หนังสือ"พรสวรรค์" รวมเล่ม 1-2-3 (ตอนที่ 4 )
หน้าปกหนังสือ "พรสวรรค์" ฉบับรวมเล่ม
พรสวรรค์
(รวมเล่ม1-2-3 )
คำแถลง1. ข้อความในหนังสือนี้ได้รับมาจากการทรงกระดาน (ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า "ผีถ้วยแก้ว") กับการเข้าทรงแบบทั่วไป
ผู้จับแก้วให้เดิน อย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นผู้สามารถเป็นสื่อได้ (ให้ประทับทรงได้) โดยธรรมดาเราใช้ 2 ถึง 3 คน ซึ่งมีความรู้ทางธรรมเพียงตื้นๆ
คำกล่าวที่ว่า "ผู้เดินกระดานไถแก้วไปตามใจตนนั้น" ลองคิดดูว่า 3 คน 3 ความคิด หากไถแก้ว ตามข้อความที่เทศน์แล้ว
จะเห็นได้ว่าลึกซึ่งกว่าผู้ที่ศึกษาธรรมทั่วไปเสียอีก (เกินความรู้ของผู้จับแก้ว) ส่วนผู้ที่ประทับทรงนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่
ปกติไม่ได้ประทับทรงเป็นประจำ และจะประทับทรงก็ต่อเมื่อท่านผู้มาเดินกระดานขอร้องเท่านั้น
2. ข้อความเหล่านี้ ได้ตัดเอาคำสุภาพ เช่น "ครับผม" หรือ "พระพุทธเจ้าข้า" ออกไปเสีย เพื่อย่นเนื้อที่กระดาษ
3. ท่านที่มาเดินกระดานโดยปกติ เราไม่ได้บ่งชื่อว่าขอเชิญองค์นั้นองค์นี้ ท่านมาโปรดของท่านเอง หรือหากเทพผู้ควบคุมการเชิญกระดานไปเชิญ
เราก็ไม่อาจทราบได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านจะเสด็จจะต้องมีผู้ไปทูลเชิญก่อน เว้นแต่จะทรงโปรดเป็นกรณีพิเศษ
4. ศัพท์ภาษาบาลี คงจะผิดพลาดด้านตัวสะกดบ้าง เพราะเวลาผู้อ่านอ่านมา ผู้จดก็สะกดเอาเอง โปรดอย่าถือเป็นข้อบกพร่อง
คณะพรสวรรค์
สารบัญ
47. คำเทศน์ของ หลวงตาแสง (Update 11/08/53)
48. คำเทศน์ของ เทศน์ร่วมกับหลวงพ่อปาน
49. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 2 (Update 18-08-53)
50. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 3 (Update 25-08-53)
51. คำเทศน์ของ เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร
52. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น
53. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 2 (Update 1-09-53)
54. คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุธสันโธ
55. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 3
56. คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 4 (Update 8-09-53)
57. คำเทศน์ของ สมเด็จพระพุทธกัสสป หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น
58. คำเทศน์ของ หลวงตาแสง (Update 20/09/53)
59. คำเทศน์ของ หลวงตาแสง (Update 2/10/53)
60. คำเทศน์ของ หลวงตาแสง (Update 19/10/53)
47
คำเทศน์ของ หลวงตาแสง
(หลวงตาแสงนี้ หลวงพ่ออาจารย์ของเราบอกว่าเป็นพระอรหันต์ที่สำเร็จ ณ สถานที่ที่ทรงกระดาน อันเคยเป็นวัดมาแต่เก่าก่อน
จะขอเปรียบเทียบด้วยความเคารพว่าท่านเป็นผู้จัดการ หรือเป็นเจ้าของดูแลรับผิดชอบพิธีการในการทรงกระดานก็ได้ รวมทั้งการจัดสถานที่และความเรียบร้อยในบ้านด้วย
สมัยของท่านคาดว่าประมาณ 200 ปีที่ล่วงมาแล้ว
เวลาทรงกระดานท่านมักจะมาก่อนเป็นองค์นำ เมื่อหมดกิจของท่านแล้วองค์อื่นก็เปลี่ยนมาโปรดตามแต่จะเมตตา แต่ในระยะหลังๆ นี้
พระที่เสด็จมาโปรดบางทีท่านก็ไม่แสดงชัดว่าเป็นอีกองค์หนึ่ง ท่านโปรดพร้อมๆ กัน คือผสมไปกับหลวงตาแสง
ฉะนั้น ตอนใดจะเป็นของหลวงตาแสง ตอนใดจะเป็นขององค์อื่นก็ทราบไม่ได้ ท่านบอกว่า ถ้าแยกต่างหากแล้วบางทีพวกศิษย์มักจะเกร็ง ไม่กล้าถาม ไม่กล้าคุย)
16 กันยายน 2518
☻ (ปรารภกันว่าการทรงกระดาน เชื่อถือได้หรือไม่)
☺ มีอะไรที่แล้วมาไร้สาระ เธอเชื่อมั่นในอะไร ?
☻ (ตอบ มั่นในพระพุทธเจ้า ในคำสอนของท่าน)
☺ ถูกแล้ว อย่าหวั่นไหว จิตของคนไม่เหมือนกัน ความเชื่อของแต่ละคนต่างกัน
☻ คนอื่นเขาเห็นแต่กระดาน
☺ เธอเห็นเท่านั้นรึ ที่สอนมองไม่เห็นรึ สักกายทิฐิ แล้วที่จับนี่ละ จับ 3 คนแล้ว เดินด้วยความคิดเดียวกันรึ
(ทดลองให้คนที่เป็นหลักออก ให้คนอื่นจับ แต่"ถ้วย"ไม่เดิน)
☺ แค่นี้ยังไม่เหมือนกันเลย
9 เมษายน 2518
☺ สิ่งที่ฉันอยากพูดให้รู้กันทั่วๆ ไปก็คือว่า คนเราก็มีโลกธรรม 8 อยู่ใช่ไหม
เด็กหนุ่มทั้งหลาย ลูกหลานก็ดี เธอต้องดูให้ทุกคนได้รับความเป็นกลาง ไม่ใช่ว่ารักคนนั้น รัก บริการคนนี้ ทำให้อีกหลายๆ คนต้องเกิดอารมณ์ที่ว่า
หมั่นไส้ ขึ้น จะทำให้เด็กทั้งหลายเกิด ฉัน เกิด ท่าน ขึ้นแล้ว ความแตกสามัคคีจะมีมา เช่น คนนั้นก็เห่อ คนนี้ก็ยุยอคนนั้นเรียกบริการคนนั้น คนเราน่ะ
โลกธรรม 8 มันกินใจมาก
ในฐานะที่ฉันเป็นเจ้าของรัก ฉันตอนนี้ ระวังว่าจะมีอะไรต่ออะไรในหมู่เด็ก อย่าทำอะไรให้ใครพิเศษมากกว่าใคร บอกไปทั่วๆ กันด้วย
5 พฤศจิกายน 2518
☺ พระพุทธเจ้าท่านทรงเล็งเรื่องศรัทธาเป็นประการแรก คน ถ้ามีศรัทธาเป็นเบื้องต้นแล้ว ต้องตามมาด้วยธรรมที่ถึงพระศาสนา
10 ธันวาคม 2518
☺ รู้ คือ เข้าใจจริง
☺ แจ้ง คือ มองเห็นตัวอย่างชัดขึ้น
☺ แทงตลอด คือ พิจารณาลงไปอีกจนรู้ ให้เป็นเอกว่าถูกต้อง ทำได้เป็นสมุจเฉทปหาน
เมตตาอย่างกรุณานั้น คือเราสงสารเขา แต่ไม่รู้ว่าสงสารของเรานั้นจะช่วยได้ ในทางดีหรือเสียก็ไม่รู้ใจตนเอง
จึงต้องมีอารมณ์ให้หนักเบาตามความพอใจของเราของอารมณ์ในเวลานั้น นั่นแหละคือไม่มีเมตตาอย่างกรุณา
สงสาร อยากจะช่วยเขาแต่อายไม่ทำ เมตตาอย่างไม่กรุณา คำว่าอาย อาจเพี้ยนเป็น กระดาก หรือ กลัว หรือ ทิฐิ
ดังนั้น เป็นเรื่องของเราที่ขาดเมตตา มุทิตา กลัวเขาว่า กลัวเขาชม กลัวเขาเลว กลัวเขาดี ผลคือ อิจฉา
การเข้าไปช่วยเขา โดยที่เขายังไม่ขอร้องนั้น เป็นเรื่องของการขาดเมตตา อุเบกขา ส่วนที่ขอร้องนั้นเป็นเรื่องของเมตตาและกรุณาล้วนๆ
อยู่ที่ตัว รู้ รู้ว่าคนที่ขาดความช่วยเหลือนั้นเป็นคนชนิดใด เรารู้ อารมณ์คนน่ะมันละเอียดนะ ทุกคนไม่ว่าใครที่ว่าตัวเองหยาบน่ะ
คนหยาบน่ะก็ต้องรู้ว่าเราเป็นคนละเอียด หยาบด้วยการกระทำ แต่ใจ ลองมีสิ่งใดมากระทบซิ ร้องทีเดียว... ใช้คำว่า เต้น น่าจะเหมาะกว่า
17 ธันวาคม 2518
ให้คาถาแก้มะเร็ง
สัมพุทโธ มะอะอิ ระโชหะระนัง ระชังหะระติ
คำว่า ช่วย มันก็แจ้งอยู่แล้วว่า สละ สละแรง สละใจ สละปัจจัยเพราะช่วย บุญเกิดเพราะสละ การสละเรียกว่าทาน
18 กุมภาพันธ์ 2519
เวลาเทพดีใจเขาจะให้ของมงคล ในที่นี้คือสวรรค์นั้นถือว่าพระพุทธวิเศษสุด บ้างจะเห็นเป็นทองแดง เป็นปูน เป็นเงิน เป็นทอง เป็นเพชร
ตามแต่บุญบารมีของเทพแต่ละคน
ตารู้มาตั้งนานแล้ว ไอ้เบื้อกพวกนี้น่ะ (หมายถึงเด็กหนุ่มๆ) มันมีความรู้ แต่การอบรมมารยาท ตารู้ว่าที่ควรก็มีไม่ควรก็มี
มันต่างกันที่ว่าบางคนก็เรียนน้อย แต่ไม่ได้อยู่ในสังคม ใจน่ะ ดีทุกคน แต่คำว่าอบรม มารยาท มันต้องมีมาตั้งแต่เด็ก และพวกไหนล่ะ ที่มี
เรื่องนี้สำคัญนะ ไม่งั้นพุทธบัญญัติของพระพุทธเจ้าท่านไม่สอนตั้งแต่กินข้าว มารยาท เดิน ยืน นอน หรอก เพราะพระองค์เห็นที่มาของแต่ละคนผิดกัน
เหมือนกับคนไม่มีเงินแล้วมาทำบุญทีละมากๆ เป็นไง บาปนะ ถ้าปากท้องตัวเองและคนอื่นพลอยเดือดร้อนไปด้วยน่ะ ด้วยท่านตรัสรู้ว่า
การทำบุญอย่างกระเบียดกระเสียดตัวเอง มันบาป ฉันใดก็ฉันนั้น คนทำงานบุญก็เช่นกัน
9 กรกฎาคม 2519
สอนหญิงคนหนึ่งเรื่องลูก
☺ แม่ คือผู้เสียสละ เราให้กำเนิดเขา เราก็เลี้ยง อบรมเขาตามความสามารถที่เราทำได้ ส่วนเขาจะเชื่อหรือไม่นั้น มันอยู่ที่สันดาน บุญของเขา
บางคนพ่อแม่ก็แสนที่จะดี แต่ลูกยังตรงกันข้าม มีถมไป
☺ บางอย่าง เราก็ต้องให้เขามีแบบฝึกหัดเอง บางคนห้ามไม่ฟัง ต้องให้เจ็บแล้วถึงจะเชื่อ เราไม่ปล่อยเขาก็ไม่รู้คิด ความรับผิดชอบของเขายังไม่มี
เพราะยังไม่มีใครให้เขารู้สำนึกรับผิดชอบเอง มีเรื่องอะไรมาทำไม่ได้หรือแก้ไขไม่เป็น ก็โยนให้พ่อแม่รับผิดชอบ
แล้วทีหลังเมื่อไรล่ะที่เขาจะรับผิดชอบของเขาเป็น
สอนเฉพาะคน เรื่องปฏิบัติธรรม
เราอย่ามากหมอมากครูนะ ดูให้รู้ตาม้าตาเรือ ระวัง เดี๋ยวจะโดนนรก
ตาจะบอกให้ เวลาเรียนภาษาน่ะ ต้องเรียนทีละภาษาถึงจะเก่ง เรียนพร้อมกันหลายภาษาระวังจะไม่รู้เรื่องสักภาษา
เรียนภาษาอังกฤษนั้น รู้และใช้ได้รอบโลก เรียนภาษาขอมนั้น มันใช้ได้ในโบราณวัตถุ ซึ่งน้อยครั้งจะใช้ได้
อันที่ 1 ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานคือ สมาธิ ฌาน ต้องให้คล่อง ฌาน 1-2-3-4 แล้วหัดถอย 4-3-2-1 แล้วก็หัดจาก 4 มา 1 จาก 1 ไป 3 หรือสลับไปมา นี่แหละ ก.ไก่
ข.ไข่ เรารู้ ชำนาญผสมอักษร ก.ไก่ ข.ไข่ แล้วจะเขียนยังไงก็สบาย
เธอ บางทีตาไปดู บางทีก็อุปจารสมาธิ บางทีก็ถึงฌาน 2-3 อย่าไปจับว่าจะรู้ไม่รู้ ต้องทำจิตให้สงบ สงบแล้วจิตจะวิเวก เมื่อถอนสมาธิออก ค่อยคิด
ค่อยสังเกตว่าอารมณ์เป็นอย่างไร ตำรามี
สมถะ อย่าไปนึกถึงอารมณ์โกรธ-ไม่โกรธ นึกถึงภาพหรือคำภาวนา ทำใจให้ปราศจากนิวรณ์ 5 นิ่งที่สุดทำได้ไหม นิ่ง คือไม่คิดอะไร ไม่กังวลอะไร ไม่นึกอะไร
นึกได้คือคำภาวนา คิดได้คือรูปที่เราจับ เช่น พระ เทียน แสง สี คือการทำกสิณ
ขอ ไม่ต้องขอเพราะบุญเราทำได้ เพียงแต่ทำ เราจะสร้างของชิ้นหนึ่งเรามีแบบแล้ว เรามีอุปกรณ์แล้ว อยู่ที่ว่าลงมือเมื่อไร แต่กระนั้น ถ้าลงมือแล้วทำเหยาะๆ
แหยะๆ เมื่อไรจะสำเร็จ
ขอว่าหน่อยเถอะ บุญที่มีมา กรรมดีทั้งนั้น แต่ขยันฝากออมสิน
☺ ใช้คาถา อรหังสัมมาสัมพุทโธ อิติโสคโต นะโมพุทธายะ อันนี้ก่อนเพื่อคุ้ม ว่า 5 ครั้งแล้วค่อยทำสมาธิ
สอนอีกคน
ตาจะให้คาถาไว้อย่าง คนก็คือคน อยู่อย่างคน จะเอาอะไรกับคนเพราะมันคนถึงขุ่น ใจคนเราเหมือนเครื่องยนต์ ใช่บ่อยๆ มันก็ล้าบ้าง โกงบ้าง ไม่ซื่อ
แต่เวลาใดที่เราพักโดยหยุดเครื่อง มันจะลดการสึกหรอลงมาก จะมีเจ้าของมาปรับปรุงให้สะอาด
สมาธิ คือหยุดเครื่อง
วิปัสสนา คือคนปัดฝุ่น
◄ll กลับสู่สารบัญ
48
23 กันยายน 2519
เทศน์ร่วมกับหลวงพ่อปาน
☺ ชาติก็เหมือนกับคนเรา รัฐบาลก็เปรียบกับระบบทำงานของร่างกาย ฉะนั้น ระบบการปกครองก็ดี ระบบนโยบายของรัฐก็ดี มันดูรู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วยมานานแล้ว
หาหมอมากี่คนๆ ก็ต้องเลี้ยงไข้ บ้างวินิจฉัยโรคไม่ถูก มันต้องให้หมอมีฝีมือทำการ อาจใช้ยาแรงขึ้นกว่ายาเก่าก็ได้ เพราะเราเคยกับยาตามบ้านมานานแล้ว
หรืออาจจะต้องทำผ่าตัดก็ได้ อยู่ที่หมอใหญ่เขาจะสนใจคนไข้รายนี้หรือยัง
หมอก็สนใจแล้ว โรคนี้ตาวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อร้าย เธอว่าสมควรจะผ่าตัดหรือตัดทิ้งหรือให้ยาแก้เจ็บพอประทัง ?
สอนเฉพาะเป็นรายบุคคล
ศาสนาจะเจริญ จะดีวิเศษก็เพราะพระสงฆ์ ศาสนาจะเป็นที่เลื่อมใสของชนทั่วไปก็อยู่ที่จิตใจของเราแต่ละคนจ้ะ ถ้าแต่ละคนยึดมั่น เคารพในศาสนาแน่ๆ ทั่วๆ ไป
เมื่อรวมกันขึ้นมามันก็เป็นแรงศรัทธาที่หนาแน่น แต่ถ้าน้อยรายที่ยึดถือพระศาสนา เราจะไปตะโกนอ้าวให้คนทั้งหลายว่ามาเคารพซิ ของฉันดี
. เขาจะมารึ
เสียเวลาเสียน้ำลายเปล่าๆ
อย่าเกิดเลย ชั่วชีวิตเรามันก็แสนสาหัส เท่าที่เราพบมา ฉะนั้น เอาสิ่งที่เป็นทุกข์กายทุกข์ใจนั้นมาตีให้แตกต่างว่าอะไรเป็นเหตุผลของทุกข์
แล้วจงสั่งสอนตัวเองและลูกให้รู้ว่าทุกข์นั้นทรมานใจเราแค่ไหน
เราอยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ คนนั้น คนนี้ เป็นอย่างใจเรา ถ้ามาพิจารณาดูว่าที่คนอื่นเขาอยากจะให้เราเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ เราก็ทำยาก ฉะนั้น ยากไปมีโมหะ
คือความไม่สมอยาก อย่าไปมีโทสะเมื่อมันขุ่นมัว
จงระลึกว่า เรานั้นเกิดมาเป็นคนทำบุญ ฉะนั้น สิ่งไรเป็นบุญ เราจะทำโดยไม่ต้องกังขาหรือวิจารณ์ไปต่างๆ ทางหลุดพ้นของเธอคือบุญ
ทำดีก็อย่าไปกลัวว่าเราทำไม่ได้ หรือทำไม่ถึง หรือมีไม่พอ ทำไปเถอะ สะสมมากขึ้นเอง เราเองก็ไม่ใช่ไม่มีพื้นฐานบุญ ตรงกันข้ามมีมากพออย่างที่จะค่อยๆ
เดินก็ถึง สำหรับคนบุญดีสังเกตได้ง่าย คือ ไม่มีห่วงติดตัว พวกนี้ง่ายมาก เปรียบเสมือนคนที่ว่าเป็นพรหมในตัว
คนเรานะ มันจะเจริญต่อไป ต้องมีสัจจะเป็นสำคัญ งานนั้นเราจะทำให้เจริญก้าวหน้าให้ดัง ต้องเป็นคนจริงมากกว่าที่เป็นอยู่
เราต้องมีอุตสาหะคืออดทน ต้องรู้รับผิดชอบในเรื่องที่ตัวมีส่วน ต้องรักษาและระงับอารมณ์ให้เป็น
ต้องรู้จักพูดให้ถูกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรพูด ไม่ควรพูด
เราทำงานนั้นไม่ใช่ทำคนเดียวหรือสองคน จำต้องทำเป็นหมู่ขึ้นไป ฉะนั้น ต้องมีสามัคคีเป็นหลัก จะสามัคคีกันได้ก็ต้องมีความเข้าใจแต่ละคนดี
จะเข้าใจแต่ละคนได้ก็ต้องมีความประพฤติที่ดี และจุดใหญ่ของความสามัคคี คือ สัจจะในการพูด
พูดนั้น ต้องรู้จักพูดแต่ในสิ่งที่ดีและที่รู้จริง ต้องพูดไม่ให้คนแตกกัน ทะเลาะกัน หรือหวังพูดเพื่อให้คนเห็นความดีของเรา แต่ละคราว
ต้องพูดในสิ่งที่เป็นมงคล
กลุ่มใดหมู่ใดที่แตกกันเพราะพูดแต่เรื่องคนอื่น ใส่ร้ายคนอื่น พูดถึงความไม่ดีของคนอื่น ทั้งๆ ที่รู้ว่าร่วมงานกันอยู่
ทั้งนี้จะไม่ทำให้แตกเป็นอคติกันขึ้นรึ เพราะปากมันต่อปาก คนที่รู้จริงต้องเป็นคนที่รู้ว่าอะไรถูกกาลเทศะ ว่าควรพูดสิ่งไหน จำไว้นะ
เราต่อไปไม่ได้อยู่คนเดียว ถ้าอยู่คนเดียวก็เหมือนกับคนเสียจริต
การฟังมาก ย่อมจะได้อะไรที่ดีนะ เรารู้ เราฟังก็อย่าให้เสียที ฟังมาก รู้มาก ก็ต้องทำมาก แต่อย่างแรก
ต้องรู้ว่าหน้าที่ตอนนี้เราต้องทำอะไร แล้วก็จงหมั่นเพียรทำไปตามนั้น
25 ตุลาคม 2519
☺ ที่พระธาตุจอมกิตตินั่น เขาถือเป็นหลักชัยของไทย เพราะเขาถือว่าเริ่มสร้างอาณาจักรไทยครั้งสำคัญที่นั่น
8 พฤศจิกายน 2518
พูดอะไรอย่าให้ไปตรงใจดำเขา บางคนเขาก็ไม่ชอบให้ว่าเอาง่ายๆ จะพูดอะไรให้ดูคน ยอไว้ให้ดี ไม่ใช่พูดไม่จริง
คือเราพูดในความดีของเขาที่เราเห็นเพื่อเป็นกำลังใจนิดๆ หน่อยๆ คนส่วนใหญ่ อย่าลืมว่าไม่มีใครชอบให้ใครมาว่าๆ ตัวไม่ดี
(ถามถึงองค์ที่มาทำน้ำมนต์ แล้วให้พรว่า อาตมาขออนุโมทนาบุญในกุศลของความดีที่พวกเธอได้กระทำ อันมีพระรัตนตรัยเป็นประธาน
จงอภิบาลรักษาเธอทั้งปวงได้เข้าถึงซึ่งความสุขความเจริญ ไพบูลย์พูนผล ทุกสิ่งที่ปรารถนา ให้สมประสงค์ทุกประการ ว่าเป็นท่านผู้ใด)
ว่าองค์ไหนก็เป็นองค์นั้น ความจริงทุกองค์ก็อยู่กับเรา เรายิ่งมีความดีมากขึ้นเท่าใด เทพท่านก็อยากรู้จักเรามากเท่านั้น
เมื่อท่านรู้จักแล้ว มีอะไรร้อนท่านก็ช่วย
2 กุมภาพันธ์ 2520
เตือนเฉพาะบุคคล
ลดการดุลงบ้าง ดุลูกจ้างดุได้ ดุลูก ดูให้น้อยลง เพราะจะสร้างห่วง หวง หลง รัก อยากให้ละหลงห่วง หลงรักลง ไม่งั้นจะสร้างทิฐิคือความถือดี ถือยศ เมื่อมี
ถือ ก็ถือความงมงาย ของฉัน ก็จะเกิด เมื่อเกิดทวีขึ้นแล้วในอารมณ์ก็ยิ่งทุกข์ เชื้อที่เราทิ้งอย่าไปเขี่ยมัน พยายามเอาสมาธิมาเป็นน้ำดับมันทั้งๆ
ที่ดับแล้ว เพื่อความแน่ใจและแน่นอนว่า เมื่อมันแห้ง จะไม่เป็นเชื้อให้เราจุดติดอีกต่อไป
ดุเพราะความผิด ควร ดุเพราะเหตุผล ควร ดุเพราะไม่ฟังเหตุอันควร ควร ดุ ต้องดุแบบครู เช่นที่ตาตำหนินี่ไม่ใช่ทุกครั้ง นิดเดียว (ที่บกพร่อง)
ก็จะให้ตาสอนไม่ใช่รึ ตาก็จะจัดให้สิ่งที่นิดๆ หน่อยๆ ที่พลาดมาสะกิด
☻ (ถาม รักษาศีล ต้องสมาทานทุกครั้งหรือไม่ ?)
