หนังสือ"พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 4 )
puy - 11/8/10 at 14:34

◄ ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 5 ตอนที่ 6 ตอนที่ 7►



หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม


พรสวรรค์

(รวมเล่ม1-2-3 )

คำแถลง

1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ

คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น

2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ

3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ

4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง

คณะพรสวรรค์


สารบัญ

47.
คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง” (Update 11/08/53)
48. คำเทศน์ของ “เทศน์ร่วมกับหลวงพ่อปาน”
49. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 2 ” (Update 18-08-53)
50. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 3 ” (Update 25-08-53)
51. คำเทศน์ของ “เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร”
52. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น”
53. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 2” (Update 1-09-53)
54. คำเทศน์ของ “สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุธสันโธ”
55. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 3”
56. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 4” (Update 8-09-53)
57. คำเทศน์ของ “สมเด็จพระพุทธกัสสป หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น”
58. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง” (Update 20/09/53)
59. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง” (Update 2/10/53)
60. คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง” (Update 19/10/53)

47

คำเทศน์ของ หลวงตาแสง


(หลวงตาแสงนี้ หลวงพ่ออาจารย์ของเราบอกว่าเป็นพระอรหันต์ที่สำเร็จ ณ สถานที่ที่ทรงกระดาน อันเคยเป็นวัดมาแต่เก่าก่อน จะขอเปรียบเทียบด้วยความเคารพว่าท่านเป็นผู้จัดการ หรือเป็นเจ้าของดูแลรับผิดชอบพิธีการในการทรงกระดานก็ได้ รวมทั้งการจัดสถานที่และความเรียบร้อยในบ้านด้วย สมัยของท่านคาดว่าประมาณ 200 ปีที่ล่วงมาแล้ว

เวลาทรงกระดานท่านมักจะมาก่อนเป็นองค์นำ เมื่อหมดกิจของท่านแล้วองค์อื่นก็เปลี่ยนมาโปรดตามแต่จะเมตตา แต่ในระยะหลังๆ นี้ พระที่เสด็จมาโปรดบางทีท่านก็ไม่แสดงชัดว่าเป็นอีกองค์หนึ่ง ท่านโปรดพร้อมๆ กัน คือผสมไปกับหลวงตาแสง

ฉะนั้น ตอนใดจะเป็นของหลวงตาแสง ตอนใดจะเป็นขององค์อื่นก็ทราบไม่ได้ ท่านบอกว่า ถ้าแยกต่างหากแล้วบางทีพวกศิษย์มักจะเกร็ง ไม่กล้าถาม ไม่กล้าคุย)

16 กันยายน 2518

☻ (ปรารภกันว่าการทรงกระดาน เชื่อถือได้หรือไม่)
☺ มีอะไรที่แล้วมาไร้สาระ เธอเชื่อมั่นในอะไร ?
☻ (ตอบ – มั่นในพระพุทธเจ้า ในคำสอนของท่าน)
☺ ถูกแล้ว อย่าหวั่นไหว จิตของคนไม่เหมือนกัน ความเชื่อของแต่ละคนต่างกัน

☻ คนอื่นเขาเห็นแต่กระดาน
☺ เธอเห็นเท่านั้นรึ ที่สอนมองไม่เห็นรึ สักกายทิฐิ แล้วที่จับนี่ละ จับ 3 คนแล้ว เดินด้วยความคิดเดียวกันรึ
(ทดลองให้คนที่เป็นหลักออก ให้คนอื่นจับ แต่"ถ้วย"ไม่เดิน)
☺ แค่นี้ยังไม่เหมือนกันเลย

9 เมษายน 2518

☺ สิ่งที่ฉันอยากพูดให้รู้กันทั่วๆ ไปก็คือว่า คนเราก็มีโลกธรรม 8 อยู่ใช่ไหม

• เด็กหนุ่มทั้งหลาย ลูกหลานก็ดี เธอต้องดูให้ทุกคนได้รับความเป็นกลาง ไม่ใช่ว่ารักคนนั้น รัก บริการคนนี้ ทำให้อีกหลายๆ คนต้องเกิดอารมณ์ที่ว่า “หมั่นไส้” ขึ้น จะทำให้เด็กทั้งหลายเกิด “ฉัน” เกิด “ท่าน” ขึ้นแล้ว ความแตกสามัคคีจะมีมา เช่น คนนั้นก็เห่อ คนนี้ก็ยุยอคนนั้นเรียกบริการคนนั้น คนเราน่ะ โลกธรรม 8 มันกินใจมาก

• ในฐานะที่ฉันเป็นเจ้าของรัก ฉันตอนนี้ ระวังว่าจะมีอะไรต่ออะไรในหมู่เด็ก อย่าทำอะไรให้ใครพิเศษมากกว่าใคร บอกไปทั่วๆ กันด้วย

5 พฤศจิกายน 2518

☺ พระพุทธเจ้าท่านทรงเล็งเรื่องศรัทธาเป็นประการแรก คน ถ้ามีศรัทธาเป็นเบื้องต้นแล้ว ต้องตามมาด้วยธรรมที่ถึงพระศาสนา

10 ธันวาคม 2518

☺ “รู้” คือ เข้าใจจริง
☺ “แจ้ง” คือ มองเห็นตัวอย่างชัดขึ้น
☺ “แทงตลอด” คือ พิจารณาลงไปอีกจนรู้ ให้เป็นเอกว่าถูกต้อง ทำได้เป็นสมุจเฉทปหาน
เมตตาอย่างกรุณานั้น คือเราสงสารเขา แต่ไม่รู้ว่าสงสารของเรานั้นจะช่วยได้ ในทางดีหรือเสียก็ไม่รู้ใจตนเอง จึงต้องมีอารมณ์ให้หนักเบาตามความพอใจของเราของอารมณ์ในเวลานั้น นั่นแหละคือไม่มีเมตตาอย่างกรุณา

• สงสาร อยากจะช่วยเขาแต่อายไม่ทำ เมตตาอย่างไม่กรุณา คำว่าอาย อาจเพี้ยนเป็น “กระดาก” หรือ “กลัว” หรือ “ทิฐิ”
• ดังนั้น เป็นเรื่องของเราที่ขาดเมตตา มุทิตา กลัวเขาว่า กลัวเขาชม กลัวเขาเลว กลัวเขาดี ผลคือ “อิจฉา”
• การเข้าไปช่วยเขา โดยที่เขายังไม่ขอร้องนั้น เป็นเรื่องของการขาดเมตตา อุเบกขา ส่วนที่ขอร้องนั้นเป็นเรื่องของเมตตาและกรุณาล้วนๆ

• อยู่ที่ตัว “รู้” รู้ว่าคนที่ขาดความช่วยเหลือนั้นเป็นคนชนิดใด เรารู้ อารมณ์คนน่ะมันละเอียดนะ ทุกคนไม่ว่าใครที่ว่าตัวเองหยาบน่ะ คนหยาบน่ะก็ต้องรู้ว่าเราเป็นคนละเอียด หยาบด้วยการกระทำ แต่ใจ ลองมีสิ่งใดมากระทบซิ ร้องทีเดียว... ใช้คำว่า “เต้น” น่าจะเหมาะกว่า

17 ธันวาคม 2518

ให้คาถาแก้มะเร็ง
สัมพุทโธ มะอะอิ ระโชหะระนัง ระชังหะระติ
• คำว่า “ช่วย” มันก็แจ้งอยู่แล้วว่า สละ สละแรง สละใจ สละปัจจัยเพราะช่วย บุญเกิดเพราะสละ การสละเรียกว่าทาน

18 กุมภาพันธ์ 2519

• เวลาเทพดีใจเขาจะให้ของมงคล ในที่นี้คือสวรรค์นั้นถือว่าพระพุทธวิเศษสุด บ้างจะเห็นเป็นทองแดง เป็นปูน เป็นเงิน เป็นทอง เป็นเพชร ตามแต่บุญบารมีของเทพแต่ละคน

• ตารู้มาตั้งนานแล้ว ไอ้เบื้อกพวกนี้น่ะ (หมายถึงเด็กหนุ่มๆ) มันมีความรู้ แต่การอบรมมารยาท ตารู้ว่าที่ควรก็มีไม่ควรก็มี มันต่างกันที่ว่าบางคนก็เรียนน้อย แต่ไม่ได้อยู่ในสังคม ใจน่ะ ดีทุกคน แต่คำว่าอบรม มารยาท มันต้องมีมาตั้งแต่เด็ก และพวกไหนล่ะ ที่มี
• เรื่องนี้สำคัญนะ ไม่งั้นพุทธบัญญัติของพระพุทธเจ้าท่านไม่สอนตั้งแต่กินข้าว มารยาท เดิน ยืน นอน หรอก เพราะพระองค์เห็นที่มาของแต่ละคนผิดกัน

• เหมือนกับคนไม่มีเงินแล้วมาทำบุญทีละมากๆ เป็นไง บาปนะ ถ้าปากท้องตัวเองและคนอื่นพลอยเดือดร้อนไปด้วยน่ะ ด้วยท่านตรัสรู้ว่า การทำบุญอย่างกระเบียดกระเสียดตัวเอง มันบาป ฉันใดก็ฉันนั้น คนทำงานบุญก็เช่นกัน

9 กรกฎาคม 2519

• สอนหญิงคนหนึ่งเรื่องลูก
☺ แม่ คือผู้เสียสละ เราให้กำเนิดเขา เราก็เลี้ยง อบรมเขาตามความสามารถที่เราทำได้ ส่วนเขาจะเชื่อหรือไม่นั้น มันอยู่ที่สันดาน บุญของเขา บางคนพ่อแม่ก็แสนที่จะดี แต่ลูกยังตรงกันข้าม มีถมไป

☺ บางอย่าง เราก็ต้องให้เขามีแบบฝึกหัดเอง บางคนห้ามไม่ฟัง ต้องให้เจ็บแล้วถึงจะเชื่อ เราไม่ปล่อยเขาก็ไม่รู้คิด ความรับผิดชอบของเขายังไม่มี เพราะยังไม่มีใครให้เขารู้สำนึกรับผิดชอบเอง มีเรื่องอะไรมาทำไม่ได้หรือแก้ไขไม่เป็น ก็โยนให้พ่อแม่รับผิดชอบ แล้วทีหลังเมื่อไรล่ะที่เขาจะรับผิดชอบของเขาเป็น

สอนเฉพาะคน เรื่องปฏิบัติธรรม
• เราอย่ามากหมอมากครูนะ ดูให้รู้ตาม้าตาเรือ ระวัง เดี๋ยวจะโดนนรก
• ตาจะบอกให้ เวลาเรียนภาษาน่ะ ต้องเรียนทีละภาษาถึงจะเก่ง เรียนพร้อมกันหลายภาษาระวังจะไม่รู้เรื่องสักภาษา
• เรียนภาษาอังกฤษนั้น รู้และใช้ได้รอบโลก เรียนภาษาขอมนั้น มันใช้ได้ในโบราณวัตถุ ซึ่งน้อยครั้งจะใช้ได้

• อันที่ 1 ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานคือ สมาธิ ฌาน ต้องให้คล่อง ฌาน 1-2-3-4 แล้วหัดถอย 4-3-2-1 แล้วก็หัดจาก 4 มา 1 จาก 1 ไป 3 หรือสลับไปมา นี่แหละ ก.ไก่ ข.ไข่ เรารู้ ชำนาญผสมอักษร ก.ไก่ ข.ไข่ แล้วจะเขียนยังไงก็สบาย

• เธอ บางทีตาไปดู บางทีก็อุปจารสมาธิ บางทีก็ถึงฌาน 2-3 อย่าไปจับว่าจะรู้ไม่รู้ ต้องทำจิตให้สงบ สงบแล้วจิตจะวิเวก เมื่อถอนสมาธิออก ค่อยคิด ค่อยสังเกตว่าอารมณ์เป็นอย่างไร ตำรามี

• สมถะ อย่าไปนึกถึงอารมณ์โกรธ-ไม่โกรธ นึกถึงภาพหรือคำภาวนา ทำใจให้ปราศจากนิวรณ์ 5 นิ่งที่สุดทำได้ไหม นิ่ง คือไม่คิดอะไร ไม่กังวลอะไร ไม่นึกอะไร นึกได้คือคำภาวนา คิดได้คือรูปที่เราจับ เช่น พระ เทียน แสง สี คือการทำกสิณ

• ขอ ไม่ต้องขอเพราะบุญเราทำได้ เพียงแต่ทำ เราจะสร้างของชิ้นหนึ่งเรามีแบบแล้ว เรามีอุปกรณ์แล้ว อยู่ที่ว่าลงมือเมื่อไร แต่กระนั้น ถ้าลงมือแล้วทำเหยาะๆ แหยะๆ เมื่อไรจะสำเร็จ
• ขอว่าหน่อยเถอะ บุญที่มีมา กรรมดีทั้งนั้น แต่ขยันฝากออมสิน
☺ ใช้คาถา “อรหังสัมมาสัมพุทโธ อิติโสคโต นะโมพุทธายะ” อันนี้ก่อนเพื่อคุ้ม ว่า 5 ครั้งแล้วค่อยทำสมาธิ

สอนอีกคน
• ตาจะให้คาถาไว้อย่าง คนก็คือคน อยู่อย่างคน จะเอาอะไรกับคนเพราะมันคนถึงขุ่น ใจคนเราเหมือนเครื่องยนต์ ใช่บ่อยๆ มันก็ล้าบ้าง โกงบ้าง ไม่ซื่อ แต่เวลาใดที่เราพักโดยหยุดเครื่อง มันจะลดการสึกหรอลงมาก จะมีเจ้าของมาปรับปรุงให้สะอาด
• สมาธิ คือหยุดเครื่อง
• วิปัสสนา คือคนปัดฝุ่น

◄ll กลับสู่สารบัญ



48

23 กันยายน 2519

เทศน์ร่วมกับหลวงพ่อปาน


☺ ชาติก็เหมือนกับคนเรา รัฐบาลก็เปรียบกับระบบทำงานของร่างกาย ฉะนั้น ระบบการปกครองก็ดี ระบบนโยบายของรัฐก็ดี มันดูรู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วยมานานแล้ว หาหมอมากี่คนๆ ก็ต้องเลี้ยงไข้ บ้างวินิจฉัยโรคไม่ถูก มันต้องให้หมอมีฝีมือทำการ อาจใช้ยาแรงขึ้นกว่ายาเก่าก็ได้ เพราะเราเคยกับยาตามบ้านมานานแล้ว หรืออาจจะต้องทำผ่าตัดก็ได้ อยู่ที่หมอใหญ่เขาจะสนใจคนไข้รายนี้หรือยัง

• หมอก็สนใจแล้ว โรคนี้ตาวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อร้าย เธอว่าสมควรจะผ่าตัดหรือตัดทิ้งหรือให้ยาแก้เจ็บพอประทัง ?

สอนเฉพาะเป็นรายบุคคล

• ศาสนาจะเจริญ จะดีวิเศษก็เพราะพระสงฆ์ ศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใสของชนทั่วไปก็อยู่ที่จิตใจของเราแต่ละคนจ้ะ ถ้าแต่ละคนยึดมั่น เคารพในศาสนาแน่ๆ ทั่วๆ ไป เมื่อรวมกันขึ้นมามันก็เป็นแรงศรัทธาที่หนาแน่น แต่ถ้าน้อยรายที่ยึดถือพระศาสนา เราจะไปตะโกนอ้าวให้คนทั้งหลายว่า“มาเคารพซิ ของฉันดี”…. เขาจะมารึ เสียเวลาเสียน้ำลายเปล่าๆ

• อย่าเกิดเลย ชั่วชีวิตเรามันก็แสนสาหัส เท่าที่เราพบมา ฉะนั้น เอาสิ่งที่เป็นทุกข์กายทุกข์ใจนั้นมาตีให้แตกต่างว่าอะไรเป็นเหตุผลของทุกข์ แล้วจงสั่งสอนตัวเองและลูกให้รู้ว่าทุกข์นั้นทรมานใจเราแค่ไหน

• เราอยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ คนนั้น คนนี้ เป็นอย่างใจเรา ถ้ามาพิจารณาดูว่าที่คนอื่นเขาอยากจะให้เราเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ เราก็ทำยาก ฉะนั้น ยากไปมีโมหะ คือความไม่สมอยาก อย่าไปมีโทสะเมื่อมันขุ่นมัว

• จงระลึกว่า เรานั้นเกิดมาเป็นคนทำบุญ ฉะนั้น สิ่งไรเป็นบุญ เราจะทำโดยไม่ต้องกังขาหรือวิจารณ์ไปต่างๆ ทางหลุดพ้นของเธอคือบุญ
• ทำดีก็อย่าไปกลัวว่าเราทำไม่ได้ หรือทำไม่ถึง หรือมีไม่พอ ทำไปเถอะ สะสมมากขึ้นเอง เราเองก็ไม่ใช่ไม่มีพื้นฐานบุญ ตรงกันข้ามมีมากพออย่างที่จะค่อยๆ เดินก็ถึง สำหรับคนบุญดีสังเกตได้ง่าย คือ ไม่มีห่วงติดตัว พวกนี้ง่ายมาก เปรียบเสมือนคนที่ว่าเป็นพรหมในตัว

• คนเรานะ มันจะเจริญต่อไป ต้องมีสัจจะเป็นสำคัญ งานนั้นเราจะทำให้เจริญก้าวหน้าให้ดัง ต้องเป็นคนจริงมากกว่าที่เป็นอยู่ เราต้องมีอุตสาหะคืออดทน ต้องรู้รับผิดชอบในเรื่องที่ตัวมีส่วน ต้องรักษาและระงับอารมณ์ให้เป็น ต้องรู้จักพูดให้ถูกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรพูด ไม่ควรพูด

• เราทำงานนั้นไม่ใช่ทำคนเดียวหรือสองคน จำต้องทำเป็นหมู่ขึ้นไป ฉะนั้น ต้องมีสามัคคีเป็นหลัก จะสามัคคีกันได้ก็ต้องมีความเข้าใจแต่ละคนดี จะเข้าใจแต่ละคนได้ก็ต้องมีความประพฤติที่ดี และจุดใหญ่ของความสามัคคี คือ สัจจะในการพูด
• พูดนั้น ต้องรู้จักพูดแต่ในสิ่งที่ดีและที่รู้จริง ต้องพูดไม่ให้คนแตกกัน ทะเลาะกัน หรือหวังพูดเพื่อให้คนเห็นความดีของเรา แต่ละคราว ต้องพูดในสิ่งที่เป็นมงคล

• กลุ่มใดหมู่ใดที่แตกกันเพราะพูดแต่เรื่องคนอื่น ใส่ร้ายคนอื่น พูดถึงความไม่ดีของคนอื่น ทั้งๆ ที่รู้ว่าร่วมงานกันอยู่ ทั้งนี้จะไม่ทำให้แตกเป็นอคติกันขึ้นรึ เพราะปากมันต่อปาก คนที่รู้จริงต้องเป็นคนที่รู้ว่าอะไรถูกกาลเทศะ ว่าควรพูดสิ่งไหน จำไว้นะ เราต่อไปไม่ได้อยู่คนเดียว ถ้าอยู่คนเดียวก็เหมือนกับคนเสียจริต

• การฟังมาก ย่อมจะได้อะไรที่ดีนะ เรารู้ เราฟังก็อย่าให้เสียที ฟังมาก รู้มาก ก็ต้องทำมาก แต่อย่างแรก ต้องรู้ว่าหน้าที่ตอนนี้เราต้องทำอะไร แล้วก็จงหมั่นเพียรทำไปตามนั้น

25 ตุลาคม 2519

ที่พระธาตุจอมกิตตินั่น เขาถือเป็นหลักชัยของไทย เพราะเขาถือว่าเริ่มสร้างอาณาจักรไทยครั้งสำคัญที่นั่น

8 พฤศจิกายน 2518

• พูดอะไรอย่าให้ไปตรงใจดำเขา บางคนเขาก็ไม่ชอบให้ว่าเอาง่ายๆ จะพูดอะไรให้ดูคน ยอไว้ให้ดี ไม่ใช่พูดไม่จริง คือเราพูดในความดีของเขาที่เราเห็นเพื่อเป็นกำลังใจนิดๆ หน่อยๆ คนส่วนใหญ่ อย่าลืมว่าไม่มีใครชอบให้ใครมาว่าๆ ตัวไม่ดี

(ถามถึงองค์ที่มาทำน้ำมนต์ แล้วให้พรว่า “อาตมาขออนุโมทนาบุญในกุศลของความดีที่พวกเธอได้กระทำ อันมีพระรัตนตรัยเป็นประธาน จงอภิบาลรักษาเธอทั้งปวงได้เข้าถึงซึ่งความสุขความเจริญ ไพบูลย์พูนผล ทุกสิ่งที่ปรารถนา ให้สมประสงค์ทุกประการ” ว่าเป็นท่านผู้ใด)

ว่าองค์ไหนก็เป็นองค์นั้น ความจริงทุกองค์ก็อยู่กับเรา เรายิ่งมีความดีมากขึ้นเท่าใด เทพท่านก็อยากรู้จักเรามากเท่านั้น เมื่อท่านรู้จักแล้ว มีอะไรร้อนท่านก็ช่วย

2 กุมภาพันธ์ 2520

เตือนเฉพาะบุคคล
• ลดการดุลงบ้าง ดุลูกจ้างดุได้ ดุลูก ดูให้น้อยลง เพราะจะสร้างห่วง หวง หลง รัก อยากให้ละหลงห่วง หลงรักลง ไม่งั้นจะสร้างทิฐิคือความถือดี ถือยศ เมื่อมี “ถือ” ก็ถือความงมงาย “ของฉัน” ก็จะเกิด เมื่อเกิดทวีขึ้นแล้วในอารมณ์ก็ยิ่งทุกข์ เชื้อที่เราทิ้งอย่าไปเขี่ยมัน พยายามเอาสมาธิมาเป็นน้ำดับมันทั้งๆ ที่ดับแล้ว เพื่อความแน่ใจและแน่นอนว่า เมื่อมันแห้ง จะไม่เป็นเชื้อให้เราจุดติดอีกต่อไป

• ดุเพราะความผิด ควร ดุเพราะเหตุผล ควร ดุเพราะไม่ฟังเหตุอันควร ควร ดุ ต้องดุแบบครู เช่นที่ตาตำหนินี่ไม่ใช่ทุกครั้ง นิดเดียว (ที่บกพร่อง) ก็จะให้ตาสอนไม่ใช่รึ ตาก็จะจัดให้สิ่งที่นิดๆ หน่อยๆ ที่พลาดมาสะกิด
☻ (ถาม – รักษาศีล ต้องสมาทานทุกครั้งหรือไม่ ?)
☺ การสมาทานศีลนั้น เป็นการประกาศให้เทพโมทนา

16 กุมภาพันธ์ 2520

(กรณีศิษย์คนหนึ่งตายด้วยอุบัติเหตุและไปดี)
☺ สบายไปแล้ว
☻ ขอให้เล่า
☺ เขาทำพิธีรับ พึ่งเสร็จ
• รีบๆ ทำกันไวๆ หมั่นสำรวจทุกข์ที่มีต่อกาย ต่อในที่กระทบ ฉะนั้น เรื่องที่เป็นข้อพิสูจน์

1. ว่ายึดมั่น เชื่อมั่นในพุทธานุภาพ
2. เชื่อ และรู้ในสัจธรรมของมวลมายา
3. รู้ในภาวะตนเองของจิต เมื่อกระทบกับความจริง
4. รู้ทุกอย่างว่าอนัตตา

☻ (ถาม – คนดีๆ ทำไมไม่อยู่เพื่อประเทศชาติ ?)
☺ คนดีๆ เขาก็หนีไปเสวยวิมุตติสุข

21 กุมภาพันธ์ 2520

(พูดกันถึงคนที่ตาย)
☺ นี่แหละธรรม
• ธรรมที่เป็นของธรรมชาติธรรมดา ความจริงที่ทุกคนต้องประสบพบแก่ตน ไม่ช้าก็เร็ว ธรรมะที่ได้จากของความเป็นจริงของโลกนี้อยู่ที่ใจเรา ว่าเข้าได้ถึงความจริงแท้แค่ไหนว่า ทุกข์ย่อมเกิดแก่แต่ละคนเท่ากันหมด

• คนเรา การเกิดย่อมเป็นสิ่งบ่งบอกว่าตำแหน่งที่เกิดนั้นกินบุญ กินกุศลเดิมเท่าไร เมื่อรู้ถึงบุญกุศลแห่งความดีแล้วย่อมจะนำพาให้เราได้เข้าสู่ทางเจริญธรรมด้วยวิชา วิชาเป็นตัวกรองให้ใจได้เข้าถึงอริยมรรค ฉะนั้น ทุกผู้ทุกนามจึงควรปฏิบัติตนให้รู้ก็รู้แท้ รู้ถึงความจริงของภาวการณ์ของคน

2 มีนาคม 2519

☻ (ถาม – เราจะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรของคนอื่น จะมีผลหรือไม่ ?
☺ มี
☻ (ถาม – เคราะห์ของผู้นั้นจะเบาบางลงหรือไม่ ?)
☺ แล้วแต่โอกาส

☻ (ถาม – กรรมหนัก ผ่อนเป็นเบาได้ไหม ?)
☺แล้วแต่ชนิดของกรรม
☻ (ถาม – เราจะให้เรื่อยๆ ไป โดยไม่นึกอะไร ดีหรือไม่ ?)
☺ การให้ เขาจะรับหรือไม่นั้นอยู่ที่เขา แต่การให้ก็มีอานิสงส์เป็นบุญ

☻ (ถาม – การชักชวนผู้ปรารถนาพุทธภูมิให้ลานั้น จะเป็นบาปหรือไม่ ?)
☺ อันที่จริงก็ไม่สมควร พวกพุทธภูมินั้นเขาปรารถนาจะทำให้บุคคลหรือสัตว์ได้ก้าวถึงธรรม หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ฉะนั้น ต้องบำเพ็ญธรรมบารมีมากมายนัก พวกท่านเหล่านี้จะสนใจในวิชาครูมากกว่าที่จะตัด ละทิ้งโลก โดยเฉพาะท่านที่ถึงปรมัตถบารมี มิบังอาจกล่าวถึงการลาพุทธกิจของพุทธศาสนาที่กระทำไป บารมีท่านสะสมมาด้วยความเพียร
☺ พระอรหันต์เจ้า ก็ยังมีเจ้ากรรมนายเวรอยู่ ผิดแต่ว่าเขาจะถึงท่านได้หรือไม่

◄ll กลับสู่สารบัญ


puy - 18/8/10 at 12:30



49
(Update 18-08-53)

หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 2


(กับผู้ที่ลาสิกขาบทใหม่ๆ)
☺ การพ้นภาวะนักพรตนั้น ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนสุก สุก คือบุคคลนั้นได้นำธรรมอันประเสริฐของพระศาสนามาเผากิเลสตัณหาให้ลดน้อยถอยลง จงนำเอาธรรมนี้เป็นจริยาของเรา เพื่อนำอนาคตเราให้เป็นสุข สู่ความเจริญ

☻ (ถาม – ใส่บาตร จะไม่กรวดน้ำ แต่ใช้วิธีจบเสียก่อนใส่ จะได้รับหรือไม่ ?)
☺ ได้ แล้วแต่กระแสแรงของวาสนาผู้รับ บางรายอธิษฐานเฉยๆ ก็ได้รับ บางรายก็ใช้วิธีอธิษฐานไม่ได้ บางรายอุทิศส่วนกุศลก็ได้รับ บางรายก็ต้องคอย ตามแต่กรรม ตามแต่กระแสวาสนา
☻ (ถาม – ทำสมาธิแล้ว แผ่ส่วนกุศลให้พ่อแม่ ท่านจะได้รับหรือไม่ ?)
☺ ได้ คนสูงรับของคนธรรมดาได้ คนต่ำรับของคนสูงลำบาก นอกจากทิ้งถูกจังหวะถึงจะตรง คือมีกระแสถึงกัน เช่น เมื่อมีนิมิตหรือเทพมาเตือน เขามาขอเรียกว่ากระแสตรงกัน

17 สิงหาคม 2520

☺ การพบพระที่มีจริยาวัตรเป็นสุปฏิปันโนนั้น นับว่าเป็นบุญอันประเสริฐสิ่งหนึ่ง และถ้าจะให้มีมงคลสุขต่อไปอย่างจีรังยั่งยืนนั้น ต้องหมั่นฝึกหัด ทำให้ถึงธรรม รู้ธรรม และมีธรรมในตนด้วย ถึงจะเอ่ยคำว่า “สุข” ได้เต็มปาก

• คนเรามีกรรมเป็นที่เกิด เป็นที่มา และเป็นที่ไป ฉะนั้นทุกๆ อย่างที่กรรมหนุนทั้งนั้น ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว เว้นว่าอย่างไหนจะมากน้อยกว่ากัน

• ถึงรู้ว่าอะไรต่างๆ ที่เป็นอยู่นี้ คือความเป็นธรรมดา ธรรมชาติ คนเราในชีวิตนั้นขึ้นสะพานได้หนเดียว แต่จะอยู่บนสะพานนั้นได้นานเท่าใด ก็สุดแต่ความสามารถในทางสร้างบารมีให้แก่ตน แต่ถ้าบารมีไม่พอ ก็ต้องหาบารมี พาพยุงให้ลงจากสะพานนั้นได้อย่างนิ่มนวล

7 มิถุนายน 2520

☻ (ถาม – หมั่นไส้คนใกล้ชิด เห็นเขาทำอะไรผิดเสมอ เช่น แกล้งยั่ว ฯลฯ)
☺ อย่าพะวงซิว่าเขาจะสนใจเราไหม หรือว่าเขาห่วงเราไหม ถ้าพะวงก็แสดงว่ายังรักอยู่ จะอยู่อย่างมีห่วง คือต้องการความสนใจ ที่จริงเป็นเรื่องของใจใครใจมัน ถ้าเราสนใจแสดงว่ามีน้ำใจ ถ้าไม่ในใจ แสดงว่าเขา อาจลืมเรา เราก็อย่างไปติ เพราะเป็นเรื่องของเขา

☺ ช่างเขา เขาดี เขาชั่ว เขารัก เขาเคารพ เขาเกลียด เป็นเรื่องของเขาเพราะเขาทำ ถ้าเราเฉย ใจเราก็สบาย ไม่แพ้กิเลส ถ้าเราคิดเราจะติด แล้วจะได้ “บุญ” สามอย่างคือ
• กิเลสเราเพิ่ม
• ตัณหาเราเพิ่ม
• อุปาทานเราเพิ่ม

☺ แล้วยังมี “บุญ” น้อยๆ อีก 3 คือ
• โลภะ อยาก
• โมหะ หลง
• โทสะ โกรธ
เห็นไหม

• เพราะเราสนใจเขามากจึงเห็นแต่สิ่งที่ผิด สนใจจนเห็นว่าผิดมากกว่าถูก เพราะเรารักเขามากจนอยากให้เขาดีทุกอย่างดังใจ
• เราต้องยอมรับว่าแต่ละคนมีความคิดเป็นของตน เป็นอิสระ เราต้องยอมรับความคิดซึ่งกันและกัน ฉะนั้น เราจะเป็นคนใจกว้างสำหรับเขา เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร เพราะรัก หลงตัว หวงและห่วงจึงตามมา จำไว้ว่าคนเราถ้าไม่สนใจกันหรือติดใจกัน เราจะมองไม่เห็นความบกพร่องของเขา

☻ (ถาม – ขอให้แก้ความมีปัญหามากของแพทย์ผู้หนึ่ง)
☺ คนเป็นหมอนี่นะ ส่วนมากมักจะมากด้วยปัญญา แต่ถ้าปัญญามากไปก็มักหลงตนว่าฉันต้องรู้ ต้องเก่ง บางทีก็ยึดมั่นตนเองมากเกินไปจนทำให้เกิดทิฐิแรง เมื่อมีทิฐิแรกก็มักจะค้านเสียก่อนเสมอ

• ทิฐิกับนิสัย ต่างกัน
• ทิฐิ ถือว่าเป็นความอดทนหรือดึงดันที่จะเอาชนะ หรือยึดมั่นไว้ในสิ่งที่ตนยึด
• นิสัย เป็นสภาพแวดล้อมที่ร่วมกัน เป็นความธรรมดาในกิจวัตรและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพ

☻ (ถาม – มีความขัดข้องทางการงานและมีคนมุ่งร้าย)
☺ คนเราเกิดมาด้วยกรรม อยู่ด้วยกรรม และไปด้วยกรรม กรรมเป็นตัวก่อทั้งดีและชั่ว กรรมคือการกระทำ การกระทำของเราเองซึ่งมีผลเป็นกฎหมายตามธรรมชาติ และนั้นจะมาถึงเร็วหรือช้าก็แล้วแต่กฎหมาย

• เมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นแก่ตนในทางที่ไม่ควร ก็ให้เอามาพิจารณาและปลงว่าเรานั้นมาแต่กรรม ซึ่งกรรีมนี้เป็นของอนัตตา ปลงซิว่ามันก็เท่านั้น เขาคิด เขาทำก็เรื่องของเขา คนอื่นๆ เขาย่อมรู้ เขาย่อมเห็นเอง เมื่อมีคนเอาไปว่าๆ เราไม่ดี คนฟังก็ต้องรู้ ต้องคิดถ้าไม่เป็นเรื่องจริง คนพูดก็พังเอง โดยเราใช้คาถา “เฉย”

☻ (ถาม – อึดอัด เบื่อร่างกาย)
☺ ในเมื่อเรายังคงอยู่ ยังเป็นอยู่ จะสร้างอารมณ์นั้นมาทำไม หาทางขจัดซิ จำไว้เมื่อเรายังมีพันธะอยู่กับโลก ก็จงทำกิจนั้นให้สิ้น อย่าเป็นอารมณ์กับมัน จะกลายเป็นห่วงเป็นกังวล เป็นธุระ แล้วโทสะ โมหะ จะตามมา เพราะความพอใจ-ไม่พอใจเกิด เข้าใจชัดหรือยัง “เฉย” นะ

• เอาให้อยู่แค่รู้ อย่าพยายามสร้างอารมณ์ ในเมื่อเราต้องผจญอยู่เช่นนี้ ก็จงรับตามความจริง อย่าหนีไปอย่างวิธีของผู้แพ้ พระพุทธศาสนาท่านสอนว่าเราจะพ้นวัฏฏะได้ก็ต้องหมุนให้เร็วกว่าวัฏฏะ คืออยู่ในวัฏฏะ แต่รู้ทันวัฏฏะ นั่นคือ แรง
• ให้รู้จักตัวมารไว้ ธรรมะ คือตัวปราบมาร ขันติ คืออาวุธปราบมาร

☻ (ถาม – “ช่างมัน” แล้วกิเลสจะหมดได้อย่าไร ?)
☺ อย่าไปติดมัน ตัวสนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากอย่างที่ตาว่าไว้ อยากพิสูจน์ พวกนักวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเช่นนี้

• อารมณ์น่ะเก็บไว้ทำไม ตัวประกอบอารมณ์คืออะไรรู้ไหม ชอบ-ไม่ชอบ พอใจ-ไม่พอใจ นั่นแหละตัวประกอบอารมณ์ เมื่อก่อขึ้นมาแล้ว โกรธ ก็ตามมา หลง ตามมา ต้องการ ตามมา แล้วก็ กิเลส ตัณหา (วิภว, ภว) ตามมา หลงเข้าป่าเลย อารมณ์ตัวเล็กชวนให้เกิดตัวน้อยทั้งสาม ตัวน้อยชวนตัวใหญ่อีกสาม

• เวลาดับ ต้องตัดตัวใหญ่ไปหาตัวเล็ก หรือหยาบไปหาละเอียด ให้อยู่แค่รู้แหละดี ทำอย่างไรจะให้อยู่แค่รู้ได้ล่ะ รู้ไหม ?
1. ศีล-สมาธิ-ปัญญา
2. พรหมวิหาร
3. โลกธรรม
• สามตัวนี้จะตัด “เรา” โดยเฉพาะพรหมวิหารมีอะไรมีเทศน์อยู่แล้ว ให้ไปดูเอาเอง

15 มิถุนายน 2520

คนที่ 1
☺ เราเจอทุกข์ที่หนักที่สุดแห่งใจเราแล้ว ควรใช้ทุกข์สิ่งนั้นเป็นสิ่งประหารกิเลสเราได้อย่างเหมาะ เรารู้ทุกข์ เข้าใจทุกข์ ลึกซึ้งในทุกข์นั้นแต่เรายังมีอาลัยอยู่ เมื่อไรเราตัดอาลัยลงได้ให้น้อยถอยไป ก็จะได้พบความสุข

☻ (ถาม – โอกาสนี้เมื่อใด ?)
☺ มีโอกาสแน่ แต่ระยะเวลาเป็นของเราที่จะไขว่คว้าหาโอกาสนั้นเอง
☻ (ถาม – ขอให้หลวงตาคุ้มครอง)
☺ คุ้มครองมาตั้งแต่วันที่เราก้าวมาหาพระแล้ว เรื่องของโลกให้เป็นเรื่องของโลก เราใช้สติ ความคิด ความระลึกอยู่เป็นอุทาหรณ์ ใช้สัมปชัญญะเป็นสิ่งควบคุมใจ แล้วเราจะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ด้วยความสุขกายสุขใจ เข้าใจดีหรือ ?

