Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 16/6/17 at 08:13 [ QUOTE ]

(ฉบับที่ 7 ตอนที่ 16 จบ) จดหมายจาก...พระเดชพระคุณหลวงพ่อ "พระราชพรหมยาน"


สารบัญ (เลือกคลิกที่รายการ)

[01]
ฉบับที่ ๑ ลูกทั้งสอง
[02] ฉบับที่ ๒ อ.วิบูลย์ มีชู
[03] ฉบับที่ ๓ ชัยวัฒน์ นาคสวัสดิ์
[04] ฉบับที่ ๔ ลูกตุ๋ย (สิริรัตน์ โรจนวิภาต)
[05] ฉบับที่ ๕ คุณอาจินต์ และ คณะธัมมวิโมกข์
[06] ฉบับที่ ๖ พระมหาถวัลย์ วัดโพธิ์เมืองปัก
[07] ฉบับที่ ๗ เรื่องปลุกเสกที่วัดปิตุลาธิราช
[08] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๒ คำถามเรื่อง..หลวงพ่อฤาษีลิงขาว
[09] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๓ หลวงพ่อเล่าเรื่องไปเมืองจันทบุรี
[10] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๔ เรื่องไปเมืองจันทบุรี (ต่อ)
[11] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๕ ตอบข้อสงสัย..ทำไมวัดท่าซุงถึงไม่จัดเป่ายันต์เกราะเพชร

[12] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๖ "ตำราพระร่วง" หลวงพ่ออธิษฐานให้ฟ้าผ่า
[13] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๗ หลวงพ่อเล่าวิธีการปลุกเสกอย่างไรถึงจะมีผลดี
[14] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๘ ข้าวตอกพระร่วง
[15] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๙ หลวงพ่อไปอัญเชิญตำราพระร่วง
[16] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๐ อนุสรณ์แห่งความรัก พระพุทธเจ้าหลวง
[17] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๑ หลวงพ่อเล่าเรื่องอานุภาพ "ผ้ายันต์ธงมหาพิชัยสงคราม"
[18] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๒ พระสุปฏิปันโนร่วมปลุกเสกผ้ายันต์ฯ
[19] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๓ พิธีพุทธาภิเษกผ้ายันต์ฯ
[20] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๔ พิธีพุทธาภิเษกผ้ายันต์ฯ (ต่อ)
[21] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๕ วินิจฉัยข้อมูลจากทั้งสองเว็บ

[22] ฉบับที่ ๗ ตอนที่ ๑๖ รายชื่อพระวัดท่าซุงที่ได้รับมอบวิชา "เป่ายันต์เกราะเพชร" จากหลวงพ่อฯ


อนุสรณ์ครบรอบ ๑๐๑ ปี แห่งชาติกาล

ของหลวงพ่อ พระราชพรหมยานมหาเถระ


...ผู้โพสต์ใคร่ขออนุญาตเจ้าของจดหมาย ที่ได้เขียนถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ แล้วท่านได้เมตตาตอบให้ด้วยองค์ท่านเอง นับว่าเป็นสิ่งของที่มีค่าสูงยิ่ง อันเป็นมรดกตกทอดมาจนปัจจุบันนี้ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านภายหลัง จึงขอขอบคุณและอนุโมทนาเจ้าของจดหมายทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย....

วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี
๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘

ลูกทั้งสอง

...จดหมายและเงินถวายร่วมงาน ครบรอบร้อยปี หลวงพ่อปาน พ่อได้รับแล้วขออนุโมทนาที่ลูกอุตส่าห์ส่งมาร่วมทำบุญ บุญคราวนี้หนักมาก เพราะจะมีพระอรหันต์มาร่วมด้วยประมาณ ๑๐ องค์ ถ้าท่านไม่ป่วยไข้ ไปนิมนต์แล้ว ทุกท่านเต็มใจรับ

ความประสงค์ของสมเด็จที่แนะนำพ่อไว้ว่า ต่อไปเมื่อถึงปีให้นิมนต์พระอรหันต์มาชุมนุมรับกุศลครั้งหนึ่ง ท่านแนะนำมานานแล้ว พ่อก็หาโอกาสหาพระอรหันต์ไม่ได้

มาปีนี้ท่านแนะนำเองว่าชื่อไร อยู่ที่ไหนบ้าง เมื่อไปตามที่ท่านแนะก็พบ และก็รู้เรื่องกันง่าย เป็นอันว่าความประสงค์ของท่านบรรลุผล พ่อเองก็ดีใจมาก

เมื่อวันที่ ๒๑ มิ.ย. พ่อก็เกณฑ์ หลวงพ่อชุ่ม วัดชัยมงคล ลำพูน เข้านิโรธสมาบัติ มีคนไปเกินกว่าพันคน ขบวนรถยาวเหยียด และมีโอกาสพบอีกองค์หนึ่งที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ทุกองค์ที่พบแล้ว รับจะมาร่วมงานยกช่อฟ้าวันที่ ๑๐ ทุกองค์ ลูกฝากเงินมาทำบุญร่วมนี้ดีแล้ว การคบพระอริยเจ้า เราก็มีโอกาสเป็นอริยะด้วย

การกลับของลูก พ่อเห็นใจเพราะไม่ว่าจะย้ายไปใกล้หรือไกล มันยุ่งด้วยประการทั้งปวง เมื่อจะไปก็เหนื่อยเพราะการจัดของเตรียมตัว เมื่อจะมาก็ยุ่งเรื่องเตรียมเดินทาง และหาที่ให้ลูกพัก เป็นอันว่ายุ่งทั้งไปและมา เมื่อมาแล้วจะมาพักที่วัดนี้หลายๆ วันก็ได้ เพราะอาคารสถานที่มันเกิดขึ้นมากอย่างคาดไม่ถึง

ลูกมาเห็นเองดีกว่าเล่าให้ฟัง เวลาสามเดือนไม่ใช่ ๓๐ ปี แต่พระพุทธเจ้าท่านว่า

“ทางไกล สำหรับคนที่ล้าแล้ว ราตรีนานสำหรับคนผู้ตื่นอยู่ เวลานานสำหรับคนที่คอยเวลา”

ก่อนมาได้สงเคราะห์เพื่อน โดยจัดหาสถานที่ให้เพื่อนนั้นดีแล้ว เป็น สังคหวัตถุ คือการสงเคราะห์เป็นบุญใหญ่

บุญประเภทนี้ถ้ามองไม่เป็นมันมองไม่เห็น หนังสือฤๅษีทัศนาจร พ่อมีอยู่ ๑ เล่มกำลังหาดู ถ้าพบพ่อจะส่งมาพร้อมจดหมาย ขณะที่เขียนนี้ยังไม่ได้หา เขียนแล้วจะหาให้ พ่อจะส่งเรื่องจริงอิงนิทาน และ หนังสือล่าพระอาจารย์มาให้ ไม่ทราบว่าลูกมีแล้วหรือยัง

เห็นเขียนมาว่ามีทุกอย่าง ก็เลยงดไว้ก่อน ถ้าหาหนังสือฤๅษีทัศนาจรได้ พ่อจะส่งมาพร้อมกับหนังสือเล่มนี้ พ่อไม่เคยคิดเลยว่าจะเป็นนักเขียนกับเขา เมื่อเขียนเข้ากลับเป็นที่ถูกใจคน หนังสือเดี๋ยวนี้ออกถึง ๑๐ เล่ม แล้วกระมัง โดยเฉพาะหนังสือฤๅษีทัศนาจร เล่ม ๑

เวลานี้ออกแล้ว ๔ เล่ม ออกไม่ถึง ๑๐ วัน เรียบวุธเลย ๑,๐๐๐ เล่ม ขายไม่กี่ชั่วโมงเขาชอบอ่านกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรด ขออ่านทุกเล่มที่ออก สมเด็จพระบรมราชินีท่านตรัสกับใครพ่อจำไม่ได้

เวลานี้เขาถวายกันเรื่อยๆ เมื่อหนังสือออก พ่อดีใจที่ลูกจะกลับมาช่วยกันเหนื่อยมาซ้อมใหญ่ต่างประเทศแล้วสบาย เมื่อกลับเมืองไทยไม่ต้องวิตก ที่ บ.น.๔ เขาลือว่าลูกจะมาอยู่ ลูกปฏิบัติตนถูกต้องแล้ว ความดีทำให้มีความสุข เห็นชัดแล้ว

ที่สุด...พ่อขอให้ลูกและหลานตลอดจนโยมหญิง จงมีความสุขตลอดกาลเถิด

จากพ่อ

(พระมหาวีระ ถาวโร)


อธิบาย - ลูกทั้งสอง คือ ท่านพล.อ.อ. อาทร โรจนวิภาต และ คุณสิริรัตน์ (ตุ๋ย) โรจนวิภาต
อธิบาย - งานยกช่อฟ้า คือวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘ เป็นการจัดงานใหญ่ครั้งแรกของวัดท่าซุง



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/6/17 at 05:36 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 2

(Update 21 มิถุนายน 2560)



วัดท่าซุง อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๘

คุณวิบูลย์ มีชู

.......จดหมายของคุณฉันได้พร้อมธนาณัติหลายวันแล้ว แต่ที่ตอบล่าช้าไปเพราะขันธ์ ๕ มันรวน ตอนนี้ค่อยดีขึ้นบ้าง จึงมีโอกาสตอบ เรื่องทำบุญ คุณอย่าคิดว่าน้อย บุญเป็นความดีของดี แม้แต่เล็กก็มีค่าสูงส่ง เช่น “เพชร” แม้เม็ดเล็ก ก็มากราคาสูง ความตั้งใจของคุณจะสมประสงค์ได้แน่นอน เพราะมองดูแล้วเวลานี้ กระแสใจสะอาดพอสมควร

คุณจงพยายามคิดไว้เสมอว่า “เราจะต้องตาย” เมื่อตายแล้ว สมบัติอื่นเราเอาไปไม่ได้ นอกจากความดีกับความชั่ว ถ้าเอาดีติดตัวไปเราก็มีสุข ถ้าเอาชั่วติดตัวไป เราก็มีทุกข์ เราทำดีไว้ สนใจใสนความดีเป็นปกติ ไม่ละเมิดศีล มีเมตตา ไม่อิจฉาริษยาใคร มีอารมณ์เป็นสุข หาทางสร้างความสุขด้วยความสงเคราะห์ มีสัจจะในความดี

เมื่อมีชีวิตอยู่ก็มีความสุขเป็นคนดี เมื่อตายแล้วก็มีความสุขเป็นผีดี ถ้าคิดว่า ความเกิดเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราไม่ต้องการความเกิดต่อไป ตั้งใจไว้เสมออย่างนี้ หมดความเมาในลาภยศ สรรเสริญ สุข เท่านี้สบายใจบอกไม่ถูก คุณตามฉันทันแน่...........

ขอผลบุญที่คุณประสงค์ จงสำเร็จตามที่คุณตั้งใจในชาติปัจจุบันนี้ โดยฉับพลันเถิด

(พระมหาวีระ ถาวโร)



อ.วิบูลย์ มีชู คนยืนกลาง (ใส่เสื้อสีม่วง) พร้อมคณะศิษย์พิษณุโลก

ห้องสมุดนวราชบพิตร
ศูนย์ศิษย์หลวงพ่อปาน
๖ มกราคม ๒๕๑๙

คุณวิบูลย์

.......จดหมายและธนาณัติของคุณ ลงวันที่ ๒ ม.ค. ๒๕๑๙ ฉันได้รับแล้ว ตั้งแต่เย็นวันที่ ๕ ม.ค. นี้ ขออนุโมทนาที่กรุณาส่งปัจจัยมาร่วมบำเพ็ญกุศล การที่คุณมีจดหมายมาแล้ว ฉันตอบ ฉันเห็นว่าเป็นกฎธรรมดา และระเบียบที่จะต้องปฏิบัติ เพราะเป็นจดหมายที่มีใจความ มีคุณค่าในทางความดี ถ้าเป็นจดหมายที่หาสาระไม่ได้ ฉันก็โยนลงตะกร้าเสียไม่น้อยเหมือนกัน

ฉันขอขอบคุณที่ลอกจดหมายเผยแพร่เป็นสาธารณะ ถ้าจดหมายของฉันเป็นประโยชน์ขนาดนั้นก็ดีใจมาก แต่ความรู้สึกของฉัน ฉันคิดว่า อารมณ์คุณเข้าถึงธรรมดีแล้ว มากกว่า จึงเห็นว่าจดหมายนั้นมีค่ามาก จนถึงกับคัดลอกแจกจ่ายคนอื่น การทำแบบนั้น ถ้าจดหมายมีคุณค่าในทางความสุข ท่านก็จัดว่าเป็นธรรมทาน มีผลเป็นมหากุศลด้วย

พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" แปลว่า การให้ธรรมเป็นทาน ชนะทานทั้งปวง การที่คุณเผยแพร่ธรรม แม้เป็นธรรมเล็กน้อยในวงจำกัด แต่ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจบ้างตามควร จึงจัดอยู่ในเกณฑ์มหากุศล

ขอผลความดีนี้ จงส่งผลให้คุณมีโอกาสเข้าถึงธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบรรลุแล้วในชาติปัจจุบันนี้เถิด

ขอได้รับความนับถือ

(พระมหาวีระ ถาวโร)


◄ll กลับสู่สารบัญ



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 21/6/17 at 15:15 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 3

(Update 27 มิถุนายน 2560)






หลวงพ่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อประดิษฐานบนยอดฉัตร ศาลาจตุรมุข
หน้าพระอุโบสถวัดท่าซุง เมื่อปี ๒๕๑๙ โดยอัญเชิญมาสรงน้ำก่อนที่ศาลานวราช
(เดิมเป็นสถานที่ประทับของในหลวง รัชกาลที่ ๙ เมื่อปี ๒๕๑๘ )



วัดจันทาราม (ท่าซุง)
๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๖

คุณชัยวัฒน์ นาคสวัสดิ์


.....ฉันจับใจในเจตนาของคุณที่เป็นกุศล คุณตั้งใจดีมาก การเข้านิพพานไม่มีอะไรยาก เพียงแต่ชนะใจตัวเองเท่านั้น คือ

๑. ไม่ทำหรือคิดว่าจะทำความชั่วทุกอย่า (ตามแบบศีล ๕)

๒. สร้างความดี ที่ทำให้เกิดความสุขแก่ตน และคนอื่นทุกอย่าง

๓. ชำระใจ ให้เข้าใจใจเหตุผล เคารพตามความเป็นจริง ไม่มีอารมณ์ฝืนกฎธรรมดา


เห็นโลกเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง รู้เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์คือ ความอยากไม่รู้จบ ไม่สนใจกับความเคลื่อนไปของสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เห็นความตายเป็นกีฬาของชีวิต ไม่ต้องการความเกิด


รู้ตัวเสมอว่า ทรัพย์สินที่หามาได้นั้น เราไม่มีโอกาสปกครองได้ตลอดกาล เมื่อถึงเวลาแล้วต้องพลัดพรากจากมันเป็นปกติ เมื่อมันจากเรา หรือเราจากมัน ไม่มีอารมณ์เป็นห่วงหรือหนักใจ เห็นความตายเป็นกีฬาสำหรับเด็ก เท่านี้จะทำให้ใจสบาย

.....เรื่องสวรรค์ หรือ พรหม ถือว่าต่ำเกินไป ไปนิพพานเลยดีกว่า นิพพานมีแต่สุข หาทุกข์ไม่ได้

พระมหาวีระ ถาวโร

(โปรดติดตามตอน "ฉบับที่ ๒" ต่อไป)



(Update 28 มิถุนายน 2560)



หลังจากหลวงพ่อสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ท่านก็นำน้ำสรงนั้นประพรม
ให้แก่ญาติโยมทุกคน อันมี ท่านเจ้ากรมอาทร โรจนวิภาต เป็นต้น




วัดจันทาราม (ท่าซุง) อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
๑ กรกฎาคม ๒๕๑๗

คุณชัยวัฒน์ นาคสวัสดิ์

.....จดหมายของคุณมาคอยฉันที่วัดนานแล้ว แต่ฉันไม่มีเวลาอ่าน ทั้งนี้เนื่องด้วยการเดินทางเป็นเหตุ มาวันนี้พอมีเวลาบ้าง จึงค้นจดหมายที่คั่งค้างประมาณ ๕๐ ฉบับออกมาตรวจ ปรากฏว่าจดหมายของคุณแอบมานอนกับกองจดหมาย อาศัยที่จดหมายมีมากจัด ขอตอบสั้นๆ ดังนี้

(๑) การได้ทิพจักขุญาณ ไม่จำเป็นต้องได้พระโสดาบัน เมื่อฝึกอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิ ก็ทำให้เกิดได้ แต่ไม่ใคร่สว่างหรือชัดเจน ต่อเมื่อฌานสูงขึ้น และทรงตัวได้ดี ก็จะสว่างและชัดเจนขึ้นตามขนาดของฌานสูงขึ้น และทรงตัวได้ดี ก็จะสว่างและชัดเจนขึ้นตามขนาดของฌาน

ถ้าเป็นพระอริยเจ้า ก็จะชัดเจนมากขึ้น อุปาทานจะไม่ใคร่ล้อเลียน แต่ก็เอาแน่ไม่ใคร่ได้นัก ทางที่ดีเมื่อได้แล้ว ควรหาทางติดต่อกับพระพุทธเจ้า ผลจะสมบูรณ์แบบ

(๒) สวรรค์มี ๖ ชั้น พรหมมี ๒๐ ชั้น คือ รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น พรหมที่ไม่มีรูปมี ๔ ชั้น รวม ๒๐ ชั้นพอดี

(๓) ถ้าเราให้เป็นกสิณโดยตั้งใจไว้เดิมว่า เพ่งสีเขียว ก็เป็นนิมิตกสิณถ้าไม่ได้ตั้งใจไว้เดิม มันปรากฏเอง เป็นนิมิตของอานาปานุสสติ

(๔) เรื่องการเพ่งนิมิต จะเอาไว้ภายในหรือภายนอก ก็มีผลเสมอกัน

(๕) ดวงปฐมมรรค ที่แท้ก็คือดวงกสิณ เมื่อมีสมาธิดี และอารมณ์ตัดสังโยชน์สามได้ ก็เป็นปฐมมรรค ถ้าอารมณ์ตัดสังโยชน์ไม่ได้ก็เป็นกสิณธรรมดาดูแต่ดวงไม่ได้ ต้องดูในที่ละกิเลสด้วย


.....ขอตอบเท่านี้นะ หวังว่าคงจะเข้าใจ ด้วยจดหมายที่จะตอบมีมาก และเห็นว่าตอบเท่านี้พอแล้ว

ขอได้รับความนับถือ

(พระมหาวีระ ถาวโร)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 27/6/17 at 05:07 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 4

(Update 5 กรกฎาคม 2560)


วัดท่าซุง
๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒

ลูกตุ๋ย

.....จดหมายของลูกลงวันที่ ๒๒ ธันวานี้ พ่อได้รับและทราบความตลอดแล้ว พ่อดีใจที่ราคาบ้านไม่แพงเกินไป และปรากฏว่ามีคนเมตตามาก พ่อถามแม่ศรีแกดูแล้ว แกบอกว่าแกช่วย ลูกทั้งสองคนแกช่วยเหมือนกัน ช่วยสร้างบ้านในชาตินี้และช่วยจัดหาที่ๆ สวรรค์ให้ และก็เตรียมที่สำหรับนิพพานด้วย

แกบอกให้พ่อบอกลูกอย่างนี้ และแกตั้งใจช่วยจริงทุกอย่าง แกขอให้ทำใจให้สงบอย่าดิ้นรน เรื่องความเป็นอยู่ ทุกอย่างเป็นกฎของกรรมหนีไม่พ้น ให้พยายามสร้างอารมณ์สงบ กรรมจะได้ตามไม่ทัน ถึงทันก็มีผลเบา ไม่มีกำลังเต็มที่ ขณะเขียนนี้แกก็มายืนบอกอยู่ แกบอกว่า

"....อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่าเราต้องตาย อย่างห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่องยศศักดิ์ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบายจะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ในฐานะแม่ที่ดีแต่อย่าดิ้นรนจนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป.." แกบอกอย่างนี้ พ่อก็เขียนตามคำบอก

ต่อนี้ไป..โลกจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย สงครามจะหนักหน่วงขึ้นทุกวัน สมณะชีพราหมณ์จะล้มตายเพราะมือข้าศึก จงทำใจให้สงบด้วยอำนาจกรรมฐานถือว่าทุกอย่างเป็นของธรรมดา อย่าทุรนทุราย ทุกคนไม่มีใครหนีความตายได้ คิดว่าตายเมื่อ ไร เราจะไปนิพพานเราไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

เราจะมีนิพพานเป็นที่สุดจะไม่ยอมหยุดอยู่ชั้นใดทำใจอย่างนี้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้และให้เป็นเรื่องปกติ เรื่องลูกจงรักเมื่อเรามีลมปราณ ทำหน้าที่ของพ่อแม่ให้สมบูรณ์และคิดไว้เสมอว่า เราต้องตายเขาต้องตายเมื่อต่างคนต่างตายมีอะไรที่เราจะเป็นทุกข์เพื่อเขา เมื่อเราหรือเขาตายหัดวางหัดคิด หัดยับยั้งใจค่อยคิดค่อยทำ ค่อยๆ อบรมตัวเอง

อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม ทำอย่างนั้นเอาตัวไม่รอด ต้องคอยจับผิดตัวเองคอยลงโทษตัวเอง คอยเป็นโจทก์ฟ้องตัวเอง เอาธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นตุลาการจงถือธรรมเป็นสำคัญ อย่าถือคน ถ้ายังติดคนก็จะไม่ถึงธรรมถ้าถึงธรรมก็พ้นจากการติดคน ถ้าติดคน ติดยศของคนติดฐานะของคนติดศักดิ์ศรีของคนไม่มีอะไรดี เราก็ไม่เข้าถึงธรรม

ทุกอย่างที่ทำไปควรปรารภธรรมอย่าเห็นแก่คน เรื่องการต้อนรับก็มุ่งเอาธรรมเป็นสำคัญทำไปด้วยใครครวญพิจารณาไปด้วย จงเข้าใจว่าทุกอย่างที่ทำเป็นเรื่องของชาวโลกแต่ก็เป็นธรรม คือการทรงตัวของชาวโลกถ้าเรายังไม่เกิดเราก็ต้องทุกข์อย่างนี้อะไรทำให้เราทุกข์ เพราะความอยากทำให้เราทุกข์ถ้าเราไม่อยากเราก็ไม่ทุกข์

ที่เราทุกข์ก็เพราะชาติก่อนเราไม่หมดอยาก และชาตินี้เราก็ยังอยาก เมื่อไรที่ความอยากสิ้นไป เมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน อย่าเที่ยวซุกซนทำตนเป็นคนถือมงคลตื่นข่าว ความดีไม่ใช่อยู่ที่คนอื่นความดีอยู่ที่เรา ใครเขาเป็นอรหันต์เราไปเกาะเขา เราจะได้อะไรเขาเป็นกันที่เราไม่ใช่เป็นที่เกาะการเกาะคนโน้นเกาะคนนี้

เอาอะไรมาเป็นเครื่องชำระจิต จงเอาที่บ้าน ที่นั่ง ที่นอนของเราเป็นป่าช้า อย่าคิดว่ามันเป็นทิพย์วิมานเพราะที่อยู่ในชาติปัจจุบันมันมีสภาพเป็นซากศพ มันผุพังเปื่อยเน่า มันทำลายตนเองเป็นปกติ เราและสถานที่ต่างก็เป็นซากศพจะสนใจอะไรกับความสวยสดผ่องใส

มันสวยจริงหรือผ่องใสจริงหรือ โลกนี้มีอะไรดีจงอย่าหวั่นไหวกับความเป็นไปของโลก โลกต่อไปจะเป็นไฟ เราจงทำใจเป็นน้ำใช้คำว่าช่างมัน ช่างมันตลอดไป เขาให้ทำเราทำ เขาสั่งหยุดเราหยุด นี่เป็นภาวะของโลกแต่เรื่องทำใจให้เป็นต้องทำตลอดไป รักษาอารมณ์รู้จักตายรู้ว่าโลกเป็นของสลายตัวเท่านี้ก็พอแล้ว ก็จะเข้าถึงนิพพานได้

เรื่องข่าวลือว่าฤๅษีชีไพรเก่งไม่ควรสนใจ เขาลือว่าพระวิเศษไม่ควรสนใจสิ่งที่น่าสนใจคือกฎธรรมดาที่มีในตัวเรา เท่านี้ก็เป็นคนถึงท่านผู้วิเศษ พ่อเห็นว่าขณะนี้โลกเต็มไปด้วยความวิเศษที่เป็นผี หลอกหลอนคน พ่อดีใจที่ลูกไม่ดิ้นรนไม่กระเสือกกระสนไปกับเขา

พระมีแล้ว คำว่าพระนั้น ควรเอาเราเองเป็นพระตามที่พระท่านบอก ไม่ใช่ไปรอใครยกยอปอปั้นให้เราเป็นพระอย่าบูชาวัตถุ จงบูชาความจริง การติดวัตถุเป็นการติดวัฏฏะ ละวัตถุได้ก็ชื่อว่าละวัฏฏะได้

เมื่อคืนวันที่ ๒๔ สมเด็จท่านตรัสให้ พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทา ๑๐ ท่านที่มีอยู่ในเมืองไทย เป็นเณรเสีย ๓ องค์ เป็นพระ ๗ องค์ ท่านให้ช่วยบรรเทาภัย แต่ท่านก็ตรัสเองว่า พระอรหันต์ทำลายกฎของกรรมไม่ได้ห้ามโลกไม่ให้รบกันไม่ได้ วันนั้นแม่ตามท่านไปนิพพาน ท่านทรงกรุณาโปรดให้ติดตามไป ท่านทรงตรัสว่า

"....นับแต่วันนี้ไป คนที่จะเข้าถึงนิพพานยุคนี้มีแสนคนเศษเท่านั้น ท่านกำหนดเวลาตั้งแต่นี้ถึงสิ้นศาสนา อีกประมาณสามพันปี..."