☺ การสมาทานศีลนั้น เป็นการประกาศให้เทพโมทนา
16 กุมภาพันธ์ 2520
(กรณีศิษย์คนหนึ่งตายด้วยอุบัติเหตุและไปดี)
☺ สบายไปแล้ว
☻ ขอให้เล่า
☺ เขาทำพิธีรับ พึ่งเสร็จ
รีบๆ ทำกันไวๆ หมั่นสำรวจทุกข์ที่มีต่อกาย ต่อในที่กระทบ ฉะนั้น เรื่องที่เป็นข้อพิสูจน์
1. ว่ายึดมั่น เชื่อมั่นในพุทธานุภาพ
2. เชื่อ และรู้ในสัจธรรมของมวลมายา
3. รู้ในภาวะตนเองของจิต เมื่อกระทบกับความจริง
4. รู้ทุกอย่างว่าอนัตตา
☻ (ถาม คนดีๆ ทำไมไม่อยู่เพื่อประเทศชาติ ?)
☺ คนดีๆ เขาก็หนีไปเสวยวิมุตติสุข
21 กุมภาพันธ์ 2520
(พูดกันถึงคนที่ตาย)
☺ นี่แหละธรรม
ธรรมที่เป็นของธรรมชาติธรรมดา ความจริงที่ทุกคนต้องประสบพบแก่ตน ไม่ช้าก็เร็ว ธรรมะที่ได้จากของความเป็นจริงของโลกนี้อยู่ที่ใจเรา
ว่าเข้าได้ถึงความจริงแท้แค่ไหนว่า ทุกข์ย่อมเกิดแก่แต่ละคนเท่ากันหมด
คนเรา การเกิดย่อมเป็นสิ่งบ่งบอกว่าตำแหน่งที่เกิดนั้นกินบุญ กินกุศลเดิมเท่าไร
เมื่อรู้ถึงบุญกุศลแห่งความดีแล้วย่อมจะนำพาให้เราได้เข้าสู่ทางเจริญธรรมด้วยวิชา วิชาเป็นตัวกรองให้ใจได้เข้าถึงอริยมรรค ฉะนั้น
ทุกผู้ทุกนามจึงควรปฏิบัติตนให้รู้ก็รู้แท้ รู้ถึงความจริงของภาวการณ์ของคน
2 มีนาคม 2519
☻ (ถาม เราจะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรของคนอื่น จะมีผลหรือไม่ ?
☺ มี
☻ (ถาม เคราะห์ของผู้นั้นจะเบาบางลงหรือไม่ ?)
☺ แล้วแต่โอกาส
☻ (ถาม กรรมหนัก ผ่อนเป็นเบาได้ไหม ?)
☺แล้วแต่ชนิดของกรรม
☻ (ถาม เราจะให้เรื่อยๆ ไป โดยไม่นึกอะไร ดีหรือไม่ ?)
☺ การให้ เขาจะรับหรือไม่นั้นอยู่ที่เขา แต่การให้ก็มีอานิสงส์เป็นบุญ
☻ (ถาม การชักชวนผู้ปรารถนาพุทธภูมิให้ลานั้น จะเป็นบาปหรือไม่ ?)
☺ อันที่จริงก็ไม่สมควร พวกพุทธภูมินั้นเขาปรารถนาจะทำให้บุคคลหรือสัตว์ได้ก้าวถึงธรรม หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ฉะนั้น ต้องบำเพ็ญธรรมบารมีมากมายนัก
พวกท่านเหล่านี้จะสนใจในวิชาครูมากกว่าที่จะตัด ละทิ้งโลก โดยเฉพาะท่านที่ถึงปรมัตถบารมี มิบังอาจกล่าวถึงการลาพุทธกิจของพุทธศาสนาที่กระทำไป
บารมีท่านสะสมมาด้วยความเพียร
☺ พระอรหันต์เจ้า ก็ยังมีเจ้ากรรมนายเวรอยู่ ผิดแต่ว่าเขาจะถึงท่านได้หรือไม่
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
49
(Update 18-08-53)
หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 2
(กับผู้ที่ลาสิกขาบทใหม่ๆ)
☺ การพ้นภาวะนักพรตนั้น ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนสุก สุก คือบุคคลนั้นได้นำธรรมอันประเสริฐของพระศาสนามาเผากิเลสตัณหาให้ลดน้อยถอยลง
จงนำเอาธรรมนี้เป็นจริยาของเรา เพื่อนำอนาคตเราให้เป็นสุข สู่ความเจริญ
☻ (ถาม ใส่บาตร จะไม่กรวดน้ำ แต่ใช้วิธีจบเสียก่อนใส่ จะได้รับหรือไม่ ?)
☺ ได้ แล้วแต่กระแสแรงของวาสนาผู้รับ บางรายอธิษฐานเฉยๆ ก็ได้รับ บางรายก็ใช้วิธีอธิษฐานไม่ได้ บางรายอุทิศส่วนกุศลก็ได้รับ บางรายก็ต้องคอย
ตามแต่กรรม ตามแต่กระแสวาสนา
☻ (ถาม ทำสมาธิแล้ว แผ่ส่วนกุศลให้พ่อแม่ ท่านจะได้รับหรือไม่ ?)
☺ ได้ คนสูงรับของคนธรรมดาได้ คนต่ำรับของคนสูงลำบาก นอกจากทิ้งถูกจังหวะถึงจะตรง คือมีกระแสถึงกัน เช่น เมื่อมีนิมิตหรือเทพมาเตือน
เขามาขอเรียกว่ากระแสตรงกัน
17 สิงหาคม 2520
☺ การพบพระที่มีจริยาวัตรเป็นสุปฏิปันโนนั้น นับว่าเป็นบุญอันประเสริฐสิ่งหนึ่ง และถ้าจะให้มีมงคลสุขต่อไปอย่างจีรังยั่งยืนนั้น ต้องหมั่นฝึกหัด
ทำให้ถึงธรรม รู้ธรรม และมีธรรมในตนด้วย ถึงจะเอ่ยคำว่า สุข ได้เต็มปาก
คนเรามีกรรมเป็นที่เกิด เป็นที่มา และเป็นที่ไป ฉะนั้นทุกๆ อย่างที่กรรมหนุนทั้งนั้น ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว เว้นว่าอย่างไหนจะมากน้อยกว่ากัน
ถึงรู้ว่าอะไรต่างๆ ที่เป็นอยู่นี้ คือความเป็นธรรมดา ธรรมชาติ คนเราในชีวิตนั้นขึ้นสะพานได้หนเดียว แต่จะอยู่บนสะพานนั้นได้นานเท่าใด
ก็สุดแต่ความสามารถในทางสร้างบารมีให้แก่ตน แต่ถ้าบารมีไม่พอ ก็ต้องหาบารมี พาพยุงให้ลงจากสะพานนั้นได้อย่างนิ่มนวล
7 มิถุนายน 2520
☻ (ถาม หมั่นไส้คนใกล้ชิด เห็นเขาทำอะไรผิดเสมอ เช่น แกล้งยั่ว ฯลฯ)
☺ อย่าพะวงซิว่าเขาจะสนใจเราไหม หรือว่าเขาห่วงเราไหม ถ้าพะวงก็แสดงว่ายังรักอยู่ จะอยู่อย่างมีห่วง คือต้องการความสนใจ
ที่จริงเป็นเรื่องของใจใครใจมัน ถ้าเราสนใจแสดงว่ามีน้ำใจ ถ้าไม่ในใจ แสดงว่าเขา อาจลืมเรา เราก็อย่างไปติ เพราะเป็นเรื่องของเขา
☺ ช่างเขา เขาดี เขาชั่ว เขารัก เขาเคารพ เขาเกลียด เป็นเรื่องของเขาเพราะเขาทำ ถ้าเราเฉย ใจเราก็สบาย ไม่แพ้กิเลส ถ้าเราคิดเราจะติด แล้วจะได้ บุญ
สามอย่างคือ
กิเลสเราเพิ่ม
ตัณหาเราเพิ่ม
อุปาทานเราเพิ่ม
☺ แล้วยังมี บุญ น้อยๆ อีก 3 คือ
โลภะ อยาก
โมหะ หลง
โทสะ โกรธ
เห็นไหม
เพราะเราสนใจเขามากจึงเห็นแต่สิ่งที่ผิด สนใจจนเห็นว่าผิดมากกว่าถูก เพราะเรารักเขามากจนอยากให้เขาดีทุกอย่างดังใจ
เราต้องยอมรับว่าแต่ละคนมีความคิดเป็นของตน เป็นอิสระ เราต้องยอมรับความคิดซึ่งกันและกัน ฉะนั้น เราจะเป็นคนใจกว้างสำหรับเขา
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร เพราะรัก หลงตัว หวงและห่วงจึงตามมา จำไว้ว่าคนเราถ้าไม่สนใจกันหรือติดใจกัน เราจะมองไม่เห็นความบกพร่องของเขา
☻ (ถาม ขอให้แก้ความมีปัญหามากของแพทย์ผู้หนึ่ง)
☺ คนเป็นหมอนี่นะ ส่วนมากมักจะมากด้วยปัญญา แต่ถ้าปัญญามากไปก็มักหลงตนว่าฉันต้องรู้ ต้องเก่ง บางทีก็ยึดมั่นตนเองมากเกินไปจนทำให้เกิดทิฐิแรง
เมื่อมีทิฐิแรกก็มักจะค้านเสียก่อนเสมอ
ทิฐิกับนิสัย ต่างกัน
ทิฐิ ถือว่าเป็นความอดทนหรือดึงดันที่จะเอาชนะ หรือยึดมั่นไว้ในสิ่งที่ตนยึด
นิสัย เป็นสภาพแวดล้อมที่ร่วมกัน เป็นความธรรมดาในกิจวัตรและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพ
☻ (ถาม มีความขัดข้องทางการงานและมีคนมุ่งร้าย)
☺ คนเราเกิดมาด้วยกรรม อยู่ด้วยกรรม และไปด้วยกรรม กรรมเป็นตัวก่อทั้งดีและชั่ว กรรมคือการกระทำ การกระทำของเราเองซึ่งมีผลเป็นกฎหมายตามธรรมชาติ
และนั้นจะมาถึงเร็วหรือช้าก็แล้วแต่กฎหมาย
เมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นแก่ตนในทางที่ไม่ควร ก็ให้เอามาพิจารณาและปลงว่าเรานั้นมาแต่กรรม ซึ่งกรรีมนี้เป็นของอนัตตา ปลงซิว่ามันก็เท่านั้น เขาคิด
เขาทำก็เรื่องของเขา คนอื่นๆ เขาย่อมรู้ เขาย่อมเห็นเอง เมื่อมีคนเอาไปว่าๆ เราไม่ดี คนฟังก็ต้องรู้ ต้องคิดถ้าไม่เป็นเรื่องจริง คนพูดก็พังเอง
โดยเราใช้คาถา เฉย
☻ (ถาม อึดอัด เบื่อร่างกาย)
☺ ในเมื่อเรายังคงอยู่ ยังเป็นอยู่ จะสร้างอารมณ์นั้นมาทำไม หาทางขจัดซิ จำไว้เมื่อเรายังมีพันธะอยู่กับโลก ก็จงทำกิจนั้นให้สิ้น
อย่าเป็นอารมณ์กับมัน จะกลายเป็นห่วงเป็นกังวล เป็นธุระ แล้วโทสะ โมหะ จะตามมา เพราะความพอใจ-ไม่พอใจเกิด เข้าใจชัดหรือยัง เฉย
นะ
เอาให้อยู่แค่รู้ อย่าพยายามสร้างอารมณ์ ในเมื่อเราต้องผจญอยู่เช่นนี้ ก็จงรับตามความจริง อย่าหนีไปอย่างวิธีของผู้แพ้ พระพุทธศาสนาท่านสอนว่าเราจะพ้นวัฏฏะได้ก็ต้องหมุนให้เร็วกว่าวัฏฏะ คืออยู่ในวัฏฏะ แต่รู้ทันวัฏฏะ นั่นคือ แรง
ให้รู้จักตัวมารไว้ ธรรมะ คือตัวปราบมาร ขันติ คืออาวุธปราบมาร
☻ (ถาม ช่างมัน แล้วกิเลสจะหมดได้อย่าไร ?)
☺ อย่าไปติดมัน ตัวสนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากอย่างที่ตาว่าไว้ อยากพิสูจน์ พวกนักวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเช่นนี้
อารมณ์น่ะเก็บไว้ทำไม ตัวประกอบอารมณ์คืออะไรรู้ไหม ชอบ-ไม่ชอบ พอใจ-ไม่พอใจ นั่นแหละตัวประกอบอารมณ์ เมื่อก่อขึ้นมาแล้ว
โกรธ ก็ตามมา หลง ตามมา ต้องการ ตามมา แล้วก็ กิเลส ตัณหา (วิภว, ภว) ตามมา หลงเข้าป่าเลย อารมณ์ตัวเล็กชวนให้เกิดตัวน้อยทั้งสาม
ตัวน้อยชวนตัวใหญ่อีกสาม
เวลาดับ ต้องตัดตัวใหญ่ไปหาตัวเล็ก หรือหยาบไปหาละเอียด ให้อยู่แค่รู้แหละดี ทำอย่างไรจะให้อยู่แค่รู้ได้ล่ะ รู้ไหม ?
1. ศีล-สมาธิ-ปัญญา
2. พรหมวิหาร
3. โลกธรรม
สามตัวนี้จะตัด เรา โดยเฉพาะพรหมวิหารมีอะไรมีเทศน์อยู่แล้ว ให้ไปดูเอาเอง
15 มิถุนายน 2520
คนที่ 1
☺ เราเจอทุกข์ที่หนักที่สุดแห่งใจเราแล้ว ควรใช้ทุกข์สิ่งนั้นเป็นสิ่งประหารกิเลสเราได้อย่างเหมาะ เรารู้ทุกข์ เข้าใจทุกข์
ลึกซึ้งในทุกข์นั้นแต่เรายังมีอาลัยอยู่ เมื่อไรเราตัดอาลัยลงได้ให้น้อยถอยไป ก็จะได้พบความสุข
☻ (ถาม โอกาสนี้เมื่อใด ?)
☺ มีโอกาสแน่ แต่ระยะเวลาเป็นของเราที่จะไขว่คว้าหาโอกาสนั้นเอง
☻ (ถาม ขอให้หลวงตาคุ้มครอง)
☺ คุ้มครองมาตั้งแต่วันที่เราก้าวมาหาพระแล้ว เรื่องของโลกให้เป็นเรื่องของโลก เราใช้สติ ความคิด ความระลึกอยู่เป็นอุทาหรณ์
ใช้สัมปชัญญะเป็นสิ่งควบคุมใจ แล้วเราจะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่ด้วยความสุขกายสุขใจ เข้าใจดีหรือ ?
คนที่ 2
☺ ทำบุญ ต้องขึ้นกับความสะดวกกาย สะดวกใจ สะดวกปัจจัย ทำบุญต้องทำให้ใจสบายเป็นหลัก คือมีศรัทธา เนื้อนาบุญถึงจะเกิด
☻ (ถาม อุทิศส่วนกุศลอย่างไร จะให้ใครได้บ้าง ?)
1. บุพการี
2. ผู้มีพระคุณ
3. เทพเทวา
4. เจ้ากรรมนายเวร
5. สรรพสัตว์ร่วมวัฏฏะ
ทีหลังใครทำบุญ จุดประสงค์มีอยู่เท่านี้นะ นอกจากเขาจะขอพิเศษ
25 มิถุนายน 2520
คนที่ 1
☺ ชีวิตของคนเรานั้น ถ้าจะพิจารณาตามเหตุประจำวันแล้วเป็นกรรมฐานทุกกอง เพราะกรรมฐานทุกกองก็มาจากคนเรานี่เอง
คนที่ 2
☺ ตาบอกอย่างนี้ทุกคนว่า คนนั้นเป็นลูก เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นหลาน แล้วทุกคนได้อะไรจากการบอก ? เพราะที่ตาบอกมามีเหตุผลควรจะบอก คือดูบุพกรรมตนเองว่า
1. ทำไมถึงเกิดมาต่างกัน ทำไมถึงมีวัยวุฒิต่างกัน
2. ดูซิว่า เราลงมาทุกครั้งมีสาระอะไร
3. ครอบครัวที่ใหญ่ ลูกหลานมากมายมีทั้งดีและไม่ดี จริต นิสัย สันดาน ต่างกันเพราะอะไร ติดอยู่ที่อะไร
☺ ตาอยากจะให้เป็นกำลังใจเพื่อความอบอุ่นเป็นที่พึ่งและเป็นตัวอย่าง เป็นจุดหมายให้ทุกคนได้หวังมารวมกันคือ
อุบายให้ทุกคนเป็นบุตรขององค์พระตถาคตโดยแท้จริงนั่นเอง
ตาถึงแล้ว พี่ตาก็ถึงแล้ว 4 องค์ ลูกตาก็ถึงแล้ว 7 คน หลานนี่ซิมาก 23 คน แม่ของลูกหลานก็ไปตั้งมากแล้ว อย่างต่ำที่สุดก็พรหม เร่งๆ นะ
ยังมีพวกรองสุดท้าย และสุดท้ายใครจะเป็นพวกไหนอยู่ที่วิริยะ อุตสาหะ
เออ! ท่านพรทิพย์ฝากเทียน บนนั้นให้ท่านย่าด้วย จุด พิจารณาก่อนจุดเป็นอย่างไร ไฟที่จุดเป็นอย่างไร คืออะไร เมื่อจุดแล้วไม่มีควันเป็นอะไร คืออะไร
น้ำตาเทียนคืออะไร สรุปลงท้ายด้วยไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วปลงด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีใจเป็นอะไร สงสัยถามคราวหน้า คราวนี้ให้ลองทำ
ตาไปละนะ
6 กรกฎาคม 2520
☻ (ถาม ระยะนี้รู้สึกว่ามีเคราะห์ ขอธรรมะเป็นยา)
☺ ธรรมะตาน้อยกว่าธรรมะที่ตนได้ด้วยตนเอง ที่ทำน่ะ หมั่นทำไปเถอะ ได้บ้าง ช้าบ้าง เร็วบ้าง วันหนึ่งที่ก้าวไปเอง ที่ทำนี่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ตรง
แต่บางทีก็คิดได้ ทำได้ เมื่อสติกลับคืน
☻ (ถาม คนชื่อ.........ตายไปแล้ว เขาต้องการอะไร ?)
☺ ทำบุญ ก็อุทิศให้
อธิษฐานกันประมาทว่า หากข้าพเจ้าจะถึงแก่กาลดับขันธ์ คือ ขันธ์ 5 ธาตุ 4 เพียงใด ขออนุภาพบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำมา
อันมีพระรัตนตรัยเป็นที่สักการบูชาของข้าพเจ้า จงประทานพรให้ข้าพเจ้าได้จัดการแก่เรื่องทางโลกให้เป็นที่เรียบร้อย อย่าได้ก่อเวรกรรมแก่บุคคลอื่นด้วยเทอญ
พ่วงท้ายด้วย นิพพานะปัจจโยโหตุ อธิษฐานก่อนนอนดี คลุมถึงวันข้างหน้า
ตอนนี้ตาอยากให้ทุกคนเพ่งเรื่องจาคะให้มากๆ เพราะจาคะจะช่วยตัดอารมณ์ละเอียด จาคะหนักกว่าทาน ให้เหมือนกับทาน แต่อย่าติด
ให้แล้วก็แล้วกัน เขาจะเอาไปดีไปชั่วช่างเขา เรื่องของเขา เมื่อมีห่วงของ หวงของ ก็ต้องมี ของฉัน
☻ (ถาม ถ้าจิตละเอียด จาคะกับมรณะ อันไหนละเอียดกว่ากัน ?)
☺ จาคะ จะตัดกายได้ก็ต้องตัดของนอกกายได้ก่อน ฉะนั้น ของฉัน ต้องตัดการ ฉัน เพราะ ของฉัน นี่แหละถึงทำให้คน โกรธ หลง โลภ จะให้ใครใช้ ใครยืม
หรือให้เลยก็คิดหวง เสียดาย กลัว ทำให้โลภ
☻ (ถาม ทำไมจึงโลภ ?)
☺ เพราะกลัวเสีย กลัวพัง เลยโลภไว้เฉพาะตน
☻ (ถาม มรณาฯ เป็นสมณะ จาคะฯ เป็นวิปัสสนาใช่ไหม ?)
☺ ใช่ ฉะนั้น พวกเธอรู้หรือยังว่าที่ท่านบอกให้เธอทำทานนั้น เพื่ออะไร
☻ (ตอบ เพื่อให้ตัดโลภะ)
☺ เพื่อให้ถึงจาคะ ตัวอย่างที่เคยยกให้เห็นง่ายๆ คือการที่เราพบขอทานแล้วสงสาร เราให้สตางค์เขาบาทหนึ่ง
แต่เรามีความปีติภูมิใจว่าเรายังช่วยให้เขาประทังชีวิตไปอีกวาระหนึ่ง กับอีกคนหนึ่งเลี้ยงพระตั้ง 9 องค์ ถวายปัจจัยองค์ละ 100 บาท แล้วเมื่อเสร็จงาน
มานั่งนึกว่า โอ! เราทำบุญตั้ง 900 บาท เสียดายจัง (ทำ) เพื่อ (เอา) หน้าไง
ปรากฏว่าคนทำบุญบาทหนึ่งกับขอทาน ได้บุญมากกว่าคนทำบุญ 900 บาทกับพระ เพราะอะไร เพราะบุญเกิดเมื่อเจตนาเต็มที่ คือบารมี
หรือบารมีแปลว่ากำลังใจที่เต็ม ฟังกันแล้วเอาเรื่องที่เทศน์มาจับชนกันซิ เรื่องต่อกันทั้งนั้น
☻ (ถาม ใส่บาตรกับพระกับเณร ผลได้จะเสมอกันไหม ?)
☺ ใจเป็นใหญ่ ดี-ชั่ว อยู่ที่ผู้รับว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในสมณะแค่ไหน
☻ (ถาม ทำกับพระดี ได้บุญมากกว่าหรือ ?)
☺ อยู่ที่ใจ ม่ายงั้นคนกรุงคงตกนรกหรืออดได้บุญกันซิ เพราะพระปลอมมีมาก ตัวอย่างเมื่อครู่นี้รู้อะไรอีก ? คนที่ให้ 1
บาทนั้นเป็นจาคะสละ สละคืออะไร คือตัดเสร็จเด็ดขาด วนไปหาเรื่องที่ท่านเคยเทศน์ก็ต่อกัน
☻ (ถาม ถ้าตามไปดูของที่ให้ล่ะ ?)
☺ ยังเป็นกิเลส ของฉันดีนะ
☻ (ถาม ได้ทั้งบุญทั้งบาป ?)
☺ ไม่ใช่บาป แต่เป็นทิฐิ
3 สิงหาคม 2520
☻ (ถาม ทำอย่างไรจะอธิบายให้ผู้ไม่เข้าใจเรื่องนรก สวรรค์ เข้าใจได้ ?)
☺ เข้าใจวิทยาศาสตร์ไหม ?
☻ (ตอบ เข้าใจ)
☺ วิทยาศาสตร์คือแขนงหนึ่งของพุทธศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นการพิสูจน์รูปธรรม
พุทธศาสตร์นั้นพิสูจน์เรียนรู้ทั้งรูปธรรม และนามธรรมด้วย
แต่วิทยาศาสตร์พิสูจน์และสอนเรื่องของนามธรรมได้ไหม ? ฉะนั้น วิทยาศาสตร์ไปไม่ถึง เป็นเพียงแขนงของพุทธศาสน์ พุทธศาสน์นั้นสอน หรือปลงลึกลงไปถึงเรื่องกรรม
กรรมคืออะไรรู้ไหม ? กรรมคือการกระทำ การกระทำที่เราทำขึ้นมาเอง อันนี้เป็นธรรม
ธรรมคืออะไร ธรรมคือธรรมดา ธรรมชาติที่เป็นอยู่
อะไรคือธรรมะ อะไรคือธรรมดา ธรรมชาติ เกิด เป็นธรรมชาติธรรมดา และเป็นธรรม แก่-เจ็บ-ตาย ก็เช่นเดียวกัน
ที่เป็นอยู่เช่นนี้เรียกว่ากรรม ทำไมถึงเรียกว่ากรรมรู้ไหม ? เพราะเราเป็นผู้กระทำ ใช่ไหม ?
