Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 14/3/20 at 05:42 [ QUOTE ]

ประวัติวัดจันทาราม (วัดท่าซุง) และอดีตเจ้าอาวาส


ประวัติวัดจันทาราม (วัดท่าซุง) และอดีตเจ้าอาวาส
รวบรวมโดย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต


(บริเวณศาลาที่พักเจ้าอาวาสองค์เก่า เดิมเป็นที่พักของอดีตเจ้าอาวาส ภายหลังเป็นที่ทำอาหารของ "คณะศาลาเก่า" ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นภาพถ่ายไว้นานแล้ว คือ โบสถ์และวิหารหลังเก่า)

...วัดท่าซุงนี่ตั้งมาก่อนสร้างกรุงศรีอยธยา 30 ปี ประมาณปี พ.ศ.1863 ในยุคต้นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อใหญ่องค์แรกที่เป็นผู้สร้างวัด ชื่อ "ปาน" ชื่อเหมือนกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ลักษณะของท่านรูปร่างหน้าตาใหญ่โต (จึงเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่") ท่านธุดงค์มาพบที่นี่เข้าแล้วก็เลยสร้างวัดตรงนี้ ปลูกกุฏิหลังคามุงแฝกขึ้นมา 9 หลัง ในสมัยก่อนโน้นลำคลองนี้เป็นคลองเล็ก ลำคลองนี้มันโตสมัยที่มีเรือเมล์ เรือเขียว เรือแดงวิ่ง มีคลื่นตลิ่งมันก็พัง สมัยก่อนลำคลองเล็กใช้น้ำในคลองไม่ได้ ต้องใช้น้ำในลำห้วยเล็ก ๆ หลังวัด

คำว่า "วัดจันทาราม"
...ชื่อนี้ตั้งตามชื่อดีตเจ้าอาวาสชื่อ "จันท์" (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายทหารชื่อ "จันท์" มียศถึงพระยา กลับจากศึกเชียงใหม่ มาตามหาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดจันทาราม" ตามชื่อท่านสมภาร) หรืออีกชื่อหนึ่งที่บุคคลทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดท่าซุง"

เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มาก จึงมีการขนส่งท่อนซุงมาลงท่าน้ำ ซึ่งมีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านบริเวณวัดท่าซุง เพื่อผูกเป็นแพล่องไปตามแม่น้ำ

ในสมัยหลวงพ่อจันท์นี่ วัดเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะท่านมีความรู้ทางโลกมาก่อน เป็นถึงพระยา จึงมีความรู้ทางวิทยาการต่างๆ มากมาย ต่อมาท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์

ในปี พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ (องค์ที่สอง) ท่านได้ธุดงค์มาปักกลด ชาวบ้านท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธามาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำที่วัดท่าซุงนี้ ท่านก็รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้มีท่านเพียงองค์เดียวในตอนแรก สร้างเสนนาสนะเจริญรุ่งเรืองในสมัยของท่าน

และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ท่านได้บอกอีกว่า หลวงพ่อใหญ่ท่านบรรลุพระอรหันต์ที่วัดนี้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านเป็นอนาคามี ก่อนจะมรณภาพท่านก็เป็นพระอรหันต์

หลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน) ท่านเป็นผู้ช่วยหลวงพ่อใหญ่บูรณะวัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อใหญ่ ท่านเป็นพระอรหันต์รูปที่ 2 ต่อจากหลวงพ่อใหญ่

วัดเจริญต่อมาจนถึงสมัยของ "หลวงพ่อเล่ง" และ "หลวงพ่อไล้" ท่านเป็นพี่น้องกัน ท่านเป็นพระทรงฌานทั้งสองรูป เมื่อจะมรณภาพทุกขเวทนามาก ท่านก็เห็นทุกข์ของการเกิด เป็นทุกข์เพราะร่างกาย เห็นคุณของคำสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็เป็นพระอรหันต์ก่อนมรณภาพทั้งสองรูป

ต่อจากนั้นก็ถึงยุคภิกขุพานิช วัดไม่ได้บูรณะมา 47 ปี จนกระทั่งถึง วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง (ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2535) หลังจากอดีตชาติเคยมาบูรณะถึง 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 เป็นครั้งสุดท้าย


...โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้บูรณะวัดท่าซุงครั้งแรกในสมัย "พระยาโกษาเหล็ก" ครั้งที่ 2 สมัย "ขุนแผน" สมัยแรกในชีวิตบั้นปลายของ "เจ้าพระยาโกษาเหล็ก" ท่านได้มาบูรณะวัดท่าซุงเป็นครั้งแรก จะเป็นสมัยหลวงพ่อใหญ่ (ปาน) เป็นเจ้าอาวาส หรือสมัย "หลวงพ่อจันท์" เป็นเจ้าอาวาสก็เป็นได้

