Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 24/6/19 at 16:35 [ QUOTE ]

กำหนดการเดินทาง/งานวัดท่าซุง ประจำเดือน "กรกฎาคม" ปี 2562


กำหนดการเดินทาง / งานวัดท่าซุง
เดือนกรกฎาคม


บ้านดอนเมือง และ บ้านสายลม กรุงเทพฯ
ตั้งแต่วันที่ ๕ - ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒


รายงานโดย - ทีมงาน "เว็บวัดท่าซุง"


- วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒
เวลา ๐๘.๐๐ น ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ เจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๓ รูป ฉันภัตตาหารเช้าแล้ว เดินทางไปบ้าน พล.อ.อ.อาทร-คุณสิริรัตน์ โรจนวิภาต ที่ดอนเมือง (กม.๒๗) เพื่อรับสังฆทานและฉันภัตตาหารเพล หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว เดินทางเข้าบ้านสายลม
เวลา ๑๙.๐๐ น. - ๒๑.๓๐ น. ลงรับรับสังฆทาน


- วันเสาร์ที่ ๖ กรกฎาคม - วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒
เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. ลงรับสังฆทาน
เวลา ๑๒.๓๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ
เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้วรับสังฆทานต่อ จนถึง
เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร

- วันจันทร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. รับสังฆทาน (วันนี้ไม่มีฝึกมโนมยิทธิ)
เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้ว รับสังฆทานต่อ จนถึง
เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร

- วันอังคารที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ฉันเช้าแล้วเดินทางกลับวัด

หมายเหตุ : ก่อนเวลาเจริญพระกรรมฐาน พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ จะออกมารับสังฆทานเวลา ๑๘.๔๕ น. (แลกคูปองสังฆทานที่เจ้าหน้าที่ก่อนเวลา ๑๕ นาที)

ต่อจากนั้นเวลา ๑๙.๐๐ น. (คืนวันเสาร์, อาทิตย์, จันทร์) จะเริ่มฝึกกรรมฐานแบบสุขวิปัสโก โดยเปิดวีดีโอคำสอนจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ประมาณ ๓๐ นาที แล้วหลวงพ่อกล่าวนำสมาทานพระกรรมฐาน เสร็จแล้วจะนั่งสมาธิอีกประมาณ ๒๐ นาที

จากนั้น ดร.ปริญญา นุตาลัย จะกล่าวนำเพื่อถวายสังฆทาน แล้วเจ้าภาพเข้าแถวถวายสังฆทานกัน โดย พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ เป็นผู้รับสังฆทานจากญาติโยมพุทธบริษัท จนถึงเวลา ๒๑.๑๕ น.

ต่อจากนั้นจะเป็นการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ บทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ นำโดย ดร.ปริญญา นุตาลัย ต่อด้วยพระคาถาเงินล้าน จบแล้วนำกล่าวอุทิศส่วนกุศล เสร็จแล้ว พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ ให้พรแก่ญาติโยมเป็นเสร็จพิธี (ขั้นตอนจะเป็นแบบนี้ทั้ง ๓ วัน)


<< อ่านรายละเอียด : ความเป็นมา "บ้านสายลม" และ "แผนที่ในการเดินทาง"


กำหนดการเดินทางไป อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เนื่องในงานพิธียกฉัตร วิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร
วันที่ ๑๒ – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒


.

- วันศุกร์ที่ ๑๒ ก.ค. เวลา ๐๘.๐๐ น. ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ พร้อมด้วย พระชัยวัฒน์ และ พระวิชิต เดินทางไปที่สนามบินดอนเมือง เวลา ๑๓.๒๕ น. เดินทางไปหาดใหญ่ โดยสายการบินนกแอร์

.

เวลา ๑๔.๔๕ น. คณะกรรมการพระวิหารฯ พร้อมด้วยคณะศิษย์ชาวหาดใหญ่ - สงขลา ให้การต้อนรับพร้อมกับนิมนต์ไปพักที่บ้านคุณสมชัย (ติ๊ก) - คุณปัญญารส (ติ๋ม) เจริญชีพ ภายในตัวเมืองสงขลา

.

