Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 24/7/09 at 08:42 [ QUOTE ]

หนังสือ "พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 1)






คำชี้แจง"

ก่อนที่ผู้เยี่ยมชมจะได้อ่านข้อความทั้งหลายเหล่านี้ คณะทีมงาน "เว็บวัดท่าซุง" ต้องขออนุโมทนา "คุณปณชัย" ที่ได้อุตส่าห์เสียสละเวลาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม พร้อมกันนี้ได้ส่งมาให้ทีมงาน เพื่อนำเผยแพร่เป็นประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ทางทีมงานจึงต้องจัดตามรูปแบบของเว็บ เพื่อท่านผู้เยี่ยมชมทั้งหลายจะได้อ่านง่าย ตามเจตนารมณ์ของผู้จัดพิมพ์ต่อไป

ส่วนรูปแบบในการ "ทรงกระดาน" ทางทีมงานเว็บวัดท่าซุงจะขออธิบายเพิ่มเติมไปบ้างว่า ได้มีการกระทำกันในบ้านส่วนตัวแล้วแต่จะนัดกัน โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี และมีความรู้ในทางธรรมพอสมควร ได้มีส่วนรู้เห็นเป็นพยานหลายคน

แต่ผู้มีหน้าที่เดินถ้วยแก้วแต่ละครั้งนั้น ส่วนใหญ่จำนวน 3 คนจะต้องมีจิตใจที่ดีพอสมควร โดยมี ท่านเสด็จกรมหลวงชุมพรฯ เป็นเจ้าพิธีกรทุกครั้ง ก่อนที่จะมีพระหรือท่านผู้อื่นมาเทศน์ แต่ที่มีการประทับทรงด้วยนั้น คือ พล.ต.ศรีพันธุ์ (พี่แดง) วิชชุพันธุ์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่า


คุณอ๋อยกับการทรงกระดาน

เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว "คุณอ๋อย" กับ "คุณเสริม" ทราบข่าวว่า เขามีการเดินถ้วยแก้วกัน ที่บ้านข้าราชการผู้หนึ่ง ก็เลยชวนกันไปดู ตามประสาคนชอบสนุก และตื่นเต้น ที่ไปดูก็เพราะ เขาเล่าว่า องค์ที่มาเดินกระดานนั้น คือ "หลวงปู่ภู"

ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิด "สมเด็จโต" และได้มรณภาพไปเมื่ออายุ 103 ที่ท่านมาเดินกระดาน หรือ ที่ทั่วไป เรียกกันว่า "ผีถ้วยแก้ว" และที่ในขณะนี้ ขอเรียกว่า "ทรงกระดาน" นี้ก็เพื่อสงเคราะห์คน เป็นการสร้างบารมีของตัวท่านเอง

ส่วนมากเกี่ยวกับช่วยรักษาโรค และช่วยขจัดปัดเป่าให้คนที่มีเคราะห์ เจ้าของบ้านไม่ได้มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นกับตัวเองเลย มีแต่ทางเสียสตางค์ ซื้อขนม เลี้ยงแขกอย่างเดียว ตัวอย่างความศักดิ์สิทธิ์ของท่านมีมากมาย แต่ที่จำได้จากคนที่ได้รับผลจริง ๆ ก็คือ "พี่หนู"

เรื่องมีว่า พี่หนูแต่เดิม ก็ไม่ได้รู้จักหลวงปู่ภู ที่ท่านเดินกระดาน พี่หนูเป็นโรคอาเจียนเป็นเลือด รักษาไม่หาย ได้ข่าวว่าหลวงปู่ภูท่านรักษาโรค ก็เลยไปลองดูๆ เขา วันหนึ่ง ๆ ที่มีการทรงกระดาน จะมีคนไปมากด้วยกัน พี่หนูไม่รู้จักใคร ก็เลยต้องนั่งอยู่วงนอก ไม่ทันได้พูดกับใคร สักประเดี๋ยวหลวงปู่ ก็เดินกระดานบอกว่า

"คนที่รากเลือดน่ะ..เข้ามาซิ"

พี่หนูก็เลยเข้าไปท่าน ก็บอกยาให้นำไปเสก แล้วก็เลยหายจากโรคนั้น นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อยู่

การเล่นผีถ้วยแก้วนี้ รู้สึกว่าใคร ๆ ก็จะลองเล่น กันเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะเด็ก ๆ เวลาเล่น ก็มักจะต้องแตะถ้วยเบา ๆ ช่วยกันแตะสัก 3 คน แล้วถ้วย (ตะไล) จะค่อยๆ เลื่อนไป คนก็ต้องเลื่อนมือตาม เลยกลายเป็นแรงช่วยดันถ้วย และเวลาจะผสมเป็นตัวหนังสือ พอให้อ่านได้ความ

ใจของผู้เดินก็มักจะเอาใจช่วย ให้ถ้วยเคลื่อนที่ ไปยังอักษรตัวนั้น ๆ ที่เล่น ๆ กัน ก็อ่านได้ความบ้าง ไม่ได้ความบ้าง ตามเรื่อง แต่ผลที่สุด ก็มาลงความเห็นกันว่า ความจริงคนไถกันไปเองมากกว่า จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใคร ถือเป็นเรื่องจริงจัง ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ มีชื่อเสียงหน่อย ก็หาว่า เหลวไหลงมงาย

แต่ที่สำนักหลวงปู่ภูนี้ การเดินกระดาน ไม่เหมือนกับที่เคยเล่น ๆ กัน มีข้อกำหนดอยู่ว่า คุณ จ. จะต้องเป็นผู้แตะถ้วยอยู่คนหนึ่ง ส่วนคนอื่นจะเป็นใครก็ได้ ถ้าคุณ จ. ไม่แตะถ้วย เอาคนอื่นมาแตะแทน ถ้วยก็ไม่เดิน หรือถ้าช่วยกันเข็นจริง ๆ ก็คงจะเดิน

แต่เดินไม่เป็นเรื่องอ่านไม่ออก ถ้าคุณ จ. แตะถ้วยแล้ว พูดง่าย ๆ ว่า ถ้วยจะ "วิ่งปรู๊ด" ทีเดียว เมื่อพูดว่า "วิ่ง" แล้วขอให้เข้าใจว่า วิ่งจริง ๆ ไม่ใช่ค่อยๆ เดินช้าๆ คนอ่าน จะต้องอ่านเก่งจริง ๆ จึง จะดูได้ทัน ความเร็วในการเดินของถ้วยนั้น เปรียบเทียบได้ว่า เร็วจนจดลงสมุดเกือบไม่ทัน บางคราวคนอ่านก็อ่านไม่ทัน ต้องขอซ้ำใหม่

ส่วนคุณ จ. คนสำคัญนั้น บางทีก็ไม่ได้มองกระดาน มือแตะอยู่ที่ถ้วย แต่ตัวหันไปคุย โต้ตอบกับคนอื่นก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทฤษฎีที่ว่า ถ้วยเดินไป เพราะแรงคนดันก็ใช้ไม่ได้เอาเลยทีเดียว ถ้าใครไม่เชื่อ ก็ควรจะทดลอง พิสูจน์ดูด้วยตนเอง คือ หาคนไม่เชื่อมาสัก 3 คน ทำกระดานเข้าแล้วก็ทดลองไถถ้วยดู

สมมติว่าให้สอนเรื่อง "ศีล 8 มีอานิสงส์อย่างไร" ก็แล้วกัน ดูซิว่าสามคนจะช่วยกันดันถ้วย ให้ออกมาเป็นคำสอน สักหน้ากระดานหนึ่งได้หรือไม่ การพิสูจน์นี้ทำได้ง่าย ๆ วิสัยนักวิทยาศาสตร์หากไม่เชื่อ ก็ควรจะทดลองดู ไม่ใช่สันนิษฐานเอาเฉย ๆ

ต่อมา ก็มีวงทรงกระดานอีกวงหนึ่ง เรียกว่า "คณะพรสวรรค์" ลักษณะการเดินกระดาน ก็เหมือนวงหลวงปู่ภู แต่วงนี้อยู่ใกล้บ้านมาก คุณอ๋อยก็เลยห่างเหินวงหลวงปู่ภูไป จะว่าไป คุณอ๋อยก็ไม่มีเรื่องเดือดร้อนใจอะไร ที่จะไปกวนท่านอยู่แล้ว อีกอย่างหนึ่งด้วย

สำหรับวง "พรสวรรค์" นี้ มักจะมีแต่เรื่องเทศน์ เกี่ยวกับธรรมะ ในบางเรื่องการเทศน์ก็ลึกซึ้ง และไม่เคย เห็นมีใครเทศน์ที่ไหนมาก่อนเลย เช่น พรหมวิหาร 4 ตามตำรา ก็มีเพียง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แต่ท่านมา ซอยละเอียดลงไป ถึง เมตตาในเมตตา เมตตาในกรุณา เมตตาในมุทิตา เมตตาในอุเบกขา กรุณา ใน เมตตา กรุณาใน กรุณา ฯลฯ อย่างนี้ไม่เคยพบ

คนสำคัญของการเดินกระดาน ชื่อ ม. ก็เป็นหนุ่มเด็ก ๆ ธรรมะไม่แตกฉานอะไรเลย จะว่าแกไถถ้วย ก็ไม่เป็นเหตุผลที่ถูก เพราะการเทศน์อย่างนี้ อย่าว่าแต่ไถถ้วยเลย แม้พูดปากเปล่า ก็พูดไม่ได้เสียแล้ว หรือเอาแค่ให้คนอื่นพูดให้ฟัง แล้วให้เราว่าตาม (หรือ อธิบายใจความ) ก็ยังทำไม่ได้ ท่านผู้มาสงเคราะห์ ส่วนมากจะเป็นพระ บางทีท่านก็เทศน์ บางทีก็ตั้งคำถามให้ตอบ บางทีก็เอ็ดเอา และบางทีท่านก็มีอารมณ์ขัน

เนื่องจากคุณอ๋อยกับพวก ขยันทำบุญ ขยันฟังธรรม แทนที่จะเรียก ชื่อจริง บางทีท่านก็เรียก คนนั้น คนนี้ เป็นบุญ นั่นบุญนี่ เช่น เรียกคุณอ๋อยว่า "แม่บุญช่วย" เป็นต้น คณะพรรคที่มาร่วมในวงนี้ ต่างได้รับความพออกพอใจกันเป็นส่วนมาก ใครมีข้อพิศวงสงสัย ปลีกย่อยอะไร ที่เห็นว่าหากนำไปถามหลวงพ่อ คงจะโดนเอ็ด เพราะเป็นปัญหาไม่เป็นเรื่อง หรือไม่ก็เป็นการเสียเวลาคนอื่นเขา อย่างนี้ก็ตีกลองปุโหละมาถามกันที่วงพรสวรรค์นี้

บางทีใครมีเคราะห์อะไร ท่านก็มาเตือนมาเร่ง โดยไม่บอกว่าอะไรเป็นอะไร อย่างราย "คุณอ๋อย" ท่านก็มาเตือนหลายครั้งว่า ปฏิบัติธรรมได้ช้ากว่าคนอื่นมาก ให้ละวางการปฏิบัติลงเสียบ้าง ให้เด็ก ๆ เขาทำไปบ้าง เตือนมาได้เกือบปี คุณอ๋อยก็ถึงแก่กรรมดังนี้ เป็นต้น เห็นได้ว่าท่านรู้แล้วว่า จะอยู่ได้ไม่นาน จึงควรต้องเร่งมือในการปฏิบัติ

คุณอ๋อยจากไปเสียคนหนึ่ง พรรคพวกในวงพรสวรรค์ชักจะเหงา เช่นอย่าง "คุณบุญพริ้ง" เป็นต้น หรืออีกท่านหนึ่งไม่ลงนามมา เลยตั้งชื่อให้เสียเองว่า "คุณบุญเพ็ญ" ทั้งสองนี้เขียนมาเป็นพิเศษ ในทำนองไว้อาลัย แต่รู้สึกว่าท่วงทำนองออกจะแปลกออกไปจากธรรมดา.

ในเรื่องนี้ คุณเดือนฉาย คอมันตร์ ประธานมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร ได้แสดงความเห็นเอาไว้ในหนังสือ "ลูกศิษย์บันทึก เล่มที่ 1" ว่า...

"..ในเวลาต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวน้าเสริมก็ได้ไปร่วม “ทรงกระดาน” อีกวาระหนึ่ง เรียกว่า "คณะพรสวรรค์" ซึ่งท่านผู้มาโปรดสงเคราะห์นั้นส่วนมากเป็นพระ และมักจะมีแต่เทศน์เกี่ยวกับธรรมะ (หนังสือพรสวรรค์) พระเดชพระคุณเจ้าหลวงพ่อท่านมีเมตตาสูง แม้ว่าศิษย์บางคนไปหาหลายอาจารย์ เมื่อไปมาแล้วก็นำมาเล่าให้หลวงพ่อฟัง รวมทั้งเรื่องที่ "ทรงกระดาน" ด้วยท่านก็บอกว่าดีๆ ท่านเตือนเสมอว่า ศิษย์พระพุทธเจ้าเหมือนกันทั้งนั้น อย่าอวดว่าอาจารย์นั้นเก่งกว่าอาจารย์โน้น ไม่มีอาจารย์คนไหน จะสอนเก่งกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าได้.."

เป็นอันว่าถึงอย่างไรก็ตาม หากท่านผู้อ่านจะสงสัยหรือไม่แน่ใจในเรื่องนี้ กรุณาอย่านำมาโต้แย้งให้เกิดปัญหากัน เพราะ "ปัญหา" ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ "เนื้อหา" ซึ่งเป็นธรรมโอวาทที่ลึกซึ้งกินใจ เกินความรู้ของคนธรรมดาสามัญชนทั่วไป บางคำก็ลุ่มลึกแฝงไปด้วยคติเตือนใจ จึงคิดว่าน่าจะอ่านช้าๆ ให้ได้ใจความ แล้วพยายามคิดให้เข้าใจในความหมายนั้นๆ จะทำให้เกิดประเทืองปัญญาไปด้วยนะครับ

ฉะนั้น การที่ทีมงานได้นำเสนอเรื่องนี้ อาจจะสุ่มเสี่ยงพอสมควร จำต้องขออภัยทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง คือไม่อยากให้ใคร copy นำออกไปโพสต์ที่อื่น จะเป็นข้อความทั้งหมดหรือตัดทอนออกไปเป็นบางส่วน เพราะอาจจะเป็นที่ครหานินทาของผู้อื่นที่ยังไม่เข้าใจ แต่ความจริงผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นประจำ ส่วนใหญ่มีความเข้าใจนโยบายของ "เว็บวัดท่าซุง" ดีแล้ว

แต่ที่ไม่ค่อยจะทำความเข้าใจ คงจะเป็น "ทีมงานบางเว็บ" ด้วยกันนี่แหละ ที่มีมุมมองว่าทาง "เว็บวัดท่าซุง" หวงข้อมูล ทั้งๆ ที่นำข้อมูลไปเกือบหมดสิ้น ก่อนที่เว็บวัดท่าซุงจะเปิดเป็นทางการ แล้วอ้างว่าเป็น "ธรรมทาน" โดยที่ทางวัดหรือคณะสงฆ์มิได้อนุญาตไว้เลย เมื่อทีมงานขออนุญาตเปิด "เว็บวัดท่าซุง" ขึ้นมา แล้วนำข้อมูลของวัดมาแจกจ่ายกันอย่างนี้ ทางทีมงานก็ต้องถูกตำหนิจากทางวัดอย่างแน่นอนเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ทางทีมงานจึงมีความจำเป็นต้องปกป้องและรักษา "ฐานข้อมูล" ของวัดเอาไว้ เพื่อมิให้เป็นช่องทางของพวกมิจฉาชีพ อาศัยความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อฯ แล้วทำธุรกิจแอบแฝงเอาผลประโยชน์เป็นของส่วนตัวและพวกพ้วง ทางเว็บจึงอาศัยข้อบังคับกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ 2537 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2550 หากผู้ใดล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ จะต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี "ทางอาญา" ทันที

คณะทีมงาน "เว็บวัดท่าซุง"


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/7/09 at 10:18 [ QUOTE ]



หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม


พรสวรรค์

(รวมเล่ม1-2-3 )

คำแถลง

1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ

คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น

2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ

3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ

4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง

คณะพรสวรรค์




สารบัญ

01.
องค์นำ
02. ท่านทรงปราบมาร
03. สมเด็จองค์ปฐม
04. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ที่ 2
05.
สมเด็จพระพุทธทีปังกร
06. สมเด็จพระพุทธเจ้าปทุมมุตตระ
07. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ที่ 5 ของกัปที่แล้ว
08. สมเด็จองค์ทรงแพทย์
09. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์หนึ่ง
10. สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุกสันโท เทศน์เมื่อ 25 มิถุนายน 2518
11. เทศน์เมื่อ 28 มิถุนายน 2518
12. เทศน์เมื่อ 12 ตุลาคม 2518
13. ประทับทรง เมื่อ 25 ธันวาคม 2518 (ให้พรปีใหม่)
14. เทศน์สอนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2515
15. เทศน์สอนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2520
16. เทศน์สอนเมื่อ 25 มกราคม 2521
17. คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธกัสสป
18. คำเทศน์ร่วมกับหลวงปู่ใย
19. เทศน์โปรดเป็นรายบุคคล
20. สมเด็จพระพุทธสิขี




องค์นำ


ในการ "ทรงกระดาน" ถึงแม้ว่าบางครั้งเราออกจะรู้ๆ ว่า พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งหรือท่านผู้สูงยิ่งด้วยความดีกำลังจะมาเทศน์ แต่เราก็มักจะไม่แน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็เลยแสดงอาการแบบชาวบ้านที่ไม่สำรวมกันอยู่บ่อยๆ คราวหนึ่งจึงมีองค์นำหน้าหรือองค์ล่วงหน้ามาก่อน คล้ายๆ จะมาตรวจดูความพรักพร้อมและความเรียบร้อย (บางทีท่านก็บอกให้จัดดอกไม้และขันน้ำหรืออื่นๆ) คราวนั้นท่านเตือนว่า

“ขอให้สงบเสงี่ยมเจียมกาย วาจา ใจ ที่ท่านทั้งหลายได้ประพฤติชอบแล้วในพระธรรม อย่างน้อยก็ให้นึกถึงพระพุทธรูปข้างหน้า หวังว่าท่านจะทูลในสิ่งที่เป็นสาระแห่งการถาม”

30 เมษายน 2523

การปฏิบัติของพวกเธอนั้น ขอให้มุ่งในเรื่องของการอย่ายึด (ถือ) ยึดในสมมุติ พวกฝึกนี้จะต้องตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพยายามให้ใจนิ่ง นิ่งเฉยมากที่สุด ความกลัวยังเป็นอุปสรรคของเธอมากนะ กลัวพลาด กลัวห่วง กลัวธรรมะ รู้จักไหม..กลัวธรรมะ ?

กลัวว่า..แก่แล้วจะพรากจาก (กัน) กลัวว่า..เจ็บไข้แล้วจะทรมาน กลัว..ความตายที่ยังมาไม่ถึง จงอยู่กับปัจจุบัน ปล่อยให้ชีวิตทำหน้าที่ มีหน้าที่ของมันไป อย่ายึดใน "สมมุติสมบัติ"...."สมมุติรูป"

จงตั้งใจขจัดห่วง..หวง..หลง ออกไปจากใจ (เมื่อ) ห่วง..เกิดขึ้นจงพิจารณาว่า ห่วงแล้วจะยึดได้ไหม จะถือได้ไหม หวง..แล้วจะรักษาได้ตลอดไปไหม หลง..แล้วจะมีสติครองอยู่รึ ฯลฯ เหล่านี้เป็นทางนำพวกเธอทั้งหลายให้ไม่รู้จักครองกำลังใจให้สมบูรณ์

◘ ความโกรธ ทำให้คนโง่ จริงไหม ?
◘ ความหลง ทำให้คนเป็นคนปัญญาไม่ปกติ จริงไหม ?
◘ เพราะคำสอนเหล่านี้ฟังง่าย เข้าใจง่าย สำคัญที่การปฏิบัติ จะถามอะไรไหม ?
ไปล่ะนะ..ลา..!

5 พฤษภาคม 2527

เวลาเชิญ ควรมีคารวะกันบ้าง ตาก็เห็น (นี่) ว่าองค์ไหนเสด็จ อย่าลืมว่าปฏิบัติธรรม (นั้น) การใด ควรหรือไม่ รู้ดี (อยู่แล้ว) พระรัตนตรัยเป็นบุญแรง ควรสงบด้วยกาย ควรสงบด้วยวาจา แล้วจะทำให้จิตบริสุทธิ์ มีสมาธิแรงกล้า การปฏิบัติธรรมนั้น อย่าดูที่วาจาอย่างเดียว จงตั้งมั่นที่ใจ ความดีควรมีที่กิริยา

26 มกราคม 2528

ถาม..(ปรารภว่าจิตตก)
ตอบ..อย่าลังเล การปฏิบัติเพื่อธรรมนั้น ต้องมีจิตที่เข้ม มีกำลังใจที่เต็ม เป็นบารมี

ถาม..(อยากไปเร็วๆ)
ตอบ..เธอดีแล้วรึ ถ้ายังไม่ดี ไปก็ไม่ถึงที่สุด คนเราถ้าจิตใจยังไม่แน่วแน่ในการปฏิบัติ จะให้บุญเป็นกำลังไหวรึ ? ถ้ามัวลังเลโยกโย้ก็ทำไปเถอะ พวกอาตมาเคยให้กำลังใจไว้มาก เห็น (เอา) แต่เห่อเหิมทะเยอทะยาน อยากจะเป็นโน่นเป็นนี่ไม่รู้จบ หาฟังธรรมะที่ตนนั้นเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่

ถาม..(ต้องถือศีล 7 เพราะเป็นโรคกระเพาะ ไปกินข้าวเย็นเข้า จิตเลยตก)
ตอบ..สำคัญที่ใจ แต่ละคนไม่เหมือนกันโดยจริต โดยธาตุ

ถาม..(เห็นคนอื่นเขาป่วย แต่เขาก็ไม่กินข้าวเย็น)
ตอบ..ใคร่ครวญอย่างมีเหตุ หาเหตุเพื่อตน อาตมาเห็นเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายนั้นมีจิตใฝ่สูงสุดเป็นนิมิตที่ดีแล้ว แต่ควรมองตรวจจิตของตนดูว่าเรานั้นเป็นจริงอย่างไร เรานั้นประพฤติดี ประพฤติชอบ เราควรดูว่าสิ่งที่จะสงบใจนั้นตรงไหน...
• อยู่ที่การนินทารึ ?
• อยู่ที่การวุ่นวานเพื่อชาวบ้านรึ ?
• อยู่ที่จิตละโมบโลภมากรึ ?
คิดแล้วไตร่ตรอง ดูที่ตัวของเรา

21 ธันวาคม 2525

คนที่ 1..(บอกว่าห่างพระ)
ตอบ..จะใกล้พระหรือไกลพระก็สามารถปฏิบัติได้ บางคนอยู่ใกล้พระมากไปยังลงนรกเลย สอนกันมาหลายปีเต็มทีแล้ว พระท่านเทศน์สอนไม่บ่อย ช่วง 3-4 ปีที่แล้วนั้นท่านสอนมาก (เคี่ยวมากเพราะมีคนจะเข้าถึง)

(ถาม – ทำสมาธิเห็น ....?)
ตอบ..เอ็งน่ะ ไปติดรู้ติดเห็นแล้วเมื่อไหร่จะปลง เมื่อคนเรามีตาธรรมดา เราควรมองดูตัวของเรากับสิ่งรอบข้าง ไม่ใช่ไปดูตัวของคนอื่นๆ เช่นกัน เมื่อเรามีตาทิพย์ เราก็ควรรู้ควรดูแต่ตัวของเรา ถ้าไปรู้ไปเห็นในเรื่องรอบข้าง (ก็) ไม่มีวันจบสิ้น เราควรมีตาธรรมะ

☼ ฉันจะสอนให้เข้าใจทุกคนนะ บัวน่ะมี 4 เหล่า ทุกคนย่อมรู้ดี คำสอนธรรมะมีมากมาย จงนำธรรมะและสิ่งที่ได้รับการสอนมานี้ให้เป็นคุณ ไม่ใช่ฟังแล้วชื่นใจ การทุกอย่างนั้นย่อมมีข้อสงสัย แต่ตั้ง (ความ) สงสัยให้ถูกจุด ไม่งั้นจะเป็น "บัวในตม"..!!!


((( โปรดติดตามตอน..คำเทศน์ของ “ท่านทรงปราบมาร” )))

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 30/7/09 at 05:58 [ QUOTE ]



(Update 30/07/52)

คำเทศน์ของ “ท่านทรงปราบมาร”

(ท่านองค์นี้ทรงเป็นผู้สนับสนุนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
และท่านจะรอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย)


5 เมษายน 2517

◘ เราฟังธรรม ไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อคนเทศน์ ฟังให้มันรู้เรื่องเป็นใช้ได้
◘ เราทำอะไรคิดว่าวิเศษแล้วหรือ ? อย่าโอหัง เราทำดีไปเถิด ทำอะไรก็ควรมีคารวะ มีใจนอบน้อม ใฝ่ดี
◘ ทุกคนทำอะไรอย่าอวดดีว่ามีเทพองค์โน้นองค์นี้มาเอาอกเอาใจมาเล่นมาชม
◘ เราทำแต่สิ่งที่ถูกที่ควรก็แล้วกัน ถ้ารักจะดีแล้ว ฟังก็ฟังให้ตลอด รู้ซึ้ง นำไปทำได้

3 พฤศจิกายน 2517

ศีล...ทำให้คนดี
♦ สมาธิ...ทำให้คนเฉย
♦ ทุกข์...ทำให้คนมีปัญญา
☺ ระวังนะ...รู้มากไปจะไปวนอยู่ในอ่าง


• หลักมันง่าย ดังที่ท่านได้ให้ไว้ แจกแจงออกไปซิ ไม่งั้นก็ไม่ต้องเน้นว่าต้อง “ให้แตกฉาน”
• หลักน่ะมีมากด้วยกัน อยู่ที่ความมั่นคง (ของแต่ละคน) ว่าจะจับหลักไหน ถ้าจับหลายหลัก แล้วจะดีได้หมดทุกหลักหรือ จับเสียหลักเดียวแล้วยึดให้มั่นว่า เราจะปฏิบัติตามหลักนั้น จะสลักเสลาให้วิจิตรบรรจงงามดีเลิศได้เพียงใดก็สุดแต่กำลังของตน

พวกศึกษาพระธรรมที่มาจากมหาเถรสมาคมก็ดี พุทธศึกษา หรืออื่นๆ ก็ดี เขามักจะสอนอบรมวินัยคน ธรรมะของโลกเสียมากกว่าจะสอนให้คนหนีโลก เธอเป็นคนอ่อนไหว ฟังธรรมแล้วก็คอยสะดุ้งตัวเองบ่อยๆ แล้วก็กลัวผิด พอกลัวมากๆ ก็ท้อไม่แน่ใจว่าตัวเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาหรือเปล่า ทำอย่างสบายๆ ซิ

เราฝึกใจไม่ใช่อบรมใจ การขึ้นบันไดถ้ายังไม่แน่ใจว่าเราขึ้นบันไดผิดหรือเปล่า เราก็ก้าวขึ้นอย่างสบายๆ ใจเย็น มันก็ไม่หมดแรงและไม่หกล้ม ถ้ารีบก้าว คือเร่งรัดตัวเองมากไปก็เหนื่อย สะดุดได้ง่าย

25 ธันวาคม 2517

สาธุ..สาธุ..ที่ดีแล้วก็ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ถ้ายังไม่ดีก็ทำให้ดี
พรให้ตายช้าๆ อย่าเอาเลยนะ ฉันไม่ค่อยชอบ ฉันชอบตายเร็วๆ ให้รู้แล้วรู้รอดไป แล้วพรเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่างมันนะ เป็นไปตามสังขารและขันธ์ จะทำให้สบายได้อย่างไร เอาพระที่ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่ตาย ไม่เกิดดีกว่า ถาวรดี

ฉันว่า ถ้าให้พระอย่างทั่วๆ ไป อายุ วรรณะ สุขะ พละ แล้วรู้สึกว่าเป็นการแช่งให้คนทรมานในโลกมากไป สู้ตายให้พ้นๆ ไอ้เรื่องเวรกรรมดีกว่านะ ปู่ว่าคงถูก

16 สิงหาคม 2517

เป็นสุขๆ เถิดลูกเอ๊ย..! การประพฤติปฏิบัติจะถูก จะตรง จะชอบ เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ถอยหน้าถอยหลัง เทวดา พรหม มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานทรงรู้ทุกอย่าง

การปฏิบัติธรรมะ อย่างให้ห่วงกายกับใจ ถ้าห่วงจะเลี้ยงกลับยาก พิจารณากาย ตรอง แยกแยะให้ละเอียด พิจารณาว่ากายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีในเรา ให้แจ่มชัด ถ้าไม่ชัดก็ต้องให้กระจ่าง ถ้ากระจ่างครั้งหนึ่งแล้วก็จะแจ่มตลอด

ว่างเมื่อใดอย่าให้จิตตกในอารมณ์โลก ให้ระลึกว่าความตายมีอยู่ทุกขณะ ย่างก้าวเมื่อใดมีความตายทุกขณะ เพื่อกันความประมาทพลั้งเผลอ อย่าคิดว่าปะเดี๋ยวเถอะ ค่อยคิดตอนเย็นเถอะ พรุ่งนี้เถอะ ไม่ควร ถ้ารู้อย่างนี้ถูก ใช่ ทรงอยู่ตลอดเวลาก็ค่อยวางได้ ทำทางโลกได้บ้าง

(แก้ตัวว่า...ต้องรับใช้พระเรื่อย ไม่มีเวลาว่าง)

ไม่รับฟังๆ อ้างไม่ได้ ย่อมมีเวลาว่างทำได้เสมอทุกอิริยาบถ เตือนตนซิ ไม่ต้องให้ผู้อื่นเตือน คิดหักใจ เราต้องมีที่พึ่งให้แท้จริง ตราบใดที่จิตยังไม่ผ่อนคลายเห็นโลกว่าเป็นธรรมดา ตราบนั้นยังเรียกว่าหาที่พึ่งไม่ได้

เรื่องนี้ต้องรู้เองแจ่มแจ้งเอง หาไม่ก็สักแต่ว่ารู้ ถ้ามีเรื่องมากระทบก็จะไม่รู้เท่าทันมัน ทำให้กระจ่างจึงจะเป็นที่พึ่งที่พอใจได้ ถ้ามัวเกาะของภายนอกแล้ว เมื่อไหร่ล่ะจะได้ที่พึ่ง

(ปรารภว่า...บางทีจิตก็เบื่อ รู้สึกเศร้า)

นี่แหละ ใช้ปัญญาหาผลซิ ต้นเหตุมันมีแต่ไม่กล้าเข้าไปขุดไปค้น ตัดใจเสียซิ ไม่มีใครเกิดมาแล้วไม่ทุกข์ พ่อ แม่ ลูก เมีย วันหนึ่งก็จะต้องจากกัน เพื่อความไม่ประมาท ต้องคิดไว้เสมอ

ความเกิดเป็นทุกข์ ก่อนตายให้คิดดูว่าที่ว่าทุกข์ๆ น่ะ มันทุกข์ที่ไหน ทำไมจึงทุกข์ เพราะอะไร คิดจนรู้เหตุใหญ่ แล้วทำมากๆ เข้าจนมีกำลังกล้า จิตจะหวั่นไหวน้อยลงๆ จนในที่สุดไม่หวั่นไหวเลย

พิจารณานะ ทำให้ดีนะ ในโลกนี้จะหาสุขเท่าเทียมได้ไม่มีหรอก ไม่เชื่อไปทำดูเถอะ ปู่ไปล่ะนะ ว่างๆ จะย่องมาดูใหม่..!!!

26 กรกฎาคม 2515

“บารมี” ก็ต้องคู่กับคำว่า “สละ” ต้องสละ..ถึงจะมีบารมี
จะสละอะไรได้บ้าง ? สละของคน มี..

1. สละกาย คือ แรงงาน
2. สละใจ ให้มันผ่องใส ไม่ขุ่นมัวในกิเลส ตัณหา อุปทาน
3. สละวาจา พูดแต่ในสิ่งที่เป็นมงคล พูดแต่สิ่งที่กำให้เกิดความสามัคคี เกิดความรักในความดี
4. สละ ด้วยทุนที่เสียมา คือ สละนอกตัวเรา เราเสียน้ำแรง เสียเงินหามาได้มา แต่สิ่งนั้นจะก่อประโยชน์ไพศาลได้ก็จงสละ


นี่พูดถึง “สละ” อย่างรวมๆ บารมีก็เหมือนเงินฝากนั่นแหละ พื้นฐานของคนเรานั้น มีโครงสร้างไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างมีโครงสร้างที่ตนประกอบขึ้นมาเองทั้งสิ้น โครงที่ประกอบกันขึ้นมานั้นก็อยู่ที่การประสมธาตุทั้ง 4 ให้พอดีกัน อาจจะได้เป็นโครงสร้างที่ดี หรือ ไม่ดีก็ได้

เมื่อประกอบกันขึ้นมาแล้ว ส่วนประกอบอื่นของโครงสร้างนั้นก็ต้องตามมา เช่น 8 อย่างของโลกธรรม โลกธรรมแบ่งออกเป็นส่วนดีกับส่วนไม่ดี ส่วนดีมี 4 ส่วนเสียมี 4 แต่แก้ได้ด้วย 4 เหมือนกัน คือ “พรหมวิหาร” เมื่อแก้ได้ 4 ก็ทำให้ไม่เกิดขึ้นกับตนเสียเลยได้ด้วย 4 เหมือนกัน คือ อริยสัจ 4

สอนเป็นรายบุคคล

อารมณ์คนนั้นมีทั้งร้อนและเย็น เราทำหน้าที่ให้เกิดความเย็นและดับความร้อน ฉะนั้น ตัวเราต้องรักษาให้เย็นเสมอ จึงจะแก้ได้

ทางของแต่ละคนเป็นทางส่วนตัว ฉะนั้น เราจะต้องดูแลรักษาทางอันนั้นให้สะอาด เดินง่าย เรียบร้อย เราอย่าเป็นคนทำทางของเราให้เป็นอุปสรรคกับตัวของเราเองได้ เวลาจะก้าวไปบนทางของเรา เราควรพกความรอบคอบ ระวังระไวและความเชื่อมั่นไว้ในตัวเสมอ

โอกาสและเวลาของแต่ละคนนั้น มีคุณค่าทางโลกและทางธรรมอยู่มากนัก ฉะนั้น ควรหาโอกาสและเวลาของเธอให้เป็นบุญ เป็นประโยชน์มากที่สุด

อุดมคติ ทุกคนก็หาไว้ใส่สมองของตนเอง ที่ว่าหาไว้ใส่สมองไม่ใช่ใส่ตัวนั้น เพราะมีน้อยรายที่จะเอาอุดมคติไปปฏิบัติกัน อุดมคติ คือ ความปรารถนาในสิ่งที่งดงาม เธอมีอุดมคติอะไร ก็พึงทำแต่สิ่งที่อยู่ในอุดมคติเท่านั้น อย่าออกนอกอุดมคติ เธอมีชาติ ศาสนา พระประมุข อยู่ 3 สิ่ง ก็อย่าให้เลยเถิดออกจาก 3 สิ่ง สัตว์ทะเลาะกันเป็นเรื่องของสัตว์ เราเป็นคนก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสีย

จริงอยู่ที่ว่าโลกเรานี้หาความยุติธรรมไม่ได้ในสิ่งที่มองเห็น แต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติหรือธรรมะนั้นเป็นของยุติธรรมแน่นอน เราก่อชีวิตขึ้นมาก็เป็นของธรรมชาติที่เราจะต้องหาทางให้ชีวิตนั้นสดใส ฉะนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจเพื่อให้ชิตนั้นๆ อยู่ด้วยกันได้โดยสามัคคีธรรม

จุดประสงค์ของแต่ละคน อาจพินาศลงได้ด้วยอารมณ์ของตนเอง คือ อารมณ์ที่พอใจ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด รัก ชอบ หลง

ความสำเร็จในการที่จะชนะตัวเองไม่ได้อยู่ที่ความพอใจในความสำเร็จของบุคคลอื่นๆ
การที่เราจะก้าวไปข้างหน้าได้นั้น เราต้องรู้จักเดิน เมื่อไรที่เราเริ่มเดิน เมื่อนั้นสิ่งที่เราหมายก็จะมาใกล้ตัวยิ่งขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรเราหยุดนิ่งพัก ก็อาจไม่เสียงานมากนัก

เมื่อไรเรานั่ง เมื่อนั่นหมายความว่าเราไม่สู้ ถ้าเราหยุดนอนก็หมายถึงว่าเราแพ้ เพราะฉะนั้น จงก้าวและก้าวไปอย่างไม่หยุด แล้วเราจะชนะ

บางครั้ง ความซื่อสัตย์ก็ต้องการเหตุผล บางครั้งความไม่เชื่อก็ต้องการเหตุผล และบางครั้งความเชื่อก็ยังไม่ต้องการทิฐิ

ประทัด แม้เวลาระเบิดมันจะทำเสียดังครั้งเดียวหรือเดี๋ยวเดียวก็ตาม แต่มันยังนำความเสื่อมของใจให้เกิดขึ้น ฉะนั้น เราควรเก็บประทัดนั้นไปทิ้งเสียให้ไกลตัวเรา อารมณ์ก็เปรียบเช่นประทัดนั้น

ความยินดี ไม่ได้ทำให้คนประสบความสำเร็จ แต่การบำเพ็ญเพียรทำให้คนจำนวนมากสำเร็จ จงพยายามและหาช่องทางสำหรับตัวเราเสียก่อนที่จะไม่มีเวลา

"ศรัทธา" เป็นเรื่องของความเสียสละ แต่เรื่องอันไม่ใช่ศรัทธากลับเป็นเรื่องขู่เรา ต้องการให้เกิดในตัวเรา เช่น เราให้เงินแก่คนอื่นแล้วอยากให้คนอื่นให้แก่ตัวเราบ้าง อันนี้ไม่ใช่คำว่า ศรัทธา
สุดท้ายแห่งพระธรรมเทศนา อาตมาขอตั้งจิตให้ทุกผู้ทุกนาม จงสำเร็จสมประสงค์ในความวิริยะอุตสาหะในชีวิตนี้และชีวิตหน้า

5 มกราคม 2520

เวลาได้ผ่านไปครบปีอีกวาระหนึ่งแล้ว เธอทั้งหลายก็มีสังขารโรยราต่อไปอีกครั้งหนึ่ง จงใช้เวลาและกำลังของสังขารให้เป็นทุนต่อธรรมประจำตนให้มากที่สุด แล้วเธอจะได้รับพรที่วิเศษคือ “จงหมดภาระจากทุกสิ่ง”

◘ เวลาที่เป็นทุนนั้น จงใช้สร้างคุณ อย่าสร้างโทษ

◘ บุคคลที่ให้ตรวจจิตวันนี้ ขอพยากรณ์ได้ว่า วาระสุดท้ายของชีวิตได้ไปนิพพาน อย่างน้อยที่สุดไม่ต้องลงมาอีก

◘ จงหมั่นฝึกใจของตนให้เข้าถึงธรรมอันเป็นแก่นสารของพระศาสนาโดยแท้ อย่าละความพยายาม อย่าละความเพียร อย่าโทษว่า “ทำดีไม่ได้ดี” อย่ามีทิฐิต่อกุศล จงมุ่งและมั่น ปฏิบัติธรรมตามกุศลชองความดีให้เป็นนิจ โดยไม่หวังหรือโลภในการทำบุญ ทำอย่างนั้นแล้วจะได้สบายทั้งกายและใจ...!

((( โปรดติดตามคำเทศน์ของ "สมเด็จองค์ปฐม" )))

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/8/09 at 09:25 [ QUOTE ]



(Update 07/08/52)

คำเทศน์ของ “สมเด็จองค์ปฐม”


คำอธิบาย : "สมเด็จองค์ปฐม" หมายถึง พระพุทธเจ้าองค์แรก ท่านเสด็จมาโปรดเนื่องด้วยความสัมพันธ์กันกาลก่อน ผู้ที่มีทิฐิว่า..พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏอีก เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะต้องนึกดูถูกว่า มาพบพวกงมงาย หรือโง่งม หรือนอกศาสนาเข้าอีกแล้ว

ความจริงเรื่อง "นิพพานสูญหรือไม่สูญ" เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาทางศาสนาแย้งกันอยู่ ฝ่ายนิพพานสูญอ้างพระบาลีว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ฝ่ายนี้ไม่ยอมแตะพระบาลีที่ว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง ซึ่งทำให้คิดว่า ถ้าสูญแล้วจะมีความสุขได้อย่างไร ใครเป็นคนมีความสุข ที่ว่า "สุญญัง" นั้น หมายถึง กิเลสสูญต่างหาก

ขออ้างหลักฐานในพระไตรปิฎก (ฉบับหลวง)

ถ้าเราค้นดูใน "พระไตรปิฎก" จะพบร่องรอยอยู่หลายแห่งที่เกี่ยวกับพระนิพพาน..

