หนังสือ"พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 5 )
puy - 6/11/10 at 15:31
หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม
พรสวรรค์
(รวมเล่ม1-2-3 )
คำแถลง
1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป
ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ
คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว
จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่
ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น
2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ
3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ
เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ
4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง
คณะพรสวรรค์
สารบัญ
61. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับท่านอินทราช (Update 6/11/53)
62. คำเทศน์ของ หลวงตานา
63. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ หลวงปู่มั่น
64. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของท่าน ธัมมวิตตะโก (Update 29/11/53)
65. คำเทศน์ของ หลวงปู่สุก (วัดมะขามเฒ่า)
66. คำเทศน์ของ หลวงปู่สุ่น (วัดบางปลาหมอ)
67. คำเทศน์ของ หลวงปู่ใย (พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระอรหันต์ ยุคอยุธยา )
68. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของท่าน หลวงปู่นาค
69. คำเทศน์ของ หลวงปู่ภู
70. คำเทศน์ของ หลวงปู่บุญทึม
71. คำเทศน์ของ หลวงพ่อเขียน (Update 21/12/53)
72. คำเทศน์ของ หลวงพ่อสวัสดิ์ กับ หลวงพ่อน้อม
73. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ หลวงพ่อกบ
74. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ ท่านสวัสดิ์
75. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ ท่านสหัมบดีพรหม
76. คำเทศน์ของ ท่านผกาพรหม (Update 10/1/54)
77. คำเทศน์ของ ท่านท้าวมหาชมพู
78. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ ท่านพีรพัฒมหาพรหม
79. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ พรหมท่านหนึ่ง (อนาคามี)
80. คำเทศน์ของ ท่านพ่อพระอินทร์ (Update 19/1/54)
81. คำเทศน์ของ ท่านยมราช
82. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ นายนิริยบาลท่านหนึ่ง
83. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ ท่านเวสสุวัณ
84. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ ท่านมเหสักขา (Update 31/1/54)
85. คำเทศน์ของ คำเทศน์ของ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
puy - 6/11/10 at 15:34
61
(Update 6/11/53)
คำเทศน์ของ หลวงตาแสงและท่านอินทราช
5 สิงหาคม 2524
คนที่ 1
☺ พยายามทำใจให้ไร้กังวล เวลามีอะไรมาสะกิดใจก็ให้พิจารณาในเวลานั้น แล้วตัดออกไป ทางจะสะดวกยิ่งขึ้น ดูเอาถ้าดูได้
คิดเอาถ้าคิดออก
☻ (ถาม อยากมีชีวิตต่อไป เพราะยังไม่ได้ทำประโยชน์ให้หลวงพ่อ)
☺ ประโยชน์มีทุกคน อยู่ที่เราจะทำแค่ไหน การบำเพ็ญด้วยจิตเพื่อให้ถึงมรรคผลก็เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแล้ว
☻ (ถาม ดูจะเป็นการเห็นแก่ตัว)
☺ เราทำ (ประโยชน์แก่ผู้อื่น) ได้โดยการช่วยพุทธบริษัทให้ได้เห็นธรรม เข้าถึงธรรม
คนที่ 2
☺ พยายามถอนจิตออกจากความกังวลในภาระ ภาวะต่างๆ
ตั้งใจนะ พิจารณาเสมอว่าการเป็นอยู่ในชีวิตเรานั้น มีหน้าที่อะไรบ้างที่จะต้องทำต้องดูแล เราอยู่ไปในวันนี้และวันหน้า
ให้ปรารถนาอยู่ตลอดเวลาว่าเราจะประกอบกิจการทั้งปวงเพื่อ
- สนองคุณผู้มีพระคุณอยู่ 1
- เพื่อทำหน้าที่ชดใช้ซึ่งเวรกรรม 1
- สุดท้าย เพื่ออนาคตในพระนิพพาน 1
ฉะนั้น ภาระภาวะต่างๆ ที่ต้องมี ต้องเป็น ต้องเกิด อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นภาระภาวะที่มีแต่กับกายเรา มิใช่มีที่ใจ อย่าได้นำมารวมกัน โรคภัย
ให้ถือว่ากินแค่กาย อย่าให้เจ็บถึงใจ
(ขอฟังเทศน์)
☺ ขอทำน้ำมนต์ก่อนนะ
ต้องให้มั่นคงเสมอเมื่อเวลาพวกเราประสบทุกข์ เราฝึกธรรมะไว้ในใจเรา เราต้องใช้ธรรมะที่มีไว้ในใจนั้นเป็นตัวตัด
เมื่อใดที่พวกเธอประสบทุกข์ เธอจะต้องมีธรรมะที่มั่นคง อย่าให้ใจขาดเหตุผล ต้องรู้จักวางอารมณ์ในทางสมควร เวลามีปัญหามาหลายด้านหลายทาง
ควรไตร่ตรองโดยให้จิตทรงสมาธิมีจิตมั่น อย่าเอาอารมณ์กิเลสทั้งปวงเข้าตัดสินในอุปสรรคนั้นๆ ธรรมะแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงให้ไว้นั้น
เป็นหลักความจริงที่เป็นอยู่ เมื่อรู้แล้วจงอย่าลืมเอาหลักธรรมะเหล่านี้เข้าแทรก
อันอายตนะทั้ง 5 นั้น มีหูพึงฟังแต่ต้องมีสติ มีตาพึงเห็นแต่ต้องเลือกเห็น มีลิ้นรู้แต่ต้องรู้สัมผัสเพียงพอ รู้ว่ารสนั้นสมควรแก่การบริโภค
พอเหมาะแห่งตน มีจมูกรู้ถึงกลิ่นแยกดี-เลว ประสาทสัมผัสรู้ซึ่งการกระทบ นิ่ม อ่อน กระด่าง แข็ง เย็น ร้อน พึงรู้ว่าเป็นเพียงแต่กาย มีใจพึงรู้ดี ชั่ว
สิ่งนี้จะเป็นตัวรับมาซึ่งอารมณ์ทั้งปวงอันเกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ นี่เป็นเหตุแห่งการเกิดหรือดับ
อันบุคคลใดๆ ที่ปรารถนาการครองสติเพื่อพระนิพพานจิตแล้ว ต้องมุ่งมั่นรับสิ่งกระทบทางอายตนะทั้งหลายให้ได้
แล้วเธอจะรู้ชนิดและพิจารณาแยกแยะออกได ทำกันได้นะ รู้ให้เป็นปกติว่าเกิดแล้วต้องเจ็บ แต่รู้ทั้งรู้ก็มิวายกลัว
เมื่อเจริญวัยมากขึ้น สภาพความแก่ก็เข้ามา ความคล่องตัว ความแข็งแรงก็หมดไป รู้ทั้งรู้ก็ยังรำพึงอย่างหนุ่มสาว เมื่อสุดท้ายแห่งชีวิตจะต้องจากไป
รู้ทั้งรู้ก็ยังอาลัยในญาติ ในสมบัติ ในภาระ แม้กระทั่งคนที่เป็นอยู่เมื่อคนที่ตนรักใคร่ตายไปก็ยังอาดูร
รู้แล้วว่าเป็นปกติอย่างนั้นก็อย่าให้อารมณ์นี้แทรก
เช่นกันกับสิ่งของเครื่องใช้ มีมาใหม่ได้ก็ต้องมีเสื่อม มีชำรุด แล้วก็พังไปในที่สุด เช่นเดียวกัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย หลักธรรมะง่ายๆ เช่นนี้จำไว้ให้มั่น
ใจจะได้ไม่ไปยึดไปครองสิ่งใดๆ ในโลก
อินทราช
ทิ้งปู่....กันหมดเลยหรือไง ทุกคนจงได้สมปรารถนา ปลายของชีวิตทุกคนจะได้ถึงซึ่งต้องการสาธุ สาธุ สาธุ ปู่ไปนะ .......
ลา
หมายเหตุ : -
ท่านอินทราชจะลงมาเกิดเพื่อเลี้ยงพระในสมัยของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยอีกครั้งหนึ่งจึงนิพพาน ส่วนพวกเรามุ่งไปนิพพานกันหมดในชาตินี้
ไม่ยอมไปเกิดร่วมกับท่านในสมัยนั้นอีก
6 มกราคม 2525
คนที่ 1
☺ ตั้งใจไว้ให้มั่น อย่าไปวอกแวกในเหตุข้างเคียง ใจตัวเดียว อย่าไปยึดอะไรมาก
คนที่ 2
☺ สิ่งรบกวนใจจะมีได้ถ้าเราเอาใจเข้าไปยุ่ง ถ้าทำใจให้นิ่งให้เฉยจะไร้สิ่งรบกวน
คนที่ 3
☺ จะพูดจะจาควรไตร่ตรองใช้สติ จะช่วยให้เรารู้จักคิดพิจารณาครองสติตลอดเวลา
คนที่ 4
☺ พิจารณาเรื่องตนบ้าง ทุกวัน ไม่ใช่ฟังเทศน์แล้วนึกถึงผู้อื่น
คนที่ 5
☺ ความดีเท่านั้นที่จะทำให้คนชนะการเป็นคน
คนที่ 6
☺ การดีใจในสิ่งที่ดีนั้น ประเสริฐ แต่ควรทำตนเองให้ดีเหมือนที่ดีใจในสิ่งนั้น อย่าได้หวังในบุคคลอื่น ถ้าหมดหลักแล้วจะสายเกินแก้
คนที่ 7
☺ แบ่งภาระ แบ่งหน้าที่ แต่รวมเป็นธรรมะ แบ่งใจให้ถูก แต่อารมณ์ควรทรงไว้เป็นธรรมะ แล้วจะเบาทุกข์
คนที่ 8
รู้ธรรมแล้วพยายามทำให้ได้ แม้นิดหนึ่ง หน่อยหนึ่งก็เป็นขั้นตอนความดีของเรา
คนที่ 9
☺ ธรรมะอยู่ที่รอบๆ ตัวเรา จงหมั่นนึกว่าใจคือผู้รู้ ผู้สอนใจตนให้มีแนวมีทางสู่ธรรมหน้าที่มีทำไป อย่าไปคำนึงว่านั่นไม่ใช่ธรรมะ
คนที่ 10
☺ ตัดอารมณ์น้อยใจ เสียใจออกไป เพราะนั่นจะทำให้เรารักตัว ผูกตัว อันนี้ทำให้ก้าวไปในธรรมะชักช้า
คนที่ 11
☺ ใจปรารถนาดีแล้ว แต่อย่าหวังในดีแห่งโลกธรรม
คนที่ 12
☺ วัย หน้าที่ ภาระ และธรรมะ อย่าปนกัน อะไรเป็นอะไรให้รู้ให้ควร รู้แบ่ง อย่าได้พิจารณาการกระทำจนหารู้เรื่องไม่
คนที่ 13
☺ ประสงค์อะไรไว้ก็อาจจะไม่สมใจ เพราะทุกอย่างล้วนไม่แน่นอน อย่าหวัง อย่าอยาก แล้วจะได้ความแน่นอน
คนที่ 14
☺ ทำดีเท่าที่มีกำลังจะทำ อกุศลกรรมมีทุกคน แม้พระที่ดีแล้วก็ยังมีอกุศลกรรม บาปจะทันหรือไม่แล้วแต่วาระ
สำคัญแต่ว่าอกุศลกรรมนั้นจะตามกินกายหรือกินใจ
คนที่ 15
☺ ทุกคนมีบุญแต่งกรรมแต่ง สิ่งที่ได้ ถ้าสมควรแก่ตนก็ย่อมได้ ย่อมตามไปทุกหนทุกแห่ง แต่ถ้าไม่ใช่สมแห่งตนแล้ว ก็จะไม่ตามไป
คนที่ 16
☺ (จง) ตั้งใจไว้เสมอที่จะดำรงจิตเพื่อธรรม
คนที่ 17
☺ ตั้งใจทำบุญไว้เสมอ จะทำให้ครองสติ มีปัญญา
คนที่ 18
☺ ของทุกอย่างล้วนไม่ใช่ของเรา แม้นแต่ตัวเรา อย่าได้ห่วง เป็นไปตามวัฏฏจักร
คนที่ 19
☺ บุพกรรมเป็นเรื่องเสริมแต่งตนในสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา อย่าได้ฝืน
21 พฤษภาคม 2525
☻ (ถาม ที่ให้ตัดร่างกายนั้น ตัดไม่ออก จะทำอย่างไร ?)
☺ นำใจใส่ในอาการที่เป็นอยู่ อาการที่เรารู้ว่าเราทำอะไร ควรรู้ด้วยว่าเหตุไร นั่นคือสติ แล้วนำผลมาคิดดูให้รู้
พิจารณาจะได้ปัญญา
อย่างเช่นอาบน้ำ เรารู้ว่าต้องอาบน้ำและรู้ว่าที่อาบน้ำนั้นเพื่ออะไร เพราะร่างกายเราสกปรก เมื่อรู้ว่าร่างกายเราสกปรกก็จงเห็นในร่างกายสกปรก
เนื่องจากอะไร ก็เนื่องมาจากน้ำเลือด น้ำหนอง น้ำเหลือง ขับถ่ายจากเนื้อโดยความดันในร่าง ทำให้เห็นถึงสภาพ ดิน น้ำ ลม ไฟ สังขารก็เท่านั้น
ไม่ได้มีอะไรวิเศษ ไม่เห็นมีอะไรน่าปรารถนา เท่านี้ก็จะทำให้ใจสังวร รู้จักพอ เป็นต้น
เวลากิน เวลานอน เวลาทำงานต่างๆ พึงพิจารณาเช่นนี้เป็นนิจ จิตจะรู้ถึงความพอ เมื่อเรารู้จักความพอแล้วเราจะไม่ต้องการในกิเลส ตัณหา
นี่จะเป็นทางให้เกิดอารมณ์นิ่ง เฉยในร่างกาย ในโลก โลกียสมบัติ ถ้าเหล่านี้ไม่พึงปรารถนา เราก็ไม่ใช่ของเรา แล้วก็ไม่มีอะไรเป็นของเรา
ทำเช่นนี้เป็นนิจนะ อย่าไปเก็บมันไว้ ตัดทิ้งเสียบ้าง ไม่ต้องกลัวสำเร็จเร็ว
21 สิงหาคม 2525
คนที่ 1 (ถามเรื่องการเห็นเป็นธรรมดา)
☺ การเป็นธรรมดานั้น คือเราไม่มีจิตหวั่นไหวในเรื่องความเป็นจริง เราไม่กลัว และเราตั้งมั่นในธรรม เรารู้ด้วยปัญญา รู้ด้วยเหตุและผล
☻ (ถาม เป็นห่วงกรรมของลูก ซึ่งเราช่วยไม่ได้)
☺ เราเป็นแม่ เรารู้ว่าเราให้เขาเกิดมา เราเป็นผู้อบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้สุจริต มีศีลธรรมที่ดีงาม เราหาวิชาให้มีอาชีวะ
เพื่อตัวของเขา ส่วนที่เขาจะสนองเรานั้นให้ดำรงใจไว้ว่า ไม่..ผู้เป็นแม่หรือผู้เป็นลูก (ก็) จักต้องแยกจาก (กัน) ด้วยวิถีทางอย่างใดอย่างหนึ่ง
จำพุทธพจน์ไว้ว่า การพบสิ่งที่รักเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ฉะนั้น จงทำใจให้ รู้ อย่าทำใจให้ ผูก
☻ (ถาม เมื่อไรจึงจะมีปัญญา)
☺ ปัญญาจะเกิดเมื่อมีสติ สติจะเกิดเมื่ออารมณ์ไม่ฟุ้ง เราอย่าให้สติฟุ้ง ตัวฟุ้งมาจากโลภะ-ไม่พอ โทสะ-ความมัวเมา โมหะ-ความหลง
ทิฐิมานะสามตัวนี้จะทำให้เราฟุ้ง
☻ (ตอบ ฟังแล้วรู้สึกตัวเองเหลือศูนย์ ชอบเผลอเรื่อย)
☺ เธอไม่ถึงศูนย์หรอก เพราะเธอยังรู้ข้อบกพร่อง คนที่ไม่รู้ไม่รับนี่ซิจะสอนไม่ได้เลย เพราะเขาถือว่าเขารู้แล้ว เก่งพอแล้ว
คนที่ 2 (จิตขุ่น)
☺ รู้ไหมขุ่นเพราะอะไร ? ขุ่นเพราะใจไม่พอ มีความอยาก อยากให้เป็นเช่นนั้น อยากให้เป็นเช่นนี้
☻ (ตอบ พูดไปคำเดียวเท่านั้น)
☺ คนทำ ความรู้สึกไม่เท่ากับคนรับ ใครๆ ก็อยากจะเป็นคนดี เราก็คิดว่าเราดีเวลาพูดไป (แต่) บางทีอันนั้นก็เป็นสิ่งที่เกินไป
เรายังเป็นปุถุชน ไม่มีอะไรที่เราทำสมบูรณ์ อย่าไปตำหนิคนอื่น
☻ (ถาม หลวงตามีความเห็นว่าเป็นยังไง เมื่อคนเอาไปเข้าใจต่างๆ ?)
☺ ฉันไม่รู้สึกอะไร เรื่องทั้งหลายที่เป็นอยู่ รวมว่ามนุษย์เรานั้นมี โลภะ โทสะ โมหะ ทุกคนจะหันเหจิตใจทางไหนก็มักโมหะ-หลง
โทสะ-โกรธ โลภะ-ขาดสรรเสริญ จึงได้แต่ครุ่นคิดในวนเวียนของกิเลส ตัณหา ทำไมคนเรา เมื่อมุ่งหวังพระนิพพานแล้วไม่พยายามลดอะไรที่เป็นสื่อของความทุกข์นั้นลง
พระพุทธองค์ทรงสอนไว้มากมายหลายสถาน พระสาวกก็พร่ำสอนไว้ทุกเวลา อย่าได้ลืม ละเว้นคำสอนนี้ไป จุดเด่นคืออริยสัจ 4
ทั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้เรามีปัญญาแตกฉาน
ทุกข์ มองรู้ มองเห็นอยู่
เหตุแห่งทุกข์ ก็ได้รู้ ได้ฟังแล้ว
นิโรธก็ได้แนวทาง ควรจะจำ ใช้เป็นสติอารมณ์ไว้เสมอ จะได้พบประสบมรรคทันที
6 เมษายน 2526
คนที่ 1 (ปรึกษาว่าสามีหวุดหวิดจะทำอย่างไร ?)