เมื่อมีกรรมมาเป็นผลให้เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็จะมีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาคือ ความสุข ความทุกข์
อันเป็นผลต่อเนื่องจากกรรมที่ทำ มีทั้งกุศลกรรมคือการกระทำความดี หรือกรรมดี อกุศลกรรมคือการกระทำชั่ว หรือกรรมชั่ว
สองอันนี้เป็นบ่อเกิดให้คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน บางคนเกิดมาทำไมรูปร่างสวยงาม ฐานะดี พ่อแม่ดี ร่ำรวย แต่มีอุปสรรค วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ไหม ?
☺ แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนเราเกิดมาต้องมีกรรมที่เป็นอยู่ มีกรรมเป็นที่ไป เข้าใจตรงนี้ไหม ?
ก็กรรมนี่แหละที่ทำให้เกิดชาติ ภพ ภูมิ ต่างๆ ตามวาระกรรมของผู้นั้น พวกนั้นจะได้เห็นว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านเป็นความจริงตามธรรมชาติ
☺ คือมีกฎเกณฑ์การลงโทษในตัวเองเสร็จ ใครล่ะจะบัญญัติลงโทษ ? ข้อกฎธรรมชาติวัฏฏะของธรรมชาติมาลงโทษเราเอง
ดูดั่งพุทธสุภาษิตว่า กรรมใคร ใครก่อใครรับ เป็นของแท้แน่นอน
โดยเราจะไปจ้างวานหรือติดสินบนใครให้เขางดเว้นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ให้กรรมยกเว้นไม่ได้
จะมาสรุปให้ฟังว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นทุกข์หรือไม่ ทุกข์นั้นซึ้งแค่ไหนจะกิน จะนอน จะถ่าย ปวดท้อง ห้ามมันว่าอย่าเพิ่งปวดเลย ไปปวดที่บ้านได้ไหม
? เพราะอะไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นอนัตตา ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่เรายังเป็นคนอยู่ แล้วทำอย่างไรล่ะ ถึงจะหมด
ตอบได้ไหม ?
วัฏฏะของทุกข์ที่เราผจญอยู่คือ เกิด เราเกิดมาก็ต้องเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่ตลอดอายุเรา มีเกิดก็มีแก่ มีแก่ก็มีเจ็บ
มีเจ็บก็มีตาย มีตายก็มีมาเกิดใหม่แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย หมุนเป็นวงกลม ทำอย่างไรถึงจะหลุดออกจากวงกลมที่แสนจะทรมานหัวใจเราได้ล่ะ
อยากหลุดรึ หรือว่าอยากจะวนอยู่ในนี้ก็ตามใจ ถ้าเหมือนกันก็ค่อยๆ ไป
☻ (ถาม มีอุปสรรค....)
☺ รู้แล้ว คือพูดง่ายๆ ว่าเป็นคนพลาด
ยุติแปลว่าหยุด ยุติธรรม ธรรมแปลว่าธรรมดา ธรรมชาติ ยุติธรรมแปลว่าความจริงที่เท่ากัน แต่คนจะมองไม่เห็น
เพราะไม่มีใครที่เห็นว่าตนเองผิด เห็นแต่คนอื่นผิด ตนเองดีหรือมีดีมากกว่าผิด
คนที่ 1 (จะปฏิบัติธรรมอย่างไร)
☺ ตามสะดวก ตามสบาย ถ้าเราเห็นว่าสิ่งไหนสบาย สะดวกแก่การยึดของเราก็จงทำอย่างนั้น ทุกข์-สุข อยู่ที่ใจ ไป (นิพพาน) ก็ที่ใจ
ใจในธรรมะหรือศัพท์ทางพระเรียกว่า อาทิสมานกายหรือกายใน หรือเรียกสั้นๆ ว่าจิต
ทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ คือมีสติ สัมปชัญญะ อยู่ให้นานที่สุด
คนที่ 2 (เรื่องงานที่ยุ่ง)
☺หวั่นไหวรึ ? ปล่อยไป ยึดไว้ก็เป็นเรื่องจุกจิกกวนใจเรา ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติที่ดี เรื่องของโลกก็ปล่อยไปตามวิถีของกรรมและเวร (แปลว่าวาระเวียนมา)
กรรมคือการกระทำ เวรกรรม คือการกระทำที่เวียนมาบรรจบ
อย่ามัวแต่ใจอ่อน กลัวภาระของโลก การกลัวเป็นการยึดถือ การรู้ภาวะของโลกคือประสบการณ์
คนที่ 3 (ควรเพ่งกสิณอะไร)
☺ เพ่งพระ เพ่งให้อารมณ์นิ่ง แล้วจะดิ่ง สงบ พยายามดูว่าเป็นอย่างไรจากภายนอก แล้วอสุภไว้ทีหลังเมื่อเบื่อ เมื่อเบื่อในบางอารมณ์คือเบื่อผิดหวัง
เบื่อความยุ่งยากวุ่นวาย แล้วอารมณ์สมาธิจะจับ พอใจในอสุภ คือใจจะเห็นด้วยว่ากายคือซาก ไม่เลวนะ
คนที่ 4
☺ การปฏิบัติ ในการที่เราจะรู้ในตัวตนว่าเราจะไปได้หรือยัง ขัดข้องด้วยสิ่งใดนั้น
1. ดูอารมณ์ว่ายินดีในโลกธรรมหรือหวั่นไหวไหม
2. พรหมวิหาร เรามีพร้อมหรือยัง
3. กิเลส ตัณหา อุปาทาน กินใจเราแค่ไหน กิเลส โลภะ โทสะ ภวตัณหา วิภวตัณหา อุปาทาน ความมัวเมา หลง หลอก แสร้ง มีอยู่ในเราแค่ไหน
นั่นแหละเราจะรู้ตนว่าเราเป็นอยู่ในภาวะใด
พระที่ท่านเข้าถึง ท่านต้องไปถามคนนั้นคนนี้ไหมว่าฉันเท่าไหน ท่านรู้ตนของท่านและก็มียินดี ท่านมุ่งแต่อย่างเดียว
กูจะไปให้ไกลจากโลกทั้งปวง
☻ (ถาม การเพ่งภาพพระ ต้องใช้สุกขวิปัสสโกหรือ ?)
☺เอาไหมล่ะ เป็นตานะ ทางไหนก็ได้ที่มันพ้นๆ ไป ขอให้ถึงพระพุทธองค์ก็แล้วกัน อย่าเลือกเลย จะเป็นโลภ ทางของแต่ละคนมี ไม่ใช่ว่าเราเพิ่งทำเมื่อไร
ทำมานานแล้ว แต่ก็เลือกอยู่อย่างนี้แหละถึงยังคอยกันอยู่ เดี๋ยวจะเอาพุทธภูมิบ้าง สาวก (ภูมิ) บ้าง สุกขวิปัสสโกบ้าง วิชชา 3 บ้าง หลายใจ
เลยด็อกแด็กอยู่แถวนี้ ปลงให้เสร็จ เด็ดให้ขาดเสียที วิธีไหนก็ได้ (ขอ) ให้พระว่า มุ่ง (เสีย) ทางเดียว อย่าแยกซ้าย-ขวา จบแน่
☻ (ถาม อันไหนไปเร็ว)
☺ อันไหนก็ได้ ปลงแหละ ปลง แปลว่าตัด สละคือจาคะ จะเอาอะไร จะเอาแขนอย่างเดียวรึ ไม่ทั้งตัวรึ ไม่ต้องถึงแจงหรอก
สละอารมณ์เสียก่อนอย่างที่สอนมานั่นแหละ
คนที่ 5
☺ อย่าไปคิดถึงว่าจะเสียเวลา จงตั้งใจ เริ่มเดิน ถ้าเราคิดว่าเราจะเดิน มันก็ จะ อยู่นั่นแหละ ไม่ได้เริ่มสักที
การเริ่ม ไม่มีคำว่า สาย ไม่มีคำว่า ช้า
คนที่ 6
☺บุญกรรมเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนเรา บางคนที่เขาไม่ดีแต่ก็ยังร่ำรวยอยู่ เพราะเขากินบุญเก่าอยู่ เหมือนกับลูกที่พ่อแม่สร้างมรดกไว้ให้มากมาย
แล้วตนไม่หางานทำ ไม่มีเงินเดือนเพิ่ม วันหนึ่งมรดกก็หมดเป็นยาจกได้ เพราะฉะนั้น จงหมั่นทำบุญไว้นะ เห็นกันชาตินี้แหละ
10 สิงหาคม 2520
☺บางอย่าง คนเรามีวิธีปฏิบัติให้ถึงธรรมหลายทางตามจริตของตน เปรียบเสมือนกับบนกระดานนี้เธอเห็นอะไร เขาเห็นอะไร กระดานก็เป็นกระดานอันเดียวกัน
แต่การเห็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การปฏิบัติของแต่ละคนขึ้นอยู่กับวาระธรรม 1 วาระใจ 1 โอกาส 1 ฉะนั้น การแก้ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
☺ บางคนต้องหาคำว่า เข็ด ให้กับตนโดยวิธีต่างออกไป ความทุกข์ของเธอลึกซึ้งตรงไหน บางคนอาจจะลึกซึ้งตรงอึกับการกิน บางคนอาจจะลึกซึ้งกับการเจ็บไข้
บางคนอาจจะลึกซึ้งกับกรรมที่ทรมานใจ บางคนอาจจะลึกซึ้งกับคำพูดด่าทอเสียดสีชาวบ้าน (พอดีโรคประสาทกินเสียหน่อย)
ดูอย่างประวัติของพระพุทธเจ้ากับพระสาวก ดูพระพุทธองค์ท่านทรงหาวิธีที่ท่านจะทรงบรรลุพระโพธิญาณนั้นต่างๆ กัน
ถามง่ายๆ ว่า เบื่อไหม ? เบื่อ คืออารมณ์ที่นำไปสู่ความเข็ด
คนที่ 1 (ถาม กำลังถูกฝึกให้อดทนเพื่อเป็นหมอหรือ ?)
☺ เพื่ออะไร รู้ไหม ?
1. โรคนั้นมีจริง
2. อายุเราน้อย ถ้าไปเร็วก็จะไม่ถึงไหน ตามบุญที่อธิษฐาน
3. เป็นการฝึกเพื่อทำกุศล ลดทุกข์เวทนาและต่ออายุคน เพราะกุศลถึงได้มีเวลาต่อให้เรียนจบ
☻ (ถาม องค์ที่คุมเป็นใคร ?)
☺เป็นพระ ถามต่อก็ไม่บอก เพราะบอกแล้วก็จะถามต่อไปว่าเคยเป็นอะไรกันมา ฉะนั้น ท่านจะตัดเพื่อให้มุ่งสู่โลกุตระ ตัดญาติ ตัดอดีตของโลกีย์ออกไป
คนที่ 2 (กำลังจะต้องย้าย)
☺ ดี ทุกข์ดี
☻ (ตอบ กลัวจะแย่)
☺ ให้มันแย่ไปซิ รู้แล้วรู้รอด ดูซิว่าจะเอาถึงไหน ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขอยู่ที่ใจ ถ้าเรายังกังวลอยู่เช่นนี้ ทุกข์เกิด โรคเกิด เราจะดับ จะตัด
จะทิ้งได้อย่างไร
คนที่ 3 (อยากปฏิบัติธรรมจริงๆ แต่ติดงานทางโลก)
☺ทำให้ดีที่สุดก็แล้วกัน แต่อย่าไปติด ทำเพราะเป็นหน้าที่ แต่ก็ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ทำไมพระอริยะ เมื่อท่านปรารถนาโลกุตตรธรรม
ท่านถึงยังต้องทำกิจของโลกอยู่ ทำไมท่านไม่นอนอยู่เฉยๆ ? ก็เพราะหน้าที่ที่ท่านเกิดมาใช้ร่างกาย ใช้ขันธ์ ใช้ภาวะของความเป็นคนอยู่
อย่าติด เพราะว่าการติดจะก่อให้ใจเราพะวง ติดต่อให้เกิดผลเป็นอวิชชาของอกุศล อย่าไปตึงไป (ในการปฏิบัติธรรม) เอาสบายเข้าว่า ไม่ตึงไปไม่หย่อนไป
ทุกอย่างทั้งโลกกับโลกุตระอยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่ภาระ ของๆ โลก ถ้าเราใช้ธรรม-ธรรมดาก็เป็นโลกธาตุ โลกวิสัย ถ้าเราใช้อย่างต่ำก็เป็นโลกียวิสัย
ถ้าเราใช้อย่างพอดี หรืออย่างสูงก็จะกลายเป็นโลกุตระของขันธ์ คือธรรม
แล้วทำไมจะให้ ธรรม ไม่อยู่กับคำสอนอย่างเดียว ? คำสอนเป็นแนวทาง หน้าที่เป็นอะไร หน้าที่ก็เป็นธรรมะ ความจริง คือธรรมชาติ คือธรรมะ
การที่เราไปพูดจาอะไรกับใครนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมะอย่างหนึ่ง
☺ การที่เราจะพูดคุยกับใครนั้น
1. เราจะรู้ถึงภาวะความคิด ความชอบ ความโกรธ และสิ่งต่างๆ ขึ้นมา และจะทดสอบใจของเราได้อย่างดี คือเอามาพิจารณาว่า เราทำ เราพูด เราคิด
เราวางอารมณ์นั้น เป็นอย่างไร
2. เอาสิ่งเหล่านี้มาตีแผ่ออกให้เห็นความจริง เห็นโลกนี่แหละดีกว่าไปนั่งหลับตาแล้วไม่มีผลอะไร
คนที่ 4 (ถาม ไม่ควรนึกถึงอดีตหรือ ?)
☺ไม่ให้นึกถึงอดีต เพราะถ้าเป็นอดีตที่เศร้า ก็มีแต่ฉุดใจเราให้ตก แต่ครั้งนี้ให้นึกเพราะอดีตจะเป็นครูตรวจใจแต่อย่าไปติดอดีต
เหมือนเราทวนข้อสอบเก่าๆ ว่าทำไมข้อนั้นเขาให้เราผิด แล้วจะทำให้ใจเราปลง เบื่อ เบื่อบ่อยๆ ก็กลายเป็นเข็ด เข็ดบ่อยๆ ก็เป็นอุเบกขา ที่เป็นอยู่ (อย่างนี้)
ก็เพราะนานๆ เบื่อ
คนที่ 5
☺ ธรรมะ ได้ที่ไหน
☻ (ตอบ ได้ที่ใจ)
☺ งั้นก็ทำที่ใจ อย่าไปสนใจว่าจะถึงหรือไม่ถึง จะได้หรือไม่ได้ เมื่อใจเรานิ่งสบายก็พิจารณาให้เห็นตัวของเรา อย่าไปมุ่งโน่นมุ่งนี่ เบื่อนั้น
เบื่อนี่
เบื่อเป็นอย่างไรรู้แล้วหรือ เบื่อเกิดที่ไหน เกิดอย่างไร ที่ว่าเบื่อๆ กันนั้นเป็นเบื่อเกิดจากอารมณ์ อารมณ์น่ะมันแน่นอนหรือ จะให้แน่นอนทำอย่างไร
ถามเองตอบเองถึงจะรู้เอง ปัญญามีเพราะฟังมากถึงได้รู้มาก แต่การไม่ได้พิจารณาอยู่แค่รู้ เข้าขั้นรู้ แต่ทำไม่ได้
คนที่ 6
☺ อายุเป็นกรรมนะ อย่าคิดอะไรมาก แต่ละคนทุกข์ไม่เหมือนกัน แต่เหตุมาจากอย่างเดียวกัน คือ ห่วง คนหนึ่งห่วงลูก คนหนึ่งห่วงสามี ห่วงตัวเอง
บางคนหลายห่วงจนหาไม่เจอ
24 สิงหาคม 2520
คนที่ 1 (ปรารภ จะถูกย้าย)
☺หนักก็ปลง เข้าใจไหม ตอบสั้นๆ ว่าอย่าไปติดใจ เอาให้เราอยู่อย่างอิ่มเอิบใจพอแล้ว ตาถึงได้บอกว่าชาตินี้น่ะไปได้ แต่อย่าก่อใหม่ ฉะนั้น ล้าง
ล้างกิเลสนิดๆ หน่อยๆ ออกไปทีละวันด้วยการปลงและพิจารณา อย่างเช่นลูก เห็นไหม เพิ่มอีก 5 ขันธ์ ยังลำบากถึงเพียงนี้
คนที่ 2 (สนทนากันกับผู้เป็นหมอที่มีเทพคุม)
☺ รู้หรือยังว่าใครคุม
☻ (คุณ.........บอกว่าท่านอนุรุทธ์)
☺ อีกองค์ล่ะใคร
☻ (ตอบ ยังไม่ทราบ)
☺ท่านเกศ
☻ (ถาม หลวงพ่อบอกว่าองค์ที่คุมเป็นพระอรหันต์)
☺ ให้นึกถึงท่านชีวกฯ ก่อน และให้ยึดหมอใหญ่)
☻ (ถาม ตอนสวดมนต์องค์ไหนมาสัมผัส ?)
☺ ท่านหมอใหญ่ ไม่มีอะไร ส่วนมากมักมาลงกระหม่อมให้ ถ้าจิตตอนนั้นเป็นขณิกสมาธิก็สัมผัสได้
☺ แม่ศรีใหญ่คือใครรู้ไหม ?
☻ (ตอบ ท่านศรีอุมาเทวี องค์เดียวกับมเหสีท่านอินทราช)
☺ ใช่ พราหมณ์เรียกว่า ศิวะราช
☻ (ถาม พระนางสุรัสวดี มเหสีใคร ?)
☺ ท่านท้าวผกาพรหม
☻ (ถาม เป็นองค์เดียวกับท่านอปรพรหม ?)
☺ ใช่ องค์ใหญ่คือท่านสหัมบดีพรหม คือท่านสิงห์
☻ (ถาม ท่านนารายณ์ คือใคร ?)
☺ ลูกหลานท่านอินทร์ มเหสักเขา ชื่อเดิมว่า มเหสักสุขาชาวดี
☻ (ถาม แล้วท่านวิศณุกรรม ?)
☺ วิศณุ คือ เวสสุวัณ ที่ถือว่าเนรมิตอะไรๆ
☻ (ถาม พระนารายณ์มี 4 กรหรือ ?)
☺ แล้วแต่จะเห็น
☻ (ถาม พรหม มี 4 หน้าหรือ ?)
☺ (เครื่องหมาย) ดูแลทุกข์สุขทั่วถึง พระอนุรุทธ์นั้นคุมเรื่องวาระกรรมคือฤกษ์ชะตาราศี ส่วนท่านเกศท่านมาคุ้มครองการปฏิบัติ เพราะท่านทำอย่างฉันมา
จับผี เคยเป็นอินทกะ
หมายเหตุของผู้บันทึก :-
ที่ว่า แล้วแต่จะเห็น นั้นคือ ขึ้นกับความบริสุทธิ์ของจิต บางท่านมีอุปาทานว่าพระนารายณ์มี 4 กร แต่หลวงพ่อเคยอธิบายว่า
ความจริงก็เหมือนธรรมดาหน้าเดียว 2 มือ ทั้งพระนารายณ์ทั้งพรหม
พระนารายณ์ พระศิวะ ฯลฯ ของพราหมณ์นั้นไม่มีประวัติในพุทธศาสนา แต่เทวดาเหล่านี้รับการสักการะในฐานะเทวดาชื่อนั้นๆ เช่น
ท่านมเหสักขาก็รับเวลาเขาบูชาพระนารายณ์
อินทกะ หมายถึง ผู้ที่ตำแหน่งรองของท้าวมหาราชทั้งสี่ มีจำนวนเป็นพันองค์
◄ll กลับสู่สารบัญ
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
|
|
50
(Update 25-08-53)
หลวงตาแสงกับหลวงพ่อปาน ตอนที่ 3
14 กันยายน 2520
คนที่ 1 (คนเจ็บ ปรารภว่าใจหดหู่)
☺ เสียดาย เสียดายตน เหมือนว้าเหว่ว่าจะต้องจากพระ จากงาน จากอะไรต่ออะไร เหงาในตัว คือใจจริงๆ ดีแล้ว รากเริ่มโผล่ พยายามขุดใจตนเองขึ้นมาพิจารณา
ยิ่งนานเรายิ่งรู้จักตัวเองมากขึ้น
คนที่ 2 (คนไปอยู่วัด)
☺ อยู่วัดได้อะไร ?
☻ (ตอบ ได้บุญ)
☺ ได้ใจพระไหม กายพระได้ไหม วาจาพระได้ไหม เสียทีที่อยู่ใกล้อาจารย์ใหญ่ ออกไปนิพพานไหม ?
☻ (ตอบ อยาก)
นิพพานอยู่ที่ธรรม ฉะนั้น ทำกายให้เป็นธรรมและมีธรรม ทำวาจาให้เป็นธรรมและพูดธรรม ทำใจให้เป็นธรรม และคิดธรรม ขอแค่นี้
เพราะว่านิพพานไม่ได้อยู่ตามอารมณ์
☻ (ถาม เวลาใครเขาพูดว่า เอวังโหตุ ทำไง)
☺ ไม่ต้องพูด รู้จักทวารไหม ? ตา หู จมูก ปากปิดเสีย แต่ไม่ใช่หลับตาเดิน ตาเห็นก็อย่าไป เห็น หูได้ยินก็อย่าไป ได้ยิน ปากคันนักก็หาของเคี้ยว
ลดการสนใจ (ในผู้อื่น) ให้เหลือน้อยที่สุด แล้วมานะจะน้อย คำว่า (ของ) ชาวบ้านจะไม่กินใจเรา ถึงคราว (แล้ว) ที่เราจะทำตัวให้ถึงธรรม
ทุกวันนี้เราทำให้คนอื่นถึงธรรมมากกว่า
คนที่ 3 (สงสัยเรื่องการทำสมาธิ)
☻ (ถาม นั่งแล้วชาไป)
☺ ดีแล้ว
☻ (ถาม เป็นอาการของสมาธิหรือ ?)
☺ใช่ อารมณ์ละเอียดไปติดอยู่ที่ความรู้สึก (ของกาย) เลยกลัว
☻ (ถาม พอชาก็คิดว่าเส้นโลหิตคงแตก เลยลืมตา)
☺ เมื่อกลัวก็เลยติดวิตกวิจาร (ที่จริง) กำลัง (จะ) ดี (คือ) ฌาน 4 ภาวะ (ของ) กายละเอียดจะแยก (ออกจากตัว) ชาหมดทั้งตัวใช่ไหม
☻ (ตอบ สมองชา)
☺ นั่นแหละ กำลังแยก ปล่อย (ไปตามนั้น) (นี่) ติดที่วิตกวิจาร เป็นกังวล กลัว เมื่อกลัวก็เลยวิตก คิดมากก็เลยเครียด
☻ (ถาม มัวกังวล นึกว่าตายแน่)
☺ อย่าห่วงซิ ตายเป็นตาย ตายเสียดี เราจะได้สบาย
☻ (ถาม จะตายก็กลัว เพราะไม่แน่ใจว่าจะไปได้ถึงไหน)
☺ อย่า ไม่แน่ใจ (จง) มั่นในพุทธานุภาพ
หมายเหตุของผู้บันทึก: -
หลวงพ่อสอนว่า เมื่อถึงฌาน 4 กายกับจิตจะแยกกัน จิตจะไม่รับความรู้สึกของกาย ถ้าทำถึงขั้น จิตจะหลุดออกไปนอกกาย
(ที่เรียกว่าถอดจิต) ออกไปแล้วเห็นกายเนื้อของตนอยู่ที่เดิม ส่วนจิตที่ออกไปมีร่างใหม่สวยงาม ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้แน่ว่าร่างกายกับจิตที่เป็น เรา
นั้นคนละตัวกันจริงๆ เห็นได้ชัดว่าร่างกายคือบ้านเช่าจริงๆ ไม่ใช่ เรา เวลานี้ฝรั่งก็เริ่มทำได้บ้างแล้ว เห็นมีเขียนบทความลงนิตยสารไทม์
บอกว่าจิตออกไปนอกตัว
คนที่ 4 (สนทนาเรื่องการทำใจ)
☺ เป็นไงบ้าง จิตมัวไป
☻ (ตอบ อาจยุ่งตอนที่จัดเตรียมงาน ทราบอยู่ และพยายามระงับ)
☺ ยังยึดอารมณ์อยู่ ไม่อยากให้มันผ่านไป
☻ (ถาม ให้ปล่อย)
☺ อยากให้ผ่านแล้วทำไมยังติดโมหะ โทสะ ในใจเรายังยึดอารมณ์นี้อยู่
☻ (ตอบ ความจริงไม่อยากยึด)
☺ ไม่จริง
☻ (ถาม ทำไม ?)
