Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 10/7/10 at 13:40 [ QUOTE ]

หนังสือ "พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 3)





หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม


พรสวรรค์

(รวมเล่ม1-2-3 )

คำแถลง

1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ

คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น

2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ

3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ

4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง

คณะพรสวรรค์




สารบัญ

31.
คำเทศน์ของ “พระสารีบุตร” และ “พระโมคคัลลานะ”
32. คำเทศน์ของ “พระอัญญาโกณฑัญญะ”
33. คำเทศน์ของ “พระอานนท์”
34. คำเทศน์ของ “พระอนุรุทธ”
35. คำเทศน์ของ “พระอุปคุต”
36. คำเทศน์ของ “พระมหากัจจายนะ”
37. คำเทศน์ของ “พระสีวลี”
38. คำเทศน์ของ “พระองคุลีมาล”
39. คำเทศน์ของ “ท่านชีวกโกมารภัจจ์”
40. คำเทศน์ของ “พระสมเด็จพุฒาจารย์โต”
41. คำเทศน์ของ “พระมาลัย” (Update 28/07/53)
42. คำเทศน์ของ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วัดเทพศิรินทร์)”
43. คำเทศน์ของ “หลวงปู่ทวด”
44. คำเทศน์ของ “ครูบาศรีวิชัย”(Update 4/08/53)
45. คำเทศน์ของ “หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค”
46. คำเทศน์ของ “หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง”




31

คำเทศน์ของ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ


8 ธันวาคม 2517

☺ การดำรงชีพด้วยขันธ์ 5 ประการ คือการมีภาระเพื่อชดใช้หนี้กรรมชั่ว และประกอบกับกระทำความดีเพื่อเสวยบุญ ฉะนั้น ภาวะนี้จึงต้องมีหน้าที่ต่างๆ ที่กระทำให้บรรลุถึงผลนั้นๆ จึงต้องพบกับสิ่งที่เป็นทุกข์ คือการเกิด ซึ่งลำบากต่อผู้ให้กำเนิดก็เป็นทุกข์ แก่ ทุกคนก็ไม่อยากแก่

• แต่ความไม่เที่ยงย่อมมีในขันธ์ 5 ก็เป็นทุกข์ เจ็บ อันเป็นความไม่พึงปรารถนาของคนทั่วๆ ไปก็เป็นทุกข์ เพราะห้ามมิได้ และที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทานอยู่ มีความกลัวเป็นชีวิตจิตใจก็คือความตาย ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าขันธ์ 5 ย่อมประสบสิ่งเหล่านี้เป็นอาจิณ ปกติโลก

• โลกนั้นจึงมีสิ่งที่เป็นธรรมดาคือความฉิบหาย
• จงยึดหลักที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เถิด แปลออกไหม ?
• เมื่อพิจารณาได้แล้ว จงทำจิตให้หมดสิ้นซึ่งความอยาก ความต้องการ ความหลงนั้นเสีย แล้วจะได้ไม่ต้องพบ ไม่ต้องประสบ ไม่ต้องเจอสิ่งที่เป็นวัฏฏสงสารของโลกที่น่าเบื่อนี้อีก
• แดนที่เป็นสุขยิ่ง คือแดนนิพพาน มีสิ่งที่สวยสดงดงามทั้งนั้น ทุกสิ่งล้วนมีความสุข แช่มชื่น ผู้คนก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีอะไรกวนใจแม้แต่นิด น่าไปไหม ?

• ห้ามไปเที่ยวนะ ไปก็ต้องไปอยู่ หาสุขอะไรเช่นแดนนี้ไม่มีอีกแล้วในจักรวาลไปให้หมดๆ
ทุกคนนะ
• มีขันธ์ 5 ก็ต้องมีหน้าที่ของมันตามมา หน้าที่ของมันนั้นมีแต่ทุกข์ สำหรับคนที่รักขันธ์ 5 นั้นก็ยังเห็นว่าเป็นสุข
• พุทธภูมิเขาเห็นคนละอย่าง ต้องพุทธภูมิแท้นะ ถ้าพุทธภูมิเทียมเขาก็ยังหลงสุขในขันธ์ 5 ของแท้เขาทำเพื่อบรรดามวลสรรพสัตว์
• เราจะเป็นครูเขา ก็ต้องเป็นครูที่ดี คือรู้อะไรๆ ให้มันจริงๆ ไม่จับจด ถึงจะช่วยสัตว์ทั้งปวงให้สุขได้ดังใจปรารถนา

8 ธันวาคม 2517

☻ (ถาม – ความรักนี้สุขรึ ? มีความรักอะไรที่สุข ?)
☺องค์บรมสุคตทรงกล่าวว่า การประสบแต่สิ่งที่รักเป็นทุกข์ การไม่ประสบกับสิ่งที่รักเป็นทุกข์ เมื่อรักก็กลัวว่าจะเบื่อ กลัวว่าความรักนั้นจะหนี
☻ (ถาม – รักที่เป็นอมตะ เป็นอย่างไร ?)
อมตะ แห่งรัก คือความรักที่ไม่เสื่อมด้วยศรัทธาและอานุภาพ ความรักที่ธรรมดาโลกเป็นอยู่ องค์บรมสุคตทรงชี้แจงว่าเป็นความรักที่แบกทุกข์ และนำไปสู่ทุกข์อย่างอนันต์

☺ เธอรู้ไหม ฉันจะบอกของดีให้
• มีสถานที่อยู่แห่งหนึ่ง ชายก็รูปงาม หญิงก็รูปสวย บรรยากาศก็แสนสุขสบาย ร่มเย็น คนทุกผู้ทุกนามไม่มีสีหน้าตึงเครียด หน้าตาผ่องใส ยิ้มทั้งวัน สวยอย่าบอกใคร เครื่องแต่งกายก็เลอเลิศ อยากไปไหม ?
☻ (ตอบ – อยาก)

☺ที่แห่งนั้นต้องข้ามน้ำข้ามทะเลนะ
• มีต้นไม้ร่มเย็น อุดมด้วยเพชรนิลจินดานะ ขุดทั้งวันก็ไม่หมด
• นั่นแหละ คือแดนสุขาวดี พระนิพพาน
• ฉันจะคอย และคอยรับ
• จงล้างจิต ชำระจิตใจจากอยายภูมิทั้งหลาย ไปหาเพชรนิลจินดาที่มีแสงผ่องใสยิ่งกว่าเพชรที่กระทบแสงอาทิตย์หลายร้อยหลายพันเท่า
• เพชรนั้น คือองค์พระบรมศาสดา แสงนั้น คือพระธรรมคำสั่งสอน ดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงมาถึงมวลมนุษย์ คือองค์พระอรหันต์เจ้า
• จงหาแสงนั้นเถิด แล้วพวกเธอทั้งหลายก็จะได้พบเพชรอันล้ำค่า หาใดเปรียบมิได้

☺ขอใช้คำว่า จงเป็นสุขและพบสุขที่เป็นอมตะ...... ลา

5 กุมภาพันธ์

☺วันนี้จะแจกแจงเรื่องของสิ่งที่เป็นธรรมดาที่สุดของการปฏิบัติตนเพื่อให้เข้าสู่อริยะทาง ขันธ์ 5 พุทธบริษัททั้ง 4 คงทราบดีอยู่แล้วว่าประกอบด้วย รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ
• รูปนั้นคืออะไร รูปคือนามธรรมที่เป็นสมมุติ
• เวทนา เวทนาคือความสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นธรรม
• สังขาร สังขารคือวัย เวลา วัยเวลาที่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย
• สัญญา สัญญาคือความรู้ ความจำ ความข้องแวะของใจ
• วิญญาณ ใจ หรือสมองที่เป็นตัวบงการให้เรามีอารมณ์ต่างๆ ทั้งหมด

• รวมเรียกว่าเบญจขันธ์ที่มีอยู่ในเธอทั้งปวง เมื่อมีเบญจขันธ์อยู่ในตนแล้ว ความรู้สึกในตนที่เรียกว่าภาวะ วิภาวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้น ทุกข์นานาประการย่อมมีอุบัติ เมื่ออุบัติขึ้นเราจะหาทางแก้ทุกข์ได้ไหม ? ทุกข์ คือ เกิด แก่ แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตายในที่สุด ความที่ไม่พึงปรารถนา ความที่พึงปรารถนา ความไม่สมหวัง รักเป็นทุกข์ พลาดรักเป็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์หาดูได้ คือ กิเลส
• โลภ มักมาก
• โกรธ เร่าร้อน
• หลง มัวเมา

ตัณหา ความนี้มีอีก 3
• กามตัณหา ความต้องการที่ใคร่จะได้
• วิภวตัณหา ความไม่ต้องการในตนของตน
• ภวตัณหา ความต้องการในตนของตน คือสมปรารถนา

☺ อุปาทาน คือยึดสมมุติไว้ในตน
☺ทางดับทุกข์
• ศีล บังคับกาย ใจ วาจา ให้สงบเสงี่ยม รู้ควร รู้ไม่ควร
• สมาธิ บังคับใจให้คุมสติ
• ปัญญา เป็นช่องทางชี้แนะให้รู้ทันบุพกรรม

☺ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งการพ้นทุกข์ คือมรรค 8 เห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ไตร่ตรองชอบ ตั้งใจชอบ
• ทั้งหมดนี้ เป็นมัชฌิมาปฏิปทาของข้อที่จะพึงกระทำสายกลาง
☺เมื่อมีมรรค 8 เป็นแหล่งที่มาของใจตนแล้ว เราจะต้องสร้างเกราะกำบังอายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
• ตา เห็น เกิดปฏิพัทธ์
• จมูก ได้กลิ่น
• ลิ้น ชิมรส
• หู ได้สดับ
• กาย ได้สัมผัส
• ใจ ครุ่นคิด

☺ทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางที่จะให้เกิดกิเลส โลภ โกรธ หลง ตัณหา (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อุปาทาน (สมมุติ)
☺เมื่อมันได้สะสมไฟอันร้อนนี้ขึ้นมา ก็จะเผาผลาญใจที่ยังไม่แห้งด้วยสิ่งเหล่านี้ จักกำเริบเติบใหญ่ขึ้น ก่อเป็นทิฐิมานะ
☺เมื่อเป็นดั่งนี้ จงรู้ว่า สมมุติ เป็นตัวอุบัติ และเมื่อนั้นอนัตตาก็ยังคงอยู่
• เมื่อเธอทั้งหลายปรารถนามาถึงเพียงนี้ จงตรวจดูว่าศีลเป็นตัวนำให้เข้าอริยมรรค เมื่อดำรงอริยมรรคด้วยศีลต้องตัดไปถึงอุปาทาน อุปาทานเป็นสมมุติที่เธอยังล้างออกไม่หมด
• ที่ท่าน (พระอานนท์) เน้นมานี้ เน้นเรื่องอะไร ?
☻อุปาทาน

☺ อุปาทานตัวนี้ จะทำให้หลุดพ้นจนเป็นอรหัตผลได้ (โดยการพิจารณาละเสีย ?) เพราะพุทธบริษัททั้ง 4 ก็ดี ยังมีใจยึดแน่น ถือมั่นอยู่ในตัวตนของ “สมมุติ”
• ความดีด้วยการชม ถือเป็นความสุขที่สมมติ ความดีด้วยบุญ นั่นคือความสุขที่ได้รับจากธรรมปีติ
• ว่าไปแล้ว เนื้อถ้อยกระทงความทั้งปวงของอริยสัจก็มีอยู่เท่านี้ ที่จะชำระจิตให้ไม่ข้องแวะกับวัฏฏะของอนัตตา
• เรื่อง “อุปาทาน” มาเทศน์บ่อยที่สุด เช่น นึกว่า “ฉันดี” นั่นยังไง ถ้าดีทำไม่ถึงมาเกิด นั่นแหละเราไม่ดี แต่จะหาดีกัน
• พิณ 3 สาย ตึงไปก็ขาดง่าย หย่อนไปก็ดีดไม่เพราะ ฉะนั้นต้องพอดี มัชฌิมา เรามีทั้งดีและไม่ดี ดีจริงก็อย่าระเริง ชั่ว ก็จงแก้

11 เมษายน 2522

☺วันนี้ จะสอนเรื่องการพิจารณาสังขารุเบกขาญาณ
• การพิจารณาในเรื่องนี้ ต้องเล็งเห็นในอุเบกขาก่อน ต้องดำรงจิตให้เฉย เฉยต่อสิ่งที่กระทบจิต แล้วทรงจิตให้ดำรงอยู่ในสมาธิ มองเห็นสภาพร่างกาย
• หนึ่ง ว่าเป็นอนิจจัง เป็นธาตุที่แปรปรวนได้ มองเห็นความไม่จีรังของอารมณ์จิตที่รับสภาพร่างกาย รู้ถึงอายตนะ รู้จักแยกจิตออกจากกาย มองให้เห็นความเป็นธรรมดาแลปกติ

☺เมื่อตนเองมีสภาพทุกข์ มองให้รู้ แต่ไม่ร้อนใจในทุกข์ เมื่อเข้าใจสภาพของร่างกายและสิ่งข้างเคียงที่มาถึงนั้น เห็นทุกข์ เห็นสิ่งต่างๆ ว่าเป็นปกติ ใจตัวเดียวนี่แหละที่จะตัดให้เราพ้นจากทุกข์กาย ทรมานกาย เวทนากายได้ คนใดที่ไม่ช่วยตัวเอง ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์ สอนเป็นเบื้องต้นว่าตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เพียงคำตรัสสอนเท่านี้เป็นผลนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ คือทรงสอนให้ตนช่วยเหลือคนนั้น เพื่อไม่ให้เราต้องพึ่งผู้อื่น ไม่ต้องการให้เรานั้นแสดงความต้องการในขันธ์ 5 การช่วยตนเองเพียงลำพังนั้น บางครั้งก็ไม่พอ ต้องให้คนอื่นเข้าช่วย แต่การที่บุคคลใดจะช่วยหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของความเมตตากรุณาแห่งบุคคลนั้นเอง

☺ฉะนั้น วิธีการที่จะสอบดูจิตตนในเบื้องแรก คือการรู้ รู้ว่าตนต้องการให้บุคคลอื่นมายกย่องไหม นั่นเป็นเรื่องของการรักร่างกาย ตนเองต้องการให้ผู้อื่นมารับใช่ไหมนั่นเป็นเรื่องของการห่วงร่างกาย ต้องการให้คนอื่นมาคุ้มครองตนเองไหม นั่นเป็นเรื่องของการหวงร่างกาย เหล่านี้จะเห็นได้ถึงการที่เราจะตัดขันธ์ 5 ธาตุ 4 ร่างกายเราได้จริงหรือไม่

☺เมื่อพวกเธอทรงอารมณ์นี้ได้ เราก็จะรู้ เข้าใจธรรมปฏิบัติในสังขารุเบกขาญาณได้ดีขึ้น
วันนี้ นำไปปฏิบัติเพียงเท่านี้ให้ได้นะ เรื่องทุกข์ทั้งหลายที่มีในใจจะได้บรรเทาลง ผู้ที่เกิดมาและตั้งใจจะเกิดในครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายนั้น ขอให้คิดว่าถ้าเป็นครั้งสุดท้าย จริงๆ ก็ย่อมคืน ใช้หนี้ที่เราเอาของคนอื่นมาคือไปด้วยความเต็มใจ
• อย่าได้อนาทรร้อนใจในเรื่องทุกข์ของโลกเลย เพราะแม้กระทั่งองค์สมเด็จพระศาสดาตถาคตนั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์เองก็ต้องทรงรับทุกข์รับเคราะห์ดั่งชาวโลกทั่วๆ ไป ตราบเท่าที่ขันธ์ 5 ธาตุ 4 ยังทรงอยู่
☺องค์พระศาสดายังทรงอยู่ แล้วศิษย์ทำไมจะไม่พ้น

30 มกราคม 2523

☺ฟังเทศน์ฟังธรรมกันมามากแล้วอย่าเหลวไหล
• การปฏิบัติกายกับใจนั้น ไม่ใช่ปฏิบัติประเดี๋ยวเดียวแล้วจักสำเร็จ ทุกๆ วันยามใดที่จิตไม่มีภาระ กังวล ธุระ จงคุมใจให้นิ่ง ทรงอารมณ์พิจารณาในกรรมฐาน อย่าปล่อยเวลาให้จิตฟุ้งซ่าน ความแก่เป็นของจริง การเจ็บเป็นของแน่ การตายเป็นของแท้ ทุกคนล้วนจะต้องได้รับ ในช่วงเวลาชีวิตหนึ่งนี้ไม่ได้ยาวนานแล้ว ที่จะตัดสินใจให้ตนดำรงทางใดเป็นที่มั่น

• เธอเกิดมาจากจิต เธอตายไปไปด้วยจิต ในเมื่อตัดสินใจแน่แท้แล้วว่าชาติหน้าในภพภูมินี้จะไม่กำเริบอีก ก็จงตั้งใจไว้เสมอทุกเวลา ในเมื่อไม่ช้าไม่นานต่อไปนี้ เราก็จะต้องตายต้องจาก พรากจากสิ่งต่างๆ ไป อย่าได้อาลัยในร่างกายที่มีธาตุของโลก 4 อยู่ อย่าได้อาลัยในทรัพย์ซึ่งสมมุติว่าเป็นของเรา อย่าได้อาลัยในสิ่งที่สมมุติที่เราเอาไปไม่ได้

• พิจารณาดูว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตเหล่านี้มีสุขแท้ไหม ไม่มีอะไรเป็นสุขจีรังยั่งยืนเพราะมนุษย์ไม่รู้จักพอ เราปรารถนาพระนิพพานเป็นที่ตั้ง เพราะเราต้องการที่จะชำระล้างใจให้รู้จักพอ โลกธาตุในตัวเราและทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นสมบัติของโลกก็มีอยู่ 4 อย่างเท่านั้น อย่าได้ไปนิยมชมหลงในธาตุทั้ง 4

• ขอให้เธอมุ่งหวังพระนิพพานเป็นที่ไป จงคิดเสียว่านี่คือชาติสุดท้ายแล้ว และอีกไม่นานเราก็จะตายจากชาตินี้ไปจนสิ้น สิ่งไรที่เป็นทุกข์ก็สู้ไป ยอมเหนื่อย ยอมอดทน อย่าได้ท้อถอย

