนเวียนกันมาเป็นเจ้าภาพทุกวัน
วันที่ 3-4 มิถุนายน เวลา 20.00 น. นอกจากมีพระธรรมเทศนาแล้ว ยังมีการซ้อมพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจำลอง และเวลา 21.00 น. มีการแสดงบนเวทีกลาง
วันที่ 5 มิถุนายน 2553 วันอัฐมีบูชา เวลา 11.00 น. มีพิธีสลากภัต นอกจากนี้ยังมีมีกิจกรรมพิเศษคือ เวลา 18.09 น.
มีพิธียกช่อฟ้าวิหารวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และเวลา 20.30 น. มีการอัญเชิญพระบรมศพจำลองจากศาลาการเปรียญลงสู่พระเมรุมาศจำลอง
พิธีการจำลองการถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ซึ่งพระภิกษุ พร้อมด้วยสามเณร ชาวบ้านทุ่งยั้ง ผู้นำชุมชน ประชาชน นักเรียนในท้องถิ่น
จะร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติเมื่อครั้งสมัย พุทธกาลตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
แล้วนำมาสู่การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า โดยจัดในลักษณะการแสดงประกอบแสง สี เสียงอย่างยิ่งใหญ่งดงามตระการตา
จากนั้นผู้เข้าร่วมพิธีในงานจะมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกุศลด้วยการถวายดอกไม้ จัน ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นพุทธบูชา ซึ่งชาวอุตรดิตถ์ และประชาชนชาวไทย
ได้ร่วมสืบทอดรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้มาแต่โบราณกาล โดยยึดถือปฏิบัติดำเนินการต่อเนื่องมาหลายร้อยปี
ททท.สำนักงานแพร่ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ ร่วมอนุรักษ์สืบสานประเพณีอันดีงามของจังหวัดอุตรดิตถ์ และร่วมบำเพ็ญกุศลทานบารมี รักษาศีล เผยแพร่ธรรมะ ในวันที่ 28
พฤษภาคม 5 มิถุนายน 2553 ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร. 0 5540 3093 สอบถามข้อมูลการเดินทาง
และการท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ได้ที่ ททท.สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 0 5452 1118, 0 5452 1127 ทุกวันในเวลาราชการ
อ้างอิงจาก http://news.sanook.com
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
ภาคกลาง : บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัด ฉะเชิงเทรา
ช่วงเวลา
วันแรม ๘ ค่ำ ถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๘ วัน เป็นวันประกอบพิธีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จากนั้นในวันที่ ๙ คือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖
เป็นวันถวายพระเพลิง
ความสำคัญ
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมานานนับร้อยปี
บนพื้นฐานความเชื่อว่าพุทธศาสนิกชนที่ได้ร่วมถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จะได้บุญกุศลอย่างแรงกล้า
พิธีกรรม
ก่อนงานชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกันสร้างโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แล้วนำไปตั้งเบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ครั้นวันแรม ๘-๑๕ ค่ำ
พระสงฆ์จะลงสวดพระอภิธรรมตั้งแต่ ๒๐.๐๐ น. เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นกุศลแก่ผู้สดับธรรม
แต่ละคืนชาวบ้านจะร่วมกันนำจตุปัจจัยมาถวายแด่พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นการทำบุญ ครั้นวันขึ้น ๑ ค่ำ
หลังสวดพระอภิธรรมก็จะมีการนำเอาโลงและรูปจำลองของพระพุทธเจ้า แห่เวียนรอบพระเมรุมาศจำลอง แล้วจึงยกขึ้นวางบนจิตกาธาน พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล
ถวายดอกไม้จันทน์ร่วมกับชาวบ้านแล้วถวายพระเพลิง
สาระ
เนื้อหาประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าคือ การระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จปรินิพานอันเป็นการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งปวง
ก่อให้เกิดสติที่ไม่ติดยึดอยู่กับวัตถุใดๆ และเห็นชีวิตเป็นอนิจจัง
อ้างอิงจาก http://www.openbase.in.th/node/7438
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ร่วมพิธี อัฏฐมีบูชา ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
หลังจากได้เล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานในวันสงกรานต์ที่ผ่านมากันถ้วนหน้าแล้ว ก็มาถึงวันสำคัญยิ่งของผู้นับถือพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ วันวิสาขบูชา
ที่แม้แต่องค์การสหประชาชาติยังยกย่องและประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลโลก สำหรับในประเทศไทยได้มีประเพณีหนึ่งอันเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา
แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักหรือแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชนนัก นั่นก็คือประเพณีวันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา นั้น ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เจ้ามัลลกษัตริย์
ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธองค์เป็นเวลา 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 8 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้อัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง ณ
มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง วันนี้เองจึงเรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา
ความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ในบ้านเรานั้นพบว่าเคยมีมานานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด
โดยสถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
พระอธิการวรกูล ธมฺมทินโน เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เปิดเผยว่า วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อบต.ไผ่ล้อม
สภาวัฒนธรรมตำบลทุ่งยั้ง อำเภอและจังหวัด จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา และงานอัฏฐมีบูชา (ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าจำลอง) ประจำปี
2550 เพื่อสืบสานงานประเพณีที่มีมานานกว่า 40 ปี ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-8 มิถุนายน 2550 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
ในวันวิสาขบูชามีพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุ และในวันสุดท้ายมีพิธีการแสดงสมมติขั้นตอนการถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
ตามขั้นตอนในพิธีที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติตามลำดับ คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือวันวิสาขบูชา
จะมีการสร้างพระพุทธเจ้าจำลองสานด้วยไม้ไผ่ บรรจุในโลงแก้วจำลอง แล้วอัญเชิญไว้ที่ศาลาการเปรียญเพื่อประกอบพิธีทำบุญ ถวายสังฆทาน และสวดพระอภิธรรม
ตั้งแต่วันแรกไปจนถึงวันแรม 8 ค่ำ ปีนี้ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน เรียกวันอัฏฐมีบูชา หมายถึงการบูชาพระพุทธเจ้าในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
ณ เมืองทุ่งยั้งนี้ จะได้รับการสมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งจะถูกตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของพระพุทธเจ้าในพระอิริยาบถ ไสยาสน์ ด้วยไม้ไผ่สาน
พอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกระดาษ ห่มพระวรกายด้วยจีวรสีเหลือง ยาว 9 ศอก ประดิษฐานอยู่ภายใต้พระเมรุมาศที่สร้างขึ้นอย่างสวยงาม สีแดงสลับเหลือง
ด้วยฝีมือช่างอาวุโสชาวเมืองลับแล
พิธีการสำคัญจะเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ในช่วงกลางวันจะมีพิธีสงฆ์การทำบุญตักบาตร พิธีการถวายสลากภัต
การสวดพระอภิธรรม เมื่อถึงเวลาค่ำประมาณ 20.00 น. จะเริ่มพิธีการจำลองถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นการแสดงแสงสีเสียงอย่างยิ่งใหญ่สวยงาม บรรดาชาวเมืองทุ่งยั้งจะได้รับการสมมติว่าเป็นชาวเมืองกุสินาราในสมัยพุทธกาล ต่างถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าร่วมพิธี
ภายในงานจะมีโฆษกบรรยายพุทธประวัติในช่วงที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีผู้แสดงเป็นพราหมณ์ เทวดา
ตั้งขบวนมาถวายความเคารพ พร้อมอุบาสกอุบาสิกา
และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ พระมหากัสสปะ ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยไว้ว่า หากพระอริยกัสสปะยังไม่มาถวายความเคารพพระบรมศพ พระเพลิงก็จะไม่ไหม้เลย
ดังนั้น เมื่อพระสงฆ์ผู้สมมติเป็นพระมหากัสสปะมาเคารพพระบรมศพจำลองแล้ว พระบรมศพจำลองจะเกิดไฟลุกท่วมขึ้นทันที
พลุหลายหลากสีจะถูกจุดทะยานขึ้นเต็มท้องฟ้าอย่างงดงาม ขณะที่เพลิงซึ่งไหม้พระสรีระจำลองของพระพุทธเจ้ามอดลงทีละน้อย...ก็เป็นอันเสร็จพิธี
ผู้ชมที่ไปร่วมงานจะเห็นเหตุอัศจรรย์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในครั้งพุทธกาล ซึ่งได้จำลองมาให้ชมในครั้งนี้ด้วย
จนเสร็จสิ้นพิธีแล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในพระบรมธาตุ ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ใกล้กับบริเวณจัดงาน ด้วยเทคนิคแสงสีเสียงประกอบ
ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชาก่อนการถวายพระเพลิง
นับได้ว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน
ในงานจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมแก่เยาวชน การแข่งขันตอบปัญหาทางพุทธศาสนา การประกวดโต๊ะหมู่บูชา การประกวดวาดภาพวันวิสาขบูชา การทำบุญตักบาตร
พิธีถวายพระอภิธรรม และพิธีการจำลองการถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ซึ่งเป็นในลักษณะการแสดงประกอบแสง สี เสียง อย่างยิ่งใหญ่งดงามตระการตา
สอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง โทร. 0-5541-4979, 0-5541-4978, สำนักงาน ททท. ภาคเหนือเขต 3 (พิษณุโลก) โทร. 0-5525-2742-3
อ้างอิงจาก.. หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 33
วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6035
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาคเหนือ : วัดป่างิ้ว ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จัดงาน วันอัฏฐมีบูชา
พระสงฆ์ 400 รูป ร่วมจำลองถวายพระเพลิง
พระครูวิเชียรปัญญา เจ้าอาวาสวัดป่างิ้ว ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 7-8 มิถุนายน 2550 นี้ วัดป่างิ้ว ได้จัดงานวันอัฏฐมีบูชา
หรือวันถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระบรมพุทธสรีระ
เป็นวันที่ชาวพุทธต้องสูญเสียพระบรมพุทธสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันที่แสดงธรรมสังเวช
ระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
ในการจัดงานมีพระสงฆ์รวมพิธีจำนวนมากกว่า 400 รูป จำลองเหตุการณ์ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าผสมผสานกับจารีตประเพณีพื้นบ้าน
มีการแห่ขบวนเครื่องสักการะมาถวาย ซึ่งประชาชนในพื้นที่และต่างจังหวัดที่ศรัทธาทางวัดมาร่วมงานจำนวน โดยขบวนแห่เครื่องสักการะ
การจัดงานวันอัฏฐมีบูชา ประจำปี 2550 ได้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน พร้อมกันนี้ สถาบันการศึกษา ได้ให้ความสำคัญแจ้งความประสงค์มาร่วมงาน
เพื่อให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาและปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้เข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากยิ่งขึ้นด้วย
สำหรับการจัดงาน วันที่ 7 มิถุนายน เวลา 17.39 นาฬิกา พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สมโภชน้ำศักดิ์สิทธิ์, เวลา 18.19 นาฬิกา พระมหานาค สวดพระคาถาพุทธาภิเษกสมโภช
และในวันที่ 8 มิถุนายน เวลา 10.00 นาฬิกา พระราชาคณะจำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาหลวง, เวลา 13.00 นาฬิกา ทอดผ้าป่ามหากุศล 2,555 กอง และเวลา 14.00
นาฬิกา ประกอบพิธิอัฏฐมีบูชา
อ้างอิงจาก..หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 33
วันที่ 07 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6034
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9 ขบวนพุทธประวัติตระการตา สืบสานประเพณี วันอัฏฐมีบูชา
ณ วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง (วันอัฏฐมีบูชา) หรือชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าประเพณีเผาศพพระพุทธเจ้าจำลอง ซึ่งพุทธศาสนิกชน ต.วัดละมุด
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จัดสืบทอดกันมา 100 ปีแล้ว เพื่อมุ่งหวังให้เป็นเครื่องเตือนสติพุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ
อันเป็นหลักแหล่งการประพฤติปฏิบัติที่เกื้อกูลขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งเพื่อรักษาประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ดีงามให้คงอยู่กับชุมชนท้องถิ่นสืบไป
การจัดงาน วันอัฏฐมีบูชา จัดหลังงานวันวิสาขบูชา 8 วัน หรือตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 โดยในปี พ.ศ.2549 กำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคมนี้
ซึ่งได้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา อาทิ การถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ การแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง การกระทำทักษิณาวรรต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
การจัดขบวนแห่จำลองเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิและวิถีชีวิตไทย ที่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่กระทำผิดศีลจะได้รับกรรมตอบสนองในรูปแบบต่างๆ
ที่เป็นความทุกข์ทรมานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อต้องการย้ำเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงานได้เกิดสติคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ
และมีความเกรงกลัวที่จะกระทำบาป
นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการแสดงมหรสพ การละเล่นและการจุดพลุตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
พิธีกรรมของการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า จะเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าของวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม ชาวบ้านช่วยกันตักบาตรและถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่
วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จนกระทั่งถึงช่วงบ่ายมีการจำลองพิธีอัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าไปยังพระเมรุมาศ โดยพราหมณ์ เทวดา นางฟ้า
พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน จากศาลาการเปรียญเดินทักษิณาวรรตพระเมรุมาศ 3 รอบ
ต่อจากนั้นจึงได้อัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าประดิษฐานยังแท่นพระเมรุมาศ (จำลอง) ซึ่งพระเมรุมาศ เป็นลักษณะสี่เสาทรงสูงแบบโบราณ
ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยการแทงหยวก ประดับด้วยผ้าแพรพรรณ และจัดโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านหน้าของพระเมรุมาศ เพื่อให้พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน
และผู้เลื่อมใสศรัทธาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สักการบูชาพระบรมศพ
เวลา 14.00 น. จะมีขบวนแห่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิ และวิถีชีวิตไทย จากหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 9 ขบวน เคลื่อนจากหมู่บ้านมายังวัดใหม่สุคนธาราม ขบวนที่ 1
การแสดงรำลึกประวัติศาสตร์ตอนสมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ขบวนที่ 2 พุทธประวัติตอนประสูติ ขบวนที่ 3 พุทธประวัติตอน
นายขมังธนูได้รับว่าจ้างจากพระเทวทัต ให้ไปปลงพระชนม์พระพุทธองค์ ตอนที่ 4 พุทธประวัติตอนโสตถิยะเกิดความเลื่อมใส ถวายฟ่อนหญ้าคา
พระองค์ทรงรับและใช้ปูลาดใต้ร่มโพธิบัลลังก์
ขบวนที่ 5 พุทธประวัติตอน เสด็จออกบรรพชา โดยมีนายฉันนะ เป็นผู้ผูกม้ากัณฐกะให้ใช้ในการเดินทาง ขบวนที่ 6
พุทธประวัติตอนพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระวรกาย ขบวนที่ 7 พุทธประวัติตอนเทวดาแสดงนิรมิตพิณบรรเลงถวาย ขบวนที่ 8 และ 9
พุทธประวัติตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ตอนบำเพ็ญทุกรกิริยา
เมื่อขบวนแห่ถึงวัดแล้ว เวลาประมาณ 17.00 น. จะเริ่มพิธีสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อยู่บริเวณพิธีจะร่วมกันสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ
เมื่อสวดจบแล้วประธานฝ่ายสงฆ์และประธานฝ่ายฆราวาส นำดอกบัวและธูปเทียนไปถวายหน้าพระบรมศพ ต่อจากนั้นผู้มาร่วมพิธีจะทยอยนำดอกบัว ธูปเทียนไปถวายหน้าพระบรมศพ
และชาวบ้านในแต่ละขบวนจะเดินออกบริเวณพิธีเพื่อไปจุดพลุตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชา ถือเป็นเสร็จพิธี
โดยในช่วงกลางคืนจะมีมหรสพพื้นบ้าน ดนตรีไทย และการละเล่นที่ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านส่งมาร่วมแสดง
ซึ่งนับเป็นงานบุญประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่สืบไป
อ้างอิงที่มาจาก...หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 30
คอลัมน์ สดจากหน้าพระ โดย อนุชา ทรงศิริ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5649
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า
วันอัฏฐมีบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวเนื่องต่อจากวันวิสาขบูชา แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ไม่ทราบถึงความเป็นมา
วันอัฏฐมีบูชา ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
พระเจ้ามัลละผู้เป็นกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธองค์เป็นเวลา 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 8 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
จึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง วันนี้เองจึงเรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา
สำหรับความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล ในบ้านเรานั้นพบว่าเคยมีมานานแล้ว
แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด สถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดีคือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล
จ.อุตรดิตถ์ ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 5 กิโลเมตร บนเส้นทางถนนสายบรมอาสน์ อุตรดิตถ์-ศรีสัชนาลัย สุโขทัย มีการจัดงานอัฏฐมีบูชาขึ้นเป็นประจำทุกปี
ต่อเนื่องมายาวนานกว่า 50 ปี สำหรับในปีนี้ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ในบรรยากาศแห่งพุทธธรรม ระหว่างวันที่ 19-27 พฤษภาคม 2551
เมืองทุ่งยั้งแห่งนี้ สมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
ตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของพระพุทธเจ้า ในพระอิริยาบถไสยาสน์ด้วยไม้ไผ่สาน พอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกระดาษ
ห่มพระวรกายด้วยจีวรสีเหลือง ยาว 9 ศอก ประดิษฐานอยู่ภายใต้พระเมรุมาศ ที่สร้างขึ้นอย่างสวยงาม จากฝีมือช่างอาวุโสชาวเมืองลับแล ประดิษฐานไว้ในโลงแก้วจำลอง
นำขึ้นไว้บนศาลาการเปรียญ ตรงกับวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา
ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จนถึงวันแรม 7 ค่ำ เดือน 6 จะนำพระบรมศพจำลองมาบำเพ็ญกุศลบนศาลาการเปรียญ ชาวบ้านทุ่งยั้งร่วมกันจัดงานบุญครั้งใหญ่
มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารพระ ฟังธรรมเทศนาทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ พ่อค้า
ประชาชนร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลตลอดทั้ง 8 วัน 8 คืน
เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า มีพระเจ้ามัลละเป็นองค์ประธาน ท่ามกลางความโศกเศร้าของพุทธศาสนิกชน ภิกษุสงฆ์
และพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวการปรินิพพาน ต่างก็เดินทางมาถวายความเคารพพระบรมศพ รวมถึงเหล่าพระอินทร์ พระพรหม เทพยดา นางฟ้าจากสวรรค์ ตลอดจนสามัญชน
มีโอกาสถวายความเคารพพระบรมศพเช่นเดียวกัน
จุดสำคัญของงานคือ เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า 2 ประการ ประการแรก
เมื่อพระเจ้ามัลละได้พระราชทานเพลิงให้ทิศาปาโมกข์ไปจุดถวายพระเพลิงทั้ง 4 ทิศ ปรากฏว่า จุดเท่าไหร่ไฟก็ไม่ติด พระอนุรุทเถระ ประธานฝ่ายบรรพชิตกล่าวว่า
ถ้าพระอริยกัสสปยังมาไม่ถึงและยังไม่ได้มากราบบังคมเบื้องพระยุคลบาท พระเพลิงจะไม่ติด และเหตุอัศจรรย์ที่สองนั่นคือ
ภายหลังที่พระอริยกัสสปนำพาพระภิกษุเข้าเฝ้าถวายความเคารพพระบรมศพ ขณะก้มลงกราบที่เบื้องพระยุคลบาท พระเตโชธาตุของพระองค์ก็แตกขึ้นเอง
เผาผลาญพระบรมศพจนหมดสิ้น โดยมิได้มีใครจุดถวาย
นางสายรุ้ง ธาดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า งานประเพณีอัฏฐมีบูชา ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแห่งนี้
เป็นงานประเพณีทางศาสนาที่ชาวบ้านได้ริเริ่มจัดกันมานานหลายปี และเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ก่อนที่จะมีหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
เข้ามาให้การส่งเสริม เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นงานประเพณีทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
ที่เราควรอนุรักษ์ให้อยู่นานๆ เพราะหาดูได้ยากมาก ในงานจะมีการแสดงแสงเสียงอย่างยิ่งใหญ่สวยงาม โดยเฉพาะในช่วงที่พระมหากัสสปะมาเคารพพระบรมศพ
พระบรมศพจำลองจะเกิดไฟลุกท่วมขึ้นทันที พลุหลายหลากสีจะจุดทะยานขึ้นเต็มท้องฟ้าอย่างงดงาม ขณะที่เพลิงซึ่งไหม้พระสรีระจำลองของพระพุทธเจ้ามอดลงทีละน้อย
ใกล้ถึงวันวิสาขบูชาแล้ว ต้องการรำลึกถึงพระพุทธคุณแบบลึกซึ้ง อย่าลืมไปชมงานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า หนึ่งเดียวในโลกที่อุตรดิตถ์
อ้างอิงที่มาจาก....หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน หน้า 24
คอลัมน์ รู้ก่อนเที่ยว โดย สมภพ สินพิพัฒน์ฤดี
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6379
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในพระไตรปิฎก มีกล่าวถึงเรื่องนี้แน่นอน คือ "สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล" ดังนี้ครับ
พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง ๔
ณ พระแท่นบรรทม หรือเตียงปรินิพพานนั้นเอง พระพุทธองค์ได้ทรงปรารถเรื่องราวต่างๆ หลายเรื่องกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากรวมทั้งเรื่อง สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล
จากในมหาปรินิพพานสูตร พอสรุปได้ดังนี้
ครั้งนั้นพระอานนท์เถรเจ้าได้กราบทูลพระองค์ว่า ในกาลก่อนภิกษุทั้งหลายที่ได้แยกย้ายกันไปจำพรรษาอยู่ตามชนบทในทิศต่างๆ เมื่อสิ้นไตรมาศครบ ๓
เดือนตามวินัยนิยมหรืออกพรรษาแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ย่อมจะเดินทางมาเฝ้าพระองค์เป็นอาจิณวัตร ก็เพื่อจะได้เห็นจะได้เข้าใกล้ จะได้อุปัฎฐากพระองค์
อันจะทำให้เกิดความเจริญทางจิต ก็มาบัดนี้เมื่อกาลแห่งการล่วงไปแห่งพระองค์แล้ว ก็แล้วข้าพระองค์ทั้งหลายก็จะไม่ได้เห็น จะไม่ได้นั่งใกล้
จะไม่ได้สากัจฉา(สนทนาธรรม) เหมือนกับสมัยที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอีกต่อไป
เมื่อพระอานนท์กราบทูลดังนี้แล้ว พระตถาคตเจ้าได้ทรงแสดงสถานที่ ๔ ตำบลว่าเป็นสิ่งที่ควรจะดู ควรจะได้เห็น ควรจะเกิดสังเวช
(ความสลดใจกระตุ้นเตือนจิตใจให้คิดกระทำแต่สิ่งดีงาม) แก่กุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธา คือ
๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้วคือ ประสูติจากพระครรภ์มารดา ตำบลหนึ่งคืออุทยานลุมพินี
๒. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบลหนึ่งคือ ควงไม้โพธิ์ พุทธคยา
๓. สถานที่พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตรธัมมจักเป็นไป หรือแสดงปฐมเทศนาตำบลหนึ่ง คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียก สารนาถ)
๔. สถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุตำบลหนึ่ง คือ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ให้เกิดความสังเวชของกุลบุตร กุลธิดา
ผู้มีศรัทธา
อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธามายังสถานที่ ๔ ตำบลนี้ ด้วยมีความเชื่อว่า พระตถาคตเจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว ณ สถานที่นี้
พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ณ สถานที่นี้ พระตถาคตเจ้าได้ให้พระอนุตรธัมมจักเป็นไปแล้ว ณ สถานที่นี้
และพระตถาคตเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทเสสนิพพานธาตุแล้ว ณ สถานที่นี้
ดูก่อนอานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใด เจติยจาริกของพระตถาคตเจ้าทั้ง ๔ ตำบลนี้แล้ว จักเป็นคนเลื่อมใส เมื่อกระทำกาลกิริยา(ตาย)ลง ชนทั้งหลายเหล่านั้น
จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความ ๔ ตำบลว่าเป็นที่ควรเห็น ควรดู ควรให้เกิดสังเวชของกุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธาด้วยประการฉะนี้แล
นี้เองเป็นที่มาของสังเวชนียสถาน ๔ แห่งในดินแดนพุทธภูมิ ที่ชาวพุทธทั้งหลายสมควรอย่างยิ่งที่จะไปนมัสการ กราบไหว้สักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต
อ้างอิงจาก... http://www.dhammathai.org/buddhism/sangvechani4.php
หรือตรวจสอบเพิ่มเติมได้จาก...
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
.....เป็นอันว่าชาวไทยอยู่ห่างไกล บางคนไม่สามารถจะเดินทางไปนมัสการได้ จึงได้มีความคิดริเริ่มสมมุติเหตุการณ์ขึ้นมา
จะเป็นกุสโลบายเหมือนกับที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเล่าไว้ว่า พระอรหันต์สมัยกรุงสุโขทัยท่านหาอุบายให้คนได้ทำบุญ เข้าวัดรักษาศีล และฟังธรรม
จึงริเริ่มให้คนไทยสมัยนั้นไปทำบุญที่วัดในวันพระ มีการทำบุญวันเกิด หรือทำบุญวันขึ้นบ้านใหม่บ้าง อีกทั้งหาวิธีให้ทำบุญและเวียนเทียนในสำคัญ เช่น
วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น
เหตุผลข้อนี้ น่าจะสรุปเข้ากับวิธีการของคนโบราณ ที่จะหาวิธีสร้างภาพให้ชาวพุทธทั้งหลาย ได้ย้อนรำลึกถึง "สังเวชนียสถาน ข้อ ๔"
คือสถานที่พระตถาคตเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เพื่อให้เกิดความสังเวชของกุลบุตร กุลธิดา ผู้มีศรัทธา ด้วยการบรรยายไปตามพุทธประวัติ แล้วมีพระเมรุมาศ
สร้างแท่นพระปรินิพพาน โดยมีหุ่นพระบรมศพจำลองนอนปรินิพพานอยู่บนพระแท่น จากนั้นก็บรรยายต่อไป จนกว่าจะถึงเหตุการณ์จุดไฟถวายพระเพลิง
หลังจากที่รอพระมหากัสสปกลับมากราบพระพุทธสรีรศพแล้ว
ซึ่งประเพณีนี้ไม่มีเหลืออยู่ในประเทศอินเดีย ไม่มีเหลืออยู่ประเทศอื่นๆ ที่นับถือพุทธศาสนา แต่ยังคงมีอยู่ในประเทศไทยแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
จะเห็นว่ากรมการศาสนา และ ททท. การท่องเที่ยวหลายจังหวัด รวมทั้งวัดต่างๆ ที่ได้นำมากล่าวไว้เป็นหลักฐานนี้ จะเห็นได้ว่า "งานอัฏฐมีบูชา"
ยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันนี้ โดยมีกรมการศาสนาพยายามรณรงค์ให้วัดต่างๆ ได้กิจกรรมอันเป็นบุญกุศล
อันเป็นประเพณีที่เหลืออยู่แห่งเดียวในโลกในเวลานี้ครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อนี้ยังพีงเทียบเคียงได้ในพระไตรปิฎก ตามหลัก "มหาปเทส ๔"
(๑๖๖) มหาปเทส ๔ (หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง) หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย - great authorities; principal references)
๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been objected to
as not allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been objected to as
not allowable, if it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)
๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been permitted as
allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been permitted as
allowable, of it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)
อ้างอิง..Vin.I.250 วินย.๕/๙๒/๑๓๑.
คุณจะเลือกข้อไหนก็แล้วแต่นะครับ ผมมีหน้าที่นำมาให้เทียบเคียงกันเท่านั้นเอง.