 เล่ม 1 หน้า 3 “เรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ”

 เล่ม 5 หน้า 85 “ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ความพร่องหรือเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ”

 เล่ม 5 หน้า 373 “ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้

เล่ม 10 หน้า 96 “ภิกษุนามว่าสาฬหะ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ (ทรงตอบคำถามพระอานนท์ที่ทูลถามว่า ภิกษุชื่ออสาฬหะมรณภาพแล้วไปไหน หากนิพพานสูญ ภิกษุชื่ออสาฬหะคงไม่เข้าถึงอยู่)

 เล่ม 11 หน้า 46 “พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นผู้ ดับแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับ”

 เล่ม 12 หน้า 222 “บุคคลนั้นมีความเห็นว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จับฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง” (ความนี้แสดงว่าถ้าสอนให้ไปนิพพานที่ขาดสูญ อันตรธานไป คนย่อมเศร้าโศก ไม่ตรงกับที่ว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)

 เล่ม 13 หน้า 175 “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ฟังว่าภิกษุชื่อนี้ทำกาละ (ตาย) แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ในอรหัตผล” (ถ้าสูญ ก็น่าจะไม่ “ดำรงอยู่”)

 เล่ม 15 หน้า 2 นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย

 เล่ม 16 หน้า 128 ภพดับ เป็นนิพพาน

 เล่ม 17 หน้า 58 “วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไปจึงดำรงอยู่” (แปลว่าไม่สูญ)

 เล่ม 22 หน้า 367 “คงที่อยู่ในนิพพาน”
 เล่ม 23 หน้า 15 “พิจารณาเห็นความเป็นสุข สำคัญว่าสุข ทั้งรู้ว่าเป็นสุขในนิพพาน”
 เล่ม 23 หน้า 383 “หยั่งลงสู่อมตนิพพานได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่าเสวยผลอยู่”
 เล่ม 25 หน้า 56 “นิพพานอันอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ กิเลสย่อมถึงความสาบสูญไป”
 เล่ม 25 หน้า 72 “ในนิพพานธาตุนั้น ดวงดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี”

 เล่ม 25 หน้า 176 “ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย”

 เล่ม 25 หน้า 256 “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้องอมตะธาตุอันไม่มีอุปธิด้วยนามกาย” (ถ้านิพพานไม่มีอยู่ คงถูกต้องไม่ได้)

ตามหลักฐานที่อ้างมานี้ จึงพอจะฟังได้ว่านิพพานนั้นมีอยู่ แต่ไม่ใช่ภพ อธิบายไม่ถูก สามารถสัมผัสได้ด้วยฌาน ไม่มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ แต่มีรัศมีแจ่มจ้า และส่วนที่ดับสูญไปอย่างยิ่งคือกิเลส ผู้ดำรงอยู่ในนิพพานเสวยความสุขอันเป็นอมตะ เป็นเรื่องที่ต้องรู้เองจึงจะเข้าใจได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่มีพระพุทธองค์มาโปรดเมตตาในการทรงกระดาน จึงน่าจะพอรับได้ว่าอาจเป็นไปได้ เพราะท่านไม่ได้สูญ หรือไม่มีอยู่แล้ว (เราไม่หมายว่ามีตัวตนหรือนามรูป เพราะฉะนั้นควรอัญเชิญพระธรรมเทศนาของสมเด็จองค์ปฐมมาแสดงไว้ดังต่อไปนี้)



2 พฤษภาคม 2517

การที่ให้มีการเชิญถ้วยนั้น ขอให้จับสารประโยชน์ให้ได้จริงๆ ฉันก็ชื่นใจแล้ว เราอยู่ในพุทธศาสนา จับหลักในคำสอน จับในความเป็นจริงก่อน เชื่อก็ให้คิดไตร่ตรองก่อนว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นจริงไหม แล้วจึงเชื่อ จึงปฏิบัติ

ถ้าเธอทั้งหลายมัวดูอภินิหาร ดูฤทธิ์แล้วจึงจะเชื่อ จึงจะจับแต่สิ่งนั้นอย่างเดียว ต่อไปถ้าไปพบคำสอนที่วิเศษแล้วไม่มีอิทธิฤทธิ์ ก็หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีประโยชน์ซิ ใครฟังมาก ก็ได้มาก

(ทรงโปรดเฉพาะตัว)
อสุภกรรมฐานนี้ให้พิจารณาร่างกายที่เราเห็นว่าสวยว่างามนี้ เกิดมาจากอะไร ตายไปเป็นเช่นไร แก่แล้วจะมีเนื้อหนังอย่างไร สวยหรือไม่
โลกนั้นเป็นอย่างไร เราเกิดมาต้องทุกข์ลำบากยากเย็น ต้องประจญกับสิ่งน่าวุ่นวายเพียงไร ความสุขที่แท้คืออะไร น่าเกิดอีกไหม ?

(ถาม – เตโชกสิณ ทำอย่างไร?)
เพ่งไฟนั้น เพ่งจนให้รู้สึกว่าร้อน มีไฟในตัว ขอให้ท้าวจาตุมหาราชช่วยคุ้มกันและขอบารมีของพระพุทธเจ้าทรงคุ้มครอง และทรงนำให้ถูกวิธี
ทุกคนในที่นี้ ถ้าเจริญทางธรรมเช่นนี้ตลอดก็ถึงจุดหมายแน่ ถ้าทำกันเรื่อยสามปีเป็นประมาณ ได้โสดา (โสดาบัน)
บอกให้ไว้ว่าทุกคน (ในที่นี้) ไม่มีอุบัติเหตุ รู้ไว้แต่อย่าเหลิง อนาคตรู้แล้วก็แล้วไป ถ้าทำดี แต่ถ้าทำเลวอาจมีกรรมตัดรอน เรามาทำการทางนี้เพื่อหนีกรรมเวร ไม่ใช่ลบล้าง เราต้องการความสุข ความสงบที่แท้จริงไม่ใช่หรือ ฉันมั่นใจทุกๆ คนว่าเป็นเช่นนั้น
ทุกๆ คนจงทราบไว้ว่า โสดานี่..ยังมีกิเลส ตัณหา ราคะ ยังมีความโกรธอยู่ แต่ไม่อาฆาต มีสติ มีการยับยั้ง รู้คิด ยังอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่ไม่หลง
สำหรับพวกกสิณ ถ้าเห็นหรืออะไรก็ตาม อย่าตกใจ หรือยินดีกับสิ่งนั้น ให้รักษาอารมณ์ให้คงที่

(ปรารภถึงการนุ่งขาวห่มขาว)
นุ่งขาวนั่นเป็นเพียงส่วนประกอบ สำคัญอยู่ที่จิตเราสะอาดเหมือนสีที่นุ่งไหม

6 กันยายน 2518

(หลังจากประทานน้ำตาเทียน)
ตถาคตจะให้ของแทนตถาคต อย่าเห็นว่าเป็นของงมงาย อย่าถือว่าเป็นสิ่งขลังวิเศษอะไร แต่ขอให้ถือว่าเป็นของธรรมดาที่จูงใจ ใฝ่ธรรมะแทนตัวอัตโนเท่านั้น แบ่งกันตามแต่บุคคล ไม่ได้ให้ไว้เคารพบูชา แต่ให้ไว้ระลึกในธรรม วางไว้สำหรับพิจารณาดูว่าเทียนก็คือเทียน
ดูกร เธอจงดูตัวแห่งเธอเองด้วยสติสัมปชัญญะว่าเป็นอยู่แค่ไหน แล้วตรองดูให้แจ้งเห็นกายว่าเป็นฉันใด เรากำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร เจริญๆ

25 พฤศจิกายน 2517

ธรรมใดที่เป็นยอดปรารถนาของพวกเธอทั้งหลาย ขอให้เธอทั้งหลายจงเห็นธรรมนั้น และดำเนินรอยตามธรรมนั้น จนบรรลุจุดประสงค์นั้นโดยสวัสดี

(ตักเตือนเฉพาะบุคคล)
ดูหลายๆ มุม หน้าที่ของมารดาพึงมีโดยการเอื้อความสุขแก่ลูกผัว มีหน้าที่อย่างไรก็ทำไป อย่าเอามาผูกมัดตัวจนว้าวุ่น
ลูกก็ต้องการความรักเหมือนกันกับเธอ ลูกเป็นของมารดา ฉะนั้น มองอะไรอย่าเห็นแต่ประโยชน์ จะให้เขารักเราฝ่ายเดียวไม่ได้ เราต้องให้เขาก่อนจึงจะถูก จริงไหมแม่ๆ ทั้งหลาย ?
เรื่องการไปวัดนี่น่ะ ฉันไม่ชอบให้ทำอะไรแล้วเสียประโยชน์ อย่างทำเหมือนเด็กที่ชอบหนีเรียนไปดูละคร ให้เลิกเรียนเสียก่อนแล้วไปดูก็ได้ ไม่มีใครเขาว่าหรือติฉินได้ว่าละครนั้นๆ ทำให้เด็กเสียคน การไปวัดแล้วเสียประโยชน์ จะทำให้เขาหาว่าวัดนี้มีงานมาก ต้องใช้คนมากทำให้วัดนี้เป็นขี้ปากเขาเปล่าๆ

ธรรมที่เธอกระทำน่ะ เป็นธรรมที่จะเจริญรอยตามองค์ตถาคต จงทำธรรมนั้นให้แจ้งรู้จนเป็นครูได้ เพื่อที่จะสอนมวลสัตว์ทั้งหลายให้ถึงธรรมนั้นๆ จนสิ้นพระนิพพาน และจงทำธรรมนั้นโดยปฏิบัติให้ถ่องแท้ในจิต เพื่อแสงสว่างแห่งมนุษย์ สัตว์ อสูรกาย เปรต และสัตว์นรกทั้งหลายยังรอแสงธรรมจากเธออยู่เป็นโกฏิล้าน ทุกผู้ทุกนามยังอยู่ในวัฏฏสงสาร

อย่าพูดมากไร้สาระ ต้องพูดมากอย่างมีสาระ อย่าไปจับสิ่งที่ไม่เป็นสาระ แล้วนำเอามาเป็นเครื่องวุ่นวายแก่ตัว มีเชือกก็ให้ใช้งาน อย่าเอามาเล่นจนเชือกพันตัว ไอ้ความกลัวโน่นกลัวนี่ อย่าไปกลัวเกินกว่าเหตุ เหตุมีมาจึงค่อยสู่ จำไว้นะ ถ้ามากเรื่องก็มากความ อย่าเอามาห่วง มองข้างหน้าคือสิ่งที่ต้องทำ มองข้างหลังคือสิ่งที่เป็นครู
พวกผู้ใหญ่จงตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่ของเธอให้ดี พวกเด็กก็จงหมั่นเล่าเรียน อย่าขี้เกียจมากจะได้จบมารับใช้สนองคุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณ ชาติ พระศาสนา เวลาน่ะมันไม่คอยท่าใครหรอก

11 มิถุนายน 2518

"พระพุทธ" เอาไว้ที่ใจ
"พระธรรม" เอามาเป็นปัญญา
"พระสงฆ์" เอามาเป็นครู


ระลึกไว้เป็นนิตย์ก็จะดี ใจเราอยากจะตามรอยพระบรมครู จงนำสติมาเป็นสมาธิ เอาธรรมขององค์บรมครูมาเป็นปัญญา หาทางรู้ที่สว่างกระจ่างแจ้ง เห็นจริงในธรรมทั้งปวง เอาพระสงฆ์มาเป็นองค์ขัดใจ ใช้ชี้แจงข้อติดขัด เหมือนกับว่าขัดดวงตาเราที่ยังมืดเสียให้กระจ่าง

ทุกคนมุ่งแต่จะไปพระนิพพานนั้น รู้หรือยังว่าไปทำไม เป็นอย่างไร มีทุกข์สุขแค่ไหน รู้ทางก็รู้อย่างอ่าน ก.กา แต่ไม่แตกฉานโดยการปฏิบัติ เหมือนเด็กที่อยากโตอยากอยู่มหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย คอยแต่ฝัน แต่อยากเท่านั้น

ทำการปฏิบัติและฝึกฝนทดสอบมากๆ ก็จะแตกฉานเอง ถึงไม่เก่งไม่ฉลาดก็ย่อมดีขึ้นด้วยความชำนาญ จะเข้าถึงธรรมะได้ ต้องเข้าใจในทุกข์เสียก่อน มองเห็นทุกข์แล้วจึงจะหนีทุกข์ได้ตามความประสงค์

ทำไปเถอะ..ไม่หนีความสามารถของเราได้ เพราะเราเป็นคนสร้าง “เรา” เมื่อสร้างได้เราก็หนี “เรา” ได้ ถ้าตัวเองไม่พยายามทำใจให้มั่นคงแล้ว จะแนะอะไรกันได เราเป็นผู้รู้ รู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดีสำหรับเรา แต่ทำไมชอบเป็นทาสตัวเองอยู่เสมอ

อันพุทธบริษัทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระสมณโคดมบรมอาจารย์นั้น เธอเป็นผู้ที่ได้พบแสงสว่างจากธรรมของท่าน นับว่าเธอทั้งหลายเป็นผู้มีกิเลสน้อยในบรรดาสัตว์โลกทั้งปวงในยุคกึ่งพุทธกาล นัยว่ามีของที่มีค่ามหาศาล เอนกอนันตการอยู่มากในชีวิตของคนที่จะพึงหา ขอให้ใช้ของนี้ คือใช้แสงแห่งธรรมนี้ให้ถูก ถ้ารู้แล้วขาดการปฏิบัติ ของนั้นก็เสมอด้วยของไร้ค่า

16 กรกฎาคม 2518

(โปรดแต่ละบุคคล)
ยึดก็ยึดให้ถึงแก่น มีได้ก็มีหมด อย่ายึดว่า “ของเรา” เพราะจะทำให้เกิดความรัก ความหวงขึ้น จะทุกข์ใจเมื่อมันจาก ทำอะไรก็ทำให้มันแน่จริง อย่ามีคำว่า “แน่จริง” เก็บไว้เฉยๆ โดยไม่ทำ
ความสงสัย ถ้าเรากำหนดมากเกินไปแล้ว จะทำให้เราแก้ปัญหาด้วยปัญญาของเราลำบาก เพราะความสงสัยบางอย่างเป็นความสงสัยในสิ่งที่เราเรียกว่า "ฌาน" เครื่องรู้ด้วยอารมณ์บริสุทธิ์

ความศรัทธาของคน ย่อมเกิดเฉพาะผู้ที่มั่นในความดีและหมั่นทำความดี ศรัทธาของคนจะยั่งยืนอยู่ได้นาน เพราะมีเหตุผลของเขามั่นคงอยู่ในจิต พึงระลึกถึงแต่ความดี อย่าคิดตามเชื่อตามบุคคลที่ไม่ได้ประสบเช่นตัวเรา สิ่งที่คนอื่นให้นั้นอาจเป็นขนมหรือยาพิษก็ได้

ขึ้นชื่อว่าคนเข้ามาในธรรมแล้ว ถึงแม้ว่ารู้มาก อ่านมาก ศึกษามากก็ตาม แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการปฏิบัติมาก อย่าให้ขึ้นชื่อว่าเข้ามาทางธรรมแล้วไม่ถึงธรรม
ความศรัทธาอีกนั่นแหละ ที่ชักจูงให้ใครเลื่อมใสอะไรโดยคำบอกเล่าเฉยๆ ไม่ได้ ในศาสนาพุทธนั้นถือความจริง ถือเหตุผลเป็นประการสำคัญว่าสิ่งใดเป็นของแท้แน่นอน สิ่งใดหลอกลวง สิ่งใดเป็นสิ่งพิสูจน์ไม่ได้เพียงใด

8 กันยายน 2515

ศีล ทุกคนก็รู้จักกันตั้งแต่เกิด ว่าศีลเป็นกฎของศาสนา แต่ที่จริงคนมีศีลหรือตัวของศีลเองนั้น เป็นสิ่งบังคับให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของศาสนา เมื่อทำถูกกฎ คือบุคคลนั้นมีศีลเป็นจริยาวัตรแล้ว บุคคลนั้นจะเป็นคนไม่ประมาทในการเลวเบื้องต้น

เมื่อบุคคลมี "ศีล" เป็นมรรยาทแล้ว ก็ต้องมี "สมาธิ" หรือภาวนานี้จะทำให้เราเป็นผู้ชนะ ชนะทุกอย่างที่กำเริบเสิบสานต่อเรา ที่เรียกว่าตัวกำเริบก็คือตัวยั่วยุของใจ ทำอารมณ์ของเราให้กวัดแกว่งไปในทางอกุศล

เมื่อมีสมาธิ บุคคลผู้นั้นจะเป็นคนไม่ประมาทในสติ ต่อมาต้องเป็นปัญญา ตัวรู้ รู้นี้ต้องรู้ทั้งดีทั้งชั่ว แล้วแบ่งให้ขาดว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อแบ่งได้แล้วต้องใช้ตัวรู้ (คือปัญญา) นี้มาแก้ไขให้รู้ “อยู่” ของชั่ว รู้ “หลบ” ของชั่ว รู้ “ธรรม” ของดี รู้ในความจริงของโลก ต้องใช้ให้เป็นให้เกิดประโยชน์

เมื่อมีครบทั้ง 3 อย่างแล้ว เราก็ต้องหาทางเอามาใช้ในการขจัดตัว รัก โกรธ หลง
รักเป็นกิเลส เมื่อรู้ว่าสิ่งไหนเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน เราก็จะต้องแจกแจงตัวเราให้เข้าใจ แล้วหาปัญญามาพิจารณา

เธอส่วนใหญ่ติดอยู่ที่ตัวพื้นฐาน พื้นฐานที่เธอทั้งหลายยังหลงมันอยู่ ถ้าเธอทั้งหลายหมดหลงมันก็ขจัดตัว “อยาก” ใช้ไหม ?
หลงว่าสวย ก็อยากที่จะให้สวยตลอด แล้วอย่างอื่นก็ตามมาเป็นทอดๆ ชมว่าสวยก็นึกว่าสวย แล้วอยากว่า “สวย”

ทุกคนในที่นี้ตั้งใจแน่วแน่ที่จะ “สละ” ละนี้ หมายถึงละทิ้งหมดในทางโลก ไม่ขอมาเอาคืนอีก ฉะนั้น ต้องละให้เด็ดขาด ของอะไรที่เป็นสมบัติของโลก เราต้องรู้จักมันให้แจ้ง เช่น ความสุขกาย สุขเพราะอิ่ม เพราะเสพ เพราะถูกกายสบาย นั่นคือสุขของโลก สงบเพราะนอนหลับ สงบเพราะอยู่คนเดียว ต้องทิ้งเพราะเป็นของทางโลก

ตามที่ยกมาพูดนี้จะเห็นว่า เราอยู่ในโลกได้ หรือทำชีวิตประจำวันให้เป็นสุขได้ ก็โดยปลดภาระทางใจออกไป ใช่ไหม ภาระทางใจคือ สุขเพราะอิ่ม สงบเพราะหลับ รักเพราะหลง เหล่านี้มันเพลิงทั้งนั้น

สรุป

"สุข" ตรงกันข้ามกับ "ทุกข์" สุขแล้วต้องมีอยาก มีโลภตามมา เมื่อหลับหรือสงบซึ่งเป็นอาการหยุดพักแล้ว ก็ต้องมีอยากต่อไป ตัวสุดท้ายคือรัก รักตัวนี้แหละเป็นตัวมีลูกมีหลานมากมาย ที่เป็นแม่บทก็มีห่วงและหวง เป็นต้น

"หลง" ตรงกันข้ามกับโกรธ เกลียด หึง อิจฉา เสียใจ ทุกข์ใจ ร้อนใจ เจ็บใจ มีตัวร่วมกันคือ “อยาก” อยากจะให้พอ อยากจะให้สมใจ อยากทุกๆ อย่างว่างั้นเถอะ พอมีครบเข้าแล้วอะไรจะเกิด
• ทุกข์ ร้อน ร้อนจริงๆ นี่แหละเบื้องต้นที่เราทั้งหลายยังวนเวียนอยู่ เนื่องจากความถือเนื้อถือตัว มีเขา มีเรา
• หลงน่ะ เป็นแม่บทของรัก เป็นต้นตอ คิดว่าตนเองดี

คนที่เขาเห็นว่าดี เห็นว่าเราควรแก่การเคารพ เขาทำเพราะเห็นว่าเรายังหลงใน “รัก” อยู่ รักตัวเราห่วงตัวเรา หลงตัวเราว่าทุกๆ อย่างจะต้องเป็นของเรา
โธ่.. “เรา” น่ะ ตัวของเรายังบังคับไม่ได้เลย จะไปเอาอะไรกับของสัปปะรังเคของโลกเล่า
พ่อถึงได้เน้นว่า อยู่ในโลก ทำกิจกรรมของโลก เล่นละครของโลก แต่เราจะไม่ให้เป็นจริงตามที่โลกกำกับ เชื่อซิ ผู้กำกับนั้นต้องเชื่อ และเล่นให้ได้ แต่อย่าให้มันเป็นจริง ให้มันอยู่แค่ตัวสำคัญคือตัว “รู้” อยู่เพียงแค่รู้ เขาด่าเราอย่าไปโกรธเขา เรารู้ นิ่งเสีย ทิ้งเสีย นึกว่ากรรมของสัตว์ หรือถ้าเขาด่าเราด้วยความจริงก็ต้องรับ “รับ” มีหลายอย่าง ไม่ใช่ต้องยิ้มแล้วเอ่ยปากว่า “จริงจ๊ะ” นิ่ง แล้วคิดใช้ปัญญาให้มากๆ แล้วใช้สมาธิข่มจิต ใช้ศีลข่มกิริยา

(เตือนเป็นรายบุคคล)
สมาธิน้อย ปัญญาเลยด้อย ถ้าเราต้องใจจะมีขันติ ก็ต้องสร้างสมาธิและสติให้แข็ง ไปรำคาญ สนใจในผู้อื่นทำไม ทิ้งไป มันจะเป็นบาปเป็นกรรมสำหรับคนอื่น
ความเสียสละ ต้องมีคู่กับความรัก อุปสรรคต้องมีคู่กับงาน ทำงานของโลกต้องประกอบด้วยหลายสิ่ง แต่ทำงานหนีโลกอยู่ด้วยองค์ประกอบ 2 สิ่งคือ บุญ กับ ปฏิบัติ ถ้าเลือกเอาทางโลก เป็นคนก็ต้องทนไป
ความกตัญญูกตเวทีเป็นของประเสริฐ ควรทำทุกลมหายใจที่จะทำได้ เราเองจะตายวันตายพรุ่งไม่อาจหยั่งรู้ได้ ฉะนั้น พึงทำแต่สิ่งที่จะจรรโลงตัวให้สูง
พ่อไปล่ะ พ่อหวังว่าคำสอนของพ่อที่แล้วๆ มา คงจะไม่เสียประโยชน์

15 ธันวาคม 2515

"กุศล" เป็นของสูงสำหรับความดีที่จะบรรเทาความทุกข์ กรรม และเวทนาลง ทุกๆ คนพึงปฏิบัติและปณิธานมุ่งหวังเพื่อพ้นทุกข์กันอย่างสิ้นเชิง แต่ทางที่จะส่งผลหรือนำไปสู่ทางพ้นทุกข์นั้น มีหลายทาง หลายแขนง หลายวิธีการ อันดับมูลฐาน ก็คือการทำความดี คือ

1. ทาน
2. ศีล
3. ปัญญาในวิชชา


ทีนี้..มาเพ่งเล็งในหมวดที่เป็นหัวใจของอริยสัจตามที่ต้องการ "ทุกข์" ทุกคนรู้จักคำนี้ และคงมีความลึกซึ้ง รู้ความหมายที่ยิ่งใหญ่ของคำนี้เป็นอย่างดี ทุกข์ 3 อย่าง คือ

1. ทุกข์กาย ทุกข์กายได้แก่ความแปรปรวนของธาตุ 4 ทุกข์ตอนเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้คือทุกข์กายอย่างหยาบๆ อย่าไปสนใจ
2. ทุกข์วาจา นำวาจาที่ไม่เป็นมงคลมาทุกข์ อย่าไปสนใจ
3. ทุกข์ใจ มองตัวนี้ให้ลึกซึ้ง เขาเป็นตัวบงการให้กายรู้สึกเจ็บรู้สึกปวด ให้วาจารู้สึกรังเกียจ เหล่านี้มีใจเป็นนายสั่งการ ถ้าเราไม่เอาใจไปรู้สึก จะเจ็บปวดไหม ?

เมื่อเรารู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไรแล้ว ดูตัวก่อทุกข์
มารยา อุปาทานเหล่านี้แหละ คือตัวก่อทุกข์ตัวร้าย
อารมณ์ จะบอกเราให้สบาย ไม่สบาย ร้อน เย็น ชอบ ไม่ชอบ อารมณ์จะมีปัญหามาก ปัญหาของอารมณ์นั้นคือทิฐิมานะ ทิฐิมานะนี้จะสร้างความรู้ให้แก่ใจเราว่า “ของฉัน ตัวฉัน” ทำให้เกิดสภาพ “การยึด” ขึ้น
ทำไมฉันถึงจะไม่กล่าวถึงกายกับวาจาก่อน ก็เพราะการพ้นทุกข์อยู่ที่ใจนั่นเอง

กาย คือธรรมชาติ ธรรมดาของคน และธรรมะของพระ แต่ใจนี้สิคือพระก็ได้ พญามารก็ได้
รู้ทุกข์ หรือยัง ? เมื่อรู้ทุกข์ ก็ควรรู้ว่าเหตุของทุกข์คืออะไร
เหตุของทุกข์ การอุบัติในวัฎฎสงสารนี่แหละ คือเหตุตัวแรก กรรมที่ทุกคนมีเป็นเหตุของทุกข์ตัวที่สอง หมายถึงอกุศลกรรม

ดับทุกข์ ดังอย่างไร ? ดับโดย...
• ศีล เป็นข้อบังคับให้คนหยุดอกุศลกรรม
• สมาธิ เป็นตัวบังคับให้ใจไม่หลง คือหลงในอุปาทาน หลงในอารมณ์ หลงในมารยา
• ปัญญา เป็นตัวสอนให้รู้เท่าทันอารมณ์ รู้ในอุปาทาน รู้ในมารยา

คนเราถ้ามีสมาธิจะมีสติความรู้ตัว ขาดสมาธิก็ขาดปัญญา เธอต้องอย่าตีศีล สมาธิ ปัญญา แยกเสร็จเด็ดขาดจากกัน มีศีลถึงจะมีสมาธิ มีสมาธิปัญญาถึงจะเกิด
ทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ เวลาพิจารณาจงมุ่งพิจารณา “เหตุที่เกิด” ในสมองความคิดของเรา แล้วเราจักแก้ไขปัญหาตัวเราได้อย่างถูกต้อง ทุกคนในโลกอารมณ์ไม่เหมือนกัน แต่สันดานแท้ย่อมคล้ายกัน
อานิสงส์ที่ฉันได้เทศน์ในวันนี้ เรื่องนี้ ขอจงประสบแก่เธอผู้มุ่งธรรมอันวิเศษ

(ถาม – ทำอย่างไร จึงจะตัดพี่น้อง พ่อแม่ เด็ดขาดได้)
เธอจงทำใจให้รู้สึกว่า ตัวของเธอไม่ใช่เธอ ไม่มีในเธอ เพราะเมื่อเข้าใจตัวนี้แล้วจะรู้แจ้งแทงตลอดว่า พี่นั้น น้องนั้น พ่อและแม่นั้น เป็นเพียงกายในธรรม แต่ใจกับใจย่อมปลงเสร็จเด็ดขาดว่าอะไรเป็นอะไร อะไรคือเหตุ อะไรคือผล อะไรคืออจินไตย

(ถาม – ถ้าทำได้ ก็หมายความว่า ตัดทุกข์โดยสิ้นเชิงหรือ ?)
ยัง แค่อนาคา “ลูกหนอ” คือห่วง “เมียหนอ” คือห่วง ดังนั้นญาติซึ่งไกลกว่าลูก-เมีย หรือลูก-ผัว ย่อมไม่มีพันธะมากนัก ถ้าเรียงความสัมพันธ์ตามลำดับของใจคนจะเป็นดังนี้
1. ตัวเรา
2. ลูก
3. ผัวหรือเมีย
4. พ่อ – แม่
5. พี่น้อง
6. ญาติ

ดังนั้น ไม่มีปัญหาเลยที่จะกล่าวว่า ตัดญาติพี่น้องไม่ได้ในเวลาที่จะพ้นทุกข์ (สำหรับนักปฏิบัติที่มุ่งหวังพระนิพพานเป็นอาจิณ)

((( โปรดติดตามคำเทศน์ของ "สมเด็จองค์ปฐม" ต่อไป )))

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/8/09 at 08:21 [ QUOTE ]



(Update 18/08/52)


คำเทศน์ของ “สมเด็จองค์ปฐม”

27 กุมภาพันธ์ 2517

(ถ้าท่านสังเกตดู พ.ศ. จะเห็นว่าย้อนไป พ.ศ.ใหม่ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะ ที่จะแสดงไว้ต่อไปนี้ได้มาจากการประทับทรงในบุคคลที่เรารู้จัก และไม่เคยทรงได้มาก่อน คนหนึ่งเป็นนายทหารยศสูงเคยไปเรียนต่างประเทศ อีกคนหนึ่งเป็นนักเรียนมหาวิทยาลัย เราเชื่อกันว่าทั้งสองนี้บำเพ็ญทางพุทธภูมิ แต่บารมีอาจจะยังอ่อนอยู่

สำหรับการประทับทรงนั้นไม่ใช่เข้าไปแทรกอยู่ภายในร่าง หากลอยอยู่ภายนอกแล้วใช้อำนาจจิตบังคับเอา เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน ขออย่าได้สนใจว่าเป็นไปได้หรือไม่ได้ จริงหรือไม่จริง โปรดดูแต่เนื้อความแล้วหาประโยชน์จากเนื้อความนั้น การทรงนี้ไม่ได้เชิญองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ ทรงแล้วแต่จะโปรด)

ต่อไปนี้เป็นใจความ
รับสั่งว่า “พวกเธอนี่ดี พระโปรด ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างน้อยก็ยึดมั่นในศาสนา ไม่ทำบุญเพื่อจะขึ้นสวรรค์หรือเพื่อจะรวย ฉันก็ชม”

เฉพาะบุคคล

• นี่แนะ..แม่คุณ! สมเด็จองค์ปฐมรับสั่งให้ฉันมาบอกคุณนะ ให้คุณปฏิบัติให้ดีนะ
• หมู่พวกเธอ อย่างน้อยก็มีครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่งได้ดีจริง เพราะฉะนั้น ทางของพวกเธอจึงปราศจากความวกเวียนไม่มากด้วยข้องเกี่ยว เป็นทางที่หายาก
• การอยู่ในโลก ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องแสวงหาสิ่งยังชีวิตให้สุขสบาย จะว่าจิตโลภก็ยังไม่ชัด แต่การปรารถนาสิ่งอื่นที่ไม่ใช่จะเรียกร้องได้นั้น ต้องปฏิบัติด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่อ้อนวอน ส่วนปัจจัย 4 นั้น ยกเว้นพระอริยะ ย่อมต้องการด้วยกันทุกคน ต่างกันด้วยมาก – น้อย เท่านั้น
• ขอยกอำนาจพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระอรหันตานุภาพ จงยังดวงจิตของพวกเธอทั้งหลายให้ผ่องใสสดชื่นทั้งทางโลกและทางธรรม พึงสำเนียกในตน ไม่ต้องการภพต้องการชาติต่อไป ขออานุภาพพระรัตนตรัยปกป้องคุ้มครองพวกเธอทุกคน

สมเด็จองค์ปฐมประทับต่อเพื่อสอนเฉพาะบุคคล

 การรักลูกก็ต้องสอน ไม่ใช่ตามใจ อย่าถือว่ามันเป็นลูกท่าน (หมายถึงเทพผู้ใหญ่) สอนให้เข้าใจ การให้ลูกว่าแม่ ตีแม่ ด่าแม่นั้น เป็นบาปติดกับลูกเอง อย่าไปตามใจ ถ้าหลานรักมัน ต้องการให้มันเป็นคนดี ไม่ใช่นักเลง ก็สอนมัน

◘ การทำอะไรนั้น ถ้าเอาแต่ใจตัว ไม่ว่าคนหรือเทพล้วนเป็นสิ่งไม่ดีทั้งนั้น ทำสิ่งใดควรเดินสายกลาง คนเรานั้นมีหลายจำพวก มองก็มองให้ทั่วๆ คิดให้รอบคอบ บางคนเขาอาจมาลอง (การทรงกระดาน) บางคนก็มาดูแล้วแต่จิตต่างๆ กัน ปูขอให้อยู่ในดุลยพินิจของหลาน ดูว่าเขาต้องการอะไรแน่ การนี้เพื่อไม่ให้ใครได้มีบาปต่อกัน

◘ การรักนั้น ไม่ว่าลูก ผัว ทั้งหลายเหล่านั้น ให้รักแต่เพียงว่าเขาเกิดมา เราก็อนุเคราะห์ตามธรรมชาติ สั่งสอนให้ดี แต่อย่าหวังสิ่งตอบแทนจากเขา ให้รักอย่างเป็นกลางไม่ต้องน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่งั้นเราจะติดมัน เหมือนกับเราผูกเชือก ถ้าผูกแน่นมากก็แก้ลำบาก ถ้าผูกพอให้อยู่ก็แก้ง่าย ไม่เสียแรงมาก มือก็ไม่เจ็บ เวลาก็น้อย

5 สิงหาคม 2517

ประทับทรง

บ่อเกิดแห่งทุกข์ นับได้ว่ามีการเวียนว่ายตายเกิด ลองนึกดูซิว่าทางใดเป็นทางพ้นทุกขเวทนาทั้งปวง ให้ทุกคนตรองดูว่าการพ้นจากทุกขเวทนา การที่พวกเธอได้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ทั้งโลกอดีตและปัจจุบัน


เธอเป็นสุขแล้วรึที่อยู่กันมาก ไม่เจ็บไข้วุ่นวานใจรึ เธอเกิดมามีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีความเดือดร้อน ความโลภ อยากสุขอยากสบายไม่มีที่สิ้นสุด โลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน เต็มไปด้วยความทุกข์ ทำให้เราทุกข์อยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวท้องก็หิว ทุกข์แล้ว หนาวเย็น ทุกข์แล้ว

กิจการงานทุกๆ อย่าง มีอะไรบ้างที่เป็นสุข ที่มองเห็นว่าเป็นความสุข ตรองดูซิว่าสุขที่แท้จริงหรือ ยั่งยืนตลอดไปหรือ ถ้าแสวงหาความสุขอย่างแน่วแน่มั่นคง ย่อมนำมาซึ่งการปฏิบัติแก่มวลชนชาวโลกได้เสมอ ไม่เคอะเขิน นำมาดัดแปลงปฏิบัติให้เข้ากับโลก เธอจะพบความสุขแน่นอน

◘ ปู่ขอให้พร ค้นหาสุขแท้แน่นอน ขอให้ยึดสุขนั้นเถอะ...!

(หมายเหตุของคณะ : ผู้จับผิดอาจจะค้านตรงนี้ว่าสอนไม่ถูก ทำไมสอนให้ยึดสุขซึ่งเป็นกิเลส แต่ผู้มีความรู้จะจำแนกถูกว่าสุขมี 2 ชนิด "กามสุข" หรือ "สุขมีอามิส" พระพุทธเจ้าให้ปล่อยให้หลีกหนี แต่ให้แสวงสุขไม่มีอามิส เช่น สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขในฌาน สุขในนิพพาน เป็นต้น ศัพท์ว่า นิรามิสสุข)

31 สิงหาคม 2521

 เป็นอย่างไร ปฏิบัติธรรมกันไปถึงไหน หรือปฏิบัติที่ปาก ที่หู ?

 การทำบุญทำกุศลหรือกระทำความดีต่างๆ ต้องมีจุดหมายว่าทำเพื่อปรารถนาอะไร ฉันจะสอนเฉพาะผู้ที่คิดตั้งใจว่าจะไม่เกิดในโลกอีก แต่การปรารถนาไม่ลงมานั้น เป็นเรื่องของการปรารถนาอธิษฐาน ส่วนแรงที่จะทำให้หลุดพ้นนั้นอยู่ที่พวกเธอทั้งนั้น ที่จะทำจริง หรือว่าทำ (แต่) ที่ปาก ที่หู การทำบุญ คือการทำความดี บุญเป็นการกระทำความดี ลักษณะของการทำบุญนั้นคือการให้เป็นทาน

 จำไว้นะว่าเราทำบุญ คือ (ทำ) การให้ ให้ยังไง ให้เพื่อหวังผลหรือว่าให้เพราะกลัว หรือว่าให้เพราะเขาเล่าว่าถ้าทำบุญชนิดนั้นชนิดนี้แล้วจะได้โน่น (ได้) นี่ ไม่ตกนรก นี่เหมือนหนึ่งว่าเอาขนมมาล่อเด็กให้เกิดความอยาก จึงเป็นโลภนิดๆ แต่โลภดี

 การทำบุญอย่างจริงๆ คือ การที่เราเผลอให้ เพราะอะไรที่เรียกว่า เผลอให้ เพราะว่าคน (เรา) นั้นจะมีกิเลสหนาที่สุดคือ รักตัว เห็นชอบเฉพาะตัว จึงให้อะไรใครไปเฉยๆ ไม่ได้ การเผลอให้ใครไปเฉยๆ นั้น พระท่านว่าเป็นจาคะ และจาคะนี้ทำกันยากด้วยใจ จึงจะชี้แนะและสอนให้เห็นผลของการให้ ฉันจะนำมารวมกับอุเบกขาที่ได้ฟังกันมาจนหู “เป็นอุเบกขา” ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ อุเบกขาที่จะกล่าวนั้น ขอให้เข้าใจคำว่าอุเบกขาเสียก่อน

 อุเบกขานั้น คือทางสายกลาง ไม่มาก ไม่น้อย อยู่ในความพอดี เช่น ของร้อน ถ้าร้อน (เกิน) ไปจะมีโทษและอาจมีคุณ ถ้าร้อนน้อยไปก็เช่นกัน ของเย็น ถ้าเย็นมากไปมีทั้งคุณและโทษ เย็นน้อยไปก็เช่นเดียวกัน แล้วเอาของสองอย่างมารวมกันก็มีทั้งคุณและโทษ จุดกลางคือความพอดี คือความเหมาะสม ฉะนั้น จงรักษาอารมณ์ตามคำสอนที่ฟังกันมามากๆ นั้นให้เข้ากับเหตุการณ์ เมื่อถึงตรงนี้เข้าใจแค่ไหน ลอง (อ่าน) ทวน มีคนยังติดอยู่

 อุเบกขาใช้ให้เป็น รู้จักใช้ รู้จักนำมาพิจารณาเข้ากับเหตุการณ์ให้เหมาะสมว่า อะไรควร อะไรไม่ควร มากหรือน้อยแค่ไหน นำมาพิจารณาให้รู้ว่า ฉันน่ะจะไม่เกิดอีกแล้ว ที่นี่คือทุกข์ ที่นี่เป็นทุกข์ ที่นี่มีแต่ทุกข์ กลัวการเกิด อยากไปพระนิพพาน อยากได้อริยสัจ จงไม่กลัว ไม่กลัวว่าจะไม่กลัว ไม่กลัวว่าจะเจ็บ ไม่กลัวว่าจะสลายสูญเสียไป ไม่กลัวว่าจะหมดไป ไม่กลัวที่จะทุกข์จะเดือดร้อน เพราะเขาทรมาน (จะ) มาเอาชดเชยจากเราเพียงไรก็เอาไป

 เราละแล้ว เราทิ้งแล้ว เราไม่ต้องการแล้ว สังขาร – ตัวเรา เองนี่แหละเป็นตัวดีที่น่ากลัว น่ากลัวจะทำให้ไม่ได้ถึงนิพพาน น่ากลัวจะให้เราเกิดใหม่ เพราะว่าเรากลัวสังขาร กลัวสังขารยุบบุบสลาย สังขารโดนทอดทิ้ง ไม่มีคนรักเอาใจใส่ และไม่มีคนเห็นสังขารของเราว่าดี นี่เป็นตัวมารที่ทำให้เราหลง มานะทิฐิว่าฉันต้องดี ฉันต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ทำให้เราหลง หลงไปหลงมาแม้ตั้งใจนิพพาน รวมไปอยู่อรูปพรหมให้เข็ด

 มีคนสงสัยตรงนี้ไม่ใช่รึ ?
(ตอบ – มี)

 ว่ามา..
(ถาม – ถ้าวางกาย แต่ไม่วางใจ แม้ตั้งใจไปนิพานก็ไปอยู่อรูปพรหมหรือ)

 ที่กล่าวมาเมื่อครู่ ถ้าไปอรูปพรหมก็จะต้องลงมาอีก (เพราะ) ใจตัดไม่จริง ยังห่วง-หวงในตัวตน และแถมยังไม่ห่วง-หวงคนอื่นอีก จะถึงอย่างไร กิเลสกองโตนี่ยังไม่วาง ทำอย่างไรก็ไปไม่ถึง

 การพ้นทุกข์เข้าสู่นิพพานนั้น จะว่าง่าย (ก็ง่าย) สำหรับคนที่เพียรทำ เพียรระงับใจ ฝึกใจ จะว่ายาก (ก็ยาก) เพราะคนนั้นไม่เพียรทำ ไม่เพียรฝึกใจ เพียรแต่จะเผลอ เพียรแต่จะให้ท่านองค์นั้นองค์นี้มาชมบ้างมาทำนายบ้าง ถ้าไม่เพียรทำ ก็ไปไม่พ้น

 เร่งเข้านะ เวลา (ของ) ทุกคนกำหนดไม่ได้ บางคนมีอายุ 100 บางคนมีอายุ 40 บ้าง 30 บ้างไม่แน่ อย่านอนในกรรมฐานให้บ่อย เวลานอนมีมากแล้ว อดทน อยากสอบได้ต้องอดทน ผล ฉันรับรองว่าคุ้มค่า เป็นอย่างไร ฟังแล้ว ไม่ต้องกลัวถ้าเป็นความจริง

(ถาม – ไม่เข้าใจว่าทำไม เผลอให้ จึงเป็นจาคะ เพราะว่าให้โดยขาดเจตนา)

 เผลอให้ เป็นคนที่ฉันเปรียบ เปรียบกับคนที่ทำบุญ ให้เฉยๆ ยาก จึงต้องใช้คำว่าเผลอ ถ้าไม่เผลอก็รู้สึกว่าคนนั้นจะให้ลำบาก รู้หรือยังที่เน้นคำว่า ให้ (โดย) มารวมอยู่กับอุเบกขา

(ถาม – คือให้อย่างไม่หวังผลตอบแทน ?)