☺ ต้องขุด คือเมื่อมีข้อสอบต้องพิจารณา ส่วนมากมีข้อสอบ แทนที่จะขุดกลับกลบ
☻ (ตอบ ไม่ได้พิจารณาในตอนนั้น มาทำในตอนหลัง)
☺ กลบแล้วขุดจะได้เท่าไร ไม่ได้แล้วนะ
☻ (ตอบ พิจารณาตอนนั้น เดี๋ยวจะเข้าข้างตัว)
☺ ปลงว่าเป็นของปิดบังตัวเอง ไฟน่ะกำลังจะดับ แต่ชอบโหมลมให้มันลุก
☻ (ตอบ ขอประทานคำสอน)
☺ ใจต้องแข็ง
☻ (ตอบ พิจารณาไป พิจารณามาก็เบื่อ)
☺ ไม่จริง รำคาญมากกว่า เบื่อก็ต้องเลิก ไม่คบ
☻ (ตอบ เบื่อ ไม่ทราบจะไปไหน)
☺ เขาเรียกว่าหนีความจริง ไม่ใช่ธรรมะเลย พิจารณาไปมาก็เป็นฌานสมาธิอยู่แล้ว มีตำรวจไหม บางทีคิดแล้วเหลิง ไม่มีตำรวจคอยจับ
☻ (ตอบ บางทีก็ปล่อยให้คิด เพื่อทดสอบใจตัวเอง)
☺ คิดไปคิดมาผลลัพธ์ คือ ฉันถูก ฉันดีนี่ คนอื่นต่างหาก ผิด เลว
☻ (ถาม วิธีมีตำรวจ ทำไง ?)
☺ สติ คิดให้ลงในธรรม แล้วทิฐิมานะล่ะ
คนที่ 5 (ปรารภว่า เบื่อแล้ว)
☺ เบื่อให้มันจริงๆ
☻ (ตอบ เบื่อชั่วขณะ)
☺ เรารำคาญหรือเปล่า หงุดหงิดใจหรือเปล่า สติน้อยอารมณ์เลยร้อน เรียกว่าตามใจตน
☻ (ถาม ตอนนี้เตลิด ต้องเรียกคืนไหม ?)
☺ ไม่ต้องเรียกคืน (เพราะ) ยังอยู่ไม่ไปไหน ถ้าไม่อยู่ ไม่รู้ตัวหรอก
☻ (ตอบ ก็รู้ตัวอยู่)
☺ ยังดี เพราะเราเป็นคนเคยได้อะไรทุกอย่าง พอมาเจอภาวะเช่นนี้ย่อมมีอารมณ์เหงา ว้าเหว่เป็นธรรมดา
☻ (ตอบ เหงาจริงๆ อยากแก้ปัญหา)
☺ ปัญหานี้ ใครควรถาม ? ตาควรถามเรามากกว่า
☻ (ถาม จะมีโอกาสแก้ปัญหานี้ ?)
☺ มี แต่เราเอาสติสัมปชัญญะเก็บเสีย ปล่อยให้อารมณ์ออกมาเพ่งพ่าน ก็อยู่เฉยๆ เงียบๆ ให้ใจสบาย นิ่ง แล้วถึงพิจารณา
☻ (ตอบ จิตมักคิดอะไรที่ไม่เหมาะสม)
☺ ดีนะ ที่คิดว่าจิตไม่ดี เพราะจิตเราดีแล้วที่เห็นความไม่ดี แล้วอยากเป็นคนนั้นคนนี้หรือเปล่า ?
☻ (ตอบ ไม่อยาก)
☺ ดีมาก (กิเลส) บางแล้ว ตาชอบคนที่มองเห็นความไม่ดีของตัวและค้นหา เพราะส่วนใหญ่มักมองเห็นว่าฉันดี ฉันเก่ง ฉันก่อน ทิฐิมานะล้างยาก
คนที่ 6 (ผู้ได้ทิพยจักขุใหม่ๆ ถูกซักถาม)
☺ เป็นไง เรารอบคอบดีแล้ว บอก (พวก) เขาซิว่าตาเป็นยังไง
☻ (ตอบ เห็นหลวงตาไม่ได้เป็นแบบสงฆ์)
☺ เออ
☻ (ตอบ การเหมือนหลวงพ่อ มียอดชฎาแหลม กายทิพย์)
☺ เออ ทำให้ไวกว่านี้
☻ (ตอบ เห็นช้าไป)
☺ (ทำให้) ไว แล้วทรง (ไว้) นานๆ จะได้แน่ใจ
☺ กายหยาบล่ะ ?
☻ (ตอบ หลวงต่อไม่สูง)
☺ เออ
☻ (ตอบ คล้ายหลวงปู่คำแสนเล็ก)
☺ เออ
☻ (ตอบ ผิวขาว ฉันหมาก)
☺ เออ
☻ (ตอบ แก้มข้างล่างยุบไป ข้างบนเป็นกระปุก)
☺ เออ
☻ (ตอบ แก่กว่าหลวงพ่อตอนนี้)
☺ 75 ไม้เท้าเห็นไหม
☻ (ตอบ เห็นวันที่มาเป่ายันต์)
☺ ขุดซี ใต้ฐานพระ
☻ (ตอบ เก็บไว้ให้คนรุ่นหลัง หนูไม่อยากอยู่แล้ว)
☺ พวก 180 ปี
☻ (ตอบ สมัยนั้น ที่นี่คงเจริญกรรมฐานอยู่ ?)
☺ เออ ใครนั่งบนอาสนะ
☻ (ตอบ เห็นหลวงพ่อด้วย)
☺ ข้างหลัง ?
☻ (ตอบ ใช่ ท่านแม่ศรีด้วย)
☺ เออ นังหนู พระอยู่ไหน มาหรือยัง ?
☻ (ตอบ มาแล้วเจ้าค่ะ)
☺ ถือว่าเป็น (การ) ฝึก
☻ (ตอบ หลวงตาถามหนูมั่นใจมาก)
☺ ติดปีติให้น้อยลง จะแจ่มใสขึ้น
☺ พระอยู่ไหน ?
☻ (ตอบ ด้านซ้ายมือ)
☺ บนเตียงล่ะ
☻ (ตอบ พระพุทธกัสสป)
☺ เออ แม่หนู เล่าให้เขาฟัง
☻ (ตอบ เห็นพระพุทธรูปองค์ดำเป็นองค์ปฐม และองค์ทอง ด้านหน้าเป็นพระพุทธกัสสป เห็นท่านยืนเปล่งรัศมีมา เรื่องกสิณมีอะไรที่ยังอ่อน ?)
☺ วิปัสสนา อย่าเพลิน ไปหาอาจารย์ควรถามข้อธรรมว่า เราจะมาจะไปเป็นอย่างไร ทำอะไรไว้ (ใน) อดีต แล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร บันทึกให้คนอ่าน
รู้ไหมว่าเธอไปอารมณ์ใด ?
☻ (ตอบ อารมณ์ที่ตัดร่างกาย)
☺ ภาวะ ภาวะอะไร (หมายถึง) ภาวะใจ
☻ (ตอบ จับไม่ได้ ปุบปับก็ไป)
☺ นั่นแหละ ศึกษาเสีย ถามเสีย ถ้าสิ่งไหนเป็นประโยชน์ต่อคนข้างหน้า พวกสุกขวิปัสสโกก็นำมาบอก อารมณ์เข้าอริยมรรค
☺ อยากแต่งหนังสือไหม ?
☻ (ตอบ ใจชอบ แต่ไม่มีโอกาส)
☺ แล้วจะให้เขียนเรื่องของกรรม
☻ (ถาม เป็นเรื่องของตัวเอง ?)
☺ ด้วย และผู้ที่อยากรู้ (ด้วย) ลูกหลานภายหน้าจะได้อยู่ในศีลธรรม ศีลและธรรมมีประโยชน์อย่างไรจะได้รู้กัน
☺ ใครมา ?
☻ (ตอบ หลวงพ่อเจ้าค่ะ)
☺ สองทุ่ม ไปหาหลวงปู่ใหญ่หรือยัง ?
☻ (ตอบ วันแรกหลวงพ่อพาไป แต่วันหลังไม่ได้นึกถึงท่านเลย)
☺ ใหญ่สมชื่อไหม สวยไหม ?
☻ (ตอบ สวย)
☺ ขอพระซิ
☻ (ตอบ ท่านอยู่ที่นี่)
☺ พวกไหนอยู่บนแท่น ?
☻ (ถาม แท่นซ้ายมือหรือ ?)
☺ เออ
☻ (ตอบ ข้างแท่นมีนางฟ้ามาก พวกดาวดึงส์)
☺ เออ
☻ (ตอบ เขามาหาเพื่อนๆ ขอซ้อนกาย)
☺ พระอยู่ตรงไหนทั้งหมด ?
☻ (ตอบ อยู่ข้างหลังหนูทั้งหมด)
☺ พรหมอยู่ข้างซ้ายและขวา ข้างพระโมคคัลลา พระสารีบุตร (แล้วพวก) จาตุฯ ?
☻ (ตอบ จาตุฯ อยู่ซ้ายมือ ทางม่านขวา)
☺ ใกล้ไป
☻ (ตอบ ออกไปถึงข้างนอก)
☺ เออ ซ้ายของพระ (เป็น) พวกไหน ?
☻ (ถาม ทางขวาของหนู ?)
☺ เออ
☻ (ตอบ พวกพรหม)
☺ ดุสิตอยู่ทางไหน
☻ (ตอบ ดุสิตอยู่บริเวณกลางๆ นี้)
เห็นพระอริยเมตไตรยไหม ?
☻ (ตอบ เห็น อยู่ตรงหน้าใกล้ๆ)
☺นักรบมาไหม ?
☻ (ตอบ มา ในครัวก็มี ข้างนอกก็มี)
☺รู้ไหม วันนี้วันอะไร
☻ (ตอบ วันประสูติองค์ใดองค์หนึ่ง)
☺ ทำไมต้องมาแถวนี้
☻ (ตอบ วันต่อชะตาหลวงพ่อ)
☺ ต้องให้ท้วงกัน จำกันไม่ได้
☻ (ตอบ วันนี้หลวงพ่อใจดีมาก นั่งยิ้มเรื่อยๆ)
☺ ข้างบนเห็นโกรธรึ ?
☻ (ตอบ บางทีหนูกลัวท่านมาก ไม่กล้าเข้าใกล้)
☺ ข้างหลังหน้ากาก
☻ (ตอบ ที่คลายกลัวเพราะกรรมบางแล้ว)
☺ เออ ไม่บาง ไม่เห็นพระหรอก ใครจะถามอะไรเขาไหม ?
☻ (ตอบ ขอประทานจัดวันที่ 22)
☺ ความกตัญญู ถ้ามีโอกาสที่ทุกคนจะทำได้ก็ให้รีบทำ จงส่งเสริมบุคคลที่มีความกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณ อย่าทำลาย อย่ายินดีกับคนที่ไม่รู้คุณ
(มีเสียงฟ้าร้อง)
☺ เขาเล่นอะไรรู้ไหม ? เทวดาร่าเริงก็ตึงตังโครมคราม
☻ (ถาม หลวงพ่อจะอยู่นานแค่ไหน ?)
☺ ไล่พุทธบริษัทไปส่วนใหญ่ (เสียก่อน)
☻ (ถาม อายุ ประมาณ ?)
☺ ไล่ๆ (กับ) พระพุทธคุณ
☻ (ถาม บริษัทหลวงพ่อยังไม่มาอีกมากหรือ ?)
☺ ที่มาก็ให้ไป (นิพพาน) ได้เสียก่อนเถอะ วันเวลาผ่านไปเราไม่ได้คำนึง เวลาที่จะทำให้ถึงธรรมก็สั้นเข้าๆ อย่าคิดว่ายังไม่ถึงเวลา อย่าคิดว่า
อีกเดี๋ยว บางคน (อายุ) 30 ก็ถึงเวลาของเขา บางคนอีก 3 ปีบ้าง 2 ปีบ้าง 5 ปีบ้าง นานไปรึ ตอนนี้ก็เข้ากันยายนแล้ว อีก 3 เดือนเปลี่ยนศักราช เร็วหรือช้า
แล้วเราทำกันได้แค่ไหน แข่งเวลาทันไหม ? อย่ารีรอนะ เธอทำกันเล่นๆ นิพพานไปอย่างเล่นๆ
☻ (ถาม ศิษย์มีแต่ผู้หญิงเสียเป็นส่วนมาก สภาพสุดท้ายจะมีในรูปใด ?)
☺ ตอบทั่วๆ ไปว่า ตัดชาวบ้าน อย่าไปสนใจ อย่าไปผูกใจ เรื่องของเขาชอบนักเชียว ที่เห็นคนนั้นคนนี้ไม่ดี บกพร่อง ฯลฯ ตัดออกไปเสีย
☺ ร. ถ้าเห็นสีต่างๆ บนท้องฟ้า เตือนๆ กันนะ
☻ (ร. เกี่ยวกับบ้านเมืองใช่ไหม ?)
☺ เออ ฉัพพรรณรังสี
☻ (ถาม จากระยะไหนถึงไหน ?)
☺ รู้เอง
☻ (ถาม สมเด็จพระปทุมมุตตระด้วยใช่ไหม เห็นเสด็จมา)
☺ เออ
☻ (ถาม ตอนนี้ขอพรนั้นองค์ปฐมกับหลวงพ่อ ?)
☺เออ ไม่มีถามกลับนะ
◄ll กลับสู่สารบัญ
51
เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ทรงกระดานต่อ
☺ ท่านแช่มอยู่ตรงไหน ?
☻ (ตอบ ด้านข้างของ อ.)
☺ รู้ไหม พระปิ่น (เกล้า) ท่านอยู่ชั้นไหน ?
☻ (ตอบ ดุสิต)
☺ เออ ทรงพรหมนะ ท่านทรงพรหม มีสิทธิ์อยู่พรหมก็ได้ ดุสิตก็ได้ ตายเป็นพรหม
28 กันยายน 2520
☻ (ถาม ใจเศร้าหมอง ไม่ทราบจะแก้ยังไง)
☺ ธรรมดา ไม่มีอะไร
☻ (ถาม พยายามดึงให้ผ่องแผ้ว แต่ทำไม่ได้)
☺ เครียด อย่าไปดึง ถ้ายังไม่สงบ
☻ (ถาม บางทีมีเพลงเกิดขึ้นทั้งที่ไม่อยากร้อง พุทโธก็ไม่ได้)
☺ นั่นแหละตัวใน อารมณ์คนมีตั้งแต่ภายนอกไปถึงภายใจ สามชั้น เวลาล้างต้องล้างจากนอกเข้าไปหาใน อารมณ์สุขมันขึ้น
☻ (ถาม แก้ยังไง)
☺ ปล่อยไประยะหนึ่ง อย่าไปเครียด ทำอะไรให้สบายๆ ไปพักหนึ่งต้องควบคุมใจให้อยู่ด้วย สมาธิมีศัตรูไม่กี่ตัวหรอก หาดูแล้วจะรู้ว่าติดตรงไหน
ธรรมะไม่ใช่วิธีฝึกยากและก็ไม่ใช่วิธีง่ายๆ อยู่ในความพอดีของอารมณ์ และจะหาความสงบจากสมาธิได้
◄ll กลับสู่สารบัญ
52
หลวงตาแสงกับหลวงปู่สุ่นรวมกัน 2 องค์
20 ตุลาคม 2520
☺ ทุกข์นะ อนิจจัง เป็นอนัตตา ถ้าไม่หลีกเลี่ยง ถ้าไม่ทำธรรมะให้ถึงธรรม รวมให้อยู่ที่ตัวของเราเอง อย่าไปรวมที่ตัวของชาวบ้าน
☻ (ถาม จับภาพพระไม่อยู่ สมาธิไม่รวม)
☺ มานะ พิจารณาไม่ไปเพราะมานะ
☻ (ถาม พิจารณาเห็นว่าเราดีแล้ว อยู่ในส่วนบวกหรือลบ ?)
☺ ลบ ที่เทศน์ไปแล้วทั้งหมดมีอยู่พร้อม ความตายไม่สามารถกะเกณฑ์ได้ แม้ใครจะว่ากล่าว ว่าแค่นั้นแค่นี้ แต่ถ้าสังขารไม่ไหวจริงๆ ก็ทนไม่ได้
☻ (ถาม บางทีอยากจะหนี)
☺ พร้อมที่จะหนีรึ ?
☻ (ตอบ ยังไม่พร้อม แต่ทราบข้อบกพร่องของตน)
☺ จะอย่างไรก็แล้วแต่ จงพิจารณาให้มากในข้อธรรมะ
หวง ห่วง มีไหม ?
☻ (ตอบ คิดว่าไม่มี)
☺ เอาอะไรมาวัด ?
☻ (ตอบ นึกถึงสมบัติ ถึงลูก ก็ว่าไม่มีอะไรนอกจากสังขาร จะเรียกว่าห่วงได้ไหม ?)
☺ ขอบเขตของ ห่วง อยู่เท่าไหน ?
☻ (ตอบ อยู่ที่ ช่างมัน ใช่ไหม ?)
☺ กว้างมาก ถ้าเรายังคำนึงถึงคนอื่นอยู่ไม่ว่า (จะเป็น) ลูก สามี (หรือ) อาจารย์
☻ (ตอบ ไม่ใช่ห่วง แต่มันฟุ้ง จะว่าหวงหรือ ?)
☺ ยังเสียดาย เสียดายในหน้าที่
☻ (ตอบ หน้าที่ก็ไม่มีใครกะเกณฑ์)
☺ ได้เท่าไหนก็เท่านั้น ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีที่สุดแล้ว
☻ (ถาม หลวงพ่อว่าถ้ายังมีขันธ์ ก็มีหน้าที่ ไม่ใช่เป็นการยึดไว้หรือ ?)
☺ สักแต่ว่าทำ พยายามตั้งใจว่าเราจะทะนุบำรุงศาสนา และผู้อื่นให้ดีตามสมควรแก่กำลังใจของเราเท่าที่จะเอื้ออำนวย ได้แค่ไหนก็เท่านั้น
แล้วเราจะอิ่มเอิบใจว่าเราได้ทำดีที่สุด จะไปเมื่อใดก็ไม่เสียดาย วันนี้ พรุ่งนี้ เดี๋ยวนี้ก็ย่อมได้ ช่างมัน
☻ (ถาม คือคิดให้มันเบิกบานให้ได้ ?)
☺ คิดอย่างมีสติ พิจารณาให้เห็นธรรมในความจริง ซึ่งองค์บรมครูทรงตรัสว่า บุคคลทั้งหลาย พึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท จงรู้สึกตัวว่าเรานั้น
อยู่กับปัจจุบัน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต
หน้าที่เรามีเฉพาะแค่นี้ เดี๋ยวนี้ วันนี้ ส่วนพรุ่งนี้ว่ากันใหม่
☻ (ถาม ได้คิดผิดมาตั้งแต่ต้น ห่วงอนาคต)
☺ ร่างกายเป็นรังของโรค เป็นธรรมดาที่จะผุพัง เสื่อมสลายไปไม่ช้าก็เร็ว ทำใจให้ได้อย่างหญิงวิภาฯ
☻ (ถาม อารมณ์อย่างนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?)
☺ เพราะเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด คืออารมณ์ประหารกิเลส
☺ รู้ไหมว่าลูกขาดอะไร ซึ่งก็เคยบอกท่าน บอกตาอยู่บ่อยๆ
☻ (ถาม ขาดเมตตา ?)
☺ เมตตามีมาก
☻ (ถาม ขาดอุเบกขา ?)
☺ ใช่
☻ (ถาม ขอคำอธิบาย มานะ ของตนเอง)
☺ ฉันดี ฉันถูก
☻ (ถาม ตัดนิวรณ์ตัวไหน ?)
☺ ไปเห็นคนอื่นไม่ดี ไม่ถูก ใครเป็นอะไรก็เรื่องของชาวบ้าน ช่างเขา ของใครของมัน
☻ (ถาม มันจะไปแก้คนอื่น โดยไม่ดูตนเอง)
☺ แก้น่ะแก้ได้ แต่อย่าเข้าไปเดือดร้อนด้วย เวลากระทบ เราอย่าไปคิดว่าฉันดี ฉันถูก คนอื่นทำไม่ถูก
☻ (ถาม บางเรื่องมันอยู่ในใจตั้งหลายวัน ทีแรกคิดว่ารัก)
☺ รักมากไป เมื่อมีเรื่องขึ้นมาก็เสียใจ คิดว่าเขาไม่เห็นว่าเรารัก เราทำทุกอย่างให้เลยเป็นพะวง คิดเตลิดอยู่ในอารมณ์ ขาดสติธรรม
เอาใหม่ ตั้งจิตใหม่ ฟังให้น้อย พูดให้น้อย พิจารณาให้มาก วิธีฆ่า ลิง ทำอย่างไรไปดูมา (จากที่เทศน์ไว้แล้ว) ทบทวนไว้
ธรรมะที่มาเทศน์ท่านทุกองค์ไม่ต้องการคำชมคำสรรเสริญว่าไพเราะเพราะพริ้ง ท่านต้องการให้ปฏิบัติ
☻ (ถาม ไม่อยากอยู่)
☺ ไม่อยากอยู่ ในตัวลูกเกิดจากจิตเพียงครึ่งหนึ่ง ลองดูๆ ไป ใจคนเดายาก บางทีเรายังไม่รู้ใจตัวเราเอง แล้วจะไปรู้ใจคนอื่นเขาได้อย่างไร
☻ (ถาม เสียดายเรื่องสัญญากับหลวงพ่อ)
☺ ใครเสียสัญญา เราตั้งใจหนีรึ ? ของจะพังเราไม่ได้แกล้งอย่างนี้ ถ้าใครมาทวงสัญญาก็ตอบว่า ช่วยไม่ได้ ของจะพัง ถ้าจะให้เราทำต่อไปตามสัญญา
ก็ต้องช่วยซ่อมให้ใช้ได้ ไม่ใช่โปเก
สอนรายบุคคล
คนที่ 1
☺ ขอให้ท่องไว้ แล้วยอมรับความจริงไว้ทุกคนว่า เราต้องตายต้องทรมาน ต้องทุกข์ ต้องเวทนา เพราะสิ่งเหล่านี้พระองค์ตรัสว่าเป็นความจริง แต่ที่ทำๆ นั้น
หนีความจริง หนีก็หนีตามสมควร
คนที่ 2
☺ การที่เรารู้ว่าเรายังติดขัดอยู่นั้น อย่าไปตกใจ เพราะคนเราอยู่ที่การเอาจริงจังมั่นคง ถ้าเราปฏิบัติของเราให้เต็มที่แล้ว
ก็อาจจะไปไกลกว่าผู้รู้ว่าไปได้ไกล แต่กระหยิ่มไม่ทำ
คนที่ 3
☺ เอาช่วงเวลาที่มีภาระยุ่งยากเหล่านั้นหยิบยกขึ้นมาเป็นธรรมอุทาหรณ์
คนที่ 4
☺ อย่าเพลิน รู้แล้วว่าลงมาทำอะไร อย่าลืม อย่าเผลอ เรายังอยู่ในโลกนะ โลกธรรมก็ยังมีอยู่ จงระวังมารร้ายตัวนี้ที่จะปัดขาให้เราตก
คนที่ 5
เขียนมาก อ่านมาก ก็ยังไม่แจ้งในธรรมเท่ากับปฏิบัติมาก จะไป จะอยู่ อยู่แค่ รู้ เข้าใจไหม
คนที่ 6
☺ ฟังในสิ่งที่ควรฟัง รู้ในสิ่งที่ควรรู้ พระท่านว่าไง ? (ท่านว่า) อย่าประมาท
คนที่ 7
☺ การทำธรรมะให้กระจ่างทำอย่างไร คือการเห็นทุกข์และรู้ให้กระจ่างในทุกข์ว่า เหตุของทุกข์จะนำธรรมข้อใดเข้ามาแก้ไขข้อทุกข์นั้นๆ
ให้กระจ่างชัดเจนออกมาเป็นข้อๆ
คนที่ 8
☺ อย่าติดใจในอภินิหารมากเพราะอภินิหารไม่ใช่ของธรรมดา ธรรมดาคืออะไร คือธรรมะ ธรรมชาติ-ความจริง ไม่ใช่หนีความจริง
บางสิ่งบางอย่างก็ให้ถือว่าเป็นกรรมหรือเวรกรรม คือการกระทำที่เวียนมาบรรจบ
23 ตุลาคม 2520
สอนรายบุคคล
คนที่ 1
☺ ของทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทำให้เกิดทุกขัง ซึ่งเป็นอนัตตา เกิด คือใหม่ แก่ คือเก่า ตาย คือพัง
คนที่ 2 (พยายามให้หมดนิวรณ์ แต่ไม่สำเร็จ)
☺ ตนเป็นที่พึ่งของตน ถ้าตนยังไม่ยอมแก้ไขใครจะแก้ได้ ถ้าตนไม่ยอมทิ้งยอมสละแล้วจะไปได้ยังไง นี่แหละเขาเรียกว่าเสียดาย หรือกำลังใจน้อย
หรือบารมีอ่อน ต้องสู้ อย่าอาย อย่ากลัว แม้ว่าครูเอ็ดก็อย่าหนี เราต้องคิดเสมอว่าเราผิดเราไม่ดี ถ้าจะต้องการเรียนรู้ สอบให้ได้
ต้องทำตนเป็นคนด้อยปัญญาในบางครั้ง แล้วจะได้รู้ ถ้าทำตนเป็นคนรู้อยู่แล้วครูท่านก็ไม่อธิบาย เราเลยไม่รู้จริงว่าที่เรารู้นั้นผิดหรือถูก
คนที่ 3 (ใจไม่ปกติ)
☺ เราตั้งอารมณ์ใจให้เป็นฉากๆ ไป อย่างคำสอนที่ว่า ถึงเวลากินให้กิน ถึงเวลานอนให้น้อย แบ่งสมอง เวลาใช้มันก็ใช้ให้รู้
คนที่ 4 (เบื่อ)
☺ ดีแล้ว ทำจิตใจดื่มด่ำในรสเบื่อ พึงรู้ธรรม รู้ธรรมดาวาระว่าเป็นอนิจจัง จึงเกิดทุกขัง เป็นอนัตตา ให้กระจ่างในหลักธรรมอริยสัจ 4
มาประกอบกับกำลังของความเบื่อว่า สาเหตุและเหตุผลเป็นอย่างไร ใช้กำลังใจเป็นเครื่องตัดว่าขณะนี้เบื่อแล้ว ขณะหน้าจะเอาอีกไหม มั่นคงถาวรเพียงใด
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
53
(Update 1-09-53)
หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 2
2 พฤศจิกายน 2520
คนที่ 1 (ทราบว่าจะตายเร็ว)
☺ เป็นอย่างไรบ้าง ?