คนที่ 2
☺ ทำบุญ ต้องขึ้นกับความสะดวกกาย สะดวกใจ สะดวกปัจจัย ทำบุญต้องทำให้ใจสบายเป็นหลัก คือมีศรัทธา เนื้อนาบุญถึงจะเกิด
☻ (ถาม – อุทิศส่วนกุศลอย่างไร จะให้ใครได้บ้าง ?)
• 1. บุพการี
• 2. ผู้มีพระคุณ
• 3. เทพเทวา
• 4. เจ้ากรรมนายเวร
• 5. สรรพสัตว์ร่วมวัฏฏะ
• ทีหลังใครทำบุญ จุดประสงค์มีอยู่เท่านี้นะ นอกจากเขาจะขอพิเศษ

25 มิถุนายน 2520

คนที่ 1
☺ ชีวิตของคนเรานั้น ถ้าจะพิจารณาตามเหตุประจำวันแล้วเป็นกรรมฐานทุกกอง เพราะกรรมฐานทุกกองก็มาจากคนเรานี่เอง

คนที่ 2
☺ ตาบอกอย่างนี้ทุกคนว่า คนนั้นเป็นลูก เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นหลาน แล้วทุกคนได้อะไรจากการบอก ? เพราะที่ตาบอกมามีเหตุผลควรจะบอก คือดูบุพกรรมตนเองว่า
• 1. ทำไมถึงเกิดมาต่างกัน ทำไมถึงมีวัยวุฒิต่างกัน
• 2. ดูซิว่า เราลงมาทุกครั้งมีสาระอะไร
• 3. ครอบครัวที่ใหญ่ ลูกหลานมากมายมีทั้งดีและไม่ดี จริต นิสัย สันดาน ต่างกันเพราะอะไร ติดอยู่ที่อะไร

☺ ตาอยากจะให้เป็นกำลังใจเพื่อความอบอุ่นเป็นที่พึ่งและเป็นตัวอย่าง เป็นจุดหมายให้ทุกคนได้หวังมารวมกันคือ อุบายให้ทุกคนเป็นบุตรขององค์พระตถาคตโดยแท้จริงนั่นเอง
• ตาถึงแล้ว พี่ตาก็ถึงแล้ว 4 องค์ ลูกตาก็ถึงแล้ว 7 คน หลานนี่ซิมาก 23 คน แม่ของลูกหลานก็ไปตั้งมากแล้ว อย่างต่ำที่สุดก็พรหม เร่งๆ นะ ยังมีพวกรองสุดท้าย และสุดท้ายใครจะเป็นพวกไหนอยู่ที่วิริยะ อุตสาหะ

• เออ! ท่านพรทิพย์ฝากเทียน บนนั้นให้ท่านย่าด้วย จุด พิจารณาก่อนจุดเป็นอย่างไร ไฟที่จุดเป็นอย่างไร คืออะไร เมื่อจุดแล้วไม่มีควันเป็นอะไร คืออะไร น้ำตาเทียนคืออะไร สรุปลงท้ายด้วยไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วปลงด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีใจเป็นอะไร สงสัยถามคราวหน้า คราวนี้ให้ลองทำ ตาไปละนะ

6 กรกฎาคม 2520

☻ (ถาม – ระยะนี้รู้สึกว่ามีเคราะห์ ขอธรรมะเป็นยา)
☺ ธรรมะตาน้อยกว่าธรรมะที่ตนได้ด้วยตนเอง ที่ทำน่ะ หมั่นทำไปเถอะ ได้บ้าง ช้าบ้าง เร็วบ้าง วันหนึ่งที่ก้าวไปเอง ที่ทำนี่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ตรง แต่บางทีก็คิดได้ ทำได้ เมื่อสติกลับคืน

☻ (ถาม – คนชื่อ.........ตายไปแล้ว เขาต้องการอะไร ?)
☺ ทำบุญ ก็อุทิศให้
• อธิษฐานกันประมาทว่า “หากข้าพเจ้าจะถึงแก่กาลดับขันธ์ คือ ขันธ์ 5 ธาตุ 4 เพียงใด ขออนุภาพบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำมา อันมีพระรัตนตรัยเป็นที่สักการบูชาของข้าพเจ้า จงประทานพรให้ข้าพเจ้าได้จัดการแก่เรื่องทางโลกให้เป็นที่เรียบร้อย อย่าได้ก่อเวรกรรมแก่บุคคลอื่นด้วยเทอญ” พ่วงท้ายด้วย “นิพพานะปัจจโยโหตุ” อธิษฐานก่อนนอนดี คลุมถึงวันข้างหน้า

• ตอนนี้ตาอยากให้ทุกคนเพ่งเรื่องจาคะให้มากๆ เพราะจาคะจะช่วยตัดอารมณ์ละเอียด จาคะหนักกว่าทาน ให้เหมือนกับทาน แต่อย่าติด ให้แล้วก็แล้วกัน เขาจะเอาไปดีไปชั่วช่างเขา เรื่องของเขา เมื่อมีห่วงของ หวงของ ก็ต้องมี “ของฉัน”

☻ (ถาม – ถ้าจิตละเอียด จาคะกับมรณะ อันไหนละเอียดกว่ากัน ?)
☺ จาคะ จะตัดกายได้ก็ต้องตัดของนอกกายได้ก่อน ฉะนั้น “ของฉัน” ต้องตัดการ “ฉัน” เพราะ “ของฉัน” นี่แหละถึงทำให้คน โกรธ หลง โลภ จะให้ใครใช้ ใครยืม หรือให้เลยก็คิดหวง เสียดาย กลัว ทำให้โลภ

☻ (ถาม – ทำไมจึงโลภ ?)
☺ เพราะกลัวเสีย กลัวพัง เลยโลภไว้เฉพาะตน
☻ (ถาม – มรณาฯ เป็นสมณะ จาคะฯ เป็นวิปัสสนาใช่ไหม ?)
☺ ใช่ ฉะนั้น พวกเธอรู้หรือยังว่าที่ท่านบอกให้เธอทำทานนั้น เพื่ออะไร
☻ (ตอบ – เพื่อให้ตัดโลภะ)

☺ เพื่อให้ถึงจาคะ ตัวอย่างที่เคยยกให้เห็นง่ายๆ คือการที่เราพบขอทานแล้วสงสาร เราให้สตางค์เขาบาทหนึ่ง แต่เรามีความปีติภูมิใจว่าเรายังช่วยให้เขาประทังชีวิตไปอีกวาระหนึ่ง กับอีกคนหนึ่งเลี้ยงพระตั้ง 9 องค์ ถวายปัจจัยองค์ละ 100 บาท แล้วเมื่อเสร็จงาน มานั่งนึกว่า โอ! เราทำบุญตั้ง 900 บาท เสียดายจัง (ทำ) เพื่อ (เอา) หน้าไง

• ปรากฏว่าคนทำบุญบาทหนึ่งกับขอทาน ได้บุญมากกว่าคนทำบุญ 900 บาทกับพระ เพราะอะไร เพราะบุญเกิดเมื่อเจตนาเต็มที่ คือบารมี หรือบารมีแปลว่ากำลังใจที่เต็ม ฟังกันแล้วเอาเรื่องที่เทศน์มาจับชนกันซิ เรื่องต่อกันทั้งนั้น
☻ (ถาม – ใส่บาตรกับพระกับเณร ผลได้จะเสมอกันไหม ?)
☺ ใจเป็นใหญ่ ดี-ชั่ว อยู่ที่ผู้รับว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในสมณะแค่ไหน

☻ (ถาม – ทำกับพระดี ได้บุญมากกว่าหรือ ?)
☺ อยู่ที่ใจ ม่ายงั้นคนกรุงคงตกนรกหรืออดได้บุญกันซิ เพราะพระปลอมมีมาก ตัวอย่างเมื่อครู่นี้รู้อะไรอีก ? คนที่ให้ 1 บาทนั้นเป็นจาคะสละ สละคืออะไร คือตัดเสร็จเด็ดขาด วนไปหาเรื่องที่ท่านเคยเทศน์ก็ต่อกัน

☻ (ถาม – ถ้าตามไปดูของที่ให้ล่ะ ?)
☺ ยังเป็นกิเลส “ของฉันดีนะ”
☻ (ถาม – ได้ทั้งบุญทั้งบาป ?)
☺ ไม่ใช่บาป แต่เป็นทิฐิ

3 สิงหาคม 2520

☻ (ถาม – ทำอย่างไรจะอธิบายให้ผู้ไม่เข้าใจเรื่องนรก สวรรค์ เข้าใจได้ ?)
☺ เข้าใจวิทยาศาสตร์ไหม ?
☻ (ตอบ – เข้าใจ)
☺ วิทยาศาสตร์คือแขนงหนึ่งของพุทธศาสตร์

• วิทยาศาสตร์เป็นการพิสูจน์รูปธรรม
• พุทธศาสตร์นั้นพิสูจน์เรียนรู้ทั้งรูปธรรม และนามธรรมด้วย
• แต่วิทยาศาสตร์พิสูจน์และสอนเรื่องของนามธรรมได้ไหม ? ฉะนั้น วิทยาศาสตร์ไปไม่ถึง เป็นเพียงแขนงของพุทธศาสน์ พุทธศาสน์นั้นสอน หรือปลงลึกลงไปถึงเรื่องกรรม

กรรมคืออะไรรู้ไหม ? กรรมคือการกระทำ การกระทำที่เราทำขึ้นมาเอง อันนี้เป็นธรรม
ธรรมคืออะไร ธรรมคือธรรมดา ธรรมชาติที่เป็นอยู่
อะไรคือธรรมะ อะไรคือธรรมดา ธรรมชาติ “เกิด” เป็นธรรมชาติธรรมดา และเป็นธรรม แก่-เจ็บ-ตาย ก็เช่นเดียวกัน
ที่เป็นอยู่เช่นนี้เรียกว่ากรรม ทำไมถึงเรียกว่ากรรมรู้ไหม ? เพราะเราเป็นผู้กระทำ ใช่ไหม ?

เมื่อมีกรรมมาเป็นผลให้เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็จะมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาคือ ความสุข ความทุกข์ อันเป็นผลต่อเนื่องจากกรรมที่ทำ มีทั้งกุศลกรรมคือการกระทำความดี หรือกรรมดี อกุศลกรรมคือการกระทำชั่ว หรือกรรมชั่ว
สองอันนี้เป็นบ่อเกิดให้คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเกิดมาทำไมรูปร่างสวยงาม ฐานะดี พ่อแม่ดี ร่ำรวย แต่มีอุปสรรค วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ไหม ?

☺ แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนเราเกิดมาต้องมีกรรมที่เป็นอยู่ มีกรรมเป็นที่ไป เข้าใจตรงนี้ไหม ? ก็กรรมนี่แหละที่ทำให้เกิดชาติ ภพ ภูมิ ต่างๆ ตามวาระกรรมของผู้นั้น พวกนั้นจะได้เห็นว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านเป็นความจริงตามธรรมชาติ

คือมีกฎเกณฑ์การลงโทษในตัวเองเสร็จ ใครล่ะจะบัญญัติลงโทษ ? ข้อกฎธรรมชาติวัฏฏะของธรรมชาติมาลงโทษเราเอง
• ดูดั่งพุทธสุภาษิตว่า “กรรมใคร ใครก่อใครรับ” เป็นของแท้แน่นอน โดยเราจะไปจ้างวานหรือติดสินบนใครให้เขางดเว้นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ให้กรรมยกเว้นไม่ได้

• จะมาสรุปให้ฟังว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นทุกข์หรือไม่ ทุกข์นั้นซึ้งแค่ไหนจะกิน จะนอน จะถ่าย ปวดท้อง ห้ามมันว่าอย่าเพิ่งปวดเลย ไปปวดที่บ้านได้ไหม ? เพราะอะไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นอนัตตา ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังเป็นคนอยู่ แล้วทำอย่างไรล่ะ ถึงจะหมด ตอบได้ไหม ?

• วัฏฏะของทุกข์ที่เราผจญอยู่คือ “เกิด” เราเกิดมาก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่ตลอดอายุเรา มีเกิดก็มีแก่ มีแก่ก็มีเจ็บ มีเจ็บก็มีตาย มีตายก็มีมาเกิดใหม่แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย หมุนเป็นวงกลม ทำอย่างไรถึงจะหลุดออกจากวงกลมที่แสนจะทรมานหัวใจเราได้ล่ะ
• อยากหลุดรึ หรือว่าอยากจะวนอยู่ในนี้ก็ตามใจ ถ้าเหมือนกันก็ค่อยๆ ไป

☻ (ถาม – มีอุปสรรค....)
☺ รู้แล้ว คือพูดง่ายๆ ว่าเป็นคนพลาด
• ยุติแปลว่าหยุด ยุติธรรม ธรรมแปลว่าธรรมดา ธรรมชาติ ยุติธรรมแปลว่าความจริงที่เท่ากัน แต่คนจะมองไม่เห็น เพราะไม่มีใครที่เห็นว่าตนเองผิด เห็นแต่คนอื่นผิด ตนเองดีหรือมีดีมากกว่าผิด

คนที่ 1 (จะปฏิบัติธรรมอย่างไร)
☺ ตามสะดวก ตามสบาย ถ้าเราเห็นว่าสิ่งไหนสบาย สะดวกแก่การยึดของเราก็จงทำอย่างนั้น ทุกข์-สุข อยู่ที่ใจ ไป (นิพพาน) ก็ที่ใจ ใจในธรรมะหรือศัพท์ทางพระเรียกว่า อาทิสมานกายหรือกายใน หรือเรียกสั้นๆ ว่าจิต
• ทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ คือมีสติ สัมปชัญญะ อยู่ให้นานที่สุด

คนที่ 2 (เรื่องงานที่ยุ่ง)
☺หวั่นไหวรึ ? ปล่อยไป ยึดไว้ก็เป็นเรื่องจุกจิกกวนใจเรา ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติที่ดี เรื่องของโลกก็ปล่อยไปตามวิถีของกรรมและเวร (แปลว่าวาระเวียนมา) กรรมคือการกระทำ เวรกรรม คือการกระทำที่เวียนมาบรรจบ
• อย่ามัวแต่ใจอ่อน กลัวภาระของโลก การกลัวเป็นการยึดถือ การรู้ภาวะของโลกคือประสบการณ์

คนที่ 3 (ควรเพ่งกสิณอะไร)
☺ เพ่งพระ เพ่งให้อารมณ์นิ่ง แล้วจะดิ่ง สงบ พยายามดูว่าเป็นอย่างไรจากภายนอก แล้วอสุภไว้ทีหลังเมื่อเบื่อ เมื่อเบื่อในบางอารมณ์คือเบื่อผิดหวัง เบื่อความยุ่งยากวุ่นวาย แล้วอารมณ์สมาธิจะจับ พอใจในอสุภ คือใจจะเห็นด้วยว่ากายคือซาก ไม่เลวนะ

คนที่ 4
☺ การปฏิบัติ ในการที่เราจะรู้ในตัวตนว่าเราจะไปได้หรือยัง ขัดข้องด้วยสิ่งใดนั้น
1. ดูอารมณ์ว่ายินดีในโลกธรรมหรือหวั่นไหวไหม
2. พรหมวิหาร เรามีพร้อมหรือยัง
3. กิเลส ตัณหา อุปาทาน กินใจเราแค่ไหน กิเลส โลภะ โทสะ ภวตัณหา วิภวตัณหา อุปาทาน ความมัวเมา หลง หลอก แสร้ง มีอยู่ในเราแค่ไหน นั่นแหละเราจะรู้ตนว่าเราเป็นอยู่ในภาวะใด

• พระที่ท่านเข้าถึง ท่านต้องไปถามคนนั้นคนนี้ไหมว่าฉันเท่าไหน ท่านรู้ตนของท่านและก็มียินดี ท่านมุ่งแต่อย่างเดียว “กูจะไปให้ไกลจากโลกทั้งปวง”
☻ (ถาม – การเพ่งภาพพระ ต้องใช้สุกขวิปัสสโกหรือ ?)

☺เอาไหมล่ะ เป็นตานะ ทางไหนก็ได้ที่มันพ้นๆ ไป ขอให้ถึงพระพุทธองค์ก็แล้วกัน อย่าเลือกเลย จะเป็นโลภ ทางของแต่ละคนมี ไม่ใช่ว่าเราเพิ่งทำเมื่อไร ทำมานานแล้ว แต่ก็เลือกอยู่อย่างนี้แหละถึงยังคอยกันอยู่ เดี๋ยวจะเอาพุทธภูมิบ้าง สาวก (ภูมิ) บ้าง สุกขวิปัสสโกบ้าง วิชชา 3 บ้าง หลายใจ เลยด็อกแด็กอยู่แถวนี้ ปลงให้เสร็จ เด็ดให้ขาดเสียที วิธีไหนก็ได้ (ขอ) ให้พระว่า มุ่ง (เสีย) ทางเดียว อย่าแยกซ้าย-ขวา จบแน่

☻ (ถาม – อันไหนไปเร็ว)
☺ อันไหนก็ได้ ปลงแหละ “ปลง” แปลว่าตัด สละคือจาคะ จะเอาอะไร จะเอาแขนอย่างเดียวรึ ไม่ทั้งตัวรึ ไม่ต้องถึงแจงหรอก สละอารมณ์เสียก่อนอย่างที่สอนมานั่นแหละ

คนที่ 5
☺ อย่าไปคิดถึงว่าจะเสียเวลา จงตั้งใจ “เริ่มเดิน” ถ้าเราคิดว่าเราจะเดิน มันก็ “จะ” อยู่นั่นแหละ ไม่ได้เริ่มสักที
การเริ่ม ไม่มีคำว่า สาย ไม่มีคำว่า ช้า

คนที่ 6
☺บุญกรรมเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนเรา บางคนที่เขาไม่ดีแต่ก็ยังร่ำรวยอยู่ เพราะเขากินบุญเก่าอยู่ เหมือนกับลูกที่พ่อแม่สร้างมรดกไว้ให้มากมาย แล้วตนไม่หางานทำ ไม่มีเงินเดือนเพิ่ม วันหนึ่งมรดกก็หมดเป็นยาจกได้ เพราะฉะนั้น จงหมั่นทำบุญไว้นะ เห็นกันชาตินี้แหละ

10 สิงหาคม 2520
☺บางอย่าง คนเรามีวิธีปฏิบัติให้ถึงธรรมหลายทางตามจริตของตน เปรียบเสมือนกับบนกระดานนี้เธอเห็นอะไร เขาเห็นอะไร กระดานก็เป็นกระดานอันเดียวกัน แต่การเห็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การปฏิบัติของแต่ละคนขึ้นอยู่กับวาระธรรม 1 วาระใจ 1 โอกาส 1 ฉะนั้น การแก้ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

☺ บางคนต้องหาคำว่า “เข็ด” ให้กับตนโดยวิธีต่างออกไป ความทุกข์ของเธอลึกซึ้งตรงไหน บางคนอาจจะลึกซึ้งตรงอึกับการกิน บางคนอาจจะลึกซึ้งกับการเจ็บไข้ บางคนอาจจะลึกซึ้งกับกรรมที่ทรมานใจ บางคนอาจจะลึกซึ้งกับคำพูดด่าทอเสียดสีชาวบ้าน (พอดีโรคประสาทกินเสียหน่อย)
• ดูอย่างประวัติของพระพุทธเจ้ากับพระสาวก ดูพระพุทธองค์ท่านทรงหาวิธีที่ท่านจะทรงบรรลุพระโพธิญาณนั้นต่างๆ กัน
• ถามง่ายๆ ว่า “เบื่อไหม” ? เบื่อ คืออารมณ์ที่นำไปสู่ความเข็ด

คนที่ 1 (ถาม – กำลังถูกฝึกให้อดทนเพื่อเป็นหมอหรือ ?)
☺ เพื่ออะไร รู้ไหม ?
1. โรคนั้นมีจริง
2. อายุเราน้อย ถ้าไปเร็วก็จะไม่ถึงไหน ตามบุญที่อธิษฐาน
3. เป็นการฝึกเพื่อทำกุศล ลดทุกข์เวทนาและต่ออายุคน เพราะกุศลถึงได้มีเวลาต่อให้เรียนจบ

☻ (ถาม – องค์ที่คุมเป็นใคร ?)
☺เป็นพระ ถามต่อก็ไม่บอก เพราะบอกแล้วก็จะถามต่อไปว่าเคยเป็นอะไรกันมา ฉะนั้น ท่านจะตัดเพื่อให้มุ่งสู่โลกุตระ ตัดญาติ ตัดอดีตของโลกีย์ออกไป

คนที่ 2 (กำลังจะต้องย้าย)
☺ ดี ทุกข์ดี
☻ (ตอบ – กลัวจะแย่)
☺ ให้มันแย่ไปซิ รู้แล้วรู้รอด ดูซิว่าจะเอาถึงไหน ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขอยู่ที่ใจ ถ้าเรายังกังวลอยู่เช่นนี้ ทุกข์เกิด โรคเกิด เราจะดับ จะตัด จะทิ้งได้อย่างไร

คนที่ 3 (อยากปฏิบัติธรรมจริงๆ แต่ติดงานทางโลก)
☺ทำให้ดีที่สุดก็แล้วกัน แต่อย่าไปติด ทำเพราะเป็นหน้าที่ แต่ก็ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ทำไมพระอริยะ เมื่อท่านปรารถนาโลกุตตรธรรม ท่านถึงยังต้องทำกิจของโลกอยู่ ทำไมท่านไม่นอนอยู่เฉยๆ ? ก็เพราะหน้าที่ที่ท่านเกิดมาใช้ร่างกาย ใช้ขันธ์ ใช้ภาวะของความเป็นคนอยู่

• อย่าติด เพราะว่าการติดจะก่อให้ใจเราพะวง ติดต่อให้เกิดผลเป็นอวิชชาของอกุศล อย่าไปตึงไป (ในการปฏิบัติธรรม) เอาสบายเข้าว่า ไม่ตึงไปไม่หย่อนไป ทุกอย่างทั้งโลกกับโลกุตระอยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่ภาระ ของๆ โลก ถ้าเราใช้ธรรม-ธรรมดาก็เป็นโลกธาตุ โลกวิสัย ถ้าเราใช้อย่างต่ำก็เป็นโลกียวิสัย ถ้าเราใช้อย่างพอดี หรืออย่างสูงก็จะกลายเป็นโลกุตระของขันธ์ คือธรรม

• แล้วทำไมจะให้ “ธรรม” ไม่อยู่กับคำสอนอย่างเดียว ? คำสอนเป็นแนวทาง หน้าที่เป็นอะไร หน้าที่ก็เป็นธรรมะ ความจริง คือธรรมชาติ คือธรรมะ การที่เราไปพูดจาอะไรกับใครนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมะอย่างหนึ่ง

☺ การที่เราจะพูดคุยกับใครนั้น
• 1. เราจะรู้ถึงภาวะความคิด ความชอบ ความโกรธ และสิ่งต่างๆ ขึ้นมา และจะทดสอบใจของเราได้อย่างดี คือเอามาพิจารณาว่า เราทำ เราพูด เราคิด เราวางอารมณ์นั้น เป็นอย่างไร
• 2. เอาสิ่งเหล่านี้มาตีแผ่ออกให้เห็นความจริง เห็นโลกนี่แหละดีกว่าไปนั่งหลับตาแล้วไม่มีผลอะไร

คนที่ 4 (ถาม – ไม่ควรนึกถึงอดีตหรือ ?)
☺ไม่ให้นึกถึงอดีต เพราะถ้าเป็นอดีตที่เศร้า ก็มีแต่ฉุดใจเราให้ตก แต่ครั้งนี้ให้นึกเพราะอดีตจะเป็นครูตรวจใจแต่อย่าไปติดอดีต เหมือนเราทวนข้อสอบเก่าๆ ว่าทำไมข้อนั้นเขาให้เราผิด แล้วจะทำให้ใจเราปลง เบื่อ เบื่อบ่อยๆ ก็กลายเป็นเข็ด เข็ดบ่อยๆ ก็เป็นอุเบกขา ที่เป็นอยู่ (อย่างนี้) ก็เพราะนานๆ เบื่อ

คนที่ 5
☺ ธรรมะ ได้ที่ไหน
☻ (ตอบ – ได้ที่ใจ)
☺ งั้นก็ทำที่ใจ อย่าไปสนใจว่าจะถึงหรือไม่ถึง จะได้หรือไม่ได้ เมื่อใจเรานิ่งสบายก็พิจารณาให้เห็นตัวของเรา อย่าไปมุ่งโน่นมุ่งนี่ เบื่อนั้น เบื่อนี่
เบื่อเป็นอย่างไรรู้แล้วหรือ เบื่อเกิดที่ไหน เกิดอย่างไร ที่ว่าเบื่อๆ กันนั้นเป็นเบื่อเกิดจากอารมณ์ อารมณ์น่ะมันแน่นอนหรือ จะให้แน่นอนทำอย่างไร ถามเองตอบเองถึงจะรู้เอง ปัญญามีเพราะฟังมากถึงได้รู้มาก แต่การไม่ได้พิจารณาอยู่แค่รู้ เข้าขั้นรู้ แต่ทำไม่ได้

คนที่ 6
☺ อายุเป็นกรรมนะ อย่าคิดอะไรมาก แต่ละคนทุกข์ไม่เหมือนกัน แต่เหตุมาจากอย่างเดียวกัน คือ “ห่วง” คนหนึ่งห่วงลูก คนหนึ่งห่วงสามี ห่วงตัวเอง บางคนหลายห่วงจนหาไม่เจอ

24 สิงหาคม 2520

คนที่ 1 (ปรารภ – จะถูกย้าย)
☺หนักก็ปลง เข้าใจไหม ตอบสั้นๆ ว่าอย่าไปติดใจ เอาให้เราอยู่อย่างอิ่มเอิบใจพอแล้ว ตาถึงได้บอกว่าชาตินี้น่ะไปได้ แต่อย่าก่อใหม่ ฉะนั้น ล้าง ล้างกิเลสนิดๆ หน่อยๆ ออกไปทีละวันด้วยการปลงและพิจารณา อย่างเช่นลูก เห็นไหม เพิ่มอีก 5 ขันธ์ ยังลำบากถึงเพียงนี้

คนที่ 2 (สนทนากันกับผู้เป็นหมอที่มีเทพคุม)
☺ รู้หรือยังว่าใครคุม
☻ (คุณ.........บอกว่าท่านอนุรุทธ์)
☺ อีกองค์ล่ะใคร
☻ (ตอบ – ยังไม่ทราบ)
☺ท่านเกศ

☻ (ถาม – หลวงพ่อบอกว่าองค์ที่คุมเป็นพระอรหันต์)
☺ ให้นึกถึงท่านชีวกฯ ก่อน และให้ยึดหมอใหญ่)
☻ (ถาม – ตอนสวดมนต์องค์ไหนมาสัมผัส ?)
☺ ท่านหมอใหญ่ ไม่มีอะไร ส่วนมากมักมาลงกระหม่อมให้ ถ้าจิตตอนนั้นเป็นขณิกสมาธิก็สัมผัสได้

☺ แม่ศรีใหญ่คือใครรู้ไหม ?
☻ (ตอบ – ท่านศรีอุมาเทวี องค์เดียวกับมเหสีท่านอินทราช)
☺ ใช่ พราหมณ์เรียกว่า ศิวะราช
☻ (ถาม – พระนางสุรัสวดี มเหสีใคร ?)
☺ ท่านท้าวผกาพรหม

☻ (ถาม – เป็นองค์เดียวกับท่านอปรพรหม ?)
☺ ใช่ องค์ใหญ่คือท่านสหัมบดีพรหม คือท่านสิงห์
☻ (ถาม – ท่านนารายณ์ คือใคร ?)
☺ ลูกหลานท่านอินทร์ มเหสักเขา ชื่อเดิมว่า “มเหสักสุขาชาวดี”

☻ (ถาม – แล้วท่านวิศณุกรรม ?)
☺ วิศณุ คือ เวสสุวัณ ที่ถือว่าเนรมิตอะไรๆ
☻ (ถาม – พระนารายณ์มี 4 กรหรือ ?)
☺ แล้วแต่จะเห็น
☻ (ถาม – พรหม มี 4 หน้าหรือ ?)
☺ (เครื่องหมาย) ดูแลทุกข์สุขทั่วถึง พระอนุรุทธ์นั้นคุมเรื่องวาระกรรมคือฤกษ์ชะตาราศี ส่วนท่านเกศท่านมาคุ้มครองการปฏิบัติ เพราะท่านทำอย่างฉันมา จับผี เคยเป็นอินทกะ

หมายเหตุของผู้บันทึก :-
• ที่ว่า “แล้วแต่จะเห็น” นั้นคือ ขึ้นกับความบริสุทธิ์ของจิต บางท่านมีอุปาทานว่าพระนารายณ์มี 4 กร แต่หลวงพ่อเคยอธิบายว่า ความจริงก็เหมือนธรรมดาหน้าเดียว 2 มือ ทั้งพระนารายณ์ทั้งพรหม

• พระนารายณ์ พระศิวะ ฯลฯ ของพราหมณ์นั้นไม่มีประวัติในพุทธศาสนา แต่เทวดาเหล่านี้รับการสักการะในฐานะเทวดาชื่อนั้นๆ เช่น ท่านมเหสักขาก็รับเวลาเขาบูชาพระนารายณ์
• อินทกะ หมายถึง ผู้ที่ตำแหน่งรองของท้าวมหาราชทั้งสี่ มีจำนวนเป็นพันองค์

◄ll กลับสู่สารบัญ

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


puy - 25/8/10 at 10:24



50
(Update 25-08-53)

หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 3


14 กันยายน 2520

คนที่ 1 (คนเจ็บ ปรารภว่าใจหดหู่)
☺ เสียดาย เสียดายตน เหมือนว้าเหว่ว่าจะต้องจากพระ จากงาน จากอะไรต่ออะไร เหงาในตัว คือใจจริงๆ ดีแล้ว รากเริ่มโผล่ พยายามขุดใจตนเองขึ้นมาพิจารณา ยิ่งนานเรายิ่งรู้จักตัวเองมากขึ้น

คนที่ 2 (คนไปอยู่วัด)
☺ อยู่วัดได้อะไร ?
☻ (ตอบ – ได้บุญ)
☺ ได้ใจพระไหม กายพระได้ไหม วาจาพระได้ไหม เสียทีที่อยู่ใกล้อาจารย์ใหญ่ ออกไปนิพพานไหม ?
☻ (ตอบ – อยาก)

• นิพพานอยู่ที่ธรรม ฉะนั้น ทำกายให้เป็นธรรมและมีธรรม ทำวาจาให้เป็นธรรมและพูดธรรม ทำใจให้เป็นธรรม และคิดธรรม ขอแค่นี้ เพราะว่านิพพานไม่ได้อยู่ตามอารมณ์
☻ (ถาม – เวลาใครเขาพูดว่า เอวังโหตุ ทำไง)
☺ ไม่ต้องพูด รู้จักทวารไหม ? ตา หู จมูก ปากปิดเสีย แต่ไม่ใช่หลับตาเดิน ตาเห็นก็อย่าไป “เห็น” หูได้ยินก็อย่าไป “ได้ยิน” ปากคันนักก็หาของเคี้ยว ลดการสนใจ (ในผู้อื่น) ให้เหลือน้อยที่สุด แล้วมานะจะน้อย คำว่า (ของ) ชาวบ้านจะไม่กินใจเรา ถึงคราว (แล้ว) ที่เราจะทำตัวให้ถึงธรรม ทุกวันนี้เราทำให้คนอื่นถึงธรรมมากกว่า

คนที่ 3 (สงสัยเรื่องการทำสมาธิ)
☻ (ถาม – นั่งแล้วชาไป)
☺ ดีแล้ว
☻ (ถาม – เป็นอาการของสมาธิหรือ ?)
☺ใช่ อารมณ์ละเอียดไปติดอยู่ที่ความรู้สึก (ของกาย) เลยกลัว

☻ (ถาม – พอชาก็คิดว่าเส้นโลหิตคงแตก เลยลืมตา)
☺ เมื่อกลัวก็เลยติดวิตกวิจาร (ที่จริง) กำลัง (จะ) ดี (คือ) ฌาน 4 ภาวะ (ของ) กายละเอียดจะแยก (ออกจากตัว) ชาหมดทั้งตัวใช่ไหม
☻ (ตอบ – สมองชา)
☺ นั่นแหละ กำลังแยก ปล่อย (ไปตามนั้น) (นี่) ติดที่วิตกวิจาร เป็นกังวล กลัว เมื่อกลัวก็เลยวิตก คิดมากก็เลยเครียด

☻ (ถาม – มัวกังวล นึกว่าตายแน่)
☺ อย่าห่วงซิ ตายเป็นตาย ตายเสียดี เราจะได้สบาย
☻ (ถาม – จะตายก็กลัว เพราะไม่แน่ใจว่าจะไปได้ถึงไหน)
☺ อย่า “ไม่แน่ใจ” (จง) มั่นในพุทธานุภาพ

หมายเหตุของผู้บันทึก: -
• หลวงพ่อสอนว่า เมื่อถึงฌาน 4 กายกับจิตจะแยกกัน จิตจะไม่รับความรู้สึกของกาย ถ้าทำถึงขั้น จิตจะหลุดออกไปนอกกาย (ที่เรียกว่าถอดจิต) ออกไปแล้วเห็นกายเนื้อของตนอยู่ที่เดิม ส่วนจิตที่ออกไปมีร่างใหม่สวยงาม ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้แน่ว่าร่างกายกับจิตที่เป็น “เรา” นั้นคนละตัวกันจริงๆ เห็นได้ชัดว่าร่างกายคือบ้านเช่าจริงๆ ไม่ใช่ “เรา” เวลานี้ฝรั่งก็เริ่มทำได้บ้างแล้ว เห็นมีเขียนบทความลงนิตยสารไทม์ บอกว่าจิตออกไปนอกตัว

คนที่ 4 (สนทนาเรื่องการทำใจ)
☺ เป็นไงบ้าง จิตมัวไป
☻ (ตอบ – อาจยุ่งตอนที่จัดเตรียมงาน ทราบอยู่ และพยายามระงับ)
☺ ยังยึดอารมณ์อยู่ ไม่อยากให้มันผ่านไป
☻ (ถาม – ให้ปล่อย)

☺ อยากให้ผ่านแล้วทำไมยังติดโมหะ โทสะ ในใจเรายังยึดอารมณ์นี้อยู่
☻ (ตอบ – ความจริงไม่อยากยึด)
☺ ไม่จริง
☻ (ถาม – ทำไม ?)
☺ ต้องขุด คือเมื่อมีข้อสอบต้องพิจารณา ส่วนมากมีข้อสอบ แทนที่จะขุดกลับกลบ

☻ (ตอบ – ไม่ได้พิจารณาในตอนนั้น มาทำในตอนหลัง)
☺ กลบแล้วขุดจะได้เท่าไร ไม่ได้แล้วนะ
☻ (ตอบ – พิจารณาตอนนั้น เดี๋ยวจะเข้าข้างตัว)
☺ ปลงว่าเป็นของปิดบังตัวเอง ไฟน่ะกำลังจะดับ แต่ชอบโหมลมให้มันลุก

☻ (ตอบ – ขอประทานคำสอน)
☺ ใจต้องแข็ง
☻ (ตอบ – พิจารณาไป พิจารณามาก็เบื่อ)
☺ ไม่จริง รำคาญมากกว่า เบื่อก็ต้องเลิก ไม่คบ

☻ (ตอบ – เบื่อ ไม่ทราบจะไปไหน)
☺ เขาเรียกว่าหนีความจริง ไม่ใช่ธรรมะเลย พิจารณาไปมาก็เป็นฌานสมาธิอยู่แล้ว มีตำรวจไหม บางทีคิดแล้วเหลิง ไม่มีตำรวจคอยจับ
☻ (ตอบ – บางทีก็ปล่อยให้คิด เพื่อทดสอบใจตัวเอง)
☺ คิดไปคิดมาผลลัพธ์ คือ “ฉันถูก” ฉันดีนี่ คนอื่นต่างหาก ผิด เลว
☻ (ถาม – วิธีมีตำรวจ ทำไง ?)
☺ สติ คิดให้ลงในธรรม แล้วทิฐิมานะล่ะ

คนที่ 5 (ปรารภว่า เบื่อแล้ว)
☺ เบื่อให้มันจริงๆ
☻ (ตอบ – เบื่อชั่วขณะ)
☺ เรารำคาญหรือเปล่า หงุดหงิดใจหรือเปล่า สติน้อยอารมณ์เลยร้อน เรียกว่าตามใจตน
☻ (ถาม – ตอนนี้เตลิด ต้องเรียกคืนไหม ?)
☺ ไม่ต้องเรียกคืน (เพราะ) ยังอยู่ไม่ไปไหน ถ้าไม่อยู่ ไม่รู้ตัวหรอก

☻ (ตอบ – ก็รู้ตัวอยู่)
☺ ยังดี เพราะเราเป็นคนเคยได้อะไรทุกอย่าง พอมาเจอภาวะเช่นนี้ย่อมมีอารมณ์เหงา ว้าเหว่เป็นธรรมดา
☻ (ตอบ – เหงาจริงๆ อยากแก้ปัญหา)
☺ ปัญหานี้ ใครควรถาม ? ตาควรถามเรามากกว่า
☻ (ถาม – จะมีโอกาสแก้ปัญหานี้ ?)
☺ มี แต่เราเอาสติสัมปชัญญะเก็บเสีย ปล่อยให้อารมณ์ออกมาเพ่งพ่าน ก็อยู่เฉยๆ เงียบๆ ให้ใจสบาย นิ่ง แล้วถึงพิจารณา

☻ (ตอบ – จิตมักคิดอะไรที่ไม่เหมาะสม)
☺ ดีนะ ที่คิดว่าจิตไม่ดี เพราะจิตเราดีแล้วที่เห็นความไม่ดี แล้วอยากเป็นคนนั้นคนนี้หรือเปล่า ?
☻ (ตอบ – ไม่อยาก)
☺ ดีมาก (กิเลส) บางแล้ว ตาชอบคนที่มองเห็นความไม่ดีของตัวและค้นหา เพราะส่วนใหญ่มักมองเห็นว่าฉันดี ฉันเก่ง ฉันก่อน ทิฐิมานะล้างยาก

คนที่ 6 (ผู้ได้ทิพยจักขุใหม่ๆ ถูกซักถาม)
☺ เป็นไง เรารอบคอบดีแล้ว บอก (พวก) เขาซิว่าตาเป็นยังไง
☻ (ตอบ – เห็นหลวงตาไม่ได้เป็นแบบสงฆ์)
☺ เออ
☻ (ตอบ – การเหมือนหลวงพ่อ มียอดชฎาแหลม กายทิพย์)
☺ เออ ทำให้ไวกว่านี้

☻ (ตอบ – เห็นช้าไป)
☺ (ทำให้) ไว แล้วทรง (ไว้) นานๆ จะได้แน่ใจ
☺ กายหยาบล่ะ ?
☻ (ตอบ – หลวงต่อไม่สูง)
☺ เออ

☻ (ตอบ – คล้ายหลวงปู่คำแสนเล็ก)
☺ เออ
☻ (ตอบ – ผิวขาว ฉันหมาก)
☺ เออ
☻ (ตอบ – แก้มข้างล่างยุบไป ข้างบนเป็นกระปุก)
☺ เออ

☻ (ตอบ – แก่กว่าหลวงพ่อตอนนี้)
☺ 75 ไม้เท้าเห็นไหม
☻ (ตอบ – เห็นวันที่มาเป่ายันต์)
☺ ขุดซี ใต้ฐานพระ
☻ (ตอบ – เก็บไว้ให้คนรุ่นหลัง หนูไม่อยากอยู่แล้ว)
☺ พวก 180 ปี

☻ (ตอบ – สมัยนั้น ที่นี่คงเจริญกรรมฐานอยู่ ?)
☺ เออ ใครนั่งบนอาสนะ
☻ (ตอบ – เห็นหลวงพ่อด้วย)
☺ ข้างหลัง ?
☻ (ตอบ – ใช่ ท่านแม่ศรีด้วย)

☺ เออ นังหนู พระอยู่ไหน มาหรือยัง ?
☻ (ตอบ – มาแล้วเจ้าค่ะ)
☺ ถือว่าเป็น (การ) ฝึก
☻ (ตอบ – หลวงตาถามหนูมั่นใจมาก)
☺ ติดปีติให้น้อยลง จะแจ่มใสขึ้น

☺ พระอยู่ไหน ?
☻ (ตอบ – ด้านซ้ายมือ)
☺ บนเตียงล่ะ
☻ (ตอบ – พระพุทธกัสสป)
☺ เออ แม่หนู เล่าให้เขาฟัง

☻ (ตอบ – เห็นพระพุทธรูปองค์ดำเป็นองค์ปฐม และองค์ทอง ด้านหน้าเป็นพระพุทธกัสสป เห็นท่านยืนเปล่งรัศมีมา เรื่องกสิณมีอะไรที่ยังอ่อน ?)
☺ วิปัสสนา อย่าเพลิน ไปหาอาจารย์ควรถามข้อธรรมว่า เราจะมาจะไปเป็นอย่างไร ทำอะไรไว้ (ใน) อดีต แล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร บันทึกให้คนอ่าน รู้ไหมว่าเธอไปอารมณ์ใด ?