 นั่นคือการให้อย่างจาคะ
(ถาม – ถ้าให้โดยถือเป็นหน้าที่ จะเข้าข่ายจาคะหรือไม่ ?)

 อยู่ทีใจ เต็มใจเพราะศรัทธา หรือว่า (จำ) ต้องเต็มใจ
(ถาม – ไม่เข้าใจกระจ่างว่า การให้เมื่อรวมอุเบกขานั้นคือจาคะ)

 ให้รวมกับอุเบกขาคือการพอ พอ (จาก) ที่จะเอาต่อไปอีก รู้จักไหม..?
(ตอบ – ก็ยังไม่ชัด)

 เธอเจ็บ เธอโทษร่างกายไหม เธอโทษกรรมไหม เจ็บก็เจ็บไปตามสภาพตามบุพกรรม เราไม่กลัว
 การปล่อยไป (ตามสภาพ) คือการให้ การที่เราไม่กลัวคือ อุเบกขา อย่างเช่น โดยตีหัว เอาความผิดไม่ได้  การเจ็บถือเสมือนว่าเป็นกรรม เป็นเคราะห์ ไม่ต้องกลัวเจ็บกลัวตาย ถือว่าบุญมีเท่าไร (ก็) เท่านั้น ใช้ได้หลายกรณี แจ้งไหม ? มีใครสงสัยอีก
 สิ่งเหล่านี้ ที่วนเวียนจุกจิกหรือเราเองเป็นผู้จุกจิกก็ตาม จงระงับไว้ด้วยปัญญา หาเหตุผลมาใช้ทบทวนคุมสติอารมณ์ของพวกเธอให้หลุดให้พ้นจากผู้ร้ายที่แฝงร่างอยู่ เครียดเกินไปเป็นโทษ เครียดนั้นทำให้ตึง ใจเย็นเกินไปก็เป็นโทษ ทำอะไร (ให้) อยู่ในความพอดี มีใครจะถามปัญหาไหม?
 ก่อนจะไปก็จะเตือนว่า อย่าเฉยเมย ถ้าเราปรารถนาที่จะไม่ลงมาเกิดอีกแล้วจริงๆ ก็จงเร่งฝึกใจให้ละ (ให้) สละกิเลสเหล่านี้จริงๆ เป็นกิจวัตรประจำให้เชี่ยวชาญชำนาญจิตใจ แต่ถ้าผู้ใดยังอยากวนเวียนอยู่อีก ก็จงไปตามสบาย ลา....(คำลงท้ายว่า "ลา" หมายถึงท่านลาไป - ผู้จัดทำเว็บอธิบาย)

(ปรารภกันเองว่า - ปฏิบัติธรรมไม่ได้เต็มที่ เพราะจะตัดไปเลยทีเดียว ภาระการงานก็ยังมีอยู่ หน้าที่มีอยู่ โดยเฉพาะพวกที่มีรายได้น้อยก็ต้องพะวักพะวนประกอบอาชีพ)
 ลาแต่ถ้วย ฉันยังอยู่
 อะไรเรียกว่าเต็มที่ อะไรไม่เต็มที่ การปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมานั่งหลับตาฟังพระเทศน์ ฉันเห็นหลายคนแล้วว่านั่งหลับตาฟังพระเทศน์ บางคนยังไม่ได้ครึ่งความเพียรของผู้ที่ฝึกเอง
 การปฏิบัติธรรมนั้น นั่ง ยืน เดิน หรือนอน อิริยาบถไหนก็ได้ แม้แต่ถ่ายทุกข์ เราจะพิจารณาไปก็ได้ว่า นี่นะ ถ้าไม่กินก็ไม่ต้องมานั่งปวด ฯลฯ ได้ทั้งนั้น สำคัญที่ใจ ทำใจให้เป็นอิสระ ไม่เกาะกาย ไม่เกาะสิ่งประกอบกายเช่นว่า รวมถึงวัตถุ วัสดุต่างๆ ค้าขายก็ค้าไป ติดใจตรงไหน ?

(ถาม – ติดใจตรงที่ให้พอดี ไม่เครียด จะรู้ตัวได้ยังไงว่าพอดี ?)
 ร่างกายสบาย – ไม่สบายรู้ไหม ?

(ตอบ – ทราบ)
 นั่นแหละ...!

(ถาม – ถ้ากายไม่ติดขัดก็ปฏิบัติเรื่อยๆ หรือ ?)
 ใจ อยู่ที่ใจ ไม่ใช่กาย เอาเพียงใจ การให้พรก็จัดว่าเป็นการให้ ลักษณะจัดเป็นมุทิตากระจ่างนะ ?

(ถาม – การทำบุญแล้วตั้งจิตมุ่งเอาอย่างนั้นอย่างนี้ จะถือว่าเป็นการทวง เป็นไม่อุเบกขาหรือเปล่า ?)
 ถือเป็นการปรารถนา
 มีใครจะถามอะไรอีก ?
 ร่างกาย (น่ะ) ตัวดีนะ อย่าไปข้องแวะกับมันมากนัก มารยาเก่ง บางทียังไม่ทันไรมันก็ส่งเสียง ลา... (คำลงท้ายว่า "ลา" หมายถึงท่านลาไป - ผู้จัดทำเว็บอธิบาย)

(อีกองค์หนึ่งต่อท้าย)
• เป็นไง ถูกใจไหม ? ถูกอัธยาศัยทุกคนนะ สำคัญว่าอย่าเผลอ ทำอะไรมีสติคุมให้ดี แล้วใจเราจะดี จะทำสิ่งไร แม้การงานต่างๆ (ก็) จะคล่องสะดวก
• พ่อจะให้คาถาไว้สำหรับนักปฏิบัติทั้งหลาย เป็นคาถาตัดกิเลสสำหรับตัว โดยเฉพาะเวลาโกรธภาวนาไว้นะว่า “ไม่ถือๆ” ถือมากหนักมาก ใช้เป็นนะ ถ้าถาวนาเวลาโกรธบ่อยๆ จะยิ้มได้เอง

(ปรารภ - เรื่องชื่อผู้มาเทศน์ว่าเป็นใคร)
• จะไปแล้วจะบอก ชื่อพ่อไม่น่าเกลียด
• มีอะไรไหม ? ให้พรทั่วๆ กันดีกว่า ท่านมาสอนเรื่อง “ความพอ” ก็ตั้งใจอธิษฐานให้พวกลูกๆ ทั้งหลายทำอะไรก็พอ มีอะไรพอให้หมด
“กัจจายนะ”

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 26/8/09 at 10:06 [ QUOTE ]


(Update 26/08/52)

7 กุมภาพันธ์ 2522

• การปฏิบัติธรรมของพวกเธอ (จง) พยายามทำกันอย่างจริงจังมั่นคง

• การฝึกวิชาผสมนี้ (หมายเหตุ – คือ มโนมยิทธิที่หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร สอนฝึก) เป็นทางเร่งให้พวกเธอได้อบรมใจ ให้ยึดมั่นถือมั่นต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงใช้วิชาที่ได้มานี้โดยตรง เพื่อประโยชน์แก่การฝึกจิตให้พ้นทุกข์สู่พระนิพพานเท่านั้น เมื่อนั้นจะประสบผลดังได้ปรารถนาไว้ อย่าได้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

• ควรจะฝึกเป็นประจำ และเฝ้าพระพุทธองค์เป็นอย่างน้อย 10 ครั้ง จงมุ่งมั่นที่จะพิจารณากายในกาย จิตที่รับอกุศล อารมณ์ที่เศร้าหมอง เอาออกไปล้างเสีย ไม่ว่าวันนั้นจำทำได้มากน้อยเท่าใด ก็จงอย่างได้ท้อถอยเลย

• อันมนุษย์ปุถุชนนั้น ยังไม่พ้นกิเลสนานัปการ จงอย่าประมาทในตัวของเราว่าเราพ้นแล้ว ดีแล้ว จงอยู่กับปัจจุบันโดยการรู้ฐานะตำแหน่งหน้าที่ว่า มันเป็นแค่เครื่องประดับการ ประดับชื่อ อย่าโลภ อย่าหลงมัวเมา จนรู้ถึงคุณวุฒิ คืออย่าโลภ อย่าหลงมัวเมาว่าเรานั้นรู้มากแล้ว พอแล้วในพระธรรม จงอย่าหลงในวัยวุฒิว่าเราเป็นผู้มีอาวุโส เรานั้นเป็นผู้มีความงาม

• อย่าคิดว่าเรานั้นเป็นผู้มากด้วยความสามารถ เหล่านี้จะทำให้พวกเธอขาดสติลืมตน ขาดปัญญาที่จะไตร่ตรอง แม้แต่ (การ) เผลอชั่วลมหายใจเข้าออกครั้งหนึ่ง ก็จงคิดว่าตัวนั้นได้ตกอยู่ในความไม่ประมาท ขอให้รู้ความเป็นปกติแห่งโลก รู้ว่าทุกคนนั้นมีกรรมทั้งกุศลและอกุศล รู้สภาพของกรรมสนอง รู้สภาพของการเกิด แก่ เจ็บ ตายทุกวินาที ไม่ว่าเวลาใด ทำอะไร

• จงรู้ว่าเดี๋ยวเราอาจต้องเจ็บหรือตาย จงเห็นทุกข์จากตัวเราและคนข้างเคียง จงรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน จงเห็นตัวเราและผู้อื่น เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 ประการ จงรู้ให้กระจ่าง ชัดแจ้ง แทงตลอด นำมาคิดให้เป็นอารมณ์ปกติ

• ตั้งใจไว้เสมอว่าการสูญเสียสิ่งของ บุคคลที่รักนั้น มันจะต้องเป็นปกติวิสัย การพลัดพรากไม่ประสบพบสิ่งที่ปรารถนานั้นเป็นปกติ จงพยายามใช้สติพิจารณาสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่อยู่รอบของตัวเรา และตัวของเราเองให้รู้เป็นสังขารุเบกขาญาณ จงใช้พรหมวิหาร 4 เป็นพื้นฐานอารมณ์

• เมื่อพุทธบริษัทกระทำได้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นใจเธอ อารมณ์ของเธอจะรู้ เห็นและกระทำต่อสิ่งต่างๆ ได้เป็นปกติ สติ สมาธิ จะทรงอยู่ได้นานที่สุด แล้วความสุขใจจะเกิดขึ้น ในไม่ช้าก็จะพบกับพระนิพพานโดยตรง

• เท่าที่ได้ให้ฟังคำสอนมานี้ ก็อยากให้พวกเธอได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าได้นำมาปฏิบัติประเดี๋ยวเดียวแล้วก็เลิก ผู้ที่มุ่งหวังพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้น ปรารถนาแค่ใจและวาจาเท่านั้นไม่ได้ จะต้องมีการทำ ปฏิบัติธรรมะอย่างแน่วแน่ด้วย

• ฉันจะไม่ยอมให้เธอทั้งหลายทำกันอย่างเล่นๆ จะต้องเอาจริงเอาจัง ถ้ายังเล่นกัน ฉันก็เห็นว่าการมาเทศน์สั่งสอนนั้นไร้ประโยชน์ ดูอย่างพุทธกาลซิ พวกท่านทั้งหลายที่ได้บรรลุมรรคผลพระนิพพานกันไปนั้น ท่านฟังเทศน์พระธรรมของพระตถาคตเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถหลุดพ้น แม้นอันที่จริงพวกเธอก็ยังได้เกิดในสมัยพระศาสนาขององค์พระตถาคต แต่ก็ยังไม่ไปถึงไหนกันเลย เพราะมัวแต่เหลวไหลสนุกอยู่

• ฉันก็จะไม่ว่า ถ้ายังอยากผจญทุกข์ ผจญภัย การเก็บ แก่ เจ็บ ตาย อย่างไม่มีจุดหมาย พวกเธอพุทธบริษัททั้งหลายจงตั้งใจกันจริงๆ แน่ๆ เถอะ ฟังคำเทศน์ขององค์พระพุทธเจ้ามาก็หลายพระองค์แล้ว แต่ละพระองค์ก็ได้เทศน์มาหลายวาระแล้ว

• จงตั้งใจที่จะปฏิบัติอย่างมั่นคง อย่าให้คำเทศน์ของพระพุทธองค์ได้ไร้ประโยชน์ไปเลย ขอให้ยึดพระนิพพานพระพุทธเจ้าเท่านั้น ให้ทรงอารมณ์พิจารณาตัวเองให้มาก บ่อยๆ แล้วในที่สุด เธอจะถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน

3 มีนาคม 2522 (ปนกับหลวงตาแสง)

(หลังจากทำกรรมฐานตามคำสั่งจนบอกเลิก)
• เห็นอะไรบ้าง ?
(ตอบ – เห็นพระจุฬามุนีสว่างมากกว่าธรรมดา แต่งเครื่องกันเต็มที่ แต่เข้าไปไม่ได้เพราะแน่นกันไปหมด)

• ทำไมไม่ขอบารมีสมเด็จ พระจุฬามุนีไม่ใช่ตึกอย่างบ้านเรา ขยายได้ตลอดเวลา พบพระองค์ไหนบ้าง ?
(ตอบ – สมเด็จองค์ปัจจุบัน)
(อีกคนตอบ – สมเด็จพระพุทธทีปังกร)

• ในพระจุฬามุนีนั้น สมเด็จฯ ประทับทุกพระองค์ แล้วแต่ความสัมพันธ์ทางจิตของแต่ละคน ทุกคนอาจเห็นสมเด็จองค์ต่างกัน แต่ทุกคนก็ไปถึงจริงๆ มั่นใจนะ

• ฉันจะสอบพวกเธอล่ะ รู้หรือยังพิธีอะไร
(ตอบ – พิธีเปลี่ยนท้าวจาตุมหาราช รู้สึกว่าเปลี่ยนองค์เดียว ไม่เชิงเปลี่ยนตำแหน่งท้าวจาตุฯ แต่รับองค์ใหม่ องค์เดิมก็ยังอยู่ แต่องค์นี้มาพิเศษ)

• ใช่ ท้านเวสฯ ท่านใสเต็มที่แล้ว ที่จริงเขาเริ่มทั้ง 4 องค์ ไม่ใช่เปลี่ยนทันทีนะ ท่านก็ยังช่วยกันอยู่ แต่ท่านองค์ก่อนนั้นท่านบารมีเต็มที่แล้ว ถ้าเทียบก็เรียกได้ว่าเป็นพระอรหันต์ปฏิมรรค
• รู้ไหม องค์ที่เห็นนั่งใหญ่ๆ นั่นใคร ? นั่นแหละ ท่านเวสฯ องค์ก่อน ทุกพระองค์มาโมทนาบุญ

• องค์ใหม่ล่ะ เห็นหรือยัง ลองดูซิ ต้องไวๆ นะ เพราะต่อไปเราทั้งปวงจะต้องมีภาระช่วยพระศาสนาให้เป็นไปตามพระพุทธพยากรณ์ จะมีผู้คนเข้ามาให้เธอได้สงเคราะห์เป็นจำนวนหมื่น เตรียมตัวกันไว้นะ ถ้าได้พาบุคคลต่างๆ ให้ยึดมั่นในพระศาสนาและเห็นทุกข์ หวังพระนิพพานเป็นที่หมายแล้ว เธอจะได้อานิสงส์มาก

• พยายามฝึกฝนเอาความมั่นคงของจิต มั่นคงในสมาธิเป็นหลัก ยึดคำสอนของพระองค์เป็นอารมณ์ จิตเกาะที่พระพุทธองค์และแดนนิพพานตลอดเวลา ฉันให้ความมั่นใจได้ว่าสมปรารถนา

• ขอให้รู้ทุกข์ว่าเป็นปกติ และรับรู้ถึงผลกรรมเป็นธรรมดา จงตั้งใจที่จะตัด สละ ละกิเลส ขันธ์ 5 ธาตุ 4 อย่างจริงๆ คำนี้กล่าวมามากแล้ว ขอให้ตั้งใจและทำ อย่าได้เข้าข้างตนเอง ผัดผ่อนไปตามใจ เวลานั้นไม่มีกำหนดว่าจะหยุดเมื่อไร

• ประการหนึ่ง ในบรรดากลุ่มพุทธบริษัทของเธอนั้น จงพยายามรักษาเรื่องกาลเทศะให้มากๆ เพราะพุทธบริษัทนั้นมีจำนวนมากมายและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนต่างจิตต่างใจกัน และทุกคนเข้ามาหาพระธรรมเพื่อความหลุดพ้น

• ทุกคนที่เข้ามานี้ล้วนแต่เป็นผู้แบกกองทุกข์กองอวิชชาเข้ามาคนละกองโตๆ และหวังเอาธรรมะจากพระ และ (แบก) ข้อติดขัด เพื่อเป็นแนวทางขจัดทุกข์กับพวกเธอ ซึ่งเป็นพุทธบริษัทเก่าก่อนที่หมั่นขยันบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อ (ให้ช่วย) แกะทุกข์ไป ขอให้ถือความสำรวมเป็นสำคัญ

• พวกเธอรักพระพุทธเจ้า รักพระนิพพาน รักหลวงพ่อ อย่าให้ท่านทั้งปวงต้องร้อนใจ หรือกังวลใจในกิจที่จะพึงมีในครั้งต่อไป จะต้องติดขัดด้วยเรื่องนิดน้อยเหล่านี้ ถ้าจะเปรียบในสมัยพระพุทธกาล องค์สมเด็จพระสยัมภูตรัสสอนพุทธบริษัทจนสำเร็จมรรคผลพระนิพพาน เป็นอรหันต์เจ้าองค์ต่อๆ ไป

• พระอรหันต์เจ้าเหล่านั้นก็จะเป็นหูเป็นตา เป็นตัวแทนขององค์พระตถาคต เที่ยวสั่งสอน เผยแผ่พระธรรมจนพุทธบริษัทได้ธรรมะในระดับต่างๆ โดยทั่วถึง ทั้งนี้ อาศัยกำลังของพระอริยสงฆ์ในเวลานั้น พระศาสนาถึงได้เจริญรุ่งเรือง โดยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต้องการทรมานพระวรกายเช่นกัน ในเวลานี้มีพระอริยเจ้าชั้นสูงเป็นองค์แทนพระองค์ มิใช่เพิ่มภาระ นี่แหละคือความกตัญญูกตเวทีที่พวกเธอจะถวายบูชาครู

5 พฤษภาคม 2522

• ขอสมาธิสัก 5 นาที ไปไหว้พระข้างบนแล้วมาอยู่ที่นี่
(ทำตาม)

• การฝึกสมาธิวิปัสสนาของพวกเธอนั้น สำคัญที่สุดคือการทรงอารมณ์ อารมณ์มีทั้งกุศลและอกุศล อารมณ์เป็นอาการของจิตที่แสดงออกมาเป็นวาจาและใจ

• คำว่า “จิต” นั้นคือที่พวกวิทยาการใหม่ๆ ใช้ว่า “ประสาทสมอง” นั่นคือจิต สิ่งที่สำคัญของจิตที่พวกเธอยังล้างไม่ขาวคือการหลอกตัวเอง ปิดบังตัวเอง นี่คือทางให้เกิดทิฐิมานะ สิ่งนี้ต้องหมั่นแก้ไขสำรวจจิตอย่างมั่นคงแน่วแน่ที่จะทำ

• อย่ากลัวตัวเอง อย่าปิดบังตัวเอง อย่าทำให้จิตมีอกุศลมากขึ้น ตัวนี้ ถ้าเธอขจัดล้างจิตให้ยอมรับสภาพสภาวะและความเป็นจริงได้เมื่อใด ทิฐิ มานะ ความรัก หลงในกิเลส ขันธ์ 5 จะหลุดอย่างแน่นอน

• ทุกวันนี้ ที่ปากและใจภายนอกได้ปฏิเสธ หลงในโลกธรรมนั้น ยังเป็นกิเลส กิเลสมารอยู่ในจิตเรา ดังนั้น คำสอนแห่งองค์ตถาคต ทรงรวมวิธีปฏิบัติขั้นหัวใจง่ายๆ ไว้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

◘ ศีล บังคับใจ (และ) ตัวตนให้อยู่ในกุศลธรรม
◘ สมาธิ บังคับใจให้สงบนิ่ง บริสุทธิ์เป็นกลาง รู้อยู่ในภาวะความเป็นจริงในปัจจุบันทุกลมหายใจ
◘ ปัญญา เป็นแสง ทาง เหตุผล ทำให้เรารู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งสมมุติทั้งปวง

• สามทางนี้ จะเป็นบันไดให้เราหลุดพ้นทุกข์ จงอย่าลืมสิ่งเหล่านี้
• การที่ได้ทำนายก็ดี เทียบอารมณ์ก็ดี (ให้) แต่ละบุคคลนั้น ย่อมขอให้รู้ว่าที่เทียบขั้นอริยมรรค อริยผลนั้น คือเทียบจากอารมณ์จิตทั่วไปในขณะทรงสมาธิ วิปัสสนา พิจารณาว่าบุคคลใดพิจารณาอารมณ์สูงสุดเท่าใด นั่นคือขั้นที่ได้มา ฉะนั้นจงอย่าประมาทในอารมณ์ อย่าประมาทในความจริง

• ความจริงทำอย่างไรมันก็เป็นจริง ของที่จริงแท้แน่นอนคือทำกุศลย่อมได้กุศล ทำอกุศลย่อมได้อกุศล เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นของจริง จงมั่นใจไว้ว่าเราจะต้องเจ็บแน่ๆ ตายแน่ๆ ไม่ช้าก็เร็ว คนข้างเคียงของเราก็ต้องเจ็บ ต้องตายแน่ๆ เช่นกัน อยู่ท่าหาทางแก้อย่างไรที่จะทำจิต ทำอารมณ์ให้เข้าถึง พร้อมที่จะเจ็บ ตาย และจะสูญสลายสิ่งต่างๆ ไป สิ่งนี้อย่าได้ประมาท สำคัญอยู่ที่เรา อย่าปิดบังตัวเราเอง

• มีสงสัยธรรมตอนใด ?

• ถ้าไม่มี ก็ขอให้พวกเธอทั้งหลายจงสู้กับใจตนเองให้เด็ดขาด ที่จะล้างกองทิฐิมานะออกไป เพื่อที่จะได้ไม่มีกิเลสทั้งปวง จงทำหน้าที่ของเธอแต่ละคนที่ได้เกิดมาแล้วตามกรรม (ตาม) วาระต่างๆ ให้ดีที่สุด แต่อย่าไปหลงในหน้าที่นั้นๆ จงมองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของสมมติขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็อย่าได้เอาจิตไปวิตกทุกข์ร้อนในของสมมตินั้น

• เมื่อใดเธอปฏิบัติได้แยกได้ให้ถูก เมื่อนั้นเธอจะอิ่มในวิมุตติสุข นี่แหละที่เรียกว่า แยกจิตจากกาย

25 สิงหาคม 2522

• พวกเธอฝึกมโนมยิทธิกันได้แล้ว ก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ นำคำที่ได้สอนผู้อื่นขึ้นดูตัวเอง ไม่ใช่ว่าสอนคนอื่นได้แล้วคิดว่าตนดีแล้ว ธรรมะที่ฟังอยู่ตลอดเวลานั้น ขอให้ใส่ใจปฏิบัติกันจริงๆ

• “การปฏิบัติ” ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องนั่งหลับตาเสมอไป ใช้ปัญญาพิจารณายอมรับนับถือสภาพความเป็นจริงของร่างกายยอมรับ แล้วจะต้องรู้จักบังคับจิตใจไม่ให้ยึดเกาะในร่างกาย มิใช่แต่ร่างกายอย่างเดียว รวมถึงธาตุวัตถุ สมมุติ สมบัติ ทั้งปวงพิจารณารู้แล้ว จงบังคับให้มั่นคง พร้อมที่จะต่อสู่กับตนเอง

• สันดานของคนนั้น ออกจะดื้ออยู่ มักถือว่าตนดี แต่หารู้ไม่ว่า “ดี” ที่ตนถืออยู่นั้นดีประการใด พระธรรมที่เธอได้สดับรับฟังอยู่ตลอดนั้น อย่าอนุโลมใจตนเองมากเกินไป เมื่อใจยังดื้อ กิเลส ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะตามมาเป็นลำดับ จะรู้ได้จากจิตสู่การกระทำของตัวเธอเองว่า ตัวเธอนั้นยอมรับสภาพโดยการฟังหรือยอมรับ

• ความจริงตามใจปฏิบัติได้จริง บางอย่างพระท่านก็สอนสั่งไป เตือนไป ห้ามไป ว่าสิ่งนี้ควรละเว้น สิ่งนั้นไม่ควรกระทำ พระท่านมีหน้าที่ชี้ทางออก แต่จะปฏิบัติตามหรือไม่อยู่ที่ตัวของเธอ ความดีที่ได้ก็คือตัวเธอ ความสุขที่ได้ก็คือตัวเธอ ดังนี้

• ยังต้องให้ว่ากล่าวเพื่อล้างสักกายทิฐิ ความดื้อรั้นเป็นสิ่งทำลายตัวเธอเอง การผัดผ่อนเป็นสิ่งหลอกตัวเธอเอง เวลาย่อมเดินไปตามหน้าที่ของเวลา จะช้าไม่ทันการหรือทันการเป็นส่วนของผู้ปฏิบัติ อย่าทำลายตัวเองโดยเห็นใจตัวเธอเอง ถ้ายังเห็นใจตัวเธอเองอยู่ จงรู้ว่าเธอจะเห็นตัวเธออีกในภพหน้า

• วันนี้ไม่ได้มาดุ แต่มากเพื่อกระตุ้นให้รู้จักเวลา อย่าประมาทในชีวิต ทีนี้ ส่วนใหญ่เคยได้ฟังธรรมมาแล้วคนละหลายร้อยครั้งในปัจจุบัน ฉะนั้น อย่าให้เสียเวลาไปลอยๆ พระเทศน์ พระสอน เท่ากับพระท่านสั่ง ท่านชี้ทางให้

• ที่จริง เรื่องนี้ก็กล่าวมาหลายวาระแล้ว ถ้ายังทำไม่พ้นทางจนได้ธรรมะในชาตินี้แล้วก็จนปัญญา จำไว้นะ พระ แปลว่าประเสริฐ เทวดา เทพ ทิพย์ หมายถึงผู้ทำความดี สิ่งใดที่เป็นความดีท่านจะบอก ถ้าผู้นั้นมีความดี (แล้ว) สิ่งใดเป็นภัย เวทนา นำมาซึ่งทุกข์ ท่านจะเตือน ความเชื่ออยู่ที่ใจ กิเลส 4 ตัวล้างไปให้ได้

◘ รัก เป็นปัจจัยยึดถือ ถ้าเกิดความต้องการ
◘ โลภ นี่แหละมาจากรัก
◘ โกรธ ก็มาจากรัก
◘ หลง นี่ก็มาจากรัก

• กิเลส 4 ตัวนี้ฟังง่าย แต่ทำต้องใช้ความเพียรมาก จึงจะเตือนว่าอย่าช้านัก ไปเพิ่มไปก่อเติมขึ้น ผู้ใดฟังรู้แล้วแจ้งแล้วยังก่อเพิ่มหาใส่ตน ผู้นั้นจะเป็นคนที่น่าเวทนา สอนกันจนหูจะแตกแล้วไม่เชื่อ ก็ช่วยไม่ได้

• เอาล่ะ ขอให้ทุกคนมีกำลังใจแข็งแกร่ง แน่วแน่ที่จะประหารกิเลสในจิตของเราเด็ดขาด ศัตรูภายนอกนั้นถ้าเราไม่สู้ไม่รบ เราสามารถหนีไม่ให้รังควานได้ แต่ศัตรูในจิตเรานี้จะหนีไปแห่งใดก็ไม่พ้น ตามติดตัวทุกขณะ ฉะนั้น จงตั้งใจตั้งมั่นที่จะสู้ศัตรูในใจให้สำเร็จ

• วันนี้น่ะเท่านี้ เทศน์น่ะ ฟังจนเข้าฝันกันได้ทุกคนแล้ว...!

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 2/9/09 at 09:26 [ QUOTE ]


(Update 2/09/52)

4 กุมภาพันธ์ 2524

♦ (สอนเฉพาะคน)
◘ คนที่ 1
• การปฏิบัติ (ธรรม) คือการกระทำ การฝึก ไม่ใช่ความจำที่ฟังมารู้มารู้เพียงเฉยๆ ต้องทำที่ใจนะ บางอย่างก็ต้องฝืน กลัวตายหรือเปล่านะ ?

☺(ตอบ – ถ้าถึงที่ก็ยินดี)
• คนไม่กลัวตายคือคนที่ดี ทำใจแยกจากกายแยกจากสมบัติได้ เมื่อนั้นก็จะเป็นอรหัตมรรคไปในตัว เธอยังสงสัยยังกังวล แสดงว่าจิตยังจับกาย ลงทำมาขนาดนี้แล้วยังสงสัยก็เรียกว่าถอยหลังเข้าคลองซิจะเอาอะไร ? ธรรมะ (นั้น) ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากกิเลส ไม่ใช้ปฏิบัติเพื่ออามิส ถ้าคิดได้เช่นนี้ เป็นสิ่งจะทำให้จิตวนออกนอกใจ

• ดีแล้วที่คิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ จิตจะได้ไม่ประมาทในชีวิต ถ้าทุกคนล้วนดีพอแล้ว (คง) ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ในโลกเป็นแน่แท้

☺ (ปรารภ – รู้สึกว่า 5-6 ปีนี้ไม่ดีขึ้นเลย)
• เอาอะไรวัด ? ถ้ามีการเปรียบเทียบ ก็แสดงว่าใจเรายังแบ่งเป็นเขาเป็นเรา เป็นมากกว่าเขา น้อยกว่าเขา ฯลฯ ในเมื่อจิตยังท้อถอยอยู่ จิตจะไม่จับทำกุศล ไปนั่งสงบดูก่อน ถ้าฉันสอนไป ถ้าจิตท้อก็จะไม่เกิดผล

◘ คนที่ 2
• ธรรมะที่มีอยู่ ปฏิบัติกันไปให้จริงจัง อย่าไปปฏิบัติแค่วาจา จิตกับกายนั้นแยกให้รู้ว่าจิต 1 กาย 1 เป็นส่วนของอทิสมานกายและธาตุ 4 แยกด้วยการใช้อารมณ์ของสมาธิ อย่าได้เอาความขัดแย้งมาข้องแวะในจิต ตั้งจิตอยู่เป็นนิจเสมอว่า เรานี้ปรารถนาพระนิพพานเป็นอารมณ์ เราไม่ต้องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย วัฏฏะนี้อีกต่อไป

• เรารู้สภาพทุกข์ที่รับ และรู้สุขที่สมมุติขึ้นคือชั่วคราว เมื่อจิตปรารถนาเป็นเช่นนี้ สภาพต่างๆ ที่ได้รับ ก็จงอย่างได้ครนาเลยว่าทุกข์กับสุขจะเป็นฉันใด จงเตรียมพร้อมที่จะผจญ ถ้าจิตเรามีกำลังที่ไม่หวั่นไหวแล้ว จิตจะไม่สะท้านสะเทือนถึงอุปสรรคต่างๆ ที่เจอ

• เท่านี้ คงจะเป็นทางให้เธอได้ธรรม เมื่อครู่ฉันได้ให้พลังแก่ทุกฝ่าย ระยะนี้ให้ระวังกำลังจิต พยายามอย่าให้จิตตก ศึกจะหนักทั้งนอกและใจ ขอให้รักษาสมาธิไว้ให้มั่น จะถามอะไรไหม ?

◘ คนที่ 3
☺(ถาม – กำลังจิตไม่ดี คิดว่าทำบุญกุศลความดีไม่พอ)
• พิจารณาว่า “พอ” นั้นเป็นอย่างไร อะไรคือ “ไม่พอ” ทุกอย่าง (เช่น) บุญ ถ้าเธอมีมา 10 บาท เธอทำบุญเพียง 1 บาท บุญจะเต็มถ้าเธอมีกำลังใจทำ แต่ถ้าเธอคิดว่า 1 บาท ไม่พอที่จะได้บุญ กำลังของบุญจะเสวยได้น้อยเป็นลำดับ

☺ (ตอบ – จิตกังวล กลัวจะน้อยไป)
• เธอใช้สตางค์ทางสังคม อย่าใช้สังคมในการทำบุญ เรามีฐานะต้องทำบุญ 10 บาท เพื่อบุญ 100 บาท

☺ (ถาม – ไม่เข้าใจ)
• เรามีฐานะต้องทำบุญ 100 บาทเพื่อชื่อเสียง นั่นเป็นวิธีของสังคม คนมีฐานะอาจทำบุญเพียง 2 บาทก็ได้ ตามความเต็มใจ

☺ (ถาม – กลัวกรรมตามทัน จิตจะตก)
• กลัวกรรมตามทัน ก็ (แปลว่า) กลัวเจ็บรึ ทำไม? จิตมันพิการรึ ฝึกซิ แยกจิตจากกาย ทุกข์กินใจหรือกินกาย ? ถ้าทุกข์กินใจ (ก็) แสดงว่ายังห่วงหวง ถือเป็นสมมุติ ฯลฯ

3 มิถุนายน 2524

• อารมณ์ของเธอยังกวัดแกว่งไปมา เรื่องโกรธ โลภ หลง ยังวนเวียนอยู่ สามตัวนี้จะปิดกันสมาธิ

• โลภ คือความหวง ต้องการไว้เป็นสมบัติตัว ของตัว อันนี้เป็นตัวเกาะใจให้ยึดถือ เมื่อมีใครหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาแย่ง มาแยกออกไป อารมณ์ยึดจะเกิดเป็นโกรธ

• ความโกรธจะทำให้เธอขาดสติ ขาดเหตุผลในการพิจารราว่าอะไรควร ไม่ควร จะทำให้ตัวเธอเหมือนสิ่งประหลาด พูดในสิ่งไม่ควร ลองโดยไม่มีเหตุผล และตัวนี้จะก่อเพิ่มด้วยการหลง

• หลงว่าตัวที่โกรธออกไปนั้นถูก นั่นคือความเห็นแก่ตัวของเธอ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การยึดเอา “เรา ของเรา” และหลงตัวนี้จะสร้างทิฐิมานะขึ้นในตัวเรา ใครว่าไม่ได้ เตือนไม่ฟัง แถมยังจะตำหนิกลับไปอีกด้วย นี้คือมานะ

• แค่นี้เท่านั้น สอนอยู่ประจำก็ละเว้นได้ชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ลืม อย่างนี้จะหาสติ สมาธิ ได้เมื่อไรกัน อย่าได้เอากาลเวลามาอ้าง อย่าได้เอาอุปสรรคมาอ้าง อย่าได้เอาสังขารมาอ้าง กาลเวลาไม่คอยใคร มัวแต่ถือทิฐิมานะ มัวแต่เอาอารมณ์ตัวเป็นกำหนด เช่นนี้ก็ไม่เห็นทางพ้นไฟ ร้อนที่ตัว ร้อนที่ใจ

• พรหมวิหาร 4 หัดปฏิบัติให้ครบ 4 ขั้น อย่าได้ร้องว่าไม่มีความสามารถ ถ้าเธอร้องเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่าจะสอนเช่นไร เพราะสิ่งต่างๆ จะสำเร็จได้ด้วยความสามารถของตนเอง อย่างได้คอยเทพอุ้มสม

• เมื่อไรที่เธอรู้จักหยุดบ่น หยุดโวยวายได้ เมื่อนั้นแสดงว่าเธอมีสติ ไม่ใช่ว่าเอะอะอะไรก็แย่ไปหมด ยากไปหมด ขืนมัวนั่งร้องโอดโอยอยู่ ก็จงนึกเถอะว่ายังมีเวลานั่งร้องต่อไปอีกตามใจปรารถนาชาติภพ ลา...

23 กรกฎาคม 2525

• คนเราจะทำอะไรต้องมีสมาธิเป็นเบื้องต้น สมาธิจะบอกเรา (ให้) เกิดปัญญาว่าอะไรควรทำ อะไรควรละวาง สมาธิจะระงับอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้อนของโทสะ อารมณ์ร้อนของโมหะ อารมณ์ร้อนของโลภะ สามอารมณ์แจ้งชัดแค่ไหนรู้ไหม ?