ดูเถอะ..คนตั้งพันล้านเข้าถึงนิพพานได้แสนคนเศษ และต้องรอรวมเวลาอีกสามพันปี คนที่เกิดแล้วตายเกินกว่าสี่หมื่นล้านคน นอกนั้นเป็นเหยื่อของอบายภูมิหมด

ท่านทรงมอบภาระให้ท่านพ่อ สงเคราะห์ด้วยพระพุทธมนต์ คือทำหลักกันอันตราย จงให้ท่านทำให้ เมื่อไปอยู่ทุกที่ๆ ย้ายไปเท่านี้ก็พอเอาแค่ปลอดภัย ไม่ใช่กันตาย แม่ลาละ...วันหน้าจะคุยใหม่

เป็นอันว่า พ่อเขียนตามคำบอกเพลินเลย แกพูดแล้วแกก็หัวเราะ แกบอกว่าขอสั่งอีกนิด บอกลูกของแม่เล็กๆ ด้วยว่า แม่เขาให้ทำตามที่แม่สั่ง...

.....วันนี้คุยเท่านี้นะ เพราะแม่ศรี แกคุยพอแล้ว....

พระมหาวีระ ถาวโร


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/7/17 at 07:44 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 5

(Update 12 กรกฎาคม 2560)



วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๘
เรื่อง ช่วยพิมพ์หนังสือ ฯลฯ

ถึง คุณอาจินต์ และ คณะธัมมวิโมกข์

......ผมขออนุโมทนา ที่คุณพร้อมคณะจัดทำ ธัมมวิโมกข์ จัดหาทุนช่วยจัดการพิมพ์ หนังสือของขวัญวันรับสมณศักดิ์ และ หนังสือรับพระเสวยอายุ รวมสองชนิดนี่มีมูลค่าถึง ๖๗๘,๓๐๐ บาท (หกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสามร้อยบาทถ้วน) จัดว่าเป็นเงินมิใช่น้อยเลย

ผมถือว่าคณะของคุณทำความดีเพื่อพระพุทธศาสนา และสร้างความสบายใจให้แก่บรรดาพุทธศาสนิกชนอย่างมหาศาล เป็นการแบ่งเบาภาระของผมไปเป็นอย่างมาก หากคณะของคุณไม่ช่วย ผมก็จะต้องจัดหาเงินก้อนใหญ่นี้มาจ่าย

ภาระอื่นก็หนักมากอยู่แล้ว แต่ถ้าเพื่อความสุขของปวงชน แม้จะทำให้ท่านเหล่านั้นมีความสุขเพียงเล็กน้อย ผมก็เต็มใจทำ เพราะคณะของเรามีบุญวาสนาน้อย ไม่ใหญ่โตโอ่อ่าพอที่ท่านที่มีฐานะใหญ่จะเห็นความสำคัญ

แต่จะกระไรก็ตาม เมื่อฐานะเล็กเราก็ทำไปตามกำลังเล็ก ถ้าทุกคนต่างคนต่างช่วยกันกลุ่มละเล็กๆ ถ้าหลายๆ เล็กรวมกันมันก็สามารถโตมหาศาลได้ งานชิ้นนี้จึงถือว่า เป็นงานชิ้นหนึ่งที่คณะของคุณช่วยพยุงโอบอุ้มผมให้บรรเทาความหนักและเหน็ดเหนื่อย จึงเห็นว่าควรแก่การโมทนา

ผมขออนุโมทนาในความดีที่ คณะธัมมวิโมกข์ มีคุณเป็นหัวหน้าคณะ จงมีความสุขสมหวัง ชนะความชั่วทุกอย่างตามพระพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าโดยฉับพลันเถิด

ข้อที่ควรโมทนาเป็นอันมากจากความดีของคณะคุณ ที่ไม่น่าจะปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่คำนึงถึง ซึ่งเป็นความดีที่หาได้ยากอีกอย่างหนึ่งก็คือ

การจัดพิมพ์หนังสือของขวัญ ในระยะที่ตกลงกัน ๔๐,๐๐๐ เล่ม ทางโรงพิมพ์เรียกราคาค่าพิมพ์ ๖๖๐,๐๐๐ บาท (หกแสนหกหมื่นบาทถ้วน) แต่คุณก็สามารถเจรจาลดหย่อนลงมาเหลือเพียง ๖๒๒,๘๐๐ บาท (หกแสนสองหมื่นสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) ก็ต้องถือว่าเป็นความสามารถของคณะของคุณที่ต้องพิจารณา

แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมจิตใจที่มีศรัทธา และเมตตาของท่านเจ้าของ และผู้จัดการของโรงพิมพ์ด้วย ถ้าท่านทั้งสองมีอารมณ์ใจไร้ศรัทธา ไม่มีความเมตตาปรานีท่านจะเรียกเท่าเดิมก็ยังถือว่า ของท่านยังมีราคาถูกกว่าหนังสือที่แจกคู่กันอีกเล่มหนึ่ง

หนังสือเล่มนั้นมีความหนาน้อยกว่ามาก แต่ท่านคิดราคาถึง ๘๐๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนบาทถ้วน) และท่านยังแจ้งอีกว่า ท่านไม่มีกำไรในเมื่อกระดาษเหมือนกัน เล่มบางกว่ากัน รูปก็น้อยกว่ากัน แต่ของท่านแพงกว่า เรื่องราคาแพงไปบ้างผมไม่สะดุดใจ เพราะเป็นธรรมดาของการค้า แต่ตอนที่ท่านบอกว่าไม่มีกำไรนี้ก็ไม่แปลกใจ เพราะเล่ห์เหลี่ยมการค้าเป็นอย่างไร ผมเคยมีอาชีพการค้ามาก่อนย่อมทราบดี

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจึงเห็นได้ชัดว่า โรงพิมพ์ที่คุณจัดพิมพ์นั้น ท่านจัดทำให้ด้วยศรัทธาแท้ และหวังบุญหลังกุศลจริงๆ เรื่องการมีกำไรบ้างต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่มีอะไรน่าคิด แต่งานของท่านชี้ให้เห็นจิตใจท่านเป็นมหากุศลจริงๆ

ขอคุณช่วยแจ้งให้ท่านเจ้าของและผู้จัดการโรงพิมพ์ด้วยว่า ผมขอขอบคุณในเมตตาจิตของท่าน และขออนุโมทนาที่ทุกท่านมีเจตนาเป็นมหากุศล ขอให้คณะท่านทุกคนตั้งแต่ใหญ่ที่สุด ถึงเล็กที่สุด จงมีแต่ความสุขสมหวัง ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้ตามความประสงค์โดยฉับพลันเถิด และขอให้รวยมากๆ ขึ้นไปตามลำดับไม่มีการถอยหลัง.

(พระสุธรรมยานเถระ)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/7/17 at 06:24 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 6

(Update 19 กรกฎาคม 2560)


วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙

คุณมหาถวัลย์ และญาติโยม นครราชสีมา และ อ.บัวใหญ่

.....จดหมายของ คุณมหาถวัลย์ แจ้งรายละเอียดเรื่องอาหารที่ส่งมาสงเคราะห์ผมได้รับแล้วรู้สึกชื่นใจในเมตตาจิตของคุณมหาและบรรดาลูกหลานทุกคน ที่เมตตาได้จัดของมาให้มากมาย และยังจะเมตตาต่อไปอีก เป็นการแบ่งเบาภาระกระผมมากเป็นพิเศษ

ขอขอบคุณทุกคนที่เมตตา ผมความดีที่เมตตาปรานีแด่ผม เพื่อสงเคราะห์น้องเล็กจากพี่ใหญ่คราวนี้ ขอจงดลบันดาลให้ทุกคนที่เมตตา จงมี่ความเป็นอยู่สมบูรณ์ มีความปรารถนาสมหวัง ตามที่ตั้งใจจงทุกประการเถิด

เรื่องปลาร้าที่เกรงว่าเก็บไว้นานจะเสียนั้น เรื่องนี้เห็นจะไม่ต้องวิตกกังวล เพราะน้องเล็กของคุณมหาและพี่ใหญ่ทุกคน โปรดปรานปลาร้ามาก ๒ ปีบไม่เกิน ๑ เดือนแน่ เพราะปรากฏว่าก่อนคุณมหาส่งมา ผมซื้อมา ๒ ปีบ ปรากฏว่าไม่เต็มเดือน ปลาร้าล่องหนไปเรียบร้อยแล้ว

ที่เธอชอบปลาร้านี้ผมชอบใจมาก เพราะปลาร้ามีประโยชน์ในการรักษาไม่ให้โลหิตจางได้ และแก้โรคโลหิตจากได้ดีมาก นอกจากปลาร้า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ยังมีปลาร้าทรงเครื่อง ปลาเจ่า และผักหญ้า ปลาป่นอีกมากมาย เป็นการที่เมตตาอย่างมหาศาล ปลาเจ่าที่กลัวจะเสียง่ายนั้น

ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะเมื่อเธอได้รับก็จัดการเอาไปทอดกันทันที คงจะแซบอีหลีมาก รู้สึกกระปรี้กระเปร่ากันมาก เธอเป็นเด็กที่น่ารัก มาจากที่ต่างกัน เพราะโรงเรียงนี้ถ้ารับแต่เด็กรอบตัว จะมีเด็กเรียนปีละไม่ถึง ๓๐ คน


แต่นักเรียนที่เรียกอยู่เวลานี้ ๒๐๐ คนเศษ เป็นเด็กจากต่างจังหวัดเสียเป็นส่วนใหญ่ ทุกคนมีความตั้งใจเรียนดี มีความประพฤติที่แนะนำไม่ยาก ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยดี สนใจในการเรียนดี ไม่ละทิ้งการเจริญภาวนา ผมคิดว่าคงสมแก่มูลค่าที่ทุกคนเมตตามา

เรื่องการภาวนานี้ มีนักเรียนโรงเรียนหนึ่ง เธอถามมาในนามโรงเรียกผมก็ไม่อยากจะให้เธอถูกเขม่นเรื่องที่เธอถาม ผมขออนุญาตตอบในรายการของคุณมหาเสียเลย เธอถามมาว่า

“การที่โรงเรียนให้เด็กนั่งภาวนาวันละ ๑๐ นาที เมื่อเข้าห้องเรียนจะมีผลหรือ เพราะจิตใจไม่สงบ ?”

ในจดหมายของเธอ เธอแจ้งมาว่าเธอเคยฝึกกรรมฐานในหมวดของอภิญญามาแล้ว เมื่อไปพบครูในการทำสมาธิ ๑๐ นาทีในห้องเรียน และเด็กก็สนใจน้อย ทำประเภทภาวนากันครูลงโทษเพราะถ้าไม่ทำจะเป็นการขัดคำสั่งครู ตามที่เธอถามมาพิจารณาแล้ว เธอเห็นว่าไม่มีผลในการเจริญภาวนาเลย

เมื่อผมอ่านจดหมายของเธอแล้ว ผมก็คิดถึงตัวผมเองเมื่อสมัยเป็นเด็กเล็ก ท่านแม่เกณฑ์แกมบังคับให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ก่อนจะหลับ ต้องว่าให้ท่านได้ยิน ๓ ครั้ง หรือ ๓ คำ แล้วก็หลับต่อไปได้ ผมก็ว่าตามท่านอย่างนี้เรียกว่า “ภาวนากันไม้เรียว”

เรื่องของพ่อหนูแม่หนูที่ถามมา ก็เห็นจะเป็นผู้มีอานิสงส์อย่างแน่นอน เหมือนอย่างผม คือไม่ถูกครูเขม่น เพราะไม่ภาวนา ถ้าจะว่าถึงอานิสงส์ คุณมหาคิดว่ามีอานิสงส์ไหม ผมคิดว่า คุณมหาคงตอบว่ามีอานิสงส์แน่ หรือคุณมหาจะคิดว่าอย่างอื่นไปจากนี้ก็ได้ แต่ผมขอยืนยันว่ามีอานิสงส์

ทั้งนี้เพราะอานิสงส์ที่ได้รับอันดับแรกคือ ครูจะไม่เขม่น และที่ได้ต่อไปคือ พักสมองไม่ต้องคิดเรื่องการเรียนชั่ว ๑๐ นาที แต่ก็ไม่แน่นักนะ ตอนที่ภาวนา ๑๐ นาที เธออาจภาวนาตามที่เธอต้องการก็ได้ คือคิดตามอารมณ์ที่เธอต้องการ อย่าให้บรรยายอารมณ์ที่เธอต้องการเลยนะ เพราะต่างคนต่างมีอารมณ์ตามใจชอบ

มาว่ากันถึงผลทางธรรม ถ้าเธอตั้งใจภาวนาจริง ใจสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง คิดตามอารมณ์บ้าง ตามแต่จะพึงได้ ผมว่ามีอานิสงส์ทางธรรมบ้างพอสมควร คุณครูน่าจะแนะนำว่า คนที่ภาวนาด้วยการตั้งใจอันดับแรก คำว่า “พุทโธ” นี้กันผีหลอกได้


เด็กจะเริ่มมีอานิสงส์ เพราะผีไม่หลอก นอกจากกันผีแล้ว ถ้าตั้งใจภาวนาด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า ในช่วงเวลา ๑๐ นาที แต่มีผลคือ อารมณ์สงบสัก ๒ นาที อย่างนี้ใจจะเริ่มเยือกเย็นตามลำดับ เพราะอารมณ์สงบได้วันละ ๒ นาที มีผลไม่ใช่น้อย อารมณ์ ความสงบจะค่อยๆ รวมตัวกัน

จนในที่สุดสมาธิจะดี มีอารมณ์เยือกเย็น ความจำจะดี ความคิดอ่านด้านปัญญาจะดี จะกลายเป็นคนฉลาดและเรียนเก่งมาก จะเป็นเสน่ห์แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น หรือคบหาสมาคมด้วย เพราะคนที่มีอารมณ์เย็นเพราะมีภาวนาช่วย หน้าตาจะแช่มชื่น ถึงรูปจะขี้เหร่ แต่ทุกคนจะเห็นว่าเป็นคนสวยและรวยเสน่ห์ เพราะเธอมีอารมณ์เย็น หน้าตาจะยิ้มแย้มแจ่มใส ใครเห็นใครชอบ

ผมอยากจะถามคุณมหาว่า คนที่พอเห็นหน้ากันแล้วพบกับอาการยิ้ม คุณมหาชอบไหม คุณมหาจะชอบหรือไม่ชอบผมก็เดายาก แต่สำหรับผมนั้นชอบมาก ตัวอย่างญาติโยมและลูกใหญ่ที่เมตตาน้องเล็กทุกคน เธอมีเมตตาภาวนา คำว่าภาวนา คือ อารมณ์ดี คิดถึงการสงเคราะห์

ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า “จาคานุสสติกรรมฐาน” การคิดว่าจะให้นี้ เป็นกรรมฐานสำคัญกองหนึ่ง ท่านเรียกว่า “จาคานุสสติ – จาคานุสสติกรรมฐาน” เป็นกรรมฐานสร้างความเป็นคนมีมหาเสน่ห์ เมื่อคิดจะให้ด้วยใจสงเคราะห์ ก็มีปกติยิ้มเสมอ

เธอมาที่วัด เธอเป็นคนน่ารัก หน้าตาสดชื่น อารมณ์รื่นเริง พบพวกเธอเมื่อไร ทำให้ผมหายป่วยไปเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะอารมณ์เธอดี สำหรับเด็กนักเรียนที่ครูให้ภาวนากันคนละ ๑๐ นาทีก็เช่นกัน ทำไประยะแรกเอากันแค่ภาวนากันครูเขม่นก่อน ต่อเมื่อมีอารมณ์เคยชิน จิตก็จะค่อยๆ มีสมาธิ

เมื่อสมาธิเกิดขึ้น ปัญญาก็ค่อยๆ แจ่มใส ใจก็จะค่อยๆ มีอารมณ์รื่นเริง มีความสดชื่นตามสำดับ แต่ระวังครูจะสอนวิชาหน้าบูดให้เธอก็แล้วกัน คือครูอย่าทำตนเป็นคนหน้าบูด หน้าบูด คุณมหาอ่านให้ดีนะ ตัว บ. เขียนไม่เหมือนตัว ต. ไปจะอ่านออกเสียงผิดจากรูปเดิมไป กลายเป็นหน้าตูดไป

แต่คนที่ยิ้มไม่เป็นนั้น หน้าเธอเหมือนตูดจริงๆ เพราะตูดมีสัญลักษณ์พิเศษไม่เหมือนปาก ปากบึ้งยิ้ม แสยะแยกเขี้ยว เบี้ยวบูดได้ทุกอย่าง แต่ตูดเป็นนิตย์ คือ มีสภาพปกติ ยิ้มไม่เป็น ถ้าครูเอาปากเป็นตูดก่อนพูดยิ้มไม่เป็น ครูจะให้นักเรียนภาวนาเท่าไร อานิสงส์ที่ทำใจให้สดใสเยือกเย็นก็ไม่ปรากฏแน่

วันนี้ผมจะพูดมากไปแล้ว เป็นอันว่าคำถามของเธอดี ขอตอบสั้นๆ ว่ามีอานิสงส์แน่ สำคัญที่ครู ถ้าครูทำตนเป็นตัวอย่างในทางอารมณ์แช่มชื่น อานิสงส์ที่จะภาวนาก็มีผลมหาศาล แต่ทว่าครูมีหน้าไม่ชื่นบาน มีหน้าบูดอยู่เสมอ

ให้เด็กภาวนาสักกี่แสนชาติก็ตามไม่มีผลดีเลย มีแต่จะเสริมความกลุ้มให้แก่เด็ก ถ้าแม่หนูน้อยที่ถามมา ได้อ่านหนังสือนี้ ขอให้เธอเข้าใจตามนี้ด้วย เป็นการบังเอิญที่แค่คนถามเคยผึกหมวดอภิญญาให้เธอภาวนาอย่างนั้น เธอเลยเห็นเป็นของเด็กเล่นไปแก้ไขไม่ได้

ที่สุดนี้ ขอคุณมหา และญาติโยมที่เมตตา และพี่ใหญ่ของน้องเล็กทุกคนตลอดจนท่านสาธุชนที่มีเมตตาทุกท่านที่ส่งมาอุทิศ จงเป็นคนมีจิตแช่มชื่น มีความปรารถนาสมหวังตามที่ตั้งใจทุกคนเถิด

(พระสุธรรมยานเถระ)



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 19/7/17 at 04:46 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7

(Update 26 กรกฎาคม 2560)


เรื่องปลุกเสกที่วัดปิตุลาธิราช


...เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๙ มีท่าน พระครูสง่า วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏ์ (วัดเมือง) ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ท่านมากับทายกหวังจะนิมนต์ไปในงานของท่าน

ไอ้เรื่องนิมนต์นี้ ญาติโยมพุทธบริษัทอย่านิมนต์เลย ในวันที่ยังเดินไม่ค่อยไหว แค่ลงรับแขกนี่บางทีก็หน้ามืด ไปถึงที่รับแขกก็วิงเวียน มันเป็นบางวันเท่านั้นที่พอจะทรงกายไปได้ ท่านมานิมนต์มันก็ตรงกับวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๓๐ วันที่ ๓ มกราคม เป็น วันเป่ายันต์เกราะเพชร ที่วัดท่าซุง

การเป่ายันต์เกราะเพชรนี่ จะเริ่มเวลาบ่ายโมง เริ่มเป่าครั้งแรก ทั้งนี้เพราะว่าจะเริ่มระบายคนที่มาก่อนจะได้กลับไปก่อน ไม่งั้นยัดเยียดกันมาก รถก็ออกไม่ได้ บ่าย ๔ โมงเริ่มอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็บ่าย ๖ โมงอีกครั้งหนึ่ง แล้วเลิก มีบางท่านขอกว่าขออีกครั้งหนึ่งบ่าย ๒ โมงได้ไหม จากบ่ายโมงถึง ๔ โมงนี่มันยังวุ่นอยู่เลย กว่าคนจะกลับเข้า กลับออก เพราะคนมาก

ดังนั้นของท่านที่ขอเลื่อนมาเป็นบ่าย ๒ โมง เป็นพิเศษน่ะมันไม่ได้ หนึ่งชั่วโมงนี่คนเข้าคนออกไม่เสร็จเคยทำมาแล้ว ก็ พระครูสง่า วัดปิตุลา ท่านมาขอให้ไปช่วยงานของท่าน

ก็เลยบอกว่าไปไม่ได้
ท่านบอกว่า เวลาวันงานจะตั้งที่ไว้ก็ขอบอกในที่นี้เสียเลยว่า ตั้งที่ไว้ได้ตั้งแต่วันเริ่มงาน จนกว่าจะถึงวันเลิกงาน
ได้แนะนำท่านว่า ถ้าจะให้ช่วยทำเหรียญในนามของวัดนั้นให้ชื่ออาตมาปลุกเสก เอามาปลุกเสกวันเสาร์ห้า อันนี้ได้จะทำให้

ถ้าบังเอิญมีแจกที่นั่นให้ทราบว่า งวดแรกอาตมาทำให้จริง หากว่าท่านไม่เพิ่มก็เป็นของไม่ปลอม ถ้าเพิ่มมาไม่ได้ปลุกเสกเป็นของปลอม อันนี้อย่าทำแบบนั้นนะ

การที่ พระครูสง่า มาหา มาขอการสงเคราะห์อย่างนี้ช่วยได้ หลายวัดก็ช่วยได้ จะให้ไปเองน่ะไปไม่ไหว ในวัดตัวเองก็แย่แล้ว ทำอย่างนี้ดีกว่าไปโฆษณาว่า ตัวเองเป็น ฤาษีลิงขาว ลิงเขียว ลิงแดง ลิงดำ ลิงตุ่น ลิงเผือก ลิงโตก นั่นมันไม่ใช่ของดี เอาอย่างนี้ดีกว่าตรงไปตรงมา

ก็ขอยืนยันว่า จากคืนวันที่ ๒ มกราคม ถ้ากรรมการวัดเอาเหรียญไปที่วัด วัดปิตุลานี่ ชุดนั้นอาตมาปลุกเสกเนื่องในวันเสาร์ห้า จริงๆ ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแต่ท่านผู้อ่านทุกท่าน สวัสดี

(พระสุธรรมยานเถร)
๒๐ กันยายน ๒๕๒๙


◄ll กลับสู่สารบัญ



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/7/17 at 06:07 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 2)

(Update 2 สิงหาคม 2560)


คำถามเรื่อง...หลวงพ่อฤาษีลิงขาว


...เนื่องจากจดหมายฉบับที่ ๗ เป็นการตอบจดหมายถึง พระครูสง่า วัดปิตุลาฯ จ.ฉะเชิงเทรา ในตอนท้ายหลวงพ่อได้ปรารภถึง "ฤาษีลิงขาว ลิงเขียว ลิงแดง" เป็นต้น เรื่องนี้เป็นที่สงสัยของผู้คนในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะกระแสในตอนนั้นมาแรงมาก จึงมีคนนำความสงสัยนี้ไปถามท่านที่บ้านสายลม (เรื่องมันผ่านไปนานแล้ว เอามาย้อนอ่านคลายความสงสัยก็แล้วกัน) ดังนี้

ผู้ถาม : "หลวงพ่อคะ ที่เขาลือว่าหลวงพ่อฤาษีลิงขาวมา มาจริงหรือเปล่าคะ...?"
หลวงพ่อ : จริงแต่ว่าคนละฝูง

ผู้ถาม : "หน้าเหมือนคนจีนหรือเปล่าคะ...?"
หลวงพ่อ : เหมือน ลิ้นมี ฟันมี ปากมี ตามี คล้ายๆ จีนนะ

ผู้ถาม : "เขาว่าอยู่ใกล้บ้านหลวงพ่อ"
หลวงพ่อ : อันนี้โฆษณานะ ถ้าไม่บอกว่าฤาษีลิงขาวจะดีกว่า หรือไม่บอกว่าอยู่ใกล้บ้านหลวงพ่อจะดีกว่า ความจริงถ้าบอกเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ปาน ก็ไม่มีใครรู้ได้ ลูกศิษย์หลวงพ่อปาน ถ้าถามว่ารู้จักไหม ก็รู้จักไม่หมด เพราะมีเยอะมาก รู้ไม่ได้

แต่ว่าตัวท่านบอกว่าเป็นฤาษีลิงขาวหรือเปล่า เข้าใจว่าคนอื่นโฆษณามากกว่านะ ใช่ไหม ถ้าบอกอย่างนั้นก็พังเร็ว เขาว่ายังไงนะ ฤาษีลิงขาวอยู่ในป่า หายเงียบไป ออกมาเป็นเจ้าอาวาส เป็นไปได้ยังไง

ท่านเจ้ากรมเสริมบอก มีคนโทรศัพท์มาถามเรื่อย ว่าหลวงพ่อฤาษีลิงขาวจริงหรือไม่จริง แล้วหลวงพ่อจะว่ายังไง รับว่าจริงก็โกหกชาวบ้าน ถ้าปฏิเสธก็หาว่าแกล้ง เพราะคนอยู่ด้วยกันมาก่อนย่อมรู้จักดี เคยเป็นทหารเกณฑ์ด้วยกันเป็นนักว่ายน้ำเหมือนกัน

ฝึกวิ่งรอบกรมทุกวัน เช้ามืดก็วิ่ง ตอนเย็นก็วิ่ง วิ่งแล้วมาเตะฟุตบอลเข้าโกล์ เตะไปเตะมาเหนื่อยโดดลงน้ำตูม ว่ายไปว่ายมา ๘ เที่ยว ไป ๔ มา ๔ แล้วก็ขึ้นบก ตีระนาด เพื่อให้ข้อแข็ง ทั้งนี้ซ้อมไว้เมื่อยามเรือแตก วิ่งกันมาทุกวันอย่างนี้จำได้หรือไม่ ใช่ไหม

ตอนไปบวชพร้อมกัน ๓ องค์ อุปัชฌาย์เคาะหัว โป๊กๆ ไอ้ ๓ ตัวนี้ท่านไม่เรียกองค์ อ้อ...นาคเขาเรียกตัวนี่นะ เพิ่งนึกได้เดี๋ยวนี้แฮ่ะ ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ได้ ๓ ตัวนี่ไม่ได้สึกจริงๆ

ทีนี้ถ้าจะเขียนแบบนั้นก็ต้องให้หลวงพ่อตายก่อน แต่นี่หลวงพ่อยังอยู่ เข้าใจว่าคนเขียนโฆษณามากกว่า ถ้าตนเองไม่กล้าบอกอย่างนั้นหรอก ก็เป็นอันว่าที่โฆษณากันนั้นเป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง


ที่มา : จาก ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๑๘๒ หน้า ๑๐

จากหนังสือธุดงค์


ฝึกอตีตังสญาณ ในป่าศรีประจันต์
เล่าเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๓

......ตอนนั้นขอยอมรับว่า ไม่เข้าใจเรื่องนิพพานจริง ๆ แต่ ๒ องค์นั่นเขาไม่มีอะไร ปั๊บเขาจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันต่างกันตั้งเยอะ ทั้ง ๒ องค์ท่านเก่งกว่าตั้งเยอะ ลิงขาวกับลิงเล็ก(แต่ลิงขาวตัวจริงนะ ไม่ใช่ลิงขาวปลอม ๆ ลิงขาวที่เป็นช่อดอกไม้นั่นไม่ใช่ มันคนละตัว)

ถ้าลิงขาวจริงๆ ท่านเก่ง ท่านเป็นพระอริยเจ้า คือ อย่างที่ลุงวิบอกท่าน ท่านตัดสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว (ลิงขาว กับลิงเล็ก) นั่นหมายถึงเป็น พระโสดาบัน หรือสกิทาคามี ท่านบอกว่า ได้โสดาบันอย่างหยาบ ก็หมายถึง อย่างต้น ก็ยังดีกว่าเราเยอะ อาตมายังไม่ได้อะไรเลย อย่าลืมนะ อย่างนี้ยังอยู่ในขั้นเลวนะ ญาติโยมนะ ยังเลวอยู่ ยังมีนิวรณ์ ๕ อยู่ แต่ว่าที่อยู่ได้เพราะอดกลั้น

หลังจากนั้นเวลาที่ทำไป เมื่อคลายจากอารมณ์จากสมถะ ก็เข้ามาจับวิปัสสนาญาณทีนี้ต่อไปก็จับวิปัสสนาญาณ บวกสมถะนั่นหมายความว่าใช้วิปัสสนาญาณนำหน้า ใช้สมถะตามหลัง คือ ใช้กำลังวิปัสสนาญาณพิจารณา และใช้อานาปานสติควบ ทำทั้ง ๒ อย่างประเดี๋ยวเดียวจิตตก.."