ทีมงานฯ
สปาต้า - 19/8/10 at 16:53
ขอบพระคุณมากๆครับ สาธุๆ
แล้วผมจะอ่านให้ละเอียดอีกทีครับ มีความเห็นเพิ่มแล้วผมขออนุญาติสอบถามต่อนะครับ
Ting - 19/8/10 at 23:03
...ถ้าท่านผู้เขียนหนังสือยังอยู่ ก็ไปสอบถามให้เข้าใจ สิ้นเรื่องสิ้นราว เพราะเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อด้วยกัน...
...ถ้านำมาขยายความแบบนี้มีแต่จะบานปลาย สุดท้ายคนข้างนอกเขาก็จะว่า แม้แต่ลูกศิษย์ใกล้ชิดยังขัดแย้งในคำสอนกันเลย มีแต่ผลเสียไม่มีผลดี...
...ถ้าใครเคยฟังหลวงพ่อพูดเรื่องมีคนมาเสนอขายรถให้จะเข้าใจ ว่าบางเรื่องถ้าไม่รู้จริง แล้วเอาไปพูดมันมีแต่จะเสียหายต่อส่วนรวม...
...นี่ก็เหมือนกัน หยิบจากในหนังสือ แล้วนำเรื่องในอดีตมาฟื้นให้เป็นเรื่องเสียหาย ไม่มีประโยชน์เลย ...
...แต่เมื่อมีข้อสงสัยเกิดมาแล้วก็ต้องไปถามให้เข้าใจ เพราะถ้าคนที่เข้ามาอ่านกำลังใจยังไม่เข้มแข็งก็แต่จะเพ่งโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...
...
...
...ถือเป็นบททดสอบความสามัคคีก็แล้วกัน...
หยก - 19/8/10 at 23:21
...ก็เห็นด้วยเช่นกันค่ะ ถ้าท่านผู้เขียนหนังสือยังอยู่ แต่นี่หนังสือมันแพร่กระจายออกไป ในกระทู้ได้ถามว่าเป็นหนังสือของหลวงพ่อพระราชพรหมยานหรือไม่
และได้เกี่ยวถึงสงฆ์วัดท่าซุงและสงฆ์ทั่วไป ต่อมาก็เป็นกระทู้ที่กระทบถึงพระรูปหนึ่งในวัดที่ทำเวปนี้อยู่ คิดว่าคงไม่ไปถามกันได้ง่ายๆ
ในเมื่อคนเขียนยังไม่ไปถามท่านก่อน คนที่ตั้งกระทู้คงไม่กล้าถามเช่นกัน เรื่องนี้คงมีหลายคนที่อาจยังไม่เข้าใจเหมือนกัน ถ้าจะไปถามพร้อมกันหลายๆคน
บางคนก็อยู่ไกลกัน หากคนธรรมดาเขียนคงไม่เป็นไรนะค่ะ แต่นี่เป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่หลวงพ่อ คงจะเกรงใจมั่งค่ะ
...เมื่อมีประเด็นนี้ขึ้นมา ก็น่าจะอาศัยเว็บนี้เป็นสื่อกลางที่จะหายุติกันได้ เราก็คุยกันในฐานะเป็นศิษย์สำนักเดียวกัน คนในบ้านพูดกันไม่รู้เรื่อง
แล้วเอาปัญหามาชี้แจงให้เข้าใจ จะได้ทำให้ความสามัคคีกลับคืนมา เป็นการช่วยให้คนที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ หรือยังสงสัยให้ได้รู้ความจริง
หากมองมุมนี้บ้างไม่ดีกว่าหรือค่ะ อย่างน้อยได้เห็นการถามตอบปัญหา การชี้แจงจากเหตุผลหรือหลักฐานมาประกอบ กับการถามที่ต้องการแสวงหาความรู้
อย่างนี้กลับได้ความรอบรู้ในทางพระธรรมวินัยข้อวินิจฉัยต่างๆ ความจริงพวกเราคนอ่านน่าจะเอาวิกฤตเป็นโอกาสตรงนี้ กลับดีเสียอีกที่จะได้สร้างความเข้าใจถูก
เพื่อไม่ให้เสื่อมเสียถึงชื่อเสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อจากข้อความจากหนังสือดังกล่าวบ้าง และที่ได้ยินคำพูดที่บ้านสายลมบ้าง
ที่ได้พาดพิงไปถึงสำนักอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียง ถ้าให้ยุติทางเว็บวัดท่าซุงคงชี้แจงให้ทราบความจริง นี่เป็นความเห็นส่วนตัวเองนะคะ
webmaster - 20/8/10 at 08:28
คำตอบกระทู้ที่ 2 ของหนังสือธรรมะ เล่มที่ 12
(อ่านข้อมูลเพิ่มเติม อัพเดทล่าสุด วันที่ 21 ส.ค. 53
ตามที่มีเครื่องหมายดอกจันท์ *)
(ท่านที่เคยอ่านแล้ว กรุณาอ่านข้อความใหม่อีกครั้ง เพราะมีการเปิดเผยข้อมูลไม่มีที่ไหนมาก่อน อย่าคัดลอกออกไปนะครับ)
☺......ตามที่คุณ Ting แนะนำไปแล้วว่า "ท่านผู้เขียนหนังสือยังอยู่ ก็ไปสอบถามให้เข้าใจ สิ้นเรื่องสิ้นราว เพราะเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อด้วยกัน"
ถ้าทำได้แบบนี้ก็ดีนะครับ จะได้เข้าใจกันง่ายๆ แต่เรื่องมันไม่ง่ายอย่างที่คิด หากก่อนที่จะเขียนหนังสือ ผู้เขียนสอบถามเจ้าของเรื่องก่อน
อย่างที่คุณหยกว่า ทุกอย่างก็จบง่ายอย่างที่ต้องการ โดยเฉพาะเวลาผ่านมานาน "คำชี้แจง" ของพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ก็มีอยู่ในหนังสือ "ตามรอยพระพุทธบาท เล่ม
1" ซึ่งได้จัดพิมพ์เมื่อปี 2548 วางจำหน่ายที่บ้านสายลมและภายในวัดท่าซุงมานานแล้ว แต่ก็ดีครับ...แม้เป็นเรื่องอดีตที่มีผู้นำมารื้อฟื้น
ท่านก็จะได้ถือโอกาสชี้แจงให้คนรุ่นหลังเข้าใจไปด้วย
☺....ในตอนนี้จึงขอตอบกระทู้ของคุณ shadow จากหนังสือเล่ม 12 พอสรุปได้ 2 ข้อคือ
1. ในเดือนนี้ มีนักบวชของวัดท่าซุงรูปหนึ่ง ซึ่งบวชแล้วจิตไม่ยอมเป็นพระ ชอบนำพุทธบริษัทของวัดท่าซุง
ออกท่องเที่ยวไปกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นอกวัด ทั้ง ๆ ที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่างมีอยู่ในวัดทั้งสิ้น ครั้งนี้พาไปที่ พระแท่นดงรัง
แล้วทำหุ่นรูปคล้ายพระพุทธเจ้า ในท่าพุทธสีหไสยาสน์ แล้วประชุมเพลิง (เผารูปหุ่นนั้นด้วย) กรมการศาสนาทราบดี เตรียมจะจัดการในสิ่งที่ไม่สมควรนี้
ที่สำคัญที่สุด คือ ร.9 ทรงทราบ ก็ตรัสถามลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษี ที่นำของเข้าไปถวายพระองค์ ทรงตรัสถามว่า ทำไมต้องเผาพระพุทธเจ้า...
☺.......ซึ่งเรื่องนี้ทางพระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้มอบหมายให้ทีมงานฯ คนหนึ่งเป็นผู้ชี้แจงทีละข้อนะครับ
1. เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2539 แต่ถ้าได้อ่านการจัด "งานอัฏฐมีบูชา" ตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง
ตามที่ได้นำข้อมูลมาให้อ่านแล้วนี้ จะเห็นว่า "กรมการศาสนา" และ "การท่องเที่ยวจังหวัด" ได้พยายามอนุรักษ์ประเพณีนี้
ตามที่บอกว่าการเผาหุ่นพระพุทธเจ้า "ในท่าพุทธสีหไสยาสน์" ก็เข้าใจผิด เพราะความจริงเป็นท่านอนบรรทม เรียกกันว่า "ปางปรินิพพาน"
ที่เขาสร้างไว้ในวิหารที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย
*** (เพิ่มเติมข้อมูลใหม่ เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 53) ***
☺.....อนึ่ง การที่จำเป็นต้องไปจัดงาน ณ สถานที่นี้ พระอาจารย์บอกว่า มีอยู่วันหนึ่ง ในขณะที่เดินตามท่านกลับจากรับแขก
ในระหว่างเดินท่านหันมาพูดว่า
......."พระพุทธเจ้าเดินทางมาจากปาวาลเจดีย์ นั่นคือ "ดงพญาไฟ" มาปรินิพพานที่เมืองกุสินารา คือที่ "พระแท่นดงรัง.."
หลวงพ่อพูดไว้ตั้งแต่ก่อนมรณภาพนานแล้ว แล้วก็ย้ำว่าหลวงพี่ได้ยินกับหูตนเอง ไม่ได้ฟังมาจากคนอื่นเล่า ทั้งๆ ที่ในสมัยนั้นท่านเพิ่งบวชไม่กี่พรรษา
ยังไม่เคยคิดที่จะไปจัดงานที่นี้ นี่คือคำบอกเล่าของหลวงพี่ เหมือนกับท่านจะรู้ล่วงหน้าว่า หลวงพี่จะต้องมีหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว
ส่วนใครจะอ่านหนังสือตอนไหนว่าใช่หรือไม่ใช่ ไม่อยากนำมาพูด เพราะหลวงพี่ท่านยืนยันว่าได้ยินอย่างนี้จริง ทั้งๆ ที่มิได้ถามท่านก่อน
ท่านพูดออกมาเองนะครับ
แล้วยังมีอีกเรื่องที่หลวงพ่อท่านพูดกับพระอาจารย์ชัยวัฒน์ว่า "...อีกหน่อยระบบกษัตริย์จะกลับเข้ามาอีก..." หลวงพี่เรียนถามท่านต่อไปว่า
เฉพาะประเทศไทยหรือครับ ท่านหันมาบอกอีกว่า "ทั่วไป" คำทำนายของท่านนี้ ภายหลังไม่เห็นท่านพูดกับใครอีกเลย แต่ท่านได้พูดกับหลวงพี่โดยมิได้ถามอีกเช่นกัน
ส่วนคำทำนายอย่างอื่นก็อย่างที่รู้กันดีแล้ว ที่ท่านเคยบอกก่อนล่วงหน้าว่า ".....อีกหน่อยรัสเซียจะแตก"
ผลที่สุดก็เป็นตามนั้นจริงๆ แล้วท่านก็บอกพระรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก (บอกก่อนที่จะมรณภาพหลายปี) ท่านบอกว่า "พระองค์นี้ตายแล้ว ลงอเวจีคูณ 4"
หลวงพี่ได้กราบเรียนถามว่าเป็นเพราะอะไร ท่านบอกคำเดียวว่า "ลาภสักการะ" พระคณาจารย์รูปนี้มีชื่อเสียงมาก แต่สอนนรกสวรรค์ไม่มี ได้มรณภาพไปนานแล้ว
หลวงพ่อบอกโดยมิได้ถามอีกเช่นกัน
ต่อมาพระอาจารย์จำเนียรที่อยู่ทางวัดถ้ำเสือ ได้บันทึกเทปส่งมาถวายหลวงพ่อ ท่านให้พระสมัยนั้นเอาไปฟัง จึงได้เข้าใจเรื่องทั้งหมด
เพราะพระอาจารย์จำเนียรเล่าว่า คอมมูนิสต์มีรายชื่อพระในประเทศไทยทั้งหมด 15 รูปที่จะต้องเก็บ ในจำนวนรายชื่อนั้นมีหลวงพ่อเป็นอันดับ 1
แต่ในจำนวนรายชื่อทั้งหมดนั้น อาจารย์จำเนียรสงสัยว่าแปลกมาก...ทำไมไม่มีรายชื่อพระที่มีชื่อเสียงรูปนี้ด้วย
.......แต่เมื่อปีที่แล้วมีการแจ้งข่าวเตือนทางเอกสารที่พิมพ์แจกกันทั่วไป เวลานี้กำลังรอการพิมพ์ข้อความย่อๆ จากหลวงพี่ปลัดวิรัช วัดธรรมยาน จ.เพชรบูรณ์
ที่บอกว่าลัทธิอื่นกำลังคิดวางแผนทำลายวัดที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย โดยเฉพาะมีรายชือ "วัดท่าซุง" รวมอยู่ด้วย เขามุ่งที่จะทำลายให้พระแตกแยกกัน
ยุยงให้คนในวัดทะเลาะกัน เขาบอกว่าจะหมดเงินทำไรก็ยอม เพื่อทำลายให้วัดนี้ย่อยยับไปในที่สุด
ขอเล่าหลังจากพระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้อุปสมบทเมื่อปี 2520 แล้ว ต่อมาหลวงพ่อก็ให้ท่านมีหน้าที่ทำบัญชีกองทุนฯ ของศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนฯ มีอยู่คราวหนึ่ง
หลวงพี่ได้เดินทางไปแจกของให้ทหารกับคนยากจนกับหลวงพ่อที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา แล้วไปพักที่ในค่ายทหาร มีเจ้าหน้าที่กองทุนที่เป็นฆราวาสร่วมเดินทางไปเยอะ
เมื่อไปถึงที่พักแล้ว ในตอนเย็นหลวงพ่อก็ออกมาเดินเล่นไปตามสนามหญ้าหน้าค่ายพักทหาร ระหว่างนี้มีพระเดินไปด้วยกันกับท่าน 3 รูป มี พระประดิษฐ์ พระอรัญ
พระชัยวัฒน์ (ปี 2520 พระสองรูปนี้ประจำอยู่ที่ศาลานวราช ซึ่งบวชก่อนหลวงพี่ชัยวัฒน์) ในระหว่างเดินคุยไปด้วยกัน พระอรัญยกมือไหว้ถามหลวงพ่อว่า
ถ้าพระที่ออกไปจากวัดแล้ว อยากไปอาศัยอยู่วัดอื่นจะดีไหมครับ ท่านบอกว่าพระสายเราไปอยู่กับใครยาก ควรไปหาสถานที่สร้างเองดีกว่า
จากนั้นหลวงพ่อท่านได้พูดถึงอาการป่วยและการทำงานว่า "พระพุทธเจ้าต้องคอยคุมท่านอยู่" พร้อมกับบอกว่า
"ตอนนี้ข้ามีชีวิตอยู่...เพื่อทำงานให้พระพุทธเจ้า" แล้วท่านหันมาพูดกับพระที่เดินตามว่า
"...อีกหน่อยพวกแก..ก็เหมือนข้าละว่ะ..!"
เพราะหลังจากกาลเวลาผ่านไป พระประดิษฐ์ก็ออกไปจากวัด พระอรัญก็ลาสิกขาบท เวลานี้กลับไปบวชอยู่กับหลวงพี่ปลัดวิรัช ที่เพชรบูรณ์
หากใครรู้จักก็เข้าไปถามพระอรัญได้ ไม่แน่ใจว่าท่านยังจำได้หรือไม่ แต่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ยังจำได้ ภาพและคำพูดจากใบหน้าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ
ยังก้องอยู่ในโสตประสาท อย่างไม่มีวันจางหายไปจากจิตใจเลย ส่วนหลวงพี่ละอองได้เล่าให้ฟังภายหลังว่า หลวงพ่อเคยพูดที่ตึกรับแขกว่า
"..พระที่ทำงานถูกดุบ่อยๆ อีกหน่อยจะได้ดี.." นี่ก็สอบถามย้อนหลังหลวงพี่ละอองที่ตึกรับแขกได้อีกเช่นกัน เพราะไม่ทราบว่าหมายถึงพระองค์ไหน
เพราะมีหลายองค์ที่โดนดุ เห็นหลวงพี่ชัยวัฒน์บอกว่า คงเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วยนะครับ
เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง จะเป็นชะตาชีวิตลิขิตหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ท่านเล่าย้อนหลังว่า ท่านได้ช่วยงานกองทุนศูนย์สงเคราะห์อย่างเต็มที่
แต่ภายหลังมีเหตุให้ถูกหลวงพ่อตำหนิ โดยที่มิได้มีเจตนาจะทำอย่างนั้น ท่านเองก็เสียใจอยู่ไม่น้อย เพราะมีอยู่วันหนึ่ง หลังจากหลวงพ่อไปแจกของที่บ้านไร่
จ.อุทัยธานี (ครั้งนี้หลวงพี่ชัยวัฒน์ไม่ได้ไปด้วย) หลังจากกลับมาแล้ว ท่านก็เดินทางไปสายลม ต่อมามีนายทหารชื่อ ร.ท.อุดร จงปัตนา ยศสมัยนั้น
ผู้บังคับหมวดที่คอยประสานงานให้หลวงพ่อเวลานั้น ได้มาหาหลวงพี่ชัยวัฒน์ที่วัดท่าซุง แล้วอ้างว่าหลวงพ่อเคยสั่งไว้ให้มารับสิ่งของ
ก่อนที่หลวงพี่ชัยวัฒน์จะให้สิ่งของไปนั้น ท่านได้โทรศัพท์ไปถามหลวงพ่อก่อนที่บ้านสายลม แต่มีเหตุให้ไม่สามารถติดต่อกับหลวงพ่อได้
เพราะตอนนั้นหลวงพ่ออนันต์และพระมนู ที่ไปกับหลวงพ่อด้วย ต่างก็ไม่กล้าไปกราบเรียนถามว่าจริงหรือไม่ เพราะเห็นว่าหลวงพ่อกำลังให้น้ำเกลืออยู่
โทรศัพท์กลับมาให้หลวงพี่ตัดสินใจเอง หลวงพี่เห็นว่าเป็นนายทหารสัญญาบัตร อีกทั้งก็เคยรู้จักกันแล้วก็ไว้ใจ ได้มอบสิ่งของให้ไป
ปรากฏว่าหลวงพ่อกลับมาถึงวัดท่านปฏิเสธว่าไม่เคยบอกให้ หลวงพี่ชัยวัฒน์ท่านว่าซวยเหลือเกิน ที่โดนหลวงพ่อตำหนิ จึงขอได้โปรดจำชื่อ ร.ท.อุดร จงปัตนา
ปัจจุบันไม่รู้ไปอยู่ไหน เพราะหลังจากนั้นก็ไม่เคยเห็นหน้าอีกเลย
แต่แปลกอย่างหนึ่ง..วันที่หลวงพ่อทำพิธีบวงสรวงที่หน้าอนุสาวรีย์ "พระเจ้าพรหมมหาราช" เมื่อวันเข้าพรรษปี 2535 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน
หลังจากหลวงพ่อยืนบวงสรวงเสร็จ ยังไม่ทันนั่งลง ท่านหันกลับมาพูดกับ คุณธำรงค์ อารีกุล (น้องชายคุณปรีชา อารีกุล)
ซึ่งเป็นเพื่อนที่ทำงานบริษัทสยามกลการ แห่งเดียวกับพระอาจารย์ชัยวัฒน์มาก่อน (ในตอนทำพิธีบวงสรวงอยู่นั้น คุณธำรงค์อยู่ใกล้หลวงพ่อเพียงคนเดียว
เพราะมีหน้าจัดบายศรี และจุดเทียนชนวนส่งให้หลวงพ่อ) หลวงพ่อพูดตามสไตด์กับคนใกล้ชิดว่า
"พระสั่งให้ข้าเดินทางทั่วประเทศว่ะ ไม่รู้ข้าจะไปไหวหรือเปล่า...?"
หลังจากหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว ในปี 2536 เริ่มเดินทางไปที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่เป็นครั้งแรก ทำให้ คุณธำรงค์ อารีกุล นึกถึงคำพูดของหลวงพ่อฯ
ที่พูดกับเขาไว้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนมรณภาพ คุณธำรงค์ถึงกับพูดว่า
"...งานนี้ต้องเป็นงานของหลวงพ่อฯ แน่เลย..!"
☺......เรื่องนี้พระอาจารย์ให้นำมาเล่าประกอบครับ เดิมท่านไม่อยากเปิดเผย เพราะไม่อยากจะอ้างว่า "เป็นงานของหลวงพ่อฯ"
แต่เมื่อเรื่องนี้มีคนอ้างว่าเป็นคำตำหนิของพระพุทธเจ้า ท่านก็จำเป็นต้องเอามาอ้างบ้าง ขอทุกท่านโปรดเข้าใจว่าไม่ได้นำมาอวดอ้างส่งเดช
เพราะผู้อ่านสามารถติดต่อ คุณปรีชา อารีกุล เวลานี้ก็ยังช่วยงานจัดบายศรีอยู่กับหลวงพ่อพระครูปลัด เวลาทำพิธีบวงสรวงทุกครั้ง
จะเห็นคุณปรีชาอยู่ใกล้ๆ ท่าน พร้อมทั้งติดต่อขอทบทวนคำพูดของหลวงพ่อฯ ในครั้งนั้น เพื่อเป็นหลักฐานพยานกันว่าไม่ได้นำมากล่าวอ้างลอยๆ
ต่อไปก็เข้าเรื่องพระแท่นดงรังต่อไปครับ........
(คลิกชม..คลิปวีดีโอ ตอนที่ 2)
พระพุทธรูป "ปางปรินิพพาน" ได้จัดสร้าง 2 องค์ คือ หุ่นจำลองอย่างสวยงามสมพระพุทธลักษณะ
และสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์มีรูปแบบเดียวกัน หลังเสร็จงานพิธีก็ได้ถวายไว้ที่วิหารพระแท่นในวันนั้นเลย
.....ฉะนั้นการที่บอกว่า "กรมการศาสนา" เตรียมเล่นงานก็ไม่เป็นความจริง เพราะในวันงานมีผู้ร่วมงานนับพันคน
มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะฝ่ายพระสงฆ์มีพระสังฆาธิการหลายรูป เช่นเจ้าอาวาส, เจ้าคณะตำบล, เจ้าคณะอำเภอในเขตนั้น
และยังมีพระภิกษุสงฆ์อีกนับร้อยรูป โดยเฉพาะประธานในพิธีก็คือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม
อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี สมัยนั้นท่านได้นั่งอยู่ในงานพิธีตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเฉพาะท่านเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรัง มีความรู้ขั้นมหา เป็นถึงเจ้าคุณ
ท่านจะไม่รู้เลยว่าทำถูกต้องหรือไม่
เพราะหลังจากจบงานแล้ว พวกเราก็มาจัด งานพิธีในหลวงทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ต่อที่วัดท่าซุง * (ซึ่งหนังสือเล่ม 12 ก็ไม่หยิบยกเอามากล่าวว่า
นักบวชผู้นี้หลังจากได้นำญาติโยมออกไปทัวร์นอกวัดแล้ว ยังได้นำญาติโยมกลับมาจัด "งานถวายในหลวง" พร้อมกับทำบุญทอดผ้าป่าที่วัดท่าซุง
ได้เงินทำบุญกับหลวงพ่อครูปลัดฯ อีกนับแสนบาท) * เรื่องงานพระแท่นนี้ภายหลังได้ทราบว่า ข่าวนี้ร่ำลือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
ท่านถึงกับปรารภกับเจ้าอาวาสวัดพระแท่นฯ ว่า น่าเสียดายที่ไม่แจ้งให้ท่านทราบด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่จะเลิกงาน หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดเมืองกาญจน์
ท่านประทับใจมาก ได้กล่าวกับหลวงพี่ชัยวัฒน์ว่า อยากให้กลับมาจัดงานที่นี่ทุกปี
.***....สำหรับพิธีการจำลองเหตุการณ์ในคราวนั้น ถ้าคนที่ไม่ได้ไปก็จะไม่ทราบรายละเอียด เพราะไม่ได้มีเฉพาะถวายพระเพลิงเท่านั้น แต่ยังมีการจำลองเหตุการณ์ 3
ขั้นตอน อีกทั้งในวันนั้นภาพในขณะเผาหุ่นพระพุทธเจ้าจำลอง ก็ไม่มีภาพปรากฏออกมาให้ทุกคนได้เห็น มีแต่ไฟไหม้โรงศพที่ทำด้วยไม้กระดานอัดเท่านั้น
การจำลองเหตุการณ์มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
1. การจำลองเหตุการณ์วันปรินิพพาน
2. การจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิง
3. การจำลองเหตุการณ์โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุ
ซี่งรายละเอียดคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะท่านได้เล่าไว้ในหนังสือและมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สามารถที่จะตรวจสอบได้จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท
และเวปตามรอยพระพุทธบาท คลิกที่นี่
อีกทั้งหลังจากเหตุการณ์นั้นแล้ว ภายหลังทุกคนในวัดก็รู้ว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาคนไหนมาหา ไม่มีพระองค์ไหนถูกจับสึก
แล้วทำไมยังจัดงานธุดงค์ได้อีกหลายปี ถ้าหากทำผิดพลาดเช่นนี้ จัดงานที่พระแท่นดงรัง วันที่ 30 เมษายน 2539 เจ้าอาวาสกลับจากอเมริกา วันที่ 1 พฤษภาคม 2539
ถึงแม้เจ้าอาวาสจะเพิ่งกลับจากต่างประเทศ แต่วันรุ่งขึ้นท่านก็ยังได้พบกับหลวงพี่ที่วิหารร้อยเมตร
☺... หลวงพี่บอกว่าไม่เห็นท่านตำหนิอะไรเลย เพราะก่อนจะไปท่านก็ได้แจ้งให้หลวงพ่อพระครูฯ ทราบแล้ว *(เรื่องจัดงานนี้
หลวงพี่จึงไม่ได้แจ้งกับพระครูสังฆรักษ์สุรจิต)* ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ไปจัด ได้มีการเตรียมงานไว้หลายเดือนแล้ว อีกทั้งพระผู้ใหญ่ในวัดต่างก็รู้เรื่องดี คือ
หลวงพ่อโอ และพระในวัดท่าซุงอีกหลายรูปก็ไปร่วมในงานวันนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวที่ได้จัด งานพิธีในหลวงทรงครองราชย์ครบ 50 ปี
และการจัดงานที่พระแท่นดงรัง ได้ล่วงรู้ถึงพระเนตรพระกรรณ เมื่อพระองค์ท่านได้ทรงทราบ ถึงกับทรงปรารภว่าอยากได้ทอดพระเนตรวีดีโอ แต่ข่าวจากหนังสือเล่ม 12
ผู้บันทึกกลับได้ข่าวตรงกันข้าม แล้วมันก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยนะครับ
ภาพการจัดขบวนแห่ "โลงแก้ว" ไปที่วิหารร้อยเมตร อย่างสมพระเกียรติ
(นำภาพงานครบรอบมรณภาพ 3 ปี 2538 มาแทนงานในหลวงปี 2539 ครับ)
โดยพระอาจารย์ชัยวัฒน์เป็นผู้จัดงานให้ท่านเจ้าอาวาส ซึ่งงานมีระเบียบสวยงามและสำเร็จด้วยดีทุกครั้ง
☺.....ข้อที่ 1 ก็ขอจบเพียงแค่นี้ ต่อไปจากหนังสือเล่มที่ 12 ได้กล่าวเป็น ข้อที่ 2 ต่อไปว่า...