☻ (ตอบ เรื่อยๆ)
☺ ใจน่ะ
☻ (ตอบ ความตายไม่กลัว กำลังเร่งขันธ์)
☺ ห่วง หวงไหม ?
☻ (ตอบ พยายามคิดให้มาก)
☺ ห่วง-หวง มาจากกลัว
☻ (ตอบ ยังไม่ทราบว่าหวงอะไร)
☺ ทำไมถึงว่าห่วง-หวงมาจากกลัวรู้ไหม เมื่อเรากลัวแสดงว่าเรากลัวเจ็บ กลัวทุกข์ กลัวทรมาน มันทำให้เราเกิดความรู้สึกทางจิตขึ้นมา
ที่กลัวทั้งหลายนี้เพราะเราห่วง เราหวง เรา
☻ (ตอบ คิดหลายด้านแล้ว ไม่ทราบว่าความกลัวเกิดเพราะอะไร ?)
☺ ค่อยๆ ผ่อนไปแล้วใจเราจะสบาย ไม่อยู่กับภาวะหวาดผวา
☻ (ตอบ ได้ข่าว ท.ญ.มาเตือนว่าจะตาย ก็โอนเอนไป)
☺ ใจหายเพราะคิดว่าเร็ว เหมือนคนมาชวนไปนอกบ้านโดยไม่ได้แต่งตัว
☻ (ตอบ มีหลายอย่างสุมอยู่ในใจ)
☺ นี่แหละ ข้อสอบ
☻ (ตอบ ขอให้ช่วยด้วย)
☺ ถ้าเราท่องหนังสือจนจำได้ชำนาญแล้ว จะรู้คำตอบของข้อสอบนั้นทันที ถ้าเราท่องหนังสือครั้งเดียว สองครั้ง แล้วเจอข้อสอบ
บางทีก็ยังลังเลว่าจะตอบถูกหรือไม่ถูก ให้มีความมั่นใจ มั่นใจในสติและปัญญา
☻ (ตอบ จะพยายามทำให้ดีที่สุด)
☺ ดี เพราะว่าเวลาเจอข้อสอบ เราจะต้องอ่านทวนหลายครั้งให้มั่นใจในคำตอบที่ถูกต้องเสียก่อนแล้วถึงจะตอบ ลังเลอาจจะมีบ้าง สำคัญที่คำตอบ
การใช้สติปัญญาพิจารณาปฏิบัติ คำตอบถูกผิดได้รับที่ใจ
คนที่ 2 (ปรารภ สมาธิไม่ดีเท่าเดิมและกิเลสหนา)
☻ (ถาม ทำไมเดี๋ยวนี้ทำสมาธิไม่ได้ ?)
☺ น่าจะถามตัวเอง เมื่อเป็นเด็กภาระของโลกยังไม่ลึกซึ้งกินใจ แต่เมื่ออยู่ไปนานๆ ก็มากไปด้วย (เรื่องของ) โลก
☻ (ถาม กิเลสยังหนามาก)
☺ พิจารณา พระท่านว่าให้เห็นตัวเราเองเลว ถ้าไม่เลวคงไม่เกิดเป็นคน คงไม่ทรมานด้วยสารพัดปัญหาใช่ไหม ฉะนั้น มุ่งหาความดีไว้มากๆ
☻ (ถาม ยังอีกไกลไหม ?)
☺ ไม่ไกลสำหรับผู้ที่บังคับใจได้ ความดีมีมาก แต่จะมาเยินยอหรือพูดให้ใจมันโลภทำไม เมื่อมีความโลภ ทีนี้ใครมานินทาว่าไม่ดี โกรธก็ตามมา
เพราะหลงว่าตัวดีกว่าใครๆ อันนี้พระท่านถึงให้เราเห็นตัวของเราเลว (เข้าไว้)
☻ (ถาม เวลาพิจารณา มันเข้าข้างตัวเองบ่อยๆ)
☺ ใช่ ท่านจึงให้ใช้วิธีนี้ เพื่อกันคนหลงตัวเอง ดีน่ะ ถ้าเราดี แล้วใครจะมาว่าเราไม่ดีมันก็ยังดีอยู่วันยังค่ำ ไม่ดี
ถ้าใครว่าเราดีมันก็ไม่ดีอยู่วันยังค่ำ ใช่ไหม ? ความจริงเป็นเรื่องของโลกธรรมรู้ไหม ?
ให้สงบเสงี่ยมไว้ดีกว่า อย่าไปโทษในสิ่งต่างๆ คือ มองสิ่งต่างๆ ในแง่ที่ไม่เป็นมิตร จงมองให้เป็นธรรมดา เห็นเขาไม่ดีก็เตือน เตือนได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น
อย่าแคบอย่าอาฆาต คือคิดตลอดเวลาว่าจะตอบแทน
ตาสอนได้แต่ตาจะจับขาให้เดินไม่ได้ เหมือนกับเรารักเด็ก เด็กมาบ่นว่าการบ้านยาก ทำไม่ได้ ไม่ไหว แล้วพ่อแม่ไปช่วยทำให้ตลอดเวลา
พอถึงเวลาสอบเด็กจะทำสอบเป็นรึ สำหรับเราเองก็เหมือนกัน ทุกข์เกิดที่ใจ สุขเกิดที่ใจ (เวลา) ตาย ใจก็เป็นผู้รับกรรมทั้งกุศลและอกุศล
ท่านจึงว่าของทุกอย่างเกิดที่ใจ เป็นที่ใจ ไปด้วยใจ
ฉะนั้น จงอย่างติด เรา เราไม่มีอะไร อะไรเป็นของเราบ้างไหม ? ฉะนั้น อย่าไปสนใจในของทางโลกเพราะมันวุ่นวาย มันเหนื่อยใจ ลำบากใจ ทรมานในหัวอก
ทุกข์ทั้งนั้น
ทั้งหมดนี้ จะแก้ได้ด้วยสมาธิ คือ สติ และปัญญา เห็นและรู้ว่าว่าของทั้งหลายเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ไม่สิ้นสุด เป็นธรรมดา ธรรมชาติ
อย่าไปหวังอะไรที่เป็นสมบัติของโลก
สิ่งของเอย รักเอย ทุกข์อย่างจะให้เขารัก อยากจะให้เขาทำให้เรา เมื่อเขาไม่แสดงว่ารัก เราก็โกรธ เพราะหวง-ห่วง ลำบากนะ
คนที่ 3
☻ (ถาม จะเรี่ยไรเขาทำสังฆทานได้ไหม ?)
ไ ☺ ด้ แต่การเรี่ยไรหรือขอนั้น อย่าขู่ อย่าบังคับ อย่าเอาบุญมาอ้างให้กลัว ต้องมาจากศรัทธา จากใจ จะเป็นบารมีเสริม
คนที่ 4 (ปรารภว่าไม่สบาย)
☺ ใจเจ็บตามหรือเปล่า นี่แหละให้รู้เห็นทุกข์ เอาเวลาที่ยังเจ็บปวดมาพิจารณาขันธ์ พิจารณากายกับจิต ดูภาวะของร่างกาย
แล้วเราจะเห็นอะไรอีกหลายอย่างด้วยปัญญา
คนที่ 5
☺ การปฏิบัติขึ้นอยู่กับสติและปัญญา เมื่อเรามีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรแล้ว ความประมาทก็จะน้อยลง ความแก่กล้าของสมาธิและสติ เมื่อประมาทน้อยลงไปนี้
หากอารมณ์ของขันธ์ 5 จะผุดขึ้น ก็ไม่สามารถทำให้เรากวัดแกว่งได้ เพราะเราเฉยด้วยสติ มีปัญญา แก้ไขรู้ทันเมื่ออารมณ์ของขันธ์ 5 เกิดขึ้น ราคะ กิเลส ตัณหา
อุปาทาน จะคอยยุแหย่อยู่
อารมณ์ของขันธ์ 5 คืออะไร ? คือหิว ง่วง ขี้เกียจ สบาย เย็น ร้อน เจ็บปวด นั่นแหละจับให้อยู่ จับให้ได้ จะทำให้เราร้อน กระวนกระวาย ทุกข์ เบื่อ
จงปล่อยไป จะสนใจทำไม อายรึ เหนื่อยรึ ทำใจให้นิ่งเป็นใช้ได้ เมื่อใจนิ่งแล้ว ปิติจะหาย ตอนนี้ถือว่าใจแกว่ง (นี่) เพราะกลัวใช่ไหม
☻ (ถาม ศีลข้อ 4 รักษายาก)
☺ พูดถึงการพูดโกหก หรือมุสานั้น ถือเอาประโยชน์เป็นใหญ่
คนที่ 6
☺ จาคะต้องเข้มกว่านี้ จาคะไม่ได้หมายถึงเงินอย่างเดียว แต่หมายถึงการตัดใจบริจาคใจ บริจาคหน้าที่ เรายังมีหลง-ห่วงตัวเอง
หลงตนเองคืออะไร คือ หลงให้คนใยดีต่อเรา เพราะอะไร ? เพราะยังมี เรา ของเรา อยู่ตลอดเวลา
จงปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามวาระ อย่ามีหวง อย่าไปหวง อย่าไปหลง
อย่าไปให้อะไรใครด้วยหน้าที่ อย่าไปให้อะไรใครด้วยจำเป็นจำยอม แต่การให้อะไรใครต้องให้อย่างแช่มชื่น โดยอย่าให้มีคำว่า เสียดาย
อยู่ในใจเรา เมื่อนั้นบุญนี้จะเสริมเติมบารมีเราอยู่มาก
ท่องไว้ จาคะ เพราะตัวนี้จะตัดเราตรง เรา ของเรา ของๆ เราไม่มี คืนเขาไป เมื่อไปถึงอีกขั้นหนึ่งจะไปดูเรื่องมานะ และเมื่อหมดมานะ
เราจะได้ปริญญา
จะจับอะไร ก็ให้คิดว่านี่ของเราหรือ เรารักไหมหรือว่าเราเข็ด เราดูแลเพื่อให้ทรงสภาพเดิมที่ดี หรือว่าเราต้องการหวงเอาไว้ ดูจากสิ่งของไปจนถึงคน
ถึงตัวเรา
คนที่ 7
☺ จงทำใจให้เห็นว่า ของทุกสิ่งทุกอย่าเป็นธรรมดาที่ต้องมีทุกข์ อนิจจังเป็นทุกข์ อนัตตาเกิดทุกข์ เป็นของแท้แน่นอนในความเป็นจริง
ที่ว่าของมีเกิดแล้วก็มีเสื่อมสลายและพังไปในที่สุด จงอย่าประมาทในความจริงของโลก มองให้เห็นธรรมอยู่เป็นนิจ พิจารณาอริยสัจอยู่เป็นประจำ
จะได้มีสุขทางใจ
☺ เวลาเจ็บให้พิจารณาเอาพระที่มารักษาให้เห็นเป็นนิมิต จะได้สบายใจ เรือรั่วก็พยายามช่วยกันอุดนะ แต่ถ้ารั่วมากและไม่เรือก็ผุเป็นทุนอยู่ด้วยละก็จนใจ
การทรมานคงไม่ใช่ของชอบนะ แต่ให้เอาอาการทุกข์นี้มาเป็นข้อสอบให้สอบให้ได้ อยู่ที่กำลังใจของคนข้างเคียงด้วย
คนที่ 8
☺ ดูสังขารกับใจให้แยกกันให้ขาด แบ่งให้ได้ว่าอะไรคืออารมณ์ที่เกิดจากขันธ์ 5 อะไรเป็นสมาธิ สติคอยแก้ไขอารมณ์ของขันธ์ให้ดับลงไป
☺ มั่นคงในธรรม ในอริยสัจ ในสติ ในปัญญา รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ทำกำลังอันนี้ให้ได้จะส่งเสริมทุนในการพิจารณาใคร่ครวญดูตัวเราให้กระจ่างขึ้น
คนที่ 9 (ปรารภว่าบางทีโกรธจนอยากฆ่าคน)
☺ ทุกข์เป็นทางของธรรม ถ้าทุกข์ยังเผินๆ อยู่ ธรรมก็ยังไม่เข้ม เราเลือกชีวิตเราไม่ได้ที่จะเกิด จะเป็น แต่สามารถเลือกทางเดินของเราได้
ในเมื่อทางเดินของเราไม่สะดวก ทำให้เท้าเราเจ็บ เราก็ต้องรักษาเท้าของเราเอง
☺ เอาธรรมะ เอาหลักทั้งหลายไปแผ่ขยายออกให้เห็นความจริง อย่าใช้อารมณ์ที่ผันผวนของตนในวัยนี้มาเป็นแนว ซึ่งไม่ใช่แนวที่ถูก
คนที่ 10 (จะทำอย่าไรกับการปฏิบัติกับคู่ครอง เพราะไม่สมัครใจแล้ว ?)
☺ ใจเป็นสิ่งสำคัญ อย่าไปทำลายน้ำใจให้ออกนอกหน้า ในบางครั้งจงมองให้เห็นเป็นกรรม พิจารณากรรม พิจารณาวัฏฏะของกรรม
สร้างเมตตา ต่อด้วยกรุณา ส่วนผลยกไว้ที่อุเบกขา
ในเมื่อเราสร้างหน้าที่ขึ้นมาก็ต้องรับผิดชอบในหน้าที่นั้นตามสมควร ไม่ใช่โยนหน้าที่นั้นทิ้งอย่างไรเหตุผล ทำหน้าที่ได้เท่าใดก็เท่านั้น
นอกนั้นเราต้องยกให้แก่กรรม
มัชฌิมาฯ นะ
คนที่ 11 (สมาธิทำไม่ได้ผล)
☺ อย่าหวังอะไรให้เกินพอดี ถ้าไม่ได้สมใจจะกลายเป็นเสียใจ
สมาธิคืออะไร ? คือความเฉยของจิตที่ทำให้สติตั้งมั่น ทรงตัว รู้อยู่ว่าเราทำอะไร เช่น การจับลมหายใจ
เราจะเอาสติตั้งอยู่ที่ความรู้สึกสัมผัสที่กระทบ เราอยู่กันในปัจจุบันเวลานี้ เดี๋ยวนี้ ฉะนั้น ความหวังที่ยังทำไม่ถึง หรือยังไม่ได้ทำ ถือว่าเป็นอนาคต
แต่ทุกคนก็ต้องมีเป้าหมายไว้ข้างหน้า
คนที่ 12
☺ ของทุกอย่างก็เป็นไปตามสภาพของมัน บางทีถ้ายากลำบากก็ต้องปล่อยไป เพราะกาลเวลา สภาพของสิ่งต่างๆ เป็นความจริง จงทำใจให้ผ่องแผ้ว
ถ้าสิ่งนั้นจะไม่ทรมานต่อไป
คนที่ 13
☺ เรามีหน้าที่จะต้องทำให้แก่ชาติบ้านเมืองและหน้าที่ต่อสาธารณะ จะต้องทำหน้าที่นั้นไปโดยอย่าให้หน้าที่นั้นมากินใจเรา ให้ใจเราเป็นอารมณ์
ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน กิเลส คือโลภะ โทสะ โกรธ โมหะหลง ตัณหามีวิภว กับภว เป็นความอยากจะได้ ไม่อยากได้ อุปาทานติดตัว
☺ นี่แหละเป็นอารมณ์กินใจเราให้เมา มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เพราะมีเกิด มีเสื่อม และมีสบายแลพังไป เป็นอนัตตา คือไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อเกิดแล้วพัง พอพังแล้วก็หาใหม่ให้เกิดอีก ไม่มีที่สิ้นสุด
☺ แก้ด้วยศีล มีศีลเป็นพื้นฐานและมีสมาธิตาม แล้วจะสรุปเป็นปัญญาได้ด้วยปัญญา ยืนพื้นด้วยพรหมวิหาร 4 และระวังตัวด้วยโลกธรรม 8
☺ สำหรับผู้มีหน้าที่ เอาเพียงเท่านี้ก่อน
◄ll กลับสู่สารบัญ
54
สมเด็จพระพุทธเจ้ากุกุธสันโธ
เข้าไปพุทธศักราช 2520 แล้วนะ กลางปีแล้ว จงสำรวจดูตนว่าก้าวหน้าถึงไหน หรือว่ายังอยู่กับที่
ปฏิบัติตามพระธรรม โดยยึดหลักอิทธิบาท 4 มาเป็นกำลังในการปฏิบัติให้เข้าถึงมรรคผลโดยเร็ว
ลา
หมายเหตุของผู้บันทึก
การเปลี่ยนองค์ไม่รู้สึกว่าเปลี่ยนตอนไหน
◄ll กลับสู่สารบัญ
55
หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 3
10 พฤศจิกายน 2520
คนที่ 1
☺ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ใจเป็นตัวก่อ ตัวเกิด ตัวอยู่ ตัวไป ผลของกรรมจะเป็นกรรมดีหรือไม่ดี ผลสนองรู้ที่ใจว่าเราโกรธไหม หลงไหม เหลิงไหม
ทุกอย่างสำคัญที่ใจ เรามาล้างใจ ชำระใจ ต้องบำเพ็ญที่ใจเป็นสำคัญ
อารมณ์ก็เป็นตัวร้อนของใจ ทำให้ใจผันผวนไปต่างๆ หวั่นไหวไปนานา
ศีล เป็นเครื่องบังคับกาย
สมาธิ เป็นเครื่องบังคับใจ ตัวครองสติ เมื่อสติมั่นคงแล้ว ปฏิภาณไหวพริบปัญญาจะแตกฉาน สามารถแก้ข้อต่างๆ ได้ เพราะสติระลึกถึงธรรมะที่เป็นแม่บทสอน
แก้ปัญหาของอุปสรรคให้ล่วงพ้น
อ่านมาก ฟังมากแล้วต้องมั่นคง หาหลักให้ได้ อย่าหวั่นไหว แล้วเราจะได้ประโยชน์จากทุกๆ สิ่งเอง ถ้าเราเป็นคนเข้าใจเลือกของดี
คนที่ 2
☺ สำรวจใจดูว่าวันนี้เราทำอะไรบ้าง ศีลครบบริบูรณ์ไหม สมาธิครบไหม พรหมวิหาร 4 มีไหม ดูไล่ไปเรื่อยๆ จะพบจุดดับในตัวเอง แล้วเราจะต้องตั้งใจแก้ไข
ก่อนอื่น เราต้องตั้งใจให้เป็นสมาธิก่อน คือดำรงความเป็นกลาง ตั้งค่าตนเองให้เท่ากับศูนย์ก่อน แล้วบวกหรือลบ ดูค่าในวันนั้น ทำไปเรื่อยๆ
แล้วเราจะไม่ประมาทในชีวิต
ภาระต่างๆ มองให้เห็นเป็นเพียงหน้าที่ แต่ไม่ใช่ของเรา เราต้องการตัด ของเรา ออกไปให้เหลือเพียงหน้าที่เท่านั้น เมื่อทำใจได้แล้ว จะเหลือเพียง เรา
เท่านั้น
เรา ก่อให้เกิดอะไร ? เกิดตัวตน เกิด เขา เกิดสิ่งต่างๆ อำนาจของคำว่าเราอยู่ตรงไหน อยู่ตรงทิฐิมานะ หลงรูป หลงสมบัติ เท่านี้ก่อนนะ
คนที่ 3
☺ เข้าใจทุกข์มากๆ แล้วเราจะเข้าใจธรรม เข้าใจธรรมมากแล้ว เราจะรู้ความเป็นธรรมดาของโลก แล้วเราจะทรงธรรม
คนที่ 4
☺ไม่มีอะไรยากสำหรับการปฏิบัติธรรม อย่าเพียงแต่ หวัง อย่างเดียว ต้องมั่นใจมั่นคงในการปฏิบัติ ความเพียรในความดีอย่างยิ่งจะเป็นผลให้เราสมหวัง
คนที่ 5
☺เกิดเป็นคนต้องสู้ สู้ทั้งทนอด และอดทน
คนที่ 6
☺ ต้องให้รู้สึกอยู่เป็นประจำว่า ร่างกายของเรานั้นมีแต่สกปรก มีธาตุ 4 เป็นองค์ประกอบ
ดิน คือเนื้อหนัง ซึ่งเวลาตายไปก็ร่วงเป็นผุยผง
น้ำ ก็มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำลาย เหล่านี้เป็นน้ำ ซึ่งเมื่อตายไปก็จะทะลักออกมา เหม็นบูด
ลม คืออากาศที่ช่วยหายใจ ช่วยให้เลือดหมุนเวียน เมื่อตายก็แปรสภาพ ระเหยออกไป
ไฟ คือความร้อนที่จะให้ดิน น้ำ อากาศ มีพลังหมุนเวียนไป เมื่อตาย ไฟก็แปรสภาพไป
ธาตุ 4 นี้รวมตนขึ้น ก่อกำเนิดจากของสกปรก ออกจาก (ของ) สกปรก ตัวตนนี้จึงสกปรก
☺เราอย่างยึดตัว ยึดร่าง ว่าดีงาม สวย วันหนึ่งมันก็หมดสภาพแปรไป เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ดังอริยสัจว่า มีเกิดก็มีเจ็บ มีแก่ และมีตายในที่สุด
จงมองสิ่งเหล่านี้ให้เห็นเป็นธรรมดาทุกวัน เราจะเป็นผู้ไม่ผิดหวังเพราะเราไม่หวังในอนิจจัง รู้ทันอนิจจัง แล้วทุกข์เรื่องกายจะน้อยไปหรือหมดไป
เมื่อตัดกายได้เราจะไปสนใจอะไรกับ เรา ของเรา อีก จะได้ทำใจ ล้างใจ ไม่ให้ประมาทในชีวิต
กายไม่มีในเรา เราไม่ใช่เรา ของๆ เราไม่มี แล้วอะไรจะเกิดขึ้น รู้ไหม ?