• เรื่องของอสุภกรรมฐาน คงจะไม่ต้องสอนเพราะรู้ดีทั่วทุกคน การพิจารณานั้นจะต้องพิจารณาเมื่อใจถึงอารมณ์ที่จะรับ ถ้าใจยังรับไม่ได้ จะพิจารณาไปก็เหมือนบทท่องจำ มีแต่ความจำแต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของธรรมดาโลก ก็ย่อมรู้ทุกคนอยู่ ไม่จำต้องอธิบาย ทั้งๆ ที่รู้ ทั้งๆ ที่ฟังกันจนชินทุกเวลาไปแล้วนี่ ก็จงอย่าได้แสวงหาทุกข์ หากิเลสเข้าตัวเลย อย่าได้เป็นดั่งสุภาษิตที่ว่า “คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า” สิ่งใดทุกข์ก็อย่าได้นำมาใส่นะ

• เรื่องแรกที่ทุกคนควรตรวจจิตคือ อารมณ์โกรธ สองอารมณ์หลง สาม อารมณ์กลัว สามตัวนี้จะทำให้จิตฟุ้งต่างๆ นาๆ

18 มิถุนายน 2525

☺พยายามให้ใจมุ่งกุศลไว้เสมอ อารมณ์จะได้เป็นทิพย์ ถ้าใจคนเราคิดแต่สิ่งที่เป็นอกุศลอยู่ประจำ จะทำให้จิตมีทุกข์ตลอด
• การรักษาโรค (ด้วยจิต) จะสุ่มรักษาเฉยๆ ไม่ได้ กรรมอกุศลที่มีเจ้ากรรมนายเวรจะมาถึงตัวถ่ายแทน (ตัวหมอที่รักษา) จิตที่จะรักษาควรสัมผัสได้ จะได้รู้การเป็นมาในการเชิญพระรักษา และจิตเช่นนี้เป็นการง่ายต่อการที่พระผ่าน ถ้าเราทำจิตทึบ (จะ) เป็นอันตรายตัวเราเอง เข้าใจหรือยัง

• บางโรค คนเราเป็นเนื่องจากร่างกายชำรุด บางโรคเป็นเพราะอกุศลตามทัน บางโรคอาจเป็นเพราะเจ้าหนี้ทวง ที่สำคัญคือเจ้าหนี้ประเภทยังอยู่ในรูปวิญญาณ (สัมพเวสี) อันนี้เขาจะไม่เจาะจงเอาอะไร แจกแจงชั่วดีเขา (ก็) ไม่สนใจ เอาใช้หนี้ก่อน ถ้ามีคนมาช่วยเขาก็พาล (เอา)
• คนน่ะมีตาไว้มอง จงเลิกตาขึ้นมองบ้าง ส่วนมากมองไปข้างหน้า ไม่ชอบมองข้างหลัง ที่ร้ายคือไม่ก้มมองตัวเอง

• คนเรามีหูไว้ฟัง จงเปิดหูฟัง ฟังแล้วคิด
• คนเรามีปากไว้พูด อะไรที่พูดควรตรองเสียก่อน พูดไปแล้วมักไม่จำกัดคำที่พูดออกไป มักคิดแต่เรื่องที่หูฟังมา จริงไหม

◄ll กลับสู่สารบัญ



32

คำเทศน์ของ “ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ”


☻ (ถาม – จะปฏิบัติธรรมเพื่อ “ไป” ได้เมื่อใด)
☺สิ่งนี้ไม่ยากเย็นเกินกว่าที่เราจะทำ
• ศีล เป็นที่ตั้งของทุกสิ่ง เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้วก็จะตัดอารมณ์ตัวหลักใหญ่ๆ ลงไปได้
การภาวนานั้น ต้องเจริญด้านวิปัสสนากรรมฐาน คือหมั่นพิจารณาสมุหฐานต่างๆ เมื่อฟังรู้ก็ให้ซาบซึ้งถึงจุดแตกฉาน เมื่อแตกฉานแล้วก็เกิดปัญญา เกิดเป็นความเพียร พึงสละธรรมที่เรียกว่า “สันดาน” ออก เพราะจะพิจารณาตัดกิเลสตัณหา อุปาทานออกได้เมื่อแตกฉานนะ
• ธรรมะ ย่อมแทรกอยู่ในกิจที่เธอทั้งหลายพึงกระทำ แต่จะมองเห็นหรือไม่ย่อมอยู่กับการเอาจริงเอาจังด้วย

16 มกราคม 2523

☺การฝึกตัวเองน่ะก้าวหน้ากันไหม ? พยายามกันนะ การปฏิบัติของพวกเธอควรจะดูอาจารย์เป็นหลัก แต่เลือกดูนะ เพราะบางอย่างเธอจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะอาจารย์เธอถึงแล้วซึ่งอรหัตผล
• สิ่งที่พูดอยู่เป็นประจำ รู้ดีทั่วกันแล้วว่า ใจ จิต เป็นตัวรับกุศล เป็นตัวเสวยผลบุญในแดนปรารถนา
• จะเน้นในเรื่องของสัจจะ หรือสัจจะบารมี

☺สัจจะแปลว่าอะไร ? สัจจะเป็นความจริง ความจริงที่ทุกคนควรมีอยู่ในจิต เราตั้งใจที่จะทำอะไรในทางที่ดีแล้วควรมุ่งมั่นจะทำ เช่นเธอรับไว้ที่จะช่วยเหลืออนุเคราะห์บุคคลผู้ใดแล้วก็ควรที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จ อย่าได้เห็นแก่ขี้เกียจ อย่าได้ท้อถอย อย่าได้กลัวลำบาก ในเมื่อเธอทั้งหลายตั้งปณิธานกันไว้ว่าจะไม่จุติ ณ โลกก็ดี สวรรค์ชั้นกามาวจรก็ดี แม้แต่พรหมดก็ดี เมื่อตั้งใจเช่นนี้แล้ว ชาตินี้ควรอย่างได้เสียดายแรง เสียดายความสุขชั่วคราว ยอมเหนื่อย ยอมลำบากด้วยความดี

☺ถ้าเป็นคน เบื้องแรกควรมีสัจจะรักษาความดีเป็นที่ตั้ง สัจจะนี้เป็นแรง เป็นกำลังให้เรากล้าที่จะทำต่อไป เป็นแรงที่จะทำให้เรากลัวความขี้เกียจ จะทำให้คนลดความเห็นแก่ตัวตนในความลำบากลง จะเป็นกำลังนำไปถึงเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อบังคับตัวโดยใช้สัจจะบังคับใจแล้ว เธอจะรู้สึกอัดอั้นในครั้งแรก ความรู้สึกนี้จะมีเพราะใจเรายังยึดมั่นในทิฐิมานะอยู่

• ถ้าทำไปๆ ในระยะต่อมา จิตจะยอมรับรู้ในสภาวะนั้น จะทำให้ใจบังคับได้โดยสภาวะของสันโดษ ความสันโดษคือความรู้สึกพอใจสิ่งที่เป็นทรัพยคุณ และกามคุณ 5 ประการ รู้จักไหมความสันโดษ

☺ ในพระธรรม กล่าวถึงบทธรรม 4 ประการ รู้จักไหม ?
1. ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
2. ความสันโดษ เป็นทรัพย์อันประเสริฐ
3. ความคุ้นเคย เป็นญาติอันประเสริฐ
4. นิพพาน เป็นสุขอันประเสริฐ

☺รู้จักไหม ?
• อันแรก องค์พระมหาบุรุษตรัสไว้ สิ่งที่มนุษย์กลัวที่สุดคือ ความเวทนา
• อันที่สอง ทรงไว้เพราะทุกคนหากไม่รู้จักพอที่จะเกิดเกลียด ถ้าบุคคลใดมีความสันโดษ รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมีตนหามาได้โดยสุจริตแล้ว เหล่านี้ถือเป็นทรัพย์อันประเสริฐ การแก่งแย่งชิงดีจะไม่เกิดขึ้น

• อันที่สาม ความคุ้นเคยเป็นญาติอันประเสริฐ เพราะว่าคนแต่ละคนคอยหาทางเอาเปรียบซึ่งกันและกัน หาทางว่าร้ายส่อเสียด ยุยงให้หมองใจกัน แต่จงสำนึกตรึกตรองไว้ว่าทุกคนไม่มีใครดีหมดในนิสัยและสันดาน เพราะแต่ละคนเกิดมามีกรรมต่างกัน
• เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จึงควรที่คนจะมองกันและกันในด้านกุศล จงเปรียบเทียบดูว่าบุคคลที่จะมาในวิถีนั้น กุศลกับอกุศลอย่างไหนจะมีน้ำหนักกว่ากัน เมื่อจิตคิดได้ ความชิงชังก็จะขจัดไป ความคุ้นเคยจะเข้าน้อมนำจิต ที่ว่าคุ้นเคยแล้วเป็นญาตินั้น ต้องอย่าลืมว่าทุกคนรักหมู่รักเหล่าพงศ์พันธ์ตนเอง ฉะนั้น เมื่อสนิทเหมือนญาติ การอภัยก็จะมีมากขึ้น

• อันสุดท้ายนี้ คงไม่ต้องอธิบาย เข้าใจในบรมธรรม 4 หรือยัง เอาละ.. ว่าเรื่องสัจจะต่อ..
• สัจจะนั้น แปลว่าการยอมรับคำมั่นก็ได้ เป็นความจริงที่จะทำก็ได้ การรับถือสัจจะจะบังคับใจให้รู้ตัด สละ ละ กิเลสออกไป บำเพ็ญกันไว้นะ
• การที่เธอทั้งหลายได้ลงมาบำเพ็ญกุศลอยู่นี้ ควรจะเข้าใจไว้ว่าเวลาในอายุขัยของแต่ละคนมีไม่มากนัก ฉะนั้น ช่วงวัยต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง หายใจต่อหายใจ มีค่าทั้งสิ้น มีค่า คือถ้าเธอรู้จักใช้เวลาน้อยนิดนี้ จะใช้ในสมาธิเพียงแค่ลมหายใจที่ยังว่างอยู่ ก็จะเป็นคุณสถิตในจิตเธออย่างยิ่ง

• พิจารณานะ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ สุขจริงหรือชั่วคราว ทุกข์ถาวรหรือชั่วคราว พิจารณาได้ใจยอมรับ นั่นคือสภาพมนุษย์ในโลกนี้ จะเป็นฝ่ายเนยยะ กับ ปทปรมะอย่างละครึ่ง อุคฆฎิตัญญูไม่มีเลย วิปจิตัญญูนั้นฟังธรรมได้ ให้อย่างมาก 10 เที่ยว (ก็เป็นพระอรหันต์) ที่บอกมานี้เพื่อล้างทิฐิ

• เอาละ.. หวังว่าธรรมที่องค์เอกอัครมหาบุรุษได้เทศน์สอนไว้ในพุทธสมัยนั้น จงเป็นทาน เป็นปัจจัยให้พวกเธอได้เข้าถึงธรรมะนั้น รู้ในธรรมะ เข้าใจในธรรมะ ปฏิบัติในธรรมะ จนถึงซึ่งอรหัตผลในแดนพระนิพพานทุกคน

• อย่าลืมนะ ว่าวิธีปฏิบัติใจกับกาย อย่าได้กลัวกายชำรุด อย่าได้กังวลเรื่องทุกข์สุข คิดไว้ว่าเรามามีอะไรมา เราไปจะมีอะไรไป กายให้คุณหรือให้โทษ ใจเป็นอย่างไรเมื่อกายทรยศ และคิดไว้เสมอว่า เราแก่ทุกวัน เราต้องป่วยไข้ ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเสียใจในความป่วยไข้ไม่สมบูรณ์ของร่างกาย และเราจะจากของทุกอย่างที่ชอบ ที่รัก ที่หวง และหามาแสนลำบาก เหล่านี้จะต้องเกิดแก่เรา เป็นความจริงแน่นอน แล้วเราจะอาลัยอยู่อีกหรือ ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

☺รู้วิธีแล้วพิจารณา เอาปัญญาไตร่ตรอง
(หมายเหตุ : - สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ถึงบุคคล 4 จำพวก คือ
1. อุคฆฎิตัญญู ฟังธรรมเฉพาะหัวข้อก็เข้าใจตลอด
2. วิปจิตัญญู ต้องขยายความบ้างเล็กน้อยก็เข้าใจตลอด
3. เนยยะ ต้องจ้ำจี้จ้ำไช เคี่ยวเข็ญ
4. ปทปรมะ ยังไงๆ ก็ไม่ยอมเข้าใจ (รวมถึงผู้ที่ความรู้ท่วมหัวในทางธรรม ด้วยรู้สารพัดแต่ไม่ยอมเชื่อ)

◄ll กลับสู่สารบัญ



33

คำเทศน์ของ “ท่านพระอานนท์”



5 เมษายน 2517

☺อันองค์พระโมคคัลลาน์ สารีบุตรเองนั้น ทรงโมทนาประทานพระมายังเธอผู้ประพฤติชอบแล้ว

22 สิงหาคม 2517

☺เจริญ.. โพธิสัตว์ วันนี้เป็นยังไง ?
• ปัญญานั้น เกิดเพื่อมีสติระลึกใคร่ครวญ ไตร่ตรองดูความเป็นมาของธรรมดาแห่งสิ่งทั้งหลายที่มีการเริ่ม และการหมดเจริญ......(ล.ล.).......ตัวเราสมัยพระพุทธองค์
☻ (ถาม – ที่ท่านบอกว่า เจริญ..โพธิสัตว์ หมายถึงศรีพันธ์ ?)
☺ใช่
☻ (ถาม – ท่านเป็นพระอรหันต์ ?)
☺ใช่

☻ (ถาม – สมัยพระพุทธเจ้า)
☺หลัง.. นามเราว่า “อานนท์”
☻ (ถาม – สมัยนั้นมีตัวอักษรแล้ว ทำไมไม่มีการจารึกพระไตรปิฏกเป็นอักษร ?)
☺ผู้คนนิยมเรียนด้วยความจำ
☻ (ถาม – คนไม่ชอบเรียนหนังสือ ?)
☺เรียนด้วยวงศ์กษัตริย์และพราหมณ์

☻ (ถาม – ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า พระคุณเจ้าทรงจำ พระไตรปิฏก ได้ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์?)
☺ตามแต่จะเข้าใจ
☻ (ถาม – แล้วตามความเป็นจริง ?)
☺ใช่ ความจำของคนมีให้ฝึกฝน แล้วแต่คนใช้
☻ (ถาม – จะมาเป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ต้องทำบุญเฉพาะเจาะจงหรือ ?)
☺ใช่
☻ (ถาม – เสถียร โพธินันทะ เจาะจงอุปัฏฐากพระศรีอาริย์ หรือ ?)
☺องค์อินทราชปัจจุบัน

☻ (ถาม – ระหว่างอุปัฏฐากทรงเป็นพระโสดาบัน แต่เพราะเหตุที่มีกิจต้องอุปัฏฐากหรือ จึงยังไม่เป็นพระอรหันต์สมัยพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ หรืออะไร ?)
☺เพราะตัวของเราเอง ไม่มีใครทำนาย นอกจากตัวของตัว
☻ (ถาม – ท่านติดอยู่ตอนนั้น เพราะเวทนา ?)
☺ว่าฉะนั้นก็ได้
☻ (ขอประทานคำสอนสำหรับพวกสุกขวิปัสสโกเฉพาะตัว)
☺การทุกอย่างที่เธอทำนั้น ต้องแยกให้ออกว่าอะไรเป็นอะไร เวลาไหนควรทำอย่างไร อย่างเอามาโยงว่าทำไม่ได้เพราะเรื่องนั้นเรื่องนี้ อยู่ที่ตัวของเรา ดี ชั่ว ช้า เร็ว ก็ตนนั้นแหละ อย่าโทษสิ่งอื่นใดเลย

☻ (ถาม – การถวายกุศลแด่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะเป็นการอาจเอื้อมไปหรือไม่ เป็นการดี หรือเป็นการเพ้อเจ้อ)
☻เป็นความกตัญญู
☺ (ถาม – ท่านจะทรงรับรู้ ?)
☻ตามธรรมดาพ่อนั้น ย่อมมีทุกอย่างพร้อม แต่ถ้าบุตรให้ของแก่พ่อก็ไม่เกิดอะไรขึ้น แต่พ่อซิ เห็นว่าบุตรนั้นกตัญญู หาเงินทองซื้อของมาให้ พ่อก็ต้องอนุโมทนา
☻ (ถาม – การสวดมนต์ขอบารมีให้ทรงพรหมวิหาร 4 จะเป็นการเพ้อเจ้อ ?)
☺เธอมั่นในอะไร ?
☻ (มั่นในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

☺เช่นนั้นเพ้อหรือ จำในพระองค์ว่าทรงคุณดุจบิดา ทุกคนไม่ว่าในพุทธศาสนาหรือนอกพุทธศาสนา พระองค์ท่านถือเสมือนบุตรทั้งนั้น แต่บุตรนี่ซิ ถือพระองค์ท่านเป็นบิดาหรือไม่
☻ (ตอบ – เกรงจะเป็นอาจเอื้อม)
☺ท่านมีเคยแบ่งชั้นกับใคร แม้แต่กับสัตว์นรก พระองค์ทรงชี้ทางแก่ทุกๆ คนให้เดินตามขึ้นไปอยู่ข้างเคียงพระองค์เสมอ
☻ (ถาม – มารโลก หมายถึงอะไร ?)
☺เป็นพวกๆ หนึ่ง ซึ่งถึงทิฐิมานะ

☻ (ถาม – ภาวะของพวกนั้นเป็นอย่างไร ?)
☺มีทั้งมนุษย์แลเทพ
☻ (ถาม – อสูร คือพวกมิจฉาทิฐิหรือ ?)
☺เหมือนจาตุโลกบาล แต่เป็นของมาร มิจฉาทิฐิเป็นพวกกึ่งหวังโพธิญาณ จะแข่งบารมี
☻ (ถาม – ที่ว่าเทวดารบกับอสูรนั้น รบกันอย่างไร ?)
☺ด้วยบารมี ด้วยอานุภาพ ร้อนด้วยความดี (ต้องถอยไป)
☻ (ถาม – เดี๋ยวนี้อสูรเลิกรบแล้ว ?)
☺ใช่