2. "...อีกเรื่องหนึ่งที่ตัวผมเองประสบกับตาตนเอง และได้ยินด้วยหูของตนเอง มีความโดยย่อว่า ในวันออกพรรษา พระของวัดท่าซุงทุกองค์
รวมทั้งพุทธบริษัทที่วัด จะไปขอขมาพระรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆของวัด มีประมาณ ๑๐ กว่าแห่ง เริ่มจากในโบสถ์ก่อนตามลำดับ จนถึงวิหารพระองค์ที่ ๑๐
(สมเด็จองค์ปัจจุบัน) ที่ติดกับวิหารท้าวมหาราชทั้ง ๔ พอขอขมาสมเด็จองค์ปัจจุบันแล้ว จุดที่จะต้องขอขมาต่อไปก็คือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔
นักบวชผู้นี้ก็พูดเสียงดังฟังชัดว่าไม่ต้องไป เพราะพวกเรามีศีลมากกว่า ท่านเจ้าอาวาสหน้าเสีย แต่ก็เกรงใจนักบวชผู้นี้ เพราะขณะนั้น เขาก็ใหญ่พอควร คือ
มีพวกศรัทธาเขามากพอควร และบวชมานานพรรษาสูง
ท่านเจ้าอาวาสหันมาพูดกับผมว่า คุณหมอช่วยจัดการแทนอาตมาด้วย ผมก็พาพุทธบริษัทจำนวนหนึ่งไปที่นั้น แล้วทำพิธีขอขมาท้าวมหาราชทั้ง ๔ แต่ก่อนจะเริ่มพิธี
ผมได้อธิบายให้ทุก ๆ คนที่ไปขอขมาทราบว่า นักบวชผู้นี้เข้าใจผิด เพราะหลวงพ่อฤาษีท่านบอกว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ ล้วนเป็นพระอนาคามีทั้งสิ้น
และเทวดาชั้นยามาขึ้นไปท่านก็มีศีล ๒๒๗ แล้ว แต่นักบวชผู้นั้นต่างหากที่ศีล ๒๒๗ ไม่ครบ และเป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย.."
......คำตอบเรื่องนี้คงไม่ยากนะครับ เพราะก่อนจะเขียนคำตอบนี้ พระอาจารย์ชัยวัฒน์ได้กราบเรียนถามหลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์แล้ว
ท่านก็ได้ตอบยืนยันว่าไม่มีคำพูดเช่นนี้ ซึ่งสามารถจะสอบถามท่านได้ เหมือนกับที่คุณ Ting แนะนำ เพื่อจะได้ไม่รื้อฟื้นกลับมาพูดให้สับสนกันอีก
แต่คนที่เสียหายไม่ได้อยู่ที่คนพูดหรือคนอ่าน หากไม่เจอกับตัวเองบ้าง คงไม่รู้สึกกับที่ได้ตกเป็นจำเลยสังคมไปแล้ว
ส่วนที่บอกว่า "ขอขมาพระรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆของวัด ในวันออกพรรษานั้น" อันนี้ผู้ที่อยู่ในวัดท่าซุงหรือพระที่เคยบวช
จะทราบกันดีว่าทางวัดท่าซุงมีประเพณีการกราบไหว้สถานที่เหล่านี้ปีละ 2 ครั้ง คือ "วันเข้าพรรษา" และวันสุดท้ายของ "งานธุดงค์"
บันทึกแค่นี้ก็คลาดเคลื่อนแล้วนะครับ
ความจริงพระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านบอกว่า เหตุการณ์ผ่านมานานสิบกว่าปี ในหนังสือนี้ได้บอกว่าบันทึกเมื่อปี 2542 หลวงพี่ก็ได้ย้อนถามหลวงพ่ออนันต์
แต่มีตอนหนึ่งพระอาจารย์ชัยวัฒน์จำได้ว่า ในตอนนั้นหลวงพ่ออนันต์พูดเบาๆ ว่า ขณะนี้มีข่าวภายนอกเขาพูดกันว่า ทำไมพระมีศีล 227 ต้องไปกราบไหว้เทวดา
ในปีนี้เราให้ฆราวาสไปกราบกันเองก็แล้วกัน ส่วนปีต่อมาก็ค่อยไปกราบไหว้เหมือนเดิม
ข้อนี้น่าจะวินิจฉัยได้ว่า ลองนึกวาดภาพดูซิครับ ว่าในขณะเดินไปกราบไหว้ถึงมณฑปพระองค์ที่ 10 ในตอนนั้นมีพระสงฆ์ห้อมล้อมนับสิบรูป ฆราวาสอีกมากมาย
การได้ยินได้ฟังอาจจะไม่ถนัดก็ได้ จึงฟังไปว่าพระมีศีล 227 ไม่ต้องกราบไหว้ท้าวมหาราช แล้วพระที่จัดนำไปไหว้ทุกปี จะไม่ทราบเลยหรือว่า ท้าวมหาราชทั้ง 4
เป็นพระอนาคามี ตามเหตุผลจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวคำนี้ออกมาให้โง่ๆ
อย่าลืมนะครับ ถ้าท่านทำผิดจริงๆ อย่างที่เข้าใจ ทำไมหลวงพ่อเจ้าอาวาสต้องเกรงใจด้วยละครับ ในเมื่อทำไม่ถูกต้องเช่นนี้ แล้วทำไมปีต่อๆ มา
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ก็ยังเป็นผู้กล่าวนำกราบไหว้มาตลอดทุกปี หากทำเสียหายเช่นนั้น หลวงพ่อพระครูคงไม่ไว้หน้า หรือว่าให้ทำหน้าที่นี้แล้วละครับ
เพราะคงไม่มีใครใหญ่โตเท่าเจ้าอาวาส พูดแบบนี้ไม่ใช่ดูถูกเฉพาะหลวงพี่ชัยวัฒน์แล้วนะครับ
ทำไมถึงต้องกล่าวแบบดูหมิ่นว่าเป็นแค่ "นักบวช จิตไม่เป็นพระ เป็นมิจฉาทิฏฐิ" เพียงแค่ได้ยินคำพูดเช่นนี้ แล้วตัดสินประหารว่าไม่เป็นพระไปแล้ว
เป็นเพียงแค่นักบวชเท่านั้นหรือ ไม่เหยี่ยดหยามศักดิ์ศรีกันไปหรือครับ พูดแบบนี้เหมือนจะยุแหย่ให้พระทะเลาะกันนะครับ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
หากพระหรือฆราวาสกลุ่มหนึ่งเชื่อตามหนังสือ และอีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อตามหนังสือ แล้วเหตุการณ์เช่นนี้
ใครเป็นผู้สร้างรอยร้าวให้เกิดขึ้นในวัดท่าซุงละครับ
การที่นำกระทู้เรื่องนี้มาโพสต์ ทางทีมงานฯ ต้องขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่ง ที่มีเจตนาดีต่อวัดและผู้ถูกกล่าวหา ทีมงานฯ
ก็ได้ถือโอกาสซักฟอกความจริงให้พระอาจารย์ท่านเสียที หากผู้มีใจเป็นธรรม ลองคลิกเข้าไปอ่านคำชี้แจงต่างๆ ได้ แล้วค่อยมาตัดสินทีหลัง
เพราะท่านบอกว่าคนที่เป็นนักบวช อาจจะมีศีล 227 ด่างพร้อยไปบ้าง แต่ถ้าหาก "สมณสัญญา" คือใจยังรู้สึกว่าตนเองเป็นพระอยู่ อย่างเช่นกับ
ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย หรือ ท่านครูบาอภิชัย (ขาวปี) ที่ถูกจับสึก แม้ท่านจะแต่งกายชุดขาว แต่หลวงพ่อบอกใจท่านก็ยังขาวอยู่นะครับ
สรุปเรื่องนี้ก็ขอยุติลงเพียงแค่นี้ พระอาจารย์ท่านฝากกล่าวแถมท้ายว่า ท่านยอมรับว่ายังเป็นนักบวชอยู่ ยังมีศีลไม่บริสุทธิ์
ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ในบางครั้ง เพราะท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์นั่นเอง แต่ท่านกระซิบบอกในตอนท้าย ซึ่งไม่เคยบอกใครเลยมาก่อนว่า
นับตั้งแต่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปานเป็นครั้งแรก ในปี 2516 ท่านก็ชอบการตายครั้งที่ 3 ที่หลวงพ่อเล่าว่าได้ไปถึงนิพพานเป็นครั้งแรก
อีกทั้งท่านก็พอใจในคำอธิษฐานว่า "ขอไปนิพพานในชาตินี้" เพราะก่อนจะอ่านหนังสือ ในตอนนั้นอายุ 24 ปี ก่อนจะพบหลวงพ่อ ท่านก็มีความรู้สึกเบื่อการเกิด
มีความรู้สึกว่าเกิดมานานแล้ว
ทั้งที่ในตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า "พระนิพพาน" แต่ท่านก็มีความรู้สึกในใจอยากพ้นทุกข์มาก่อนนั้นแล้ว ความรู้สึกอยากเกิดอีก หรืออยากไปสวรรค์ ไปพรหมโลก
ท่านบอกว่าไม่เคยมีในจิตเลย นับตั้งแต่ย่างเข้ามาศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่ท่านก็ออกตัวว่าไม่ได้คุณธรรมอะไรนะครับ
ท่านเพียงแต่เล่าอารมณ์ก่อนจะพบหลวงพ่อว่าเป็นแบบนั้นมาก่อน ครั้นเมื่อได้อ่านหนังสือของหลวงพ่อ จึงมีความเข้าใจยิ่งขึ้นว่าตั้งอารมณ์ถูกแล้ว
*** (เพิ่มเติมข้อมูลใหม่ เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 53) ***
.........* ประการสำคัญที่ท่านสั่งให้เพิ่มเติมอีกว่า เมื่อพระอาจารย์ตั้งอารมณ์ไว้เช่นนี้แล้ว หลังจากนั้นก็ได้เขียนจดหมายถึงท่านเป็นฉบับแรก เมื่อปี 2516
ทำไมท่านจึงได้ตอบตรงกับอารมณ์ที่คิดไว้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นยังไม่เคยพบตัวจริงท่านเลย จดหมายท่านตอบมีว่าดังนี้
"...คุณชัยวัฒน์ คุณตั้งใจดีมาก การเข้านิพพานไม่ใช่เป็นของยาก
1. ไม่ทำความชั่วตามแบบศีล 5
2. เห็นความตายเป็นกีฬาของชีวิต
3. สวรรค์ หรือพรหมต่ำเกินไป ไปนิพพานเลยดีกว่า นิพพานมีแต่สุข หาทุกข์ไม่ได้.."
นับว่าท่านสอนได้ถูกต้องอารมณ์จริงๆ เพราะมีความคิดเดิมอยู่แล้วว่า ตัวเองนั้นไม่เคยรักสวรรค์หรือพรหมเลย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาปฏิบัติธรรม
แต่ได้รับการพูดกระทบจากผู้อื่นก่อนว่า "อย่างเจ้านี่ไปแค่สวรรค์ชั้นต่ำๆ ก็พอ" หลวงพี่ได้ยินคำสบประมาทเท่านี้แหละ
จึงเป็นเหตุให้ท่านมุมานะแต่ก็คิดว่าตัวเองยังไม่ได้อะไร เพราะเป็นเพียงคิดไว้เบื้องต้นเท่านั้น พอได้พบหลวงพ่อท่านเป็นครั้งแรกต้นปี 2517
ท่านพูดว่าทำให้ได้ฌาน 4 นะ จึงกราบเรียนถามปัญหาอีกหลายข้อ มีปัญหาอยู่ข้อหนึ่งที่ได้ถามท่านว่าพระอริยะรู้ได้ไงว่าเป็น ท่านบอกว่ารู้ด้วยญาณ
หลังจากนั้นท่านมีชื่อเสียงมากขึ้น คำสอนทั้งหลายที่ท่านสอน ท่านใช้คำพูดไม่เหมือนที่สอนหลวงพี่ชัยวัฒน์ เช่น "เห็นความตายเป็นกีฬาของชีวิต" หรือคำว่า
"สวรรค์หรือพรหมต่ำเกินไป" เป็นต้น ภายหลังพี่ ดร.ปริญญา ได้ขอนำไปลงในหนังสือธรรมะ
ดังนั้นตลอดชีวิตของท่านที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อนบวช ปี 2517 - 2520 ท่านได้เข้าไปช่วยงานที่บ้านสายลม ช่วยจัดรถบัสเดินทางไปวัด เป็นหัวหน้าชักนำเพื่อนๆ
ไปทอดกฐินที่หลวงปู่บุดดาและที่วัดท่าซุง เคยร่วมเดินทางไปกับหลวงพ่อหลายครั้ง ตั้งแต่ที่ยังเป็นฆราวาส เช่น ทางเหนือไปที่พระธาตุจอมกิตติ
ทางใต้ไปที่วิหารน้ำน้อย เป็นต้น จนกระทั่งอุปสมบท ปี 2520 ท่านจึงได้เร่งรัดสร้างสมบารมีอย่างเต็มที่ จนใครๆ ถามว่าปรารถนาพุทธภูมิหรือเปล่า
ท่านได้กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมแล้ว 1,604 แห่ง (ยังไม่นับรวมสถานที่ไปทำบุญอีกมากมาย) ตลอดเกือบ 20 ปีมานี้ ท่านได้อดทนตรากตรำเดินทางอย่างหนัก
ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศคือ พม่า เวียตนาม จีน เขมร ลาว อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน อินโดนีเซีย เกาหลี และสิบสองปันนา เป็นต้น
เพื่อไปบูรณปฏิสังขรณ์พุทธสถานเกือบทั่วทั้งชมพูทวีป แล้วรวบรวมรายชื่อสถานที่เหล่านี้ไว้นำมาพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ไปทั่วประเทศ
หวังจะช่วยประกาศพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยถือหลักปฏิบัติในแนวทางของพระโพธิสัตว์ ตามปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่มีอุปนิสัยแห่งพุทธภูมิว่า จะต้องสร้าง
"วิหารทาน" เป็นหลัก จึงได้สร้างพระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร โดยได้สร้างเป็นวัดเต็มๆ แห่งหนึ่ง คือที่วัดสิริเขตคีรี (วัดพระร่วง) อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
อีกทั้งได้สร้างพระพุทธรูปอีกมากมาย ตั้งแต่หน้าตัก 5 นิ้ว จนไปถึงหน้าตัก 42 ศอก (ยังไม่นับรวมที่ วัดม่วง หน้าตัก 1 ไร่)
หลวงพี่ชัยวัฒน์ขึ้นไปเทพระเศียร "สมเด็จองค์ปฐม" หน้าตัก 42 ศอก ที่เมืองกาญจนบุรี
เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 52 เนื่องในคล้ายวันเกิดครบรอบ 60 ปี ร่วมทำบุญ 100,000 บาท
อีกทั้งท่านได้ชักชวนคนไทยทั่วประเทศ รณรงค์วัฒนธรรมไทย จนเป็นที่นิยมการแต่งชุดไทยไปวัด หรือ ประเพณีการไหว้พระธาตุ กันอยู่ในเวลานี้
ปัจจุบันจะเห็นป้ายพระธาตุขึ้นตามข้างถนนหลายแห่ง ที่ได้แต่งต่างจากสมัยก่อนมาก อีกทั้งได้ทำพิธีบวงสรวง เพื่อเป็นสวัสดิมงคลทั่วประเทศเขตแดน
ซึ่งเรื่องนี้ได้เล่าไว้ในหนังสือ ตามรอยพระพุทธบาท รวม 4 เล่ม โดยได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสให้วางจำหน่ายภายในวัดได้
ข้อนี้คงจะขัดแย้งกับคำพูดในหนังสือเล่มที่ 12 อีกว่า
"ซึ่งบวชแล้วจิตไม่ยอมเป็นพระ ชอบนำพุทธบริษัทของวัดท่าซุง ออกท่องเที่ยวไปกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นอกวัด ทั้ง ๆ
ที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่างมีอยู่ในวัดทั้งสิ้น"
(คลิกชม..คลิปวีดีโอ ตอนที่ 1)
.....ความจริงงานการฟื้นฟูสถานที่สำคัญอย่างนี้ ถ้าไม่ใช่พุทธบารมีคงจะเดินทางไปได้ปลอดภัยและสำเร็จไม่ได้ เพราะการจัดงานแต่ละครั้ง
คนที่ไปได้เห็นอานุภาพของบุญ เช่น พระอาทิตย์ทรงกลด หยาดฝนจากฟากฟ้า และ แสงสีรุ้งขึ้นบนท้องฟ้า เป็นต้น ใครจะคิดว่าธรรมชาติ
หรือจะเป็นด้วยพุทธานุภาพก็แล้วจะคิด แต่ผู้จัดงานทุกคนถือว่าได้กระทำงานนี้ เพื่อน้อมถวายชีวิตเป็น "พุทธบูชา" องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์ โดยเฉพาะงานนี้ท่านได้รับหน้าที่ทำงานสนอง "องค์หลวงพ่อ" และ "สมเด็จองค์ปฐม" จนสำเร็จแล้ว หากหนังสือเล่มที่ว่านี้ อ้างคำตำหนิจากพระองค์ท่าน
ก็ไม่ทราบว่าจะเป็นพระองค์เดียวกันหรือไม่ ?
.......*** อีกประการหนึ่ง ตามที่ได้เล่าไปแล้วเบื้องต้นว่า การเดินทางทั่วประเทศนี้ ถ้าเป็นคำสั่งจากพระเบื้องบน ให้หลวงพ่อเดินทางทั่วประเทศ
แต่ท่านไม่สามารถทำได้เพราะหมดเวลาสังขารของท่านก่อน หากว่าพระอาจารย์ชัยวัฒน์ต้องมีภารกิจทำหน้าที่แทนท่านตรงนี้จริง
ผู้ที่กล่าวตำหนิแล้วเขียนบันทึกให้คนอื่นเข้าใจผิดตามไปด้วยเหล่านั้น มิได้ตำหนิไปถึงหลวงพ่อฯ และพระพุทธเจ้าด้วยหรือ ที่ได้ตรัสสั่งไว้ก่อนมรณภาพ
?***
เพราะตามที่ได้สังเกตเห็นแต่ละครั้ง มีพุทธานุภาพแสดงปาฏิหาริย์เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น งานที่วัดพระแท่นดงรัง เป็นต้น จัดงานเดือนเมษายนท่ามกลางฤดูร้อนจัด
แต่ปรากฏว่าวันนั้นมีแสงรุ้งขึ้นสองชั้นแต่เช้ามืด ขึ้นอยู่นานจนกระทั่งสาย มีคนเดินทางเข้ามาร่วมงานมากมายทั่วทุกทิศ อากาศในวันนั้นกลับมืดครึ้ม
ไม่มีแสงแดดแผดเผาให้เร่าร้อนเลย ทุกคนนั่งอยู่ในเต้นท์ปะรำพิธีอย่างสบายๆ แต่เวลาพระภิกษุเข้าไปสวดมนต์ก่อนถวายพระเพลิง ปรากฏว่าฝนตกลงมาพรำๆ
ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เรื่องนี้ปกปิดกันไม่ได้ครั้บ คนที่เห็นก็มากมาย มีทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาสนับพันนับหมื่นคน
☺....ใครที่ได้มโนมยิทธิดีๆ ชัดเจนแจ่มใส ปลดอารมณ์อคติให้สะอาด ลองตรวจดูด้วยใจเป็นธรรมอีกครั้ง
หวังว่าคงไม่กล่าวแก้เพื่อหักล้างคำของครูบาอาจารย์ตรงนี้ ว่าทีมงานนำข้อมูลมากล่าวเท็จ
เพราะท่านสามารถตรวจสอบได้จากบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ได้ยินพูดหลวงพ่อตรงนี้ นี่เห็นเป็นรูปธรรมชัดๆ มีหลักฐานเป็นตัวตนแน่นอนกว่าครับ
......นี้คือความในใจที่ท่านอยากเล่า ส่วนท่านจะไปถึงไหนก็อย่าไปคิดให้เสียเวลา ใครจะปรามาสท่านก็มิได้หนักใจ ท่านบอกว่าอยากให้ปรามาสให้หนักๆ เข้าไป
เพราะอาศัยที่ได้บำเพ็ญบารมาทั้ง 30 ทัศนี้ ได้บำเพ็ญแบบ *บุญกว้างใหญ่ไพศาล* ตามที่องค์สมเด็จมาสั่งหลวงพ่อ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2535
ก่อนมรณภาพว่า
"....บอกให้ลูกหลานโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อเร่งบุญบารมีให้เต็มเร็วขึ้น.."
* (นี่จะเห็นว่าเบื้องบน มิได้สั่งให้หยุดสร้าง "ทานบารมี" เพื่อปฏิบัติทางจิตแต่เพียงอย่างเดียว อย่างที่คนอื่นสอนอยู่เวลานี้) *
เนื่องจากการทำบุญ "โดยเสด็จพระราชกุศล" เป็นงานสาธารณประโยชน์ทั่วประเทศ *(เป็นบุญกว้าง) ซึ่งพระอาจารย์ชัยวัฒน์ท่านก็ทำบุญในด้านนี้ด้วย
พร้อมทั้งออกปฏิบัติงานเองทั่วประเทศควบคู่กันไป *(เป็นบุญใหญ่) แน่นอน..เนื้อนาบุญย่อมมีผล *(บุญกว้างใหญ่ไพศาล) ทวีคูณยิ่งขึ้น
จึงมีฟ้าดินเป็นสักขีพยานนับครั้งไม่ถ้วน นับตั้งแต่อดีตกาลยาวนาน 16 อสงไขย ร่วมกับพระบิดาผู้มีพระคุณอันสูงสุด
"....ด้วยเดชะ สัจจวาจาต่อพระแม่ธรณีที่จะเป็นสักขีพยาน ขอจงดลบันดาลให้ท่านผู้นั้นทั้งหลาย ที่กล่าวลบหลู่ดูหมิ่นว่าจิตไม่เป็นพระ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ชอบนำคนออกนอกวัด บางคนก็คิดว่าทำแข่ง หรือที่ยังเข้าใจผิดทั้งหลาย ทั้งที่มิได้มีจิตแม้เพียงคิดที่จะเผาพระพุทธเจ้า หรือปรามาสท้าวมหาราชทั้ง 4
หรือจะทำอย่างที่เขาคิดอย่างที่เขาเข้าใจแต่ประการใด จงประสบแต่ความสุขตลอดไป และจะไม่ถือโทษโกธใครตลอดไปเทอญ.."
☺.....เป็นอันว่าท่านเพียงแต่ฝากนำมาชี้แจงไว้เท่านี้ และใครๆ ก็ไม่ควรเดือดร้อนแทนท่าน ควรมองดูตัวเองเป็นสำคัญดีกว่า......
"เพราะกรรมใดใครก่อไว้ กรรมนั้นย่อมสนองต่อผู้นั้นอยู่แล้วละครับ"
☺.....ปล. ท่านให้มาเพิ่มเติมอีกสักนิดว่า การเล่าส่วนใหญ่เป็นงานกิจกรรมที่ทำนอกวัด แล้วงานในวัดไม่ได้ทำอะไรเลยหรือ
ท่านจึงได้ฝากมาบอกไม่ได้หวังโอ้อวด แต่เผื่อความเข้าใจคนทั่วไปด้วยว่า
หน้าที่ประจำภายในวัด
1. มีหน้าที่จ่ายเหล็กเส้นให้คนงานนำไปก่อสร้างภายในวัดทุกเช้า นับตั้งแต่ปี 2520 - 2527
2. ทำหน้าที่รับบริจาคและจัดสิ่งของ "กองทุนมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร ตั้งแต่ปี 2520 - 2527
3. มีหน้าที่คอยรับส่งหลวงพ่อไปรับแขก ณ ศาลานวราช ตั้งแต่ปี 2520 - 2527
4. ระหว่างนี้ช่วยอยู่เวรยามเป็นประจำ พร้อมกับช่วยงาน "ธัมมวิโมกข์" ไปด้วย ดังนี้
- ตรวจต้นฉบับหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" และเขียนคอลัมน์เรื่อง "ประวัติพระพุทธศาสนา" ทุกเดือน
- เป็นผู้จัดทำหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหา" เล่มที่ 1 - 11
- เป็นผู้จัดทำหนังสือ "มิลินทปัญหา"
5. ย้ายไปอยู่ที่สวนไผ่ มีหน้าที่รับบริจาคของเข้าโรงครัว ตั้งแต่ปี 2528 - 2534 แต่ก็ยังช่วยงานธัมมวิโมกข์อยู่
6. ย้ายไปอยู่ที่วิหารสมเด็จองค์ปฐม ตั้งแต่ปี 2535 - ถึงปัจจุบัน ด้วยความเห็นชอบจากหลวงพ่อแล้ว ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ย้ายไปอยู่ที่นี่ท่านได้เขียนคอลัมน์
"ตามรอยพระพุทธบาท" ลงธัมมวิโมกข์ ภายหลังมีผู้อ่านชื่นชอบกันมาก จึงได้นำมาพิมพ์รวมเล่มได้ 4 เล่ม
ทั้งนี้ท่านพระครูปลัดอนันต์อนุญาตให้จำหน่ายที่วัดและบ้านสายลม เวลานี้ได้กำไรเกินทุนแล้ว รายได้ทั้งสองแห่งเข้าบัญชีวัดท่าซุงทั้งสิ้น
ขอเชิญอนุโมทนาในธรรมทานร่วมกันนะครับ
หน้าที่บริหารภายในวัด
1. ได้รับการแต่งตั้งจากหลวงพ่อให้เป็น "กรรมการสงฆ์" ต่อมาท่านได้แต่งตั้งให้เป็นพระฐานานุกรม (พิเศษ) ที่ "พระครูสังฆรักษ์"
แล้วหลวงพ่อท่านได้สั่งให้ท่องปาฏิโมกข์ ภายหลังปี 2535 ก่อนมรณภาพ ท่านพระครูปลัดอนันต์ได้แจ้งให้หลวงพี่ชัยวัฒน์ทราบว่า ในปลายปี 2535
นี้มีข่าวว่าหลวงพ่อจะได้เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ท่านจะแต่งตั้งให้เป็น "พระครูวินัยธร" (ตำแหน่งนี้จะต้องได้พระปาฏิโมกข์) คือมีตำแหน่งรองจาก
"พระครูปลัด" แต่ทว่าปี 2535 นั้น มติมหาเถรสมาคมประกาศแต่งตั้งให้เป็น "พระเทพพรหมยาน" นั้น ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่พระเดชพระคุณมรณภาพพอดี
2. ปี 2536 ได้รับการแต่งตั้งจากท่านพระครูปลัดอนันต์ให้เป็น "ผู้ช่วยเจ้าอาอาส" และกรรมการ "มูลนิธิมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร"
มีหน้าที่รับสมัครบวชพระ แต่งตั้งทีมงานฝึกสอนพระใหม่ พร้อมทั้งจัดงานธุดงค์ นับตั้งแต่ปี 2536 - 2550 เป็นเวลาประมาณ 15 ปี ต้องลาออกไป
เนื่องจากสุขภาพทางหลอดลมตีบ เวลาพูดหายใจไม่ใคร่ออก จำต้องพักงานเรื่องการพูดการแสดงธรรมไป นอกจากนี้ก็ยังจัดงานครบรอบมรณภาพบ้าง (เฉพาะครบรอบปีที่สำคัญ)
จัดงานพระเจ้าพรหมมหาราชในวันเข้าพรรษา จัดงานพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ หน้าวิหารร้อยเมตรบ้าง เป็นต้น
3. ปี 2551 ท่านพระครูปลัดอนันต์ให้เปิดเวปไซด์วัดท่าซุง และแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า "ฝ่ายเทคโนโลยี" ภายในวัด เพื่อควบคุมดูแลไม่ให้พระภิกษุมีอินเตอร์เนต
หรือเครื่องเล่นวีซีดี วีดีโอ ดีวีดี เป็นต้น โดยมีพระกรรมการร่วมด้วย 5-6 รูป ภายในวัดจะมีอินเตอร์เน็ตเฉพาะที่สวนไผ่ (พระในวัดไปส่งอีเมล์ได้ที่นี่)
ตึกขาวในห้องประชุมชั้นบน (เตรียมเพื่อจะนำไปใช้งานที่ตึก "สมบัติพ่อให้") และผู้ทำเวปไซด์เท่านั้น
ฉะนั้นผลงานใดๆ ที่ท่านได้ทำในหน้าที่ หรือจำเป็นจะต้องทำนอกหน้าที่ ถึงแม้ท่านไม่สามารถประสานคนได้ทุกกลุ่ม
แต่ก็ขอเรียนให้ทราบว่าท่านมิได้มีใจคิดในทางไม่ดีแต่อย่างใด การทำงานมากเกินไป ย่อมมีข้อบกพร่อง อาจจะถูกใจบ้าง หรือไม่ถูกใจบ้าง ท่านจึงขออภัยในการกระทำ
อาจจะมีข้อผิดพลาดที่อาจจะไม่มีเจตนา หวังว่าจะได้รับความเข้าใจจากท่านทั้งหลายด้วยดี เพื่อจะได้ไม่มีเวรภัยต่อกัน
หลวงพี่บอกอีกว่า เมื่อได้อ่านคำพูดของท่านแล้ว ขอให้แหงนมองขึ้นไปที่บนหน้าแบนเนอร์ จะเห็นว่าทีมงานของเวปวัดท่าซุง (คุณกลกิจ เป็นผู้ทำ)
ได้จัดทำภาพวัดท่าซุงที่สวยอยู่แล้ว ให้สไลด์ได้เองสวยงามยิ่งขึ้น เหมือนกับท่านยืนมองดูอยู่ จนทำให้คนที่เข้ามาเยี่ยมชมเวป แม้ไม่เคยไปวัด
ก็ทำให้อยากจะไปวัดท่าซุง โดยเฉพาะในตอนนี้ ได้ข่าวจากภายในวัดหลายจุด ว่ามีคนใหม่ๆ เข้าไปฝึกที่วัดท่าซุงกันมากขึ้น
เมื่อแหงนมองภาพแบนเนอร์เสร็จแล้ว ลองย้อนภาพกลับไปก่อนวันที่ "เวปวัดท่าซุง" จะเปิดเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2551 ซิครับ ตอนนั้นเรายังไม่ได้เห็นภาพเหล่านี้
ยังไม่ได้อ่านข้อมูลที่อัฟเดททันเหตุการณ์เช่นนี้ กว่าจะรู้ข่าวอะไรจากวัดก็ต้องรอจากธัมมวิโมกข์บ้าง หรือไม่ก็ต้องเดินทางไปวัดด้วยตนเองบ้าง
แต่ขณะนี้กาลเวลาได้เปลี่ยนไป จากคนที่มุ่งหวังดีต่อวัด ต่อคนที่อยู่ห่างใกล เห็นใจในความยากลำบากที่จะไปทำบุญกับวัดด้วยตนเอง
ทีมงานในวัดจึงได้อุตส่าห์ไปถ่ายภาพมาให้ดูก่อน แล้วสามารถทำบุญออนไลน์ให้กับวัด จะเลือกทำบุญประเภทไหนก็ได้โดยสะดวก
บางคนที่เข้ามาอ่านแล้วออกไปพูดว่า "เวลานี้เวปท่าซุงยุ่งไปหมด พูดจารุนแรงเหน็บแนม" แต่ทำไมไม่ย้อนสังเกตให้ดีว่า แต่ก่อนทีมงานฯ
เคยใช้คำพูดแบบนี้กับใครมาก่อนหรือไม่ เพราะหลังจากจัดทำมาเวปมาได้ 2 ปี โดยมิได้ยุ่งเกี่ยวกับเวปอื่นๆ ในทางเสียหาย
กลับยกย่องและสนับสนุนผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ให้ได้จัดทำสื่อเผยแพร่คำสอนหลวงพ่อให้แพร่หลาย โดยเน้นเฉพาะสื่อธรรมะอย่างเดียว
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องอย่างอื่น แต่ครั้นทำเวปวัดท่าซุงมาได้ย่างปีที่ 3 เริ่มมีผู้แจ้งอีเมล์ปัญหาจากที่อื่น เรื่องวัตถุมงคลของวัดท่าซุงบ้าง
จนถึงกับไปค้นพบข้อมูลในเวปไซด์ต่างๆ จึงได้รู้เรื่องว่าทำไปในทิศทางใดกันบ้าง ทางวัดท่าซุงโดยทีมงาน Webmaster
จึงได้ปรึกษาหารือที่จะได้แจ้งตักเตือนกันในฐานะคนบ้านเดียวกันว่า
ถ้าหากเวปไซด์ต่างๆ ปรารถนาจะได้ดำเนินการเผยแผ่ไปในทิศทางเดียวกับเวปวัดท่าซุง ที่ได้ทำเป็นแบบอย่างเวปผู้ใหญ่มานาน 2 ปี
ทางเวปวัดท่าซุงก็ยินดีที่จะแนะนำสนับสนุนให้เวปเหล่านี้ทำต่อไป เรื่องที่เกิดขึ้นทางเวปไม่ได้ไปหาเรื่องใครก่อน
หากท่านผู้อ่านทั้งหลายยังเห็นประโยชน์จากเวปวัดท่าซุง มีความเข้าใจในความหวังดี ท่านก็สามารถแหงนดูบนแบนเนอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แต่หากวันใดไม่เห็นหน้าแบนเนอร์เวปวัดท่าซุง วันนั้นให้รู้ว่าทีมงานทุกคนจะต้องขออำลาจากไปอย่างแน่นอน และขอร้องให้อ่านเท่านั้นนะครับ
เพราะกระทู้นี้ได้ทำความกระจ่างให้แล้ว จะต้องยุติกระทู้นี้ลงในเวลาอีกไม่นานครับ.
