Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 2/6/10 at 11:50 [ QUOTE ]

รบกวนเรียนถามเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ครับ


ขอรบกวนเรียนถามท่านที่ทราบครับ

แม้จะไม่ได้เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อมรรคผลของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาโดยตรง แต่ก็เป็นที่สงสัยมาตั้งแต่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อ ทำให้ทราบว่าหลวงพ่อท่านบำเพ็ญบารมีขั้น วิริยะธิกะ ซึ่งต้องบำเพ็ญบารมีนานถึง 16 อสงไขยกับแสนกัป

ส่วน ศรัทธาธิกะและปัญญาธิกะ ใช้เวลาน้อยกว่าลงไป คือ 8 และ 4 อสงไขย

เลยมีความสงสัยว่า การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์จะเป็นแบบใดนั้น ท่านเป็นผู้เลือกเองตั้งแต่ปรารถนาพระโพธิญาณ หรือว่าขึ้นกับอะไร มิฉะนั้นไฉนจึงเลือกการบำเพ็ญที่ใช้เวลานานมากถ้าสามารถเลือกที่เร็วกว่าได้

พยายามสอบถามก็ไม่มีท่านใดให้คำตอบกระจ่างได้สักที
จึงขอรบกวนสอบถามมาดังนี้ครับ

คมสัน


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 2/6/10 at 19:04 [ QUOTE ]

ตอบ


ผมก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน เคยสอบถามพุทธภูมิท่านหนึ่ง ท่านว่าอยู่ที่ปรารถนาอยากให้สมัยที่ตนเองเป็นพระพุทธเจ้ามีลักษณะอย่างไร
ถ้าอยากให้ทั้งโลกมีความสุขสบายเท่าเทียมกันหมด ไม่มีคนชั่วเลย ก็ต้องอธิฐานวิริยธิกะ
ถ้าอยากให้ในเขตศาสนาของตนมีความสุข นอกเขตตนเองอาจมีคนเลวบ้าง ไม่มีความสุขบ้าง ต้องศรัทธาธิกะ
ถ้าไม่ซีเรียสว่าลูกศิษย์ต้องมีความสุขสบายทุกคน มีคนดีบ้างเลวบ้าง แต่ก็บรรลุธรรมได้ ก็ปรารถนาปัญญาธิกะ
ไม่แน่ใจนะครับว่าถูกต้องจริงหรือไม่ ใครทราบโปรดตอบเพิ่มเติมด้วย จะเป็นพระคุณมากครับ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/6/10 at 00:06 [ QUOTE ]


เรื่องนี้ตอบยากนะครับ มันเหมือนเป็นเรื่องปัจจัตตัง
คือ รู้ได้ด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับกำลังใจของผู้รับฟัง
ด้วย บางเรื่องเข้าใจยาก คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ยิ่ง
พูดให้ท่านที่ไม่ใช่วิสัยพุทธภูมิฟังยิ่งงงเข้าไปใหญ่

เอาเป็นว่ามาตราฐานก็คือ ตามที่หลวงพ่อสอนนั่น
แหละครับ ส่วนวิสัยการปรารถนาเราจะรู้ได้ด้วย
ตัวเอง ดูจากชีวิตประจำวันก็ได้

ถ้าจะทำอะไร ต้องคิดวิเคราะห์ก่อนเสมอ มักจะเป็นแบบปัญญา

ถ้าชอบทำอะไรแบบง่ายๆ สบาย(ไม่ใช่ขี้เกียจ)เช่น จะกินข้าวเย็น ซื้อข้าวกินก็ได้ อันนี้อาจเป็นศรัทธา

ถ้าจะกินมื้อเย็น ต้องทำเองทุกอย่าง ต้องให้อร่อยด้วย อันนี้มักจะเป็นวิริยะ

ข้อมูลนี้ ผมสังเกตเอาเองครับ อย่าเพิ่งนำไปใช้เป็นมาตราฐานอะไร!


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/8/10 at 22:33 [ QUOTE ]



แหม..คิดนานหลายเดือนเหลือเกินกว่าจะตอบ ไม่รุ้ว่าคนถามจะถามบุคคลทั่วไป หรือถามมุ่งเฉพาะผู้จัดทำเวป ถึงจะไม่มุ่งก็ขอแจมสักกะหน่อยน๊ะ ขอร๊าบ..!