☺ พิจารณาซิ ของทุกอย่างที่เป็นเรื่องของโลกนั้น ย่อมวุ่นวายเสมอ เราอย่าเอาจิตทำใจให้ไปหมดมุ่นมาก ไฟ มีความร้อน ถ้าเราใกล้มากก็จะทำให้เราร้อนมาก
แต่ทางเดียวกันไฟย่อมมีแสงสว่างอยู่ในตัว สามารถให้ความกระจ่างในการมองเห็น ฉันใดก็ฉันนั้น โลกียวิสัยของโลกนี้ก็เช่นกัน
ถ้าเราทุกข์กับสิ่งนี้มากมันก็ทุกข์ ถ้าเราดูมัน เราจะมีปัญญาให้กระจ่างในทางปฏิบัติ
11 กุมภาพันธ์ 2530
☺ สิ่งที่พระได้เคยสั่งสอนไว้ เธอได้ใช้ปฏิบัติบ้างหรือเปล่า ถ้าเธอมุ่งปฏิบัติ ควรพิจารณา มีสติปัจจุบันเสมอ
สิ่งที่ง่ายๆ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมมีอะไรรู้ไหม ?
ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเป็นหลัก
☺ คำว่า คน หรือมนุษย์นั้น เข้าใจเพียงไร มนุษย์คืออยู่ระหว่าง 3 ภพ เป็นได้ทั้งเทพ เป็นได้ทั้งสัตว์ เป็นได้ทั้งภูต
☺ เธอพึงระวังในการปฏิบัติ เมื่อรู้ มักอยู่ในความสุจริต ทำสิ่งใดต้องใคร่ครวญเสมอ รู้เหตุ เมื่อกระทบผล
ใช้ปัญญาใคร่ครวญว่าเหตุมาแต่สิ่งใด ปัญญาต้องไม่ปนทิฐิ การเข้าข้างตนเอง เข้าข้างญาติโยม จิตเราจะสะอาดในการตัดสินเหตุ
นี่คืออะไรที่สอน ?
☺ อยู่ในอริยสัจ 4 ข้อของทุกข์ และเหตุของสมุทัย เอาแค่นี้ปฏิบัติกันให้ได้
☻ (ถาม ฝันว่าลูกตาย รู้สึกตกใจ)
☺ เป็นสัญญาในวิญญาณ เป็นการยึด ระลึกในสิ่งผูกพัน ใช้นำมาพิจารณาแล้วจะหายไป เราอย่ายึดว่าเราคือเรา
☺ สอนแค่นี้เพราะรับได้แค่นี้ ฟังกันเพราะๆ หลวงตาเทศน์กี่ปีแล้วจ๊ะ สงสารคนฟัง บอกไปแล้วไม่ทำนี่ เทศน์บ่อยๆ จะรำคาญหลวงตาแก่
ถ้าเธอให้ ตา......เทศน์บ่อยๆ ขอให้ปฏิบัติให้ได้ ดูการถามคำถามก็รู้ (แล้ว) พยายามซิ กาลเวลาไม่คอยใคร แก่ลงทุกวัน เวลาน้อยลงทุกที คนฟังเทศน์กับ
ตา.......ที่นี่ก็ไปอยู่กับ ตา.....หลายคนแล้วนะ ถ้ารุ่นนี้ฟังแล้วไม่ไปอยู่กับ ตา....ก็น่าตรอง
◄ll กลับสู่สารบัญ
62
คำเทศน์ของ หลวงตานา
24 พฤษภาคม 2521
คนที่ 1
☺ หน้าที่ เธอรู้จักไหม หน้าที่ที่เราเป็นคน ก็ต้องดูแลให้สะอาดเรียบร้อยในตัว และดูแลไม่ให้มันต้องบกพร่องชำรุดทรุดโทรม
☺ หน้าที่ ที่เราเป็นแม่ก็ต้องให้ความรัก เอ็นดู สั่งสอนให้บุตรธิดาดำเนินชีวิตถูกต้อง ประกอบสัมมาอาชีพ
☺ หน้าที่ ที่เราเป็นพลเมือง คือเราจะต้องประกอบการที่ดีต่อส่วนรวม สาธารณะประโยชน์และประกอบความดีเพื่อส่วนตนและส่วนรวม
☺ หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ควรทำหน้าที่ของผู้บำรุงศาสนา และเจริญรอยตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราจะต้องทำหน้าที่ทั้งปวงให้ครบในขอบเขตของพรหมวิหาร 4
เมตตา สงสาร
กรุณา สงเคราะห์ตามควร
มุทิตา ยินดี มุ่งดี มุ่งกุศลกับคนทั้งหลาย
อุเบกขา รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล แล้วจงพิจารณารู้ว่าความเฉยเป็นทางระงับการกระทำ
คนที่ 2
☺ มองสิ่งที่นอกเหนือตัวเองนั้น อย่าคิดว่าเป็นตัวเอง จงก้มมองตัวเองแล้วคิดว่านี่เหละคือตัวเรา
อย่าไปเดือดร้อนและกังวลวิพากษ์วิจารณ์กับเรื่องภายนอก เพราะนั่นไม่ใช่เรา นั่นแหล คือความสุขที่จะทำให้เราพิจารณาได้จากการเห็น ไม่ใช่การรับภาระ ใช่ไหม
☺ ลดการรับรู้ และนำมาเป็นกังวลให้น้อยลง จงรับรู้แล้วนิ่งเสียให้มากนั่นจะเป็นการทำใจรู้ถึงสภาพของจิตให้ทรงอารมณ์อุเบกขาญาณ
นั่นแหละนะคือความสุขที่เราให้ได้จากชีวิตที่ยังอยู่
(ถาม มีอารมณ์หดหู่ เซ็งบ่อยๆ ไม่เบิกบาน สาเหตุจากอะไร ?)
☺ ความเป็นธรรมดา หรือที่เรียกว่าโลกนั้น เป็นส่วนกลาง ภาวะที่เราอยู่นั้น อยู่ในโลก แต่ที่เรามาปฏิบัติกันนั้น
เพื่อให้รู้ทันความเป็นมาเป็นไปของโลก จึงหาทางปฏิบัติตนให้อยู่ในที่สูงกว่าโลก เพื่อจะได้มองเห็นความจริง
แต่ถ้าใจเราหดหู่แสดงว่าเราโดนโลกทับต่ำกว่าโลก เช่นนี้ ดังอุปมาว่าเรายืนอยู่บนที่สูงย่อมมองเห็นอะไรข้างล่างชัดเจน นั่นเรารู้ทัน
รู้ทันว่ามันมีเกิดแล้วก็พัง ผุ สลายไป มันไม่แน่นอน มันแปรไป มันเป็นสิ่งปลอม เสื่อตัวนี้เราชอบ สีสวย ใส่สบาย แบบดี แต่นานไปสีซีด ผ้าเริ่มเปื่อย ขาด
เราจะนั่งเสียดายไปทำไม
ในเมื่อตัวเรารู้เห็นอยู่ว่าหนังเนื้อที่เห็นว่า ตึง ผ่อง สดใสของเรา ยังเหี่ยวย่นอับเฉาลงได้ สภาพของคนมีทุกขลักษณะ
สำคัญที่ใจเราจะเข้าใจสภาพของเราหรือไม่ พยายามทำใจให้รู้เรื่องของความเป็นจริงให้มาก แล้วจะแตกฉานในวิชามนุษย์นี้
คนที่ 3 (ปรารภว่าโกรธง่ายและโกรธบ่อย)
☺ จริงๆ นะ เรื่องความโกรธนี่นะ เป็นอวิชชาที่ทำให้เราโง่ในฉับพลัน ก่อให้เป็นหลงตัวตน ในบางครั้งจะทำให้เราเบาในปัญญา
ไม่รู้จริง แล้วจะทำให้สติปัญญาที่มั่นคงแตกกระจาย เป็นกิเลสที่ทุกๆ คนไม่ยอมมอง เวลาคนโกรธนั้น ดีไม่ดี พาลให้ไมตรีจากคนข้างเคียงพลอยเสียไปด้วย
เป็นทางปิดกั้นความสุข ทำไมโกรธ ?
☻ (ตอบ เพราะไม่ถูกใจ ไม่พอใจ ?)
☺ นี่แหละ ทิฐิมานะ
☻ (ตอบ คือคิดว่าเราถูก เราเป็น)
☺ ใช่ การที่จะแสดงว่าเรานั้นดีจริง ถูกจริงไม่ใช่การแสดงความโกรธแล้วบอกว่า ความดี ความถูกต้องนั้นฉันมี ฉันรู้ ทำไมไม่บอกด้วยสติสัมปชัญญะ
ทำไมไม่บอกด้วยอารมณ์สุขุม ด้วยไมตรี ด้วยสมาธิ
ทุกอย่างที่เราแสดงออกไปเราย่อมรู้อยู่ ให้พิจารณาว่าเราขาดสติหรือไม่ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องลังเล ไม่ต้องกังวล ไม่สบายใจ
☻ (ตอบ ก็ยังมีวิตกกังวลมากในบางครั้ง)
เราเด็ดขาดกับคนอื่นได้ ทำไมเราไม่เด็ดขากับตัวเราเอง จงเด็ดขาดกับตัวเราเอง และรู้จักอภัยแก่คนอื่น
(ตอบคำถามเบ็ดเตล็ด)
☺ โรคกระเพาะอาหารไม่ได้เกิดเพราะขาดอาหาร แต่เกิดเพราะระบบประสาท หากใช้สมองมากมักจะเป็น
☻ (ถาม เขาว่าถ้าท้องว่างน้ำย่อยออกมาแล้วจะกัดกระเพาะเป็นแผลจริงหรือ ?)
☺ จริง แต่น้อย
☻ (ถาม พวกถือศีล 8 ก็มีโอกาสเป็นโรคกระเพาะมาก ?)
☺ อยู่ที่ความเคยชิน อาการหิว เป็นอาการของประสาท แต่อาการโหยเป็นอาการของร่างกายที่เพลีย คนถือศีล 8 นั้น พอตั้งใจเข้าจริงๆ
การหิวข้างเย็นก็หายไป เพราะประสาทตั้งมั่นใจ ใจว่าจะไม่หิว น้ำย่อยก็ไม่ทำงาน เพราะน้ำย่อยทำงานตามระบบประสาท
☻ (ถาม ขอยารักษาท้อง)
☺ น้ำข้าวข้นๆ ผสมกับน้ำเต้าหู้หรือน้ำถั่วเหลือง กินตอนเช้า น้ำถั่วเหลืองผสมกันครึ่งถ้วยแก้ว
◄ll กลับสู่สารบัญ
63
คำเทศน์ของ หลวงปู่มั่น
☻ (ถาม ถึงองค์ที่ทรงกระดานที่เพิ่งไป)
☺ ทำไมหรือ องค์พระพุทธกัสสป
☻ (ถาม ขอทราบนามท่าน)
☺ อย่าเลย เรานับถือกันในด้านกระทำ ประพฤติธรรมคำสอน ไม่ใช่นับถือชื่อ
(เซ้าซี้)
อยากรู้จริงโว๊ย มั่น
☻ (ถาม ท่าน.........เป็นพระโพธิสัตว์หรือ ?)
☺ ก็คิดว่าใช่
☻ (ถาม ท่านอาจารย์แหวน ?)
☺ ฉันยังไม่ได้ขออนุญาตเจ้าตัว ไม่เหมาะ
(ขอฟังเทศน์)
☺ เธอนั่นหรือทำไปเถิด รู้ก็รู้อยู่แก่ตัวว่าธรรมะที่สอนเป็นอย่างไร ปฏิบัติเถิด ให้ฉันเทศน์ใหม่มันก็ซ้ำซากนั่นแหละ
สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า ฟังแล้วถ้ารู้สึกว่าไพเราะเฉยๆ ก็เอาไปทำอะไรไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับการกระทำ การปฏิบัติน้อย ตรองด้วยถึงจะงามพร้อม
☻ (ถาม ท่านเป็นพระอภิญญาหรือ ?)
☺ ถ้าเขาตั้งให้เป็นยังงั้น ฉันก็ว่าตาม
☻ (ถาม หรือว่าเป็นปฏิสัมภิทาญาณ ?)
☺ พูดตามตรง ฉันก็เหมือนหลวงพ่อเธอน่ะแหละ
(ปรารภกันว่ามีอย่าง หลวงปู่มากๆ ดี)
☺ ใช่ คนส่วนใหญ่สมัยนี้ ถ้าไม่บอกว่ามีฤทธิ์มีเดชเขาก็ไม่เลื่อมใส ศาสนาก็แย่น่ะซิ สอนให้ก็ไม่เอากัน โง่เลย
☻ (ถาม ที่ว่าไปนิพพานเรียกว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ คืออย่างไร ?)
☺ ไม่เกิดในโลกมนุษย์ แต่เกิดในแดนสุขนิรันดร์
26 สิงหาคม 2517
☺ ว่าไง
☻ (ถาม หลวงปู่ หรือหลวงตาอะไร ?)
☺ จำเป็นรึ
☻ (ตอบ กลางคืนจะได้นึกคุยด้วย แล้วอย่าดุ)
☺ กลัวดี ไม่ใช่ดุ แต่จะสอน
☻ (ถาม ที่จุฬามุนี มีพระอรหันต์ ?)
☺ ใช่
☻ (ถาม ที่เห็นเป็นอะไร จุฬามุนีหรือ ?)
☺ แดนนิพพาน
☻ (ถาม พระธาตุในเจดีย์เก่าหายไป)
☺ ก็อยู่ในนี่แหละ ที่พระองค์ทอง
☻ (ถาม ข้างล่างหรือข้างบน)
☺ องค์ทองที่พวกเธอปิดทองกัน
☻ (ถาม ประทับอยู่ส่วนไหน ?)
☺ กลางพระนลาต
มั่น..........ลา
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
puy - 29/11/10 at 13:08
64
(Update 29-11-53)
คำเทศน์ของท่าน ธัมมวิตตะโก
24 เมษายน 2517
☺ ธัมมวิตตะโก
ลูกนะ มาพบพระอริยเจ้าแล้ว ฟังธรรมจนท่านก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเสมอ ไม่ว่าตัวเราเองก็ตาม ย่อมไม่แน่นอน
ทุกคนก็มีกรรมที่ตัวของตัวได้กระทำมาในครั้งกระนั้น จะให้ไม่มีอุปสรรคอันใดมายุ่งเกี่ยวเป็นไปไม่ได้ แม้แต่พระพุทธศาสนายังมีมารคอยทำลาย
แล้วจะให้ผู้ซึ่งยังไม่ละทางโลกเป็นสุขทุกอย่างได้อย่างไร
11 กรกฎาคม 2517
ประทับทรง
☺ พวกเธอได้พรอันประเสริฐแล้วนะ นับว่าโชคดีนะ พวกเธอทั้งหลายน่ะ ที่ตั้งใจในธรรม น้อยคนนักที่จะได้สมเด็จมาทรงโปรด
พระองค์ทรงปราบมาร
☺ นับว่าเป็นบุญวาสนาของเธอที่ได้เจอ ไอ้ฉันมันกระจอกงอกง่อยตัวเล็กนิดเดียว รัศมีนิดเดียว
☻ (ถาม จะให้ช่วยทำอะไรเพื่อเพิ่มรัศมี ?)
☺ ไม่ต้องหรอก ปฏิบัติธรรมก็พอ
☻ (ถาม ขอประทานนาม)
☺ อยากรู้หรือ หยิบสร้อยมาซิ (แล้วเลือกพระท่านธัมมวิตตะโก)
☻ (ถาม ท่าน ....ตำหนิหลวงพ่อ บอกว่าไม่ได้โปรดใครเลย)
☺ เขาว่าฉันไม่สอนมันก็ถูกอยู่ แต่ก็ควรหยุดอยู่แค่นั้น ไม่ควรพูดต่อไปอีก อือม์! น่าสงสารจริง
☻ (ถาม ความจริงท่านก็ไปสอนไม่ใช่หรือ ?)
☺ ไปสอน แต่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ได้สอนให้คนทราบ
(ปรารภเรื่องการนวดเส้น)
ฉันเคยเขียนไว้ มีนี่ โยคะ ไง
11 มกราคม 2518
ประทับทรง
☺ ปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ พระท่านก็มาโปรด ฉะนั้น ไม่ต้องกลัวว่าทำดีไม่ได้ดี
การนั่งสมาธิ ให้พิจารณาเรื่องอื่นด้วยนะ ต้องพิจารณาหลักใหญ่ แล้วโยงไปอย่างอื่นด้วย ให้แตกแขนงได้ เมื่อใดแยกได้
ก็น่าภูมิใจว่ามีไหวพริบ ซอกแซกในพระธรรมได้ รู้ว่าฉลาด เมื่อนั้นก็ไม่มีอะไรอีก
☺ คนเราประพฤติดีมันก็น่าปลื้มใจ เราก็เชื้อสาย เห็นลูกหลานประพฤติดี ก็อดปลื้มใจไม่ได้
การพูดถึงเทวดา ควรยกย่องท่านหน่อย เป็นเมตตามหานิยม ถ้าเราเป็นคนรวยมีขอทานมาขอเงิน ไม่พูดยกย่องเรา
มันก็รู้สึกไม่น่าให้
(ปรารภ สร้างห้องทำสมาธิ เสียเงินไป 8 หมื่น)
☺ ไม่ต้องกลัวหรอก การสร้างโบสถ์ วิหาร โรงภาวนาแบบนี้ มันก็ต้องได้คืนมาไม่ขาดทุน อย่างน้อยๆ ไม่ได้ทางโลกนะ
ฉันแอบไปดูข้างบนมาแล้ว สวย สวยกว่าเวชยันตพิมาน
การทำความดี แค่ใจนึก คนจดบัญชีก็จดแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ นึกน่ะหลายอย่าง เช่นนึกไม่หวังลาภผลอะไรพวกนี้ เป็นต้น
ไอ้คนตกนรกซิมันเก่งจริงๆ เขาคอยจะช่วยให้คนขึ้นสวรรค์ ยังช่วยไม่ได้ ทำดีง่ายนิดเดียว ทำชั่วยากจะตาย ดูมุสาซิ พูดตรงๆ ง่ายจะตาย
แต่ถ้ามุสาก็ต้องตีสีหน้าออกอุบายยากจะตาย ที่มันทำได้บ่อยเพราะอะไร ? ก็เพราะชำนาญ คนเราบวกลบคูณหารเก่ง ก็ทำแผล็บเดียว
สิ่งใดที่พระอรหันต์เจ้าใช้ประจำ เช่น ในการเทศน์ ในการกำจัด ในการรักษาตัว ฯลฯ อย่าได้บังอาจขึ้นไปทับที่
(ขอพระของท่าน)
☺ พวกเธอหนา! ความจริงก็ได้อัญมณีมีค่า คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นไม่ต้องขอจากฉันหรอก รูปฉันก็เป็นฉัน
มีรูปท่านองค์เดียว คุ้มทั้งจักรวาล ฉันคุ้มได้แค่ไหน พระพุทธเจ้านั้นอยู่ไหนก็นึกถึงท่านตลอดเวลาเท่านั้นก็พอแล้ว คนที่มาขอก็เพื่อทรัพย์ เพื่อความเด่น
เพื่ออิทธิฤทธิ์
☻ (ถาม เรื่องการทำน้ำมนต์ การทำพระ)
☺ สิ่งเหล่านี้ใช้พลังจิต อธิบายไม่ได้ พิสูจน์ได้ พลังจิตมีอำนาจกว่าสิ่งใดในจักรวาล เรียกว่าอานุภาพความไวของพระมีอานุภาพมาก
นึกแผล็บเดียวก็ถึงแล้ว ทุกคนมีพลังจิต สัตว์ก็มีพลังจิต (ถ้าเขาหิว บางทีเราก็ดูออก) แต่พลังน้อยกว่าคนเพราะบุญวาสนา จะคิดว่าไม่มีอิทธิพลไม่ได้
☺ (ถาม เขาอ้าว่าท่านพูดว่าจะมีสงครามปรมาณู)
☺ แน่รึ ? ปรมาณูนั้น ในความหมายอาจจะเป็นการเปรียบเทียบ แล้วแต่จะตีความหมาย
เอาละๆ ขอให้ทุกคนยึดสิ่งเดียวเท่านั้น คือมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในจิตในใจ ในปัญญาของเธอทั้งหลาย
เมื่ออยู่แล้วเธอนั่นแหละ จะประสบผลด้วยอานุภาพของพระองค์ท่าน
◄ll กลับสู่สารบัญ
65
คำเทศน์ของ หลวงปู่สุก (วัดมะขามเฒ่า)
11 สิงหาคม 2517
☻ (ถาม เดาว่าตะกี้นี้ องค์พระศรีอาริยเมตไตรย)
☺ รู้แล้วนี่
(ปรารภกันว่าท่านเป็นใคร)
☺ สุกโว้ย
29 ธันวาคม 2520
คนที่ 1 (ขอพรปีใหม่)
☺ ปีใหม่ ปีเก่าก็เหมือนกัน พระอาทิตย์ขึ้นลง เหมือนเดิม คนล่ะ เหมือนไหม ? เหมือน-ไม่เหมือน ก็อยู่ที่เราเองนะที่จะทำให้เหมือนหรือไม่
เขามีกำหนดปีขึ้นก็ให้รู้ตัวว่าเราแก่ลงๆ คงไม่ใช่เลวลงๆ นะ เอาเป็นดีขึ้นๆ ดีกว่า ดีทุกสิ่งทุกอย่าง
คนที่ 2 (ถามเรื่องอุปสรรค)
☺ คนก็ต้องคู่กับอุปสรรคอยู่แล้ว
☻ (ถาม ถ้าอุปสรรคมาก ขอหลวงปู่ช่วย)
☺ คนมีบุญ ย่อมใช้บุญไม่หมด อยู่ที่ว่าใช้เป็นหรือเปล่า
คนที่ 3 (ถามว่าทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่า)
☺ ไม่ผิดคงไม่เป็นคนนะ เราทำเรารู้ เราไม่ได้ทำ เราก็รู้
คนที่ 4 (ไสยศาสตร์ ใช้ในความหมายอะไร ?)