☻ (ตอบ – อารมณ์ที่ตัดร่างกาย)
☺ ภาวะ ภาวะอะไร (หมายถึง) ภาวะใจ
☻ (ตอบ – จับไม่ได้ ปุบปับก็ไป)
☺ นั่นแหละ ศึกษาเสีย ถามเสีย ถ้าสิ่งไหนเป็นประโยชน์ต่อคนข้างหน้า พวกสุกขวิปัสสโกก็นำมาบอก อารมณ์เข้าอริยมรรค

☺ อยากแต่งหนังสือไหม ?
☻ (ตอบ – ใจชอบ แต่ไม่มีโอกาส)
☺ แล้วจะให้เขียนเรื่องของกรรม
☻ (ถาม – เป็นเรื่องของตัวเอง ?)
☺ ด้วย และผู้ที่อยากรู้ (ด้วย) ลูกหลานภายหน้าจะได้อยู่ในศีลธรรม ศีลและธรรมมีประโยชน์อย่างไรจะได้รู้กัน

☺ ใครมา ?
☻ (ตอบ – หลวงพ่อเจ้าค่ะ)
☺ สองทุ่ม ไปหาหลวงปู่ใหญ่หรือยัง ?
☻ (ตอบ – วันแรกหลวงพ่อพาไป แต่วันหลังไม่ได้นึกถึงท่านเลย)
☺ ใหญ่สมชื่อไหม สวยไหม ?
☻ (ตอบ – สวย)

☺ ขอพระซิ
☻ (ตอบ – ท่านอยู่ที่นี่)
☺ พวกไหนอยู่บนแท่น ?
☻ (ถาม – แท่นซ้ายมือหรือ ?)
☺ เออ
☻ (ตอบ – ข้างแท่นมีนางฟ้ามาก พวกดาวดึงส์)
☺ เออ

☻ (ตอบ – เขามาหาเพื่อนๆ ขอซ้อนกาย)
☺ พระอยู่ตรงไหนทั้งหมด ?
☻ (ตอบ – อยู่ข้างหลังหนูทั้งหมด)
☺ พรหมอยู่ข้างซ้ายและขวา ข้างพระโมคคัลลา พระสารีบุตร (แล้วพวก) จาตุฯ ?
☻ (ตอบ – จาตุฯ อยู่ซ้ายมือ ทางม่านขวา)
☺ ใกล้ไป

☻ (ตอบ – ออกไปถึงข้างนอก)
☺ เออ ซ้ายของพระ (เป็น) พวกไหน ?
☻ (ถาม – ทางขวาของหนู ?)
☺ เออ
☻ (ตอบ – พวกพรหม)

☺ ดุสิตอยู่ทางไหน
☻ (ตอบ – ดุสิตอยู่บริเวณกลางๆ นี้)
เห็นพระอริยเมตไตรยไหม ?
☻ (ตอบ – เห็น อยู่ตรงหน้าใกล้ๆ)
☺นักรบมาไหม ?
☻ (ตอบ – มา ในครัวก็มี ข้างนอกก็มี)

☺รู้ไหม วันนี้วันอะไร
☻ (ตอบ – วันประสูติองค์ใดองค์หนึ่ง)
☺ ทำไมต้องมาแถวนี้
☻ (ตอบ – วันต่อชะตาหลวงพ่อ)
☺ ต้องให้ท้วงกัน จำกันไม่ได้

☻ (ตอบ – วันนี้หลวงพ่อใจดีมาก นั่งยิ้มเรื่อยๆ)
☺ ข้างบนเห็นโกรธรึ ?
☻ (ตอบ – บางทีหนูกลัวท่านมาก ไม่กล้าเข้าใกล้)
☺ ข้างหลังหน้ากาก

☻ (ตอบ – ที่คลายกลัวเพราะกรรมบางแล้ว)
☺ เออ ไม่บาง ไม่เห็นพระหรอก ใครจะถามอะไรเขาไหม ?
☻ (ตอบ – ขอประทานจัดวันที่ 22)
☺ ความกตัญญู ถ้ามีโอกาสที่ทุกคนจะทำได้ก็ให้รีบทำ จงส่งเสริมบุคคลที่มีความกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ อย่าทำลาย อย่ายินดีกับคนที่ไม่รู้คุณ

(มีเสียงฟ้าร้อง)
☺ เขาเล่นอะไรรู้ไหม ? เทวดาร่าเริงก็ตึงตังโครมคราม
☻ (ถาม – หลวงพ่อจะอยู่นานแค่ไหน ?)
☺ ไล่พุทธบริษัทไปส่วนใหญ่ (เสียก่อน)
☻ (ถาม – อายุ ประมาณ ?)
☺ ไล่ๆ (กับ) พระพุทธคุณ

☻ (ถาม – บริษัทหลวงพ่อยังไม่มาอีกมากหรือ ?)
☺ ที่มาก็ให้ไป (นิพพาน) ได้เสียก่อนเถอะ วันเวลาผ่านไปเราไม่ได้คำนึง เวลาที่จะทำให้ถึงธรรมก็สั้นเข้าๆ อย่าคิดว่ายังไม่ถึงเวลา อย่าคิดว่า “อีกเดี๋ยว” บางคน (อายุ) 30 ก็ถึงเวลาของเขา บางคนอีก 3 ปีบ้าง 2 ปีบ้าง 5 ปีบ้าง นานไปรึ ตอนนี้ก็เข้ากันยายนแล้ว อีก 3 เดือนเปลี่ยนศักราช เร็วหรือช้า แล้วเราทำกันได้แค่ไหน แข่งเวลาทันไหม ? อย่ารีรอนะ เธอทำกันเล่นๆ นิพพานไปอย่างเล่นๆ

☻ (ถาม – ศิษย์มีแต่ผู้หญิงเสียเป็นส่วนมาก สภาพสุดท้ายจะมีในรูปใด ?)
☺ ตอบทั่วๆ ไปว่า ตัดชาวบ้าน อย่าไปสนใจ อย่าไปผูกใจ เรื่องของเขาชอบนักเชียว ที่เห็นคนนั้นคนนี้ไม่ดี บกพร่อง ฯลฯ ตัดออกไปเสีย
☺ ร. ถ้าเห็นสีต่างๆ บนท้องฟ้า เตือนๆ กันนะ
☻ (ร. เกี่ยวกับบ้านเมืองใช่ไหม ?)
☺ เออ ฉัพพรรณรังสี

☻ (ถาม – จากระยะไหนถึงไหน ?)
☺ รู้เอง
☻ (ถาม – สมเด็จพระปทุมมุตตระด้วยใช่ไหม เห็นเสด็จมา)
☺ เออ
☻ (ถาม – ตอนนี้ขอพรนั้นองค์ปฐมกับหลวงพ่อ ?)
☺เออ ไม่มีถามกลับนะ

◄ll กลับสู่สารบัญ



51

เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ทรงกระดานต่อ


☺ ท่านแช่มอยู่ตรงไหน ?
☻ (ตอบ – ด้านข้างของ อ.)
☺ รู้ไหม พระปิ่น (เกล้า) ท่านอยู่ชั้นไหน ?
☻ (ตอบ – ดุสิต)
☺ เออ ทรงพรหมนะ ท่านทรงพรหม มีสิทธิ์อยู่พรหมก็ได้ ดุสิตก็ได้ ตายเป็นพรหม

28 กันยายน 2520

☻ (ถาม – ใจเศร้าหมอง ไม่ทราบจะแก้ยังไง)
☺ ธรรมดา ไม่มีอะไร
☻ (ถาม – พยายามดึงให้ผ่องแผ้ว แต่ทำไม่ได้)
☺ เครียด อย่าไปดึง ถ้ายังไม่สงบ

☻ (ถาม – บางทีมีเพลงเกิดขึ้นทั้งที่ไม่อยากร้อง พุทโธก็ไม่ได้)
☺ นั่นแหละตัวใน อารมณ์คนมีตั้งแต่ภายนอกไปถึงภายใจ สามชั้น เวลาล้างต้องล้างจากนอกเข้าไปหาใน อารมณ์สุขมันขึ้น
☻ (ถาม – แก้ยังไง)
☺ ปล่อยไประยะหนึ่ง อย่าไปเครียด ทำอะไรให้สบายๆ ไปพักหนึ่งต้องควบคุมใจให้อยู่ด้วย สมาธิมีศัตรูไม่กี่ตัวหรอก หาดูแล้วจะรู้ว่าติดตรงไหน ธรรมะไม่ใช่วิธีฝึกยากและก็ไม่ใช่วิธีง่ายๆ อยู่ในความพอดีของอารมณ์ และจะหาความสงบจากสมาธิได้

◄ll กลับสู่สารบัญ


52

หลวงตาแสงกับหลวงปู่สุ่นรวมกัน 2 องค์


20 ตุลาคม 2520

☺ ทุกข์นะ อนิจจัง เป็นอนัตตา ถ้าไม่หลีกเลี่ยง ถ้าไม่ทำธรรมะให้ถึงธรรม รวมให้อยู่ที่ตัวของเราเอง อย่าไปรวมที่ตัวของชาวบ้าน
☻ (ถาม – จับภาพพระไม่อยู่ สมาธิไม่รวม)
☺ มานะ พิจารณาไม่ไปเพราะมานะ

☻ (ถาม – พิจารณาเห็นว่าเราดีแล้ว อยู่ในส่วนบวกหรือลบ ?)
☺ ลบ ที่เทศน์ไปแล้วทั้งหมดมีอยู่พร้อม ความตายไม่สามารถกะเกณฑ์ได้ แม้ใครจะว่ากล่าว ว่าแค่นั้นแค่นี้ แต่ถ้าสังขารไม่ไหวจริงๆ ก็ทนไม่ได้
☻ (ถาม – บางทีอยากจะหนี)
☺ พร้อมที่จะหนีรึ ?

☻ (ตอบ – ยังไม่พร้อม แต่ทราบข้อบกพร่องของตน)
☺ จะอย่างไรก็แล้วแต่ จงพิจารณาให้มากในข้อธรรมะ
• หวง – ห่วง มีไหม ?
☻ (ตอบ – คิดว่าไม่มี)
☺ เอาอะไรมาวัด ?
☻ (ตอบ – นึกถึงสมบัติ ถึงลูก ก็ว่าไม่มีอะไรนอกจากสังขาร จะเรียกว่าห่วงได้ไหม ?)

☺ ขอบเขตของ “ห่วง” อยู่เท่าไหน ?
☻ (ตอบ – อยู่ที่ “ช่างมัน” ใช่ไหม ?)
☺ กว้างมาก ถ้าเรายังคำนึงถึงคนอื่นอยู่ไม่ว่า (จะเป็น) ลูก สามี (หรือ) อาจารย์
☻ (ตอบ – ไม่ใช่ห่วง แต่มันฟุ้ง จะว่าหวงหรือ ?)
☺ ยังเสียดาย เสียดายในหน้าที่

☻ (ตอบ – หน้าที่ก็ไม่มีใครกะเกณฑ์)
☺ ได้เท่าไหนก็เท่านั้น ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีที่สุดแล้ว
☻ (ถาม – หลวงพ่อว่าถ้ายังมีขันธ์ ก็มีหน้าที่ ไม่ใช่เป็นการยึดไว้หรือ ?)
☺ สักแต่ว่าทำ พยายามตั้งใจว่าเราจะทะนุบำรุงศาสนา และผู้อื่นให้ดีตามสมควรแก่กำลังใจของเราเท่าที่จะเอื้ออำนวย ได้แค่ไหนก็เท่านั้น แล้วเราจะอิ่มเอิบใจว่าเราได้ทำดีที่สุด จะไปเมื่อใดก็ไม่เสียดาย วันนี้ พรุ่งนี้ เดี๋ยวนี้ก็ย่อมได้ ช่างมัน

☻ (ถาม – คือคิดให้มันเบิกบานให้ได้ ?)
☺ คิดอย่างมีสติ พิจารณาให้เห็นธรรมในความจริง ซึ่งองค์บรมครูทรงตรัสว่า บุคคลทั้งหลาย พึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท จงรู้สึกตัวว่าเรานั้น อยู่กับปัจจุบัน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต
• หน้าที่เรามีเฉพาะแค่นี้ เดี๋ยวนี้ วันนี้ ส่วนพรุ่งนี้ว่ากันใหม่
☻ (ถาม – ได้คิดผิดมาตั้งแต่ต้น ห่วงอนาคต)
☺ ร่างกายเป็นรังของโรค เป็นธรรมดาที่จะผุพัง เสื่อมสลายไปไม่ช้าก็เร็ว ทำใจให้ได้อย่างหญิงวิภาฯ

☻ (ถาม – อารมณ์อย่างนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?)
☺ เพราะเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด คืออารมณ์ประหารกิเลส
☺ รู้ไหมว่าลูกขาดอะไร ซึ่งก็เคยบอกท่าน บอกตาอยู่บ่อยๆ
☻ (ถาม – ขาดเมตตา ?)
☺ เมตตามีมาก

☻ (ถาม – ขาดอุเบกขา ?)
☺ ใช่
☻ (ถาม – ขอคำอธิบาย “มานะ” ของตนเอง)
☺ ฉันดี ฉันถูก
☻ (ถาม – ตัดนิวรณ์ตัวไหน ?)
☺ ไปเห็นคนอื่นไม่ดี ไม่ถูก ใครเป็นอะไรก็เรื่องของชาวบ้าน ช่างเขา ของใครของมัน

☻ (ถาม – มันจะไปแก้คนอื่น โดยไม่ดูตนเอง)
☺ แก้น่ะแก้ได้ แต่อย่าเข้าไปเดือดร้อนด้วย เวลากระทบ เราอย่าไปคิดว่าฉันดี ฉันถูก คนอื่นทำไม่ถูก
☻ (ถาม – บางเรื่องมันอยู่ในใจตั้งหลายวัน ทีแรกคิดว่ารัก)
☺ รักมากไป เมื่อมีเรื่องขึ้นมาก็เสียใจ คิดว่าเขาไม่เห็นว่าเรารัก เราทำทุกอย่างให้เลยเป็นพะวง คิดเตลิดอยู่ในอารมณ์ ขาดสติธรรม

• เอาใหม่ ตั้งจิตใหม่ ฟังให้น้อย พูดให้น้อย พิจารณาให้มาก วิธีฆ่า “ลิง” ทำอย่างไรไปดูมา (จากที่เทศน์ไว้แล้ว) ทบทวนไว้ ธรรมะที่มาเทศน์ท่านทุกองค์ไม่ต้องการคำชมคำสรรเสริญว่าไพเราะเพราะพริ้ง ท่านต้องการให้ปฏิบัติ
☻ (ถาม – ไม่อยากอยู่)
☺ “ไม่อยากอยู่” ในตัวลูกเกิดจากจิตเพียงครึ่งหนึ่ง ลองดูๆ ไป ใจคนเดายาก บางทีเรายังไม่รู้ใจตัวเราเอง แล้วจะไปรู้ใจคนอื่นเขาได้อย่างไร

☻ (ถาม – เสียดายเรื่องสัญญากับหลวงพ่อ)
☺ ใครเสียสัญญา เราตั้งใจหนีรึ ? ของจะพังเราไม่ได้แกล้งอย่างนี้ ถ้าใครมาทวงสัญญาก็ตอบว่า ช่วยไม่ได้ ของจะพัง ถ้าจะให้เราทำต่อไปตามสัญญา ก็ต้องช่วยซ่อมให้ใช้ได้ ไม่ใช่โปเก

สอนรายบุคคล
คนที่ 1
☺ ขอให้ท่องไว้ แล้วยอมรับความจริงไว้ทุกคนว่า เราต้องตายต้องทรมาน ต้องทุกข์ ต้องเวทนา เพราะสิ่งเหล่านี้พระองค์ตรัสว่าเป็นความจริง แต่ที่ทำๆ นั้น หนีความจริง หนีก็หนีตามสมควร

คนที่ 2
☺ การที่เรารู้ว่าเรายังติดขัดอยู่นั้น อย่าไปตกใจ เพราะคนเราอยู่ที่การเอาจริงจังมั่นคง ถ้าเราปฏิบัติของเราให้เต็มที่แล้ว ก็อาจจะไปไกลกว่าผู้รู้ว่าไปได้ไกล แต่กระหยิ่มไม่ทำ

คนที่ 3
☺ เอาช่วงเวลาที่มีภาระยุ่งยากเหล่านั้นหยิบยกขึ้นมาเป็นธรรมอุทาหรณ์

คนที่ 4
☺ อย่าเพลิน รู้แล้วว่าลงมาทำอะไร อย่าลืม อย่าเผลอ เรายังอยู่ในโลกนะ โลกธรรมก็ยังมีอยู่ จงระวังมารร้ายตัวนี้ที่จะปัดขาให้เราตก

คนที่ 5
เขียนมาก อ่านมาก ก็ยังไม่แจ้งในธรรมเท่ากับปฏิบัติมาก จะไป จะอยู่ อยู่แค่ “รู้” เข้าใจไหม

คนที่ 6
☺ ฟังในสิ่งที่ควรฟัง รู้ในสิ่งที่ควรรู้ พระท่านว่าไง ? (ท่านว่า) อย่าประมาท

คนที่ 7
☺ การทำธรรมะให้กระจ่างทำอย่างไร คือการเห็นทุกข์และรู้ให้กระจ่างในทุกข์ว่า เหตุของทุกข์จะนำธรรมข้อใดเข้ามาแก้ไขข้อทุกข์นั้นๆ ให้กระจ่างชัดเจนออกมาเป็นข้อๆ

คนที่ 8
☺ อย่าติดใจในอภินิหารมากเพราะอภินิหารไม่ใช่ของธรรมดา ธรรมดาคืออะไร คือธรรมะ ธรรมชาติ-ความจริง ไม่ใช่หนีความจริง บางสิ่งบางอย่างก็ให้ถือว่าเป็นกรรมหรือเวรกรรม คือการกระทำที่เวียนมาบรรจบ

23 ตุลาคม 2520


สอนรายบุคคล
คนที่ 1
☺ ของทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทำให้เกิดทุกขัง ซึ่งเป็นอนัตตา “เกิด” คือใหม่ “แก่” คือเก่า “ตาย” คือพัง

คนที่ 2 (พยายามให้หมดนิวรณ์ แต่ไม่สำเร็จ)
☺ ตนเป็นที่พึ่งของตน ถ้าตนยังไม่ยอมแก้ไขใครจะแก้ได้ ถ้าตนไม่ยอมทิ้งยอมสละแล้วจะไปได้ยังไง นี่แหละเขาเรียกว่าเสียดาย หรือกำลังใจน้อย หรือบารมีอ่อน ต้องสู้ อย่าอาย อย่ากลัว แม้ว่าครูเอ็ดก็อย่าหนี เราต้องคิดเสมอว่าเราผิดเราไม่ดี ถ้าจะต้องการเรียนรู้ สอบให้ได้ ต้องทำตนเป็นคนด้อยปัญญาในบางครั้ง แล้วจะได้รู้ ถ้าทำตนเป็นคนรู้อยู่แล้วครูท่านก็ไม่อธิบาย เราเลยไม่รู้จริงว่าที่เรารู้นั้นผิดหรือถูก

คนที่ 3 (ใจไม่ปกติ)
☺ เราตั้งอารมณ์ใจให้เป็นฉากๆ ไป อย่างคำสอนที่ว่า “ถึงเวลากินให้กิน ถึงเวลานอนให้น้อย” แบ่งสมอง เวลาใช้มันก็ใช้ให้รู้

คนที่ 4 (เบื่อ)
☺ ดีแล้ว ทำจิตใจดื่มด่ำในรสเบื่อ พึงรู้ธรรม รู้ธรรมดาวาระว่าเป็นอนิจจัง จึงเกิดทุกขัง เป็นอนัตตา ให้กระจ่างในหลักธรรมอริยสัจ 4 มาประกอบกับกำลังของความเบื่อว่า สาเหตุและเหตุผลเป็นอย่างไร ใช้กำลังใจเป็นเครื่องตัดว่าขณะนี้เบื่อแล้ว ขณะหน้าจะเอาอีกไหม มั่นคงถาวรเพียงใด

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


puy - 1/9/10 at 10:03

53

(Update 1-09-53)

หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 2


2 พฤศจิกายน 2520


คนที่ 1 (ทราบว่าจะตายเร็ว)
☺ เป็นอย่างไรบ้าง ?
☻ (ตอบ – เรื่อยๆ)
☺ ใจน่ะ
☻ (ตอบ – ความตายไม่กลัว กำลังเร่งขันธ์)

☺ ห่วง – หวงไหม ?
☻ (ตอบ – พยายามคิดให้มาก)
☺ ห่วง-หวง มาจากกลัว
☻ (ตอบ – ยังไม่ทราบว่าหวงอะไร)
☺ ทำไมถึงว่าห่วง-หวงมาจากกลัวรู้ไหม เมื่อเรากลัวแสดงว่าเรากลัวเจ็บ กลัวทุกข์ กลัวทรมาน มันทำให้เราเกิดความรู้สึกทางจิตขึ้นมา ที่กลัวทั้งหลายนี้เพราะเราห่วง เราหวง “เรา”

☻ (ตอบ – คิดหลายด้านแล้ว ไม่ทราบว่าความกลัวเกิดเพราะอะไร ?)
☺ ค่อยๆ ผ่อนไปแล้วใจเราจะสบาย ไม่อยู่กับภาวะหวาดผวา
☻ (ตอบ – ได้ข่าว ท.ญ.มาเตือนว่าจะตาย ก็โอนเอนไป)
☺ ใจหายเพราะคิดว่าเร็ว เหมือนคนมาชวนไปนอกบ้านโดยไม่ได้แต่งตัว

☻ (ตอบ – มีหลายอย่างสุมอยู่ในใจ)
☺ นี่แหละ ข้อสอบ
☻ (ตอบ – ขอให้ช่วยด้วย)
☺ ถ้าเราท่องหนังสือจนจำได้ชำนาญแล้ว จะรู้คำตอบของข้อสอบนั้นทันที ถ้าเราท่องหนังสือครั้งเดียว สองครั้ง แล้วเจอข้อสอบ บางทีก็ยังลังเลว่าจะตอบถูกหรือไม่ถูก ให้มีความมั่นใจ มั่นใจในสติและปัญญา

☻ (ตอบ – จะพยายามทำให้ดีที่สุด)
☺ ดี เพราะว่าเวลาเจอข้อสอบ เราจะต้องอ่านทวนหลายครั้งให้มั่นใจในคำตอบที่ถูกต้องเสียก่อนแล้วถึงจะตอบ ลังเลอาจจะมีบ้าง สำคัญที่คำตอบ การใช้สติปัญญาพิจารณาปฏิบัติ คำตอบถูกผิดได้รับที่ใจ

คนที่ 2 (ปรารภ – สมาธิไม่ดีเท่าเดิมและกิเลสหนา)
☻ (ถาม – ทำไมเดี๋ยวนี้ทำสมาธิไม่ได้ ?)
☺ น่าจะถามตัวเอง เมื่อเป็นเด็กภาระของโลกยังไม่ลึกซึ้งกินใจ แต่เมื่ออยู่ไปนานๆ ก็มากไปด้วย (เรื่องของ) โลก
☻ (ถาม – กิเลสยังหนามาก)
☺ พิจารณา พระท่านว่าให้เห็นตัวเราเองเลว ถ้าไม่เลวคงไม่เกิดเป็นคน คงไม่ทรมานด้วยสารพัดปัญหาใช่ไหม ฉะนั้น มุ่งหาความดีไว้มากๆ

☻ (ถาม – ยังอีกไกลไหม ?)
☺ ไม่ไกลสำหรับผู้ที่บังคับใจได้ ความดีมีมาก แต่จะมาเยินยอหรือพูดให้ใจมันโลภทำไม เมื่อมีความโลภ ทีนี้ใครมานินทาว่าไม่ดี โกรธก็ตามมา เพราะหลงว่าตัวดีกว่าใครๆ อันนี้พระท่านถึงให้เราเห็นตัวของเราเลว (เข้าไว้)

☻ (ถาม – เวลาพิจารณา มันเข้าข้างตัวเองบ่อยๆ)
☺ ใช่ ท่านจึงให้ใช้วิธีนี้ เพื่อกันคนหลงตัวเอง ดีน่ะ ถ้าเราดี แล้วใครจะมาว่าเราไม่ดีมันก็ยังดีอยู่วันยังค่ำ ไม่ดี ถ้าใครว่าเราดีมันก็ไม่ดีอยู่วันยังค่ำ ใช่ไหม ? ความจริงเป็นเรื่องของโลกธรรมรู้ไหม ?

• ให้สงบเสงี่ยมไว้ดีกว่า อย่าไปโทษในสิ่งต่างๆ คือ มองสิ่งต่างๆ ในแง่ที่ไม่เป็นมิตร จงมองให้เป็นธรรมดา เห็นเขาไม่ดีก็เตือน เตือนได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น อย่าแคบอย่าอาฆาต คือคิดตลอดเวลาว่าจะตอบแทน

• ตาสอนได้แต่ตาจะจับขาให้เดินไม่ได้ เหมือนกับเรารักเด็ก เด็กมาบ่นว่าการบ้านยาก ทำไม่ได้ ไม่ไหว แล้วพ่อแม่ไปช่วยทำให้ตลอดเวลา พอถึงเวลาสอบเด็กจะทำสอบเป็นรึ สำหรับเราเองก็เหมือนกัน ทุกข์เกิดที่ใจ สุขเกิดที่ใจ (เวลา) ตาย ใจก็เป็นผู้รับกรรมทั้งกุศลและอกุศล ท่านจึงว่าของทุกอย่างเกิดที่ใจ เป็นที่ใจ ไปด้วยใจ

• ฉะนั้น จงอย่างติด “เรา” เราไม่มีอะไร อะไรเป็นของเราบ้างไหม ? ฉะนั้น อย่าไปสนใจในของทางโลกเพราะมันวุ่นวาย มันเหนื่อยใจ ลำบากใจ ทรมานในหัวอก ทุกข์ทั้งนั้น
• ทั้งหมดนี้ จะแก้ได้ด้วยสมาธิ คือ สติ และปัญญา เห็นและรู้ว่าว่าของทั้งหลายเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ไม่สิ้นสุด เป็นธรรมดา ธรรมชาติ อย่าไปหวังอะไรที่เป็นสมบัติของโลก

• สิ่งของเอย รักเอย ทุกข์อย่างจะให้เขารัก อยากจะให้เขาทำให้เรา เมื่อเขาไม่แสดงว่ารัก เราก็โกรธ เพราะหวง-ห่วง ลำบากนะ

คนที่ 3
☻ (ถาม – จะเรี่ยไรเขาทำสังฆทานได้ไหม ?)
ไ ☺ ด้ แต่การเรี่ยไรหรือขอนั้น อย่าขู่ อย่าบังคับ อย่าเอาบุญมาอ้างให้กลัว ต้องมาจากศรัทธา จากใจ จะเป็นบารมีเสริม

คนที่ 4 (ปรารภว่าไม่สบาย)
☺ ใจเจ็บตามหรือเปล่า นี่แหละให้รู้เห็นทุกข์ เอาเวลาที่ยังเจ็บปวดมาพิจารณาขันธ์ พิจารณากายกับจิต ดูภาวะของร่างกาย แล้วเราจะเห็นอะไรอีกหลายอย่างด้วยปัญญา

คนที่ 5
☺ การปฏิบัติขึ้นอยู่กับสติและปัญญา เมื่อเรามีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรแล้ว ความประมาทก็จะน้อยลง ความแก่กล้าของสมาธิและสติ เมื่อประมาทน้อยลงไปนี้ หากอารมณ์ของขันธ์ 5 จะผุดขึ้น ก็ไม่สามารถทำให้เรากวัดแกว่งได้ เพราะเราเฉยด้วยสติ มีปัญญา แก้ไขรู้ทันเมื่ออารมณ์ของขันธ์ 5 เกิดขึ้น ราคะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน จะคอยยุแหย่อยู่

• อารมณ์ของขันธ์ 5 คืออะไร ? คือหิว ง่วง ขี้เกียจ สบาย เย็น ร้อน เจ็บปวด นั่นแหละจับให้อยู่ จับให้ได้ จะทำให้เราร้อน กระวนกระวาย ทุกข์ เบื่อ
• จงปล่อยไป จะสนใจทำไม อายรึ เหนื่อยรึ ทำใจให้นิ่งเป็นใช้ได้ เมื่อใจนิ่งแล้ว ปิติจะหาย ตอนนี้ถือว่าใจแกว่ง (นี่) เพราะกลัวใช่ไหม
☻ (ถาม – ศีลข้อ 4 รักษายาก)
พูดถึงการพูดโกหก หรือมุสานั้น ถือเอาประโยชน์เป็นใหญ่

คนที่ 6
☺ จาคะต้องเข้มกว่านี้ จาคะไม่ได้หมายถึงเงินอย่างเดียว แต่หมายถึงการตัดใจบริจาคใจ บริจาคหน้าที่ เรายังมีหลง-ห่วงตัวเอง
• หลงตนเองคืออะไร คือ หลงให้คนใยดีต่อเรา เพราะอะไร ? เพราะยังมี “เรา” “ของเรา” อยู่ตลอดเวลา จงปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามวาระ อย่ามีหวง อย่าไปหวง อย่าไปหลง

• อย่าไปให้อะไรใครด้วยหน้าที่ อย่าไปให้อะไรใครด้วยจำเป็นจำยอม แต่การให้อะไรใครต้องให้อย่างแช่มชื่น โดยอย่าให้มีคำว่า “เสียดาย” อยู่ในใจเรา เมื่อนั้นบุญนี้จะเสริมเติมบารมีเราอยู่มาก

• ท่องไว้ “จาคะ” เพราะตัวนี้จะตัดเราตรง “เรา” “ของเรา” ของๆ เราไม่มี คืนเขาไป เมื่อไปถึงอีกขั้นหนึ่งจะไปดูเรื่องมานะ และเมื่อหมดมานะ เราจะได้ปริญญา
• จะจับอะไร ก็ให้คิดว่านี่ของเราหรือ เรารักไหมหรือว่าเราเข็ด เราดูแลเพื่อให้ทรงสภาพเดิมที่ดี หรือว่าเราต้องการหวงเอาไว้ ดูจากสิ่งของไปจนถึงคน ถึงตัวเรา

คนที่ 7
☺ จงทำใจให้เห็นว่า ของทุกสิ่งทุกอย่าเป็นธรรมดาที่ต้องมีทุกข์ อนิจจังเป็นทุกข์ อนัตตาเกิดทุกข์ เป็นของแท้แน่นอนในความเป็นจริง ที่ว่าของมีเกิดแล้วก็มีเสื่อมสลายและพังไปในที่สุด จงอย่าประมาทในความจริงของโลก มองให้เห็นธรรมอยู่เป็นนิจ พิจารณาอริยสัจอยู่เป็นประจำ จะได้มีสุขทางใจ

☺ เวลาเจ็บให้พิจารณาเอาพระที่มารักษาให้เห็นเป็นนิมิต จะได้สบายใจ เรือรั่วก็พยายามช่วยกันอุดนะ แต่ถ้ารั่วมากและไม่เรือก็ผุเป็นทุนอยู่ด้วยละก็จนใจ การทรมานคงไม่ใช่ของชอบนะ แต่ให้เอาอาการทุกข์นี้มาเป็นข้อสอบให้สอบให้ได้ อยู่ที่กำลังใจของคนข้างเคียงด้วย

คนที่ 8
☺ ดูสังขารกับใจให้แยกกันให้ขาด แบ่งให้ได้ว่าอะไรคืออารมณ์ที่เกิดจากขันธ์ 5 อะไรเป็นสมาธิ สติคอยแก้ไขอารมณ์ของขันธ์ให้ดับลงไป
☺ มั่นคงในธรรม ในอริยสัจ ในสติ ในปัญญา รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ทำกำลังอันนี้ให้ได้จะส่งเสริมทุนในการพิจารณาใคร่ครวญดูตัวเราให้กระจ่างขึ้น

คนที่ 9 (ปรารภว่าบางทีโกรธจนอยากฆ่าคน)
☺ ทุกข์เป็นทางของธรรม ถ้าทุกข์ยังเผินๆ อยู่ ธรรมก็ยังไม่เข้ม เราเลือกชีวิตเราไม่ได้ที่จะเกิด จะเป็น แต่สามารถเลือกทางเดินของเราได้ ในเมื่อทางเดินของเราไม่สะดวก ทำให้เท้าเราเจ็บ เราก็ต้องรักษาเท้าของเราเอง
☺ เอาธรรมะ เอาหลักทั้งหลายไปแผ่ขยายออกให้เห็นความจริง อย่าใช้อารมณ์ที่ผันผวนของตนในวัยนี้มาเป็นแนว ซึ่งไม่ใช่แนวที่ถูก

คนที่ 10 (จะทำอย่าไรกับการปฏิบัติกับคู่ครอง เพราะไม่สมัครใจแล้ว ?)
☺ ใจเป็นสิ่งสำคัญ อย่าไปทำลายน้ำใจให้ออกนอกหน้า ในบางครั้งจงมองให้เห็นเป็นกรรม พิจารณากรรม พิจารณาวัฏฏะของกรรม
• สร้างเมตตา ต่อด้วยกรุณา ส่วนผลยกไว้ที่อุเบกขา

• ในเมื่อเราสร้างหน้าที่ขึ้นมาก็ต้องรับผิดชอบในหน้าที่นั้นตามสมควร ไม่ใช่โยนหน้าที่นั้นทิ้งอย่างไรเหตุผล ทำหน้าที่ได้เท่าใดก็เท่านั้น นอกนั้นเราต้องยกให้แก่กรรม
• มัชฌิมาฯ นะ

คนที่ 11 (สมาธิทำไม่ได้ผล)
☺ อย่าหวังอะไรให้เกินพอดี ถ้าไม่ได้สมใจจะกลายเป็นเสียใจ
• สมาธิคืออะไร ? คือความเฉยของจิตที่ทำให้สติตั้งมั่น ทรงตัว รู้อยู่ว่าเราทำอะไร เช่น การจับลมหายใจ เราจะเอาสติตั้งอยู่ที่ความรู้สึกสัมผัสที่กระทบ เราอยู่กันในปัจจุบันเวลานี้ เดี๋ยวนี้ ฉะนั้น ความหวังที่ยังทำไม่ถึง หรือยังไม่ได้ทำ ถือว่าเป็นอนาคต แต่ทุกคนก็ต้องมีเป้าหมายไว้ข้างหน้า

คนที่ 12
☺ ของทุกอย่างก็เป็นไปตามสภาพของมัน บางทีถ้ายากลำบากก็ต้องปล่อยไป เพราะกาลเวลา สภาพของสิ่งต่างๆ เป็นความจริง จงทำใจให้ผ่องแผ้ว ถ้าสิ่งนั้นจะไม่ทรมานต่อไป

คนที่ 13
☺ เรามีหน้าที่จะต้องทำให้แก่ชาติบ้านเมืองและหน้าที่ต่อสาธารณะ จะต้องทำหน้าที่นั้นไปโดยอย่าให้หน้าที่นั้นมากินใจเรา ให้ใจเราเป็นอารมณ์ ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน กิเลส คือโลภะ โทสะ โกรธ โมหะหลง ตัณหามีวิภว กับภว เป็นความอยากจะได้ ไม่อยากได้ อุปาทานติดตัว

☺ นี่แหละเป็นอารมณ์กินใจเราให้เมา มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะมีเกิด มีเสื่อม และมีสบายแลพังไป เป็นอนัตตา คือไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเกิดแล้วพัง พอพังแล้วก็หาใหม่ให้เกิดอีก ไม่มีที่สิ้นสุด

☺ แก้ด้วยศีล มีศีลเป็นพื้นฐานและมีสมาธิตาม แล้วจะสรุปเป็นปัญญาได้ด้วยปัญญา ยืนพื้นด้วยพรหมวิหาร 4 และระวังตัวด้วยโลกธรรม 8
☺ สำหรับผู้มีหน้าที่ เอาเพียงเท่านี้ก่อน

◄ll กลับสู่สารบัญ



54

“สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุธสันโธ”


เข้าไปพุทธศักราช 2520 แล้วนะ กลางปีแล้ว จงสำรวจดูตนว่าก้าวหน้าถึงไหน หรือว่ายังอยู่กับที่
ปฏิบัติตามพระธรรม โดยยึดหลักอิทธิบาท 4 มาเป็นกำลังในการปฏิบัติให้เข้าถึงมรรคผลโดยเร็ว
ลา

หมายเหตุของผู้บันทึก
การเปลี่ยนองค์ไม่รู้สึกว่าเปลี่ยนตอนไหน

◄ll กลับสู่สารบัญ



55

หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 3


10 พฤศจิกายน 2520

คนที่ 1
☺ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ใจเป็นตัวก่อ ตัวเกิด ตัวอยู่ ตัวไป ผลของกรรมจะเป็นกรรมดีหรือไม่ดี ผลสนองรู้ที่ใจว่าเราโกรธไหม หลงไหม เหลิงไหม ทุกอย่างสำคัญที่ใจ เรามาล้างใจ ชำระใจ ต้องบำเพ็ญที่ใจเป็นสำคัญ
• อารมณ์ก็เป็นตัวร้อนของใจ ทำให้ใจผันผวนไปต่างๆ หวั่นไหวไปนานา
• ศีล เป็นเครื่องบังคับกาย

• สมาธิ เป็นเครื่องบังคับใจ ตัวครองสติ เมื่อสติมั่นคงแล้ว ปฏิภาณไหวพริบปัญญาจะแตกฉาน สามารถแก้ข้อต่างๆ ได้ เพราะสติระลึกถึงธรรมะที่เป็นแม่บทสอน แก้ปัญหาของอุปสรรคให้ล่วงพ้น
• อ่านมาก ฟังมากแล้วต้องมั่นคง หาหลักให้ได้ อย่าหวั่นไหว แล้วเราจะได้ประโยชน์จากทุกๆ สิ่งเอง ถ้าเราเป็นคนเข้าใจเลือกของดี

คนที่ 2
☺ สำรวจใจดูว่าวันนี้เราทำอะไรบ้าง ศีลครบบริบูรณ์ไหม สมาธิครบไหม พรหมวิหาร 4 มีไหม ดูไล่ไปเรื่อยๆ จะพบจุดดับในตัวเอง แล้วเราจะต้องตั้งใจแก้ไข
• ก่อนอื่น เราต้องตั้งใจให้เป็นสมาธิก่อน คือดำรงความเป็นกลาง ตั้งค่าตนเองให้เท่ากับศูนย์ก่อน แล้วบวกหรือลบ ดูค่าในวันนั้น ทำไปเรื่อยๆ แล้วเราจะไม่ประมาทในชีวิต

• ภาระต่างๆ มองให้เห็นเป็นเพียงหน้าที่ แต่ไม่ใช่ของเรา เราต้องการตัด “ของเรา” ออกไปให้เหลือเพียงหน้าที่เท่านั้น เมื่อทำใจได้แล้ว จะเหลือเพียง “เรา” เท่านั้น
• “เรา” ก่อให้เกิดอะไร ? เกิดตัวตน เกิด “เขา” เกิดสิ่งต่างๆ อำนาจของคำว่าเราอยู่ตรงไหน อยู่ตรงทิฐิมานะ หลงรูป หลงสมบัติ เท่านี้ก่อนนะ

คนที่ 3
☺ เข้าใจทุกข์มากๆ แล้วเราจะเข้าใจธรรม เข้าใจธรรมมากแล้ว เราจะรู้ความเป็นธรรมดาของโลก แล้วเราจะทรงธรรม

คนที่ 4
☺ไม่มีอะไรยากสำหรับการปฏิบัติธรรม อย่าเพียงแต่ “หวัง” อย่างเดียว ต้องมั่นใจมั่นคงในการปฏิบัติ ความเพียรในความดีอย่างยิ่งจะเป็นผลให้เราสมหวัง

คนที่ 5
☺เกิดเป็นคนต้องสู้ สู้ทั้งทนอด และอดทน

คนที่ 6
☺ ต้องให้รู้สึกอยู่เป็นประจำว่า ร่างกายของเรานั้นมีแต่สกปรก มีธาตุ 4 เป็นองค์ประกอบ

• ดิน คือเนื้อหนัง ซึ่งเวลาตายไปก็ร่วงเป็นผุยผง
• น้ำ ก็มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำลาย เหล่านี้เป็นน้ำ ซึ่งเมื่อตายไปก็จะทะลักออกมา เหม็นบูด
• ลม คืออากาศที่ช่วยหายใจ ช่วยให้เลือดหมุนเวียน เมื่อตายก็แปรสภาพ ระเหยออกไป
• ไฟ คือความร้อนที่จะให้ดิน น้ำ อากาศ มีพลังหมุนเวียนไป เมื่อตาย ไฟก็แปรสภาพไป

ธาตุ 4 นี้รวมตนขึ้น ก่อกำเนิดจากของสกปรก ออกจาก (ของ) สกปรก ตัวตนนี้จึงสกปรก

☺เราอย่างยึดตัว ยึดร่าง ว่าดีงาม สวย วันหนึ่งมันก็หมดสภาพแปรไป เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ดังอริยสัจว่า มีเกิดก็มีเจ็บ มีแก่ และมีตายในที่สุด จงมองสิ่งเหล่านี้ให้เห็นเป็นธรรมดาทุกวัน เราจะเป็นผู้ไม่ผิดหวังเพราะเราไม่หวังในอนิจจัง รู้ทันอนิจจัง แล้วทุกข์เรื่องกายจะน้อยไปหรือหมดไป เมื่อตัดกายได้เราจะไปสนใจอะไรกับ “เรา ของเรา” อีก จะได้ทำใจ ล้างใจ ไม่ให้ประมาทในชีวิต

• กายไม่มีในเรา เราไม่ใช่เรา ของๆ เราไม่มี แล้วอะไรจะเกิดขึ้น รู้ไหม ?
• สุขที่เป็นอริยะ จะเกิด
• อริยสุข ทุกคนปรารถนา แต่จะถึงหรือได้รับนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ปรารถนา อยู่ที่การปฏิบัติอย่างเอาจริงและเอาจังด้วย
• จริง คือแน่นอน
• จัง คือเต็มที่
• หน้าที่มีก็ทำไป แต่อย่าให้เราไปติดหน้าที่หรือหน้าที่มาติดใจเรา

คนที่ 7
☺ อุปสรรค ธรรม ธรรมดา
• ใจเราปฏิบัติธรรมควรที่จะน้อมของสองสิ่งนี้มาเข้ากัน คืออุปสรรคเป็นของธรรมดาของการเกิด ทุกข์ที่เกิดจากอุปสรรคจะเป็นทุกข์ที่เราว่า เจ็บ เบื่อ ได้นั้น มันขึ้นอยู่ที่ใจ ฉะนั้นเราจะพบอุปสรรคโดยเราไม่เดือดร้อนได้ โดยการทำใจให้รู้ในทุกข์ในธรรม ความเป็นธรรมดา แล้วเมื่อนั้นเราจะเฉยๆ ต่ออุปสรรค และจะได้รับปีติอิ่มเอิบใจ

• เมื่อใดปฏิบัติได้เช่นนี้แล้ว เราจะมองเห็นความเป็นธรรมดาของโลก ธรรมดาของคน และธรรมดาของวิสัยคน แล้วเราจะทำใจตัดได้ในอุเบกขาบารมี เมื่อนั้นเราจะไม่สนใจ เราไม่ใยดีใน “เรา” เพราะเรารู้ในทุกข์ และอุปสรรคของเราดี

