บทเจริญพระกรรมฐาน...มโนมยิทธิครึ่งกำลัง และการเจริญพระกรรมฐาน
บวงสรวงและชุมนุมเทวดา ก่อนฝึกกรรมฐาน
ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
(ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชา
ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะ เหมือนกันหมด
ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
(ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชา
ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด
ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
(ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชา
ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด
ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
(ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็น
เทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่า อินทกะเหมือนกันหมด
ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดี ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโรทิสา
ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ ฯ
(ท้าวธตรฏฐ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์
ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ ทั้ง ๔ ท่านนี้เป็นท้าวมหาราช ได้มายืนอยู่ทำทิศทั้ง ๔
ให้รุ่งเรืองสว่างไสวแล้ว ฯ)
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,
(ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่ง
สถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้ และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค
ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,)
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
(ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้ เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย
กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ฯ)
(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๗๖-๒๗๙)
คำนมัสการพระรัตนตรัย
(เล่นอัตโนมัติ แต่ถ้ายังไม่มีเสียง กรุณากด Play แล้วรอสักครู่)
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,)
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
(พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,)
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ.,
(ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
และพระอริยสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายยกขึ้นไว้ตามสมควรแก่การบูชาแล้ว.,)
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
(ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม ข้าพเจ้า
ทั้งหลายกราบขอพระบรมพุทธานุญาต,)
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
(ขอพระองค์ผู้มีพระทัยในอันที่จะอนุเคราะห์แก่หมู่ชนผู้จะเกิดมาในภายหลัง,)
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
(ได้โปรดรับเครื่องสักการะเหล่านี้ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มีความทุกข์น้อมถวายบูชา,)
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
(เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขอันเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว. )
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ.
(พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ.
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)
(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑-๒)
คำสมาทานศีลแปด
(เล่นอัตโนมัติ แต่ถ้ายังไม่มีเสียง กรุณากด Play แล้วรอสักครู่)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ (ว่า ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น)
อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้)
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดพรหมจรรย์ )
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำไม่จริง )
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราและเครื่องดองของเมา อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาทขาดสติ)
วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ-
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม
ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่งด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
(ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ)
(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๐-๒๘๓)
คำสมาทานพระกรรมฐาน
คำสมาทานพระกรรมฐาน
ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เสฯ
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัจชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอมอบกาย ถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆกันมา
มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง เป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง ๕
และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ขอพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ
กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆ ทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนาจะรู้
เมื่อรู้แล้ว ขอให้เห็นภาพนั้น ได้ชัดเจนแจ่มใส และพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกประการ เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้น
ได้โดยมิต้องกำหนดจิต แม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล หลังกรรมฐาน
อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้
ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
และข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย
และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ด้วยเถิด
และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย
จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด
(จะเพิ่มไปอีกสักนิดว่า "หากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าขัดข้อง จงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญฯ)
ll กลับสู่สารบัญ
|