สอบถามเรื่องพิธีสะเดาะพระเคราะห์วันวิสาขบูชา
เรียนถามทีมงานค่ะ
หากไม่สามารถเข้าร่วมพิธีสะเดาะห์พระเคราะห์ในวันวิสาขบูชาได้แต่ฝากคนเข้าพิธีบูชาแทนและ
เมื่อถึงเวลาทำพิธีทำจิตระลึกเหมือนว่าเราเข้าร่วมพิธีจะมีผลเหมือนเข้าพิธีหรือไม่ค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
|
|
การฝากเข้าร่วมพิธีสะเดาะห์พระเคราะห์แทน ยังไม่เคยปรากฏว่ามีหรือว่าทำได้ นับตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณท่านยังมีชีวิตอยู่ เพราะจะต้องทำด้วยตัวเองนะครับ
คงไม่เหมือนกับพิธีการรับยันต์เกราะเพชร
ทีมงานฯ
|
|
ขอสอบถามเพิ่มเติมครับ ดังนี้ครับ
๑. ในวันงานต้องเตรียมอะไรไปบ้างครับ
๒. ต้องแต่งชุดขาวหรือเปล่า
๓. เคยเห็นผ่านๆ ว่าทางวัดมีเครื่องบูชาเตรียมไว้ให้ไม่ทราบว่าค่าเครื่องบูชาทำบุญชุดละเท่าไหร่ครับ จะได้เตรียมปัจจัยไปถูกครับ
ขอบพระคุณมากครับ
|
|
วันงานไม่ต้องเตรียมอะไรไปมาก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการบูชา วันนั้นนอกจากจะมีพิธีสะเดาะเคราะห์แล้ว ลูกศิษย์วัดท่าซุงจะถือว่าเป็น
"วันไหว้ครูใหญ่" ด้วย (หมายถึงตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา)
สะดวกครับ ถ้ามีชุดขาวก็ดี ปกติทางวัดจะมีเครื่องบูชาเตรียมไว้ ทำบุญตามกำลังศรัทธาครับ
|
|
Quote: | Originally posted by webmaster
การฝากเข้าร่วมพิธีสะเดาะห์พระเคราะห์แทน ยังไม่เคยปรากฏว่ามีหรือว่าทำได้ นับตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณท่านยังมีชีวิตอยู่ เพราะจะต้องทำด้วยตัวเองนะครับ
คงไม่เหมือนกับพิธีการรับยันต์เกราะเพชร
ทีมงานฯ |
ทีมงานฯ ท่านนี้ได้ตอบคำถามไปแล้ว เป็นการตอบเพียงประเด็นเดียว ต้องขออภัยด้วย นั่นเป็นกรณีที่ไม่ป่วย
แต่กรณีที่ป่วยไม่สามารถจะมาร่วมพิธีได้ สมาชิกท่านหนึ่งได้กรุณาไปค้นคว้ามาให้อ่านกัน ดังนี้ครับ
ต้องขอขอบคุณ คุณ wannachai007 ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
|
|
ขอบพระคุณทางทีมงานและคุณwannachai007เป็นอย่างยิ่งค่ะ
|
|
ขออนุญาติเรียนถามอีกคำถามค่ะ
พิธีสะเดาะเคราะห์วันสงกรานต์กับพิธีสะเดาะพระเคราะห์ในวันวิสาขะบูชาให้ผลเรื่องการสะเดาะเคราะห์แตกต่างกันไหมและอย่างไรค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
|
|
การทำพิธีสะเดาะเคราห์นั้น สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ทำไว้นั้น อาจจะแตกต่างที่พิธีกรรมแต่ละคราว
เพราะช่วงนั้นอาจจะมีคนที่เข้าพิธีมีเคราะห์กรรมหนักเบาไม่เท่ากัน
ท่านจึงมีวิธีแก้กรรม ๒ วิธี วิธีแรก คือวิธีบังสุกุลเป็น บังสุกุลตาย ด้วยผ้าขาว นี่ถือว่าทำพิธีแก้กรรมคนที่มีกรรมหนัก ถือว่าเป็นการต่ออายุ
คือตายแล้วเกิดใหม่นั่นเอง
ส่วนวิธีแก้กรรมที่ ๒ เป็นพิธีสะเดาะพระเคราะห์โดยรวม คือคนที่มีกรรมหนักเบาคละกันไป ด้วยการบูชาพระเคราะห์ตามวันปีเกิดของแต่ละคน
ส่วนใหญ่ก็จะบูชาพระเคราะห์โดยรวม คือครบทั้ง ๑๐๘ ไปเลย ซึ่งทางวัดจะทำเครื่องบูชาไว้ให้พร้อมทุกพิธีกรรม
|
|
|