.....อย่างที่ว่าเรื่องมันผ่านมานานแล้ว ไม่จำเป็นต้องรื้อฟื้นกันอีก แต่ก็สร้างความสับสนให้คนรุ่นก่อนไม่ใช่น้อย ต่างก็พากันวิพากย์วิจารณ์กัน เอาไปสนทนาในเว็บดังๆ หลายแห่ง บ้างก็ว่าใช่ บ้างก็ว่าไม่ใช่ คนที่ไม่เชื่อก็อ้างว่า คณะที่บวชพร้อมกันสมัยนั้นมี ๔ รูป ต้องเป็นทหารเรือและต้องมีอุปฌาย์องค์เดียวกัน คือ

๑. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (วีระ ถาวโร, เรือตรีสังเวียน สังข์สุวรรณ กรมแพทย์ทหารเรือ)
๒. หลวงพ่อฤาษีลิงขาว (ฤาษีโพธิวัตร, เรือตรีสวัสดิ์ กรมอู่ทหารเรือ)
๓. หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก (ฤาษีพนมไพร, เรือตรีน้อม กรมดุริยางค์กองทัพเรือ)
๔. หลวงพ่อฤาษีลิงเผือก (หลวงประธานถ่องวิจัย)

สรุปแล้วก็เหมือนกับเป็นการลองภูมิปัญญาของลูกศิษย์เหมือนกัน สมัยนั้นว่าใครจะเข้าใจลีลาของครูบาอาจารย์กัน บางคนแค่ฟังเพียงคำเดียวว่า "ลิงคนละฝูง" ก็ตามทันแล้ว แต่บางคนก็ยังห่างอีกไกลนัก ท่านพูดชัดขนาดนี้ยังฟังไม่ออกอีก

เพราะคนที่เป็นลูกศิษย์ที่แท้จริง จะต้องรู้ถึงนิสัยของครูบาอาจารย์ คือคำสั่งของหลวงปู่ปานสั่งว่าอย่างไร ท่านสั่งให้อยู่ป่าตลอดชีวิตไม่ให้ออกมาใช่ไหม ลูกศิษย์ที่ดีท่านต้องเชื่อฟังคำสั่ง ไม่ใช่อ้างว่าแก่แล้วต้องออกมาอยู่ในบ้านในเมือง

แม้แต่เรื่องของ หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก ก็เหมือนกัน ต้องเอาเหตุผลที่ท่านเล่าไว้ใน หนังสือประวัติหลวงพ่อปาน มาประกอบในการพิจารณาเป็นสำคัญ จนมาถึงเรื่อง "หลวงปู่คำคะนิง" ก็เช่นกัน ที่มีคนอ้างว่าคือ "พระอภิญญา" ในป่าเชียงตุง

ฉะนั้น ถ้ามีความสงสัยอย่างใด ไม่มีอะไรที่จะดีกว่าหลักฐานที่ท่านพูดเอาไว้นั่นแหละ บางคนไม่ค่อยสังเกตกันว่า พระที่อยู่ในวัดท่าซุงมีความเห็นเป็นอย่างไร ท่านไปหาหรือไปกราบไหว้หรือเปล่า เพราะความเป็นเพื่อนของหลวงพ่อ ก็เหมือนเป็นครูบาอาจารย์เหมือนกัน ลูกศิษย์ที่ดีก็ต้องให้ความเคารพนับถือ ในฐานะที่เป็นเพื่อนของครูบาอาจารย์

แต่ปรากฏว่าหัวรถจักรเงียบ ไม่มีข่าวว่าพระวัดท่าซุงไปที่ไหนเลย มีแต่บางคนยกขบวนแห่กันไปเอง หลังหลวงพ่อมรณภาพคงมีแต่ข่าวว่าไปกราบไหว้ หลวงพ่อดาบส ที่เชียงราย ปรากฏว่าท่านยกย่องสรรเสริญหลวงพ่อของเราเป็นอย่างมาก เหมือนกับรู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนที่หลวงพ่อแนะนำพระดีที่กรุงเทพฯ ก็มี ๒ องค์ คือ หลวงพ่อฟื้น (สมเด็จวัดสามพระยา) หลวงพ่อเกี่ยว (สมเด็จวัดสระเกศ)

แต่เพื่อนของหลวงพ่อเอง ๒ องค์ตามที่กล่าวอ้างนั้น ต่างองค์ต่างก็ไม่รู้จักกันเลย เรียกว่าไปคนละทาง โดยเฉพาะหลวงพ่อฤาษีลิงขาว เป็นเรื่องที่เกิดทันสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ส่วนหลวงพ่อฤาษีลิงเล็กนี่มาเกิดเป็นข่าวทีหลัง จึงมีพระผู้ใหญ่วัดท่าซุง ๒ รูปไปสอบถามท่านถึงวัดท่านที่ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

คือขออนุญาตท่านเข้าไปคุยในกุฏิเป็นการส่วนตัว เพื่อสอบถามท่านให้แน่ใจอีกที ท่านบอกว่าเป็นความเข้าใจผิดของญาติโยมเอง ท่านก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ครั้นถามชื่อและประวัติก็ไม่ตรงกับเพื่อนของหลวงพ่อแต่อย่างใด เรื่องนี้ก็ผ่านไปนานแล้วนะ เพราะท่านมรณภาพไปหมดแล้ว จึงขอย้อนเอาคำสอนของ หลวงพ่อฤๅษีโพธิวัตร สมัยก่อนมาให้อ่านกันอีกสักครั้งว่า...

บทพิสูจน์นักบุญ


โดย ฤๅษีโพธิวัตร (หลวงพ่อฤาษีลิงขาว)
กลางดงดิบ จังหวัดกาญจนบุรี

.....๑. เมื่อพบกันในระยะแรก "จงย่อตัวลง" (คือถ่อมปฏิปทาที่ทรงอยู่นั้น) พยายามยกย่องสรรเสริญท่านด้วยถ้อยคำ "สัมโมทนียคาถา" คือชมเชยในปฏิปทาของท่าน แล้วคอยสังเกตุว่า ท่านผู้นั้นจะพอใจในคำสรรเสริญเยินยอนั้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าท่านผู้นั้นพอใจในคำสรรเสริญเยินยอนั้น จนออกนอกหน้า ควรวงเล็บไว้พลางก่อนว่า "หมอนี่ ถ้าจะดีไม่แท้" เพราะยังติดในสรรเสริญที่เป็นโลกธรรม เป็น มนุษย์บ้ายอคบยาก

......๒. เพื่อความแน่ใจในปฏิปทาที่แท้จริง ในบางโอกาสควรหาทาง "ตักเตือนโดยธรรม ควรตักเตือนบ่อยๆ" เพื่อให้มองเห็น โทสะ ของตนเอง ควรใช้ลีลาในการตักเตือนทั้ง แบบขู่ และ แบบปลอบ ถ้าเป็นคนดีมีใจเป็นนักบุญจริง จะยอมรับคำตักเตือนทุกระยะ แต่ถ้าเป็น "นักบุญจอมปลอม" แล้วไม่ช้าก็จะแสดงความไม่พอใจให้ปรากฏ เท่านี้ก็พอจะเห็นเขี้ยวชาติภูมิได้บ้างเฉพาะบางราย

......๓. ถ้าแบบตักเตือนเค้นเอาความจริงไม่ได้ ต่อไปควร"ขยายปฏิปทา" ตามความสามารถที่มีอยู่ขึ้น เอาเพียงชั้นที่เห็นว่า พอจะ "ไล่เลี่ยกัน" ออกมาใช้ จงสังเกตุความพอใจและปฏิกิริยาแสดงออกของเขา หากเขาดีจริงก็ไม่ปรากฏกิริยาใดๆ เกิดขึ้น ถ้าความเลวสิงใจ แต่เก็บซ่อนไว้ด้วยกลมายาแล้ว เขาจะเริ่มการมึนชา หรือมีการซึมเซาให้ปรากฏ ควรสังเกตไว้

......๔. เมื่อเห็นว่าดีอยู่ หรือซึมเซาไปก็ตาม เพื่อเค้นเอาความแน่ชัดให้แจ่มแจ้ง ควรขยับ "ขยายปฏิปทาที่เหนือกว่า" ออกมาใช้ให้เห็นชัด หากท่านผู้นั้น แสดงความยินดีด้วยความจริงใจ พลอยโมทนาและสนับสนุนด้วยใจจริง และสม่ำเสมอแล้ว ก็ควรวันทนาด้วยความเคารพ เพราะแม้อายุกาลผ่านวัยน้อยกว่า หรือมีคุณธรรมบางประการหย่อนกว่าก็ตาม แต่ท่านผู้นั้นก็มี "พรหมวิหาร" ควรแก่การบูชา

หากท่านผู้นั้น เป็นนักบุญจอมปลอม เมื่อโดนไม้หลังเข้าอย่างนั้น เท่าที่เคยพิสูจน์มา ไม่ช้าเขี้ยวก็งอกออกนอกปาก สำรากถ้อยคำที่ไม่เป็นธรรมออกมาให้ปรากฏ กล่าววาจาเสียดสี ถากถาง ด้วยถ้อยคำที่ที่เป็นดิรัจฉานคาถา กระทบกกระแทก แดกดัน เปรียบเปรยนานาประการ บางโอกาสเป็นศิษย์เคยเรียนอรรถธรรม เคยได้รับความช่วยเหลือมา ก็ลืมความดีของเราผู้มีคุณเสียสิ้น แสดงความอกตัญญูให้ปรากฏ เป็นการขยายความเลวทรามออกให้ปรากกชัด

ตามแนวที่นำมาเล่าไว้นี้ เคยพิสูจน์นักพรตผู้วิเศษมาหลายสิบรายแล้ว ที่ท่านดีจริงแล้วก็เอาอะไรท่านไม่ได้เลย แต่ที่เป็นพวกจอมปลอมแล้วไม่เกินสอง พ.ศ. เขี้ยวก็งอกออกนอกปาก แสดงความเป็น "อบายบุคคล" ให้ปรากฏชัด


ที่มา : หนังสือพิมพ์แจกในงานบำเพ็ญกุศล
ที่วัดสะพาน อ.เมือง จ.ชัยนาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
(หนังสือลูกศิษย์บันทึก เล่ม ๑ โดย พระชัยวัฒน์ อชิโต )

(โปรดติดตามตอนต่อไป "เล่าเรื่องไปเมืองจันทบุรี")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 2/8/17 at 05:44 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 3)

(Update 9 สิงหาคม 2560)


เล่าเรื่องไปเมืองจันทบุรี


...ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้ก็ต้องขออภัยบรรดาท่านพุทธบริษัท ที่ต้องนำเรื่องที่ไปจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๓๔ มาเล่า...

ทีนี้มันมีเรื่องอยู่ว่า ในเมื่อไปถึงที่นั่น ท้องเดินหนัก ก่อนที่จะลงสอนกรรมฐานท้องถ่าย ๒ ครั้ง หนักมาก รู้สึกโผเผ ต้องมานั่งพักอยู่ชั่วคราว ต้องฉันยากระตุ้นประสาท ก็ลงไปแนะนำกรรมฐานตามสมควร พอขึ้นมา ถ่ายอีก ๘ ครั้ง

ก็พอดีไปในงานคราวนี้ ก็มีวัดอะไร วัดหนองกุย วัดหนองกุยนี่ความจริงท่านให้โยมเสงี่ยมพามา นิมนต์ไปวัดหนองกุย ความจริงอาตมาก็ไม่ทราบว่าวัดหนองกุยอยู่ที่ไหน ตามปกติแล้วไม่รับนิมนต์ภายนอก ก็ปิดป้ายไว้แล้ว

ไม่รับกิจนิมนต์ภายนอกและโยมเสงี่ยมก็พามา อาตมาก็บอกว่า ถ้าหากว่าไปที่บ้านคุณสมบูรณ์ที่ห้วยสะท้อน อำเภอท่าใหม่ ถ้ามีความสบายดี และมีความสะดวกก็จะไป ถ้าไม่สบาย ก็ไม่ไป ตกลงไว้ตามนี้ครั้นเมื่อไปบ้านคุณสมบูรณ์จริง ๆ เกิดถ่ายจริง ๆ ตั้ง ๑๐ ครั้งมันก็ไปไม่ไหว

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรถเลี้ยวเข้าห้วยสะท้อนเห็นป้ายเขาเขียนบอกว่า ที่วัดหนองกุย จะมีเทศน์ภาณยักษ์ทรงเครื่องและมีการเป่ายันต์มหาเกราะเพชร โดย ฤาษีลิงขาว ฤาษีลิงดำ และ สามเณรน้อย จังหวัดอ่างทอง

เมื่ออ่านป้ายเข้าแล้วก็ตกใจ การเป่ายันต์เกราะเพชร บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เขาเป่ากันอย่างไร ถ้าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปานจริง ๆ จะเป่าได้เฉพาะเสาร์ห้า เท่านั้น

คำว่า เสาร์ห้า ก็หมายความว่า ขึ้น ๕ ค่ำของเดือนนั้น จะเดือนอะไรก็ได้ ไม่ใช่เดือนห้าต้องเป็นข้างขึ้น และก็ ๕ ค่ำ จึงเป่าได้ ฉะนั้นการไปคราวนั้นมันไม่ใช่เสาร์ห้า ถ้าอาตมาไปในงานนี้ ถ้าบังเอิญไม่ป่วยนะ ความจริงที่ไม่ไปเพราะป่วย และก็ถ้าหากว่าไม่ป่วย ก็คงไปไม่ได้เหมือนกัน

เพราะการเป่ายันต์ฯ ไม่ใช่เสาร์ห้า อาตมาไป อาตมาก็เสีย ก็ถือว่า เป็นคนลบหลู่ครูบาอาจารย์ที่สอนมา โดยเฉพาะหลวงพ่อปานเอง ท่านก็เป่าเฉพาะเสาร์ห้าเท่านั้น วันอื่นท่านไม่เป่าหลังจากนั้น วันรุ่งขึ้น วันที่ ๑๙ ไปที่วัดเขาไผ่

วัดเขาไผ่นี่ไปได้เพราะอะไร เพราะว่า "ผู้ใหญ่จุ๋ม" นี่รู้เรื่องกันดี เพราะว่าไปที่นั่น ไม่มีงานทำ เพราะว่าไปถึงแล้วก็นั่งที่เดียว และก็มีคนมาทำบุญกัน ผู้ใหญ่จุ๋มก็ไม่รบกวนว่า หลวงพ่อต้องไปทำโน่น ต้องไปทำนี่ ไม่อย่างนั้นเราจะนั่งตรงไหน เราก็นั่งของเรา ผู้ใหญ่จุ๋มก็ไม่กวน ตามใจทุกอย่าง

ฉะนั้น เมื่อไปนั่งอย่างเดียวก็ไปได้ แต่หนองกุยนี่ คงไม่ได้นั่งอย่างเดียวแน่ เพราะท่านจะเกณฑ์ให้เป่ายันต์เกราะเพชร การเป่ายันต์เกราะเพชรบรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องมีกำลังดี ร่างกายดี มีจิตใจดี ต้องใช้สมาบัติขั้นสูง

หลวงพ่อปานสั่งให้เป่ายันต์เกราะเพชร

.....ทีนี้ก็มาคุยถึง เรื่อง ยันต์เกราะเพชร ยันต์เกราะเพชรนี่ ความจริงอาตมาเรียนตรงมาจากหลวงพ่อปาน เมื่อเรียนตรงมาแล้ว ก็ไม่เคยเป่าให้ใครเลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเกรงว่าจะเป่าไม่ออก

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ อาตมาป่วยอยู่ที่บ้าน ฉวีวรรณ สรรพกิจ ที่กรุงเทพฯ คุณหมอประสิทธ์ ฟูตระกูล กำลังให้น้ำเกลืออยู่ ขณะที่นอนให้น้ำเกลืออยู่ ขณะที่เขาจะแทงเข็ม ก็คิดว่า เข็มย่อมเป็นอันตราย อาจจะถึงชีวิตได้

ฉะนั้นจึงภาวนา จับอารมณ์ถึงขั้นสูงสุดคิดว่า ถ้าตายเพราะเข็มเราก็จะไปนิพพาน กำลังใจก็เป็นสุข ขณะที่หมอประสิทธ์ ฟูตระกูล เธอให้น้ำเกลือแล้ว เธอก็ออกไป ก็นอนภาวนาอยู่ ขณะนั้นก็เห็นภาพหลวงพ่อปานท่านมา

ท่านบอกว่า ต่อนี้ไปเธอต้องเป่ายันต์เกราะเพชร เพราะว่าเธอเรียนมาแล้ว เวลานี้ไม่มีใครเป่าได้ ลูกศิษย์ที่เรียนมาจริง ๆ ก็เหลือเธอเท่านั้นที่เรียนมาโดยตรง แต่ว่าที่เขาเรียนมาจากคนอื่น ก็เป็นเรื่องต่างหาก

เรื่องคาถาอาคมจำกัดกันไม่ได้ เพราะเขาอาจจะไม่เรียนที่เรา เขาอาจจะเรียนที่อื่นเป็นของธรรมดา ก็จะถือว่า การเป่ายันต์เกราะเพชร คนอื่นเป่าไม่ได้ ไม่จริง ใครก็เป่าได้ ถ้าเขาเรียนมาแล้ว ทีนี้มีปัญหาอยู่ว่า จะต้องเป่าเฉพาะวันเสาร์ห้า เลยกราบเรียนท่าน

บอกว่า ผมเป่าได้แต่ว่าเกรงว่ายันต์จะไม่ออก ทั้งนี้เพราะว่าตั้งแต่เรียนมาผมยังไม่เคยทำเลย
ท่านบอกว่า มันถึงวาระที่จำเป็นจะต้องทำ เธอต้องทำ
ก็ถามท่านว่า ทำอย่างไรถึงจะเป่าออกขอรับ

ท่านบอกว่า เธออย่าเป่าเองซิ ให้พระท่านเป่า ฉันเอง ในสมัยที่ฉันเป่า ก็เช่นเดียวกัน ฉันไม่ได้เป่า ฉันก็ทำตามพระท่านสั่ง ท่านสั่งให้เขียนยันต์เกราะเพชร และยืนอยู่หลังกระดาน แล้วท่านสั่งภาวนาอย่างไร เราก็ภาวนาอย่างนั้น แล้วท่านก็เป่าของท่านเอง

เราก็ดูภาพว่า "ยันต์เกราะเพชร" เข้าเกาะตัวคนทุกคนแล้วหรือยัง ถ้ายันต์เกราะเพชรเข้าเกาะตัวทุกคนแล้ว และพระท่านบอกว่า เต็มแล้ว ครบถ้วนแล้ว เลิกได้ เราก็สั่งเลิก..


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 9/8/17 at 04:40 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 4)

(Update 16 สิงหาคม 2560)


เล่าเรื่องไปเมืองจันทบุรี (ต่อ)




เป่ายันต์เกราะเพชร

...ก็เป็นอันว่ารับปากท่าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงเริ่มเป่ายันต์เกราะเพชร เป็นครั้งแรก นี่ว่าถึงยันต์เกราะเพชร สำหรับคุณสมบัติของยันต์เกราะเพชรนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท หลวงพ่อปานท่านบอกแต่เพียงว่า กันคุณผี..คุณคน

แต่ความจริงยันต์เกราะเพชรนี่ เป็นยันต์ยอดธงมหาพิชัยสงคราม ในสมัยสุโขทัย เวลาที่เขาจะรบ เขาใช้ธงมหาพิชัยสงครามด้วย และใช้ยันต์เกราะเพชรอยู่ข้างบนยอดธงมหาพิชัยสงคราม

ต้องถือว่าเป็นยันต์ที่มีความสำคัญมาก แต่อาตมาจะไม่อธิบายคุณสมบัติ เพราะจะออกนอกคอกเกินไป ครูไม่อธิบายก็ไม่อธิบาย ทีนี้มาว่ากันถึงว่า ยันต์มหาพิชัยสงครามมีอยู่ที่ไหน ก็ขอบอกว่า ยันต์แดง..ยันต์ผ้าแดง นั่นคือ ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม

เรื่องมีอยู่ว่า ในขณะที่อาตมาออกไปจากกรุงเทพ ฯ มาเรียนบาลีที่กรุงเทพฯ กลับไปที่วัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ในตอนนั้น พระอาจารย์เจิม เป็นเจ้าอาวาส และท่านก็บังเอิญตาย เขาก็บังคับให้อาตมาเป็นเจ้าอาวาส อาตมาก็เป็นเจ้าอาวาสจำเป็น จำใจที่จำจะต้องเป็นเจ้าอาวาส ก็ช่างเขา ในเมื่อเขาให้เป็น ก็เป็นไปตามเรื่อง

และก็ประชุมพระ มีพระผู้ใหญ่มากกว่า ก็บอก..ท่านก็บอกว่า งานทุกอย่างขอให้ร่วมกันทำ ผมคนเดียวทำไม่ไหว ก็เป็นอันว่าพระท่านก็ร่วมกันทำ

พรหมชั้นที่ ๘ เป็นเจ้าของตำราพระร่วง

.....ต่อมาคืนหนึ่ง ปิดไฟ..ดับไฟเรียบร้อย ฟังข่าวจากสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย เพราะวิทยุนี่ชอบฟังเฉพาะข่าว เรื่องเพลง เรื่องละคร เรื่องอะไรนี่ มันฟังไม่ค่อยได้ ฟังได้เหมือนกัน แต่ไม่รู้เรื่องเพราะเป็นคนแก่ ตอนนั้นก็แก่ไม่มาก แก่แค่อายุ ๓๒ ปี แต่แก่โขแล้ว ๓๒ ปี เด็ก ๆ ก็ไม่รักแล้ว

ขณะที่นอนฟังสถานีวิทยุอยู่ เสียงวิทยุก็ได้ยิน ก็มีเสียงคนเดิน ยวบๆ ๆ ความจริงกุฏิแน่นหนามาก ไฟก็ดับมองไปเห็นคนนุ่งขาวห่มขาว เดินเข้ามา และก็มานั่งบนเตียง นั่งปุ๊บบนเตียง เตียงยวบ

ถามว่า ท่านเป็นใคร
ท่านก็บอกว่า ฉันเป็นพรหมชั้นที่ ๘ เป็นเจ้าของตำราของท่านปาน เวลานี้ท่านปานตายแล้ว และมอบตำราให้แก่เธอ แล้วเธอทำไมจึงไม่ใช้ตำรา ทำยันต์บ้าง ทำตะกรุดบ้าง ทำพระบ้าง แจกชาวบ้าน

ก็เลยกราบเรียนท่าน บอกว่า ผมทำไม่ได้ขอรับ เพราะว่าหลวงพ่อปานดีกว่าผมมาก คนที่รับไปยังมีความอกตัญญูไม่รู้คุณท่าน ผมดีไม่ถึงท่าน คนที่รับไปจะมีผลเป็นประการใด

ท่านก็บอกว่าเธอต้องทำ
ถามว่า ทำไมจึงต้องทำ

การเป่ายันต์เกราะเพชร
หลวงพ่อเป็นคนสุดท้ายของ "ตำราพระร่วง"

ท่านก็บอกว่า ตำราท่านปานคนที่สืบตระกูลกันมา เธอเป็นคนสุดท้ายนะ ฉันเป็นต้นตระกูล..ต้นตำรา เจ้าของตำรา และตระกูลของฉันก็มีคุณเป็นคนสุดท้ายของตระกูล ถ้านอกจากคุณแล้ว ใครจะนำตำรานี้ไปใช้ จะมีผลไม่ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉันไม่ช่วย