คนที่ 8
☺ อย่ากังวลอะไรให้มาก พยายามถอดถอนภาระพันธะออกไป แล้วเราจะได้รับความสุข

คนที่ 9
☺ อย่าหลง อย่ามัวเมา อย่าผูกพัน จะทำให้เรามีอิสระที่จะไม่ให้ใจเราทุกข์ มองเห็นทุกข์ให้จริงๆ มั่นคงในทุกข์ที่เกิดแก่ใจแน่วแน่

คนที่ 10
☺ ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ จงทำใจให้รู้ว่าอันไหนร้อนหรือเย็น คงไม่มีใครชอบของร้อนหรือความทุกข์ ฉะนั้น ทำใจเราให้อยู่แค่เรา หน้าที่ของเรา

• รู้ในหน้าที่และของๆ เรา แต่อย่าไปรู้สึกลึกซึ้งกับมัน มันจะให้ทุกข์เราแล้วเราจะไม่สบายไปตลอดเท่าที่เรารับมันไว้ในใจเรา
• จงสร้างใจให้เข้มแข็ง มั่นคงในความดี เชื่อมั่นในบุญกุศลแล้วจะทำให้เรามีแต่ความอิ่มเอิบสบายใจ เมื่อใจไม่ทุกข์ ร่างกายจะทรงตัวสมบูรณ์ ปัญญาจะเกิดเพื่อแก้ปัญหาให้พ้นไปง่ายๆ

คนที่ 11
☺ พยายามมองดูในเราให้ทุกข์ (เบื่อ) ซึ้งแล้วจะรู้ จะศึกษาความเป็นธรรมดาได้ เมื่อรู้ ศึกษาเข้าใจแล้ว หากมีอุปสรรคขัดขวางเราจะมองเห็น รู้ทันสิ่งเหล่านั้น เราจะได้ไม่เสียรู้ให้ความทรมานใจมากินเรา

คนที่ 12 (เจ็บป่วย)
☺ดีที่ไม่สบาย จะได้ลองกำลังอารมณ์ของใจให้เห็นเป็นปกติวิสัยของโลก แล้วโรคกาย โรคใจจะหาย
• อย่าไปอ่อนแอกับมัน วิบากของกรรมจะสนองทดแทนเราต่อเมื่อกำลังจิตของเราหวั่นไหว อ่อนแอ มัวหมอง

ทั่วไป
☺ ถ้าทุกคนปฏิบัติอย่างจริงจัง มั่นคงแต่ในสิ่งที่ถูกที่ควร รักษาอารมณ์ของใจให้รู้อยู่ว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร ทำอะไร ต้องตั้งตนให้มีสติที่จะรู้สำนึกและปฏิบัติให้ตรงจุดหมาย แล้วสิ่งนี้แหละจะทำให้พวกเธอทั้งปวงมองเห็นความไม่ประมาทในชีวิต ว่าเราอยู่ก็ต้องมีทุกข์ของ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-สลาย พังไปในที่สุด

☺ เมื่อเห็นและรู้ว่าเป็นของธรรมดา ธรรมชาติของโลกแล้ว ความสุขจะเกิดขึ้นในใจเราตลอดเวลาที่ยังดำรงสติสัมปชัญญะอยู่ เมื่อนั้นเราจะแยกหน้าที่ของเรา ภาระของเรา ของๆ เราออกไปได้อย่างไม่เสียดาย ติดใจ หลงใหลอยู่อีกเลย ในไม่ช้าเราก็จะรู้ทันว่าเราเองก็ไม่มีในเรา อาศัยเราอยู่ เราเป็น และในที่สุดก็เหลือไว้แต่ความว่างเปล่า
• เมื่อเธอทั้งหลายทำได้เช่นนี้แล้ว เธอจะได้รับอริยสุขตลอดชีวิต

16 พฤศจิกายน 2520

คนที่ 1 (สมาธิไม่ดี จิตตก)
☺ ก่อนอื่น เราต้องสำรวจตัวเองเสียก่อนว่าทำไมๆ ไปนั่งคิดเสียก่อน นึกไปเรื่อยๆ มีหลายเหตุผล หลายอย่างประกอบกัน
• โทสะ โกรธ
• โมหะ หลง
• โลภะ อยาก ต้องการ ไม่พอ
สามอย่างนี้ ไม่นั่งเทียบเคียงดูซิว่าตัวไหน อันไหนเข้าเรื่องใด เราต้องตั้งค่าตัวเราเองให้มีค่าเท่ากับศูนย์ ไม่มีบาก ไม่มีลบ

☻ (ถาม – รู้เองได้ก็ดี ?)
☺ ควรจะเป็นเช่นนั้น คนที่สามารถมองตัวเองแล้วรู้ชั่วโดยไม่ต้องมีกระจกส่อง พระพุทธครูท่านทรงยกย่องว่า ผู้นั้นจักประเสริฐต่อไปภายหน้า

คนที่ 2 (ปรารภกรรมฐานไม่ค่อยดี)
☺ อารมณ์ใจร้อน ใจวุ่นวาย โกรธง่าย ไม่พอใจ ค้าง ไฟมันร้อน เมื่อมันดับไปแล้วก็ยังคงร้อนอยู่ อุ่นอยู่ ใช่ไหม อุ่นอยู่ ไม่สบายใจ กังวล เป็นห่วง ก็เป็นมารของสมาธิ ลองสำรวจดูว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

• เมื่อรู้แล้วก็ต้องตัดตัวหงุดหงิดออก ลิงมันซน นั่นแหละคือความซนของลิง ขออย่างเดียวอย่าให้ลิงมันซนเขย่ากรงจนประดูกรงเปิดนะ ไม่งั้นเราไล่จับไม่ทัน เหนื่อยด้วย ให้ล๊อคกุญแจเสียด้วย “พุทโธ”

☻ (ถาม – คือภาวนายังไงก็ได้ ให้ใจนิ่ง ?)
☺ ใช่ แล้วแต่ใจชอบ เวลาโกรธ จะให้หายโกรธ หรือหยุดโกรธ ให้ท่องคาถาหรือบทสวดมนต์ บทไหนก็ได้ ท่องให้เพลิน ลืมโกรธเหมือนร้องเพลง

คนที่ 3 (ขอทราบข้อบกพร่อง)
☺ ความไม่พอใจ ต้องให้ลดลง เพราะไม่พอใจบ่อยๆ จะทำให้เกิดโทสะ เกิดบ่อยๆ เมื่อโทสะเกิดบ่อยๆ แล้วสติจะหาย ศีลจะหดใช่ไหม มองให้เห็นเป็นธรรมดา ช่างมันๆ ท่องเอาไว้

คนที่ 4 (ปฏิบัติสมาธิไม่ดีเหมือนแต่ก่อน)
☺ ทำไมถามตา ? ก่อนถามดูรู้ด้วยตัวเองหรือเปล่า ว่าเป็นเพราะอะไร กังวลรึ ? กลัวรึ ? หรือว่าโกรธ หรืออยาก หรือท้อ หรือรำคาญ
☻ (ถาม – อยากทำ แต่ไม่ทราบขี้เกียจ หรือเพลีย หรือเหนื่อย)
☺ก็ทำใจให้หายเหนื่อยเสียก่อน ใช้เวลา 10 นาที นั่งมองอะไรๆ ให้ใจสบายๆ เพลินๆ ไม่ใช่รีบร้อนมาแล้วนั่งเฉย
☻ (ถาม – ต้องการจับภาพพระ แต่ไปเห็นรูปที่ท่านอื่นเสด็จมา)
☺อารมณ์เราขณะนั้นอยากจะเห็นภาพไหน ก็นำรูปนั้นเป็นนิมิต

☻ (ถาม – ใจยังอยากไปดูสวรรค์)
☺ ถ้าอยาก ก็ไม่ได้ไป ไม่อยากก็ไม่ได้ไป เฉยๆ ถึงจะได้ไป “เฉยๆ” คืออะไร คืออุเบกขา อุเบกขาเป็นอะไร ? เป็นฌานคืออารมณ์ของอุเบกขานะ แล้วให้มีวิริยะ อุตสาหะ พร้อมขันติ ไม่ใช่ว่าคนอื่นเขาเห็นกันหมดแล้วเรายังไม่เห็นก็เสียใจ เราขาดขันติ ขาดมากๆ กลายเป็นน้อยใจ น้อยใจมากๆ กลายเป็นอิจฉา
• อย่าพะวง ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ ทำให้ดีที่สุด อารมณ์นี้แหละที่ยังไปไม่ถึง

คนที่ 5 (อึดอัดเรื่องงานของโลก)
☺ ทำไม แพ้รึ ? แสดงว่าติดมัน ไม่ได้มองมันว่าเป็นของธรรมดา
• ยากตรงไหน ยากตรงทำใจต่างหาก ใจซิสำคัญ เช่นเดียวกับเรา ไม่รำคาญเสียงในเวลาทำสมาธิ เสียงที่น่ารำคาญนั้นเปรียบเหมือนความวุ่นวายที่เราพบในการงานใช่ไหม ยุ่งก็ให้มันยุ่งไป ของๆ โลก ใจก็ส่วนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างใจกับโลกนั้น ถ้าหากไม่ใช้ทางมัชฌิมาปฏิปทาแล้วเราลำบากใจ

• สนใจในภาระมากทุกข์ก็มาก สนใจน้อยคนก็จะติเตียนว่าทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทางสายกลางเป็นดีที่สุด ทำอย่างไรรู้ไหม
• ภาระ คือสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ ต้องทดแทนรู้หรือยัง เรายังต้องทำอะไรอีก พ่อแม่มีไหม นั่นแหละพระนะ ถึงอย่างไรก็เป็นพระ ทำใจให้สบาย อย่าไปติดไปถือว่าเป็นหนี้ ให้ทำบุญเพื่อชดใช้กรรม

• ราต้องนึกเสมอว่า เวลาเราทุกข์เพราะสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราอาจจะเคยทำกับเขามาก่อนก็ได้ เขาก็เจ็บมาแล้วเหมือนเรา คราวนี้เป็นคราวที่มาเป็นกับตัวเรา เราก็ต้องใช้ไป ทนไป
• พระท่านสอนว่าอย่างไร ? ยอมรับความจริงแล้วเราจะสู้ได้อย่างไม่ท้อถอย ใคร่ครวญดูดีๆ นะ

คนที่ 6 (มีโทสะเรื่องเจ้านายหาเรื่องอยู่เรื่อย)
☺ อย่าไปว่าเขา มองให้เห็นเป็นธรรมดา คนเวลาเกรี้ยวกราดแล้วหน้าตาตลกดี
☻ (ถาม – ทำอย่างไร เขาจะเลิกแกล้งได้ ?)
☺ ช่างเขา จะไปแก้อะไรเขา ต้องแก้ที่เรา

คนที่ 7 (ปรารภ เบื่อชีวิตความเป็นอยู่ รู้สึกว่ากลุ้มใจ)
☺ นี่แหละโลก ทำไมไม่มองให้รู้ว่ามันเป็นละคร เราต้องเอาตัวของเราออกมาเป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้แสดง
• การเบื่อ อย่าไปโทษอะไรต่ออะไร ต้องโทษตัวเราว่าสนองรับอารมณ์หรือเป็นทาสของโลกอะไรบ้าง ต้องกล้า ต้องสู้ เพราะคนเราที่มาเกิดนี้ล้วนมีเวรกรรม มีหน้าที่ต่อกันที่จะมาชดใช้ ทำให้กันและกันทั้งนั้น อย่าหนีนะ ต้องใช้ให้หมดนะ พยายามทำเข้าไว้ พิจารณาให้หนัก พระพุทธครูทรงสอนว่าเราต้องทำที่เรา ไม่ใช่ทำสิ่งภายนอก ของทุกอย่างเกิดที่เรา เป็นที่เรา ได้รับที่เรา เราต้องแก้ไขที่เรา เข้าใจหรือเปล่า

• อะไรที่ว่าแก้ไขที่เรา รู้ไหม ?
• ใจ สำคัญตัวนี้ ทำใจให้ได้ ท่องเอาไว้ว่าอนิจจังคืออะไร ทุกขังคืออะไร อนัตตาคืออะไร แล้วแก้ที่ไหน ดูทุกข์ เหตุของทุกข์ ทางดับทุกข์ ทางหนีทุกข์ เอาข้ออริยสัจนี้มาเข้ากับเหตุแห่งตัวเรา เมื่อเราทุกข์ เราเบื่อ ทางหนีอย่างวิ่งหนีนั้นถือว่าเป็นการหนีความจริง ไม่ใช่วิชชาที่จะหนีทุกข์

คนที่ 8
☺ ไม่อยากลาพุทธภูมิก็ไปช่วยชาวบ้านเขาต่อ พุทธภูมิเป็นวิชาครู คนที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้นั้นต้องรู้ ต้องเป็นเองทุกวิชา ทุกชนิด และจะต้องเป็นผู้ที่ได้การอบรมในสภาวะโลก ของจักรวาลมาอย่างดี และเชี่ยวชาญ เราพร้อมหรือยัง

• คนขาด้วน ความรู้สึกของเขาเป็นอย่างไร ลำบากทรมานอย่างไร เราก็ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น เพื่อจะรู้ว่าเป็นอย่างไร (แล้ว) จะได้สอนคนที่เขาขาด้วนได้ เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู

สำหรับทุกคน
☺ ทุกข์เป็นของหนัก ลำบาก ทรมาน
• ทุกข์มาจากกรรม คือการกระทำของเรา เราจะมาดูกันที่กรรม
ข้อที่ส่งผลให้พวกเธอทั้งหลายมารับ มาทดแทน มาใช้กรรมกันอย่างเข็ญใจนั้น ก็คือกรรมอันเป็นการกระทำของเราที่ทำมาในอดีต ไม่ว่าอดีตของชาติปัจจุบัน หรืออดีตในภพก่อน เป็นการกระทำที่ทุกคนไม่พยายามมองดูให้รู้ให้แจ้ง

• เราจะรู้จะแจ้งอย่างเดียวคือกรรมดี หรือการกระทำความดี รู้อย่างชัดว่าเราดีแต่ทำไมไม่พยายามรู้ว่ากรรมชั่วเราชั่วแค่ไหน เราทำชั่วไว้กับใครบ้าง ใครเจ็บช้ำน้ำใจเพราะเราบ้าง แต่เวลาตนเองได้รับผลสนอง จะมาร้องว่าฉันน่ะทำดีตั้งมาก ทำไมถึงทรมานแสนเข็ญนัก

• ลองพิจารณาดูซิว่า ของๆ ธรรมชาติเป็นธรรมะนั้น เป็นวัฏจักรของกรรมทุกอย่างไป เริ่มตั้งแต่เจตนา เจตนาเป็นอรูปธรรม เป็นตัวก่อเกิดรูปธรรม เมื่อก่อเกิดรูปธรรมแล้ว รูปธรรมก่อเกิดอรูปธรรมเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

• เช่น เราคิดที่จะทำอะไรเป็นอรูปธรรม เมื่อเราทำลงไปก็เป็นรูปธรรม เมื่อทำลงไปแล้วมีผลต่อออกไปในด้านเจตนาก็เป็นอรูปธรรมต่อไปเรื่อยๆ นี่แหละกฎของกรรม เริ่มที่อรูป แล้วเป็นรูป แล้วเป็นอรูป วนไปวนมาอยู่เช่นนี้จนกลับเข้าที่เดิมคือเรา นี่เป็นกฎของธรรมชาติ

• ธรรมชาติคือธรรมะ ความเป็นจริง แต่คนเราไม่ยอมรับความเป็นจริงซึ่งเป็นธรรมชาติธรรมดา เป็นกฎของกรรม เรามักจะปฏิเสธ ไม่รับรู้ว่ากรรมนั้นมีมา มีไปเช่นไร เมื่อเราไม่ยอมรับสิ่งที่จะได้รับก็คือราคะกิเลส ราคะในกิเลส โทสะในกิเลส โมหะในกิเลส โลภะในกิเลส เหล่านี้เชื่อมโยงให้เกิดตัณหา (ภวและวิภว) แล้วต่อเนื่องไปเป็นอุปาทาน ตัวเราย้ำนักย้ำหนาว่าฉันถูก ฉันดี ฉันเก่ง ฉันนะ ของๆ ฉันนะ

• ได้เคยย้ำหลายครั้งแล้วว่า ดูตัวของเรานี้ ยกตัวของเรานี้มาดูอย่างกล้า กล้าที่จะรู้ว่าตัวเองดีหรือไม่ดีมากกว่ากัน ที่ไม่ดีมักจะไม่ค่อยรับรู้ ถ้าพวกเธอส่วนใหญ่ดีแล้วทำไมถึงต้องมาเกิด นี่แหละ ให้พิจารณาดูที่เรา สำรวจที่เรา อย่าไปยุ่งเรื่องของชาวบ้าน อย่าไปคิดถึงเรื่องภาวะของรอบๆ ตัวเราว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เราลำบาก – เป็นทุกข์ ไม่จริง

• ไปโทษมันทำไมเราต่างหากที่ทำ เราจะแก้ได้ด้วยตัวตนของเราเอง ล้างที่ใจ ดูให้รู้สึกที่ใจ ใจจะบอกว่าทุกข์เป็นอย่างไร สุขเป็นอย่างไร ใจจะร้อนอย่างไร เย็นอย่าไร วุ่นวายอย่างไร สุขุมอย่างไร ใจทั้งสิ้น

• ฉะนั้น ที่เรามาฝึกสมาธิ ฝึกหัดพระกรรมฐานกันนั้น เรามาฝึกใจเราให้สบาย ไม่ใช่มาฝึกกายเพื่อฐานะ เพื่อความสุขจอมปลอม ขอให้ทุกคนตั้งใจมั่นคงที่จะยอมรับรู้ความจริง คือทุกข์

• เรารู้ ด้วยการได้ยินว่า วิธีดับทุกข์ทำกันอย่างไร แต่ทำไมไม่เอาความรู้ หรือเจตจาออกมาแสดงด้วยการปฏิบัติ ทำให้ได้ อย่าไปรองรับเอาอารมณ์ของโลกมาสิงสู่กับใจเรา เราอย่ามีความเสียใจในสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นไปเพราะกรรม เราอย่าน้อยใจในเรื่องต่างๆ เพราะช่วยอะไรเราไม่ได้

• จงตั้งต้นที่ความมั่นคง คือมีสติรู้รับผิดชอบว่าเราทำอะไร ในฐานะอะไร เป็นอะไร ทำเพื่ออะไร เมื่อมีสติมั่นคงบริบูรณ์แล้ว เราจะได้ปัญญาซึ่งมาจากตัวของเราเอง พร้อมที่จะแก้ไขการต่างๆ ให้ลุล่วงไป เมื่อนั่นแหละพวกเธอจะได้มีทุกข์อย่างธรรมดา ทุกข์อย่างธรรมดาเป็นอย่างไร ? ทุกข์อย่างธรรมดาคือ เกิดรู้ แก่รู้ เจ็บรู้ ตายรู้

• เกิด ใช้ได้หลายเรื่อง ทุกเรื่องต้องมีเกิด เกิดเป็นคน เกิดเป็นโน่นนี่
• แก่ หรือ เก่า ต้องผจญกับของทุกๆ สิ่ง ทุกสิ่งมีแก่ มีเก่า
• เจ็บ เป็นคำที่ทรมานหัวใจ เจ็บคือชำรุด ทุกอย่างมีเจ็บ
• ตาย คือหมดสภาพ สลายไป พังไป
• สิ่งเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบของธาตุของโลกทั้งสิ้น เราจะยอมแพ้รึ

• ที่ว่าจะหนีน่ะ หนีอะไร หนีความจริง หรือหนีการใช้หนี้ หนี้กรรม คนที่หวังการไม่เกิดเป็นที่ตั้งนั้น เรามีหนี้เท่าไรก็ต้องใช้ให้หมด ไม่ใช่หนีได้เฉยๆ หมดหนี้เมื่อไรเธอจะคล่องตัวทุกด้าน

• พึงระลึกจำไว้ว่า ความเป็นธรรมดาเป็นธรรมะ มองให้เป็นธรรมดาแล้วอารมณ์เราจะไม่วุ่นวาย หวั่นไหว นั่นแหละกำลังใจจะเกิด เราจะมีสมาธิที่แข็งแรง แข็งแกร่งมั่นคง คืออารมณ์ฌานวิปัสสนา แล้วเราจะตั้งใจมั่นในการพิจารณาสิ่งไรจะเสร็จเด็ดขาด อารมณ์นี้จะเป็นแรงดันให้เราละทิ้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เป็นสมุจเฉทปหาน

• ฟังกันแล้วปฏิบัติกันให้ได้ ธรรมชาติสร้างคนมาไม่ผิด ตาก็อยู่ถูกที่มีมากพอที่จะเห็น หูก็มีมากพอสำหรับได้ยิน จมูกมีอันเดียว แต่ประกอบด้วย 2 รู้หายใจ ปากมีอันเดียว ใช้ให้เป็นให้ถูก ใช้ในสิ่งที่ควรใช้ จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงตรัสเรื่องอายตนะ

• 1. ตา เห็นแล้วรู้อะไร
• 2. หู ได้ยินแล้วรู้อะไร
• 3. จมูก ได้กลิ่นแล้วรู้อะไร
• 4. ลิ้น ได้รสแล้วรู้อะไร
• 5. กาย สัมผัสแล้วรู้อะไร
• 6. ใจ คืออะไร
• ใช้ให้เป็นประโยชน์ ให้มีคุณค่ามากที่สุด ใช้เป็นไหม ?

ตาเห็น อ้อ นั่นรูป สมมุติ
หูได้ยิน อ้อ นั่นเสียงเกิดจากการกระทบกัน คนจะมีเสียงได้ ต้องมีของกระทบกันใช่ไหม
ลิ้น เมื่อสัมผัส อ้อ นั่นซากศพของสัตว์ ของพืช
กาย เมื่อสัมผัสก็รู้ว่า อ้อ หนังกำพร้า มันสบาย มันร้อน มันเย็น
สีทั้งหลาย ต้องทำให้รู้ที่ใจ เมื่อรู้ทันแล้วเราก็จะเห็นความเป็นธรรมดาอีกว่า อ้อ ของธรรมดาๆ ที่เรารู้ทันมัน นี่แหละใจที่จะทรงอารมณ์อุเบกขาญาณ เมื่อนั้นชั้นของอารมณ์จิตจะต้องไม่พูดกันว่าชั้นไหนเป็นอย่างไร เพราะโลภเปล่าๆ

• ทำไปเถอะ พยายามทำ แต่อย่าประมาทใช้ชีวิตก็แล้วกัน ทำไปให้อยู่ในกรอบของธรรมะขององค์พระสมณะโคดมบรมครูองค์เดียว จะได้สัมฤทธิ์ทุกประการในวิมุตติสุข เมื่อนั้นเธอทั้งหลายจะได้ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที เพราะเป็นผู้ไม่ตกต่ำในความดี

• เธอมุ่งหวังอริยสัจเป็นประพฤติทั้งปวง ได้อุทิศสัจจะ อุทิศมโนให้แก่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอเนกอนันต์นั้น เทพทั้งปวงล้วนอนุโมทนามัยในความดีนี้ทุกประการ อันพระองค์ท่านนั้น ทรงพระมหากรุณาธิคุณไพศาลยิ่งนัก ทรงประทานพระว่าพวกเธอทั้งปวงรักใคร่ในความดีขององค์พระตถาคต

• ท่านทรงเปรียบเธอทั้งปวงได้ดังบุตร ดังลูกในศาสนาสาวกของพระองค์พระองค์ทรงห่วงใย เมตตาในธรรมคาถาที่เธอได้บำเพ็ญเพียรทุกอย่างไป จะเคารพพระองค์ท่านด้วยความกตัญญู ผู้มีเป็นประดุจบิดานั้นไม่มีสิ่งไรที่จะชื่นใจเท่ากับเห็นความดีของลูก

• ความชื่นใจจะบังเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อลูกประสบความสำเร็จอยู่เคียงข้างพระองค์ ขอให้เธอทั้งปวงจงหมั่นตั้งใจ อย่าให้พ่อผิดหวัง พระผู้ซึ่งเป็นประดุจบิดานั้นท่านจะให้ลูกของท่านดีได้ด้วยการสอน แต่จะจับขาลูกเดินนั้นขอให้จำไว้ว่า นั่นพ่อคิดจะฆ่าลูก

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


puy - 8/9/10 at 14:57

56

(Update 8-09-53)

คำเทศน์ของ “หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 4


15 ธันวาคม 2520

คนที่ 1 (จะไปต่างประเทศ กลัวการบำเพ็ญจะถอยเพราะพบคนมาก)
☺ ไปเถอะ คนเจอทุกข์เหมือนคนที่ได้บำเพ็ญในธรรมะปฏิบัติ ความสุขของโลกที่เราพบอยู่ เสวยอยู่นั้น เราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์อย่างยิ่งของโลก เวลามีอยู่เท่าไรใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
☻ (ถาม – ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ)
☺ พระอยู่ที่ใจ พระแปลว่าความดี ไหว้พระคือไหว้ความดี

☻ (ถาม – ขอคำสอน)
☺ สติ สัมปชัญญะดีที่สุด สำหรับเป็นปัญญาส่องแสงสว่าง ความรู้ตัว รู้ดี รู้ชั่ว คำสอนมีอยู่มากมาย นำไปใช้ให้เป็น อย่าทำให้รู้สึกว่าตนเป็นเด็กเลี้ยงไม่โต หาประสบการณ์ให้มากๆ ข้อสอบ ถ้าไม่มีการสอบ ไม่มีข้อสอบ อะไรเป็นขั้นที่เราจะได้ ?
• อย่าไปกลัว ใช้เวรกรรมกันไป คนเราเกิดมาย่อมมีหน้าที่ ภาระและพันธะ ติดตัวทุกคน เราจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการงาน

คนที่ 2 (ถามเรื่องเคราะห์กรรมของคนๆ หนึ่ง)
☺ เคราะห์คนเรามีอยู่ทุกเวลา จะมากหรือน้อย จะหนักหรือเบาอยู่ที่กุศลกรรมและอกุศลกรรม ฉะนั้นจงพยายามทำกุศล บุญ ความดีไว้ทุกเวลา ใจจะได้ไม่ประมาทกำเริบในวาสนา
• อย่าร้อน อย่าร้อนโดยที่เราเป็นคนก่อไฟ ให้ไฟมันก่อที่นอกตัวเรา เราเป็นผู้ดับหรือผู้ได้รับความร้อนก็พอ แต่อย่าเป็นเหตุ

คนที่ 3 (คนเจ็บ)
☺ให้ทำใจสบายๆ พิจารณาขันธ์-รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พิจารณาให้เห็นว่าเราซื่อสัตย์กตัญญูต่อมันเพียงไร จะร้อนก็ทำให้เย็น จะเย็นก็ทำให้อุ่น จะเมื่อยก็นวด จะกินก็หาของดีมาปรนเปรอ ทำไมมันถึงทรยศ เพราะมันไม่รู้จักพอ มันโลภ มันไม่ได้ดังใจก็โกรธ
• บางครั้งมันก็ทะนงในรูป ยศ และฐานะ มันหลง มันเลว มันไม่ดี เราแสนที่จะเอาใจมันต่างๆ นานา มันไม่รักดี เรายังต้องการมันไหม ?

• ดูแต่ร่างกายนี้เป็นที่รักของเราซิยังเป็นแค่นี้ แล้วจะนับประสาอะไรกับโลก สมบัติของโลกมันไม่ยิ่งกว่ารึ คนต่างๆ มันยังรบกวนกันอยู่ เราจะยึดอะไรจากที่นี่จากโลกนี้อยู่อีกล่ะ น่าเบื่อ น่ารำคาญ น่าอดสูใจ
• พิจารณาให้รู้ซึ้งกินใจอยู่เรื่อยๆ ให้เห็นของที่มีคุณค่าคือความสุข ความอิ่มใจที่ได้จากความสันโดษ ที่ได้จากสมาธิธรรมกรรมฐาน ปล่อยลงให้ว่าง ให้ทรงตัวอย่างสบายๆ หลังจากพิจารณา

• เราบังคับร่างเราไม่ได้แล้ว จะเอายังไงก็เอาไปไม่ต้องการแล้ว มันทรมานเสียจริงๆ เวลาเจ็บ ให้ว่า “พุทโธ” พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อถึงเวลาจริงๆ ในยามทุกข์นี้เห็จจะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้นที่จะสู้ที่จะทำ จงพอใจในความสันโดษ ยึดเอาพระ เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เป็นพลัง เป็นกำลัง
ภาวนา “นิพพานัง” นะ เป็นสุขที่สุด “ฉันไม่เอามัน ฉันจะไปนิพพาน”

29 ธันวาคม 2520

☺ วัน เวลาผ่านไปอีกวารหนึ่ง ชีวิตของพวกเธอทั้งปวงก็ใกล้จะถึงที่สิ้นสุดแห่งขันธ์ 5 ธาตุทั้ง 4 ใกล้มาเรื่อยๆ เวลาที่ได้บำเพ็ญเพียรในกิจการของโลกของธรรม และของความดีทั้งปวงย่อมเหลือน้อยเต็มที
• จงตั้งจิตตั้งใจให้ตัวตนมีสติมั่นคง ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ คือหน้าที่ที่ทุกคนมีต่อส่วนรวมและตนเอง

• ประการแรก เราต้องสางที่ตนเองก่อน จงหมั่นตรวจดูตนเองอยู่เป็นนิจ เมื่อตนเองแก้ไขตนให้อยู่ในศีลในธรรมความพีพอสมควรแล้ว จะได้มุ่งไปสู่คนส่วนรวมได้ เมื่อนั้นทุกคนจะอยู่อย่างมีความสุขกาย สุขใจ เมื่อหาความสุขกายสุขใจได้แล้ว เราจะปฏิบัติในสติปัญญาแห่งการพิจารณาสิ่งต่างๆ ก็จะแจ่มใสลุล่วง จะรู้จะเห็นสิ่งใดก็จะมีปัญญาให้เท่ากัน

• ขอให้มุ่งดูโทษของตนเองก่อนดูผู้อื่น ธรรมะนั้นเรียนไม่ยากรู้ไม่ยาก ปฏิบัติไม่ยาก ธรรมะนั้นคือธรรมชาติของคน แต่เราชอบทำสิ่งต่างๆ ให้ฝืนธรรมชาติ ปฏิบัติตนให้ขัดกับธรรมชาติ เมื่อใดที่เราโอนอ่อนผ่อนตามไปตามธรรมชาติแล้ว เมื่อนั้น เราจะรู้จักสาระของธรรมชาติ นั่นคือรู้จักธรรมะ คือรู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ รู้จักมรรค ว่าอะไรเป็นแก่นสาร สาระของชีวิตที่เราสร้างสมก่อเกิดกันขึ้นมา

• เดชานุภาพอำนาจแห่งจิตนี้มีพลังมหาศาลยิ่งนัก จงตั้งที่จิตที่ใจตนที่จะปฏิบัติ กรองสิ่งที่เป็นอาสวะกิเลสออกมา จิตเป็นตัวก่อ ตัวเกิด จงระงับ แก้ไขที่จิต
• มนุษย์นั้นเปรียบว่ามีเรือนร่างเหมือนภาชนะใส่น้ำ ภาชนะนั้นอาจจะเป็นแก้วอย่างดี ไปจนถึงกะโหลกกะลาก็ได้ เสมือนด้วยฐานะทางรูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ ต่างกันแล้วแต่ช่างปั้น

• น้ำเปรียบเหมือนจิตคน ถ้าใสสะอาดน้ำก็บริสุทธิ์ แต่น้ำที่บริสุทธิ์นั้นย่อมเป็นน้ำทิพย์ น้ำทิพย์ที่เป็นอมตะ มีแต่ความอิ่มเอิบ มีแต่ความสะอาด แต่น้ำในภาชนะที่เปรียบเทียบนี้ไม่รู้ว่ามีตะกอนหรือไม่ ตะกอนนั้น คือ กิเลส ตัวขุ่นมัว โลภะ โทสะ โมหะ

• ส่วนสีของน้ำย่อมเปรียบได้กับตัณหาของคน สีใจ สีข้น เราจะแยกสีของน้ำนั้นได้โดยการตกตะกอน (ซึ่ง) ใช้เวลายาวนานมาก แล้วตะกอนล่ะ ต้องมีที่ช้อนหรือกรองตะกอนที่จะชำระเอาตะกอนนี้ แล้วกลั่นกรองออกมาได้ แต่เมื่อช้อนเอาตะกอนทีไร มันจะพาตะกอนวิ่งวนไปมาในน้ำจนเราไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดว่า อันไหนอันใดเป็นน้ำหรือเป็นตะกอน

• ตัวที่คนน้ำนั้นเสมือนเป็นอารมณ์ อารมณ์ซึ่งจะเอาแน่เป็นแก่นเป็นสารเป็นสาระไม่ได้แน่นอน ตัวนี้แหละจะเป็นตัวทำลาย ทำลายให้ตะกอนอื่นปนน้ำ อะไรที่จะมาแยกน้ำกับตะกอนออกให้เห็นชัดแจ้งได้ นั่นคือน้ำจะต้องนิ่ง สงบ เฉย เหมือนสมาธิ

• จิตของคนมีทรงจิต มีสติสมบูรณ์ อะไรจะเป็นตัวกรองน้ำให้แยกออกจากตะกอน นั่นคือปัญญา ปัญญาเสมือนผ้ากรอง วิธีกรองนั้นเสมือนวิธีพิจารณา นั่นคือปฏิภาณไหวพริบที่จะต้องมี จะเกิดขึ้นได้ด้วยความชำนาญ ประสบการณ์ จะมีขึ้นได้ด้วยการกระทำความเพียรมานะพยายามบากบั่น

• เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงขอให้พวกเธอพยายามทำความเพียรให้ได้ มานะ พยายาม บากบั่นที่จะเอาชนะใจตนเองในอกุศลให้สำเร็จ อย่าท้อ อย่าถอย อย่าคอย อย่าผัด (วันประกันพรุ่ง)
สิ่งที่เป็นตัวปั้นภาชนะ เป็นตัวปั้นแต่งอารมณ์นั้นคือ กรรมะ กรรมะคือการกระทำของแต่ละบุคคล ย่อมมีการกระทำสนองตอบแทน

• นี่แหละความสมดุลของธรรมชาติซึ่งพวกเธอไม่รู้สึก เพราะพวกเธอไม่รู้จักธรรม ธรรมชาติ ไม่รู้จักคำว่า “เสีย” รู้จักแต่คำว่า “ได้” จงล้างทิฐินี้ออกไปเสีย “ยุติ” แปลว่าหยุด “ธรรม” คือธรรมดา ธรรมชาติ “ยุติธรรม” คือธรรมชาติที่หยุดแล้ว หมายความว่าเป็นของสมดุลกัน คือเท่ากันทั้งรับและให้

☺ จงตั้งมั่นที่จะทำความเพียรต่อไป เวลามีน้อยแล้วสำหรับทุกคน หมั่นหาความดีใส่ตน แล้วเธอจะสุขใจ สุขกาย

14 มกราคม 2521

☺ พรหมวิหารเป็นวิสัยของพรหม พรหมนั้นส่วนใหญ่เป็นพระอนาคามี ฉะนั้นพรหมวิหารคือพื้นฐานอันแรงกล้าของพระอนาคามี ทุกข้อต้องพิจารณาให้หนัก อย่าไปตั้งใจเฉพาะข้อหนึ่งข้อใด
☺ การนั่งสมาธิก็เพื่อควบคุมสติให้มั่นคงมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ฉะนั้นเมื่อมีเวลาที่จะนั่ง ก็ขอให้ควบคุมสติให้มั่นคง ไม่ให้อารมณ์เป็นนายเรา

22 มีนาคม 2521

คนที่ 1 (เป็นห่วงความเจ็บไข้ของผู้อื่น)
☺ ทำไมไม่พิจารณา ของทุกอย่างเป็นจริงตามธรรมชาติและภาวะเวลา ของทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง แต่ตัวของเรา จิตของเรามันไม่จริง

☺ การที่ท่านเจ็บ ก็เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ถ้าท่านไม่เจ็บซิจึงจะไม่ใช่ธรรมดาของธรรมชาติ พิจารณาดู เราเข้ามาฝึกหัดพระกรรมฐานกันเพื่อให้ใจยอมรับความจริงนั่นคือภาวะของธรรม เพื่อหวังผลพ้นบ่วงกรรม เพื่อพระนิพพานให้หมดทุกข์สิ้นโลก

คนที่ 2
☻ (ถาม – นั่งสมาธิไม่ได้ผล)
☺ ใจไม่เป็นใจ สมาธิไม่ทรงตัว ถามตัวเองซิว่าทำสมาธิเพื่ออะไร เพราะเมื่อใจเราไม่สู้ไม่กล้าอย่างนี้แล้ว กำลังใจจะเกิดได้อย่างไร บามีมีก็ไม่พอเท่าที่ควร การหวังผลที่จะอ่อนตามกำลังใจไปด้วย
☻ (ถาม – ไม่เกิดปิติ)
☺ อยู่ที่ใจ อย่าไปจับว่าไอ้นั้นไอ้นี่จะเกิด ปล่อยตามสบาย เคยเผลอไหม
☻ (ถาม – แบบนั่งเพลินๆ แล้วคิดไป ?)

☺ เออ นั่นแหละ รักษาอารมณ์นั้น แต่อย่าไปคิดฟุ้งซ่าน ให้เปลี่ยนเป็นจับ “พุทโธ” หรือพิจารณาไป พิจารณาอย่างง่ายๆ ในเบื้องต้น ให้จับหลักของไตรลักษณ์ พิจารณาว่าอนิจจังนี้จริงไหม อะไรบ้างที่ไม่ใช่อนิจจัง ทุกขัง ทุกข์ไหม อะไรทุกข์บ้าง

• ตั้งแต่เกิด แล้วดูให้เห็นว่าทุกข์ทรมาน หรือสบายเป็นอย่างไร ดึงเอาความรู้สึกขึ้นมาว่า เวลาเราเจ็บนั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ลงด้วยอนัตตา ไม่มีที่แน่นอน เป็นไปตามกาลเวลา ไตรลักษณ์นี้ลงในการพิจารณาได้ครบทุกเรื่อง

• ดูอารมณ์ในขณะนั้น ถ้าไม่อยากจะคิดอะไร อยากอยู่เฉยๆ ก็กำหนดภาพพระเป็นนิมิต หรือคำภาวนา แต่ถ้าไม่สบาย ใจฟุ้งซ่าน มีทุกข์หรือมีเหตุ ก็ให้ใช้ไตรลักษณ์จับอารมณ์
• พอเวียนหัวก็ลองแยกกายกับใจ ทำได้ไหม แยกว่าให้ดูรู้จัก จะเป็นอย่างไรก็เป็นไป สำคัญที่ใจ อย่าใจอ่อน ไม่กล้า ไม่สู้ ท้อแท้ อย่าเป็นอย่างนั้นนะ ให้คิดว่านั่นแหละมาร จะทำให้เราไม่ถึงธรรม ไม่ได้ธรรม

คนที่ 3 (ปรารภว่ากิเลสยังมาก)
☺ เอาเถอะ ทนเอานะ ค่อยๆ ทำไป อยู่ที่ตัวเราเป็นผู้พิจารณาตัวเราดีกว่า จะได้กล้าดูตัวเองว่าผิดตรงไหน ความดีของเรา ให้พระ ให้คนอื่นเป็นผู้ดู แต่ความไม่ดี ให้ตัวเราเป็นผู้ดู จะได้รู้ว่าใจน่ะ กล้ารู้ กล้าเห็น กล้ายอมรับความจริงเพียงใด นั่นแหละคือธรรม

คนที่ 4 (ถามวิธีทำใจ)
☺ บางเวลาเราต้องรู้จักหยุดนะ หยุดคิด หยุดพูดในเรื่องบางเรื่อง ตามโอกาส จะได้ทะนุถนอมใจเราให้ทรงตัวในสิ่งอันควร ห่วงในเรื่องที่ควรห่วง ช่วยในเรื่องที่เราทำได้ และควรทำตามกำลัง แต่ทุกอย่างอย่าให้หนักเกินไป น้อยเกินไป อย่าให้เป็นภาระจนเรามีกิเลส โมหะ โทสะ โลภะ

15 เมษายน 2521

คนที่ 1 (สงสัย เวลาพาลูกไปทำบุญมักมีอุปสรรค)
☺ แน่นอน การทำความดีมักจะมีอุปสรรคกางกั้น ดูความดีของเราว่ามีความเพียรพยายามมากน้อยแค่ไหน ถ้าผ่านอุปสรรคนั้นไปได้และบรรลุถึงความดี คือ เจตนาทำบุญไปแล้ว ผลของบุญที่เราศรัทธา ทำไปจะตอบสนองในไม่ช้า

• จับหลักของพระพุทธองค์ที่เราได้ยินมาแต่เด็กแต่เล็ก ที่ฟังกันจนเจนหูเข้าใจง่ายคือ ทำบุญย่อมได้บุญ ทำบาปย่อมได้บาป แต่คำสอนเพียงเท่านี้ ถ้าคิดอย่างผ่านๆ ใครก็คิดได้ ถ้าคิดอย่างถี่ถ้วนก็จงดูผลของบุญและบาปนั้นมาประสบกับเราเท่าใด เพราะทุกคนคิดเสมอว่า ทำบุญบาทหนึ่งจะได้ถึง 100 ทำบาปร้อยหนึ่งจะได้บาปเพียง 1 จริงไหม ?