15 สิงหาคม 2522

☺จะคุยอะไรไหม ?
• ที่ปฏิบัติกันน่ะ ไม่ใช่นั่งอย่างเดียวนะ ควรจะได้ทั้งคุย ยืน เดิน
• วันนี้ฉันจะว่าเรื่องของจิต จิตที่ทรงอยู่ในตัวเรานี้มีกิเลสอวิชชามากมาย ล้วนแต่รู้กันอย่างละเอียดแล้วทั้งนั้น
• จะให้เห็นภาวะใจของแต่ละคน ทุกคนมีใจปรารถนาความสุขเหมือนกัน ทุกคนอยากสบาย อยากสมหวัง อยากเป็นคนดี อยากให้คนยกย่อง อยากเป็นสิ่งพิเศษ และทุกคนรักตัวเองยิ่งนัก เหล่านี้ทุกคนเป็น ทุกคนรู้อยู่แก่ใจ แต่ทุกคนจะรู้ถึงผู้อื่นหรือไม่นั้น เป็นอีกนัยหนึ่ง

☺นี่เป็นตัวหม่นหมอง (คือ) เธอจะต้องการในสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง เธอจะต้องสร้างกำลังใจให้กล้าที่จะตัดสิ่งที่เธอมี เธอเป็น และเคยปรารถนาดังได้กล่าวมาแล้วนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องใช้ความสามารถในตัวของเธออย่างยิ่ง ที่จะทำให้ได้

• ถ้าปรารถนาพระนิพพานจริงๆ แต่ที่รู้อยู่ (ก็รู้) ว่า บ้างฟังธรรมเพราะเป็นปรัชญา บ้างฟังธรรมเพราะเป็นความจริง ล้วนแต่รู้เห็นกันเป็นส่วนมาก แต่จะดำรงใจจิตให้มุ่งมั่นแน่แท้นั้นไม่ค่อยจะยอม ยอมอย่างเดียวคือการอธิษฐาน รู้สึกว่าพวกเราทำได้ถนัดมาก จึงอยากได้ ตัดสินใจเอาเสียที บ่อยๆ หน่อย ไม่ใช่นานๆ ค่อยตัดสินใจเอาเสียที

• เข้มแข็งกันหน่อยนะ ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็อยู่ที่ใจ ที่ “อะไรๆ ก็อยู่ที่ใจ” ของเธอนั้น เป็นแค่อยู่ที่ใจจริงๆ แต่ไม่ได้ล้างใจ เก็บไว้หมด ไม่ใช่ว่าพระอยู่ที่ใจไม่ต้องยกมือไหว้ ไม่ใช่เช่นนั้นนะ ธรรมะสอนเราไว้เบื้องต้น คือ กาย วาจา ใจ ทุกคนจะมีศีลบริบูรณ์ด้วยการบูชา ต้องถือศีลด้วยใจศรัทธา ใจสมัคร ถือศีลด้วยการงดเว้นทางวาจา และงดเว้นด้วยการกระทำ รับศีลด้วยความเคารพ นี่เป็นเพียงจุดหนึ่ง แสดงให้ดูถึงการทำอะไรเพื่อนำไปสู่ธรรมะปฏิบัติต้องครบองค์ 3

• กรุณาอย่ากล่าวว่า “ทำอะไรก็อยู่ที่ใจ” จนเปรอะ จะทำให้เราชุ่ย ธรรมะเป็นสิ่งละเอียด เราปฏิบัติธรรมะจะต้องละเอียด ใครที่เคยอ่านพระไตรปิฏกแล้วคงจะรู้ได้ดีว่า ความละเอียดของธรรมะ ของบุญ-บาปนั้นสำคัญอย่างไร จงพยายามกันหน่อยนะ เพราะตะกอนกิเลสของแต่ละคนนั้นอยู่ลึก

• จะกล่าวต่อเรื่องของจิตใจในลักษณะสัจจบารมี เธอคงจะเข้าใจในสัจจบารมีแล้วใช่ไหม ? คือความจริง ความสุจริต จิตที่ไม่แกล้ง สัจจะเป็นสิ่งนำจิตให้ยึดในคุณธรรม ความจริงที่เรารู้เห็นในไตรลักษณ์ อริยสัจ 4 ขันธ์ 5 ธาตุ 4 ที่ประกอบเป็นสังขาร นี้คือสิ่งเป็นจริงตามสภาพ เธอต้องมีใจยึดถือในความจริงเหล่านี้ว่า จะต้องเกิด ประสบพบกับเรา เธอจะต้องมั่นในพุทธบารมี พุทธานุภาพ นี่เป็นความกตัญญู เธอจะมั่นคงในคติที่เธอปรารถนา เธอจะมีกำลังใจกล้า กล้าในสิ่งที่จะต้องเห็น จะต้องเผชิญต่อไป บุคคลใดยึดมั่นในสัจจะ บุคคลนั้นเป็นคนที่จะไม่ถอยหลัง

☺เข้าใจหรือ ?
• ที่จริงนั้น ธรรมะมีอยู่ในตัวเธอทุกคน อยู่ที่เธอจะใช้ปัญญานำธรรมะในตัวของเธอมาตีแผ่ เป็นพระกรรมฐานได้มากน้อยเพียงไร ฉันว่าคนใดนำธรรมะในตนเองมาขจัดล้าง เข้าใจในธรรมะนั้นได้ พระนิพพานก็ย่อมเกิดจากตัวของเธอเองเช่นกัน

☺เวลาปฏิบัติฝึกมโนมยิทธิ ทำไมเธอรับสภาพเพื่อตัดกาย ตัดขันธ์ 5 ได้ ? เพราะจิตมีปีติที่จะไป จะฝึกสำเร็จ ต่อเมื่อทรงขันธ์อยู่ เผชิญอุปสรรคที่ประสบแล้ว ทำไมจึงทำจิตไม่ได้ อย่างเวลาที่พิจารณาเทียบพระอริยะ จงตั้งใจถามคำถามนี้ต่อตน
☻(ตอบ – เพราะตอนนั้นจิตเป็นทิพย์)

☺ นั้นอย่างหนึ่งด้วย แต่นั่นเป็นแต่ส่วนปรุง เป็นเพราะเธอยอมรับสภาพความเป็นจริงตามพิจารณา แต่เวลาเธอเผชิญอุปสรรคเธอใช้อารมณ์มากกว่าสติพิจารณารู้และยอมรับความจริง จึงขอทวนคำข้างต้นว่า เมื่อทุกคนมีภัย สติหาย รักตัว กลัวจาก รักตัว รักของ ถือตัว ในสิ่งรอบข้าง หลงตัวว่าตนดีพิเศษ เก่ง ถูก เหล่านี้แหละฉันถึงได้พูดว่าฟังธรรม ไม่ใช่ฟังปรัชญาสละสลวย “วันนี้นะ ท่านเทศน์เพราะ (ไพเราะ)” “วันนี้นะ ท่านเทศน์เก่ง” หาปฏิบัติไม่

☺ ดูง่ายๆ นะ พระหรือเทพที่เตือนหรือสอนหรือแนะแนว ถ้าท่านสงเคราะห์เพราะความดีของเรา ท่านจะกล่าวครั้งแรก ถ้ายังเช่นเดิมอยู่ จะกล่าวเป็นครั้งที่สองถือว่าต้องจูงกัน ถ้าถึงครั้งที่สามต้องเข็นกันแล้วยังไม่สนใจ ท่านจะปล่อยเป็นเหตุสุดวิสัย ตนไม่ยอมช่วยเหลือตนแล้วใครจะช่วยได้ ดีชั่วอยู่ที่ตน จริงไหม ? ถ้าจะพูดเป็นครั้งที่สี่ ที่ห้า แล้วจะทำความรำคาญเปล่า ต้องยกเป็นกรรมไป
☺ที่ฉันพูดมานี้ อนุญาตให้เธอนำไปปฏิบัติได้นะ เป็นแนวของอุเบกขาประการหนึ่ง

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 17/7/10 at 15:03 [ QUOTE ]




34

คำเทศน์ของ ท่านพระอนุรุทธ


21 กันยายน 2521

☺ที่พวกเธอฝึกกันนั้น ขอให้ตั้งใจที่คำภาวนาอย่างเดียว อย่าไปสนใจว่ากายจะโคลงจะแกว่งไปมาอย่างใด อย่าให้จิตหลุดจากคำภาวนามาสนใจเรื่องภายนอก ปิดตา ปิดหู ปิดประสาทเสีย จงตั้งใจให้แน่วแน่ว่า อธิษฐาน

☻ (ถาม – คำภาวนา จะท่องเร็วหรือช้าอย่างไร ?)
☺บางคนถนัดจับอานาปาฯ ก็ให้คำภาวนาเป็นไปตามอานาปาฯ ด้วยตามถนัด บางคนชอบนิมิตภาพพระ หรือครูอาจารย์ ก็ให้จับภาพนิมิตไว้พร้อมกับคำภาวนา ไม่ว่าจะมีแสง สี อิริยาบถใดๆ ก็ตาม จงอย่าทิ้งคำภาวนา

☻ (ถาม – นั่งขัดสมาธินานไม่ได้)
☺สำหรับคนร่างกายอย่างเธอนั้น อาจเป็นอุปสรรคในการทำสมาธิ รวบรวมสติในคำภาวนา ควรจะนั่งโต๊ะหรือเก้าอี้ห้อยขาได้ เมื่อร่ายกายไม่ทรมานแล้ว อารมณ์ง่วงไม่มี จิตยึดคำภาวนา จะเข้าสู่สมาธิ – ฌานเอง แต่ไม่ใช่พิงหลังนะ
• จิตที่ทดสอบอารมณ์ต่างๆ ของพวกเธอทั้งหลายนั้น ส่วนมากก้าวหน้า แต่ส่วนบางคนค่อยๆ ก้าวทีละน้อย บางครั้งก็เร็ว ตามแต่สติจะเตือน มีอะไรถามไหม ?

☻ (ถาม – เมื่อเกิดอาการหวิว ก็ช่วยไม่ได้ที่จะต้องรู้สึกอาการของร่างกาย)
รู้ได้ สติต้องรู้ แต่อย่าไปจับ และอย่าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ จับแต่คำภาวนาตามข้างต้น

คนที่ 1
☻ (ถาม – เวลาทำงานพลาด จิตจะตกไปด้วย)
☺ความผิดเป็นสิ่งธรรมดาที่จะต้องมีสำหรับคน แต่มูลเหตุของการทำผิดว่าได้ 2 สถานคือ รู้ว่าทำผิด กับไม่รู้ว่าทำผิด ฉะนั้นการที่จะประกอบกิจหรืองานใดๆ ก็อย่าประมาท จงระวังไว้ด้วยกาย วาจา ใจ ให้สำนึกถึงกิเลส 3 ตัว คือ โลภะ โทสะ โมหะ ดีความให้แตกฉาน จงนำไปใช้ รู้ และระวังในสามสิ่งนี้
• บวชพระเสียองค์หนึ่ง เร็วๆ นี้นะ (ผู้ถามคนนี้มีอุบัติเหตุรถชนติดกันหลายครั้ง)

คนที่ 2
☻ (ถาม – เวลานั่งภาวนา นะมะพะธะ จะเปลี่ยนใช้พุทโธได้ไหม ?)
☺จะหาดีสักอย่างหนึ่ง ก็ต้องเอาเสีย 1 อย่าง
☻ (ถาม – คือบทไหนก็เอาเข้าบทหนึ่ง ?)
☺เออ
☻ (ถาม – พุทโธ ถอดจิตได้หรือ ?)
☺ได้

คนที่ 3
☺อยากไปข้างบนมากหรือ ?
☻ (ตอบ – อยาก)
☺ท่านโกริกะภัจจ์ บอกให้ฉันช่วย (ท่านนี้เป็นบุตรท่านโกมารภัจจ์ มีความสัมพันธ์กับผู้ถาม)
☻ (ถาม – ช่วยยังไง ?)

☺นี่ไง กำลังสอบจิต – สอบกรรมอยู่
ที่ยังติด (อยู่) ก็ด้วย
1. เพราะ เราเป็นคนสงสัย
2. ห่วงในอาการ (ของกาย) และการไป (จิตออก)
3. ยังติดในความอยาก ทำให้เมื่อจิตถึงสมาธิมีอาการเริ่มดีแล้วตื่น (เต้น)
ทำไป เมื่อรู้ (ข้อบกพร่อง) แล้วตั้งใจใหม่ คิดไว้ว่าเราเพ่งคำภาวนาซิ จงปล่อยวางสมาธิ ไป (นอกร่าง) ได้ก็ดี ถ้าไปไม่ได้ก็ไม่ไป
• มันยากนะ เพราะการหวังของคนนี้จะฝังลึกลงไปในใจ จะโผล่เมื่อเรารู้ขั้นตอนของสมาธิ และอาการที่เป็นไปแล้วจะทำลายอารมณ์สมาธิหมด เพราะ (ความ) อยาก จิตจึงไม่นิ่ง

☻ (ถาม – ภาวนาเวลานอนเป็นอย่างไร ?)
☺ภาวนาเวลานอนนั้น มี 2 เหตุ
1. ถ้าหลับในขณะที่ร่างกายยังไม่เพลีย หรือเป็นการพักหยุดของร่าง นั่นแหละสติจะดำรงอยู่ คำภาวนาจะเป็นไปตามขั้นกำลังสมาธิ
2. ถ้าร่างกายต้องการพัก ไม่ต้องกล่าวต่อ หลับ (เสีย)

☺การรู้ขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อถอดจิตนี้ มีเหตุทั้งดีและไม่ดี คือรู้แล้วใช้ทำปฏิบัติไปเพื่อแก้ไข เพื่อไม่ให้หลง นี่เป็นทางดี แต่รู้แล้วเมื่อเกิดอาการขึ้นจะทำให้รู้อาการของขั้นตอนก่อนดักหน้า และรู้ขั้นต่อไปก่อนอาการเกิดเสียอีก นั่นจะเป็นอุปสรรคให้เรายังวนอยู่ในกรรมฐาน เปรียบดังที่ว่าคนไม่รู้ คนโง่ ทำอะไรไปก็เร็วกว่าคนที่ฉลาด รู้มากเพราะคนที่ไม่รู้นั้นเขาให้ทำอะไรก็ทำไปตามนั้น ส่วนคนรู้มากขึ้น เขาให้ตรง แต่ก็ไปเลี้ยวซ้ายบ้างขวาบ้างเสียลำบากนะ
☻ (ถาม – ที่สอนมานี้สำหรับมโนมยิทธิอย่างเดียวหรือ ?)
☺รวม

◄ll กลับสู่สารบัญ



35

คำเทศน์ของ ท่านพระอุปคุต


23 กรกฎาคม 2518

☺ขอบิณฑบาตดอกบัว แล้วเทศน์
วันใดมีพระอริยะตั้งแต่อรหันต์เจ้า อนาคามีเจ้า สกิทาคามีเจ้า โสดาเจ้า พรหมโลกเทวโลก เป็นลำดับ จะมีพระที่ทรงอาวุโสทางธรรมเท่านั้นเทศน์ เป็นเทศน์กัณฑ์ใหญ่ โปรดวิสัชนาเพียงองค์เดียวเท่านั้น
☺พึงสังเกตว่า วันใดที่พระอรหันต์เจ้าอยู่ จะไม่มีองค์ใดก้าวก่ายสอนแทน เพราะองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดหัวข้อเทศน์ไว้ พระอรหันต์ทุกองค์ที่จะแสดงธรรมโปรดสัตว์ได้ ต้องทราบหัวข้อก่อนจากองค์พระจอมไตร

สอนแต่ละบุคคล
☺ “พระ” แปลว่าดี ขัดพระ แต่งพระให้สวยได้ก็ขอให้ขัดใจ แต่งใจให้สวยตามพระ
อ่านมาก ฟังมาก คิดให้มาก ตรองให้มาก
ปล่อยไป อย่าไปจับ อย่าไปติด พยายามทำขึ้นไปเรื่อยๆ อาตมาขอใช้คำว่า “ดี”

(ถามองค์ต่อไป)
☻ (ถาม – เขาว่าพระอุปคุต ยังไม่ปรินิพพาน จริงหรือ ?)
☺เข้าใจถามนี่ เมื่อกี้ไง
☻ (ตอบ – ไม่กล้าถาม เพราะเห็นเป็นกาลสำหรับฟังธรรม)
☺ท่านล่ะ !