- อารมณ์โลภะ คือ อารมณ์ที่ไม่รู้พอ
- อารมณ์โทสะ คือ อารมณ์โกรธ เพราะอคติ
- อารมณ์โมหะ คือ อารมณ์หลง หลงว่าเราถูก เรารู้ เราเก่ง


• “เรารู้” ตัวนี้จะทำให้หู ตา ปัญญา มืด
• เหล่านี้ต้องควบคุมด้วยสมาธิ สมาธิก่อให้มีสติ เมื่อสติเกิดแล้วจะมีปัญญา ปัญญาจะคอยควบคุมให้เราสุขุมเหมือนอยู่ในที่สูง มองเห็นเบื้องล่างชัดเจน เท่านี้ ประโยชน์ของสมาธินั้นมหาศาลมาก สมาธิเกิดได้ทุกอิริยาบถ และตลอดเวลา

((( โปรดติดตามตอน "สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ที่ 2" )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 9/9/09 at 08:13 [ QUOTE ]



(Update 09/09/09)

คำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ที่ 2


27 กุมภาพันธ์ 2521

 การปฏิบัติธรรมเจริญไปถึงไหนแล้ว..?
◙ เราเป็นมนุษย์ ควรทำใจให้เป็นโลกุตรธรรม แสดงปฏิบัติให้เป็นโลกียธรรมเพราะเหตุว่า ที่กล่าวมานี้เป็นเหตุของฆารวาสที่พึงมีกิจการเป็นมา เป็นไปอันข้องแวะกับโลกอยู่เป็นประจำ

◙ โลกียธรรม คือธรรมะสำหรับปฏิบัติ เพื่อกลุ่มบุคคลพึงอยู่ร่วมกับบุคคลทั่วไปในโลกนี้ ธรรมสิ่งนี้มีศีลเป็นอาทิ เรานี้จะต้องแบ่งสรรให้ครบให้ถูกว่าโลกียธรรม เป็นแนวทางของการทำงานร่วมกันในกลุ่มคน แต่กล่าวไว้ว่าใจนั้นให้พึงถือธรรมะของโลกุตระ เป็นเช่นนี้เช่นนั้น หมายว่าให้ใจเป็นเอกัตตารมณ์ เพื่อมุ่งมั่นเป็นสติเป็นปัญญาในโลกุตรธรรม ให้รู้ถึงของแท้ธาตุแท้ ความแท้จริงที่ได้สวมวิญญาณไว้ นั่นหมายว่าให้เธอพึงยึดแนวนี้ว่า “ทุกข์หนอ” มาจากอะไร

◙ ที่จริง “ทุกข์” ไม่มีอะไร เข้าใจไหม ที่ว่าทุกข์ไม่มีอะไรก็เพราะว่าทุกข์เป็นของแท้ คนและสัตว์ต่างหากที่ทำให้ทุกข์มีความจริง มีผลขึ้นมาในตัวตน

◙ อันคำสอนของพระกล่าวไว้ว่า “บุคคลใดเป็นผู้รู้ รู้แท้รู้จริง บุคคลนั้นเป็นผู้ได้เข้าถึงทุกข์” เพราะอะไรจึงกล่าวเช่นนั้น เพราะว่าคนที่รู้จริงรู้แท้ รู้ทันในความเป็นมาของสรรพสิ่งต่างๆ นานาๆ นั้น เขาผู้นั้นเป็นผู้ได้รับการกระทบกระแทกจากทุกข์อย่างเต็มที่ แล้วเขาใช้โลกุตระเป็นปัญญาอันผ่องใส ให้รู้ในสติ ในธรรมะของพระกระจ่าง จึงมีพุทธภาษิตต่อไปว่า

 “บุคคลใดเห็นทุกข์ บุคคลนั้นเห็นธรรม บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นเห็นองค์ตถาคต บุคคลนั้นย่อมถึงนิพพาน” อันนี้เป็นพุทธภาษิตให้บุคคลผู้เป็นเหล่ากอขององค์พระสมณโคดมว่า อย่าได้ประมาทในทุกข์ในธรรมว่ามีอยู่เพียงปัจฉิมโอวาทเท่านั้น

◙ พิจาณากันดู ให้ใจน้อมรำลึกว่าเรามาปฏิบัตินั้น ความดีความไม่ดีทำไปได้ถึงไหน พิจารณาให้เห็นแท้ว่ากายเป็นอย่างไร กายในที่นี้ขอหมายถึงวัตถุธาตุต่างๆ ที่มีเกิด แก่ เจ็บ ชำรุด ตาย พังสลาย กับจิต คือดวงแก้วของแต่ละคนแยกกันให้ได้ว่า อะไรควร ชนิดใด

◙ กายเป็นสิ่งที่จิตมักรวบยอดเอาว่าเป็นเจ้าของ เป็นส่วนเดียวกับจิต จุดนี้ เธอพึงระวังอย่าให้เผลอ อย่าให้นึกว่าเป็นส่วนเดียวกันแยกกันไม่ได้ พึงสำนึกให้ใจเป็นพระเป็นธรรมะของโลกุตระไว้ตลอดเวลา จะได้มีใจไว้สอน ไว้อบรมกายให้สำเหนียกในความจริง
พิจารณากันให้ถ่องแท้ไปอีกชั้นหนึ่ง

◙ คือจิตที่เราจะเอามาเป็นครูสอนกายนั้น จะต้องขัดเกลาล้างให้สะอาดก่อน โดยนำธรรมะนั้นมาล้าง มาขัดเกลาด้วยวิธีวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการพิจารณาหาสติมั่นคง หาอารมณ์ทรงตัวที่แท้จริงแน่นอน หาอารมณ์เอกัคตารมณ์เป็นนิจ ให้สุข สงบ เยือกเย็น สุขุมเยือกเย็น สุขุมนั้นตรงกันข้ามกับทุกข์ ร้อนรน คือไม่วุ่นวายและไม่มีโทสะ

◙ สิ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปัดขจัดไป แล้วจึงจะขัดจิตให้ผ่องพอที่จะพาธรรมะลงไปได้ พื้นฐานก็ได้ฟังกันหลายครั้งหลายคราแล้วด้วยกันคือ

1. จะต้องมีพรหมวิหาร 4
2. จะต้องขจัดโลกธรรม 8 ประการอย่าให้กินใจ ทำได้อย่างน้อยแค่ยินดีก็พอ
3. ต้องบรรเทาโทสะ บรรเทาโมหะ หลงว่าเป็นของๆ เรา ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ชื่อ นามสกุล ลงมาเป็นลำดับ บรรเทาความโลภ ให้มีความต้องการอย่างผู้หวังสันโดษพอแล้ว
เหล่านี้เป็นเบื้องต้นของการขจัดรอยในจิตเราให้ทรงตัวรับธรรม


◙ พึงปฏิบัติกัน ลำบากไหม ? ควรจะเป็นข้อ เป็นวิธีเพื่อให้เหล่าพวกเธอได้รู้ได้เห็น ได้รับในธรรมะให้มากทวีเพิ่มเป็นลำดับไป

◙ อันธรรมะขององค์ตถาคตนั้น เป็นธรรมะอันละเอียดรอบคอบลึกซึ้ง อ่อนหวานและอ่อนไหว ฉะนั้น เมื่อเหล่าศิษย์ทั้งปวงมุ่งหวังปฏิบัติในธรรมะให้แตกฉาน แล้วจะต้องอ่อนตาม รอบคอบตามพระธรรมนั้นด้วย ยิ่งทำจิตให้ละเอียดในการพิจารณาธรรมมากเท่าใด เธอจะมีจิตรับธรรมได้มากเท่านั้น

◙ เมื่อจิตรับธรรมเข้าไปมากเท่าใด การปฏิบัติก็จะยิ่งเข้มขึ้นมากตามธรรมที่อยู่ในจิต เพราะจิตรับธรรมเข้าไปแล้ว จะมีพลังกำลังที่จะเก่งกล้ากระทำปฏิบัติธรรมได้ กำลังนั้นคือกำลังใจซึ่งทางภาษาธรรมเรียกว่า บารมี นั่นเอง

◙ เมื่อทุกคนมีกำลังใจมาก กำลังกายก็จะไม่ท้อถอย จงสร้างไว้ให้มั่นคงเถอะกำลังใจ เมื่อศิษยานุศิษย์ทั้งปวงมีกำลัง พลังใจมากเท่าที่จะต่อสู้กับความชั่วอาสวะกิเลสทั้งปวงได้เมื่อใด เมื่อนั้นเธอจะเป็นผู้ชนะด้วย ชิตังเม นุสสตัง คือผู้ชนะด้วยสติ

((( โปรดติดตามตอน "คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธทีปังกร" )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 21/9/09 at 08:29 [ QUOTE ]




(Update 21/09/2009)

คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธทีปังกร

28 เมษายน 2515

• ทาน คือการให้
- การให้นั้น เป็นการกระทำที่แสดงออกมา แต่ถ้าไม่ครบองค์สำคัญ คือมีใจเป็นหลัก ก็ยังไม่เรียกว่า "ทาน"
• ทาน ความหมายรวมกัน คือ มีการกระทำได้แก่การให้ และมีใจที่เต็มเปี่ยมด้วยการเสียสละ เช่นนี้จึงเรียกเต็มได้ว่า "ทาน"

• ทานนั้นมีหลายอย่าง ดังที่เธอทั้งหลายพึงรู้แล้วว่ามีอะไรบ้าง ?
- การให้ ถือได้ว่าหากเราให้อะไรกับ คน สัตว์ เทวดา สมณะ อันเป็นทานที่เราเอื้อเฟื้อด้วยใจอันสละแล้ว ย่อมจัดเป็นทานที่เป็นกุศลมหาศาล ถ้าเราให้ขนมเด็กเพราะต้องการจะให้เด็กรักเรา การให้นี้ยังไม่ถือเป็นทานโดยแท้
- การให้ ต้องสละแล้วซึ่งของนั้น คือไม่ไปติดอยู่ในสิ่งที่ให้ไปแล้ว ถ้ายังติดถือว่าเรายังรัก หลง ห่วง หวง ในของชิ้นนั้น แสดงได้ว่าเรายังถือว่าอันนั้นแหละเป็นของเรา ในเมื่อยังถือว่าสิ่งของเป็นของๆ เราแล้ว เมื่อไรจะถือว่าตัวเราไม่ใช่ของเราได้ล่ะ

ฉะนั้น ทรัพย์สมบัติที่เป็นของโลกทั้งหลาย อันมีทรัพย์สิน เงินทอง อาภรณ์ นวรัตน์ต่างๆ อย่าไปคิด อย่าไปหลง อย่าไปห่วง อย่าไปกังวลกับมัน มีมาก็มีไป อย่าลืมว่าเราเกิดมาไม่มีอะไร ตายไปก็มีอะไรติดไปบ้าง คนที่รู้จักให้ รู้จักทานนั้น ก็ต้องให้รู้แจ้งคือรู้จริงและรู้แทงตลอด คือรู้แตกฉาน
• คำว่า ทาน คำเดียว ก็ไปนิพพานได้

☺ (ถาม – วัตถุทานจะไปนิพานได้หรือ ?)
• ได้

☺ (ถาม – ร่างกายให้เป็นทานได้ไหม ?)
• ได้ เมื่อร่างกายให้ได้แล้ว ฉะนั้น เธอก็ต้องตัดที่ใจได้ว่า เราไม่ใช่ของเรา

☺ (ถาม – แล้วให้ทานของนอกกาย จะไปนิพพานได้หรือ ?)
• อย่าลืมว่าเราปฏิบัติธรรม เราต้องเอาออกตั้งแต่เปลือกนอกมาเปลือกใน เมื่อสละเงิน 1 บาทได้ ต่อๆ ไปก็สละเงิน 10 บาทได้ ต่อไปก็จะสละเงินทองมากๆ ได้ ต่อไปอะไรจะเหลือ
- เราสละ คือการที่เราหัดฝึกใจให้เคยชินต่อกิเลส ความอยากได้ ความต้องการ การยึดถือ ยึดเหนี่ยว ใช่ไหม ?
- การที่พระทั้งมวลทานให้เธอทั้งหลายทำบุญ ไม่ว่าด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ก็ดี นั้นแหละ ถือว่าเธอนั้นได้ทดสอบใจตัวเองว่าวันนั้นเลวไหม ขี้เกียจไหม เห็นแก่ได้ไหม ?

☺ (ถาม – ตัดโลภะแล้ว โมหะจะเป็นอย่างไร ?)
• ไม่มีโลภ แล้วโทสะ โมหะ ก็อ่อนไป ถอยไป เพราะอะไร ? เพราะความอยากความต้องการมันหมดไปแล้ว มันจะหวงอะไร จะรักอะไร เมื่อไม่มีรัก ไม่มีหวง มันก็ไม่เกิดโทษ
• โมหะล่ะ ? โมหะยังยึด ยังถือ ยึดถืออะไร ? ก็เราไง ยึดถือว่าของเรา เราต้องเก่ง เราต้องดี เราต้องพิเศษ และวิเศษ ทุกอย่างต้อง ต้องนะ ต้องอยู่แค่รู้ มัชณิมาต่ำกว่ารู้ คือเสียใจ น้อยใจ ทำให้เกิดตัวอิจฉาตามมา อาฆาตตามมา

• สูงกว่ารู้ คือตัวดีใจ เห่อเหิม ลำพองใจ กระหยิ่มใจว่าเก่ง ตามมาด้วยทิฐิตัวมานะ เข้าด้วยโลกธรรม 8 ใช่ไหม ?
• ฉะนั้น จึงขอให้ รู้ อยู่แค่นั้น อย่าไปติด อย่าไปพอดี ให้รู้อยู่แค่ ดี แล้วทำไป
• ชั่ว ให้รู้อยู่ว่ามันชั่ว แล้วอย่าลอง

• ทานนั่นน่ะ เป็นบารมีใหญ่
1. ต้องประกอบด้วยตัวกระทำ
2. ต้องประกอบด้วยใจเจตนา

• ทาน แบ่งได้อีก 2 คือ
- ทานทางใจ
- ทานทางกาย
- ทานทางใจ คือพรหมวิหารเป็นหลัก
- บารมีทาน ทำให้เต็ม ก็ไปอย่างสบายโดยไม่มีพันธะกับโลก
- เหลืออารมณ์อยู่บ้าง ค่อยๆ ตัด ไม่ยากนะ ดื่มสุรายังยากกว่า ต้องหาเงิน หาอัฐ ต้องแอบ ต้องกัน อันตรายสารพัด

25 มิถุนายน 2515


☺...ประทานพร...
• ต้องการสิ่งใดขาดก็ต้องได้มา ไม่ต้องการสิ่งใด เกิน ก็หมดไป ภัยมาคลาด ทุกข์มาเคลื่อน โรคมี หาย คิดทำความดีเป็นไปจริง ทำในคุณงามความเจริญสำเร็จ หวังได้ให้พรนี้ สนองฉับพลัน...

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/10/09 at 09:58 [ QUOTE ]


(Update 05/10/2552)

15 มิถุนายน 2520


• คราวที่แล้ว ท่านเทศน์เรื่องทาน คราวนี้จะสอนเรื่องความเสียดาย คือความอาลัยอาวรณ์ในสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของก็ได้ทั้งนั้น
• ทำไมจึงต้องเสียดาย ?

• เพราะเรายึดเหนี่ยวของสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา ต้องอยู่กับเรา เราจะต้องหวงห่วงเอาไว้เพื่อเราเพื่อคนที่พอใจ เพื่อยึดถือ แล้วเราคิดว่ามีดีมีเสียอย่างไร พิจารณาพิเคราะห์ออกมาได้ไหม ?
• เพราะว่าเรายังหวังในสมบัติของโลก เมื่อเราหวงอยู่ในสมบัติของโลก การทำบุญการทำทานก็ออกจะตัดสินใจยากไป เมื่อเราตัดสินใจใน การให้ ไม่ได้แล้ว การเสียสละก็แทบไม่เหลือ แล้วเมื่อไรจึงจะพ้นภาระของโลกไปได้

• ที่ท่านสอนคราวที่แล้วได้อะไรไปบ้าง มีตอนไหนไม่เข้าใจไหม ? จะตรวจตัวเองได้ไหมว่าติดด้วยอะไร ทุกคนยังติดอยู่ เพราะถ้าไม่ติดไม่ข้องแวะ ป่านนี้ก็หมดกิจไปนานแล้ว แต่เมื่อรู้อยู่ว่ายังติดอยู่ เรารู้กันไหมว่าติดที่ตัวไหน ?

☺ (ตอบ – ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มทำกิจทางธรรม เลยยังไม่ทิ้ง)
• รู้ทุกข์ไหม ?

☺ (ตอบ – ทราบ เลยทำให้เกิดความอยากทราบต่อไป)
• รู้ทุกข์นะ ตัวทุกข์ ความทุกข์รู้ไหม ถ้ารู้จักก็ไม่น่าจะใช้คำว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ถ้าเป็นคนที่รู้จักทุกข์เพราะมีความเข็ดในทุกข์แล้ว เขาก็ย่อมจะหาวิธีที่จะให้หนีทุกข์

☺ (ตอบ – พยายามอยู่ แต่ไม่สามารถตัดใจได้ เพราะไม่แน่ใจในบารมีของตนเอง)
• บารมีนั้น เป็นกำลังส่งให้ใจมีความมั่นคง ที่จะตัดสินใจในกรรมฐานและให้เสร็จเด็ดขาด ฉะนั้น บารมีไม่ต้องคอย การทำบุญ การอยู่ในความดี หรือการบูชาพระ ก็ถือว่าเป็นการทำบารมีอยู่นั่นเอง

☺ (ตอบ – ทราบทุกอย่างที่สอน แต่อารมณ์มันยังคิดเข้าข้างตัวเอง)
• ปล่อยไป คิดให้สุดฤทธิ์แล้วแวะเข้ามาพิจารณาตลบหลัง

☺ (ถาม – ทำอย่างไร จะสามารถตัดขาดได้)
• เข็ด เรามีอารมณ์เข็ดไหม คือเจ็บแล้วจำ จำแล้วกลัว นั่นแหละ

☺ (ตอบ – ก็คิดได แต่หลายๆ วันก็กลับมาคิดอย่างเดิมอีก)
• แสดงว่ายังไม่เข็ด ยังอาลัยอยู่คืออยากที่จะรู้ จะคิดจะดูต่อไปอีก ไม่ใช่แล้วก็แล้วกัน

☺ (ถาม – อยากตัดให้ขาด)
• คิดยังไม่สุดฤทธิ์

☺ (ถาม – แล้วมันยังจะหยุดเองหรือ ?)
• นั่นแหละ มันหยุดไปชั่วขณะหนึ่ง แล้วตลบเอาธรรมเข้าล้าง ล้างแล้วรากยังมีอยู่ก็ปล่อยไป แล้วตลบอีก อย่างนี้วันหนึ่งก็หมดเอง แต่ต้องขุดรากทุกวัน

☺ (ถาม – อยากจะขุดราก)
• เสียมมีไหม ?

☺ (ตอบ – มีเสียมหัก)
• เสียม คือปัญญาในธรรมะ

☺(ตอบ – ขอประทานให้เกิดธรรมะ)
• ก่อนมีปัญญา ต้องมีสติคือระลึกอยู่ ระลึกว่าเราควรคิดเรื่องนี้ไหม คิดแล้วได้อะไร ปัจจุบันเราต้องการสิ่งนี้ไหม นั่นคือสติ แต่ถ้าคิดไม่รู้จบ เป็นทุกข์กังวล นั่นเรียกว่าฟุ้งซ่าน
• ทำเตโชซิ เวลาเราคิดวุ่นวายหาสติไม่ได้ หรือสติสมาธิน้อยไปให้เพ่งไฟ หันจุดสนใจไปอย่างอื่นเพื่อระงับใจ

☺ (ถาม – วิธีนี้ใช้ได้สำหรับทุกคนหรือ ?)
• ไม่ใช่.. เฉพาะตัว เขาเคยมีกสิณ

☺ (ถาม – สติไม่ทันกับสมาธิ ทำอย่างไร ?)
• ต้องฝึกหัดตน สติก่อนสมาธิ สมาธิ คือสติที่เป็นเอกัคตารมณ์

☺ (ถาม – คือต้องตั้งสติ แล้วจึงทำสมาธิ ?)
• ใช่... ทำอะไรก็ต้องรู้อยู่ว่าเรากำลังทำอะไร เป็นอะไรเพื่ออะไร พวกที่นั่งกันนิ่งๆ มีอะไรไม่เข้าใจหรือว่ารู้หมดแล้ว ? ไม่กล้าถามเพราะกลัวคนเห็นว่าเราไม่ดีหรือไง ?

☺ (ถาม – เราจะวัดความอาลัย อาวรณ์ได้อย่างไร ?)
• เช่น.. "ขันธ์" เธออาลัยไหม คนที่อาลัยในขันธ์ส่วนใหญ่จะเป็นคนเจ็บที่ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ เขาควบคุมไม่ได้ เขาก็เบื่อ แต่เราทั้งหลายเต็มไปด้วยอายตนะ ฉะนั้นขั้นแรกควรหมั่นตรึกตรอง คือตรองว่ากรรม 1 การปฏิบัติ 1 สติ 1 อารมณ์ 1 เป็นสิ่งที่เราต้องหากฎเกณฑ์มาบังคับ

☺ (ถาม – กฎเกณฑ์ คือศีล ?)
• ศีล มีกันหรือยัง ? ศีลเป็นข้อวัตรของสวรรค์ชั้นกามาวจร พรหมวิหารเป็นข้อวัตรของพรหม ฉะนั้น พร้อมหรือยัง มีพรหมวิหารแล้วถึงจะเข้าสู่อริยมรรค อริยผล

☺ (ตอบ – มี แต่คงไม่สมบูรณ์)
• ทำตัวนี้กันก่อน
• วันนี้ถ้าอยากดูใจว่า ที่อยากสละทุกข์นั้นไปได้แค่ไหนแล้ว เบื้องต้นก็ต้องดูพรหมวิหารก่อน ให้ทุกคนเพ่งเล็งตน ทุกๆ อย่างอย่าข้ามไป ดูให้ละเอียด ดูให้ลึกซึ้ง ไม่ใช่ว่าหู 2 ข้างมีไว้ฟังธรรม แต่ธรรมนั้นไม่กินใจและไม่ปฏิบัติตามธรรมที่ฟัง ทำใจมั่นที่จะเข้าใจในสติ 1 สมาธิ 1 แล้วปัญญาจะช่วยให้เธอผ่านเข้าสู่สัจธรรม

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 20/10/09 at 07:49 [ QUOTE ]


(Update 20/10/2552)

27 กุมภาพันธ์ 2523

• สุขสบายดีทุกคนนะ..?
• พวกเธอมีชีวิตอยู่นี้ ได้ปรารถนาพระนิพพานเป็นที่ไป ควรจะให้จิตรู้อยู่ตลอดว่าไปพระนิพพานเพื่ออะไร แล้วทำไมถึงต้องการไป

• การกำหนดวิธีพิจารณาในตัวของแต่ละคนนั้น ควรจะดูจากภายนอกเข้าหาตัว ให้รู้สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ประการหนึ่ง สภาพธรรมประการหนึ่ง อะไรที่เป็นเหตุปัจจัยดูแล้วพิจารณาเข้าหาตัวเอง

• ก่อนพิจารณาตั้งใจไว้ว่าเราจะตั้งมั่นใจความเป็นจริง เรื่องของศีลครบถ้วนเป็นปกติ ให้รู้อยู่ว่าสภาพของร่างกายนั้นมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นพื้นฐาน ให้รู้สภาพอารมณ์ของคนในกิเลสทั้งปวงอันมี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นพื้นฐาน นี่เป็นอารมณ์ของขันธ์ 5

• ตั้งจิตให้รู้ในอุปาทานที่มีโลกธรรม 8 ประการเป็นพื้นฐาน เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว จงตรวจดูในพื้นฐานต่างๆ ว่าจิตยังวนเวียนยึดในสิ่งใด เมื่อรู้แล้วจงหาเหตุการณ์ หาเหตุผลแห่งอารมณ์ที่บกพร่องนี้ อย่าได้พิจารณาวนเวียนจนจิตเศร้าหมอง จงพิจารณาให้จิตรู้ว่าไม่ดีแล้วหาทางที่จะระงับดับไปเสีย

• เมื่อพิจารณาแล้ว และจับปฏิบัติต่อไปก็จะดีขึ้นด้วยกำลังจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ถ้าจิตยังไม่มั่นคงแน่วแน่ การแก้ไขให้ปฏิบัติให้อยู่ในธรรมะนั้นก็จะยาก กำลังจิตกำลังใจนี้สำคัญ ในเมื่ออยากได้สิ่งหนึ่งก็จะต้องยอมทิ้งสิ่งที่สู้อีกสิ่งหนึ่งไม่ได้ จิตจะต้องมั่นใจที่จะทำ

- นี่คือ "ความเพียร" จิตจะต้องต่อสู้อุปสรรค
- นี่คือ "ขันติ" คิดให้ได้ในมรณานุสติว่า

• ทุกลมเข้าลมออกของหายใจย่อมจะหยุดได้เสมอ เธอไม่รู้เวลาของเธอ เธอจะต้องเร่งรัดตัวเองให้รู้จักใช้เวลาที่ยังมีเหลือยู่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เวลาสำหรับคนนั้นไม่เกิน 100 ปี แต่เป็นแต่เพียง 1 วันในกามาวจร ไม่นานเลยสำหรับการปฏิบัติให้ได้ซึ่งการพ้นทุกข์ ยอมอด ยอมทน

• ยอมอด คือ ยอมอดในกิเลส ยอมอดในความต้องการ ยอมอดในสมมุติ ยอมทนในภาวะของสังขาร ยอมทนในหน้าที่ที่เป็นคน เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นต่างๆ ที่กรรมทำมา ยอมทนในสมบัติภัยของโลก ไม่ช้าไม่นานเธอก็จะได้หมดซึ่งเวทนา หมดซึ่งทุกข์ทรมาน

• อีกไม่นานทุกคนก็จะต้องตาย อีกไม่นานทุกคนก็จะต้องเจ็บป่วย เหล่านี้เป็นของปกติคิดไว้เสมอ และต้องยอมรับในสภาพเหล่านี้ อย่าไปเสียใจ น้อยใจ เศร้าโศกกับปัญหาเหล่านี้เลย จงแยกกายซึ่งเป็นสิ่งปลอม ออกจากจิตเสีย

4 มีนาคม 2524

• ความทุกข์ ความลำบากจะทำให้คนรู้จักธรรมะ เมื่อรู้จักธรรมะแล้วก็จะต้องรู้ กำหนดใจให้อยู่ในธรรมะนั้นด้วย ธรรมะที่องค์ตถาคตทรงสั่งสอน ในบาลีคาถานั้นสอนให้มวลสัตว์ทั้งหลายรู้จักธรรมชาติที่แท้จริง

• สภาพภาวะที่ได้รับสิ่งเหล่านี้เป็นของแท้ เป็นของจริง อย่าไปฝืนธรรมชาติ จงยอมรับมันเข้ามาในใจเรา จงตั้งตนหลีกอารมณ์ร้อน อารมณ์ทุกข์นั้นเสีย

• อารมณ์นั้นคือโลภ ความร้อนในการยึดถือของที่คิดว่าเป็นของๆ ตัวเอง การยึดถือว่าใช่เรา ใช่ของเรานั้นจะทำให้ใจเกิด โลภ หวง ห่วง เมื่อมีการยึดถือแล้ว สิ่งที่ไม่ตรงใจปรารถนามากระทบโดยที่เราเอาตัวของเราเข้าป้องกัน เกิดเป็นโทสะ

• เมื่อเกิดด้วยโทสะแล้ว ความหลงจะครองสติ ทำให้ใจยึดมั่นใจตัวเรา ของๆ เรามากขึ้นจึงเป็นโมหะ นี่เปรียบดั่งเธอทั้งมวลพยายามยืดยื้อของทั้งหลายให้เป็นไปตามใจตัว ตามใจของตนซึ่งเป็นการฝืนธรรมชาติที่ควรจะเป็น จงตั้งใจดำรงตนให้อยู่ในทางสายกลาง ให้สภาวะสภาพที่ดำรงเป็นไปตามภาวะในทางที่ควร อย่าไปฝืน

• เมื่อฉันหันมาพูดกันในลักษณะต้น เคยสอนกันมาแล้วทั้งนั้น พยายามนะ ตั้งใจพิจารณาอยู่ทุกครั้งที่ความทุกข์มาสัมผัส อย่าเอาความโลภเข้าป้องกันตัวเอง เมื่อพิจารณา อย่าเอาความโกรธเป็นเครื่องตัดสินใจ เมื่อมีสิ่งไม่ถูกใจมากระทบ อย่าเอาความหลงเฝ้าทะนงตนเพื่อปกป้องตนเองจากการตำหนิตนเอง

• นี่เป็นเรื่องของการพิจารณาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ จงระลึกอยู่ว่าเราตั้งใจและมั่นใจแน่วแน่แล้วว่า ชาตินี้จะขอเป็นชาติสุดท้าย ไม่มีชาติหน้าหรือชาติต่อไปอีก ถ้ามั่นใจเช่นนี้ ก็ขออย่าได้วิตกกังวลในเรื่องที่พบ ที่ประสบอยู่

• สิ่งที่เป็นอยู่นี้ จะเป็นข้อสอบของพวกเธอดีที่สุด ทุกข์ที่ได้รับแต่ละคนนั้นล้วนมากมายเฉพาะคนไป แต่ทุกข์ที่ได้รับนั้นอยู่ที่ตัวของเราเองว่า ใจเรานั้นรับภาระของทุกข์มากน้อยเพียงไร

• ขอให้ทรงสติสัมปชัญญะไว้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายยอมตายถวายชีวิตต่อองค์พระพุทธเจ้าแล้ว จงเชื่อมั่นเถิดว่า ท่านทรงอนุเคราะห์พวกเธอจนถึงที่สุดเยี่ยงบุตร

• ถ้ามั่นใจในท่าน ทุกข์จะนำทางให้เธอถึงพระนิพพาน ฉันใช้คำว่า "ทุกข์นำทาง" นั้นเพราะในโลกนี้หาสุขจริงไม่ได้ คนเห็นทุกข์คือผู้เห็นธรรม คนรักทุกข์คือผู้รู้ธรรม จริงไหม ?

• ยามนี้นะ ต้องขึ้นอยู่ที่ตัวเธอเองด้วย ธรรมดาพ่อแม่ย่อมเป็นผู้สอน ผู้ให้ เมื่อบุตรมีสภาวะที่ควรจะรู้ ควรจะเป็นไปตามภาวะ พ่อแม่จะเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ลูกเดิน จะให้พ่อแม่จับขาลูกเดินนั้น จะขึ้นชื่อว่าพ่อแม่ฆ่าลูก เข้าใจไหมตรงนี้ อย่าโลเลใจ

• ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองทั้งสิ้น ทางเดินของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน ขวากหนามต่างกันไป ขอย้ำว่า อย่าเอาตัวเราไปเทียบกับคนอื่นที่สอนไป คงจะเป็นผลนะ จะถามไหม ?

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 30/10/09 at 07:47 [ QUOTE ]



(Update 30/10/52)

คำเทศน์ สมเด็จพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ

13 มกราคม 2520


• จิตของเราผสมด้วยหลายสิ่ง นานมาแล้ว หลายชาติ หลายกำเนิด ฉะนั้นเธอผู้หวังจะชำระจิต ก็ต้องมีการเพียรไม่เบื่อหน่าย จะต้องทำด้วยความสุข จึงต้องใช้เวลากันหน่อย

• ตั้งใจ และมั่นใจให้แน่วแน่ เอาเรื่องอะไรที่ไม่เป็นมงคลออกไปจากใจ อกุศลอคติ เอาออกไปให้พ้น จงตรวจจิตเราดูทุกๆ วันว่าเรานั้น ยังมีสิ่งไรที่มันสกปรกอยู่

- โลภะ มีไหม ?
- โทสะ มีไหม เราเป็นคนอารมณ์ที่ปรารถนาหลอกความจริงไหม ?
- โมหะ เรายึดถือตัวเราเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไหม ?

• ตรวจ และค้นให้พบ ล้างมันให้ออก โดยเห็นแจ้งกับคำว่า ไม่ถูกใจ เมื่อมี 3 สิ่งกระทบจิต ความไม่ถูกใจจะบังเกิด ความไม่พอใจจะเป็นแรงดัน ดันมากๆ ก็หงุดหงิด บันดาลอารมณ์ร้าย ร้อนแรง และจะพบว่ามันเป็นทุกข์ เมื่อรู้ว่ามันเป็นทุกข์ เราจะแก้ความลำบากของคำว่า ทุกข์ นี้ได้อย่างไร ละจากโลภะ โมหะ โทสะ ได้อย่างไร ?

• พรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร 4 จะแก้ได้ คือ
1. เมตตา ความสงเคราะห์ เห็นอกเห็นใจกัน
2. กรุณา ความช่วยเหลือเจือจุนที่หวังผลน้อยที่สุด
3. มุทิตา คือไม่เห็นว่าของคนนั้นของคนนี้เขาดีกว่า เลิศกว่า ยิ่งใหญ่กว่า แล้วบันดาลความชัง
4. อุเบกขา คืออารมณ์ปกติที่ทุกคนควรจะทำได เมื่อเขาต่ำกว่าก็ไม่ไปกด เมื่อเขาสูงกว่าก็ไม่ไปดื้อดึง


• อันนี้ เป็นคุณธรรมของอารมณ์ที่พุทธศาสนิกชนที่มุ่งอริยสัจ หวังพระนิพพานเป็นแดนอมตะ ควร และพึงกระทำเป็นสิ่งต่อไป

- เมตตาในเมตตา ยังระลึกได้ไหม ?
- เมตตาในเมตตา คือ ความสงสารที่จะช่วยเหลือและมีความกระตือรือร้นที่จะโอบอุ้ม
- เมตตาในกรุณา คือ มีความสงสารที่จะช่วย ทั้งๆ ที่กำลังช่วยก็รู้สึกว่าช่วยยังไม่พอ
- เมตตาในมุทิตา คือ ไม่เป็นเดือดเป็นแค้นต่อสิ่งที่จะมาชิงชัง และยังมีความสงสารที่โดนชิงชัง และคนที่ชิงชังว่ารู้น้อย
- เมตตาในอุเบกขา คือ คนที่วางอารมณ์อยู่ในสุขุม และไตร่ตรองอย่างเยือกเย็น เพื่อความสงสารบางสิ่งที่ไม่มีความเป็นกลาง

- กรุณาในเมตตา คือ การช่วยเหลือโดยยังไม่สิ้นเยื่อใย
- กรุณาในกรุณา คือ การช่วยเหลือชนิดไม่ยอมทิ้ง
- กรุณาในมุทิตา คือ ช่วยเหลืออย่างไม่หวังผล
- กรุณาในอุเบกขา คือ ช่วยเหลือโดยมีสติ คือรู้พอ รู้หยุด รู้ชั่งใจ

- มุทิตาในเมตตา คือ ไม่มีความชังต่อสิ่งที่น่าสงสาร
- มุทิตาในกรุณา คือ ไม่มีความชังต่อการช่วยเหลือ
- มุทิตาในมุทิตา คือ ไม่มีหน้ากาก
- มุทิตาในอุเบกขา คือ ไม่ชิงชังในความสุขุม

- อุเบกขาในเมตตา ความสุขุมในเมตตา คือ รู้จักว่าสงสาร ควรสงสารแค่ไหน
- อุเบกขาในกรุณา สุขุมต่อการช่วยอนุเคราะห์
- อุเบกขาในมุทิตา สุขุมต่อการระงับใจและอารมณ์ต่อความชัง
- อุเบกขาในอุเบกขา เฉย ซึ่งมีสติปัญญา


• ยังมีที่ละเอียดอีกมาก และกลัวว่าจะยากเกินไป นี่แหละคือส่วนน้อยๆ ของจิตคน เมื่อมีพรหมวิหารดับทุกข์ของโมหะ โทสะ โลภะ แล้วเราก็ได้ตัวที่ไม่เกิดทุกข์ พ้นทุกข์ได้อย่างไร ที่สอนมานี้ ?

1. ทุกข์ รู้ใช่ไหม ได้บอกมาตอนต้นๆ แล้ว
2. เหตุแห่งทุกข์ รู้ไหม
3. การดับทุกข์ รู้ไหม คือที่เทศน์ผ่านไปแล้ว และสุดท้ายคือ
4. การพ้นทุกข์... จบ..!


• พรหมวิหาร คือ ข้อวัตรของพรหม คนที่ทรงพรหมวิหารได้ ก็คือพวกอริยะ
- อริยะมี 2 พวก "อริยมิจฉาทิฐิ" กับ "อริยะ"
- "อริยมิจฉาทิฐิ" นั้น คือ พวกที่ขัดเกลาใจ มีวิหารธรรมที่ถูก แต่มีศาสดาคนละแห่ง พราหมณ์เขาถือว่าพรหมสูงสุด แต่จุดหมายการปฏิบัติเดียวกันคือชำระใจ
วิมุตติมีกี่อย่าง ? มี 4 อย่าง แล้วจะเทศน์ต่อ

☺ (ถาม – พราหมณ์ไม่ถึงนิพพานหรือ ?)
• แค่อนาคามี

☺ (ถาม – คริสเตียนเป็นอย่างไร ?)
• โลกีย์

☺ (ถาม – อิสลาม ?)
• โลกีย์
• คริสต์และศาสนามะหะหมัด เทวโลกเท่านั้น แต่ก็เป็นสิ่งงดงามไม่แพ้กัน เพราะยังยึด..ยังถือสิ่งๆ เดียวกันคือ... "ความดี"

31 สิงหาคม 2520

• อันบุคคลผู้ประพฤติธรรม หรือมุ่งหวังในวินัยธรรมนั้น ย่อมจะมุ่งรู้ลู่ทางปฏิบัติธรรมให้เกิดความแตกฉาน และหวังผลปฏิบัติในทางสูงสุดของธรรมเป็นที่หมาย จึงใคร่ขอน้อมเอาใจมีสาระ มาสอนกายที่ยังมีราคีอยู่อีกมากโข ให้กระจ่างในการประพฤติปฏิบัติในธรรม รู้ธรรม

• การปฏิบัติให้รู้ในธรรม ต้องเริ่มปฏิบัติที่ "วาระของใจ" เป็นเบื้องแรก

• แรกนั้น ผู้หวังธรรมเป็นที่หมายต้องระลึก เข้าถึงภาระ ภาระก่อขึ้นเป็นหน้าที่ เป็นกิจวัตรของแต่ละบุคคลเป็นที่ตั้ง ภาระเมื่อก่อเกิดกำเนิดขึ้นย่อมมีวันหมดสิ้นสุดลง แต่ถ้าบุคคลยังยึด ยังถือว่าภาระนั้นเป็นของๆ เรา หรือลืมไป ถือเอาว่าภาระนั้นคือเรา เมื่อนั้นบุคคลนั้นจะไม่ยอมรับรู้วันสิ้นสุดของภาระนั้นๆ ซึ่งเป็นของธรรมดาของโลกวิสัย จะต้องแจ้งแสดงอยู่ในจิตใจเราอยู่ตลอดนิจกาลว่า ของทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมมีวันสิ้นสุดหยุดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวันใด เวลาใด หรือแม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ตาม

• เราอาจเสียภาระทั้งหมดทั้งสิ้นไปโดยฉับพลัน และถ้าบุคคลที่ประมาทก็ยังมิอาจเตือนจิตเตือนใจให้ระงับอาลัยเสีย ตายในภาระนั้นได้โดยขาดสติ ขอให้ระลึกถึงวันเวลาที่ผ่านไปตามภาระโอกาสของแต่ละคนที่ลงมาเพื่อบำเพ็ญเพียร และขอให้ได้ความเพียรนั้นเป็นรางวัล กลับไปสู่ภาระเต็มแห่งตน

• เวลาแห่งการสิ้นสุดมีอยู่ทุกวินาที จงตั้งตน ตั้งสติ ตั้งความเพียรแก่ตนให้เข้มแข็งขึ้นทุกวินาที นั้นแต่นี้ไป

• ระหว่างที่แต่ละบุคคลได้มุ่งหวังธรรม แม้ว่าจะเป็นการเพียรด้วยใจมากกว่าเพียรด้วยกายก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ยังเกาะกินในใจในจิตอยู่มากมายนั้นคืออารมณ์ อารมณ์ในรสธรรมนั้นมีน้อย อารมณ์ในรสโลกนั้นยังมากโข สิ่งนี้แหละที่ทำให้ตนปฏิเสธไม่ได้ว่า ฉันดี ของฉันดี

• ฉัน และ ตัวฉัน นำมาซึ่งราคะต่างๆ ราคะอันนี้เป็นตัวเชื่อมให้ความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หายไป เมื่อหายไปจะได้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติธรรมอยู่อีกหรือ สิ่งนี้แหละที่บุคคลทั้งหลายประพฤติเพื่อขายชื่อผู้มีอุดมพรเป็นยิ่งแล้ว

• จงหมั่น.. จะมุ่งสู่ผลที่จะพึงหมายปฏิบัติให้เป็นเลิศ

5 ตุลาคม 2520

• ที่ได้สดับธรรมกันไป ประพฤติถึงไหน.. เตือนสติ เตือนอารมณ์กันไว้ว่าอย่าได้ปล่อยให้อารมณ์ออกมาเพ่งพ่านข้างนอกบ่อยๆ นะ หมั่นตรวจดูจิตดูใจบ้างหรือเปล่า มีไหม สมาธิเรียบร้อยดีรึ หรือว่ายังฟุ้งซ่าน จับมันเก็บไปทิ้งเสีย เวลาทำสมาธิขอเพียงตั้งสติมั่นในอารมณ์ฌาน เท่านี้ก็จะเกิดปัญญาพิจารณาธรรมในธรรมให้รู้แจ้งแทงตลอด สามารถเข้าถึงธรรมได้

☺ (ถาม – เวลามีทุกข์เวทนา ทำอย่าไรจะตัดขันธ์ 5 ได้โดยใจไม่ห่อเหี่ยว ?)
• ห่อเหี่ยว หดหู่ มาจากกำลังใจตกเพราะขาดสติ ใช้ธรรมเป็นปัญญาแก้จึงจะไม่เกิด วิธีแก้ ใช้วิปัสสนา รู้ไหม ?

☺ (ตอบ – ยังไม่กระจ่าง)
• พิจารณาในขณะที่ยังดำรงอารมณ์ของอารมณ์นั้นให้แตกดับ ถ้าพละกำลังของเรายังไม่พอ "พัก"...เพื่อรวมใจว่า เหตุที่มากระทบมาจากผลที่ทำอะไรลงไป มูลฐานมีมาอย่างไร ถึงจะทำให้เหตุและผลนั้นสรุป หยุดอยู่ที่ธรรมะ

"ขอให้พึงปฏิบัติตนในเหตุที่สมควร แก่บุคคลผู้ประพฤติธรรม หวังธรรมเป็นที่ไปและที่อยู่..!!!"

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 14/11/09 at 05:37 [ QUOTE ]



(Update 14/11/52)

คำเทศน์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ที่ 5 ของกัปที่แล้ว

20 กรกฎาคม 2520


• พิจารณาปฏิบัติธรรมกันได้แค่ไหนแล้ว ก้าวหน้าบ้างไหม ?

• การปฏิบัติธรรมให้ถึงสัจธรรมนั้น เราต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง มั่นคง อย่าเอาสัจธรรมอยู่ที่ปาก จงเอาสัจธรรมอยู่ที่อารมณ์ จงเอาสัจธรรมอยู่ที่กิจวัตร เหตุที่กล่าวมานี้คงรู้ว่าเป็นฉันใด ปากนั้นอาจจะพูดจาเป็นหลักธรรม แต่ใจนั้นหามีหลักธรรมมากเท่ากับปากพูดไม่

• อารมณ์นั้น อย่าให้กระทำอยู่ที่อารมณ์ จงหมั่นให้หลักธรรมมาเป็นกิริยาของเรา แล้วเราจะรู้ได้แน่ว่าธรรมนั้นไม่ใช่ตามใจตน มีอยู่ทุกเวลาทุกลมเข้าออกของเรา ความเบื่อซึ่งเกิดจากอารมณ์นั้น เรารู้ได้แน่รึว่าเป็นความเบื่อจากโลก สู่โลกุตระ

• การเบื่ออย่าถือเอาอารมณ์เป็นสิ่งที่ตัดสินพิจารณาว่า แค่นั้นฉันเบื่อแล้ว จงเอาหลักธรรมเข้าพิจารณาว่าอารมณ์เบื่อนั้นเป็นสิ่งที่เราเบื่อโดยแท้แน่นอนหรือเปล่า

• ถ้าเป็นการเบื่อเพราะประสบกับทุกข์ ประสบกับความผิดหวังหรือเวทนา เราจะเบื่อไม่จริง เพราะอาการเบื่อเช่นนี้ทำให้จิตตก หมดกำลังกาย ใจ เลยกลายเป็นเหมือนว่าขี้เกียจ แต่ความเบื่อในโลกนี้แท้จริงอยู่ที่ใจ คือรู้อยู่ว่า “พอแล้ว”

• แต่กำลังกายใจต้องเข้มแข็ง ทำต่อไปในเรื่องงาน ในหน้าที่ที่เราเป็นคน เป็นพ่อ เป็นแม่ ลูก หลาน ผัว เมีย รู้อยู่ว่าร่างยังคงเป็นขันธ์ 5 อยู่ เมื่อเรามีเบื่อเช่นในธรรมะแล้ว ความรู้สึกหมดอาลัยตายอยากก็จะหายไป เมื่อหายไป ธรรมะของเราก็จะก้าวหน้าขึ้น แจ้งไหม รู้จักเบื่อธรรมหรือยัง ?

• เมื่อรู้อาการของ (การ) เบื่อหน่ายในโลกก็ต้องสัมผัสอาการ (ของ) คำว่า “พอ” “พอแล้ว” “เท่านี้พอแล้ว” ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ห่วง ไม่หวง ไม่โกรธ ไม่หลงที่ว่า “พอ” นั้นต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้งว่า “พอ” นั้นรู้อยู่เช่นไร รู้ไหม ทำอารมณ์ให้เข้าความรู้สึก (ให้) ซึ้ง เข้าใจไหม ?

☺ (ถาม – พอ ในที่นี้หมายถึงสันโดษหรือ ?)
• ใช้ สันโดษ สำรวม สำรวมในอาการ สำรวมในกิริยาที่ว่านี้ไม่ใช่ให้นั่งอยู่นิ่งๆ ไม่พูดจากับใคร แต่หมายถึงสำรวมอาการหรือระงับหรือดับความโลภ โกรธ หลง ลง เข้าใจไหม ?