คนที่ 2 (มีภัย ทำบุญอะไรจะแก้ได้)
☺ ถ้าของทุกอย่างทำบุญแล้ว จะแก้เรื่องทุกข์ได้ทุกเรื่อง เราจะต้องมาเกิดเป็นคนทำไม สิ่งนี้ต้องอยู่ที่การระวังรักษาและปฏิบัติตัว อย่าให้เราเป็นที่หมายปองของคนอื่น

คนที่ 3
☺ ขอให้ทำใจให้หนักแน่นมากขึ้น คนที่จะทำบุญถึงตามปรารถนานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีน้ำใจ จิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคงในสิ่งที่ถูกด้วยกาลเทศะและเหตุการณ์
• เราเกิดมาเพื่อสร้างบุญและชดใช้ความเลวแห่งบุพกรรม สังขารของเธอทั้งหลายที่มุ่งหวังเพื่อธรรมะนั้น จงระลึกว่าเรามีสังขารเพื่อบุญ เพื่อให้เจ้ากรรมนายเวรเขามารังควานในที่ควรเป็นแห่งกรรมของแต่ละคน

คนที่ 4
☺ พยายามระงับอารมณ์นะ โทสะ โกรธ เพราะเรื่องนั้นเรื่องนี้จะทำให้เราร้อน ทำใจให้มั่นคงในสติ อย่าวู่วาม
• ธรรมดาของชีวิต ถ้าเรามองเห็นสิ่งเหล่านี้ว่ามันเป็นของธรรมดาแล้ว ใจเราจะเบา แล้วสติก็จะเกิด รู้ว่าอะไรในเหตุนั้นๆ เมื่อนั้นปัญญาจะแตกฉานว่าเราแก้เหตุนั้นอย่างไร ควรทำอย่างไร จะวางอารมณ์ชนิดไหน

คนที่ 5
☺ ตั้งอารมณ์พิจารณาอริยสัจมากๆ เวลาจะทำอะไรหรือมีเหตุอะไรร้อนใจ ให้นำข้ออริยสัจเข้าพิจารณาเป็นข้อๆ เพื่อหาเหตุ หาผล จะได้แตกฉานในปัญญา

สอนทุกคน
☺ ตั้งใจปฏิบัติให้นิ่งเป็นอารมณ์ อย่าหวั่นไหวนะ สิ่งที่ทำให้อารมณ์ใจเราฟุ้งซ่านคือการโอนอ่อนผ่อนตามอายตนะ เมื่อตาและเห็น หูได้ยิน ลิ้นสัมผัส จมูกได้กลิ่น ผิวกระทบ จงตั้งใจแน่วแน่ให้คำนึงถึงโลกธรรมก่อนอื่น และตั้งสติ คิดไปถึงไตรลักษณ์เพื่อดับใจเราไม่ให้คล้อยตามความเคลิบเคลิ้ม

• และจงระวังอารมณ์ฟุ้งซ่านด้วยสติ ด้วยไตรลักษณ์ จงระงับด้วยอาการสองอย่างนี้เช่นกัน จงระงับวาจาด้วยการนิ่ง เมื่อเราไม่พูด เราจะรักษาอารมณ์ให้คงที่ทรงตัวอยู่ได้ เหล่านี้เป็นเศษของอารมณ์ ที่จะให้ทุกคนได้พึงระวังและปฏิบัติให้สม่ำเสมอตลอดไป

• เท่าที่เห็น จิตของแต่ละคนนั้นยังแพ้อายตนะอยู่มาก ยังใช้สติน้อยไป อย่างน้อยควรจะหยุดคิดสัก 1 วินาที ทบทวนดูว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของที่เราจะปฏิบัติเป็นผลดีหรือไม่ และเป็นทางสู่ความสงบหรือไม่ พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่ที่การปฏิบัติของพวกเธอทั้งสิ้นว่า จะทำใจทำศรัทธา กระทำกิริยาด้านพ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน ได้เพียงไร

• แม้แต่พระยังช่วยพวกเธอได้เพียงสอนชี้แนะทางปฏิบัติให้ พวกเธอรับไปได้เพียงใดอยู่ที่เธอแล้วนะ หรือว่ารับไปแล้วจะทำได้หรือไม่ จะทำน้อยทำมาก ก็สุดแต่เธอ เธอเป็นคนปรารถนา เธอเป็นผู้สมหวัง เธอเป็นผู้ไม่สมหวัง อยู่ที่เธอ
• เวลาใกล้เข้ามาทุกลมหายใจเข้าออก นี่ก็เข้าเทศกาลใหม่แล้ว ลองดูตัวเราว่าเวลาโกรธ หลง มัวเมาในอำนาจ ทิฐิมานะยังอยู่หรือเปล่า พิจารณาดูเอง

• การที่ลงมาเป็นคนนั้น ต้องเป็นผู้มีความดีพอ เพราะโลกนั้นอยู่ระหว่างสวรรค์กับนรก นรก เรารู้ว่าพวกทำบาป สวรรค์ เรารู้ว่าพวกทำบุญ แล้วโลกล่ะ เป็นส่วนกลาง เป็นแดนอิสระที่จะให้เทพก็ดี หรือสัตว์นรกที่ทำความดีจนพ้นแล้วก็ดี ได้ลงมาบำเพ็ญ

• บำเพ็ญนี้เลือกเอา มีทั้งบาปกับบุญ ฉะนั้น คนจึงเป็นสัตว์โลกที่มีอิสระในการทำบุญและบาป ถ้าผู้ใดมุ่งทำบุญมากๆ เท่าที่จะทำได้ ผู้นั้นจะได้สมตามความหวัง นี่แหละถึงเป็นแดนที่พระพุทธเจ้าต้องลงมารู้จักทุกข์ เพื่อสำเร็จเป็นบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

☺ ขอให้ระงับให้ได้ ระงับอารมณ์
วันนี้สอนเพียงเท่านี้ แต่ขอให้พิถีพิถันกันนะ


22 เมษายน 2521

คนที่ 1
☺ อยากให้ตั้งใจทำใจของเรา พิจารณาอยู่ตลอดในเรื่องของไตรลักษณ์เป็นนิจ และทำอารมณ์ให้ทรงอยู่ในเรื่องของพรหมวิหาร 4 ตลอดเท่าที่จะทำได้

คนที่ 2
☻ (ถาม – วิธีระงับอารมณ์)
☺ ก่อนอื่น ต้องหาสาเหตุให้รู้ว่าเป็นเพราะอะไร และเมื่อพบสาเหตุแล้ว จงตั้งใจแน่วแน่ที่จะขจัดอารมณ์นั้นให้ถอยออกไปโดยเราจะต้องรักษาจิตให้สมบูรณ์ในสมาธิ หรือว่าเราเป็นอะไร ทำอะไร แล้วจงนำคำสอนหรือธรรมะมาใช้เป็นปัญญาส่องเหตุว่าจะแก้ไข หรือจับจิตให้ทรงอุเบกขา

คนที่ 3
☻ (ถาม – วิธีพิจารณา)
☺ ต้องอดทนและขยัน เริ่มต้นโดยการหาทุกข์ อย่างเช่นปวดท้อง ทุกข์ไหม ถ่าย ทุกข์ไหม เหล่านี้จะพบในตัวของเราทั้งสิ้น หาเหตุในตัวเราให้พบ แล้วพิจารณาเอาธรรมะเข้าขยายความ

คนที่ 4
☺ ในการปฏิบัติ ให้ทำสติให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลา และจับเอากิจการที่เกิดขึ้นกับตัวหรือเหตุการณ์ที่ประสบพบมาพิจารณาเป็นพระกรรมฐานได้ทุกกอง

3 พฤษภาคม 2521

คนที่ 1
☺ ทำใจให้ทรงพรหมวิหารนะ แล้วให้มีสติพิจารณาอยู่ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องใช้อารมณ์เป็นตัวเบื่อ งานที่ทำก็ให้ตั้งใจ เป็นหน้าที่และเป็นวาระกรรมที่ต้องทำชดใช้สนองกรรมพระคุณ ส่วนบริวารที่กวนก็ดี หรือเป็นอุปสรรคก็ดี ทำใจให้แลเห็นเป็นทุกข์ว่า เป็นธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่พ้นเข้าวงจรพระศาสนา

• และเมื่อมีเหตุอันใดจงเอาไตรลักษณ์ขึ้นทบทวนเหตุนั้นๆ ว่าอะไรเป็นอนิจจัง อะไรเป็นทุกข์ และเป็นอุปาทาน เมื่อใจจับได้จงเอาพรหมวิหารมาเป็นพื้นอารมณ์ขณะนั้นว่าเราจะอภัยโดยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

• คือเมตตาสงสาร ที่เป็นเช่นนี้อย่าผิดวิสัยปุถุชน กรุณาช่วยพอที่จะช่วยตามเหตุอันสมควร มุทิตาอย่าไปคิดร้ายหรืออกุศลไว้ล่วงหน้า จงอภัยว่าเขาดี และอุเบกขาจงตั้งใจนิ่งเฉย มันก็เท่านั้น ท่องไว้ใจจะสบาย นี่แหละที่จะได้ทำจิตเป็นสมุจเฉทปหานตามที่ตั้งใจให้สัมฤทธิ์ผล

คนที่ 2 (ห่วงลูก)
☺ ราหุล แปลว่าอะไร แปลว่าห่วง เหมือนเชือกที่เราหยิบมามัดตัวเอง แต่สำคัญที่ตอนเราผูกเชือกนั้นว่าผูกยากหรือผูกง่าย หรือแน่น หรือหลวม เมื่อเราคิดจะแก้เชือกออกจะลำบากที่ตรงที่เราผูกไว้ ถ้าผูกยากและแน่น แก้ก็ลำบาก เจ็บมือด้วย ฉะนั้น จงเลือกผูกเอาไว้ตามสมควร

• ทำหน้าที่ให้ครบตามกรรม คือเราอุบัติให้เขาเกิด เราก็ต้องสงเคราะห์ให้ดีตามอัตภาพ แต่อย่าให้คิดว่า เขา-เรา คือคนเดียวกัน
• สงสารด้วยเมตตา กรุณาช่วยเหลือไป มุทิตายินดีที่จะทำ แต่ต้องอุเบกขาที่จะพอประมาณดูตามเหตุอันสมควร

คนที่ 3 (ในที่ทำงาน มีคนไม่ร่วมมือหลายฝ่าย)
☺ โลกธรรม 8 เป็นของคู่กับโลก จะไปแก้อะไรไม่ได้ เพราะสรรเสริญคู่กับนินทาจริงไหม ฉะนั้น อยู่ที่เราว่าเรานั้นทำดีที่สุดหรือยัง ถ้าทำถูกต้องแล้วจงมั่นใจทำไป
• เวลาทำงาน ก่อนเข้าสถานที่ควรยกมือไหวเจ้าของที่เสียบ้าง อย่างน้อยให้ภาวนาอธิษฐานถวายกุศลท่าน ใจนึกเดี๋ยวเดียว

• กลับไปบ้าน ให้นำดอกไม้สีแดง กลิ่นหอมถวายพระทางทิศเหนือ
☻ (ถาม – ในบ้าน เด็กทำให้เหนื่อย แก้อย่างไร ?)
☺ ทำบุญบ้าน นิมนต์พระมารับสังฆทานเท่าใดก็ได้ อย่างน้อยควร 3 องค์ ถวายพระด้วยนะ 5 นิ้ว 1 องค์ ตามวันของเราและพระปางปราบมารอีก 1 องค์ ขนาดไม่จำกัด อุทิศให้บรรพบุรุษและเจ้ากรรมนายเวร

☻ (ถาม – ลูกสาวดื้อ)
☺ เราก็ต้องผ่อนบ้างตามวาระ ให้ถือว่าเรากำลังใช้กรรมบางอย่าง ก็ต้องผ่อนผันตามนิสัย ลักษณะของมนุษย์นะ จะเอาดังใจพร้อมสรรพไม่ได้ แต่ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน
☻ (ถาม – เรียนหนังสือไม่ดี แก้ยังไง ?)
☺ เป็นไปตามวัย บางคนก็ไม่เก่งในอย่างหนึ่ง แต่เก่งในอีกอย่างหนึ่ง อันไหนเป็นประโยชน์ และเหมาะแก่เขา เขาก็ชอบอยู่ เราควรส่งเสริมเขาในทางที่ถูกจริตเขา

☻ (ถาม – พี่อีกคนยังช่วยตัวเองไม่ได้)
☺ ไม้แก่ดัดยาด ชีวิตจะเป็นคุณเป็นโทษ เป็นครูสอนเขาเอง
• พ่อแม่เปรียบเสมือนพระ ฉะนั้น บุตรธิดามีหน้าที่ทดแทนพระคุณ กตัญญูกตเวทีต่อท่าน บุคคลใดที่มิได้ทำหน้าที่นี้เป็นบุคคลบาป แต่จะมิให้เป็นบาปมาก ก็จงกันมิให้บุคคลนั้นได้ทำบาปต่อไปอีกเลย

คนที่ 4 (ไม่สบายใจ)
☺ ก็คนนี่นา ท่องไว้นะ เวลาเจอทุกข์ ท่องว่าเราเป็นคน “คน” จึงขุ่นอยู่เรื่อยๆ เข้าใจไหม
☻ (ถาม – ควรทำอย่างไรดี ?)
☺ สัจจะบารมี
☻ (ถาม – เกรงตั้งสัจจะแล้วพลั้งพลาด)

• ถือเจตนาเป็นสำคัญ บุญบาป เกิดได้ด้วยเจตนา เจตนาเป็นตัวผูกโดยให้เกิดการกระทำหรือกรรม ถ้าเราตั้งใจจริงๆ แล้วกล้ามองทุกข์ เห็นทุกข์ แต่ใจเราสุขก็ย่อมจะเป็นทางได้ รู้ไหมว่าทำไม ?

• เมื่อใดที่เราเห็นทุกข์มาประสบ แต่ใจเป็นสุข แสดงว่าเราได้ซึ่งความไม่หวั่นไหวหวั่นกลัวในกิเลส คือโลภ โกรธ หลง ตัณหา ความอยากจะเป็น ไม่อยากจะเป็น และอุปาทาน ใช่ไหม
สร้างกำลังใจซิ กำลังใจคืออะไร ? คือบารมี นั่นแหละ ต้องมีกำลังใจแข็งแกร่งมั่นคง แน่นแน่
ค่อยๆ ทำจะดี เวลาพบอุปสรรคก็จงนำเอาเหตุนั้นขึ้นมาพิจารณา

14 มิถุนายน 2521

คนที่ 1
☺ จะไป (นิพพาน) ไม่ได้ก็เพราะกลัวนี่แหละ จำไว้เถอะว่า พระพุทธรูปขององค์พระบรมครู ทั้งไทย จีน แขกนั้น เมื่อผู้ใดสร้างขึ้นมาเป็นที่สักการบูชาแล้ว จะต้องมีเทพชั้นพรหมมาประจำทุกองค์ในจักรวาล

คนที่ 2 (ไปเมืองนอกหลายเดือน เกือบบ้า)
☺ รู้ถึงความทุกข์ที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นคนแล้วก็มักจะไม่ค่อยเข็ด อย่างเช่นคนที่ทุกข์แล้วสามารถแก้โดยการย้ายไปหาที่สุขอย่างโลกกว้าง ทุกข์ที่ตัวประสบนั้นจะลืมง่ายหายเร็ว แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเข็ด จะกลัว จะหลาบจำ

คนที่ 3
☺ ตอนนี้ ให้พิจารณาเรื่องภาระ พันธะที่มีอยู่ และมุ่งพิจารณาในเรื่องเรามีในเรา ของเรา ไม่มีในเรา และโยงไปถึงทิฐิมานะ จะรู้ตัวตนของเราชัด กล้าไหม ?
• ให้เริ่มต้นที่อารมณ์ ความโกรธ ความอยาก ความต้องการ ไม่ต้องการ แล้วจะสาวไปเรื่อยๆ พิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่าคิดว่าพอแล้ว ดีแล้ว ใจจะประมาทในชีวิตนะ ตีใจให้แตก เดี๋ยวจะกำเริบ เข้าใจไหม

คนที่ 4
☺ เราอยู่กับโลก ก็ต้องทำหน้าที่ของโลกตามภาระหน้าที่ แต่เราใช้ธรรมะ คือความเป็นจริงที่เป็นไปของโลกมาจำกัดใจเราให้อยู่ในกฎเกณฑ์
• บางครั้งเราต้องเป็นไปตามสภาวะแห่งเหตุนั้นๆ แต่สิ่งสำคัญ คือ ใจ เช่นงานเลี้ยง เราก็ต้องแต่งตัว ต้องสังคม แต่ใจเรานั้นจะไปติดที่ความสวยงามหรือไม่ เรารู้อยู่

☻ (ถาม – ขอให้หลวงตาช่วยกวด)
☺ นี่แหละ คน ถ้าเขาเหล่านั้นฉลาดในธรรม เขาเหล่านั้นก็คงไม่ต้องมานั่งฟังธรรมซ้ำๆ อยู่อีก จริงไหม
• อย่าว่าแต่ตาเลย อันองค์พระศาสดานั้น พระองค์ก็ยังทรงดำรงกรณียกิจช่วยพวกเรานี่อยู่ แต่ว่าผู้นั้นๆ ที่ยังไม่แจ้งซึ้งปัญญา เพราะเขายังวนเวียนในบุพกรรมอยู่ จึงประดุจเส้นผมบังภูเขา ช่วยได้เท่าที่จะทำ

☻ (ถาม – จะสะสางกิเลสตัณหาอย่างไร ?)
☺ โดยเริ่มที่ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิเราต้องพิจารณาธรรมในธรรม รู้ใช้ไหม ?
☻ (ถาม – พิจารณาในความเป็นจริงตัด ?)

☺ ใช่ อารมณ์ละเอียดต่างๆ เช่น โกรธ หวง รัก ห่วงใย ไม่ชอบ โยงได้ไหม แล้วพิจารณาที่ “เราในเรา” นะ ทุกสิ่งทุกอย่างเราเป็นไหม มีไหม แล้วยังอยู่อีกไหม แก้ได้ไหม จุดไหน อย่างไร นำธรรมทั้งหมดมาชี้แจง
☻ (ถาม – ต้องพิจารณาให้เป็นอย่างไร ?)
☺ ให้เข็ด ให้ใจตัดสินเสร็จเด็ดขาด แล้วมีความรู้สึกโล่ง โปร่งใจสบายใจ

คนที่ 5 (อยากตัดไปเลย)
☺ ล้างสักกายทิฐินะ แล้วใจจะชื่น จะทำให้อารมณ์แจ่มใสขึ้น ภาวะอารมณ์จากโลภ โกรธ หลง ละไปได้ เราจะล้างมันได้ด้วยวิปัสสนา นำเอาพรหมวิหาร 4 มาเป็นแนวปฏิบัติ แล้วจงยึดไตรลักษณ์มาเป็นทางพิจารณา มองให้เป็นอริยสัจ 4 ทำเช่นนี้บ่อยๆ จะรู้ จะแจ้ง และปฏิบัติได้เสร็จเด็ดขาด บางอย่างเราก็ต้องสู้กับทุกข์ ซึ่งเป็นความจริง

28 มิถุนายน 2521

คนที่ 1 (กำลังตัดเข้าหาพระนิพพาน)
☺ เสียดายขันธ์ไหม ?
☻ (ตอบ – ไม่เสียดาย)
☺ ไม่เสียดายขันธ์ ทำไมยังห่วงล่ะ ต้องทำใจเป็นอิสระ เวลาเราน้อยเต็มที ตาคิดว่าเราคงไม่ต้องการ (อยู่) นานต่อไปใช่ไหม หรือว่าต้องการ เรื่องของกรรมเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ พยายามทำใจให้คล่องในอารมณ์อุเบกขาญาณ
• ต้องการต่อไหม ต่อเวลาของสังขาร ? ชาตินี้ถึงซึ่งพระนิพพาน อย่าทรมานเลยนะ รู้สภาพของสังขารตัวเองใช่ไหม รู้ว่าแค่ไหนอย่างไร รู้ว่ามีความพัง ความเสื่อม

คนที่ 2 (คนข้างเคียงทำให้จิตใจไม่ดี)
☺ คนนี่นา ดีแล้ว อยู่ที่ใจของเรา ว่าเราเห็นอาการอย่างนั้น เป็นของธรรมดาหรือเราจะมีอุเบกขาหรือไม่ และเรามีอภัยทานเพียงพอหรือยัง

• ขาดสติสัมปชัญญะ เราจะทำอะไรก็ต้องรู้อยู่ในตัวเรา ความหงุดหงิดเป็นมาร มีอุปสรรค อยู่ที่เราจะระงับอยู่หรือไม่ พยายามไป เราต้องทำใจของเราให้รู้จักพอ แล้วใจจะไม่หงุดหงิดพอที่จะกินของชิ้นนี้ พอที่จะฟังคำพูดเหล่านี้ เมื่อใจเรารู้จักพอแล้ว ความสบายใจจะเกิดขึ้นที่ใจเราเอง “พอจ๊ะ” เป็นคาถากันหงุดหงิด

คนที่ 3 (พยายามตัดไปนิพพาน จะไปสำเร็จไหม ?)
☺ เก่งดีแล้ว พยายามทำใจและสำรวจตรวจสอบอยู่เสมอๆ ไปได้ซิ ตอนนี้จิตใจดีแล้วนะ ทิฐิมานะลดลงมาก และคราวนี้เราจะชนะตัวเราเอง นี่แหละคือกิเลสที่ปิดบังความจริงของตัวเรา และทำให้เราไม่กล้า ไม่พยายามมองดูตัวเราเอง ถึงมองก็ไม่เห็นชัดแจ้ง เพราะกิเลสตัวนี้ (คือ) กลัวจะไม่ดี ต้องกล้านะ
☻ (ตอบ – กำลังรวบรวมความกล้า)

☺ ความแก่ เราต้องแก่ เพราะเป็นความจริง ความเจ็บเราต้องเจ็บ เพราะเป็นความจริง ความตายเราต้องตาย เพราะเป็นความจริง เราจะต้องพลัดพราก เพราะเป็นความจริง อยู่ที่เวลาเท่านั้นที่จะให้เราถึง ให้เราเวียนมาพบกับความจริงเหล่านี้ เมื่อไร ? อาจจะเป็นวันนี้ เดี๋ยวนี้ พรุ่งนี้ ได้ทั้งนั้น อยู่แต่ว่าเราพร้อมไหม รู้จักมันไหม
• วิมุติสุขนั้นฟังง่าย แต่เราจะรู้สึกในอารมณ์นั้นสบายอย่างยิ่ง ชุ่มชื่น โปร่งตลอดใจ ขอให้จำเริญนะ

คนที่ 4 (กำลังบำเพ็ญ มีทุกข์)
☺ เร่งทำบุญในขณะที่พบทุกข์ จะรู้จักคุณค่าของบุญ และรสชาติของทุกข์
☻ (ถาม – อีกนานไหม ?)
☺ ไม่นาน
☻ (ถาม – ตอนนี้สุขภาพทรุดลงเรื่อยๆ)

☺ ดีแล้ว พิษสงของสังขารมันไม่ซื่อตรงต่อเรา แกเจ็บ ช่างแก ฉันไม่เจ็บไปกับแกด้วย แกทำให้ฉันทนไม่ไหวฉันก็ไม่ต้องการแก ฉันมีที่ไปของฉัน ต่อไปฉันจะไม่พบกับแกอีก อย่าไปคิดมากจะทำให้เจ็บ แยกจิตออกจากกาย อย่าไปสนใจกาย เวลาเจ็บนี่แหละดีนัก จะได้พิจารณาเห็นภาพ เห็นขันธ์ เห็นสังขารว่าเป็นอย่างไร และเห็นอายตนะว่าเราจดจ่ออยู่กับมันหรือไม่

คนที่ 5
☻ (ถาม – ตอนนั่งกรรมฐาน เห็นพระนั่งกรรมฐานอยู่ ท่านอนยิ้ม เป็นใคร ?)
☺ สมเด็จฯ
☻ (ถาม – พระพุทธครูหรือ ? หน้าท่านคล้ายๆ หลวงปู่ชุ่ม ไม่ใช่องค์ที่สามหรือ ?)
☺ สมเด็จพระกุกุกสันโธ

หมายเหตุของผู้บันทึก:-
“พระพุทธคุณ” หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

13 กรกฎาคม 2521

คนที่ 1 (ขอให้แนะนำพิธีลาพุทธภูมิ)
สวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วกล่าวว่า “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อ, นามสกุล)................. ขอกราบพระยุคลบาท ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมโลกนาถ จอมไตรพุทธครู ต่อองค์พระโพธิสัตว์ทั้งปวง อันมีองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย์เป็นประธาน ต่อองค์สหัมบดีพรหมซึ่งเป็นอธิบดีหมู่พรหม ต่อองค์ท่านท้าวสักกะเทวราช องค์อินทราชผู้เป็นใหญ่ในกามาวจร ต่อองค์จตุโลกบาลผู้คุ้มครอง

ข้าพระพุทธเจ้าขอตั้งสัตย์ปฏิญาณต่อท่านพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นใหญ่ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบบังคมลม ไม่ปรารถนาพระพุทธภูมิ ไม่ปรารถนาพระโพธิสมบัติ ไม่ปรารถนาพระโพธิญาณเป็นที่หมายอีกต่อไป

ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมนมัสการสักการะต่อองค์สมเด็จพระสมณโคดมบรมครูว่า ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายตัวเป็นพุทธสาวกต่อเบื้องพระยุคลบาท ขอจงทรงพระราชทานพร สติปัญญาให้มีอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา สำเร็จมรรคผล พระนิพพาน ตามพระธรรมเจ้าของพระพุทธองค์ในปัจจุบันนี้เถิด”
แล้วต่อท้ายด้วยบทอิติปิโส 8 ทิศ บามีมี 10 ทัศน์ แล้วไหว้พระทำสมาธิ 10 นาที ถ้ามีอะไรอย่าฝืน

◄ll กลับสู่สารบัญ



57

สมเด็จพระพุทธกัสสปเสด็จด้วย


26 กรกฎาคม 2521

คนที่ 1 (ปรารภว่าแย่)
☺ รู้ว่าแย่น่ะดี ความเพียรให้มั่นคงแน่วแน่ที่จะทำต่อไปอย่างไม่หวั่นไหว จะเป็นผลให้ชนะกิเลส อย่าหยุด ท้อถอยที่จะไม่ชดและใช้กรรม ทำมาได้ก็ต้องใช้ไปได้ อย่าไม่สบาย อย่าเป็นกังวล และอย่าไม่มั่นคง

☻ (ถาม – ทำอภัยทานหรืออุเบกขา)
☺ อุเบกขาจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะอภัย
☻ (ถาม – ก็ต้องยอมเป็นลูกไล่เขาเรื่อย)
☺ ยอมรับ ก็ไม่เอาแล้วไม่ใช่หรือ ภพ ชาติ

☻ (ถาม – ให้ทำยังไง)
☺ เจอก็เจอ ไม่เจอก็ไม่ไปหา เออ ทำดีให้เขาเห็น ดีของเราก็จะทำให้เขาเห็นว่าเราดี และคำสอนของพระพุทธศาสนาดีก็คือรู้จักอภัยทาน ยิ้มแย้ม ไม่โกรธ ไม่ถือโทษ และไม่เยาะเย้ยถากถาง และให้เห็นว่าเราปฏิบัติธรรมะ มีความสุขโดยไม่ทำให้เดือดร้อน ทำไปนานๆ แล้วเขาจะเห็นแปลกใจใจตัวเราที่เคยมีฤทธิ์เดชมากมาย แต่สงบดีทุกประการ จะทำให้มาสนใจศาสนาเราอีกด้วย ประการแรก คงไม่ขัดที่เราจะทำบุญ

คนที่ 2
☺ หวง-ห่วง เปรียบเสมือนโซ่ที่ล่ามตัวอยู่ ถ้ามีมากโซ่นั้นจะสั้น ทำให้เรามีอิสระน้อยที่จะมีสติ หวง-ห่วงมีน้อย โซ่มันจะยาวพอให้เราได้ทำอะไรภายในขอบเขตมากขึ้น เราทุกคนหวังหลุดพ้นจากโซ่ตรวนนี้ก็จงละความหวงห่วงใยลง และทิ้งไป

คนที่ 3
☺ ละทิฐิมานะ ถ้าวันไหนเราไม่พอใจคนมากๆ วันนั้นเราที (ทิฐิมานะ) มาก วันไหนสบายใจ ไม่เห็นใครขัดตา แสดงว่าวันนั้นเราไม่มีทิฐิเป็นตัวกั้นปัญญา เป็นตัวก่ออวิชชา
☻ (ถาม – คนพูดไม่ถูกหู เลยเดินหนี)
☺ ขาดอุเบกขา จำไว้ว่าเราจะพูดอะไรต้องมีความสำคัญ เช่น พูดครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม และจะได้พูดอีก จะทำให้ (ผู้อื่นรู้ว่า) เรามีวาจาที่สำคัญ

16 สิงหาคม 2521

คนที่ 1 (นั่งสมาธิไม่ค่อยได้ดี)
☺ นั่งสมาธิ แล้วมีสมาธิไหม ?
• การนั่งสมาธินั้น ถ้าทำได้ก็ดี แต่จะดียิ่งขึ้น ถ้ารู้จักพิจารณาให้เป็นประจำสำหรับอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม เป็นไหม ?

• จับแก้วนั้นก็ให้รู้ว่าจะทำอะไร รู้ว่าแก้วมันแตกได้ มันเป็นอนิจจัง เวลาตากระทบ หูได้ยิน กายสัมผัส ก็ต้องตั้งใจไม่ให้มันเกิดกิเลสความไม่พอใจ เห็นไม่ดีก็อย่าไปร้อน ได้ยินไม่ดีก็อย่าไปร้อน
• พยายามทรงอารมณ์ให้นิ่ง ถ้าจะร้อนก็ให้ร้อนในใจ ตอนหลังๆ มันจะขี้เกียจไปคิดไปสนใจคนอื่นเอง เพราะมันเบื่อ

☻ (ถาม – การอภัย เป็นทานไหม ?)
☺ ทานมีหลายชนิด จาคะก็เช่นกัน อภัยก็ถือเป็นทาน เป็นจาคะ เทียบเปรียบเท่าจาคะชนิดอื่น
☻ (ถาม – การทำตัวไม่ยุ่งไม่เกี่ยวด้วย จะถือเป็นอภัยไหม ?)

☺ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวเพราะอะไรใจรู้อยู่ แต่จาคะคือการอภัยนั้น อารมณ์จะสบาย จะเฉย จะไม่ทุกข์ไม่ร้อนว่าเดี๋ยวจะต้องวางหน้าวางตนอย่างไร ไม่ใช่เช่นนั้น จงเร่งใจให้หนัก อย่ารำคาญในเรื่องของโลก อย่ามัวเมาในเรื่องของโลก เราเท่านั้นที่รู้ว่าเราทำอะไรไป เพื่ออะไร ดีหรือไม่ การพูดออกมา บอกออกมา บางทีก็อาจจะค้านใจเรา ฉะนั้น ทุกๆ อย่างอยู่ที่เรา เราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ทำ เราเป็นผู้รับผล แพ้หรือชนะอยู่ที่เรา

คนที่ 2
☺ เป็นไง ระงับจิตได้ไหม อย่าเผลอ ถ้าเราทำอายตนะเป็นอุเบกขาเป็นประจำจะก้าวหน้า
• เห็นก็เห็นอย่าตกใจ ฟังก็ฟังอย่าตกใจ ได้กลิ่นก็ได้กลิ่นอย่าตกใจ เมื่ออายตนะสัมผัสอะไรก็แล้วแต่ จงใช้สติ นิ่ง ปิดปาก ปิดใจ ให้คิดเฉยๆ ว่าอะไร คือเกิดอะไร ผลเป็นอย่างไร แล้วค่อยบัญชามาทางวาจา ทำอยู่บ่อยๆ แล้วเราจะทรงสติ ทรงปัญญาเอง ใช้ความนิ่งต่อเหตุที่มากระทบให้มากที่สุดอย่าใช้ความเผลอ พิจารณาอสุภกรรมฐาน อุทิศบุญ ให้พิจารณาให้ปลง

คนที่ 3 (วันเกิดมีก้อนดำๆ มาทับตัวเหมือนผีอำ นี่คืออะไร ?)
☺ เคยเป็นลูก เขามากอด ยังวนอยู่ในสัมภเวสี เทวดาประจำย่อมให้เข้าถึงตัว
☻ (ถาม – เขาลำบากมากหรือ ?)
☺ ยังวนเวียนไม่สบาย ชาติหนึ่งเขาเป็นลูกชายเราแต่ไม่รักดี เกเร ใจจริงเขารักเรา แต่เราเกลียด ตายไป เพราะผลอกตัญญูทางอ้อมจึงรับเคราะห์อยู่
☻ (ถาม – ถ้าอโหสิกรรมให้จะช่วยได้หรือ ?)

☺ ขอพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดแล้วแต่ เรื่องนี้เมื่อไม่นานนี้เอง ก่อนลงมา (เกิด) เราอธิษฐานไว้ว่าจะไม่ขอให้ใครอาศัยท้องเกิด เราเป็นคนรักใครรักจริง ไม่ชอบใครก็อย่ามาให้เห็นหน้า
☻ (ถาม – ไม่ดีใช่ไหม ?)
☺ แล้วแต่จะคิด จะว่าดีก็ดี คือไม่ชอบก็อย่ามาเห็นกัน จะได้ไม่ต้องอกุศลกัน จะว่าไม่ดีก็ไม่ดี คือไม่อภัย ทิฐิ แต่ไม่บาป ตัวเราไม่บาป แต่ลูกบาปเพราะสร้างทุกข์ให้แม่ จงดีใจเสียเถอะว่า วันเกิดทั้งทีได้รู้ผลอดีต ได้ช่วยลูกอีกคน

คนที่ 4 (มีวิสัยพุทธภูมิ)
☺ อย่าคิดให้หนัก ถ้าเราทำอะไรที่แน่วแน่ก็ต้องมั่นใจ เช่น อย่างเราเบื่อทุกข์ เข็ดทุกข์ อยากถึงซึ่งพระนิพพาน แต่เมื่อรู้ถึงจริยาของตนในภาระพระพุทธเจ้า ก็อย่าคิดว่าจะปรารถนาพระโพธิญาณ ตกลงตอนตายเลยกลายเป็นเทวดาเฉยๆ จะไปดุสิตก็ไม่ไป จะไปนิพพานก็ไม่ไป อย่าสองใจ

คนที่ 5 (ถามเรื่องการปฏิบัติ)
☺ ศีลน่ะดีแล้ว สมาธิล่ะเป็นยังไง นิ่งไหม
• การนั่งสมาธิคือการทำใจให้นิ่งๆ เฉย รวมความคิดไว้ที่จุดเดียว คือคำภาวนา “พุทโธ” ด้วยใจไม่วอกแวก เห็นทุกข์ไหม ?
☻ (ตอบ – เห็น)

☺ เห็นชัดไหม ความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ความตายอย่างเดียว อยู่ที่ขันธ์ 5 รู้จักไหม รูป เวทนา สัญญา • สังขาร วิญญาณ ธาตุ 4 รู้จักไหม ดิน น้ำ ลม ไฟ
• ดิน คือเนื้อ ส่วนที่เป็นก้อนๆ ในตัวเรา
• น้ำ คือเลือด หนอง น้ำลาย น้ำต่างๆ ในตัวเรา
• ลม คืออากาศที่เราหายใจ และที่อยู่ในตัวเรา
• ไฟ คือความร้อน พิสูจน์อยู่ในตัวเรา

☺ ทั้งหมดนี้เป็นทุกข์ที่เราต้องดูแล ถึงแม้ว่ามันจะเจ็บก็ไม่เกรงใจเรา มันจะเหี่ยวย่นก็บังคับไม่ได้ มันจะปวดก็ระงับไม่ได้ดังใจเรา เหล่านี้เป็นทุกข์ ที่เห็นๆ อยู่ในตัวของเรา ร้อยแปดพันประการ

• พิจารณาสิ่งเหล่านี้ที่เกิดแก่เรา เท่านี้เราก็จะรู้ว่า “ของเรา” นั้น จริงๆ มันใช่ของเราไหม และ “เรา” นั้นมีอยู่ในตัวเราจริงไหม พิจารณาดูทุกครั้งที่ทำงาน ดูว่าทุกข์ใช่ไหม อะไรบ้างที่ไม่ใช่ทุกข์ หามา มีไหม ?