และท่านก็บอกคาถาโน่น..คาถานั่น คล้าย ๆ กับหยิบตำรามาอ่านให้ดู
ในที่สุดก็บอกว่า ผมไม่เอา..อย่างไรก็ไม่เอา เพราะว่าหลวงพ่อปานดีกว่าผม ยังถูกคนนินทา ผมดีไม่เท่าหลวงพ่อปาน ผมไม่เอาแน่ ท่านก็นั่งนิ่งไปพักหนึ่ง

แล้วท่านบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อย่างอื่นไม่ทำก็ไม่เป็นไร ให้ทำยันต์ธงมหาพิชัยสงคราม เพราะยันต์ธงมหาพิชัยสงคราม ใช้ได้ทุกอย่าง ทั้งป้องกันด้วย ทั้งมีลาภสักการะด้วย

สถานที่มีเสนียดจัญไรทั้งหลายก็ตาม ถ้ามีอยู่ อย่างบ้านถูกฟ้าผ่าก็ตาม ปลูกบ้านคร่อมป่าช้าก็ตาม คร่อมตอก็ตาม ถ้าเอายันต์ไปแล้ว เสนียดจัญไรจะคลายตัว จะไม่มีอันตรายจากเสนียดจัญไรทั้งหลายเหล่านั้น


เมื่อท่านเขียนยันต์ให้ดูเยอะแยะ ก็บอกว่า ไม่เอาหรอกท่าน..ผมไม่เอา
ท่านบอก เธอต้องเอา ยันต์นี้ต้องทำ
ก็บอก ไม่ทำ เพราะมันมาก ทำไม่ไหว..อ่านไม่ไหว
ท่านบอก คุณมันโง่ เขาก็ใช้คาถา ๔ คำ ตอนท้ายนี่แหละ

ท่านก็บอกคาถา ๔ คำให้ ให้เขาพิมพ์ผ้ายันต์มาให้เสร็จ เธอก็เสกด้วยคาถา ๔ คำ เมื่อท่านบอกอย่างนั้นแล้ว
อาตมาก็บอกว่าไม่เอา..คาถา ๔ คำ ก็ไม่เอา
ท่านถามว่า ทำไม
บอก ไม่แน่ใจในตนเอง

ท่านก็นิ่งไปประเดี๋ยวหนึ่ง ท่านก็หันมาพูดบอกว่า ไอ้สันดานของคุณนี่ มันดื้อมาตลอดกาล ตั้งแต่สมัยไหน ๆ มันก็ดื้อ มาชาตินี้ชาติสุดท้าย มันก็ดื้ออีก

ก็เลยกราบเรียนท่าน บอกว่า ในเมื่อดื้อมาแล้ว จะมาเลิกดื้อได้อย่างไร ต้องรักษาความดี คือความดื้อเข้าไว้ก่อน

ในที่สุดท่านก็บอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ของนี้จะสลายตัวเสีย ต่อนี้ไปถ้าเธอจะทำอะไร จะสร้างพระก็ดี จะทำตะกรุดก็ดี จะทำผ้ายันต์ก็ดี จะทำผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามก็ตาม ทุกอย่างให้เธอเอาผ้าขาวปูบนโต๊ะ และเอาของวางไว้ ให้จุดธูปจุดเทียน อาราธนาพระไตรสรณาคมน์เสร็จ ระลึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บวงสรวงเสร็จ เชิญเทวดา เชิญพรหม เชิญครูบาอาจารย์ให้ครบถ้วน หลังจากนั้นฉันจะมาทำให้เอง แล้วก็เธอนั่งอยู่ ว่าคาถาตามฉันบอก ฉันบอกให้ว่าคาถาอะไร เธอก็ว่าคาถาอย่างนั้น ว่าไปเฉย ๆ ไม่ต้องทำ ฉันบอกให้เปลี่ยน เธอก็เปลี่ยนตามฉันสั่ง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นหน้าที่ของฉันโดยตรง

ก็รวมความว่า ผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามก็ดี ยันต์เกราะเพชรก็ดี และพระต่าง ๆ ก็ดี บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ที่อาตมาทำความจริงญาติโยม และลูกหลานทั้งหลายคิดว่าอาตมาทำ แต่ความจริงอาตมาไม่ได้ทำ นี่บอกกันตรงไปตรงมา

เพราะว่าสันดานคนดื้อมันเป็นอย่างนั้น เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ก็จุดธูปจุดเทียนเสร็จ บวงสรวงเสร็จ ก็อาราธนา ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงมาทั้งหมด ในตอนต้น ๆ ท่านพรหมชั้นที่ ๘ และท่านท้าวมหาชมพูบ้าง ท้าวพกาพรหมบ้าง และพระอินทร์บ้าง

ต่อมาช่วงระหว่างนี้ ก็อาราธนาตั้งแต่พระพุทธเจ้า ทุก ๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์ พรหมทุกท่าน พระอริยเจ้าทุกท่าน เทวดาทั้งหมด ครูบาอาจารย์ทั้งหมด ช่วยกันทำแล้วก็นั่งฟังคำแนะนำของพระผู้ควบคุม จะมีพระองค์หนึ่งเข้ามาควบคุมมายืนใกล้ ๆ บอกว่า

เวลานี้เธอว่าคาถาบทนี้ และจับอานาปานสติให้ทรงตัว ขณะนั้นจิตจะเคลื่อนนิดเดียวไม่ได้เลย จิตเคลื่อนนิดท่านบอก จิตเคลื่อน..ใช้ไม่ได้ เริ่มต้นใหม่ ต้องทำจิตให้ทรงตัวจริง ๆ นิ่งอยู่ตลอดเวลา จนกว่าท่านจะบอกเลิก

ก็รวมความว่า การเป่ายันต์เกราะเพชรก็ดี อาตมาก็ไม่ได้เป่า..พระท่านเป่า การทำผ้ายันต์ก็ตาม ทำพระก็ตาม อาตมาไม่ได้ทำ..พระท่านทำ เทวดาท่านทำ พรหมท่านทำ ก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย และลูกรักทุกคนโปรดทราบตามนี้ว่า

คนที่คิดว่าอาตมาเก่งความจริงไม่ใช่เก่งน่ะ เก่งจริง ๆ แต่ว่าเก่งในทางดื้อ คือว่ายอมรับคำสอน ไม่ยอมรับคำแนะนำของครูบาอาจารย์ ในที่สุดก็เดือดร้อนครูบาอาจารย์ต้องมาทำให้เอง

ฉะนั้น การที่วัดหนองกุยเขียนป้าย มีชื่ออาตมาไปเป่ายันต์เกราะเพชร ไม่ใช่วันเสาร์ห้า อาตมาก็ไปไม่ได้ ถึงแม้ว่าไม่ป่วย ก็ไปไม่ได้

ทั้งนี้เพราะว่า ไม่ใช่วันเสาร์ห้า และอีกประการหนึ่ง การเป่ายันต์เกราะเพชร ตั้ง ๓ องค์ นี่ จะเป่ากันอย่างไร ฤาษีลิงขาวอยู่หน้า ฤาษีลิงดำรอง แล้วเณรเล็กรอง ถ้าว่ากันทางโลกแล้ว ทางอาวุโสก็ไม่ถูกต้อง

อาตมามีอาวุโสมากกว่าฤาษีลิงขาว ฤาษีลิงขาวนี่ก็คนละฝูง ไม่ใช่ฝูงเดียวกัน ไม่รู้ว่าท่านเกิดมาจากป่าไหน แต่ลิงขาวที่เป็นเพื่อนอาตมานั่นยังอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ ยังอยู่ในป่าไม่ได้ออกมา แต่ลิงขาวองค์ที่เป่ายันต์เกราะเพชรนี่คนละฝูง

แต่ว่า..ขึ้นชื่อว่าความสามารถ บรรดาท่านพุทธบริษัท..จะเหยียดหยามกันไม่ได้ และความสามารถของท่านอาจจะมี และก็ต้องมีด้วย ถ้าไม่มี ท่านก็ทำไม่ได้ ถือว่าในเมื่อไม่ใช่วันเสาร์ห้า อาตมาก็ต้องไม่ไป ถ้าไปก็เสียแน่นอน เพราะว่าใครๆ ก็ทราบว่าการเป่ายันต์เกราะเพชร ต้องเป็นวันเสาร์ห้า

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาตมาก็เป็นพระ ที่ท่านตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ถ้าเสีย..ก็เสียมากกว่าพระสามัญชนธรรมดา ก็รวมความว่า บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทโดยทั่วหน้า ที่มีความสงสัยว่า อาตมาทำไมจึงไม่ไปวัดหนองกุย ก็โปรดทราบตามนี้..สวัสดี


หมายเหตุ - จากข้อมูลที่ ดร.ปริญญา นุตาลัย รวบรวมไว้ใน "สารธรรม" บันทึกไว้ว่า เริ่มเป่ายันต์เกราะเพชร วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ ครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๑๙ วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๕ เป็นครั้งสุดท้าย

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 16/8/17 at 06:21 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 5)

(Update 23 สิงหาคม 2560)


ตอบข้อสงสัย

ทำไมวัดท่าซุงถึงไม่จัดเป่ายันต์เกราะเพชร


...การที่นำเรื่องหลวงพ่อเล่าไปจันทบุรี เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับ การเป่ายันต์เกราะเพชร ช่วงนั้นท่านมีชื่อเสียงมาก อีกทั้งมีวัดอื่นๆ ต้องการจะนิมนต์หลวงพ่อไปทำพิธีนี้บ้าง จึงทำให้หลวงพ่อต้องชี้แจงไป

จึงพอสรุปได้ว่า ผู้ที่จะทำพิธีนี้ได้นั้นมีแค่หลวงปู่ปาน แล้วก็หลวงพ่อเป็นรุ่นสุดท้าย และต้องเป็นวันเสาร์ ๕ เท่านั้น สมดังคำที่พระพรหมท่านพูดไว้ว่า


"...ฉันเป็นต้นตระกูล..ต้นตำรา เจ้าของตำรา และตระกูลของฉันก็มีคุณเป็นคนสุดท้ายของตระกูล..."

นี่เป็นถ้อยคำของท่านเอง ที่คิดว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุนี้ ทางวัดท่าซุงโดย ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล (พระครูปลัดอนันต์) จึงไม่ได้ทำพิธีนี้สืบต่อมา

คงใช้วิธีปูผ้าขาวแล้วทำพิธีบวงสรวงปลุกเสกวัตถุมงคลของวัด ตามที่หลวงพ่อเคยทำไว้เป็นตัวอย่าง แต่ทางวัดก็เลือกทำเฉพาะวันเสาร์ ๕ โดยการเปิดเทปเสียงอัญเชิญเทวดาของท่าน ไม่ได้ใช้เสียงของตัวเอง จึงเป็นธรรมเนียมที่คณะศิษย์ได้ถือปฏิบัติตลอดมา


เพราะหลวงพ่อท่านบอกว่า ผู้ที่จะกล่าวคำบวงสรวงได้ทั้งบท ท้าวมหาราชจะต้องอนุญาตผ่านหลวงพ่อก่อน ในฐานะที่ท้าวมหาราชเป็นพระอริยเจ้า ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตไปเรียกใช้ท่านไม่ได้ แต่ท่านอนุญาตให้กล่าวแค่ "สัคเค" เท่านั้น ในกรณีที่ไม่มีเสียงเทปหลวงพ่อฯ


...แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสงสัยในเรื่องนี้คงห้ามกันไม่ได้ เพื่อเป็นการไขข้อข้องใจที่มีคนสงสัยในเรื่องนี้ จึงขอนำบทความตอนหนึ่งใน "เสียงจากถ้ำ" โดย ท่านพระครูภาวนาพิลาศ (หลวงตาวัชรชัย) ที่เล่าความเป็นมาไว้ในบทความ "เรื่องในบ้านใหญ่" ตอนที่ ๕ ว่า...

".....ก็อย่างที่หลวงตาเขียนเล่า "เรื่องในบ้านใหญ่" เปะปะ เล่าลำดับเหตุการณ์มาถึงตอนที่ ๕ นี้ ก็พอดีมาถึงช่วงครบรอบวันเกิด ๖๐ ปี ของ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เรื่องราวย้อนหลังกว่า ๒๐ ปีก่อนหน้านี้ อยากจะบันทึกเล่าไว้เกี่ยวกับท่านอาจารย์โดยตรง

เห็นชัดเจนว่า พระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ ได้ฟูมฟักฝึกฝนท่านอาจารย์มาเพื่อเป็นเจ้าอาวาส ทายาทเจ้าสำนักของท่าน โดยที่คนอื่นพระอื่นสังเกตเห็นไม่ชัดเจน แต่ค่อย ๆ เด่นชัดมาตามลำดับกาลเวลา มารยาทวาสนาของท่านอาจารย์ก็รองรับบทปฏิบัตินั้นมาได้ไม่พลาดพลั้ง โดยเฉพาะที่หลวงตาได้สัมผัสผูกพันมาด้วยตัวเอง

ขอเล่าเหตุการณ์สำคัญเมื่อ ๑๕ - ๑๖ ปีก่อนโน้น..ก่อนพระคุณพ่อจะมรณภาพ ๑ ปี มีพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรวันเสาร์ ๕ ค่ำ ในวันศุกร์ ๔ ค่ำก่อนงาน พ่อก็บอกพระอาจารย์และพระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุงว่า

งานนี้พระ.. ("พระของพ่อ" หมายถึงครูบาอาจารย์ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสุด) สั่งให้จัดพิธีครอบครูเป่ายันต์เกราะเพชร ก็ให้เตรียมพานครูไปวางไว้ข้างหน้าที่ตนนั่งเข้าพิธีรับยันต์เกราะเพชรที่พ่อจะเป่า ปรากฏดังนี้ ..

พระอาจารย์ (พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ) บอกว่า ท่านไม่ขอครอบเป็นครูเป่ายันต์ เพราะไม่อยากวัดรอยเท้าครูบาอาจารย์ ขอให้จบลงในสมัยชีวิตหลวงพ่อฤๅษีฯ เถิด พระองค์อื่นก็ไม่กล้าขอเข้าพิธีเพราะพระอาจารย์ไม่เอา

เมื่อท่านผู้อาวุโสสูงและได้รับคำประกาศจากพ่อ ท่ามกลางสงฆ์ในสังฆกรรมปาติโมกข์ว่า ให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสแทนพ่อ และเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ่อตายแล้ว ถ้าองค์นี้ไม่เข้า.. ใครจะกล้าเข้าพิธี

ก็ปรากฏอีกว่า มีโยมที่เป็นหัวหน้าช่างทำบายศรีของวัดท่าซุง คือ โยมศุภาพร (ธรรมบดี) เข้าไปขอพรจากพระอาจารย์อนันต์ว่า

ขอให้พระสงฆ์ได้โปรดรับเข้าพิธีครอบครูเป่ายันต์เถิด ได้มาแล้วไม่ใช้ก็ไม่เป็นไร ถ้ามีเรื่องต้องใช้จะเสียโอกาสมงคลสูงสุดนี้ โยมจะจัดพานไหว้ครูมาถวายทุกองค์

พระอาจารย์อนันต์ยิ้มรับ พระสงฆ์ทั้งหลายก็เลยได้โอกาสนั้นด้วย ตกลงว่าทุกองค์ที่มีศรัทธาและเข้าพิธีวันนั้นเป็น "ครูเป่ายันต์เกราะเพชรทุกองค์"

พอพ่อสิ้นชีวิต ตั้งศพที่ศาลา ๑๒ ไร่ เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา (หลวงปู่สามพระยาของลูกหลาน) ปรารภฝากมาว่า อยากให้วัดท่าซุงจัด "เป่ายันต์เกราะเพชร" เสาร์ ๕ ต่อไป

เพื่อเป็นเหตุรวบรวมศิษยานุศิษย์หลวงพ่อฤๅษีฯ ให้เป็นปึกแผ่น ไม่แตกสลายหายหน้าไปเพราะขาดหัวแถว พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้พระอาจารย์จัดงานเป่ายันต์ พระอาจารย์ก็บอกว่าไม่จัด ศพพ่อก็ยังตั้งอยู่ในศาลา ๑๒ ไร่ และยังตั้งใจว่าจะไม่ขอวัดรอยเท้าพ่อ

พระส่วนใหญ่ยืนยันให้จัด ส่วนน้อยคอยมติผลสรุป หลวงตาก็บอกพระอาจารย์ให้ท่านเตรียมตัว พรุ่งนี้ประชุมที่ศาลา ๑๒ ไร่ ต่อหน้าศพพ่อ จะมีมติส่วนใหญ่ให้เป่ายันต์

พระอาจารย์อนันต์หันมายิ้มบอก.."คอยดูวันประชุมก็แล้วกัน.."



...อยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไร..ก่อนจะเล่าเรื่องผลสรุปมติการ "เป่ายันต์เกราะเพชร" ของบรรดาลูก ๆ พระสงฆ์ ศิษยานุศิษย์พระคุณพ่อ..หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงต่อไป

ก็ขอแจ้งให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ทราบว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ ๑๖ ปี ผ่านมาแล้ว คือก่อนพระคุณพ่อจะทิ้งสังขารหนึ่งปี บรรดาลูกๆ พระภิกษุในสมัยนั้น ต่างก็ถูกกาลเวลาและกฎธรรมดาบังคับให้แก่บ้าง. ตายไปแล้วบ้าง สึกไปแล้วบ้าง

ที่ยังเหลืออยู่จนบัดนี้ ที่นึกได้จำได้ก็มี พระคุณอาจารย์อนันต์, พระอาจารย์โอ(พิชิต), หลวงพี่ทีป, หลวงพี่สุรจิต, หลวงพี่ชัยวัฒ์, หลวงพี่ละออง, หลวงพี่ดุ่ย, หลวงน้าสัมฤทธิ์, หลวงน้าสุนทร

ขออภัยที่จำได้แต่นึกไม่ออกอีกหลายองค์ ที่ยังทรงชีวิตพระอยู่ได้ถึงปัจจุบันวันนี้ และที่ลืมไม่ลงเลยก็มี อาจารย์เล็ก อาจารย์สมปอง และ หลวงตาวัชรชัย.. ผู้เขียนนี่แหละ...

เอ้า..ฟังกัน..อ่านกันต่อ วันนั้น.. เมื่อพระทั้งสิ้นกราบศพพ่อเสร็จแล้ว ก็เข้าห้องประชุมที่ศาลา ๑๒ ไร่ ใกล้ ๆ ศพพ่อตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่นั้นแหละ


...พระอาจารย์อนันต์ ตอนนั้นได้รับตราตั้งเจ้าอาวาสจากเจ้าพระคุณสมเด็จวัดสามพระยา เจ้าคณะใหญ่หนกลางเรียบร้อยแล้ว ก็กล่าวเปิดประเด็นปรารภเรื่องที่สมเด็จฯ อยากให้จัดเป่ายันต์เกราะเพชรทุกวันเสาร์ห้า ..ท่านใดจะมีความเห็นอย่างไรบ้าง

ก็มีการแสดงความเห็นนำขึ้นองค์หนึ่ง (ตอนนี้สึกไปแล้ว) ว่าควรจัดอย่างยิ่ง เพราะหลวงปู่ปานและพระคุณพ่อฤๅษีฯ ได้ทำ นำตั้งแบบแผนไว้มั่นคงดีแล้ว..

ลูกศิษย์ทั่วโลกก็ยอมรับนับถือว่าการเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นเรื่องของมงคลชีวิตสูงสุดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะคุ้มภัยให้ร่างกายคนรับยันต์ได้อย่างวิเศษสุด จิตใจก็จะมั่นคงในสรณธรรมกรรมฐานมากยิ่งขึ้น

เรียกว่าจัดเป่ายันต์ครั้งไร มีคนเข้ารับยันต์เต็มแน่นศาลา ๑๒ ไร่ และต้องจัดถึง ๒ รอบ เป็นการรวมศิษย์เก่า เรียกศิษย์ใหม่ได้โดยชอบธรรม.. ต้องเป่าครับ.. ต้องจัดครับ และที่สำคัญหลวงปู่วัดสามพระยาสนับสนุนให้จัดเป่าอีกด้วย ไม่เป่าไม่ได้หรอกครับ..

ยกมือกันมาก...เกือบหมดแหละ..พระอาจารย์ก็บอก...

"ดี ๆ..มีเหตุผล ผมไม่ค้านเลย แต่ผมลืมเล่าให้ทุกท่านฟังอยู่เรื่องหนึ่ง คือก่อนหลวงพ่อท่านจะมรณภาพสัก ๑ เดือน หลวงพ่อเรียกผมเข้าไปหา..พูดเรื่องยันต์เกราะเพชรว่า...


"เออ..นันต์ จำไว้ไปบอกกันด้วย หลวงปู่ปานเคยบอกว่า คนที่จะเป็นอาจารย์เป่ายันต์เกราะเพชรให้ศิษยานุศิษย์ได้นั้น จะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ ที่จะรู้กฎของกรรมเฉพาะหน้าของศิษย์ทั้งหลาย จะได้บอกให้จิตทำอารมณ์ให้ตรงกับที่ท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้มีทิพยอำนาจผู้ประสาทพิธีลงมา เพราะฉะนั้นต้องมีใจเป็นทิพย์มั่นคง ไม่ถอยหลังแล้ว คือ ...

ต้องเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือ...
ต้องเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วอย่างหลวงปู่ปาน เป็นต้น..."


จึงจะรับคำสั่งจากท่านเบื้องบน มีสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธาน แล้วประสาทบอกอารมณ์ควบคุมอารมณ์ศิษย์ที่เข้าพิธีได้


แล้วพระอาจารย์อนันต์ก็พูดต่อว่า "...ผมพร้อมที่จะจัดพิธีเป่ายันต์ให้ แต่ผมเป่าไม่ได้ เพราะผมไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนหลวงพ่อ และก็ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วเหมือนหลวงปู่ปาน

เอ้า...ใครเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วบ้าง.. ยกมือขึ้นนะครับ... ผมจะน้อมจัดพิธีเป่ายันต์ถวาย มีไหมครับ ?"

ในขณะบัดนั้นก็เงียบสนิท...ไม่มีมือยกรับรองตัวเอง แล้วพระอาจารย์ก็บอกว่า

"...ในเมื่อยังไม่มี ผมก็ยังไม่กล้าจัดเป่ายันต์ เพราะจะขัดคำครูบาอาจารย์ พวกเรามาเร่งความเพียรกัน ใครเป็นพระอรหันต์เมื่อไร เป็นพระโพธิสัตว์พร้อมจะตรัสรู้เมื่อไรบอกผมด้วย จะได้จัดพิธีถวาย..."

ตั้งแต่วันนั้นมา...ในวัดท่าซุงก็ไม่พูดถึงเรื่องจัดเป่ายันต์เกราะเพชรอีกเลย...



ภาพจากขวาไปซ้าย - หลวงตาวัชรชัยนั่งอยู่ใกล้หลวงปู่บุดดา ต่อไปคือ หลวงพี่สุรจิต (นั่งหลังสุด) และ หลวงพี่ชัยวัฒน์ แล้วก็ คุณศุภาพร (ทำบายศรี) พร้อมด้วยลูกๆ ทั้งสามคนที่ยังเล็กอยู่ ปัจจุบันมีช่วยงานหลวงตาอยู่คนหนึ่ง ถ้าสังเกตให้ดีๆ (ผู้เขียนขออภัยหลวงพี่และหลวงตาด้วย ที่ได้นำภาพก่อนบวชของท่านออกมาให้ชมกัน)

...เรื่องราวเหล่านี้ต้องขอยกความดีให้หลวงตา ในฐานะที่เป็นผู้ทรงจำยอดเยี่ยม สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์มาเล่าสู่กันฟังได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เป็นด้วยความปรารถนาดีของท่าน ที่มีต่อลูกหลานหลวงพ่อภายหลังทุกคน

โดยเฉพาะศิษย์วัดท่าซุงก็คงมีเจตนาดีเช่นกัน ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาอาจจะมีใครคิดว่า เมื่อทางวัดท่าซุงจัดพิธีนี้ไม่ได้แล้วคงกีดกันวัดอื่นด้วยนั้น คงเป็นไปไม่ได้นะ ด้วยเหตุผลตามที่หลวงตาเล่าไว้ในตอนท้ายว่า ผู้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

๑. หลวงพ่อประทานครอบครูเป่ายันต์เหมือนพี่น้องทุกองค์
๒. จัดเป่ายันต์ในวันเสาร์ห้าตามแบบฉบับครูบาอาจารย์
๓. เรื่องเป็นพระอรหันต์หรือพระโพธิสัตว์ หลวงตาผู้เขียนไม่รู้


ผู้เขียนขออภัยที่จะต้องอธิบาย "คุณสมบัติ" เพิ่มเติมไปอีกว่า นอกจากคุณสมบัติ ๓ ข้อนี้แล้ว บุคคลผู้นั้น ต้องเป็นคนที่เกิดในตระกูลพระร่วงด้วย จึงจะมีสิทธิ์ใช้ "ตำราพระร่วง" นี้ได้ แต่ในเมื่อพระพรหมท่านบอกว่า

"ตระกูลของฉันก็มีคุณเป็นคนสุดท้าย"


...จึงเป็นอันว่า "การเป่ายันต์เกราะเพชร" ที่วัดท่าซุงคงยุติแค่สมัยท่าน คือทำพิธิ ๑๙ ครั้งเท่านั้น เพียงแต่ท่านไม่บอกตรงๆ การที่หลวงพ่อท่านเรียกท่านเจ้าคุณฯ ไปพบก่อนมรณภาพเพียง ๑ เดือน คิดว่าท่านคงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าแล้วว่าจะเป็นอย่างไร จึงได้สั่งไว้ว่า

"จำไว้ไปบอกกันด้วย" ท่านหมายถึงให้ไปบอกพระองค์อื่นๆ ด้วย แล้วหลวงตายังเล่าอีกว่า

"...หลวงปู่ปานเคยบอกว่า คนที่จะเป็นอาจารย์เป่ายันต์เกราะเพชรให้ศิษยานุศิษย์ได้นั้น จะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ ที่จะรู้กฎของกรรมเฉพาะหน้าของศิษย์ทั้งหลาย จะได้บอกให้จิตทำอารมณ์ให้ตรงกับที่ท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้มีทิพยอำนาจผู้ประสาทพิธีลงมา..."