- วันเสาร์ที่ ๑๓ ก.ค. เวลา ๐๙.๐๐ น. เดินทางไปรับสังฆทานและฉันภัตตาหารเพลที่บ้าน คุณสมชาย (โกส้ม) ขวัญพิเชษฐ์กุล จ.สงขลา หลังจากนั้นคณะศิษย์ถวายสังฆทาน พระสงฆ์ให้พร เป็นอันเสร็จพิธี

.
.
.

เวลา ๑๙.๓๐ น. เจริญพระกรรมฐาน (แบบปกติ) ที่วิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร (วิหารน้ำน้อย) จ.สงขลา

(ขอเชิญคณะศิษยานุศิษย์ทุกท่านร่วมปฏิบัติธรรม ณ สถานที่นี้ปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น)

.

- วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ก.ค. เวลา ๐๘.๐๐ น. ท่านพระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ เดินทางมาที่วิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร (วิหารน้ำน้อย) จ.สงขลา

เวลา ๐๙.๐๐ น. บวงสรวง เพื่อทำพิธียกฉัตรพระวิหาร

.
.
เวลา ๑๐.๐๐ น. การแสดงฟ้อนรำ โดยคณะคุณนกยูง (ศิษย์เก่าพระสุธรรมฯ)
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล ญาติโยมรับประทานอาหารกลางวัน โดยมี คณะมาลัยจากฟ้า จ.สงขลา และคณะศิษย์ชาวใต้ทุกคนให้การต้อนรับจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน

เวลา ๑๕.๑๕ น. เดินทางกลับ โดยสายการบินนกแอร์

<< อ่านประวัติ.. การสร้างวิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2397 target=out> คลิกที่นี่

<< ชมคลิปวีดีโอ.. การบูรณะพระวิหารฯ เมื่อปี 2537 คลิกที่นี่



งานพิธีอุปสมบทนาค (หมู่)
เข้าพรรษาประจำปี ๒๕๖๒

วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒

.

... ช่วงเช้าเริ่มพิธีอุปสมบทนาค (หมู่) หลังจากเสร็จแล้วพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพผู้อุปสมบทถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์วัดท่าซุง เพื่อเป็นการฉลองพระบวชใหม่

จากนั้นคณะญาติโยมผู้เป็นเจ้าภาพร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน ที่ศาลาพระพินิจอักษร พระสงฆ์ให้พรเป็นอันเสร็จพิธี โดยมีกำหนดการดังนี้


กำหนดการ

เวลา ๐๖.๓๐ น. ขอขมาบิดามารดาและผู้มีพระคุณ ณ ศาลานวราช
เวลา ๐๗.๐๐ น. แห่นาคพร้อมกัน โดยมีวงโยธวาทิตนักเรียน โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระ นำขบวน นาคและพ่อแม่ญาติพี่น้อง พร้อมผู้ร่วมพิธี เดินเวียนประทักษิณรอบอุโบสถ ๓ รอบ

เวลา ๐๘.๐๐ น. เริ่มพิธีบรรพชาอุปสมบท โดยท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยโสภณ เจ้าอาวาสวัดหนองขุนชาติ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ณ ศาลาพระพินิจอักษร เนื่องในพิธีฉลองพระบวชใหม่

เวลา ๑๑.๐๐ น. เจ้าภาพผู้อุปสมบทถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์วัดท่าซุง
เวลา ๑๒.๐๐ น. คณะญาติโยมผู้เป็นเจ้าภาพร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน เป็นอันเสร็จพิธี

อานิสงส์การอุปสมบท (เทศน์ย่อ)
โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน





งานทำบุญที่อาคารพระพินิจอักษร(ทองดี)