30 สิงหาคม 2521

☺ ของทุกอย่างขึ้นอยู่กับวาระและกรรม สำหรับผู้ที่ปรารถนาการไม่เกิดนั้น จะต้องทนและทำใจให้รู้ถึงสภาพสังขาร และห่วงต่างๆ ที่มีความแปรผันเปลี่ยนไปตามโอกาสของโลก ของกรรม ที่เราและคนอื่นทำมาและทำร่วมกัน
☻ (ถาม – ถ้าเช่นนั้น จะละทิ้งหน้าที่ของแม่เสียโดยสิ้นเชิงก็ได้หรือ ?)
☺ การทำหน้าที่คือหน้าที่ ไม่ใช่การทิ้ง แต่สำคัญที่ใจทรงอารมณ์ให้นิ่ง รู้ว่าทุกข์ แต่อย่าไปทุกข์ตาม พอแล้ว

13 กันยายน 2521

คนที่ 1 (เวลานอน เหมือนมีใครจะเข้าประทับร่าง)
☺ เป็นเจ้ากรรมนายเวร เขาแกล้งเรา ให้ท้องคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า กับยันต์อิติปิโส 8 ทิศ

คนที่ 2 (ปรารภว่ารู้สึกเบื่อ)
☺ เบื่ออะไร ? เขาเรียกว่าไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ให้ทำอารมณ์ให้สูงขึ้น
☻ (ถาม – คือพิจารณาหรือ ?)
☺ ใช่ อย่าย่อท้อ “เบื่อ” นั้นให้รู้อยู่ที่ใจ แต่กำลังและแรงใจให้เข้มที่จะสู้ สู้เพื่อหน้าที่ นำใจออกมายืนนอกกาย แล้วให้เห็นว่ากายคือกองทุกข์ ไม่ใช่ให้ถอดกายทิพย์นะ แต่ให้สอนตัวเองให้รู้เข็ด รู้จำ

☻ (ถาม – เบื่อแล้วท้อ จะยอมแพ้)
☺ ถ้าท้อ เบื่อก็แสดงว่าไม่สู้ ขี้เกียจสู้ เอาเถอะ ทำให้ใจเข้ม แล้วเราจะรู้ด้วยปัญญาเอง ถ้าเราจัดการกับขันธ์ของเราเองไม่ได้แล้ว ใครจะมาทำให้ได้ นั่นต้องใช้แรงใจ กำลังใจอย่างมาก คือการสร้างสมบารมีให้เข้ม
• บารมีแปลว่ากำลังใจ กำลังใจที่เต็ม อย่าไปรู้เลยว่าได้แค่ไหน จะได้เพียรทำทุกด้าน

คนที่ 3 (รู้เรื่องอะไรๆ มาแล้ววุ่นวายใจ)
☺ การรับ ไม่ว่ารับรู้ รับใช้ หรือรับสิ่งของก็ตาม จะต้องรู้ว่าที่รับมานั้นเป็นอย่างไร รู้เป็นจำพวก รู้อย่างพิจารณา รู้ด้วยเหตุผล รู้ด้วยปัญญา เมื่อรู้ของที่รับมาแล้ว ควรใช้ปัญญาพิเคราะห์ออกมาว่าจะกระทำอารมณ์ วางอารมณ์ วางตัว วางท่าทางอย่างไร จงนำอุเบกขามาใช้ให้มาก เอาความเด็ดขาดเข้าประหารความลังเล
• อุเบกขา คือความเหมาะสม ฉะนั้น ปัญหาที่ถามมา ให้ใช้วิธียืดหยุ่น

19 ตุลาคม 2521

คนที่ 1 (ถามวิธีฝากบ้าน)
☺ วิธีฝากบ้านกับท่านจาตุมหาราช ให้จุดธูป 5 ดอก ขอบารมี อธิษฐานต่อท่านท้าวจาตุมหาราช และว่าคาถา “เวสสุวัณนัง วิรุฬปักษี วิรุปักษา ธตรฐ” แล้วให้นำธูป 1 ดอกปักกลางที่ ว่า “นะโมพุทธายะ” ที่เหลือ 4 ดอกให้ปักมุม 4 มุม

คนที่ 2
☺ ต้องหมั่นพิจารณาให้เห็นทุกข์เป็นของปกติ อย่าให้ใจรับมากเกินไป ถ้ารับทุกข์มากไปจะทำให้ขาดสติ รับแค่รู้ว่า เจ็บ ลำบาก พอแล้ว นำมาพิจารณาสอนใจ เห็นแจ้ง รู้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หมั่นสอนใจ ใจจะได้จำ กลัว ไม่กล้า เมื่อไม่กล้าก็จะตัดสินใจให้ทรงอารมณ์เฉย

• เฉยนั้นคือไม่กลัว ไม่กลัวทุกข์ เพราะทุกข์คือของปกติ ไม่กล้า คือไม่กล้าประมาทในทุกข์ เพราะทุกข์อุบัติได้ทุกลมหายใจ
• เมื่ออารมณ์ว่าง เฉย จะได้จับมั่นที่คำภาวนา จับคำภาวนาไว้ อย่างไปติดสุข อย่างไปติดรูป ติดแสง

คนที่ 3
☻ (ถาม – ทำอย่างไรจึงจะไม่มีศัตรู)
• 1. ลดความทิฐิมานะลง
• 2. อย่าจำในสิ่งอกุศล แล้วเอามาเป็นความแค้น
• 3. อย่าเอากุศลที่คนอื่นทำกับเรามาเป็นเจ้าหัวใจเรา
☺ นี่แหละ เมตตาจะมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเขาด่าเรา คำด่านั้นเป็นอกุศล ถ้าเราเก็บคำด่าเอาไว้ ใจเราก็ขุ่น ร้อน กังวล

◄ll กลับสู่สารบัญ


puy - 20/9/10 at 10:21



58
(Update 20-09-53)


คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง”


1 พฤศจิกายน 2521

คนที่ 1 (ปรารภว่าขัดกับคู่ครองที่นับถือคนละศาสนา)
☺ ศาสนาเขาก็สอนเรื่องความดี คือกุศล บุญ

• อย่าคิดถึงเรื่องอื่น คิดถึงเรื่องหน้าที่อย่างเดียว หน้าที่มนุษย์สัมพันธ์ควรทำอะไรบ้าง คิดถึงความเป็นครอบครัว คิดถึงความเป็นแม่ เป็นแม่พระของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี คืออยู่ก็อยู่ให้เขาสุข ไม่ใช่ด่าทอต่อว่า ดุ อย่างนั้นไม่ใช่ลักษณะของเมตตา

• อย่าทำให้เขาเป็นปรปักษ์กับศาสนา ถ้าเราเมตตาเขา กรุณาเขา รักเขา กตัญญูเขา เราควรใช้วิธีตอบสนองความดีของเขา อย่าไปมองเขาในด้านบึ้ง มองเขาในด้านยิ้มบ้าง ถ้าเราตั้งอคติเป็นอำนาจไว้ เราจะมองเขาด้านอคติตลอดเวลา

คนที่ 2 (ปรารภเรื่องยุ่งในร้านค้า)
☺ ไม่ต้องกังวล หมั่นขอพรเจ้าที่เจ้าทางบ้าง สวดมนต์อย่าให้ขาด ตั้งใจดูการงานให้เห็นเป็นธรรมะ สิ่งไหนเป็นทักข์ขนัดอารมณ์จากเหตุการณ์ที่มากระทบใจเรา พิจารณาให้เห็นตัวเราในความจริง ยอมรับความเป็นธรรมดาของคน ของโลก แล้วจะสบาย เช่น สรรเสริญกับนินทา ย่อมมีขึ้นแน่ๆ เพราะเป็นความจริงของงาน มี “ชอบ” ก็มี “ไม่ชอบ” โลภ โกรธ หลง ต้องเจอ ต้องพบ ทำใจไว้ว่าเมื่อเจอ เมื่อพบ จะทำอย่างไร ทำได้จะสบายใจ

คนที่ 3 (ทำสมาธิ ยังใจไม่สงบ)
☺ อยู่ที่ตัวเรา ต้องกล้า คือเวลามีใครเขาทำอะไรข้างนอก ไม่ต้องไปสนใจ ลองหลับตาซิ ถ้าเราหลับตาแล้วฟังเสียภายนอก (และ) ตามหรือสนใจในคำภาวนาอย่างเครียดจะรู้สึกว่าเราจะเกร็งที่หนังตาใช่ไหม ?

• ลองปล่อยอารมณ์ให้สบายๆ เหมือนเวลาเราหลับตาธรรมดา ผ่อนกล้ามเนื้อที่เราสนใจ เหมือนว่าเราจะหลับ จะรู้สึกสบายใช่ไหม นั่นแหละคือช่วงที่ประสาทไม่เครียด แล้วพิจารณาคำสอนก็ดี คำภาวนาก็ดี จะจับสมาธิไว ลองซิ แค่คำว่า “พุทโธ” ลองดูประสาทที่ตาจะเกร็งไหม ลมหายใจจะกระท่อนกระแท่นหรือแรงไปไหม จับอานาปาฯ จะสบาย ตามโพรงจมูกไหม

• ลองนึกบอกกายให้ทำสบายๆ ลองพยายามนะ ทุกคนยังไม่รู้จังหวะตรงนี้ เพราะเป็นลักษณะของการเผลอ (เพราะ) ตั้งใจมากไป จึงไม่ทรงอารมณ์มัชฌิมา
• คำภาวนานี้ทิ้งไม่ได้ ส่วนจิตจะจับองค์พระหรือจับลมหายใจก็ได้ คำภาวนานั้นถือเป็นมนต์

☻ (ถาม – ยังคุมอารมณ์ไม่อยู่หรือ ?)
☺ ใช่ เพราะใจยังไม่ดื่มด่ำ เวลาเจอคนว่าเรา เราโกรธไหม ถ้าหลวงพ่อไม่พูดกับเรา เราน้อยใจไหม ? จับอารมณ์พิจารณาทันที เพราะจิตกำลังดื่มด่ำกับทุกข์ อย่างเช่น เมื่อคนที่เรารักตาย เราจะเสียใจมาก ใช่ไหม ? เรารีบพิจารณาทันทีว่าความตายมีจริงไหม ไม่ตายได้ไหม ฯลฯ อะไรเช่นนี้

• เจอคนว่าเราให้เราเจ็บ เราโกรธ ถ้าเราเผลอไปโกรธเข้า ก็จงให้หายโกรธแล้วพิจารณาว่าที่เขาว่าเรามานั้นจริงไหม ถ้าจริง จิตยอมรับ ก็จงตั้งใจยอมรับความจริงนั้นอย่าไปตั้งใจโกรธ ไม่ชอบขี้หน้าเขา ตั้งใจให้แน่ที่จะแก้ไข แต่ถ้าคำว่านั้นไม่จริง ก็ให้ตั้งใจเห็นการนินทาเป็นธรรมดา

• แม้พระศาสนาก็ไม่พ้น อย่าไปโกรธเขา เขาเกิดมาไม่เหมือนเรา ฯลฯ อะไรเช่นนี้แล้ว จะทำให้รู้สึกโปร่งขึ้น รู้สึกไหม สบาย โล่งขึ้น แล้วยังมีความรู้สึกชุ่มชื่นนิดๆ แต่ไม่เท่ากับความชุ่มชื่นที่เกิดจากการทำบุญนะ นั่นแหละ เขาเรียกว่าเมตตาเกิด ลองจับความรู้สึกตัวเองให้มาก

คนที่ 4
☺ จำไว้ว่า คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน และแต่ละคนมีความเกิดไม่เท่ากัน จงอย่านำทางของเราให้เขาเดิน ถ้าเขาอยากจะไปตามทางของเขา แต่เราต้องเสนอแนะนำทางของเราให้เขา ถ้าเขาไม่ชอบก็สุดวิสัย เพราะชีวิตใครก็ชีวิตของเขา เขาต้องหาความสุขของเขาเอง ทำใจให้สบายนะ

22 พฤศจิกายน 2521

คนที่ 1
☺ จับอานาปาฯ ให้มั่นๆ พิจารณาเห็นกองทุกข์ไหม ให้เริ่มด้วยกรรมบถ 10
กายกรรม 3 รู้ไหม
1. ฆ่าสัตว์
2. ลักทรัพย์
3. ประพฤติผิดในกาม[/color]

วจีกรรม 4 คือ
1. พูดปด
2. พูดส่อเสียดยุยง
3. พูดหยาบคาย ด่าทอ สาปแช่ง
4. พูดไร้ประโยชน์

มโนกรรม 3 คือ
1. คิดปองร้าย
2. คิดผิดทำนองคลองธรรม
3. คิดในอกุศลกรรม

• นี่เป็นกรรมบถ 10 ใครยึดถือปฏิบัติจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงศีล ปฏิบัติได้ครบถ้วนตามนี้ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงสมาธิ ปฏิบัติได้แน่แท้เป็นกิจวัตร จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา
• เมื่อมีกรรมบถ 10 นี้เป็นความประพฤติ ก็จะมีจิตสะอาด เมื่อจิตสะอาดแล้วจงพิจารณาว่ากองทุกข์ของธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่คือร่างนี้คือกลไก ส่วนของดิน น้ำ ลม ไฟ นี้คือขันธ์ 5

☺ ขันธ์ 5 นั้นเข้าใจอย่างไร
รูป คืออะไร ? คือรูปร่างต่างๆ ที่เห็นได้ สัมผัสได้
เวทนาล่ะ ? เมื่อยไหม นั่นแหละ
สัญญา จำอย่างไร ตายกลัวไหม ตัดแขนกลัวไหม ไม่เคยแต่รู้ว่าเจ็บนั่นแหละสัญญา
สังขาร ตัวตน มีเรามีเขา นั่นของเรา นั่นของเขา
วิญญาณ โกรธ หลง โลภ รัก ชอบ เหล่านี้คือวิญญาณ

☺ ขันธ์ 5 พิจารณาได้หรือยัง มันซื่อต่อเราไหม ทำไมเราถึงไม่ต้องการ ? พิจารณาอย่างทุกข์ที่เป็นอยู่ประจำ เช่น ปวดหัว เป็นหวัด รู้สึกอย่างไร ทรมานไหม แล้วนำมาสู้สัจธรรม
• เป็นหรือยัง ตีให้ขาด แยกให้ดื่มด่ำ แล้วจะไปได้
☻ หวังว่าเป็นทางของทุกคนนะ

คนที่ 2
☺ การงานที่ทำอยู่ ขอให้ตั้งจิตพิจารณาอยู่เป็นนิจ อย่าจับเอามาเป็นอารมณ์จนจิตเศร้าหมอง จงตั้งใจแน่วแน่ ถ้าเราไม่ปรารถนาการเกิด เพราะการเกิดนำมาซึ่งทุกข์
• ทุกข์ตอนที่ทรงอยู่ในกายเด็ก พูดไม่ได้ บอกไม่ได้ ต้องการอะไรไม่ได้ดั่งใจ นั่นเป็นทุกข์เยาว์วัย

• เมื่อโตขึ้นก็ทุกข์เพราะความเจ็บจากโรคภัย ความเจ็บใจจากโรคภัย ความเจ็บใจเพราะโดนบังคับในสิ่งที่ตนไม่อยากทำ

• เมื่อมีวัยอันสมควร จะต้องทนทุกข์ในเรื่องการพลัดพรากจากไปของบิดามารดา การขวนขวายหาเงิน หางาน ตลอดจนทุกข์จากการมีศัตรู วิวาท หรือคู่แข่ง เป็นมาจนถึงทุกข์เพราะมีครอบครัว

• พอถึงวัยกลางคนจงเห็นทุกข์จากการเลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงลูกน้อง ผจญกับความแก่ โรคภัย การใส่ร้ายป้ายสี

• เมื่อถึงวัยกลางคน จงเห็นทุกข์จากความแก่ ซึ่งเปรียบกับเด็กทารกก็ย่อมได้ เจอโรคภัยรังควาญมากขึ้น จะทำอะไรจะต้องการอะไรมักจะโดนห้าม นี่หรือการเกิดมาสบาย นี่หรือขันธ์ทั้ง 5 ที่ว่าดี เราบังคับให้เป็นดั่งใจเราไม่ได้เลย

☺ การเกิดนี้เป็นทุกข์จริงๆ เมื่อพิจารณาเห็นกองทุกข์ของสังขารแล้ว จงพิจารณาให้จิตน้อมไปตามลำดับ แล้วปลงให้ถึงธรรมว่า นี่สังขาร ขันธ์ 5 ธาตุ 4 ทั้งปวงนี้ไม่ใช่ของๆ เรา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นบ้านที่เรามาอาศัยอยู่ชั่วคราวไม่เที่ยงแท้ถาวร เราไม่ต้องการขันธ์ เราไม่ต้องการการเกิด ปลงให้ได้ตามนี้ทุกวันนะ จิตจะคลายกังวลลง

20 ธันวาคม 2521

(ตอบข้อสงสัยเรื่องการทำมโนมยิทธิด้วยสมาธิขั้นต่ำเพื่อไปดูสวรรค์ ฯลฯ ด้วยตนเอง)

คนที่ 1 (อยากเห็นภาพ)
จิตอย่าพะวงเรื่องการเห็นภาพ ถ้าเห็นก็เห็นเอง การรู้ด้วยจิต นั่นแหละคือภาพ

คนที่ 2 (เห็นว่าตนเองขึ้นไป แต่สงสัยว่าที่เห็นนั้นจริงหรือว่าคิดอุปาทานไปเอง)
☺ จะหลอกทำไม แต่ก็อย่านึกว่าภาพจะปรากฏเสมอไป ตอนจะวางอารมณ์ ให้พิจารณาดูอารมณ์และพรหมวิหารให้ครบเสียก่อน อย่าโลเลไม่แน่ใจ ให้ “ไป” อย่างคนโง่ อย่าไปอย่างคนรู้มาก

คนที่ 3 (ทำไมยังขึ้นไปไม่ได้)
☺ อุปสรรคอยู่ที่ใจเรา จิตเป็นผู้รู้ผู้เห็น การที่จะเห็นจะรู้ได้นั้น จิตเราจะต้องมั่นคงเสียก่อน
☻ (ถาม – สงสัยคำว่าสัญญากับปัญญา)
☺ เมื่อรู้จะขังไม่มีสัญญา ตัวแรกที่รู้เป็นตัวที่เกิดจากอารมณ์จิตเป็นทิพย์ ถ้าไปพิจารณาเข้าว่าเห็นจริงหรือว่าเป็นสัญญา อารมณ์จะโลเล อารมณ์ทิพย์นั้นใช้ปัญญา

☻ (ถาม – พิจารณาทุกข์ไม่ออก บางคนเห็นว่าทุกข์เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้ แต่บางคนเห็นว่าทุกข์เป็นธรรมดา)
☺ ทุกข์แรก เป็นทุกข์ของคนที่ขาดพรหมวิหาร ทุกข์หลังเป็นทุกข์ของคนที่มีธรรมะ ควรพิจารณาให้รู้จักทุกข์ เห็นกระจ่างว่ามันเป็นทุกข์ เมื่อเห็นแล้ว ทำใจให้รู้ว่าเป็นปกติของการทรงตัว

☻ (ถาม – หากเห็นทุกข์เป็นธรรมดาแล้ว เลยไม่คิดตัดให้เป็นสมุจเฉทปหาน)
☺ ให้พิจารณาอันนี้ว่า เรายังต้องการทุกข์นี้อีกไหม ใจก็จะตอบ ตอบแล้วก็รู้เหตุว่าทำไมจึงไม่เอาอีก พิจารณาทุกข์ใหญ่ๆ เสียก่อน เมื่อเห็นแล้วจึงค่อยพิจารณาเรื่องเล็กละเอียดลงไป พิจารณาให้อารมณ์เบื่อเกิด อารมณ์เข็ดเกิด ยอมรับสภาพ

• อย่างเราน่ะ ตา....จะบอกให้ว่าอย่าไปพิจารณาให้เห็นอย่างคนอื่น เพราะเรามาจากพรหมและอารมณ์ขณะนี้ทรงอยู่ในอนาคามีมรรค อย่าไปห่วงเรื่องไม่เข้าใจในทุกข์เพราะอารมณ์ของเรามีแต่อุเบกขา ตั้งจิตให้แน่วแน่ ให้เห็นคุณของการไม่เกิด แล้วจับคำภาวนาไปด้วย

คนที่ 4 (ขึ้นไปข้างบนแล้ว ไม่แน่ใจว่าเห็นจริงๆ)
☺ พยายามมั่นใจ ทำใจให้แน่วแน่ เราไม่เชื่อในจิตของตัวเราแล้วเราจะเชื่ออะไร

คนที่ 5 (เป็นครูเขา แต่บางครั้งศิษย์เห็น ครูกลับไม่เห็น)
☺ อย่าไปเอาอารมณ์เข้ามารับ จะกลายเป็นเสียใจ น้อยใจ นั่นคืออารมณ์ของอกุศล ข้อบกพร่องคืออารมณ์วิปัสสนายังอ่อน หมายถึงว่าการพิจารณาอาจจะทำมาก แต่ซึมเข้าไปน้อย กินใจน้อย การน้อมจิตให้เข้าถึงวิปัสสนา จะต้องมีกำลังสมาธิมั่นคงเสียก่อนที่จะลงมือพิจารณา

• พิจารณาไป จับลมหายไป จับคำภาวนา เห็นภาพพระได้ยิ่งดี ทำคู่กันไป เมื่อหยุดเห็นสภาพร่างกายแล้ว ภาพพระจะปรากฏเอง แต่ภาพพระที่ปรากฏก็จะไม่เหมือนกันทุกครั้งไป แล้วแต่ท่านที่มาคุม ถ้าเปลี่ยนไปจากที่เคยเห็น ก็ให้รู้ว่าอารมณ์จิตของเราชัดแจ่มใสแก่วิปัสสนาในวันนั้นเท่าใด และหมายถึงท่านนิรมิตให้เห็น เพื่อลองอารมณ์เราว่าบางทีเราฝืนตัวเอง พยายามจะดันสัญญาออกมา

☻ (ถาม – ทำไมยังรับโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้)
☺ ตั้งใจตึงเกินไป แต่บางทีท่านก็ไม่ให้นะ เพราะให้มาแล้วก็ยังทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ ทุกคนระลึกไว้นะ สมเด็จฯ ตรัสสั่งสอนไว้แล้ว ตรัสเพียง 2 ครั้ง ไม่มีหนสาม เวลารับพระโอวาทแล้วพยายามทำให้ดี
• เจริญพรหมวิหารให้บ่อยๆ แล้วจับภาพพระเป็นประธานและครูบาอาจารย์ ตามลำดับ

10 มกราคม 2522

☻ (ถาม – อยู่ๆ อารมณ์กำลังดี ทำไมขุ่นขึ้นมาเฉยๆ ได้)
☺ จิตคนเราทุกคน ย่อมมีอยู่ 2 พวกในจิตเดียวกัน คือกุศลฝ่ายหนึ่งกับอกุศลฝ่ายหนึ่ง ทีนี้ตัวใดแจะแรงกว่ากัน ตัวนั้นก็จะแสดงออกมาโดยบางทีก็ไม่เข้าเรื่อง เช่นนี้ถึงต้องใช้สมาธิ 1 วิปัสสนา 1 เข้าประหาร

• ให้แก้ไขโดยใช้วิชชา เช่น บางทีเราเกิดอารมณ์ไม่พอใจ ไม่ชอบใจคนๆ หนึ่ง โดยที่เขาก็ไม่ได้มาทำอะไรให้เรา ดังนี้ จะตั้งใจพิจารณาให้เห็นความดี คิดถึงธรรมะ พระท่านสอนว่าอย่างไรในเรื่องของคน
• หยิบเอาตัวเองขึ้นมาพิจารณาเป็นเบื้องแรกว่าทำไมเราถึงไม่ชอบ กิเลสรึ ? ตัณหารึ ? โลภรึ ? หลงรึ ? หรือไปอิจฉาเขา อันนั้นอยู่ในทุกคน เมื่อเรายอมพิจารณาและพิจารณาได้แล้ว ใจเราเองนี่แหละจะมีความสุข จริงไหม

☺ ผลของการฝึกธรรมะนั้น อยู่ที่เราจะพอใจฝึกบ่อยๆ หรือนานๆ ฝึก ควรจะหนักในด้านพิจารณา

7 กุมภาพันธ์ 2522

คนที่ 1 (ปรารภการที่ผู้อื่นปฏิบัติการที่เห็นว่าไม่ควรแต่ตน ทำให้ข้องใจมาก)

☺ เรื่องเหล่านี้นะ จงใช้สติปัญญาให้มาก ถ้าเรามั่นใจในความดี บุญกุศลแล้ว จงอย่าได้ท้อแท้ โดยเฉพาะ ตา..เห็นว่าเราเป็นผู้ปรารถนาพระนิพพานใช้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น จงพยายามปลดสิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องหนักให้กลายเป็นเรื่องเบาด้วยการปฏิบัติบังคับใจ ทำได้ไหม? ใช้สมาธิไตร่ตรองนำเอาธรรมะเข้ามาครองใจ แล้วเราจะไม่ทุกข์ร้อน

• ผู้ที่ปรารถนาพระนิพพานการพ้นทุกข์นั้น ย่อมจะต้องเป็นผู้รู้อยู่แก่ใจว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความทุกข์และสิ่งโสโครกอันเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ และของสัตว์เดรัจฉานไปตลอดถึงสัตว์ประเสริฐที่เรียกว่ามนุษย์ทั้งสิ้น จงรู้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสิ่งแน่นอน

• เมื่อตั้งใจจะตรงไปสู่การดับขันธ์เข้าพระนิพพาน ก็อย่าได้อาลัยอาวรณ์กับสมบัติ กับสังขาร ขันธ์ 5 และเคราะห์โศก บุพกรรม ก็อย่างได้กลัวเกรง ให้เห็นสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดา ดังพุทธดำรัสที่ตรัสสอนพวกเธอไปเมื่อครู่

คนที่ 2 (สงสัยเวลาใช้จิตดู เหตุใดจึงเห็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ไม่ตรงกับผู้อื่นเห็น คือคนละองค์กัน)
☺ อย่าลังเลใจ ท่านเสด็จมาหลายองค์ ที่พระนิพพานองค์ใดเป็นประธาน เมื่อเราเข้าแดนพระนิพพานแล้วจะพบท่านเป็นองค์แรก
☻ (ถาม – ที่ทำอยู่ เอาจิตจับองค์ปัจจุบัน)
☺ ฉันรู้แล้วว่าเธอจับรูปท่านอยู่ถึงได้พบท่าน ไม่พบองค์ประธาน ท่านมีวาระที่ท่านมาโปรด

• เอายังงี้นะ ไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งนั้น พระพุทธองค์เป็นพหูสูต สัพพัญญู ฉะนั้น ถ้าเราปรารถนาหรือท่านประทานสงเคราะห์ ท่านจะมาโปรดเราเอง ฉะนั้นทุกคนอาจเห็นผิดกัน อย่าเสียกำลังใจ ที่ทุกคนเห็นนั้นก็ถูกต้องตามจิตของแต่ละคน สรุปแล้ว ทุกคนจับพระท่านไว้เป็นมงคลที่สุด จริงไหม มั่นใจนะ

คนที่ 3 (ท่านสั่งให้ขึ้นเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง ถ้าเวลาแต่งตัวไม่ดีก็ไม่ควรขึ้นเฝ้าขณะนั้นหรือ ?)
☺ ไม่เป็นไร นั่งขี้อยู่ก็ทำได้ เราไม่ได้เอากายไป ที่จริงนั่งขี้อยู่แล้วทำนี่ดีนะ ปลงไปด้วย จะได้เป็นร่างของตนที่ไร้สาระ และมีกิจวัตรที่เป็นทุกข์

คนที่ 4 (สงสัยว่าการปฏิบัติของผู้อื่นจะเขว)
☺ ไม่อธิบาย จำไว้อย่างหนึ่งว่าเราเข้ามาปฏิบัติธรรม มีธรรมะมรรคผลพระนิพพานเป็นที่สุด จุดสำคัญของการปฏิบัติ คือปัญญา ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติ สมาธิ มีศีลเป็นพื้น

☻ (ถาม – จะสงสารเขาก็เกรงว่าไม่สมควร เพราะคิดว่าเขาสูงกว่า)
☺ พระพุทธศาสนาจะทรงตัวอยู่ได้ก็ด้วยพุทธบริษัท 4 พุทธบริษัท 4 จะรวมตัวได้ก็ขึ้นด้วยความสามัคคี ความสามัคคีจะเกิดได้เพราะอภัยทาน

คนที่ 5 (ขึ้นไปแล้ว ไม่เห็น มีแต่จิตรู้สึกซึ่งอาจเป็นการติดสัญญาก็ได้)
☺ พยายามพิจารณาให้มากๆ เร่งสมาธิให้แน่น จับพระนิพพานและพระพุทธองค์ให้บ่อยๆ เราจงมั่นใจในสมาธิ มั่นใจในพระพุทธองค์ และมั่นใจที่จะปฏิบัติตามพระธรรม เท่านี้เราจะได้เป็นผู้ไม่ประมาทในสังขาร เราไม่รู้ทุกข์ในภายหน้า เราไม่รู้กรรมอกุศลที่จะมีมา เราไม่รู้ว่าจะตายในเมื่อใด

• เหล่านี้คือทางที่ไม่แน่นอนในอนาคต ฉะนั้น เธอจงรักษาธรรมะปฏิบัติธรรมะยิ่งชีวิต ดังที่ได้ลั่นวาจาก่อนสมาทานพระกรรมฐานไว้อย่างมั่นคง มุ่งผลเพื่อตัดสละละขันธ์ 5 ธาตุ 4 กองสังขาร และสมบัติทั้งปวง อย่าท้อถอยทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่กำลังจิต

11 เมษายน 2522

คนที่ 1 (ขอทราบข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน)
☺ จุดอ่อน สอนไปแล้วทั้งนั้น รวมทั้งที่ท่านทั้งหลายมาสงเคราะห์เรา ต้องไปทบทวนดูว่าจิตของเรารับได้ปฏิบัติได้แค่ไหน
• ที่สอนไปแล้วนั้น ถึงที่สุดของขันธ์ 5 แล้ว ทำได้ครบก็จะปลดขันธ์ 5 ได้

• คนทุกคนที่หวังพระนิพพานเป็นที่ไปนั้น เวลาอารมณ์จิตสงบนิ่ง ละ ตัด ขันธ์ 5 ไม่มีความอาลัยในโลกนี้ ภพนี้ ภพหน้า แค่ชั่วเวลาลมหายใจเข้าออกก็ถือว่าผู้นั้นมีกำลังใจตัดขันธ์ 5 ได้จริงๆ แต่ทรงอยู่นานแค่ชั่วลมหายใจเข้าออกตอนนั้น ฉะนั้น พระท่านถึงให้พยายามนึกตัดใจ ทำใจให้เด็ดขาดที่จะละขันธ์ 5 ตลอดเวลาให้ได้นานที่สุด

• การตัดขันธ์ 5 นั้น เพียงแต่ทำใจให้สบาย ความกลัวเจ็บ กลัวตาย สารพัดกลัวต้องไม่มี เมื่อความกลัวไม่มีแล้ว จิตจะรู้สึกว่าร่างกายก็ดี ทรัพย์สินก็ดี ลูกหลานก็ดี เป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะต้องหวง ห่วง กังวล

☻ (ถามถึงอดีต)
☺ อย่าไปติด การติดอดีตมากนั้น ถ้าเกิดตายลงในขณะที่ใจผูกพันอยู่ใจจดจ่ออยู่ ตายไปจะต้องใช้ภพใช้ชาติกันอีก ถ้ายังมีความขุ่นข้องหมองใจในขณะที่จะตาย เวลาตายไปจะต้องผ่านสำนักพญายมราช

☻ (ถาม – ได้ยินเพื่อนฝูงพูดแล้วสะดุดใจ)
☺ เราต้องมีเหตุผลในตัวเรา ถูกหรือผิดเรารู้ เมื่อเรามั่นใจในสิ่งใดแล้ว อย่าไปเขวตามเขา ถ้าเรายังโลเลอยู่ อกุศลจะเกิดในจิตไม่รู้จบ

คนที่ 2 (ทำสมาธิ แต่ไม่เห็นภาพปรากฏ)
☺ จิตสัมผัสแม่นกว่า ภาพนั้น บางทีคือสัญญา มโนภาพ แต่จิตสัมผัสนั้นจะรู้สึกมาเอง

☻ (ถาม – ขอวิธีแก้ไขให้สมาธิดี)
ให้ทบทวนตัวบท สมาธิประกอบด้วยอะไร หลักการทำใจให้เห็นสมาธิคืออะไร ไล่ไปเป็นข้อแล้วจะรู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน ต้องไล่ตอนนั้นอย่าเลยไปเสียนะ พอเรารู้สึกว่าตัวเราบกพร่องก็รีบไล่ข้อบกพร่องให้เจอตอนนั้น แล้วแก้เสียเลย อย่าปล่อยทิ้งไปเวลาพบอย่างนั้น จะเป็นเวลาที่เราจำได้ลึกซึ้ง

• เวลาใช้สมาธิ ดูอะไร
• 1. อย่ากลัวผิด ผิดเป็นผิด ไม่ถึงตาย
• 2. มั่นใจ มั่นใจในพุทธานุภาพ
• 3. จับอานาปาฯ ให้มั่นคง ทรงพรหมวิหาร 4 ฝึกนะอย่ากลัว กลัวคืออุปสรรคร้าย

☻ (ถาม – อยากให้ช่วยบังคับจิต)
☺ บังคับยังไง ตัวเราเองต้องบังคับตัวเราเองก่อน ถ้าเราบังคับตัวเราเองไม่ได้แล้ว จะให้ใครมาบังคับได้สำเร็จ

☻ (ถาม – คนอื่นให้ช่วยดูว่าคนที่ตายไปแล้ว เวลานี้ไม่อยู่ที่ไหน)
☺ การดูให้หรือไม่ ต้องรู้จักกาละอันสมควร บางคนชอบดู แสดงว่าผู้นั้นอาจมีกิเลสต่อไปก็ได้ เพราะกิเลสนั้นมาอยู่ในตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะไปตีมันให้ขึ้นมาได้หรือไม่ กิเลสจะแสดงออกด้วยการต้องการให้ผู้อื่นสนใจในตน ให้ผู้อื่นสักการบูชาและเชื่อฟังในตน ตนนั้นเป็นคนพิเศษ นี่คือข้อเสียสำหรับผู้มีวิชานี้ที่จะนำไปใช้ผิดๆ

23 พฤษภาคม 2522

คนที่ 1 (ทำมโนมยิทธิขึ้นข้างบน บางวันก็แจ่มใส บางวันก็ไม่ดี)
☺ พิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้ง อย่าพิจารณาพอเป็นพิธี การที่ขึ้นไปแล้วนั้น ควรหาประโยชน์โดยการพิจารณาสำรวจร่างกาย อารมณ์เราในวันนั้นว่าได้ทำอะไร มีอะไรไม่ถูกแล้วหาข้อแก้ไขว่าจะต้องดำเนินอารมณ์อย่างไรถึงจะถูกต้อง พบวิมุตติสุข

คนที่ 2 (ขอให้แก้ไขให้)
☺ รู้ว่าเรายังติดอยู่กับอะไร ก็ให้มุ่งแก้ที่จุดนั้น อย่าแพ้ใจตัวเอง ถ้าเรายอมแพ้แสดงว่าเราจะชนะในสิ่งที่เราปรารถนานั้นยาก

คนที่ 3 (การทำสมาธิ ไม่ค่อยมั่นใจนัก)
☺ เราต้องใช้สติปัญญาเหตุผล พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าเราจักต้องพึ่งตนเอง วิธีการพึ่งตนเองนั้นต้องรู้จักคิด พิจารณาว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรไม่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องไม่หลอกตัวเอง และพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ประการหนึ่งว่า เหตุที่ตถาคตเทศน์อย่าเพิ่งเชื่อ เมื่อเราทำได้ประจักษ์แก่ตนแล้ว นั่นแหละคือสิ่งที่ควรเชื่อ

• ถ้าใจยึดถือศรัทธา ทำอย่างไรก็ไม่ห่างพระ ถ้าใจโลเลไม่ศรัทธาอะไร ไม่มั่นคง ทำอย่างไรก็ไม่ถาวรในอะไรสักอย่าง จริงไหม ?
• ลูกเธอ ถ้าเขารักเคารพใจตัวเธอ เธอจะว่ากล่าวอย่างไรเขาก็ไม่แคลนใจในเธอ ถ้าลูกเธอไม่มีความรักอาลัยในตัวเธอ จะทำดี พูดดีอย่างไรเขาก็ไม่สนใจมากขึ้นกว่าเดิม ดังนี้อุปมาเช่นกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้ อยู่ที่ตัวเรา


4 กรกฎาคม 2522

คนที่ 1
☺ ขอให้ทรงอารมณ์พิจารณาไว้ตลอดเวลา แต่ไม่ให้เครียด ให้ตั้งอารมณ์สบายๆ ไม่กังวล ไม่รุ่มร้อน แต่ต้องทรงสติ สู้ต่อภาวะ คือภาวะที่มากระทบ หรือภาวะของผู้อื่นที่เธอได้ประสบ ประสบพบหรือเห็น ได้ยิน สัมผัส แล้วนำสิ่งนี้ขึ้นพิจารณาอย่างรู้ทันว่า สิ่งที่ประสบกระทบทั้งหมดนี้เป็นไปตามวัฏฏะ และนำไตรลักษณ์เข้าลงท้าย

• เธอน่ะ ใจใสมากแล้วนะ จงปลงเพื่อการจากให้บ่อยๆ ทุกอย่างที่ทำเป็นหน้าที่ เพียงแค่มีความสามารถทำ และหน้าที่นี้ก็จะหมดไปตามความสามารถ เมื่อนั้น จงอย่ากังวลต่อหน้าที่ สิ่งใดเกิดขึ้นได้ ย่อมดับสลายได้เช่นกัน
☻ (ถามถึงคนๆ หนึ่งที่ทำบุญมากและตายสบาย แต่ทำไมเห็นว่าไปตกนรก ?)
☺ ปรามาสพระอริยะ

คนที่ 2
☺ โลกธรรมย่อมเป็นธรรมดาของคนที่ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ พยายามให้ลดลงโดยใช้สติเป็นพื้นฐาน ถ้ามีสติจะเป็นคนอารมณ์เย็น มีแค่นี่แหละมากไหม ทำทีละน้อย ค่อยๆ ทำ
☻ (ปรารภ – มักโกรธ และหงุดหงิด)
☺ อยู่ภายใน ลองนึกดูซิ โกรธแล้วได้อะไร เป็นการหาผล

คนที่ 3 (หลวงตาฯ บอกวิธีให้หมดรักษาตัวเอง)
ว่าคาถา อิติปิโส 3 จบ แล้วใช้คาถามงกุฎ (พระพุทธเจ้า) 3 จบ แล้วใช้คาถาบารมี 10 ทัศน์ บารมี 30 ทัศน์ ทั้งหมดนี้ขณะที่ท่องต้องเห็นพระที่จมูก (ที่ต้องการรักษา) ให้มีดวนที่หน้าผาก มีดวางไห้พระให้ครบ

กับทุกคน
☺ ตอนนี้ ใครติดขัดในเชิงธรรมะบ้างไหม ?
• การฟังคำสอนนี้ ไม่จำกัดอายุ ไม่ว่าผู้มีอาวุโสมากหรือผู้ด้อยอาวุโสก็ตาม ล้วนมีเวลาตายเป็นของแท้ พวกเธอทั้งหลายที่ได้ฟังธรรมะมากาลก่อนๆ ก็ดี ขอให้รู้ประจักษ์ใจว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท

• ฟังแล้วคิด คิดแล้วพิจารณาตาม ไตร่ตรอง ใคร่ครวญดู แล้วพยายามปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการสอนบุคคลต่อบุคคล (คือที่สอนไปเฉพาะเป็นคนๆ ?) ก็ตาม ควรรับฟังและพิจารณาตามว่า เรานั้นเป็นอย่างที่สอนหรือไม่ นั่นจะเป็นการช่วยฝึกกำลังจิตของตนให้ยอมรับความจริงที่ดูตัวเราว่าสิ่งใดยังขาด ส่วนใดล้น

• ไม่ใช่ว่าฟังสอนบุคคลอื่นแล้ว นั่งดูคนอื่นเขาว่าผิดตรงนั้นตรงนี้ ถึงโดนสอน เช่นนั้นก็ขอให้รู้ใจตนเองว่ากำลังจะโดนกิเลสครอบครองเข้าข่ายโมหะ จึงขอให้ทุกคนหมั่นล้างใจ การล้างใจนี้ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวทำก็ได้ ใจเราดำ ขุ่นมัว มาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย จะมาคิดว่าเดี๋ยวทำก็ได้ อารมณ์ฉันเป็นอย่างนี้ทำเมื่อไหร่ก็ได้

• ส่วนพวกอาวุโสน้อยก็คิดว่าตนยังอ่อน ยังไม่ถึงเวลา ถ้าจะคิดเช่นนั้น ตา...ก็ขอถามว่า “ถึงเวลา” น่ะ เมื่อไร เอาอะไรเป็นกำหนด เธอรู้รึว่าเดี๋ยวสังขารเธออาจจะหยุดทำงานเสียเฉยๆ ก็ได้ ไม่มีอะไรแน่ เป็นอนิจจังทั้งสิ้น แม้กระทั่งใจของพวกเธอก็ยังเอาอะไรแน่ไม่ได้ จริงไหม ?
• การฟังเทศน์หรือคำสอน ขอให้พิจารณาตามแล้วรู้เห็นตามตัวอย่างของคนใกล้เคียง

18 กรกฎาคม 2522

☺ ขอให้ทุกคนหมั่นตั้งใจสำรวจตรวจสอบวิธีพิจารณาตามไป ในระหว่างสอนคนอื่นขึ้นข้างบน (สอนมโนมยิทธิ)

• การพิจารณามรณัสสตินี้อย่าละเว้น จงพิจารณาไปเรื่อยๆ เป็นปกติ อย่าให้ขาด เธอไม่รู้ว่าวันใดการจากไป การสูญเสียสูญสิ้นจะเกิดขึ้น และต้องรู้จักการทรงอารมณ์ในขณะพิจารณาให้ได้ คือเมื่อพิจารณาวาระสุดท้ายของตนเองก็ดี ของภาระ พันธะอื่นๆ ก็ดี จงอย่านำจิตใจของตนเข้า (ไป) หดหู่ ไม่แจ่มใส อยู่ในความเศร้า

• จะทำให้ระดับจิตในขณะนั้นเทียบเคียงกับว่า นั่นแหละ (คือ) ที่ใจจิตของเธอยังมุ่งมั่นปรารถนาในสังขาร วิญญาณ และขันธ์ 5 ธาตุทั้ง 4 อยู่ ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยของการเกิดทั้งสิ้น

• จงหมั่นพิจารณา ให้อารมณ์ทรงอยู่ในความเฉย ทรงอารมณ์รู้ว่าเหตุปัจจัยที่เราพิจารณาน้อมตามไปนั้นคือความจริง ความจริงที่ไม่ควรอาลัยหาอีกต่อไป
• สิ่งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้หลงมัวเมา ยึดในวัฏฏะต่างๆ เมื่อใดเธอได้พิจารณาแล้ว มีจิตเป็นปกติ สบายอยู่ ไม่ท้อถอยแล้ว เมื่อนั้นเธอจะได้อารมณ์ที่ควรทรงอยู่แน่นอน