คณะทีมงานฯ Webmaster วัดท่าซุง และ ทีมงานเวปตามรอยฯ
◄ll กลับสู่สารบัญ
อุลตร้าแมนชาตรี - 20/8/10 at 09:42
ขออนุโมทนากับหลวงพี่ชัยวัฒน์พร้อมคณะ และทีมงานเว็บวัดท่าซุงทุกท่านครับ
เพียงลมหายใจเข้า-ออก - 20/8/10 at 12:32
ต่างคนต่าง "อภัย" ให้ซึ่งกันและกันนะคะ ขอโมทนาค่ะ ไม่มีใครในโลกนี้ ที่ไม่ทำผิดเลย อยากให้ลูกพ่อทุกคนรักกันมาก ๆ คนเก่าก็ควรดูแลคนใหม่ด้วยจิตเมตตา
ไม่ควรถือ ทิฏฐิมานะด้วยเห็นว่าฉันเป็นศิษย์เก่าสมัยหลวงพ่อท่านยังมีชีวิต ย่อมรู้ดีกว่าเธอซึ่งเป็นคนใหม่
เมื่อคราวธุดงค์ปี ๕๑ (ถ้าจำไม่ผิด) หลวงพ่อท่านพระครูเจ้าอาวาส ท่านได้สนทนาธรรมคั่นเวลาก่อนการฝึก มโน ช่วงเที่ยงที่ศาลา ๑๒ ไร่ ท่านพูดว่า
"อย่าคิดว่าฉันเป็นศิษย์เก่าเธอเป็นศิษย์ใหม่ แล้วไปดูถูกเขา อันนี้ก็ไม่ได้ โอย..เท่ากับเอาความเลวมาอวดกันใหญ่"
หากคำพูดที่ท่านพูดวันนั้น ดิฉันจำมาแบบขาดตกบกพร่องไปบ้าง (ตามสัญญาไม่เที่ยง) ต้องน้อมกราบขอขมาแทบเท้าพระคุณท่านเจ้าอาวาสมา ณ ที่นี้ด้วยเจ้าค่ะ
โปรดอดโทษนั้น ให้แก่ดิฉันด้วย
และคำพูดในวันนั้น มันดังก้องอยู่ในโสตประสาททุกครั้งที่ดิฉันนึกถึง แสนจะชื่นใจเหลือเกิน อย่างน้อยเป็นยาชูกำลังใจให้ดิฉันฮึดสู้
เมื่อเจอสภาวะที่ไม่พึงปรารถนาจากศิษย์เก่า ด้วยคิดว่า...หลวงพี่ท่านพระครูท่านได้เตือนแล้ว แต่หากเขายังเป็น มิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นเรื่องของเขา
ไม่เกี่ยวกับเรา เราจะปฏิบัติตามคำท่านให้ดีที่สุดเท่านั้น อย่างอื่นเราจะไม่สนใจ
ดังนั้น ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ ให้เราทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่ พึงระวังสังวรณ์กันไว้บ้างก็จะดีนะคะ และเรื่องนี้คงจะจบลงด้วยดี
หาก...ต่างคนต่าง... อภัย...ให้ซึ่งกันและกัน
ดิฉันจะมีความสุขทุกครั้งที่ได้ไปวัดท่าซุงค่ะ โดยเฉพาะ ชอบงานบวชธุดงค์มาก ๆ เพราะงานนี้เป็นการสร้าง"บารมี"และทดสอบ "บารมี" กันอย่างเต็มที่
โมทนาสาธุค่ะ
สปาต้า - 20/8/10 at 15:58
ข้อนี้ยังพีงเทียบเคียงได้ในพระไตรปิฎก ตามหลัก "มหาปเทส ๔"
(๑๖๖) มหาปเทส ๔ (หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง) หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย - great authorities; principal references)
๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been objected to
as not allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been objected to as
not allowable, if it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)
๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been permitted as
allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been permitted as
allowable, of it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)
อ้างอิง..Vin.I.250 วินย.๕/๙๒/๑๓๑.
คุณจะเลือกข้อไหนก็แล้วแต่นะครับ ผมมีหน้าที่นำมาให้เทียบเคียงกันเท่านั้นเอง.
ความจริงผมก็ยังสงสัยเรื่องประเพณีอัฏฐมีบูชาอยู่ และก็ยังไม่ได้เลือก "มหาปเทส ๔" แต่เห็นทางทีมงานสรุปให้ยุติแล้ว แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ
ว่าแต่เรื่องประเพณีอัฏฐมีบูชา ไม่ทราบว่าผมยังขอความคิดเห็นในเรื่องนี้อยู่ได้ไหมครับ
Artikanks - 20/8/10 at 18:04
Motana sadhu กับหลวงพี่ชัยวัฒน์ and the team, and Wat Thasung Admin & Support Team krub ....
webmaster - 21/8/10 at 05:28
เรียน คุณสปาตา ครับ
กระทู้นี้ใกล้ยุติแล้ว รอเพียงคุณ shadow มาสรุปก็จบแล้ว ขออภัยด้วยเพราะพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เกรงใจผู้อ่านจะโหลดยากนะครับ
ทีมงานฯ
sunman - 21/8/10 at 10:07
ขออนุโมทนา ทุก ๆ บุญ กับหลวงพี่ชัยวัฒน์ และทีมงานเว็บท่าซุง ทุก ๆ ท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
pizzawithaj - 21/8/10 at 12:53
สาธุค่ะ สำหรับคำอธิบาย ยาวจังเลย แต่ก็ทำให้ได้รู้อะไรๆ ได้ถูกต้องมากขึ้นนะคะ
สปาต้า - 21/8/10 at 13:09
ขอบพระคุณมากครับ ที่ท่านกรุณาตอบข้อสงสัยทั้งหมด แค่นี้ก็มากแล้วครับ สาธุ สาธุ สาธุ
เสรี - 21/8/10 at 15:00
.....น่าเห็นใจท่าน เพราะถูกพิพากษาว่าไม่ใช่พระ แล้วใช้คำเรียกนักบวช แบบนี้ถือว่าดูหมิ่นศักดิ์ศรี ถ้าเป็นฆราวาสอย่างเรา เหยียดหยามกันแบบนี้
คงได้เห็นดำเห็นแดงกันไปแล้วละครับ
.....ดีแล้วครับ คำอธิบายยาวๆ เพื่อรักษาเกียรติภูมิของท่าน ควรอ่านให้ละเอียด เพื่อให้ความเป็นธรรมซึ่งกันและกัน หนังสือของพี่หมอกระจายออกไปทั่ว
ส่วนท่านไม่มีโอกาสชี้แจง สมเหตุสมผลกันนะครับ ที่พวกเราจะได้อ่านกันภายในเว๊ป และค่อยชี้แจงให้คนที่ยังไม่รู้ให้เข้าใจ
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงพระสูตรตอนหนึ่ง ที่พระมหากัสสปะถูกคนในสำนักพระอานนท์ดูหมิ่น เพราะเห็นว่าพระมหากัสสปะเป็นพระป่าพระดอย ธุดงค์ไปเรื่อยๆ
จีวรก็เหม็นอับ ร่างกายผิวพรรณเศร้าหมอง ไม่เหมือนพระอานนท์มีรูปร่างผ่องใสหน้าเลื่อมใส คนใกล้ชิดพระอานนท์ที่เป็นหญิง ต่างพูดจาข่มขี่พระมหากัสสปะ
ว่าสู้พระอานนท์ของตนไม่ได้
เรื่องนี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระท่านคงเข้าใจกันดี แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดต่างคิดไม่ดีต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเพ่งโทษเข้าหาเรื่องกัน
เหมือนกับสมัยพุทธกาลนี้แหละ ทั้งที่พระมหากัสสปะกับพระอานนท์ก็มีไมตรีต่อกัน จะเห็นว่าพระมหากัสสปะนั้นท่านเอ็นดูต่อพระอานนท์เหมือนเด็ก บางครั้งเรียก
"กุมาร" คนใกล้ชิดที่ไม่เข้าใจต่างพากันเพ่งโทษพระมหากัสสปะ คอยยุแหย่ให้พระต้องผิดใจกัน
ภายหลังพระมหากัปปสะเห็นว่าถูกย่ำยี และเพื่อไม่ให้เป็นโทษต่อการกล่าวเช่นนั้น ท่านจึงได้อนุเคราะห์ด้วยการกล่าวคำ ถึงแม้จะเหมือนกับอวด
แต่ถึงคราวที่จะต้องข่มวาทะของคนทั้งหลายที่ย่ำยี ท่านจึงได้ประกาศคุณธรรมของตนเองว่า
<<< "เราเป็นหนี้ก้อนข้าวชาวบ้านเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น พอวันที่ 8 เราก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เผากิเลส หมดทุกข์ อย่างสิ้นเชิงแล้ว
เราได้เข้าถึงคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว" เป็นต้น >>>
นี่เราจะเห็นว่าถึงคราว พระอรหันต์ท่านก็ไม่ยอมเหมือนกัน ข่มขี่เหยียดหยามกันมากๆ ถึงเวลาที่จะต้องแสดงคุณธรรมความจริงออกมา คงจะต้องขออนุญาตอธิบายคำว่า
"เป็นหนี้ก้อนข้าว" สักเล็กน้อยนะครับว่า
ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนา ได้บริโภคอาหารจากผู้ถวาย หากเป็นปุถุชนก็ถือว่ายังเป็นหนี้อยู่ ต่อเมื่อได้เป็นพระอรหันต์แล้วนั่นแหละ
ชื่อว่าได้เป็นเจ้าของทานนั้นโดยชอบธรรมไงครับ ฉะนั้นการที่ท่านกล่าวเป็นหนี้แค่ 7 วัน หมายถึงวันที่ 8 ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
นี่คือคำประกาศของพระอรหันต์ ในเวลาอันสมควร ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์แล้วบอกใครไม่ได้ หากถึงความจำเป็นมิได้ประสงค์จะอวดใคร
พระอรหันต์ย่อมประกาศคุณธรรมที่มีในตนเองได้ ดังตัวอย่างที่ยกมานี้นะครับ การที่ยกตัวอย่างมานี้มิได้นำเรื่องของท่านอาจารย์ไปเปรียบเทียบ
ผมเพียงแค่ยกเรื่องสมัยพุทธกาลมาเป็นอุทาหรณ์ ว่าคนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีชื่อเสียง ควรจะระมัดระวังจริยาไว้ด้วยนะครับ
แม้จะเป็นคนเก่าคนใหม่ก็ไม่ควรดูถูกกัน เพราะคุณธรรมไม่ได้อยู่ที่ใหม่หรือเก่า ตามที่สมาชิกที่โพสเจอในงานธุดงค์ คนเก่าน่าจะเมตตาเอ็นดู
เพื่อคนใหม่จะได้เคารพนับถือว่ามีอาวุโสกว่า
ผมว่าคนเราไม่รู้หน้าที่กันมากกว่า ความจริงสงฆ์ก็อยู่ฝ่ายสงฆ์ ลงมีฆราวาสเข้าไปวิพากย์วิจารณ์เช่นนี้ แล้วอ้างเป็นคำตรัสของสมเด็จองค์ปฐมด้วย
ความน่าเชื่อก็ย่อมเกิดกับคนกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งที่เสียหายก็ไม่เชื่อ ผลที่สุดคนแตกกันเป็นสองกลุ่ม แล้วอะไรจะเกิดขึ้น
โดยเฉพาะหนังสือที่จัดพิมพ์ออกมา น่าจะกลั่นกรอง (เซนเซอร์) ก่อน เพราะเป็นเรื่องนานมาแล้วที่อาจะสืบหาผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเจรจาหาข้อยุติกันได้
เมื่อมีข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ย่อมจะเกิดมีปัญหาอย่างแน่นอน ผมมีความเห็นว่าทีมงานที่จัดพิมพ์ หนังสือธรรมะ เพื่อความหลุดพ้นเล่มต่อไป
ควรที่จะได้ไปทำการบ้านกันก่อนนะครับ มิฉะนั้นจะกระทบกระเทือนไปถึงผู้ที่ถูกอ้างอิงได้ ประเด็นที่สำคัญ ผมว่าคนเราต้องรู้หน้าที่
หมายถึงฆราวาสควรจะรู้หน้าที่ว่าทำได้แค่ไหน ในเรื่องกิจการภายในของพระสงฆ์ บางอย่างเราก็ไม่น่าจะไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะคณะสงฆ์ของวัดท่าซุง
มีการบริหารจัดการจากคณะกรรมการสงฆ์อยู่แล้ว หากฆราวาสเข้าไปเช่นนี้ แทนที่จะเป็นหวังดี กลับไปสร้างความปั่นป่วนให้เกิดขึ้นในวัดได้
เพราะพระเถระแต่ละองค์ท่านก็มีคนเคารพนับถืออยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มโน้นเชื่อกลุ่มนี้ กลุ่มนี้ไม่เชื่อกลุ่มนั้น โดยเฉพาะฝ่ายฆราวาสที่เป็นเสาหลัก
หากพูดหรือเขียนอะไรออกไป ย่อมมีผลแน่นอน อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ละครับ ที่อาจจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดบาดหมางกัน วิธีแก้ไขต้องลดบทบาทลง
แล้วตรวจสอบข้อมูลก่อนจะพิมพ์ บางเรื่องถึงแม้ว่าจะไม่เอ่ยชื่อ แต่โดยนัยคนเขาเข้าใจว่าเป็นใคร ผมมีความเห็นว่าควรจะพิมพ์เฉพาะเนื้อหาธรรมะดีกว่า
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักอื่นหรือบุคคลอื่น ควรจะเซนเซอร์ออกไป
<<< เรื่องนี้จะมีผลในหนังสือเล่มต่อๆ ไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจธรรมะอย่างแท้จริง และความสงบสุขของวัดท่าซุงคงกลับมาตามเดิมครับ
และที่อดจะขอบคุณและเป็นกำลังใจเสียมิได้ ที่เว๊ปวัดท่าซุงเป็นสื่อคอยประสานความเข้าใจซึ่งกันและกัน ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นการกล่าวหาให้รุนแรง
แต่เป็นกระจกส่องใจให้เราได้เห็นใจและเข้าใจกันได้ดี มากกว่าที่จะไปมองในแง่ร้ายเช่นนี้ ทำไมไม่ทำตามที่ท่านพ่อสอนเรา
ว่าให้มองดูแต่ตนเองในเวลาที่มีใครชี้แนะ แทนที่จะมองดูบุคคลอื่นว่าให้ร้าย ผมว่าถ้าทุกคนทำได้ตามโอวาทท่านจริงๆ ในฐานะศิษย์ที่มีอาจารย์องค์เดียวกัน
คงจะเจรจาหาข้อยุติได้อย่างแน่นอนครับ >>>
tappitak - 21/8/10 at 17:30
เพราะหลวงพี่และคณะฯ ทำให้ผมรู้ว่ายังมีรอยพระพุทธบาทอีกมากมายในประเทศไทย และก็เพราะหลวงพี่นี่แหล่ะที่ทำให้ผมได้มีโอกาสสร้างบารมีในการไปกราบนมัสการ
รอยพระพุทธบาท ที่วัดบ้านแลง จ.ระยอง แต่ก่อนผมไม่รู้หรอกว่าแถว ชลบุรี ระยอง ก็มีรอยพระพุทธบาท ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทานไว้ให้
ขอกราบหลวงพี่ด้วยความเคารพครับ...........