☺(ถาม – สำรวม หมายถึงสำรวมในศีลหรือ ?)
• ด้วยซิ
• ตรงนี้ เข้าใจกันไหมว่าไง เพราะเป็นเรื่องละเอียดของจิต ว่าไง ที่พวกเธอยังติดอยู่ส่วนมากทีเดียว คืออารมณ์ อารมณ์กินใจ กินกาย

☺ (ถาม – คือยังยึดยังถือกันอยู่หรือ ?)
• ยึดมาก ยึดว่าฉันสำคัญ ทุกคนต้องเห็นแก่ฉัน รักฉัน รักของๆ ฉัน รู้ทุกคน แต่แก้ไม่ได้

☺(ถาม – เวลาปกติจะสำรวมได้ไหม ?)
• ได้ ถ้าเราตั้งตัวเราอย่างเป็นกลาง
• แน่นอน ทำอย่างไรล่ะ อยากให้พวกเธอคิดให้ออกเอง จะได้พิจารณาไปด้วย

☺(ถาม – การระงับอารมณ์ ?)
• ระวังไง ระงับด้วยความเฉย เฉยครั้งแรกคือสงบปากสงบใจ สงบปากแล้วอารมณ์ที่มันจะโกรธจะร้อนอยู่ภายในกายใจ เมื่อเราจับอารมณ์ คือลิงเข้าไว้ในกาย เราจะจับอารมณ์มัด คือมีสติบ้าง ไม่มีสติบ้าง ก็ยังอนุโลมให้อารมณ์ร้อนนั้นค่อยๆ คลายลง

• เมื่อถึงความเย็นของจิตแล้ว เอามาใคร่ครวญ พิจารณาดู เมื่อมีสติเป็นสมาธิแล้ว เอาธรรมเข้าแก้ แล้วทีนี้ล่ะวันหนึ่งจะเชือดคอลิงได้ เข้าใจ “เฉย” หรือยัง

☺(ถาม – เฉย หมายถึงอุเบกขาด้วย ?)
• อุดทวารก่อน อุเบกขายังอีกไกล ถ้าเธอรู้สึกโกรธ โลภ หลง หวง ก็จงเฉย ไม่แสดงออก เป็นนักพรต เล่นงิ้วให้มันวุ่นวายอยู่ในใจไปสักพักหนึ่ง แต่พยายามเม้นปากไว้

• เมื่อไม่พูดอาการก็ไม่ออก อารมณ์ก็อาละวาดอยู่ในกาย ในใจเรา ทิ้งไว้สักพัก (เมื่อ) สติค่อยๆ กลับคืน ทิฐิมานะค่อยๆ คลายแล้วเราจะรู้สึกตัวเราขึ้นมา เมื่อรู้สึกตัวเราจะมีสติ แล้วมีสมาธิตามมา แล้วจึงพิจารณา

1. ทุกข์ที่เกิด เป็นเพราะอะไร โกรธเขาทำไม เสียใจทำไม น้อยใจทำไม
2. อนิจจังไม่เที่ยง
3. อนัตตา ไม่สิ้นสุด ถ้าเราขืนทำเช่นนี้ต่อไป เราจะหาความสุขไม่ได้
4. ยกดูวาระกรรม กรรมคือการกระทำ เราอาจจะเคยทำกับเขามาแล้ว ใจเราจะเป็นอภัยทาน หายโกรธ หายมัวเมา


• เข้าใจไหม ถามซิว่าน้อยใจทำไม ทำไมเขาไม่เห็นความสำคัญของเรา

☺(ถาม – ถึงเราไม่ผิดเขาก็ว่า)
• ช่างเขา อนิจจัง วันหนึ่งถ้าบุญเขาดี คงเห็นความดีเรา

☺ (ถาม – ต้องมีความรักมาผูกพัน ?)
• ใช่.. มีรัก มีห่วง หวง หลง หึง ท่องเอาไว้
• ที่ว่าอนิจจังคือ เรามันไม่มองดูความจริง เมื่อมีเหตุมาปะทะ ความจริงคือทุกๆ อย่างต้องมีเกิด (คือใหม่) ต้องมีเจ็บ เสีย (คือแก่) ต้องมีตาย (คือหมดสภาพ) ใช้ได้หมดครบคน สัตว์ สิ่งของ

• อย่าไปเสียดาย บางทีได้ของมารักมากเก็บไว้ นานไปก็เป็นไปโดยสภาพ คือเก่าแล้วหมดสภาพ แล้วใจเราก็เสียดาย อาลัยในสิ่งนั้น แจ้งไหม ?
• สอนวันนี้ จะทำได้แค่ไหน ทำได้ไหม บนนิพพานไม่มีงิ้วนะ

☺(ถาม – พวกเป็นครู บางทีต้องทำท่าดุ กลัวจะเป็นการไม่ดี)
• อย่าให้กินใจ ของทางโลกอย่าไปเสียดายอารมณ์ เพราะเราจะไปจากโลก โลกธรรม เราต้องล้าง ล้างจากสมบัติของโลก สมบัติของโลกคืออะไร คืออนิจจังซึ่งเป็นอนัตตา ทำให้เกิดทุกขัง
• ของที่แน่นอนมีอะไร สัจธรรมเป็นของแน่นอน เวลาเป็นของแน่นอน
• มีใครติดธรรมะข้อใด ฉันจะได้สาธยาย บารมีล่ะ ติดอะไร ?

☺(ถาม – ขอฟังอธิษฐานบารมี)
• อธิษฐาน คือคำเปล่ง คำตั้งใจให้มีสัจจะ มั่นคงต่อสัจจะบารมี
• สมมุติล่ะ สมมุติ ทำให้เกิดอะไร?
• อุปาทาน อุปาทาน ทำให้เกิดอะไร ?
• การยึดถือ เป็นทิฐิ ทิฐิทำให้เกิดอะไร ?
• เกิดโทสะ โมหะ โลภะ กลับมาที่เดิมอีกแล้ว ในที่สุดทำให้เกิดอะไร ?
• เกิดภพ เกิดชาติ แล้วทำให้เกิดอะไรต่อไป ?
• เกิดอบายภูมิ จบ แล้วจะขึ้นอย่างไร ?

• เห็นไหม ธรรมะของพระพุทธองค์ไม่ยากเลย มีอยู่เท่านี้ ที่ทำให้เราได้เกิดมาช้ำ ช้ำกายช้ำใจช้ำชอก เนื้อก็ต้องหั่นให้เขา ใจก็ต้องแบ่งให้เขา หมดฤทธิ์หรือยัง เบื่อไหม ?

☺(ตอบ – ยังเบื่อไม่เด็ดขาด)
• พรุ่งนี้สนุกก็เอาใหม่ ปิดกรงเสียนะ คืออะไร คือปิดทวารเสีย หาอาวุธฆ่าลิงได้หรือยัง ?

☺(ตอบ – มันยังทื่ออยู่)
• ทื่อ..คืออะไร..? คือไม่แตกฉาน เพราะเราไปตามสบาย รู้กันทั้งนั้น เขาเรียกว่าเรียกเก่งแต่สอบไม่เป็น เจอข้อสอบเข้าทีหนึ่ง..งงหมดเลย หมดหรือยัง “หมด” ได้ไปก่อนเอาไหม หมด หมดทุกข์ โศก โรค ภัย และโลกีย์

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 20/11/09 at 09:07 [ QUOTE ]



(Update 20/11/52)

คำเทศน์ของสมเด็จองค์ทรงแพทย์ (คือทรงเคยเป็นแพทย์)

23 กรกฎาคม 2525


• โมทนาทุกคนที่หมั่นทำบุญกุศลกรรม เพื่อพระนิพพาน จงตั้งใจไว้ทุกขณะจิตว่า เราจะไปพระนิพพาน..!

คำเทศน์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

14 ธันวาคม 2520

• คนทุกคนย่อมหวังเอาอำนาจเป็นที่ตั้งแห่งตน ถึงแม้ว่าจะไม่แสดงอำนาจต่อสาธารณชนหรือต่อคนภายนอก ก็ย่อมแสดงต่อตัวบุคคลต่างๆ อย่างที่จะทำลงได้

• อำนาจเป็นสิ่งที่ทุกคนจะอวด หรือหลง ทะนง เหิมเกริมในความประมาทแห่งตนเอง ว่าฉันมีพลังแห่งความน่ากลัว น่าเกรงขาม เพื่อฐานะ 1 เพื่อศักดิ์ศรี 1 เพื่อความใหญ่โต 1 เหล่านี้เป็นความหลง ความโง่

• เมื่อมีอำนาจเข้าครอบงำ ความรู้ตัวตนเอง สติความระลึกในความสามารถ ฐานะจะห่างไป ความประมาทจะเข้าแทนที่ เมื่อนั้นใจจะมีความกำเริบ หลง โมหะในตน โกรธเมื่อไม่พึงปรารถนา โทสะ โลภ เมื่อมีความไม่รู้จักพอ เหล่านี้จะเป็นทางให้ตัวของเราตกต่ำ หาสติไม่ได้

• ตัวบังคับ สอนบุคคลอื่นให้มีเหตุผลต่อตัวได้ แต่ตัวทำไมไม่รู้ ไม่ดูว่าตัวใช้อำนาจในสิ่งที่จะใช้จะได้มา ต่อผู้อื่นว่ามีเหตุผลหรือไม่

• จงอย่าใช้สิทธิของตนในเรื่องอำนาจให้แก่ตนมากเกินไป ควรดูตัวของตนให้พร้อมเสียก่อนว่าเหมาะสมถูกควรเพียงใด ที่จะเอาอำนาจมาสอนคนอื่น
นี่แหละที่ทุกคนยังใช้กันอีกมาก

• เราจะปฏิบัติตนเพื่อหาวิมุตติสุข เราก็ต้องปฏิบัติตนให้เป็นแนวทางของตน โดยการดูตัวเองให้มากกว่าไปดูผู้อื่น พึงสนใจในความไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควรของตน และพึงปรับปรุงแก้ไข มิฉะนั้นจะเป็นการพอกพูด ไม่มีใครสามารถช่วยได้นอกจากตนเอง

• หาความสงบจากการปฏิบัติใจให้เพียงพอเท่าที่เราจะพึงมี จะพึงเป็น จงอยู่ในความไม่ประมาทในศีล ไม่ประมาทในสติ ไม่ประมาทในชีวิต แล้วเราจะหาความสุขของใจได้อย่างแช่มชื่น เราจะเป็นคนรู้จักประมาณตน เราจะมีสติรู้ทนคน รู้ทันอารมณ์ตนเอง แล้วเมื่อนั้นเธอจะประคองใจให้อยู่ในอารมณ์อันสงบนิ่ง คือสมาธิ

• เมื่อมีสมาธิ ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดสติสัมปชัญญะ เมื่อนั้นเราจะรู้ตนและรู้สภาพแห่งตน เมื่อนั้นเราจะมีความแตกฉานในสติแห่งปัญญาที่จะแก้ไขเหตุการณ์ พิจารณาดูวัฏฏะของทุกขเวทนาให้ชัดแจ้ง

• ใจเราทุกคน ปรารถนาเรื่องความสุขที่หวังไม่เกิดภพเกิดชาติ ฉะนั้น หมั่นล้างชำระตรวจใจที่ยังเต็มไปด้วยราคี โลภะ โทสะ โมหะ รวมเป็นกิเลส ต่อมาเป็นตัณหา ความต้องการ – ไม่ต้องการ และกลายเป็นอุปาทาน ยึดหลง หลงในอรูปและรูป เหล่านี้ยังชั่วนัก

• ทำลายมันเสียไปใจดีกันทำไม ในที่สุดก็ทำให้เกิดทุกข์ ความทรมานแสนสาหัส อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน อนัตตาคือความไม่สิ้นสุดของวัฎฎะ เหล่านี้เป็นสิ่งประโลมโลก

• อัตตา ตัวตน อย่ายึดอย่าถือว่า เรา ของเรา เป็นเรา ของก็คือของที่เราขอเขาใช้ชั่วคราว “เขา” คือโลกทรัพย์ อำนาจนั้น หมายถึง ความเป็นคนหน้าที่ของคนที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่นตัวอย่าง พ่อบ้านแม่บ้านมีอำนาจต่อลูกบ้าน พ่อเมืองจนไปถึงแม่เมือง เป็นต้น

• คนดีกว่าสัตว์ตรงไหน ? คนดีกว่าสัตว์ตรงที่ว่าคนเรามีสติ ความรู้สึก สำนึก รับผิดรับชอบ รับชอบนี่ทุกคนชอบรับ แต่รับผิดมักจะเกี่ยงกัน ปัญญาเป็นปฏิภาณไหวพริบที่คนมีมากกว่าสัตว์ ลองมาเปรียบดูว่าคนเราเวลาขาดสติ คือการหลงลืมแล้วเป็นโกรธ

• เวลาคนโกรธนั้น ทั้งดุ ทั้งร้าย ทั้งเจรจาออกมาเป็นความบ้าง ไม่เป็นความบ้าง รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง โมโหเข้ามากๆ อาจจะทำร้ายตามกำลังความถนัดของตน แล้วลองมาดูสัตว์กันบ้าง เวลามันโกรธ ทั้งเห่าทั้งหอน ทำร้ายกัน เลยต้องกัด ต้องข่วน

• นี่แหละ... ขอให้พิจารณาพินิจพิเคราะห์ดูให้รู้ให้เห็นแสดงความรู้สึกนึกคิด จดจำไว้ในจิตในใจเราตลอดไป ตราบจนเมื่อเราพ้นภาวะความเป็นคน คิดดูนะว่าเหมือนไหม ?

• เธอทั้งหลาย ยังติดอยู่ที่ขาดสติรับผิดขอบในตน คนที่ไปเมืองวิมุตติสุขได้นั้น ได้ด้วยสติ ถ้ายังขาดสติกันอยู่ก็อย่าหวังความก้าวหน้าทางอารมณ์ จงตั้งใจตั้งมั่นให้แน่วแน่ที่จะเอาจริงๆ จังๆ กับการปฏิบัติเพื่อความสงบจิต

• ลา...





◙ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พวกเธอใช้สติสัมปชัญญะเป็นที่ตั้ง ฉะนั้น การที่เธอทั้งหลายจะทำการสิ่งใดลงไป จงใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนที่จะทำ จงเอาปากไว้ที่ใจ ไม่ใช่เอาใจไว้ที่ปาก จงหมั่นทบทวนใจตน พระองค์ทรงปรารถนาให้พวกเธอใช้วิจารณญาณพิจารณาดูความเป็นจริงของวัฎจักร

◙ อย่าฟัง อย่าเชื่อ โดยไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบ ใช้สติให้มั่นคง อาตมาขอให้พวกเธอซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงเป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรม ให้กระจ่างในธรรม และให้ได้ธรรม ถึงซึ่งพระธรรมในที่สุด

◙ ลา...

☺ (หมายเหตุ – องค์หลังนี้ไม่บอกชื่อ ต่อท้ายมาเฉยๆ)

11 สิงหาคม 2527

• การปฏิบัติธรรมของเธอทั้งหลายนั้น มีคำสอนมากที่จะปฏิบัติได้ ขอให้มั่นคงในการปฏิบัติด้วยกาย มีกิริยาที่ควรอยู่ในธรรม คือสัมมาคารวะ มีวาจาอยู่ในศีล สิ่งใดควรพูดก็จะมีสติในวาจานั้นๆ อย่าใช้วาจาที่ไร้สติ เหล่านี้มาจากใจทั้งสิ้น ทั้งสองสิ่งแสดงเจตนาให้รู้ใจตน จิตตนผู้นั้นว่า ตั้งอยู่ในสถานใด

• อันคำสอนของสมเด็จพระบรมสุคตนั้นไม่ได้มีไว้ฟัง แต่ต้องใช้สติ คือความระลึกอยู่อย่าง คือเหตุผล มันเป็นแนวตรองในการปฏิบัติ เมื่อประพฤติ กระทำได้เช่นนี้แล้วนั้น เธอทั้งปวงจะประสบผลในการปฏิบัติ ขอให้สำเร็จมรรคผลโดยทั่วกัน ขอให้พยายามกันจริงๆ ความละเอียดจะนำให้จิตละเอียด

26 กรกฎาคม 2525

☼ จะสอนการปกครองให้ (กับคนที่ถาม)
• การคบคน รู้ใช่ไหมว่าคนนั้นมีกี่ระดับ พื้นฐานคนนั้นมีระดับเดียว ไม่ใช่นายหรือไพร่เหมือนแต่ก่อน ฉะนั้นต้องระวังไว้

• วาจาเป็นสิ่งสำคัญ อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ เราอย่าให้คนใต้ปกครองมาว่าได้ (ว่า) เราไม่ต่างจากเขา คำว่า “ผู้ดีตระกูลเก่า” สำคัญนะ เราว่าเขาได้เป็นฐาน แต่เขาย้อน (ว่า) เราไม่มีฐาน (ได้) เรา (จึง) ต้องสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของตัวเราด้วยความศรัทธา อันนี้แหละจะเป็นตัวทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นตัวต้นหม้อ

• เราเองต้องไม่หยุมหยิม อย่าประสาท..!!!

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/11/09 at 06:27 [ QUOTE ]



(Update 28/11/52)

คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุกสันโธ

25 มิถุนายน 2518


(ถามว่า : เป็นท่านผู้ใดมาเทศน์)
• ลักษณะมี 3 รูปร่างมี 4
• ลักษณะที่ 1 คือ อนิจจัง
• ลักษณะที่ 2 คือ ทุกขัง
• ลักษณะที่ 3 คือ อนัตตา
• รูปร่างที่ 1-2 คือ ทุกข์ สมุทัย
• รูปร่างที่ 3 คือ นิโรธ
• รูปร่างที่ 4 คือ มรรค

(นิมนต์ให้เทศน์ และปรารภกันเรื่องครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จังหวัดลำพูน เข้านิโรธสมาบัติ)
• ในฝ่ายพระนั้น การที่ท่านทำสมาธิในเรื่องของสมาบัตินั้น เป็นอานิสงส์ความเพียรของท่าน เพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งปวงให้พ้นจากทุกขเวทนาต่างๆ ให้หมดไปเพื่อเป็นการเจริญศรัทธา 1 เป็นกำลังใจความดี 1 เป็นอานิสงส์ส่งเสริมให้คนระลึกถึงธรรม 1 ฉะนั้นผู้ขอ คือสรรพทั้งหลายที่ร่วมทำบุญและอนุโมทนาบุญ ที่จะหวังอานิสงส์นี้จากผู้สงเคราะห์คือพระนั่นเอง หวังแต่จะให้ตนนั้นประสบแต่สิ่งที่ปรารถนาทั้งปวง

• คนที่ไปกระทำการบุญการกุศลมีหลายอย่าง และหลายร้อยจำพวก ต่างจิตต่างใจกัน 1 คนที่ไปนั้นต่างด้วยบุญบารมี 1 คนที่ไปนั้นต่างด้วยกรรม 1 ฉะนั้น จะเอาอะไรให้เสมอกันมิได้ ดูง่ายๆ ว่าเกิดมา ต่างกันด้วยฐานะ รูปร่าง และจิตใจ

• ท่านมาเทศน์ไว้หรือยัง ลักษณะ 3 หรือไตรลักษณ์ อะไรที่มีทุกข์ ? ถามตัวเองว่ามีอะไรที่เสียใจอยู่ อะไรที่ไม่เที่ยง ? ถามตัวเองว่าเมื่อรู้ว่ามีได้ก็มีเสีย มีมากก็มีน้อย มีสุขก็มีทุกข์ อะไรล่ะคือตัวนั้น ? ก็ความไม่เที่ยง อะไรล่ะไม่มีที่สิ้นสุด ? ถามตัวเอง หน้าที่ ใช่ไหม ?

• ทุกอย่างให้ยึดถือว่าเป็นการโปรดสัตว์ เราอธิษฐานทำทานบารมีใช่ไหม ? ในสมัยองค์สมเด็จพระพุทธองค์นั้น ทุกคนทำทานได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตับ ไต ไส้ พุง ทุกส่วนของร่างกาย

• การถึงธรรม ไม่ใช่หนีเรื่องโลก แต่การถึงธรรมนั้น ต้องทำตนให้เข้ากับโลกแต่ไม่ติดในโลก สังโยชน์นะจ๊ะ สังโยชน์ที่เป็นตัวแก้

• พระอรหันต์ท่านก็ยังรับนิมนต์ไปในงานของโลก ไฉนปุถุชนจะหนีโลกโดยการทำตนให้พ้นโลกด้วยวิธีอัตตะ คือตัดตนให้พ้นจากโลกโดยที่ยังอาศัยโลก พึ่งโลก พระที่ท่านเข้าป่า ไม่ใช่ว่าท่านหนี แต่ท่านทำเพื่อให้คนได้บาปน้อยลง เพราะว่าท่านทรงอภิญญา แต่คนที่ฝึกธรรมเพื่อให้ถึงธรรม บรรลุธรรมนั้น ต้องเป็นผู้ขยันพบ ขยันเจอทุกข์ เสมือนคนจะเก่งในวิชาการได้ต้องเข้าใจตำราโดยการอ่านมากๆ ขยันมากๆ ไม่ท้อถอย ไม่เกลียด

• อุปสรรคถึงแม้ว่าเวลาดูตำราฝึกตำรา จะง่วงแสนง่วง ยุง เลือด ริ้น ไร กัดตอมก็ต้องอดทนเพื่อหวังหลักชัย คือสอบได้ ก่อนจะสอบได้ก็ต้องทำแบบฝึกหัด สอบซ้อมให้มากๆ หลากหลายวิธีการ รู้จักพลิกแพลงต่างๆ ให้คล่องจนแตกฉานเข้าสมองเหมือนบุคคลที่หมั่นและอยากจะฝึกธรรม ก็เช่นเดียวกัน หมั่นเอาพระธรรมคำสอนเป็นตำรา ทุกๆ อย่างต้องประกอบกัน มีกรรม มีทุกข์ มีสุข มีไม่สมปรารถนา มีสมปรารถนา เสมือนว่าเอาอะไรมาบวกกันเป็น 5

1 บวก 2 บวก 2 ก็เป็น 5
3 บวก 2 ก็เป็น 5
4 บวก 1 ก็เป็น 5
1 บวก 1 บวก 1 บวก 1 บวก 1 ก็เป็น 5
6 ลบ 1 ก็เป็น 5
- 10 ลบ 5 ก็เป็น 5


• ต้องรู้ให้คล่องใจนะจ๊ะ..อย่าท้อจ้ะ..!

• การโกรธทำให้แพ้ เสียใจทำให้แพ้ คิดอย่างตรงนะ โกรธทำไม เสียใจทำไม เสียใจว่าลูกเลว ลูกไม่ดีรึ เสียใจว่าเขาไม่รักเขาไม่เชื่อรึ ถ้าเช่นนั้นก็ถือว่ายังยึดโลกอีกมาก ลูกที่พระพุทธองค์ตรัสนั้นว่าลูกคือ ราหุล คือบ่วง บ่วงคืออะไร ?

• บ่วงของโลกจะกล่าวกันตรงๆ คือ ลูกเป็นพันธะของโลก สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมเราไม่มีหน้าที่ต่อลูกรึ เราเป็นพ่อเป็นแม่ ย่อมมีหน้าที่ต่อลูกเสมอเพราะเราให้เขาเกิด อย่าเสียใจเรื่องลูกเพราะเราเป็นผู้ก่อห่วง ส่วนลูกนั้นก็เป็นวัฎฎจักรของเราอีก เขา ต่อไปก็เป็นพ่อเป็นแม่เช่นเรา รับภาระเราไป ลูกจะดีหรือเลวนั้นเป็นเรื่องของเขา ลูกถ้าดีก็รับสนองความดี ถ้าเนรคุณก็สนองอบายภูมิอเวจีมหานรก เรามีเพียงหน้าที่ รักมีในศาสนา หลงไม่มีในศาสนา

• ภาระลูกพูดตรงๆ ว่าทำง่าย เลี้ยงยาก ฉะนั้น คนใดก็ตามจะเป็นพ่อเป็นแม่นั้นคิดให้ลึกๆ
• มนุษย์ในโลกมีเพียงเมล็ดกรวด เทพในสวรรค์มีเท่าเมล็ดธุลี ฉะนั้น การที่เทพจะหาคนมีศีลมั่นศาสนามั่นในความเพียรเพื่อจะมาเกิดด้วยนั้น ยากมากยิ่งกว่าพบพระอริยะ และน้อยองค์จะมีสิทธิ์ขอร้อง

• ฉันสนับสนุนทุกอย่างสำหรับคนทำบุญปฏิบัติธรรม คนที่หวังปฏิบัตินั้นต้องมีขันติเป็นประการแรก ต้องมีหิริโอตตัปปะตามมา อย่าท้อถอย อย่าเหนื่อยหน่าย อย่าสุมไฟหาตัว เมื่อสุมแล้วถ้ามันไม่ร้อนกายไม่ร้อนใจ ไม่ไหม้ตัวมันก็ยิ่งให้พิษเรา คือควันไฟทำให้เราเคืองตา จมูกเราคัด จมูกเราเหม็น ปากเราไอ ฉะนั้น อย่าไปเล่นกับไฟ

• ไฟคือตัวเลว ความร้อนคือโลภ โกรธ หลง แต่ไม่ใช่รัก รักคือควัน
• สำหรับพวกลูกไม่ต้องเทศน์ เพราะย่อมรู้อยู่แล้วว่าวันหนึ่งเราก็กินตำแหน่งพ่อแม่ตามมา กรรม กรรมของวัฎฎสงสาร
• เด็กก็โตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็โตเป็นผู้เฒ่า ผู้เฒ่าก็โตเป็นผู้ตาย ผู้ตายก็โตเป็นผู้เกิด ผู้เกิดก็โตเป็นเด็ก ไม่สิ้นสุด

• วงกลมนี้ ใครเอ่ยจนแหกวงได้ ?
• มีจานกลม หมุนอย่างเร็ว มีลูกหินหมุนในจาน ทำอย่างไรให้ลูกหินนั้นหลุดออกจากจาน ?
• ก็ต้องให้ลูกหินมีแรงเหวี่ยง หมุนเร็วกว่าแรงหมุนของจานจึงจะกระเด็น เปรียบเสมือนความดีก็คือแรงเหวี่ยงที่ทำมา ความเร็วของความดีนั้น ต้องมีแรงมากกว่าความเร็วของความชั่ว จริงไหม ?

• ที่ว่ากันถึงทำความดีหนีความเลวได้ ก็เช่นนั้นแหละ
• หลักกลศาสตร์จ้ะ ธรรมะก็เอามาจากธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ทำไปถึงไหน ศาสนาพุทธก็ทันถึงวิทยาศาสตร์ แต่ศาสนาพุทธทำไปถึงไหนนั้น วิทยาศาสตร์ตามไม่ถึง

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/12/09 at 07:59 [ QUOTE ]



(Update 18/12/52)

28 มิถุนายน 2518


☺ (โปรดเฉพาะบุคคลที่ยังห่วงร่างกาย)
• เบื่อไหม ทุกๆ อย่าง ? เรารู้ว่าเบื่อ เราไม่อยากอยู่ เรารู้ทันโลกว่ามันงอแงเรา ฉะนั้นหาทาง หาทางหนี

• พบหรือยัง พบแล้ว เจอแล้ว อยู่ที่การเดิน การเดินคือการกระทำ การบรรลุธรรมนั้น บรรลุด้วยจิต ไม่ต้องเอ่ยของเก่า แต่จิตยกมาเป็นอุทาหรณ์ จิตเธอเข้าไปหาแสงแล้ว แต่บางครั้งตัวเธอดูจิตกลับ คือมองดูตัวเธอ ไม่ได้มองจิตเธอ
ความท้อ แสดงว่า ไม่ต้องการ หนีหมาที่วิ่งไหล่ยังยอมหยุดให้มันกัดรึ ?

• ธรรมดาโลก มีอยู่ทุกอิริยาบถ แต่จะจับอารมณ์ ก็จับเอาเฉพาะตอนที่มันสะกิดใจเท่านั้น

• การตัด ตัดได้ด้วยใจใช่ไหม เสียใจก็ด้วยใจใช่ไหม ใจเราตัวเดียวเท่านั้น อย่าไปติด

• คิดว่าอย่างนี้ ตาย เอาไปได้ไหม ? คิดเตรียมตัวตายไว้ตลอดทุกลมหายใจ เธอเป็นคนรอบคอบ เธอไปไหนมาไหนเตรียมตัวพร้อม น้ำจะขาดไหม ที่นอนมีไหม ยามีไหม เตรียมใช่ไหม ?

• นี่เธอจะไปอีกที่หนึ่งที่ปรารถนา เตรียมซิ บ้านนี้เราไม่เอาแล้วนี่ จะไปติดใจเป็นห่วงทำไม ร่างกายเป็นเพียงบ้านอาศัยเท่านั้น จะไปก็อย่าห่วงสิ่งที่เราเอาไปไม่ได้...กุกุกสันโท

2 กรกฎาคม 2518

☺ (ถาม – ถ้าตายตอนนี้ กลัวจะยังไปไม่ถึงไหน)
• เรื่องถึง ไม่ถึง อย่าไปกังวล จะติดเพราะความกังวล ปริญญาจะได้ก็ตอนสอบไล่ สอบไล่น่ะสอบตอนไปนะจ๊ะ ตอนตาย ใครสอบตก ก็ซ้ำอยู่ในชั้นเดิมคือโลก

5 กรกฎาคม 2518

☺ (ถาม – ตั้งอารมณ์ไม่ค่อยจะได้)
• ต้องตั้งให้ได้ ไม่ว่าจะในธุระหรือในพักผ่อน อย่าไปกังวลกับการที่ยังไม่รู้ผล เมื่อเราเริ่มเดินแล้วก็ต้องถึง นอกจากเราจะหยุดเองหรือย้อนกลับ แต่อย่างไรก็ดี การเดินก็ต้องตั้งจุดหมายที่จะไปพบ ตั้งใจไว้เช่นนั้นไม่ว่ากรณีใดเราต้องไปถึงแน่ ตอนนี้ก็ก้าวหน้าไปแล้ว อยู่แต่ว่าจะเดินช้า เดินเร็ว วิ่ง หรือคลาน เท่านั้น

☺ (ถาม – ต้องการหมดทุกข์ ไปนิพพาน)
• รู้ได้อย่างไร เคยไปรึ ?

☺ (ตอบ – ฝังใจอยู่ว่ามีสุขไม่มีอะไรเปรียบ)
• ไม่ชอบที่ใช้คำว่า ฝังใจว่ามีสุข

• คือไม่รัก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มันเป็นสุข มีอะไรมากกระทบก็ไม่หวั่น นั่นเป็นสาระของธรรม เพราะคำสอนของครูท่านนั้นมีผลประสบแต่ผู้ปฏิบัติให้เกิดความสุข อิ่มในบุญ ปีติในบารมี กุศลธรรม

• อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ นะ ต้องคิดพิจารณาทุกขณะ เมื่อนั่นแหละเราจะรู้เหตุผลเห็นตัวอย่าง มองรู้อยู่ในจิตว่า นั่น! คำสอนนั้นเป็นไปได้จริง ไม่เชื่อโดยขึ้นชื่อว่าฟังพระเทศน์

• การเชื่อมี 2 แบบ
- เชื่ออย่างผู้ใช้ปัญญา
- เชื่ออย่างผู้ไม่ใช้ปัญญา

• การเชื่อชนิดแรกนั้น เรารู้โดยใคร่ครวญตามเหตุผล เช่น คำสอนที่สอนว่าคนเรามีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ผู้รู้ด้วยปัญญาก็จะมองเห็นว่าจริง เพราะมีของพิสูจน์
• เชื่ออย่างผู้ไม่ใช้ปัญญานั้น ก็เห็นได้จากเด็กที่เพิ่มรู้เพิ่มเข้าใจภาษา บอกแกว่าคนเรานะ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย แกเชื่อไหม ? เชื่อ..เชื่อ..เพราะผู้ใหญ่บอก

• การพิสูจน์ด้วยพุทธานุภาพนั้น น้อยคนที่จะพิสูจน์ได้ พิสูจน์คำสอนของพระพุทธครูสิ ทุกคนย่อมทำได้และทำได้เสมอ เพราะคำสอนของท่านนั้นเห็นได้ และพิจารณาได้

• พระนิพพานเป็นชื่อแดน ฉะนั้น การคิดก็ดี การปรารถนาก็ดี เป็นสิ่งซึ่งเรารู้เห็นตามคำสอนของพระ ท่านว่าเป็นผลจริงดังชีวิตเราที่เราเคยเจอมา อย่างเช่น ครูสอนเด็กว่า 3 บวก 2 เป็น 5 ทำไมถึงทราบว่าเป็น 5 เวลาครูสอนเช่นนี้ เธอเชื่อได้โดยไม่ต้องพิสูจน์รึ ?

• ฉะนั้น คำสอนที่พิสูจน์ให้เห็นจริงจังดังความจริงที่เราพบอยู่เป็นนิจนั้น เราต้องยอมรับความจริงนั้นๆ ว่าเป็นไปได้จริง

☺ (ถาม – นิพพานเป็นอย่างไร ?)
• บอกแล้วว่าเป็นชื่อแดน ให้ตั้งจิตที่เราทำพิธีนี้เพื่อหนีทุกข์

☺ (ถาม – ทำไปเรื่อยๆ เพื่อหนีทุกข์หรือ ?)
• ใช่ แต่การอธิษฐานจิตต้องเอ่ยนาม
• ความจริงที่ฉันถามนี้เป็นอจินไตย เป็นสิ่งไม่ควรคิด ตั้งใจเสียว่าเราจะหนีทุกข์ ไม่ใช่คอยแต่จะนึกว่านิพพานคืออะไร

13 สิงหาคม 2518

• สิ่งที่ลุล่วงไปแล้วจะสำเร็จด้วยดีหรือกะพร่องกะแพร่งหรือไม่สำเร็จก็ตาม ขอให้ที่แล้วไปแล้วเป็นครูสอนเราไม่ให้พลาดพลั้งอีก

• ในงานข้างหน้า อย่าให้อิทธิพลของงานที่แล้วมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวถ่วงอารมณ์จิตของแต่ละคนให้ขาดตกบกพร่องลงในอวิชชา จงให้ความรู้แก่ตนให้มากจากงานที่มีผลมาถึงเรา

☺ (ถาม – ขอให้แก้ไขเรื่องการที่มักเพ่งโทษผู้อื่น)
• ให้เพ่งดูคนที่ใกล้เคียง ความชอบ ไม่ชอบ อย่าให้มีอยู่ในใจเรา ดูหนักเบาด้วยกาย การแสดง วาจา การพูด ส่วนใจอยู่ที่เรา ทำให้เราบังเกิดทุกข์และสุข
• คนเรามีติดที่ตัว “รัก” ตัวเดียว

• เมื่อรักก็อยากให้อยู่ตลอด เมื่ออยู่ตลอดก็อยากเป็นเจ้าของ เมื่อเป็นเจ้าของก็ไม่อยากให้ใครยุ่ง เมื่อไม่อยากให้ใครยุ่งแย่งของตัวไปแล้วก็เกิดหวง เมื่อหวงก็อิจฉา หึง เมื่อหึงแค้นก็ตามมา แค้นแล้วความชิงดีชิงเด่นก็เกิด แล้วจะจบลงด้วยการแพ้ ชนะ

• ทั้งรักของ รักคน รักตัว รักสารพัด
• พึงรักให้พอดี รักอย่างอุเบกขา รักอย่างพรหมวิหาร 4 เมื่อรักให้มีเมตตาตามคิดสงสาร เมื่อเมตตามาก็กรุณา แล้วก็ต้องมีมุทิตาคือไม่หวงไม่หลง ไม่ชิงดีชิงเด่นไม่อิจฉา ไม่มองเห็นความเลวเป็นเครื่องเพ่งโทษอยู่เป็นนิจ เมื่อมีมุทิตาแล้วต้องจบลงด้วยอุเบกขาความเฉย เมื่อถึงที่สุดแล้ว คือสงสารก็แล้ว ช่วยก็แล้ว หวังดีก็แล้ว ยังไม่ดีขึ้นก็เฉย

• ไม่เห็นยากที่เราจะทำใจไม่ร้อน ไม่หนาว พอดีๆ ก็สบาย คนนี่นา ชอบวิ่งหาร้อนใส่ตัว ในเมื่อมันเป็นเช่นนี้จะทำอะไรได้
• แล้วก็ต่อด้วยไตรลักษณ์ คือ "ปลง" เมื่อจบ

• ใครๆ ก็สอบได้แค่เบื้องต้นเท่านั้น ชั้นประถมยังเรียนไม่จบจะขึ้นมัธยมยังไง เลขบวกเลขลบยังสอบไม่ผ่านจะเอาคูณหารก็พัง นี่สอนกันไปเถอะทุกวัน สอบจริงๆ ตกทุกที จะผ่านขึ้นไปขั้นสกิทาคา อนาคาได้รึ

• เป็นนักเรียนนั่งฟังครูสอน สอนเข้าใจทำในห้องเรียนได้ แบบฝึกหัดทำถูกบ้างผิดบ้างก็โอนอ่อนผ่อนตาม พอสอบจริงๆ ได้ไม่ถึงครึ่ง ฉันไม่ใช้ครูปัดคะแนน

• จงทบทวนพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ธรรมะไม่มีเก่าไม่มีคำว่า “ซ้ำ” ไม่มีคำว่า “บ่อยๆ” ทำไปเถอะอายุนี่ยังมีน้อยนะ คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา”

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 29/12/09 at 13:45 [ QUOTE ]



(Update 29/12/52)

12 ตุลาคม 2518

• อยากจะขอสักหน่อย ว่างกันไหมที่จะทำบุญ ?
• ทุกวันพระ ขอสักนิด สงบใจทำสมาธิ ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเวลา 2 ทุ่มครึ่ง ขอให้ปลีกเวลาสักนิดนะ ห้านาทีก็ยังดี
• ใช้วิปัสสนาญาณมากๆ หน่อย จับลิงใส่กรง แล้วค่อยๆ จับลิงผูกหลัก ใจเราน่ะมันลิงซน ชอบคิดโน่นคิดนี่ สงบมันเสีย สุดท้ายจึงจะฆ่าลิง สันดานลิงชอบซน เหมือนใจคนชอบคิด

☺ (ถาม – ปลดทุกข์)
• ทุกข์น่ะ ดูให้ลึก ให้ละเอียด ตัวทุกข์คือตัวเกิด เกิดมีตาย อุบัติมีวิบัติ จุติมีสลาย (เทพเรียกจุติ อยากเป็นเทพก็มีสลาย)
• ตัวเหตุทุกข์คือกิเลส ตัณหา อุปาทาน กิเลสคือตัวโมหะ โทสะคือโลภะ โลภ โกรธ หลง

• ตัณหาคือตัวอยาก ต้องการ อยากเป็น อยากไม่เป็น เป็นอะไรล่ะที่อยาก เป็นคนเก่ง เป็นคนรวย เป็นคนดี เป็นคนสูงด้วยสรรเสริญ เป็นคนมีชื่อ อยากมีตัวละเอียดคือโลกธรรม เฉพาะ “อยาก” น่ะ มีโลกธรรมเคียงคู่ มันอยาก 4 ไม่อยาก 4

• ตัณหาตัดได้ด้วยอะไรเดี๋ยวค่อยว่า มาว่ากันอีกตัวคืออุปาทาน มีที่สมมุติว่ามี มีสมมุติก็มีวิมุตติ คิดว่าอะไรๆ ก็ของเราเป็นเรา อุปาทานเอาเองว่าฉันเป็นโน่น เป็นนี่ เป็นนั่น ชอบแต่งตั้งตัวเอง ใช่ไหม ?