15 มิถุนายน 2520

☺ตั้งใจรับพร
• นิพพานัง ปัจจโยโหตุ
☻ (ถาม – ผ้าไตรที่นำมาถวาย จะโปรดอย่างไร ?)
☺บูชาพระด้วยศรัทธาบารมี ได้ถึงซึ่งสังฆทานอานิสงส์
☻ (ถาม – แล้วดอกบัว)
☺แบ่งกันไปไหวพระแทนเราด้วย
☻ (ถาม – ขอประทานเรื่องที่อยู่)
☺ถิ่นอาศัยอยู่โพ้นทะเล ในระหว่างทางจะลงไปบาดาล คนที่เคยลงไปบาดาลจะพบที่อยู่ของเรา

☻ (ถาม – ท่านยังไม่นิพพานหรือ ?)
☺รอรับพระศรีอาริยเมตไตรย์ลงจุติ เรามีหน้าที่จัดการล่วงหน้าให้สำหรับพระมหาบุรุษ
☻ (ถาม – ท่านเคยมาโปรดมนุษย์ไหม ?)
☺ทุกวันพุธ วันพระ 14-15 ค่ำ
☻ (ตอบ – ที่หลวงปูว่า ?)
☺เคย คำถามนี้ อย่าได้ถามเป็น 2 พระนั้นศีลบริสุทธิ์
☻ (ถาม – ที่ท่านอาศัยอยู่ขณะนี้มีบริวารหรือ ?)
☺มีเทพ ท่านมเหสักขาดูแลเรา

☻ (ถาม – มีนาคอยู่ในบาดาลหรือ ?)
☺พญานาคราชเป็นอีกโลกหนึ่ง
☻ (ถาม – เป็นโลกทิพย์ หรือว่าโลกกลวงอยู่ข้างล่าง ?)
☺กายเนื้อเช่นเรา แต่ละเอียดกว่า ไม่ถึงกับเป็นทิพย์ เห็นลางๆ เหมือนหมอกควัน
☻ (ถาม – ท่านเคยพบหลวงพ่อไหม ?)
☺เคย
☻ (ถาม – หลวงพ่อลงไปหรือว่าท่านมาพบข้างบน ?)
☺ไป

☻ (ถาม – พวกพญานาคขึ้นมาข้างบนบ้างหรือเปล่า ?)
☺มาได้ แต่เขาไม่ยุ่ง
☻ (ถาม – เป็นคนละพวกกับบริวารท่านวิรูปักษ์หรือ ?)
☺พวกนาคราช เป็นภพๆ หนึ่ง
☻ (ถาม – มีการขบฉัน เหมือนพวกเราข้างบน ?)
☺มี พวกพญานาคราชก็เช่นเรา
☻ (ถาม – พญานาคราช กายเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือเป็นรูปคน ?)
☺เมื่อเขาจะแปลงเป็นกายหยาบเช่นเรา นาคจริงๆ เขากึ่งเทพกึ่งคน

☻ (ถาม – งูที่เห็นที่งานวัด เป็นพญานาคราชหรือ ?)
☺ใช่ ในสมัยพระสมณเจ้านั้น ยังมีนาคราชแปลงมาบวชเป็นพระ
☻ (ถาม – ทำบุญอะไรจึงเป็นกึ่งเทพ กึ่งคน ?)
☺ทำเดรัจฉานวิชา คนเวลาตายก็อาจเป็นนาคราชได้ คนหนึ่ง เทพหนึ่ง นาคหนึ่ง พวกนี้มีภพ มีภูมิต่างกัน
☻ (ถาม – ตอนที่นิมนต์ท่านทำสังคายนานั้น สมัยพระเจ้าอโศก ?)
☺ใช่ ครั้งที่ 2 ครั้งแรก 3 ปี พระยามาราธิราชจะปองเอาพระบรมสารีริกธาตุไว้ในครอบครอง เพื่อที่จะไม่ให้พุทธศาสนิกชนมีไว้นมัสการ หลังจากพระบรมสุคตเสด็จดับขันธ์ได้ 3 ปี
☻ (ถาม – เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชให้เณรอัญเชิญมา ?)
☺ใช่ สังคายนาทั้งหมด 3 ครั้ง

☻ (ถาม – ท่านเป็นพระอรหันต์สมัยพระพุทธองค์ แล้วอธิษฐานอายุยืน และได้ร่วมสังคายนาทุกครั้ง ?)
☺ใช่
(นิมนต์ท่านเทศน์)
☺ได้ฟังกันแล้ว
• ธรรมะใดๆ ที่สอนให้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง ขอให้ธรรมะนั้นจงสถิตสถาพรต่อเธอทั้งหลาย ผู้มุ่งมั่นหาความหลุดพ้น เพื่อสัจธรรมในพระนิพพาน ลา

หมายเหตุของผู้บันทึก

ที่ว่าเห็นงูในงานวันนั้นคือ ขณะที่พระกำลังทำสังฆกรรมในโบสถ์ในตอนกลางคืน มีงูเลื้อยอยู่บนผ้าห่มพระประธานแล้วชูคอดูพระทำพิธี ข้อนี้ทำให้รู้สึกแปลก เพราะงูไม่ควรเข้าไปในโบสถ์ได้ เพราะพื้นเป็นหินอ่อน งูเลื้อยเข้าไปยาก

อีกเหตุการณ์หนึ่งในงานเดียวกัน คืองูเกาะอยู่บนซี่ร่มชายหาดที่วางในงานวัด คนพูดไม่ดีก็ทำท่านจะกัด และมีคนเห็นว่างูนี้กระพริบตาปริบ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงนึกออกว่างูเป็นสัตว์ไม่มีหนังตา กระพริบตาย่อมไม่ได้

21 พฤศจิกายน 2522

☺สูญสิ้นที่ใจ สลายสิ้นที่กาย มลายมอดไป นั้นคือรูปลวง
• ธรรมะทั้งหลาย มีใจเป็นนาย น้ำใจให้กลาย เป็นธรรมอันงาม
• ตามใจในจิต เพ่งคิดเป็นนิจ จิตจะผ่องใส
• ในกายในจิต มีใจเพ่งพิศ จิตนั้นรู้ดี
• ว่ามีสติ แลเห็นปัญหา เป็นไฟส่องทาง แนะทางเธอไป รู้พระนิพพาน
• ขอจงเป็นนิมิตที่ดี ให้เธอทั้งหลาย ได้คลายทุกข์โศก
•ทั้งหมดนี้เป็นพระที่อยากให้กับผู้มุ่งหวังธรรมะเป็นชีพ เป็นอัตตะของตนให้พ้นทุกข์รับสุขตลอดไป จงตั้งจิตมั่นที่จะอธิษฐานขอพระในทิพยสถาน ในทิพยจักขุญาณ
☺ “อุปคุต”

◄ll กลับสู่สารบัญ


36

คำเทศน์ของท่านพระมหากัจจายนะ


15 มิถุนายน 2520

☺เป็นอย่างไร ?
☻ (ถาม – ทำไมตอนนี้เจ็บป่วยกันหลายคน ?)
☺ของธรรมดาโลก ต้องมีคนนินทา หาว่าไปทำบุญมาแล้วทำไมยังทุกข์ กาย กินใจ
☻ (ถาม – องค์ที่มาเทศน์เมื่อกี้คือสมเด็จพระพุทธทีปังกรหรือ ?)
☺ใช่
☺ฉัน พระพุงโร

☻ (ถาม – ขอประทานประวัติย่อๆ)
☺เล่าแล้วเขาก็ยังทำพุงโตอยู่ดี ทุกคน (ที่นี่) เป็นลูกหลานทั้งนั้น มีอะไรยังข้องแวะอยู่ไหม ?
☻ (ถาม – ที่มีรูปปั้นเด็กเกาะ มีความหมายว่าอย่างไร ?)
☺มีหลายความหมาย รูปฉันนั้น ความจริงไม่โตอะไรมาก แต่บางแห่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสุข กินอิ่ม อารมณ์ดี
☻ (ถาม – ฝันเห็นพระ)
☺พระพุทธนะ ? ปฏิบัติแล้วจะพบ ตัดอกุศล ตัวอวิชชา รู้ไหม อวิชชา ความไม่ดี อวิชชา คือ
•ความรู้ไม่จริง
•เวร แปลว่า วาระ
•กรรม แปลว่า การกระทำ
•ฉะนั้น เวรกรรมหรือกรรมเวร แปลว่าวาระของกรรมที่เวียนมา

☻ (ถาม – ทำไมจึงว่า อิทธิบาท 4 ซึ่งฟังแล้วก็เป็นการปฏิบัติธรรมดา เมื่อทำให้มากแล้วมีอิทธิฤทธิ์ และอธิษฐานให้อายุยืนเป็นกัปได้ ?)
☺ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นปัจจัยในการบำเพ็ญพรตภาวนา ศีล สมาธิในกองกสิณ รวมเป็นวิชชา 3 อภิญญา 6 ถึง 8 มีพวกนี้แล้วอธิษฐาน (อายุ) ได้ซิ
☻ (ถาม – ท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิหรือ ?)
☺ใช่
☻ (ถาม – แล้วลาออกเสียเมื่อไร ?)
☺พระสมณโคดม
☻ (ถาม – อะไรทำให้ท่านเปลี่ยนใจ ?)
☺ทุกข์หนัก ทุกข์ในทางโลก ฉันทำปัญญาธิกะ

☻ (ถาม – จะมีข้อธรรมอะไรต่อต้านเรื่องอย่างนี้ได้ ?)
☺อยู่ที่ปรารถนาบารมีอะไร ทางปัญญาธิกะนั้น ต้องรู้ให้จริง รู้มาก รู้ลึกซึ้ง บังเอิญฉันรู้เกินไป เลยลา
☺อยากบูชาพระกลางสมุทรไหม ?
☻ (ถาม – ท่านพระอุปคุตหรือ ท่านยังไม่มรณภาพ ใช่หรือไม่ ?)
☺ใช่ ดอกบัวขาว
☺ปัญญาธิกะ บารมีทำยาก ใครจบภาระในสงฆ์ก็มักเป็นปฏิสัมภิทา

◄ll กลับสู่สารบัญ



37

คำเทศน์ของ ท่านพระสิวลี


☺การที่นั่งปฏิบัติกุศลกันอยู่นี้ ขอให้ตั้งจิตมั่นในการคงล้างซึ่งภาวะแห่งทุกข์ที่เธอได้ประสบพบเห็น พิจารณาให้เป็นปกติว่านี้เป็นกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ จำไว้เสมอว่าสิ่งที่จะต้องพบเจอ คือ รักเป็นทุกข์ พลาดรักเป็นทุกข์ ทุกข์จากการเกิด ทุกข์จากการแก่ ทุกข์จากการตาย เหล่านี้เป็นสิ่งที่แน่นอนในชีวิตของทุกคน

☺ ฉะนั้น อย่าได้หลงใหล ห่วง หวง ในกฎแห่งธรรมชาติ จงให้รู้อยู่ว่าเราทุกคนเกิดมาเพื่ออะไร จะต้องทำอะไรบ้างในขณะที่ทรงชีวิต แล้วจะต้องการอะไรในขณะที่จะหมดชีวิต และสุดท้ายคือจะต้องรู้ว่า เมื่อหมดชีวิตแล้วจะทำอะไรจะไปแห่งใด ปัญหาเหล่านี้เพียรถามตัวเองอยู่เสมอ แล้วจะรู้กำหนดในเวลาให้มีคุณค่า

☺นี่ล่ะนะ อย่าได้ประมาทต่อเวลา จะเพียรในธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ ก็จะต้องพยายามทำที่จิต ไม่ใช่ปล่อยให้เวลาหมดไป
•ต่อแต่นี้ไป ทุกอย่างมีภัย ขอให้ระวัง
•นะ นะ นา ยะ ปะ อิติสุ ปัทวาโหตุ

◄ll กลับสู่สารบัญ



38

คำเทศน์ของ “ท่านพระองคุลิมาล”


21 กรกฎาคม 2515

ตอบเรื่องอารมณ์เปลี่ยนสี
☺อารมณ์คนมีหลายสี ดี สีก็เย็น โกรธ สีก็ร้อน มันก็มีสีอ่อนสีแก่
•ตาเองก็เช่นกัน ปางที่จะมาปะพบองค์พระตถาคตก็ด้วยบารมีของปิตามาตา อารมณ์ในระยะที่ต้องการความสำเร็จ เก่งกาจในวิชาก็ทำให้หน้ามืดตามัวเหมือนกัน ฉะนั้น สติกับบุพกรรม เป็นเหตุอันพึงต้องยอมรับไว้ในใจตน เพื่อให้อภัยแก่บุคคลซึ่งทำให้เราเร่ารอน คนที่พิจารณาได้ เข็ดหลาบโดยไม่ย้อนถึงความเดิมได้นั้น

•นับว่าเป็นคนที่มีขันติอดกลั้นแรงมาก และคนที่จะทำเช่นนั้นได้ ต้องมีสติความระลึกสัมปชัญญะความรู้อยู่ และทำได้อยู่พร้อมทั้งสองสิ่ง นับว่าบุคคลผู้นั้นกำลังดำเนินอยู่ในฌานโดยไม่รู้ตัว ฌาน หมายถึงอารมณ์สงบ
☺ฌาน แค่งูแลบลิ้น ก็เป็นอานิสงส์อยู่มหาศาล
☺ตาน่ะ ฆ่าคนนับพัน

☻ (ถาม – แล้วสงบใจได้ยังไง ?)
☺บุพกรรม บุพกรรมที่เขาเคยทำกับอาตมา
•ไม่จำเป็นที่เราจะยึดความชั่วไว้ในจิตของเรา บารมีของบิดามารดาคุ้มเราให้พ้นภัยอันตรายได้ ตาพูดได้อย่างแน่เลยว่า ปิตามาตานั้น ที่ดีที่แท้ ที่บริสุทธิ์ก็เหมือนกับพระพุทธเจ้าองค์น้อยๆ ของบุตรนั้นเอง ถ้าตาไม่ฆ่ามาตาก็คงไม่ได้พบกับองค์ตถาคต ถ้าตาไม่พบองค์ตถาคต ตาก็ไม่เห็นธรรมอันวิเศษ สืบย้อนไปจากเรื่องฆ่ามาตานั้นเอง

◄ll กลับสู่สารบัญ



39

คำเทศน์ของ “ท่านชีวกโกมารภัจจ์”


12 พฤษภาคม 2517

ตอบคำถามเรื่องยา
☺ยาแช่เท้าที่เจ็บเหมือนกระดูกงอก
•ยี่หร่า รากไม้จันทร์ เกลือตัวผู้ และขมิ้นขาวอย่างละ 2 บาท (น้ำหนัก)
☺ยาแก้ปวดท้อง
• ดอกคำฝอย
• ยาแก้นิ่ว
• มะระต้มทานทั้งน้ำทั้งเนื้อ (มะระจีน) 2 ผลต้มเละ กิน 7 วัน ใส่เกลือได้ ห้ามผสมเนื้อ

☺ยาตา
• กินผักบุ้งจีน
☺ปวดหลัง
• ไม้ตะพด (หลวงปู่แช่ม) ฟาด กด ดัดหลัง เอาไม้สอดระหว่างแขน
☺ตาต้อ
• ใบผักบุ้งจีนทั้งราก ต้ม เหลือแต่น้ำของมัน เอามาประคบตา

22 กันยายน 2518

สอนเด็กหนุ่มที่เป็นหมอในการบนเพื่อรักษาขา
☻ประทานกราบเรียนด้วย ว่าการจะอุทิศกำลังกายใจเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ ในการจรรโลงคุณทางแพทย์ โดยการรักษาผู้ที่ตกทุกข์ทางเจ็บป่วย
☺อย่าเห็นเป็นการเบื่อหน่ายที่ท่านเตือนบ่อย พูดบ่อย อย่าทำให้ใจเขวล่ะ ท่านทำเพราะหวังให้ลูกหลายไม่ต้องประสบชะตากรรมที่เป็นทุกข์อีก จำไว้นะ
•ความเบื่อ ความทุกข์ ความวุ่นวายใจ อยู่ที่เราเป็นคนสร้างเอง ยิ่งคิด ยิ่งอยาก ก็ยิ่งกลัดกลุ้ม ทำไมเราถึงอยากจมในกองทุกข์นักนะ
•อดีต คือความเศร้า ที่จะดึงให้กลับมาไม่ได้
•อนาคต คือความเพ้อฝันที่ทำให้ทะเยอทะยานไขว่คว้า

สอนเด็กหนุ่มอีกคนหนึ่ง
☺จงพยายามหักห้ามใจในสิ่งต่างๆ จงฟันฝ่าอุปสรรค แม้จะมาทั้งทางกายใจ จงยึดมั่นในความดี ในความคิดอันประกอบด้วยเหตุผล แล้วจะมีสติที่จะทำงานต่างๆ เป็นกำลังใจและพลังอันแข็งแกร่งแก่ตนนะลูก

28 มิถุนายน 2520

☺การทำบุญนั้น ต้องทำด้วยแรงศรัทธา จะมีได้ก็เพราะกำลังใจคือความเต็มใจ ฉะนั้นสิ่งใดที่ทำด้วยความไม่เต็มใจแล้ว อย่าทำดีกว่าเพราะจิตจะขุ่นมัว เป็นอกุศล และเราเรียกร้องให้ผู้ใดทำบุญมีจิตขุ่น หรือทำเพราะรำคาญนั้น เราจะมีบาปทางใจ
•จงทำอะไร และให้คนอื่นทำอะไรเพื่อบุญ ต้องมีศรัทธาเป็นแรงใหญ่
☺ฉัน ชีวกโกมารภัจจ์

◄ll กลับสู่สารบัญ



40

คำเทศน์ของสมเด็จ พุฒาจารย์โต


21 เมษายน 2517

กับเด็กที่ขอพระ
☺เอาไปทำไมกันมากมาย สอบไม่ดีแต่ขอให้ประพฤติดี พอแล้ว ทำตัวให้สมกับเราฟังธรรมอยู่บ่อยๆ ฉันชื่นใจแล้ว ทุกคนเกิดมา หน้าที่จะต้องทำจงทำให้ดีที่สุด แล้วเราจะบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ ฉันพูดง่ายๆ สั้นๆ จงไปคิดขยายกันเอง

กับผู้บำเพ็ญทางพุทธภูมิ
☺การเสียสละ เป็นบารมีบุญอันเลิศล้ำนะแดง
• ดีแล้ว บางทีจะได้เป็นตัวกลางให้พุทธบริษัททั้งหลายได้ฟังธรรม ขอให้อุทิศตัวเพื่อเขาทั้งหลายด้วย
• เชื่อฉันเถิด คนดีไม่ต้องแสดง คนเขาเห็นเอง ถึงแม้ว่าจะปิดทองหลังพระก็ตาม
• นั่งทำไปเถิด จะได้ไปอยู่ดุสิตกับฉันเร็วๆ
•อันพระโพธิสัตว์นั้น ท่านต้องเป็นไปด้วยความเสียสละ อดทน จำไว้สองข้อที่บอกนะ หลักใหญ่

30 สิงหาคม 2517

กับหลายคน
☺ ปั้นปลายชีวิตคนเรา รู้หรือว่ามาเมื่อไร่ ฉะนั้น เมื่อมีโอกาสควรหากำไรแห่งชีวิต จะเอาสรณะเป็นที่ตั้ง หรือเอาโลกสุขเป็นที่ตั้ง
• คนเราเกิดมาก็มีอยู่เท่านี้ จะเอาอะไรมามาก ทุกอย่างเป็นอนิจจังไม่เที่ยงนะ เธอผมดำก็ได้ ขาวก็ได้ อย่าเอาอะไรแน่กับสังขาร อย่าไปรัก หลง ในสังขาร แต่งไปตามสังคม เราก็เท่านี้นะ หาความสุขอื่นที่ยืนนานดีกว่า สุขนั้นมีอะไร เธอจงค้นหา นับวันเวลาของเราก็น้อย สุขเถอะนะ
☻ (ถาม – ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร ?)
☺ “ชินะปัญชร”