เทพพิทักษ์ นาโควงค์ 273/32 ม.5 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
shadow - 21/8/10 at 20:33
สรุปกระทู้ที่ 2 จากผู้ถาม คือ คุณ Shadow
+++ บางส่วนจากบทสังฆคุณ +++
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติ
ตรงแล้ว
ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติ
เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติ
สมควรแล้ว............ฯลฯ
+++ พระเดชพระคุณองค์หลวงพ่อของเราท่านเคยพูดไว้ว่า +++
สุปฏิปันโน คือ พระโสดาบัน
อุชุปฏิปันโน คือ พระสกิทาคามี
ญายะปฏิปันโน คือ พระอนาคามี
สามีจิปฏิปันโน คือ พระอรหันต์
อันนี้พูดไม่บ่อย แต่ที่นำมาพูดบ่อยๆ ก็เรื่อง พระสารีบุตร สอน พระบวชใหม่ที่ไปลาเพื่อที่จะเดินทางออกป่าไปปฏิบัติธรรม พระสารีบุตร ถามว่า
ถ้าพวกท่านทั้งหลาย ไปยังแดนไกล มีคนมาถามท่านว่า ท่านบวชและปฏิบัติเพื่ออะไร ท่านจะตอบว่าอย่างไร พระทั้งหลาย ตอบว่าไม่ทราบ
ท่านก็บอกว่าถ้าจะถูกถามอย่างนี้ ให้ตอบอย่างนี้ว่า เราออกบวชปฏิบัติ เพื่อความดับไม่มีเชื้อ
พระทั้งหลายก็ถามพระสารีบุตรว่า พวกข้าพเจ้า ยังเป็นปุถุชนอยู่ ถ้าต้องการอยากจะเป็นพระโสดาบันจะต้องทำอย่างไร พระสารีบุตรตอบว่า ให้พิจารณา ขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมแล้วเรียกว่าร่างกาย เรียกว่าร่างกายง่ายกว่า ว่าไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ถ้าจิตละเอียดขึ้น ท่านจะเป็นพระโสดาบัน
และพระก็ถาม การที่จะเป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ท่านก็ตอบว่าให้พิจารณาอันเดิมนั่นแหละ คือ พิจารณาให้เห็นว่า
ร่างกายไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้าจิตท่านละเอียดขึ้น ท่านก็จะเป็นพระ สกิทาคา อนาคา และพระอรหันต์ ตามลำดับ
พระก็ถามต่อว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็หยุดเลยใช่ไหม ไม่ต้องทำอะไร พระสารีบุตรตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระอรหันต์ก็จะขยันทำมากขึ้นไปอีก
เพื่อความเป็นอยู่เป็นสุขของจิต
และอีกเรื่องหนี่งที่หลวงพ่อนำมาสอนบ่อยๆ คือ พระโคธิกะ
พระโคธิกะ ท่านป่วย ท่านมีความเบื่อหน่ายในร่างกาย แล้วท่านก็คิดไว้ในใจว่า ร่างกายเลวๆอย่างนี้ เราไม่ขอมีมันอีกต่อไป นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
มันกับเราตัดขาดจากกัน แล้วท่านก็เชือดคอตาย ตายแล้วท่านได้ไปนิพพาน แล้วท่านก็สรุปว่า ถ้าเราเบื่อหน่ายในร่างกาย ไม่ต้องการเกิดมามีร่างกายอีกต่อไป
ถ้าเราตายแม้เราจะไม่ได้นึกถึงนิพพาน ก็ไปนิพพาน
*** ข้อความบางส่วนที่ทางทีมงานเวปฯ ยกมา***
สรุปเรื่องนี้ก็ขอยุติลงเพียงแค่นี้ พระอาจารย์ท่านฝากกล่าวแถมท้ายว่า ท่านยอมรับว่ายังเป็นนักบวชอยู่ ยังมีศีลไม่บริสุทธิ์
ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ในบางครั้ง เพราะท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์นั่นเอง แต่ท่านกระซิบบอกในตอนท้าย ซึ่งไม่เคยบอกใครเลยมาก่อนว่า
นับตั้งแต่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปานเป็นครั้งแรก ในปี 2516 ท่านก็ชอบการตายครั้งที่ 3 ที่หลวงพ่อเล่าว่าได้ไปถึงนิพพานเป็นครั้งแรก
อีกทั้งท่านก็พอใจในคำอธิษฐานว่า "ขอไปนิพพานในชาตินี้" เพราะก่อนจะอ่านหนังสือ ในตอนนั้นอายุ 24 ปี ก่อนจะพบหลวงพ่อ ท่านก็มีความรู้สึกเบื่อการเกิด
มีความรู้สึกว่าเกิดมานานแล้ว ทั้งที่ในตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า "พระนิพพาน" แต่ท่านก็มีความรู้สึกในใจอยากพ้นทุกข์มาก่อนนั้นแล้ว
+++ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า +++
ภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกเมื่อได้ฟังแล้วมีความเห็นดังนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เมื่อคลายความกำหนัดจิตย่อมละความถือมั่น
เมื่อจิตละความถือมั่นจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นย่อมมีญาณรู้ว่า พ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่จะทำให้เป็นอย่างนี้มิได้มี (
ท้ายอนัตตะลักขะณะสูตร )
อยากจะให้ทุกท่านพิจารณา ข้อความในหนังสือเล่ม ๑๒ ที่ว่า มีนักบวชของวัดท่าซุงรูปหนึ่ง ซึ่งบวชแล้วจิตไม่ยอมเป็นพระ,
นักบวชผู้นี้เข้าใจผิด ,แต่นักบวชผู้นั้นต่างหากที่ศีล ๒๒๗ ไม่ครบ และเป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย ประกอบกับบทสังฆคุณ
ประกอบกับคำสอนขององค์หลวงพ่อ ประกอบกับคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบกับ ข้อความบางตอนที่ทางทีมงานเวปฯยกมา ที่ผมได้ประมวลมาไว้ในที่เดียวกันนี้
ด้วยใจเป็นธรรมอีกสักครั้ง หรือ หลายๆครั้ง แล้วท่านจะรู้ว่า การที่เรามีจิตกำเริบ แล้วกล้าที่จะฟันธงว่าพระรูปนั้นเป็นอย่างนั้น
พระรูปนี้เป็นอย่างนี้นั้น มันอันตรายกับตัวเราและผู้ที่เคารพนับถือเราแล้วเชื่อตามเรามากๆ เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่า สุทธิ อสุทธิ
ปัจจัตตัง ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์ รู้ได้เฉพาะตน อย่าดูหมิ่นอสรพิษว่าตัวน้อย อย่าดูหมิ่นว่าพระราชายังเด็ก อย่าดูหมิ่นว่า สมณะนี้ยังหนุ่ม
อนุโมทนาสาธุ กับทุกๆความกรุณาที่ช่วยสงเคราะห์แสดงความคิดเห็น อนุโมทนาสาธุกับทุกๆคำอธิบายเพื่อความเข้าใจ
และขอขอบคุณในความกรุณาทุกความกรุณา ขออโหสิกรรม ถ้าการโพสข้อความครั้งนี้ทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดขัดเคืองคับข้องใจ และ
ขออนุโมทนาบุญอันเกิดจากการอภัยทานโดยทั่วกัน ขอบุญอันเกิดจากอภัยทาน จงบันดาลให้เกิด ความรัก ความสามัคคี ความสุข ความเจริญ ความสงบ ร่มเย็น
ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ จนกว่าจะเข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้แก่พระนิพพาน แก่ทุกๆคน ทุกๆท่านด้วยเถิด
การตั้งข้อสงสัยในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยธรรม เกิดขึ้นพร้อมกับข้อความที่ผมมีความสงสัยว่า มันถูกต้องชอบธรรม หรือ ไม่อย่างไร
และเห็นว่ามีคนไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูกพาดพิง ปรากฏต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง จากหนังสือที่เผยแพร่อยู่ ณ.ปัจจุบัน
และอย่างกว้างไกลไปทั่วโลกจากการเผยแพร่ หนังสือชุดนี้ ทางเวปไซด์ ไม่ได้คิดที่จะเอาเรื่องเก่ามาฟื้นฝอยหาตะเข็บแต่อย่างใด
ถ้าสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม เผยแพร่ไปเป็นธรรมทาน ความรัก ความสามัคคี ความสุข ความเจริญ ความสงบ ร่มเย็นหรือที่เรียกว่าบุญ
ก็จะปรากฏทุกครั้งที่ตัวหนังสือปรากฏ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมนั้น ก็ปรากฏทุกครั้งที่ตัวหนังสือปรากฏเช่นกัน
ฉะนั้นทีมงานที่มีจิตศรัทธาทำเวปฯเผยแพร่หนังสือชุดนี้อยู่ ก็ขอให้ใคร่ครวญพิจารณา สกรีนเนื้อหาและถ้อยคำบางส่วนก่อน
ก่อนที่จะเผยแพร่ก็จะเป็นผลดีแก่ตัวท่านเองและสังคมโดยรวม ส่วนผู้ที่มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือ ก็ขอให้คัดลอกกระทู้นี้ทั้งหมดทุก ตัวอักษร
ย้ำขอให้คัดลอกกระทู้นี้ทั้งหมดทุกตัวอักษร ไปนำเรียนท่านผู้เขียนหนังสือชุดนี้ ได้อ่าน ทุกถ้อยคำ และได้ใคร่ครวญพิจารณา
ถ้าเห็นว่ามีความไม่ชอบธรรมตรงไหนก็จะได้แก้ไขในโอกาสที่จะส่งต้นฉบับพิมพ์รวมเล่มในโอกาสต่อไป ส่วนที่ได้พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว
ถ้าท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าส่วนไหนไม่ชอบธรรม ก็ออกมาขอโทษ และออกมาประกาศแก้ไขด้วยตัวท่านเองจะดีที่สุดต่อทุกๆฝ่าย แต่ถ้าท่านได้ใคร่ครวญแล้ว
มีความเชื่อมั่นว่าเป็นคำสอนของเบื้องบนทั้งหมดย่อมไม่มีจุดไหนต้องแก้ไข ก็ไม่เป็นไร สุดแท้แต่ท่านจะพิจารณา
ผมไม่ได้มีความข้องใจเกี่ยวกับตัวบุคคลแต่อย่างใด ห่วงก็แต่หนุ่มน้อยทีมงานเว็ปนี้ที่ทำด้วยจิตศรัทธา และ
ผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น พี่ขอเตือนน้องๆทุกคนนะว่า ยกการยึดถือในตัวบุคคลออกไปชั่วคราวก่อน
มาใคร่ครวญพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมอีกสักครั้งว่า เราควรสกรีนเนื้อหาบางช่วงบางตอนก่อนเผยแพร่หรือไม่อย่างไร
สรุป ข้อสงสัย ที่ ๑.เรื่องข้อความบนปกหนังสือ ยังแคลงใจอยู่ เพราะอ่านที่ไร ก็เข้าใจว่าเป็นคำสอนขององค์หลวงพ่อ
บุคคลผู้นี้เป็นผู้รวบรวมมานำเสนออยู่ดี แต่ก็เบาใจที่ทางทีมงานเวปวัดท่าซุง ได้ชี้แจงในนามวัดว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับวัดท่าซุง
ต่อไปนี้ก็จะเลิกสนใจ
ข้อสงสัยที่ ๒. เรื่องพิธีอัฏฐมีบูชา ก็เกิดความปลื้มใจ คลายความสงสัยในบุญอัฏฐมีบูชานี้ได้ทั้งหมด
แถมยังได้ความรู้เกี่ยวกับบุญใหญ่อันนี้ อย่างลึกซึ้ง กว้างขวาง และแจ่มแจ้ง เป็นที่สุดอย่างไม่เคยได้จากที่ไหนมาก่อน
จากข้อความที่ท่านผู้รู้ทุกท่านได้พยายามหาข้อมูลมาลงให้ได้อ่านให้ได้ศึกษา อยากให้พระอาจารย์ผู้นำจัดที่พระแท่นดงรังตอนปี ๓๙ นั้น
นำจัดให้เป็นงานระดับชาติทุกๆปีในนามคณะศิษย์พระราชพรหมยานจัง แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้
ส่วนที่มีคนถามว่า คนเขียนหนังสือที่ว่านี้ก็ยังไม่ตาย น่าจะไปถามโดยตรง หรือจับเข่าคุยกัน ก็รู้สึกสลดใจ
ที่คนไทยเราจำนวนหนึ่งจะเรียกว่าจำนวนมากก็ว่าได้ รับข้อมูลต่างๆแล้ว ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ลึกซึ้ง กว้างขวาง เสียก่อน
แล้วค่อยวินิจฉัย ค่อยตัดสินใจออกความเห็น และค่อยโพนทะนาออกไป จนกลายเป็นเครื่องมือกระพือข่าวโดยไม่รู้ตัว อย่างนี้คือจุดอ่อนของสังคมเรา
ย่อมตกเป็นทาสของข่าวลือได้ง่าย ใครจะปล่อยข่าวลือเพื่อทำลายใคร หรือใครจะปล่อยข่าวลือ เพื่อทำลายหมู่คณะหนึ่ง คณะใดให้แตกสามัคคีกัน
จึงทำให้สำเร็จได้ไม่ยาก อย่างเช่นการปล่อยข่าวลือทำลายพระผู้นำอันเข้มแข็งที่สุดรูปหนี่งของวัดท่าซุงรูปที่เป็นประเด็นนี้ ทำกันทีละเล็ก ทีละน้อย
ต่อเนื่องกันมา จนปิดบังผลงานที่เป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อพระพุทธศาสนา ต่อวัดท่าซุงที่ท่านได้ทำมาตลอดต่อเนื่องมานับตั้งแต่หลวงพ่อเราสิ้นไป
ถ้าคิดว่าคำกล่าวนี้เว่อร์เกินไป ก็ขอให้ตั้งใจให้เป็นธรรม ศึกษาผลงานของท่านที่แล้วๆมาว่ามีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
การรวบรวมแหล่งเนื้อนาบุญที่สำคัญๆในพระพุทธศาสนาทั่วโลก ไว้ให้เป็นคู่มือของผู้ต้องการบุญทั้งหลายไว้ใช้เป็นแผนที่ในการเดินทางแสวงบุญ คือ
หนังสือตามรอยพระพุทธบาทเล่ม ๑-๔ แค่นี้ก็เป็นคุณูปการที่หาประมาณมิได้แล้ว ยังไม่นับส่วนอื่นๆอีกมากมายที่ท่านได้บำเพ็ญมา
หวังว่าทุกถ้อยคำในกระทู้นี้ จะสามารถ นำมาเป็นข้อเตือนใจแก่เราทุกๆคนได้ ไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณและโมทนากับทุกๆท่านอีกครั้ง
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ ชื่อที่ผมใช้ว่า shadow แปลเป็นไทยคือ ที่หลบภัย เป็นนามที่ผมสมัครสมาชิกเวปวัดท่าซุง
แต่ผมไม่ใช่คุณชาโดว์ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อของเราท่านอนุญาติให้เขียนหนังสือชื่อ บันทึกของชาโดว์
นะครับกรุณาทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ เพื่อจะได้ไม่ไปกระทบผู้อื่นที่บริสุทธิ์ เดี๋ยวจะเป็นโทษกันเปล่าๆ
สิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายนั้นล้วนดับไปเป็นธรรมดา
นิพพานัง ปะระมังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
------------------------------------------------------------------------------------
◄ll กลับสู่สารบัญ
chitarsa - 22/8/10 at 06:11
กระผมขอให้หลวงพี่อดทนเพราะการบำเพ็ญบารมีใหญ่จะต้องมีมารมาบั่นทอนเป็นของธรรมดา
สิ่งที่หลวงพี่ได้ทำกระผมได้ติดตามมาตลอดและขออนุโมทนาสาธุกับบุญที่หลวงพี่ได้ปฎิบัติ
ธรรมใดที่หลวงพี่ได้บรรลุแล้วเห็นแล้วสำเร็จแล้วกระผมขอถึงธรรมนั้นโดยฉับพลันด้วยเถิด
ขอให้หลวงพี่อยู่คู่กับวัดท่าซุงและร่วมเป็นกำลังสำคัญให้กับหลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์
ตัวอย่างที่หลวงพ่อฤาษีท่านได้แสดงให้เห็นแล้วว่าท่านได้ปฎิบัติหน้าที่จวบจนลมหายใจสุดท้ายเป็นที่หน้ายกย่องและสรรเสิญและเทิดทูลหาประมาณไม่ได้
กระผมได้ปฎิบัติตามที่หลวงพ่อสอนของการรับเป็นลูกศิษย์ว่าใครจะอยู่ในฐานะศิษย์ที่เท่าไรก็พิจารณาเอาว่าตนเองอยู่ระดับไหนมันเป็นปัจจัตตัง (
ต้องรู้ด้วยตนเอง )กระผมรักษ์วัดท่าซุงด้วยชีวิตถ้าอะไรจะเกิดกับวัดในทางไม่ดีกระผมขอร่วมปกป้องด้วย ขอเป็นกำลังใจกับพระคุณเจ้าทุกรูปในวัดท่าซุงทุกท่าน
โปรดทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทำเพื่อพระพุทธเจ้าและองค์หลวงพ่อพระราชพรหมยานของเราทุกคน จาก..anant.19@hotmail.com
webmaster - 22/8/10 at 08:45
ผู้ที่ปรารถนา "พุทธภูมิ" สายหลวงพ่อฯ
☺....ความจริงกระทู้นี้ปิดแล้วนะครับ แต่เมื่อได้เห็นกระทู้จากคุณ
anant หลวงพี่ชัยวัฒน์จึงได้ฝากให้ทีมงานฯ ชี้แจงปิดท้ายนะครับ
จากคำพูดที่ว่า..."ธรรมใดที่หลวงพี่ได้บรรลุแล้วเห็นแล้วสำเร็จแล้วกระผมขอถึงธรรมนั้นโดยฉับพลันด้วยเถิด"
ท่านผู้นี้โมทนาด้วยที่มีจิตคิดเช่นนั้น แต่การที่ท่านได้อนุญาตให้นำมาเล่าถึง ความรู้สึกของจิตของท่าน ก่อนที่จะพบหลวงพ่อนั้น
มิได้หมายถึงท่านได้บรรลุธรรมแล้วนะครับ ท่านเพียงแต่ตั้งอารมณ์ตรงกับหลวงพ่อสอนพอดี หลังจากหลวงพ่อตอบจดหมายมาแล้ว กรุณาย้อนอ่านทบทวนอีกครั้งว่า
ในตอนนั้นและในตอนนี้ ท่านยังมีกิเลสอยู่นะครับ โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย มิฉะนั้นจะเป็นโทษต่อตัวท่านเองด้วย ควรแค่อนุโมทนาบุญที่ท่านทำไปแล้วดีกว่า
ส่วนธรรมใดที่หลวงพ่อเห็นแล้ว ขอให้ได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับท่าน อย่างนี้จะประเสริฐกว่านะครับ
ส่วนปัญหาที่มีคนตั้งคำถามกันมากมายว่า บางคนก็ไปถามท่านด้วยตนเอง บางก็คนไปคุยกันในหมู่เพื่อนฝูงว่า "หลวงพี่ชัยวัฒน์ปรารถนาพุทธภูมิหรือเปล่า?"
วันนี้ละครับ ที่ท่านฝากมาให้เปิดเผยความในใจของท่าน อันเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่ท่านตอบนะครับ
ขอย้อนกล่าวถึงบรรดาคณะสายหลวงพ่อฯ ตามที่หลวงพี่ท่านได้สัมผัสเอง ส่วนท่านอื่นไม่ทราบ หลวงพี่บอกว่าตามที่ได้ยินจากหลวงพ่อโดยตรง
และคนส่วนใหญ่ในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อเก่าๆ จะทราบได้ดี มีอยู่ประมาณ 4-5 ท่านดังนี้ ที่หลวงพ่อบอกว่าเคยปรารถนา "พุทธภูมิ" มาก่อน
1. พล.อ.ท. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์ (ท่านเจ้ากรมเสริม)
2. พลตรีศรีพันธุ์ วิชพันธุ์ (พี่แดง)
3. พ.ต.อ. (พิเศษ) อรรณพ กอวัฒนา (พี่ณพ)
4. ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย
5. พล.ต.ท.น.พ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ส่วนที่เหลือนั้นเท่าที่คุยกันในวงสนทนาก็มีมากมายหลายคน แต่ก็ยังไม่เคยได้ยินหลวงพ่อพูดถึงอะไร ส่วนใหญ่ท่านจะพูดรวมๆ ว่าพวกเราเข้านิพพานกันไปเยอะแล้ว
ส่วนที่ยังไม่ไปเพราะปรารถนาพุทธภูมิกันบ้าง ต้องการสนับสนุนงานพระโพธิญาณของหลวงพ่อบ้างเป็นต้น โดยเฉพาะ "คณะลิงหน้าพลับพลา"
ตามที่หลวงตาวัชรชัยตั้งไว้สมัยที่ยังไม่ได้บวช บุคคลกลุ่มนี้เป็นเพื่อนกันมาก่อนมีหลวงพี่สุรจิตด้วย ซึ่งมีหลวงพี่ชัยวัฒน์เป็นหัวหน้าทีม
ในตอนนั้นยังไม่ได้บวชกัน ต่างรวมตัวไปช่วยงานที่บ้านสายลมและที่วัดท่าซุง มีอยู่วันหนึ่งประมาณปี 2517-2518 หลวงพี่บอกจำไม่ได้แน่นอน
แต่คนที่จำได้ดีเห็นจะเป็น คุณพี่ศุภาพร (ผู้จัดทำบายศรีของวัด อดีตภรรยาหลวงตาวัชรชัย) กำลังตั้งวงนั่งสนทนากันอยู่นั้น
บังเอิญหลวงพ่อเดินผ่านมาพอดี ท่านบอก...
......"ไอ้พวกนี้... ถ้าข้ายังไม่ลาพุทธภูมิ พวกแกจะต้องตามไปเกิดกับข้าอีก 7 ชาติ" (หมายถึงถ้าหลวงพ่อยังไม่ลาพุทธภูมิ ท่านจะต้องเกิดอีก 7 ชาติ
บารมีจึงจะเต็ม)
เป็นอันทราบเบื้องต้นแล้วนะครับว่า หลวงพี่ชัยวัฒน์มิได้อยู่ในทำเนียบสาย "พุทธภูมิ" ของหลวงพ่อ แต่ท่านบอกว่าน่าจะเคยปรารถนามาก่อน
แต่ต้องเลิกราไปในภายหลัง แต่กำลังใจยังเข้มข้นอยู่ สามารถรวบรวมลูกศิษย์หลวงพ่อออกเดินทางสร้างบารมี ตามที่องค์สมเด็จมาตรัสสั่งหลวงพ่อก่อนจะนิพพานว่า
"....บอกให้ลูกหลานโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อเร่งบุญบารมีให้เต็มเร็วขึ้น.."
ฉะนั้นเป็นอันสรุปได้ว่า หลวงพี่มิได้ปรารถนาพุทธภูมิอย่างแน่นอน แต่ต้องทำหน้าที่ช่วยงานหลวงพ่อ เพื่อสนององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตาม "พุทธบัญชา"
ซึ่งมองดูแล้วเหมือนงานของพุทธภูมิ เพราะผู้คนร่วมเดินทางมากมาย เหมือนลมพายุที่พัดผ่าน จนทำให้ต้นหญ้าบางต้นต้องไหวเอนไปบ้างเป็นธรรมดา
แต่เนื้อแท้ท่านมิได้ทำแข่งกับใคร ท่านมีความเคารพผู้อาวุโสทั้งหลายภายในวัด ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้น จึงไม่สามารถจะบอกกล่าวอะไรได้
เพราะจะมองว่าทำงานนี้เพื่อแอบอ้าง "หลวงพ่อ" และ "สมเด็จองค์ปฐม" เพื่อเป็นการจูงใจให้คนไปกันเยอะแยะ เวลานี้งานสำเร็จลุล่วงผ่านไปด้วยดี
จะเห็นว่าการเดินทางตลอดเกือบ 20 ปี ไม่มีรถเสียสักคัน ไม่มีอุบัติเหตุเลย ทั้งๆ ที่รถร่วมเดินทางบางครั้งนับร้อยคัน อีกทั้งมีพุทธานุภาพรับรองให้ปรากฎ
เพื่อเป็นแรงดึงดูดความศรัทธาให้เชื่อมั่น เท่ากับเป็นการรับรองงานที่ได้จัดทำ มิได้เป็นเพราะอานุภาพของคนที่จัดงานแต่อย่างใด
☺........ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เป็นที่กล่าวขวัญกันมากว่า หลวงพี่ชัยวัฒน์คงปรารถนาพุทธภูมิ บัดนี้คงเป็นคำตอบแล้วนะครับ
ซึ่งมองดูงานของท่านเหมือนจะโดดเด่นกว่าผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิทั้งหลาย แต่ความเป็นจริงแล้ว ผู้ปรารถนาพุทธภูมิสายหลวงพ่อ
ก็ได้ทำงานพุทธภูมิในด้านธรรมะอยู่แล้ว หากจะต้องละเลิกไปในชาตินี้ เช่น
1. พล.อ.ต. ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์ (ท่านเจ้ากรมเสริม) ความจริงหลวงพ่อบอกว่า ท่านผู้นี้ควรจะเข้านิพพานนานแล้ว แต่ตั้งความปรารถนา 2
อย่างควบคู่กันไป หมายถึงบางชาติก็พุทธภูมิ บางชาติก็สาวกภูมิ เมื่อเกิดมาในชาตินี้ จึงต้องทำงานชดเชยพุทธภูมิเช่นกัน คือเป็นผู้อุทิศบ้านสายลม
ให้เป็นศูนย์นัดพบกันระหว่างหลวงพ่อกับลูกหลานในชาติที่แล้ว อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความเพียรเป็นอย่างสูง ทั้งที่เป็นนายทหารผู้ใหญ่มีภารกิจมาก
ท่านยังได้อุตส่าห์คัดลอกจากเทปบันทึกเสียงที่หลวงพ่อเล่าไว้ แล้วจัดพิมพ์หนังสือหลายเล่ม เช่น ประวัติหลวงพ่อปาน เป็นต้น
ควรที่ลูกศิษย์รุ่นหลังจะได้รับทราบ และอนุโมทนาในคุณงามความดี ที่บุคคลเหล่านี้ได้สรรสร้างไว้ อีกทั้งยังมีนายทหาร นายตำรวจ ข้าราชการระดับผู้ใหญ่
มีบุคคลต่างๆ เข้ามาช่วยเริ่มงานเป็นอันดับแรกๆ เช่น ศ.ดร.เดือน - คุณหญิงเยาวมาลย์ บุนนาค เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของพระประทานในพระอุโบสถวัดท่าซุง
2. พลตรีศรีพันธุ์ วิชพันธุ์ ก็ได้ทำงานชดเชยพุทธภูมิ โดยการอุทิศให้พระเทวดามาเทศน์ผ่านร่างของพี่แดง
3. พ.ต.อ. (พิเศษ) อรรณพ กอวัฒนา ก็ได้สร้างห้องสมุดหนังสือธรรมะของหลวงพ่อไว้ที่บ้านของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เคยเปิดเผยมาก่อน
ท่านบอกว่าได้ยินหลวงพ่อพูดภายหลังว่า (เจ้าตัวไม่ได้ยิน)
"...ไอ้เป๋..เข้มกว่าเจ้าแดง" (พี่ณพเคยถูกผู้ก่อการร้ายยิงจนขาเป๋ ระหว่างปฏิบัติงานบน ฮ. ที่ภาคเหนือ ท่านบอกว่าเป็นการสละร่างกายเพื่อพุทธภูมิ)
แต่ทั้งสองท่านนี้ พี่แดงยังไม่ลาแต่ได้ตายไปก่อนแล้ว ส่วนพี่ณพต้องไปถามท่านเอง เพราะกำลังเตรียมงานที่ อาคารพิพิธภัณฑ์ "สมบัติพ่อให้"
4. ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย ท่านนี้ได้ยินหลวงพ่อชวนลาพุทธภูมิตอนที่ฝึกมโนมยิทธิ ภายหลังท่านดอกเตอร์ก็ได้พยายามรวบรวมคำสอนจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมคำสอนมากมาย
นี่เป็นการทำงานใช้หนี้พุทธภูมิเช่นกัน
5. พล.ต.ท.น.พ.สมศักดิ์ สืบสงวน ท่านผู้นี้หลวงพี่บอกไม่เคยได้ยินหลวงพ่อพูดด้วยตนเอง แต่อาจจะพูดที่อื่นบ้างหรือไม่ก็ไม่อาจทราบได้
แต่หลวงพี่ก็รู้จักกับท่านมานานตั้งแต่ยังมิได้บวช จึงมีความเคารพนับถือว่า คุณพี่หมอสมศักดิ์เป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ และสำคัญของหลวงพ่อคนหนึ่งด้วย
การที่คุณพี่หมอสมศักดิ์มาสอนธรรมะ อาจจะทำงานใช้หนี้พุทธภูมิก็เป็นได้ ซึ่งหนังสือหลายเล่มที่พิมพ์ออกมากล่าวถึงหลวงพี่ ถึงจะออกชื่อหรือไม่
จะเป็นคำตรัสของสมเด็จองค์ปฐมก็ตาม ท่านก็ยิ้มๆ มิได้ขุ่นเคืองอะไรเลย เพราะท่านเชื่อมั่นในงานที่ทำ ว่ากระทำไปด้วยความจริงใจ
และหวังดีต่อวัดและคณะศิษย์ทั้งหลาย งานนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงรู้ว่าไม่ใช่งานของตนเอง ต้องเป็นงานของเบื้องบนอย่างแน่นอน ท่านจึงบอกว่า...
....."เพราะความดีของคุณพี่หมอมีมากมายนี่เอง ที่เคยเดินทางไปรับใช้ดูแลสุขภาพหลวงพ่อเป็นอย่างดี จึงยากที่จะมีอะไรมาลบเลือนไปจากจิตใจของหลวงพี่ได้.."
พระวัดท่าซุงต้องทำงานแทนหลังหลวงพ่อมรณภาพแล้ว
ส่วนพระภิกษุในวัดท่าซุง หลวงพ่อไม่เคยพูดเรื่องนี้ จึงไม่ขอนำมากล่าว เพียงแต่กล่าวว่าการที่วัดท่าซุงตั้งขึ้นนั้น มีปัญหาอุปสรรคต่างๆ
กว่าจะสร้างเป็นวัดได้สำเร็จ หลวงพ่อต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย เพราะอาศัยกำลังจาก "พุทธภูมิ" เดิมมาก่อนนั่นอีก จึงต้องอดกลั้นทุกข์เวทนา
ต้องลำบากยากเข็ญต่อความเจ็บป่วยของร่างกาย ต้องเดินทางไปทั่วทุกทิศ ทั้งนี้ด้วยจิตเมตตาเหล่าบรรดาลูกหลานในอดีต
ทั้งนี้เพื่อทำตามสัญญาที่จะต้องใช้หนี้ลูกหลาน หลังจากเบื่อหน่ายพระสงฆ์บางรูป จึงต้องลาพระโพธิญาณไปในที่สุด เพื่อมาสร้างสถานที่นี้ไว้รอลูกหลาน
ที่เคยบำเพ็ญบารมีร่วมกันในชาติอดีต ตามคำสั่งท่านปู่พระอินทร์ว่า จะต้องขนลูกหลานอย่างน้อยไปดาวดึงส์ ด้วยการสร้างวัดทาซุงนี้เป็นวิหารทาน
แล้วมีนัดกันไว้ว่าจะต้องไปเกิดในสมัยพระศรีอาริย์ ในฐานะที่ปวารณาตัวเป็นผู้อุปฐากเลี้ยงพระสองแสนรูปในสมัยนั้น
แต่ปรากฏว่า เมื่อหลวงพ่อสอนมโนมยิทธิ (ครึ่งกำลัง) ในปี 2521 ปรากฏลูกหลานฝึกได้กันมาก
ท่านย่าและท่านแม่ศรีเห็นว่าไม่จำเป็นต้องไปเกิดในสมัยหน้าตามสัญญากันแล้ว ตัดสินใจเข้าสู่พระนิพพานเลย ส่วนท่านปู่ต้องอยู่ในตำแหน่งก่อน
โดยจะมีท่านปัญจสิกขเทพบุตรมารับตำแหน่งแทน หลังจากนั้นทั้งหมดก็จะเข้าสู่พระนิพพาน
ส่วนงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลังจากหลวงพ่อลาพุทธภูมิเมื่อปี 2506 ที่ชัยนาทแล้ว ในปี 2511 ท่านก็มาสร้างวัดท่าซุงรอลูกหลาน แต่จะต้องตายในปี 2515
ท่านปู่พระอินทร์ได้มายับยั้ง หนังสือหลวงพ่อปานจึงได้เป็น "ใบสั่ง" คือรวบรวมลูกหลานว่านเครือในอดีต หลวงพ่อได้ทำกิจในฐานะพุทธภูมิต่ออีก จนถึงปี 2535
ท่านก็ไม่สามารถต่ออายุอีกได้ แต่ได้บอกไว้ว่าวัดท่าซุงจะอยู่ถึง 4.500 ปี ต่อไปคำสอนของท่านจะเป็นหลัก
พวกที่เคยปรารถนา "พุทธภูมิ" มาก่อน จะต้องมาลาเพื่อช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ณ สถานที่นี้ เป็นช่วงๆ ไป เพราะถ้ามิได้กำลังจากพุทธภูมิมาก่อน
จะไม่สามารถทำงานในหน้าที่นี้มิได้ เนื่องจากเป็นงานที่ใหญ่และหนักมาก ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์ทั้งสองท่านนี้ ที่จะมารับช่วงในกาลข้างหน้า ประมาณ ปี 2700
ตามคำพยากรณ์ในงานฝังลูกนิมิต ปี 2520 หลังจากปิดหลุมลูกนิมิตเอกใน วันที่ 26 เมษายน 2520 ในขณะนั้นหลวงพี่ชัยวัฒน์อยู่ในพระอุโบสถนี้ด้วย
แผ่นทองคำจารึก
เราพระมหาวีระ..มีพระราชานามว่า ภูมิพล เป็นผู้อุปถัมภ์ ร่วมด้วยพุทธศาสนิก ชนส่วนใหญ่ สร้างวัดนี้ไว้เป็นพุทธบูชา
เมื่อศักราชล่วงไปได้ ๒๗๐๐ ปีปลาย จะมีพระเจ้าธรรมิกราชนามว่า ศิริธรรมราชา สืบเชื้อสายมาจากเชียงแสนบวกสุโขทัย ร่วมกับพระอรหันต์ จะมาบูรณะวัดนี้
สืบพระศาสนาต่อไป คณะเราขอโมทนาด้วย แต่อยู่ช่วยไม่ได้ เพราะไปพระนิพพานหมดแล้ว...