สุขที่เป็นอริยะ จะเกิด
อริยสุข ทุกคนปรารถนา แต่จะถึงหรือได้รับนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ปรารถนา อยู่ที่การปฏิบัติอย่างเอาจริงและเอาจังด้วย
จริง คือแน่นอน
จัง คือเต็มที่
หน้าที่มีก็ทำไป แต่อย่าให้เราไปติดหน้าที่หรือหน้าที่มาติดใจเรา
คนที่ 7
☺ อุปสรรค ธรรม ธรรมดา
ใจเราปฏิบัติธรรมควรที่จะน้อมของสองสิ่งนี้มาเข้ากัน คืออุปสรรคเป็นของธรรมดาของการเกิด ทุกข์ที่เกิดจากอุปสรรคจะเป็นทุกข์ที่เราว่า เจ็บ เบื่อ ได้นั้น
มันขึ้นอยู่ที่ใจ ฉะนั้นเราจะพบอุปสรรคโดยเราไม่เดือดร้อนได้ โดยการทำใจให้รู้ในทุกข์ในธรรม ความเป็นธรรมดา แล้วเมื่อนั้นเราจะเฉยๆ ต่ออุปสรรค
และจะได้รับปีติอิ่มเอิบใจ
เมื่อใดปฏิบัติได้เช่นนี้แล้ว เราจะมองเห็นความเป็นธรรมดาของโลก ธรรมดาของคน และธรรมดาของวิสัยคน แล้วเราจะทำใจตัดได้ในอุเบกขาบารมี
เมื่อนั้นเราจะไม่สนใจ เราไม่ใยดีใน เรา เพราะเรารู้ในทุกข์ และอุปสรรคของเราดี
คนที่ 8
☺ อย่ากังวลอะไรให้มาก พยายามถอดถอนภาระพันธะออกไป แล้วเราจะได้รับความสุข
คนที่ 9
☺ อย่าหลง อย่ามัวเมา อย่าผูกพัน จะทำให้เรามีอิสระที่จะไม่ให้ใจเราทุกข์ มองเห็นทุกข์ให้จริงๆ มั่นคงในทุกข์ที่เกิดแก่ใจแน่วแน่
คนที่ 10
☺ ทุกข์อยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ จงทำใจให้รู้ว่าอันไหนร้อนหรือเย็น คงไม่มีใครชอบของร้อนหรือความทุกข์ ฉะนั้น ทำใจเราให้อยู่แค่เรา หน้าที่ของเรา
รู้ในหน้าที่และของๆ เรา แต่อย่าไปรู้สึกลึกซึ้งกับมัน มันจะให้ทุกข์เราแล้วเราจะไม่สบายไปตลอดเท่าที่เรารับมันไว้ในใจเรา
จงสร้างใจให้เข้มแข็ง มั่นคงในความดี เชื่อมั่นในบุญกุศลแล้วจะทำให้เรามีแต่ความอิ่มเอิบสบายใจ เมื่อใจไม่ทุกข์ ร่างกายจะทรงตัวสมบูรณ์
ปัญญาจะเกิดเพื่อแก้ปัญหาให้พ้นไปง่ายๆ
คนที่ 11
☺ พยายามมองดูในเราให้ทุกข์ (เบื่อ) ซึ้งแล้วจะรู้ จะศึกษาความเป็นธรรมดาได้ เมื่อรู้ ศึกษาเข้าใจแล้ว หากมีอุปสรรคขัดขวางเราจะมองเห็น
รู้ทันสิ่งเหล่านั้น เราจะได้ไม่เสียรู้ให้ความทรมานใจมากินเรา
คนที่ 12 (เจ็บป่วย)
☺ดีที่ไม่สบาย จะได้ลองกำลังอารมณ์ของใจให้เห็นเป็นปกติวิสัยของโลก แล้วโรคกาย โรคใจจะหาย
อย่าไปอ่อนแอกับมัน วิบากของกรรมจะสนองทดแทนเราต่อเมื่อกำลังจิตของเราหวั่นไหว อ่อนแอ มัวหมอง
ทั่วไป
☺ ถ้าทุกคนปฏิบัติอย่างจริงจัง มั่นคงแต่ในสิ่งที่ถูกที่ควร รักษาอารมณ์ของใจให้รู้อยู่ว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร ทำอะไร
ต้องตั้งตนให้มีสติที่จะรู้สำนึกและปฏิบัติให้ตรงจุดหมาย แล้วสิ่งนี้แหละจะทำให้พวกเธอทั้งปวงมองเห็นความไม่ประมาทในชีวิต ว่าเราอยู่ก็ต้องมีทุกข์ของ
เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-สลาย พังไปในที่สุด
☺ เมื่อเห็นและรู้ว่าเป็นของธรรมดา ธรรมชาติของโลกแล้ว ความสุขจะเกิดขึ้นในใจเราตลอดเวลาที่ยังดำรงสติสัมปชัญญะอยู่ เมื่อนั้นเราจะแยกหน้าที่ของเรา
ภาระของเรา ของๆ เราออกไปได้อย่างไม่เสียดาย ติดใจ หลงใหลอยู่อีกเลย ในไม่ช้าเราก็จะรู้ทันว่าเราเองก็ไม่มีในเรา อาศัยเราอยู่ เราเป็น
และในที่สุดก็เหลือไว้แต่ความว่างเปล่า
เมื่อเธอทั้งหลายทำได้เช่นนี้แล้ว เธอจะได้รับอริยสุขตลอดชีวิต
16 พฤศจิกายน 2520
คนที่ 1 (สมาธิไม่ดี จิตตก)
☺ ก่อนอื่น เราต้องสำรวจตัวเองเสียก่อนว่าทำไมๆ ไปนั่งคิดเสียก่อน นึกไปเรื่อยๆ มีหลายเหตุผล หลายอย่างประกอบกัน
โทสะ โกรธ
โมหะ หลง
โลภะ อยาก ต้องการ ไม่พอ
สามอย่างนี้ ไม่นั่งเทียบเคียงดูซิว่าตัวไหน อันไหนเข้าเรื่องใด เราต้องตั้งค่าตัวเราเองให้มีค่าเท่ากับศูนย์ ไม่มีบาก ไม่มีลบ
☻ (ถาม รู้เองได้ก็ดี ?)
☺ ควรจะเป็นเช่นนั้น คนที่สามารถมองตัวเองแล้วรู้ชั่วโดยไม่ต้องมีกระจกส่อง พระพุทธครูท่านทรงยกย่องว่า ผู้นั้นจักประเสริฐต่อไปภายหน้า
คนที่ 2 (ปรารภกรรมฐานไม่ค่อยดี)
☺ อารมณ์ใจร้อน ใจวุ่นวาย โกรธง่าย ไม่พอใจ ค้าง ไฟมันร้อน เมื่อมันดับไปแล้วก็ยังคงร้อนอยู่ อุ่นอยู่ ใช่ไหม อุ่นอยู่ ไม่สบายใจ กังวล เป็นห่วง
ก็เป็นมารของสมาธิ ลองสำรวจดูว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
เมื่อรู้แล้วก็ต้องตัดตัวหงุดหงิดออก ลิงมันซน นั่นแหละคือความซนของลิง ขออย่างเดียวอย่าให้ลิงมันซนเขย่ากรงจนประดูกรงเปิดนะ ไม่งั้นเราไล่จับไม่ทัน
เหนื่อยด้วย ให้ล๊อคกุญแจเสียด้วย พุทโธ
☻ (ถาม คือภาวนายังไงก็ได้ ให้ใจนิ่ง ?)
☺ ใช่ แล้วแต่ใจชอบ เวลาโกรธ จะให้หายโกรธ หรือหยุดโกรธ ให้ท่องคาถาหรือบทสวดมนต์ บทไหนก็ได้ ท่องให้เพลิน ลืมโกรธเหมือนร้องเพลง
คนที่ 3 (ขอทราบข้อบกพร่อง)
☺ ความไม่พอใจ ต้องให้ลดลง เพราะไม่พอใจบ่อยๆ จะทำให้เกิดโทสะ เกิดบ่อยๆ เมื่อโทสะเกิดบ่อยๆ แล้วสติจะหาย ศีลจะหดใช่ไหม มองให้เห็นเป็นธรรมดา
ช่างมันๆ ท่องเอาไว้
คนที่ 4 (ปฏิบัติสมาธิไม่ดีเหมือนแต่ก่อน)
☺ ทำไมถามตา ? ก่อนถามดูรู้ด้วยตัวเองหรือเปล่า ว่าเป็นเพราะอะไร กังวลรึ ? กลัวรึ ? หรือว่าโกรธ หรืออยาก หรือท้อ หรือรำคาญ
☻ (ถาม อยากทำ แต่ไม่ทราบขี้เกียจ หรือเพลีย หรือเหนื่อย)
☺ก็ทำใจให้หายเหนื่อยเสียก่อน ใช้เวลา 10 นาที นั่งมองอะไรๆ ให้ใจสบายๆ เพลินๆ ไม่ใช่รีบร้อนมาแล้วนั่งเฉย
☻ (ถาม ต้องการจับภาพพระ แต่ไปเห็นรูปที่ท่านอื่นเสด็จมา)
☺อารมณ์เราขณะนั้นอยากจะเห็นภาพไหน ก็นำรูปนั้นเป็นนิมิต
☻ (ถาม ใจยังอยากไปดูสวรรค์)
☺ ถ้าอยาก ก็ไม่ได้ไป ไม่อยากก็ไม่ได้ไป เฉยๆ ถึงจะได้ไป เฉยๆ คืออะไร คืออุเบกขา อุเบกขาเป็นอะไร ? เป็นฌานคืออารมณ์ของอุเบกขานะ แล้วให้มีวิริยะ
อุตสาหะ พร้อมขันติ ไม่ใช่ว่าคนอื่นเขาเห็นกันหมดแล้วเรายังไม่เห็นก็เสียใจ เราขาดขันติ ขาดมากๆ กลายเป็นน้อยใจ น้อยใจมากๆ กลายเป็นอิจฉา
อย่าพะวง ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ ทำให้ดีที่สุด อารมณ์นี้แหละที่ยังไปไม่ถึง
คนที่ 5 (อึดอัดเรื่องงานของโลก)
☺ ทำไม แพ้รึ ? แสดงว่าติดมัน ไม่ได้มองมันว่าเป็นของธรรมดา
ยากตรงไหน ยากตรงทำใจต่างหาก ใจซิสำคัญ เช่นเดียวกับเรา ไม่รำคาญเสียงในเวลาทำสมาธิ เสียงที่น่ารำคาญนั้นเปรียบเหมือนความวุ่นวายที่เราพบในการงานใช่ไหม
ยุ่งก็ให้มันยุ่งไป ของๆ โลก ใจก็ส่วนใจ ความสัมพันธ์ระหว่างใจกับโลกนั้น ถ้าหากไม่ใช้ทางมัชฌิมาปฏิปทาแล้วเราลำบากใจ
สนใจในภาระมากทุกข์ก็มาก สนใจน้อยคนก็จะติเตียนว่าทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ ทางสายกลางเป็นดีที่สุด ทำอย่างไรรู้ไหม
ภาระ คือสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ ต้องทดแทนรู้หรือยัง เรายังต้องทำอะไรอีก พ่อแม่มีไหม นั่นแหละพระนะ ถึงอย่างไรก็เป็นพระ ทำใจให้สบาย
อย่าไปติดไปถือว่าเป็นหนี้ ให้ทำบุญเพื่อชดใช้กรรม
เ
ราต้องนึกเสมอว่า เวลาเราทุกข์เพราะสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราอาจจะเคยทำกับเขามาก่อนก็ได้ เขาก็เจ็บมาแล้วเหมือนเรา คราวนี้เป็นคราวที่มาเป็นกับตัวเรา
เราก็ต้องใช้ไป ทนไป
พระท่านสอนว่าอย่างไร ? ยอมรับความจริงแล้วเราจะสู้ได้อย่างไม่ท้อถอย ใคร่ครวญดูดีๆ นะ
คนที่ 6 (มีโทสะเรื่องเจ้านายหาเรื่องอยู่เรื่อย)
☺ อย่าไปว่าเขา มองให้เห็นเป็นธรรมดา คนเวลาเกรี้ยวกราดแล้วหน้าตาตลกดี
☻ (ถาม ทำอย่างไร เขาจะเลิกแกล้งได้ ?)
☺ ช่างเขา จะไปแก้อะไรเขา ต้องแก้ที่เรา
คนที่ 7 (ปรารภ เบื่อชีวิตความเป็นอยู่ รู้สึกว่ากลุ้มใจ)
☺ นี่แหละโลก ทำไมไม่มองให้รู้ว่ามันเป็นละคร เราต้องเอาตัวของเราออกมาเป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้แสดง
การเบื่อ อย่าไปโทษอะไรต่ออะไร ต้องโทษตัวเราว่าสนองรับอารมณ์หรือเป็นทาสของโลกอะไรบ้าง ต้องกล้า ต้องสู้ เพราะคนเราที่มาเกิดนี้ล้วนมีเวรกรรม
มีหน้าที่ต่อกันที่จะมาชดใช้ ทำให้กันและกันทั้งนั้น อย่าหนีนะ ต้องใช้ให้หมดนะ พยายามทำเข้าไว้ พิจารณาให้หนัก พระพุทธครูทรงสอนว่าเราต้องทำที่เรา
ไม่ใช่ทำสิ่งภายนอก ของทุกอย่างเกิดที่เรา เป็นที่เรา ได้รับที่เรา เราต้องแก้ไขที่เรา เข้าใจหรือเปล่า
อะไรที่ว่าแก้ไขที่เรา รู้ไหม ?
ใจ สำคัญตัวนี้ ทำใจให้ได้ ท่องเอาไว้ว่าอนิจจังคืออะไร ทุกขังคืออะไร อนัตตาคืออะไร แล้วแก้ที่ไหน ดูทุกข์ เหตุของทุกข์ ทางดับทุกข์ ทางหนีทุกข์
เอาข้ออริยสัจนี้มาเข้ากับเหตุแห่งตัวเรา เมื่อเราทุกข์ เราเบื่อ ทางหนีอย่างวิ่งหนีนั้นถือว่าเป็นการหนีความจริง ไม่ใช่วิชชาที่จะหนีทุกข์
คนที่ 8
☺ ไม่อยากลาพุทธภูมิก็ไปช่วยชาวบ้านเขาต่อ พุทธภูมิเป็นวิชาครู คนที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้นั้นต้องรู้ ต้องเป็นเองทุกวิชา ทุกชนิด
และจะต้องเป็นผู้ที่ได้การอบรมในสภาวะโลก ของจักรวาลมาอย่างดี และเชี่ยวชาญ เราพร้อมหรือยัง
คนขาด้วน ความรู้สึกของเขาเป็นอย่างไร ลำบากทรมานอย่างไร เราก็ต้องเกิดเป็นอย่างนั้น เพื่อจะรู้ว่าเป็นอย่างไร (แล้ว) จะได้สอนคนที่เขาขาด้วนได้
เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู
สำหรับทุกคน
☺ ทุกข์เป็นของหนัก ลำบาก ทรมาน
ทุกข์มาจากกรรม คือการกระทำของเรา เราจะมาดูกันที่กรรม
ข้อที่ส่งผลให้พวกเธอทั้งหลายมารับ มาทดแทน มาใช้กรรมกันอย่างเข็ญใจนั้น ก็คือกรรมอันเป็นการกระทำของเราที่ทำมาในอดีต ไม่ว่าอดีตของชาติปัจจุบัน
หรืออดีตในภพก่อน เป็นการกระทำที่ทุกคนไม่พยายามมองดูให้รู้ให้แจ้ง
เราจะรู้จะแจ้งอย่างเดียวคือกรรมดี หรือการกระทำความดี รู้อย่างชัดว่าเราดีแต่ทำไมไม่พยายามรู้ว่ากรรมชั่วเราชั่วแค่ไหน เราทำชั่วไว้กับใครบ้าง
ใครเจ็บช้ำน้ำใจเพราะเราบ้าง แต่เวลาตนเองได้รับผลสนอง จะมาร้องว่าฉันน่ะทำดีตั้งมาก ทำไมถึงทรมานแสนเข็ญนัก
ลองพิจารณาดูซิว่า ของๆ ธรรมชาติเป็นธรรมะนั้น เป็นวัฏจักรของกรรมทุกอย่างไป เริ่มตั้งแต่เจตนา เจตนาเป็นอรูปธรรม เป็นตัวก่อเกิดรูปธรรม
เมื่อก่อเกิดรูปธรรมแล้ว รูปธรรมก่อเกิดอรูปธรรมเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไป
เช่น เราคิดที่จะทำอะไรเป็นอรูปธรรม เมื่อเราทำลงไปก็เป็นรูปธรรม เมื่อทำลงไปแล้วมีผลต่อออกไปในด้านเจตนาก็เป็นอรูปธรรมต่อไปเรื่อยๆ นี่แหละกฎของกรรม
เริ่มที่อรูป แล้วเป็นรูป แล้วเป็นอรูป วนไปวนมาอยู่เช่นนี้จนกลับเข้าที่เดิมคือเรา นี่เป็นกฎของธรรมชาติ
ธรรมชาติคือธรรมะ ความเป็นจริง แต่คนเราไม่ยอมรับความเป็นจริงซึ่งเป็นธรรมชาติธรรมดา เป็นกฎของกรรม เรามักจะปฏิเสธ ไม่รับรู้ว่ากรรมนั้นมีมา มีไปเช่นไร
เมื่อเราไม่ยอมรับสิ่งที่จะได้รับก็คือราคะกิเลส ราคะในกิเลส โทสะในกิเลส โมหะในกิเลส โลภะในกิเลส เหล่านี้เชื่อมโยงให้เกิดตัณหา (ภวและวิภว)
แล้วต่อเนื่องไปเป็นอุปาทาน ตัวเราย้ำนักย้ำหนาว่าฉันถูก ฉันดี ฉันเก่ง ฉันนะ ของๆ ฉันนะ
ได้เคยย้ำหลายครั้งแล้วว่า ดูตัวของเรานี้ ยกตัวของเรานี้มาดูอย่างกล้า กล้าที่จะรู้ว่าตัวเองดีหรือไม่ดีมากกว่ากัน ที่ไม่ดีมักจะไม่ค่อยรับรู้
ถ้าพวกเธอส่วนใหญ่ดีแล้วทำไมถึงต้องมาเกิด นี่แหละ ให้พิจารณาดูที่เรา สำรวจที่เรา อย่าไปยุ่งเรื่องของชาวบ้าน อย่าไปคิดถึงเรื่องภาวะของรอบๆ
ตัวเราว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เราลำบาก เป็นทุกข์ ไม่จริง
ไปโทษมันทำไมเราต่างหากที่ทำ เราจะแก้ได้ด้วยตัวตนของเราเอง ล้างที่ใจ ดูให้รู้สึกที่ใจ ใจจะบอกว่าทุกข์เป็นอย่างไร สุขเป็นอย่างไร ใจจะร้อนอย่างไร
เย็นอย่าไร วุ่นวายอย่างไร สุขุมอย่างไร ใจทั้งสิ้น
ฉะนั้น ที่เรามาฝึกสมาธิ ฝึกหัดพระกรรมฐานกันนั้น เรามาฝึกใจเราให้สบาย ไม่ใช่มาฝึกกายเพื่อฐานะ เพื่อความสุขจอมปลอม
ขอให้ทุกคนตั้งใจมั่นคงที่จะยอมรับรู้ความจริง คือทุกข์
เรารู้ ด้วยการได้ยินว่า วิธีดับทุกข์ทำกันอย่างไร แต่ทำไมไม่เอาความรู้ หรือเจตจาออกมาแสดงด้วยการปฏิบัติ ทำให้ได้
อย่าไปรองรับเอาอารมณ์ของโลกมาสิงสู่กับใจเรา เราอย่ามีความเสียใจในสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นไปเพราะกรรม เราอย่าน้อยใจในเรื่องต่างๆ
เพราะช่วยอะไรเราไม่ได้
จงตั้งต้นที่ความมั่นคง คือมีสติรู้รับผิดชอบว่าเราทำอะไร ในฐานะอะไร เป็นอะไร ทำเพื่ออะไร เมื่อมีสติมั่นคงบริบูรณ์แล้ว
เราจะได้ปัญญาซึ่งมาจากตัวของเราเอง พร้อมที่จะแก้ไขการต่างๆ ให้ลุล่วงไป เมื่อนั่นแหละพวกเธอจะได้มีทุกข์อย่างธรรมดา ทุกข์อย่างธรรมดาเป็นอย่างไร ?
ทุกข์อย่างธรรมดาคือ เกิดรู้ แก่รู้ เจ็บรู้ ตายรู้
เกิด ใช้ได้หลายเรื่อง ทุกเรื่องต้องมีเกิด เกิดเป็นคน เกิดเป็นโน่นนี่
แก่ หรือ เก่า ต้องผจญกับของทุกๆ สิ่ง ทุกสิ่งมีแก่ มีเก่า
เจ็บ เป็นคำที่ทรมานหัวใจ เจ็บคือชำรุด ทุกอย่างมีเจ็บ
ตาย คือหมดสภาพ สลายไป พังไป
สิ่งเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบของธาตุของโลกทั้งสิ้น เราจะยอมแพ้รึ
ที่ว่าจะหนีน่ะ หนีอะไร หนีความจริง หรือหนีการใช้หนี้ หนี้กรรม คนที่หวังการไม่เกิดเป็นที่ตั้งนั้น เรามีหนี้เท่าไรก็ต้องใช้ให้หมด ไม่ใช่หนีได้เฉยๆ
หมดหนี้เมื่อไรเธอจะคล่องตัวทุกด้าน
พึงระลึกจำไว้ว่า ความเป็นธรรมดาเป็นธรรมะ มองให้เป็นธรรมดาแล้วอารมณ์เราจะไม่วุ่นวาย หวั่นไหว นั่นแหละกำลังใจจะเกิด เราจะมีสมาธิที่แข็งแรง
แข็งแกร่งมั่นคง คืออารมณ์ฌานวิปัสสนา แล้วเราจะตั้งใจมั่นในการพิจารณาสิ่งไรจะเสร็จเด็ดขาด อารมณ์นี้จะเป็นแรงดันให้เราละทิ้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ให้เป็นสมุจเฉทปหาน
ฟังกันแล้วปฏิบัติกันให้ได้ ธรรมชาติสร้างคนมาไม่ผิด ตาก็อยู่ถูกที่มีมากพอที่จะเห็น หูก็มีมากพอสำหรับได้ยิน จมูกมีอันเดียว แต่ประกอบด้วย 2 รู้หายใจ
ปากมีอันเดียว ใช้ให้เป็นให้ถูก ใช้ในสิ่งที่ควรใช้ จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงตรัสเรื่องอายตนะ
1. ตา เห็นแล้วรู้อะไร
2. หู ได้ยินแล้วรู้อะไร
3. จมูก ได้กลิ่นแล้วรู้อะไร
4. ลิ้น ได้รสแล้วรู้อะไร
5. กาย สัมผัสแล้วรู้อะไร
6. ใจ คืออะไร
ใช้ให้เป็นประโยชน์ ให้มีคุณค่ามากที่สุด ใช้เป็นไหม ?