☺ ของต่ำ
☻ (ถาม คือ ไม่ใช่คุณพระหรือ ?)
☺ ใช่ ไสย แปลว่าอะไร ? แปลว่าต่ำ ไสยาสน์ นอนต่ำ
คนที่ 5 (ขอเป่าหัว)
☺ เป่าหัวนี่นะ ทำไม่ถึงชอบให้มาเป่ากันเสียจริง ดีก็อยู่กับตัว
กับทุกคน
☺ สาระของศาสนาอยู่ที่ไหน อยู่ที่ให้คนรู้จักกับความจริงของคน และสภาพของโลก
คนนับถือศาสนาเพราะอะไร ? คนนับถือศาสนา เพราะว่าคนต้องการที่พึ่งทางใจ เหตุที่ต้องการที่พึ่งทางใจเพราะหลักการของศาสนาเป็นแนว เป็นวิชา เป็นคำสอน
เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆ ให้ใจสบาย ใช่ไหม ? เพราะใจคนหาที่ยึดมั่นเป็นหลักได้ไม่แน่นอน
ฉะนั้น ศาสนานั้นๆ ขึ้นอยู่กับคำสอนของศาสดาแต่ละศาสนาว่า แนวทางการประพฤติปฏิบัติจะเป็นอย่างไร ทุกคนก็ต้องค้นคว้า หาเหตุและผล
เพราะของทุกอย่างย่อมมีเหตุและผลในตัวของมันเอง อาหารมีหลายชนิด มีหลายรส เลือกกันเอาเองตามปากอยาก ...........ลา
22 กันยายน 2522
☺ สิ่งใดได้มาง่าย คุณค่าน้อย สิ่งใดได้มายากคุณค่ามาก สิ่งใดได้ง่ายก็สูญง่าย สิ่งใดได้ยากก็เฝ้าทะนุถนอม นี่คือสันดานของคน จริงไหม
พวกเอ็งปฏิบัติธรรมกัน ควรจะหนักแน่นในการฝึก สิ่งใหญ่คือใจ-กำลังใจ
กำลังใจต้องเป็นเอก ไม่ย่อย่นท้อแท้ ไม่กลัวลำบาก ไม่กลัวภัยที่มีอยู่เป็นปกติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพราก ชอบ ไม่ชอบ
เป็นสิ่งปกติดังพระจันทร์ในกลางคืน และพระอาทิตย์ในกลางวัน พวกเอ็งจะต้องดำรงใจที่จะพร้อม ที่จะเจอ จะพบ เหมือนฝนตกก็ต้องเตรียมเปียกฉันนั้น
ส่วนใหญ่ที่มุ่งปฏิบัตินั้น ยังติดด้วยความกลัว
6 มกราคม 2525
คนที่ 1 (งานเหนื่อย หน้าที่เลยบกพร่อง)
☺ ก็ทำเท่าที่ทำได้ซิ อะไรที่ต้องทำก็ต้องทำ บ่นไปก็เท่านั้น คนเราเกิดมาก็น่าจะทำให้ดีที่สุด
คนที่ 2 (มีอุปสรรค)
☺ ที่จริงใครตัดขัดอะไร วิธีง่ายๆ ก็ควรทำบุญที่เป็นสาธารณะ เช่น ทางอะไรนิดๆ หน่อยก็ได้นะ
คนที่ 3 (ถามถึงอาการป่วยของแม่)
☺ เอางี่นะ บวชพระ สร้างพระเท่าตัว ข้าว่าบุญอย่างเดียวก็ประทังเจ็บปวด แต่ต้องใช้ยาและการรักษาตัวช่วย ไม่มีอะไรในโลกที่จะเนรมิตได้
ม่ายงั้นพุทธพจน์ที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คงจะผิด
☺ การทำบุญให้ครบต้องมี
- ทาน การให้
- จาคะ เสียสละ คือไม่มีความเสียดายในการให้ หมดอาลัยในการบริจาคนั้น
- สัจจะ วาจากล่าวคำสัตย์ พร้อมทั้งต้อง
- อธิษฐาน
☺ ถึงจะครบการทำบุญแต่ละครั้ง
☺ พวกที่ทำบุญโดยความเกรงใจหรือถูกขู่ คะยั้นคะยอ อ้อนวอนนั้นจะได้ไม่เต็มที่
◄ll กลับสู่สารบัญ
66
คำเทศน์ของ หลวงปู่สุ่น (วัดบางปลาหมอ)
25 มกราคม 2521
☺ พวกเธอทั้งหมดน่ะ ได้ใกล้ชิดต่อองค์พระบรมครู เป็นมงคลอันประเสริฐ อย่าให้มงคลนี้จืดจางนะ
☺ พระท่านอยู่กับเรา อย่าไปคิดว่าพระพุทธเจ้าเฝ้ายากพบยาก ไม่ใช่คนที่ยังเต็มไปด้วยลาภสักการะนี่นา ที่จะเฝ้าท่านยาก
9 เมษายน 2523
☺ ตอนนี้อยากให้พิจารณาในอริยสัจ 4
กิเลสย่อยๆ ก็มี โลภะ โทสะ โมหะ ในเหตุปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบแล้วแต่กรณี อย่าจับหลักใหญ่มาพิจารณา
เพราะตอนนี้พวกเธอรู้หลักในการพิจารณาแล้ว จึงอยากให้จับรายละเอียดของจิตขึ้นมา เพราะจิตเริ่มจะละเอียดขึ้น
เอาย่อๆ นะ พิจารณาในเรื่องของอริยสัจ 4 เมื่อมีเหตุมากระทบ เมื่อจิตคลายตัวจากอารมณ์เครียดแล้ว จงหันมาใช้อารมณ์พรหมวิหาร เข้าพิจารณา
เมื่อใจมีอภัยในอุเบกขาแล้ว ทำจิตให้สบายก็พอ ทำบ่อยๆ นะ อย่าไปคิดอะไรวนมาก ค่อยๆ ทำไปเถอะ เพราะการสู้ที่ยากที่สุดคือสู้กับตัวเอง
(ถาม เกรงจะไปไม่ถึงพระนิพพาน)
☺ อย่าไปพะวงว่าจะถึงหรือไม่ถึง ถ้าพะวงก็ไปไม่ถึงแน่ๆ ถ้าจิตคิดว่าอย่างไรๆ ฉันต้องไปถึงพระนิพพานแน่ๆ นั่นแหละจะถึง เพราะอะไรรู้ไหม ?
เพราะคนที่คิดเช่นนี้ เขามีกำลังใจเต็ม ที่เรียกว่าบารมียังไง
การพิจารณาของพวกเรายังวนเวียนในเรื่องหลักใหญ่ หลักใหญ่ๆ ที่เป็นหัวข้อธรรมนั้นรู้กันแล้วรู้หมด
แต่อยากจะให้คิดลงไปในชั้นละเอียดในเรื่องของจิตใจเรา เราจะต้องละเอียดขึ้นกว่าเดิม ใจ เปรียบเสมือนน้ำขุ่นในแก้ว
เมื่อเธอรู้หลักธรรมฝึกกันไปได้ ก็เหมือนกรองเอาขี้ฝุ่นผงธุลีออกไป ถ้าคิดละเอียดลงไปก็จะยิ่งกรองน้ำนั้นให้ใสขึ้นไปอีก จึงอยากให้ฝึกให้ละเอียด เช่น
ควรรู้เรื่องของศรัทธา เรื่องของบุญที่จะทำ ดูระดับขั้นของใจ
☺ การทำบุญนั้น ไม่จำเป็นต้องทำด้วยปริมาณก็ได้ จงทำด้วยกำลังใจ
◄ll กลับสู่สารบัญ
67
คำเทศน์ของ หลวงปู่ใย
(หลวงปู่ใย คือ พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระอรหันต์ ยุคอยุธยา สมัยพระเพทราชา และเข้าใจว่าเป็นองค์ที่ทำนายกรุงรัตนโกสินทร์ไว้ 10
รัชกาล ท่านมาโปรดบ่อยๆ บางทีก็ไม่บอกชื่อ ได้ความว่าท่านเป็นน้องของหลวงตาแสง
คำทำนาย 10 รัชกาลของท่าน ทำให้คาดเดากันว่าจะมีเพียง 10 รัชกาล แต่ท่านผู้รู้ท่านบอกว่าไม่ใช่เช่นนั้น คำทำนายจะทำนายเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติ
เมื่อบ้านเมืองเป็นปกติ รุ่งเรืองเจริญดีทรงตัวแล้ว ก็ไม่ต้องทำนายต่อไปอีก เพราะเหมือนกันทุกรัชกาล)
2 พฤษภาคม 2517
☺ ว่าไง เจริญสุขทุกคน
☺ การที่องค์ท่าน ได้ทรงพระกรุณาเสด็จมาทรงพยากรณ์ บอกจริตทุกคนนั้นดีแล้ว เพราะจะมีน้อยคนนักที่ได้รู้เช่นนี้ ทำไปเถิด ผลมีทั้งนั้น
27 กุมภาพันธ์ 2521
คนที่ 1
☺ ถ้าเรามีสติมั่นคงมากเท่าใด เราจะรู้จะเห็นตัวตนเรา เพราะเราจะได้หาสุขให้แก่ใจได้สำเร็จ
พยายามใช้สมาธิเป็นผู้ดับร้อน ดับกระวนกระวายให้หายไป จงคิดเสียว่าตัวของเราเอง เรายังบังคับไม่ให้เจ็บไม่ให้ปวดไม่ให้ตายไม่ได้
แล้วจะเอาอะไรกับคนอื่นๆ คิดได้เท่านี้แล้วจะหมดกังวล จะหมดความรับผิดชอบในภาระที่เราคิดเอาเองว่าเป็นภาระกันนั้นหมดไป แล้วใจจะสบาย
นี่คือความสุขที่คนทำได้ แต่ไม่ค่อยจะทำ
คนที่ 2
☺ ทำใจให้สบาย แล้วสติปัญญาจะหาทางแก้ไขได้เอง
พิจารณาให้มากๆ นะ แล้วเราจะไม่ร้อนใจ ฉะนั้น ให้แก้และรักษาที่ใจของตนเอง ตัดกังวล ให้เหลือแต่ เห็น รู้ และ ทำ
คนที่ 3 (ปรารภถึงเวลากลางคืนทำสมาธิไม่ไหว)
☺ ร่างกายก็มีอยู่เท่านี้ อย่าไปบังคับอะไรมาก ทำในเวลาที่ร่างกายอำนวย จิตใจจะได้ผ่องใสปลอดโปร่ง
เราฝึกใจให้เป็นสมาธิ ไม่ได้ฝึกนั่งขัดสมาธิ
คนที่ 4
☻ (ถาม ที่หลวงปู่ทำนายไว้ว่ารัชกาลที่ 10 ชาววิไลนั้นจวนจะถึงหรือยัง)
☺ ถึงแน่ ใครว่ารัชกาลที่ 10 จะไม่มี ฉันค้านนะ แล้วก็เจริญด้วย
◄ll กลับสู่สารบัญ
68
คำเทศน์ของ หลวงปู่นาค
☺ ประการหนึ่งยึดไว้ให้มั่นคือ โลกธรรม 8 อย่าได้เก็บไว้กับตัว เมื่อมียศ สรรเสริญก็อยากทำ เมื่อมีนินทาก็ไม่อยากทำ เมื่อมีสุขก็อยากทำ
เมื่อมีทุกข์ก็ไม่อยากทำ ทำไมต้องชอบไม่ชอบ ? เมื่อรู้ก็ย่อมรู้ว่ามีดีก็มีเสีย ทำอย่างไรจึงจะดับได้
☻ ดับยังไง ?
☺ เทียน จะติดไฟเมื่อมีเชื้อจุด ไฟจะจับเมื่อมีสิ่งที่ดับเชื้อเทียน ก็เหมือนตัวเราใจเรา ถูกไหม
ไฟ หลอมใจให้อ่อน ไฟคืออะไร ?
ไฟคือตัวเลว เลวคืออะไร
ไฟไม่ใช่ทุกข์ เพราะสุขใครๆ ก็ชอบ ยศใครๆ ก็ชอบ สรรเสริญใครๆ ก็ชอบ มีชอบก็มีไม่ชอบ
เลว เท่ากับตัวกิเลส ตัณหา อุปาทาน
หวัง คืออุบายที่ทำให้คนดี แต่หวังไม่ใช่ความดี เป็นเพียงเครื่องล่อ
ฉะนั้น เลว คือไฟหลอมจิต คือเทียน ให้เหลวและอ่อนไปจนไหม้หมด
สิ่งดับเชื้อ เท่ากับ ลม น้ำ ปถวี
ลม ทำให้ไฟติดก็ได้ ดับก็ได้ อย่ายึดลม ลม คือความไม่แน่นอนของคน อารมณ์นั้นหวั่นไหวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวตัดใจได้ เดี๋ยวเปลี่ยนใจ
ปถวี ดับได้เพราะน้ำหนัก คือสติ หมายถึงว่าคนเราจะมีสติอยู่ได้ ดำรงได้แน่นอนนั้น ต้องหนักในการบำเพ็ญเพียร เพียรต้องหนัก
น้ำ ปัญญาในธรรม
☺ บางวัน ลมก็มี บางวันลมก็ไม่มี ธรรมชาตินะ
ความร้อน ร้อนใจ ร้อนกาย ร้อนปัจจัย ร้อนที่อยู่ ร้อนทุกอย่าง
น้ำดับไฟได้เพราะปัญญาในธรรม ใครมีธรรมประจำใจได้ก็พร้อมที่จะดับเชื้อปะทุได้ทุกเวลา
ดิน หล่อเลี้ยงเทียนได้ไม่ดีเท่าน้ำ รวมแล้วไฟ ตัวหลอมเทียน ดิน น้ำ ลม ตัวดับเทียนให้ทรงตัวแข็งอยู่ได้ ความแข็งของเทียน
คือความไม่หวั่นไหวในเลว
สอนเฉพาะบุคคล
☺ การฟังคนอื่นสอนนั้น คำที่เขาสอนไปไม่ใช่ถือว่าคนนั้นบังคับ คนนั้นอวดดีหรืออวดรู้ แต่เราฟังเขาในเหตุผล โดยตัดขาดจากอารมณ์ตัวเอง
อย่าเก็บไว้กับตัว วิธีสอนตนเองที่ดี ควรสอนคนใกล้ชิดควบคู่ไปด้วย เพราะเราย่อมรู้ดีอยู่ว่าเราทำหรือยัง ความรับผิดชอบ ความละอายต่อตัว
จะเป็นผู้บังคับตัวให้ทำ
ความวุ่นวายทั้งหลายย่อมมีได้ทุกแห่ง ทุกโอกาส ฉะนั้นถือเสียว่าเป็นธรรมดา
เราก็อย่าใช้อารมณ์ของเราให้เป็นตัวซ้ำเติมความวุ่นวายนั้นให้สู่ภาวะที่อับจนลงไป
ความเฉย เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราบรรเทาความทุกข์ใจลงไป เพราะถ้าเราอยู่ในภาวะคนใบ้ พูดไม่ได้ เถียงไม่ได้ โกรธไม่ได้
☺ เทียนใหญ่มี 5 เล่มใช่ไหม ? เทียนใหญ่เปรียบเหมือนเธอขณะนี้ ผู้ทำ ที่หันไปในความดีและกำลังทำอยู่ เทียนทั้ง 5 เปรียบเหมือนกรรม
ฉะนั้นแปลความหมายตามที่เห็น คือกรรมใหญ่ 5 ชนิดนั้นพ้นแล้ว ก็ 4 ชนิดในขณะนี้ แต่อีกชนิดหนึ่งยังคงตาม คือเล่มที่เป็นแท่งอยู่แต่ดับไป
(เทียนเหลือเล่มหนึ่งที่ไหม้ไม่หมด พร้อมที่จะปะทุขึ้นใหม่)
อุปมาเอา
เปลวเพลิงที่ยังลุกไม่หมดเชื้อนี้ คือขณะนี้ ที่ยังถามหาเธออยู่ ความดีที่ทำ คือเวลาที่ไฟจะหมดเชื้อ แต่ถ้าเธอยังทำให้เลว
ก็เหมือนกับหาเทียนเล่มใหม่มาต่อเชื้อเก่า
กรรมใหญ่ใน 5 ข้อ ข้อที่ยังอยู่และลุกอยู่ คือปาณาติบาต ฆ่าสัตว์นั้นมีผลสนองหลายอย่าง เช่น เจ็บตัว ทรมานตัว ทรมานใจ ตัดอนาคต เจ็บปวด
พลัดพรากจากของรัก ใช่ไหม ? เพราะถ้าเราฆ่าคน คนที่เราฆ่าจะพบความเจ็บปวด ทรมานกายใจ อนาคตเขาก็หมด เขาก็ไม่พบพ่อ แม่ ลูก เมีย ใช่ไหม ?