ขออธิบายคำว่า "ท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้มีทิพยอำนาจผู้ประสาทพิธีลงมา" นั่นหมายถึง พระพรหมชั้นที่ ๘ ผู้เป็นเจ้าของตำราพระร่วงนั่นเอง ท่านเห็นควรช่วยผู้ทำพิธีนี้หรือไม่ ข้อนี้สมกับที่ท่านพูดไว้กับหลวงพ่อว่า

"...ถ้านอกจากคุณแล้ว ใครจะนำตำรานี้ไปใช้ จะมีผลไม่ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉันไม่ช่วย..."

เรื่องนี้คงชัดเจนขึ้นอีกว่า "ทำไมวัดท่าซุงถึงไม่จัดเป่ายันต์เกราะเพชร" เพราะคำว่า "ใครจะนำตำรานี้ไปใช้" หมายถึงว่า "ใครจะนำการเป่ายันต์เกราะเพชร ที่มีอยู่ในตำราพระร่วงไปทำพิธีนั้น..ท่านจะไม่ช่วย"

แต่ถึงแม้จะไม่มีพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรอีกก็ตาม เราคงห้ามที่อื่นอีกหลายแห่งไม่ได้ เพราะสมัยหลวงพ่อก็มีเรื่องแบบนี้มาแล้วเหมือนกัน ตามที่ท่านบอกว่า "ลิงคนละฝูง" จึงขอน้อมนำคำพูดของท่านที่กล่าวไว้ในตอนนั้นว่า

"...แต่ว่า..ขึ้นชื่อว่าความสามารถ บรรดาท่านพุทธบริษัท..จะเหยียดหยามกันไม่ได้ และความสามารถของท่านอาจจะมี และก็ต้องมีด้วย ถ้าไม่มี ท่านก็ทำไม่ได้.."

อนึ่ง แม้นว่าบางแห่งจะอ้างเป็นคำสั่งจากพระให้ทำพิธีนี้ก็ตาม แต่ถ้าได้อ่านคำพูดของท่านก่อนมรณภาพเช่นนี้ ท่านผู้อ่านคงคิดพิจารณาได้ว่า คำสั่งแบบไหนจะน่าเชื่อถือกว่ากัน

จึงขอย้ำไว้อีกสักครั้ง ถึงแม้จะสุดแสนเสียดาย แต่คิดว่าคงไม่ได้เห็นวัดท่าซุงจัดแน่นอน เพราะคงไม่มีใครกล้าขัดคำสั่งครูบาอาจารย์นั่นเอง

อีกประการหนึ่ง สมัยนั้น การที่ท่านเพิ่งสั่งให้หลวงพ่อเป่ายันต์เกราะเพชร ทั้งๆ ที่หลวงพ่อมาอยู่วัดท่าซุงหลายปีแล้ว คงจะมีเหตุผลกับเหตุการณ์สมัยนั้น เพราะมีคนปล่อยของกันมาก บางครั้งจะมีตะปูตกลงมาหน้าโบสถ์ จึงทำให้รู้ว่าคนเล่นไสยศาสตร์กัน การเป่ายันต์ก็เพื่อป้องกันอันตรายจากมนต์ดำเท่านั้น

ปัจจุบันนี้กาลสมัยเปลี่ยนไปแล้ว หลวงตาจึงเข้าใจลีลาหลวงพ่อได้ดี สมกับเป็นลูกและเป็นศิษย์ที่ดี ที่อยู่กับท่านมานาน และมีความเคารพในครูบาอาจารย์อย่างแท้จริง ท่านเจ้าคุณฯ จึงได้ไปร่วมงานที่วัดเขาวงเป็นประจำ หลวงตาเขียนต่อไปอีกว่า


เรื่องที่ถูกถามมากอีกกระแสหนึ่งก็คือ หลวงพี่นันต์จะเป่ายันต์เกราะเพชรไหม...
ทำไมหลวงพ่อนันต์ไม่เป่ายันต์วันเสาร์ห้า...
หรือว่า ต่อไปวัดท่าซุงจะจัดเป่ายันต์เกราะเพชรไหม ?


คำตอบก็ต้องอยู่ที่พระอาจารย์อนันต์แล้วลูกหลานเอย... ท่านได้บอกไว้แล้วตามที่เล่าให้ฟังมา ส่วนว่าถึงกาลอันควรที่จะเป่านั้น.. กาลนั้นจะมีได้ไหม ? ลูกหลาน ผู้อ่านทั้งหลายเอย... เอากาลเวลาปัจจุบันเถิด..

ถ้าปรารถนาจะได้ยันต์เป็นมิ่งขวัญกำลังใจจริง ๆ แล้ว.. พอท่านอาจารย์จัดสะเดาะเคราะห์ในวันเสาร์ห้าใด กาลนั้นแหละจงเข้าไปร่วมพิธี เข้าไปอธิษฐานเอาเองตามปรารถนา เพราะพระอาจารย์อนันต์จะตั้งพิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดา อาราธนากรรมฐาน อาราธนาครูบาอาจารย์

ตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดลงมาถึงพระบรมโพธิสัตว์ครูใหญ่ คือหลวงปู่ปานต้นตำรับเป่ายันต์เกราะเพชร.. มาจนถึงพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ องค์เอกอรหันต์ ผู้เป็นทั้งพ่อและครูของเราทั้งหลาย.. ก็จงตั้งใจอธิษฐาน ขอให้อานุภาพยันต์เกราะเพชรจงมาสถิตย์ในกาย ในใจของเรา ณ กาลบัดนี้เถิด...

เท่านั้นแหละ ลูกหลานเอย... แม้พระคุณอาจารย์อนันต์จะไม่ได้เอ่ยปากบอกเป่ายันต์ แต่พระปรมาจารย์เบื้องบน จะเมตตาประสาทยันต์แก่ผู้มีศรัทธาจริงๆ นั้น ได้อยู่...


...ผู้เขียนขอจบบทความของหลวงตาไว้เพียงแค่นี้ พร้อมทั้งขออนุโมทนาไว้ ณ โอกาสนี้ รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน คิดว่าเรื่องนี้คงแจ่มแจ้งเป็นอย่างดี เพราะมีข้อมูลมากล่าวอ้างอย่างสมบูรณ์ที่สุด

ลูกแก้วจักรพรรดิ์ สมบัติของวัดท่าซุง


....และก็ยังมีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งถือเป็นมรดกตกทอดของท่าน เช่นเดียวกับ ตำราพระร่วง ที่ท่านไม่ได้มอบหมายให้ใครเป็นทางการ แต่ผู้ที่เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไป จะต้องมีหน้าที่รักษาสมบัติอันมีค่านี้สืบต่อไว้เช่นกัน นั่นก็คือ ลูกแก้วจักรพรรดิ์ ที่หลวงพ่อนำเข้าพิธีปลุกเสกทุกครั้ง

ปัจจุบันนี้ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ท่านมีหน้าที่เก็บรักษาไว้โดยตำแหน่งเจ้าอาวาส และนำเข้าประกอบพิธีพุทธาภิเษกทุกครั้ง

ฉะนั้น เรื่อง "การเป่ายันต์เกราะเพชร" ก็เหมือนกัน ถึงแม้หลวงพ่อไม่ได้มอบหมายให้ใครอย่างเป็นทางการ เพียงแต่ให้สิทธิ์พระทุกองค์ที่ต้องการจะทำพิธีนี้ นั่นเป็นการแสดงออกว่าท่านไม่หวงวิชา แล้วไม่เป็นการเลือกบุคคลด้วย นี่เป็นจริยาของท่าน พระที่อยู่ใกล้ชิดท่านคงรู้ลีลาเป็นอย่างดี

ส่วนการที่เรียกท่านเจ้าคุณฯ ไปพบเป็นการส่วนตัวนั้น ผู้เขียนคิดเอาเองนะ ถ้าผิดต้องขอออภัยด้วย เป็นเพราะท่านรู้คุณสมบัติของพระที่มีอยู่ในวัดทุกองค์ แล้วสั่งว่าให้ไปบอกกัน คือท่านดักคอพระประเภทนี้ไว้ก่อนนั่นเอง (นี่ผู้เขียนไม่ได้หมายถึงใครนะ เพราะไม่ทราบว่าพระวัดท่าซุงองค์ไหนรับครอบกันบ้าง)

ส่วนที่วิเคราะห์ว่าผู้นั้นผู้นี้คงได้คุณสมบัติครบถ้วนแล้ว จึงได้กระทำพิธีเช่นนี้ได้ ตามความเห็นทั่วไปคิดว่า ถ้าผู้ใดได้คุณสมบัตินั้นจริงก็ต้องขออนุโมทนาด้วย ที่ท่านรู้เท่าทันครูบาอาจารย์ แล้วคงจะพิจารณาตัวเองได้ โดยไม่ต้องมีใครมาบอกกล่าวอย่างแน่นอน

เพราะตามมรรยาทของลูกที่ดี จะต้องรู้ว่าพ่อประสงค์อย่างไร พระบางองค์ท่านคงรู้ทันพ่อว่า ต้องเป็นหน้าที่ของรุ่นพี่ที่จะเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไป เหมือนกับลูกแก้วจักรพรรดิ์นั่นเอง

ในเมื่อท่านพี่สละสิทธิ์ไม่ยอมนำสมบัติของพ่อมาใช้ พระน้องๆ ก็ย่อมไม่ถือสิทธิ์เช่นกัน ในฐานะท่านเป็นหัวหน้า คือเป็นผู้นำของวัดท่าซุง ที่ได้รับการแต่งตั้งจากหลวงพ่อโดยตรง

เป็นอันว่า ถึงแม้ท่านเจ้าคุณฯ จะไม่ทำหน้าที่เป็นทายาท คือเป็น "ลูกพระร่วง" ก็ตาม ซึ่งท่านไม่ยอมถือสิทธิ์ที่จะใช้ตำรานี้ แต่น่าภูมิใจที่ยอมเป็น "หลานพระร่วง" เพื่อช่วยกันสืบสานเจตนารมย์ของท่านไว้ แม้ท่านจะล่วงลับไปแล้วก็ตามที ท่านก็คงปลาบปลื้มใจที่ได้ช่วยกันรักษาวงศ์ตระกูล "พระร่วง" ไว้เป็นอย่างดี...สวัสดี


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 24/8/17 at 10:15 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 6)

(Update 30 สิงหาคม 2560)


"ตำราพระร่วง" หลวงพ่ออธิษฐานให้ฟ้าผ่า



...ยันต์เกราะเพชรนี้ หลวงปู่ปานศึกษาจากตำราพระร่วง โดยเอามาจากยอด ธงมหาพิชัยสงคราม เป็นการนำเอา "พุทธคุณ" บทต้นมาเขียนเป็น "ตัวขอม" พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า :

"...หลังจากหลวงพ่อปานตายแล้วปีหนึ่ง ฉันนอนนึกถึงสมุดตำราของหลวงพ่อปาน ที่อาจารย์แจงขอยืมไป ฉันนึกขึ้นมาได้ว่า ท่านขอยืมเอาไปปีหนึ่งแล้วท่านจะมาส่ง นี่ไม่เห็นท่านมาส่ง แล้วหลวงพ่อปานก็ตายแล้ว จะลองๆ ไปถามท่านว่าจะให้ไหม จะได้เอามาใช้บ้างเผื่อจะฮิตขึ้นมา

เมื่อไปถึงอำเภอสวรรคโลก อีตอนนี้มันเป็นจังหวัดหรือยัง ดูเหมือนจะเป็นจังหวัด จังหวัดสวรรคโลก พอไปถึงที่นั่นก็ไปถามเขาว่า อาจารย์แจงอยู่ที่ไหน ความจริงท่านก็อยู่ไม่ไกลอำเภอนัก ก็มีคนนำทางไป ไปพบภรรยาของท่าน

พอไปถึงบ้านได้ยินข่าวปรากฏว่าอาจารย์แจงตาย ตายไล่ๆ กับหลวงพ่อปาน เลยแจ้งกับภรรยาของท่านว่า ฉันนี่น่ะ...เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน จะมาขอตำราที่ท่านอาจารย์แจงมอบให้แก่หลวงพ่อปานคืนไป จะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์

ภรรยาของท่านก็หยิบหนังสือขึ้นมา อาจารย์แจงเขียนเป็นหนังสือตัวคล้ายๆ โบราณ แต่เป็นกระดาษสมุดธรรมดา บอกว่าตำราเล่มนี้เป็นตำราของอาจารย์พระร่วง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายมาจากต้นตระกูล เพราะตระกูลของข้าพเจ้าเป็นตระกูลของพระร่วง ท่านว่ายังงั้น

.....ถ้าหากว่าบุคคลใด จะนำตำรานี้ไปใช้เป็นประโยชน์ ให้นำดาบ ๒ เล่มนี้ไปรำที่กลางนอกชาน รำกลางแจ้ง ถ้ารำดาบแล้ว มีฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ ฟังเสียงชัด ก็มอบตำรานี้ให้ได้ ถ้าใครเอาดาบนี้ไปรำกลางนอกชาน ฟ้าไม่ผ่าลงมา ห้ามไม่ให้มอบตำรานี้ให้ไป

และเมียเขาบอกว่า เขามารำกันเยอะแล้ว พอท่านอาจารย์ตายก็มารำกันเยอะ ฟ้าไม่ผ่า ฉันก็นึกว่า เอ..เราไม่เคยเรียนวิชารำดาบกับเขาสักที เคยเล่นกลองยาวสมัยเด็กๆ รำดาบนี้มันจะใช้ได้หรือไม่ได้ก็ไม่รู้

ก็นึก...อธิษฐานในใจแล้วบอกว่า...เอาละโยม เอายังงี้ก็แล้วกัน อาตมาคิดว่าถ้าอาตมามีบุญนะ อาตมาเอาดาบไปถือไว้กลางนอกชาน พอขยับนิดหนึ่งฟ้าคงจะผ่าลงมา แสดงสัญลักษณ์ว่าให้ตำรา

หากว่าอาตมาไปขยับดาบหรือรำดาบ ฟ้าไม่ผ่าก็กฎของกรรม เรียกว่าวาสนาบารมีไม่ควรกับตำรา เป็นอันว่าเจ๊ากันไปนะ..โยมนะ

โยมผู้หญิงแกก็บอกว่า "ใช่ท่าน..ยังงั้นถูกแล้ว"

แล้วแกก็ส่งดาบให้ ฉันก็หยิบดาบมา เอาตำราไปวางไว้ที่หน้าพระพุทธรูป แล้วฉันก็จุดธูปเทียนบูชาว่า

"...ถ้าวาสนาบารมีของฉันนี้เคยเกี่ยวข้องกับท่านเจ้าของตำราเล่มนี้มาบ้าง แล้วควรที่จะรับตำรานี้ไปไว้เป็นสมบัติของตน และคาถาในตำรานี้จะให้ประโยชน์แก่ฉัน ขอให้ฟ้าผ่าลงมา ในขณะที่ฉันถือดาบนี้ออกไปกลางแจ้ง ถ้าหากว่าฉันถือดาบอยู่ประมาณ ๑๐ นาที..ฟ้าไม่ผ่า แสดงว่าท่านเจ้าของตำราไม่อนุมัติ..."

ฉันอธิษฐานเสร็จฉันก็ถือดาบออกมากลางนอกชาน ฉันไม่ได้รำไม่ได้เริมอะไรหรอก ไปรำเข้า..พระนี่ดีไม่ดี..ตำรวจจะมาจับพระรำดาบ

ในที่สุด พอเดินออกไปกลางนอกชาน ถึงกลางแจ้งไม่ทันถึง ๒ นาทีละมั้ง ฟ้าผ่าเปรี้ยง..หูอื้อไปตามๆ กัน เป็นอันว่า ฉันมีสิทธิ์ในการใช้ตำรา แล้วฉันก็รับตำรามา..."


"ตำราพระร่วง" มาอยู่วัดท่าซุงได้อย่างไร



(ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม)

.....ตามธรรมดาอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก่อนที่หลวงพ่อท่านจะมาอยู่วัดท่าซุง ท่านอยู่ที่ "วัดปากคลองมะขามเฒ่า" มาก่อน ถ้าใครที่เป็นลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จะทราบจริยาของท่านดีว่า ท่านไปอยู่วัดไหน จะไม่เอาทรัพย์สมบัตินั้นออกไปด้วย คงมอบสมบัติไว้ที่วัดนั้นทั้งหมด

โดยเฉพาะท่านมาอยู่ที่วัดท่าซุง ท่านมีเงินติดย่ามเพียงแค่ ๑๐๐ บาทเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นสมบัติส่วนองค์ท่าน นั่นก็คือ "สุนัข" ผู้เป็นสุดที่รักของท่านนั่นเอง ผู้เขียนสังเกตดูจริยาของพระอรหันต์หลายองค์ ตามที่หลวงพ่อท่านเล่าไว้ ส่วนใหญ่ท่านจะอยู่กับหมากับแมว เช่น หลวงพ่อเนียม วัดน้อย เป็นต้น

ฉะนั้น ในเมื่อหลวงพ่อออกมาจากวัดบางนมโคมานานแล้ว ท่านคงไม่ได้นำตำรานี้ติดตัวมาด้วย ใช่ไหม..?
ถูกต้อง..ใช่แล้ว

นี่ถามเอง..ตอบเอง เบ็ดเสร็จเลยนะ ท่านผู้อ่านคงสงสัยที่มาที่ไป ส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีใครเล่า ใช่ไหม ? และส่วนใหญ่ก็รู้จักเมื่อมาอยู่ที่วัดท่าซุงแล้ว ใช่ไหม ?

เอ้า..ถามอีกแล้ว รำคาญกันบ้างไหมนี่ ใจเย็นๆ อ่านกันต่อไปในตอนหน้า ซึ่งในแต่ละตอนต้องรอถึง ๗ วัน เพราะผู้เขียนก็มีเรื่องเก่าๆ เยอะ ใครอยากรู้ก็ติดตามอ่านกันไปเรื่อยๆ

ในตอนท้ายก็คงพอสรุปได้ความว่า "ตำราพระร่วง" กว่าหลวงพ่อจะได้มาจาก "อาจารย์แจง" อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ท่านก็ต้องไปเสี่ยงสัจจะอธิษฐาน นับว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของตำราอย่างแท้จริง ไม่ใช่ได้มาด้วยโชคช่วยหรือสวรรค์บันดาล แต่นี่เป็น "ฟ้าประทาน" ให้หลวงพ่ออย่างแท้จริง

ฉะนั้น ตามที่กล่าวอ้างกันมาว่า มีพระองค์นั้นพระองค์นี้เป่ายันต์เกราะเพชร นับตั้งแต่สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ยังมีชีวิตอยู่ หรือจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ก็ตาม

นี่เป็นหลักฐานที่มัดตัวบุคคลที่กล่าวอ้าง หากปัจจุบันนี้แน่ใจว่าหลวงพ่อมาสั่งให้เป่ายันต์ น่าจะลองเสี่ยงอธิษฐานดูบ้าง หากเป็นเหมือนกับหลวงพ่อทุกอย่าง พวกเราก็จะขอยอมรับนับถือเป็นสากลว่า ท่านผู้นั้นท่านผู้นี้ หรือสำนักนั้นสำนักนี้ มีคุณสมบัติ "เป่ายันต์เกราะเพชร" ได้เช่นกัน


จริยาวัตรของการเป็น "ลูกศิษย์"

ตามที่ได้ตอบข้อสงสัยไปแล้วว่า วัดท่าซุงที่เป็นต้นตำรับเอง คงไม่มีการเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นแน่ เพราะท่านคงไม่วัดรอยครูบาอาจารย์ แม้แต่การทำวัตถุมงคลภายหลัง ก็ไม่เห็นทำลอกแบบของท่าน

ในเรื่องการทำ "วัตถุมงคล" นี้ แม้แต่หลวงพ่อเองท่านก็เล่าว่า สมัยที่ท่านอยู่วัดบางนมโค หลวงปู่ปานทำพระเครื่องแบบไหน บรรจุผงไว้ตรงไหน หลวงพ่อท่านเล่าให้ "หลวงพ่อโอ" และ "หลวงพ่ออนันต์" ว่า

ท่านก็จะไม่ทำเหมือน แล้วก็ไม่บรรจุผงไว้ตรงที่หลวงปู่ปานทำไว้ด้วย เรียกว่าไม่ทำเลียนแบบทุกอย่าง นี่เป็นจริยาของท่านก่อนจะมาอยู่วัดท่าซุงนานแล้ว

ดังจะสังเกตเห็นได้ว่า ท่านได้ "ตำราพระร่วง" ไว้หลังหลวงปู่ปานมรณภาพไม่นาน แต่ท่านก็ไม่ได้นำเอาตำรานี้ ออกมาใช้ที่วัดบางนมโคเลย ทั้งๆ ที่ท่านมีสิทธิ์ในฐานะเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ตัวอย่างจริยาวัตรที่ท่านไม่เลียนแบบครูบาอาจารย์หลังมรณภาพไปแล้ว นั่นก็คือ...

๑. ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อทำ "พระเครื่อง" เหมือนกับหลวงปู่ปาน หลังมรณภาพแล้ว
๒. ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อทำ "ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ที่วัดบางนมโคเลย หรือที่อื่นใดเลย
๓. ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อทำ "ผ้ายันต์เกราะเพชร" ที่วัดบางนมโค หรือที่อื่นใดเลย
๔. ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อทำ "พิธีเป่ายันต์เกราะเพชร" ที่วัดบางนมโค หรือที่อื่นใดเลย
๕. ไม่ปรากฏว่าหลวงพ่อนำ "ตำราพระร่วง" ออกไปจากวัดบางนมโคเลย

ฉะนั้น ลูกศิษย์ที่ดีมีความกตัญญู ซึ่งมีทั้งพระและฆราวาส น่าจะลอกเลียนแบบที่ดีของท่านไว้ และไม่ควรกระทำการลบหลู่ครูบาอาจารย์ อาจจะเป็นโทษไปจนถึงมรรคผลเบื้องสูงด้วย ซึ่งอาจมีบางท่านไม่รู้จริยาเหล่านี้ก็เป็นได้ นี่ก็ไม่ได้เจาะจงว่าใครที่ทำแบบนี้นะ เพราะมีหลายแห่งที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์


"ครูกับลูกศิษย์" เคยมีตัวอย่างมาแล้ว

ดังมีตัวอย่างผู้หนึ่งที่ฝึกมโนมยิทธิ ซึ่งฝึกได้เป็นคนต้นๆ เลยก็ว่าได้ คือหลวงพ่อฝึกให้ด้วยตนเอง (ฝึกแค่ครึ่งกำลัง แต่ผู้นี้ได้เต็มกำลัง) ต่อมาก็ได้เป็นครูฝึกอีกด้วย (ของดการออกชื่อ) ภายหลังก็หายหน้าไปที่อื่นเสียนาน จนกระทั่งกลับมาวัดท่าซุงอีกครั้งหนึ่ง

สมัยนั้นหลวงพ่อยังรับแขกที่ "ศาลานวราช" ท่านได้แนะนำให้เอาพานธูปเทียนแพไปขอขมาพระรัตนตรัย (หน้าโต๊ะหมู่บูชาที่ทำวัตรเช้ากันทุกวัน) ผู้เขียนคิดเอาเองนะว่า การแสวงหาความรู้ที่อื่นก็เป็นการดี

แต่การที่เราตั้งขันครูขอเป็นอาจารย์ของตน ตามมรรยาทถือว่าท่านรับเป็นลูกศิษย์แล้ว หากจะไปต่อที่อื่น หรือไปกระทำการที่อาจไม่ถูกต้อง ต้องได้รับความเห็นชอบเสียก่อน ไม่ใช่ไปที่นั่นแล้วไปที่โน่น แต่ละแห่งก็ว่าไม่เหมือนกัน อาจจะทำความเสื่อมเสียให้ท่านได้

แม้ครูบาอาจารย์ท่านไม่หวงลูกศิษย์ แต่ลูกศิษย์ที่ดีต้องมีมรรยาท เพราะอาจจะไปพลั้งพลาดกับการปรามาสได้ และถ้าอาจารย์ผู้นั้นจบกิจในพระพุทธศาสนาแล้ว คงจะลุกลามไปถึงพระรัตนตรัยด้วย วัดท่าซุงจึงมีแต่ป้ายขอขมาเกือบทุกแห่ง

แต่ผู้เขียนต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ใช่นิยมว่าวัดท่าซุงทำถูกทำดีไปหมด ส่วนที่แห่งอื่นทำไม่ดีนะ นี่คุยกันในฐานะเราเป็นพี่น้องกัน การตักเตือนด้วยเหตุผล เป็นความหวังดีที่แท้จริง ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่ไม่มีอคติใดๆ ทั้งสิ้น หวังว่าคงไม่โกรธกัน ถ้าคำพูดล่วงเกินไปบ้างก็ต้องขออภัยด้วย

เพราะหากที่ไหนทำดีที่ถูกแบบถูกแผนของครูบาอาจารย์แล้ว นับว่าต่างก็ได้ช่วยดำรงไว้ซึ่งคำสอน ที่ท่านแนะนำไว้เป็นอย่างดี มีหรือที่พวกเราภายหลังจะไม่อนุโมทนากัน

ขอให้เชื่อใจกันเถอะ ไม่มีพี่น้องที่ไหนเขาจะหวังดี ในฐานะที่เราเป็นลูกพ่อเดียวกัน แม้จะอยู่ที่ไหน..สายใยแห่งความรักกัน..ก็ยังผูกพันตลอดไป..ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานในที่สุดนั้นเทอญ...สาธุ


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 30/8/17 at 07:52 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 7)

(Update 6 กันยายน 2560)