• ตัวพ้นทุกข์ของกิเลส โลภ โกรธ หลง คือตัวทาน ศีล สมาธิ และภาวนา
• ฉันขึ้นต้นเรื่องว่าใจเรามันลิง กำลังแนะทางจับลิงเข้ากรง เมื่อวิปัสสนาดีด้วยอริยสัจแล้วสมาธิจะเกิด ตัวตัดจะตัดใจให้เป็นสมุจเฉทปหารได้ คือตัวเข็ด

• เมื่อตัวเราเฉยได้ จับลิงมัดหลักแล้ว จะฆ่าเมื่อไรก็ได้ ลิงจับหลักถ้าเปรียบดังใจคนผู้นั้นก็เป็นอนาคา
• ลิงใครลิงมัน จับกันเอง

• กรรมทุกอย่างมีผลหลักเบาตามวาระและเคราะห์ บุญช่วยจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นไม่มี แต่คนคิดเสมอว่าจะทำให้หนักเป็นเบา ไม่คิดว่าทำให้มหึมาเหลือแค่หนักก็มีอยู่

• อย่าลืมตัวเอง
• ลืมจิตก็เหมือนกับลืมนิพพาน เพราะลืมปฏิบัติจิตใช่ไหม ทุกอย่างนี้ขึ้นกับการปฏิบัติจิต ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ที่เรียกว่าใจประเสริฐนั้นมิใช่ใจเป็นไปเอง หากอยู่ที่ต้องปฏิบัติโดยหลัก ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

15 พฤศจิกายน 2518

• ไม่มีสิ่งใดที่เป็นมาเองโดยกำเนิด ทุกๆ อย่างค่อยเริ่มเป็นเริ่มไป อยู่ที่ความตั้งใจ
• เธอทั้งหลายปรารถนาหาที่ไป คือแดนนิพพาน จงหมั่นหาสัจจะความจริงของธาตุในตัวเราให้ได้ ธาตุในตัวเราคือธาตุอย่างเดียวกันกับธาตุของโลก หรือมิจริง ?
• คำว่า “รู้” ใช้ให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์นั้น เมื่อรู้ก็ให้สักแต่ว่ารู้ อย่าไปเอามาติด ส่วนเรื่องเกี่ยวกับสัทธรรม รู้แล้วต้องทำ แบ่งกันให้ถูก

• ธรรมะ เดือนหนึ่งมาเทศน์ 4-5 ครั้ง นำเอาไปปฏิบัติกันถึงไหน บ้างก็เอาไปเก็บ บ้างก็เอาไปทำ บ้างก็วางไว้ตรงนี้ มัวแต่ชมว่าเทศน์เพราะ ชมฉัน ชมท่าน แล้วไปนิพพานไม่ได้นะ ต้องทำ

• ฉันเทศน์เรื่องพื้นฐานมานานแล้ว ก็ยังคลานอยู่แถวๆ นี้ เมื่อพื้นฐานยังไม่ดีจะให้ไปเทศน์ชั้นสูงจะไหวรึ ฉันจัดพวกเธอไว้ในพวกติดรส ติดอรรถ ที่เป็นอยู่นี่ไม่ติดรึ

• ติด “ดี” ดีก็ควรรู้อยู่แค่ดี อย่าเอาไปติดมันด็อกแด็ก เห็นมีจะไปได้ก็ 2-3 คน
• แค่เห็นทุกข์ ยังไม่ประทับใจรึ คนเห็นทุกข์เป็นปรมัตถ์ คนนั้นถึงจะเห็นแดนนิพพาน เห็นด้วยอริยสัจ

• เธอยังไม่เห็นถึงธรรมะของกรรม กรรมน่ะมันโกงไม่เป็น ติดสินบนก็ไม่เป็น ดีส่วนดีเลวส่วนเลว ความดีที่ทำจะหมุนไปสู่ความดี ส่วนเลวที่แล้วๆ มาก็ชดใช้ให้พ้นไป

• กรรมของคนแต่ละคนไม่ใช่เป็นหยิบมือ คนหนึ่งเกิดมากี่แสนชาติ ทำกรรมเลวไว้ตั้งเท่าไหร่ เพียงชาติเดียวให้หมดกรรมเลวล่ะ ได้รึ ฟังไว้ จำไว้ทุกๆ คนอย่ามัวหลงดีใจว่าทำบุญเพียบหยิบมือ แล้วจะชดใช้กรรมที่ทำไว้เป็นแสนๆ ชาตินั้นให้หมดได้

• หนีเสีย อย่าหวังเล่นวิชชาให้เป็นอวิชชา ธรรมะเท่านั้น เอาให้อยู่ อย่าเถลไถล ปี 15 จะเข้าแล้ว เหลือเวลาอีกไม่นาน แฉะไปแฉะมาน้ำตาจะนองหน้า อย่ามัวสนุกเพลิดเพลินกับสิ่งแปลกประหลาดให้มากนัก การพิจารณาธรรมะขององค์พระพุทธเจ้ามีอานิสงส์แรงกว่าการทำบุญทั้งปวง

3 ธันวาคม 2518

• กรรมคน กรรมสัตว์ ย่อมไม่แตกต่างกันเท่าไร
• เหตุปัจจัยของคำว่า “จุติ” มาจากกรรมทั้งสิ้น
• กรรมก่อให้เกิด (กำเนิด) กำเนิดก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำนั้นย่อมมาจากกำเนิดของกรรมที่บันดานให้ผู้นั้นคนนั้นได้เกิดเป็นคน เป็นสัตว์ มีความแตกต่างกันทั้งสกุล ชาติ ครอบครัว ความเป็นอยู่

• การกระทำ เป็นจุดของความประพฤติ ข้อปฏิบัติวัฏฐานต่างๆ ส่อให้เห็นถึงสันดาน นำไปสู่อารมณ์ และการอบรม

• อารมณ์แบ่งออกเป็น อารมณ์สัมมา กับอารมณ์ทิฐิ ทั้งนี้รวมถึงอารมณ์สัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิ ทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผล 2 ประการ คือ สุข กับ ทุกข์

• พิจารณาให้ถ่องแท้อีกต่อไปคือ
1. เหตุแห่งทุกข์
2. บ่อเกิดของทุกข์
3. การดับทุกข์
4. ทางหนีทุกข์


• เหตุแห่งทุกข์ คือการจุติ บ่อเกิดของทุกข์ คือ แก่ เจ็บ ตาย
• การดับทุกข์ คือการหาตัวตัดอารมณ์ สุดท้าย หาทางหลุดพ้นทุกข์ คือนิพพาน
• จะพิจารณาถึงกองกรรมและอารมณ์
• อารมณ์นั้น เข้าประเด็นที่ว่าเป็นของชอบพอ-รัก-ไม่ชอบไม่พอ ไม่รัก ลึกลงไปอีกคือ ดูซิว่าอารมณ์มีตัวบงการคืออะไร

1. โลภะ ตัดด้วยทาน บริจาค เสียสละ ละโลภตัวนี้คือความไม่พอ ต้องให้ ต้องแจก เปรียบได้ว่าเป็นกิเลส
2. โทสะ โกรธ ต้องตัดด้วยโลกะรรม 8 พรหมวิหาร 4 เปรียบเหมือนตัณหาเพราะเมา
3. โมหะ ต้องตัดในข้อสักกายทิฐิ มันเป็นตัวหลง เปรียบเหมือนตัวอุปาทาน


• รวมทั้งหมดนี้เป็นกรรมที่เป็นมิจฉา เกาะใจ แฝงด้วยอารมณ์กินใจเราอยู่ สองข้อหลังปฏิบัติได้ด้วยวิปัสสนา ทั้งหมดนี้เรียกว่าตัวสมมุติ คือสมมติว่าเรา ของเรา

• สมมุติในอารมณ์ มี 3 ทาง
1. คำว่า “เรา” คือทุกขัง
2. คำว่า “ของเรา” คืออนิจจัง รวมทั้งกองสังขารด้วย ใช่ไหม ที่เรานึกว่าตัวเราคือกายน่ะ เป็นของเรา
3. คำว่า “โลกภพ” หรือ “วัฎฎสงสาร” นั่นคืออนัตตา อนัตตาก็คือธรรมจีรัง


• ใครไม่เข้าใจจุดไหน
• “ไม่มีวันสิ้นสุด” คือ ตัวอนัตตา
• โลกมันก็เป็นเกิดเป็นตายไม่จบ ธรรมะก็อนัตตา เพราะเป็นสัจธรรม ไม่สิ้นสุดอีกเช่นกัน

• โลกภพอยู่ในใครรึ ใครบังคับไม่ให้เจ็บ ไม่ให้แก่ ตายได้รึ โลกจะไม่ให้ร้อน ไม่ให้หนาวได้รึ อยู่ในบังคับใคร ?
• ธรรมะ แปลว่า ธรรมดา ธรรมชาติ โลกของคนของสัตว์นี่ซิไม่ธรรมดา ไม่ธรรมชาติ
• สมาธิ เป็นตัวกลั่นใจเราให้ตัดได้ เป็นสมุจเฉทปหาน

☺ (ถาม – ที่ว่าพิจารณาอารมณ์ในอารมณ์ พิจารณาอย่างไร ?)
• เมื่อเรารู้ว่า “ดี” แล้ว เราคอยดูตัวอารมณ์ให้ลึกลงไปอีกว่ามี “ไม่ดี” ได้ไหม นั่นแหละอารมณ์ในอารมณ์

• การพิจารณา ข้อธรรมะที่ให้แตกฉานทุกข้อ จนละเอียดว่าเราแยกส่วนย่อยของธรรมะนั้นให้ละเอียดเหมือนอารมณ์เรา แม้นจะนึกเพียงแค่หายใจเข้า เราก็รู้ตัวว่าตัวชั่วคืออะไร ตัวดีคืออะไรนั้น ที่เรียกว่าธรรมขั้นปรมัตถ์

• เมตตา อย่าง กรุณา
• เมตตา อย่าง มุทิตา
• เมตตา อย่าง อุเบกขา
• ใช่ไหม..?

• “เรา” หมายถึง จิตมีอาศัยขันธ์ 5
• “อารมณ์” ตัวนั้นแหละ ฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันเป็นชาย ฉันเป็นหญิง เป็นคนชื่อนั้นชื่อนี้ สกุลนั้นสกุลนี้ ฉันดี ฯลฯ
• “ของเรา” ตัวสมมุติ กายไง ขันธ์ 5 ไง

• “โลกภพ” ชาติหน้าฉันต้องรวย ต้องเก่ง ต้องดี วนอยู่เถอะ เขาเรียกว่าหวังมีชาติ หวังภพ
• “ตัณหา” อยาก ตัวอยากดี ถ้าว่าไม่ดีก็โกรธ
• “ราคะ” ราคะคือความใคร่ ใคร่ในรูป รส กลิ่น เสียง ไม่จำเป็นต้องเป็นหญิงกับชาย คนกับวัตถุก็ได้ เช่น อาหารน่าทาน รสอร่อย ติดรูป ติดอร่อย

• ทั้งหมดที่พูดมาแล้ว คือ "ตัวรู้"
• รู้เหตุปัจจัยแล้ว รู้ที่มาแล้ว เขาทำอย่างเดียวคือ พิจารณาให้แตกดับซิ
• สิ่งที่มาแต่เหตุ ย่อมดับด้วยเหตุ

• สติทำให้เกิดปัญญา
• ทุกอย่างมีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง ไม่มีอะไรที่ไม่ก่อขึ้นมา โดยที่ไม่มีเหตุของปัจจัย
• ทั้งหมดนี้ทุกคนคงจะดูตัวออกว่ายังขาดปัจจัยอะไร ที่ตนบกพร่องอยู่ จงกล้าดูตัวเอง

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/1/10 at 05:10 [ QUOTE ]



(Update 7/01/53)

ประทับทรง

25 ธันวาคม 2518 (ให้พรปีใหม่)

☼ พระพุทธศักราช 2519 นี้ เดิมควรจะนับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นต้นปีตามหลักเกณฑ์ เขาถือวันที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน เป็นวันเริ่มต้นพระพุทธศักราช แต่ของที่ถือที่บำเพ็ญอยู่ ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีพุทธศักราชใหม่

♠ เมื่อถือเช่นนี้ก็ตั้งใจให้มั่น ทำของใหม่ให้ดีกว่าเก่า ของเก่าให้เป็นเหมือนอดีต ของใหม่นั้นเป็นอนาคตอยู่ข้างหน้า ถือเอาเป็นเป้าหมาย เป็นความมุ่งหมายขณะนี้

♠ เราอยู่ในปัจจุบันก็ต้องตั้งจุดหมายไปข้างหน้าว่า จะดำรงชีวิตของตนให้ถูกให้ควรอย่างไร ให้สำรวจสิ่งที่บกพร่อง ที่ไม่ดี ที่ไม่ถูกในกาลที่ผ่านมาว่า มีอะไรเป็นปัจจัย เป็นเหตุ เป็นผล หยิบยกมาพิจารณา เมื่อพิจารณาเห็นแล้วก็หยิบยกมาปฏิบัติเสียให้ถูก

♠ คนเป็นภูมิๆ หนึ่งอันเป็นที่จุติ ภูมิที่จุติอื่นๆ ได้แก่ อบายภูมิ มีสัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย นรก เป็นต้น แล้วก็มีสวรรค์ พรหม เว้นพระนิพพาน
ผู้ที่จุติในภูมิมนุษย์นับเป็นผู้พิเศษ คือได้มาทำบุญ ทำกุศล เพื่อดำรงขันธ์ให้ล่วงความทุกข์ บรรลุความสุข ฉะนั้นจึงต้องรู้จัก

1. หน้าที่ ถ้าเป็นชายก็ต้องรู้จักคำว่า “พ่อ” คือพ่อบ้าน พ่อเมือง เป็นต้น ถ้าเป็นหญิงก็ต้องรู้จักคำว่า “แม่” แม่บ้าน แม่เมือง แม่ครัว รู้จักความรับผิดชอบนานาของหล้าที่เหล่านั้นว่าจะทำได้ประการใด

2. ศีลธรรม ศีลปกติ 5 ประการ ที่คนรักษาเพื่อมุ่งไปสู่ความดีคือ เว้นการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกเมียเขา พูดปด และสุราเมรัย ห้าข้อนี้ห้าม ไม่ควรทำ ถ้าทำก็ลงอบาย ถ้าไม่ทำก็ไปสู่แดนสุข มีสวรรค์ พรหม หรืออาจถึงนิพพานก็เป็นได้

3. ประพฤติถูกทำนองคลองธรรมประเพณีอันดีงาม จึงจะนับได้ว่าเป็นคนที่สมบูรณ์


♠ เมื่อทำดังนี้แล้ว ก็จะเกิดความหวังดี ใฝ่ดี ปฏิบัติดีได้ก็ต้องตั้งใจให้มั่นในของที่ถูกที่แท้ ศาสดานั้นมีมากหลาย ล้วนแต่ความดีทั้งสิ้น จงเลือกเอาตามที่เห็นว่าดี เพื่อให้เกิดความเจริญแก่ตน

ธรรมะนั้นมีหลายประการ แต่ธรรมะที่ถูกคือ

1. ต้องมีศีล ศีล 5 ข้อ ประพฤติให้ถูกให้สมบูรณ์ คือยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยุยงให้ผู้อื่นทำผิดศีล และไม่ยินดีในเมื่อผู้อื่นทำผิดศีลแล้ว สามข้อนี้ถือให้มั่น

2. เมื่อศีลครบแล้ว สมาธิก็ต้องมี และมีสติสัมปชัญญะ พิจารณารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่

3. แล้วก็มีไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ให้เป็นธรรมดาของธรรม คือพิจารณาว่าสิ่งเหล่านี้มีเหตุอะไร มีปัจจัยอะไร เราอยู่ได้เพราะมีร่างกาย มีอายตนะต่างๆ มีปัจจัยประกอบ คืออาหารสำหรับกิน ยารักษาโรค และที่พักอาศัย ดูให้ลึกลงไปถึงเหตุปัจจัยต่างๆ ชี้แจงแสดงออกแล้วจึงพิจารณาว่า ทำไมเราจึงต้องทำหน้าที่ของเรา ทำไมต้องทำนั่นนี่ ทำไมต้องทำความดี


♠ ผลที่เกิดจากการพิจารณาปัจจัยก็จะเห็นว่า เราเกิดมาเพราะความอยาก ความหิว ความรัก ความชอบ ความเกลียด มีตัณหา มีกิเลส คือโลภะ โทสะ โมหะ เป็นองค์ประกอบให้มีการเกิด การแก่ และการตายขึ้น

♠ แล้วก็ให้ดูอย่างอื่นว่าเป็นเหมือนอย่างคนไหม เช่น โต๊ะ แต่เดิมก็เป็นต้นไม้ แล้วเอามาดัดแปลงเข้าให้เป็นโต๊ะ เป็นโต๊ะใหม่แล้วก็เก่า แล้วก็พัง หรือพื้นดินก็เหมือนกัน ประเดี๋ยวโดนเหยียบ ประเดี๋ยวหญ้าขึ้น ต้นไม้ขึ้น มีน้ำขัง อากาศก็เช่นกัน ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อน ประเดี๋ยวเหม็น ประเดี๋ยวหอม ไม่มีอะไรแน่นอน เมื่อพิจารณาแล้วก็จะเห็นได้ว่า

1. ทุกสิ่งเป็นทุกข์ เพราะไม่สบาย ทุกอย่างไม่สบายทั้งนั้น ถ้าหากโต๊ะ ดิน หรืออากาศมันมีชีวิต มันก็คงบอกว่าไม่สบายเช่นกัน
2. เมื่อเป็นทุกข์แล้ว ทุกข์ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จัดว่าเป็นสงสาร เป็นวัฏจักร
3. แล้วก็เป็นอนัตตา เพราะเวียนกันไปไม่รู้จบ
4. แล้วก็เป็นธรรมะ ร่างกายของเรา แม้เราจะรักจะหวง จะเห็นว่าเก่งแสนวิเศษประการใด ก็ยังเอาไว้ไม่อยู่ นักปราชญ์ก็ดี นักรบก็ดี ในที่สุดก็หนีตายหนีทุกข์ไม่พ้นทั้งนั้น เพราะฉะนั้น อะไรเล่าคือความสุข ความสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน


♠ สมเด็จพระสมณโคดม ก็ได้กล่าวไว้ถึงแดนๆ หนึ่งที่ไม่มีความเกิดอันเป็นทุกข์ ไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ไม่มีความตาย คือแดนพระนิพพาน

♠ ทำอย่างไรจะถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องอย่ายึด อย่าถือ อย่ารั้ง อย่าเหนี่ยวสิ่งที่เป็นสมบัติของโลกไว้ มันไม่ใช่ของเรา เมื่อทำใจได้ก็จะเป็นสุขในแดนนิพพาน

♠ เอาละ.. มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา พิจารณาตัด “ของเธอ” “ของฉัน” “ของกู” ให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ ก็จะพบว่า สุขอยู่ที่ไหน สุขในโลกก็มักสุกๆ ดิบๆ สุขของมนุษย์ย่อมปนด้วยทุกข์ทั้งสิ้น เช่นไปที่ไหนๆ ที่มันสนุก มันก็ต้องเปลืองเงิน ต้องเมื่อยขบ เป็นต้น เพราะฉะนั้น อย่ารักมันทิ้งมันเสีย

ตั้งต้น 1 มกราคม ที่ถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ ก็ขอให้ประพฤติใหม่ ตั้งเป็นจุดหมายไว้ในอนาคตข้างหน้าในความดีที่เป็นสุข พิจารณาสิ่งใดก็ให้รู้แจ้งแทงตลอด ฉันขออ้างคุณพระพุทธเจ้าทุกๆ องค์ และบุญที่เธอได้ทำมา จงส่งเสริมให้แจ้งในแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ขอให้บรรลุมรรคผลตามที่ปรารถนาทุกประการเทอญ...

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/1/10 at 08:22 [ QUOTE ]



(Update 25/01/53)

18 กุมภาพันธ์ 2515


☼ การมุ่งปฏิบัติธรรมนั้น เธอทั้งหลายต้องเตรียมกาย 1 ว่าพร้อมหรือยัง ใจ 1 ว่าพร้อมหรือยัง ภาระ 1 ว่าพร้อมหรือยัง..?

☻เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ต้องรู้จักจัดสรรเวลาให้ถูกต้อง หน้าที่งานต่างๆ เวลาควรหรือไม่ควร ให้ถูกต้องตามกาลนั้นๆ เมื่อประพฤติปฏิบัติได้แล้ว ก็ต้องมั่นใจในจุดประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ว่า จะกระทำการนั้นไปด้วยวิธีไหน อย่างไร ?

☻เมื่อลุถึงขั้นปฏิบัติแล้ว ก็ตั้งจิตตั้งใจในความเพียรพยายามไม่ลดละที่จะยอมแพ้ เมื่อใดเธอได้กระทำครบดังนี้ เมื่อนั้นเธอจะถึงจุดหมายอันนั้น พร้อมหรือยัง ?

12 พฤษภาคม 2515

☼ วันนี้พูดเรื่องกรรมเป็นส่วนใหญ่ ฉันก็จะเทศน์ต่อ...
☻ กรรมของคนนั้น เป็นรากฐานของคนโดยแท้ คนที่จะเกิดมาได้ก็ด้วยกรรม
☻ กรรมมีที่เป็นและมีที่หยุด หยุดเมื่อเราพ้นภาระใช้หนี้
☻ ทุกคนมีอารมณ์แฝงด้วยกรรม ทำให้หมกมุ่นในโลกสมบัติของโลก ทำให้คนทั้งหลายได้มัวเมาอยู่ในกิเลส ตัณหา อุปาทาน

☻ เมื่อเกิด 2-3 สิ่งงอกเงยมาในหัวใจ ในจิตเรา แล้วมันก็งอกงามด้วยตัวโมหะ โทสะ โลภะ ทำให้ก่อเวรกรรมนั้นต่อไปไม่รู้จักหมด คิดก็เป็นกรรม พูดก็เป็นกรรม กระทำก็เป็นกรรม เป็นสามัญนาม เป็น “กรรม”

☻ ทุกอย่าง.. เราจะจำแนกแตกออกเป็นกรรมทุกลมหายใจ ฉะนั้น พึงคิด พึงระวังให้จงหนักในเรื่องของกรรม เรื่องของกฎแห่งกรรม
☻ คนทั่วๆ ไป ไม่ยอมรับว่ากรรมเป็นสมุฏฐาน มักจะคิดว่าตนนั้นทำไมถึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่ใจที่เป็นกลาง ลองสำรวจดูซิว่า ถ้าไม่มีเหตุ ผลมันจะตามมาไหม

☻ อย่าคิด อย่านึกอะไรที่เป็นสังโยชน์ ลำเอียงคนอื่นต้องเลวกว่าฉัน คนอื่นต้องต่ำกว่าฉัน คิดทำไม คิดให้มีโมหะ มีโทสะ มีโลภะ ใช่ไหม ?
☻ เขาดีกว่าก็โลภอยากเป็นอย่างเขา โมโหที่เขาเก่งกว่า อิจฉาก็ตามมา ริษยาก็ตามมา ในที่สุดก็ทุกข์ เพราะเราทำอะไรเขาไม่ได้

☻ มอง..มองดูให้รอบๆ ตัวเรา เป็นไง ทุกคนมีทุกข์ แต่ไม่พยายามกั้นทุกข์ เรือมันรั่ว ทั้งพายทั้งวิดน้ำ ทีแรกๆ ก็พอไหว นานไประวังกำลังจะล้า คือหมดขั้นติ ในที่สุดก็พายไม่ไหว ได้แต่นั่งวิดน้ำ แล้วต่อไปก็วิดไม่ไหว จม!

☻ เปรียบเหมือนเรา น้ำเหมือนความชั่ว อากาศเหมือนความดี เรือคือเรา คนพายคือใจเรา
☻ เมื่อไรเราไม่ปิดกั้นความชั่ว เมื่อนั้นมันจะซึมเข้ามาตามรู เราจะถือศีลสักประการใดก็ไปไม่ได้นาน เช่นดังแรงของเรา จะเอาอะไรอุดล่ะ วิปัสสนาญาณใช่ไหม ?

25 มิถุนายน 2515

☼ โลกนี้มีบ้านเป็นวิมานรู้ไหม บ้านที่ไม่ใช่ไม้ ไม่ใช่ตึก
☻ ร่างกายของเราคือบ้าน เราก็คือเรา จิต เราจะทำอะไรกับบ้านเราล่ะ มันรกใช่ไหม รก รกทุกวัน น้ำต้องอาบ ฟันต้องถู ผมต้องตัด หลายอย่างต้องคอยกวาดถูทุกวัน

☻ คนในบ้านล่ะ บริวารคืออารมณ์ ทำให้เราต้องรำคาญไหม คนในบ้านเราบางครั้งเราต้องตามใจมัน บางครั้งก็ทะเลาะกับมัน บางครั้งก็โดนมันเป่าหู
☻ เครื่องใช้ในบ้านล่ะ ดูแลมันให้ดีไม่ให้ชำรุดได้ไหม ตับไตไส้พุงอะไร ก็เปรียบเหมือนเครื่องใช้
☻ ติดแอร์หรือเปล่า ? เลือดลมดีรึ นั่นแหละแอร์

☻ ฉะนั้น เราจะพิจารณาจากสิ่งใหญ่ๆ เป็นสิ่งย่อยๆ ได้ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ที่เกิดเป็นประจำในทุกวัน เอามาเทียบกับเราได้ เข้าใจไหม?
☻ เรามีบ้าน คือไม้ คือตึกจริง เราเอาเหตุผลในบ้านเรามาสอบตัวเราว่า วันนี้เราเป็นแม่บ้านที่พร้อมแล้วหรือยัง ? เตรียมที่จะหาความสุขในบ้าน ให้เป็นวิมานหรือยัง ร่างกายเธอน่ะ ยากไหม ?

☻ เมื่อเธอแยกว่าร่างกายคือบ้านได้ จิตเราคือเจ้าของบ้านซึ่งจะต้องจากบ้านไปได้ เธอก็รู้ แล้วพิจารณาเรื่องกายกับจิตที่แยกกัน แยกได้ไหมว่าอะไรเป็นบ้าน ?
☻ นึกให้จริงๆ นะ ในตัวเธอน่ะ แยกจิตออกได้ไหมว่าไม่ใช่ของสิ่งเดียวกัน ไม่ใช่รู้เฉยๆ ต้องโล่ง เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจะรู้สึกว่าโล่ง อันนี้อาจจะยาก เพราะอยู่ใน "สกิทาปฏิบัติ"

☻ เอาง่ายๆ เวลาที่ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วรู้ว่ามันผิดแต่เธอทำ เราก็น้อยใจ คัดค้านตัวเองว่าไม่ผิดโดยออกนอกหน้า แต่ในใจสำนึกของเธอรู้ว่าผิด อาการเช่นนี้เรียกว่า “รู้” เฉยๆ รู้ว่าผิดแต่ทำ ทำแล้วผลที่มันผิดแสดงออกมา

☻ แต่ต่อธารกำนัลเราไม่ยอมรับ ทั้งๆ ที่ใจจริงรู้ว่าผิด แต่คนที่ทำผิดแล้วยอมรับผิด อย่างที่บอกจากใจโดยไม่มีใครบังคับหรือมีเหตุบังคับ คนๆ นั้นเป็นคนที่ยอมรับ อาการเช่นนี้เรียกว่าทำได้แล้ว

☻ ฉะนั้น การที่ฟังเทศน์บ่อยๆ ก็เทียบกับความเข้าใจของเธอที่ฟังคนอื่นเขาเล่าว่า เขาไปเมืองๆ หนึ่งมา มีถนนที่สวย ร้านนั้นมีของขายประเภทนั้นประเภทนี้ ประการต่อมาเรารู้แล้วก็คุยให้คนอื่นฟังจนเหมือนกับว่าเราได้ไปมาจริงๆ อาการนี้ คือ "รู้"

☻ ก็เหมือนกับที่เธอฟังเทศน์นั่นแหละ
• ทำธรรมนั้นให้รู้ 1
• ทำธรรมนั้นให้แจ้ง 1
• ทำธรรมนั้นให้แทงตลอด 1

☻ 3 อย่าง รู้แล้วก็ต้องเข้าใจ คือแจ้ง เข้าใจแล้วลงมือลองทำ ผลจะสำเร็จคือแทงตลอด
• เช่น บ้านกับเรา บ้านคือร่างกาย คนมีบ้านที่วุ่นวาย มีทั้งสมองและเครื่องใช้ คือ อารมณ์ ของในบ้านคือสมอง ตับไต ไส้ ม้าม เป็นอาทิ โทรทัศน์คือตา วิทยุคือหู รถยนต์คือขา เอามาเปรียบให้หมด เราก็จะหยิบความไม่เป็นสุขของบ้านใหญ่บ้านเล็ก สมมุติมาให้เป็นสุขได้ เพราะเรารู้ทันมัน เข้าใจไหม ?
• เมื่อทันมัน เราก็จะหาความสุขของบ้านเล็กๆ ได้อย่างสบายๆ คือความพอใจในตนเองและกรรม เรียกว่าสันโดษ ใช่ไหม ?

☻ ร่างเราน่ะ รถก็มี โทรทัศน์ก็มี วิทยุก็มี เพียงแต่
1. ดูแลของใช้ในบ้านให้ปกติ
2. ชำระร่าง และจิต
3. ตัดสันดานบริวารให้เข้ากับบ้าน ให้เย็น “สงบ” ได้แล้วจะต้องการอะไรอีก
เมื่อเธอแบ่งกายกับจิตออกได้ตามอุทาหรณ์นี้แล้ว เธอจะไม่เดือดร้อนกับภัยข้างนอก ดังคำที่ว่า “ชนะใจตนเองเสียก่อนแล้วเราจะครองจักรวาล” คำนี้ ถ้าทำได้ตามคำนี้ไปนิพพานสบาย

☻ ที่เราฝึกๆ อยู่ อธิษฐานจนหมดน้ำลาย เพราะต้องการชนะใจตนเอง คือเมื่อเรามีความสุขในบ้าน บ้านนั้นก็จะแปลงเป็นวิญญาณ เราจัดการกับบ้านเราได้ก็เท่ากับจัดการไล่ผู้ร้ายไม่ให้ยุ่งกับบ้านเรา ผลก็เท่ากับตัดกิเลส

☻ ลองแยกว่าเราคือจิต และกายคือที่อาศัย วิธีแยกต้องทำสมาธิ พิจารณา อย่างโปร่งๆ เย็นๆ แล้วจะมีความรู้สึกอีกแบบหนึ่ง รู้ว่าจิตเรามันสวมอยู่ในตัวเรา เดินไปไหนมาไหนได้ นั่นแหละภาวะกายแยกจากจิต เรารู้ในตอนนี้ ก็เหมือนกับที่รู้ตาม “เขาเล่าว่า” เข้าใจไหม? มันสุขจริง เมื่อแยกได้

2 มีนาคม 2520

☼ สอนผู้มีปัญหางานผูกพันล้นมือ
☻ เอางานนั้นแหละ เป็นเรื่องกรรมฐาน
☻ เมื่อพักอารมณ์ก็หยิบยกธรรมะมาเป็นปกิณกะทางใจ พิจารณาดูวาระและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา เป็นอุทาหรณ์สอนวิปัสสนาในตัว โดยเพ่งเอาตัวสติมาตั้งมั่นแยกตนเองออกจากจิต แล้วเอาปัญญามาตรวจดูว่าควรแก่การประการใด

☻ ก็เอาปัญญาที่พิจารณาจากภาวะพระกรรมฐาน คือ "สมาธิ" มาตรองดูอีกชั้นหนึ่ง แล้วไล่ภูมิปัญญาอันเกิดแต่หลักธรรมที่ได้สดับ ฟังคำของพระมาประหารกิเลสออกไป เราจะตัด จะละได้ในบัดนั้น ถ้าจะให้เป็นสมุจเฉทปหานก็พิจารณาทวนอีกรอบหนึ่ง ให้ธรรมนั้นแตกฉานและทรงตัวคงตัวแน่นอน

☺ (ถาม – พิจารณาแล้วก็ยังเห็นว่าตัวเองดี)
☻ เอาสติมาเป็นสมาธิ แยกกายออกจากจิต

☺ (ถาม – พิจารณาแล้วเวิ้งว้างไปหมด)
☻ หาที่ลงให้ได้ซิ เมื่อเกิดภาวะรู้ รู้นะว่าไม่มีอะไรดีสำหรับโลกในกายสังขาร เมื่อรู้ว่าบุญเป็นวิถีทางนำ ก็ให้สรุปตรงภาวะที่เกิดความอิ่ม ประสมกับปีติที่แทรกเข้ามา เอาตรงนั้นแหละสรุป ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย รู้ความเป็นอนัตตา รู้ความลำเค็ญของโลก รู้และเข้าถึงวัฏฏะ เมื่อนั้นสักกายทิฐิจะแบ่งตัวออก แล้วเราเอาความรู้นี้มาเป็นอารมณ์เบื่อ เบื่อโลกว่าโลกคือโลก โลกมีอะไรเป็นสมบัติ สมบัติของโลก แล้วความบริสุทธิ์จะเกิดแก่เธอ

☺ (ถาม – เอาอะไรมาพิจารณาให้เบื่อ)
☻ อย่าให้เบื่อจนเกิดระอา เบื่อต้องบังคับให้เกิดในจิตที่บ่งคำว่า “รู้” เบื่อในกิจวัตรประจำวันนั้นรู้อยู่ แต่ทำอย่างไรจึงจะพ้นภาวะนั้นได้

☺ (ตอบ – ต้องปฏิบัติ)
☻ ทิฐิมานะ คือการเกิด ต้องตัดออก..
☻ การเบื่อเมื่อให้ใคร่ครวญหาทางที่จะตัดให้พบกับสิ่งเบื่ออีก เราจะสร้างอารมณ์เบื่อจนไม่อยากจะทำอะไร หรือทำให้มีอาการเบื่อนั้นไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร จะต้องหาตัวอะไรที่ทำให้ไม่พบเบื่อ คือตัวไม่ติดเบื่อ แล้วต้องหาทางที่จะไม่ให้พบกับเบื่อ...!!!

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/2/10 at 07:12 [ QUOTE ]



(Update 04/02/53)

30 พฤศจิกายน 2520


☻ สอนรายบุคคล (คนที่ 1)

☺ คนที่มองเห็นตัวเองไม่ดีคือคนที่บางแล้ว ถ้าคนใดเห็นตัวเองดี คนนั้นยังหลงอยู่
☻ (ปรารภ – ขาดกำลังใจ)
☺ วิริยะ อิทธิบาท 4 ทำให้ได้

- ฉันทะ รู้ไหม คือความพอใจ พอใจที่เราควรจะมี ควรจะได้ ควรจะเป็น
- วิริยะ คือความพยายาม อุตสาหะที่จะประกอบการงานนั้นๆ ให้ถึงจุดหมาย แม้ว่าจะมีอุปสรรคขัดขวางก็ตาม
- จิตตะ คือความตั้งใจมั่น มุ่งแน่
- วิมังสา คือความมั่นคง อย่าท้อถอย ทำดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

• เราตั้งกำหนดจุดที่เราจะเดิน เราก็ต้องรีบเดิน และมุ่งหน้ามุ่งตาที่จะไปโดยไม่รีรอ แม้ทางนั้นจะเป็นกรวด หิน หรือโคลนตม หรือทราย แม้จะแอบแฝงด้วยคมหนามคมหินและความร้อน ความเย็นของหินของน้ำก็ตาม เราก็จะตะลุยไป แรงมีเท่าใดจงใช้ให้หมด อย่าออม

• รักษาอารมณ์ให้สบายๆ อย่าแยกอารมณ์ของคนอื่นมาใส่
• ลูก – ผัว ทุกคนเปรียบเหมือนห่วง ถ้าเรานำห่วงนั้นมาถือไว้เฉยๆ ภาระก็เบาลง ถ้าเราสวมห่วงนั้นไว้กับตัว ภาระนั้นก็จะหนัก ถ้าเราเอาห่วงนั้นสวมติดตัวแน่นขึ้น ภาระนั้นคือเรา เป็นภาระเรา คือเราเป็นภาระ และภาระของลูก – ผัว คือภาระเรา

• ลูกทุกคนก็โตจนเป็นพ่อคนแม่คนได้แล้วทั้งนั้น จะเก็บจะกัดไว้ได้นานเท่าไร คิดถึงเมื่อเราอายุเท่าเขาตอนนี้ซิ ว่าเขากับเราตอนนั้นมีใจเป็นอย่างไร
ธรรมชาติสร้างคนมาเหมือนกัน แต่คนมักจะสร้างให้ธรรมชาติผิดวิสัย ความจริงย่อมเป็นความจริง เหมือนกระแสน้ำ ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงก็เหมือนกับเราขวางกระแสน้ำ ไปๆ มาๆ ตัวของเราเองก็ต้องพัง พังเพราะไม่ได้ตั้งใจ

☻ (ปรารภ – กลัวจะทำไปไม่ตลอด)
☺ ไม่ล้มเหลว แต่เราตั้งอะไรไว้ก็ต้องดูความเหมาะสม เรื่องของคนศึกษาไม่ยาก ถ้าเราหยุดคน แต่ดูคนอื่นเขาคน แต่เหตุ (ปัจจุบัน) ไม่เป็นอย่างนั้น

24 พฤษภาคม 2521

☺ อยากจะฟังเรื่องอะไร ?
☻ (ตอบ – แล้วแต่จะทรงโปรด)

☺ วันนี้จะขอสอนสาเหตุ และผลของความรัก
• ความรักนั้น เป็นคุณประโยชน์ที่ต่อมาจาก เมตตา อันเป็นข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ตัวที่เรียกว่ารักนั้น ผลเป็นผู้อนุเคราะห์ ชอบ และคิดอยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเฉพาะ

• รูปพ่วงของคำว่ารักนี้มีผลเป็น หวง ห่วง หลง หึง อาการที่กล่าวมานี้เป็นปัจจัยของความโกรธ โกรธเพราะโลภ โลภเพราะต้องการให้คนๆ นั้นมาพบเรามากๆ หรือโกรธเพราะคนเหล่านั้นหรือคนนั้นไม่ชอบเรา เมื่อโกรธเพราะโลภก็นำไปสู่หลง หลงว่าตัวเองดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ใครว่าเปรียบเปรยถือตัวตนที่ว่าดีแล้วนั้นขึ้นมาโกรธ

• เมื่อเป็นโทษ ผลของสิ่งที่มีความหมายว่ารัก จึงจัดเป็นไปในรูปของตัณหา อีกประการหนึ่ง อันคำว่ารักนี้ขอให้นึกก่อนอื่นว่า คำนี้หมายได้หลายทาง เช่น รักพ่อ รักแม่ ปู่ย่าตายาย พี่น้อง ลูกเมีย ทั้งครู อาจารย์ สัตว์ สิ่งของ ตลอดจนสิ่งอื่นใดคือรักตัวเอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่ารักที่ตัวตนหรือรักที่จะให้เราในเราไปสู่ที่ดี อันคำนี้ ทางศาสนาสอนให้เป็น 2 ระยะคือ

• ระยะแรก คือว่าการรักสิ่งใดที่เป็นบุญ แล้วจะเกิดความดี
• ระยะสอง คือการรักที่ไม่ใช่บุญ ไม่ใช่กุศล ถือเป็นอวิชชา เหล่านี้
• เราจะมาพูดถึงตัณหาต่อ ตัณหาแบ่งเป็นข้อใหญ่ได้ 2 ประการ คือ ภวตัณหา และวิภวตัณหา อยากที่จะเป็นและไม่อยากให้เป็น เช่น วิภวไม่อยากที่จะให้เป็น คือไม่อยากให้แก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย

• ส่วน "ภว" นั้นการที่อยากจะเป็น คือ อยากร่ำรวย อยากสวย อยากสาว อยากแข็งแรง อยากอายุยืน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งฝืนธรรมชาติความจริงทั้งสิ้น จึงเข้าหาข้อ “ผล” ของคำว่ารักได้ ดังพุทธสุภาษิตที่ทรงกล่าวว่า

• “การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์” “การพบกับสิ่งที่รักเป็นทุกข์” กล่าวได้ดังนี้ แจ้งว่า “การพบกับสิ่งที่รักเป็นทุกข์” นั้น คือการที่เรามีของรักอยู่ไม่ว่าสิ่งใด เราจะหวง ห่วง ทะนุถนอม ออมไว้สำหรับเรา ไม่ให้ใครได้เป็นส่วนตัวของตนไม้ สิ่งนี้จะทำให้จิตประสบกับความกังวล เศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นทุกข์ “การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์”

• คือเราไม่อยากให้สิ่งอันเป็นที่รักของเราจากไป สูญไป หายไป พังไป เหล่านี้จึงเป็นทุกข์ เพราะมวลมนุษย์ทั้งหลายไม่ยอมให้จิตและใจพิจารณายอมรับสภาวะธรรมชาติของความเป็นจริง นี่เป็นผลของคำว่ารัก

• ถ้าเรามีความรักในตัวตน ก็จงอย่าทำตัวให้ตนเองเวทนาในตัวของตนเอง จงมั่นในอารมณ์ ความจริงแท้แน่นอนว่า เราจะต้องแก่ จะต้องเจ็บ จะต้องตาย จะต้องพลัดพราก จะต้องผิดหวัง พลาดหวัง ไปในที่สุดแห่งกรรมและบุพกรรมของแต่ละคนโดยตรง จึงควรยึดมั่นในจิตในใจเราตลอดเวลาว่า เราจะมีปัญญาในสมาธิที่ประสบพบเหตุ พบทางที่จะทำให้เรากลายเป็นผู้ประมาท จงยกตนให้เป็นผู้สงบเสงี่ยมเจียมตนในสันโดษ

•สันโดษ เป็นอาการที่เราพึงรู้จักพอ พอใจในสิ่งที่เราเป็น เรามี เราอยู่ และพึงจะเป็น พึงจะมี พึงจะอยู่ เช่นเราเกิดเป็นหญิงก็ควรพอใจ เราเกิดมาในสกุลธรรมดาก็ควรพอใจ เราเกิดมาไม่มีฐานะก็ควรพอใจ สิ่งนี้อาจจะมีผู้ตำหนิได้ว่า “ก็จะไม่เป็นผู้ขวนขวายในวิชาอาชีพน่ะซิ” มิได้ให้ไม่ทำอะไรเลย

• จงหมั่นพิจารณาเอาตามข้อต่างๆ ที่กำหนดไว้ แล้วเธอจะต้องทำใจให้ลดลงด้วยโลภ โกรธ หลง สามตัวนี้ยังทำกันไม่ได้เต็มที่ ในเมื่อทุกคนยังมีทิฐิมานะอยู่ด้วย 3 ตัวนี้แล้ว เมื่อไหร่จะหลุดพ้นกันล่ะ จะรู้จักพอ พรหมดวิหาร 4 เป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับตัดกิเลส 3 ข้อนี้

• พรหมวิหารสอนให้ใจรู้จักคิด ไตร่ตรอง ดังเช่นสอนให้อภัยคนด้วยเมตตา สอนให้รู้จักเวทนาเป็นจาคะ เป็นทานด้วยกรุณา สอนให้ทำใจรู้จักไม่อิจฉาริษยาหรือหลงตัวเอง ด้วยการมีมุทิตา รู้จักรับกรรมรับอุปสรรค ไม่หวั่นไหวในความดีความพยายามด้วยอุเบกขา

• เหล่านี้ ฟัง ยึดถือ ยึดหลักปฏิบัติให้ได้แล้วจะสัมฤทธิ์ผลเป็นความสุขแก่ตน เมื่อเธอทำได้กัน เธอจงอภัยให้กับขันธ์ของตัวเองน้อยลง ความสนใจที่มีต่อขันธ์ 5 ที่แสนมายานี้จะเสื่อมคง แล้วเธอจะมีอารมณ์ใจที่แจ่มใส สดชื่อ เหมือนประหนึ่งว่าไม่มีอะไรจะต้องเป็นห่วงอีกแล้ว เมื่อนั้นแหละจะพ้นทุกข์ หมดเคราะห์กรรม

15 พฤศจิกายน 2518

☺ จะฟังอะไรกันดี ?
• อันที่จริง ธรรมะที่เทศน์กันอยู่ทั่วๆ ไปไม่จำเป็นต้องใช้บาลีให้เปลืองเปล่า เพราะใช้ไปก็ฟังยาก ธรรมะนั้นเป็นของฟังง่ายฟังเพราะจับจิต รู้เรื่อง เข้าใจง่าย นั่นแหละควรเป็นธรรมะที่สอนเราอย่างดี จะพูดกันถึงเรื่องทิฐิมานะ

• “ทิฐิ” นั้น จะพูดง่ายๆ ว่ามันเป็นแรงยึดมั่น ถือมั่น
• “มานะ” นั้น เป็นตัวเอาชนะ
• รวมแล้ว ทิฐิมานะ คือการยึดมั่นถือมั่นเพื่อเอาชนะ จบ
• เรายังมีทิฐิมานะกันคนละหลายกองทีเดียว ใครมีน้อยมีไหม ? เอาชนะ เช่น อยากดี อยากเป็น อยากได้ อยากต่างๆ
• ทำไมล่ะ ?