◄ll กลับสู่สารบัญ
69
คำเทศน์ของ หลวงปู่ภู
14 มีนาคม 2517
สอนเด็กหญิง
☺ ปู่ดูแลมาตั้งแต่เล็ก ปู่รู้
ให้คิดว่าสิ่งทุกอย่างไม่ใช่ของเรา ร่างกายเรานับวันก็แก่ลงไปทุกขณะจิต สิ่งที่เราเห็นว่าสวยว่างามนี้ เวลาเราตายมันก็เน่าเหม็น
เหลือแต่กระดูกจนไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น จะเอาอะไรแท้แน่นอนไม่ได้
จิตคนก็เช่นเดียวกัน เปลี่ยน ผัน แปร ไปเรื่อยๆ
เอาละ ถ้าหลานรักปู่ก็ขอให้นำไปพิจารณาดูให้ดีว่าที่ปู่พูด จริงแท้แค่ไหน หลานจะทำอะไรปู่ก็อยู่ด้วย
2 พฤษภาคม 2517
ให้คาถาป้องกันอันตราย 10 ทัศ
ทา กิ เน ปะ วิ ชะ สะ อะ เม อุ
◄ll กลับสู่สารบัญ
70
คำเทศน์ของ หลวงปู่บุญทึม
ประทับทรง
☺ ขอให้รวยทั้งทางโลกและทางธรรม
☻ (ค้าน ไม่รวยทางโลกสักที)
☺ คนรวยไม่ได้ใช้เงินจึงดูมีเงินมาก ส่วนคนทำบุญมีเงินก็ทำบุญหมด จึงดูว่าไม่มีเงิน
☻ (ถาม จะตั้งต้นยังไงดี สมาธิไม่ได้ทำเพราะงานมาก)
☺ สมาธิ คือตัวสติ ปัญญาเกิดได้เพราะตัวสมาธิ การหลับตาภาวนา ความจริงเป็นอุบายให้ใจอยู่ในกรง ไม่ให้ดิ้น ไม่ให้วุ่นวาย
เวลาทำงานก็ทำไปพิจารณาไปซิ เช่นว่าคนนั้นเขาดี เขาดีเพราะอะไร คนนั้นทำไมเขาเจ้ายศเจ้าอย่าง การทำงานเป็นการทดสอบอารมณ์ ทดสอบใจเรานะ โลภะมีไหม โทสะมีไหม
โมหะมีไหม
☻ (ถาม พิจารณาเจอที่ไม่ดี ก็ไม่ชอบ)
☺ ไม่ชอบ เขามีไว้สำหรับอย่างเดียวคือ ไม่ชอบเลว ชอบ ก็ชอบอย่างเดียวคิดชอบดี พิจารณาได้ 2 แง่ 2 มุม
ชอบดีคือชอบให้เขาชมว่าดี อีกทางหนึ่งก็ใฝ่ดี คืออยากวิ่งเข้าหาความดี ไม่ชอบเลว ก็ให้พิจารณาว่าคนนั้นเขาทำผิดศีล ผิดธรรม ไม่ดี
☻ (ถาม หลวงพ่อท่านไม่ตำหนิใคร ถ้าเราทำอย่างนั้นบ้างจะเกิดผลหรือว่าจะตักเตือนตรงๆ ดี ?)
☻ ของบางสิ่งบางอย่างก็ต้องสอน ที่พิจารณาวิปัสสนาก็คือดูกระจงมองตัวเอง บางคนชอบให้คนอื่นยืนถือกระจก
บางทีเราก็ต้องถือกระจกให้เขาบ้าง คนเราสติสัมปชัญญะยังขาดอีกมากนะ
☻ (ถาม ทำสมาธิ สติสัมปชัญญะก็ไม่เกิด)
☺ ทำงานก็มีสมาธิ เช่น เราทำงานให้พระ คนก็อาจพูดว่าเป็นการประจบสอพลอ ถ้าไม่มีสมาธิก็จะไปโกรธเขา
มีสมาธิก็ต้องรู้ว่าการทำงานนั้นก็ต้องมีดี มีไม่ดี ถ้ารู้ว่าทำถูกเราก็ไม่เดือดร้อน
☻ (ถาม ไม่เหมือนทำพุทโธ)
☺ นั่นเป็นอีกอย่างหนึ่ง มีเวลาก็ทำสมาธิภาวนาไป ไม่มีเวลาก็ทำอย่างที่ว่า ใจคนซนกว่าลิงทั้งซน ทั้งดุ ไปข่วนไปกัดเขา โทสะ โมหะ
คือตัวที่ไปว่าเขาว่าไม่ดี เรื่องของเราไม่คิด ไปคิดเรื่องของชาวบ้านเขา
☻ (ถาม อยากทำความเพียรมากขึ้น แต่ต้องจัดระเบียบก่อน)
☺ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีแบบแผน มีแล้วก็ทำอะไรคล่องตัวขึ้น
มีอะไรกันไหมล่ะ พวกเธอเป็นพวกที่มีบุญบารมีแก่กล้า ที่จะทำอะไรๆ ให้สัมฤทธิ์ผลแล้ว จงอย่าละความเพียรและความพยายามเสีย
ทุกอย่างไม่พ้นความสามารถของพวกเธอหรอก คิดดู คนที่เขาสำเร็จทั้งทางโลกทางธรรมก็มีมือ 2 มือ เท้า 2 เท้า ตา 2 ตา หู 2 หู ฯลฯ อย่างเธอ บุญบารมีเขาก็มีเท่าๆ
กับเธอ ทำไมเขาทำได้
อย่างท่านเทศน์ว่า อะไรคือปัจจัย ปัจจัยที่ยังติดยังข้องคืออะไร เราต้องพิจารณาท่านว่าคนเรามักไม่มีพิจารณาดูตัวเอง ดูแต่ของไกลๆ ตัวทั้งนั้น
คนเราจะไปได้ก็ต้องดูตัวของตัวเอง อย่าดูไกลออกไปรอบตัว เมื่อตัวทำได้แล้วจึงค่อยดูคนอื่น
พิจารณาไปแล้วจะรู้เห็นในทุกข์ เมื่อรู้แล้วให้หลาบให้จำว่า ไฉนเขาเรียกว่าทุกข์ อย่างไรเรียกว่าทุกข์ ก็อยู่ในใจนี่แหละ นิพพานก็ใจ อเวจีก็ใจ
ร่างก็อยู่กับโลก หัวใจก็เป็นอวัยวะอยู่กับโลก แต่ดวงใจที่อยู่ข้างในนั้นเป็นดวงวิญญาณ ที่อยู่ทุกหนแห่ง
((( โปรดติดตามต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
puy - 21/12/10 at 09:37
71
(Update 21-12-53)
คำเทศน์ของ หลวงพ่อเขียน
16 มีนาคม 2518
ประทับทรง
☺ รักษาโรคหายเขาว่าเก่งน่อ ระวังโลกธรรม 8 มันจะกิน กินแล้วก็ไปละ นี่เริ่มต้นเท่านั้น ต่อไปจะมีอีกมาก ควรเลือกรักษาที่อาการมากจริงๆ
อย่ารักษาโรคเบาโรคใจเสาะ
คนบางคนทำนายได้ เห็นเทวดาได้ อย่านึกว่าตัวเก่ง เก่งกว่าอาจารย์ พระอรหันต์ยังคิดถึงพระพุทธเจ้าเสมอ
☺ คนที่เป็น (มีวิชาต่างๆ) ทางนี้ไม่เท่าไร ถ้าตัดกิเลสไม่ได้ พอมีคนยอ คนให้ลาภก็ยิ้ม อย่างนี้วันหนึ่งก็เสื่อมลาภ เสื่อมยศ
เพราะฉะนั้น ทำอะไรก็ให้มีเหตุผลอย่ามีอุปาทาน มันทำให้สร้างภาพพจน์ อย่าทำนายกันเรื่อยไป ทำตามแต่เฉพาะสังหรณ์
◄ll กลับสู่สารบัญ
72
คำเทศน์ของ หลวงพ่อสวัสดิ์ กับ หลวงพ่อน้อม
ท่านสององค์นี้เป็นรุ่นเดียวกับหลวงพ่อของเรา
16 สิงหาคม 2517
☻ (ถาม ขัดคอคนเรื่อย จะมีบาปหรือไม่ ?)
☺ ขัดให้ดี ถ้าขัดไม่ให้ดีก็บาป
☻ (ถาม เรียกหลวงพ่อหรือหลวงปู่ดี ?)
☺ ปู่ก็ได้ พ่อก็ได้ ชวดก็ได้ พี่ก็ได้
☻ (ถาม ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ?)
☺ อยากไปหารึ ? หาก็ไม่เจอ
☻ (ถาม ท่านอยู่ป่าไหน ?)
☺ ทำไม จะไปอยู่กับปู่รึ ? พม่า
☻ (ถาม หลวงปู่เป็นเพื่อนกับหลวงพ่อ ?)
☺ ถามก็ไม่ตอบ ห้องนี้ก็เคยมา ว่างๆ จะมา
26 สิงหาคม 2517
☻ (ถาม เพื่อนหลวงพ่อจะมาเดินกระดานได้ ?)
☺ ก็มาแล้วไง
☻ (ถาม ท่านเป็นท่าน ลิงเล็ก หรือ ลิงขาว ?)
☺ ไม่ชอบกินกล้วย
☻ (ถาม เขาว่าๆ เป็นหลวงพ่อขาว)
☺ ขาว
☻ (ถาม อยู่ป่าสบายหรือ ?)
☺ สบายที่สุด
☻ (ถาม ถ้าเราจะไปธุดงค์ จะให้เราพบ ?)
☺ พบ
☻ (ถาม เดี๋ยวนี้หลวงพ่ออยู่ไหน ?)
☺ พม่า
☻ (ถาม อย่างนี้หลวงพ่อจะเข้าทรงก็ได้ ?)
☺ สบาย
☻ (ถาม ถอดจิตได้อย่างนี้ คงทำเรื่อย ?)
☺ เอ็งหาว่าข้าว่างงาน ? ไม่ตกงานหรอก สอนชาวบ้านไม่คิดเงินด้วย เงินเดือนก็ไม่ได้
☻ (ถาม ท่านสอนพม่า ?)
☺ ฝรั่งยังไหว
☻ (ถาม ท่านเคยโปรดฝรั่ง ?)
☺ เคย
☻ (ถาม อยู่พม่าแถวเขตแดนหรืออยู่ลึก ?)
☺ เขตแดน
5 มกราคม 2520
☺ สาธุ เอาพรรึ
จวนตาย นะ จะได้สบายกันที ของเราเสียหายที่ไหน นั่นแหละธรรม
☻ (ถาม ล้างจิตใจด้วยอะไร ?)
☺ ล้างด้วยศีล ขัดด้วยสมาธิ ถูด้วยปัญญา จบ
สมาธิ ไม่จำเป็นต้องหาความสงบจากหูกระทบ หรือตามองเห็น แต่สมาธิหาได้ง่ายมาก คือสงบจิตตนเอง
☻ (ถาม สงบจิตตนเองได้อย่างไร ?)
☺ เฉย ใช้ความเบื่อ ท้องเมื่อมันอิ่มเขาเอาของชอบมาให้กิน อยากกินไหม สมาธิเต็ม
คือสมาธิที่ไม่ข้องแวะกับเรื่องภายนอกอย่างทรงตัว
☻ (ถาม ถึง ท่านปราบมาร ?)
☺ พระนามท่านนะ องค์ปฐมยัง ภควา เลย ถ้าจะกล่าวถึงท่านนะ ท่านสูงมาก ไม่ใช่คนตัวสูงนะ ท่านสูงด้วยพระบารมี
ท่านองค์ปราบมารเป็นเบื้องหลังพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีท่านน่ะรำพันกันไม่ถ้วน พูดกัน พระพุทธครูลงมาตรัสเป็นพันองค์ก็ไม่รู้จักหมด
☻ (ถาม ฌานไม่คล่อง)
☺ การทรงฌานนั้น เพื่อเป็นสมาธิให้รู้แจ้งในธรรมะ เพื่อละกิเลส แต่ในเมื่อเราปลง ตัด สละ
ซึ่งเป็นสิ่งของอันเป็นกองกิเลสได้แล้ว ก็อาจไม่ต้องอาศัยฌาน
☻ (ถาม บางคนอาจพบนิพพานชั่วขณะในระหว่างการปฏิบัติหรือไม่ ?)
☺ มี ชัดอึดหายใจ เหมือนกับเราเคยเดินผ่านคนหนึ่งโดยเราไม่รู้จัก ผ่านโดยไม่สนใจว่าคนนั้นมีความสำคัญอย่างไร เช่น
บางทีเธอเดินผ่านกับฉันแล้วเธอไม่รู้ว่าเป็นฉัน ทั้งๆ ที่อยากพบ
☻ (ถาม วิธีพิจารณาจิตแยกจากกาย ทำอย่างไร ?)
☺ ใจอย่าไปข้องแวะกับหน้าที่ของกาย เจ็บ รู้ว่าเจ็บ อย่าไปใส่มายาที่ใจจะเจ็บมาก จะแสดงท่าทาง อาการ เหตุต่างๆ
☻ (ถาม แยกกายกับจิต คือสำรวม มีสติอยู่ ?)
☺ ใช่ จิตเหนือกาย มีสมาธิบริหาร มีจิตคุมกาย
ท่านพวงทิพย์ ท่านพรทิพย์ ท่านพรสวรรค์ ท่านเกศแก้วมณี ท่านสิริมา ท่านบุญมี ท่านบุญมา เป็นลูกหลานว่านเครือหลวงพ่อของคณะเรา
ซึ่งเราเข้าใจว่าท่านจบกิจพระศาสนาแล้ว ท่านเหล่านี้โดยเฉพาะท่านพรสวรรค์ได้มาอบรมเด็กหนุ่มเด็กสาวด้วยความเมตตาเป็นพิเศษ
◄ll กลับสู่สารบัญ
73
คำเทศน์ของ หลวงพ่อกบ
8 ธันวาคม 2517
☻ (ถาม องค์ที่สอนธรรมวันก่อนนี่ใคร จะได้ขอขมา)
☺ ท่านโกณฑัญญะ
ฉันรู้ว่าเดี๋ยวพวกเธอจะถาม คนอื่นว่าฉันเป็นใคร กบ รู้แล้วก็.....ลา
◄ll กลับสู่สารบัญ
74
คำเทศน์ของ ท่านสวัสดิ์
27 เมษายน 2520
☻ (ถาม เรื่องวิมุติยังค้างอยู่ ยังไม่ได้เทศน์)
☺ สมมุติมีอะไร มีกี่อย่าง ? มี 3 อย่าง รูปสมมุติ นามสมมุติ กรรมสมมุติ รู้ใช่ไหม ?
รูปสมมุตินั้น เรากำหนดว่าเราคือผู้เป็นใหญ่โต เป็นผู้วิเศษ
นามสมมุติ สมมุติว่าเรามีชื่อเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์
กรรมสมมุติ สมมุติว่าพิธีเช่นนี้ต้องทำอย่างนี้ พูดกับฉันต้องพูดอย่างนี้ โค้งอย่างนี้ กราบอย่างนี้ จบ
☻ (ถาม ก็เป็นวัฒนธรรม)
☺ เป็นได้แค่วัฒนธรรม แต่เรามันเหลิง
เจอฉันไม่ไหว้ ฉันโกรธ ค้อน ก็ช่างเขาซิ ตัวของเรา เขาไม่ไหว้เราๆ ก็ไม่เห็นเป็นไร เขาซิชาวโลกตำหนิ อย่ายึด อย่าติด
เจอกัน เขาไม่ลง ครับกระผม ก็อย่าโกรธ อย่าว่า มันเรื่องของเขา
เจอหน้า เขาว่าไม่สวยไม่งาม อัปลักษณ์ อย่าโกรธ อย่าถือโกรธ โกรธแล้วเราก็ไม่ใช่หน้างามขึ้น กลับยิ่งน่าเกลียด อย่าไปยึด อย่าไปถือ เพราะสิ่งต่างๆ
เขาสมมุติขึ้นทั้งนั้น
☻ (ถาม สมมุติ พอตัดได้ก็เป็นวิมุติ ?)
☺ ตรงข้าม ง่ายดี นี่แหละวิมุติที่เทศน์สั้น
☻ (ถาม แปลว่าตัดทางโลก ?)
☺ ไม่ใช่ตัด (แต่) ไม่ให้เกาะ ไม่ให้ยึดเป็นของเรา หรือพูดง่ายๆ ว่าหลง
☻ (ถาม หลง กับ อุปาทาน คนละอย่างหรือ ?)
☺ ใช่ เก่งนี่ 2 อย่างหากินได้แล้ว ฉันเทศน์ไม่กี่คำนี่ นี่แหละ ไม่ใช่คุยนะ นิพพานได้แค่นี้
☻ (ถาม บางคราวมี ชอบ-ไม่ชอบ แปลว่าอาจจะยังมีโลภะหรือ ?)
☺ หลงหรือเปล่า ชอบไม่เป็นไร ชอบดี ชอบสวยงาม ไม่ชอบไม่ดี ไม่ชอบไม่สวยงาม
☻ (ถาม ต้องทำจิตที่ชอบ ไม่ชอบ ให้เป็นอุเบกขาหรือ ?)
☺ ไม่ได้ ชอบ นั้นพระอริยะ ไม่ว่าพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้ายังมีชอบหรือไม่ชอบ แต่ท่านไม่หลง ท่านชอบให้คนทำดี ทำดีท่านชอบ
แต่ถ้าคนทำชั่วท่านไม่ชอบ (จาก) ไม่หลง ต่อมาก็ไม่หวง-ห่วง
☺ หน้าที่ก็ยังเป็นหน้าที่ พระอรหันต์ท่านมีหน้าที่สอนคนโปรดคนเพื่อให้เข้าถึงธรรม
คนใดมีนิสัยที่ได้ธรรมแต่น้อยก็ดีหรือแค่สัมผัสธรรมก็ดี ท่านก็สนใจเท่าถึงกันหมดเพราะเป็นหน้าที่ ถ้าท่านคิดอย่างเธอ ท่านก็ต้องทิ้งหมดใช่ไหม ?