ผมว่านะ..การปรารถนาพุทธภูมิ 3 ประเภท คงเป็นไปตามนิสัยของบุคคลผู้ปรารถนา หมายถึงแบ่งไปเองตามจริตของท่านผู้นั้น โดยเฉพาะบุคคลแรกในโลกที่สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เพราะยังไม่เห็นคำถามคำตอบแบบนี้ในหนังสือเล่มไหน ใครเจอช่วยบอกด้วย)

นั่นก็คือ "สมเด็จพระพุทธสิกขี" ที่ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นศาสดาเอกของโลก คือเป็นต้นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต้องใช้เวลานานถึง 40 อสงไขย ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านใช้เรียกพระนามว่า "สมเด็จองค์ปฐม" นั่นเอง

แสดงว่าผู้แสวงหาพระโพธิญาณเป็นองค์แรก จะต้องสร้างพระบารมีด้วยตนเอง ไม่มีตัวอย่าง ไม่มีเนื้อนาบุญให้บำเพ็ญเป็นแนวทาง ไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ จึงจำเป็นต้องใช้กาลเวลานาน

ครั้นถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อมา ในขณะเป็นพระโพธิสัตว์เริ่มได้รับพุทธพยากรณ์ต่อๆ กันมา จนกระทั่งพระพุทธเจ้าอุบัติในโลกภายหลังอีกมากมายหลายพระองค์ ความรู้จากพระพุทธเจ้าองค์แรกนั่นแหละ จึงทำให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญพระบารมีไม่ต้องถึง 40 อสงไขย

อีกทั้งในขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์ได้ถวายทานกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงทำให้บารมีเต็มเร็วขึ้น เพราะมีเนื้อนาบุญเป็นที่รองรับ ไม่เหมือนกับพระพุทธเจ้าองค์แรก ที่จะต้องแสวงหาเนื้อนาบุญด้วยตนเอง

ทั้งนี้ คงเป็นไปตามวิสัยของผู้ปรารถนานั่นเอง แล้วจึงได้แบ่งออกเป็นอัตโนมัติถึง 3 ประเภท ด้วยกันคือ

- บุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "ปัญญา" (คือบารมีทั้ง 10 ประการเต็มครบถ้วน แต่มี "ปัญญา" เป็นตัวนำ) ก็ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีเร็วหน่อย เพียงแค่ 4 อสงไขย อีกแสนกัป

- บุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "ศรัทธา" (คือ "ความเชื่อ" เป็นตัวนำ แต่ก็ทำบารมีทั้ง 10 ข้อเต็มบริบูรณ์) จึงใช้เวลาบำเพ็ญบารมีช้าไปสักนิดเท่าตัว คือ 8 อสงไขย อีกแสนกัป

- ส่วนบุคคลใดบำเพ็ญบารมีหนักไปในทางด้าน "วิริยะ" (คือมี "ความเพียร" เป็นหลัก โดยการนำบารมีที่เหลือด้วย) จึงใช้เวลาบำเพ็ญบารมีนานมากอีกเท่าตัว คือ 16 อสงไขย อีกแสนกัป ถึงแม้จะใช้เวลาสร้างพระบารมีมานาน แต่พอได้ตรัสรู้อภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ สมัยของพระองค์นั้นก็จะมีแต่คนมีบุญมาเกิดทั้งสิ้น ตามที่มีผู้ตอบได้ตอบไปแล้วนั้น

นี่เป็นหลักสูตรสั้นๆ แต่ในตำราบางแห่งยังกล่าวไว้อีกว่า...

- ปัญญาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 20 อสงไขย

- สัทธาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 40 อสงไขย

- วิริยาธิกะ ถ้าจะรวมก่อนหน้านี้ คือนึกในใจและเปล่งวาจา รวมกันแล้ว 80 อสงไขย


ฟังแล้ว..โอย..เหนื่อย พอบำเพ็ญจนเต็มแล้ว ยังต้องรอเข้าคิวอีกนับแสน..ไปดีก่า อ้าว..ไปไหนละ โธ่..ขอไปนอนก่อนงัย..!