ประการสำคัญต้นตระกูล (มอญ) เดิมของเจ้าพระยาทั้งสองนั้น มีพื้นเพอยู่ที่ "บ้านสะแกตรัง" หรือ "สะแกกรัง" ในปัจจุบันนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับ "วัดท่าซุง" เป็นอย่างมาก บั้นปลายชีวิตท่านก็นั่งสมาธิตายที่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ (หลังหอพักนักเรียนหญิง)


ประวัติหลวงปู่ใหญ่
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

"...พอเสร็จที่ฝั่งนี้ยังไม่มี ที่ฝั่งนี้ยังไม่ใช่ ที่ฝั่งนี้ซื้อทั้งหมดนะ ซื้อ ๑๐๐ ไร่กว่า ค่อยมาซื้อไปทีละหน่อยๆ ญาติโยมเขาช่วยกัน มาซื้อทีหลัง

พอเริ่มจะทำโบสถ์ ฝนตกเป็นฝอยเป็นละออง เม็ดสีแดง เป็นฝนโบกขรพรรษ พอวันจะนำพระประธานเข้าอีกเหมือนกัน มีสภาพเหมือนกัน แต่หลวงพ่อขนมจีนท่านบอกว่า "แกจะทำอะไรอย่าลืมขนมจีนข้านะ"

ท่านช่วยอย่าลืมขนมจีน บางทีเราก็ลืม ท่านก็ช่วย ท่านเป็นพระเจ๊กนี่ พ่อโล้ง..เล้งๆ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ รองจากหลวงพ่อใหญ่

แต่หลวงพ่อใหญ่ท่านบอก "แกเป็นน้องข้ามาหลายชาติ แกช่วยหน่อยเฮอะ" ก็เลยถามประวัติความเป็นมาว่า "วัดท่าซุงนี่เริ่มสร้างกันตั้งแต่เมื่อไหร่..?" ท่านบอกเอาเริ่มสร้างกันนะ...

"...ชื่อจริงของท่านชื่อ "หลวงพ่อปาน วิสุทธิปัญโญ" เป็นคนชัยนาทตอนนั้นถูกเกณฑ์ไปตีเวียงจันทน์ พอไปตีเวียงจันทน์ได้แล้ว ก็เลยชาติได้เมือง ทหารก็เลยได้เมีย (มัน ม.ม้า เหมือนกัน ชาติได้เมือง ทหารได้เมีย)

มีเมีย ๒ คน โก้ไปเลย ต่อไปต่อมาก็หลายปีนึกถึงพ่อแม่ขึ้นมา ก็เลยมาเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่ คงจะนานหลายปี พ่อแม่อยู่ชัยนาทก็ไม่พบ เขาบอกย้ายไปที่เมืองสวรรค์

เวลานั้นเมืองสวรรค์มันก็ ๑๖ - ๑๗ กิโล แต่อย่าลืมว่ามันเป็นป่านะก็หากันยาก ท่านก็เลยตัดสินใจบวชเป็นพระ ออกธุดงค์ก็ไปเจอะพ่อเจอะแม่แล้วก็ธุดงค์เรื่อยๆ ไป

จนกระทั่งอ้อมไปไกลมาก เลียวกลับจะเข้ามากลับชัยนาทมาถึงจุดนี้ ที่นีเป็นป่าดงดิบๆ คือเป็นวัดท่าซุงอันเป็นวัดร้าง อันซึ่งล่าสุดวัดนี้สร้างก่อนที่จะสร้างกรุงศรีอยุธยามาได้ ๓๐ ปี หลวงพ่อใหญ่ (ปาน)

ในขณะนั้นอายุได้ ๖๐ ปี มาถึงที่นี่เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๓๓๒ (ตรงกับรัตนโกสินธ์ศก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.๑ ครองราชย์เป็นปีที่ ๙)

หลวงพ่อใหญ่มาถึงก็ปักกลด ชาวบ้านนำอาหารมาใส่บาตรถวาย แล้วนิมนต์ให้ท่านอยู่นี่ที่เพื่อสร้างบูรณะวัดท่าซุงให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

ต่อมาเจ๊กเส็งอายุ ๔๕ ปี เป็นพ่อค้าขายสินค้าทางเรือ พายเรือมาพบหลวงพ่อใหญ่ จึงอยู่ช่วยกันสร้างบูรณะวัด โดยปลูกกุฏิไม้ ๙ ห้อง เป็นหลังแรก

ต่อมาก็ทำการสร้างบูรณะโบสถ์ วิหาร พื้นที่วัดท่าซุงสมัยนั้นทั้งหมด ๓๗๐ ไร่ ที่หน้าวัดถึงกึ่งกลางแม่น้ำในปัจจุบัน โดยสมัยนั้นแม่น้ำยังเป็นสายเล็กๆ อยู่