หน้าที่มีอย่างไรก็ทำไป ทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ แต่อย่าหลงกลเอาใจเข้าไปผูกพันจนแน่นแฟ้น
☺ (ปรารภ บางทีเขาไม่ไหว้ ก็ตัดใจได้)
ช่างเขา ดี ชั่ว ก็ตัวเขา เอาให้น้อยที่สุด ถ้าจะดับก็ให้ดับธาตุ 4 พร้อมๆ กัน
1. ต้องถือว่าใครจะทำอะไรให้เราช่างเขา เพราะเราจะบังคับเขาทั้งกายทั้งใจได้ไม่ตลอด นอกจากความพอใจ
2. ตัวใครตัวมัน ไม่ได้หมายความว่าให้คนเห็นแก่ตัว คือถ้าเขาจะทำอะไรให้เราอย่างดีเลิศ ก็ไม่ถือว่าเป็นแรงศรัทธาที่มีต่อเรา
แต่ถ้าเขาไม่ทำก็อย่าไปวอแว เช่น ชวนเขาทำบุญ เขาบอกว่าจะต้องทำโน่นทำนี่อีก เราเซ้าซี้ เขาก็ยังยักท่ายักทางอยู่ ก็อย่าได้เอาใจไปโกรธเขา
เพราะให้ถือว่าบุญใครบุญมัน
3. ให้ตัดเหลืออยู่แต่ เรา คือทำไปตามหน้าที่ อย่าหวั่นไหวเมื่อคนไม่ตรงเส้นวากัน เหลืออยู่แต่เรา แล้วง่าย
เราจะได้ไม่ไปจับผิดคนอื่น เราจะได้จับผิดแค่ตัวเราได้พิจารณา พิเคราะห์แต่ตัวเราเท่านั้นตรงกับคำว่า ช่างมัน เฉย ใช้กันได้
◄ll กลับสู่สารบัญ
75
คำเทศน์ของ ท่านสหัมบดีพรหม
(องค์นี้บางท่านก็ใช้ชื่อว่า สิงห์)
7 เมษายน 2517
☺ ฉันอยากให้พวกเธอรู้จักการฟังธรรมว่าเขาฟังกันเช่นไร ไม่ใช่สักแต่ว่าฟังเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ฟังแล้วคิดตาม ตรองตามว่าสิ่งที่ฟังมันจริงแท้แค่ไหน
แล้วเราจะปฏิบัติตามได้ไหม
เอาแค่ที่ฉันสอน พวกเธอก็ไม่ค่อยฟังตามคิดตาม แล้วจะมานั่งฟังทำไม ไม่ว่าเป็นลูกหรือเป็นใคร อย่าอวดดี
การทำอะไรก็ขอให้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีใครเขามาบังคับ ทำด้วยใจเคารพและยึดมั่น มาทำเป็นเล่นไม่ได้ ฉันไม่ชอบ เธอทำอะไรให้สัญญาคำมั่นกับใคร
เราก็ต้องมีสัจจะ ต้องทำด้วยใจรัก ความจริงย่อมเป็นจริง ไม่มีใครปิดบังได้ ด้วยความนึกรับผิดชอบของบุคคลเช่นเรา
การที่พวกเธอมานั่งกรรมฐานนี้ ย่อมทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน บังคับจิตให้นิ่งเฉย ไม่ใช่ว่าเรามานั่งกันเล่นโก้ๆ เราเข้ามาในธรรมก็ขอให้อยู่ในธรรม
ไม่ว่าด้วยการปฏิบัติก็ดีหรือใจและวาจาก็ดี ต้องให้อยู่ในขอบเขต ไม่ใช่ว่าอยู่แต่ชื่อ ตัวและใจไปไหนไม่รู้
เราทำน่ะ เขารู้ เราไม่ทำ เขาก็รู้ อย่างน้อยตัวเราก็มุสากับตัวเราไม่ได้
สันดานของคนทั่วไป พอมีทุกข์ก็ตะโกนให้เจ้าช่วย พอสบายก็ไม่ปฏิบัติในสิ่งอันควร เราทำอะไรก็ต้องเสมอต้นเสมอปลาย
ฉันไม่ต้องการอะไรอื่น นอกจากให้ทุกคน ทุกท่านเข้าหลักในพระพุทธศาสนาให้ถูกเรื่อง ถูกทาง
การที่ฉันมาคราวนี้ เพราะรำคาญคนที่ไม่เข้ารูป เข้ารอยในทางที่ดี ฉันมา ไม่ได้ว่าใคร แต่ขอสอนด้วยความเป็นห่วง อย่าเดือดร้อน
☺ ขอให้พรทุกคนให้ถึงซึ่งที่สมหวัง
24 เมษายน 2517
☻ ถามเรื่องถือศีลวันวิสาขะ
☺ ก็ไม่มีอะไรน่ากังวล ทุกคนก็ได้ฟังธรรมมามากต่อมาแล้ว ล้วนแต่ขั้นประถมขึ้นไปทั้งนั้น แต่ขอตำหนิว่าขั้นอนุบาล ไม่เอาเรื่อง
ยังมีปีติด้วยการกระทำ การยับยั้ง การพูดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ แต่อาจเป็นสาระกับคนอื่น สาระอันนี้ก็จะทำให้คนอื่นแคลนใจกันแล้วเรื่องก็ยืดยาวไปเรื่อยๆ
ตามวิสัยของคนชอบต่อเติมเสริมแต่ง
การพูดอะไรก็ดูให้มันแน่แท้เสียก่อน แล้วจึงกล่าวออกมา ไม่ใช่มีปากสักแต่ว่าพูดพอสนุกไปที การพูดเช่นนี้แหละ พูดได้ แต่ไม่ใช่พูดให้คนแตกกัน
ไม่เข้าใจกัน เราพูดก็ต้องแน่ใจ ดูว่าคนนี้เป็นอย่างไร รู้จักเขาดีแค่ไหน ถึงคอยพูด
ลูกไม่ต้องวิตกเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น พ่อเข้าใจทุกอย่างที่ลูกทำมา อันน้ำใจของลูกนั้นถ้าเปรียบเทียบกับคนสมัยนี้แล้ว มีหนึ่งในพันเท่านั้น
8 กันยายน 2517
ประทับทรง
☺ อยู่เย็นดีรึ ?
☻ (ตอบ ก็ตามอัตภาพ)
☺ ฮือ ทุกคนก็มีของวิเศษติดตัวอยู่แล้วนะ หมั่นทำดีไปเถอะ ข้าไม่มีอะไรจะสอน
(ขอฟังธรรม)
☺ การที่จะลงได้ ถ้วยแก้วก็ดี ลงคนก็ดี รู้หรือไม่ว่าผู้แสดงธรรมต้องประกอบด้วยอะไร จะเทียบกับคนพูดโทรศัพท์ก็ไม่ถูก
เพราะคนจะเปรียบสภาพกันได้ต้องเปรียบด้วยความดี
ผู้ที่ลงมานั้น เธอได้น้อมระลึก ขอจากพระพุทธเจ้า ผู้ลงจึงต้องบริสุทธิ์มากแล้ว ทุกข์ด้วยขันธ์ไม่มี ทุกข์ด้วยธาตุ 4 ไม่มี ที่ลงมาท่านเป็นเทวดา
(นี่พูดได้เพราะพวกเธอเชื่อถือแล้ว คนไม่เข้าใจจะว่าพูดเพ้อเจ้อ) เธอที่น้อมระลึกได้ อย่าเปรียบเทียบว่าท่านสูงด้วยความดีหรือเปล่า
อย่าเปรียบเทียบกับคนพูดโทรศัพท์ ท่านลงมา แสดงว่าท่านเป็นเทวดาบริสุทธิ์แล้ว ในจิตใต้สำนึกของแต่ละคนต้องรู้ เชิญท่าน อย่างน้อยท่านต้องถึงสมณเพศ
สำหรับเธอทั้งหลาย ผู้ประพฤติดี ฉันขออาราธนาพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อำนาจพระธรรมคำสั่งสอนของพระธรรม ตลอดจนพระอริยสงฆ์ รวมความดีที่เธอทำมา
21 กันยายน 2517
☺ อยากเตือนพวกเธอทั้งหลายว่าให้มั่นใจ
1. ศีล 5 ข้อ
2. สัจจะ
3. คำมั่นสัญญา
4. การตั้งในคุณธรรมความดี
5. หน้าที่
☺ แค่นี้จะได้ไหม ขอให้ถือยิ่งชีวิตได้ไหม ถือได้ไหม ตัวตายดีกว่าเสียคำมั่นใน 5 ข้อนี้ได้ไหม?
สงสารสัตว์ผู้ยาก น่าลำเค็ญ ไม่มีมารยาท ผู้ใหญ่อยู่ไม่รู้จักสำรวม (เอ็ดผู้ที่แสดงกิริยาหลุกหลิก ไม่เคารพ)
10 พฤศจิกายน 2517
พูดถึงเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
☺ วันนี้สมเด็จพระบรมสุคตทรงประทานพุทธโอวาท เนื่องจากการกระทำที่ดี มีกตัญญูรู้คุณ สาเหตุก็เนื่องด้วยที่เขาได้รักษา (สงวน) เรื่องการต่ออายุ
สุขภาพอันอาจเนื่องด้วยอุปฆาต
ในสมัยเชียงแสน......เขาเคยครองอยู่ และ......เคยเป็นบุตรซึ่งมีเรื่องมากมาย ฉะนั้น การบำบัดทุกข์ครั้งนี้
ถือว่าเป็นเรื่องของความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง
การที่องค์พระประทีปแก้วทรงตรัสไว้ว่า ความกตัญญูที่สูงสุด ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง คือการกตัญญูต่อพระในเรือนแก้ว
คือบิดามารดา ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนๆ ก็ตาม พระองค์ทรงยกย่องว่าเป็นคุณธรรมชั้นสูง
สอนอีกคน
☺ กาลเวลาน่ะ เอากลับคืนมาไม่ได้นะ อยากจะทำอะไรก็ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่าให้เวลาหมดไปเปล่าๆ นะ
เอ็งน่ะ ช่างสังเกตดี แต่ก็อย่าให้มันมากจนจิตเราหวั่นไหว จงทำใจให้สบายๆ อย่าให้หมกมุ่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนทรมานตัวเอง ถ้าคิดอะไรไม่ออกก็ให้หยุด
พอให้สมองแจ่มใสเสียก่อนจึงค่อยหาเหตุผล
สอนเด็กอีกคนหนึ่ง
☺ อยากฟังคำสอนไหม
☻ (ตอบ อยากครับ)
☺ แน่นะ ? สอนกับด่าไม่เหมือนกัน
1. เรื่องการหาผู้ใหญ่ เราต้องไปหา ไม่ใช่ให้ผู้ใหญ่มาหาเรา ดูกาลเทศะว่าอะไรควรไม่ควรเพียงไร
2. สติยังขาดความจำ ถึงได้เลือนแล้วก็ทำให้ลืม รู้แล้วก็พยายามแก้ค่อยทำค่อยไป
3. การพูดก็ระวังวาจา เพราะคนที่เราพูดด้วยมีหลายระดับ บางคนจิตเขาไม่เข้าใจเรา เขาอาจคิดเป็นอื่น คำพูดของคนทำให้เราคิดได้หลายแง่หลายมุม แล้วแต่คน
ถ้าคิดทางกุศลธรรมก็ดีไป แต่ถ้าคิดอกุศลธรรมก็แย่ ผลเสียก็มาก ฉะนั้น เราพูดอะไรก็ดูคนว่าควรพูดเช่นไร
ต่อไปจะพบคนมากหน้าหลายตา จะมาในลักษณะแปลกกันไป จงมั่นคงในสิ่งที่เอ็งคิดว่าดี ว่าถูก อย่าหวั่นไหว ถึงแม้ว่าใครจะพูดชักจูงเช่นไรก็ตาม
20 กุมภาพันธ์ 2518
ปัญหา การทรงกระดาน
☺ การเชิญทุกที เมื่อเชิญ เทวดาลำดับชั้นน้อยท่านจะไปทูลเชิญเทพแต่ละองค์ แล้วแต่องค์ไหนจะทรงโปรด เมื่อใดเห็นว่าไม่สมควร องค์ที่ไปเชิญจะลงเอง
☺ กระดานนี้อยู่ในความดูแลขององค์อินทราช ท่านเวสสุวัณ เพราะฉะนั้น ถ้ามีสาระท่านก็มาจริง
ไม่มีสาระท่านก็เดินเองพอไม่เสียน้ำใจ ที่บอกมาแล้วไม่จริงก็มี ใช่ไหม ?
แต่ต่อไปนี้
1. เชิญท่านตามสั่ง
2. เชิญประจำอาทิตย์
3. เชิญวันแทนวันอาทิตย์
สามอย่างนี้จริง ปิดท้ายด้วยเสด็จในกรม หรือไม่ท่านเวสฯ ก็จะลง
การตอบ บางทีท่านรู้วาระจิต ท่านลองตอบแหย่ๆ ก็มี ฟังดีๆ บางทีพลิกแพลงหน่อยๆ ไม่ให้เสียกำลังใจ
☻ (ถาม คนเดินกระดานที่เป็นหลัก มีส่วนในการเดินหรือไม่ ?)
☺ มีส่วน เพราะเป็นสื่อ แต่ในระยะหลังตั้งแต่ขอบารมีสมเด็จ เห็นจะไม่มีส่วน ที่ว่ามีส่วนนี้บางทีไม่มีผลเสียนะ
การเดินกระดานก็เบาภาระพระคุณท่านได้มากนะ
☺ การทรง ท่านพรสวรรค์ท่านรับรอง บางทีมาถี่ ท่านรู้ประโยชน์ บางทีสั่งสอนนิดหนึ่ง แต่ประโยชน์จริงๆ ได้แก่ผู้ให้ทรงและผู้ถูกสั่งสอน วิธีสอน
บางทีก็เอ็ดก็ว่า ท่านรู้จิตว่าพูดยังไงจึงจะเชื่อ การทรงนี้ นอกจากสั่งสอนอบรมเด็กแล้ว ยังสงเคราะห์ให้ร่างทรงได้ทำบุญ จะพูดไปก็ไม่ใช่จะยกย่องเทวดา
เทวดาจะแก้ให้ทุกคนโดยเหมาะสมตามโอกาส
☺ กรรมใดจะเกิด ท่านเข้าแทน เช่นย้ายบ้านให้ หรือให้ไปที่โน่นที่นี่ เพื่อการศึกษาอบรมหรืออะไร แทนที่จะไปเลว นี้เป็นความดีที่ท่านทำอยู่
ท่านไม่คิดร้ายต่อเราหรอก คนเราบางคนก็ต้องใช้วิธี ดุ ขู่ บังคับ พูดดีๆ ไม่ฟัง สงสารเพื่อให้คนทำดีทำได้ สงสารให้คนเสียอย่าทำ
ถ้ารักใคร อย่าเบื่อหนี อย่าสงสารให้เขาทุกข์หนัก เช่นเขาเกลียดใคร ช่วยซ้ำเลย อย่าทำให้จิตเขาตก ควรสั่งสอนให้มุมานะ เข้มแข็ง ร่าเริง
9 กรกฎาคม 2518
สหัมบดี
☺ คนที่ทำรวยแล้วไปไหนอย่างรวย มีประโยชน์อะไร อันตราย สู้ทำอะไรอย่างคนจนดีกว่า คนที่คิดว่าฉลาดนั้น ทำอะไรก็คิดว่าฉลาดแล้วนะ
แต่จะรู้รึว่ามีคนฉลาดน้อยกว่าหรือมากกว่า สู้ทำตัวอย่างคนไม่ฉลาดดีกว่า น่าเบื่อที่มีคนทำฉลาดมากๆ
19 พฤศจิกายน 2518
☺ คนที่เขาลงมาแสวงหาที่ทำบุญหรือแสวงหาธรรมเป็นข้อปฏิบัตินั้น ขึ้นต้นด้วยคำว่าศรัทธาเป็นสิ่งแรกในใจเขา ฉะนั้น บุคคลทั้งหลายที่เข้ามาหาพระนั้น
เป็นผู้ที่มากด้วยศรัทธา
เราเป็นผู้อยู่ใกล้ คนทำหน้าที่แจกแจงความสะดวกทางด้านจิตวิทยาทานและข้อประพฤติธรรม เราควรจะเห็นเขาว่า เป็นคนอ่อน
คนอ่อนนั้นหมายถึงผู้ที่ต้องการสิ่งดลใจในอริยะที่เขาปรารถนา เข้าใจไหม ?
