อุโบสถศีล
Boonyalid - 10/5/11 at 17:43

อยากทราบว่าวิธีถืออุโบสถศีลมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
หากเลิกถืออุโบสถศีลต้องทำอย่างไร
มีข้อยกเว้นหรือข้อห้ามอย่างไร
สามารถทำได้ทุกวันหรือไม่อย่างไร

ขอบคุณครับ
Boonyalid


ม้ามังกร - 11/5/11 at 15:42

ผมไม่ได้เข้ามาตอบคำถาม รอท่านผู้รู้เข้ามาตอบ
ผมอยากเพียงจะกล่าวว่า ศีลเป็นคุณธรรมความดีเบื้องต้นของจิต
เพียงแต่ยกมือพนมขึ้นจบใส่หัวด้วยจิตใสใจเย็นอย่างนี้ ความเยือกเย็น
เป็นสุขก็จะเกิดขึ้นทันทีทันใด


webmaster - 12/5/11 at 05:38

๑. ศีล ๘ ถ้ารักษาวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือสองวันสามวันใน วันพระ เรียกกันว่า สมาทานอุโบสถศีล
๒. หากเลิกสมาทานอุโบสถศีล ควรรักษาศีล ๕ ต่อไป (ถ้าทำได้)
๓. ไม่มีข้อยกเว้นหรือข้อห้ามอะไร ทำได้ตามอัตภาพ หรือตามความสมัครใจ พระพุทธเจ้าไม่บังคับ เพียงแต่ทำตามประเพณีสืบๆ กันมาว่า พอถึงวันพระก็มีการรักษาอุโบสถศีลกัน

หมายเหตุ - แต่ถ้าทำได้ทุกวัน เรียกว่า รักษาศีล ๘ (หากรักษาแค่วันพระวันเดียว เรียกว่า รักษาอุโบสถศีล)

หวังว่าคงเข้าใจนะครับ

ทีมงานฯ


Boonyalid - 12/5/11 at 10:23

ขอขอบคุณที่ให้ความรู้


วรวุฒิ - 25/5/11 at 09:30

ขอรบกวนถามว่า
ถ้าเรารับศีลแปด อย่างในวันพระหรือเวลานั่งสมาธิ หลังจากนั้นไม่สามารถที่จะรักษาศีลแปดไว้ได้ เราต้องทำยังงัยบ้าง หมายถึงว่าต้องลาศีลแปด เพื่อที่จะรักษาศีลห้า ด้วยหรือป่าวครับ แล้วถ้าต้องลา ลายังงัยครับ เพราะที่ผมทำอยู่คือเวลานั่งสมาธิก็จะรับศีลแปด พอเลิกจากการนั่งสมาธิก็อุทิศส่วนกุศลกราบพระแค่นั้นครับ (เพราะเคยได้ยินมาว่าต้องลาศีลแปดด้วย)

ขอบคุณครับ
วรวุฒิ


viphard - 25/5/11 at 13:21

สาธุ อนุโมทนาทุกอย่างเลยนะครับ


พระมหากุลวัฒน์ธนะ - 25/5/11 at 16:17

คำอาราธนาอุโบสถศีล
มะยังภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยังภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง,อุโปสะถัง ยาจามะ
ถ้าคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”
อุโบสถศีล
ข้อ 1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 3. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้อ 8. อุจจาสะยะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เมื่อจบสิกขาบทดังกล่าวแล้ว ผู้รับศีลพึงกล่าวคำสมาทานรวมอีกดังนี้
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรัปขิตุง สะมาทิยามิ
จากนั้นพระสงฆ์กล่าวสรุปอุโบสถศีลดังนี้…
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ, อัชเฌกัง รัตติง เอวัง อุโปสะถะสีละวะเสนะ, สาธุกัง กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
ผู้รับศีลพึงตอบรับว่า “สาธุ ภันเต”

ในปัจจุบันนี้การสมาทานอุโบสถศีลหรือศีล ๘ จะเป็นการสมาทานแยกข้อก่อน แล้วจึงสมาทานรวมอีกครั้งหนึ่ง ถ้าศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด ก็เป็นอันว่า ขาดหมดทุกข้อ

ตั้งแต่ อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรัปขิตุง สะมาทิยามิ เป็นการกล่าวสมาทานรวม

ถ้าจะลาหรือบอกคืนอุโบสถศีลก็มีคำลา

หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ
พะหุกิจจา มะยัง พะหุกะระณียา

พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า
ยัสสะทานิ ตุมเห (ตะวัง) กาลัง มัญญะถะ(มัญญะสิ)

ถ้าลาคนเดียวจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “อาปุจฉามะ” เป็น “อาปุจฉามิ”
ถ้าเป็นผู้ชาย เปลี่ยนคำว่า “พะหุกิจจา” เป็น “พะหุกิจโจ” และ “พะหุกะระณียา” เป็น “พะหุกะระณีโย"
ถ้าเป็นผู้หญิงใช้ "พะหุกิจจา" และ "พะหุกะระณียา" เหมือนเดิม


ม้ามังกร - 27/5/11 at 06:46

การลาศีลแปดหรือการคืนอุโบสถศีลผมเข้าใจว่าคืนการลาหรือคืนธรรม ๔ ข้อ(ธรรมคือข้อปฏิบัติ)
คือ อะพรัหมะ และข้อ ๖ ๗ ๘ เท่านั้น ส่วนศีล ๕ ที่เหลือก็นำติดตัวกลับบ้านคงไม่คืนหมด
หากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยทุกๆท่านด้วย


พระมหากุลวัฒน์ธนะ - 27/5/11 at 20:58

Quote:
Originally posted by ม้ามังกร
การลาศีลแปดหรือการคืนอุโบสถศีลผมเข้าใจว่าคืนการลาหรือคืนธรรม ๔ ข้อ(ธรรมคือข้อปฏิบัติ)
คือ อะพรัหมะ และข้อ ๖ ๗ ๘ เท่านั้น ส่วนศีล ๕ ที่เหลือก็นำติดตัวกลับบ้านคงไม่คืนหมด
หากความเข้าใจของผมผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยทุกๆท่านด้วย

เมื่อกล่าวคำบอกคืนอุโบสถศีลแล้ว ก็อาราธนาศีล 5 และสมาทานศีล 5 ต่อเลย ทำแบบนี้ทุกครั้งที่บอกคืนอุโบสถศีล


ม้ามังกร - 28/5/11 at 06:56

กราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้าครับ เข้าใจแล้วครับ