ตาเห็น อ้อ นั่นรูป สมมุติ
หูได้ยิน อ้อ นั่นเสียงเกิดจากการกระทบกัน คนจะมีเสียงได้ ต้องมีของกระทบกันใช่ไหม
ลิ้น เมื่อสัมผัส อ้อ นั่นซากศพของสัตว์ ของพืช
กาย เมื่อสัมผัสก็รู้ว่า อ้อ หนังกำพร้า มันสบาย มันร้อน มันเย็น
สีทั้งหลาย ต้องทำให้รู้ที่ใจ เมื่อรู้ทันแล้วเราก็จะเห็นความเป็นธรรมดาอีกว่า อ้อ ของธรรมดาๆ ที่เรารู้ทันมัน
นี่แหละใจที่จะทรงอารมณ์อุเบกขาญาณ เมื่อนั้นชั้นของอารมณ์จิตจะต้องไม่พูดกันว่าชั้นไหนเป็นอย่างไร เพราะโลภเปล่าๆ
ทำไปเถอะ พยายามทำ แต่อย่าประมาทใช้ชีวิตก็แล้วกัน ทำไปให้อยู่ในกรอบของธรรมะขององค์พระสมณะโคดมบรมครูองค์เดียว จะได้สัมฤทธิ์ทุกประการในวิมุตติสุข
เมื่อนั้นเธอทั้งหลายจะได้ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที เพราะเป็นผู้ไม่ตกต่ำในความดี
เธอมุ่งหวังอริยสัจเป็นประพฤติทั้งปวง ได้อุทิศสัจจะ อุทิศมโนให้แก่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอเนกอนันต์นั้น
เทพทั้งปวงล้วนอนุโมทนามัยในความดีนี้ทุกประการ อันพระองค์ท่านนั้น ทรงพระมหากรุณาธิคุณไพศาลยิ่งนัก
ทรงประทานพระว่าพวกเธอทั้งปวงรักใคร่ในความดีขององค์พระตถาคต
ท่านทรงเปรียบเธอทั้งปวงได้ดังบุตร ดังลูกในศาสนาสาวกของพระองค์พระองค์ทรงห่วงใย เมตตาในธรรมคาถาที่เธอได้บำเพ็ญเพียรทุกอย่างไป
จะเคารพพระองค์ท่านด้วยความกตัญญู ผู้มีเป็นประดุจบิดานั้นไม่มีสิ่งไรที่จะชื่นใจเท่ากับเห็นความดีของลูก
ความชื่นใจจะบังเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อลูกประสบความสำเร็จอยู่เคียงข้างพระองค์ ขอให้เธอทั้งปวงจงหมั่นตั้งใจ อย่าให้พ่อผิดหวัง
พระผู้ซึ่งเป็นประดุจบิดานั้นท่านจะให้ลูกของท่านดีได้ด้วยการสอน แต่จะจับขาลูกเดินนั้นขอให้จำไว้ว่า นั่นพ่อคิดจะฆ่าลูก
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
56
(Update 8-09-53)
คำเทศน์ของ หลวงตาแสงรวมกับหลวงปู่สุ่น ตอนที่ 4
15 ธันวาคม 2520
คนที่ 1 (จะไปต่างประเทศ กลัวการบำเพ็ญจะถอยเพราะพบคนมาก)
☺ ไปเถอะ คนเจอทุกข์เหมือนคนที่ได้บำเพ็ญในธรรมะปฏิบัติ ความสุขของโลกที่เราพบอยู่ เสวยอยู่นั้น เราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์อย่างยิ่งของโลก
เวลามีอยู่เท่าไรใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
☻ (ถาม ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางใจ)
☺ พระอยู่ที่ใจ พระแปลว่าความดี ไหว้พระคือไหว้ความดี
☻ (ถาม ขอคำสอน)
☺ สติ สัมปชัญญะดีที่สุด สำหรับเป็นปัญญาส่องแสงสว่าง ความรู้ตัว รู้ดี รู้ชั่ว คำสอนมีอยู่มากมาย นำไปใช้ให้เป็น
อย่าทำให้รู้สึกว่าตนเป็นเด็กเลี้ยงไม่โต หาประสบการณ์ให้มากๆ ข้อสอบ ถ้าไม่มีการสอบ ไม่มีข้อสอบ อะไรเป็นขั้นที่เราจะได้ ?
อย่าไปกลัว ใช้เวรกรรมกันไป คนเราเกิดมาย่อมมีหน้าที่ ภาระและพันธะ ติดตัวทุกคน เราจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการงาน
คนที่ 2 (ถามเรื่องเคราะห์กรรมของคนๆ หนึ่ง)
☺ เคราะห์คนเรามีอยู่ทุกเวลา จะมากหรือน้อย จะหนักหรือเบาอยู่ที่กุศลกรรมและอกุศลกรรม ฉะนั้นจงพยายามทำกุศล บุญ ความดีไว้ทุกเวลา
ใจจะได้ไม่ประมาทกำเริบในวาสนา
อย่าร้อน อย่าร้อนโดยที่เราเป็นคนก่อไฟ ให้ไฟมันก่อที่นอกตัวเรา เราเป็นผู้ดับหรือผู้ได้รับความร้อนก็พอ แต่อย่าเป็นเหตุ
คนที่ 3 (คนเจ็บ)
☺ให้ทำใจสบายๆ พิจารณาขันธ์-รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พิจารณาให้เห็นว่าเราซื่อสัตย์กตัญญูต่อมันเพียงไร จะร้อนก็ทำให้เย็น จะเย็นก็ทำให้อุ่น
จะเมื่อยก็นวด จะกินก็หาของดีมาปรนเปรอ ทำไมมันถึงทรยศ เพราะมันไม่รู้จักพอ มันโลภ มันไม่ได้ดังใจก็โกรธ
บางครั้งมันก็ทะนงในรูป ยศ และฐานะ มันหลง มันเลว มันไม่ดี เราแสนที่จะเอาใจมันต่างๆ นานา มันไม่รักดี เรายังต้องการมันไหม ?
ดูแต่ร่างกายนี้เป็นที่รักของเราซิยังเป็นแค่นี้ แล้วจะนับประสาอะไรกับโลก สมบัติของโลกมันไม่ยิ่งกว่ารึ คนต่างๆ มันยังรบกวนกันอยู่
เราจะยึดอะไรจากที่นี่จากโลกนี้อยู่อีกล่ะ น่าเบื่อ น่ารำคาญ น่าอดสูใจ
พิจารณาให้รู้ซึ้งกินใจอยู่เรื่อยๆ ให้เห็นของที่มีคุณค่าคือความสุข ความอิ่มใจที่ได้จากความสันโดษ ที่ได้จากสมาธิธรรมกรรมฐาน ปล่อยลงให้ว่าง
ให้ทรงตัวอย่างสบายๆ หลังจากพิจารณา
เราบังคับร่างเราไม่ได้แล้ว จะเอายังไงก็เอาไปไม่ต้องการแล้ว มันทรมานเสียจริงๆ เวลาเจ็บ ให้ว่า พุทโธ พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อถึงเวลาจริงๆ
ในยามทุกข์นี้เห็จจะมีแต่ตัวเราเองเท่านั้นที่จะสู้ที่จะทำ จงพอใจในความสันโดษ ยึดเอาพระ เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เป็นพลัง เป็นกำลัง
ภาวนา นิพพานัง นะ เป็นสุขที่สุด ฉันไม่เอามัน ฉันจะไปนิพพาน
29 ธันวาคม 2520
☺ วัน เวลาผ่านไปอีกวารหนึ่ง ชีวิตของพวกเธอทั้งปวงก็ใกล้จะถึงที่สิ้นสุดแห่งขันธ์ 5 ธาตุทั้ง 4 ใกล้มาเรื่อยๆ
เวลาที่ได้บำเพ็ญเพียรในกิจการของโลกของธรรม และของความดีทั้งปวงย่อมเหลือน้อยเต็มที
จงตั้งจิตตั้งใจให้ตัวตนมีสติมั่นคง ไม่ประมาทในชีวิต ไม่ประมาทในหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ คือหน้าที่ที่ทุกคนมีต่อส่วนรวมและตนเอง
ประการแรก เราต้องสางที่ตนเองก่อน จงหมั่นตรวจดูตนเองอยู่เป็นนิจ เมื่อตนเองแก้ไขตนให้อยู่ในศีลในธรรมความพีพอสมควรแล้ว จะได้มุ่งไปสู่คนส่วนรวมได้
เมื่อนั้นทุกคนจะอยู่อย่างมีความสุขกาย สุขใจ เมื่อหาความสุขกายสุขใจได้แล้ว เราจะปฏิบัติในสติปัญญาแห่งการพิจารณาสิ่งต่างๆ ก็จะแจ่มใสลุล่วง
จะรู้จะเห็นสิ่งใดก็จะมีปัญญาให้เท่ากัน
ขอให้มุ่งดูโทษของตนเองก่อนดูผู้อื่น ธรรมะนั้นเรียนไม่ยากรู้ไม่ยาก ปฏิบัติไม่ยาก ธรรมะนั้นคือธรรมชาติของคน แต่เราชอบทำสิ่งต่างๆ ให้ฝืนธรรมชาติ
ปฏิบัติตนให้ขัดกับธรรมชาติ เมื่อใดที่เราโอนอ่อนผ่อนตามไปตามธรรมชาติแล้ว เมื่อนั้น เราจะรู้จักสาระของธรรมชาติ นั่นคือรู้จักธรรมะ คือรู้จักทุกข์
รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ รู้จักมรรค ว่าอะไรเป็นแก่นสาร สาระของชีวิตที่เราสร้างสมก่อเกิดกันขึ้นมา
เดชานุภาพอำนาจแห่งจิตนี้มีพลังมหาศาลยิ่งนัก จงตั้งที่จิตที่ใจตนที่จะปฏิบัติ กรองสิ่งที่เป็นอาสวะกิเลสออกมา จิตเป็นตัวก่อ ตัวเกิด จงระงับ
แก้ไขที่จิต
มนุษย์นั้นเปรียบว่ามีเรือนร่างเหมือนภาชนะใส่น้ำ ภาชนะนั้นอาจจะเป็นแก้วอย่างดี ไปจนถึงกะโหลกกะลาก็ได้ เสมือนด้วยฐานะทางรูปสมบัติ คุณสมบัติ
และทรัพย์สมบัติ ต่างกันแล้วแต่ช่างปั้น
น้ำเปรียบเหมือนจิตคน ถ้าใสสะอาดน้ำก็บริสุทธิ์ แต่น้ำที่บริสุทธิ์นั้นย่อมเป็นน้ำทิพย์ น้ำทิพย์ที่เป็นอมตะ มีแต่ความอิ่มเอิบ มีแต่ความสะอาด
แต่น้ำในภาชนะที่เปรียบเทียบนี้ไม่รู้ว่ามีตะกอนหรือไม่ ตะกอนนั้น คือ กิเลส ตัวขุ่นมัว โลภะ โทสะ โมหะ
ส่วนสีของน้ำย่อมเปรียบได้กับตัณหาของคน สีใจ สีข้น เราจะแยกสีของน้ำนั้นได้โดยการตกตะกอน (ซึ่ง) ใช้เวลายาวนานมาก แล้วตะกอนล่ะ
ต้องมีที่ช้อนหรือกรองตะกอนที่จะชำระเอาตะกอนนี้ แล้วกลั่นกรองออกมาได้ แต่เมื่อช้อนเอาตะกอนทีไร
มันจะพาตะกอนวิ่งวนไปมาในน้ำจนเราไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดว่า อันไหนอันใดเป็นน้ำหรือเป็นตะกอน
ตัวที่คนน้ำนั้นเสมือนเป็นอารมณ์ อารมณ์ซึ่งจะเอาแน่เป็นแก่นเป็นสารเป็นสาระไม่ได้แน่นอน ตัวนี้แหละจะเป็นตัวทำลาย ทำลายให้ตะกอนอื่นปนน้ำ
อะไรที่จะมาแยกน้ำกับตะกอนออกให้เห็นชัดแจ้งได้ นั่นคือน้ำจะต้องนิ่ง สงบ เฉย เหมือนสมาธิ
จิตของคนมีทรงจิต มีสติสมบูรณ์ อะไรจะเป็นตัวกรองน้ำให้แยกออกจากตะกอน นั่นคือปัญญา ปัญญาเสมือนผ้ากรอง วิธีกรองนั้นเสมือนวิธีพิจารณา
นั่นคือปฏิภาณไหวพริบที่จะต้องมี จะเกิดขึ้นได้ด้วยความชำนาญ ประสบการณ์ จะมีขึ้นได้ด้วยการกระทำความเพียรมานะพยายามบากบั่น
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงขอให้พวกเธอพยายามทำความเพียรให้ได้ มานะ พยายาม บากบั่นที่จะเอาชนะใจตนเองในอกุศลให้สำเร็จ อย่าท้อ อย่าถอย อย่าคอย อย่าผัด
(วันประกันพรุ่ง)
สิ่งที่เป็นตัวปั้นภาชนะ เป็นตัวปั้นแต่งอารมณ์นั้นคือ กรรมะ กรรมะคือการกระทำของแต่ละบุคคล ย่อมมีการกระทำสนองตอบแทน
นี่แหละความสมดุลของธรรมชาติซึ่งพวกเธอไม่รู้สึก เพราะพวกเธอไม่รู้จักธรรม ธรรมชาติ ไม่รู้จักคำว่า เสีย รู้จักแต่คำว่า ได้ จงล้างทิฐินี้ออกไปเสีย
ยุติ แปลว่าหยุด ธรรม คือธรรมดา ธรรมชาติ ยุติธรรม คือธรรมชาติที่หยุดแล้ว หมายความว่าเป็นของสมดุลกัน คือเท่ากันทั้งรับและให้
☺ จงตั้งมั่นที่จะทำความเพียรต่อไป เวลามีน้อยแล้วสำหรับทุกคน หมั่นหาความดีใส่ตน แล้วเธอจะสุขใจ สุขกาย
14 มกราคม 2521
☺ พรหมวิหารเป็นวิสัยของพรหม พรหมนั้นส่วนใหญ่เป็นพระอนาคามี ฉะนั้นพรหมวิหารคือพื้นฐานอันแรงกล้าของพระอนาคามี ทุกข้อต้องพิจารณาให้หนัก
อย่าไปตั้งใจเฉพาะข้อหนึ่งข้อใด
☺ การนั่งสมาธิก็เพื่อควบคุมสติให้มั่นคงมีสัมปชัญญะ รู้ตัว ฉะนั้นเมื่อมีเวลาที่จะนั่ง ก็ขอให้ควบคุมสติให้มั่นคง ไม่ให้อารมณ์เป็นนายเรา
22 มีนาคม 2521
คนที่ 1 (เป็นห่วงความเจ็บไข้ของผู้อื่น)
☺ ทำไมไม่พิจารณา ของทุกอย่างเป็นจริงตามธรรมชาติและภาวะเวลา ของทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง แต่ตัวของเรา จิตของเรามันไม่จริง
☺ การที่ท่านเจ็บ ก็เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ถ้าท่านไม่เจ็บซิจึงจะไม่ใช่ธรรมดาของธรรมชาติ พิจารณาดู
เราเข้ามาฝึกหัดพระกรรมฐานกันเพื่อให้ใจยอมรับความจริงนั่นคือภาวะของธรรม เพื่อหวังผลพ้นบ่วงกรรม เพื่อพระนิพพานให้หมดทุกข์สิ้นโลก
คนที่ 2
☻ (ถาม นั่งสมาธิไม่ได้ผล)
☺ ใจไม่เป็นใจ สมาธิไม่ทรงตัว ถามตัวเองซิว่าทำสมาธิเพื่ออะไร เพราะเมื่อใจเราไม่สู้ไม่กล้าอย่างนี้แล้ว กำลังใจจะเกิดได้อย่างไร
บามีมีก็ไม่พอเท่าที่ควร การหวังผลที่จะอ่อนตามกำลังใจไปด้วย
☻ (ถาม ไม่เกิดปิติ)
☺ อยู่ที่ใจ อย่าไปจับว่าไอ้นั้นไอ้นี่จะเกิด ปล่อยตามสบาย เคยเผลอไหม
☻ (ถาม แบบนั่งเพลินๆ แล้วคิดไป ?)
☺ เออ นั่นแหละ รักษาอารมณ์นั้น แต่อย่าไปคิดฟุ้งซ่าน ให้เปลี่ยนเป็นจับ พุทโธ หรือพิจารณาไป พิจารณาอย่างง่ายๆ ในเบื้องต้น ให้จับหลักของไตรลักษณ์
พิจารณาว่าอนิจจังนี้จริงไหม อะไรบ้างที่ไม่ใช่อนิจจัง ทุกขัง ทุกข์ไหม อะไรทุกข์บ้าง
ตั้งแต่เกิด แล้วดูให้เห็นว่าทุกข์ทรมาน หรือสบายเป็นอย่างไร ดึงเอาความรู้สึกขึ้นมาว่า เวลาเราเจ็บนั้นเป็นอย่างไร แล้วก็ลงด้วยอนัตตา ไม่มีที่แน่นอน
เป็นไปตามกาลเวลา ไตรลักษณ์นี้ลงในการพิจารณาได้ครบทุกเรื่อง
ดูอารมณ์ในขณะนั้น ถ้าไม่อยากจะคิดอะไร อยากอยู่เฉยๆ ก็กำหนดภาพพระเป็นนิมิต หรือคำภาวนา แต่ถ้าไม่สบาย ใจฟุ้งซ่าน มีทุกข์หรือมีเหตุ
ก็ให้ใช้ไตรลักษณ์จับอารมณ์
พอเวียนหัวก็ลองแยกกายกับใจ ทำได้ไหม แยกว่าให้ดูรู้จัก จะเป็นอย่างไรก็เป็นไป สำคัญที่ใจ อย่าใจอ่อน ไม่กล้า ไม่สู้ ท้อแท้ อย่าเป็นอย่างนั้นนะ
ให้คิดว่านั่นแหละมาร จะทำให้เราไม่ถึงธรรม ไม่ได้ธรรม
คนที่ 3 (ปรารภว่ากิเลสยังมาก)
☺ เอาเถอะ ทนเอานะ ค่อยๆ ทำไป อยู่ที่ตัวเราเป็นผู้พิจารณาตัวเราดีกว่า จะได้กล้าดูตัวเองว่าผิดตรงไหน ความดีของเรา ให้พระ ให้คนอื่นเป็นผู้ดู
แต่ความไม่ดี ให้ตัวเราเป็นผู้ดู จะได้รู้ว่าใจน่ะ กล้ารู้ กล้าเห็น กล้ายอมรับความจริงเพียงใด นั่นแหละคือธรรม
คนที่ 4 (ถามวิธีทำใจ)
☺ บางเวลาเราต้องรู้จักหยุดนะ หยุดคิด หยุดพูดในเรื่องบางเรื่อง ตามโอกาส จะได้ทะนุถนอมใจเราให้ทรงตัวในสิ่งอันควร ห่วงในเรื่องที่ควรห่วง
ช่วยในเรื่องที่เราทำได้ และควรทำตามกำลัง แต่ทุกอย่างอย่าให้หนักเกินไป น้อยเกินไป อย่าให้เป็นภาระจนเรามีกิเลส โมหะ โทสะ โลภะ
15 เมษายน 2521
คนที่ 1 (สงสัย เวลาพาลูกไปทำบุญมักมีอุปสรรค)
☺ แน่นอน การทำความดีมักจะมีอุปสรรคกางกั้น ดูความดีของเราว่ามีความเพียรพยายามมากน้อยแค่ไหน ถ้าผ่านอุปสรรคนั้นไปได้และบรรลุถึงความดี คือ
เจตนาทำบุญไปแล้ว ผลของบุญที่เราศรัทธา ทำไปจะตอบสนองในไม่ช้า
จับหลักของพระพุทธองค์ที่เราได้ยินมาแต่เด็กแต่เล็ก ที่ฟังกันจนเจนหูเข้าใจง่ายคือ ทำบุญย่อมได้บุญ ทำบาปย่อมได้บาป
แต่คำสอนเพียงเท่านี้ ถ้าคิดอย่างผ่านๆ ใครก็คิดได้ ถ้าคิดอย่างถี่ถ้วนก็จงดูผลของบุญและบาปนั้นมาประสบกับเราเท่าใด เพราะทุกคนคิดเสมอว่า
ทำบุญบาทหนึ่งจะได้ถึง 100 ทำบาปร้อยหนึ่งจะได้บาปเพียง 1 จริงไหม ?