ดังนั้น สิ่งที่ควรรู้ไว้เป็นพื้นฐาน คือแต่ละคนที่เข้ามาหาหรือไขว่คว้าเอาดีนั้น จะมาด้วยความประพฤติต่างจิตต่างใจกัน
และมีนิสัยสันดานรวมทั้งการอบรมต่างกัน แล้วแต่กรรม แล้วแต่จริตเขา เราต้องรู้ไว้ว่า เป็นสิ่งแรกคือการทำบุญกับพระ อย่าให้เกิดการทำบาปกับพระ
20 พฤศจิกายน 2520
☺ เวลาของทุกคนไม่มีมาก จงใช้เวลาเท่าที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์โศกโรคภัยนี้ไป อย่าประมาทในชีวิต
ไม่รู้ว่าจะตายวันนี้ เดี๋ยวนี้ ปีหน้า หรือเมื่อไหร่ เราทุกคนล้วนรอวันจบสิ้นทุกคน จงระลึกและสังวรในตัวตน หน้าที่การงาน อย่าได้ประมาท
☺ จงอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด เอาอนาคตเป็นเป้าหมาย จงเอาอดีตเป็นครูสอนตัว สอนใจให้รู้เจ็บ รู้จำในสิ่งที่ผิดพลาดมาแล้ว
จงหมั่นในการฝึกฝนและหาความเพียรใส่ตน
จงมุ่งดูเวลาที่เข้ามาใกล้ตนทุกวินาที อย่าผัดตนเอง เพราะเราไม่รู้กาลข้างหน้า
แก่ ความแก่ ทุกคนเริ่มแก่ตั้งแต่เมื่อคลอด แก่วัน แก่เดือน แก่ปี
เจ็บ ทุกคนเจ็บตั้งแต่เมื่อคลอด จงระลึกและสังวรในอินทรีย์ อย่าได้ประมาท หมั่นถามตัว หมั่นตรวจใจตัว และพยายามรู้ด้วยตัวเรา
ไม่มีใครที่จะรู้ตัวเราได้ดีเท่ากับเรา ถ้าเรายอมมองดูตัวของเรา การที่ไม่รู้ ไม่ดูตัวของเราแล้วมาถามครู-อาจารย์นั้นไม่ถูก เหมือนข้อสอบหรือการบ้าน
ไม่ลงมือทำเองแล้วมาถาม
การหมดทุกข์ พ้นทุกข์ เพื่อสู่แดนอรหัตภูมินั้นไม่ใช่ เดี๋ยวทำก็ได คนที่จะทำจะล้างกิเลสนั้น ต้องใช้อานุภาพแห่งกำลังใจสูงพอสมควร
เพราะการที่เราเกิดมาเป็นคนนั้น ไม่รู้กี่แสนชาติที่เราได้พอกพูนกิเลส ตัณหา อุปาทาน ไว้หนาแน่นมากจนดูไม่ออก ว่าอันไหน สิ่งไหนดี-ชั่ว
แต่จะมาล้างเพื่อการพ้นทุกข์เพียงชาติเดียวนั้น จะทำได้ก็ต้องใช้
ขันติ ความอดทน
มานะ ความพยายาม
วิริยะ ความอุตสาหะ
อย่างกล้า มั่นคง เสร็จ เด็ดขาด
(มีเด็กคุยกัน)
☺ เรานั่งฟังธรรมกัน ก็ขอให้รู้จักกาลเทศะ ว่าเวลานี้เขาทำอะไร อย่าเป็นปลาเน่า นรกจะกิน
สหัมบดีพรหม ลา
11 เมษายน 2522
คนที่ 1
☺ ทำใจให้เป็นสุข ทำใจให้โปร่งแล้วจะมีปัญญา เวลามีงานหนักให้ภาวนา พุทโธ ภาวนาแล้วหลับสักพัก เมื่อตื่นขึ้นจะแก้เหตุได้ ใช้ได้ทุกคนนะ
คนที่ 2
☺ การฝึกมโนมยิทธินั้น เธอรู้สึกที่ใจใช่ไหม ใช้ความรู้สึกนี้ให้มาก เพราะมีทุนในอดีตมาดีแล้ว ตั้งใจทำให้ดีแต่ปัจจุบัน อย่าไปกังวล
คนเราทุกคนทำบุญมาไม่เหมือนกัน ส่วนที่ปรารถนาอยากจะให้เกิดขึ้นให้ได้ให้เป็นนั้น อยู่ด้วยกาลเวลา
☺ ฉะนั้น บางอย่างจะต้องอดทน บางอย่างอย่าได้ใจร้อน สะพานตรงหรือโค้ง ตอนนี้เธออยู่ตีนสะพานหรือกลางสะพาน
ในเมื่อถ้าคิดว่าอยู่ตีนสะพานแล้วโอกาสที่จะมีทางขึ้นสู่กลางสะพานที่มีจุดสูงสุดเช่นกัน ถ้าคนเราติดลบ วันหนึ่งก็จะต้องติดบวก แต่ระยะเวลาเดี๋ยวนี้ซิ
จะสั้นหรือยาวเรามิอาจรู้ เมื่อเธอขอเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม แต่เมื่อเธอมีความดี ความดีนี้ก็จะช่วย ฉันจะช่วยเท่าความดีทั้งปวงที่เธอทำก็แล้วกันนะ
ก่อนนอนภาวนา พุทโธ จนหลับ อุทิศส่วนกุศลทุกวัน เรื่องอุทิศส่วนกุศลนี้มีผลแรงนะ ช่วย แต่ต้องเป็นไปตามขั้น
คนที่ 3
☺ เข้าพรรษานี้ เอาเทียนพรรษามาถวายวัด อธิษฐานความสว่างในชีวิต
☻ (ถาม เรื่องกรรม)
☺ เธอเคยบวชมาแล้ว คงจะเข้าใจในเรื่องของขันธ์ กาย ทุกคนเกิดมาด้วยกรรม บ้างทีบุญกับบาปวิ่งทันกันบ้างหรือไม่ทันกันบ้าง ผลก็ปรากฏตามที่ได้รับ
บางโรคจวนเวลาหมดกรรมมันก็หายไปเอง เก่งกว่าหมอเทวดาก็เป็นได้
พระพุทธไตรปิฏกกกล่าวว่า หัวใจทุกข์จากขันธ์ คือการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และการตาย ฉะนั้น ความเจ็บเป็นปกติ สำหรับคนและสัตว์
อย่าไปยึดมั่นในเรื่องใดๆ นอกจากธรรมะ ความจริง ใช่ไหม
พระอรหันต์เจ็บเป็นไหม ? แล้วพวกเธอล่ะ รำคาญเพราะทุกข์รึ เพราะเราเอาใจไปเจ็บใช่ไหม หาประโยชน์ให้ได้ ให้ได้ธรรมะ
คนที่ 4
☺ บารมีแปลว่าอะไร ?
☻ (ตอบ แปลว่ากำลังใจ)
☺ การมีกำลังใจที่แข็งแกร่งนั้น จะทำให้เราทรงสติ ทรงสมาธิได้ดี ทำยังไง ?
อย่ากลัว อย่าตกใจ จะหมดห่วงซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำกันยาก แต่ก็ต้องพยายาม ดูสามัญบุคคลที่เก่งงานทั้งหลาย เขาจะเป็นผู้สุขุมรอบคอบ
ระงับอารมณ์มิให้กระเจิงด้วยการสำรวม ซึ่งก็เป็นพุทธบัญญัติประการหนึ่ง ความสมบูรณ์นี่สำคัญนะ
คนที่ยังโวยวายอยู่ก็ให้รู้ว่าผู้นั้นยังมีกำลังใจที่อ่อนแอมาก การบังคับใจนี่สำคัญ อย่าปล่อยใจจนให้อารมณ์เตลิด ทำได้ไหม ?
กับทุกคน
☺ สุดท้ายนี้ ฉันขอให้ไว้สักหน่อยในเรื่องของการสำรวมกาย ใจ จงระงับอารมณ์ต่างๆ ที่นำมาซึ่งการขาดสติยั้งคิด เช่น โกรธ วิตก กังวล โวยวาย เหล่านี้
จะทำให้ใจและจิตคุมกันไม่อยู่ อารมณ์ก็จะฟุ้ง ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะลำบาก เมื่อถึงวาระจิตออกจากร่าง จงอยู่ด้วยความสุขุม รอบคอบ ก่อนพูดก่อนทำ
21 ตุลาคม 2524
ให้โอวาทเป็นรายบุคคล
☺ - ยังตั้งใจหรือเปล่าว่า เกิด ดับ มีอยู่ทุกเวลา อย่าประมาทเกิดดับ จิตมีเกิดได้ก็ดับได้ อารมณ์ที่ฟุ้งซ่านทั้งหลายอย่าให้เกิดบ่อย
ทุกเวลาที่มีเกิด-ดับ จิตจะไม่นิ่ง จงอยู่ในฐานะไม่เกิดไม่ดับ แล้วจิตจะสูง มานะที่มีอยู่ในใจนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเอ็งเกิด-ดับ
พยายามลดมานะให้หมดสิ้น
- อะไรที่ว่านั้น อย่ายึด อะไรที่ยึด อย่าหวง อย่าหวัง จำไว้
- น้ำจะนิ่งได้เมื่อไม่มีคลื่นลม เช่น จิตคนอย่าหวังอะไรเกินพอดี จะทำให้ใจกังวล สิ่งที่ได้จงพึงใจ แล้วจะสงบ
- น้ำจะนิ่งได้เมื่อไม่มีคลื่นลม เช่น จิตคนอย่าหวังอะไรเกินพอดี จะทำให้ใจกังวล สิ่งที่ได้จงพึงใจ แล้วจะสงบ
- เราไว้โซ่ตรวน อย่าหาโซ่ตรวนมาผูก จัดใจให้กลาง วางใจให้เฉย ปัญญาจะทนุสมาธิเอง
- มองคน มองเรา พึงรู้ตน อย่ายกตนเทียบเขาแล้วเราจะอับจน
- อย่าแถลงว่าดี อย่าแถลงว่าเลว จงตั้งใจให้รู้ว่าดีเลวมีอยู่ทั่วไป
- บางสิ่งอนุโลม ผ่อน (ไป) อ่อนตามนั้นมิใช่อ่อน บางอย่างมีกร้าวก็ควรผ่อน ทำใจได้ดังนี้แล้ว ธรรมในจริตจะสามารถผ่อนปรนตามอารมณ์ แล้วจิตจะไร้กังวล
- รู้แล้วควรทำ ที่ทำนั้นรู้ แต่ไร้สติปัญญา
- ทุกข์ทั้งหลายย่อมมีเหตุ ถ้าพบเหตุ ทุกข์ก็จะคลาย อย่าหาเหตุเพื่อก่อทุกข์
- อยาก คือทางไปในการหาสุข ลดอยากแล้วจะมีทิพย์อารมณ์
- อย่าสงสัย แล้วใจจะคลาย หาปัญญาได้
- คนทั้งหลายหาได้เหมือนกัน (ไม่) อย่าได้หวังคนเพื่อสุข จงตั้งใจสุขด้วยใจที่นิ่ง
- มีได้ มีเสีย มีตึง มีผ่อน อยู่กลางๆ เฉยๆ สุขจะมา
- จิตคิดอย่าพูด จงพูดที่ใจ อย่าให้ใครมาเป็นปัญญา แล้วใจจะรู้ได้เอง
- มานะ รักตัว ผูกตัวยิ่งกว่าโซ่ตรวน อย่าทำอันใดที่เป็นเรื่องงานจะกังวลมิรู้จบ
- คิดอะไร ขึ้นอยู่ในความพอดี ถ้าปัญญามากจะพุ่งจิตสับสน หวังน้อยได้มาก หวังมากจะเสีย
- รู้จักประมาณ แล้วการณ์จะไม่ใหญ่หลวง รู้จักการควรแล้วตัวจะปลอดภัย
- คำสอน อ่านไว้แล้วคิด แล้วทำ จะได้ไม่ประมาท
- วันพรุ่งนี้ไม่มีตลอด วันวานสูญตลอด ปัจจุบันคือเกิดแล้วทำการ จะได้ในจิต
- สุขเกิดด้วยใจ ทุกข์เกิดด้วยใจ อย่าให้ใจรับเรื่องแล้วหาทุกข์
จงตั้งใจที่จะใช้อารมณ์นิพพานหมดทุกคนนะ ข้าให้ไว้สำหรับคนแต่ละผู้ เพื่อสอนใจที่ขุ่นขณะที่เข้ามา (ให้เสกเป่า)
จาคะ ตัด สละ จะทำให้จิตหมดโลภ อย่ากังวลในคน อย่ากังวลในตน อย่ากังวลในสมบัติ อย่ากังวลในฐานะ แล้วจะทำให้มานะทิฐิหมดไป
.............................ลา
◄ll กลับสู่สารบัญ
webmaster - 10/1/11 at 13:19
76
(Update 10-1-54)
คำเทศน์ของ ท่านผกาพรหม
☺ ท่านองค์นี้คงจำกันได้ว่า เคยลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า ท่านเป็นเพื่อนของท่านสหัมบดีพรหม
6 กันยายน 2518
เอ็ดพวกซุกซนตอนที่สมเด็จฯ เสด็จ
☺ น่าสงสารบุคคลอันพบดวงแก้วมณีแล้วไม่คว้าเอามาชำระใจ อันองค์พระสยมภูบรมจอมไตรเสด็จมาโปรดสัตว์
ดังประทีปที่สว่างไม่รู้จบนับได้ อเนกอนันต์เสด็จมา แต่สัตว์ผู้น้อย ถ่อย ไม่นำพาที่จะเข้ากราบกรานเลย
☺ อันองค์สมมุติเทพมา เธอก็เฝ้าแห่แหน แต่นี่องค์ทรงมหามุนีเสด็จ ชิชะ
☻ (ขอประทานอภัยสักครั้ง)
☺ วัตถุสถานไม่ข้องด้วย ข้องอยู่แต่ผู้คนที่ถือว่าดี ใกล้เกลือกินขี้
☻ (ขอประทานแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร)
☺ จริงอยู่ ที่เธอมองไม่เห็น แต่จิตใต้สำนึกควรจะรู้อยู่ ว่าทำอะไรกันอยู่
ธรรมดาทุกคนในที่แห่งนี้ก็ดี ที่เจริญพระกรรมฐานก็ดี คนที่อยู่ในศีลก็ดี ย่อมระลึกด้วยสามัญสำนึกในสิ่งนั้นๆ ที่ตนแสดง
รู้ว่าไม่ควร แต่ถ้าไม่รู้ หรือจิตว่าไม่ควร ก็ไม่ต้องบังคับจิต ทำไปก็ไร้สาระ
19 พฤศจิกายน 2518
ท่านผกาพรหม (ผ.) ประทับทรง คุยกับท่านสหัมบดีพรหม (ส.) ที่ทรงกระดานอยู่
ส. นับประคำแข่งกันไหม ?
ผ. ดีๆ นะ ความจริงจะให้ลูกหลานรู้ จะคุยกันเป็นกิจจะลักษณะ
ส. ผมไม่ขัดคอ
ผ. ธรรมดาพุทธบริษัท เมื่อพบภัยพิบัติทั้งหลายจะเป็นอันตราย พระโพธิสัตว์จะเป็นอันตรายไหม ?
ส. เป็น
ผ. เป็นแน่ๆ นะ ตอบให้ชัดๆ
ส. ทำไม
ผ. ไม่เอาน่า ท่านอธิบาย
ส. ท่านแหละ
ผ. ท่านคล่องกว่า
ส. ไม่ ไม่แน่จริงนะ
ผ. เอาน่า รวบรัด อธิบายคล่องๆ ท่านละชอบยักท่า
ส. บุคคลที่ถึงซึ่งปรมัตบารมีแล้วนั้น เป็นผู้ที่ต้องเสียสละ ทั้ง 1.ร่างกาย 2.จิตใจ แล้วถึงจะเป็นผู้มีเพียรด้วยบารมี
แล้วทำไมท่านถึงว่าผมผิด ?
ผ. หมายความว่า ?
ส. ไม่เสียแล้วจะว่าเสียสละทำบารมีได้อย่างไร
ผ. ยังงี้ว่ากันง่ายๆ ดีกว่า ผู้ที่ยอมอุทิศชีวิตเพื่อประโยชน์ของคนอื่น
เมื่อตั้งใจมั่นกุศลผลบุญที่ตั้งใจเพื่อให้คนอื่นได้ความสุขทั้งทางโลกทางธรรม ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากท่านผู้นี้
ได้อุทิศชีวิตเพื่อบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ไม่ย่อท้อ ในวาระที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรนั้น มีผู้อกุศลจิตปองร้ายร่างกาย กุศลที่ประกอบในปัจจุบันชาติ
จะเป็นอันตรายถึงแก่ร่างกายสลายลงนั้น ผมว่าไม่ถูกต้อง
ส. ไม่แน่ กรรมมี
ผ. กรรมมี ถูก
ส. บารมี จะมาคำนึงถึงตัวตายได้ยังไง ในเมื่อตนยอมเป็นผู้สละ
ผ. ใช่
ส. สละเพิ่มบารมีตน
ผ. ถูก แต่ว่าอย่างนี้ไม่ใช่เฉพาะตน ที่ผูกพันเฉพาะตน แต่ว่าผูกพันถึงสิ่งทั้งหลายที่อยู่รอบในอาณาเขต
ในความรับผิดชอบเกี่ยวกันหมด เหมือนไทรใหญ่ถูกลม ถ้าผุ นกกาก็ลำบาก
ส. ผู้รู้น่า ท่านห่วงรึ
ผ. ก็บอกเสียตรงๆ
ส. สละตั้งมาก ตาก็สละ ใจก็สละ ตายน่ะ ต้องตายอยู่ยังค่ำ แต่เขาทำได้รอดถึงที่สุด ถ้าปรารถนาแน่ๆ
ส. ลอยลำแล้ว อยู่แต่ว่าหาแรงมาแจวเรือดีๆ ก็แล้วกัน
ผ. มันต้องช่วยกันหน่อย เป็นธรรมดา
ส. ก็ช่วยกันอยู่แล้ว อุดเรือ อุดรูรั่วแล้วนี่
ผ. ฟังกับหู ตาเห็น มันชัดเจนดี
ส. ธรรมดา เดี๋ยวผมบอกความลับท่านนะ อยู่ดีๆ ไม่ชอบ ชอบปลอมเป็นนก
ผ. ถ้าไม่ร้องก็ไม่รู้ ของกล้วยๆ ไอ้วันนั้นนะ เทวดาอยู่ที่นั่นขอบใจทุกคน เขามีความสุขเป็นล้นพ้น
ธรรมดาคนเรามีจิตหวังให้เป็นสุข
หมายเหตุ: - ไอ้วันนั้น คือ 14 พฤศจิกายน 2518 ทำพิธีที่เชียงแสน มีเสียงนกมาร้องดังมาก
หลวงปู่บอกว่านกเขาบอกว่า สาธุ สาธุ
8 มิถุนายน 2520
สอนเด็กหนุ่มที่เพิ่งสึกจากพระ
☺ บวช อย่าให้เสียชื่อว่าไม่เข้าอบรมจากศาสนา ให้รู้แก่นสาร สาระ รู้ว่ากิจของคนที่มีศีลธรรมจรรยานั้นเป็นเช่นไรบ้าง การอบรมในข้อแรกคือพระวินัย
เป็นการอบรมกิริยามารยาท ฉะนั้น เมื่อเธอได้บวชมาแล้ว อย่าได้ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขาดมารยาท รู้จักควรไม่ควร อย่านะ
อย่าให้เสียชื่อลูกศิษย์ของ................ได้ไหม
8 กุมภาพันธ์ 2521
☺ เออ วันนี้ฉันอยากจะพูดเรื่องพระเรื่องเจ้า
การปฏิบัติพระท่านทั้งหลายที่เป็นอริยเจ้าเหล่านี้ เราปฏิบัติให้ท่านก็ขอให้เล็งเห็นว่าท่านเป็น พระภิกษุ แปลว่า
ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ฉะนั้น ร่างกายของท่านมีไว้เพื่อสงเคราะห์คนที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้
สงเคราะห์คนที่มีทุกข์มีภัยให้ทุเลา เราจะต้องทำให้ดีว่า ร่างท่าน (นั้น) เพื่อบำเพ็ญ เพื่อโปรดสัตว์ อย่าขัด
และอีกประการหนึ่ง ท่านเป็น ผู้ให้แก่สัตว์โลก ไม่ใช่ให้ใครพวกใดพวกหนึ่ง อันนี้เป็นเรื่องของการเจริญศรัทธา อย่าได้ทำลายศรัทธา
แต่สิ่งอื่นใดที่เห็นแล้วด้วยการทั้งปวงว่าเป็นการทำลาย สิ่งนั้นยกเว้นได้
ควรดูกาลเทศะ อย่าลืมว่าท่านเป็นผู้รู้ แจ้งไหม ?