การที่ได้มาฟังคำสอนต่างๆ แล้วนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องกายกับจิต คือกายนั้นให้ละ ให้ทิ้ง ล้วนมีเหตุไม่แน่นอน และยังเป็นส่วนที่โสโครกอีกด้วย ส่วนจิตที่เธอได้รับฟังไปก็คือการจะทรงจิต ล้างจิต ด้วยวิธีการฝึกต่างๆ เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญของอริยบุคคลที่ทำให้ถึงอรหัตผลนั้น มีข้อความสั้นๆ คือ แยกกายออกจากจิต หรือแยกจิตออกจากกาย

• ถ้าเธอสามารถรู้หน้าที่ของกาย วาระของกาย หน้าที่ของจิต และวาระของจิตได้อย่างถูกต้องและเด็ดขาดแล้ว เมื่อนั้นจะสามารถตัดขันธ์ 5 ธาตุ 4 ได้อย่างแน่นอน

คนที่ 1
☺ รู้ไหมว่าใคร (ที่มาสอน)
☻ (ตอบ – เข้าใจว่าหลวงตาแสง)
☺ ตาซ้ายหรือตาขวา พยายามหัดให้ทรงตัว อย่าลำเอียง

☻ (ถาม – หมายถึง รักคนหรืออะไร ?)
☺ เข้าข้างใจตัวเองซิ อย่าเข้าข้างใจตัวเอง ลำเอียง ไม่ใช่ว่ารังเกียจใคร ลำเอียงคือชอบมาก ชอบน้อย ไม่ชอบโดนว่า ฉันไม่ได้ให้ไปชอบหรือเกลียดใคร ให้ทรงอารมณ์เฉย อย่างนี้ต้องจับเข้าป่าเสียให้เข็ด ไปไหม ?
☻ (ตอบ – ไม่ไป)
☺ ถ้าไปจะมารับ

☻ (ถามถึงการฝึกเพื่อน)
☺ ตามอัธยาศัยตามความสามารถของคนเรียน ดูอย่าง ตาเล็ก....ซิ เขาสอนแล้วก็แล้วกัน
☻ (ถาม – ใคร ?)
☺ ไม่รู้จักรึ ? ไม่รู้ก็ไม่รู้ต่อไป
หมายเหตุ: - “ตาเล็ก” คงหมายถึงหลวงพ่อซึ่งเมื่อก่อนมีชื่อเล่นอย่างนั้น

◄ll กลับสู่สารบัญ


puy - 2/10/10 at 15:07

59

(Update 2/10/53)


คำเทศน์ของ “หลวงตาแสง


15 สิงหาคม 2523

คนที่ 1
วาระคนจะถึงที่สุดเมื่อใดเราไม่รู้ แต่อารมณ์จะทำให้ผู้ใกล้จะหมดสภาพสังขารไปสู่สุคติหรือทุคติอยู่ที่อารมณ์ ร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องพังสลายไปเรารู้อยู่ แต่ถ้าไม่อยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ เราก็ต้องผ่อนตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง

คนที่ 2
วิธีปฏิบัติของอุเบกขาคืออย่างไร ?
• คือเฉย ช่างมัน ช่างเขา ใครจะรักเราไม่รักเรา (ก็) เรื่องของเขา แต่เราก็ทำความดี มีน้ำใจเมตตาปราณี กรุณาทุกคน อย่าลืมนะ

คนที่ 3 (เป็นเด็กหญิง จะไปต่างประเทศ)
รู้จักรักษาตัวนะ เราก็รู้อยู่แล้วว่าศีลเป็นของดี เป็นของจริง หรือของไม่ดี แยกคิดเอา เวลาที่อยากจะตามเพื่อนหรือสังคม จงใช้สติปัญญาให้มากๆ อย่าเอาความร้อนของอารมณ์ทำตนหุนหันพลันแล่น จะเสียใจอยู่ที่ตัวเรา

คนที่ 4 (ถามปัญหาสอนมโนมยิทธิ พาศิษย์ขึ้นไปดูเทวโลก)
☺ จับหลักธรรมไว้ ไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้ถาวร ทุกข์ และวนเวียน หลักอริยสัจ เกิด-เริ่มต้น แก่-มีอายุ เก่าลง เจ็บ-เสื่อมชำรุด ผุ ตาย-สลาย พังหมดอายุ แล้วใช้หลักทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์ นำหัวข้อเหล่านี้เข้าตั้งแล้วนำภูมิเหตุเข้าหาประเด็น จะตอบได้เอง เข้าใจหรือยัง ลองไป (ตรวจ) ทานดูนะ ถ้าไม่เข้าใจตาจะอธิบายให้

☻ (ถาม – ศิษย์เห็นทรงจีวร ไม่เห็นทรงชุดเทวดา)
ต้องให้เขาลงมาพิจารณาใหม่ ผู้ที่จะพาไปนิพพาน (ได้นั้น) คนนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องสังขารเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้วเขาจะเห็นองค์สมเด็จทรงชุดพระนิพพานในพระจุฬามุนีแล้วถึงจะพาขึ้นไปได้

คนที่ 5
☺ มหาสติปัฏฐานสอนไว้อย่างไร ตอบรวบเป็นอย่างเดียว
☻ (ตอบ – ไม่ให้สนใจร่างกาย)

เห็นทุกข์ ทุกข์ของโลกที่อาศัยอยู่ ทุกข์ของภาระที่ได้รับ ทุกข์ของภาวะที่ดำรง นี่คือทุกข์ เรารู้ เราเห็น เรารู้สึก แต่เหล่านี้มาจากความรักทั้งสิ้น รัก “เรา” รักใน “ตัวเรา” รักฐานะ รักในกิเลสต่างๆ จะปัดป้องสิ่งเหล่านี้ได้โดยเรารู้สภาพความจริงของคน สัตว์ สิ่งของทั้งหลาย (ว่า) ไม่มีอะไรถาวร ล้วนเสื่อมสลายพังไปในที่สุด จะมีอะไรเป็นสาระแก่นสาร จะหลีกหนีได้โดยปัญญาในพระกรรมฐาน

☻ (ถาม – ทำอย่างไรจะไม่ให้หนีสิ่งที่มากระทบต่อหน้า)
☺ เฉย ทุกคนรักหรือเกลียดเรารู้ ถ้าใจเรามีอุเบกขาพอ เราจะไม่ร้อนใจ ถ้าเราไม่ทำให้ใครร้อน
☻ (ถาม – ถ้าเรามีความเห็นไม่ตรงกับคนอื่นอีกหลายคนล่ะ ?)
☺ พิจารณาซิ ตา....เคยสอนไว้ว่า ในการพิจารณาที่จะดูจุดบกพร่องของตนเองได้นั้น อย่ามองเห็นว่าตัวเราดีแล้ว ตัวเราเก่ง เมื่อนั้นถ้าเรายังเห็นตัวเราในทัศนะอย่างนี้ต่อไป

ตา.....เราในกายนั่นแหละจะบอด คนสูงมักดูตัวไม่ทั่ว เพราะคิดว่าตัวสูงกว่าคนทั้งปวง คนต่ำมักดูตัวเสมอเพราะอยากสูง และเจียมตนว่าต่ำ นี่แหละเป็นอุปมานะ เดี๋ยวจะเสียใจกับ (คำพูดของ) ตา....อีก
☺ (ปรารภ – ไม่ได้ไปสนใจคนอื่น แต่คนอื่นชอบแหย่จนอยากหนี เพื่อคนอื่นจะได้สบาย)

• โลกธรรมกินกายนะ โลกธรรมกินใจนะ ถ้าเช่นนั้นก็แสดงว่าธรรมะเราอ่อนน่ะซิ ทำไมจึงหนี หนีแล้วได้อะไร หนีแล้วจะดีขึ้นรึ ถามใจเราซิ เราเป็นคนผู้แสวงหาทางขจัดกิเลส กิเลสอยู่ที่ใจและขจัดได้ด้วยกำลังใจ ถ้ากำลังใจยังท้อถอยอยู่ บารมีคือกำลังใจยึดมั่นอย่างไร จริงไหม ?

☻ (ถาม – จะเจออย่างนี้ตลอดไปไหม ?)
มีใครบ้างที่ไม่เจอ ตาเองเจอมามากกว่าเราต้องมากตายังทนเลย อาจารย์ของเราสอนไว้อย่างไร ? ถ้าเราอ่อนแอ แสดงว่าเราไม่รักต่อคำสอนของอาจารย์เรา จริงไหม ? ก้าวไปข้างหน้า นี่คือทางของเรา เอาเถอะ ถ้าเธอชนะใจเธอครั้งนี้สำเร็จ เธอจะได้ธรรมะอีกก้าวหนึ่ง กำลังใจจะแข็งขึ้น ที่จะเป็นทางไปสู่ที่สุดแห่งธรรมะ ตอนนี้แหละจะเป็นช่วงสำคัญ

คนที่ 6 (ทำบุญให้คนตายแล้วยังเห็นเขาในสภาพคนธรรมดา แปลว่าอะไร ?)
☺ ยังวนเวียนอยู่ (สัมภเวสี) รอการผ่านสำนักพญายมฯ จะขึ้น (สวรรค์) หรือลง (นรก) ยังไม่แน่
☻ (ถาม – คนตายแล้วไปเกิดเป็นภุมเทวดา เพราะอะไร ?)

☺ การที่จะเป็นภุมเทพก็ดี เป็นรุกขเทพก็ดี อยู่ที่การทำบุญของผู้นั้นอย่างหนึ่ง เป็นด้วยผูกพันในบุญชนิดใดชนิดหนึ่ง (ด้วย) อีกอย่างหนึ่งด้วย จะเอาแน่ไม่ได้
• คนที่ไม่บาปจริงๆ ท่านพญายมราชท่านไม่เอาลง (นรก) คนที่ลงนรกได้ (น่ะ) เก่งจริงๆ นะ

29 สิงหาคม 2522

คนที่ 1 (ถามถึงลูกที่ตาย)
ช่วงชีวิตของคนนั้น ไม่มีอะไรเป็นแก่นเป็นสารมากนัก เกิด แก่ แล้วก็ตายเป็นวาระ ฉะนั้นในเวลาที่ยังมีชีวิตอาศัยในร่างกายอยู่ มีสติสมบูรณ์ ควรตั้งใจให้รู้สภาพสภาวะของความเป็นจริงที่เราผจญอยู่บนโลก เราจะได้ไม่หลง เราจะได้ไม่มัวเมา

เราจะได้ไม่คลั่งไคล้ในสมบัติที่สมมุติขึ้นมา สมบัตินี้หมายถึงคุณสมบัติก็ดี วุฒิสมบัติก็ดี เกียรติสมบัติก็ดี ทรัพย์สมบัติก็ดี ทุกอย่างล้วนมีอายุเวลาให้เราปลื้มใจได้อย่างมาก 50 ปี แล้วก็สูญสลายไปในที่สุด

คนที่ 2 (เป็นแพทย์ ไม่อยากให้คนชราทรมาน)
เรื่องนี้นะ เธอต้องวางใจเป็นปกติว่า เราจะทำดีเท่าที่เราทำได้ สิ่งใดเกินวิสัยไม่สามารถทำได้ก็อย่าเสียใจ ถือเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม แต่ละคนมีกรรมเป็นของตนเอง มีทางเดินและที่ไปเป็นของตนเอง แม้แต่องค์สมเด็จพระบรมครูทรงช่วยสัตบุรุษได้ด้วยการสอนธรรมโปรด (เท่านั้น)

คนที่ 3 (มีคนพูดว่าการพับกลีบดอกบัวที่บูชาพระไม่ดี)
คนนั้นคงพับดอกบัวไม่ได้ดี เพราะเขาถือว่าเขาพับไม่เป็นมั้งหรือขี้เกียจพับมั้ง การพับดอกบังถวายพระนั้น เป็นสิ่งส่อเจตนาของผู้ถวายพระว่าผู้นั้นอยากถวายพระด้วยความประณีต บรรจง เคารพ และพยายามทำด้วยความศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คนที่ 4 (ถามเรื่องกำลังมีเคราะห์)
คนเราเวลายามเคราะห์นั้น อะไรๆ ก็ดูจะเป็นอุปสรรค มิตรก็ดูจะเป็นอุปสรรค มิตรก็จะไม่เข้าใจ อย่าว่าแต่มิตร เวลาเคราะห์ร้ายหมายังเมินเลย

☺ แต่ตัวเคราะห์จริงๆ อยู่ที่ใจของเรา ฉะนั้น จะต้องแข็งแกร่งเด็ดเดี่ยว แล้วเราจะหาความสุขได้แม้กายจะลำบากก็ตาม
นี่แหละธรรมที่เธอได้

☺ ไม่ต้องกังวลนะ ปั้นปลายชีวิตจะสบาย จงเชื่อมั่นในบุญกุศล เธอเป็นคนทำบุญประพฤติธรรม มีธรรมะ จะได้รับบุญนี้อย่างแน่นอน


คนที่ 5 (จะมีลูกปฏิบัติตัวอย่างไร)
☺ ศีล สมาธิ ปัญญา
• สมาธิไม่ต้องหลับตาทำตลอดไป สมาธิหมายถึงเรามีสติทรงอยู่ รู้ว่าเรามีใจกำลังทำอะไรอยู่ พูดง่ายๆ คือสมาธิ ได้แก่ การตั้งใจทำอะไรแน่นอน
• ปัญญานั้น คือการใคร่ครวญในเหตุการณ์ที่กระทบในผลที่ได้

คนที่ 6 (ในการพิจารณา มี 2 ใจ แย้งกันเอง)
จุดอ่อนของเธอรู้ไหม จะมีอยู่ตัวหนึ่งที่คอยแทรกอารมณ์อยู่ทำให้ตัวเราทุกข์ ตัวนั้นคือตัวเสียใจ ใช่ไหม ? ตัวนี้จะแทรกเวลาเรากระทบอะไรที่เป็นความกังขาขึ้นมา

☻ (ถาม – วิธีแก้)
ต้องงดเว้นตัวนี้โดยเรารู้ทัน คือเมื่อเกิดอารมณ์นี้ขึ้นมา พิจารณาว่าทำไม ถามตัวเองว่าเพราะเหตุอะไร เมื่อจิตพิจารณาได้บ่อยว่าที่เจ้าตัวแทรกนี้หาเหตุผลไม่ได้ นานเข้าเราจะชิน อย่าใจอ่อนนะ เสียใจทำไม ได้อะไรขึ้นมา แล้วจะมีปัญญา

12 กันยายน 2522

คนที่ 1 (ขอให้สอน)
☺ เสียใจมีมากหรือน้อย น้อยใจมีมากหรือน้อย
☻ (ตอบ – มีอยู่)

แน่นอน เป็นธรรมดาของคนทุกคน เพราะทุกคนยังรักตัวเองอยู่ ปรารถนาไม่สมหวังก็เสียใจ โดนเขานินทาว่าร้ายก็น้อยใจ เหล่านี้เป็นผลที่เรายังติดในวิธีคิดของเราว่าทุกอย่างที่เราทำไปมีความถูกต้อง อันที่จริง ความถูกต้องนี้เป็นเฉพาะในส่วนที่ตัวเราได้ลำเอียงคิดไปเอง

• ที่ลำเอียงนี้ก็เพราะว่าเรายังรักตัวเราอยู่ ยังปกป้องคุ้มครองตัวเราอยู่ ไม่ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นจะผิด หรือสมควรประการใด เพราะอะไรรู้ไหม ? เพราะขาดสติ
• ตา.........ขอสอน ไม่ได้ว่าเรานะ สอนทั่วๆ ไปด้วย จะได้เป็นประโยชน์


☺ ตัวสติ นี้จะเป็นผู้รู้ ให้เราไม่ยึดถือตัวเรา แต่จะทำให้รู้จักเหตุผลของสิ่งใด ควรหรือไม่ควร คำว่าควรหรือไม่ควรกับกาลเทศะนั้น เป็นคำที่มีความหมายกว้าง จะยกว่าความควรความถูกต้องนั้น เรายึดถือตามหลักพระศาสนา แต่หลักพระศาสนาก็มิได้กำหนดกฎเกณฑ์อะไรไว้ตายตัว เพราะมันเป็นระเบียบ เป็นวัฒนธรรมของคนต่อคน

☺ จึงได้มีสิ่งยึดว่า ความดีความถูกต้อง ต้องเป็นไปตามหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมของพระพุทธเจ้าก็ได้มาจากธรรมชาติของโลกธรรมชาติของคนสัตว์ว่า อะไรควรเว้น อะไรไม่ควรเว้น เข้าใจหรือยังอันนี้ ?

• เมื่อใดเราเจอคำเตือน เจอคำนินทา เจอคำต่อว่า จงฟังอย่างใจกว้างและพิจารณาว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นเป็นจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็เก็บไว้ ยอมรับ และแก้ไข นี่แหละจะเป็นกระจกส่องตัวเรา เพราะตัวเราบางคนก็ยังไม่รู้ตัวตนของคนผู้นั้นดี ถ้าคำเหล่านั้นเขาว่ามาแล้วไม่ตรงความจริง

• เราก็ควรรู้อารมณ์ของเราดีว่าควรวางอารมณ์อย่างไร และยอมรับในคำที่มากระทบให้เป็นครูทดสอบจิตต่อโทสะ ดีทั้งนั้นนะ ฟังไว้เถอะใครจะว่าก็ จริงไหม ?

ถ้าอารมณ์ที่เราฟังแล้วรู้สึกจะทนไม่ไหว ก็แสดงว่าเรายังขาดความอดทน แม้แต่องค์พระศาสดายังไม่พ้นคำนินทา ที่นี้ถ้าเราฟังได้ กำลังใจจะก้าวไปเยอะมาก เพราะจะทำให้ใจ จิตเราเกิดอภัยทาน เกิดเมตตา เกิดกรุณา และเป็นผลให้เราสามารถดับไฟในตัวเราได้

☺ ตา........ ให้คติไว้นะ คนเราเกิดมา มีจิตเป็นตัวก่อ ตายไป มีจิตเป็นตัวไป ทุกสิ่งทุกอย่างจิตเป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งบุญและบาป ดังนั้น การที่เราจะทำอะไรให้สำเร็จได้ต้องอยู่ที่กำลังของจิต กำลังของจิตจะเกิดเมื่อมีศรัทธา ศรัทธาตัวนี้นะ จะทำให้เราสู้สำเร็จ

คนที่ 2 (ปรารภสมาธิไม่ดี)
☺ ค้นดูในตัวเรา ศีล ไข้ โรค
• (ตา...ว่า) พักน้อย (ไป)
• ใช้คำภาวนา อย่าลืมว่าเรายังแยกกายกับจิตให้รู้ต่างกันไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเวลาที่กายชำรุด รวนไป ก็จะส่งผลไปหาจิต จึงอยากให้ (ปฏิบัติดังนี้คือ) เวลาที่กายชำรุดนั้น ควรให้จิตเกาะคำภาวนาหรือพิจารณาแทนที่จะเกาะกาย

คนที่ 3 (เขาว่าขึ้นพระจุฬามุนีได้นานแล้ว แต่ตัวเองไม่รู้สึกว่าได้ขึ้นไป)
เวลาขึ้นไป ให้ใช้วิปัสสนาญาณให้มากที่สุด บนนั้น อารมณ์จะเบากว่าปกติ ใจจะรู้สึกมั่นคง
(ถาม – การตัดขันธ์ 5 รู้สึกว่าเข้าใจ แต่ตัดไม่ขาดจริง)

ความรู้สึก คือความเข้าใจ เราเข้าใจในธรรมะที่ปฏิบัติได้ เราจะต้องนำมาใช้ เวลาที่มากระทบ แต่ถ้าไม่รู้สึกในอารมณ์นั้น แสดงว่าเราไม่ได้สนใจในสิ่งนั้น
(ถาม – รู้สึกว่าพระจุฬามุนีหมอง)

ให้ดูภาพที่ปรากฏขึ้น ภาพพระจุฬามุนีก็ดี เป็นประกายหรือเป็นสี แสดงว่าจิตเราในขณะนั้นทรงอารมณ์อย่างไร ถ้าจิตใสละเอียดมากจะเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกายไปทั่ว เห็นเครื่องทรงชัดเจน รูปลักษณะดังที่เห็นนั้นก็จะเห็นรูปร่างข้างเคียงได้ชัด แสดงว่าจิตเราตอนนั้นบริสุทธิ์

คนที่ 4 (ขอให้เตือน)
☺ วิธีสั้นๆ ง่ายๆ นะ
• ทุกข์มีแน่ เป็นปกติ อนิจจังมีอยู่ในทุกสิ่ง อนัตตามีอยู่ตลอดเวลา ความหมายของสามคำนี้ รู้นะ ? จะไม่อธิบายล่ะ เวลาเจอ-พบเหตุต่างๆ นำสามตัวนี้ให้รู้อยู่แก่ใจ ใจจะได้ไม่ยึดถือ เวลาตรวจอารมณ์ดูว่าราคะความต้องการในโลกธรรม หรือโลกธาตุมีไหม

• โลภะ โทสะ โมหะ มีไหม มากน้อยหรือไม่ ดูอารมณ์ ถ้าเกิดขึ้นให้พิจารณาดูว่าเกิดขึ้นแล้วได้อะไร สุขหรือทุกข์ แล้วแต่จะหาคำตอบออกมา นอกนั้นให้ทำไปตามปกติ

☻ (ถาม – บางเวลาจิตมันเฉย)
☺ ดีซิ จิต (อย่าง) นี้ ตา...ต้องการมาก เพราะความเฉยจะเป็นสมาธิ ทรงฌาน

คนที่ 5 (ไม่ได้นั่งสมาธิ แต่บางทีมันเฉยเอง)
สมาธิไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งขัดสมาธิ แล้วสมาธิจึง (จะ) เกิด
• เฉยกับเบื่อต่างกัน ความเฉยนี่นะ ไม่รู้ทุกข์สุข ไม่รู้เศร้า ดีใจ เป็นอารมณ์นิ่ง เบา ลอย เหม่อ นั่นคืออารมณ์ของการเสวยวิมุตติสุข คล้ายกับพวกอิ่มในฌาน

☺ เออ ตา.... ขอสอนนิดหนึ่งว่า ที่เบื่อนั้น ความรู้สึกของเราเบื่อ เราจะต้องแยกดู (อีก) ว่าเราขี้เกียจจึงได้เบื่อ หรือว่าเอือม เราเข็ด หรือไม่สู้ ถ้าเราพิจารณาได้ว่าอาการเบื่อของเราที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นความเอือมระอา เข็ด แสดงว่าอารมณ์ของเราเริ่มตัดเริ่มถอนแล้ว

☺ ให้เร่งพิจารณาต่อไป เมื่อผ่านขั้นตอนการเบื่อไปได้แล้ว จะมีอารมณ์นิ่ง เฉย ไม่เดือดร้อนต่อความผิดหวัง อนิจจังของโลก นี่แหละนะ เป็นอารมณ์ที่จะสอนพวกเธอ


22 กันยายน 2522

คนที่ 1 (บางทีจิตไม่มีโทสะ แต่ปากมันพูดไปเสียก่อน)
เราดูใจเราไม่ลึกซึ้งพอนะซิ ใจคิด ใจรู้ แล้วจึงค่อยทำลงไป ถ้าเราบังคับใจได้ ใจจะสามารถคุมอารมณ์ คุมการกระทำอยู่ ถ้าไม่รู้ใจตัวเอง อารมณ์จะคุมใจ นี่แหละถึงสอนว่าการทำสิ่งใดๆ ให้นำสติมาคุมตน ถ้าเรามีสติรู้ตัวเรา เราจะรู้ว่าควรวางตนอย่างไร อะไรควรงดเว้น

• เมื่อมีสิ่งยั่วมาถึงตัว ถ้าเรามีสติอยู่ เราจะรู้ว่าสิ่งที่มายั่วนั้นมีอุปสรรค มีอิทธิพลต่อเราไหม เราย่อมจะรู้ ใจจะเป็นผู้รู้ ผู้เฉย แล้วจะมีปัญญาต่อมาว่า เราควรจะทำอย่างไรต่อสิ่งที่มายั่วตัวเรา ปัญญานั้น คือเหตุผลที่จะยั้งสิ่งนี้

• รวมทั้งยั้งราคะ โลภะ โทสะ พระท่านสอนอยู่ประจำว่าเราจะต้องมีเหตุรู้อยู่ และรู้ผลจากเหตุนั้น ไม่ว่าเราจะกิน จะพูด จะทำ จะนั่ง จะนอน ล้วนต้องใช้เหตุผลทั้งสิ้น ถ้าเธอมีเหตุผลที่จะกระทำจะคิดดีแล้ว เธอจะเป็นผู้ที่หาทางได้ด้วยตัวเอง
คนที่มีโทสะอยู่นั้น มักจะมีไฟทิฐิมานะยึดอยู่ มักจะขาดเมตตา กรุณา

(ปรารภ – คิดเพียงแต่จะเอาชนะ)
เอาปากไว้ที่ใจ ไม่ใช่เอาใจไว้ที่ปาก ทุกคนน่ะ ตราบใดที่ยังมีเวรกรรม มีขันธ์อยู่ ทุกคนที่ไม่รู้จักดับกิเลสจะต้องเป็น ไม่มีใครดีกว่ากันมากนัก ถ้าดีแล้วคงไม่ต้องลงมาเป็นทุกข์โศกอยู่อย่างที่เป็น พระราชาก็ทุกข์อย่างพระราชา ยาจกก็ทุกข์อย่างยาจก ทุกข์มีอยู่ทุกเพศทุกวัย ไมจำกัดฐานะ แต่ละคนก็มีทุกข์ตามแบบของตนเอง

• เราเป็นสุขได้ถ้าต้องการ คือเราต้องบังคับใจได้ เราเป็นนายใจเรา แต่ทุกวันนี้เรามักมีใจเป็นนายเรา

คนที่ 2 (เห็นภาพไม่ชัด ไม่แน่ใจ)
การที่จะรู้นี่นะ ขอใช้คำว่ารู้แต่เหตุ การรู้นี้บางทีเราไม่ต้องตั้งท่า “รู้” จะเกิดเองทีหลัง อาจจะโดยทิพย์ คือญาณ หรือโดยปัญญาพิจารณา

ให้ตั้งอารมณ์ที่ “เฉย” เมื่อต้องการรู้ จงต้องการอย่างสบายๆ ถ้าใช้คำว่า “อยากดู” ก็ออกจะใจร้อนไปหน่อย ถ้าตั้งจิตเข้มจะทึบ ถ้าตั้งจิตอ่อนจะรวนเร ถ้าจะให้แจ่มใสต้องตั้งจิตสบายๆ อย่าไปพิจารณาว่าใช่-ไม่ใช่

• คนที่จะมาให้เราฝึกนั้นมีหลายประเภท จะต้องใช้สมาธิหน่อย แต่อย่าเครียด และจงนำเอาสิ่งที่กระทบนั้นมาเป็นปัญญา ความผิดพลาดย่อมมีเป็นปกติ เราต้องพร้อมที่จะรับความผิดอยู่ตลอดเวลาใช่ไหม ?


31 ตุลาคม 2522

คนที่ 1
☺ พระพุทธเจ้าท่านสอนเท่านี้ก็มีเท่านี้ ถึงแม้จะเป็นความจำก็ตามเถอะ เราควรนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นคุณแก่ใจแก่ตัวเรายิ่งขึ้น เพราะธรรมนั้นฟังง่าย ฟังเข้าใจ พูดง่าย คิดว่าทำง่าย แต่แท้จริงแล้วปฏิบัติต่อตัวเองนั้นยาก

☻ (ถาม – บางทีเหมือนมีอะไรรบกวน)
☺ รบกวนก็รบกวนไป ฉันไม่สนใจ นี่เป็นเหตุที่จะทำให้ก้าวได้ไกล ดูพุทธประวัติ อันองค์บรมครูท่านก่อนเสด็จตรัสรู้ได้เป็นพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ทรงศึกษาหลายสถาน ตั้งแต่ทรมานไปจนอดอาหารให้ทรงขันธ์ไม่อยู่ แล้วถ้าจะรู้ว่านั่นไม่ใช่หลักแท้จริงใช่หรือไม่

• ทุกคนย่อมมีความดื้อทิฐิมานะอยู่ในจิต เป็นเหตุที่ทุกคนจะหลงง่ายหรือเชื่อยากดุจภาษิตว่า “ไม่เคยเป็นก็ไม่รู้จัก ไม่เห็นชั่วที่สุดก็ไม่เห็นดีที่สุด” เราเห็นสีขาว เรารู้ได้ไหมว่าสีขาวที่เห็นนั้นขาวที่สุดหรือยัง ทำอย่างไรจึงจะรู้

• ใช่แล้ว ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดคือตัวเรา มัชฌิมาปฏิปทา

☺ อีกประการหนึ่ง จิตเรานี่แหละที่จะรู้ปัญญา เธอรู้ใช่ไหมว่าถ้าฝืนกันเอาเป็นเอาตายน่ะมีแต่พังกับบ้า ถ้าฝึกอ่อนๆ ไปนะเหมือนน้ำเซาะหิน แต่ถ้าพอดีๆ ก็จะเป็นตอนอย่างกับเดินขึ้นบันได สำคัญที่ว่าอย่าใจร้อน อย่าวู่วาม ใช้อารมณ์เอาชนะ

• ที่จริงนะ การฝึกปฏิบัติธรรมะนี่ จะว่าทำให้คนเห็นแก่ตัวก็เหมือนจะว่าทำให้คนขี้เกียจก็คล้าย จะว่าเป็นคนใจดำก็คล้าย
• ให้คิดว่าเราทรงขันธ์ 5 อยู่ เราอยู่อย่างตัวละครในสังคม เราก็ต้องทำหน้าที่ต่างๆ ไปแต่ก็ไม่ใช่ฝืน และก็ไม่ใช่ยินดี ยินดีทำให้จิตผูกพันความสุขที่ต้องการจะได้ คือไม่ผูกพันอะไร

(ถาม – อุเบกขาหมายถึงปล่อยวาง ไม่เอาไหน เหมือนคนใจดำ แล้วจะต่างกับคนใจดำอย่างไร ?)
ไม่เอาไหน คือเหมือนไม่เอาเรื่อง เพราะเอาเรื่องไม่เป็น แต่อุเบกขาหมายถึงการวางอารมณ์ให้มีเหตุผล เช่น เราเตือนคน จงระวังว่าถึงวาระที่สามแล้วเขาไม่เชื่อก็ปล่อยเขาไป เตือนเขา เขาไม่เชื่อ แล้วจะพยายามไปทำไม

• แต่เราก็จงรู้ว่าเราได้ช่วยเขาแล้วนะ เป็นต้น อาจเป็นกรณีอื่นๆ อีกก็ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีคนมาให้ช่วยโดยเราช่วยได้แล้วเราเฉยเสีย นั่นแหละไม่เอาไหนชนิดใจดำ ผิดกันนะ


คนที่ 2 (ขอกำลังใจสู้สิ่งที่ประดังมารอบด้าน)
กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ากำลังใจอ่อน ความกลัวจะครอบงำสติ จะไม่มีปัญญา จะพ่ายจะแก้อะไร (ก็) ไม่ถูก แต่ถ้าใจเราสู้จริงๆ แล้วพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า มีกำลังสติ มีใจยึดมั่นในพระนิพพานเป็นที่สุด เราก็จะต้องรู้ว่าพระนิพพานไม่มีทุกข์ ทุกข์มีกลัว มีห่วง มีหวง นั่นเป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้ว่ากำลังใจจะมีได้ ต้องทรงอย่างใด

คนที่ 3
☺ สิ่งที่หนักที่สุดคือทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยเหตุคือรัก พลัดพราก เสื่อมสลาย ในโลกธรรม 8 ของพระพุทธองค์นั้นกำหนดไว้ถูกต้องดีแล้ว มีลาภก็มีเสื่อมลาภ เราอย่าหวังในลาภ เพราะลาภนั้นคือของได้เปล่า ของได้เปล่าก็เกิดจากการทำบุญ ฉะนั้น อย่ายึดลาภเป็นปัจจัย

• บางคนอ้างว่าถ้าขาดลาภเป็นปัจจัยแล้ว จะดำรงชีพทำบุญได้อย่างไร ฉันก็ขอตอบว่าถ้าขาดลาภปัจจัยในหมู่ของพวกทำบุญแล้วก็ให้รู้ไป การติดในสรรเสริญก็ตาม การติดในนินทาก็ตาม ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่จริงตามความจริงแล้ว เราจะไปร้อนใจทำไม

• มียศมีเสื่อมยศ นี่เป็นสิ่งคู่กับอำนาจ คนใดผู้คนไหนที่มีอำนาจตลอดกาล ฉะนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของโลกที่มีการสร้าง และก็ทำลาย

26 ธันวาคม 2522

คนที่ 1
☺ อย่าไปวิตกอะไรให้มากไปเลย มันจะเป็นทุกข์ใจทุกข์กายเราเปล่าๆ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา การทำงานการตั้งใจทุกอย่างมันอยู่ที่ความหวังตั้งไว้แรง ถ้าความแรงของกำลังที่ทำไปนั้นมันไปแรงตามความตั้งใจ ก็ย่อมเวทนาในตัวเป็นธรรมดา

• ทุกคนมุ่งตรงกันที่เป้าหมาย แต่วิถีทางไม่เหมือนกัน ตามแต่กำลัง ตามแต่ความสามารถ อย่าได้นำเอาทางวิถีเหล่านี้มาเป็นทุกข์เลย จะทรมานใจเราเปล่าๆ

คนที่ 2
☺ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในจิต ที่ทำให้ทุกข์เกิด ทำให้ขัดข้อง ทำให้วิตกกังวลต่างๆ ควรเก็บไว้ในจิต นิ่ง ให้อารมณ์ละเอียดก่อนแล้วค่อยคิดทบทวน เมื่อคิดไขได้ ก็ทิ้งไป ถ้าคิดแล้วไขไม่ได้ก็ให้วางออกไปชั่วคราว แต่อย่าให้มีกำลังเหนือสติเราได้

คนที่ 3
☺ ทุกๆ อย่างเป็นธรรมดา แต่บางทีความธรรมดาเหล่านี้เรานึกไม่ถึง เพราะว่ามันธรรมดาเกินไป เข้าใจหรือยัง ของใกล้กัน บางทีก็หาไม่พบ

คนที่ 4
☺ อย่าให้จิตเศร้าหมองนะ บางปัญหาจะวนเวียนอยู่ในจิต เป็นเพราะเราอารมณ์ไม่กระจ่าง ยังต้องหาในจิตเราให้ได้ว่า เรายังมีอะไรเป็นอวิชชาอยู่ในจิต
• ทุกข์ในใจมีอะไรบ้าง ? ผิดหวัง-ทุกข์ หวังมาก-ทุกข์ ต้องการแล้วไม่ได้-ทุกข์ ไม่ต้องการ-ทุกข์ พบ-ทุกข์ ไม่พบก็ทุกข์ อะไรบ้างที่ไม่ทุกข์ เหล่านี้เป็นอวิชชาของความต้องการ

☻ (ถาม – ฝันในสิ่งที่ไม่อยากทำ)
☺ ใช่ นั่นคือตัวร้าย ที่เป็นตะกอนอยู่ในจิตซึ่งทุกคนพยายามปิดบัง อำพรางไว้ แม้กระทั่งต่อตัวของตัวเอง สักกายทิฐิ มานะ เป็นบาปที่ยากมากๆ ด้วย
• ผู้สามารถสู้ด้วยตัวเองได้ คือผู้ที่มีความกล้า พระเป็นแต่เพียงผู้บอก

13 กุมภาพันธ์ 2523

เรามีหน้าที่ก็ต้องยอมรับหน้าที่ที่เราต้องทำ ด้วยใจผ่องใส ไม่ใช่ว่าทำหน้าที่โดยทุกข์ พระท่านสอนว่าทุกข์นั้นให้รู้ไว้ จำไว้ แต่อย่าติดในทุกข์ เมื่อไม่ติดในทุกข์ จิตใจจะเบิกบานที่จะสางงานและหน้าที่นั้น ให้สำเร็จได้ตามประสงค์

• คนอีกมากเมื่อเห็นภาวะลำบากแล้วท้อ ลำบากแล้วเบื่อ นั่นเป็นทุกข์ที่สร้างขึ้นด้วยใจให้ใจติดในทุกข์ ไหนๆ เกิดแล้ว ก็ต้องยอมรับนับถือในสภาวะที่เป็นอยู่ อย่าคิดเบื่อคิดถอย เธอต้องสู้ทน เพื่อจะไม่ต้องเกิด


21 กุมภาพันธ์ 2523

คนที่ 1 (มีปัญหาการปฏิบัติ)
1. ขณะจิตที่จะได้บุญ คือจิตสบายใจใช่ไหม เมื่อสบายใจ สมาธิ สติก็จะแรงในกำลัง
2. ทุกคนมีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัว แต่ว่าส่วนใดจะมีมากกว่ากันเท่านั้น
3. ในเรื่องการปฏิบัติ ให้ถือมัชฌิมาปฏิปทา บางคนนะ ฟังการปฏิบัติว่ายากแสนยาก แต่แท้จริงแล้วเส้นผมบังภูเขา ที่ตัวเองไม่ยอมเขี่ยเพราะชอบ นี่คือจุดที่พวกเรายังติดอยู่นิดเดียวกันทั้งนั้น

คนที่ 2 (ถามเรื่องภาพที่เห็นใจจิต)
☺ อย่าไปคิดว่านึกเอง หรือขึ้น (ไปข้างบน) จริง อย่าได้คิด คิดว่าเราเฝ้ากราบพระพุทธองค์แล้วเป็นพอ จะจริงหรือไม่จริงก็ช่าง ขืนคิดอย่างกังวลจะทำให้อุปาทานกิน
☻ (ถามเรื่องทำบุญให้คนตาย)
☺ ถ้าตั้งใจทำบุญแล้วจงทำไป ถึงแม้เธอจะทำสังฆทานให้พระพุทธองค์ก็ไม่เสีย

คนที่ 3 (ถามถึงผู้มีความคับแค้นทางใจ)
1. เป็นเรื่องของการเจริญธรรม และช่วงของกฎแห่งกรรม มาในรูปทำลายสุขภาพ
2. ร่างกายจะแข็งแรง อยู่ที่ใจที่สมบูรณ์ นี่เป็นความจริงที่จะเกิดกับทุกคนได้

3. รับรองว่าไม่มีอันตรายเลยในพุทธศาสนิกชน ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เธอยอมตายถวายชีวิตให้ตถาคต ตถาคตย่อมเป็นชีวิตเดียวกับเธอ”
4. ความผิดคือครู เด็กเมื่อเดินได้ย่อมจะต้องรู้จักล้ม การล้มทำให้เด็กเจ็บ ความเจ็บทำให้เด็กจำ จำที่จะเดินอย่างไรแล้วไม่ล้ม

14 พฤษภาคม 2523

คนที่ 1
ทำอารมณ์ให้เบาสบาย หายจากภาระทั้งที่มีภาระ หายจากพันธะทั้งที่มีพันธะ เพราะจิตรู้ว่าภาระและพันธะนั้น ถ้ายึดเป็นของเรา ภาระและพันธะนั้นก็คือตัวเรา ซึ่งจะแยกแยะไม่ออกจากกัน ในเมื่อทำอารมณ์ให้คลายและรับสุข ข่มใจไว้ได้ จะมองภาระพันธะด้านใด ก็จะมองด้วยความสุขุม รู้ทางรอด ทางออก รู้ทางปฏิบัติ และรู้ธรรมะ

(ถาม – จะแยกความแตกต่างระหว่างปัญญาในสมาธิกับปัญญาในสัญญาได้อย่างไร ?)
สัญญานั้น ต้องรู้ให้ออกว่าเป็นสัญญาคติ หรือสัญญาอคติ ถ้าเรารู้สัญญาคติและสัญญาอคติ และแยกออกจากกันได้ ก็จะรู้สัญญาในปัญญา คือรู้ดี รู้ชอบ รู้ธรรมะ ฉะนั้นจึงแยกสิ่งไม่ดี สิ่งที่ไม่ใช่กุศลออกไปได้ด้วยปัญญา

• ปัญญาคือรู้แจ้ง รู้แจ้งในเหตุ คนเราจะตัดสินใจ จะทำอะไร สิ่งไรลงไป ต้องใช้ปัญญา คือผู้นั้นจะต้องรู้แจ้งในเหตุ ในที่มาของเหตุ ไม่ใช่ทำเพราะความด้อยปัญญา คือเป็นผู้อยากจะทำในอคติ

คนที่ 2
(ถาม – เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น นึกว่า “ช่างมัน” จะเป็นอุเบกขาหรือไม่)
เสียงมันบอกสำเนียงให้ “ชั่ง” เสียก่อน เวลาพิจารณาตัดสินในข้อที่มาหาตัว จงใช้วิจารณญาณ คือสามัญสำนึกถูกผิด พิจารณาว่าควรหรือไม่ แล้วจึงตัดสินใจว่าช่างมันหรือช่างเขา

• ทุกข์ทุกอย่างมาแต่เหตุ เธอมีข้อปัญหามากมายและก็มีข้อธรรมะมากมายเช่นเดียวกัน จงหาเหตุเมื่อมีความ เมื่อเธอรู้เหตุแห่งความนั้นแล้ว จงหาข้อดีข้อเสีย แล้วพิจารณาตามไตรลักษณ์ก่อนที่จะทำ ถ้าคิดในชั้นต่อไป จงเห็นความนั้นด้วยพรหมวิหาร 4

(ถาม – อุเบกขา บางทีเหมือนใจดำ)
☺ อุเบกขาสอนให้คนรู้จักประมาณตน 1
☺ สอนให้รู้จักความสงบที่พึงกระทำ 1
☺ สอนให้คนรู้จักกาลเทศะและประมาณตัวเอง

พุทธดำรัสตรัสไว้ว่า “เราจะมิทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วยตัวเรา และเราจะไม่ทำให้ทั้งคนอื่นและตัวเราเดือดร้อนด้วยตัวเรา” นี่คือปฏิปทาของผู้ปฏิบัติมรรคผล จะสอนให้ผู้ปฏิบัติกระทำสิ่งใดด้วยความพอดี พอเหมาะ พอควร จะสอนจิตให้รู้สึกถึงสภาพการละ วาง สละ

18 มิถุนายน 2523

คนที่ 1 (ทำสมาธิดูใจ ได้ยินคล้ายคำว่า “โยม” และเห็นมีรูปกล่อง)
☺ ไตรลักษณ์พรหมวิหาร อริยสัจ โยงเข้าซิ พรหมวิหารมีความสำคัญในด้านยกกำลังจิตให้เข้าสู่อารมณ์พรหม
☻ (ถาม – แล้วที่รวมอยู่ในกล่อง แปลว่าอะไร ?)
☺ กล่องมีกี่มุม
☻ (ตอบ – 4 มุม)

☺ มีด้านกี่ด้าน
☻ (ตอบ – 6 ด้าน รวมฝาด้วย)
☺ โยงซิ
☻ (ตอบ – รวมเป็น 10 คือสังโยชน์ 10 หรือ ?)
☺ เออ รู้แล้วถามทำไม
☻ (ถาม – เวลาเห็นบางคนแล้วสงสารจับใจ เกิดความเศร้า อย่างนี้ไม่ถูกใช่ไหม ?)