- วันจันทร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม
เวลา ๐๙.๓๐ น. พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ(เจ้าอาวาส) ทำพิธีบวงสรวงที่อาคารพระพินิจอักษร(ทองดี)
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุงเจริญพระพุทธมนต์ ที่อาคารพระพินิจอักษร(ทองดี)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่อาคารพระพินิจอักษร(ทองดี)

งานทำบุญวันอาสาฬหบูชา และ
งานทำบุญถวายกุศลหลวงปู่ปาน

- วันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม
เวลา ๐๗.๐๐ น. ทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ณ มหาวิหารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี (ศาลา ๑๒ ไร่)

.
.
.
.

เวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีบวงสรวงที่มณฑปหลวงปู่ปาน

.

.

เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ที่ศาลา ๑๒ ไร่

.
.
.

เวลา ๑๗.๐๐ น. ทำพิธีบวงสรวงที่อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช

.
.
.
.

เวลา ๑๘.๐๐ น. เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
เวลา ๑๙.๐๐ น. รับสังฆทานที่ศาลา ๑๒ ไร่

งานทำบุญวันเข้าพรรษา และ
งานพิธีฉลองชัยชนะพระเจ้าพรหมมหาราช

.

- วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม
เวลา ๐๗.๐๐ น. ร่วมกันทำบุญใส่บาตร และ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ฟังเทศน์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ที่มหาวิหารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี (ศาลา ๑๒ ไร่)

.
.
.
.
.

เวลา ๐๙.๐๐ น. ทำพิธีบวงสรวง ณ อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช เสร็จแล้วนักเรียน ร.ร.พระสุธรรมยานเถระวิทยา รำถวายมือ ญาติโยมเวียนเทียนทักษิณาวัตรรอบพระจุฬามณี และ รอบอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช ๓ รอบ ระหว่างนี้ญาติโยมถวายสังฆทาน จนถึงเวลา ๑๒.๐๐ น.

- วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม
เวลา ๐๘.๐๐ น. พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ เจ้าอาวาส พร้อมด้วยพระสงฆ์วัดท่าซุง นำพุทธบริษัทสักการะและขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ สถานที่สำคัญในวัด ๑๗ แห่ง เนื่องในโอกาสเข้าจำพรรษา



ทำบุญเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเพล ที่ศาลาพระพินิจอักษร (ทองดี)



เที่ยวสงขลาแวะสักการะ “พระทองคำใหญ่”

1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2557

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”


“พระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “วิหารน้ำน้อย” วิหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จมาทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีการสร้างพระวิหารทับพระทองคำใหญ่องค์เดิมที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยหลวงพ่อฤาษีพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

“พระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร” มีประวัติก่อนการก่อสร้างที่เล่าขานกันมานานไว้ว่า สมัยที่หลวงพ่อฤาษีเดินทางไปสงเคราะห์ลูกหลานพุทธบริษัททางภาคใต้ครั้งแรก พ.ศ.2518

โดยมีหลวงปู่สิมพุทธจาโร วัดถ่ำผาปล่อง หลวงปู่ธรรมชัย วัดทุ่งหลวง ร่วมไปด้วยที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง พัทลุง และสงขลา

เมื่อมาถึงสงขลาคณะของหลวงพ่อเดินทางไปถึง "สามแยกควนเนียง" มีเทวดาเครื่องทรงแพรวพราวสวยงาม ปรากฏกายหน้ารถต้อนรับหลวงพ่อและเหนือศรีษะของเทวดาองค์นั้น มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยอยู่เป็นนิมิตรสะดุดตา

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

เมื่อหลวงพ่อท่านเข้าที่พักตอนกลางคืน ขณะเอนกายลงนอนมีพรหมองค์หนึ่งมานั่งอยู่ปลายเท้าและบอกกับหลวงพ่อว่า “จะมาบอกเรื่องพระใหญ่” แล้วเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า