☺...... และต่อมาจึงได้ทราบว่า พระโพธิสัตว์สององค์ที่จะเกิดนั้น ภายหลัหลวงพ่อบอกว่าท่านฮิตเลอร์จะมาเป็นพระเจ้าธรรมิกราช
ส่วนท่านมุสโสลินีจะมาลาพุทธภูมิเช่นกัน โดยเกิดเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุงนี้
รวบรวมคำสั่งของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายชีวิตหลวงพ่อ
.....เพราะฉะนั้น ก่อนที่หลวงพ่อมรณภาพปี 2535 ในวันเข้าพรรษา องค์สมเด็จมาสั่งหลวงพ่อตอนบวงสรวง ณ อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราชว่า
...."พระสั่งให้เดินทางทั่วประเทศ ไม่รู้ว่าจะไปไหวหรือเปล่า"
เรื่องนี้คิดว่าพระท่านคงทราบด้วยอำนาจพุทธญาณล่วงหน้าแล้วว่า ในปลายปี 2535 นี้ หลวงพ่อคงจะละสังขารเข้าสู่พระนิพพานแน่ ท่านจึงได้ตรัสสั่งเป็นพุทธบัญชา 3
เรื่อง สำหรับงานใหญ่ๆ ที่ค้างอยู่ คือ
(งานเดินทาง) 1. ให้หลวงพ่อเดินทางทั่วประเทศ (ตรัสสั่ง กรกฎาคม 2535) งานนี้หลวงพี่ชัยวัฒน์ กับ หลวงพ่อโอ ช่วยกันรับหน้าที่ทำต่อ
(งานทำบุญ) 2. บอกให้ลูกหลานโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อเร่งบุญบารมีให้เต็มเร็วขึ้น (ตรัสสั่ง สิงหาคม 2535) งานนี้ หลวงพ่ออนันต์ รับหน้าที่ทำต่อ
(งานรวมคน) 3. หลวงพ่อรับคำสั่งให้ช่วยคนของพระศรีอาริย์อีก 300,000 คน (ตรัสสั่ง จำวันเดือนปีไม่ได้) งานนี้ใหญ่มากก็ค้างอยู่ หลวงพ่ออนันต์
และพระสงฆ์ภายในวัดทุกองค์ ต้องช่วยกันทำต่อไป
(พิธีเป่ายันต์เกราะเพชร) 4. หลวงพ่อสั่งให้พระในวัดตั้งขันครู "เป่ายันต์เกราะเพชร" (เรื่องนี้ได้สอบถามพระที่เคยติดตามรับใช้หลวงพ่อบอกว่า
ความจริงหลวงพ่อท่านมุ่งหมายใคร แต่ท่านก็พูดโดยรวมเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ เพราะท่านย่อมทราบดีว่า ใครจะเป็นทายาทภายในวัดสืบต่อไป
เรื่องนี้จึงมีพระผู้ใหญ่ในวัดบางรูปที่เข้าใจ ไม่ตั้งขันครูเป็นผู้เป่ายันต์ในครั้งนั้นด้วย)
(งานก่อสร้าง) 5. หลวงพ่อเคยได้รับคำสั่งจากองค์สมเด็จฯ ให้ปิดทองหลังคาพระอุโบสถ (เรื่องนี้หลวงพ่ออนันต์รับทำต่อ แต่ยังรอจังหวะอยู่
ท่านจะบูรณะบริเวณนั้นทั้งหมดด้วย สมัยก่อนท่านได้เสนอความเห็นว่า น่าจะทำหลังคาโบสถ์สีทองให้ถาวรเลย แต่พระเบื้องบนได้ตรัสยืนยันว่า
ให้ปิดทองคำเปลวเหมือนเดิม เพราะการซ่อมแซมแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดผลบุญมหาศาลแก่ผู้ร่วมบุญ นี่พระท่านเห็นประโยชน์คือบุญเป็นสำคัญ
โดยไม่ได้มุ่งเฉพาะที่จะทำให้แข็งแรงถาวรเท่านั้น)
(งานสอนธรรมะ) 6. หลวงพ่อไม่สั่งใครให้สอนธรรมะเป็นพิเศษ (เรื่องนี้ท่านวางระบบการสอนไว้ดีแล้ว คือวางระเบียบไม่ให้คนในวัดแยกสอนกันเองในห้อง
ให้สอนรวมกันที่วิหารร้อยเมตร)
เหตุแห่งความมั่นคงของวัดท่าซุง
หมายเหตุ จะสังเกตเห็นได้ว่า "งานด้านสอนธรรมะ" องค์สมเด็จมิได้ตรัสสั่งเรื่องนี้กับหลวงพ่อเลย แต่หลังจากสิ้นท่านไปแล้ว
หลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์ก็ได้มอบหมายให้ หลวงพี่อาจินต์ เป็นหัวหน้า และพระสงฆ์ในวัดบางรูป พร้อมทั้งญาติโยมบางคน ที่จะมีหน้าที่ฝึกสอนเท่านั้น
ทั้งภายในวัด, ศูนย์โคราช, และที่บ้านสายลม, ในต่างประเทศ และในที่บางแห่งตามที่ได้รับกิจนิมนต์ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสโดยตรงก่อน *
(และสถานที่เหล่านี้ ท่านจะไม่ตั้งชื่อว่าเป็น "สาขาของวัดท่าซุง" (ยกเว้นบางแห่งที่เคยอธิบายไปแล้ว) ตามเจตนารมย์เดิมของหลวงพ่อด้วย)
นอกจากนั้นถ้าใครไม่มีหน้าที่นี้ ทางวัดจะมีกฎระเบียบห้ามฝึกสอนโดยพลการ ถือว่าเป็นความผิดตามคำสั่งของหลวงพ่อที่วางไว้อีกด้วย
เพราะฉะนั้น ในเมื่อไม่มีคำสั่งจากพระเบื้องบนต่อองค์หลวงพ่อ ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว จุดนี้จึงเป็น "จุดเปราะบาง" ของวัดท่าซุงในเวลานี้
ความมั่นคงของวัดอาจจะอยู่ที่ "งานด้านสอนธรรมะ" ก็ได้ ทั้งที่ความจริงงานสอนธรรมะนี้ ทางวัดได้จัดวางระบบกันเป็นอย่างดีแล้ว
นับตั้งแต่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ ทั้งในวัดท่าซุง บ้านสายลม ทั้งในต่างจังหวัดและต่างประเทศ จนปัจจุบันนี้หลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์และพระสงฆ์ภายในวัด
พยายามรักษามาตรฐานการสอนไว้เป็นอย่างดี มีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างครูฝึก มีการปรับปรุงเน้นการสอนไม่ให้คลาดเคลื่อนจากที่หลวงพ่อสอนไว้
คอยแนะนำติติงผู้ที่เริ่มสอนออกนอกแนว เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าไม่มีพระวัดท่าซุงรูปไหนไปทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเลย ถ้างานสอนธรรมะเป็นเอกภาพตามหลักที่หลวงพ่อวางไว้
ไม่มีพระหรือฆราวาสทำเกินไปจากระเบียบของวัด อีกทั้งการรับคำสั่งจากข้างบนให้สอนนั้น ควรเทียบดูกับระเบียบการของวัดด้วย "จุดเปราะบางนี้"
จะไม่เป็นจุดอ่อนหรือเป็นเป้าเข้าทางให้วัดท่าซุงต้องล่มสลาย กลับเป็นจุดแข็งที่ลัทธิอื่นทุ่มเทงบมหาศาล เพื่อมุ่งหวังล้มล้างวัดท่าซุงให้แตกแยกกันนั้น
จะไม่สามารถทำได้สัมฤทธิ์ผลอย่างแน่นอน ซึ่งเอกสารที่แจ้งเตือนไปตามวัดต่างๆ นานหลายปีแล้ว จึงไม่ทราบว่าเขายังมีนโยบายนี้อยู่หรือไม่
ถ้าหากยังมีอยู่เราจะได้ระมัดระวังไว้ เพื่อไม่ให้คนของเราไปทำเข้าทางเขา
☺...นี่ถ้าหากเขาทำได้ตามแผนการที่วางไว้จริงๆ คงจะเหมือนกับประวัติศาสตร์แห่งนาลันทา ประเทศอินเดีย ที่ถูกพระเจ้าอัคบากรีฑาทัพจากปากีสถาน
บุกเผามหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วฆ่าพระสงฆ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก หากพวกเราทุกคนที่ได้อ่านข้อความนี้แล้ว เหตุการณ์จะเกิดขึ้นตามความเป็นจริงหรือไม่
เราก็ไม่ควรประมาท หากมีความเห็นตรงกัน ถ้าไม่อยากเห็นวัดท่าซุงต้องพังทลายไป ตามที่เขาบอกว่าจะทุ่มเทงบเท่าไรไม่อั้น
จะต้องทำให้วัดท่าซุงย่อยยับไปให้ได้นั้น พวกเราจะต้องผนึกกำลังป้องกันสิ่งที่เป็น "จุดเปราะบาง" เหล่านี้ คอยสอดส่องระมัดระวังการยุแหย่
เพื่อจะให้แบ่งกลุ่มแยกคณะกันสอน แล้วสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องซึ่งกันและกัน พยายามรักษาแนวทางการสอนที่วัดวางไว้ ซึ่งเป็นเสมือนแนวรั้วกำแพงป้องกันวัด
จึงยากที่เปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้ามาทำลายได้อย่างง่ายดายนั่นเองครับ.
.
วัดท่าซุงจะต้องอยู่ไปอีกนานจนถึงปี พ.ศ. 4500
........เป็นอันว่าได้สรุปคำสั่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ครั้นเมื่อถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2535 หลวงพ่อก็ไม่สามารถทำตามพระพุทธดำรัสได้ จำต้องมรณภาพไปในที่สุด
ทิ้งงานของพุทธภูมิไว้เบื้องหลัง เมื่อหลวงพ่อได้จากไปแล้ว พระและเทวดาจะต้องช่วยรักษาวัด ฉะนั้นหลวงพ่ออนันต์และพระสงฆ์ทั้งหลาย
จึงมีหน้าที่บริหารงานส่วนกลางของวัด ส่วนหลวงพี่โอและหลวงพี่ชัยวัฒน์ก็มีหน้าที่ช่วยงานรอบนอก เพื่อรวบรวมคนมิให้กระจัดกระจายออกไป
หลังจากครูบาอาจารย์มรณภาพไปแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจากงาน "พุทธภารกิจ" หลังจากนี้ไป จะต้องเป็นภาระหนักมาก สังเกตได้ว่าหลังจากหลวงพ่อมรณภาพ ผู้คนได้หลั่งไหลมาวัดท่าซุงกันมากขึ้น
งานทุกงานจะต้องจัดที่ศาลา 12 ไร่ทุกครั้ง ซึ่งงานเหล่านี้จะต้องเป็นวิสัยของพุทธภูมิ เพราะสมัยหลวงพ่อท่านทำงานองค์เดียวได้
แต่สมัยหลังพระและเทวดาต้องจัดสรรให้พระแต่ละองค์ แบ่งรับหน้าที่กันทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาต่อไป
จนกว่าจะมีผู้ที่มาลาพุทธภูมิรับอาสามาเกิดเพื่อรับช่วงสืบต่อๆ กันไป จนถึง พ.ศ. 4500 ในที่สุด.. ฉะนั้นจึงอยากนำ "บันทึกพิเศษ"
อันเป็นบันทึกส่วนตัวที่หลวงพี่ชัยวัฒน์เก็บไว้นานแล้ว นำมาย้อนก่อนที่จะไม่ลงมาเกิดในสมัย "พระศรีอาริย์" ตามที่เคยสัญญากันไว้ในอดีต ดังนี้
เพียงลมหายใจเข้า-ออก - 22/8/10 at 12:50
เรื่องประวัติในอดีตชาติ
(การสร้างบารมีของหลวงพ่อและลูกศิษย์ลูกหลาน)
...บรรยายโดย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "พระพุทธสิกขีทศพล " รับฟังมา เวลา ๔.๓๐ น.วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๑
....ซึ่งเป็นหนังสือที่หลวงพ่อบันทึกไว้ โดยหลวงพี่ชัยวัฒน์ได้เก็บไว้เป็นของส่วนตัวมานานแล้ว ต่อมามีผู้ขอไปถ่ายเอกสารแล้วนำลงใน "หนังสือลูกศิษย์บันทึก
เล่ม ๓ หน้า ๖๔๘ ดังต่อไปนี้
☺.....(คำว่า "ฉัน" หมายถึงพระพุทธเจ้าตรัสกับหลวงพ่อ ส่วนบางครั้ง "ฉัน" หมายถึงหลวงพ่อ)
ประวัติการสร้างโลก
ในวาระแรก ได้ทูลถามถึงประวัติการตั้งโลก ท่านตรัสว่า เป็นเรื่องอจินไตย ไม่ควรคิด
รู้แล้วก็ไม่มีอะไรเป็นประโยชน์ไร้เหตุผลในการบรรลุ ฉันบอกได้ แต่บอกแล้วเอาอะไรเป็นส่วนที่จะบรรลุมรรคผลไม่ได้ จะรู้ไปให้หนักสมองทำไม
ต่อมา ได้ถามถึงมนุษย์ที่เริ่มเกิดเป็นระดับแรกว่า ใครเป็นคนบันดาลให้มนุษย์เกิด พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ แล้วทรงตรัสว่า นี่เธอจะคลั่งพระเจ้ากับเขาแล้วซิ
ใครที่ไหนจะมาสร้าง ถ้ามีผู้สร้างมนุษย์แล้ว เจ้าคนที่สร้างโลกสร้างมนุษย์นั้น มันเกิดมาจากอะไร จึงมาสร้างโลกสร้างมนุษย์ได้ มนุษย์ไม่มีใครสร้าง
ร่างกายของสัตว์และมนุษย์ เกิดจากอนูน้อยๆ ที่รวมตัวกันเข้า วิญญาณนั้นเป็นธาตุอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า วิญญาณธาตุ มีการเกิดขึ้นได้ และไม่มีการสลายตัว
คำว่าวิญญาณในที่นี้หมายถึงจิต เป็นธาตุพิเศษ ที่เกิดจากกรรวมตัวของอนูพิเศษ ที่มีความรู้ความเคลื่อนไหวรวเดร็ว เธออย่ารู้มากกว่านี้เลย ไม่มีอะไรเป็นคุณ
พูดไปก็ไร้ประโยชน์ ...
ประวัติชาติอดีต
ลูกเขาอยากรู้ประวัติเดิม ก็บอกเขา พอเค้ารู้เล็กๆ น้อยๆ เพียงสองสามชาติ เขาจะได้รู้ว่า เขาสร้างความดีเด่นไว้ในชาติก่อนมามากเพียงใด
เขาจึงเข้าถึงธรรมได้ในชาตินี้ได้อย่างรวดเร็ว บอกเขาว่า เอาแต่บางชาติ รู้ทุกชาติไม่ไหว เพราะหลายร้อยแสนชาตินัก ฟังกันจนสิ้นอายุก็ไม่จบ
ฉันจะเริ่มเล่าถึงต้นตอแห่งการปฏบัติ ความดีในพระพุทธศาสนาทีเดียว คอยฟังและเขียนตามฉันบอกต่อไปนี้
จงนับถอยหลังจากชาตินี้ไป ขึ้นต้นด้วย ๕ แล้วเพิ่ม ๐ อีก ๕๐ ศูนย์ เป็นจำนวนเท่าไรก็นับเอาเอง สมัยนั้นเป็นสมัยที่ฉันเกิดป็นมนุษย์
แต่คงไม่ได้เกิดเป็นวาระแรก เป็นชาติที่เกิดได้พบพระพุทธเจ้า ครั้งแรกในชีวิต ฉันเป็นพ่อบ้าน ชื่อว่า "ปการัง" มีแม่บ้านชื่อ "ปการันยา" คือแม่ศรี
แม่ศรีนี่ แกแต่งงานมากับฉันเกือบทุกชาติ เว้นบางชาติที่แกไม่มาจากสวรรค์ สมัยที่ฉันมาเกิดตอนปลายสมัยนี้ คือก่อนพุทธกาลคราวหนึ่ง
และชาตินี้อีกชาติหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่ได้ร่วมเกิดร่วมอยู่ด้วยกัน ฉันมีลูก ๔ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๒ คน ลูกชายคนโตชื่อ "สิมารันต์" ลูกชายคนรองชื่อ
"สิรันตะ" บุตรสาวคนโตชื่อ "สิมา" (นนทา) ลูกสาวคนสุดท้องชื่อ "วรัญญา" (ตุ๋ย)
เมืองที่เกิดชื่อ "สีมาบุรี" เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่เหนือเชียงตุงปัจจจุบัน ไกลจากที่ตั้งตัวเมืองสมัยนี้ประมาณ ๑๔ กิโลครึ่ง บ้านเมืองสมัยนั้น
เป็นอาคารที่สร้างเป็นรูปตึก เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่นิยมผ้ากำพล สีแดง ส่วนหญิงนิยมใช้สีทองเป็นพื้น ผิวเนื้อเป็นชนชาติผิวเหลือง
ประเพณีนิยมมีความประพฤติอ่อนน้อม ละเมียดละไม เครื่องแต่งกาย นิยมทองกับเพชร ที่เรียกว่าแก้ว ๗ ประการเครื่องนุ่งห่ม หญิงนิยมนุ่งถุงแบบไทยเดิม
ยามท่องเที่ยว นิยมให้กางกางขาเรียวแบบกางเกงทหารม้า ตอนท่อนขาปักดิ้น ขอบล่างของกางเกงมีเป็นพู่ห้อย หรือดิ้นที่ทำเป็นพู่ ดูตามภาพสวยงามมาก
ชายส่วนใหญ่ใช้ผ้าโพกศรีษะ เป็นผ้าแพรและผ้ากำพล สีที่นิยมใช้ ชายนิยมสีแดงเลือดนกเป็นผ้าโพก หญิงไม่ใช้ผ้าโพก แต่ใช้ผ้ารัดผม หรือเกล้าผมเป็นมวย
ชายตัดผมแบบทรงกระทุ่ม ไม่ใช่ทรงมหาดไทย อุปนิสัยใจคอของคนสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความเมตตาอารีมาก ไม่มีใครใจร้ายเหมือนสมัยนี้
ทรัพย์สินส่วนใหญ่หากินง่าย สะดวกสบาย อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรนานาประการ
อาชีพ ของฉันสมัยนั้น ฉันเป็นนายช่างแกะสลักทุกประเภท เช่น ช่างแกะสลักไม้สัก งา กระดูก หิน โลหะทุกชนิด ฐานะ ในสมัยนั้น จัดอยู่ในขั้นเศรษฐี
ตำแหน่งเป็นหัวหน้าเผ่า หรือพ่อเมือง แต่เป็นเมืองเล็ก ขนาดอำเภอหนึ่งสมัยนี้ การปกครอง ไม่ใช่ปกครองแบบอย่างราชาครองราชย์ เป็นการปกครองแบบกันเอง
แบบพ่อบ้าน บริวารมีประจำสำนักเกินกว่า ๒๐๐ คน ไม่มีทหาร มีแต่คนช่วยทำงาน
เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน มีคนเผ่าอื่นมารบกวน ก็ร่วมกันป้องกัน หรือขับไล่ศัตรูโดยร่วมกันคิด ร่วมกันกำจัด แบบประชาธิปไตยสมัยนี้ แต่นักประชาธิปไตยสมัยนี้
ดำรงตนเป็นเจ้านายและเอาเปรียบลูกน้องมากกว่าฉัน ฉันถือเป็นกันเองและไม่เคยเอาเปรียบใคร ไม่เคยเห็นว่าใครเป็นลูกน้องฉัน ฉันถือทุกคนเป็นเพื่อนเสมอฉัน
ฉะนั้นงานภายในภายนอกของฉันจึงเป็นไปด้วยดี การค้าของที่ผลิตขึ้น ค้าทั้งในและนอกประเทศ การค้าต่างประเทศใช้เกวียนและช้างเป็นพาหนะ
กิจกรรมของลูกชาย ลูกชายทั้งสอง เก่งในงานทุกประเภทแทนฉันได้ดี ส่วนใหญ่เขาเป็นผู้ควบคุมกองเกวียนและกองช้าง เพื่อนำของที่ผลิตขึ้นไปขายต่างประเทศ
เป็นเหตุให้ฉันมีฐานะร่ำรวยมาก คนในแคว้นก็ร่ำรวยมาก ต่อมาฉันทำบ้านฉัน มีพื้นห้องรับแขกปูด้วยทองคำทั้งพื้น เสาห้องรับแขกประดับด้วยแก้ว (เพชร) และมุก
ลูกหญิงสองคนมีหน้าที่ต่างกันตามความสามารถ สิมา เก่งในงานผลิตทุกอย่าง ควบคุมคนงานทุกประเภทแทนฉันทุกอย่าง เป็นใหญ่ในกิจการของโรงงาน เพราะคล่องงานมาก
ส่วน วรัญญา แกไม่ถนัดงานผลิต แต่ถนัดงานหน้าบ้าน คืองานรับแขกและค้าของที่มีคนมาติดต่อ
พระพุทธเจ้ามาโปรด
สมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระพุทธสักขี" อุบัติขึ้นในโลก ทรงเที่ยวแสดงธรรม โปรดอยู่ในแคว้นชมพูทวีป
(พระพุทธเจ้าอุบัติทุกพระองค์เฉพาะชมพูทวีปเท่านั้น) ชมพูทวีป หมายถึง แคว้นอินเดีย พม่า ไทย ญวน ลาว เขมร ถิ่นนี้รวมเรียกว่า ชมพูทวีป
ท่านกล่าวตามตำนานว่า สมัยเดิม มีต้นชมพู (ต้นหว้า) ขนาดโคตรต้นไม้ประจำทวีป เดี๋ยวนี้คงเป็นขี้เถ้าไปแล้ว ท่านได้มาโปรดจนถึงสำนักมาพร้อมพระสงฆ์สาวกประมาณ
๒ หมื่นองค์
สิมารันต์บวช...การมาของพระพุทธเจ้า ในแคว้นนี้เป็นของใหม่ที่สุด เพราะไม่เคยมีข่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสขึ้นในโลกเลย ก่อนพบพระพุทธเจ้า
ก็ปฏิบัติตามคำสอนของคณาจารย์ประจำถิ่น ปกติรักษาศีลห้าเป็นปกติ ให้ทานเป็นกิจประจำวัน มีเมตตาเป็นปุราจาริกอยู่เป็นปกติแล้ว เมื่อพ่อค้าคือ สิมารันต์
ได้มาแจ้งว่า มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก ทุกคนในบ้าน อยากเห็นพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง เกือบจะยกขบวนไปหาท่านอยู่แล้ว พอดีท่านเสด็จมาเอง มาโดยอากาศ (เหาะ)
เป็นเหตุให้ เลื่อมใสในพระมหากรุณาธิคุณเกินกว่าที่คิดไว้
ท่านมาฉันให้พักที่บ้าน ควรเรียกว่า ราชฐาน เพราะมีที่พักพอพระสองหมื่นรูปได้อย่างสบาย พักที่สวนสาละวัน (สวนไม้รัง) เป็นสวนพิเศษ
สำหรับลูกหญิงเที่ยวพักผ่อน ไม่สาธารณะแก่คนภายนอก ท่านพักอยู่หนึ่งเดือน ฉันและลูกเมียไปเฝ้าเลี้ยง และฟังเทศน์ทุกวันเป็นประจำ
คนมากด้วยกันได้สำเร็จอรหันต์ ฉันปรารถนาพระโพธิญาณ แม่ศรี ลูกสิมา ลูกวรัญญา.. ปรารถนาติดตามเป็นคู่บารมี คือจะขอร่วมสนับสนุนจนถึงขั้นพระโพธิญาณ
ส่วนลูกชายคนโต สิมารันต์ ฟังเทศน์วาระที่สอง ได้บรรลุอรหันต์ขอบวชในพระพุทธศาสนา ลูกชายคนที่สองคือ สีรันตะ ก็ขอบวชได้แต่ได้มรรคผลเพียงพระโสดาบัน
ต่อมาชาติที่ ๒ เมื่อได้พบพระพุทธเจ้าชื่อ เวสสภู จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือน พระพุทเจ้าทรงลาไปโปรดที่อื่น ฉันนิมนต์ขอให้มาโปรดอีก ท่านรับคำ ต่อมาอีกสองปีเศษท่านกลับมาใหม่
คราวนี้พอฉันรู้ข่าวว่าท่านมา ฉันไปรอรับพระองค์ที่ชายแดน เอาผ้าขาวปูตั้งแต่ชายแดน จนถึงสวนสาละวัน เพื่อให้พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสาวกเดิน
แล้วทอดกายเป็นสะพานเพื่อให้พระทั้งหมดเดินบนตัวฉัน เป็นสะพาน ข้ามลำรางเล็กๆ ทุกแห่งที่มีลำรางเล็กๆ เมื่อพระมาถึงสวนสาละวันแล้ว
ฉันปวารณาตัวเป็นอุปถัมภกพระพุทธศาสนา ส่วนสามแม่ลูกก็ปวารณาตัวเป็นอุปถัมภกพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกัน ทั้งสามได้ถอดเครื่องประดับกายทั้งหมด
มีมูลค่าหลายล้านบาท ถวายเป็นพุทธบูชาแล้วอธิษฐานว่า
"ด้วยเดชะบารมีเป็นที่พึ่งด้วยเหตุที่หม่อมฉันทั้งหลาย ถวายเครื่องประดับกาย อันเป็นที่รักยิ่งของหม่อมฉันนี้บูชาพระรัตนตรัย
ขอผลบุญอันนี้จงเป็นปัจจัยให้หม่อมฉันทั้งสามคน จงเป็นผู้ไม่ยากจนขัดสนนับแต่ชาตินี้ไป จนถึงกาลเข้าสู่พระนิพพานเถิด โอกาสใดหม่อมฉันได้เกิดพบพระพุทธเจ้า
ขอให้หม่อมฉันทั้งสาม จงมีโอกาสได้บำรุงพระพุทธศาสนา โดยไม่ขาดแคลนขัดสนยากจนในทรัพย์สินเถิด"
เมื่อสามแม่ลูก กล่าวอธิฐานจบ พระพุทธองค์ก็ทรงตรวจดู ด้วยพุทธญาณแล้วพยากรณ์ว่า
"นับแต่นี้ไปอีกแสนกัลป์เธอทั้งสามจะได้มีโอกาส ได้อุปถัมภ์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สองแสนองค์ตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าองค์นั้น มีพระนามว่า
พระศรีอารย์เมตไตรย พระองค์ทรงอุบัติขึ้นในโลก ภายใต้ต้นไม้กากะทิง ในแคว้นชมพูทวีป และทุกคนจะได้มรรคผล ถึงพระนิพพานชาตินั้นพร้อมกันหมด
ก่อนถึงกาลนั้นเธอทั้งสาม จะไม่ยากจนขัดสน จนถึงกับคำว่า ทุกขตะ จะมีขัดข้องบ้างตามกรรมแต่เอาตัวรอดได้ ในที่สุดก็เอาตัวรอดได้ในที่สุด"
นี่เป็นพุทธพยากรณ์ ที่พระองค์ตรัสให้ฟัง
เมื่อตายจากชาตินั้น...
ทุกคนไปเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ด้วยกันทั้งหมด ฉันเป็นเทวดาชื่อ เกษี ปการันยาเป็นนางฟ้าชื่อ ศรีธรรมา สีมาเป็นนางฟ้าชื่อว่า สิริมา
วรัญญาเป็นนางฟ้าชื่อว่า กุลที ต่างก็มีวิมานแก้ว ๗ ประการคนละหลัง มีสวนสวรรค์ มีสระโบกขรณี มีบริวารมากมาย มีความสุขบนสวรรค์ตามกำหนดที่บุญกำหนด
คือนานหลายกัลป์
จนเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก จึงลงมาเกิดในแคว้นกาสี (ในเขตอินเดียปัจจุบัน) สมัยนั้นไม่ใช่แขกอินเดีย ถึงเอาสถานที่เกิดในที่ตรงนั้นเป็นสำคัญ
สมัยนั้นแคว้นนั้นชื่อว่าแคว้นปารันตะ เป็นแคว้นที่มั่งคั่งสมบูรณ์มาก ตระกูลที่มาเกิดเป็นตระกูลของพ่อแคว้น บิดาของฉันชื่อ ปารันตะ เป็นพ่อแคว้น มารดาชื่อ
ฉันทนา ฉันชื่อ อินทระ เป็นลูกชายคนเดียวของพ่อแม่ ความสามารถพิเศษของฉันในสมัยนั้นคือ การรบบนหลังม้า หลังช้าง ชำนาญอาวุธทุกชนิด
ที่ขึ้นชื่อลือชาที่สุดคือ รบด้วยดาบสองมือ ยิงธนูทีเดียว ๔ ดอก และขว้างมีดเป็นวิชาการรบที่ชำนาญมากเป็นพิเศษ วิชาชีพที่ชำนาญคือวิชาแกะสลัก เป็นอันว่า
วิชาเดิมแต่ชาติก่อนติดตามมา
แม่ศรี มาเกิดเป็นลูกเศรษฐีใหญ่ในแคว้นนั้น สิรันตะ ที่แยกตัวไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต เพราะท่านบรรลุพระโสดาบัน ก็กลับลงมาเกิดร่วมด้วย
กลับมาเป็นลูกตามเดิม แม่ศรีสมัยนั้นมีชื่อว่า สิริกัลยา สีมามาเกิดชื่อ วาสนา วรัญญามาเกิดมีชื่อว่า กัลยา สมัยนี้รุ่งเรืองมาก เพราะมีอำนาจในการปกครองมาก
มีเมืองขึ้นหลายสิบเมือง เรื่องการรบพุ่งกัน ก่อนจะพบพระพุทธเจ้าเป็นของธรรมดา ศึกสงครามพบกันเป็นปกติ เราไม่ไปตีเขา เขาก็มาตีเรา ฉะนั้น
จึงจำต้องมีการซักซ้อมกันเป็นปกติ และเพราะการรบพุ่งกันนี่แหละเป็นต้นเหตุของกรรม ที่ทำให้ฉันป่วยไข้ ต้องย้ายสถานที่อยู่เสมอ เพราะกรรมที่ทำให้เขาเจ็บ
เขาตาย ย้ายที่อยู่
ทั้งนี้เพราะสมัยนั้น ถ้าออกรบแล้วเรื่องคำว่าแพ้ไม่ปรากฏ ส่วนข้าศึกเสียปรียบด้านกลยุทธ คือการวางแผนรบแบบซ้อนกล ท่านพ่อคือ พระอินทร์องค์ปัจจุบัน
ท่านทรงธรรมมาแต่เดิมเรื่องการสงครามท่านไม่ใคร่ชอบ ท่านมักจะพูดว่า เขาจะเอาอะไรก็ให้เขา แต่ท่านแม่ฉันท่านไม่ยอม โดยเฉพาะแม่ศรีแล้ว
เรื่องการรบแกเป็นหัวเรือใหญ่จริงๆ เก่งในเพลงอาวุธหลายอย่าง การยิงธนูคราวละสามสี่ดอกพร้อมกัน เพื่อให้ถูกจุดหมายดอกละจุด แกเก่งมาก
เมื่อมีสงคราม แกออกสงครามคู่กับฉันทุกคราว เวลาออกรบ แกแต่งตัวเป็นชาย ชอบใช้ชุดสีเหลือง โพกผ้าเหลือง สะพานดาบคู่ หอกซัด ธนูคู่ชีพ และมีดสั้น
อาวุธประเภทนี้แกเก่งมาก กำลังในการรบก็เก่ง ชายสองสามคนล้อมแก แกก็จัดการเสียสิ้นไปในชั่วครู่ แกเคยถูกล้อมกรอบบ่อยๆ แต่ไม่ทันเหนื่อย
เจ้าพวกนั้นก็เป็นเหยื่อคมดาบของแกสิ้น
ครั้งหนึ่ง ฉันกำลังรบกับข้าศึกที่ท้ารบ ตัวต่อตัว ข้าศึกเล่นไม่ซื่อลอบยิงธนูมาทางหลัง หวังสังหารฉัน แม่ศรีแกยิงธนูสามดอกสวนลูกธนูของข้าศึก
ดอกหนึ่งถูกลูกธนูของข้าศึกหัก เป็นการตัดอาวุธที่มาทำลายชีวิต อีกดอกหนึ่งถูกตัวคนยิงตาย อีกดอกหนึ่งถูกคู่รบกับฉันตาย รวมความว่า
แกยิงทีเดียวได้ผลสามอย่าง คนที่รบกับฉันเป็นแม่ทัพ เมื่อแม่ทัพตายก็เป็นอันเสร็จศึก ชาตินี้เป็นชาติสงครามจริงๆ ลูกที่ร่วมสงครามคือ วาสนา ที่ชอบการรบ
ฝึกหัดเพลงอาวุธกับแม่ทุกอย่าง และมีความชำนาญมากเท่าๆ แม่
สำหรับกัลยา แกไม่ถนัดการออกรบ แต่เป็นผู้ร่วมวางแผนกับท่านย่า เพราะเมื่อมีสงครามมาคราวใด ท่านย่าเสด็จเป็นจอมทัพทุกคราว สำหรับท่านปู่ ท่านมั่นในธรรมมาก
ท่านย่าจึงรับมือแทน และสำหรับลูกชายลืมบอกชื่อไป แกชื่อ อินทราชัย แกเป็นพระโสดาบันมาก่อน จึงไม่นิยมการรบ ให้รับหน้าที่ดูแลสุขทุกข์ของราษฎร แกทำงานได้ดี
เป็นที่รักของชนทั่วไป ด้านนี้แกเรียกความนิยมได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะมีอะไรเป็นทุกข์เกิดขึ้นแก่พลเมือง แกออกไปเยี่ยมด้วยตนเองเป็นปกติ จนประชาชนเรียกแกว่า
พ่อเหนือหัว ก็สมแล้ว เพราะแกเป็นพระโสดาบันมาก่อน
กรรมที่ทำให้ลำบากชาตินี้...
กรรมที่ทำให้ลำบาก มาหลายชาติก็อาศัยสงครามเป็นเหตุ ครั้งหนึ่ง มีปะเทศราชแข็งเมืองพร้อมกัน ๗ ประเทศ แต่เขาประกาศแข็งเมืองประเทศเดียว จึงยกทัพไปปราบ
แต่พอกองทัพออกจากเมือง ก็ถูกอีกหกประเทศ ยกกองทัพเข้าประชิดเขตเมือง หวังจะทำลายเมือง เป็นการโค่นรากคราวนี้เองที่ต้องสร้างกรรมหนัก
ได้จัดกองทัพที่มีจำนวนจำกัดออกเป็นสามกอง กองหนึ่งกลับมารับมือกับพวกขบถ อีกกองหนึ่งปลอมเป็นพวกร่วมแข็งเมือง
อีกกองหนึ่งทำทีเหมือนจะตีพวกที่แข็งเมืองทีประกาศตัว แต่ความจริงแล้ว กลับมาซุ่มอยู่ชายแดน ทัพที่เข้ามารับมือนั้น มีอาทรเป็นแม่ทัพ ฉันเป็นทัพซุ่ม
ทัพแข็งเมืองปลอมมีมหารามาเป็นพระเจ้าอาเป็นผู้นำ ทัพต่อทัพเข้าปะทะกันพอควร อาทรก็รบแบบสู้พลางถอยพลาง
พวกแข็งเมืองปลอม ก็รวมมือกับข้าศึกช่วยตีขนาบ พอได้ระยะที่ตั้งกลลวง ทหารทั้งสามหน่วยก็ยิงธนูไฟเผาข้าศึก ใครหนีไฟออกมาก็ถูกธนูยิงกราด
ถ้าเข้าระยะประชิดได้ก็โดนขนาบด้วยการบุก คราวนี้เองที่เป็นกรรมหนัก คนล้มตายมากจนสลดใจ การรบคราวนี้ออกสงครามกันหมด
ท่านปู่ที่เป็นนักพรตก็ต้องออกเป็นจอมทัพ เว้นไว้แต่อินทราชัยเท่านั้นที่ไม่ให้ออกรบ เพราะแกเป็นพ่อเมืองฝ่ายบุ๋น ท่านย่า
ก็แสดงฝึมือยิงธนูให้เห็นว่าคนแก่ก็สามารถ
ปกติแกเป็นคนพูดน้อย ยิ้มเสมอ แต่ยามสงครามเด็ดขาดน่าใจหาย ใครผิดคำสั่งนิดเดียว ก็หมายถึงต้องไปอยู่เมืองผี แกบอกว่าวินัยต้องเป็นวินัย
ไม่มีอะไรที่จะผ่อนผัน เมื่อท่านย่าว่าอย่างนั้น ท่านปู่ก็ยิ้มพยักหน้า แต่ไม่ขัดคอกรรมนี้ ขณะเขียนเห็นภาพแล้วรู้สึกเศร้าใจมาก
คนที่ต้องมาพลอยตายเพราะหัวหน้าแคว้นสองสามคนนั้นมีจำนวนนับยาก เพราะทหารทั้ง ๗ เมืองที่แข็งเมือง มีจำนวนที่เหลือกลับไปไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์
น่าอนาถใจมาก
พระพุทธเจ้ามาโปรด...
เมื่อเสร็จศึกคราวใด พวกเราก็ทำบุญสนองบาป หมายถึงทำบุญเพื่อลบล้างกรรม ขณะนั้นมีแต่พราหมณ์ ไม่มีพระในเมือง จึงเริ่มจัดโรงทานเป็นการใหญ่
บูชายันต์ที่พราหมณ์ให้ฆ่าสัตว์ ท่านปู่ไม่โปรด โปรดแต่การให้ทานเป็นการสงเคราะห์ ท่านว่าพราหมณ์เป็นพวกจัญไร ทำบุญอะไรต้องฆ่าสัตว์ ก็เห็นจะจริงของท่าน
เพราะจะให้ดีแต่การเบียดเบียนผู้อื่น การให้ทานคราวนั้นให้หมด แม้แต่ประเทศที่แพ้สงคราม ท่านว่าพลเมืองไม่รู้เรื่องด้วย
เป็นเพราะหัวหน้าไม่กี่คนที่เป็นคนคิด พวกพ่อเมืองที่คิดแข็งเมืองถูกประหารชีวิตหมด เมืองที่ประกาศลวงเป็นเมืองแรกนั้น พ่อเมืองหนีออกจากเมืองไป
จึงปลอดภัยจากถูกฆ่า วีรกรรมคราวนี้ น่าสลดใจเหลือเกิน โลกชมว่าดีแต่ฉันเศร้าใจมาก สงสารคนที่มาตายเพราะคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองสามคน
เพราะท่านปู่ ท่านนิยมให้ทานนี่เอง วันหนึ่งในขณะที่กำลังแจกของเพื่อสงเคราะห์ประชาชนในแคว้นเมืองขึ้น มีเสนาบดีเขาบอกว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด
พวกเราแปลกใจ เพราะไม่เคยรู้เลยว่า พระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร คิดว่าเป็นเทวดา ถามเขาว่าท่านมาจากวิมานชั้นไหน? เขาบอกว่า ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นพระพุทธเจ้า
เขาเองก็ยังไม่เห็นตัวเหมือนกัน
เขาบอกว่า นายประตูเมืองเข้ามาแจ้งว่า พระพุทธเจ้าขอเข้ามาโปรดในเมือง ท่านปู่ ท่านอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร จึงอนุญาตใหเข้ามาได้
แต่เสนาบดีเขาบอกว่าต้องออกไปรับ จึงพร้อมกันออกไปรับ ที่ไปไม่ใช่เลื่อมใส ไปเพราะอยากรู้ว่า พระพุทธเจ้ามีรูปร่างเป็นอย่างไรมากกว่า
ออกไปเป็นกองเกียรติยศใหญ่ เพราะกษัตริย์เสด็จหมดตระกูล พร้อมด้วยพลสี่เหล่า เป็นขบวนใหญ่และสวยงามมากจริงๆ ฝ่ายในแต่งกายด้วยเครื่องประดับเต็มอัตรา
มองดูแล้วคล้ายกับจะขนเครื่องทองเครื่องเพชรไปขาย พอไปถึง ท่าน เห็นท่านเป็น มนุษย์ธรรมดา ห่มผ้าสีย้อมฝาด ศรีษะโกน นั่งสงบเสงี่ยม
แต่องค์พระพุทธเจ้ามีรัศมีออกจากกาย สวยงามมาก
พอไปถึงท่านปู่ก็นำถวายนมัสการ การกราบไหว้นี้มีมานานแล้ว เมื่อทุกคนกราบหมด พระองค์ก็เริ่มแสดงปาฏิหาริย์ คือนั่งอยู่อย่างนั้น แต่ท่านและพระทุกองค์ค่อยๆ
ลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่งจนสูงเท่ายอดตาล แล้วลอยลงมานั่งที่เดิม พวกเราแปลกใจมาก กราบกันเป็นการใหญ่ไม่รู้ว่าเท่าไร ยายตุ๋ยแกมีอะไรแปลกกว่าคนอื่น
แกกราบแล้วแกแหงนหน้ามอง แล้วก็กราบน้ำตาแกไหลเพราะปลื้มใจ เมื่อพระองค์พร้อมด้วยพระสาวกนั่งที่เดิม ก็ทรงเริ่มเทศน์ คือพูดให้ฟัง ไม่ใช่เทศน์แบบปัจจุบัน
คือพูดเอาคนเดียว ท่านเริ่มต้นด้วยคำว่า
"การชนะ ที่ต้องทำสงครามแล้วชนะด้วยการยุทธ ไม่ใช่การชนะเด็ดขาด เราชนะเพราะมีปัญญาเหนือกว่า มีกำลังมากกว่า แต่ทว่าเมื่อไร ปัญญาทรามลง
หรือกำลังน้อยลงกว่าเขา เราอาจแพ้ได้ มีความชนะอีกแบบหนึ่งที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้"
.....ถึงตอนนี้พวกเราสนใจมาก ท่านเทศน์ต่อว่า
"การชนะที่ไม่มีการแพ้ ก็คือ ชนะใจ ด้วยมีจิตเมตตาเป็นปุเรจาริก คำว่าปุเรจาริก หมายความว่า มีเมตตาเป็นเบื้องหน้า
คืออารมณ์ตั้งอยู่ในเมตตาเป็นปกติ ธรรมอย่างนี้พระองค์และพระประยูรญาติทรงอยู่แล้วเป็นปกติ (คำว่าพระองค์ ท่านหมายถึงท่านปู่)
แต่กรรมบางอย่างบังคับจึงต้องทำสงคราม กรรมนี้ก็คือยึดเมืองอื่นมาเป็นเมืองขึ้น ถ้าปลดปล่อยเมืองขึ้นให้เป็นอิสระแล้วทรงอยู่ในธรรม
จะเริ่มได้ชัยชนะอันดับแรก
ต่อไปเผื่อแผ่แจกผลประโยชน์ที่ได้มา เป็นการสงเคราะห์คนจนจะได้ชัยชนะระดับที่สอง และถ้าชนะใจด้วยการตั้งอยู่ในศีลห้าเป็นปกติ
(ท่านเทศน์ศีลห้าตามที่เรารู้แล้วในขณะนี้) จะเป็นชัยชนะอันดับที่สาม และถ้าทำลายนิวรณ์ห้าได้จะเป็นชัยชนะระดับที่สี่ ถ้าปลงสังขาร เห็นว่าขันธ์ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา มีทุกข์ มีโทษ เพราะเกิดแล้วต้องแก่ ต้องป่วยไข้ ต้องมีอารมณ์มืดมน เพราะคนอื่นทำใหห้มืดมน แล้วก็ตายในที่สุด ตัดความยึดมั่นในสังขารเสีย
จะเป็นชัยชนะเด็ดขาด ไม่มีทางแพ้อีก"
อินทราชัยได้อรหันต์...
พอท่านเทศน์จบ อินทราชัยสำเร็จพระอรหันต์ ขอบวชในพระพุทธศาสนา ท่านปู่ ฉัน และนกรบทั้งหมด ถอดอาวุธคู่มือถวายเป็นพุทธบูชา ท่านย่า ท่านแม่ศรี นนทา
ตุ๋ยถอดเครื่องประดับกายทั้งหมด ถวายเป็นพุทธบูชา ท่านปู่ประกาศให้อิสรภาพแก่เมืองขึ้นทั้งหมดในขณะนั้น ประกาศให้ราชาประเทศราชประชุมในวันต่อมา
ให้เอกราชและประทานทรัพย์สินมากมาย จำนวนทองคำที่แจกจ่าย เกินกว่า ๕๐๐ เล่มเกวียน ของอย่างอื่น รวมทั้งข้าวปลาอาหารอีกมากมาย
ราชาทุกองค์ขอมอบตัวเป็นข้าช่วงใช้ตลอดชีวิต ตั้งวันนั้นมาก็ไม่เคยมีศึกประชิดเมือง เมื่อมีข่าวว่าจะมีศึก พวกเมืองที่ปลดปล่อยเขาก็ช่วยกันปราบปรามเสียเอง
อยู่กันอย่างเป็นสุขตลอดชีวิต เป็นการชนะที่ไม่รู้จักแพ้จริงๆ
เมื่อถวายอาวุธ และเครื่องประดับ และอินทราชัยบวชแล้ว ได้จัดสถานชั่วคราวถวายเป็นที่อยู่ของพระ ท่านปู่ให้บัญชาให้สร้างวิหารถวายสงฆ์
พระประมาณสี่แสนองค์อยู่สบาย แต่ท่านมากันสองแสนเป็นปกติ ที่อยู่จึงกว้างขวางสุขสบายมาก ท่านย่าและลูกสะใภ้ หลานสาว ไปวิหารฟังเทศน์กันทุกวัน
ไม่มีวันใดที่ไม่เคยไปวิหาร พระท่านเห็นท่านสี่หญิงเข้าวัด พระก็ดีใจว่า วันนี้สี่โยมมีอะไรมาให้ฉันอกแล้ว แม่ศรีกับยายตุ๋ย
เป็นนักตกแต่งเครื่องประดับกุฏิพระ ตอนนี้ว่างจัดประดับวังไปได้ ไม่อย่างนั้นแกมีเรื่องจัดวังทุกวัน ไม่รู้ว่าแกจะเอาอย่างไรของแก
ส่วนนนทานั้นไม่จุกจิกเรื่องเครื่องประดับ แต่ชอบควบคุมเรื่องอาหารถวายพระ ตรวจตราอาหารเป็นประจำวัน พระมาพักคราวละหนึ่งเดือน ได้ฟังธรรมเป็นปกติ
เพราะอาศัยพระพุทธคุณแท้ๆ บ้านเมืองจึงอยู่เป็นสุข
พระพุทธพยากรณ์...
สมัยนี้ ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า "ท่านพ่อเมือง แม่เมือง หลานสาวเมือง จะเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "ศรีอาริยเมตไตรย"
เป็นผู้อุปถัมภ์พระศาสนา และได้สำเร็จมรรคผล เข้าถึงนิพพานทั่วกันทุกคน เว้นไว้แต่ฉัน ถ้าไม่ละพุทธภูมิ จะได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า "พระพุทธอริยมุนี"
ต่อจากพระศรีอาริย์ ไปเป็นองค์ที่ ๒๐ แต่สงสัยว่าจะคลายตัวเสียตั้งแต่สมัยพระสมณโคดม ถ้าคลายตัวตอนนั้น ก็จะเป็นกำลังใหญ่ของลูกหลาน
ให้เจ้าถึงธรรมได้อย่างแน่นแฟ้น มีธรรมาพิสมัย (โสดาบัน) เป็นต้นทั่วกันทุกคน เพราะผลที่ตนบรรลุ
☻.....(คุณ 868 เป็นผู้พิมพ์บอกว่า...ในหนังสือเรื่องจริงอิงนิทานเล่มพิเศษ พระพุทธโกนาคมทรงพยากรณ์ว่า เป็น พระพุทธอุตตรสมณโคดม
ต่อจากพระศรีอาริย์องค์ที่ ๒๒)
☺.... อันนี้หลวงพ่อจำคลาดเคลื่อน จะต้องถือตามบันทึกเดิมนี้นะครับ ส่วนที่หลวงพ่อเอ่ยชื่อ "นนทา" คือ คุณนนทา อนันตวงศ์ คนชื่อ "ตุ๋ย" คือ
คุณศิริรัตน์ โรจนวิภาต (ภรรยา พล.อ.อ.อาทร) ซึ่งเป็นลูกสาวหลวงพ่อ 2 คน ที่หลวงพ่อบวชใหม่ๆ แล้วขึ้นไปบนดาวดึงส์ ท่านแม่ศรีถามว่า
"พบลูกสาวสองคนที่ลงไปเกิดแล้วหรือยัง" ลองไปย้อนอ่านประวัติหลวงพ่อปานอีกครั้งนะครับ จะได้เข้าใจต่อเนื่องกัน (...ทีมงานเวปวัดท่าซุง..อธิบายยืนยัน)
ละอัตตภาพ...
เมื่อตายจากชาตินั้น ทุกคนไปเกิดร่วมกันในชั้นดุสิตทั้งหมด
(เรื่องที่เล่ามาทั้งหมด เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธสิกขี ทรงประทานพระโอวาทมาอีกตอนหนึ่ง ไม่ใช่ระลึกชาติเอง)
***********************************
ข้อความทั้งหมดนี้ คุณ 868 เป็นผู้พิมพ์แล้วนำไปโพสต์ไว้ในเวป 212cafe.com แล้วอธิบายว่า
........ขอสรุปบางประการเพื่อความเข้าใจจากเนื้อเรื่องข้างบนนี้...
๑. กัปนี้เป็น มัณฑกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้ ๒ องค์ คือ สมเด็จพระพุทธสิกขี กับ สมเด็จพระพุทธเวสภู
ซึ่งทั้งสององค์นี้รวมอยู่ในกลุ่มพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๗ องค์ ที่ทรงพยาการณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยเริ่มรับคำพยากรณ์จาก
สมเด็จพระพุทธทีปังกรเป็นองค์แรก (เมื่อพระโพธิสัตว์เข้าเขตบารมีขั้นต้น จะเริ่มนับจากการได้รับคำพยากรณ์ครั้งแรก และจะเริ่มนับจำนวนอสงไขยเข้าทำเนียบ ๔,
๘, ๑๖ บวกอีก แสนกัป)
๒. เรื่องนี้เกิดอยู่ในกัปเดียวกัน ในสมัยสมเด็จพระพุทธสิกขี ซึ่งหลวงพ่อเกิดเป็น ปการัง แม่ศรีเป็น ปการันยา บุตรชายคนเล็กเป็น สิรันตะ (บรรลุพระโสดาบัน)
ถัดมาในสมัยสมเด็จพระเวสภู ท่านสิรันตะ เกิดเป็น ท่านอินทราชัย ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสมัยนี้ ๓. ในกัปนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ องค์ ก็ทรงพยากรณ์
ว่าท่านแม่ศรี คุณนนทา และคุณตุ๋ยจะสำเร็จความปรารถนา โดยทรงกล่าวว่า นับจากนี้ไปอีกแสนกัป จะพบพระศรีอาริย์เหมือนกัน
☺....นี่เป็นสัญญาเดิมที่มีต่อลูกหลานกันมายาวนาน จาก "บันทึกพิเศษ" ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเล่าไว้ตั้งแต่ปี 2511
โดยท่านได้พิมพ์ดีดด้วยตัวของท่านเอง แล้วพิมพ์สำเนาแจกจ่ายเฉพาะในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อภายในสมัยนั้น เพราะแต่ก่อนเรื่องราวแบบนี้
ยังไม่สามารถจะให้อ่านได้ทุกคน เพราะกำลังใจไม่เสมอกัน สำหรับเอกสารชุดนี้ หลวงพี่ได้มาจากเจ้าของบ้านสายลม คือ คุณเฉิดศรี (อ๋อย) ศุขสวัสดิ์
ตั้งแต่ปี 2517 เดิมเป็นของส่วนตัวของหลวงพี่ แต่มีมือดีแอบนำไปลงใน หนังสือลูกศิษย์บันทึก เล่มที่ 3 ข้อมูลบางอย่างจึงไม่มีการอธิบาย
ทางหลวงพี่ชัยวัฒน์จึงมอบหมายให้อธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจต่อคนรุ่นหลังด้วยครับ
ในตอนสุดท้ายของ "บันทึกพิเศษ" นี้ หลวงพ่อยังได้เล่าต่อไปอีกว่า ท่านได้เกิดมาในสมัยพุทธกาลด้วย แต่ไม่สามารถนำลงให้อ่านได้
เนื่องจากชื่ออาจจะใกล้กับปัจจุบันเกินไป แต่ก็พอให้นัยได้ว่า ท่านเกิดในเมืองสาวัตถึก็แล้วกัน สมัยนั้น หลวงปู่ปาน เป็นพ่อของท่านด้วย ส่วน
ท้าวเวสสุวรรณ เกิดเป็นพี่ชายของ พระยายมราช (ลุงพุฒิ) หวังว่าคงจะพอเข้าใจนะครับ.
อภินันทนาการจาก..
คณะทีมงาน Webmaster "เวปวัดท่าซุง" และ "เวปตามรอยพระพุทธบาท"
◄ll กลับสู่สารบัญ
Artikanks - 23/8/10 at 05:37
โมทนาและกราบขอบพระคุณหลวงพี่ชัยวัฒน์และทีมงานที่เอื้อเฟื้อข้อมูลดี ๆ นี้ค่ะ และอดไม่ได้ที่จะโมทนากับคุณเสรีเป็นรอบที่ ๒ ในข้อความการโพสต์ข้างบน
เป็นการแสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผลดีนะคะ
ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานฯ ทุกคนและหลวงพี่ทุกรูปที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางที่พ่อสอนค่ะ
ท้ายสุด สุดท้าย ให้อภัยซึ่งกันและกัน และรักกันเหมือนเดิมให้มาก ๆ ด้วยนะคะ ให้ลุง ป้า น้า อา รักหลาน ๆ พี่รักน้อง น้องรักพี่ หลาน ๆ รักลุง ป้า น้า อา
และให้ความรักนี้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าพันทวี เพื่อความสามัคคีจะได้ช่วยกันสานต่อและสร้างวัดพ่อให้มีชื่อเสียงขจรขจาย คงอยู่คู่พระพุทธศาสนาจวบจนครบ ๕,๐๐๐
ปีด้วยค่ะ ไชโย ๆ ๆ ...หนูรักพ่อค่ะ
Motana krub
chitarsa - 23/8/10 at 20:59
กระผมกราบขอขมาสิ่งใดที่ได้กล่าวล่วงเกินหลวงพี่ ขอให้หลวงพี่ได้โปรดอดโทษด้วยเถิดครับ ...กระผมได้ตั้งจิตอธิฐานลาพุทธภูมิที่พระนอนใหญ่ จ.พิจิตรแล้ว
ท่านหลวงพ่อพระครูสุรินทร์ได้ประกาศออกเครื่องกระจายเสียงว่าใครที่เคยปรารถนาพุทธภูมิ วันนี้อธิฐานลาเพื่อเป็นสาวกภูมิได้เลย
ในงานวันนั้นมีลูกศิษย์สายหลวงพ่ออยู่เป็นจำนวนมาก กระผมขออนุโมทนาบุญทุกๆบุญที่หลวงพี่ไปสร้างและบูรณะตามสถานที่ต่างทั่วประเทศ...anant
Artikanks - 24/8/10 at 04:24
Motana sadhu krub
webmaster - 24/8/10 at 05:05
โมทนา คุณ anant เช่นกันครับ
☺....หลวงพี่ท่านรับทราบแล้วครับ จึงขอให้ผู้อธิษฐานลาพุทธภูมิทุกท่าน จงได้สำเร็จเป็นสาวกภูมิในชาตินี้นะครับ
☺....ส่วนเรื่องเอกสารแผนทำลายวัดท่าซุงนี้ ทางทีมงานฯ ได้รับการชี้แจงจาก "คุณสปาต้า" ว่าอาจจะไม่เป็นเรื่องของศาสนาอย่างเดียว ทีมงานฯ
จึงได้ระงับข้อมูลไปเพื่อจะได้ไม่ให้เกิดความเข้าใจไปในทางทิศทางอื่น พร้อมทั้งยกเลิกข้อความของคุณสปาต้าด้วย จึงขอให้เข้าใจว่าทางทีมงานฯ
ได้รับเอกสารนี้มาเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาในเรื่องอื่นใดนะครับ.