หลวงพ่อเล่าวิธีการปลุกเสกอย่างไรถึงจะมีผลดี


...คราวนี้มาว่ากันถึงเรื่อง "ผ้ายันต์" ในเมื่อ นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายตราใบโพธิ์ มาถวายหลวงพ่อปานจำนวนหลายพันผืน เมื่อเขาพิมพ์มาแล้ว หลวงพ่อปาน ก็สั่ง หลวงพ่อเล็ก (เกสโร) ให้เอาผ้ายันต์ไปเสก หลวงพ่อเล็กนำมาเสก ๓ เดือน ถือว่าครบไตรมาสพรรษาหนึ่งพอดี

"หลวงพ่อเล็ก" นี่เราทราบกันอยู่ว่า ท่านได้ "สมาบัติ ๘" (รูปฌาน ๔ เเละ อรูปฌาน ๔) แต่ว่ายิ่งไปกว่านั้น สำหรับ "วิปัสสนาญาณ" นี่... จะได้อะไรฉันไม่ทราบ ฉันไม่หลอกสิ่งที่จะรู้กันได้

ถ้าเราได้ถึงไหน...เราก็รู้กันว่าคนอื่นเขาได้ถึงเพียงนั้น ที่เลยไปเราไม่รู้ ตอนนั้นฉันก็ยังทรง "สมาบัติ ๘" เหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้ฝึก "อภิญญา" ครบถ้วน เลยกลายเป็นพระไม่ใช่อภิญญา นี่ฟังให้ดีนะ

สมาบัติ ๘ ก็อาศัย "กสิณ" กองใดกองหนึ่งเป็นพื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องใช้กสิณทั้งหมด ๑๐ อย่าง ใช้กสิณกองใดกองหนึ่ง เป็นพื้นฐาน ยกเอารูปขึ้นมาตั้ง แล้วก็เพิกกสิณนั้นเสีย แล้วใช้ "อรูปฌาน" ขึ้นมาแทน ถ้าทำได้ทั้ง ๔ อย่างก็เรียกว่า ทรงอรูปฌาน ๔ ได้ เป็น ฌาน ๘ ไป นี่ฟังกันไว้เท่านี้นะ

หลวงพ่อเล็กได้ "ฌาน ๘" (สมาบัติ ๘) เลยกว่านั้น.. ฉันไม่รู้ เมื่อได้รับผ้ายันต์มาแล้ว ก็มานั่งเสก เสกด้วยอำนาจของสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ ๓ เดือน

เวลากลางคืน เสกกี่ชั่วโมงไม่ทราบ แต่ว่าไม่ใช่ว่าตลอดวันตลอดคืน อย่านึกว่าตลอดวันตลอดคืน ๓ เดือน ไม่ลุก ไม่กินข้าวไม่กินปลา นี่มันก็เกินคนไป ว่ากันตามแบบปกติ ฟังเรื่องของพระนะ

พอครบ ๓ เดือน วันออกพรรษา หลวงพ่อเล็กเรียกฉันเข้าไป บอกให้แบกผ้ายันต์ ฉันคนเดียวมันแบกไม่ไหว ก็เอาไอ้เพื่อนอีก ๓ คน มาช่วยกันแบกผ้ายันต์ มาถวาย "หลวงพ่อปาน" ยังไม่ทันจะถึงเลย ห่างอีกประมาณสัก ๑๐ วาได้กระมัง

"หลวงพ่อปาน" เห็นเข้า ท่านโบกมือโบกไม้บอกว่า... ไม่เอา ๆ ยังไม่เสร็จ ยังไม่เสร็จ ยังใช้ไม่ได้ นี่ท่านร้องไป ก็เป็นอันว่า ไม่เอาเข้าไปให้ท่าน..เอากลับ

ตอนนี้ "หลวงพ่อเล็ก" กลับมา ก็นึกในใจว่า นี่เราทำขนาดนี้ ยังใช้ไม่ได้ ใครที่ไหนจะยิ่งไปกว่าเรานะ เราเข้าถึง "สมาบัติ ๘" นี่ท่านบ่นนะ

เราเข้าถึง "สมาบัติ ๘" แล้วก็คลายสมาธิลงมาพิจารณา "วิปัสสนาญาณ" จนกระทั่งอารมณ์จิตเป็นแก้วทั้งหมด เป็นแก้วประกายพฤกษ์ทั้งหมด

แล้วเราจึงเข้าสมาธิใหม่ จัดเป็น "โลกุตตรญาณ" แล้วเราก็อธิษฐานจิต นี่ยังใช้ไม่ได้ ก็ใครจะเสกยิ่งไปกว่านี้ ท่านบ่นให้ฟัง


การปลุกเสกที่ดีต้องขออาราธนาบารมีพระ


ท่านก็บอกว่า เอา..ในเมื่อ ท่านใหญ่ (หมายถึง หลวงพ่อปาน) บอกว่าใช้ไม่ได้ ฉันก็จะทำให้ใหม่ ตอนนี้ ท่านไปทำใหม่ ๗ วัน

ท่านทำยังไงบ้างฉันไม่ทราบ เวลาท่านทำ ไม่ได้เข้าไปยุ่งกับจิตใจของท่าน พอครบ ๗ วัน ท่านมาเรียกพวกฉันไปให้ไปแบกมาให้หลวงพ่อปาน

ตอนนี้เอง พอแบกมา "หลวงพ่อปาน" เห็นแต่ไกล ก็กวักมือกวักไม้บอก...

"เออๆ เอามา ๆ ๆ อย่างนี้ซิ..มันถึงจะใช้ได้ เก่งคนเดียวน่ะ มันใช้ไม่ได้ มันต้องให้คนอื่น เขาเก่งกว่า เก่งคนเดียว..ใช้ไม่ได้ ทำอย่างนี้..ใช้ได้"

เมื่อเข้าไปถึง หลวงพ่อเล็ก ก็กราบ หลวงพ่อปาน ฉันก็กราบ เพื่อนฉันก็กราบ ฉันถาม "หลวงพ่อเล็ก" ว่า

"หลวงพ่อขอรับ ตอนก่อนหลวงพ่อเสกยังไง หลวงพ่อปานจึงว่า ใช้ไม่ได้"

"หลวงพ่อเล็ก" บอกว่า ตอนก่อนฉันเข้า "สมาบัติ ๘" แล้วใช้ "วิปัสสนาญาณ" เต็มที่ คลายจิตออกมาถึง อุปจารสมาธิ อธิษฐานแล้วก็เข้า "สมาบัติ ๘" ใหม่ เท่านี้ ๓ เดือน ไม่ได้ขาดเลยทุกคืน คืนละ ๓ ชั่วโมง
ท่านใหญ่ (หลวงพ่อปาน) บอกว่า..ใช้ไม่ได้

หลวงพ่อปาน ท่านก็ออกมาบอก ยังงี้ใช้ไม่ได้ดอกคุณเล็ก (หลวงพ่อเล็ก) คุณเล็กอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ คือว่า ถ้าเราทำอะไร ถ้าเก่งคนเดียว..มันใช้ไม่ได้

ไอ้เราเองน่ะ..มันไม่ดีพอ ต้องให้คนอื่นเขาดีบ้าง จึงได้ถาม "หลวงพ่อเล็ก" ใหม่ว่า

"หลวงพ่อขอรับ ตอน ๗ วันนี่ หลวงพ่อทำยังไงขอรับ"

ท่านบอกว่า ในเมื่อฉันใช้ สมาบัติ ๘ ท่านใหญ่บอกว่า..ใช้ไม่ได้ ฉันก็กลับ คราวนี้ฉันไม่เอาละ ฉันก็ตั้งท่า "บวงสรวงชุมนุมเทวดา" อาราธนาบารมีพระทั้งหมด ตั้งแต่ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหมทั้งหมด เทวดาทั้งหมด ครูบาอาจารย์ทั้งหมด ฉันยกยอดเลย ยกยอด

ในเมื่ออาราธนา เห็นท่านมากันครบถ้วน แล้วท่านมาทำกัน คืนหนึ่งประเดี๋ยวเดียว สัก ๑๐ นาที ท่านก็กลับ แล้วท่านก็บอกให้เลิก ฉันก็นอน

ฉันทำมาแบบนี้ถึง ๖ วัน ถึงวันที่ ๗ ทุกท่านมา แต่ไม่มีใครทำ ท่านบอกว่า ไม่มีอะไรจะบรรจุแล้ว คุณจะให้ฉันทำอะไร ฉันก็เลยเลิก ถึงได้ให้พวกเธอแบกมาให้ท่านใหญ่ นี่..ท่านเรียกหลวงพ่อปานว่า "ท่านใหญ่"

หลวงพ่อปานฟังแล้ว ก็หัวเราะก๊าก บอกจริง...ที่คุณเล็กพูดน่ะ จริงนะอาจารย์เล็ก ท่านเรียกอาจารย์เล็กบ้าง คุณบ้าง ที่อาจารย์เล็กพูดนั่นน่ะจริง

พวกเธอจงจำไว้นะ การที่เราจะเสกพระ เสกผ้ายันต์... อะไรต่ออะไรนี่น่ะ ถ้าเสกด้วยอำนาจกำลังของเราละ...ไม่ช้ามันก็เสื่อม เราน่ะมันดีแค่ไหน

การเสกว่าคาถาต่าง ๆ นี่ก็เป็นการอาราธนาบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทวดา หรือ พรหม..มาช่วย แต่ว่าคาถาบางอย่าง ก็จะว่าแต่เฉพาะบางจุด

การเสกพระเสกเจ้า หรือเสกผ้ายันต์ เสกอะไรต่ออะไรพวกนี้ ถ้าเราเอาตัวของเราออกเสีย เราไม่เข้าไปยุ่ง
แต่อาราธนาบารมี...พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหม หรือ เทวดาทั้งหมด... ท่านมาช่วย

ท่านทำประเดี๋ยวเดียว ๒-๓ นาที มันก็เสร็จ ดีกว่าเราทำ ๑,๐๐๐ ปี แล้วเราจะเอาอะไรบ้าง ก็อาราธนาบอกท่านบอกว่า ขอให้ใช้ได้อย่างนั้นอย่างนี้

แต่อย่าลืมนะ ถ้าใช้ในทางทุจริต หรือ กฎของกรรมบังคับ ไม่มีอะไรจะคุ้มครองใครได้ ถ้าหากว่าใครเลวอยู่แล้ว ก็คอยพยุงๆ ให้เลวน้อยลงไปนิดหนึ่งได้

ถ้าใครดีขึ้นมาหน่อย ก็พยุงให้ดีมากได้ นี่เป็นกฎของอำนาจพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี และพรหม และเทวดาทั้งหลาย

ท่านพูดแล้ว ท่านก็ชอบใจ บอกว่าคุณเล็กทำถูก ตอนก่อนฉันรู้ ไปตั้งท่าเข้าสมาบัติอยู่คืนละ ๒-๓ ชั่วโมง ฉันนั่งอยู่ที่กุฏินี่ ฉันก็รู้ แต่ที่ฉันไม่บอกไว้ก่อน เพราะจะให้คุณเล็กนี่นะรู้เอง การทำตัวเป็นคนเก่งเองน่ะ มันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่งซี

พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง พรหมท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง ของที่เราทำ เราจะไปตามคุ้มครองชาวบ้านชาวเมืองได้ยังไงทุกคน ถ้าหากพระก็ดี พรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครอง ท่านก็มองเห็นได้ถนัด สงเคราะห์เขาได้โดยสะดวก


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 6/9/17 at 09:17 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 8)

(Update 13 กันยายน 2560)


ข้าวตอกพระร่วง


...เรื่องการทำ วัตถุมงคล ที่วัดท่าซุง ผู้เขียนใคร่จะขอย้อนเล่าว่า ก่อนที่หลวงพ่อจะทำ ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม ประมาณปี ๒๕๑๘ หลวงพ่อได้นำ ข้าวตอกพระร่วง ไปแจกให้แก่ทหารตำรวจตระเวณชายแดนก่อน เพราะว่าในขณะนั้น ท่านยังไม่มี "ตำราพระร่วง"

ส่วนคุณสมบัติ "ข้าวตอกพระร่วง" คือ เป็นหินที่มีลักษณะสี่เหลี่ยม มีความแกร่งโดยธรรมชาติ พบมากบริเวณเขาพระบาทใหญ่ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย

ตำนานของสุโทัยมีกล่าวไว้ว่า "ข้าวพระร่วง" ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองสุโขทัยมาแต่ช้านาน ลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมตามธรรมชาติ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่



ภาพนี้ในเว็บพระเครื่องบอกว่าเป็นของวัดท่าซุง
แต่ความจริงเป็นของ วัดสิริเขตคีรี (วัดพระร่วงฯ) อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ และ พระอาจารย์วันชัย ทำแจกให้แก่ผู้ร่วมสร้างวัดนี้

ตามตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า เกิดจากวาจาสิทธิ์ของ พระร่วงเจ้า ผู้ครองแคว้นสุโขทัย ในสมัยก่อน ขณะทรงออกผนวชอยู่ที่ วัดเขาพระบาทใหญ่ ในวันตักบาตรเทโว

เมื่อได้ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ข้าวที่เหลือก้นบาตรท่านได้โปรยลงบนลานวัด และทรงอธิษฐานขอให้ข้าวตอกดอกไม้นี้กลายเป็นหินชนิดหนึ่ง พร้อมทั้งมีอายุยั่งยืนนานชั่วลูกชั่วหลาน

ด้วยอำนาจและอิทธิ์ฤทธิ์ของพระองค์ท่าน ข้าวนั้นก็กลายเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ และท่านคงอธิษฐานให้ผู้ที่วาสนากับท่านได้มีไว้ครอบครอง ในภายภาคหน้า

ภายหลังมีการขุดค้นพบ และชาวบ้านต่างก็นำไปบูชา ต่างมีประสบการณ์กันมากในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิคุณโดดเด่น ทางด้านถอนแก้พิษได้สารพัด ใช้พกตัวสามารถคุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาดจากภยันตราย และยังเป็นเมตตามหานิยมอีกด้วย

พระร่วงเจ้าวาจาสิทธิ์ได้ทำพิธีปลุกเสกข้าวตอกพระร่วงแล้ว หลังจากนั้นได้นำไปโปรยรอบๆ กำแพงเมืองศรีสัชนาลัย เพื่อความเป็นสิริมงคล

โดยเฉพาะในสมัย พระนางจามเทวี ก็ได้นำเอาแร่ชนิดนี้มาสร้างเป็น พระรอด พระคง พระเลื่อง พระลือ อันเป็นพระที่ดีทางคงกระพันด้วยกันทั้งสิ้น

ในสมัยต่อมา มีครูบาอาจารย์และผู้ทรงวิชาอีกหลายท่านนำเอาแร่เหล็กกายสิทธิ์นี้ นักรบสมัยก่อนยังนิยมแสวงหา "ข้าวตอกพระร่วง" เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องรางป้องกันตัวทั้งนั้น


......สำหรับหลวงพ่อท่านได้แจกแร่ข้าวตอกพระร่วงนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๑๘ และได้พิมพ์เอกสารแจ้งไว้ว่า แร่นี้มีคุณสมบัติเท่าที่ทราบจากพระธุดงค์ที่เคยประสบมา คือ....

๑. เมื่อจะใช้ท่านให้อาราธนาแล้วอมไว้ เดินทางตลอดวันไม่กระหายน้ำ

๒. พระธุดงค์อีกคณะหนึ่งแจ้งว่า เมื่อเดินธุดงค์เพื่อนเกิดท้องร่วง ไม่มียาจึงเสี่ยงเอาแร่พระร่วงใส่กาต้มน้ำแล้วเอาน้ำให้ฉัน พระองค์ที่ป่วยหายจากอาการท้องร่วงทันที

๓. เมื่อปี ๒๕๑๖ พระปลัดฉ่อง แห่งอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ได้ทำเป็นแหวนแจก ผู้รับไปจำชื่อไม่ได้ มีโจรเข้าปล้นควายโจรมีปืน เจ้าของคนเดียวมีมีดด้วยความเสียดายควาย แม้จะเป็นคนเดียวและอาวุธไม่ดี ก็ยอมเสี่ยงเข้าไล่โจร โจรยิงด้วยปืนพกและลูกซอง ปรากฏว่าไม่มีแผล เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีอะไรอื่นเลย มีเพียง "แร่พระร่วง" เท่านั้น



.....สมัยก่อน "แร่ข้าวตอกพระร่วง" มีให้บูชาที่ศาลานวราชและที่บ้านสายลม ต่อมาก็ค่อยๆ หมดไป ภายหลังหลวงพ่อได้ "ตำราพระร่วง" มาแล้ว จึงเริ่มทำวัตถุมงคลทั้งเหรียญและผ้ายันต์ธงแดง ซึ่งผู้เขียนจะนำไปเล่าต่อในตอนหน้า..สวัสดี

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/9/17 at 06:06 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 9)

(Update 20 กันยายน 2560)


หลวงพ่อไปอัญเชิญ
ตำราพระร่วง ที่วัดบางนมโค


.....ตามที่ผู้เขียนได้เล่าไปเมื่อตอนที่แล้วว่า สมัยก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านได้นำ ข้าวตอกพระร่วง ไปแจกให้แก่ทหารตำรวจตระเวณชายแดนก่อน ซึ่งตอนนั้นพวกเราคงจะทราบดีกันแล้วว่า ประเทศไทยยังมีภัยจากคอมนิวนิสต์ ทหารตำรวจต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก


ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดหลวงปู่ปานด้วย ท่านจึงได้ชักชวนคณะศิษย์ล่องเรือไปอัญเชิญ "ตำรามหาพิชัยสงคราม" มาจากวัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วกลับมาทำผ้ายันต์จำนวนนับแสนผืน (รวมถึงเสื้อยันต์เกราะเพชรด้วย ซึ่งมีจำนวนไม่มาก)

โดยมีเจ้าภาพเป็นผู้จัดทำถวายทั้งผ้าและพิมพ์ยันต์ลงในผืนผ้าด้วย คือ น.ต.ประชา และ คุณอรุณ สิกวานิช ควรที่จะได้อนุโมทนาผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดสร้างครั้งนี้ด้วย นับว่าปี ๒๕๑๘ หลวงพ่อไปอัญเชิญตำรามาแล้ว คุณประชาจัดพิมพ์ผ้ายันต์เสร็จ และจัดพิธีปลุกเสกในตอนปลายปี โดยจัดทำเบ็ดเสร็จภายในปีเดียวกันเลย



(ท่าน้ำหน้าวัดบางนมโค)

ในสมัยนั้นทางบ้านสายลม โดยคุณเฉิดศรี (อ๋อย) ภรรยาท่านเจ้ากรมเสริม เป็นผู้ประสานงาน พวกเราจึงได้ลงเรือจากกรุงเทพฯ ล่องเรือไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เป็นเรือโดยสารเช่าเหมาลำบรรทุกได้ประมาณ ๕๐ - ๖๐ คน

พวกเราจับกลุ่มนั่งคุยกันไปท่ามกลางกระแสลมพัดเย็นสบาย บรรยากาศในวันนั้นยากจะลืมเลือน หลวงพ่อนั่งคุยกับคณะศิษย์ฯ ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ทั้งนั้นที่ไปกับท่าน นับเป็นครั้งแรกที่หลวงพ่อกลับไปวัดบางนมโค หลังจากท่านมาอยู่ที่วัดท่าซุงตั้งแต่ ปี ๒๕๑๑

เมื่อเรือจอดเทียบท่าหน้าวัดบางนมโค พระครูวิหารกิจจานุยุต (อุไร กิตติสาร) เจ้าอาวาสสมัยนั้นให้การต้อนรับ และหลวงพ่อได้นำคณะศิษย์นำชมสถานที่ต่างๆ ภายในวัดบางนมโค แม้กระทั่งกระท่อมในป่าช้าที่หลวงพ่อและเพื่อนๆ อาศัยปฏิบัติธรรมด้วย



กุฏิหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

แต่สภาพปัจจุบันที่ได้เห็นกลับไม่มีอะไรเหลือแล้ว สภาพที่เป็นป่ากลับเจริญขึ้น มีแต่กุฏิเก่าๆ อยู่บ้าง จากนั้นก็เดินไปชมกุฏิหลวงปู่ปาน ตามที่หลวงพ่อเล่าว่าผีดุเหลือเกิน ส่วนด้านหน้าก็มีศาลเจ้าแม่อยู่ใต้ต้นตะเคียนคู่



ศาลเจ้าแม่ตะเคียน หน้าวัดบางนมโค

เสียดายที่ไม่มีภาพถ่ายของหลวงพ่อไว้เลย คงมีแต่ภาพถ่ายหลังจากกลับมาจากวัดบางนมโคแล้ว โดยขากลับมาทางรถยนต์ เพราะไปทางเรือต้องใช้เวลานาน กว่าจะถึงวัดบางนมโคก็เกือบครึ่งค่อนวันไปแล้ว

สมัยต่อมาหลวงพ่อได้นำคณะศิษย์ไปเยี่ยมเยียนวัดบางนมโคอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ ด้วยการเดินทางทางรถยนต์อย่างเดียว ครั้งนั้นมีการบันทึกวีดีโอไว้ด้วย แต่ขณะนี้ได้ลบออกไปจาก youtube แล้ว

ส่วนการเดินทางเมื่อปี ๒๕๑๘ นั้น ตอนบ่ายจึงต้องกลับมาทางรถยนต์ แล้วหลวงพ่อพาไปแวะเที่ยมชม พระราชวังบางปะอิน หลวงพ่อนั่งคุยกับคณะศิษย์อย่างเป็นกันเอง

หลังจากได้ "ตำราพระร่วง" กลับมาแล้ว ซึ่งเป็นสมุดข่อย เล่มที่ ๓ โดยท่านเจ้ากรมเสริมเป็นผู้นำมาถ่ายสำเนาเอาไว้ สมัยที่ผู้เขียนไปบ้านสายลม ยังมีโอกาสได้เห็น "ตำราพระร่วง" เล่มนี้

ส่วนดาบ ๒ เล่ม ที่หลวงพ่อเคยเสี่ยงอธิษฐานนั้น จนบัดนี้ก็ไม่มีใครทราบว่าอยู่ที่ไหน ดังจะสังเกตได้ว่า หลวงพ่อไปอยู่ที่ไหน ท่านจะไม่นำสมบัติเหล่านั้นติดตัวไปด้วยเลย ซึ่งหลวงพ่อเล่าประวัติไว้ดังนี้


.....จะเล่าถึงตำรา มันจะเป็นตอนหลัง ๆ ก็ช่างเถอะ แต่ว่าเรื่องมันสืบกัน คือก่อนที่ท่านจะตาย ๑ ปี ปรากฏว่าท่านอาจารย์แจง ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน ลงมาจากเมืองสวรรคโลก มาบอกท่านบอกว่า ท่านต้องการตำราเล่มสำคัญ คือตำราของท่านอาจารย์แจง ที่มอบให้หลวงพ่อปานไว้น่ะมี ๓ เล่ม ( เป็นตำราสมุดข่อย ) ต้องการตำราเล่มสำคัญเล่มนั้น เอาไปเพื่อจะทบทวนความรู้ ท่านว่าอย่างนั้น แล้วท่านก็จะส่งให้ หลวงพ่อปานท่านก็มอบให้ไป

......พอมอบให้ไปแล้ว ก็ปรากฏว่าพอไปถึงบ้าน ภายในระยะปีนั้น อาจารย์แจงก็ตาย แล้วหลวงพ่อปานก็ตายเหมือนกัน เรียกว่าตายปีเดียวกัน ต่างคนต่างไม่รู้ ที่รู้ว่าอาจารย์แจงตายก็เพราะว่า ให้คนไปบอกว่าเวลานี้หลวงพ่อปานตายแล้ว ให้ท่านลงมา หรือว่าท่านจะทำอย่างไรก็ช่าง ในฐานะที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์

.......พอไปทางโน้น ภรรยาของท่านอาจารย์ ก็บอกว่า ท่านอาจารย์ก็ตายแล้วเหมือนกัน อายุท่านไล่เลี่ยกัน แต่เมื่อหลวงพ่อปานตายแล้ว พวกเราทำศพหลวงพ่อแล้ว ก็คิดถึงตำราเล่มที่ ๓ ขึ้นมา ว่าตำราเล่มนั้นฉันเอง ก็เคยอ่านว่ามีธงมหาพิชัยสงคราม คือธงออกรบ ซึ่งตำราของอาจารย์อื่น ๆ ฉันไปดูแล้วไม่มี ถึงจะมีก็ไม่เหมือน ไม่ละเอียดละออเหมือน

เพราะธงมหาพิชัยสงครามนั้น เขากล่าวว่า เฉพาะด้ามธง ถ้าทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าใครถือด้ามธงนั้นไป ไปนอนในป่า รับรองว่าจะไม่อดข้าว ทั้งๆ ที่ไม่มีบ้านมีช่องเลย ก็จะไม่อดข้าว ถ้าหากว่าบุคคลนั้นอดข้าวล่ะก็ เจ้าของตำราบอกว่าให้แช่ง และในตำราบอกไว้ด้วยว่าเป็น "พระร่วง" ( ชื่อพระร่วง )


.....ขอเล่าเรื่องที่ไปกับหลวงพ่อต่อไปว่า ระหว่างที่นั่งอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน สมัยนั้นหลวงพ่อท่านก็นั่งเล่าเรื่องความหลังในอดีตต่างๆ บางครั้งท่านก็พูดว่า คนเรานี่ก็แปลกดีนะ เวลามีชีวิตอยู่ก็เดินไปเดินมา เข้านอกออกในได้อย่างสบาย แต่พอกลับมาเกิดใหม่ บางแห่งเขาก็ห้ามเข้าแล้ว นี่ท่านก็พูดทิ้งไว้เป็นปริศนา แต่พอตอนหลังถึงได้เข้าใจ

สมัยนั้นผู้เขียนก็ร่วมเดินทางไปด้วย เสียด้ายรูปถ่ายที่นั่งใกล้ท่านลบเลือนไปหมดแล้ว แต่ถ้าดูรูปภาพนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าบางท่านยังมีชีวิตอยู่ บางท่านก็วายชนม์ไปก็เยอะแล้ว