8 กันยายน 2517

ประทับทรง
☺การประพฤติผิดในกาม ไม่สะดวกสบาย ต้องไปขโมยเขากิน
• การมุสา นี่ต้องคิดวางกลอุบาย ต้องหลอกล่อทางโน้นทางนี้ ทางนั้น มันสบายไหม ถ้าพูดกับเขาตรงๆ มันก็สบายใจ
• ข้อสุราเมรัย อันนี้เทศน์เราเท่านั้น สุราดื่มแล้วทำให้ร้อน มึนงง ก่อนจะไหลลงไปมันร้อน เผ็ด ขม ไม่อร่อย กินให้มันทรมานกาย กินแล้วไม่มีสติ คนมีสติเขาเห็นไม่เป็นประโยชน์ กินแล้ว ไม่มีความรับผิดชอบในตัวเราเอง

• ศีล 5 ข้อนี่มันไม่ยาก ไม่ได้ลำบาก ใครๆ ก็ร้องว่าแก่ เชย ไม่ใช่ของหรูหรา
• พูดไปเข้าหู รู้ จำ รู้กับเห็นไม่เหมือนกัน รู้ว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แม่บทเขามีมาอย่างนั้นๆ เปล่า ทำจริงๆ ไม่เห็นเป็นด้วยสำคัญที่เห็น เยอะนะ พูดก็รู้นะ พูดอะไรมาก็รู้ แต่ไม่เคยทำ อันนี้ไม่ต้องบอก เธอมีเวลามาก พอไตร่ตรองไป พิจารณาไปก็เห็นจริงได้เอง

• การกระทำตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร การกระทำที่ต้องแก้ไขมีอะไรบ้าง เวลาว่างสบายๆ ให้ดูตัวเราเสียก่อนค่อยดูคนอื่นค่อยอุ้มชูคนอื่นเขา ไม่ใช่เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาฝากไว้กับตน การงานก็ทำอย่างนั้นๆ คิดไปทีละขั้นละตอน แต่เวลาที่ไม่ต้องทำก็คิดไตร่ตรองให้เปรียบเหมือนกระจกเงาส่องตัว
• อย่าลืมพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา พวกเธอมีนะ แต่อุเบกขายังด้อย

• จากง่ายไปหายาก เมตตาก็แค่ใส่ปาก กรุณาแค่กลืน มุทิตาฟังเสียมันดูซิ มันลงไปมีเสียงดังไหม กลืนเข้าไปแล้ว อุเบกขา ดูซิมันย่อยไหม หรือว่ามันหายไปไหน
• พรหมวิหาร 4 เป็นหลักเบื้องต้น เข้าไปจนถึงเจริญพระกรรมฐาน
• ฉันหวังว่าเธอทุกคน เจริญด้วย ศีล สมาธิ สติ และปัญญา

6 เมษายน 2521

☺ว่าไงนักปฏิบัติธรรม ได้ธรรมหรือยัง เป็นอย่างไรกันบ้าง
• ฉัน โต ไม่บอกชื่อเดี๋ยวจะไม่กล้าถาม
• ขยันพิจารณาอาหารบ้างหรือเปล่าๆ อย่าไปพิจารณาเรื่องชาวบ้านเขามากนัก เดี๋ยวเขาจะได้ธรรมก่อนตรงที่เราไปพิจารณาเขา จงพิจารณาตัวเราเองดีกว่า ดูตั้งแต่ชีวิตประจำวันของเรา สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการกิน จะเรียกให้เพราะๆ ว่าบริโภค ที่เรากินกันอยู่ทุกวันทุกเวลานั้น พิจารณากันบ้างไหม

• บางคนสงสัยว่าเวลากินจะพิจารณาอย่างไร จะทำได้อย่างง่ายๆ คือคนเราจะกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง ล้วนเป็นอุปมาทั้งสิ้น และเป็นอุปาทานสิ้นดี อุปาทานว่าของนี้หอมหวานอร่อย
• อะไรที่เรียกว่าอร่อย ? อะไรที่เรียกว่าหอม ? รู้ไหม ตัวอุปาทานไงล่ะเป็นตัวตั้งขึ้นมา ทำไมหมูที่เรากินกันมันก็ตายไปแล้ว แล้วมาปรุงกิน ชมว่าหอมเอย อร่อยเอยแล้ว เปรียบกับหมูที่มันนอนตายอืดเล่า เหมือนกันไหม ศพใช่ไหม ? แต่ใจคนเรามักนิยมว่าเหม็น ไม่อร่อย เคยลองกินไหม แล้วก็ไปอุปาทานกับมัน

• ทีนี้มาเข้าเรื่องการกินที่ว่าอร่อย หอม นั้น ขึ้นด้วยใจอุปาทานจึงเป็นอกุศลจิตชนิดหนึ่ง เมื่อเรามานั่งที่เพื่อจะลงมือกินนั้น ขอให้นั่งมองอาหาร พิจารณาอาหารสักพักหนึ่งก่อนที่จะตัก ตะครุบมันเข้าปากจนหลงรสไป เมื่อนั่งพิจารณาให้ดูอาหารนั้นว่ามีอะไร ก็คงมีเนื้อสัตว์กับพืชผักนั่นแหละ ลองมามองดู เอาสัตว์ก่อน เมื่อเราเห็นเนื้อสัตว์ จงให้นึกถึงรูปสัตว์ชนิดนั้น ให้ความคิดมโนภาพของเราเห็นมันวิ่งได้ด้วยนะว่ามันเป็นอย่างไร

• เช่นหมู ก็ต้องนึกว่าเป็นอยู่อย่างไร วัวควายนั้นเป็นอยู่บริบูรณ์ สะอาดอย่างไร แล้วนึกมาถึงตอนตายเป็นสภาพอย่างไร แล้วนึกถึงตอนที่เราชำแหละนั้นเป็นอย่างไร มันก็ศพดีๆ นั่นเอง แล้วลองชำเลืองมาดูพืชผักบ้างว่ามันเป็นอย่างไร เวลาตายมันก็เน่า เช่นพืช เมื่อตายแล้วหมักอยู่ในน้ำนั้น เหม็นไหม หอมไหม เปรียบเทียบกับอีตอนที่เรากิน

• เมื่อพิจารณาความเป็นมาของอาหารทั้งหลายจนท้อใจแล้ว ก็จงพิจารณาว่าเรานั้นไม่ผิดแผกแตกต่างกับของเหล่านี้ จึงต้องจัดว่าเป็นพวกเดียว สมควรที่จะต้องบริโภคหรือกินมันเพื่อความคงอยู่ของสังขาร มันคือดิน กินดินก็เป็นดิน กินน้ำก็เป็นน้ำ กินลมก็เป็นลม กินไฟก็เป็นไฟ

• พิจารณาทบหลังนี้ เพื่อไม่ให้เกิดอุปาทานซ้ำว่ากินไม่ลง เมื่อถึงคราวบริโภคแล้วก็ต้องพิจารณาดูว่าร่างกายเราพอหรือยัง ไม่ใช่กินเพราะอุปาทานว่าอร่อย ไม่ใช่กินเพราะตัณหาความต้องการ ไม่ใช่กินเพื่อกิเลส ความอยาก ความโลภ เหล่านี้ พิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งแท้ ของจริงทุกครั้ง ปู่รับรองว่าคนที่อ้วนก็จะลดเอง อย่าอ้วนด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน แล้วใจเราจะน้อมนำมาซึ่งการพิจารณาของอายตนะ

• เย็นนี้กินข้างลงไหม ? จำไว้เถอะว่าทุกครั้งที่เราบริโภค ก็ให้คิดว่าบริโภคเพื่อสังขาร สังขารมีไว้ทำบุญ และสังขารนั้นคือพระธรรม
• ขอให้ทุกคนเริ่มพิจารณาจุดละเอียดให้บ่อยขึ้น จุดละเอียดของเรานะ ไม่ใช่ของชาวบ้าน และในที่สุดของการเยือนครั้งนี้ ปู่ขอให้ทุกคนดำเนินรอยตามพระพุทธองค์เพื่อพ้นทุกข์พ้นภพชาติกันเสียที
•ผู้ใดที่ปรารภ ปรารถนาจะสอนจะพาผู้คนตั้งตนให้อยู่ในพุทธภูมินั้น จงตั้งตนทดสอบความเป็นครูต่อไป

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/7/10 at 14:37 [ QUOTE ]




41

คำเทศน์ของ “ท่านมาลัย”


☺ (ท่านมาลัย คือพญามาราธิราช สมัยพระพุทธเจ้า ความจริงท่านก็ปรารถนาพุทธภูมิ สมัยนั้นกลั่นแกล้งพระพุทธเจ้าด้วยประการต่างๆ ซึ่งหลวงพ่อบอกว่าท่านมาลัยพูดว่า ท่านเขลาไป เกรงพระพุทธเจ้าจะโปรดมนุษย์ไปนิพพานหมด สมัยท่านเองตรัสรู้จะไม่มีมนุษย์ให้โปรด เดี๋ยวนี้ท่านดีแล้ว
☺ หรือจะเป็นพระมาลัยองค์ที่ไปโปรดสัตว์ในนรกก็ไม่ทราบ”

22 กันยายน 2518

☻ (ถาม – ท่านมีอะไรรับสั่ง ?)
☺ ก็ดีนี่ เป็นฉันใดรึ ?
☻ (ถาม – รับสั่งกับใคร ?)
☺ ทุกๆ นาม
☻ (ถาม – ความหม่นหมองในดวงจิตไม่มีรึ ?)
☺ ก็มีอยู่บ้าง น่าสงสารพวกนอกขอบเขตนะ

☻ (ถาม – ขอบเขตอะไร ?)
☺ พระศาสนา
☻ (ถาม – คนพวกนั้นเขาว่าศาสนาเขาดี)
☺ ถ้าทั้งหลายๆ คนได้เห็น พบ เจอในอบายภูมิแล้ว ก็น่าสลดใจ

☺ มนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมมีกิเลส ติดตา ติดใจ เราจะสละกิเลสนั้นได้ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ สติ ปัญญา ของตัวเราเองเป็นที่ตั้ง เพื่อขจัดอวิชชาทั้งหลายที่มีทั้งรูปธรรมนามธรรมแล้วชำระ ชำแหละจิตตัวเราขึ้นมาดู ขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรอง หาเหตุ ข้อมูลแห่งเหตุ แล้วนำผลที่ได้ด้วยปัญญา สติ สมาธิ มาปฏิบัติ กระทำโดยมีศีลเป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งการกระทำ

• แล้วเธอจะเห็นว่าทุกๆ สิ่งทั้งหลายบนพื้นพิภพนี้ ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น คือมีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และเพื่อประสงค์ความสุข ก็ต้องนำองค์สี่ประการมาขยาย คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ปฏิบัติโดยมรรค 8 ประการ เจริญด้วยขันธ์ 5 พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมดาที่เธอจะปฏิบัติกันได้ง่ายๆ แล้วความสมหวังจะประสบกับตน

• เท่านี้พอเป็นเครื่องชั่งจิต ชำระจิตให้ละราคีต่างๆ เพื่อนำไปถึงซึ่งความผ่องใส
☺ ไม่ยากนะ
• อบายภูมิน่ะ ไม่น่าอยู่หรอก อธิบายคนที่ไม่รู้ให้กระจ่างทีเถอะ พวกนอกเขตแต่ใช้นามของพระพุทธศาสนา “มาลัย”

11 มิถุนายน 2518

กับเฉพาะบุคคล
• หมด... หมดทุกข์ทั้งปวงที่พึงมี และจะมี
• ไป... ไปให้ถึงแดนสรวงที่ปรารถนา
• ใจ... ใจเราผ่องสะอาดเหมือนความดี
• สติ… สติมั่นในอริยธรรมของพระพุทธองค์
• ปัญญา... ปัญญาใช้ชี้ทางปฏิบัติ
• ก็ไป... ไปเถอะ เพื่อสู่ดี

☺ (ขอถวายกุศล)
• อานิสงส์เป็นทางบุญไปสู่นิพพาน สำหรับเธอผู้รักและมั่นในพระบาทพุทธองค์ พระนิพพานเป็นแดนซึ่งปราศจากทุกข์แม้ธุลี ขอให้เธอทั้งหลายได้ตั้งมั่นที่จะเดินไปสู่แดนนั้น ไม่ไกลสำหรับคนปฏิบัติ

25 มิถุนายน 2520

• พึงสำรวจตัวว่ายังบกพร่องด้วยอะไร สิ่งนี้จะทำให้เธอทั้งหลายไม่ตกอยู่ในความประมาทแห่งชีวิต
• เมื่อสำรวจตรวจดูแล้ว จงปฏิบัติให้ตนครบบารมี 10 ประการ คือ
• 1. ทาน 2. ศีล 3. เนกขัมมะ 4. ปัญญา 5. วิริยะ 6. ขันติ 7. สัจจะ 8. อธิษฐาน 9. เมตตา 10. อุเบกขา
• พึงรู้ พึงแจ้งในบารมี 10 ประการนี้หรือยัง ?
• ทานมีอะไร ศีลมีอะไร แปลออกหมดไหม ?

• ทาน... คือการให้ การสละ
• ศีล... คือความประพฤติที่มั่นคง
• เนกขัมมะ... คือการถือพรต
• ปัญญา... คือการไตร่ตรองด้วยเหตุผล
• วิริยะ... คือความเพียร

• ขันติ... คือความอดทน อดกลั้น และทนอด
• สัจจะ... คือคำสัญญาที่มีความเที่ยงตรง
• อธิษฐาน... คือการแสดงความเด็ดเดี่ยวมั่นคง
• เมตตา... คือความอารี
• อุเบกขา... เป็นการเดินสายกลาง มัชณิมาปฏิปทา แจ้งหรือยัง ?

☻ (ถาม – เมตตาในพรหมวิหาร 4 มีแล้ว ทำไมมีเมตตาบารมีอีก ?)
☺ เพราะเมตตาเป็นกำลังสำคัญให้คนได้ถึงบุญ บารมีก็แปลอยู่แล้วว่ากำลังใจเต็มที่
☻ (ถาม – ทำไมไม่มี กรุณา-มุทิตาบารมี ?)
☺ นั่นเป็นอารมณ์ย่อย
☻ (ถาม – สัจจะ เป็นทางโลกหรือทางธรรม ?)
☺ คนเราต้องมีสัจจะเป็นประกัน เช่น การถือศีล การไปสวดมนต์นั้นเป็นการบอกกล่าวพระว่าฉันจะถือศีล แต่เธอมีสัจจะเพียงไรในการถือศีลนั้น

☻ (ถาม – ของประทานตัวอย่างอุเบกขาในโพชฌงค์ 7)
☺ ความเฉย ..ไม่สะทกสะท้าน พิจารณาว่าเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่ ใช้ปัญญาบารมี บารมีนี้คือสิ่งที่ต้องทำ ต้องสร้าง เพื่อหวังให้หลุดพ้นจากอาสวะกิเลส
• มัชฌิมาปฏิปทานั่นคืออุเบกขาบารมี
☻ (ถาม – แล้วอุเบกขาในโพชฌงค์ ?)
☺ คู่กัน เช่นเดียวกับทานบารมีกับจาคะ

วันนี้ เป็นวันนิพพานของพระพุทธองค์ พระปทุมมุตตระ ฉันเลยมาแทน ลา
“มาลัย”….