ทีมงานฯ
webmaster - 26/8/10 at 06:05
สารบัญ
☺ ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ของวัด
☺ รวบรวมคำสั่งของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายชีวิตหลวงพ่อ (Update 26-8-53)
☺...วันนี้ได้เพิ่มเติมข้อมูลจาก "หลวงพี่ปลัดวิรัช" นะครับ สามารถย้อนอ่านได้จากหัวข้อเรื่อง....
รวบรวมคำสั่งของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายชีวิตหลวงพ่อ
..........(งานเป่ายันต์เกราะเพชร) 4. หลวงพ่อสั่งให้พระในวัดตั้งขันครู "เป่ายันต์เกราะเพชร"
เรื่องนี้ได้สอบถามพระที่เคยติดตามรับใช้หลวงพ่อบอกว่า เรื่องการจะให้ใครเป่ายันต์ต่อ ความจริงหลวงพ่อท่านรู้ว่าควรเป็นผู้ใด
ส่วนพระในวัดส่วนใหญ่ก็รู้ว่าท่านมุ่งหมายใคร และเข้าใจว่าหลวงพ่อพูดชักชวนโดยรวมๆ เพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ เพราะหลวงพ่อย่อมทราบดีว่า
ใครจะเป็นทายาทภายในวัดสืบต่อไป เรื่องนี้จึงมีพระผู้ใหญ่ในวัดหลายรูปที่เข้าใจ ไม่ตั้งขันครูเป็นผู้เป่ายันต์ในครั้งนั้นด้วย
เพราะตามมรรยาทต้องถือเป็นหน้าที่ของประธานสงฆ์เท่านั้น
หากพระในวัดที่ตั้งขันครูไปแล้ว ถือโอกาสทำพิธีแบบนี้ ไม่ว่าวัดไหนก็ปั่นป่วนแน่ ส่วนพระรูปไหนที่ตั้งขันครูแล้ว และลาออกจากวัดไปทำพิธีเช่นนี้
ทางวัดไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เรื่องนี้ไม่ได้นำมาเพื่อประสงค์จะกีดกันผู้ใด เนื่องจากมีคนสงสัยถามกันมากว่า ทำไมพระวัดท่าซุงจึงไม่เป่ายันต์เกราะเพชร
ทั้งๆ ที่ได้ตั้งขันครูไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นดุลยพินิจของประธานสงฆ์ ซึ่งขอชี้แจงย้ำอีกครั้งว่าท่านจะไม่ทำพิธีนี้แน่อน ส่วนเหตุผลท่านมีอย่างไร
ต้องไปกราบเรียนถามท่านเองนะครับ
..........(งานก่อสร้าง) 5. หลวงพ่อเคยได้รับคำสั่งจากองค์สมเด็จฯ ให้ปิดทองหลังคาพระอุโบสถ
(เรื่องนี้หลวงพ่ออนันต์รับทำต่อ แต่ยังรอจังหวะอยู่ ท่านจะบูรณะบริเวณนั้นทั้งหมดด้วย สมัยก่อนท่านได้เสนอความเห็นว่า น่าจะทำหลังคาโบสถ์สีทองให้ถาวรเลย
แต่พระเบื้องบนได้ตรัสยืนยันว่า ให้ปิดทองคำเปลวเหมือนเดิม เพราะการซ่อมแซมแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดผลบุญมหาศาลแก่ผู้ร่วมบุญ
นี่พระท่านเห็นประโยชน์คือบุญเป็นสำคัญ โดยไม่ได้มุ่งเฉพาะที่จะทำให้แข็งแรงถาวรเท่านั้น)
..........(งานสอนธรรมะ) 6. หลวงพ่อไม่สั่งใครให้สอนธรรมะเป็นพิเศษ
(เรื่องนี้ท่านวางระบบการสอนไว้ดีแล้ว คือวางระเบียบไม่ให้คนในวัดแยกสอน "มโนมยิทธิ" กันเองในห้อง โดยให้สอนรวมกันที่วิหารร้อยเมตร)
อธิบายคำว่า ครูฝึก "มโนมยิทธิ" ไม่ใช่ครูฝึก "เทศน์สอนธรรมะ"
.......เรื่องการสอนธรรมะที่วัดท่าซุงนี้ ทีมงานฯ ขอนำมากล่าวโดยละเอียดอีกครั้ง เผื่อคนที่เข้ามาภายหลังจะได้เข้าใจคำว่า "ครูฝึก"
นั้นมีหน้าที่สอนอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ชี้แจงให้เห็นง่ายๆ ตั้งแต่สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ คำว่า "ครูฝึก"
ได้แก่ผู้ที่ท่านมอบหมายให้มีหน้าที่ฝึกสอน "มโนมยิทธิ" เท่านั้น (ไม่ใช่ให้ครูฝึกมานั่งเทศน์หรือแสดงธรรม) โดยเริ่มฝึกสอนกันตั้งแต่ ปี 2521 เป็นต้นมา
ใครฝึกได้แล้วก็ไปฝึกขั้นที่ 2 คือฝึกการท่องเที่ยว ขั้นที่ 3 คือฝึกญาณ 8 มีการระลึกชาติ เป็นต้น เนื่องจากเคยมีปัญหามาแล้ว ปัจจุบันนี้ในบางครั้ง จะเห็น
"หลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์" ลงสอนที่วิหารร้อยเมตรด้วย ถึงแม้ท่านจะไม่พูดไม่ว่าใคร แต่ท่านก็ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้แล้ว
ต่อมาเมื่อมีคนฝึกได้เป็นจำนวนมากขึ้น ทำให้ครูผู้สอนบางท่านเริ่มสอนในแนวการแสดงธรรม คือมีการฝึกมโนมยิทธินิดหน่อยเท่านั้น
แต่ส่วนใหญ่จะนั่งฟังเทศน์กันอย่างเดียว จนกระทั่งเริ่มมีการอัดเทปแจกไปฟังกัน ซึ่งเรื่องนี้พระผู้ใหญ่ในวัดส่วนใหญ่ก็ทราบดี
แต่เห็นใจคนที่ได้มโนมยิทธิมานานแล้ว อาจจะอยากนั่งฟังอย่างเดียวบ้าง แต่เมื่อได้ฟังเสียงที่บันทึกเทปนั้น จะฟังได้ว่าเป็นสำเนียงการแสดงธรรมที่ดี
เสียงไพเราะ แต่ก็ไม่ใช่แนวทางที่หลวงพ่อเคยสอน เพราะในเทปนั้นมีคำพูดที่พูดกับคนฟังว่า "เธอ" แล้วใช้คำเรียกผู้เทศน์ว่า "ฉัน"
ทำให้คนฟังส่วนใหญ่คิดว่าเป็นพระพุทธเจ้ามาเทศน์ เช่น สมเด็จองค์ปฐม เป็นต้น
ฉะนั้น แนวทางการสอนเช่นนี้ทางวัดไม่เคยชี้แจงแต่อย่างใด คงปล่อยให้ครูผู้สอนแสดงธรรมเช่นนี้อยู่นาน ได้สร้างกระแสนิยมไปทั่ว
แต่ถ้ามองให้ละเอียดลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าไม่ตรงกับความประสงค์ของหลวงพ่อ เพราะถ้าครูผู้ฝึกหันมาแสดงธรรมกันอย่างเดียว
อีกหน่อยก็มีนักเทศน์แสดงธรรมกันเป็นกลุ่มๆ ต่างคนต่างเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์เป็นของตนเอง แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในวัดท่าซุง ซึ่งเวลานี้มีการชักชวนกันไป
คนใหม่ก็ไม่รู้ความเป็นมา สร้างกระแสความแตกแยกให้เกิดขึ้น โดยคนที่เห็นด้วยก็มีอยู่กลุ่มหนึ่ง คนที่ไม่เห็นด้วยก็มีอีกกลุ่มหนึ่ง
ทางทีมงานฯ ต้องนำเรื่องนี้มากล่าว เพราะเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ มิได้คิดจะตำหนิติเตียนหรืออิจฉาใคร แต่มองถึงความเป็นไปในอนาคตว่า การสอนธรรมะเป็นสิ่งสำคัญ
หากการสอนที่ไม่ถือแนวทางครูบาอาจารย์ที่วางไว้ อาจจะสร้างรอยร้าวให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากมีการผู้อ้างว่าได้รับคำสั่งจากเบื้องบนว่า
ให้สอนธรรมะที่วัดท่าซุงหรือบ้านสายลม เป็นต้น ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เทียบเคียงกับ "รวบรวมคำสั่งของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายชีวิตหลวงพ่อ "
จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สั่งเรื่องนี้ไว้เลย
เวลานี้มีหนังสือธรรมะที่ไม่ใช่ของวัด แต่ระบุชื่อหลวงพ่อด้วย ตามที่มีผู้นำมาโพสต์ในกระทู้นี้ จะเห็นว่าเป็นการรับคำสั่งหลังหลวงพ่อมรณภาพแล้ว
ถ้าหากกระทำไปตามคำสั่งจริง ก็จะเป็นการขัดกับระเบียบของวัด ที่ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้มอบหมายมาฝึกสอนหรือแสดงธรรมในวัด จะมีโทษขั้นไล่ออกจากวัดทันที
ในเวลานี้ทางบ้านสายลมก็ได้ห้ามมิให้ผู้ใดมาแสดงธรรมอีกแล้ว จึงหวังว่าการชี้แจงจากเว็บวัดท่าซุง
จะได้ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เข้ามาเลื่อมใสศรัทธาทั้งหลาย จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเช่นนี้ ซึ่งทีมงานฯ ได้รับหน้าที่ให้ชี้แจงสรุปว่า
......1. เมื่อต้นปีนี้ได้ตรวจพบว่า มีเวปไซด์ดังบางเวปอ้างว่า ได้ขออนุญาตหลวงพ่ออนันต์เผยแพร่ธรรมะของหลวงพ่อ ทางเวปวัดท่าซุงจึงแจ้งไปว่ามิได้ขัดข้อง
เพราะเวปไซด์เหล่านี้ได้เผยแพร่มาก่อนจะเปิดเวปวัดท่าซุงอยู่แล้ว แต่กรณีข้อมูลในเวปวัดท่าซุงทั้งหมด ทางทีมงานฯ ได้จัดทำขึ้นมาเอง
ไม่สามารถจะให้เวปไหนคัดลอกนำออกไป จึงต้องรักษาฐานข้อมูลไว้ห้ามมิให้คัดลอกข้อมูลทั้งหมดในเวปไซด์ 2 เวป คือเวปวัดท่าซุง และเวปตามรอยพระพุทธบาท ซึ่ง
"ทีมงานของเวปนี้" ก็ได้รับปากว่าจะลบข้อมูลที่คัดลอกออกไปแล้วนี้ให้หมดสิ้น
......2. ต่อมามีสมาชิกเวปวัดท่าซุงแจ้งเรื่อง "วัตถุมงคล" ของวัดท่าซุง ทีมงานจึงได้เข้าไปค้นหาพบว่า มีเวปบางเวปได้เปิดจำหน่ายวัตถุมงคลของวัดท่าซุง
และมีพระภิกษุที่ออกจากวัดไปแล้วเกี่ยวข้องด้วย (บางรูปที่อ้างขออนุญาตสร้างไปแจกทางภาคใต้ แต่ดันไปโผล่ให้ทำบุญตามวัดต่างๆ)
จึงทำให้ทราบว่าทำไมวัตถุมงคลของวัดหมดเร็วขึ้น และมีการนำไปจำหน่ายในเวปไซด์ ราคาสูงขึ้นกว่าเดิม จึงสันนิษฐานได้ว่ามีการปั่นราคากันภายในเวปไซด์
ซึ่งมีการอ้างคำพูดของหลวงพ่ออนันต์ที่บ้านสายลม ทำให้คนเกิดความเชื่อถือ เพื่อการจำหน่ายวัตถุมงคลเหล่านี้ หลังจากมีการโต้ตอบกับเวปดังนี้แล้ว
มีผู้ส่งอีเมล์แจ้งมาอีก คนนี้รู้เรื่องดี...ของจริงแน่นอน อาชีพเป็นวิศวกร ส่งภาพถ่ายของตนเองมาให้ ข้อมูลเชื่อถือได้ครับ
จาก : <.............@yahoo.com>
ถึง : "Webmaster"
หัวเรื่อง : Re: Rv: ติดต่อทีมงาน : สมเด็จองค์ปฐม
วันที่ : 23/08/10 22:01
ขอขอบพระคุณมากครับที่ให้ความกระจ่าง อย่างที่คุณว่าแหละครับ พระเครื่องของหลวงพ่อมีการปั่นราคากันเป็นของที่ซื้อขายกันอย่างไม่เคารพกับทางวัด
สังเกตุได้จากสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 4 พอให้เช่าบูชาก็หมดอย่างรวดเร็ว แล้วนำไปโก่งราคากัน ผมเช็คจากหลายๆที่
ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกที่อยู่ในเวบพลังนั่นแหละครับเหมาไปหมด คนทุนทรัพย์น้อยก็เก็บเงินเช่าไม่ทันครับ
เดิมจะเช่าสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3 ของทางวัดก็หมด หาเช่าตามศูนย์พระราคาหมื่นกว่าบาท ชาตินี้คงไม่มีบุญบารมีถึงครับ
ตอนเสาร์ห้าได้ทราบข่าวว่ามีการสร้างสมเด็จองค์ปฐมรุ่น 4 ดีใจมาก พอจะไปเช่า ของหมดจากวัดเร็วมาก ดันไปโผล่ตามเว็บต่างๆเต็มไปหมดราคา 6000-7000 บาทครับ
ชาตินี้ผมคงไม่มีบุญจริงๆ ถ้าราคา สัก 2000 บาทผมก็สู้ ไม่ทราบว่าตอนออกจากวัดเท่าไรครับ (ตอบ..สมเด็จองค์ปฐมรุ่น 3 ที่วัด 400 บาท / สมเด็จองค์ปฐมรุ่น
4 ที่วัด 1,000 บาท กำไรหลายเท่าตัวอยู่ที่คนทำเวปนี้ หรืออยู่กับใครกัน?)
สุดท้ายก็ขอให้กำลังใจให้ทำงานด้านนี้ เพื่อวัดท่าซุงและชื่อเสียงขององค์หลวงพ่อและหลวงพี่ทุกๆรูปทุกองค์ต่อไปนะครับ ขอให้อดทนนะครับ
ถึงเราจะสู้เขายากในการนำเสนอ เพราะคนในเวบพลังเป็นมืออาชีพในการเขียนการชักจูงอย่างมากเท่าที่ได้เข้าไปอ่านกระทู้ ถ้าคนที่ไม่พินิจพิเคราะก็คงจะหลงเชื่อ
แต่สุดท้ายธรรมะก็ชนะอธรรมครับ
ขออนุโมทนา
ด้วยความเคารพอย่างสูง
......3. มีผู้โพสต์ถามเรื่อง "หนังสือธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น" เล่มที่ 9 และ เล่มที่ 12 มีชื่อ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน"
อยู่ที่หน้าปกทุกเล่ม ทางวัดก็ได้ปฏิเสธกว่าไม่เกี่ยวกับทางวัด ส่วนเนื้อหาภายในเล่มที่ 9 ได้อ้างคำของสมเด็จองค์ปฐมเรื่อง พระภิกษุปุถุชนแสดงธรรม
ขาดจากความเป็นภิกษุโดยอัตโนมัติ ส่วนเล่มที่ 12 ได้พาดพิงถึงพระวัดท่าซุงได้นำญาติโยมออกไป วัดพระแท่นดงรัง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539
ภายหลังถูกตำหนิว่า "เผาพระพุทธเจ้า" กระทู้เหล่านี้ได้ชี้แจงอย่างมีเหตุผล และหลักฐานการจัดงาน "อัฏฐมีบูชา" ตามวัดต่างๆ มานานกว่า 100 ปีแล้ว
☺...ซึ่งข้อความในตอนนี้ได้อ้างถึงสถาบันสูงสุด และกรมศาสนาจะเอาเรื่องด้วย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงนอกจากจะจัดงานที่
วัดพระแท่นดงรัง แล้ว ท่านยังได้กลับมาจัด งานพิธีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ที่วัดท่าซุงอีกด้วย แต่ทำไมคนบันทึกที่มีศักดิ์ศรี
จึงไม่บันทึกถึงคุณความดีที่ได้ทำถวาย "ในหลวง" เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2539 ด้วยละครับ ท่านผู้อ่านอย่าคิดว่าเอาเรื่องเก่าๆ มารื้อฟื้น แต่หนังสือเล่มที่
12 เป็นผู้นำมารื้อฟื้นเอง ทำไม่ไม่พิสูจน์ละ ในเมื่อมีหลักฐานเป็นคลิปวีดีโออยู่ที่นี่แล้ว ถ้าคุณไม่คลิกไปชม
บาปกรรมไม่ได้อยู่ที่ผู้ถูกกล่าวหานะครับ
คลิกชม "คลิปวีดีโอ" งานพิธีกาญจนาภิเษก ณ วัดท่าซุง
......4. สรุปสุดท้ายเรื่องคำสั่งสมเด็จองค์ปฐม จากเล่มที่ 9 ให้สอนธรรมะที่วัดท่าซุง และบ้านสายลม หรือในต่างประเทศ ทีมงานฯ
ก็ได้ยกคำสั่งขององค์สมเด็จที่มีต่อหลวงพ่อก่อนจะมรณภาพ เพื่อให้ผู้อ่านได้เปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้ว่า ในเชิงปฏิบัติจะทำได้มากน้อยแค่ไหน
หากคำสั่งที่อ้างจากเบื้องบนถูกต้อง กลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อคงไม่แยกกันฟัง แยกกันสอนอย่างที่เห็นอยู่ในเวลานี้ คือมีทั้งข้างวัดท่าซุง และมีทั้งข้างบ้านสายลม
ท่านผู้อ่านที่มีใจเป็นธรรม ไม่มีอคติใดๆ ทั้งสิ้น แล้วลองยืนถอยห่างออกมาดูว่า ขณะนี้เหตุการณ์โดยรวมจะมีภาพพจน์อย่างไรกันบ้าง
ข้อมูลที่ทีมงานฯ ค้นคว้านำมากล่าวอ้าง มิได้หวังจะหักล้างคำของพระพุทธเจ้า แต่ได้นำมาเพื่อเทียบกับหลวงพ่อตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
และนำมาเปรียบเทียบกับกฎระเบียบที่หลวงพ่อวางไว้ ว่ามีเหตุมีผลพอที่จะปฏิบัติได้แค่ไหน เพราะเวลานี้ผู้อ้างคำสั่งก็ได้ย้ายไปสอนที่บ้าน
คนฟังธรรมบางคนก็ต้องติดตามไป จึงเกิดมีอีกกลุ่มหนึ่งที่แยกกันสอนธรรม โดยเฉพาะคำสอนบางอย่าง อาจจะไม่เข้ากันกับกลุ่มที่บ้านสายลม เช่น
อ้างคำตรัสของสมเด็จองค์ปฐมว่า พระที่แสดงธรรมไม่มีในตน ขาดจากความเป็นพระแล้ว ซึ่งคำนี้มีความหมายให้คนอ่านไปคิดเอาเอง ถ้าให้คิดกันเอง
คงหมายถึงพระที่มาแสดงธรรมที่บ้านสายลม หรือที่วัดท่าซุงด้วยหรือไม่ ในหนังสือเล่มนี้ยังกล่าวถึงพระที่วัดท่าซุง
นำญาติโยมออกไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าจิตไม่เป็นพระ หรือไม่แนะนำให้ไปทำบุญที่ไหน เน้นเรื่องปฏิบัติอย่างเดียว หรือติติงคนสร้างพระองค์ใหญ่ๆ
บางทีก็มีการตำหนิพระคณาจารย์บางรูปด้วย
นี่จะเห็นได้ว่าพระที่มาสั่งฆราวาส ไม่เหมือนกับพระที่มาสั่งหลวงพ่อ ที่บอกให้ลูกหลานเร่งบุญบารมี ทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศล
และสั่งให้ปิดทองพระอุโบสถวัดท่าซุง เป็นต้น จึงอยากถามว่า เวลานี้วิธีการสอนตามแบบของหลวงพ่อ ยังเป็นเอกภาพตามที่หลวงพ่อต้องการหรือไม่
แล้วการที่มีข้อความในหนังสือเล่ม 9 (ความจริงเป็นบันทึกส่วนตัว อารมณ์คิดตำหนิพระบางรูป แล้วบอกว่าสมเด็จองค์ปฐมมาสอน ความจริงเป็นเรื่องอารมณ์คิดส่วนตัว
ไม่น่าเอามาพิมพ์ในหนังสือ แล้วเผยแพร่เป็นสาธารณะเช่นนี้) ว่ามีพระบางองค์ในวัดพาคนทัวร์ออกนอกวัดนั้น แล้วเวลานี้ใครกันแน่ที่พาคนออกนอกวัด
และออกนอกแนววิธีการสอนที่หลวงพ่อวางแนวทางไว้..?
ฉะนั้นท่านผู้อ่านทั้งหลายโปรดทราบ...
☺.....ถ้าหากท่านได้พบเห็นบุคคลที่น่าสงสัยว่า จะเข้ามาตีสนิทเพื่อชักชวนให้ไปฟังธรรมที่ทางวัดมิได้มอบหมาย
(ถ้าพบเห็นที่วัดก็ให้แจ้งพระเจ้าหน้าที่นวราช ถ้าพบที่บ้านสายลมก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำได้) หรือมีการแจกหนังสือธรรม, ซีดีธรรมะ ที่มิใช่เสียงหลวงพ่อ
หรือที่ไม่ได้จัดทำจากทางวัดท่าซุง ถึงแม้จะมีเนื้อหาที่เป็นแก่นธรรมสำคัญ แต่ก็ยังมีปมขัดแย้งที่สอดแทรกอยู่ด้วย
หรือเป็นวัตถุมงคลที่มิได้วางให้บูชาที่วัดท่าซุงหรือบ้านสายลม ดังนั้นเพื่อตัดปัญหาที่มักจะเกิดขึ้น แล้วมีการร้องเรียนมาหลายราย
คราวนี้ต้องเดือดร้อนถึงทีมงานฯ ที่จะต้องชี้แจงไม่รู้จักจบสิ้น * (อย่าลืมว่าทีมงานฯ ไม่ใช่คู่กรณี นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากมีผู้โพสต์ถามในกระทู้)
กรุณาอย่าเชื่อบุคคลเหล่านี้ที่แอบแฝงอยู่ จากตัวบุคคลหรือจากสื่อต่างๆ ที่เริ่มมีความประพฤติเข้าข่ายแผนทำลายวัดโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะมีบางคนที่ไปๆมาๆ
คอยชักชวนและยุแหย่ให้เกลียดชังพระกรรมการสงฆ์บางรูป ที่ทำหน้าที่รักษากฎระเบียบของวัด (ด้วยเหตุที่เป็นรั้วหรือกำแพงวัดนี่เอง ท่านจึงถูกเล่นงานหนัก)
หรือหนังสือบางเล่มที่พิมพ์ออกมาตำหนิพระสงฆ์ในการแสดงธรรม เป็นต้น โปรดอย่าไปสนับสนุนบุคคลกลุ่มนี้ ที่อ้างว่าทำเพื่อหลวงพ่อหรือวัดท่าซุง
นับว่าท่านผู้อ่านได้ช่วยรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงพ่อฯ ไว้มิให้เสื่อมเสีย และคุณงามความดีที่หลวงพ่ออุตส่าห์สร้างไว้ที่วัดท่าซุง
ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของท่าน พวกเราทุกคนควรจะช่วยผนึกกำลังกัน โดยไม่สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมกับบุคคลกลุ่มนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
และช่วยกันชี้แจงแจ้งข่าวนี้ให้รับทราบโดยทั่วกัน....
ทีมงานฯ Webmaster
◄ll กลับสู่สารบัญ
อุลตร้าแมนชาตรี - 26/8/10 at 11:05
ขออนุโมทนากับทางทีมงานครับ
ผมมีความเคารพในหลวงพี่พระครูปลัดอนันต์ และคณะกรรมการสงฆ์วัดท่าซุงทุกรูปครับ
ณัฐคม - 26/8/10 at 21:09
ขออนุโมทนากับทางทีมงานครับ
Tantep - 2/10/10 at 04:33
สาธุ สาธุ สาธุ
minya - 29/6/12 at 10:44
ดิฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่งจากเพื่อน เมื่องานวันเสาร์5 ที่วัดท่าซุง(23 มิย 255) แต่ทางวัดไม่ได้แจกนะค่ะ เขาบอกว่าเป็นการแจกจากคณะหลวงพี่ที่อยู่ข้างวัด
หนังสือเล่มนี้บอกชื่อเรื่องว่า ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ 15 พระราชพรหมยานเถระ ฟลวงพ่อฤาษีลิงดำ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
ภายในเล่มได้อ่านแล้วเป็นธรรมะที่มุ่งความหลุดพ้นจริงๆค่ะ แต่ภายในหัวข้อบางหมวด จะมีกล่าวถึงพระภิกษุบางรูปที่เป็นพระอรหันต์แล้ว
ซึ่งท่านต้องออกจากวัดเพราะกรรมการสงฆ์ไล่ ส่วนคณะกรรมการสงฆ์ส่วนใหญ่ (คงหมายรวมถึงหลวงพ่อท่านเจ้าคุณด้วย) ยังเป็นสมมติสงฆ์
อ่านแล้วก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งคนภายหลังอาจเกิดความสับสนว่าเหตุการณ์ต่างๆเป็นอย่างไรกันแน่ และไม่ทราบว่าทางวัดได้ชี้แจงอะไรบ้าง
แต่โดยส่วนรวมแล้วคงไม่ดีแน่ เพราะคนอ่านที่เชื่อก็มี ที่สงสัยก็มี หรืออาจเชื่อทางสงฆ์วัดท่าซุงก็มีมาก
โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เคารพนับถือพระภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีข้อข้องใจที่ไม่ตรงกัน ผลก็คือความแตกแยก ความแตกสามัคคีในกลุ่มคณะศิษย์วัดท่าซุงด้วยกัน
ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเป็นผลดีแก่วัด คือว่าขาดความมั่นคง นานไปก็จะเกิดผลเสียแก่วัดนะค่ะ จึงเรียนมาถึงผู้ที่รู้จริงและเป็นธรรม
จะได้ชี้แจงเพื่อความกระจ่าง
ด้วยความเป็นห่วงวัดท่าซุงและคณะศิษย์ทุกคนค่ะ
สุริสา
คำนำ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 9
...แต่ในปัจจุบันเข้าใจผิดเหมาเอาเองว่าต้องบวชพระก่อน ซึ่งผู้ที่บวชแล้วไม่เป็นพระ เพราะยังรักษาศีลปาฏิโมกข์ (๒๒๗ ข้อ) ไม่ได้ครบทุกข้อ
มีอยู่มากมายสุดประมาณได้ หลงคิดว่าตนเองบวชแล้ว เป็นพระ แสดงธรรมที่ไม่มีในตนอยู่เป็นปกติในปัจจุบันนี้ จุดนี้พระองค์ตรัสว่าเป็นอาบัติปาราชิก
ขาดจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 15
...วัดใหญ่ ๆ ในประเทศไทยมีอยู่มาก ซึ่งย่อมมีพระลูกวัดมากตามส่วนของความศรัทธา เมื่อมีพระลูกวัดมาก หากมีเจ้าอาวาสที่ยังไม่จบกิจปกครองวัดนั้นๆ อยู่
ปัญหาต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นเสมอเป็นธรรมดา
Sirisak - 18/2/24 at 06:04
สาธุครับ