หลวงพ่อนั่งสนทนาธรรม ด้านข้างพระราชวังบางปะอิน
หลังจากกลับมาจากวัดบางนมโค เมื่อปี ๒๕๑๘

ตามภาพแถวหลังสุด คือ คุณรัชนี เจนรถา, คุณป้านกแก้ว, คุณป้าหมอรำจวน ส่วนคนเสื้อลายมองเข้าไปข้างใน ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นครูสอนมโนมยิทธิ คือ คุณป้าปราโมทย์ ณ ระนอง เป็นต้น

ในขณะที่นั่งฟังหลวงพ่อนั่งสนทนาธรรมอยู่นั้น พลันก็หวนคิดถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่นี้ โดยย้อนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ขณะที่ล่องเรืออยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยเฉพาะเวลาที่ผ่านบริเวณ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทำให้นึกถึงเรื่องราวในอดีตที่เศร้าสลดเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ นั่นก็คือเรือพระที่นั่งล่มจมลงในแม่น้ำสายนี้ แต่คงไม่มีเวลาเล่าต่อไปแล้วละ ขอนำไปต่อในตอนหน้าแล้วกันนะ..สวัสดี


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 20/9/17 at 09:23 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 10)

(Update 27 กันยายน 2560)


อนุสรณ์แห่งความรัก พระพุทธเจ้าหลวง


.....สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ มีพระราชธิดาพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนเมื่อเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้น เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมยังพระราชวังบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยา

การเดินทางนี้เป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งทรงตั้งครรภ์ได้ ๕ เดือน เสด็จประทับบนเรือพระที่นั่งกับพระราชธิดา โดยมีพระพี่เลี้ยงตามเสด็จด้วย

เมื่อเรือที่ประทับแล่นตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึง ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็เกิดอุบัติเหตุถูกเรือลำอื่นแล่นแซง อีกทั้งนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้าขาดสติในการบังคับเรือ จึงทำให้เรือล่มลง

แต่ไม่มีผู้ใดกล้าเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาลที่ว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่กำลังทรงพระครรภ์ พร้อมด้วยพระราชธิดาอายุเพียง ๑ พรรษาเศษ จึงสิ้นพระชนม์ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นเหตุให้ประชาชนเรียกพระองค์ว่า "พระนางเรือล่ม" ในเวลาต่อมา

ความรักและความอาลัยในตัวสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ นี้ ทำให้พระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกสลดถึงที่สุด และได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสีอันเป็นที่รักของพระองค์


(ขอบคุณภาพจาก pantip.com)

สำหรับ "อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้น ก็มีอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดยหลังจากที่รัชกาลที่ ๕ ได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดาแล้ว ก็ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก

พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่อนุสาวรีย์นั้นด้วย โดยมีข้อความอาลัยลึกซึ้งว่า

คำจารึกอนุสรณ์แห่งความรัก


"ที่รฤกถึงความรัก แห่งสมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชาเทวีอรรคมเหษี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยมีความศุขสบายและเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก แลที่สนิทยิ่งของเธอ

อนุสาวรีย์นี้ สร้างขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์ บรมราช ผู้เป็นสวามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้น แทบจะถึงแก่ชีวิต ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย"




ภาพตัวอย่าง "แผ่นยันต์เกราะเพชร" ที่ทำเป็นแผ่นทองเหลืองถวายในหลวง

......อนึ่ง ณ พระราชวังบางปะอินนี้ ภายในตึกพิพิธภัณฑ์ ถ้าใครได้เข้าไปชมข้างใน จะมองเห็นวัตถุสิ่งหนึ่งภายในตู้กระจก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ถวายให้แก่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘

ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินวัดท่าซุงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นแผ่นทองเหลืองสลัก "ยันต์เกราะเพชร" และภายในยันต์มีรูปหลวงพ่อปานอยู่ด้วย (ขอบคุณผู้ที่อ่านข้อความแล้วจดมาให้) ส่วนด้างล่างของแผ่นยันต์มีข้อความ ดังนี้



อนุสรณ์ในศุภวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในวโรกาสเสด็จยกช่อฟ้าอุโบสถ และหล่อรูปหลวงพ่อปาน

ศูนย์ปฏิบัติพระกรรมฐาน ณ วัดจันทาราม (ท่าซุง) อุทัยธานี
วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๘



(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 27/9/17 at 04:05 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 11)

(Update 4 ตุลาคม 2560)


หลวงพ่อเล่าเรื่องอานุภาพ

ผ้ายันต์ธงมหาพิชัยสงคราม



.....สำหรับ ผ้ายันต์ธงมหาพิชัยสงคราม ที่นำมาแจกจ่ายครั้งนี้ ได้ทำขึ้นครั้งแรก ๑๐๐,๐๐๐ ผืน นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๙๐,๐๐๐ ผืน มีเหลือนำมาแจกจ่ายคราวนี้เพียง ๑๐,๐๐๐ ผืน การทำผ้ายันต์นี้ ก็ทำจากตำราของ หลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานเคยทำเพื่อมอบให้เป็นธงนำทัพเข้าตีข้าศึก

ตามตำราบอกว่า ใครอยากเรียนตำรานี้ไปทำต่อ ต้องนำดาบสองเล่มออกไปรำกลางแจ้ง หากเกิดฟ้าผ่าในขณะรำดาบจึงจะเรียนตำรานี้ได้ อาตมาเป็นพระไม่สามารถจะนำดาบออกไปรำได้ แต่ก็อยากเรียนตำรา จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า

"..หากตนมีบุญบารมีที่จะเรียนตำรานี้ได้แล้ว เวลาถือดาบออกพ้นจากชายคาขอให้เกิดฟ้าผ่า !"

เมื่อตั้งจิตอธิษฐานแล้วก็ถือดาบ ๒ เล่ม ออกนอกชายคา พอพ้นจากชายคาเท่านั้นแหละฟ้าก็ผ่าขึ้น ๒-๓ ครั้ง จึงมั่นใจได้ว่าครูได้อนุญาตให้เรียนตำรานี้ได้แล้ว จึงได้เรียนตำรามาทำผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามขึ้น

และเมื่อทำด้วยตัวเองแล้ว ก็ได้อาราธนาพระเถระผู้ทรงวิทยาคมในภาคเหนือหลายรูปมาช่วยปลุกเสกให้เมื่อเดือนสิงหาคม จึงได้นำออกแจกจ่ายแก่ทหารทางภาคเหนือ

ปรากฏว่าได้ผลดี มีฐานปฏิบัติการบางแห่งที่ทหารรับผ้ายันต์ไปแล้ว ถูกถล่มด้วยปืน ค. และจรวดฐานแหลกหมด แต่ทหารในฐานปลอดภัยทุกคน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ

อย่างไรก็ตาม..คนเราเมื่อถึงกำหนดจะต้องอสัญกรรมแล้วก็หนีความตายไม่พ้น แม้แต่ผู้บรรยายหรือผู้ทำผ้ายันต์นี้ก็ต้องตาย

อานุภาพของผ้ายันต์

.....ผ้ายันต์นี้จะช่วยได้ก็เพียงแต่ว่า หากเรามีเคราะห์กรรมจากอดีต เช่น เคยทำปาณาติบาต แรงอุปฆาตกรรม จะมาตัดรอนชีวิตเราให้หมดไปในเวลาอันไม่สมควร หากเรามีเคราะห์ถึงฆาตอย่างนี้ ผ้ายันต์จะช่วยให้เคราะห์เบาบางลง เพียงแค่ให้เราบาดเจ็บไม่ถึงตาย

หากเคราะห์เราไม่ถึงฆาต เพียงแต่มีเคราะห์จะได้รับบาดเจ็บ ยันต์นี้จะช่วยไม่ให้เราบาดเจ็บเลย แม้แต่ถูกปืนหรือสะเก็ดระเบิดก็จะไม่ทำให้เราเสียเลือดแม้แต่หยดเดียว ลูกปืนที่มากระทบเราจะมีค่าเท่ากับแมลงตัวหนึ่งบินมาปะทะเท่านั้น ขอให้ทุกท่านถือว่า ยันต์ธงมหาพิชัยสงคราม เป็นสิ่งสำคัญที่สุด สำคัญกว่า "เหรียญเอกราช" ที่ได้รับแจกไป

และทั้งธงและเหรียญจะไม่มีผลในทางป้องกันตัวเลย หากเรานำไปใช้ในทางที่ผิดคิดมิชอบ หรือยิ่งคนที่คิดคดทรยศต่อชาติบ้านเมืองด้วยแล้ว อาตมาอยากให้เขามารับโดยเร็ว เพราะเหรียญและธงจะช่วยสนับสนุนให้เขาประสบความวิบัติเร็วเข้า

มีอยู่รายหนึ่งมาขอผ้ายันต์จากอาตมา อาตมาไม่ให้เพราะเกรงว่าเขาจะนำไปใช้ในทางที่ผิด จะทำให้ชีวิตเขาสั้นเข้า แต่เขารับรองตนเองเช่นนั้น อาตมาก็มอบให้ไป และได้ทราบต่อมาภายหลังว่า เขานำผ้ายันต์ไปใช้ในทางที่ผิดตามที่อาตมาคาดการณ์ไว้ ผลที่สุดเขาก็ถูกยิงตาย...


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/10/17 at 05:06 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 12)

(Update 11 ตุลาคม 2560)


พระสุปฏิปันโนร่วมปลุกเสกผ้ายันต์ฯ



......ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้นำเรื่องอานุภาพ "ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ส่วนตอนนี้จะนำเรื่อง "พระสุปฏิปันโน" ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก "ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ในครั้งนั้นต้องถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศทีเดียว

โดยมีการประสานงานร่วมกันระหว่างฝ่ายอาณาจักร คือ "องค์พระประมุขของชาติ" และด้านพุทธจักรมี "พระสุปฏิปันโน" ร่วมพิธีคราวนั้นจำนวนหลายสิบรูป เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘

นับเป็นเรื่องที่แปลกมาก วันที่หลวงพ่อไปทำพิธิพุทธาภิเษกนั้น เดิมผู้เขียนไม่ทราบว่าเป็นวันอะไร ในขณะที่เขียนนี้เพิ่งค้นหาข้อมูลให้ละเอียดพบว่า เมื่อเทียบกับปฏิทิน ๑๐๐ ปี ปรากฏว่าวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ตรงกับ "วันเสาร์ ๕ เดือน ๑๒" ผู้อ่านไม่เชื่อลองเข้าไปเทียบดูซิครับ

ภาพถ่ายนี้จึงมีเหลือเพียงรูปเดียวที่เก็บไว้เป็นหลักฐาน ในระหว่างรอจะเข้าไปทำพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถวัดบวรฯ จากซ้ายมือคือ หลวงพ่อฯ, หลวงปู่ธรรมชัย, หลวงปู่ชัยวงศ์, หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่คำแสนเล็ก วัดดอนมูล, หลวงปู่ครูบาอินจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง, หลวงปู่คำแสนใหญ่ วัดสวนดอก (แถวหลังที่เห็นคือ หลวงปู่บุดดา)

และองค์สุดท้ายที่มองเห็นแค่ด้านหลัง นั่นคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี นอกจากนี้ก็ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป เช่น หลวงปู่เทียม วัดกษัตราฯ จ.อยุธยา เป็นต้น

สำหรับพระสุปฏิปันโนสายหลวงพ่อนั้น ถ้าเห็นภาพและรายชื่อแล้ว จะเห็นว่าท่านมาครบทุกองค์ เว้นไว้แต่น้องของ "หลวงปู่ครูบาอินจักรรักษา" นั่นก็คือ "หลวงปู่ครูบาพรหมจักร" วัดพระบาทตากผ้า ที่ไม่ได้มาด้วย

และท่านไม่เคยมาวัดท่าซุง หรือไม่เคยร่วมงานกับหลวงพ่อเลย รวมถึง "หลวงปู่แหวน" วัดดอยแม่ปั๋ง และ "หลวงปู่บุญทึม" วัดจามเทวี ด้วย

ถ้าหากไปอ่านหนังสือ "ล่าพระอาจารย์" แล้ว จะพบรายชื่อพระสุปฏิปันโนเหล่านี้ แม้ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับหลวงพ่อหลายครั้ง โดยเฉพาะ "หลวงปู่ครูบาอินจักรรักษา" วัดน้ำบ่อหลวง สมัยนั้นท่านมีอายุมากแล้ว สุขภาพร่างกายก็ไม่แข็งแรง ท่านก็ได้มาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้นด้วย

แล้วก็ไม่ปรากฏว่าท่านเดินทางไปไหนกับหลวงพ่ออีก ดังจะสังเกตได้จากภาพถ่ายอื่นๆ จึงมีภาพนี้ภาพเดียวที่ได้เห็นองค์ท่าน (ภาพในสุดท่านนั่งชิดกับหลวงปู่คำแสนใหญ่) ต่อมาท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๑ สิริอายุได้ ๘๑ ปีเศษ

เมื่อปี ๒๕๒๐ ท่านได้เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสุธรรมยานเถระ" ส่วนพระน้องชายของท่านได้เป็น "พระสุพรหมยานเถระ" ต่อมาภายหลังราชทินนาม "พระสุธรรมยานเถระ" นี้จึงได้มาเป็นของ "หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร" เมื่อปี ๒๕๒๗

ฉะนั้น "บ้านสายลม" จึงเป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นสถานที่รองรับพระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะแล้วหลายรูป แม้กระทั่งเวลานั้นเมื่อวันที่ ๖ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ก่อนที่จะทำพิธีปลุกเสกที่วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านก็ได้เดินทางมาจากภาคเหนือ แล้วมาพักค้างคืนที่บ้านสายลม ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

หลวงพ่อฯ, หลวงปู่ธรรมชัย, หลวงปู่ชัยวงศ์, หลวงปู่ชุ่ม, หลวงปู่คำแสนเล็ก วัดดอนมูล, หลวงปู่ครูบาอินจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง, หลวงปู่คำแสนใหญ่ วัดสวนดอก ส่วนหลวงปู่บุดดา ไปพักที่บ้านคุณประชา สิกวานิช แถวยศเส

ในช่วงที่ท่านอยู่บ้านสายลมนั้น ผู้เขียนและเพื่อนๆ ได้มีโอกาสปรนนิบัติท่าน โดยเฉพาะหลวงปู่วัดน้ำบ่อหลวง ได้มีโอกาสถวายงานนวดท่านด้วย ส่วน "หลวงปู่ธรรมชัย" นั้นท่านจะห่มผ้าจีวรนาน

ผู้เขียนเคยไปรอท่านแล้วยืนดูอยู่ใกล้ๆ หลวงปู่พูดยิ้มๆ บอกว่าต้องห่มผ้าจีวร ๒ ชั้น คือห่มผ้าจีวรของท่านก่อน แล้วห่มผ้าจีวรของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" ทับอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะเป็นงานสำคัญๆ โดยเฉพาะพิธีพุทธาภิเษกนี้ เพื่อเป็นสิริมงคล ท่านห่มด้วยความเคารพในครูบาอาจารย์ของท่าน

สมัยนั้นคณะศิษย์ที่มาบ้านสายลม บางคนก็ได้ถวายสังฆทานกับหลวงปู่ธรรมชัย นับเป็นครั้งแรกท่านก็ทำพิธีแบบล้านนา คือมีการกล่าวคำถวายและท่านให้พรยาวมาก กว่าจะเสร็จแต่ละครั้งนานนับชั่วโมง กว่าจะเดินทางไปกับหลวงพ่อท่านก็ต้องรออยู่นาน

ต่อมาภายหลังหลวงปู่เดินทางไปกับหลวงพ่อหลายครั้ง ท่านเริ่มรู้ลีลาของหลวงพ่อ จึงปรับตัวด้วยความรวดเร็ว หลวงปู่ทุกองค์ต่างก็ให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อ แต่เท่าที่สังเกตหลวงปู่ธรรมชัย ท่านจะกราบหลวงพ่อด้วยความนอบน้อม และแสดงเคารพอย่างสุดซึ้งทีเดียว

ครั้งแรกที่หลวงปู่ธรรมชัยมาบ้านสายลม ถ้าจำไม่ผิดผู้เขียนได้ยินหลวงพ่อบอกว่า หลวงปู่เป็นพรหมรุ่นพี่มีชื่อว่า "วิสุทธิเกษี" ปรารถนาพุทธภูมิเหมือนกับหลวงพ่อ ซึ่งมีชื่อว่า "สัมพเกษี" ต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสไปทั้งภาคใต้และภาคเหนือหลายครั้ง

เมื่อปี ๒๕๑๘ ผู้เขียนได้พบหลวงปู่ครั้งแรกที่พระธาตุจอมกิตติ หลวงพ่อบอกว่าหลวงปู่เป็นลูกของพระเจ้าพรหมมหาราช มีชื่อว่า "พระเจ้าไชยศิริ" ส่วนหลวงปู่คำแสนเล็ก เป็นพี่ชายคนโตชื่อว่า "ทุพภิกขะ"

ส่วนชาติก่อน "หลวงปู่ชุ่ม" เคยเป็นพี่ชายของหลวงพ่อ ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ชุ่มจึงมอบ ลูกแก้วจักรพรรดิ ให้แก่หลวงพ่อ ต่อมาหลวงพ่อก็ได้นำไปปลุกเสกต่อมีชื่อว่า "แก้วมณีรัตนะ" ปัจจุบันนี้ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุงก็ยังอัญเชิญเข้าพิธีพุทธาภิเษกอยู่เสมอ


(โปรดติดตามตอน "พิธีพุทธาภิเษก" ต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 11/10/17 at 08:40 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 13)

(Update 18 ตุลาคม 2560)


พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



......สำหรับสาเหตุที่มีการปลุกเสกผ้ายันต์ที่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น เดิมหลวงพ่อก็เริ่มทำผ้ายันต์ไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ทว่ามีจำนวนไม่มาก การแจกให้แก่ทหารตำรวจชายแดนก็เป็นเฉพาะบางจุดเท่านั้น ยังไม่ถึงกับทั่วประเทศ

เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๘ มีผู้ก่อการร้ายขยายไปทั่วประเทศแล้ว มีอยู่วันหนึ่งทหารได้ถูกผู้ก่อก่อร้ายยิงด้วยเอ็ม ๑๖ ขณะลาดตระเวณในเขตรอยต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วตกลงไปในลำห้วย แต่ไม่ตายกลับลุกขึ้นมาได้อีก เนื่องจากมี "ผ้ายันต์ธงแดง" ของหลวงพ่อช่วยป้องกันไว้นั่นเอง

ข่าวนี้ได้ล่วงรู้เข้าไปถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงเห็นว่าผ้ายันต์ของหลวงพ่อช่วยเซฟชีวิตทหารตำรวจได้เป็นอย่างดี จึงได้มอบหมายให้หลวงพ่อนิมนต์พระสุปฏิปันโนสายเหนือ

ส่วนพระองค์ทรงอาราธนาพระเกจิอาจารย์สายอื่นๆ พร้อมทั้งทรงกำหนด ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถานที่กระทำพิธีพุทธาภิเษกผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม (ผ้ายันต์ธงแดง) จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ผืน

การทำพิธีพุทธาภิเษกในครั้ง นับเป็นจำนวนมาก ทั้งจำนวนผ้ายันต์ที่ปลุกเสก ทั้งจำนวนพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธี ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นมีหลายรูป รวมทั้งประชาชนที่สนใจเข้าร่วมพิธี ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญครั้งนั้น จึงมีแค่ครั้งเดียวและครั้งสุดท้ายเท่านั้น

ในระหว่างที่รอในหลวงเสด็จ ขณะที่หลวงพ่อและหลวงปู่ต่างๆ นั่งพักอยู่ในวิหาร สักครู่หนึ่งเห็นหลวงพ่อลุกออกมาก่อน แล้วหลวงปู่ธรรมชัยตามออกมาทีหลัง คงเหลือแต่หลวงปู่ชัยวงศ์นั่งอยู่องค์เดียว ผู้เขียนก็สงสัยว่าจู่ๆ หลวงพ่อและหลวงปู่ออกมาทำไม

สักพักก็ได้คำตอบผู้เขียนเห็น สมเด็จพระญาณสังวร (สมัยนั้นท่านยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช) ท่านเดินออกมาพอดี ท่านเห็นหลวงปู่ชัยวงศ์จึงเดินเข้ามาทักทาย จากนั้นท่านก็เดินออกมานอกวิหาร


.....ครั้นถึงเวลาและพิธีการอันสำคัญมาถึง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙" และ "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" เสด็จพระราชดำเนินมาถึงภายในพระอุโบสถ

เมื่อพระองค์ทรงจุดเทียนชัยและประทับนั่งแล้ว หลวงพ่อจึงทำพิธีบวงสรวง และสมเด็จพระวันรัตขึ้นบท "สัคเค" พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สวดพระปริตร

ต่อจากนั้นพระคณาจารย์ต่างๆ หลายสิบรูป จึงเริ่มทำพิธีพุทธาภิเษก โดยการนั่งล้อมรอบวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งวางกองเต็มไปหมด ผู้เขียนและผู้ติดตามต่างก็นั่งอยู่ด้านหลังหลวงพ่อ

(ครั้งนั้น ทราบว่ามีการปลุกเสกรูป "สมเด็จพระนเรศวร" ด้วย ในเว็บท่าพระจันทร์เล่าว่า "ครูบาพรหมจักรสังวร" วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน ท่านติดภารกิจสำคัญ ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกได้ แต่ท่านรับปากว่า เมื่อถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. ตรงตามกำหนดเวลาพุทธาภิเษกที่วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านจะเข้ากุฏิใส่กลอน ส่งกระแสจิตมาช่วยแทน)

หลวงพ่อและหลวงปู่ทั้งหลายนั่งด้านซ้ายมือภายในพระอุโบสถ ตามธรรมดาหลวงพ่อจะเล่าว่า การปลุกเสกนี่สำคัญมาก พระที่ได้สมาธิระดับไหน จะต้องเข้าสมาธิที่ตนเองได้เต็มระดับ แล้วต้องรู้ด้วยว่าของนั้นเต็มแล้วหรือยัง

นอกจากนี้หลวงพ่อยังบอกอีกว่า พระที่เข้าพิธีปลุกเสกนั้น จะต้องเข้าสมาธิเต็มอัตรา จึงต้องการความเงียบสงัด ไม่ใช่มีพระมานั่งสวดมนต์กันทั้งวันทั้งคืน

เวลานั้นพวกเราที่เป็นลูกศิษย์จึงต้องนั่งสมาธิด้วย ประมาณเกือบ ๔๐ นาที หลวงพ่อลืมตาขึ้น พวกเราจึงรู้ว่าของเต็มแล้ว มองไปทางซ้ายมือถัดไปเห็นหลวงปู่ชุ่มลืมตาเหมือนกัน แล้วท่านก็พากันทยอยเดินออกมา มองเหลียวกลับไปยังเห็นหลวงปู่โต๊ะนั่งอยู่ ท่านนั่งตัวตรงเป๋งตามสไตล์ของท่าน

ภายหลังผู้เขียนได้มีโอกาสติดตามหลวงพ่อไปทำพิธีพุทธาภิเษกที่ "วัดราชผาติการาม" แถวบางพลัด พอหลวงพ่อและหลวงปู่เดินเข้าไปในวิหาร มองเห็นหลวงปู่โต๊ะนั่งสมาธิตัวตรงเป๊ะ หลวงปู่คำแสนเล็กท่านหันไปมองแล้วอมยิ้ม แสดงว่าหลวงปู่คำแสนเล็กจำหลวงปู่โต๊ะได้ดี

ขอเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารต่อไป ในขณะนั้น นอกจากกลุ่มของหลวงพ่อเดินออกมาแล้ว ผู้เขียนหันไปมองด้านหลัง เห็นยังมีพระที่เดินตามออกมาอีกรูปหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับคณะของหลวงพ่อ ท่านมีอายุมากแล้วเช่นกัน มีคนช่วยพยุงเดินออกมา ท่านใส่แว่นตามีสายคล้องด้วย

ปรากฏภายหลังได้สืบถามทราบความว่า พระเกจิอาจารย์รูปที่เดินตามออกมา โดยมิได้นัดหมายกับคณะของหลวงพ่อและหลวงปู่ด้วยนั้นคือ "หลวงพ่อเทียม" วัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวกับหลวงพ่อ แต่ผู้เขียนก็รู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสไปพบท่านเลย จนกระทั่งท่านมรณภาพไปเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒


.....สำหรับเรื่องการทำบุญออกจากนิโรธสมาบัติ คงไม่ต้องเป็นห่วง พวกเราได้มีโอกาสทำกันหลายครั้ง แม้กระทั่งหลวงปู่ชุ่มเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ต่างก็เดินทางไปทำบุญกันอย่างมืดฟ้ามัวดิน ข้าวของที่นำไปถวายวางกองเต็ม วัดวังมุย จ.ลำพูน กันทีเดียว

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วย ส่วนเหตุการณ์ที่วัดบวรฯ ผู้เขียนได้บันทึกเสียงที่หลวงพ่อเล่าไว้ที่บ้านสายลม หลังกลับมาจากทำพิธีปลุกเสกจากวัดบวรฯ แล้ว


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/10/17 at 08:10 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 14)

(Update 25 ตุลาคม 2560)


พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อ)



......ในคืนนั้น หลังกลับมาจากพิธีพุทธาภิเษกที่วัดบวรฯ แล้วพวกเราก็ได้มีการถวายสังฆทานแด่หลวงพ่อและหลวงปู่ รวม ๗ รูปด้วยกัน โดยมีญาติโยมพุทธบริษัทมารออยู่ที่บ้านสายลมกันมากมาย นอกจากนี้ท่านได้พูดถึงเรื่อง "ทรายเสก" ที่เข้าพิธีด้วย

ต่อมาวันรุ่งขึ้น เป็นวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ หลวงปู่ต่างๆ ก็เดินทางกลับไปขึ้นเครื่องที่สนามบินดอนเมือง ทั้งนี้ เพื่อเดินทางไปทำพิธีบวงสรวงยกยอดฉัตรพระเจดีย์ (องค์เล็ก) ณ พระธาตุจอมกิตติ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ตามที่ได้นัดหมายไว้กับหลวงพ่อฯ ต่อไป


คาถาโรยทรายเสก (นะจังงัง)

นะโม พุทธายะ (ว่า ๑ จบ)
อิติ ศัตรู ยามาคะตา (โรยไปว่าไป)


.....คาถาบทนี้ ท่านบอกหลังจากกลับมาจากพิธีพุทธาภิเษก "ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม" ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๘

ในวันนั้นได้มีทรายเข้าพิธีปลุกเสกด้วย ท่านบอกให้ใช้เฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปโปรยตามแนวชายแดน พร้อมกับว่าคาถาบทนี้ไปด้วย ท่านบอกว่าเป็น "คาถานะจังงัง" เป็นการป้องกันศัตรู


วิธีอาราธนาผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม

.....ก่อนอื่นให้อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์อื่นๆ สืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปานเป็นที่สุด แล้วปลุกด้วยคาถา " พุท ธะ สัง มิ "

ผ้ามงคล(ธงมหาพิชัยสงครามนี้) จะมีผลประการใดบ้าง ก็ขอให้ท่านผู้ใช้ได้ทราบเอง เมื่อถึงวาระที่จำเป็น ทุกวันท่านให้อาราธนาเป็นปกติ ตอนเช้าเมื่อตื่นนอนใหม่ๆ และเวลาเย็นก่อนอาราธนา ขอให้ระลึกถึงบารมีพระ พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเป็นที่สุด แล้วอาราธนาว่าดังนี้


" อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด "

คาถาอาราธนานี้ หลวงพ่อปานบอกว่าเป็นคาถาอาราธนาของพระร่วง...