ทีมงานฯ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/8/10 at 04:04 [ QUOTE ]


...ขอตอบตามที่ได้ยินมานะครับ...
...การปรารถนาแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับครั้งแรกที่ปรารถนาครับว่าได้รู้หรือได้เห็นพระพุทธเจ้าแบบไหนครับ...
...คือได้รู้ว่ามีพระพุทธเจ้ากี่ประเภท แล้วก็ตั้งใจเลือกว่าจะบำเพ็ญแบบไหน...


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/8/10 at 15:39 [ QUOTE ]


อัธยาศัย ๖ ประการ ของพระบรมโพธิสัตว์ที่น่าศึกษา


....นี่ก็เป็นอีกความเห็นที่ดีอีกแบบหนึ่งครับ..และยังมีที่จะเสริมอีกสักเล็กน้อย คือยังมีพระมหาเถรเจ้าพระองค์หนึ่งผู้เป็นพระอรหันตสาวก มีอภิญญาสมาบัติ ได้มีโอกาสขึ้นไปยังดุสิตสวรรค์ แล้วได้สนทนากับ พระศรีอาริยเมตไตรยเทพบุตร พระมหาเถรเจ้าได้ถามว่า

“ขอถวายพระพร พระองค์ทรงกระทำประการใด เพื่อยังพระอัธยาศัยที่จะให้พระโพธิญาณแก่กล้า”

.....สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งมีพระพุทธบารมีเปี่ยมล้นรอเวลามาอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ได้ตรัสตอบว่า

“ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมนี้เป็นพระโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในอัธยาศัย ๖ ประการ คือ

๑. พอใจที่จะบวช หรือ "เนกขัมมัชฌาสัย" คือ พอใจที่จะบวช รักเพศบรรพชิตยิ่งนัก

๒. พอใจความเงียบสงบ หรือ "วิเวกัชฌาสัย" คือ พอใจในความวิเวกเงียบสงบยิ่งนัก

๓. พอใจบริจาคทาน หรือ "อโลภัชฌาสัย" คือ พอใจในการบริจาคทาน สละความโลภตระหนี่

๔. พอใจในความไม่โกรธ หรือ "อโทสัชฌาสัย" คือ พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงอยู่
เนืองนิตย์

๕. พอใจในความไม่ลุ่มหลง หรือ "อโมหัชฌาสัย" คือ พอใจในการที่จะพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ ไม่ลุ่มหลงในอบาย เสพสมาคมกับบัณฑิตคนมีสติปัญญายิ่งนัก

๖. พอใจที่จะยกตนออกจากภพ หรือ "นิสสรณัชฌาสัย" ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารในภพน้อยภพใหญ่ มีความประสงค์ในพระนิพพานยิ่งนัก


.....พระคุณเจ้าผู้เจริญ.. นี่แหล่ะเป็นอัธยาศัย ๖ ประการ ที่ติดอยู่ในขันธสันดานของโยมอยู่เนืองนิตย์ พระโพธิญาณของโยมจึงแก่กล้ายิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ จนถึงกาลบัดนี้”


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/8/10 at 19:18 [ QUOTE ]


ว่าแต่ท่านทีมงาน ปราถนาพุทธภูมิ หรือว่า จะไปอยู่กับองค์หลวงพ่อในชาตินี้ละครับ โมทนาสาธุ



payslip_20100101125648[1].jpg - 48.44kb



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/8/10 at 21:11 [ QUOTE ]


รูปสวยดีครับ สมัยนี้หาดูยากมาก ผมได้ย่อภาพให้เล็กลงแล้วละ แล้วไม่ทราบว่าท่านที่โพสรูปในเวปนี่ ปรารถนาอะไรละครับ เพราะทีมงานฯ มีหลายคน คงต้องไล่ตระเวณถามกันทีหลัง

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 6/8/10 at 15:46 [ QUOTE ]


ก็จะพยายามไปอยู่กับองค์หลวงพ่อละครับ คิดว่าเหนื่อยมานานเหลือเกินแล้วแต่คนเลวๆอย่างผมคงจะยากอ่ะครับ แต่จะตั้งใจให้ถึงที่สุดครับ โมทนา