30 สิงหาคม 2521
คนที่ 1 (จะไปเรียนต่างประเทศ ขอพร)
☺ ตั้งใจทำอะไรทุกครั้งด้วยความจริงใจ แน่วแน่ที่จะทำ อย่าเหลวไหล อย่าเหยาะแหยะ ตัวเองจะสร้างตัวหรือจะทำลายตัวอยู่ที่ตัวของเราเอง
ตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้ นี่แหละคือพร
คนที่ 2 (ปรารภเรื่องขัดข้องต่างๆ)
☺ บอกไว้ประการหนึ่งว่า ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิมักจะทำอะไรขัดข้องขั้นต้น แต่เป็นบางกรณี
ทำอะไรให้ตั้งอธิษฐานขอบารมีตนที่สะสมไว้ เพื่อพระโพธิญาณนี้ เป็นแรงเกื้อหนุน
ทั่วไป
☺ ขอร่วมโมทนาสาธุ กับพวกเธอที่เป็นอุปัฏฐากพระศาสนาอยู่ทั่วกัน
◄ll กลับสู่สารบัญ
77
คำเทศน์ของ ท่านท้าวมหาชมพู
(ท่านท้าวมหาชมพู ท่านเคยเป็นท้าวเวสสุวัณมาก่อน เวลานี้พ้นหน้าที่ไปแล้ว เลื่อนขึ้นไปจากตำแหน่งท้าวเวสสุวัณ
ขณะนี้ถือว่าเป็นประธานของท้าวจาตุมหาราชก็ได้ ลูกหลานของท่านมีอยู่ในกลุ่มของเรา)
5 มีนาคม 2517
สอนเด็ก
☺ ทำตัวดีๆ แล้วจะให้ของ ไหว้พระทุกวันอย่าให้ขาด ทำอะไรต้องมีหลัก มีแบบแผนบังคับตัวเองให้ได้แล้วถึงบังคับผู้อื่น เราเข้ามาทางนี้ถูกแล้ว
เราน่ะไม่ถูกใจข้าหลายอย่าง
1. เรื่องเรียน
2. ประพฤติตัว
3. ไม่ใคร่เป็นตัวของตัวเอง
☺ ข้าอยู่กับเอ็ง ทำไมข้าจะไม่รู้ เอ็งทั้งสามทำอะไร ข้ารู้ โดยเฉพาะ 2 คน ทำให้ดี เราเข้ามาทางนี้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเอ็งจะต้องเรียนจนเกินไป
แต่ให้ยึดหลักของทางนี้ไว้บ้าง หวังว่าเอ็งคงทำได้นะ
รู้ดีชั่วอยู่ที่ตัว เทวดาท่านไม่แกล้ง เอ็งอย่านึกว่าคนอื่นเขาหูหนวกตาบอด
4 พฤษภาคม 2517
☻ (ถาม ชาติก่อนที่จะมาเป็นคน เกิดเป็นอะไร ?)
☺ ทุกคน ก่อนเป็นคนก็ต้องเริ่มจากสัตว์เล็กมาก่อน ถ้าเป็นคนแล้วหมั่นทำความเลวก็ต้องกลับเป็นเดียรัจฉานอีก กรรม คือการกระทำ
ความประพฤติ
21 กรกฎาคม 2517
☻ (ปัญหา ถ้าท่านเสด็จไปทรงที่........แล้วพวกเราไปท่านจะทักไหม ?)
☺ เราจะไปหักหน้าเขาทำไม ทางหากินของเขา ใครศรัทธาสิ่งไหนก็ให้ถือไป อย่าไปทำลายศรัทธา อย่าง ถ้าเขาว่าคนทรงที่นี่ไม่มาจริง เธอจะว่ายังไง ?
☻ (ปัญหา การแก้กรรม ทำได้ผลอย่างไร ?)
☺ เรื่องกรรมนี่น่ะ มีอยู่ 2 พวก พวกหนึ่งต้องการส่วนบุญ อีกพวกหนึ่งต้องการแกล้ง แก้แค้น อาฆาต ไม่ต้องการบุญ ด้วยความอาฆาต ทิฐิ
☻ (ปัญหา มีกรรมดี จดไว้บ้างไหม ?)
☺ บอกแล้วจะเชื่อหรือ ไม่ใช่สิทธิ์ของฉันที่จะบอก
☻ (ปัญหา การทำความดี ถ้าอยากรู้ว่าจะดีถึงขีดหรืออะไรอย่างนั้น จะถามใครได้ ?)
☺ องค์อินทราช ท่านยมราช ท้าวจาตุมหาราช ท่านสหัมบดีพรหม
☻ (ปัญหา ใครมีสิทธิ์บอกได้ ?)
☺ ท่านที่ถึงขั้นอรหันต์ สมเด็จพระสุคต
☻ (ปัญหา ท่านเองก็ถือบัญชี แต่ไม่สิทธิบอกหรือ ?)
☺ นอกจากมีวาระและกรณี ฉันต้องขอต่อองค์สหัมบดีพรหมจะตอบได้
30 สิงหาคม 2517
☺ ที่พระอภิญญา ท่านกลัวที่สุด คือ
1. คนจะตกนรก
2. คนที่ติดในอิทธิฤทธิ์
3. คนที่เห่อเหิมในของวิเศษ อยากพบ อยากเจอ อยากมีฤทธิ์
30 กันยายน 2524
คนที่ 1
☺ พูดดีก็จะมีมงคล อย่าได้ท้าในสิ่งที่ไม่เห็น อย่าพูดเรื่อยเฉื่อย เทวดาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เขามีความดี เราอย่าไปพูดในสิ่งที่ไม่รู้ไม่เห็น เขา
(เทวดา) อาจจะช่วยเรา แต่ไม่ได้ดังใจก็อย่าไปตำหนิ
คนที่ 2 (ถามเรื่องสอน)
☺ ให้ถามในกรมฯ ข้ามีหน้าที่คุมบัญชีคน
◄ll กลับสู่สารบัญ
78
คำเทศน์ของ ท่านพีรพัฒมหาพรหม
4 มกราคม 2521
คนที่ 1
ความกตัญญูนั้นแรงมาก เป็นกุศลสูงสุดเท่าที่มนุษย์ เทพ จะพึงมี
คนที่ 2 (ทำพิธีรับพระราหู)
☺ เสาร์ 5 ค่ำ ให้หาพระทอง 31 พระเงิน 43 องค์ ข้าวสาร 1 ขัน แป้งมัน 1 ขัน ผลไม้อย่างละ 3 ลูก ส้ม, มะม่วง, มะดัน, มะเฟือง,
มะไฟ, มะนาว, มะพร้าว น้ำตาล 1 ขัน เกลือ 1 ขัน ธงดำ ธงแดง ธงขาว ธงเหลือง อย่างละ 9 ดอกไม้หอม มะลิ, กุหลาบแดง, กุหลาบเหลือง, ชบาแดง ลั่นทม อย่างละ 3
กระทง บูชาต่อพระราหูและเทพประจำตัว บูชาครั้งเดียว เสาร์ 5 ที่จะถึง
☺ บิดามารดา ปิยะชาติ บุพการี คุณครูอาจารย์ตลอดมา ขอถวายเพื่อพ้นเคราะห์ พ้นโศก พ้นโรค พ้นภัย พ้นอันตรายทั้งปวง
☺ ขอบารมีพระพุทธะมาเป็นจิต ธรรมะมาเป็นกาย และสังฆะมาเป็นวาจา เพื่อผลบุญและกุศลในปัจจุบันและอนาคตจงประสบแก่............(ชื่อ)...........โอม พรหม
นารายา ศิวะศร วิศวกร อินทรบดีด้วยเกล้า จงปกป้องข้าพระพุทธเจ้าจาตุมหาราชิกาด้วยเทอญ
ทิ้งไว้ข้ามรุ่ง จึงนำของไปวัด ถวายแก่ภิกษุรูปใดก็ได้ที่ปรารถนา
☺ ทำก่อนเพล จุดเทียน 5 ธูปแขก 11 ตอนแรกจุดธูปให้ชุมนุมเทพฯ ด้วย อุทิศกุศลให้ทั่วๆ ไป ลาของก่อนเพล
คนที่ 3
☺ ขอเรื่องโทสะ โทสะจะเป็นตัวขัดลาภ ทุกอย่างย่อมมีกาลเวลาอยู่ในตัว
คนที่ 4
☺ พ่อ แม่ เป็นสิ่งที่ควรบูชา เราทำอย่างไรก็พ่อแม่ไว้ กรรมนั้นเป็นวัฏจักรจะเกิดแก่ลูกเรา ฉะนั้น ชั่วอายุขัยของพ่อแม่เรา
เราจงบำเรอให้ท่านมีความสุขกาย สุขใจ อย่าทำให้ท่านต้องลำบากอีกต่อไปเลย เมื่อเธอทำความกตัญญูอันนี้ได้ อุปสรรคทั้งหลายย่อมไม่มี จะทำสิ่งไรก็สะดวก
แต่ถ้าตราบใดยังทำให้พระในใจ 2 องค์นี้ลำบากอยู่ การงานต่างๆ ที่ขอมานั้นยังลำบากอยู่ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ
☺ อันอายุขัยของท่าน มากแล้วนะ อยู่อีกไม่นาน มีทางทำอะไรได้รีบทำเสีย แล้วเราจะพ้นอุปสรรคทั้งปวง การมีเงินนับโกฏิแต่มีความทุกข์ ใจก็ไม่เป็นสุข
เท่ากับไม่มีเงิน แต่สบายใจ เอาเถอะ ความดีเป็นของเห็นบุญ ได้บุญ ได้วาสนา เมื่อเวลาผ่านไปกระชั้นเข้า อาจจะสายนะ
คนที่ 5
☺ เราเองเช่นเดียวกัน หมั่นทำบุญ ดำรงในความกตัญญูไว้ แล้วเรื่องที่ขอจะสำเร็จ จะได้พบ
คนที่ 6
☺ โตแล้วนะ ดี ชั่วอยู่ที่ตัว ได้ที่ตัว คนอื่นเขาไม่รับ ไม่รู้ด้วย จะทำอะไรก็ให้มีสติมั่นคง เวลาสำหรับจะสนุกสนานยังมีอีกมาก
แต่เวลาที่เราควรจะทำหน้าที่ตอนนี้มีอยู่จำกัด รีบๆ เข้า
◄ll กลับสู่สารบัญ
79
คำเทศน์ของพรหมท่านหนึ่ง (อนาคามี)
29 มิถุนายน 2520
☺ ตั้งอยู่ในความประมาทบ้างหรือเปล่า
☺ อันคนนั้น ควรพึงสังวรในชีวิตของตนไว้ให้แม่นยำว่า บุคคลเรานั้นมีที่มาก็มีที่ไป มีจริยาด้วยอาการของความเป็นอยู่ของโลกีย์วิสัย
มีภาระเป็นหน้าที่จะต้องทำ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม เป็นต้น อย่างลักษณะของไตรลักษณ์นั้น เป็นจริยาหนึ่งของธรรมโลกียวิสัย มีอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เหล่านี้บังเกิดขึ้นเป็นวัฏสงสาร ด้วยเหตุเพียงประการเดียว คือกรรม
☺ กรรม คือความประพฤติ การกรทำของคน ก่อเป็นผลขึ้นมาเป็นกรรมดี กรรมชั่ว เมื่อมีเหตุเป็นกรรมแล้ว ย่อมมีผลเป็นผลกรรม คือสิ่งที่อุบัติขึ้นเป็นขันธ์
5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมทั้งสิ้น แล้วผลที่สืบจากขันธ์ 5 ก็คือ ก่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอนิจจัง ความรู้ เกิด แก่ เจ็บ
ตาย ที่ได้รับจากขันธ์ 5 นั้นเป็นทุกข์ ทุกข์ที่ระทม ไม่สบาย
☺ เมื่อรู้อยู่ แจ้งอยู่ก็ยังไม่หลีกหนีให้พ้นสิ่งเหล่านี้ กรรมนั้นจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็ส่งผลให้เป็นอนัตตา ไม่มีวันสุดสิ้น
ถ้าเป็นอนัตตาแล้วจะหลีกหนีก็ลำบาก โดยพอกพูดด้วยกามตัณหา ความอยากที่จะใคร่ ภวตัณหาความอยากที่จะเป็น วิภวตัณหาความไม่อยากเป็น ไม่อยากมี
เป็นตัวเริ่มให้เกิดกิเลส
☺ กรรมนั้นมีโลภะ ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด โทสะ ความโกรธที่เป็นอารมณ์คิดว่า ตัวเรา ของเรา โมหะ ตัวหลง หลงในอวิชชา
แล้วกลายเป็นอุปาทาน ดังนี้จะเป็นวัฏฏะที่จะไม่พ้นโลกีย์โลก แก้ได้ไหม แก้เป็นไหม ?
☺ แก้ด้วยศีล ศีลก็มีกันทุกคน แต่จะบริสุทธิ์หรือไม่ ตนของตนต้องทราบอยู่แก่ใจ
☺ สมาธิ มีเป็นอารมณ์ตามความขยัน
☺ ปัญญา มีเป็นกรรมฐาน
☺ เมื่อคิดได้ต้องดูตนให้พร้อม 3 อย่าง แล้วถึงจะเริ่มพิจารณาแก้ไขในกรรมปัจจุบัน คือ วัตถุ
วัตถุปัจจัยเป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาว่าเรานั้น ยังหลงใหลคลั่งไคล้อยู่เท่าใด หลงไหม ?
หวังหมดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ก็ต้องประหานใจ
ปัจจัย เราดู เรารู้ว่านี่คือสิ่งสมมุติว่ามีค่า ฉะนั้น จงรู้อยู่ว่านี่คือของที่เขาใช้ให้เป็นสิ่งตอบแทนด้านคุณค่า เพื่อสนองอัตภาพทางฐานะที่เป็นอยู่
และต้องเป็นอยู่กับโลก
☺ เมื่อมีหน้าที่ ที่เขาตั้งกฎเกณฑ์ว่าปัจจัยนี้สำคัญเพียงไร เราก็ดูแลปัจจัยนั้นตามสมควรแต่ฐานะของปัจจัย อย่าหลง อย่าห่วง-หวง จนเป็นทาส
เป็นขี้ข้าของปัจจัย เมื่อมีก็ใช้ ไม่มีก็ใช้ตามสมควร อย่าให้มาก อย่าให้น้อย น้อยในที่นี้คือตระหนี่ถี่เหนียว จนเป็นงกในสมบัติ
☺ เทศน์เรื่องอะไรรู้ไหม ?
☻ (ตอบ เรื่องวัตถุ)
☺ ใช้ปัจจัยกันเป็นหรือยัง ?
☻ (ตอบ ไม่ทราบว่า บางครั้งตระหนี่หรือเปล่า)
☺ มีก็มี ไม่มีก็ไม่มี ตายไปมีไหม
☺ เมื่อเห็นว่าปัจจัยเป็นของธรรมดาแล้ว จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เราให้ เราขอนั้นเป็นผลของอะไร
ให้ นั้นเป็นทาน ขอ นั้นเป็นโทษ ทำให้โลภ
ตัดปัจจัยได้ เราก็ตัด ของเรา ได้ เมื่อตัดของเราได้ ก็ตัด เรา ได้ แต่ที่เธอทำๆ กันนั้น เธอจะตัด เรา แต่ตัดไม่ยอมขาด เพราะว่ายังไม่ตัด ของเรา
สังวรไว้อย่างหนึ่งว่า คนเรา วิสัยคนนั้นสูงแล้วลงมาต่ำไม่เป็น คนที่ต่ำแล้วอยากไปสูง เพราะความทะเยอะทะยานอยาก .......................... ลา
◄ll กลับสู่สารบัญ
webmaster - 19/1/11 at 12:53
80
(Update 19-1-54)
คำเทศน์ของ ท่านพ่อพระอินทร์
15 กันยายน 2518
สอนเด็กๆ
☺ อินทราช
☺ รักกับหลง ไม่เหมือนกัน ชอบด้วยนิสัย ชอบด้วยสงสาร ชอบด้วยเอาใจก็มี เธอต้องมีเหตุผลในตัวเธอ ชีวิตจิตใจเธอไม่มีใครอีก นอกจากตัวเธอ ฉะนั้น
การตัดสินใจต้องสัมพันธ์กัน แล้วอาศัยการดูด้วยเหตุผลเป็นหลักใหญ่ อย่าคิดเหมือนปลาไล่กัดหางตัวเอง ชีวิตเรา ถ้าคิดผิดแล้วน้ำตาจะหยด ใจจะตก
จำไว้ทุกข์อยู่ที่ใจ
☺ เอาเถอะ เราต้องใจกว้างพอที่จะรับความจริง ต้องรับฟังในสิ่งที่เป็นสาระ เป็นตัว ถ้าใจแคบ ฟัง คิด ทำ เฉพาะเข้าข้างตัวเองแล้ว
เรานั่นแหละลงโทษตัวเรา เรานี่แหละที่หาทุกข์มาให้ตัว
ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกจากตัวเรา จงมั่นใจเด็ดขาดในตัวเรา ถ้าคิดว่าทำถูกแล้ว
☺ ก่อนนอน ขอให้ท่องคาถาปู่จนหลับ ความคิดที่จะเกิดปัญญาบ้าง ก็ต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์ คือกินอิ่มนอนหลับพอเพียง อย่าคิดหนัก
จะทำให้ประสาทเสีย
เธอเป็นคนคิด ฉะนั้น ใช้มันก็ต้องพักให้มันพอ เครื่องจักรยนต์ยังมีร้อน เมื่อทำงานมากก็ต้องมีกำหนดพัก ถ้าไม่พักก็พัง นับประสาอะไรกับสมองคน อ่อนๆ
นิ่มๆ
เอาใหม่นะ ดีก็อยู่ที่เธอ ชั่วมันก็ที่เธอ ทำเถอะ ไม่เสียหาย ใจเราเท่านั้นบังคับให้ได้ อย่าไปผูกกับอะไร ผูกกับตัวเองดีกว่า
☻ (ปัญหา ไม่อยากเชิญเทวดามาช่วยรักษา กลัวเทวดาลำบาก)
☺ เทวดาอย่าเปรียบกับคน ท่านรู้หน้าที่ รู้ว่าอะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร ท่านมีสัจจะ
อย่าเอามาเปรียบกับคนที่ยังมีกิเลสห่อหุ้มตัว
19 มีนาคม 2518
☺ คนเรามักโลภ บางครั้งทางดี บางครั้งไม่ดี ได้โน่นขอนี่ เสียนั่นขอใหม่ ไม่ฝึกไม่ฝน หามาด้วยความสามารถของตัวเอง
เมื่อเวลาเจอทุกข์ก็ค่อยนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดีแต่จะยกมือพนมด้วยจิตนอบน้อมก็หามีไม่
☺ เป็นสันดานของคนที่หาประโยชน์ใส่ตัว
โกสีย์
13 พฤศจิกายน 2519
เฉพาะบุคคล
☺ วันนี้เป็นวันมงคล นิมิตหมายไว้ว่าลูกได้พรในสิ่งที่เป็นกุศลผลบุญ ได้พบในสิ่งประเสริฐ ได้มีฤกษ์ที่ดี พ่อก็ขออวยชัยให้พร
พ้นทุกข์ เวทนา เคราะห์กรรม
อันที่จริง คนเรานั้น หากจะหมดกรรมเลยนั้นก็คงจะไม่ลงมาเกิดเป็นคนหรอก แต่เราเป็นคน ย่อมมีกรรมติดอยู่จะมากหรือน้อย อยู่ที่การกระทำ จะหนักหรือเบา
อยู่ที่บุญ
15 ธันวาคม 2519
อินทราช
☺ บุญ บารมีเสมือนเงินทุน ถ้าจะต่อดอกออกผลก็ยิ่งทวีรวยขึ้น ถ้าใช้อย่างเดียวก็หมด เสมือนว่าบารมี ถ้าคนรู้จักทำบุญ ทำทาน
มีศีลธรรม ก็จะอยู่ในธรรม ประพฤติธรรม ถ้าใช้ในทางอวิชชา อกุศล อบายมุข ก็หมดบุญบารมี ฉะนั้นไม่น่าหนักใจ เรารู้อยู่ว่าเราต่อหรือเราใช้
21 กุมภาพันธ์ 2520
☺ พ่อขออนุโมทนาที่ลูกๆ เปี่ยมไปด้วยความกตัญญู ระลึกถึงพ่อทุกคราวไป จึงขออนุโมทนาบุญ พร้อมทั้งอุทิศพรให้ทุกๆ คน
ด้วยอานุภาพของท่านบรมครู จงประสิทธิ์ประสาทพรอันเป็นมิ่งมงคลแก่ท่านทั้งปวงในปัจจุบันสมัย ณ เทวสถานแห่งนี้ว่า
พระอันเป็นพระยศขององค์พระสมณโคดม จงประจักษ์ประดุจผุดขึ้น ในใจทุกๆ คน ทุกๆ ท่าน จตุรพิธพรชัยจงประสบทุกเมื่อ ทุกครา
ที่ยังระลึกบุญอยู่ พระนิพพานจงเป็นที่ปรารถนาตลอดไป
อินทราช
6 เมษายน 2520
อินทราช
☺ มา เข้ามา 2 คนที่จะบวช โมทนา
อานิสงส์แห่งการบวชนั้น เพื่อทดแทนบุญคุณแห่งบุพการี บิดามารดาทั้งสองท่านนี้ ถ้าหากจะเปรียบบุญ พระคุณก็มหาศาลยิ่งนัก
เมื่อเราเกิดมา มารดาท่านก็แสนทรมาทรกรรมด้วยความยากลำบาก เจ็บปวดยิ่งกว่าอะไร กว่าจะเติบโตได้จากการเป็นทารก ท่านก็อุตส่าห์เลี้ยงด้วยเลือดในกาย
ท่านให้แสนเป็นสุขใจ ท่านจะเจ็บเท่าใดท่านไม่ว่า ท่านยินดีทำให้
ส่วนบิดานั้นเล่าก็เพียรกระทำงานเหนื่อยยาก เพื่อมาเลี้ยงเราให้เราได้มีใช้มีกินอย่างอุดม แล้วเรานึกบ้างไหมว่าท่านเหนื่อยสักปานใด
อานิสงส์นี้สุดที่จะกล่าวให้จบในวันเดียวได้
จำไว้นะ บวชต้องพร้อมด้วย กาย วาจา ใจ ทำให้ดีที่สุด แล้วกุศลจะส่งตน
20 ตุลาคม 2520
อยากจะขอความสามัคคี
☺ สามัคคีจะเกิดได้เพราะบ้านกลาง จะแตกได้เพราะบ้านกลาง รู้ความสำคัญไหม ?