◄ll กลับสู่สารบัญ



42

คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วัดเทพศิรินทร์)


22 มิถุนายน 2520

☺ ท่านทำน้ำมนต์สำหรับให้คนไข้กินและอาบ และสั่งให้ขออาราธนาบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า
☺ “ด้วยเดชเดชะของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ สรรพโรคา ภยันตรายา
ปิวินาสเมตุ ขอพ้นกัมมะ กัมมา พุทธฤทธิ ธัมมฤทธิ สังฆฤทธิ” แล้วให้ลงท้ายด้วย “อิติปิโส จะเตนะโม” สามจบ

☻ (ถาม – อิติปิโส จะเตนะโม ใช้ป้องกันทางไหน ?)
☺คุณของ
☻ (ถาม – วิธีอุทิศส่วนกุศลควรอุทิศให้ใครก่อน)
ของที่เทิดไว้เหนือหัวต้องมาก่อน เพราะบารมีท่านมากถึงต้องให้ก่อน เพราะด้วยว่าการอนุโมทนาของเทพชั้นสูงด้วยบารมีนั้น จะต่อบุญอานิสงส์ของเราให้เพิ่มเป็นทวีคูณ
☻ (ถาม – วันเกิดของอาจารย์ ควรทำอะไรเป็นพิเศษ ?)
☺ เวลาอธิษฐานให้ใช้ว่า “ขอบารมีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพรดังพุทธดำรัส ทรงตรัสต่ออายุของ.............” บอกเจ้ากรรมนายเวร ท่านพญายมราช และเทพทั้งปวงตลอดจนเทพรักษาอายุ

☻ (ขอให้เทศน์ให้ถูกกับจริต)
☺ ฟังกันนานนับหลายกัณฑ์แล้ว อันที่จริงคำเทศน์คำสอนนั้นเป็นชีวิตของมนุษยชนประจำวันอยู่แล้ว สมควรที่พวกหลานจะตั้งใจบำเพ็ญหาแก่นสารที่จะพบความเป็นชีวิตแท้ๆ จริงๆ โดยธรรมชาตินั้นคือการรู้ แยกว่าอะไรเป็นส่วนของกาย อะไรเป็นส่วนของใจ จิต

☻ (ถาม – ที่ทำมาแล้ว รู้สึกว่าไม่เคยแยกกายกับจิตได้)
☺ การมีกายเป็นพาหนะนั้น ย่อมจะรู้อยู่ว่ากายมีส่วนของเขาเป็นธาตุ ธาตุดินนั้นคือเนื้อหนังมังสา ธาตุน้ำนั้นคือเลือด ของเหลวต่างๆ ธาตุลมนั้นคืออากาศในร่างกายที่ช่วยหมุนเวียนของเหลวให้เคลื่อน ธาตุไฟนั้นคืออุณหภูมิในตัวตนที่ (คอย) ยังระดับ รักษาน้ำและลมให้คงเสมอด้วยปกติอยู่เป็นนิจ

• มีธาตุทั้ง 4 ซึ่งเป็นธาตุของโลก หรือโลกธาตุเป็นส่วนประกอบของกาย แล้วยังมีขันธ์ทั้ง 5 อยู่อีก ซึ่งเป็นระดับของคลื่นสื่อสารให้ธาตุ 4 สามัคคีรวมกับใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ ระบบทำงานของกายก็สมบูรณ์ กายนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ภาระ และพันธะของโลก จึงสมควรรู้ว่ากายนั้นเป็นไฉน
• ส่วนใจนั้น ต้องรู้ว่าหน้าที่ของใจนั้น มีเพื่อดูแลรักษากาย รักษาระบบของกาย แต่ส่วนใหญ่ของมนุษย์นั้นมักก้าวก่าย เอาใจเป็นกายเสียโดยมาก

☻ (ถาม – เช่น เจ็บที่เข่า ปากว่าช่างมัน แต่ก็ยังรู้สึกเจ็บ อย่างนี้จะแก้อย่างไร ?)
☺อยู่ที่ความกล้าความเด็ดขาด คนเราถ้าตัดใจอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ความกล้า ไม่มีความอาลัยเหลืออยู่ เป็นการตัดสินใจเสร็จเด็ดขาด ความหมายนี้เข้าใจอย่างไร ?
• เสร็จ... คือการปลงใจ คิดได้สำเร็จ
• เด็ด... คือเด็ดสิ่งที่จะทำ จะเอาชนะ ทำให้ได้ เป็นความตั้งใจทำ คือเริ่มกระทำอย่างมุ่งหน้า ไม่ดูแลของเก่า

☻ (ถาม – ของประทานนาม)
พุทธโฆษาจารย์........ลา


◄ll กลับสู่สารบัญ



43

คำเทศน์ของ “หลวงปู่ทวด”


23 กรกฎาคม 2518

☺ วันนี้เป็นวันที่องค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบในภพ เธอนับถือคุณแห่งพระพุทธคุณ คุณแห่งพระธรรมคุณ แห่งพระสังฆคุณ ตรงไหน ?
☻ ตรง.... “คุณ”
☺ พระคุณพระรัตนตรัยนั้น มีคุณอเนกอนันต์

☺ พระพุทธทรงค้นพบ พระธรรมเป็นอริยสัจ พระสงฆ์ทรงเป็นผู้แจ้ง นี้ยังจำแนกออกเป็นรายละเอียดอีกโข สุดที่จะบรรยาย
(ตอบปัญหา)
☺ ถ้าลงด้วยไตรลักษณ์ ก็แจ้งแล้วลูก ใจ ใจตัวเดียวที่ปล่อยทุกสิ่งให้พ้น
☻ (ถาม – ความหมายของการตัดรูปกับนาม ?)
☺รูปยึดไว้ทำไม นามยึดไว้ทำไม ยึด กับ ติด ไม่เหมือนกัน ยึดหมายถึงเราเกาะในสิ่งนั้นอย่างเต็มกำลัง ติดหมายถึงยังเบากว่ายึด

• การพิจารณาวิปัสสนานั้น เป็นตัวตัดซึ่งกิเลส รวมความการพิจารณาเป็นตัวตัดซึ่งกิเลส รวมความการพิจารณาเป็นการดับรูป ดับนาม เข้าใจไหม
• สมถภาวนานั้น เป็นการเริ่มทำสมาธิให้เกิด เมื่อขณะใดที่ใจเรายังติดในนิวรณ์
• ศีลมี สมาธิก็ตามมา สมาธิมี ปัญญาก็เกิด ปัญญาเกิดก็มีพิจารณาได้เด็ดขาด

☻ (ถาม – อารมณ์กับความปรารถนาต่างกันอย่างไร ?)
☺ ตั้งใจปรารถนา กับ ตั้งอารมณ์พิจารณาต่างกันมาก การตั้งใจปรารถนานั้น เป็นอธิษฐานบารมี • การตั้งอารมณ์พิจารณาต่างกันคือ เราต้องตั้งให้สติคงตัว สติสัมปชัญญะนั้นแปลว่าความระลึกได้ ระลึกได้ว่าขณะนี้ เราทำอะไร เป็นอะไร

☻ (ถาม – การพิจารณาร่างกาย คือขันธ์ 5 ควรแยกกายกับใจหรือ ?)
☺ พิจารณาให้รู้อย่างถ่องแท้ว่า กาย มีอะไรเป็นเครื่องประกอบ ใจ จิตนั้นมีอะไรเป็นเครื่องประกอบ กายมีขันธ์ 5 เป็นเครื่องประกอบใหญ่ จิตมีอารมณ์เป็นเครื่องประกอบใหญ่
•อารมณ์นั้น มีทั้งดีและไม่ดี ความพอใจ ความไม่พอใจ ความมีจิตเป็นอกุศลกับมีจิตเป็นกุศลนั้น เป็นอารมณ์ใช่ไหม

☻ (ถาม – การพิจารณาร่างกายภายนอก ภายใน ควรหาสาเหตุกลับไปกลับมาหรือ ?)
☺เหตุผลนั้น ต้องชักสิ่งที่เป็นจุดอ่อนแอที่สุดของตัวเธอ เธอมัวแต่ชักจุดใหญ่ๆ ที่เป็นหลักรวม วิปัสสนาก็ไม่แตกฉาน
☻ (ถาม – การพิจารณาต้องให้ละเอียดหรือ ?)
☺ เราดื่มด่ำธรรมะตรงไหน ทุกคนมีจุดลึกซึ้งในธรรมไม่เหมือนกัน เราจะเที่ยวบอกธรรมที่คนอื่นลึกซึ้งมาพิจารณานั้นเมื่อไรล่ะถึงจะแตกฉาน

• ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ธรรมของใคร ใครก็จงยกธรรมของคนนั้นขึ้นมาเป็นข้อแจ้ง ไม่ผิดอะไรจากความชำนาญ ความชำนาญนั้นเป็นความเพียร เธอจะเพียรอย่างเดียวไม่พอ สำหรับเวลาที่ทำบุญต้องมีพลังความพยายามด้วย
☻ (ถาม – วิธีแก้ในเพ่งโทษชาวบ้าน)
☺ เพ่งโทษตัวเอง ดูในสิ่งที่เย็น
• เก่งนะ วาจา ทุกคนมีวาจาเป็นยอด มีสมองเข้าใจเป็นยอด แต่สติกับการปฏิบัติไม่รู้ละลายไปไหน

☻ (ถาม – การหลุดพ้น)
☺ จะปฏิบัติให้หลุดพ้นรึ ใครหลุด คนรอบๆ หลุด หรือเราหลุด ?
• ตัวเราหลุด ต้องพิจารณาในตัวเอง เรามีในตัว แต่ตัวไม่มีในเรา เธอมีขันธ์ มีสังขาร เรามีในตัวใช่ไหม ?
☻ (ตอบ – มี) แต่ตัวไม่มีในเรา

☺พูดแค่นี้ผู้ฟังธรรมที่แตกฉาน จะนึกถึงอะไรก่อน ? จะไม่พูดถึงทฤษฎีนะ เรามีในตัว คือเรานั้นอาศัยตัวลงมาหรือขึ้นมาทำบุญ ทำกุศล เพื่อให้พ้นซึ่งทุกขเวทนา แต่เรานั้นอาศัยตัวเป็นพาหนะ เราต้องเลี้ยงดู มีหน้าที่ต่อตัว หน้าที่นั้นมีขอบเขตเพียงใด ?

• ดูอย่างให้ขาดปัจจัย 4 ให้เขาอยู่ในความพอดีแห่งปัจจัย 4 แต่เรามักจะเลยไป เลี้ยงยากเลี้ยงก็ไม่พออิ่ม เกินอิ่ม พักก็ไม่พอ มีเกิดพอแต่เรานั้นชอบ ชอบเสียเหลือเกินในความพอใจของร่าง พอจนกระทั่งรับเอาความรู้สึกมาเป็นอารมณ์ครอบเราเสียอีก

• อารมณ์เราเข้ากินใจเราก็พัง หลงรัก หลงหวงแหนกิเลส ตัณหา อุปาทาน กินหมดทั้ง “เรา” ทั้งตัว เข้าข่ายลืมตัว ใครว่าก็โกรธ ใครชมก็ชอบ ฉิบหายเข้าตัวเหมือนคำว่าโลก แปลว่าฉิบหาย หายฉิบ

☻ (ถาม – เราจะพ้นจากโลกได้เมื่อใด ?)
☺ พ้นได้เมื่อเราทำเรา ให้ “ตัว” ไม่มีในเรา เธอทั้งหลายยังเรียกว่าพวกเธอสำนึกได้ สำนึกว่าวางใจ ไว้ใจตัวมากเกินพอ
☻ ตัวตาย จิตตายไหม ?
☺ แต่ตัวตาย จิตมันนึกว่าตายด้วย

☻ (ถาม – ถ้ามีการกระทบภายนอก มักจะหวั่นไหว)
☺ช่างมันๆๆ ท่องเอาไว้ มีถมไป พระพุทธที่ว่าประเสริฐเขายังด่า นับอะไรกับเรา ไปแน่นะ
• ทำอะไรต้องทำจริงสุดกำลัง ในเมื่อเราอยากสุดปรารถนาจนเป็นอธิษฐาน เราตั้งทำให้ได้ และจงได้ ไม่มีอะไรเหนือกว่าจิตของเรา จิตของเรานั้น เมื่อขัดด้วยอริยธรรมแล้วก็จะใส เป็นประกายรุ้ง ดั่งพระอริยเจ้าทุกองค์ แม้นเปรียบด้วยพระพุทธเจ้าก็ตาม

• โพธิสัตว์ ก็ลงอเวจีได้ ยังมีโพธิสัตว์อีกหลายนามที่ยังเสวยทุกขเวทนา แลอีกต่อไปในที่สุด เมื่อเขาเหล่านั้นได้บำเพ็ญเพียรจนครบความดีแล้ว เขาก็มีสิทธิ์เป็นพระพุทธเจ้าทุกโอกาส
• เราน่ะ มีวาสนาเพียงใด อย่าท้อถอยแม้ขณะจิต แล้วเราจะได้ไม่เสียใจ
อย่าประมาท จงก้าวอย่างคนมีสติ

23 กันยายน 2519

☺ จะฟังอะไรดี
☻ (ตอบ – ฟังธรรมปัจจุบัน)
☺ธรรมปัจจุบันมีอยู่ทั่วไป ความจริงที่มีอยู่นั้นเป็นธรรมะที่เธอจะเข้าใจและรู้ถึงต้นเหตุ และปลายเหตุได้อย่างกระจ่างแจ้ง
• ว่าเช่นนี้ดีกว่า ว่ากันว่า เธอปฏิบัติธรรมนั้น เจริญไปเท่าไร
☻ (ตอบ – เห็นทุกข์มากขึ้น)

☺ ทราบ
☺ รู้แล้วแก้ไหม
• ได้แต่ย้ำว่าไม่อยากจะเกิดอีก
• นั่นไม่ใช่วิธี ต้องหาและย้ำมัน ไม่ใช่เมื่อมันเกิดเราไปทุกข์กับมัน แล้วบ่นว่าไม่อยากเกิด ธรรมะเป็นของซ้ำซาก เพราะเป็นเรื่องจริง

• คนเราเกิดมาเพราะอวิชชา ฉะนั้นตรงข้ามจะไม่ให้เกิดต้องใช้วิชชา วิชชาคืออะไร ไม่รู้จักตัวที่ไม่ให้เกิดแล้วอยากไม่เกิดได้อย่างไร
• สัมมาทิฐิ ความจริงเราชอบค้านความจริง ที่มานั่งเทศน์นั่งสอนนี้ก็ตรงที่ไม่รู้ความจริง ไม่ใช่ไม่รู้ พูดว่าไม่ยอมรับความจริงจะเหมาะกว่า ชอบปรุง ชอบแต่ง ชอบเติม รู้ก็รู้ แต่ใช้น้อย
• ยากไหม ? ยากนะ ที่ไม่ยอมรับความจริง

☺ เอาละนะ ถ้าทุกคนมีตัวนี้เกิดขึ้น ถ้าจะปลดตัว อวิชชาก็ต้องปลด
1. อาสวะกิเลส
2. สังโยชน์ 10
☺ ทำไงล่ะ
1. ศีล
2. สมาธิ พิจารณาของหลอก พิจารณาสัจจะ ความจริง เกิด แก่ เจ็บ ตาย พิจารณาอริยสัจ เป็นตัวแก้ แก้ใจ ดัดนิสัยใจให้มันรับความจริง
3. ปัญญา เมื่อพบอุปสรรค ใช้ปัญญาโดยมีสติง่าย ง่ายมาก มีแค่นี้ ง่ายไหม

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ยอมรับรึ ?
• เกิด หมายถึง ของทุกอย่างเกิด เกิดก็รัก เกิดก็เกลียด สารพัด
• แก่ล่ะ แก่หมายถึงมีอายุ พวกผุ แต่ยังไม่พัง พวกเน่า แต่ยังไม่เปื่อย
• เจ็บล่ะ เจ็บก็เฉยๆ ธรรมไม่ส่งเสริมให้ชอบ ให้เกลียด แต่ให้อุเบกขา มัชฌิมา
• ตาย หมด สิ้นสูญ ลูกตาย ของหาย ของหมด

☺ เป็นไงที่ว่า “ง่าย”
• อุเบกขา ง่ายไหม ?
☻ (ตอบ – พูดง่าย ทำยาก)

☺อย่าว่าแต่อุเบกขาเลย เอาจริยาของพรหมก่อน ทำได้หมดถึงค่อยไปนิพพาน คนละหลักสูตร ไปนิพพานอย่านึกว่าไปได้ง่ายๆ และก็อย่านึกว่าไปยาก ทำไมถึง ทำไมถึงพูดเช่นนี้ เพราะคิดว่าง่าย ก็ทำให้เกิดประมาท คิดว่ายาก ก็ทำให้เกิดท้อ จนทำให้เกิดความเพียรเสียก่อน เมื่อเพียรแล้วต้องพยายาม
• เราเหมือนเด็กอนุบาล ป.1 จนจบปริญญา เทียบเท่าอริยะ 8 ขั้น

8 ตุลาคม 2519

☺ การที่ทั้งหลายได้พบพระพุทธ ถือศีล มีคุณประโยชน์เป็นอเนกประการคือ
1. เป็นการสนองและรู้คุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. เป็นสิ่งเตือนเรา ให้เรารู้ว่ากำลังทำความดี
3. เตือนให้เรารู้ว่า เราควบคุมอารมณ์ สติสัมปชัญญะได้
4. สิ่งเตือนเรา ให้เราปฏิบัติความดีเพื่อเป็นวิชชา
5. เตือนเราให้สำนึกถึงอริยสัจข้อปฏิบัติ

☺ฉะนั้น ทุกครั้งที่ทำการปฏิบัติศีล จงพึงตั้งใจไว้เช่นนี้ แล้วเราจะสำนึกอยู่เสมอว่า เรามีศีลไว้เพื่ออะไร
• เมื่อทุกคนรับศีลแล้ว ทุกคนก็ต้องมีจิตใจมุ่งมั่นแน่วแน่ ว่าเราจะรักษาศีลยิ่งกว่าสิ่งใด ผลที่จะได้คือการทำสัจจะบารมี เมื่อตั้งใจเช่นนี้แล้ว เราจงอธิษฐานการรักษาศีลของเราไม่ให้แพ้ภัยตัวเอง คือเราจะไม่ใจอ่อนต่อความชั่วของจิต ต่อความชั่วของอารมณ์ ต่อความอ่อนไหว ที่จะน้องนำจิตเราให้หลงใหลวกเวียน ปน คละเคล้ากับตัวแหย่ของอวิชชา

• เมื่อเราปฏิบัติเช่นนี้สำหรับตนได้ ก็ต้องปฏิบัติกับคนอื่นได้ด้วย เช่น เราจะไม่ยินดีที่คนนั้นผิด หรือละเมิดศีล เราจะไม่ชวนและชักนำให้ผู้อื่นผิด ละเมิดศีล เช่นนี้ กล่าวได้ว่าอารมณ์ผู้นั้นทรงโสดาปฏิมรรค

• เมื่อใดเธอปราศจากการละเว้น ออกนอกลู่นอกทางของศีลแล้ว เธอจะมีอารมณ์เป็นอุเบกขา เธอไม่เครียดจนเกินไป เมื่อไม่เครียด ความขุ่นมัวมุทะลุ การทราบอำนาจของจิตใจทางกุศลจะมีมาก จะดับไฟโทสะความโกรธ โมหะความหลง โลภะความต้องการลงให้หมด

• เมื่อหมดไป เรารู้ได้อย่างไร ? รู้ได้โดยการสำรวจใจ ว่ามีอะไรที่ขัดใจเราไหม ใจเรายังวุ่นวายไหม และวุ่นวายกับชาวบ้านไหม
• เพราะอะไรถึงให้สำรวมใจ เพราะว่าทุกคนย่อมต้องเห็นแก่ใจตนเอง คือเอาแต่ใจตน
• อะไรที่จะเป็นกระจกส่องอวิชชา ?
• สำรวจศีล ศีล คือตัวกันอวิชชา จะเห็นอวิชชาได้ต้องสำรวจศีลดังแนะไว้ จะเป็นกระจกส่องว่าเรามีอวิชชาหรือไม่