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 9/8/10 at 20:51 [ QUOTE ]


โมทนาเช่นกัน อย่าเพิ่งถล่มตัวเอง ขอให้สมหวังตามที่ตั้งใจนะครับ แล้วภาพนี่ถ่ายที่ไหนเมื่อไรละ ถ้าเปิดเผยไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะครับ

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 15/8/10 at 21:49 [ QUOTE ]


ผมก็สงสัยเหมือนกันครับ จึงไปค้นคว้าในหนังสือต่างๆมาได้ดังนี้

พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ (พิมพ์ครั้งที่๖)(๓ พฤษภาคม ๒๕๓๕)

หน้า ๕๓

พระพุทธภูมินี้มีอยู่ ๓ คือ

๑) ท่านที่เป็น อุคฆติตัญญู คือ ผู้รู้พลัน พอยกข้อความขึ้นก็รู้พลัน จึงบำเพ็ญ ปัญญาบารมีมาก และเข้มแข็งบำเพ็ญบารมี ๑๐ นั้นตลอดเฉพาะ-ออกคำตั้งปณิธาน และได้รับพระพุทธพยากรณ์ เป็น นิตย แน่นอนแล้ว ต้องบำเพ็ญ มีระยะกาล ๔ อสงขัย ๑ แสนกัป จึงมีชื่อว่า พระปัญญาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์

๒) ท่านที่เป็น วิปจิตัญญู คือ ผู้รู้ด้วยฟังอธิบาย จึงได้สร้างสมขึ้นให้แจ่มแจ้ง จึงมี สัทธา - ความเชื่อมั่น บำเพ็ญบารมี ๑๐ ตามสมควรไม่หยุด
เฉพาะกาล - ออกคำตั้งปณิธาน และ ได้รับพระพุทธพยากรณ์เป็น นิยต แน่นอนแล้ว มีระยะกาลถึง ๘ อสงขัย ๒ แสนกัป จึงมีชื่อว่า พระสัทธาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์

๓) ท่านที่เป็น เนยยะ คือ ผู้พอนำได้ มีเพียรมั่นคง บำเพ็ญบารมี ๑๐ ได้มากอย่างสบาย เพราะผ่านสิ่งกีดขวางได้หมด จึงเป็นผู้ยิ่งด้วย วิริย - ความเพียร
เฉพาะกาล - ออกคำปณิธาน และได้รับพระพุทธพยากรณ์เป็นนิยตแน่นอนแล้ว ต้องบำเพ็ญมีระยะกาล ๑๖ อสงขัย ๔ แสนกัป จึงได้มีชื่อว่า พระวิริยาธิกพุทธภูมินิยตบรมโพธิสัตว์


อีกเล่มหนึ่งคือ ปฐมมูลลี อนุสรณ์ในงานทอดกฐิน วัดป่าเขาน้อย ต.วังทรายพูล จ.พิจิตร หน้า ๕๖

ตะโตปุคคลา ยังมีบุคคล ๓ คน เป็นสหายกัน เมื่อเห็นพระสัพพัญญูเจ้าติกคะมะ มีรัสมีรุ่งเรืองงามหาสิ่งใดจะเปรียบปานมิได้ ทั้ง ๓ คนนั้นก็เกิดความเลื่อมใส มีใจชื่นชมยินดีในพระสัพพัญญูเจ้าองค์นั้น จึงพร้อมกันตั้งจิตอธิษฐานต่อพระพักตร์พระสัพพัญญูเจ้า แล้วว่า
เกิดมาในชาติใดๆ ขอให้ข้าได้เป็นพระสัพพัญญูเจ้าเหมือนกับพระองค์นี้
เมื่อพระสัพพัญญูเจ้าติกคะมะ ได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า
ถ้าท่านทั้ง ๓ ปรารถนาอยากเป็นพระสัพพัญญูเจ้าเหมือนอย่างเราแล้ว จงพากันสร้างรูปแห่งเราไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่มนุษย์ และเทวดาทั้งหลายเถิด
เมื่อทั้ง ๓ คนได้ฟังดังนั้นจึงปรึกษากันว่า เราจะสร้างพระพุทธรูปเจ้าอย่างไรจึงจะดี