บ้านกลาง เป็นแหล่งกระจายข่าว เป็นที่อนุเคราะห์ผู้มาปฏิบัติธรรม ถ้าบ้านกลางพร้อมที่จะเป็นบ้านกลางก็จะไม่มีอะไรที่
จะทำให้คนเข้ามาหาพระธรรมโดยไม่ต้องมีความวิตกกังวล
อินทราช
9 มกราคม 2521
อินทราช
คนที่ 1
☺ ปฏิบัติให้เป็นเอก อย่าให้อารมณ์กวัดแกว่ง สิ่งนี้จะนำให้ลูกถึงธรรมโลกียะ และธรรมโลกุตระ
☻ (ถาม ชาตินี้มีหวังทำได้ตลอดหรือ ?)
☺ กำลังเราไหวไหมเล่า
☻ (ตอบ คิดว่าไหว)
☺ อย่าท้อ อย่าแกว่ง จงมั่นใจ ความมั่นใจนี่แหละ คือพลังผลักดันแรงใจให้กล้าแข็ง มีกำลังใจในสติ สมาธิ ปัญญา อุตสาหะ วิริยะ
คนที่ 2 (อยากจะตัดไปพระนิพพานในชาตินี้)
☺ กรรมเสมือนเจ้าหนี้ ตัวเราเสมือนลูกหนี้ เมื่อเราสร้างบุญก็เสมือนตัวใช้หนี้เงินตรา เราตั้งใจจะ ไป ในชีวิตนี้
ซึ่งก็เหมือนตั้งใจจะไม่พบกับการเกิดขึ้น เหมือนกับว่าเราจะหนีหนี้ เจ้าหนี้เขารู้ว่าเราตัดสินใจที่จะไปให้พ้นๆ เขาก็เลยเปิดฉากการทวงหนี้ย้อนต้น
แต่ถ้าบุคคลใดยังไม่คิดที่จะไป เขาก็เรียกหนี้ตามระยะเวลา
☺ สุขอยู่ที่ไหน ?
☻ (ตอบ อยู่ที่ใจ)
☺ แล้วแก้ที่ไหน ?
☻ (ตอบ แก้ที่ใจ)
☺ นั่นแหละ ทำใจให้มั่นคง ในเมื่อลงมือที่จะคิดแล้ว ต้องตั้งมั่นในสติ อย่าให้ทุกข์กินใจจนท้อถอยหมดกำลัง อย่าให้สุขกินใจจนใจเห่อเหิม
หลงประมาท สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ทำได้ทันที แต่เราต้องบังคับ ทำให้ได้ เพราะทุกคนตามใจตนให้หลงมาหลายแสนชาติแล้ว จะมาตัดใจในวันสองวันไม่ได้
พยายามไปให้ขีดความสามารถของเราเพิ่มได้แค่ธุลีเดียวก็ดีมากแล้ว
☺ พยายามนะ ทุกคน
29 ธันวาคม 2525
☺ นั่งเฉยๆ ปู่จะให้พร ภาวนาว่า สหัชชะ หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย และหมดอวิชชา ปีหน้าขอให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
5 พฤษภาคม 2527
☺ ขอให้ลูกและหลานๆ ทุกคน จงช่วยพยุงพระศาสนาให้ถาวร ช่วยงานของพระท่านให้ไปดี
☺ มูลนิธิ ศูนย์ (ที่ใช้เครื่องหมาย) รูปของพ่อหลั่งน้ำนั้น นับว่าประเสริฐแท้ พ่อจะช่วยพยุงกิจกรรมให้เป็นคุณ แต่ลูกๆ ทั้งปวงก็ต้องสมานสามัคคี
ช่วยด้วยแรงและปัญญา พ่ออยู่ในทุกที่ที่ลูกและหลานต้องการ สิ่งที่ทำให้พ่อปิติยิ่งนักคือการที่ลูกและหลานประพฤติในธรรม
มั่นใจว่าแดนสุดท้ายที่จะพบลูกหลานพร้อมหน้าคือแดนแห่งพระนิพพาน
◄ll กลับสู่สารบัญ
81
คำเทศน์ของ ท่านยมราช
(ท่านยมราชไม่ใช่ฝ่ายนรก ความจริงท่านเป็นพรหมอนาคามี ทำหน้าที่กันคนไปสวรรค์ก่อนลงนรก กล่าวคือคนที่ทำดีและชั่วก้ำกึ่งกัน
ไม่ชัดว่าจะไปข้างไหน ท่านยมราชทำหน้าที่ชำระความ โดยถามว่าระลึกถึงความดีอะไรที่เคยทำไว้บ้าง ถ้านึกไม่ออกจะถามอีกจนครบ 3 ครั้ง ถ้านึกออก บอกได้
ท่านจะส่งไปสวรรค์ก่อน ถ้า 3 ครั้งนึกไม่ออกก็จำเป็นต้องลงนรกไป ท่านยมราชไม่มีหน้าที่ไป ปลดชีวิตมนุษย์ อย่างที่พูดๆ กัน)
4 มิถุนายน 2517
ประทับทรง
☺ การพูดให้แสลงใจผู้อื่น ให้เจ็บใจ มีผลเป็น 2 เท่า การพูดภาษากับการวางตัว ทำให้เหมาะสม
☺ การในเรื่องการรักษา การประทับทรง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้มีพระคุณ พ่อ แม่ จะอนุโมทนา ให้กรวดน้ำทำบุญให้เขาทำอุทิศเสมอ
มีผลเต็มที่ฉันรับรอง ผลเท่ากับนั่งพระกรรมฐาน
☺ โดยเฉพาะการรักษา เสียสละกายใจ ผลเป็น 3 ใน 4 ของการปฏิบัติพระกรรมฐาน เพิ่มมาจากการปฏิบัติ แสดงถึงการที่เขาเสียสละพลังกาย ใจ
เพื่อความสุขความสงบ ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ บรรเทาทุกขเวทนาต่างๆ ผลมี เป็นกุศลได้เต็มที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เต็มที่
รับรองการรักษานี้ เป็นการช่วยชี้แนวทางเพื่อให้คนใกล้ชิดมาบำเพ็ญกุศล เพื่อให้เขาผู้ที่ทรง อุทิศกุศลได้เต็มที่
☺ การแนะนำแนวทางนี้เป็นการมาเตือนสะกิดไว้ จับความไว้ให้ดี ท่านจะบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าคนนี้ต้องอย่างนั้นอย่างนี้ บอกได้แต่ทางแก้
แม้ฉันเองดูบัญชีเห็นแก่ตาก็บอกไม่ได้ เธอมีไหวพริบปฏิภาณก็ใช้เอาเอง แต่ส่วนมากก็มักมีกรรมมาบังตาตัดรอนเสีย
☻ (ถาม แขนที่เป็นโรคผิวหนัง เป็นมานานรักษาไม่หาย ต้องใส่เสื้อแขนยาวเป็นเพราะกรรมอะไร ?)
☺ เธอนะ เมื่อชาติเป็นเยาว์วัย เธอเกลียดสัตว์ที่มีผิวหนังน่าเกลียด ชาติก่อนเมื่อสมัยเป็นกัปมาแล้ว เธอฆ่าสัตว์หลายตัวพวกคางคก ตุ๊กแก
เวลาอุทิศส่วนกุศลนึกถึงเขาบ้าง แม้ชาติก่อนแสนชาติมาแล้ว อยู่กรุงปัญจะมีขอทานผู้หนึ่งเป็นโรคผิวหนัง มาขอเธอผู้เป็นคนชั้นกลางเป็นแพทย์ เธอไม่ทำการรักษา
ดูถูกเขา มีผลแก่ตัว หญิงนั้นเป็นผู้ที่เป็นโรคเรื้อน เธอเป็นแค่นี้สบายถมไปแล้ว เพราะมีบุญที่เธอหนีได้
☻ (ถาม จะหายไหม ?)
☺ หาย..........เขาจุดธูปบนเรื่องเธอ ได้ถวายสังฆทาน 9 องค์ เธอจงอนุโมทนาส่วนกุศลด้วย ที่ขอ เขาขอไว้ว่ากรรมดีต่างๆ ที่เขาได้กระทำมา
เขาได้แผ่ส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรของเขา ของเธอ และของคนอื่นได้รับโดยทั่วถึง ฉันรับรองผลเต็มที่ อานิสงส์นั้นแรงยิ่งถ้าแผ่ด้วยใจบริสุทธิ์
ทำไปเช่นนั้นอานิสงส์แรง
☺ ของทุกอย่าง เมื่อความดีมากระทบ และบุคคลได้กระทำความดีไว้บ้างก็มีอานิสงส์มาก เธอจงวิ่งหนีความชั่วเจ้ากรรมนายเวรจะได้ตามไม่ทัน
เหมือนกับเธอแจกของผู้คน โดยเฉพาะเมื่อใครมาขอ เมื่อเธอให้เขาแล้ว ของทุกอย่างจึงผันแปรไป
☺ อย่างที่เคยบอก บัญชีแนะอย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่ตามมา คนบางคนก็ไม่ตรงดวงชะตาเพราะวิ่งด้วยบุญเร็วมาก
เช่นกรรมนี้จะเกิด กลับไม่เกิด กรรมที่ยังไม่ควรก็เกิดก่อน เธอวิ่งด้วยความดี บุญบารมี พวกเธอจงประพฤติคุณความดีเถิด
☻ (ถาม ขาเจ็บ กล้ามเนื้อฉีกก็เป็นเรื่องของกรรมใช่ไหม ?)
ถ้าไม่ใช่กรรมก็เป็นเอ็งทำเอง ที่เจ็บนั้นกรรมเก่า การกระทำต่างๆ มีผลสนองจากอดีตและปัจจุบัน อดีตมีผลให้เจ็บ
ถ้าระมัดระวังก็หลีกได้ กรรมเป็นหลักธรรมดา กรรมปัจจุบันคือการกระทำของเธอเอง ของทุกอย่างคอยอยู่แล้ว ถ้าเปิดช่องว่างก็เข้าสบาย
ถ้ารักษาดูแลเต็มที่ก็ไม่เป็น เธอวิ่งเร็วแค่ไหน วิ่งแค่นั้น อย่าไปนึกถึงกรรมเก่าที่เป็นหมาไล่ฟัด เธอวิ่งเร็วอยู่แล้วหนีได้ทัน แต่ถ้าเร็วไป หกล้ม
หมาก็ไล่ฟัดทัน เล่นกีฬาหนักๆ ย่อมีการกระทบกันเป็นธรรมดา
☻ (ถาม กลัวกรรมจะเข้าซ้ำเติมเวลาเล่นรักบี้)
เอ็งพูดมา ถ้าพูดอย่างคนก็เรียกว่า ไร้เดียงสา การที่เอ็งเล่น มนุษย์ตนไหนมันชอบ อยู่ดีๆ เอาตัวไปให้เจ็บ
เอาตัวไปให้เขาเอาเท้าเบื้องล้างเหยียบ เอาตัวให้เขาทุ่มลงดิน มันเป็นกรรม เธอสนุก เธอมีเกียรติด้วยการเอาตีนมากระทบหน้า เธอจงสนุกในกรรมของเธอไปเถิด
เธอจงภูมิใจในกรรมของเธอไปเถิด
☻ (ถาม ของเด็กหนุ่มอีกคนหนึ่ง ทำสังฆทานแล้วทำไมขาจึงยังเจ็บอยู่ ?)
กรรมดีเป็นเรื่องของกรรม ฉันถามเธอว่า เธอก็หายแล้วแต่เธอไม่พัก เธอยังติดด้วยกามฉันทะ แล้วเมื่อไรมันจะหาย ? แล้วก็มาโทษเทวดา
นอนก็ไม่เป็นเวลา เอาขาไปตรากตรำอีก แล้วเธอมาโทษท่านผู้มีพระคุณ
จงคิดไตร่ตรองเอาเอง ตัวเป็นผู้กระทำ ไม่มีใครเขาหามาใส่ ไม่มีใครเขามาใส่ร้ายโยนกรรมให้ตัว มีสมองก็ไม่ไตร่ตรอง เป็นมนุษย์มีปัญญามีสติ
ถามก็ถามให้เป็นเรื่อง อย่าถามอย่างไม่มีเหตุผล เราเป็นเวไนยสัตว์ อย่าให้ต่ำกว่าเวไนยสัตว์
☺ วันนี้เป็นวันพระข้างบน สิ่งที่ฉันอำนวยพรให้เธอได้ ก็ขอให้ตั้งอยู่ในพระพุทธคุณ พระพุทธวัจนะในความดี ในความสุขใจทั้งปวง
ขอให้พ้นจากความเป็นอันตราย ประสบความสุขใจเป็นที่ตั้ง กรรมดีทั้งหลายฉันขอโมทนา ขอเป็นสักขีพยาน พวกเธอได้พบได้เห็น ได้พูดต่อพระอริยเจ้า เป็นบุญ
ก็มีอีกหลายกลุ่ม ที่ได้เช่นเรา จงอย่าประมาทในกรรมทั้งปวง ม่ายงั้นกรรมจะตามทัน
☻ (ถาม ถวายกุศลให้ท่านทุกวันจะเป็นบุญ ?)
☺ ในเมื่อกระทำดี จิตมีความอิ่มเอิบ เราทำความดีจิตเป็นผู้บอก ถ้าเราทำความดีโดยการบริจาคปัจจัย แล้วมีความเสียดายในปัจจัยนั้น
เราก็จะไม่อิ่มเอิบในความดี แต่ถ้าเป็นการกระทำด้วยศรัทธา ด้วยน้ำใจแล้ว จิตจะมีความอิ่มเอิบ ชุ่มชื่นเป็นอย่างยิ่ง ถามตัวเองดูก่อน
☻ (ถาม เวลาถวายกุศลบางทีก็เผลอๆ จะได้ผลหรือ ?)
ได้ เป็นผลของความดีที่เธอทำ ฉันโมทนาได้ทุกสิ่ง เวลานั่งกรรมฐานนั่งหลับ ฟุ้งซ่าน นั่นแหละฉันรับรองกุศล
อย่างน้อยแม้แต่วินาทีหนึ่งก็ช่วยสัตว์ผู้ยากได้
☺ จำไว้ เมื่อเราพิจารณาแล้วคิดได้ ตรองได้ตรองตามจิตเราจะสงบว่า จริงหนอ! ใช่เช่นนั้น! จนสงบอยู่พักหนึ่งที่เรียกว่าฌาน
ถ้ายังไม่เกิดเป็นฌานก็เรียกว่าอุปจารสมาธิ จะเกิดเมื่อจิตนิ่งเงียบ น้ำตาไหล ไม่ใช่ด้วยเสียใจ เกิดด้วยปีติด้วยเธอที่เรียกว่าเข้าขั้น
การเป็นปีติด้วยจิตภายใน มองเห็นปีติในพระพุทธคุณ พระพุทธวัจนะคำสอน พระเมตตา เทวดา พรหมโลก และนิพพานเป็นหลัก
ที่ท่านเสด็จ ส่วนมาก กายในได้เห็น การในสิงอยู่ภายใน จะสังเกตได้เมื่อเราหลับหรือฝัน
กายในจะออกมารู้ล่วงหน้าก่อนว่าจะพบอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะกายในมันออกมา
เจ้ากรรมนายเวร ได้แก่
1. สัตว์ที่ยากไร้ ที่เราทำเขามา
2. ที่เราไปเบียดเบียนเขา