☻ (ตอบ – ถูกฝึกมาตั้งแต่เด็กให้ทำตัวเก่ง)
☺ ทิฐิมานะอย่างสัมมาซิได้
☻ (ถาม – ที่ไม่ดี คือในทางที่ผิด ?)
☺ ใช่.. ของมันไม่ได้ต้องร้อง ร้องที่จะเอา ไม่รู้จักพอไม่รู้จักหยุด อันคำบาลีที่กล่าวไว้ว่า “ปัจจัตตัง เวทีตัพโพ วิญญูหิ” นั้นเป็นใจความว่า “ผู้ที่รู้จริงคือผู้ที่ได้ประพฤติแล้ว” เพิ่งว่าพระที่พูดบาลีอยู่หยกๆ เอาเสียเอง เข้าใจไหม ใครทำใครได้
• เทศน์ 2 จบแล้ว
• จะรวม 2 เรื่องละนะ

☺ อันคนเราที่พยายามกันนักหนาที่จะโผล่กันมาในโลกนี้ มีอะไรอยู่อย่างหนึ่งคือ ชอบหาความไม่ดีให้คนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของบ้าง แม้กระทั่งโลกซึ่งอยู่เฉยๆ ยังโดนคนด่าว่าจนได้ ทำไมล่ะ ? เพราะมันเห็นแก่ตัว ทำไมจึงเห็นแก่ตัว ?

• เพราะความต้องการ ทำให้คนเห็นแก่ตัว ที่จะว่าก็คือ เห็นแก่ตนนั้นไม่ยักเห็น 2 ข้าง กล่าวคือ เห็นแก่ตนในความดีมีมาก ของดีก็ฉันเองๆ ของชั่วก็คนนั้น ฉันไม่เกี่ยว น่าจะเห็นแก่ตนในของชังด้วยนะ ว่าเรามันผิดอย่างไร นั่นเป็นทิฐิมานะ
ทิฐิมานะนี้จะเป็นตัวนำให้ถือเขาถือเรา ถือ “ฉัน” “ของฉัน”

• ถือแล้วก็หยิ่ง หยิ่งแล้วว่าตัววิเศษ เห็นว่าตัววิเศษ แล้วก็ลืมตนลืมเงา เมื่อลืมเงาเลยต้องพบกับโลกเป็นประจำ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะทำอย่างไรให้ไม่ลืมตน รู้ไหม ? แก้ไขอย่างไร รู้ไหม ? ตอบ เอาปัญญากันหน่อย เดี๋ยวจะสอนโดยไม่ต้องคิด ปัญญาทู่หมด

☻ (ตอบ – ต้องมีสติอยู่เสมอ)
☺ ทำอย่างไร จะมีสติอยู่ตลอดเวลาได้ ?
☻ (ตอบ – รู้ตัวว่าจะต้องตาย)
☺ ไกลไป ต้องมีสัมปชัญญะ ระลึกได้ ระลึกว่าเราทำอะไร เป็นอะไร แล้วถ้าจะให้ทรงอยู่ได้ ทำยังไง ? สติ แปลว่ารู้ทรงตัว สติคือไม่เผลอ เข้าใจไหม ระลึกได้คือรู้ว่าจะเป็นอย่างไร

• แล้วทำอย่างไรจะให้ทรงตัว
• สมาธิไง สมาธิคือการทรงอารมณ์ให้จับ ให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ได้ขณะที่จะทำจะเป็น
• เมื่อทรงอยู่ได้แล้ว จะมีผลอย่างไร
• รู้จักเหตุผล รู้จักการใดดี การใดชั่ว รู้ธรรม
• รู้แล้วทำอย่างไร

☻ (ตอบ – แก้ไข)
☺ ใช่.. ปฏิบัติ ที่นั่งๆ กันอยู่ทั้งนั้น รู้ (เป็น) ส่วนใหญ่ (แต่) ทำน้อย พอเกิดเรื่องแล้วถึง “อ้อ” (ก็) ทำไมไม่ทำ (ล่ะ)
• เอาเนื้อนะ อะไรทำให้เกิดทิฐิมานะ ?
• ความต้องการ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ในที่สุดลืมตน หลงตน แล้วอะไรทำให้เกิดความต้องการ

☻ (ตอบ – ความอยาก)
☺ อารมณ์ ใช่ไหม อะไรทำให้เกิดอารมณ์
• ขาดสติ ทำให้เกิดอารมณ์ ใช่ไหม อารมณ์นี้จะบงการต่างๆ อารมณ์เป็นส่วนละเอียดของจิต ทำให้ว้าวุ่น ทำให้พอใจ – ไม่พอใจ เมื่อมีพอ – ไม่พอ ชอบ – ไม่ชอบ กิเลสตัณหาอุปาทานก็มา แล้วแสดง (ออก) ด้วยอาการโลภะ โทสะ โมหะ เป็นงิ้วเลย แล้วนี่หรือคือทางไป (สู่นิพพาน)

☺ (ต้อง) ดับ ดับอย่างไร ?
☻ (ตอบ – ดับที่อารมณ์)
☺ นั่นซิ ดับยังไง ?
☺ ดับด้วยความรู้จักพอ สันโดษ แล้วมีวิธีอย่างไรให้เกิดสันโดษ ?
☻ (ตอบ – พอใจในสิ่งที่มีอยู่)
☺ ขั้นแรก ปราบใจ ใช้สมาธิ กรรมฐานพิจารณาดูพฤติกรรม ดูยังไง ?

☻ (ตอบ – ดูเหตุผล)
☺ น้อยไป ดูทุกข์ อะไรล่ะมันเป็นทุกข์ ชอบเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
☻ (ตอบ – เพราะยึดมั่นถือมั่น)
☺ เพราะรัก รักแล้วถึงยึด ใช่ไหม ? อย่างที่พุทธดำรัสว่า “พบสิ่งที่รักเป็นทุกข์ พรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์” รักนี้ใช้ได้ทุกอย่าง รักคน รักของ รักตัวเอง รักสวย รักชม รักพ่อ รักแม่ ตา ยาย ลูกหลาย ผัวเมีย ต่างๆ นี้แหละตัวร้าย เป็นมีด 2 คม รักนำมาซึ่งห่วง หวง หลง หึง
• เมื่อมีสิ่งนี้แล้ว จะทำอย่างไร ?

☻ (ตอบ – ตัดความพอใจออก ไม่ติด)
☺ พิจารณาให้เป็นกองกิเลส ทำยังไง ?
• ตัดอายตนะเสีย มีอะไร ? ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตัดอย่างไร ?
ตัดไม่ให้มันรักน่ะซิ รูปสวย เสียงเพราะ เนื้อนิ่ม รสอร่อย กลิ่นหอม ทำอย่างไร จะตัดได้ ?

☻ (ตอบ – พิจารณาอสุภะ)
☺ ยากไป ต้องทำให้เห็นให้รู้เสียว่าทุกข์ ทุกๆ กองในอายตนะเป็นทุกข์ ต้องรู้อะไร ?
• รู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกคนน่ะไม่อยากเจ็บ ไม่อยากแก่ ส่วนมากอยากเกิด ส่วนน้อยอยากตาย กลัวนิดๆ มีใครอยากตายบ้าง ?

☻ (ตอบว่าอยากตาย)
☺ อยากตายไม่แน่จริง เพราะจะตายต้องร้องขอว่าจะตาย (ก็) ขอดิฉันตายสบายๆ เจ้าค่ะ อย่าเจ็บนะ อย่าทรมานนะ จริงไหม ? นี่หรืออยากตาย อยากตายจริงต้อง (ตาย) ประเภทไหนก็ได้ สุดแต่กรรมครั้งสุดท้าย นั่นแหละ คือคนที่อยากตายจริงๆ

☻ (ค้าน – ถ้าตายทรมานก็ไม่มีสติ จะพิจารณาอะไรได้)
☺ ทรมานกับสติคนละเรื่อง เราจะให้เวทนาคุมใจ หรือใจคุมเวทนา ?
☻ (ตอบ – ถ้าเจ็บปวดก็ไม่มีสติตั้งมั่น)
☺ แสดงว่าไปไม่รอดเพราะห่วงกาย กาย (เป็น) ของเรารึ ? เจ็บเอาไปได้ไหม มันก็เท่านั้น เห็นกองทุกข์หรือยัง “เกิด” (เป็น) ทุกข์อย่างไร
☻ (ตอบ – เช่นเป็นเด็ก เวลาหิว ทรมานก็บอกใครไม่ได้)
☺ แก่ล่ะ ?
☻ (ตอบ – แก่ทำอะไรไม่ได้ก็ทรมาน)

☺ เจ็บล่ะ ตายล่ะ ?
☻ (ตอบ –คนอยู่เป็นทุกข์)
☺ คนนั้นแหละทุกข์เพราะกลัวตาย แล้วพิจารณาอย่างไรจะขจัดเกิด แก่ เจ็บ ตาย ?
☻ (ตอบ – ให้เห็นเป็นอนิจจัง อนัตตา)
☺ ใช่..ให้รู้ว่าทั้ง 4 นี้เป็นทุกข์ ทั้ง 4 นี้เป็นอนิจจังไม่แน่นอน รู้ว่าทั้งสี่นี้ไม่จบสิ้น
☺ ทำอย่างไรจะให้ไตรลักษณ์นี้ไม่เกิดกับตน ?
☻ (ตอบ – ชาตินี้ยอมรับกรรม)
☺ อธิษฐานเป็นอย่างเดียวรึ ใช้อริยมรรค (ซิ) ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แปลว่าอะไร ?
☻ (ตอบ – รู้ว่าทุกข์คืออะไร อะไรเป็นต้นเหตุ ทำอย่างไรจะดับได้ และวิธีปฏิบัติ)
☺ รู้หรือยังว่า ที่ว่า “รู้” น่ะรู้อย่างไร
• รู้ทุกข์ ทุกคนรู้
• รู้เหตุแห่งทุกข์ ส่วนใหญ่รู้ เพราะกำลังเล่า (อยู่นี่) รู้ทางดับทุกข์คือรู้อย่างไร ?

☻ (ตอบ – รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ก็ตัด)
☺ ก็อันที่ว่าเมื่อครู่ (นี้) ทั้งตอน
• แล้วรู้มรรคล่ะ

☻ (ตอบ – ศีล สมาธิ ปัญญา)
☺ รู้มรรค 8 “ชอบ” 8 ข้อ ทำอย่างไรถึงจะขึ้นชื่อว่าชอบทั้ง 8 ข้อ
☻ (ตอบ – ให้มีศีล สมาธิ ปัญญา)
☺ คิดชอบ ทำอย่างไรจึงจะคิดชอบ ? คิดในปัจจุบัน คือคิดชอบ ไม่คิดในสิ่งเศร้าใจ อดีต และฝันในสิ่งที่ยังไม่ถึง
• ทำชอบ ทำตามหน้าที่ที่เราเป็นคน เป็นชายหรือหญิง เป็นพ่อหรือแม่ เป็นลูกหรือเป็นผัวเมีย หรือตามวัฒนธรรม
• เลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพพระพุทธเจ้าห้ามไว้ 5 อย่าง ยาพิษ เครื่องประหัตประหาร มนุษย์ สิ่งมึนเมา และสัตว์ที่เป็นพาหนะเป็นอาหาร
• เพียรชอบ มีอุตสาหะวิริยะ
• วาชาชอบ พูดในสิ่งที่ถูกที่ควร
• ระลึกชอบ มีสติ

☻ (ดำริชอบ)
☺ ตั้งใจชอบ ปรารถนาที่แน่วแน่
• จบมรรค 8 แล้วทำอย่างไรจะปฏิบัติได้ ที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นปณิธานในใจ

☻ (ตอบ – ก็ต้องปฏิบัติ)
☺ อะไรจะคุมการปฏิบัติ
☻ (ตอบ – ศีล สมาธิ ปัญญา)
☺ ศีล ใช่ละ สมาธิก็ใช่ (แต่) ปัญญาอยู่ในใจ

• พรหมวิหาร 4 โลกธรรม 8 เป็นประกัน กันความประพฤติ
• ทำได้หรือยัง ทำได้แล้วจะเกิดอะไร ทั้งหมดนี้ ทำแล้วจะเกิดอะไร ที่พูดมาทั้งหมดนี้จะเกิดอะไร
• เกิดสติไง (ล่ะ) เมื่อมีสติ ตายก็ไม่ต้องขอ “ท่านขา ขออย่าให้เจ็บนะคะ”
• สรุป สติตัวเดียวที่ทำให้ถึงซึ่งอริยมรรคบุคคล จบด้วย “ใครทำใครได้”
• สามกัณฑ์ (แล้วนะ)
• ทุกคน ทำบุญนะ รู้จักผลของทานไหม ทำอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่า “สละ”

☻ (ตอบ – ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน)
☺ ใช่.. การทำทานนั้น เป็นการเมตตา เพื่อต่อบุญ ต่อกุศล แต่การสละจาคะนั้นเป็นเพื่อตัดเพื่อทิ้ง มีกุศลมากกว่าทาน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?

☻ (ตอบ – ทานมีผลตอบแทน แต่จาคะตัดกิเลส)
☺ ตรง ทำอย่างไรจึงจะตัด – จาคะได้
• สละ – จาคะยากไป เอาว่าทานกับจาคะต่างกันอย่างไร ทานคือการให้ อาจจะหวังผลตอบแทน แต่จาคะคือการให้อย่างสิ้นเชิงไม่หวังผล ไม่เสียดาย ไม่มีใจที่จะทวงบุญ ทวงคุณ คือ (คล้ายของ) หายแล้ว (ก็) แล้วกัน

☻ (ถาม – ทาน ควรทำคู่กับจาคะ ?)
☺ ควร แต่ (ที่) ทำได้คู่กันน้อยคนนัก ทานยังมีกระเหม็ดกระแหม่ จาคะให้สุดแต่ใจ
☻ (ถาม – ต้องมีศรัทธาด้วย ?)
☺ นั่นของประกอบ ศรัทธาต้องมีทั้ง (ใน) ทานและจาคะ
☻ (ถาม – อย่างพระเวสสันดร เป็นจาคะ ?)
☺ จาคะ นางวิสาขาก็จาคะ อย่างเราที่ยังไม่ไปเพราะจาคะน้อย

☻ (ถาม – นางวิสาขา จาคะมาก ทำไมไม่ไปนิพพาน)
☺ เขาปรารถนาได้ ปรารถนาจะอยู่เลี้ยงพระ แกชอบแก
☺ ทำอย่างไรถึงจะเกิดจาคะ
☻ (ถาม – ทำไมทานบารมีจึงยิ่งใหญ่ ทำไมไม่มีจาคะบารมีบ้าง)
☺ ทานยิ่งใหญ่กว่าจาคะจริง แต่จาคะมีผลมากกว่าทาน ทานเป็นตัวบุญ จาคะเป็นตัวตัดสันดานใจ สละเสร็จเด็ดขาดนั่นคือจาคะ ทานคือพื้น เนื้อนาบุญ ทานเป็นบารมี บารมีแปลว่ากำลังใจที่เต็ม เมื่อมีกำลังใจที่เต็มแล้ว ทำอะไร (ก็) ได้ เข้าใจไหม เมื่อทานเต็ม ใจเต็ม ถึงจะสละได้ บารมีเป็นแรง เป็นกำลังส่งใจให้สละ

☻ (ถาม – การอภัย เป็นทานหรือ)
☺ ใช่ เป็นทาน
• ทานใหญ่กว่าจาคะ แต่จาคะสูงกว่าทาน ทานบารมีคือการที่เราทำบุญทุกวัน เมื่อทำมากโลภะหาย – เบื่อก็เกิดจาคะ คือใครจะเอาอะไรก็ (ให้โดย) ไม่เสียดาย
• จาคะ มีความรู้สึกว่า เงินใช้ไปเถอะ อย่าไปเสียดาย หมดอาลัยในเงิน
รู้จักวิภาไหม ? มายืนอยู่ (นี่) เขาว่าตอนก่อนตาย ทั้งผัว ทั้งบ้านเขาไม่ติดใจ ใครจะทำอย่างไรก็ช่าง นั่นแหละจาคะปล่อยสละ ทีละอย่าง

☻ (ถาม – หมายถึงร่างกายด้วย ?)
☺ นอกมาใจ เงินและวัตถุมาก่อน ลูกหลาน ผัวเมียตายมาแล้ว (ก็) ถึงตน ดูพระเวสสันดร พระเวสสันดรครั้งแรกตั้งโรงทาน สละเงินทอง สองสละสัตว์ สามสละฐานะตัวเอง สี่สละพ่อแม่ ห้าสละลูก หกสละเมีย เจ็ดตรัสรู้เป็นพระพุทธ สละกาย

☻ (ถาม – จาคะคือให้แล้วก็แล้วกันใช่ไหม ?)
☺ ใช่ จะไปโยนทิ้งหรือทำอะไรก็ช่างเขา พระที่ถึงแล้วถึงจะเห็นเงินเป็นกระดาษ เพราะท่านถึงจาคะ (ว่า) “เท่านั้น” “มันก็ไอ้เท่านั้น”
☻ (ถาม – คือตัดความอาลัยในทุกสิ่ง ?)
☺ ใช่
• 4 กัณฑ์
• พระที่นี่ไปแล้วหนึ่ง อนุโมทนานะ ไปเพราะจาคะ “ท่านแก้ว” ทำไมถึงเทศน์จาคะ เพราะท่านยังห่วงวัด ตามท่านนะ

“โกนาคม”



หมายเหตุของผู้บันทึก


1. สำหรับผู้ที่เห็นว่า "การทรงกระดาน" หรือ "การเดินถ้วยแก้ว" เป็นสิ่งที่ควรเชื่อถือนั้น จะเห็นได้ชัดว่าลีลาของคำเทศน์ครั้งนี้ออกจะแปลกอยู่ คือการทรงกระดานส่วนมากผู้ดูจะถาม แล้วกระดานจะตอบ ทำให้เดากันทางจิตวิทยาว่าผู้เดินกระดานต้องการจะได้คำตอบอย่างนั้นอยู่แล้ว จึงพยายามไถถ้วยไปให้เป็นความหมายที่ต้องการ หรือที่ตนชอบใจ

แต่ในครั้งนี้เป็นการกลับตรงกันข้าม คือกระดานเป็นผู้ถาม ให้คนที่ฟังตอบ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วบ่งเจาะจงตัวเสียด้วยว่าให้คนนั้นคนนี้ตอบ และปรากฏว่าตอบไม่ได้กันเป็นแถว ส่วนผู้เดินถ้วยนั้นมีภูมิรู้ทางธรรมอ่อนผู้ฟังทั้งหลาย ไม่มีทางที่จะตั้งคำถามและให้คำตอบอย่างนี้ได้ ท่านลองคัดเอาแต่คำถาม ลองคิดตอบเอง แล้วดูว่าจะต้องได้หรือไม่ได้

2. คำสอนแบบง่ายๆ ของท่านนี้ นักตำราไม่ควรตำหนิว่าสอนไม่ต้องต้นแบบในพระไตรปิฏก แต่ควรระลึกว่าการเทศน์ในหัวข้อหนึ่ง ย่อมเทศน์ได้หลายลีลา ข้อสำคัญสำหรับพระพุทธเจ้าท่านทรงทราบว่าเทศน์ครั้งนี้ควรจะเทศน์เรื่องอะไร เพื่อประโยชน์แก่ใคร ในลีลาไหน

3. ข้อความตอนท้ายที่ว่า “พระที่นี่ไปแล้วหนึ่ง” นั้นหมายความว่าฟังเทศน์จบก็เป็นพระอรหันต์ไปเลย จึงสรุปอย่างที่ท่านตรัสไว้ตอนท้ายว่า เพื่อโปรดพระองค์นี้นั้นเอง ที่ท่านทรงบอกว่า “ท่านแก้ว”

“ท่านแก้ว” ไม่ใช่พระที่เป็นมนุษย์ แต่เป็นพระเทวดาที่รักษาพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซึ่งบรรดาคณะพรรคทราบจากทางทรงกระดานว่า ท่านชื่อแก้วแล้วเลยเรียกเป็นหลวงพ่อแก้วกันเรื่อยมา หลวงพ่อแก้วนี้มีประวัติว่าเจ้าของบ้านไปบูชามาจากสนามหลวง ในฐานะพระใหม่ เป็นพระแบบสุโขทัย บูชามาในราคาเพียงพันบาทเศษเท่านั้น หน้าตักประมาณ 14 นิ้ว

เหตุที่บูชาก็เพื่อจะไปถวายวัด ก่อนถวายวัดเอาไปให้เขาปิดทอง ก่อนปิดทองช่างก็ขัด ขัดแล้วก็ฟ้องมาว่าพระองค์นี้เฮี้ยนจริงๆ ขัดยังไม่เสร็จนอนกลางวันฝันไปว่า ท่านไปยกแขนให้ดูบอกว่าตรงนี้ยังไม่ได้ขัด ซึ่งเป็นความจริง ช่างยังบอกมาอีกว่าไม่ใช่พระใหม่อย่างที่คิด เพราะเป็นเนื้อสามกษัตริย์ แต่ด้วยตะไป

ถ้าเป็นพระใหม่มักเป็นพระทองเหลืองแต่งด้วยเครื่อง เจ้าของบ้านเลยเอาไว้เสียเองไม่ถวายวัด แล้วก็บูชาพระองค์ใหญ่กว่าไปถวายวัดแทน อาจารย์ท่านบอกว่ารูปปั้นพระนี้ จะทำพิธีก็ตามไม่ทำพิธีก็ตาม จะมีเทวดาดูแลรักษาเสมอ เป็นอันว่าเทวดาที่ดูแลหลวงพ่อแก้ว ฟังเทศน์แล้วเลยเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านติดอยู่นิดเดียวคือเป็นห่วงวัดของท่าน คณะพรสวรรค์ก็เลยได้อนุโมทนากันด้วยความปิติ

4. ท่านทรงแจ้งพระนามไว้ด้วยว่า “โกนาคม” ตรงกับพระนามพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ของกัปนี้

ผู้ฉลาดจะหาว่างมงาย เพราะว่าผู้นิพพานไปแล้วย่อมสูญหายไปไม่ปรากฏได้ก็ตามแต่ใจ คณะพรสวรรค์บอกว่าความงมงายนี้ดี ได้ไปนิพพานไว้ ใครไม่งมงายก็ไปนิพพานให้ได้ไวกว่าพวกงมงายก็แล้วกัน จะได้ช่วยอนุโมทนาด้วย เรื่องพระพุทธเจ้าท่านจะโปรดใครนี้

อาจารย์ท่านอธิบายว่าต้องเป็นบริษัทเดียวกันจึงจะโปรด แล้วก็โปรดในโอกาสอันสมควร คือเห็นว่าสอนให้แล้ว ถ้ายังไม่รู้เรื่องคือพูดเท่าไหร่ก็เหมือนน้ำรดหัวตอท่านก็ไม่โปรด ดีไม่ดี เดี๋ยวคนนั้นเลยลงนรกไป เหมือนอุปกาชีวกมาพบพระพุทธเจ้า แกถามว่าเป็นศิษย์ใครหรือ มีผิวพรรณผ่องใสดีนี่ พระพุทธทรงตอบว่าตรัสรู้เอง เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่ก็ทำหน้าย่นเดินหลีกไป จนป่านนี้ไม่ได้ข่าวว่าแกไปอยู่ที่ไหน อย่างนี้เรียกว่าโปรดไม่ไหว

ตอน “รู้จักวิภาไหม” คงจะหมายถึง เสด็จพระองค์หญิงวิภาวดีรังสิต



◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 6/3/10 at 05:25 [ QUOTE ]



(Update 06/03/53)

25 มกราคม 2521


การปฏิบัติของพวกเธอทั้งปวงนั้น ควรหวังความหลุดพ้นจากวัฏสงสารเป็นสำคัญ เพราะทุกคนเข้าใจเรื่องทุกข์ ความทุกข์ แต่ทุกคนไม่ได้รู้จักพอที่จะไม่หาความทุกข์มาเพิ่ม เพื่อที่จะปิดทางไม่ให้พบทุกข์ ทุกข์คนรู้จักกันอย่างดีมาก

แต่ทุกคนไม่เข้าใจที่จะแก้ไขดัดแปลงไม่ให้ทุกข์เกิด ทุกข์ที่ว่าเกิดนั้นคือเกิดที่ใจ ร้อนหนาวก็อยู่ที่ภาวะของใจ รู้จากสัญญา สังขารเป็นผู้รับ วิญญาณเป็นตัวรู้สึก นั่นเป็นธาตุ เป็นตัวประกอบทำให้รวมเป็นทุกข์อยู่ได้

แต่เราทั้งหลายมาปฏิบัติ มาฝึกกันให้รู้ว่าทุกข์นั้นอยู่ตรงไหน อะไรคือทุกข์ อะไรดับทุกข์ อะไรทำให้พ้นทุกข์ จงนำการปฏิบัติที่ได้รู้ได้เรียนมานี้ไปใช้ให้ถูกวิธี

ประการหนึ่ง ควรทำใจให้ทรงตัวอยู่ในศีล เมื่อใจทรงอยู่ในศีลใจจะนิ่ง แน่วแน่เป็นสมาธิ สมาธินั้นทำให้ตั้งสติ มีปัญญา รู้คิด รู้ไตร่ตรอง รู้พิจารณา ตรงนี้เป็นช่วงของอุเบกขา คือต้องการอุเบกขาบารมีเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่ง คือ "เฉย"

รู้จักเฉยในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอวิชชา เป็นราคะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน “รู้จักเฉย” นั้น จะวางอารมณ์เช่นไร เราลองนึกวางกันสัก 5 นาทีซิ พิจารณาว่าอารมณ์เรา เมื่อทุกข์มากระทบแล้วจะเฉยได้อย่างไร เป็นอย่างไร อารมณ์เราหวั่นไหวในเสียงไหม หวั่นไหวในของต่างๆ ที่ยังติดที่ใจไหม รำคาญไหม กังวลไหม พิจารณาตรวจดูว่านิ่งสงบแค่ไหน

ภาวการณ์ "เฉย" นั้นไม่ใช่ภาวะของการไม่แสดง ไม่ทำเอาเสียเลย แต่เป็นภาวะของการใช้สติ ใช้ปัญญาใคร่ครวญดูเหตุต่างๆ ภาวะของอุเบกขาจะบอกเราได้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรแสดง อะไรควรพูด อะไรควรคิด ภาวะนี้จะแจ้งรายละเอียดออกไปถึงการพิจารณาดูความหวั่นไหวของจิตเราว่า ไปจดจ่อจองอะไรไว้ในใจบ้าง..ทำกันได้ไหม..?

พยายามรักษาอารมณ์ให้เสวยอุเบกขาไว้ให้นานที่สุด ปัญญาจะได้แตกฉาน สติจะมั่นคง การพิจารณาจะกว้างขวางแหลมคม เราจะรู้จริง รู้แจ้ง สามารถแทงตลอดได้หมดข้อกังขา หลักวิธีมีอยู่เท่านี้

ในการฝึกหัด อุเบกขาบารมี เขาว่าช่างเขา เขาด่าเขาเลว เรื่องของเขา เราเป็นจริงหรือไม่จริงรู้อยู่ ถ้าจะแก้ไขไม่ต้องย้อนคืนเขา รับพิจารณา ถ้าไม่จริงไม่ใช่ (ก็) ทิ้งไป ปล่อยไป ปลงไป ทำกันได้ไหม ? เมื่อทำได้ก็จะได้อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 อีกแขนงหนึ่งด้วย พรหมวิหาร 4 เป็นข้อปฏิบัติของพวกที่เสวยอารมณ์พรหมอยู่

พวกพรหมนี้ ถือว่าเป็นพวกอริยะแล้ว สอนกันตั้งแต่การเห็นศีล เห็นบุญเป็นพื้นจนมาถึงปฏิปทาของพวกอนาคามีแล้ว พยายามเร่งรัดตัวเองให้พิถีพิถันในอารมณ์มากขึ้น อย่าเป็นคนอ่อนไหวทางโลกมากนัก “พิถีพิถัน” ในที่นี้ คือพิถีพิถันละเอียดในธรรม ไม่ได้หมายความว่าจู้จี้ทางโลก สำคัญที่จิตตัวเดียว จะทนกันได้ไหม ?

คนที่หวังไป (นิพพาน) คือพวกที่คิดจะล้างหนี้ ฉะนั้น เจ้าหนี้เขาทวงหนักนะ ทนกันไหวไหม ข้อสอบคราวนี้ยาก

ขอให้พรทุกๆ คนว่าให้ได้พระธรรมมาบรรลุมรรคผล ได้ถึงซึ่งอาณาจักรพระพุทธเจ้า..!

“โกนาคม”



หมายเหตุของผู้บันทึก: -

1. วรรคก่อนสุดท้าย ท่านอธิบายว่า คนเราถ้าไม่ตั้งใจไปนิพพานก็ยังจะเกิดอีกหลายชาติ แต่พอตั้งใจตัดใจไปนิพพานในชาตินี้ขึ้นมา บรรดาเจ้าหนี้คือ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายกลัวจะทวงหนี้ไม่ได้ ก็เลยรุมกันมาทวงคืนในช่วงชีวิตนี้ ก่อนที่จะหมดโอกาสในชาติต่อๆ ไป จึงมักจะถูกเรื่องร้ายกันหนักๆ

2. ท่านเรียกนิพพานว่า "อาณาจักรพระพุทธเจ้า" เป็นเครื่องหมายให้ยืนยันว่า "นิพพานไม่ใช่สูญ"



3 พฤศจิกายน 2522

เมื่อตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะต้องรู้ถึงสภาพของตัวเองที่เธอมี เธอเป็น เธออยู่ ความพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคโดยมีสติเป็นสิ่งสำคัญ การพิจารณา ยึดมั่นในครูบาอาจารย์เป็นจุดสำคัญ เธอทั้งหลายต้องรู้ว่าครูอาจารย์ก็คือธรรมชาติ ธรรมชาตินั้นคือธรรมะ

จุดสำคัญของการปฏิบัติ คือการยอมรับนับถือความเป็นจริง ความเป็นจริงนี้แหละทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่ สิ่งนี้เธอต้องรู้ใจรู้จิตของเธอให้มั่น

จะให้สอนเรื่องศีลเธอก็รู้หมด จะให้สอนเรื่องอายตนะเธอก็รู้ จะให้สอนไตรลักษณ์เธอก็รู้ ฉะนั้น สิ่งสำคัญพื้นฐานของการปฏิบัติในสิ่งที่รู้มาแล้วคือ ยอมรับ ยอมรู้ ยอมเห็น และยอมเข้าใจในสิ่งที่ประสบ เหมือนกับเธออยู่ในห้อง เธอจะต้องทำความสะอาดห้องให้เรียบร้อยและดูแลห้อง ซ่อมแซมแก้ไขให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะจัดเครื่องเรือนเข้าใส่

ส่วนใหญ่ ยังคงติดตรงจิตตัวเอง ธรรมะเป็นของง่าย ธรรมะเป็นของธรรมดา แต่จิตเธอนี้ซิพยายามกันนะ ดูองค์พระพุทธเจ้าทุกองค์ ท่านทั้งมวลเป็นมนุษย์ปุถุชนคนเดินดินเหมือนเธอทุกประการ แต่ท่านเหล่านั้นมีข้อพิเศษ คือมีความเพียร มีขันติ มีอุตสาหะ มีวิริยะ ทั้งท่านทำจริงสู้จริง ท่านถึงได้มีกำลังใจเด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่ย่อท้อที่จะเอาชนะ

ความจริงท่านเอาชนะความจริง โดยยอมรับความจริงของโลกและไม่ผูกพันในกิจของโลก เมื่อท่านบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ท่านจึงได้เป็นพระพุทธ ไม่เคยมีพระองค์ใดเลยที่เกิดมา (ก็) เป็นพระพุทธเจ้า

คำว่า “พุทธ” แปลว่าผู้รู้แจ้ง ท่านมีครู ครูธรรม คือ ธรรมชาติ ดังนั้น พวกเธอทั้งหลายจึงมีครูเดียวกับพระพุทธเจ้า คือธรรมะที่อยู่รอบข้างกายเธอ แม้แต่ร่างกายเธอเองก็คือครูที่สำคัญ

☻ (ถาม – เรื่องกำลังใจ)
☺ กำลังใจจะเกิดได้ เราต้องมีสติมั่นในสิ่งที่เธอหวังกระทำ ถ้ามีสิ่งใดมาทำให้กำลังใจตก ก็จงใช้ปัญญาให้มากกว่า เหตุ ปัจจัย อยู่ที่ใด เมื่อรู้เหตุ ปัจจัยแล้ว พยายามแก้ไขให้แข็งแกร่งขึ้นโดยทำจิตให้ทรงสมาธิในสมถะ แล้วค่อยพิจารณาให้จิตกระจ่างแจ้ง นั่นแหละจะทำให้เธอมีจิตละ มีจิตว่ารู้ดีรู้เหมาะสม

☻ (ถาม – ถ้าเป็นกรรมแล้วจะแก้ยังไง ?)
☺ ปัดไปโดยทรงสมาธิ เมื่อจิตใคร่ครวญได้จึงค่อยพิจารณาปัญหานั้นๆ รู้จักรุก รู้จักถอย รู้จักพัก นั่นคือทางสายกลาง

การทำมโนยิทธินี่นะ ใช้กำลังจิตมากใช่ไหม รู้สึกเหนื่อยในบางครั้ง กำลังจิตใช้มาก ฉะนั้น จะต้องสร้างกำลังใจให้แกร่ง บางครั้งบางทีพิจารณาบ่อยๆ อาจจะเกิดจากอารมณ์เบื่อหรือเหนื่อยหน่าย

นั่นเป็นอารมณ์ก่อนที่จะตัดแท้ ก่อนตัดที่แท้จะผ่านอารมณ์เหนื่อยหน่าย จะมีบ้างนิดหน่อย แต่อะไรที่เป็นกิจ เป็นหน้าที่ก็ต้องทำไป ไม่ทุกข์ในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่รู้ทุกข์ ไม่สุขในสิ่งที่ได้รับ แต่จิตสบาย เข้าใจในสุขกับสบายไหม ?

☻ (ตอบ – สบาย บวก อุเบกขา)

“โกนาคม”

((( โปรดติดตาม "คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธกัสสป" )))


◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/3/10 at 07:44 [ QUOTE ]



(Update 13/03/53)

คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธกัสสป

4 พฤษภาคม 2520


☺ มีผู้ปรารถนาจะฟังธรรมที่เข้าสู่ระดับจิตตนได้อย่างเบื้องปลายอยู่มาก ฉะนั้นฉันจะสอนเรื่องของสมาธิ อานิสงส์จากบุญที่ได้กระทำมาเป็นเบื้องแรก พุทธบริษัทที่มีจิตใจมุ่งมั่นในการทำบุญนั้น

1. ต้องมีศรัทธาในจิตตน ถึงจะมีแรงดลใจให้บุญได้เกิดขึ้นแล้ว เกื้อหนุนขึ้นมา

2. เมื่อมีศรัทธาเป็นแรงนำขึ้นมาก็ต้องมี ขันติ ตามมา ขันติความอดทน อดทนเพื่อธรรม ธรรมคือพระนิพพาน

3. เมื่อมีขันติตามมาในเบื้องรองแล้ว ต้องมีสัจจะ เป็นบรรทัดเป็นทางที่จะทำให้พวกเธอทุกคนได้ถึงที่หมายสมปรารถนา เบื้องแรกของธรรมในการปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งอริยมรรคนั้น คือสัจจะหรือบำเพ็ญสัจจะบารมี

คนเราถ้าขาดสัจจะบารมีหรือไม่มีสัจจะในตนแล้ว ศีลก็ผิดหมด การถือศีล คือการที่เราให้สัจจะแก่ตนเองไม่ให้ละเมิดศีลนั้น ซึ่งถ้าเราจะละเมิดไปก็ไม่มีใครรู้ เพราะเราอยากจะทำ แต่เราก็ต้องละอายแก่ตนเองว่าแม้แต่กับตนเองก็ยังหาสัจจะอะไรไม่ได้เลย

ฉะนั้น การกล่าวว่า “อีกนิดคงไม่เป็นนะ” “นิดหน่อยคงไม่เสียหาย” นั่นคือ เราไม่เที่ยงตรงต่อสัจจะของตนเอง แล้วกรรมที่จะเป็นเครื่องสนองตอบเรา คือความไม่สบายใจประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือเราเสมือนว่าโกหกพระ

เมื่อบุคคลทั้งหลายมีสัจจะแล้ว ความซื่อตรง ความมั่นคง (หรือรวมเรียกว่า กตัญญู คงไม่เพี้ยนกัน) ก็จะเกิดขึ้นแก่ตน เมื่อตนทำจิตทำใจตนให้เป็นคนมั่นตรงต่อสัจจะแล้ว ความเหลาะแหละคงหมดไป

เมื่อหมดไป นิวรณ์ทั้งปวงจะขจัดออกไปเองด้วยความมั่นคงของเรา นิวรณ์หมดไปแล้ว สมาธิคือความทรงตัวของจิตก็จะจับใจในจิต ตลอดจนในกายและวาจา เมื่อมีสมาธิ จิตจับด้วยความบริสุทธิ์ของศีลก็ดี สัจจะก็ดี ฌานก็เกิดขึ้น

เมื่ออารมณ์เข้าจับอยู่ในสมาธิในฌาน เราจะมีอารมณ์วิปัสสนาญาณเมื่อใดก็ย่อมทำได้ทันที เมื่อถึงอารมณ์วิปัสสนาญาณแล้วพิจารณาทบทวน ตรงไปด้วยกุศลจิตด้วยดี ด้วยถูกต้องสมควร อารมณ์จากสติจะเกิด นั่นคือปัญญา

เมื่อมีปัญญาไตร่ตรองถ่องแท้แน่ชัดขึ้นทุกที จนเรารู้สึกสำนึกมุ่งไปในกมสันดานแน่ชัดแล้ว จะตัด จะละ จะปล่อยสิ่งเหล่านั้นได้เป็นสมุจเฉทปหานแน่นอน

ที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้ คือวิธีพอคร่าวๆ

เมื่อรู้จักวิธีทำแล้วตนย่อมรู้กมลสันดานของตนเองได้โดยสอบดูว่า
1. โลกธรรม 8
2. สมมติ
3. กิเลส
4. ตัณหา
5. อุปาทาน เหล่านี้ยังยึดอยู่หรือเปล่า..?