ขณะนั้น ชายผู้หนึ่งจึงพูดว่า เราจักสร้างไว้ให้แล้วด้วยปัญญาพอเป็นที่ระลึกสักการะบูชาไว้ก่อน เมื่อจะสร้างไว้ให้สวยงามก็จะเป็นเวลานานนัก

ชายอีกคนหนึ่งจึงกล่าวอีกว่า เราจะสร้างให้ดีงามแต่พอสมควรตามศรัทธาแห่งเรา

ชายผู้หนึ่งจึงกล่าวอีกว่า เราจะสร้างไว้ให้ดีงามที่สุด เหมือนดังรูปพระสัพพัญญูเจ้า แม้ว่าจะนานเท่าใดก็ตาม เราจะอุตสาหะกระทำเพียรสร้างไว้ให้สวยงามจนได้

เมื่อคนทั้ง ๓ คนพูดไม่ตรงกัน ต่างคนต่างจะสร้างไว้ดังนั้น พระสัพพัญญูเจ้าทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์แล้วจึงพยากรณ์ว่า ตระกูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันเกิดมาภายหน้านั้นจะมี ๓ จำพวกคือ ปัญญาธิกะจำพวก ๑ สัทธาธิกะจำพวก ๑ วิริยาธิกะจำพวก ๑

ในหนังสือ พรสวรรค์รวมเล่ม ๑-๒-๓ หน้า ๑๙๒ มีบอกว่า

ทางปัญญาธิกะนั้น ต้องรู้ให้จริง รู้มาก รู้ลึกซึ้ง
ปัญญาธิกะ บารมีทำยาก

ในหนังสือลูกศิษย์บันทึกเล่ม ๓ หน้า ๓๗๒ มีใจความว่า

"...ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านเคยตรัสให้ฟังว่า ถ้าพระเมตตรัย และ พระรามเจ้า ไม่ต้องการสมมติพิเศษมากเกินไป ก็เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนตถาคตไปนานแล้ว เพราะพระโพธิสัตว์ทั้ง ๒ ท่าน ได้รับคำพยากรณ์ก่อนตถาคต ๑๒ อสงไขย..."


สำหรับตัวผมเองคิดว่าคงเหมือนกับการเดินขึ้นภูเขา ที่มีทาง ๓ ทางให้เลือก

ทางแรก ชันที่สุด มีระยะทาง ๔ อสงขัย ก็ถึงยอด คือเดินลำบากที่สุด แต่ใกล้ที่สุด

ทางที่สอง ชันน้อยลงมาหน่อย เดินสบายขึ้น แต่ต้องเดินไกล อีกเท่าตัว จึงถึงยอด

ทางที่สาม ชันน้อยที่สุด เดินสบายกว่าทางอันก่อน แต่ต้องเดินไกล กว่าทางก่อน อีกเท่าตัว จึงถึงยอด

อันหลังสุดนี่เป็นความคิดเห็นของกระผมเองนะครับ

เพราะจริงๆแล้วก็ยังสงสัยอยู่ดี คงต้องรบกวนท่านอื่นๆช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 23/8/10 at 09:33 [ QUOTE ]


สำหรับผมคงไม่ไหว มันไม่มีความเข็มแข็งเอาซะเลย หาทางไปอยู่กับองค์หลวงพ่อดีกว่า โมทนา

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/8/10 at 14:49 [ QUOTE ]


การปราถนาพุทธภูมิพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์ก็คือการบำเพ็ญเพียรบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ความเข็มข้นของจิตจะต้องทนทุกสภาวะเป็นงานและหน้าที่ขนสรรพสัตว์ให้พ้นวัตตะสงสาร ท่านใดคิดว่ารับหน้าที่อันหนักหน่วงนี้ได้ก็ขออนุโมทนาสาธุ

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/8/10 at 14:49 [ QUOTE ]


การปราถนาพุทธภูมิพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์ก็คือการบำเพ็ญเพียรบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ความเข็มข้นของจิตจะต้องทนทุกสภาวะเป็นงานและหน้าที่ขนสรรพสัตว์ให้พ้นวัตตะสงสาร ท่านใดคิดว่ารับหน้าที่อันหนักหน่วงนี้ได้ก็ขออนุโมทนาสาธุ

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top