☺ พอสมควร ทำจิตให้มีเมตตาในอุเบกขา มีความสงสาร แล้วจิตจะต้องรู้ถึงสภาพสภาวะของกรรมที่บุคคลนั้นมี
☻ (ถาม – เมื่อเช้าวานนี้มีโทสะ)
ความโกรธคือโทสะใช่ไหม โทสะเกิดเพราะอะไร ? คนเราจะมีโทสะเกิดขึ้นเพราะมีโมหะจิต นึกว่าฉันถูก เธอผิด แล้วฉันต้องชนะ โมหะเกิดเพราะสติไม่สามารถคุมอารมณ์จิตได้

คนที่ 2 (ยังไม่แจ่มแจ้งเรื่องการไปนิพพาน)
ต้องพิจารณาไว้ในใจนะว่า อยากจะไปนิพพานเพราะอะไร เพราะเบื่อ เบื่ออะไร จะต้องรู้ว่าการเบื่อนั้น เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันเป็นธรรมดาปกติของคน ของโลก มีเหตุ 3 ข้อ คือ ทุกข์-ความลำบาก อนิจจัง-ความไม่แน่นอน และอนัตตา-ความผันแปร เปลี่ยนไปตลอดเวลา ซึ่งมีสภาพเป็นเกิด แก่ เก่า เจ็บ ชำรุด ผุ แล้วตาย พังไปในที่สุด เหล่านี้เป็นปกติ เธอรู้ไว้เช่นนี้ทุกวัน เธอจะรู้ความหมายของนิพพาน

• สิ่งที่ทุกข์อยู่ จงพิจารณาไว้เป็นครู อย่าได้ยึด อย่าได้แบกไว้เป็นอารมณ์ จะทำให้จิเศร้าหมอง แล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา

คนที่ 3 (ใจมักจะขุ่น)
☺ ให้พิจารณาว่าทำอย่างไร จึงจะไม่มีความขุ่นได้
• เรื่องของใจนี่นะ จะต้องพักใจให้ตะกอนนอนก้น ถึงจะช้อนตะกอนออกได้ ถ้ายังกวนให้ขุ่นอยู่ ลำบากที่จะซ้อน แต่เมื่อตะกอนนอนก้นได้แล้ว ช้อนตะกอนออกยังไม่ได้หมด เพราะการช้อนนั้นจะทำให้น้ำหลุกหลิก ตะกอนจะตีขึ้นเหมือนดังอารมณ์โทสะ

คนที่ 4 (ตัวเองกำลังมีเคราะห์ ถ้าไปเยี่ยมพ่อที่เจ็บหนัก เกรงจะพาเคราะห์ไปซ้ำเติมท่าน)
☺ ถือเอาความกตัญญู อานิสงส์แรงช่วยให้หมดเคราะห์โดยพลัน อานิสงส์ความกตัญญูทำให้เคราะห์คลาย จากใหญ่เหลือเป็นเคราะห์เล็ก จากเคราะห์เล็กเหลือเป็นเคราะห์นิดๆ
☻ (ถาม – พ่อยังมีเวลาอีกนานไหม ?)
☺ ว่างั้นไม่ถูก ควรอธิษฐานอย่าให้ท่านมีทุกขเวทนา


ต่อไปหลวงตาสั่งให้ร่วมวงฝึกสมาธิเพื่อฟื้นฟูของเดิม

ที่เธอเห็นด้านหน้าใช่พระพุทธองค์ แต่การเห็นต่างกัน ตำแหน่งเหนือหน่อยจะเป็นองค์พระสมณโคดมกับองค์พระศรีอาริยเมตไตรย แล้วพระพุทธเจ้าอีกสองพระองค์ด้านองค์ปัจจุบัน ทางด้านพระศรีอาริยเมตไตรย จะมีพระโพธิสัตว์รองอีก 3 พระองค์ ส่วนด้านหน้าเธอจริงๆ ที่ฉันว่านั้น คือ ท่านหลวงพ่อของเธอกับฉัน

เอาละนะ ฉันบอกให้แล้ว ในเวลาฝึกภาพปรากฏกับเธอเพียงไร ถูกหรือไม่ จงเร่งในสมาธิความสงัดของจิตที่จะกั้นนิวรณ์ และที่สำคัญ คืออารมณ์พิจารณา บางคนพิจารณาเร็วเหมือนท่อง

“พิจารณา” คือไตร่ตรอง คือทบทวน และที่สำคัญคือต้องซึมซาบ อันนี้สำคัญนะ เพราะใจเราเหมือนคนดื้อ มีแต่ความมุทะลุ บางทียังแกร่ง (เสียอีก) บางทีก็ขยันพิจารณา แต่ใจยังดื้อ จะเป็นมากเฉพาะเวลาไม่มีทุกข์ เวลามีทุกข์ก็เชื่อหมด ทำไม่ล่ะ รู้ไหม ? เพราะเราเข็ดไม่เป็น

เอาละนะ จงจำพระโอวาทไว้นะ จำได้ไหม “จงแน่วแน่ที่จะชนะกิเลสมาร” พูดง่ายๆ คือ ต้องสู้กับใจตัวเอง
เอาละ ตา.........ไปละ ดึงแล้ว ลา

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


webmaster - 19/10/10 at 15:59

60

(Update 19/10/53)


2 กรกฎาคม 2523

☺ ตั้งใจไว้เสมอนะ เวลาพิจารณาหรือใคร่ครวญในทุกอารมณ์จิต ข้อธรรมต่างๆ ก็รู้ซึ้งกัน จะมีก็การทรงอารมณ์ของจิตอยู่ในทุกวันนี้ จงเห็นทุกข์ รู้ทุกข์ แต่อย่าไปติดในทุกข์ บางคนรู้ เบื่อ นำไว้ในจิตและใคร่ครวญจนทุกข์กินใจ

• จิตจะหมกอยู่ในความเศร้าหมอง มองอะไรดูน่าชัง น่าเบื่อ น่าขยะแขยงไปหมด นั่นไม่ถูก ประการเช่นนี้จะทำให้จิตขุ่นอยู่ตลอดเวลา อาการเครียดทางสมองจะทำลายจิต

• พวกหนึ่งจะเห็นโลกนี้มีความสุข จะทำให้จิตหลง จะมีความโลภ ละโมบในสุขนั้น สิ่งที่ดีที่ควรคือ ตั้งจิตไว้ให้อยู่ตรงกลาง คือรู้ในสภาวะของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามสิ่งนี้จะข่มใจไม่ให้ฟุ้ง

• จงรู้ว่าเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้นกับตัวเรานั้น มันเป็นของธรรมดาโลก ปกติโลก อย่าให้ทุกข์ส่วนหนึ่ง สุขส่วนหนึ่งมากินใจ ทำให้ใจไม่เสมอด้วยธรรม เช่นนี้แล้วเธอจะหาสุขทางคติได้

• รู้ไว้เถอะ ความวุ่นวายเป็นนิสัยของปุถุชน จงอย่างใส่ใจ พิจารณานำมาแค่สาระในปัญหาที่ผจญเท่านั้น เราอยู่กับโลก ต้องมีกลุ่มชนในขณะที่ดำรงฆราวาสอยู่ จงทำใจในสิ่งที่สะอาด ความสะอาดของจิตจะเกิดขึ้นโดยจิตปราศจากความเศร้าหมอง

• จิตไม่หลงละโมบ กิเลส ตัณหา นั่นคือจิตจะต้องทรงอารมณ์กลางสบายๆ นี่แหละคืออุเบกขาของจิตที่จะบังคับอารมณ์ให้รู้สภาพของกาย ของขันธ์ จึงเป็นญาณที่เรียกว่า “สังขารุเบกขาญาณ”

• รู้จุดเล็กๆ น้อยๆ ไว้หลายทางแล้ว ก็ควรจะหาจุดที่ตรงอุปนิสัยของแต่ละคนกันได้แล้วนะ ที่ยังไม่เจอะเพราะทิฐิและมานะ สองตัวนี้ปิดกั้นตนเองให้ผิด ให้ถือ “ตัวฉัน ของฉัน” อยู่

• “ฉันดีแล้ว ฉันไม่ผิด ฉันรู้แล้ว” นี่แหละที่จะทำให้เธอไม่สามารถหาจุดอ่อนของจิตเธอ จะไม่เจอเพราะคิดว่าตนเองทำแล้ว ทั้งๆ ที่ยังมิได้ลงมือทำ ขอติงกันไว้เท่านี้

23 กรกฎาคม 2523

คนที่ 1 (ถามเหตุที่เกิดขึ้นกับตนในตอนบ่าย)
☺ เธอปฏิบัติธรรมใช่ไหม เธอรู้ว่าธรรมะเป็นอย่างไร
• เกิด 1 แก่ 1 เจ็บ 1 ตาย 1 ปกติ อนิจจัง ความไม่แน่นอน ทุกข์-ความลำเค็ญ อนัตตาเป็นสิ่งวนเวียน เหล่านี้คือของปกติที่จะต้องเกิดขึ้น อยู่กับคน สัตว์ และวัตถุธาตุ ดูอย่างองค์พระศาสดาซิ ทรงรักษาสังขาร ขันธ์ ให้พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ไหม ? นี่คือหลักธรรมที่เธอเป็นผู้ปฏิบัติ หวังไว้ว่าจะต้องทำให้ได้

• ความดี บุญกุศลต่างๆ ที่กระทำเพื่อชดใช้เวรกรรมนั้น เพื่อบรรเทาทุกขเวทนา ไม่ให้คนที่รับทุกข์นั้นต้องทุกข์เวทนาต่อไป เป็นสิ่งดี ถ้าบุญกุศลจะดับ ระงับทุกขเวทนานั้น เพื่อสภาพหมดไปของร่างกาย

คนที่ 2 (ถามเรื่องที่ผจญอยู่)
☺เมื่อเรายังมุ่งทำดีเป็นจริยา เหล่านี้จะช่วยพยุงรักษาให้เธอได้ค่อยๆ หลุดพ้นจากบ่วงกรรม แต่ขอบอกไว้เพื่อใจจะได้ชิน คือเธอนี้จะต้องชดใช้กรรมสุดท้ายจนสุดชีวิต แต่ผลที่ได้คือธรรมะ จะได้สมปรารถนา พุทธโอวาทที่ว่าคนเห็นทุกข์คือคนเห็นธรรม คนที่รับทุกข์คือคนที่รับธรรม อะไรๆ ไม่สำคัญเท่าใจ ถ้าใจเป็นสุข อยู่ในห้องแคบๆ ก็สุขได้

คนที่ 3
☻ (ถาม – ทำไมนอนไม่หลับ เวียนๆ ลอยๆ ?)
มีกรรมตัวหนึ่งที่คอยกั้นอยู่ เธอเคยทำให้พระท่านคอย สมัยหนึ่งเธอเป็นชาย ไปอยู่วัดเป็นลูกศิษย์วัด ชอบเที่ยว ให้พระท่านคอยเปิดกุฏิให้

คนที่ 4 (ถามเรื่องการทำจิต)
☺การทำจิตรับในสิ่งที่ควรรับได้ เป็นของปกติ แต่การทำจิตปล่อยในภาวะต่างๆ นั้น เป็นของทำลำบากนะ คนทุกคนรับได้ แต่ตั้งจิตปล่อยไม่ได้ ทุกข์ รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร ถ้าจิตแบกทุกข์ไว้จะทำให้จิตเศร้า ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าทำให้จิตรู้แค่ภาวะได้ แสดงว่าเราทรงจิตให้อยู่เหนืออารมณ์คือการมีสติ

20 สิงหาคม 2523

คนที่ 1 (มีตัวอะไรมาทำรังในศาลพระภูมิ และศาลเอียง)
☺ไม่เป็นไร ศาลพระภูมิหมายถึงการที่เราแสดงความเคารพสักการบูชาท่าน ท่านไม่ได้อยู่ในศาลนั้น

คนที่ 2 (ขอคำสอน)
☺จำคำของพระพุทธองค์ไว้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทำในสายกลาง จิตก็เช่นกัน อย่าให้ตกเพราะเศร้าหมอง อย่าให้สูงเพราะปิติ ปีติกับปิติต่างกัน ปีติคือจิตอิ่ม ปิติคือจิตโลด อันแรกดีกว่า

คนที่ 3 (เรื่องขัดใจกับลูก)
☺ ลูกไม่ใช่ของเรา เขามีชีวิตของเขา แม่คือผู้ให้ผู้สละ เพราะอยากให้เขามาเกิดทำไมใช่ไหม?
ทำหน้าที่ก็ส่วนทำหน้าที่ ถ้ามีแค้นในการทำนั้น ก็จะเป็นบาปทางใจ เกิดความทุกข์ จะโกรธ ไม่พอใจ เราจะให้ลูกดีเสียอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง

• แต่เราชอบที่จะทำให้เขาดีที่สุด ตามกำลังบุญของเขาและของเรา ถ้าคิดว่าต้องถึง (กับ) บังคับ ก็ให้พิจารณาง่ายๆ ว่า ตัวของเราเอง บังคับเอาแน่ได้ไหม

• ลูกเปรียบดังเชือก ยิ่งผูกแน่นมากแก้ก็ลำบาก ผูกพอประมาณแก้ง่าย เสียใจเพราะชอบประเมินความหวัง น้อยใจเพราะหวังจนเกินไป เปรียบเทียบดู ทำใจนะ

8 ตุลาคม 2523

คนที่ 1
☺ความเจ็บเป็นของธรรมดา จงอย่าเอาใจเข้าไปท้อถอยกับเวทนานั้น จงตั้งระดับจิตให้ผ่องใส แล้วความเจ็บในใจจะไม่มี ตั้งใจไว้ว่าสิ่งทุกอย่าง กิจทุกอย่าง อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา

• ทุกคนมีอายุที่ชรามากขึ้น เป็นธรรมดาของสังขารที่จะเสื่อมลง กิจวัตรที่เคยทำมาในอดีตอาจจะต้องผันแปรบ้างตามสภาพเวลา อย่าไปเคร่งครัดมาก ทุกอย่างสำคัญที่เจตนาบริสุทธิ์จิตสะอาดเพราะไร้กังวล จะไร้กังวลได้ต้องมีสติ จะมีสติได้ต้องครองธรรม

คนที่ 2 (ติดทุกข์)
เมื่อรู้ว่าที่เป็นอยู่นั้นเป็นทุกข์ ก็ควรให้รู้อยู่เป็นปกติ เมื่อรู้แล้ว จงตัดใจว่าเราจะหนี หนีโดยพยายามละซึ่งกิเลส และอุปกิเลสทั้งมวล
• จะให้จิตเข็ดก็ต้องทรมาน

(ถาม – พิจารณาแล้วเห็นความไม่ดีของตนมากขึ้น)
พิจารณาอย่างนี้ อย่าให้เวทนากินใจ เวทนากินใจได้เพราะเราสงสารตัวเอง กลัวตัวเองลำบาก นี่ ที่ว่าคนเราสละตัวเองนั้น ยากที่ตรงนี้

☻ (ถาม – ห่วงวัด กลัวจะไปไม่ไกล)
☺ อย่าไปกลัว เชื่อเถอะ ถ้าใจยังเห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์ แล้วไม่อยากเกิด รับรองได้ว่าสมปรารถนา แต่ถ้าใจยังหวง-ห่วงในขันธ์ 5 อยู่ จิตก็จะหนักเช่นนี้ ลองไปพยายามดูนะ ทุกข์แล้วมีประโยชน์อะไรที่จะแบกไว้ รู้ชั่ว รู้ดี รู้ทุกข์แล้ว ควรจะรู้ทางที่ผ่าน ในเมื่อกายยังไม่ทิ้งขันธ์ จิตก็สามารถทำให้สู่ภาวะพระนิพพานทางใจได้ พอสงบ เป็นวิธีดับทุกข์

คนที่ 3 (ถูกโกง)
ของเช่นนี้นะ ที่ไม่มีใครแจ้งแถลงไขให้ฟังเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเราถือเป็นกฎแห่งกรรม แล้วจงอโหสิกรรมไป ให้ทำใจไว้ว่าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ใช่ของๆ เรา แล้วจะสะดวกทั้งทางโลกทางธรรม

คนที่ 4
ที่ใจกังวลอยู่ ตัดได้ไหม อย่างเช่นก่อนนอนเป็นกังวลไหม หรือจิตรับพะวงไหม ถ้ายังไม่เคยทำก็ลองดูนะ เวลาที่ตัดภาระ ตัดกังวล เป็นตัวของตัวแล้วจิตนิ่ง สบาย

คนที่ 5
จำไว้อยู่ประการหนึ่งว่า ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ มาจากใจ ไปที่ใจ สำเร็จโดยใจ

คนที่ 6
ตั้งใจไว้ให้อยู่ในอุเบกขา ทุกอย่างอยู่ที่คำว่าพอดี อย่าไปวิตกเกินพอดี และอย่างไปคิดเกินพอดี

กับทุกคน
☺ ทุกคนจำได้ว่า หลักของการสู่นิพพานนั้น มีอยู่ว่า “เราไม่มีในเรา” เราไม่มีใจเราหมายถึงว่า เราทุกคนไม่ห่วง หวง ในร่างกาย ขันธ์ 5 ธาตุ 4 อีกแล้ว

• ฉะนั้น จะต้องมุ่งเข้าสู่ใจตัวใหญ่ ต้องล้างอุปกิเลสและเหล่าอวิชชาที่มี นั่นก็หมายความว่าละลักษณะปรุงแต่งแทนธรรมชาติทั้งปวงออกไปเสีย จงยอมรับในกฎแห่งกรรม จงยอมรับในเวลาภาวะ ความเป็นจริงของธรรมชาติที่เป็นวัฏสงสาร

• เมื่อเธอได้รู้หลักเหล่านี้จนจำได้แล้ว ก็จงอย่าเอาใจไปเป็นของเหล่านี้ ร่างกายมีเจ็บ มีแก่ มีตาย เป็นธรรมดา ก็อย่าได้เอาใจเข้าไปเจ็บ เข้าไปร่วมแก่ และไปพะวงความตายอยู่ จงอย่าให้ภาวะที่ภาวนาอยู่เป็นทุกข์ แล้วเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าพิจารณารู้ทุกข์แล้วว่าทุกข์เพียงไร ก็จงอยู่แค่รู้

• อย่าได้นำใจเข้าไปแบกเป็นภาระ เมื่อใดจิตเข้าไปแบกเป็นภาระทุกข์นั้นไว้ ทำให้ใจเศร้าหมอง ใจจะล้า อ่อนเพลีย เมื่อนั้นอาการอย่างนั้นไม่ใช่เบื่อตัวจริง แต่เป็นเพราะใจเรายังห่วงกลัวทุกข์จะเข้ามาหา เมื่อนั้นจะรู้ว่าใจยังไม่ยึดมั่นพระนิพพานจริง

• จิตที่จับปรับให้เข้าสู่ระดับการปฏิบัตินั้น จะต้องบังคับจิตให้สู้ ต้องเดินไปตามวิถีของธรรม จะไม่ท้อถอย เหล่านี้เธอจะต้องมีพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทาง ไม่ยากสำหรับคนสู้

• ธรรมะในตอนหลังนี้จะเป็นเรื่องละเอียดของจิต เพราะว่าหลักส่วนใหญ่ก็ได้ฟังกันมาจนเป็นที่เข้าใจแล้ว เวลาการปฏิบัติของเธอมีข้อทดสอบอยู่ตลอดเวลา ควรใช้ให้เข้ากันได้ การไปนิพพานนั้น จะต้องมีบารมีเต็มหรือบารมีสูง ฟังเช่นนี้รู้สึกยาก แต่คำว่า “บารมี” นั้นคือกำลังใจ กำลังของจิต กำลังใจจะเกิดขึ้นเพราะเราสู้ ปรารถนาแรงกล้า ไม่กลัว

• สรุปข้างต้นก็คือ การไปพระนิพพานต้องสู้ อย่ากลัว อย่ากลัวตัวเองลำบาก อย่ากลัวทรมาน อย่ากลัวทุกอย่าง

22 ตุลาคม 2523

คนที่ 1
☺ ตั้งใจและปฏิบัติไปเถอะ แล้วจะมีผลในทุกๆ ด้านที่ปรากฏ อันที่จริงนะพวกเธอทั้งหลายที่ตั้งใจมั่นในการปฏิบัติน่ะ ดีแล้วนะ จะได้ประโยชน์กับชีวิตทำงาน และประโยชน์จากจิตใจที่มุ่งหวังในธรรมะ ธรรมะสอนให้เรารู้จักกับธรรมชาติ ความปกติของโลกของคน ในที่ๆ ดำรงอยู่ร่วมกัน

• อารมณ์ สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ว่า “ธรรมะเป็นแนวทางแห่งตน” “ตน” ในที่นี้หมายถึงจิต การจะพบ ภพภูมิต่างๆ อยู่ที่จิต จิตเป็นผู้รู้ ผู้เห็น และเป็นตัวไป จุดหมายที่สำคัญคือการทำจิตให้สะอาดด้วยวิถีทางที่ได้ปฏิบัติกันดีอยู่แล้ว

• เวลาปฏิบัติ ให้ใช้จิตสัมผัสธรรมให้มาก จะถามอะไรไหม ?

• เทศน์สอนไปก็จะซ้ำซาก เพราะท่านก็เคยสอนกันมานานแล้ว อยู่ที่การปฏิบัติของพวกเธอ อย่าหลอกตัวเอง อย่าปฏิบัติที่ปาก แล้วจะผ่องใส

คนที่ 2 (ทราบมาว่าจะเป็นสาวกพระศรีอาริยเมตไตรย คงจะไปนิพพานไม่ได้ในชาตินี้กระมัง ?)
☺ เธอเคยเป็นนักเรียนมา ย่อมเข้าใจว่าเวลาสอบไล่ ถ้าเธอได้เรียนสม่ำเสมอและดูตำราไว้พร้อม เธอคิดว่าสอบได้ไหม ?
☻ (ตอบ – สอบได้)

☺ เช่นกัน ถ้าคนใดขาดการดูตำรา แล้วมีคนมาบอกว่าสอบได้แน่ๆ เธอจะสอบได้ไหม ?
☻ (ตอบ – ไม่ได้)
เช่นกันอีก เมื่อจิตปรารถนาการไม่เกิด ไม่หวงห่วงในโลก ไม่อาลัยในสมบัติหรือความจริงที่เป็นไปตามวิถี ทุกอย่างย่อมสำเร็จสมประสงค์

• พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนรู้จักพึ่งตนเอง หมายความว่าสอนให้คนมีความเชื่อมั่นในตัวเองใช่ไหม ? ฉะนั้น ถ้าเธอปรารถนาอะไรแล้ว จงเชื่อมั่นในความสามารถในตัวเรา และก็จงพยายามทำให้บรรลุความมุ่งมาดปรารถนานั้น

☺ เมื่อจิตไม่ปรารถนาการเกิดก็ไม่ต้องเกิด ทำได้ไหม ธรรมะมี นำไปปฏิบัติเสีย ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นไปตามคำนั้นเสมอไป นำอุทาหรณ์ที่ฉันยกมาปฏิบัติ ถ้าใครว่าเธอสอบตกแต่เธอดูหนังสืออ่านตำรากระจ่าง จะตกรึ
☻ (ตอบ – ไม่ตก)
☺ เช่นกัน สมปรารถนา

คนที่ 3 (ปัญหาเรื่องกายในกาย)
กายในกาย หมายถึงวิธีการพิจารณากายนอกกับจิต จิตหรือกายในเป็นตัวฟุ้ง ตัวอารมณ์ผันแปรต่างๆ แต่ดีแล้วที่ตรวจจิตอยู่ตลอดเวลา

• อารมณ์จิตของแต่ละคนในแต่ละเวลาต่างกัน เวลาบางทีเราไม่ห่วง ไม่กลัวความตาย เมื่ออยู่ในสภาพนั้น จิตในตอนนั้นจะใสดังพระอรหันต์ แต่ไม่ถึงนะ
• อารมณ์ที่ว่านี้ ตา.... .ขอใช้คำว่า “ไม่ห่วง” เป็นอารมณ์ไม่ห่วง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ลืมพระนิพพาน เพราะเราปฏิบัติอะไรต้องมีจุดหมาย

4 มีนาคม 2524

คนที่ 1 (ถามวิธีรักษาคนไข้โรคมะเร็งคนหนึ่ง)
วันพระ 15 ค่ำ ทรงศีล 8 บวงสรวง ขอศีล แต่งชุดขาว

เวลารักษาให้ใช้คาถา “พุทธังทลาย ธัมมังหาย สังฆังสูญ” แล้วลูบลง กลั้นหายใจ 1 อึด ว่าคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า แล้วเดินลมจากศูนย์ไปยังที่เจ็บ “ศูนย์” คือยอดอก เอามือแตะท้ายทอยของคนที่เจ็บแล้วเดินลม ให้ลมเป็นเส้นสีแดงลงมาตามกระดูกเอกของหลัง เขาเรียก “กระดูกเอกะ” เพราะเป็นกระดูกทรงตัว ทำเป็นไหม ? ให้สีแดงไล่ลงมาตามกระดูกแขน ทั่วตัว แล้วสักพักก็ไล่ลมสีขาวขึ้นหัว ทำทุกวันตั้งแต่วันพระ 15 ค่ำเป็นต้นไป ประมาณ 3 อาทิตย์ติดต่อกันทุกวันนะ

☻ (ถาม – ต้องไปต่างจังหวัดระหว่างนั้น เกี่ยวกับกิจการ)
☺ ไม่ตายหาได้ไหม เงินน่ะ ความกตัญญูน่ะไม่ได้ทำกันง่ายๆ แต่ความรัก เมตตาปราณี คอยติดตามนะ เงินกับความกตัญญูทำก็ต้องด้วยศรัทธา พ่อสอนไว้มากพอแล้วจะไม่สอนซ้ำอีก พ่อแม่เลี้ยงลูก 10 คนย่อมเลี้ยงได้อย่างเต็มใจ ลูก 10 คนจะเลี้ยงพ่อแม่สักคนไม่ได้เชียวรึ จริงไหม ?

• ทำด้วยความเต็มใจนะ ไม่เต็มใจจะลำบากนักหากท่านตายไป คนคิดเรื่องบุญกับคิดเรื่องเงินต่างคนละใจ คนคิดที่จะหาเงินเขาก็ต้องคิดว่าเงินสำคัญ บุญ-กตัญญูเป็นรองเพราะไม่ค่อยเห็นผลดังใจ น้ำจิตน้ำใจซื้อกันไม่ได้ น้ำเงินอีกสิบปีจะหาก็ยังมีโอกาส พ่อพูดมาจริงไหม ? คนอื่นล่ะ จริงไหม ?

• บางคนรวยล้นฟ้า แต่โอกาสที่จะทำกตัญญูทนแทนพระคุณนั้นยังไม่มีโอกาส ชีวิตนี้ยังมีโอกาสอะไรบ้างที่ทำให้ท่านได้ เงินให้ท่านรึ ? ซื้อของให้ท่านรึ ? ท่านก็มากด้วยทุกอย่าง น้ำใจ น้ำแรงกายนี่แหละหาไม่ได้

• ของเหล่านี้อยู่ที่กำลังใจ กำลังศรัทธา บางรายบอกให้ไปทำบุญ เช่น รับ-ส่งพระ เขาก็คิดเสียดายเวลาสนุก คิดเสียดายค่ารำ คำนึงความเหน็ดเหนื่อย บุญจะมีรึ

• ทำกำลังใจเสียใหม่ อย่าทำใจด้วยความเบื่อ อย่าทำใจเพื่อแสดงว่าเต็มใจอยู่ภายนอกหน้า แต่หนักใจอยู่ภาย (ใน) ใจ พูดกันเสียตรงๆ ว่า ได้-ไม่ได้อย่างไร บุญจะมีกว่านั่งทรมาน ทีหลังใช้ปัญญา อย่าโวยวาย คิดพิจารณาก่อนพูด ก่อนทำ

คนที่ 2
☺ ฉันอยากขอเรื่องการเจริญศรัทธาคน
• การพูด ถ้าพูดในทางให้คนไม่มีศรัทธาแล้ว เอาตัวเองเข้าอ้างในการเห็น (จากมโนมยิทธิ) ก็จะทำให้คนที่ไม่รู้จริงบาป

• กับการเห็น ควรรู้จักดู เพราะนิสัยปุถุชนคนธรรมดาที่ยังไม่ถึงเขตอรหัตมรรคนั้น ยังมีใจแฝงข้างฝ่ายตนเองอยู่ จงถือให้เหมือนภิกษุ อย่าแสดงให้เกิดอุตริมนุสธรรม จริงแท้แค่ไหนรู้ที่ใจ เราไม่รู้ว่ากรรมเราจะเปิดเมื่อไร จริงไหม

• แล้วเราไม่รู้ว่ากรรมที่จะเสวยอายุเราเมื่อไร แล้วเราเป็นผู้ปรารถนาการไม่เกิดอีกแล้ว ฉะนั้น กรรมต่างๆ ย่อมมีมามาก เรามีช่องว่างอยู่มาก ฉะนั้น จงระวังการเฝือ ช่วยกันเตือนด้วย อย่างเช่นเราว่าเราเห็นสีฟ้า คนอื่นว่าที่เห็น (นั้น) ไม่จริง อารมณ์ (ก็) จะฟุ้ง จะร้อนคนอื่นที่เขาว่าไม่จริง นี่ประการหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าคนเรายังยึด “ฉันถูก” “ฉันดี” อยู่ ถ้าดูบ่อยมานะจะมาหา อันนี้ขอนะ เพื่อประโยชน์ของเราเอง

ทั่วไป
อยากจะสอนการทำใจขณะเจอทุกข์

• คนที่มีทุกข์ด้วยร่างกาย มักเข้าถึงจิตใจ เป็นเช่นนี้อย่าเพิ่งดึงดันในเรื่องพิจารณาให้เด็ดขาด จงตั้งใจละ อย่าหวังในสิ่งอันเป็นที่รัก อย่าท้อถอยให้กำลังใจหดหู่ในภายใน จงอย่าสร้างความหวังในสิ่งที่ตนครอง จำไว้เถอะ ว่าถ้าจิตผูกพันกับสิ่งใดแล้ว จิตจะผูกดังเชือกมัดของ ทุกข์จะมากเท่า (ที่) จิตผูก

• การจะแก้จิตผูกพันนั้น จงใช้อุเบกขาเข้าช่วย อย่าไปนึกท้อถอยหรือเสียใจ น้อยใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่ อย่าได้กลัวในสิ่งที่ตนดำรงสภาพนั้นอยู่ ถ้าปรารถนาการไม่เกิดเป็นอารมณ์ จงใช้สิ่งที่ดำรงสภาพปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ในการพิจารณา ตัด สละ ละ ให้มากที่สุด อย่าปล่อยให้โอกาสนี้หมดไป

☺ หวังว่าคงจะเริ่มได้ดีนะ

25 มีนาคม 2524

คนที่ 1
คนทุกคนเกิดมาด้วยกรรม รู้ใช้ไหม ?
คนทุกคนเกิดมาใช้กรรม รู้ใช่ไหม ?
คนทุกคนเกิดมามีกรรม รู้ใช่ไหม ?

• ฉะนั้น เราจะต้องยอมรับกฎแห่งกรรม และก็ใช้เขาไป หน้าที่ที่มีนั้นปฏิบัติให้ดีที่สุด กรรมอกุศลจะได้เบาบางลงไป ธรรมะจะได้เมื่อ (พบ) ทุกข์ แต่ธรรมะจะมีผลเมื่อสุข ตั้งใจไว้ให้แน่วแน่ในการปฏิบัติ อย่าให้มีสองอยู่ในใจ

คนที่ 2
☺ อย่าให้โทสะเกิด จะตัดอารมณ์สมาธิ พยายามได้ไหม ? รับปากนะ ดี เคราะห์จะได้เข้าถึงยาก

คนที่ 3
☺ ผู้ปฏิบัติธรรมควรรู้อยู่ในเวลาที่ใช้สติปัญญา รู้จักสำรวมในการพูด ในการคิด ในการกระทำ ในภาวการณ์ประนอมตนยังไม่พร้อมนั้น การปฏิบัติธรรมควรจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่าได้เห็นตนเองว่าสูงจน (ทำให้) เห็นอย่างหนึ่งอย่างใด (ที่) ไม่ต้องอัธยาศัยว่าต่ำ

• เราอย่าได้เปรียบเทียบว่าเราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา สิ่งนี้จะทำให้ขาดความสำรวม จะดันปัญญาไปในทางเดรัจฉาน นี่เป็นอุปกิเลสที่จะทำให้จิตอยู่ในความเศร้าหมอง เป็นอันแน่วแน่ว่าเราทุกคนปรารถนาการไม่มีภพ ไม่มีชาติอีกต่อไป ก็จงมุ่งมั่นในคำว่าตัวเราไม่มีในเรา เราไม่มีของเรา

• แค่นี้จะตีความออกขยายได้หลายทาง จงนำไปพิจารณาเถิดว่าเราจะปฏิบัติได้แค่ไหน แต่ถ้าตราบใดจิตยังหลง ห่วงในตัวของเราอยู่นั้น จะทำให้จิตยึดมั่นอยู่ใน “ฉันดี” ถ้ายังมีคำว่า “ฉันดี” อยู่ในใจ เราจะหาจุดบกพร่องในตัวเราไม่ได้ หรือได้ยาก

22 กรกฎาคม 2524

คนที่ 1 (ทำไมทำมโนมยิทธิ บางครั้งเห็นเป็นดวงพุ่งออกไป บางครั้งเป็นอีกร่างหนึ่งพุ่งออกไป ?)
เพราะอารมณ์ไม่เท่ากัน อารมณ์ใสจึงจะเห็นเป็นร่างออกไป

(ถาม – อยากเห็นสิ่งที่ต้องการดูให้เห็น แต่ไม่เห็น)
☺ เพราะยังมีอารมณ์กังวล อารมณ์พุ่งเจาะจงเกินไป พูดง่ายๆ คืออารมณ์ขณะนั้นยังไม่ใสพอ

☻ (ถาม – ลูกแต่งงานโดยไม่บอก)
☺ คนทุกคนล้วนมีทุกข์ แต่อยู่ที่ว่าคนแต่ละคนนั้นจะแก้ทุกข์หรือจะเก็บทุกข์ ทุกข์บางเรื่องก็ต้องพยายามแก้ ปลดไป ถ้าทุกข์นั้นพิจารณาแล้วว่าไร้สิ่งดี

☻ (ถาม – คิดแล้วกลายเป็นพยาบาท อยากเห็นหายนะของเขา)
☺ พยาบาทแล้วได้อะไร ? เพราะอะไรถึงพยาบาท ?
• อันนี้เป็นทิฐิ คนที่รู้ว่าผิด แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการทำผิด ฉันก็ต้องคอยจนความเสี่ยงของเขาน้อยลง แล้วฉันถึงจะแนะได้ เราจะเข้าไปช่วยคน แต่เขาปิดประตูบ้านไม่ให้เข้า แล้วเราจะช่วยเขาได้อย่างไร บอกซิ
• เธอต้องล้างด้วยตัวเธอเอง ในเมื่อเธอปิดบ้านไม่ให้คนเข้า เธอก็ต้องช่วยตัวเธอเอง

☻ (ตอบ – อยากเปิด)
☺ ติดอยู่นิดเดียว อภัยทาน
☻ (ตอบ – ใหญ่มาก)

☺ ฉันเห็นน่ะนิดเดียว คนเราถ้าปรารถนาการไม่เกิด ปรารถนาพระนิพพานเป็นหลักแล้ว ต้องเข้าใจคำว่า “เราไม่มีในตัวเรา” สิ่งนี้หมายถึงเราไม่มีในร่างกาย ขันธ์ 5 ธาตุ 4 ไม่มีในสมบัติ เมื่อตายแล้วเราไม่มีสิทธิในอะไรเลย แม้นแต่กายที่เรารักยิ่งหวงแหนยิ่ง แล้วนับประสาอะไรกับคนอื่น สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดนี้เป็นสมมุติทั้งสิ้น

• ในเมื่อเธอยังจับ ยังอาลัยอาวรณ์ในการเลี้ยงลูกจนกลายเป็นทิฐิ เอาชนะ แสดงให้เห็นว่าเธอยังกลัวการพลัดพราก ยังกลัวความตายอยู่
☻ (ตอบ – จากไปโดยการตายเสียยังดีกว่า)
☺ จากตาย จากเป็น ก็เหมือนกัน แต่เราไปสมมุติเอาเองว่าจากตายสบายกว่าจากเป็น

☻ (ถาม – เขาอาจถูกคุณไสยได้ไหม ?)
☺ ฉันไม่ขอตอบ แต่ขอตอบว่าเขาเป็นปุถุชน เราควรอวยพร ถ้าเธอรักลูก

• “คน” น่ะ หมายถึงว่ามีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเราบีบมากจะแตกง่าย ตัวอย่างมีแล้ว ถ้าเราไปเข้มงวดมาก เขามีอะไรก็ไม่เป็นชิ้นเป็นตัวให้เห็น มัวแต่หลบไปหลบมา ซ่อนไปซ่อนมา อันนี้เป็นหลักธรรมดาที่พ่อแม่ หรือคนที่จะเป็นพ่อแม่ควรคำนึงไว้

• ปลงใจให้มากๆ อย่าไปผูกไว้แน่น มีคำหนึ่งซึ่งท่านพรสวรรค์เคยพูดไว้ดีมาก “คนเรา ถ้ารักอะไร ก็เหมือนเชือกผูก ถ้าผูกสบายๆ พอสมควร เวลาจะแก้เชือกก็แก้ง่ายไม่เจ็บมือ ถ้ารักมากก็ผูกแน่น เวลาแก้ก็ลำบาก ใช้เวลานาน เจ็บมือด้วย”

• อุปมาเช่นกัน ถ้าเรารักมากจะให้ลืมกันนั้นแสนยาก ใช้เวลานาน แถมยังเจ็บช้ำใจตนเหมือนที่เจ็บมือ ถ้าพูดถึงหน้าที่ที่เธอรักลูกนั้นฉันให้คะแนนเต็ม เพราะอย่างนี้ถึงต้องมีความแค้นมาก เชือกมันผูกแน่นเกินไป มือจึงเจ็บมาก

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


◄ll กลับสู่สารบัญ