มีพระพุทธรูปทองคำเนื้อเก้า เป็นทองแท้ฝั่งอยู่ใต้ดิน (ที่บ้านน้ำน้อย) สร้างในสมัยสุโขทัย ซึ่งในสมัยนั้นสร้างพระทองคำใหญ่ 3 องค์ด้วยกัน ขนาดเล็กกว่ากันลดขนาดลงมานิดหน่อยตามลำดับแต่ละองค์ สามารถถอดออกประกอบได้เป็น 9 ชิ้น ไม่มีโลหะเจือปน

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

ซึ่งพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่สุด ท่านบอกว่า ขณะนี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร คือ หลวงพ่อพระสุทธสุโขทัยไตรมิตร อยู่ประจำภาคกลางของประเทศใน จ.กรุงเทพฯ

องค์ที่ 2 เล็กกว่าองค์แรกเล็กน้อย ขนาดหน้าตักเกือบ 3 เมตร เดิมประดิษฐานอยู่ในตัวเมืองสงขลาเป็นพระประจำภาคใต้ ขณะนี้อยู่ใต้ดินใต้วิหารบ้านน้ำน้อย

องค์ที่ 3 เล็กกว่าองค์ที่ 2 เป็นองค์น้องสุดใน 3 องค์ แต่น้ำหนักเป็นตันด้วยทองคำแท้ๆ องค์นี้อยูในลำน้ำโขงตรงกลางแม่น้ำแบ่งเขตแดนไทยกับชาติอื่น

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

หลวงพ่อฤาษีพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

พระพุทธรูปองค์ที่ 2 อยู่ที่เมืองสงขลามาตลอด จนถึง พ.ศ.2310 ที่กรุงศรีอยุธยาเสียเมืองแก่พม่า พวกพม่าทำลายวัดวาอารามเอาพระพุทธรูปสำคัญๆ ลอกเอาทองคำกลับเมืองตนมากมาย

ข่าวนี้ได้แพร่ไปถึงภาคใต้ ชาวเมืองสงขลารู้ข่าวจึงระดมคนแอบนำพระพุทธรูปทองคำล้วนทั้งองค์ล่องไปตามลำน้ำทางเรือหาทำเลซ่อนองค์พระ

เมื่อไปถึงบ้านน้ำน้อยเห็นทำเลเหมาะเพราะเป็นป่าทึบ จึงเกณฑ์คนกว่าสามร้อยคนช่วยกันขุดหลุมลึกกว้าง 5 วา แล้วสร้างกำแพงอิฐโดยรอบยารอยต่อกันน้ำซึมเข้าลักษณะคล้ายๆ สี่เหลี่ยมผืนผ้า บรรจุอัญมณีเครื่องประดับมีค่ามากมายไว้กับองค์พระเป็นพุทธบูชา แล้วเก็บงำเป็นความลับสุดยอดจนคนต่อๆ มาไม่มีใครรู้

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

จนลุถึง พ.ศ.2518 จึงนำความมาบอกหลวงพ่อฤาษี เพราะท่านบอกว่าคณะเราเป็นนักบุญแท้ไม่ทอดทิ้งงานพระพุทธศาสนา จึงขอให้สร้างเจดีย์หรือสถูปบนดินเหนือองค์พระ กันไม่ให้คนเดินข้ามเศียรพระ จะเป็นโทษแก่พวกเขา

นอกจากนี้สมัยก่อนโน้นหลวงพ่อก็เป็นผู้ร่วมสร้างพระทองคำทั้งสามองค์ด้วย พระพุทธรูปทั้งสององค์ทั้งในดินและในน้ำ ท่านบอกว่าเมื่อถึงเวลาคือประชาชนมีจิตใจดี มีศีลธรรมมากกว่านี้ ทั้งสององค์จะปรากฎขึ้นมาเอง

ถ้านำขึ้นมาก่อนจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะความโลภของคนและหลวงพ่อบอกว่าสำคัญมากสำหรับแดนดิน ไม่ควรนำขึ้นมาเป็นอันขาด