( ข้อมูล : จากหนังสือสมบัติพ่อให้ )


.....สำหรับ "วิธีอาราธนาผ้ายันต์ฯ" (ตัวอักษรสีน้ำเงิน) เป็นคำที่โพสต์จากเว็บ palungjit.org/threads/๙๙๙๙๙๙๙๙๙-ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม-วัดท่าซุง-ราคาพิเศษ-พระเกจิอาจารย์อื่นๆ.369592/page-39#post-8792382 ได้กล่าวต่อไปอีกว่า

".....พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยกรุณาบอกไว้ว่า ผืนเดียวคลุมทั้งฐาน หมายถึง ถ้ามีผ้ายันต์นี้ ผืนเดียวสามารถคุ้มครองได้ทั้งฐานทัพ ไม่ว่าจะสร้างเป็นค่าย หรือแค่บังเกอร์.."

ตัวอย่างมีเยอะครับพี่ๆ ทหารที่เคยไปรบด้านตาพระยา น่าจะรู้ซึ้งถึงพระพุทธคุณของ "ธงมหาพิชัยสงคราม" นี้ดี มีเกร็ดอยู่อีกหน่อยว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านสั่งห้ามว่า ถ้าได้ธงผืนนี้ไปแล้ว ห้ามปลุกโดยเด็ดขาด เพราะอานุภาพสูงมาก

ถ้าไปปลุกธงมหาพิชัยสงครามนี้ อาจถึงตายได้ครับ ในตำราสมุดพระร่วงได้จารึกตำราสร้างธงมหาพิชัยสงครามนี้ เเละยังรวมไปถึงวิธีการเป่ายันต์เกราะเพชรของสายพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน และ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี

ปัจจุบัน ตำรานี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี ท่านได้ถวายในหลวงไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 แล้ว เพราะหลวงพ่อฯ ท่านเป็นลูกหลานคนสุดท้ายของตระกูลพระร่วงที่สืบเขื้อสายมา

ในส่วนของตำราพระร่วงนี้ ถ้าบุคคลอื่นได้ตำรานี้ไป ก็ไม่สามารถทำวัตถุมงคลต่างๆ ได้ถึงอานุภาพสูงสุด อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10 % เพราะท่านเจ้าของตำราคือ "ท่านผกาพรหม" ท่านไม่อนุญาติ ดังนั้น ตามคติคนเรียนวิชาแต่โบราณ ถ้าสิ้นสุดสายการสืบทอดวิชา

ถ้าจะเริ่มวิชาใหม่ ต้องไปขอต่อพระเจ้าแผ่นดินให้พระเจ้าเเผ่นดินครอบครูให้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีท่านทราบข้อบังคับนี้ ท่านจึงถวายตำรานี้แด่ ในหลวงครับ


(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/10/17 at 05:58 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 15)

(Update 1 พฤศจิกายน 2560)


วินิจฉัยข้อมูลจากทั้งสองเว็บ

คือ palungjit.org และ tnews.co.th


.....เมื่อตอนที่แล้ว ท่านผู้อ่านได้อ่านข้อมูลจากเว็บพลังจิตแล้ว คงได้ใจความที่ระบุชัดเจน อันแสดงถึงผู้โพสต์และผู้อ่านข้อมูลในเว็บนี้ ทุกคนต่างก็เข้าใจในเรื่องนี้ตลอดมา จึงขอยกคำพูดมาอ้างอิงอีกครั้ง พร้อมทั้งยังมีวงเล็บเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า

"...ในส่วนของตำราพระร่วงนี้ ถ้าบุคคลอื่นได้ตำรานี้ไป ก็ไม่สามารถทำวัตถุมงคลต่างๆ (เป่ายันต์เกราะเพชร) ได้ถึงอานุภาพสูงสุด อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10 % เพราะท่านเจ้าของตำราคือ "ท่านผกาพรหม" ท่านไม่อนุญาติ ดังนั้นตามคติคนเรียนวิชาแต่โบราณ คงสิ้นสุดสายการสืบทอดวิชา..."

ข้อความเหล่านี้ ย่อมถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของผู้โพสต์ได้ดีว่า การทำ "วัตถุมงคล" ต่างๆ ตลอดถึงการ "เป่ายันต์เกราะเพชร" อย่างเก่งก็ไม่เกิน 10 % เพราะท่านเจ้าของตำราไม่ช่วย

(นี่เป็นการยืนยันอย่างชัดเจน ส่วนการที่หลวงพ่อบอกให้พระในวัดท่าซุงครอบครู เพื่อจะให้สืบวิชาต่อไปนั้น จึงเป็นเพียงแค่ลีลาของท่านเท่านั้น พระที่เข้าใจดีท่านจึงไม่ได้ทำพิธีนี้ ดังในบทความ "เสียงจากถ้ำ" ที่ ท่านพระครูภาวนาพิลาศ (หลวงตาวัชรชัย) เล่าไว้มีใจความตอนหนึ่งว่า..


".....ก็อย่างที่หลวงตาเขียนเล่า "เรื่องในบ้านใหญ่" เปะปะ เล่าลำดับเหตุการณ์มาถึงตอนที่ ๕ นี้ ก็พอดีมาถึงช่วงครบรอบวันเกิด ๖๐ ปี ของ ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน

ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เรื่องราวย้อนหลังกว่า ๒๐ ปีก่อนหน้านี้ อยากจะบันทึกเล่าไว้เกี่ยวกับท่านอาจารย์โดยตรง ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน


"...ผมลืมเล่าให้ทุกท่านฟังอยู่เรื่องหนึ่ง คือก่อนหลวงพ่อท่านจะมรณภาพสัก ๑ เดือน หลวงพ่อเรียกผมเข้าไปหา..พูดเรื่องยันต์เกราะเพชรว่า...

"...เออ..นันต์ จำไว้ไปบอกกันด้วย หลวงปู่ปานเคยบอกว่า คนที่จะเป็นอาจารย์เป่ายันต์เกราะเพชรให้ศิษยานุศิษย์ได้นั้น จะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ ที่จะรู้กฎของกรรมเฉพาะหน้าของศิษย์ทั้งหลาย จะได้บอกให้จิตทำอารมณ์ให้ตรงกับที่ท่านผู้เป็นใหญ่ ผู้มีทิพยอำนาจผู้ประสาทพิธีลงมา เพราะฉะนั้นต้องมีใจเป็นทิพย์มั่นคง ไม่ถอยหลังแล้ว คือ ...

- ต้องเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือ...
- ต้องเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วอย่างหลวงปู่ปาน เป็นต้น..."


จึงจะรับคำสั่งจากท่านเบื้องบน มีสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธาน แล้วประสาทบอกอารมณ์ควบคุมอารมณ์ศิษย์ที่เข้าพิธีได้

แล้วพระอาจารย์อนันต์ก็พูดต่อว่า "...ผมพร้อมที่จะจัดพิธีเป่ายันต์ให้ แต่ผมเป่าไม่ได้ เพราะผมไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนหลวงพ่อ และก็ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วเหมือนหลวงปู่ปาน

เอ้า...ใครเป็นพระอรหันต์วิชชา ๓ เป็นอย่างน้อย หรือเป็นพระโพธิสัตว์บารมีเต็มแล้วบ้าง.. ยกมือขึ้นนะครับ... ผมจะน้อมจัดพิธีเป่ายันต์ถวาย มีไหมครับ ?"


ในขณะบัดนั้นก็เงียบสนิท...ไม่มีมือยกรับรองตัวเอง แล้วพระอาจารย์ก็บอกว่า

"...ในเมื่อยังไม่มี ผมก็ยังไม่กล้าจัดเป่ายันต์ เพราะจะขัดคำครูบาอาจารย์ พวกเรามาเร่งความเพียรกัน ใครเป็นพระอรหันต์เมื่อไร เป็นพระโพธิสัตว์พร้อมจะตรัสรู้เมื่อไรบอกผมด้วย จะได้จัดพิธีถวาย..."

ตั้งแต่วันนั้นมา...ในวัดท่าซุงก็ไม่พูดถึงเรื่องจัดงาน "เป่ายันต์เกราะเพชร" อีกเลย...


ข้อสังเกต

...ข้อที่ ๑.
ผู้โพสต์บอกต่อไปอีกว่า "ท่านเจ้าของตำราคือ "ท่านผกาพรหม" แต่ถ้อยคำที่หลวงพ่อเล่าบอกเพียงว่า "ท่านเป็นพรหมชั้นที่ ๘" เท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าท่านชื่ออะไร

ส่วนในการปลุกเสกทุกครั้ง หลวงพ่อท่านเพียงแต่บอกว่า "ท้าวมหาชมพู" และ "ท้าวผกาพรหม" จะมาปิดท้ายรายการทุกครั้ง" อันนี้ถ้าใครมีหลักฐานเป็นคำพูดของหลวงพ่อจริง กรุณานำมาอ้างอิงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย ขอขอบคุณครับ **(ตอนนี้พบหลักฐานในเทปแล้วว่า พรหมชั้นที่ ๘ คือ ท้าวผกาพรหม - 11 มี.ค. 63)

...ข้อที่ ๒. ผู้โพสต์บอกว่า หลวงพ่อฯ ท่านสั่งห้ามว่า ถ้าได้ธงผืนนี้ไปแล้ว ห้ามปลุกโดยเด็ดขาด เพราะอานุภาพสูงมาก ถ้าไปปลุกธงมหาพิชัยสงครามนี้ อาจถึงตายได้ครับ อันนี้ก็ไม่เคยได้ยินด้วยหูตนเอง ทุกข้อกรุณาอ้างอิงหลักฐานจาก "วัดท่าซุง" โดยตรงด้วย

...ข้อที่ ๓. ตามที่บอกว่า "หลวงพ่อฤาษีท่านได้ถวายในหลวงไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐" อันนี้ผู้เขียนก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน เพราะยังไม่เคยได้ยินพระที่ใกล้ชิดหลวงพ่อพูดเรื่องเหล่านี้เลย

สรุปความว่า...อย่าเพิ่งเปิดประเด็นหลายเรื่องเลยนะ เอาข้อที่กังขากันในระหว่างลูกศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุงก่อน ลองเปิดดูเว็บทั้งสองนี้ก็แล้วกันว่า ภาพที่ตบแต่งหรือข้อมูลที่โพสต์ไปนั้น มีความเหมาะสมแค่ไหน แล้วเดี๋ยวตอนหน้าค่อยกลับมาคุยกันใหม่นะ


@ ๑. http://palungjit.org/threads/๙๙๙๙๙๙๙๙๙-ผ้ายันต์มหาพิชัยสงคราม-วัดท่าซุง-ราคาพิเศษ-พระเกจิอาจารย์อื่นๆ.369592/page-39#post-879238 2

@ ๒. http://www.tnews.co.th/contents/351004

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 1/11/17 at 06:48 [ QUOTE ]



จดหมาย ฉบับที่ 7 (ตอนที่ 16)

(Update 8 พฤศจิกายน 2560)


รายชื่อพระวัดท่าซุงที่ได้รับมอบวิชา "เป่ายันต์เกราะเพชร" จากหลวงพ่อฯ


.....เมื่อตอนที่แล้ว ถ้าหากได้เปิดอ่านแล้วจาก http://www.tnews.co.th/contents/351004 สำนักข่าวทีนิวส์ ได้ระบุไว้ (โปรดอ่านรายละเอียดได้ในเว็บนี้) ดังนี้ว่า..



(ภาพนี้เป็นภาพที่จัดทำเป็นครั้งแรก)


(ภาพนี้ได้ถูกแก้ไขแล้ว หลังจากเรื่องราวที่เป็นจริงปรากฏออกไป)


.....การจัดงานพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษก เป่ายันต์เกราะเพชร "เสาร์ ๕" โดยได้แจ้งว่าให้เตรียมเข้าร่วมพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษก เป่ายันต์เกราะเพชร "เสาร์ ๕" วันเสาร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐)

บุคคลที่ได้เคยรับการครอบครู "เป่ายันต์เกราะเพชร" จากหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ มีทั้งลาสิกขาไปและอยู่นอกวัด ก็คือ

๑. ท่านชาติชาย ลาสิกขาไปแล้ว
๒. ท่านอาจารย์พระสมุห์บัญชา สุขปญฺโญ
๓. ท่านปลัดอภิชัย สุธมฺมธมฺโม หรือท่านน้อย ลาสิกขาไปแล้ว
๔. ตัวอาตมาเอง อยู่ที่นี่
๕. หลวงตาวัชรชัย อยู่ที่วัดเขาวง จ.สระบุรี
๖. ท่านอาจารย์พระปลัดวิรัช โอภาโส อยู่ที่วัดธรรมยาน จ.เพชรบูรณ์
๗. พระยงยุทธ ธมฺมยุทฺโธ ลาสิกขาไปแล้ว

แปลว่าเหลืออยู่ในวัดแค่สอง...ใช่ไหม ? เอาเถอะ ใครอยู่ในวัดก็เดาเอาเองแล้วกัน พิธีการการครอบครูเพื่อรับการเป่ายันต์เกราะเพชรนั้น คำสั่งที่เด็ดขาดของหลวงพ่อ ก็คือ

๑. อย่าใช้กำลังของตัวเองเป็นอันขาด ถ้าไม่ใช่พระท่านสงเคราะห์ เราใช้กำลังสมาธิ สมาบัติของตัวเอง จะได้ผลไม่เกิน ๒ เปอร์เซนต์ ก็แปลว่า ถ้าอยากทำเอง ๑๐๐ บาท ก็ได้แค่ ๒ บาท
๒. อย่าเดินสายเป่ายันต์เป็นอันขาด ให้ทำเฉพาะที่วัดซึ่งตนอยู่เท่านั้น ไม่อย่างนั้นคงจะมีประเภทรับจ้างเป่ายันต์
๓. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พระท่านบอก ท่านสั่ง ให้ทำตามนั้น ก็หมายความว่าต้องทรงสมาธิจิต ติดต่อกับพระท่านได้ ท่านบอกให้วางกำลังใจอย่างไร ภาวนาคาถาอะไรให้ทำตามนั้น
ท่านบอกว่า ถ้าฝืนข้อใดข้อหนึ่งจะเป่าไม่ติด ก็คือการเป่ายันต์นั้นไม่มีผล

ในบรรดาท่านที่ครอบครูมาทั้งหมด อาตมาได้รับคำสั่งให้เป่ายันต์ก่อนเพื่อน สำหรับท่านอื่นยังไม่มีคำสั่งหรือว่าท่านรับคำสั่งไม่ได้ก็ไม่ทราบ

ในส่วนของการเป่ายันต์เกราะเพชรนั้น ท่านให้ทำเพื่อการสงเคราะห์ ถ้าหากว่าทำเอารวย พระท่านไม่สงเคราะห์เหมือนกัน เราจะเห็นว่ามีกฎกติกามากมายที่ต้องยึดถือ ทั้งตัวโยมที่รับไปต้องรักษาศีล อย่างน้อย ๒ ข้อ ทั้งพระที่ทำก็มีกฏ มีกติกาข้อห้ามอยู่ อาตมาเองอยากจะผ่องถ่ายวิชาการอยู่เหมือนกัน เมื่อไรท่านจะสั่งให้ครอบครู มีลูกศิษย์ได้เสียทีก็ไม่รู้ ?

หลวงพ่อท่านครอบครูให้พวกอาตมา ตอนท่านอายุ ๗๗ ปี อาตมาเองจะอายุถึง ๗๗ ปีหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ? เพราะหลังจากครอบครูให้ไม่กี่เดือน หลวงพ่อท่านก็มรณภาพ ถ้าหากอาตมาไม่ฝืนคำสั่งคณะกรรมการสงฆ์ ดื้อไปครอบครูไว้ วิชานี้ก็สูญ เพราะว่าสายนอกที่ทำมาเห็นออกนอกลู่นอกทางไปมาก

หลายท่านสามารถเป่ายันต์ได้ทุกวัน บางท่านเคยไปวัด คุ้นกันแท้ๆ เจอหน้ากันทีไร ก็ยังไล่เตะตูดกันเหมือนเดิม แต่เป่ายันต์ทั้งเสาร์และอาทิตย์ ท่านบอกว่าคนมาเยอะดี นอกครูไปได้เหมือนกัน ?


เรียบเรียงโดย กิตติ จิตรพรหม : สำนักข่าวทีนิวส์
อ้างอิงจาก FB : Weerawat Chaiyasri



การจัดพิธี "เป่ายันต์เกราะเพชร" ตามวัดต่างๆ


.....ตามหลักฐานดังกล่าวนี้พอจะชี้ชัดได้ว่า เป็นข้อมูลที่เผยแพร่ออกตามสื่อต่างๆ คณะศิษย์ที่มาภายหลัง ต่างก็มีความศรัทธาในวิชานี้เป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งเดินทางไปร่วมพิธีกันมากมาย

ประเด็นนี้ ผู้เขียนขอออกตัวก่อนนะ ว่าไม่ได้มีความรู้สึกอิจฉาตาร้อนตามวัดต่างๆ ที่ได้กระทำพิธีนี้เหมือนวัดท่าซุงในอดีต แต่เพราะเกิดกระแสสังคมระหว่างลูกศิษย์หลวงพ่อฯ ด้วยกัน ต่างก็แปลกใจว่าทำไมวัดท่าซุงจึงไม่ได้กระทำต่อ ทั้งที่เป็นวัดต้นแบบ โดยเฉพาะการมีชื่อเสียงและลาภสักการะที่ตามมาอย่างมหาศาล

ถ้าหากพระวัดท่าซุงต้นสังกัดคำนึงถึงเรื่องแบบนี้ คงรักษาวัดและเจตนารมย์ของหลวงพ่อฯ อยู่ได้ไม่นาน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความถึงวัดต่างๆ ที่ทำเพื่อโลกธรรมนะ ท่านอาจจะทำเพราะเข้าใจว่าท่านกระทำได้ นั่นเป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัวของท่าน ผู้เขียนมิได้มีอคติเป็นการส่วนตัวแต่ประการใด

แต่มีเจตนาด้วยควมบริสุทธิ์ใจ ใคร่จะรักษามรดกธรรมของท่านไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารในอดีต ย่อมปรากฏหลักฐานอยู่ในหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ฉบับที่ 138 สิงหาคม 2535 หน้า 115 (ขอขอบคุณ "ศิษย์เก่า" ท่านหนึ่งที่อุตส่าห์ค้นหามาได้)

ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีใครที่จะปฏิเสธจากหลักฐานเหล่านี้ได้ เพราะนี่เป็นคำพูดของท่านที่แท้จริง ย่อมพิสูจน์เรื่องราวเหล่านี้ได้ดีว่า ความจริงเป็นเช่นใด รายชื่อของพระที่ครอบครูในวันนั้นเป็นพระองค์ใดบ้าง

ขอผู้อ่านทุกท่านอย่าได้ตำหนิติเตียนผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นโทษ อย่าได้มีจิตขุ่นข้องหมองใจ หรืออย่าได้เพ่งโทษให้เกิดบาปกรรมแก่กันและกันเลย ควรจะอ่านและศึกษาข้อมูลเหล่านี้ด้วยความมีสติ

พร้อมกับใคร่ครวญด้วยปัญญาอย่างเที่ยงธรรม ท่านก็จะได้รู้และเข้าใจตามความเป็นจริง พร้อมทั้งเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นการประกอบกับคำพูดของ "หลวงตาวัชรชัย" ที่ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่านดังนี้





.....ส่วนสถานที่อื่นๆ ก็ยังมีการทำสติกเกอร์โฆษณาในรูปแบบต่างๆ กัน แต่เท่าที่เห็นบอกว่า "อธิษฐานรับยันต์เกราะเพชร" เท่านั้น แสดงว่าไม่ได้ทำพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรเอง คงอธิษฐานรับยันต์จากวัดท่าซุงโดยตรง

ฉะนั้น ท่านที่เป็นลูกศิษย์หรือไม่ก็ตาม จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เข้าใจไม่ได้ บางแห่งก็พิมพ์รูปลูกศิษย์นั่งอยู่เหนือครูบาอาจารย์ก็มี บางแห่งก็บอกว่าเป็นลูกศิษย์สายตรง เป็นต้น

แล้วก็ยังมีอีกหลายแห่งดังตัวอย่างที่เห็นนี้ ซึ่งมีการทำสติกเกอร์เช่นเดียวกัน พร้อมกับคำอธิบายที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกับถ้อยคำของพระเดชพระคุณ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" ที่ได้กล่าวไว้นานแล้ว ส่วนเจ้าของพิธีการแต่ละแห่งได้อธิบายไว้ (ตัวหนังสือสีแดง) ดังนี้



.....การเป่ายันต์ไม่ได้เป่าทีละคน หากแต่เป่าทีละเต็มศาลา กี่หมื่นกี่แสนคนก็เป่าพร้อมกันทีเดียว “พระ” ท่านบอกว่า เป่าทีเดียวทั่วจักรวาล จะอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม ถ้าตั้งใจรับด้วยความเคารพ ก็มีผลเช่นเดียวกับคนที่มาเข้าพิธีด้วยตัวเอง


การเป่ายันต์เกราะเพชร เป็นการปลุกเสกวัตถุมงคลไปในตัวด้วย ใครมีวัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง ผ้ายันต์ ตะกรุด หรือเครื่องรางใดๆ ก็ตาม เวลาเข้าพิธีให้วางไว้บนตักตัวเอง เสร็จพิธีเป่ายันต์ ก็นำไปใช้ได้เลย


อ้างอิง - watsawangarom999.blogspot.com/2015/05/normal-0-false-false-false-en-gb-x-none.html


.....ทางหลวงปู่ใหญ่ ธนปัญโญได้ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้ที่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฎิภาณธนสมบัติทุกประการเทอญ


ภาพงานพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งที่ ๙ จานน้ำมัน ๙ แร่ ๙ ว่านเมตตา ณ.สำนักสงฆ์มณีพรหมรังสี (เขาทราย) หมู่ ๔ ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ (วันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๐) เวลา ๑๓:๐๐ น.


ที่มา - palungjit.org/threads/ภาพงานพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งที่๙-ณ-สำนักสงฆ์มณีพรหมรังสี.307131/


....พระครูพิทักษ์อินทมุนี (หลวงพ่อสมนึก ฉันทธัมโม) เจ้าอาวาสวัดทรงบนรูปปัจจุบัน ท่านสืบทอดวิชาเป่ายันต์เกราะเพชรสาย หลวงพ่อปานวัดบางนมโค

ทุกปีก่อนท่านทำพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรให้กับผู้มาร่วมพิธีนั้น ท่านก็จะทำพิธีไหว้ครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ณ วัดทรงบน ก่อนในตอนช่วงเช้า และจะเริ่มพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรให้กับศิษยานุศิษย์ทุกท่านตอนบ่าย

อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของยันต์เกราะเพชร สามารถขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งอวมงคล เสริมบารมี ดวงชะตา กลับร้ายกลายเป็นดี กำจัดและป้องกันคุณไสย์มนต์ดำครับ


ที่มา - palungjit.org/threads/เล่าประสบการณ์-โชว์วัตถุมงคล-หลวงพ่อสมนึก-วัดหรงบน-นครศรีธรรมราช.544886/page-6


.....ตามที่ได้ประกาศเรื่องพิธีไหว้ครูของสำนักศิษย์อาจารย์เทพย์ ณ จ.นครปฐม ในวันเสาร์ห้า ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐

ในพิธีจะมีการเป่ายันต์เกราะเพชร ตามตำรับหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค โดยท่าน อ.มนัส สิวาภิรมย์รัตน์ ดังนั้นจึงขอนำบทความเรื่องยันต์สำคัญนี้ และพิธีการเป่ายันต์เกราะเพชรมาให้ท่านทั้งหลายได้ทัศนากันอีกครั้ง

ปล. รูปผ้ายันต์เกราะเพชร เป็นลายมือของท่าน อ.มนัส มีขนาดประมาณ ๔๐ ซม ท่าน อ.มนัส จะออกให้ท่านที่สนใจบูชาหลังจากพิธีเป่ายันต์เสร็จแล้ว โดยท่านลงไว้ประมาณ ๔๐ ผืน


ที่มา - http://www.tnews.co.th/contents/307456

(จบเรื่อง "พิธีเป่ายันต์เกราะเพชร")


◄ll กลับสู่ด้านบน





[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/11/17 at 07:00 [ QUOTE ]




[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 20/9/20 at 05:54 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top