และตรงปากทางเข้าวัดมีเสาหงส์ทองคำอยู่คู่หนึ่ง ซึ่งต่อมาก็ถูกขโมยลักไป เช่นเดียวกับพระพุทธรูปทองคำบนชื่อในโบสถ์ วิหารก็ถูกขโมยหมด

สมัยนั้นรุ่งเรืองมากจนหลวงพ่อใหญ่มรณภาพ ชาวบ้านขอให้เจ็กเส็งบวชและเป็นเจ้าอาวาส ท่านชอบฉันขนมจีน จึงเรียกท่านว่า "หลวงพ่อขนมจีน"

ปัจจุบันสร้างมณฑปและองค์จำลองแทนท่านไว้มุมซ้าย "หลวงปู่สีวลี" อยู่มุมขวา ในบริเวณรั้วหลังพระอุโบสถปัจจุบัน ท่านเป็นพระให้ลาภ ใครบนให้แก้บนด้วยขนมจีน น้ำยา น้ำพริก

สำหรับ หลวงปู่พระสีวลีแก้บนด้วยข้าวสุก ๑ หม้อ แกง ๑ หม้อ ถวายตอนเช้าจุดธูปบอก หลังจากนั้น ๑๐ นาที ให้ลาของบนแล้วนำไปถวายเพลพระภิกษุสงฆ์ในวัด ได้บุญสังฆทานอีกต่อหนึ่ง

หลังจากนั้นต่อมาหลวงพ่อขนมจีนมรณภาพ "หลวงพ่อจัน" เป็นเจ้าอาวาส วัดจึงเปลี่ยนชื่อว่า "จันทาราม" ต่อมาหลวงพ่อจันมรณภาพ หลวงพ่อเล่งเป็นเจ้าอาวาส

ต่อมาหลวงพ่อเล่งมรณภาพ หลวงพ่อไล้น้องชายเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อพระราชพรหมยานกล่าวว่า พระทั้ง ๕ องค์ ท่านเข้านิพพานหมดแล้ว หลังจากนั้นวัดก็เริ่มทรุดโทรมลง

ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้รับนิมนต์มาอยู่ช่วยก่อสร้าง ขณะนั้นวัดเหลือพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่ (จากเดิมที่เคยมีอยู่ในอดีตในสมัยหลวงพ่อใหญ่ ๓๗๐ ไร่)

หอสวดมนต์ก็โย้เย้ วิหารร้าวหลังคาผุพัง โบสถ์ก็จะพัง...ตั้งแต่ปีนั้นท่านและพุทธบริษัทช่วยกันบูรณะวัดจนท่านมรณภาพ มีพื้นที่ ๒๘๙ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา

ถามว่า "ใครรู้ประวัติศาสตร์บ้างครับ...?"

ท่านบอก "ไอ้อ่อง ๆ ไอ้อ่องมันเคยเป็นกำนันเวลานี้มันอายุ ๙๓ ปี อยู่มโนรมย์ มันรู้เรื่องมันรู้ มันเคยเห็นวัด" ตอนนั้นแม่น้ำยังเล็กๆ เช้าวันนั้นก็ไปรับโยมอ่องมา ๙๓ ปี

เรานึกว่าเดินไม่ไหวที่ไหนได้แกมาแกห่อผ้ามาด้วย แกเดินไปอุทัย...ซวยเลย แกก็เล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังทุกๆ อย่างตรงหมด

ถามว่า "โยมเคยเห็นเสาหงส์ไหม...?"

แกตอบ "เคยเห็นครับ สมัยเด็กๆ ผมยังเดินขึ้นแถวนั้น ยังวิ่งเล่นอยู่เลย ไอ้บึงเล็กๆ ตรงนี้เป็นแม่น้ำออกไป แม่น้ำเก่าที่นี่น้ำขังน้ำไม่ขาดตลอดปี แม่น้ำใหมนี่มันแห้งใช่ไหม ในบึงมันไม่แห้ง แกอาศัยกินน้ำ "

แกเล่าตรงทุกอย่าง สภาพตรงทุกอย่าง เมื่อแกเล่าแล้ว พระหลวงพ่อใหญ่กับพระท่านยืนยัน เราก็ต้องเชื่อว่าตรง... นี่ประวัติความเป็นมาของวัดนี้

**โดยพระอัฐิของหลวงพ่อใหญ่ถูกเก็บไว้ที่วิหารตรีมุข ที่ประดิษฐานพระสถูปเสาบัวบรรจุพระอัฐิธาตุของหลวงพ่อใหญ่




[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 14/3/20 at 05:45 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top