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

พระอริยเจ้าที่มีขันธ์ 5 ที่ไปร่วมพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อหลวงพ่อและหลวงปู่ไปพิสูจน์ดูก็เห็นเป็นจริงตามที่พรหมบอก แต่ปู่ครู “หลวงปู่ธรรมชัย” เห็นทีหลังหลวงพ่อ และหลวงปู่สิมว่ามีพระ และอัญมณีมากมายควรค่าแก่กษัตริย์ เนื่องจากถูกเทวดาล้อเล่นโดยเอามือปิดบังเอาไว้

จากนั้นหลวงพ่อก็ติดต่อหาเจ้าของที่ดินขอซื้อที่ตรงนั้น เจ้าของคือ คุณยายกิมไล่ ชูโตชนะ และสามีไม่ยอมขาย แต่ยกให้ฟรีๆ ตามแต่ต้องการ หลวงพ่อรับมาเพียง 200 ตารางวาเศษๆ เพื่อจัดสร้างวิหาร

เมื่อพระวิหารสร้างเสร็จ พลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์ ได้ถวายพระพุทธรูป (แบบพระพุทธชินราช) แด่หลวงพ่อเพื่อประดิษฐานที่วิหารนี้ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ โดยหลวงพ่อไห้ชื่อว่า “พระพุทธมหามงคลบพิตร” ตามชื่อเดิมของพระเมื่อสมัยสุโขทัยที่ฝังอยู่ใต้ดิน

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

ภาพถ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินไปที่วิหารน้ำน้อย

และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินไปที่วิหารน้ำน้อยและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เศียรพระพุทธรูปองค์ใหม่นี้ (องค์เดิมในดิน มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระอุระ)

ตอนนั้นมีพระอริยเจ้าที่มีขันธ์ 5 ไปร่วมพิธีอีก 6 องค์ นอกจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำแล้ว ก็มี หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร หลวงปู่ชุ่ม โพธิ์โก หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่ครูบาธรรมไชย หลวงปู่ครูบาชัยวงษา และหลวงปู่พระมหาอำพัน

ส่วนการกระทำพิธีบวงสรวง อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในวิหารครั้งแรกนั้น มีหลวงปู่สิม หลวงปู่ครูบาธรรมชัย และหลวงพ่อฤาษีดำเนินการ


เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

ภายในพระวิหารนอกจากจะประดิษฐาน“พระพุทธมหามงคลบพิตร” ก็ยังมีรูปหล่อของหลวงพ่อฤาษีลิงดำและหลวงปู่ปาน ที่พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต ได้อัญเชิญมาจาก วัดท่าชุง จ.อุทัยธานี

เพื่อให้ผู้คนได้ร่วมสักการะ จะมีเทียนแพ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ไว้ให้บูชาพระซึ่งสามารถทำบุญได้ตามศรัทธา หากใครอยากตรวจดวงชะตาก็สามารถเสี่ยงเซียมซี่ได้

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

และทางด้านขวามือของพระวิหารจะมีตู้หนังสือพระสุตตันตปิฎก ให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้

ทั้งนี้เมื่อมองทั่วพระวิหารจะห็นว่า มีรูปปั้นจตุมหาราชอยู่ทั้ง 4 มุม คือ ท้าววิวุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวเวสสุวัณ และท้าวธตรัฐ

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

โดยพระวิหารสมเด็จพระพุทธมหามงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ถนนสายเก่า หาดใหญ่-สงขลา) และเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.00 น.

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

วิหารหลังเก่าก่อนได้รับการบูรณะใหม่ในปัจจุบัน

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”

เที่ยวสงขลาแวะสักการะ
“พระทองคำใหญ่” 1 ใน 3 องค์ สมัยสุโขทัย ที่ “วิหารน้ำน้อย”


เรื่อง - ทัศนีย์ จันทวงค์
ภาพ - อรรถพล บุญนวล



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/6/19 at 07:47 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top