• คำว่า “ไม่เป็นไร” นั้น คือตัวอวิชชาที่กันเราไม่ให้ถึงตัววิชชา
• คนที่ดำรงศีลให้บริสุทธิ์ดังกล่าวนั้น ย่อมมีอารมณ์เป็นโสดาปฏิมรรค น่าที่จะใช้อารมณ์นั้นเป็นสมุจเฉทปหาน ตัดอาสวะกิเลสทั้งมวลให้เห็นธรรมได้ในคราวนั้น ถ้าประกอบด้วยความเพียร

• ความเบื่อนั้น มีหลายแขนงมากมาย แล้วแต่อารมณ์ดัดแปลง บ้างก็มี เช่น เบื่อเพราะของไม่ถูกใจ เบื่อเพราไม่สมหวัง เบื่อเพราะอุปสรรคมาก เช่นนี้เป็นอาทิ แต่ความเบื่อ เบื่อในสังขาร เบื่อในสมบัติของโลก เบื่อในความทุกข์ เพราะเล็งเห็นกรรมและบุพกรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ เบื่อเพื่อจะไปนิพพาน

• เมื่อเราสำรวจใจเราว่าเป็นเบื่อชนิดไหนแล้ว เราก็ต้องสำรวจถึงธาตุแท้เลยว่า เราเบื่อเพราะอะไร เมื่อรู้ถึงเหตุแล้วว่าเป็นเพราะอะไร สิ่งไรแล้ว ตรงให้รู้อยู่ว่า ถ้าเป็นเช่นนี้อีกจะทน จะชอบ จะเบื่ออีกไหม เอาสาเหตุเหล่านี้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาให้ลึกซึ้ง หยิบเอาปัญหาที่เราแร้นแค้นอยู่ในใจมากที่สุดมาเปรียบเปรยกับธรรมของอริยสัจ

สอนรายบุคคล
☺ การกล่าวอะไรที่ตรงเกินไป บางทีก็ไม่ตรง คือเราพูดเรื่องจริง พูดตรง ว่าตรง แต่คนที่รับฟังหรือคนที่ฟัง คิดและวางอารมณ์ไปคนละแนว
• คนที่พบทุกข์ คนนั้นพบธรรม คนที่เห็นทุกข์คนนั้นเห็นธรรม คนที่รับทุกข์คนนั้นรับธรรม ฉะนั้น เราเอาประโยชน์จากความทุกข์นั้นๆ มาใช้ให้เป็นวิชชามากๆ อย่าทิ้ง ถ้าทิ้ง ก็เสมือนว่าคนนั้นสอนไม่จำ จะต้องสอนใหม่ คือรับทุกข์จนได้รับธรรมให้ได้

• ทุกข์ คือข้อทดสอบว่า เรามีธรรมของอาจารย์ฝังอยู่ในตัวเราหรือไม่
• คนที่รับทุกข์นั้นแล้ว กล่าวว่า ทำไมถึงมีเวรมีกรรมต่อฉันเสียจริง แต่เขาไม่สำนึกว่า เวรกรรมคือการกระทำในอดีตนั้นมีดีหรือเลว แล้วแต่เวรกรรมนั้นใครทำ กฎของธรรมชาติบ่งอยู่ว่าใครทำกรรมใดมา คนนั้นรับ เช่นนี้ จะไปร้องต่อใคร ว่าโลกทารุณ

• เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่าให้ อย่าให้ความสงสารในความทุกข์ที่ผู้อื่นได้รับมาพัวพันใจเราจนเป็นพันธะสงสาร ให้รู้แค่ “รู้” รู้ว่าสงสาร อย่าให้เกินตัว รู้ ปลงไปเลย
• “ทำดีที่สุด” …ไม่ได้หมายความว่า เราจะทำดีทัดเทียมกันหมด ทำดีที่สุด คือเราทำดีได้ตามสติปัญญาของเราจะทำได้ในขณะนั้น

25 ตุลาคม 2515

☺ จะฟังอะไรดี ?
• บารมีนั้น ทุกคนทราบดีหรือยัง ?
☻ (ตอบ – หลวงพ่อบอกว่า หมายถึง “กำลังใจ”)

☺กำลังใจของคนโดยทั่วไปนั้น จะดีกว่าความดีหรือแรงที่ดลบันดาลใจ ใจให้กระทำทั้งความดีและความชั่ว เราจะมาดูกันว่าบารมี ที่แปลว่า กำลังใจโดยแท้นั้นเป็นอย่างไรกัน

• ลองพิจารณาว่าคนที่ถึงซึ่งธรรมนั้น เป็นคนที่มีกำลังใจยอมรับต่อความเป็นจริงของวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารซึ่งหลายๆ คนยังข้องและเวียนกันอยู่ แม้ว่าตนเองจะตั้งใจว่าจะไม่แวะเวียนอยู่ในอาณาจักรของโลกก็ตาม เรามีความปรารถนาที่จะได้หลุดพ้นจากความทุกข์ที่มีอยู่ทุกๆ ขณะจิต จริงไหม

• ปวดแขนไหม เมื่อยไหม
• ทำยังไงถึงจะไม่ปวด ไม่เมื่อย
• กำลังใจ ประกอบด้วยตัวปรารถนาอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องประกอบด้วยตัวสำคัญคือ “ตัดใจ” ตัดใจตัวนี้แหละถึงจะทำให้คำว่าบารมีหรือกำลังใจจบความหมาย

• ใครๆ ก็อยากสบาย หมดทุกข์ ใครๆ ก็อยากหมดทุกข์ นี่คือตัวปรารถนา ส่วนตัว “ตัดใจ” นั้น จะมีขึ้นได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติโดยจริงจัง
• เมื่อเรารู้ว่าตัว “ปรารถนา” นั้นทุกๆ คนมี แต่ตัวตัดใจหรือการปฏิบัตินั้น ทุกคนยังไม่มีเพียงพอ ฉะนั้น คำว่าบารมี จะขึ้นหรือเสริมตนนั้น ก็พยายามให้จงหนัก เพราะอะไร ? เพราะปฏิบัติน้อยไป

• การปฏิบัติก็มิใช่ว่าเรามานั่งหลับหรือหลับตาอย่างเดียว เราจะต้องฝึกใจเราให้มีสมาธิอยู่ตลอดเวลา สมาธิต้องมีทุกขณะจิต นั่นคือสติสัมปชัญญะ รู้ ต้องให้รู้อยู่ว่าเป็นใคร ทำอะไร นั่นแหละ คือขณิกสมาธิ เข้าใจไหม ?

☺ รู้จักว่า “เรา” เป็นใครนั้น สงสัยรึ ?
• “เรา”… ก็เป็นคนที่เกิดมาทำความดี อาศัยขันธ์ 5 เป็นที่อยู่ ส่วนเรื่องที่เขาแต่งให้ทั้งหลายนั้น อย่าไปรู้มัน รู้มากมันจะติด แล้วรัก แล้วหลง คราวนี้แหละจะไม่รู้ว่าเราเป็นใคร
•..เมื่อเรามีอารมณ์เป็นขณิกสมาธิแล้ว เรารักษาให้มีอยู่เป็นนิตย์จนคล่องแล้ว จงใช้อริยสัจขององค์พระตถาคตนั้น มาเริ่มพิจารณาว่าอะไร เป็นอะไร

☺ เริ่มด้วย “ของมันไม่เที่ยง” ไม่เที่ยง... คือต้องมีเกิด อุบัติ เมื่อมีเกิดหรืออุบัติ ก็ต้องมีเจ็บ เสีย ชำรุด แล้วต่อด้วยแก่ มีอายุ เก่า นาน แล้วก็ตาย สูญ เสีย พังทลาย เช่นเราซื้อรถ การซื้อรถนั้นถือว่าเป็นการเกิด คือเริ่มเป็นของๆ เรา เมื่อเกิดแล้วมันก็เก่า เมื่อใช้ไปนานๆ แล้วก็เสีย เสียเครื่องด้วย เสียเงินด้วย

• ในที่สุดมันก็หมดสภาพ เมื่อถึงคราวนี้แล้ว ใจเราที่ผ่านมาตั้งแต่ซื้อรถเป็นอย่างไร ซื้อใหม่ๆ ก็หลงใหล ชอบรัก หวงแหน เมื่อมันเสีย ใจเราก็หมดเห่อเพราะเสียเงินทอง เวลา เมื่อมันเก่า ใจเราก็เบื่อ เมื่อมันหมดอายุ เราก็ต้องหาใหม่ให้ดีกว่าเก่าหรือเท่าของเก่า เมื่อเป็นเชนนี้แล้ว คันที่ 2 ย่อมเหมือนกับคันที่ 1 แล้วเป็นเช่นนี้ตลอดไป จึงจะเป็นอนันตกาล

• เราจะแก้อย่างไรกับจิตของเรา รถน่ะไม่ต้องไปแก้เหตุของมันหรอก เพราะของของโลกมันเป็นวัฏฏจักร แต่เรานี่ซิ หนีออกจากวัฏฏจักรได้ไหม ?
• เราหนี ต้องหนีด้วยจิต จิตที่นะหนีได้ต้องเป็นประภัสสร ร่างกายของเราก็หนีไม่ได้ จิตเท่านั้น หนีโดยรู้ทุกข์ สมุทัย เหตุของทุกข์ นิโรธ และมรรค ทางดับทุกข์

• เมื่อขยายทางของการ “ตัดใจ” มาถึงเท่านี้แล้ว ทุกคนรู้ว่ายากหรือไม่
• อันที่จริงแล้ว “ธรรมะ” นั้นมีเท่ากัน ไม่มีอะไรยาก และไม่มีอะไรง่าย จิตคนเดิม องค์สมเด็จพระตถาคตทรงตรัสไว้ว่า จิตคน แต่เดิมก็เป็นประภัสสร จากประภัสสรปนเข้าหาวัฎฎสงสาร เหตุนั้นจะออก ทำไมถึงจะออกได้ล่ะ เราเข้าไปได้ ทำไมออกไม่ได้ ล้างซิ ล้างจิตของเรา

☻ (ถาม – การล้าง คือต้องทวนกระแส ?)
☺ ทวนไม่ได้ ต้องหมุนให้เร็วกว่าวัฏฏ จึงจะพ้น
☻ (ถาม – ด้วยการสร้างบารมีให้เป็นกำลัง)
☺ ใช่… กำลังที่ส่งให้เราหมุนเร็วกว่าวัฏฏสงสาร นั่นคือกำลังใจ “ตัดใจ” ยังไงใช่ไหม ?

☻ (ถาม – ตัดใจได้แล้วจะทำให้เป็นสุข)
☺ ใช่ เราจะแยกกายออกจากจิต เธอเข้าใจคำนี้แค่ไหน ? กายเป็นสมบัติของโลก เรามีหน้าที่เลี้ยงไป อย่าให้เจ็บไข้ อย่าให้อดอยาก เหมือนบ้านของเรา แต่อย่าไปหลงกาย เมื่อเรารู้ว่ากายเราควรจะทำอย่างไรกับเราแล้ว นั่นแหละจิตแยกจากกาย

อาตมาขออ้างคุณพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพ และอานุภาพของความดีทั้งหลายนั้น จงสถิตเป็นนิมิตหมายให้พุทธบริษัทขององค์สมเด็จพระตถาคตเจ้า จงบรรลุซึ่งธรรมอันวิเศษ พร้อมด้วยความสำเร็จในทุกๆ ประการ

◄ll กลับสู่สารบัญ

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 4/8/10 at 10:28 [ QUOTE ]




44

(Update 4/08/53)


คำเทศน์ของ “ครูบาศรีวิชัย”


29 ตุลาคม 2518

☺ รวมแรงรวมใจกันทำบุญดี อาจารย์สายเธอกับฉันเขาเพื่อนกัน
• นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
• ท่านที่มีศรัทธามหากุศล มหามงคลทั้งหลาย อาตมาขออ้างบารมีพระพุทธเจ้าทั้ง 30 ทัศ จงปรากฏให้ผู้ศรัทธามหากุศลทั้งหลายได้พ้นจากทุกข์โศก โรคภัย เคราะห์กรรมนานาประการ เป็นการสิ้นเคราะห์วัน เคราะห์เดือน เคราะห์ปีทั้งหลายนี้ จงดับมลายสิ้นด้วยบารมีพระพุทธเจ้า 10 ชาตินั้นเทอญ จะเดิน ยืน นอน นั่ง ทำสิ่งไรก็ประสบอิริยาบถทั้งที่อารมณ์แจ่มใส เป็นสุขทุกเมื่อเชื่อวัน

25 พฤศจิกายน 2518

☺ มีความลำบากทุกคนไหม ?
• บุคคลผู้จุติลงมาถืออุบัติขึ้นมานั้น มีจุดประสงค์ในการกำเนิดเกิดเป็นคนโดยแท้จริงเพื่อทำกรรม
• กรรมนั้นมี 2 ประเภท คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม แล้วแต่จะตรึกตรอง ใฝ่ที่จะทำกรรมอะไร

☺ อันที่จริงของมูลฐานบุพกรรมแล้ว ย่อมใฝ่แสวงหาบำเพ็ญ มุ่งแต่ทำกรรมที่เป็นกุสลโดยถูกต้อง และเป็นจิตตนแรกที่บุคคลพึงมีความรู้สึกและสำนึก เมื่อมีความรู้สึกแลสำนึก คือรู้ดีรู้ชอบแล้วทำการสิ่งใดจะต้องมีเหตุ แต่ตัวต้นเหตุนี่ซิ พินิจพิเคราะห์ พิจารณาดูให้แน่แล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวต้าน มีทั้งต้านด้วยพลังอ่อนและต้านด้วยพลังมาก ความต้านนี้คือกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีบุพชาติเป็นบุพกรรม

☺ ฉะนั้น ความต้าน คือแรงต้าน นั่นคืออุปสรรค ตัวอุปสรรคนี้จะเป็นตัววัดบอกถึงความสามารถ วิริยะ อดทน อุตสาหะ ว่าเราจะผ่านตัวต้าน หรือตัวอุปสรรคได้รอดพ้นแค่ไหน การที่เราอยู่ในภาวะกำลังสู้ กำลังถูกต้าน ภาวะนี้คือความลำบาก ความลำบากตัวนี้แหละ จะเป็นเครื่องวัดว่าเธอจะลำบากพากเพียรแค่ไหน ที่จะสู้ผ่านอุปสรรคไปสู่ความดีได้

☺ ความดีขั้นแรกที่ควรกระทำ หรือที่เธอจะต้องรู้คือศีล เรารู้แล้ว พ้นอุปสรรคได้ไหม หรือแพ้ความดี คือจะต้องการอิสระในทุกอย่างที่เธอจะทำ อันนี้เป็นความดีแต่ชั้นเปลือกศาสนา ศีล คือศีลทุกประเภท

☺ คนที่จะดำรงศีลให้เข้าขั้นปรมัตถศีลแล้ว คนนั้นจะต้องผ่านความดีซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์พึงกระทำ ความดีเช่นนี้ อยู่ในกิจที่พวกเธอพึงกระทำอยู่ทุกวัน รู้ไหม

☺ ความละอายนี้แหละควรมีอยู่ในตัวสำนึก ละอายในสิ่งที่ไม่ดี ละอายในความผิดพลาด ละอายที่จะโทษความผิดคนอื่น ละอายต่อการปิดบังหลอกล่อความไม่ดีในตนหรือว่าคนอื่นในสิ่งที่ตนทำไม่ชอบ ละอายสุดท้ายที่ทุกคนชอบเก็บสะสมไว้ คือ ละอายคำว่า “ไม่เป็นไร” ในตน

☺ เธอจะต้องขจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมด ทุเลาเบาบางลง ไม่เช่นนั้นบี้มดด้วยความเผลอก็สำนึก “ไม่เป็นไร เคยทำกรรมมา” เอาสิ่งนี้มาสั่งสอนตนเองให้งดเว้น ละเว้น ล้างทิฐิออกไป เมื่อใดก็เมื่อนั้น เธอจะพบทาง แล้วรู้ว่า “เราไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา” เป็นเช่นไร

☺ ละอายไงล่ะ ?
• ถ้าเราทำของเรา “ไม่เป็นไร” สิ่งเหล่านี้จงล้างดูในใจของเรา ทำไมเราชอบคิดว่าคนอื่นไม่ดี มีใครเคยถามตนเองบ้างไหม แล้วมีใครคิดว่าเราไม่ดีเสมอไหม ? เสมอตลอดสัมปชัญญะไหม ?