ที่ฉันถามๆ มาใช้ได้ ใช้ได้ทุกคน ไม่เสียแรงที่ฟังธรรมเป็นปกติ
การทำสมาธินั้นก่อนอื่นต้องล้างใจตนเองเสียก่อน โดย

1. ยึดมั่นในความดีของพระพุทธเจ้าเพราะเราจะเป็นลูกศิษย์ใคร เราก็ต้องมีความมั่นใจในครูเสียก่อน

2. หาพระบริสุทธิคุณให้พบ เราจะไปเรียนจากครู เราก็ต้องรู้ว่าครูนั้นเป็นอย่างไร ควรจะทำตนให้เข้าหลักกับครูได้อย่างไร

3. ยึดธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมคือทฤษฎีแนวทาง หรือหนังสือที่ครูหยิบมาให้เราอ่าน เราคือคนพิสูจน์ “เรา”

4. ล้างความไม่มั่นคงในฤทธิ์เดช เดชาของอำนาจไสย คือล้างไม่ให้ยึดในอำนาจฤทธิ์เดชไสย เพราะถ้ายึดแล้วจะมานั่งพิจารณากันทำไม คุณ ฤทธิ์ เดชไสยนั้น อยู่ยงคงกระพันไม่ตาย แต่เราตาย ถ้าเรายึด เราจะหลง ยึดแล้วไม่หลงก็ดีไป

ส่วนอำนาจพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพนั้น ก็ไม่อยากให้ยึดไว้อย่างงมงาย ที่พูดนี้ไม่ใช่พูดให้คนไม่เชื่อในพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ เพราะสามอย่างนี้แม้จักรวาลก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ไม่ให้ยึด เพราะว่าสามสิ่งนี้เป็นความดีที่สนองตนเองอยู่แล้วโดยไม่ต้องร้องขอ ถ้ายึดแบบบนขอนั่นขอนี่กันทุกวันก็เป็นเรื่องลวงทั้งนั้น

5. มุ่งมั่นในใจว่ากรรมเป็นของแท้แน่นอน คนเรามีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นที่มา มีกรรมเป็นที่ไห และมีกรรมเป็นที่อยู่ ใครทำกรรมใดมา คนนั้นใช้กรรมของตน ที่สอนนี้เพื่อไม่ให้ไปหลงลงโทษดินฟ้าอากาศ เพราะเขาไม่รู้เรื่องหรอก

รู้ว่ามีกรรม รู้สวรรค์ รู้นรก รู้ว่าเกิดจากไหน ตายแล้วไปไหน รู้ว่าการตายแล้วเกิดใหม่มีจริง เก็บไว้อธิบายคนอื่นที่มาถามได้

6. ปรารถนาที่จะล้างอกุศลกรรม และมิจฉาทิฐิ เพื่อให้จิตบริสุทธิ์ พ้นกิเลส

จดจำไว้นะ สำหรับคนที่มุ่งมรรคผลโดยแท้ ศึกษาเท่านี้แล้วเธอทั้งปวงจะทำใจให้ปลอดโปร่งได้ เห็นมรรคเห็นผล

วันนี้ว่ากันถึงวิธีทำอาหารทิพย์ตลอดศก จะไม่ลงมากินกันอีกแล้วไม่ใช่รึ

☻ (ถาม – มักจะเผลอบ่อยๆ ในเวลาปฏิบัติ)

☺ เผลอเกิดจากอะไร ? เกิดเพราะสนใจน้อยไป ในการทำสมาธิ 15 นาที เธอรู้ไหมว่าลมกระทบจมูกเธอตลอดเวลานั้น สังเกตรู้ไหม ไปหัดทำเสีย 15 นาที พยายามเอาความรู้สึกไว้ที่ปลายจมูก ถ้าเธอทำได้คือมีความรู้สึกว่าลมผ่านจมูกเธอตลอด 15 นาที ก็นับว่าต่อไปเธอจะมีสมาธิ มีสติที่ตั้งมั่นได้นาน ความเผลอจะลดถอยไปเอง

14 กันยายน 2520

☺ เป็นอย่างไร ประพฤติธรรม อยู่ในธรรมดีรึ ?
ความมั่นคงในธรรมนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ความพอใจของอารมณ์ที่กวัดแกว่งไปมาสู่ภาวะของกิเลส

โลภะ อยากให้เขารักเรา อยากให้ของที่รักเป็นของเรา ไม่รู้จัก “พอควร”
โทสะ โกรธที่ไม่ได้ที่ตนหวัง ที่ตนต้องการ โทสะมากๆ กลายเป็นอาฆาตน้อยๆ คือจำ เคียดแค้น ไม่มีอภัยทาน ไม่มีพรหมวิหาร

โมหะ หลง อุปาทานว่าเราจะต้องเป็นเอก เป็นเอกในความสำคัญของตน ฉันก่อน ฉันดี ฉัน ของฉัน ฉันรัก ฉันหวง เธอต้องให้ฉัน ขอโทษฉัน

ตัณหา ความปรารถนาที่จะพึงได้ในภวตัณหา วิภวตัณหา คืออยากได้ในสิ่งที่รัก ไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่ชอบ อะไรจะบังคับให้ตามใจตนเองได้ (ล่ะ) ในเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่สมควรต้องตอบสนองเราในบางคราว และจะไม่ตอบสนองเราในบางคราว

อุปาทาน เป็นทิฐิมานะอย่างหนึ่งที่ทำให้ถือตัวตน ถือเขาถือเรา ฉันทำให้เธอแล้ว เธอต้องทำให้ฉันบ้าง เพราะฉันมีบุญคุณ อุปาทานว่าตัวตนดีพร้อม คนอื่นตามไม่ทันหลงในรูป รส ยศศักดิ์

เท่านี้ เป็นไฟที่จุดอยู่ในอารมณ์เธอว่า เธอเป็นเธอ นี่คือฉัน ยึดเพราะหลงกรรมตนเอง ซึ่งเลือกไม่ได้ที่จะเกิด ที่จะเป็น ที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ลำบากบ้าง หลงระเริงเข้าไปในอารมณ์ทำไม เผาผลาญใจเราให้ร้อนรุ่มกลุ้มใจเราอยู่ทุกนาที ชอบรึ สบายดีรึ นั่นแหละทรมานตนเองให้หมดไหม้ในกองไฟ

จงพิจารณาให้เห็นสัจธรรม
- ทุกข์ อะไรคือทุกข์
- สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ อะไรที่เป็นเหตุให้อารมณ์ร่างกายจิตใจเรามัวหมอง ขุ่นในทุกข์
- นิโรธ ทางดับทุกข์ อะไรเป็นยาสำหรับดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน
- มรรค วิธีปฏิบัติให้ถึงทางดังทุกข์ ทางไหนทำเอาเอง วิธีให้พ้นทุกข์คือการเข้าสู่อมตนิพพาน แต่เห็นหลายหน้า หลายคนบ่นๆ อยากไป ใจพระท่านก็อยากให้ได้ไปได้ถึง

แต่แค่ภาวนาแล้วนึกไปนิพพานเฉยๆ น่ะยาก ต้องปฏิบัติที่ใจจึงจะไปได้ แม้ว่าจะมาร้องขอว่า “ขอฉันไปนิพพานเถอะ” ฉันเองก็ได้แต่ยินดีที่เขาปรารถนา แต่จะทรงตัวอยู่กับทางโลกและไม่ถึงธรรมนั้น เป็นเหตุให้นิพพานเป็นของยากมาก

ขอพูดว่านิพพานไม่ได้อยู่ที่ปาก แต่อยู่ที่การปฏิบัติใจ บนพระนิพพานไม่มีกิเลสตัณหาอุปาทาน แบกไปไม่ไหวหรอก ใช่ไหม.. ร. เธอเห็นคนบนนั้นแบกไหม..?

☻ (ร. ตอบ – เจ้าค่ะ ความรู้สึกว่าแม้แต่ฝุ่นจุดเดียวก็ไม่มี)

จำไว้ทุกคน โลภ โกรธ หลง เป็นสมบัติของกิเลส ตัณหา อุปาทาน พิจารณาลง (ท้าย) ด้วยอริยสัจ แล้วปฏิบัติด้วยการถือศีล สมาธิ ปัญญา คือการทรงสติให้ครบบริบูรณ์ ใช้วิปัสสนาเป็นเครื่องพิจารณา ดูด้วยพรหมวิหาร 4 เป็นพื้นฐานของจิตใจ เอาทุกขังเป็นส่วนโจทย์ เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์เป็นผลสรุป

ดูด้วยบารมีสิบทัศน์ สังโยชน์ 10 ข้อ กรองอารมณ์ว่ามันดีมันชั่วมันติดตรงไหน เมื่อรู้ก็ระงับข้อเสีย พิจารณาดูช่องรั่ว ช่องว่างต่างๆ ว่าตรงไหนไว้ใจไม่ได้ คืออายตนะตรงไหนไว้ใจไม่ได้ก็ปิด อดเสีย หรือถ้าไว้ใจได้ ตาเห็นก็เฉย ไม่รู้สึกสะทกสะท้าย ทำได้ไหม ? ไม่ได้ก็รอ...!

ทำน่ะ ทำได้ทุกคน แต่อยู่ตรงที่จะทำไหม หรือไม่ (ก็) อยู่ตรงที่จะยอมมอง ยอมดูตัวเองไหม เรื่องชาวบ้านน่ะอย่าไปดูเขาเลย เพราะใครทำใครได้ ดูที่ตัวของเราดีกว่า แก้ที่ตัวของเราดีกว่า ต่างคนต่างดู ต่างแก้ของตนแล้ว ทุกคนจะอยู่ในธรรมอันเดียวกัน และจะไม่ต้องแก้ให้ใครอีก จะเข้าหากันได้เอง เพราะมีข้อธรรมเป็นความประพฤติ เป็นนิสัยอันเดียวกัน.

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 22/3/10 at 10:18 [ QUOTE ]



(Update 22/03/53)

24 พฤษภาคม 2521 ร่วมกับหลวงปู่ใย

(สอนรายบุคคล)

คนที่ 1


☺ การพิจารณาร่างกายนั้น จะต้องใช้กำลังใจที่มั่นคงหนักแน่นเด็ดเดี่ยวจริงจังต่อสภาพสังขารและสิ่งที่เราผจญอยู่

☻ (ถาม – ถ้าถึงอนาคามีแล้ว ฌาน 4 จะเกิดเองหรือ ?)
☺ การได้ฌาน 4 ของพวกสุกขวิปัสสโกนั้นไม่สู้กระจ่างอย่างพวกวิชชา 3 อภิญญา 6

◘ อย่าไปสนใจกับฌาน จงไปสนใจกับอารมณ์สมาธิในการพิจารณา ถ้าเราผจญกับสภาพสังขารที่เจ็บป่วยไม่ไหว จงให้ตั้งใจแน่วแน่ในการพิจารณาสังขาร เพราะจะได้มีกำลังใจมั่นคงยิ่งขึ้น ถ้าใจกวัดแกว่งแล้วจะทำให้เราอ่อนแอ

◘ อะไรๆ ก็กลัวไปเสียทุกสิ่ง ใจไม่เป็นเอกัคตารมณ์ เมื่อใจไม่เป็นเอกแล้วจะพิจารณาตามธรรมะนั้นลำบาก เพราะเรามัวแต่จะเอาใจตนเองไว้เสมอว่า ฉันเจ็บ ฉันปวด แล้วสมาธิที่ไหนจะครอบคลุม พิจารณาให้เป็นสมุจเฉทปหานได้

◘ ถ้าเห็นแก่ร่างกายอยู่ ใจอ่อนกับมันอยู่ แสดงว่าเรายังกลัวตาย ซึ่งเป็นความจริง เรายังกลัวเจ็บ ซึ่งทุกคนต้องเจ็บ ฉะนั้น แสดงว่าเรากลัวความจริง กลัวธรรมะ

คนที่ 2

☺ อยู่กับพระได้ฟังเทศน์ รู้อิริยาบถของพระ ของธรรม จงนำมาปฏิบัติด้วย ให้เป็นกำลังใจ จะได้มีพรหมวิหารให้หนักขึ้น

◘ บุญตอนนี้กำลังส่งผลในทางที่จะทำเรื่องการพิจารณา จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะลงมือลงในทำ คือเป็นโอกาสดีที่จะเห็นธรรม อย่าไปยุ่งกับชาวบ้านไว้ชั่วคราว จงตั้งใจปฏิบัติให้เป็นกำลังต่อไป ซึ่งจะมีอุปสรรคมาทดลอง

คนที่ 3

☺ความทุกข์นั้น จงแยกแตกแขนงออกไปอย่างละเอียดแล้วเราจะเห็น จะรู้ และรู้สึกตามว่าทุกข์นั้นเป็นความร้อน เป็นเรื่องของกรรมกระทำมาอย่างไม่ดี จึงเป็นความจริงที่คนทำผิดพลาดแล้วจะได้ทุกข์นั้น ประสบพบกับตนอยู่ตามกาลเวลา จึงเป็นอนิจจังที่ทุกคนไม่รู้ว่า จะพบประสบทุกข์เวลาใด และแน่นอนหรือไม่ จงพิจารณาให้เห็นธรรมข้อนี้ให้กระจ่าง

คนที่ 4

☺ สันโดษ คือความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ประสบอยู่ อย่าไปสันโดษในบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เรา

คนที่ 5

☺ จงตั้งใจพิจารณาถึงสักกายทิฐิ พิจารณาให้หนักแน่น แล้วใจจะได้ไม่ยุ่งกับสิ่งนี้ สังขาร โรคภัย เป็นสิ่งที่แน่นอนตามเวลาของธรรมดาของคน

☻ (ถาม – จวนถึงเวลาแล้วหรือ ?)
☺ คนที่รู้เวลาไป กับคนที่คอยเวลาไป ถือว่าเป็นผู้โชคดี คนที่ไม่รู้เวลาไปแล้วไป คนนั้นจะประสบเคราะห์กรรม

☻ (ถาม – ถ้าตอนนี้ทำสักกายทิฐิ จะทันไปไหม ?)
☺ อย่าไปกังวล ทำให้เต็มสติปัญญาและกำลังใจของเรา ทุกๆ อย่างคือห่วง ห่วงที่เรานำมาสวมเอง แต่ถ้าเรารู้ว่าเราต้องสวมห่วงที่หนักหนา เราถอดได้ทันเราก็จะสบาย สำคัญตรงที่จะรู้จักคิดวิธีถอดห่วงหรือไม่ รู้ไหม ?

☻(ตอบ – ไม่ทราบ)
☺ แล้วตอนสวมล่ะ สวมอย่างไร ?

☻(ตอบ – มันติดมาไม่รู้ตัว)
☺มันไม่ได้ติดมา แต่เราไม่ยอมทบทวนความจำ เหตุแห่งทุกข์ให้พยายามหาสาเหตุของตนเองให้มากที่สุดนะ แล้วอธิบายให้น้อยที่สุด สวมห่วงเองได้ เวลาถอดจะให้คนอื่นถอดน่ะไม่ได้หรอก

คนที่ 6

☺ สู้ไป... แล้วต้องทนที่เราเกิดมาเป็นคน เวลาทุกข์ทำใจให้ระลึกถึงสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย แม้จะฟังกันบ่อยๆ แต่สำคัญที่ใจจะดื่มด่ำแค่ไหนว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมาถึงตนเองแล้วจะทนได้ไหม

◘ จงเอาสติมาทบทวน พินิจ วิเคราะห์ให้เห็นอุปสรรค และความทรมานที่ทำให้เราอารมณ์หงุดหงิดเบื่อหน่าย พิจารณาให้เกิดธรรมปิติ

คนที่ 7

☺ เรื่องของชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่ต้องแสวงหาความเข้าใจอีกมาก ฉะนั้น จงขอความเห็นและรับคำแนะนำจากผู้อื่นโดยเที่ยงธรรมตามความเป็นจริงและถูกต้อง

☻ (ถาม – ให้ใครช่วย)
☺เราจะต้องยอมรับเหตุการณ์บางอย่าง ในเมื่อเหตุนั้นเป็นเรื่องจริง เมื่อเราใจกว้างเช่นนั้น เราจะรู้ด้วยปัญญาว่าจะแก้ไขอย่างไร อย่าคิดอะไรวนไปวนมา

คนที่ 8

☺ พิจารณาข้อธรรมะที่เราเจอะเจอทุกวัน จงเอาสติเป็นสิ่งตั้งมั่น อย่าเอาอารมณ์เป็นกำลัง จะทำอะไรก็ให้คิดก่อนเสมอ

คนที่ 9
☺ ตั้งมั่นใจในสัจธรรมนะ สัจจะแปลว่าความจริง ธรรมะเป็นของธรรมชาติ ฉะนั้น ความตั้งมั่นในสัจจะคือการรู้สภาพ ยอมรับความจริงตามธรรมชาติ

คนที่ 10

☻ (ถาม – จิตวุ่นวาย ใจคอไม่ดี)
☺ หมั่นถามตัวเองให้กระจ่างว่าเป็นอะไร เพราะอะไร เราจะต้องรู้เหตุของตัวเอง เราจะต้องกล้าที่จะตรวจตัวเองว่า การที่อารมณ์ผันผวนนั้นใจเราต้องการอะไร โลภรึ โกรธรึ หลงรึ ราคะรึ ต้องกล้าที่จะดู จะได้นำเอาธรรมะมาแก้ไขได้ถูกต้อง

คนที่ 11

☺ พิจารณาอารมณ์จิตให้หนักแน่น อย่าหวั่นไหว เมื่อเรารู้ในสิ่งดีเป็นทุน จงตั้งใจและมั่นใจ ทำต่อไปที่จะต่อสู้กับทุกข์ รู้ว่าทุกข์คืออะไร เป็นอย่างไร และจะต้องสำนึกว่าทุกข์นั้นหนักเบาในใจแค่ไหน

◘ เมื่อรู้.. ก็จงตั้งใจให้เด็ดขาดที่จะยอมรับความจริงตามสภาพ เวลาทุกอย่างมีเกิด มีดับสลาย และพังไป เป็นเหตุเป็นปัจจัยของอนิจจัง ความไม่แท้ตลอดไป และจงระงับอารมณ์จิตที่คัดค้านด้วยอาลัย


15 ตุลาคม 2521

☺ การวางอารมณ์ของพวกเธอนั้นยังไม่ถูกต้อง ยังหมกมุ่นอยู่กับทิฐิมานะ ความโลภ อยากเป็น อยากได้ ไม่พอ มีความโกรธ ไม่ชอบใจ เอาแต่ใจ สิ่งนี้มีเครื่องเตือนใจเราทั้งหลายอยู่ตลอดเวลาแล้วว่าไม่ดี

◘ แต่เธอทั้งหลายยังมีปัจจัยแห่งความปรารถนา ต้องการคือต้องการความรักในตัวตนของตน ต้องการความห่วงใย แต่สิ่งเหล่านี้เป็นของเคลือบแฝงบังหน้าความจริงอยู่ อย่าได้นำสิ่งเหล่านี้เข้ามายึดมั่นในตัวเรา ให้ทุกข์หนักขึ้นด้วยความเป็นห่วง เป็นกังวลดังเช่นว่าตัวเขาคือเรา

◘ จงหาสติมาระลึกไว้ว่าหลักธรรมประจำของจริงนั้น แยกได้เป็น
1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง มีอะไรบ้างที่แน่นอนถาวรตลอดกาล มีอะไรบ้างที่มั่นคงไม่เสื่อมคลาย นี่คือความจริง

2. ทุกขัง ความลำบากกาย ลำบากใจ ทรมานกายทรมานใจ ร้อนรน เป็นกังวล มีใครบ้างที่ตั้งแต่เกิดจนตายไม่พบทุกข์ หาทุกข์ไม่เจอ นี้คือความจริง

3. อนัตตา เป็นเหตุที่ไม่รู้จบแท้แน่นอน ของทุกอย่างมีแตกดับ จุติ แตกดับเช่นนี้ตลอดกาล เหมือนดังวัฏจักรไม่รู้จบ ฉะนั้น ใคร่ครวญถึงตรงนี้ รู้สภาพความเป็นมาของสิ่งต่างๆ แล้ว

◘ จงรู้สภาพของตัวตนในตนเรา หรือตนภายนอกด้วยว่า เรามีความเกิดมาก็ย่อมมีความแก่วัน แก่เดือน แก่ปี ตามมาเป็นความชรา และเมื่อมีอายุในการเกิด ก็ต้องมีการเจ็บไข้เป็นปกติ และในที่สุดก็ถึงแก่การแตกดับไปเป็นธรรมดา

◘ ในพระไตรปิฏกท่านกล่าวว่า สาเหตุของสิ่งเหล่านี้มี จงค้นหาปัจจัย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ ตัวสาหัส
สมุทัย เหตุ สาเหตุที่มาของทุกข์
นิโรธ ทางใดที่ทำให้พ้นทุกข์ จงหาทางนั้น
มรรค การปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์

◘ เหล่านี้ เป็นข้อแก้ในขณะที่เราผจญทุกข์ เราจะต้องแก้ที่ต้นเหตุมิใช่ปลายเหตุ จะต้องรู้ถึงสภาพตัวตน จิตใจของเราให้รู้แท้แน่นอน

◘ ประการหนึ่ง จะขอเน้นคำว่า “รัก” นั้นว่าเป็นทุกข์ คำนี้ใช้ได้หลายวาระ หลายโอกาส ทั้งเป็นที่ไพเราะยิ่งนัก รักนี้เปรียบได้เฉกเช่น พ่อแม่รักลูก ลูกรักพ่อแม่ปู่ย่าตายาย รักครู รักเพื่อน รักคนดี

◘ เหล่านี้ต้องแยกแยะออกไปว่าเรารู้เราชื่นชมเขาในความดีที่เป็นพ่อแม่ มีพระคุณ รักชื่นชมในบุตรผู้เป็นสายเลือด เพื่อนำทางที่ดีมาสู่ตน ชื่นชมในอุปนิสัยใจคอ อัธยาศัยของมิตร ฯลฯ

◘ ชื่นชม ก็ขอให้อยู่แค่ชื่นชม จงอย่างรักคนภายนอก คือไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา อย่ารักยิ่งกว่าตัวเรา ที่อย่ารักยิ่งกว่าก็คือ “เรา” เพราะตัวเราจะทำเหตุให้ทุกข์ที่มีอยู่เป็นทวียิ่งขึ้น อย่าผูกพันด้วยคำนี้

◘ จงทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ตามแบบของลูก ตามแบบของเพื่อน ตามแบบของพ่อแม่ ทำให้ดีที่สุด แล้วจงรู้แค่ชื่นชม แต่อย่าผูกมัดถึงขั้นว่าเขาคือเรา ถ้าเช่นนั้นสำหรับผู้ที่หวังการหลุดพ้นแล้วจะเจอปัญหา

“เรา” ไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา

◘ อย่าปฏิบัติที่ปาก จงปฏิบัติที่ใจ ปากแม้จะพูดปฏิเสธ แต่ถ้าใจยังคิดอยาก ยังทำอยู่ จงรู้ว่าหลอกคนอื่นได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้ ผลคือมิใช่คนอื่นโง่ แต่เป็นที่ตัวเราโง่

◘ การปฏิบัติธรรม (จง) ฝึกใจให้เข้าสู่สมาธิ เพื่อวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการฝึกฝนสอนใจที่ชั่วร้ายในตัวตนให้เข็ดหลาบ ลดทิฐิความดื้อดึงให้ลดน้อยถอยไป กระทำวิธีฝึกเพื่อหาปัญญามาพิเคราะห์เหตุผลที่พวกเธอกำลังมีปัญหา ฉะนั้นแล้ว การฝึกธรรมเช่นนี้จะต้องฝึกให้ได้ผลแห่งจิตใจ ไม่ใช่หลอกตัวเอง สำหรับผู้ที่ปรารถนาหวังพ้นวัฏสงสารนั้น ขอให้ฝึกอย่างแข็งขันเอาจริง คือ

1. ต้องสำรวม สำรวมในวาจา ไม่พูดในทางยุยงให้ชั่ว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นผลแก่ตน แต่เป็นผลของชาวบ้าน จะนำชาวบ้านมานินทาทั้งที ก็ต้องดูตัวเราเองเสียก่อนว่าดีหรือยัง ถ้ายังดีสู้เขาไม่ได้ก็อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา นี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งของการสำรวมวาจา

2. สำรวมใจ อย่าคิดอกุศลให้บังเกิด อย่าคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ถึง

3. สำรวมกาย กิริยาของเราเป็นสิ่งก่อให้บังเกิดกิเลส จงสำรวมไว้ว่าสถานที่ใดไม่ควรส่งเสียงไม่เคารพ สถานที่ใดควรวางตนในเหตุการณ์อย่างไร

◘ ที่กล่าวถึงการสำรวม ก็เพราะการสำรวมทำให้คนมีสติสัมปชัญญะมากขึ้น รู้ว่าเรากำลังทำอะไร ควรทำอย่างไรเป็นเครื่องปกป้อง ป้องกันอายตนะทั้งหก มิให้ทำสิ่งใดละเมิดด้วยกาย วาจา ใจ หลงระเริงอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเธอปิดกั้นอายตนะของเธอดีแล้ว เธอจะเป็นผู้พร้อมอยู่ในอารมณ์ของมุทิตาและอารมณ์ของอุเบกขา จงสังวรในอินทรีย์ทุกประการ


◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 30/3/10 at 08:29 [ QUOTE ]



(Update 30/03/53)

2 พฤษภาคม 2522

(เทศน์โปรดเป็นรายบุคคล)

คนที่ 1

☺ เรามุ่งสู่ทางดับทุกข์แล้ว เราอย่าได้อาลัยในสุขอย่างโลกีย์ นึกเสียว่าชาตินี้เป็นชาติที่สุด จะเอาอะไรคืนไปก็ให้เจ้ากรรมฯ เขาไปประการหนึ่ง ตาว่าของทุกสิ่งในโลกนี้ยุติธรรม

☺อย่าได้อาลัยในสังขาร อย่าได้อาลัยในสมบัติของโลก อย่าได้อาลัยในของสมมุติ ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจังทั้งสิ้น ไม่มีอะไรอยู่กับเรา เป็นของๆ เราได้ตลอดไป แม้แต่สมบัติ เราจะรักษาให้นานที่สุดก็แต่ชั่วชีวิตเราเท่านั้น

☺ถ้าเธอทำใจให้สบายได้อย่างที่สอนมานี้ เธอจะเบาใจ โปร่งใจ นี่แหละคือการทำของที่เราว่าหนักให้เป็นเบา

คนที่ 2
☺ดีแล้ว.. ที่ลดมานะและทิฐิลง คนเราโดยส่วนตัวแล้ว ตัวที่ยากจริงๆ และเป็นทางปิดกั้นพระนิพพานคือทิฐิมานะ ตัวนี้จะทำให้ตัดขันธ์ 5 ธาตุ 4 โลกธรรม 8 ไม่ได้

☺การที่พวกเธอรับสัมผัสคำสอน คำพูด ได้-ไม่ได้ (มโนยิทธิ) นั้น อยู่ที่สมาธิของเธอแจ่มใสหรือไม่ เช่น ถ้าเธอคิดว่าตัวเธอเองพูดเองคิดเอง นั่นคือสมาธิไม่แจ่มใส อย่าว่าแต่จิตรับสัมผัสคำพูดเลย คนที่ยังเป็นคนด้วยกันเอง บางทีพูดคุยกันก็ยังไม่ได้ยินบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง บางทีก็พูดไม่รู้เรื่อง แล้วจะนับอะไรกับสัมผัสทิพย์

คนที่ 3
☺ขอให้จำพระพุทธโอวาทตอนหนึ่งที่ว่า การมีความรักนั้นเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ ความรักนำมาซึ่งความห่วง หวง หลง หึง เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรแท้ให้เรา ขอให้ท่องไว้ให้ขึ้นใจ จะได้มีกำลังใจเข้มแข็ง

☻(ปรารภ – มีเรื่องมากระทบบ่อยๆ)
☺มีผลสนองย่อมต้องมีเหตุ บางทีเราแสดงเหตุโดยไม่ได้ไตร่ตรอง ผลนั้นจึงร้อนมาถึงตัวเรา

☺เราจะต้องรู้ว่า เราจะแสดงอะไรออกไปโดยวาจาก็ดี การกระทำก็ดี ต้องดูกาลเทศะว่าคนใดควรพูด ควรแสดงอย่างไร สิ่งไหนควรงดเว้นการกระทำได้ ก็ควรอดใจนิ่งเฉยเสีย

☺ทุกข์นั้นมาจากกรรม กรรมนั้นคือสิ่งที่เรากระทำ ไม่ว่าจะทำมาในอดีตหรือปัจจุบัน หรือกิเลสพาไป ความดีพาไป ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งสะท้อนมาสู่ตนเอง นั่นก็คือตัวเรานี่แหละที่จะทำให้ตัวของเราเองสุขหรือทุกข์ อย่าได้โทษอื่นใดเลย
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า คนมีกรรมเป็นที่เกิด มีกรรมเป็นที่อยู่ มีกรรมเป็นที่ไป

21 กุมภาพันธ์ 2523

☺การไปนิพพานนั้น ไม่ใช่ไปที่กายเป็นสมณะแต่อย่างเดียว การไปพระนิพพานเป็นการถึงซึ่งจิตเป็นประภัสสร การปฏิบัติในการฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ อยากจะให้เข้าใจไว้ว่าไม่ใช่หนีการทำประโยชน์แก่สังคม อย่านำคำที่ว่าปฏิบัติธรรมแล้วเข้ากับสังคมไม่ได้ (มาใช้)

☺การปฏิบัติธรรมะจะต้องรู้จักแบ่งจิตให้จิตรู้อยู่ รู้จักวางใจเพื่อที่จะสู้ในสิ่งต่างๆ การปฏิบัติดังนี้ต้องการให้ทุกคนได้เผชิญกับธรรมชาติของสังคม ไม่ใช่ให้หนี เพราะคนกับธรรมชาติเป็นของชนิดเดียวกัน ในเมื่อเธอได้เข้าฝึกในธรรมะแล้วก็จงทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อหมู่ชน

☺ฝึกไปให้เกิดผลมากที่สุด อย่าได้ให้คนที่หยามในการปฏิบัติพูดได้ว่า การไปพระนิพพานคือวิสัยของคนเห็นแก่ตัวเอง แต่องค์ผู้สอนหมายรวมถึงให้หมู่ชนได้อยู่อย่างสุขสงบ แยกให้ออกนะ การฝึกปฏิบัติ ถ้าเมื่อใดแยกตนออกโดดเดี่ยวจากสังคม อันตรายจากจิตจะมีมาก ขอเตือน..!

☺การเข้าหาธรรมะ ก็เพื่อมุ่งให้ทุกคนได้รับความสุข ให้สู้ ยอมรับสภาพความจริง ไม่ใช่หนีความจริง
☺ขอให้เธอผู้หมั่นปฏิบัติธรรมะได้หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรคภัย และหมดกรรม

30 เมษายน 2523

☺จะคุยกันเรื่องอะไรดี ? คุยกันพื้นๆ ก็แล้วกันนะ
☺ที่ว่าการเป็นคนดีนั้นเป็นอย่างไรนะ ลองแนะให้ฉันฟัง

☻(ตอบ – ตำราว่ามีการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต)
☺ นั่นตำราว่า การสุจริตเป็นไงล่ะ ?

☻(ตอบ – พูดง่ายๆ มีศีล 5)
☺เออ! ว่ากันง่ายๆ ไว้สอนลูกหลานและคนที่ไม่ชอบสำนวนยากๆ นะ
การเป็นคนดี และจะดีได้นั้น ต้องเป็นคนมีศีล ศีลที่ดีก็มีศีล 5 ข้อ ต้องเป็นคนที่มีกตัญญูกตเวที กตัญญูคือรู้ในพระคุณต่อผู้มีบุญคุณ กตเวที คือการตอบสนองทดแทนพระคุณต่อผู้มีบุญคุณ สองสิ่งนี้ต่างกันอย่างไรนะ ?

☺ต่างกันที่มโนสุจริต กายสุจริต

☺เมื่อมีกตัญญูกับศีลแล้ว คนๆ นั้นจะขาดเสียมิได้คือการเป็นคนซื่อตรง สามสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของคำว่า “คนดี” เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

☺ส่วนใหญ่ทุกคนมีศีลดี ความกตัญญูดี เพราะรู้อยู่แก่ใจทุกคนแล้วว่าใครเป็นผู้มีพระคุณ แต่กตเวทีนี่ซิยังอ่อนในบางคน

☺กตเวทีนี้ คือการทดแทนพระคุณของผู้ที่ได้อุดหนุนเจือจุนตัวเองมา พระคุณที่นับว่ายิ่งยวดสำหรับมนุษย์นั้น ก็ได้แก่คุณบิดาและมารดา สองท่านนี้เป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนเธอมาด้วยเลือดในกาย ด้วยสัญญาวิญญาณในตัวตน ด้วยแรงต่างๆ ที่ท่านจะทำได้

☺จงถามตัวเธอสิว่ากตเวทีนั้น เธอได้ทำมากน้อยเท่าใด โอกาสใด แม้แต่เสี้ยววินาทีหนึ่ง เมื่อมีโอกาสจงรีบทำโดยเร็ว เมื่อบุตรเจ็บไข้ บิดามารดาเผ้าทะนุถนอม นอนไม่สบาย กินไม่เป็นสุข ท่านดูแลห่วงใย แต่เมื่อบิดามารดาเจ็บไข้ บุตรธิดาอาทรเท่าใด ?

☺พิจารณาในกตเวทีให้มาก ท่านเหนื่อยไม่เคยทวงบุญคุณ แต่เท่าที่ฉันเห็น เวลาบุตรเหนื่อย มักทวงความเหนื่อยกับบิดามารดา จงสำนึกในธรรมะข้อนี้ให้มากๆ เพราะจะเป็นทางสว่างไร้อุปสรรคของการปฏิบัติทางคดีโลกและคดีธรรม
แนวทางของการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่พระนิพพานนั้นฟังง่าย ปฏิบัติอาจจะยากสำหรับคนเอาแต่ใจตัวเอง หนักไหม ?

☺ปาก ฉันว่าเวลาไม่มีเหตุละ (พูดว่า) “ได้” “ตัดได้” “สละได้” เวลาเหตุภัยมากแค่เสียงแค่ข่าว ฉันรู้สึกว่าเทพวิ่งรับสินบนกันให้วุ่น จึงขอให้ยึดคำว่า ถ้าจะสำเร็จกิจเพื่อพระนิพพานแล้ว การปฏิบัติอยู่ที่ใจหรือกำลังใจตัวเดียว ถ้ายังเกรงใจตัวใจอยู่ การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า

☺ถ้ายังปลอดประโลมใจตัวเองอยู่ก็จงนึกว่าเรากำลังหลอกตัวเอง ถ้ายังเห็นแก่ใจตัวเองอยู่ ก็จงรู้ว่าเธอยังยึดในรูป (ใน) กิเลสอยู่เป็นมั่นเหมาะ การสำเร็จ สำเร็จที่ใจใช่ไหม ? สู้กับคนอื่น สู้กับภัยยังพอสู้ได้นะ สู้กับใจตัวเองนี้ซิยากเท่าที่เห็นจะเป็นพวกใจน้อย ใจลำพอง เห็นแก่ใจ

☺ เมื่อพูดในด้านการฝึกนั้น ก็ขอมองที่ความปกติของสันดานคน จงเห็นเป็นเรื่องธรรมดาว่าทุกคนที่ยังไม่บริสุทธิ์ ย่อมมีทั้งดีและชั่วปนกัน อย่ายึดอย่าถือในความปกตินี้ ทุกคนมีความบ้า มีความเมาอยู่ในตัวตน จงเห็นเป็นปกติในด้านของสภาวะ (คือ) สภาวะที่เป็นอยู่ของคนนั้น จงรู้สภาวะที่ตนเองเป็นอยู่ การรู้สิ่งนี้คือการประมาณตน

☺ จงรู้เวลากาลอันเหมาะสมที่จะปฏิบัติทำหน้าที่ของตน เช่นทุกคนที่มีวัยเลี้ยงชีพก็ต้องทำงาน เหล่านี้คือ เป็นสภาวะที่ต้องยอมรับและสภาพของธรรม จะต้องรู้สภาพของธรรม เหมือนการพิจารณาไตรลักษณ์ รู้สภาพไม่เที่ยงแท้ธาตุวัตถุ รู้ความเป็นมาในชีวิต รู้ในเหตุที่เป็นที่เสื่อม รู้ในเหตุการณ์รุ่งโรจน์ รู้ในสภาพของความปกติในทุกข์ ถ้าเธอพิจารณาและปฏิบัติได้ก็อย่าหลงลืม

☺ ทุกเช้า กำหนดใจขั้นต้นว่าจะพอใจสิ่งเกิด จะพอใจสิ่งที่ไม่เป็นมงคล จะพอในสิ่งที่ไม่ได้

☺ เท่าที่บอกกล่าวคุยกันมานี้ จงปฏิบัติอย่างสายกลาง เพราะเรื่องของร่างกายและจิตใจเป็นของละเอียดอ่อน อย่าหักโหมจนเกินไป อย่าให้อภัยจนเกินไป ขอให้ละทิฐิให้สำเร็จ ขอให้ละความโกรธให้สำเร็จ และขอให้ละมานะได้สำเร็จทุกคนนะ.

◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามตอนต่อไป คำเทศน์ของ "สมเด็จพระพุทธสิขี" ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/4/10 at 05:47 [ QUOTE ]



(Update 8/04/53)

คำเทศน์ของ "สมเด็จพระพุทธสิขี"

10 มกราคม 2522


คนที่ 1


☻ (ตอนนี้อารมณ์เศร้าหมอง ไม่ทราบเพราะอะไร?)
☺ เราเป็นผู้รู้เองว่า..ทำไมเราถึงเศร้าหมอง พิจารณาด้วยปัญญา ก่อนวางอารมณ์พิจารณา ให้สำรวจอารมณ์ "พรหมวิหาร" ครบเต็มที่ (เมื่อ) เต็มใจที่จะทรง (พรหมวิหาร) แล้วเมื่อทบทวนดูด้วยปัญญาก็จะรู้เอง

☺ การทรงพรหมวิหารนี้ ทรงให้ (เป็น) ประจำจะได้รู้ว่าเราขาดอะไรไป เอาแค่ในกฎของพรหมวิหาร 4

☻ (ถาม – การกำหนดจิตให้ยึดรูปพระที่ได้เห็นทองกลายเป็นเพชรนั้น เห็นจริงหรือว่าอุปาทานทำให้เห็นไปเอง?)
☺ การเห็นทองเป็นเพชรนั้น ถ้าจะนึกจริงๆ นั้นลำบากสำหรับผู้ไม่ทรงสมาธิเป็นปกติ แต่เมื่อเราสามารถนึกให้ทองกลายเป็นเพชรอย่างงดงามได้ ก็แสดงว่าจิตของเราสะอาดพอๆ กัน สมาธิดี

☺ บางครั้ง จะเห็นเป็นทองสวยอร่าม แต่บางครั้งก็เห็นแค่ทองมืด เคยมีไหม ?

☻(ตอบ – เคย แล้วแต่อารมณ์จิต)
☺แล้วจะคิดว่านึกเอาง่ายๆ ได้รึ นั่นคือความงามของจิตเราเป็นเครื่องวัดว่าวันใดอารมณ์จิตขุ่น เศร้าหมอง วันใดอารมณ์จิตสะอาด ภาพจะเกิดขึ้นตามนั้น

☺ คนที่ว่าจิตสะอาดจริงๆ ถ้าจัดให้เขาเห็นพระเป็นทองทึบนั้นดูออกจะขัดใจอยู่ เช่นเดียวกัน ถ้าคนจิตขุ่นหรือว่าอารมณ์จิตสมาธิไม่คงที่ ฟุ้งซ่านแล้วจะให้เขาจับรูปพระให้เป็นเพชรสวยสดงดงามนั้น เป็นไปไม่ได้

☻(ถาม – เรื่องการไปฝึกมโนมยิทธิให้ผู้อื่น)
☺ ไหนๆ ถามเรื่องการฝึกนี้แล้วก็จะขอสอนรวมๆ กันไว้ ดังนี้

☺ เมื่อเราต้องรับภาระเป็นครูนั้น เราจะต้องรู้วิชาที่จะสอนเขาจริงๆ ไม่ใช่ว่าฝึกก็นานๆ ฝึกที ไม่ขยันทำให้ทรงตัว อย่างนี้แล้วจะได้ศิษย์ดีที่ไหน นอกเสียจากศิษย์นั้นจะมีปัญญารู้เอง

☺ก่อนอื่น.. ก่อนทำสมาธิ รวบรวมกำลังใจดู "พรหมวิหาร 4" ของตัวเองเสียก่อนว่า เราตั้งใจจะช่วยสอน นำพาเขาจริงใจด้วยเมตตาหรือเปล่า สอนด้วยความกรุณาอยากจะช่วยหรือเปล่า ?

☺ ไม่ใช่สอนเพราะอยากด้วยการให้เขาสักการะเรา สอนเขาแล้วเขายังไปไม่ได้ เราไปเสียใจหรือเปล่า ซึ่งทำให้ทั้งครูและศิษย์ต้องลดกำลังสมาธิตกลงไป สอนแล้วศิษย์เกิดเก่งกว่าครู เราอิจฉาหรือมุ่งร้ายในใจหรือเปล่า ?

☺ เมื่อสอนแล้วเราต้องใช้อารมณ์ของอุเบกขาเป็นพื้นฐาน จะกล่าวกันไว้เลยว่าอุเบกขานี้เป็นอารมณ์ของสมาธิ กำลังญาณที่จะทำให้เราได้รู้ ได้เห็น ได้รับทราบจากจิตจริงแท้..ชัด..มั่นคง

☺เมื่อทรงพรหมวิหารแล้ว ให้พิจารณาตัดสักกายทิฐิ จะได้ไม่ขัดแย้งระหว่างครูกับลูกศิษย์หรือคนอื่นๆ ในเมื่อความเห็นจากการสร้างด้วยจิตไม่ตรงกัน

☺สิ่งนี้.. ขอให้สังวรกันว่า เรายังเรียนรู้ในเรื่องนี้น้อยมาก อย่าไปวิจารณ์ว่าคนนั้นใช่ไม่ใช่ (จง) ทำไปตามอาจารย์ท่านสอน เป็นวิธีลัดที่จะพิสูจน์ได้คนได้รู้เห็นสภาพของ “ทิพย์”

☺ จำไว้ประการหนึ่งว่า ถ้าเหตุที่พึงเกิดกับตัวแล้วตัวยังไม่เชื่อมั่นแคลงใจอยู่เช่นนี้ นับได้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้สอนไปแล้วไร้ประโยชน์ เพราะว่าถ้ามนุษย์ยังไม่มีความเชื่อในสิ่งที่เกิดกับตัวแล้ว ไฉนเขาจะเชื่อผู้อื่น

☺ แจ้งนะ..!

คนที่ 2

☻(ที่จะให้สอนคนนั้น ใจไม่อยากสอน)
☺ คิดเช่นนั้นไม่ถูก ขาดมุทิตา อย่าคิดว่าเราจะช่วยคนอื่นไม่ได้ การช่วยด้วยความดีต้องทำได้ ทำได้เท่าที่เรามีปัญญา สามารถ จะน้อยจะมากนั้นคือผล

☻(ถาม – ชอบการปฏิบัติอยู่แบบหนึ่ง แต่ปัจจุบันต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง)
☺การฝึกนี้เป็นการฝึกที่ใจเป็นสำคัญ ฉะนั้น เวลาใดใจจะฝึกจุดไหนก็ให้ทรงจุดนั้น เพราะวิชาเรานี้ล้วนเป็นวิชาของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น มีผลเหมือนกันคือมุ่งสู่แดนอรหัตภูมิ

☻(ขอคำเตือนถ้ามีข้อผิดพลาด)
☺ ดูแลภาระให้เท่าทันกรรม ไหนๆ ก็มีภาระอยู่ เราก็ต้องทำหน้าที่รับภาระนั้นให้ถูกต้องตามบุพกรรม โดยนำธรรมะมาเป็นใจ

☺ขอเตือนไว้สำหรับทุกคนที่เกี่ยวกับเรื่องการไปท่องสวรรค์กันเป็นกลุ่มๆ ว่าให้ฝึกกันด้วยใจทรงสมาธิแน่ จะมีผลดี แต่ถ้าฝึกโดยสมาธิทรงอารมณ์หวั่นไหวกัน มันจะเป็นการเดาเสียมากกว่า อย่าประมาทในสมาธิ ฝึกกันให้จริงๆ จะมีผล

☺ เอาละ.. สุดท้ายก่อนจะไปขอให้ใช้วิชานี้เพื่อ มรรค ผล พระนิพพานโดยตรง เมื่อเวลาพบ เจออะไรในสิ่งที่เป็นทิพย์ จงหาความรู้จากท่านเหล่านั้นให้มากที่สุด ไม่ใช่ว่าขึ้นไปก็ไปนั่งเฉยๆ

“พุทธสิขี”


◄ll กลับสู่สารบัญ

(( โปรดติดตามคำเทศน์ของ “สมเด็จพระสมณโคดม” ตอนที่ 2 ► ))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top