☻ (ถาม – เราชอบชมตนเอง เมื่อรู้ว่าทำดีสำเร็จแล้ว)
☺ ที่หลังอย่าชม เราเอาแค่พอตนเท่าทุนก็พอ คือเฉยเมื่อจิตคิด คิดว่า คิดติเตียนคนอื่นโดยไม่รู้ด้วยความเป็นมา ติเตียนด้วยอารมณ์ ด้วยโทสะ โมหะ แล้วเช่นนี้ ความคิดนั้นจะแสดงออกมาที่ปาก เมื่อลั่นวาจา ก็แสดงว่าใจมาอยู่ที่ปาก ทำไมไม่เอาปากมาอยู่ที่ใจ คือให้อยู่ที่คำว่า “รำพึง” เมื่อนั้น ความสำรวมจะเกิดขึ้นในตนเอง

• เมื่อมีความสำรวมเป็นที่ยับยั้งได้แล้ว กรรมฐานทุกองค์จะอุบัติขึ้นในสมาธิจิต เพราะอะไร รู้ไหม ? เพราะสำรวมทุกขณะจิตหรือทุกๆ ตอนที่พอจะทำได้ในขณะใดก็ตามจะเกิดสมาธิ เกิดวิปัสสนาญาณเหตุการณ์ตอนนั้นที่อาจทำให้เราอุบัติโทสะ โมหะ หรือกิเลสทั้งปวงได้

• เหตุการณ์ในทุกขณะจิตนั้น มักมีเหตุการณ์ที่จะไม่ค่อยซ้ำกัน การวิปัสสนาในขณะเหตุนั้นๆ จะแยกพระกรรมฐานออกตามกองของเหตุขณะนั้น อะไรจะไม่ประทับใจเท่าเหตุที่เกิดเดี๋ยวนี้ ขณะนั้นก็ผ่านมาสักชั่วเวลาหนึ่ง เราเก็บมาพิจารณาเหตุอันนั้น มันจะจืด ไม่ลึกซึ้ง
นั่นแหละ เธอจะได้กรรมฐานทุกกองโดยไม่ต้องร้องขอ

☻ (ถาม – ได้หมดเลยใช่ไหม ?)
☺ แน่นอน เพราะกรรมฐานมาจากชีวิตจริงๆ ธรรมชาติของคน ใครจะแต่งเรื่องขึ้นสอน
☻ (ถาม – จิตแรกที่เป็นประภัสสร ทำไมจึงมาหาโทษได้ ?)
☺ เพราะมีชั่วปนอยู่ แม่เหล็กถ้าไม่มีขั้วเหนือขั้วใต้ เป็นแม่เหล็กได้ไหม ถ้าตัวขั้วทั้งสองออกได้นั่นแหละ เธอจะไม่มีอะไรมาดูดเธอได้

☺ หา “ถูก” ถึงอย่างไรตนเองก็คิดว่าเหตุผลของตนถูก ฉะนั้นเฉยใจได้เลย ถ้าแสดงแล้ว ยกในสิ่งที่เราว่าถูกขึ้นกล่าว หรือชี้แจงแสดงความแล้วเขาโต้ตอบ ไม่รับหรือรับเพียงเล็กน้อย ไม่สมกับใจเรา เราจะมีโมหะ หลงไม่เชื่อคนเก่ง คนดี คนถูก คนประเสริฐเช่นเรา เมื่อนั้นโทสะตามมา ดูด่า อาละวาดร้อยแปด คราวนี้ “ผู้ทรงศีล” เล่นฤทธิ์

☻ (ถาม – ก่อนพูด มักน้อยใจ โมโห)
☺ นี่เขาไม่เรียกว่า “รู้” สักแต่ว่ารู้ ใช่ แต่ไม่ใช่รู้ สักแต่ว่ารู้ แล้วทำอีกอย่างหนึ่ง แล้วนึกว่าทำ สักแต่ว่าทำ เป็นคนละอย่างกับ “รู้”
☻ (ถาม – บางทีอยากจะช่วยเขา เตือนเขา)
☺ กาลเทศะ สำคัญ เราอย่าคิดจะเอาแต่ใจของเรา ต้องคิดถึงสภาพคนนี้ด้วย เขาอยู่ในสภาพอะไร เหนื่อย หงุดหงิด ต้องการสบาย หรือพร้อมที่จะช่วยเรา รับฟังเรา

☺ คนแต่ละคน ก็ย่อมคิดว่าตนทำงานหนัก ทำงานมาก ทำงานเหนื่อย แต่ไม่ยอมว่าใครจะหนัก หรือเหนื่อยน้อย หรือมากกว่าเรา ต้องเห็นใจฉันก่อน
☺ ทุกคนติด “ของฉัน”…….. ลา

◄ll กลับสู่สารบัญ



45

คำเทศน์ของ “หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค”


24 กรกฎาคม 2517

☺ การปฏิบัติธรรม จิตต้องให้เหมาะสม สงบ แล้วพิจารณากายดูให้รอบคอบ ส่วนต่างๆ ที่เรามีอยู่ ประกอบขึ้นเป็นกายส่วนไหนง่ายที่สุด พิจารณาส่วนนั้นก่อน

• พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้อย่างเดียวว่าใครมุ่งมั่นนิพพานเป็นปกติ จะบรรลุนิพพานได้อย่างช้ามาเกิดครั้งเดียว แต่พระอรหันต์ที่มีขันธ์ในโลกนี้รู้ว่าบุคคลผู้มุ่งพระนิพพานเป็นที่ตั้งย่อมบรรลุถึง บุคคลผู้มุ่งนิพพานย่อมพิจารณารู้แจ้งแทงตลอดในกาย ในความเศร้าหมองของจิต จิตเศร้าหมองเพราะความไม่รู้ว่ากายนี้และไม่มีต้นไม่มีปลาย เพราะไม่มี “เรา” นั่นเอง จึงไม่มีต้นไม่มีปลาย
☺ จำไว้ อย่างที่เราทำนั้น จิตของเราให้มันอยู่กับเรา ของเขาให้มันอยู่กับเขา

25 กันยายน 2518

☺ “วิหารกิจจานุการ”
☺ การวางกายกับจิต แยกแยะออกให้ถี่ถ้วน แล้วพิจารณาดูว่ากายมีอะไรบ้าง จิตมีอะไร เป็นฉันใด

5 พฤศจิกายน 2518

☺ “วิหารกิจจานุการ”
สอนเฉพาะคน

☺ เราอยากจะตัดกิเลสทางโลกเพื่อหวังพระนิพพานเป็นที่ไปนั้น เราจะต้องมองทุกข์ให้กระจ่างใจทุกแง่ทุกมุมที่เราจะเยื้องย่าง กระดิกตัวกระดิกใจไปตามอารมณ์ความอยากทั้งปวง

☺ ฉะนั้น การพิจารณาเพื่อหวังให้ถึงธรรมอันวิเศษนั้น จะต้องพิจารณาให้หนักรอบด้านตัวเราทุกอิริยาบถ พิจารณาให้ตัดได้เป็นสมุจเฉทปหานอย่างมั่นคงถาวร แจ้งในความเป็นจริงตามธรรมดาโลก ทุกเมื่อเชื่อวันจนกราบถึงซึ้งธรรม ให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ในธรรมดาโลก จนเราสามารถยืนอยู่เหนือภาวะต่างๆ ของโลกได้

☺ ต้องใช้สติ และต้องมีสติสัมปชัญญะ ปัญญาจะแตกฉาน ที่จะถามว่าควรตัดข้อไหนนั้น ฉันว่าทุกคนมีทุกข้อ
• วันนี้ เราประสบอะไร เรื่องดี เรื่องชั่ว ใจเราเป็นอย่างไร พิจารณาดู ถ้าถามตัวเองอยู่เป็นข้อๆ ดังอริยสัจ 4 เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นให้กินใจ เราก็ตั้งคำถามว่าอะไรคือต้นเหตุทุกข์ อะไรคือเครื่องให้เรามีทุกข์ แล้วใคร่ครวญหาคำตอบโดยหาตัว “ไม่มี” ออกมา

• คนที่ทุกข์น่ะ เขาขาดอะไร ตัวขาด เช่น ถ้าตัวพรหมวิหารขาดเราจะโกรธ เราจะโมโห เราจะดุร้าย
• คนทุกคนมีหน้าที่ทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ติดมัน รู้ไว้ว่ามันเป็นเพียงหน้าที่ต้องกระทำ
• ความดี ปู่ไม่อยากให้ติด ความชั่ว ปู่ไม่อยากให้ติด ปู่อยากให้รู้แค่ ดี-นี่นะดี ชั่ว-นี่นะชั่ว อย่างไปมีตัณหากับมัน

• ทำให้ถึงธรรมกันนะ คนมีศีล เพิ่งถึงเพียรกระพี้พระศาสนา ศีลมีแล้วถึงต้องเจริญสมาธิ เพื่อที่จะพิจารณาธรรม
• ที่ใช้สมาธิเป็นเครื่องพิจารณานั้น เพื่อที่เราจะไตร่ตรองข้อปฏิบัติที่แท้จริง ถูกต้อง โดยไม่มีอะไรมากระทบจิตให้จิตแกว่งตามอารมณ์ ตามอำเภอน้ำใจเรา

2 กุมภาพันธ์ 2520

สอนเฉพาะตัว
☺ หมั่นทำ (สมาธิ) อย่าละ อย่าทิ้ง
• คำว่า “มีเวลา” ต้องใช้ให้ได้ประโยชน์ คำว่า “ไม่มีเวลา” นั้น ไม่มีแม้แต่เพียง 1 ลมหายใจ
• เราภาวนา “พุทโธ” น้อมจิตลงนมัสการองค์พระผู้มีพระภาคด้วยความเคารพในพระพุทธคุณ ก็มีบุญกุศลสนองหลายประการ บุญกุศลสนองนั้นมีวาระเป็นกัป จงอย่าละอย่าเว้นถึงการภาวนา

☺ จิต เมื่อเราบังคับด้วยความดีแล้ว จะขัดกิเลสออกทำใจให้ผ่องแผ้ว ละซึ่งทิฐิที่คนทั้งมวลเคารพ เมื่อทิฐิมานะลดลงได้ ความดีก็จะเข้าครองจิต ทำให้จิตเป็นกุศลอย่างประเสริฐ เมื่อนั้น สิ่งที่ลูกหลานต้องการก็จะสนองเป็นกุศลกรรมอันบริสุทธิ์ และเป็นแนวทางให้ลุกได้ก้าวถึงอริยมรรคทั้งปวงสมปรารถนา

25 มกราคม 2521

สอนเป็นรายบุคคล
คนที่ 1
☻ (อยากจะไป)
☺ เราทำได้เมื่อใดก็ได้ไป เหมือนเด็กอยากสอบผ่าน แต่ข้อสอบที่จะสอบทำไม่ครบบ้าง ดูตำราไม่พอบ้าง แล้วจะสอบผ่านได้อย่างไร การอยากตายหรือไม่อยากอยู่ในโลกนั้น เหมือนกับปณิธานอยากสอบได้ แต่ยังไม่ได้สอบเพราะตำรายังไม่แตกฉาน ดูบ้างไม่ดูบ้าง เรียนก็ยังไม่จบหลักสูตรนั้นคือบุพกรรม ใช้กรรมจนกว่าใจเราจะรู้จักพอ รู้จักเข็ด

☺ หลวงพ่อ ทำไมเราถึงชอบตาม ตอบได้ไหม ? เพราะเรารักท่านใช่ไหม แต่การที่จะทิ้งขันธ์และไม่นำพาในโลกนี้ไม่ใช่ติดพระ ต้องติดที่ธรรมะของพระและปฏิบัติให้เห็นแจ้งแท้จริงตามความเป็นมานั่นคือคำตอบของข้อสอบ

☺ (ถาม – ทำอย่างไรจะไม่ติดท่าน ?)
☻ ติดน่ะ ไม่เป็นไร ถือเป็นมงคล แต่ติดแล้วต้องได้ข้อที่ท่านพร่ำสอน ท่านมีชีวิตอยู่เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านได้เรียนคำสอนขององค์พระพุทธคุณเป็นปัจจัยใหญ่ เข้าใจนะ ดำเนินอารมณ์ให้ถูก

คนที่ 2
☻ (ภรรยาเพิ่งตาย)
☺ หวังว่าการครั้งนี้ คงเป็นธรรมอย่างดีสำหรับนักปฏิบัติค้นคว้างเช่นเธอ เมื่อความรู้หรือการรู้เกิดขึ้นในปัญญาของเรา ความเศร้า เวทนา อาลัย สงสาร สงสัย คงไม่อุบัติขึ้นได้ เพราะเรารู้เห็นทันความจริงซึ่งต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็นไปตามสภาพกาลเวลา สิ่งนี้เป็นความจริงที่จะได้รับแก่ใครๆ ทุกผู้คน จะรู้ทันหรือไม่อยู่กับการทำใจให้ยอมรับสภาพ ยอมรับและเชื่อมั่นว่ามันจะต้องเป็นไป คนที่รู้ไม่ทันนั้น คือคนที่ยังหลงอยู่ในความเบาปัญญา คืออวิชชา ไม่ยอมรับรู้สภาพความจริง พยายามฝืนความจริง ซึ่งเป็นไปไม่ได้

คนที่ 3
☺ เป็นไง หาธรรมได้หรือยัง รู้ธรรมบ้างหรือยัง รู้จักไหม คืออะไรรู้ไหม ?
• ธรรมคือความจริงที่เราอยู่ เราเป็น เราต้องอยู่ เราต้องเป็น ตีความออกไปได้อีกไหม ทุกข์เป็นความจริง สุขก็เป็นความจริง ความจริงในแบบของโลก ในแบบของที่ลวง เราจะรู้ทุกข์เมื่อเราประสบกับความทุกข์
• แต่นี่เรามาศึกษาธรรมเพื่อปฏิบัติธรรมให้ได้ธรรม ธรรมนั้นเป็นเรื่องของการศึกษา ทุกข์ให้รู้ทุกข์ กินใจว่าทุกข์นั้นสาหัสพอที่เราจะทนได้หรือไม่ จะแก้ทุกข์ ทิ้งทุกข์ ต้องปฏิบัติรู้ใจ ศึกษาใจ รู้จักตัวของเราดี ตัวเรานี่แหละคือพระธรรม

8 กุมภาพันธ์ 2521

☺ จะฟังอะไร
• การพิจารณานั้น ทำกันได้แค่ไหน บังคับจิตบังคับใจได้ไหม ความตั้งใจเป็นของสำคัญที่จะทำให้ใจเป็นสติ เป็นปัญญา เป็นสมาธิ อย่าละ อย่าเว้นการทำสมาธิ และต้องหมั่นพิจารณาความประพฤติ การปฏิบัติของตนในทุกขณะ เมื่อมีสิ่งมากระทบจิตใจ ต้องรู้ว่าเราควรทำอะไร เมื่อไร วางอารมณ์ของตนอย่างไร ไม่ใช่ว่าเมื่อมีสิ่งกระทบแล้วค่อยแก้ไขเมื่อเหตุการณ์นั้นจบสิ้น จงตั้งสติ สมาธิ ให้ตรงที่ใจอยู่ตลอดเวลา

• อย่าประมาทในเหตุ อย่าประมาทในเรื่องตั้งอารมณ์ ให้นึกถึงธรรม คือรู้ในความจริงของการกระทำ ใช้พรหมวิหาร 4 เป็นหลักในการดำเนินอารมณ์ สี่ข้อนี้ต้องรู้หลักในการใช้ให้ถูกให้ควร เมตตาเมื่อไร กรุณาเมื่อไร มุทิตาเมื่อไร อุเบกขาเมื่อไร แล้วจงใช้สัมปชัญญะรู้ในปัญญา

• ปัญญาเป็นความรู้ ความรู้คือพุทธะ ฉะนั้นการที่เธอใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” นั้นเพื่อเตือนสติให้รู้อยู่ตลอดเวลา
• เป็นไง การที่มาปฏิบัติกันนี้น่ะ รู้ธรรมกันไปบ้างหรือยัง พิจารณาให้เห็น “เรา” ว่าเรามีอะไร ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เข้าใจกันแค่ไหน เพียงเท่านี้ก็จงไปสำรวจกันให้ลึกซึ้งว่าอะไรเป็นอะไร

• สำคัญที่สมาธิ การทรงฌาน ทำกันได้ไหม เวลา (ของ) ทุกคนเหลือน้อยแล้ว จงหมั่นเข้านะ อย่าประมาทในชีวิต อย่าประมาทในกาลเวลา การพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดา การพลัดพรากนี้คือสูญหาย เราต้องเอาธรรมะมาเป็นข้อเตือนใจว่า มีเกิด มีแก่ มีชำรุด มีตาย หมดสภาพ พังไป เท่านี้ เป็นคำจำกัดความของธรรมะ ท่องและทำใจให้รู้อยู่ตลอดเวลา ของทุกสิ่ง ทุกชิ้น ทุกอันไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของที่เราผลัดกันใช้

• ฉะนั้น อย่าหลงในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส จงทำใจหักอาลัย หักอารมณ์ การที่เราอยู่กับโลก เกิดเป็นคนนั้นจะอยู่ให้สุขสบาย จะต้องรู้จักคน เข้าใจคน ศึกษาได้จากตัวเอง อุปสรรคของคนก็คือคนนั่นเอง จงพิจารณาอยู่ที่ตัวเอง แล้วเราจะแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้พ้นความร้อนได้

30 เมษายน 2523

☻ (ปรารภ – ใจไม่ปกติ)
☺ อย่าให้ใจร้อนรุ่มเกินไป ใจร้อนเป็นเพราะอะไรบอกปู่ซิ ความโกรธใช่ไหม ไม่พอใจใช่ไหม ไม่ถูกใจใช่ไหม เมื่อรู้เช่นนี้เราก็ต้องวางใจไว้ว่าโกรธไม่ได้อะไร ไม่พอใจทำให้ทุกข์ โดยเราทำตัวเราเอง ให้คาถาว่า “ช่างมัน”

23 กรกฎาคม 2525

☺ ปู่จะบอกให้ ทุกๆ คนนะ ที่คราวนี้ปู่มาก็เพื่อจะบอกว่าให้รู้จักใช้สติปัญญาหาเหตุผลที่เราศึกษาก็เพื่อให้เกิดปัญญาว่าอะไรควรทำ อะไรควรกลัว ภัยทุกอย่างในโลกนี้ โลกหน้า และโลกต่อๆ ไปล้วนมากมายใหญ่นัก ภัยเหล่านี้จะสิ้นสูญหายไปได้โดยไม่ต้องพบพาก็ด้วยปัญญาตัวเดียวเท่านั้น

• อย่ากลัวอะไรจนดูเป็นเขลา อย่าเชื่ออะไรโดยไร้สาเหตุ หาผลไม่ได้ เราเป็นศิษย์แห่งองค์พระสัพพัญญูเจ้า จงรู้จักใช้ปัญญา อย่าให้เขาหมิ่นว่าเราไม่มีภูมิแห่งปัญญา
• สุดท้าย ปั้นปลายของเธอทั้งหลายปรารถนาการไม่เกิด รู้ทุกข์ของการเกิดดีอยู่ ฉะนั้นจงตั้งใจฝึก ปฏิบัติให้ได้ถึงที่ซึ่งพึงปรารถนา นี่แหละจะเป็นความโสมนัสที่ปู่จะได้

◄ll กลับสู่สารบัญ



46

คำเทศน์ของ หลวงปู่ใหญ่ (วัดท่าซุง)


8 ตุลาคม 2523

☺ นี่นะ การทำจิตให้นิ่งอย่างหนึ่ง การทรงสติให้ดีอย่างหนึ่ง ต้องทำให้ได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ได้ที่เผลอหรือเวลาหลับตา อย่างนั้นไม่เอา อย่างนั้นถือว่าชุ่ยนะ อีตอนจะตายมันเผลอไม่ได้ มันง่วงไม่ได้อีก หรือว่าได้ยะ ?

◄ll กลับสู่สารบัญ

((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top