คนที่ 2 (มีภัย ทำบุญอะไรจะแก้ได้)
☺ ถ้าของทุกอย่างทำบุญแล้ว จะแก้เรื่องทุกข์ได้ทุกเรื่อง เราจะต้องมาเกิดเป็นคนทำไม สิ่งนี้ต้องอยู่ที่การระวังรักษาและปฏิบัติตัว
อย่าให้เราเป็นที่หมายปองของคนอื่น
คนที่ 3
☺ ขอให้ทำใจให้หนักแน่นมากขึ้น คนที่จะทำบุญถึงตามปรารถนานั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีน้ำใจ จิตใจเด็ดเดี่ยวมั่นคงในสิ่งที่ถูกด้วยกาลเทศะและเหตุการณ์
เราเกิดมาเพื่อสร้างบุญและชดใช้ความเลวแห่งบุพกรรม สังขารของเธอทั้งหลายที่มุ่งหวังเพื่อธรรมะนั้น จงระลึกว่าเรามีสังขารเพื่อบุญ
เพื่อให้เจ้ากรรมนายเวรเขามารังควานในที่ควรเป็นแห่งกรรมของแต่ละคน
คนที่ 4
☺ พยายามระงับอารมณ์นะ โทสะ โกรธ เพราะเรื่องนั้นเรื่องนี้จะทำให้เราร้อน ทำใจให้มั่นคงในสติ อย่าวู่วาม
ธรรมดาของชีวิต ถ้าเรามองเห็นสิ่งเหล่านี้ว่ามันเป็นของธรรมดาแล้ว ใจเราจะเบา แล้วสติก็จะเกิด รู้ว่าอะไรในเหตุนั้นๆ
เมื่อนั้นปัญญาจะแตกฉานว่าเราแก้เหตุนั้นอย่างไร ควรทำอย่างไร จะวางอารมณ์ชนิดไหน
คนที่ 5
☺ ตั้งอารมณ์พิจารณาอริยสัจมากๆ เวลาจะทำอะไรหรือมีเหตุอะไรร้อนใจ ให้นำข้ออริยสัจเข้าพิจารณาเป็นข้อๆ เพื่อหาเหตุ หาผล จะได้แตกฉานในปัญญา
สอนทุกคน
☺ ตั้งใจปฏิบัติให้นิ่งเป็นอารมณ์ อย่าหวั่นไหวนะ สิ่งที่ทำให้อารมณ์ใจเราฟุ้งซ่านคือการโอนอ่อนผ่อนตามอายตนะ เมื่อตาและเห็น หูได้ยิน ลิ้นสัมผัส
จมูกได้กลิ่น ผิวกระทบ จงตั้งใจแน่วแน่ให้คำนึงถึงโลกธรรมก่อนอื่น และตั้งสติ คิดไปถึงไตรลักษณ์เพื่อดับใจเราไม่ให้คล้อยตามความเคลิบเคลิ้ม
และจงระวังอารมณ์ฟุ้งซ่านด้วยสติ ด้วยไตรลักษณ์ จงระงับด้วยอาการสองอย่างนี้เช่นกัน จงระงับวาจาด้วยการนิ่ง เมื่อเราไม่พูด
เราจะรักษาอารมณ์ให้คงที่ทรงตัวอยู่ได้ เหล่านี้เป็นเศษของอารมณ์ ที่จะให้ทุกคนได้พึงระวังและปฏิบัติให้สม่ำเสมอตลอดไป
เท่าที่เห็น จิตของแต่ละคนนั้นยังแพ้อายตนะอยู่มาก ยังใช้สติน้อยไป อย่างน้อยควรจะหยุดคิดสัก 1 วินาที ทบทวนดูว่าสิ่งนั้นๆ
เป็นของที่เราจะปฏิบัติเป็นผลดีหรือไม่ และเป็นทางสู่ความสงบหรือไม่ พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่ที่การปฏิบัติของพวกเธอทั้งสิ้นว่า
จะทำใจทำศรัทธา กระทำกิริยาด้านพ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน ได้เพียงไร
แม้แต่พระยังช่วยพวกเธอได้เพียงสอนชี้แนะทางปฏิบัติให้ พวกเธอรับไปได้เพียงใดอยู่ที่เธอแล้วนะ หรือว่ารับไปแล้วจะทำได้หรือไม่ จะทำน้อยทำมาก ก็สุดแต่เธอ
เธอเป็นคนปรารถนา เธอเป็นผู้สมหวัง เธอเป็นผู้ไม่สมหวัง อยู่ที่เธอ
เวลาใกล้เข้ามาทุกลมหายใจเข้าออก นี่ก็เข้าเทศกาลใหม่แล้ว ลองดูตัวเราว่าเวลาโกรธ หลง มัวเมาในอำนาจ ทิฐิมานะยังอยู่หรือเปล่า พิจารณาดูเอง
การที่ลงมาเป็นคนนั้น ต้องเป็นผู้มีความดีพอ เพราะโลกนั้นอยู่ระหว่างสวรรค์กับนรก นรก เรารู้ว่าพวกทำบาป สวรรค์ เรารู้ว่าพวกทำบุญ แล้วโลกล่ะ
เป็นส่วนกลาง เป็นแดนอิสระที่จะให้เทพก็ดี หรือสัตว์นรกที่ทำความดีจนพ้นแล้วก็ดี ได้ลงมาบำเพ็ญ
บำเพ็ญนี้เลือกเอา มีทั้งบาปกับบุญ ฉะนั้น คนจึงเป็นสัตว์โลกที่มีอิสระในการทำบุญและบาป ถ้าผู้ใดมุ่งทำบุญมากๆ เท่าที่จะทำได้ ผู้นั้นจะได้สมตามความหวัง
นี่แหละถึงเป็นแดนที่พระพุทธเจ้าต้องลงมารู้จักทุกข์ เพื่อสำเร็จเป็นบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
☺ ขอให้ระงับให้ได้ ระงับอารมณ์
วันนี้สอนเพียงเท่านี้ แต่ขอให้พิถีพิถันกันนะ
22 เมษายน 2521
คนที่ 1
☺ อยากให้ตั้งใจทำใจของเรา พิจารณาอยู่ตลอดในเรื่องของไตรลักษณ์เป็นนิจ และทำอารมณ์ให้ทรงอยู่ในเรื่องของพรหมวิหาร 4 ตลอดเท่าที่จะทำได้
คนที่ 2
☻ (ถาม วิธีระงับอารมณ์)
☺ ก่อนอื่น ต้องหาสาเหตุให้รู้ว่าเป็นเพราะอะไร และเมื่อพบสาเหตุแล้ว
จงตั้งใจแน่วแน่ที่จะขจัดอารมณ์นั้นให้ถอยออกไปโดยเราจะต้องรักษาจิตให้สมบูรณ์ในสมาธิ หรือว่าเราเป็นอะไร ทำอะไร
แล้วจงนำคำสอนหรือธรรมะมาใช้เป็นปัญญาส่องเหตุว่าจะแก้ไข หรือจับจิตให้ทรงอุเบกขา
คนที่ 3
☻ (ถาม วิธีพิจารณา)
☺ ต้องอดทนและขยัน เริ่มต้นโดยการหาทุกข์ อย่างเช่นปวดท้อง ทุกข์ไหม ถ่าย ทุกข์ไหม เหล่านี้จะพบในตัวของเราทั้งสิ้น หาเหตุในตัวเราให้พบ
แล้วพิจารณาเอาธรรมะเข้าขยายความ
คนที่ 4
☺ ในการปฏิบัติ ให้ทำสติให้มั่นคงอยู่ตลอดเวลา และจับเอากิจการที่เกิดขึ้นกับตัวหรือเหตุการณ์ที่ประสบพบมาพิจารณาเป็นพระกรรมฐานได้ทุกกอง
3 พฤษภาคม 2521
คนที่ 1
☺ ทำใจให้ทรงพรหมวิหารนะ แล้วให้มีสติพิจารณาอยู่ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องใช้อารมณ์เป็นตัวเบื่อ งานที่ทำก็ให้ตั้งใจ
เป็นหน้าที่และเป็นวาระกรรมที่ต้องทำชดใช้สนองกรรมพระคุณ ส่วนบริวารที่กวนก็ดี หรือเป็นอุปสรรคก็ดี ทำใจให้แลเห็นเป็นทุกข์ว่า
เป็นธรรมดาของบุคคลที่ยังไม่พ้นเข้าวงจรพระศาสนา
และเมื่อมีเหตุอันใดจงเอาไตรลักษณ์ขึ้นทบทวนเหตุนั้นๆ ว่าอะไรเป็นอนิจจัง อะไรเป็นทุกข์ และเป็นอุปาทาน
เมื่อใจจับได้จงเอาพรหมวิหารมาเป็นพื้นอารมณ์ขณะนั้นว่าเราจะอภัยโดยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
คือเมตตาสงสาร ที่เป็นเช่นนี้อย่าผิดวิสัยปุถุชน กรุณาช่วยพอที่จะช่วยตามเหตุอันสมควร มุทิตาอย่าไปคิดร้ายหรืออกุศลไว้ล่วงหน้า จงอภัยว่าเขาดี
และอุเบกขาจงตั้งใจนิ่งเฉย มันก็เท่านั้น ท่องไว้ใจจะสบาย นี่แหละที่จะได้ทำจิตเป็นสมุจเฉทปหานตามที่ตั้งใจให้สัมฤทธิ์ผล
คนที่ 2 (ห่วงลูก)
☺ ราหุล แปลว่าอะไร แปลว่าห่วง เหมือนเชือกที่เราหยิบมามัดตัวเอง แต่สำคัญที่ตอนเราผูกเชือกนั้นว่าผูกยากหรือผูกง่าย หรือแน่น หรือหลวม
เมื่อเราคิดจะแก้เชือกออกจะลำบากที่ตรงที่เราผูกไว้ ถ้าผูกยากและแน่น แก้ก็ลำบาก เจ็บมือด้วย ฉะนั้น จงเลือกผูกเอาไว้ตามสมควร
ทำหน้าที่ให้ครบตามกรรม คือเราอุบัติให้เขาเกิด เราก็ต้องสงเคราะห์ให้ดีตามอัตภาพ แต่อย่าให้คิดว่า เขา-เรา คือคนเดียวกัน
สงสารด้วยเมตตา กรุณาช่วยเหลือไป มุทิตายินดีที่จะทำ แต่ต้องอุเบกขาที่จะพอประมาณดูตามเหตุอันสมควร
คนที่ 3 (ในที่ทำงาน มีคนไม่ร่วมมือหลายฝ่าย)
☺ โลกธรรม 8 เป็นของคู่กับโลก จะไปแก้อะไรไม่ได้ เพราะสรรเสริญคู่กับนินทาจริงไหม ฉะนั้น อยู่ที่เราว่าเรานั้นทำดีที่สุดหรือยัง
ถ้าทำถูกต้องแล้วจงมั่นใจทำไป
เวลาทำงาน ก่อนเข้าสถานที่ควรยกมือไหวเจ้าของที่เสียบ้าง อย่างน้อยให้ภาวนาอธิษฐานถวายกุศลท่าน ใจนึกเดี๋ยวเดียว
กลับไปบ้าน ให้นำดอกไม้สีแดง กลิ่นหอมถวายพระทางทิศเหนือ
☻ (ถาม ในบ้าน เด็กทำให้เหนื่อย แก้อย่างไร ?)
☺ ทำบุญบ้าน นิมนต์พระมารับสังฆทานเท่าใดก็ได้ อย่างน้อยควร 3 องค์ ถวายพระด้วยนะ 5 นิ้ว 1 องค์ ตามวันของเราและพระปางปราบมารอีก 1 องค์ ขนาดไม่จำกัด
อุทิศให้บรรพบุรุษและเจ้ากรรมนายเวร
☻ (ถาม ลูกสาวดื้อ)
☺ เราก็ต้องผ่อนบ้างตามวาระ ให้ถือว่าเรากำลังใช้กรรมบางอย่าง ก็ต้องผ่อนผันตามนิสัย ลักษณะของมนุษย์นะ จะเอาดังใจพร้อมสรรพไม่ได้
แต่ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน
☻ (ถาม เรียนหนังสือไม่ดี แก้ยังไง ?)
☺ เป็นไปตามวัย บางคนก็ไม่เก่งในอย่างหนึ่ง แต่เก่งในอีกอย่างหนึ่ง อันไหนเป็นประโยชน์ และเหมาะแก่เขา เขาก็ชอบอยู่
เราควรส่งเสริมเขาในทางที่ถูกจริตเขา
☻ (ถาม พี่อีกคนยังช่วยตัวเองไม่ได้)
☺ ไม้แก่ดัดยาด ชีวิตจะเป็นคุณเป็นโทษ เป็นครูสอนเขาเอง
พ่อแม่เปรียบเสมือนพระ ฉะนั้น บุตรธิดามีหน้าที่ทดแทนพระคุณ กตัญญูกตเวทีต่อท่าน บุคคลใดที่มิได้ทำหน้าที่นี้เป็นบุคคลบาป แต่จะมิให้เป็นบาปมาก
ก็จงกันมิให้บุคคลนั้นได้ทำบาปต่อไปอีกเลย
คนที่ 4 (ไม่สบายใจ)
☺ ก็คนนี่นา ท่องไว้นะ เวลาเจอทุกข์ ท่องว่าเราเป็นคน คน จึงขุ่นอยู่เรื่อยๆ เข้าใจไหม
☻ (ถาม ควรทำอย่างไรดี ?)
☺ สัจจะบารมี
☻ (ถาม เกรงตั้งสัจจะแล้วพลั้งพลาด)
ถือเจตนาเป็นสำคัญ บุญบาป เกิดได้ด้วยเจตนา เจตนาเป็นตัวผูกโดยให้เกิดการกระทำหรือกรรม ถ้าเราตั้งใจจริงๆ แล้วกล้ามองทุกข์ เห็นทุกข์
แต่ใจเราสุขก็ย่อมจะเป็นทางได้ รู้ไหมว่าทำไม ?
เมื่อใดที่เราเห็นทุกข์มาประสบ แต่ใจเป็นสุข แสดงว่าเราได้ซึ่งความไม่หวั่นไหวหวั่นกลัวในกิเลส คือโลภ โกรธ หลง ตัณหา ความอยากจะเป็น ไม่อยากจะเป็น
และอุปาทาน ใช่ไหม
สร้างกำลังใจซิ กำลังใจคืออะไร ? คือบารมี นั่นแหละ ต้องมีกำลังใจแข็งแกร่งมั่นคง แน่นแน่
ค่อยๆ ทำจะดี เวลาพบอุปสรรคก็จงนำเอาเหตุนั้นขึ้นมาพิจารณา
14 มิถุนายน 2521
คนที่ 1
☺ จะไป (นิพพาน) ไม่ได้ก็เพราะกลัวนี่แหละ จำไว้เถอะว่า พระพุทธรูปขององค์พระบรมครู ทั้งไทย จีน แขกนั้น เมื่อผู้ใดสร้างขึ้นมาเป็นที่สักการบูชาแล้ว
จะต้องมีเทพชั้นพรหมมาประจำทุกองค์ในจักรวาล
คนที่ 2 (ไปเมืองนอกหลายเดือน เกือบบ้า)
☺ รู้ถึงความทุกข์ที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นคนแล้วก็มักจะไม่ค่อยเข็ด อย่างเช่นคนที่ทุกข์แล้วสามารถแก้โดยการย้ายไปหาที่สุขอย่างโลกกว้าง
ทุกข์ที่ตัวประสบนั้นจะลืมง่ายหายเร็ว แล้วเมื่อไหร่ถึงจะเข็ด จะกลัว จะหลาบจำ
คนที่ 3
☺ ตอนนี้ ให้พิจารณาเรื่องภาระ พันธะที่มีอยู่ และมุ่งพิจารณาในเรื่องเรามีในเรา ของเรา ไม่มีในเรา และโยงไปถึงทิฐิมานะ จะรู้ตัวตนของเราชัด กล้าไหม
?
ให้เริ่มต้นที่อารมณ์ ความโกรธ ความอยาก ความต้องการ ไม่ต้องการ แล้วจะสาวไปเรื่อยๆ พิจารณาให้ลึกซึ้ง อย่าคิดว่าพอแล้ว ดีแล้ว ใจจะประมาทในชีวิตนะ
ตีใจให้แตก เดี๋ยวจะกำเริบ เข้าใจไหม
คนที่ 4
☺ เราอยู่กับโลก ก็ต้องทำหน้าที่ของโลกตามภาระหน้าที่ แต่เราใช้ธรรมะ คือความเป็นจริงที่เป็นไปของโลกมาจำกัดใจเราให้อยู่ในกฎเกณฑ์
บางครั้งเราต้องเป็นไปตามสภาวะแห่งเหตุนั้นๆ แต่สิ่งสำคัญ คือ ใจ เช่นงานเลี้ยง เราก็ต้องแต่งตัว ต้องสังคม แต่ใจเรานั้นจะไปติดที่ความสวยงามหรือไม่
เรารู้อยู่
☻ (ถาม ขอให้หลวงตาช่วยกวด)
☺ นี่แหละ คน ถ้าเขาเหล่านั้นฉลาดในธรรม เขาเหล่านั้นก็คงไม่ต้องมานั่งฟังธรรมซ้ำๆ อยู่อีก จริงไหม
อย่าว่าแต่ตาเลย อันองค์พระศาสดานั้น พระองค์ก็ยังทรงดำรงกรณียกิจช่วยพวกเรานี่อยู่ แต่ว่าผู้นั้นๆ ที่ยังไม่แจ้งซึ้งปัญญา
เพราะเขายังวนเวียนในบุพกรรมอยู่ จึงประดุจเส้นผมบังภูเขา ช่วยได้เท่าที่จะทำ
☻ (ถาม จะสะสางกิเลสตัณหาอย่างไร ?)
☺ โดยเริ่มที่ศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิเราต้องพิจารณาธรรมในธรรม รู้ใช้ไหม ?
☻ (ถาม พิจารณาในความเป็นจริงตัด ?)
☺ ใช่ อารมณ์ละเอียดต่างๆ เช่น โกรธ หวง รัก ห่วงใย ไม่ชอบ โยงได้ไหม แล้วพิจารณาที่ เราในเรา นะ ทุกสิ่งทุกอย่างเราเป็นไหม มีไหม
แล้วยังอยู่อีกไหม แก้ได้ไหม จุดไหน อย่างไร นำธรรมทั้งหมดมาชี้แจง
☻ (ถาม ต้องพิจารณาให้เป็นอย่างไร ?)
☺ ให้เข็ด ให้ใจตัดสินเสร็จเด็ดขาด แล้วมีความรู้สึกโล่ง โปร่งใจสบายใจ
คนที่ 5 (อยากตัดไปเลย)
☺ ล้างสักกายทิฐินะ แล้วใจจะชื่น จะทำให้อารมณ์แจ่มใสขึ้น ภาวะอารมณ์จากโลภ โกรธ หลง ละไปได้ เราจะล้างมันได้ด้วยวิปัสสนา นำเอาพรหมวิหาร 4
มาเป็นแนวปฏิบัติ แล้วจงยึดไตรลักษณ์มาเป็นทางพิจารณา มองให้เป็นอริยสัจ 4 ทำเช่นนี้บ่อยๆ จะรู้ จะแจ้ง และปฏิบัติได้เสร็จเด็ดขาด
บางอย่างเราก็ต้องสู้กับทุกข์ ซึ่งเป็นความจริง
28 มิถุนายน 2521
คนที่ 1 (กำลังตัดเข้าหาพระนิพพาน)
☺ เสียดายขันธ์ไหม ?
☻ (ตอบ ไม่เสียดาย)
☺ ไม่เสียดายขันธ์ ทำไมยังห่วงล่ะ ต้องทำใจเป็นอิสระ เวลาเราน้อยเต็มที ตาคิดว่าเราคงไม่ต้องการ (อยู่) นานต่อไปใช่ไหม หรือว่าต้องการ
เรื่องของกรรมเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ พยายามทำใจให้คล่องในอารมณ์อุเบกขาญาณ
ต้องการต่อไหม ต่อเวลาของสังขาร ? ชาตินี้ถึงซึ่งพระนิพพาน อย่าทรมานเลยนะ รู้สภาพของสังขารตัวเองใช่ไหม รู้ว่าแค่ไหนอย่างไร รู้ว่ามีความพัง
ความเสื่อม
คนที่ 2 (คนข้างเคียงทำให้จิตใจไม่ดี)
☺ คนนี่นา ดีแล้ว อยู่ที่ใจของเรา ว่าเราเห็นอาการอย่างนั้น เป็นของธรรมดาหรือเราจะมีอุเบกขาหรือไม่ และเรามีอภัยทานเพียงพอหรือยัง
ขาดสติสัมปชัญญะ เราจะทำอะไรก็ต้องรู้อยู่ในตัวเรา ความหงุดหงิดเป็นมาร มีอุปสรรค อยู่ที่เราจะระงับอยู่หรือไม่ พยายามไป เราต้องทำใจของเราให้รู้จักพอ
แล้วใจจะไม่หงุดหงิดพอที่จะกินของชิ้นนี้ พอที่จะฟังคำพูดเหล่านี้ เมื่อใจเรารู้จักพอแล้ว ความสบายใจจะเกิดขึ้นที่ใจเราเอง พอจ๊ะ เป็นคาถากันหงุดหงิด
คนที่ 3 (พยายามตัดไปนิพพาน จะไปสำเร็จไหม ?)
☺ เก่งดีแล้ว พยายามทำใจและสำรวจตรวจสอบอยู่เสมอๆ ไปได้ซิ ตอนนี้จิตใจดีแล้วนะ ทิฐิมานะลดลงมาก และคราวนี้เราจะชนะตัวเราเอง
นี่แหละคือกิเลสที่ปิดบังความจริงของตัวเรา และทำให้เราไม่กล้า ไม่พยายามมองดูตัวเราเอง ถึงมองก็ไม่เห็นชัดแจ้ง เพราะกิเลสตัวนี้ (คือ) กลัวจะไม่ดี
ต้องกล้านะ
☻ (ตอบ กำลังรวบรวมความกล้า)
☺ ความแก่ เราต้องแก่ เพราะเป็นความจริง ความเจ็บเราต้องเจ็บ เพราะเป็นความจริง ความตายเราต้องตาย เพราะเป็นความจริง เราจะต้องพลัดพราก
เพราะเป็นความจริง อยู่ที่เวลาเท่านั้นที่จะให้เราถึง ให้เราเวียนมาพบกับความจริงเหล่านี้ เมื่อไร ? อาจจะเป็นวันนี้ เดี๋ยวนี้ พรุ่งนี้ ได้ทั้งนั้น
อยู่แต่ว่าเราพร้อมไหม รู้จักมันไหม
วิมุติสุขนั้นฟังง่าย แต่เราจะรู้สึกในอารมณ์นั้นสบายอย่างยิ่ง ชุ่มชื่น โปร่งตลอดใจ ขอให้จำเริญนะ
คนที่ 4 (กำลังบำเพ็ญ มีทุกข์)
☺ เร่งทำบุญในขณะที่พบทุกข์ จะรู้จักคุณค่าของบุญ และรสชาติของทุกข์
☻ (ถาม อีกนานไหม ?)
☺ ไม่นาน
☻ (ถาม ตอนนี้สุขภาพทรุดลงเรื่อยๆ)
☺ ดีแล้ว พิษสงของสังขารมันไม่ซื่อตรงต่อเรา แกเจ็บ ช่างแก ฉันไม่เจ็บไปกับแกด้วย แกทำให้ฉันทนไม่ไหวฉันก็ไม่ต้องการแก ฉันมีที่ไปของฉัน
ต่อไปฉันจะไม่พบกับแกอีก อย่าไปคิดมากจะทำให้เจ็บ แยกจิตออกจากกาย อย่าไปสนใจกาย เวลาเจ็บนี่แหละดีนัก จะได้พิจารณาเห็นภาพ เห็นขันธ์
เห็นสังขารว่าเป็นอย่างไร และเห็นอายตนะว่าเราจดจ่ออยู่กับมันหรือไม่
คนที่ 5
☻ (ถาม ตอนนั่งกรรมฐาน เห็นพระนั่งกรรมฐานอยู่ ท่านอนยิ้ม เป็นใคร ?)
☺ สมเด็จฯ
☻ (ถาม พระพุทธครูหรือ ? หน้าท่านคล้ายๆ หลวงปู่ชุ่ม ไม่ใช่องค์ที่สามหรือ ?)
☺ สมเด็จพระกุกุกสันโธ
หมายเหตุของผู้บันทึก:-
พระพุทธคุณ หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
13 กรกฎาคม 2521
คนที่ 1 (ขอให้แนะนำพิธีลาพุทธภูมิ)
☺ สวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วกล่าวว่า ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อ, นามสกุล).................
ขอกราบพระยุคลบาท ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมโลกนาถ จอมไตรพุทธครู ต่อองค์พระโพธิสัตว์ทั้งปวง อันมีองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย์เป็นประธาน
ต่อองค์สหัมบดีพรหมซึ่งเป็นอธิบดีหมู่พรหม ต่อองค์ท่านท้าวสักกะเทวราช องค์อินทราชผู้เป็นใหญ่ในกามาวจร ต่อองค์จตุโลกบาลผู้คุ้มครอง
☺ ข้าพระพุทธเจ้าขอตั้งสัตย์ปฏิญาณต่อท่านพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นใหญ่ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบบังคมลม ไม่ปรารถนาพระพุทธภูมิ
ไม่ปรารถนาพระโพธิสมบัติ ไม่ปรารถนาพระโพธิญาณเป็นที่หมายอีกต่อไป
☺ ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมนมัสการสักการะต่อองค์สมเด็จพระสมณโคดมบรมครูว่า ข้าพระพุทธเจ้า
ขอถวายตัวเป็นพุทธสาวกต่อเบื้องพระยุคลบาท ขอจงทรงพระราชทานพร สติปัญญาให้มีอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา สำเร็จมรรคผล พระนิพพาน
ตามพระธรรมเจ้าของพระพุทธองค์ในปัจจุบันนี้เถิด
☺ แล้วต่อท้ายด้วยบทอิติปิโส 8 ทิศ บามีมี 10 ทัศน์ แล้วไหว้พระทำสมาธิ 10 นาที ถ้ามีอะไรอย่าฝืน
◄ll กลับสู่สารบัญ
57
สมเด็จพระพุทธกัสสปเสด็จด้วย
26 กรกฎาคม 2521
คนที่ 1 (ปรารภว่าแย่)
☺ รู้ว่าแย่น่ะดี ความเพียรให้มั่นคงแน่วแน่ที่จะทำต่อไปอย่างไม่หวั่นไหว จะเป็นผลให้ชนะกิเลส อย่าหยุด ท้อถอยที่จะไม่ชดและใช้กรรม
ทำมาได้ก็ต้องใช้ไปได้ อย่าไม่สบาย อย่าเป็นกังวล และอย่าไม่มั่นคง
☻ (ถาม ทำอภัยทานหรืออุเบกขา)
☺ อุเบกขาจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะอภัย
☻ (ถาม ก็ต้องยอมเป็นลูกไล่เขาเรื่อย)
☺ ยอมรับ ก็ไม่เอาแล้วไม่ใช่หรือ ภพ ชาติ
☻ (ถาม ให้ทำยังไง)
☺ เจอก็เจอ ไม่เจอก็ไม่ไปหา เออ ทำดีให้เขาเห็น ดีของเราก็จะทำให้เขาเห็นว่าเราดี และคำสอนของพระพุทธศาสนาดีก็คือรู้จักอภัยทาน ยิ้มแย้ม ไม่โกรธ
ไม่ถือโทษ และไม่เยาะเย้ยถากถาง และให้เห็นว่าเราปฏิบัติธรรมะ มีความสุขโดยไม่ทำให้เดือดร้อน ทำไปนานๆ แล้วเขาจะเห็นแปลกใจใจตัวเราที่เคยมีฤทธิ์เดชมากมาย
แต่สงบดีทุกประการ จะทำให้มาสนใจศาสนาเราอีกด้วย ประการแรก คงไม่ขัดที่เราจะทำบุญ
คนที่ 2
☺ หวง-ห่วง เปรียบเสมือนโซ่ที่ล่ามตัวอยู่ ถ้ามีมากโซ่นั้นจะสั้น ทำให้เรามีอิสระน้อยที่จะมีสติ หวง-ห่วงมีน้อย
โซ่มันจะยาวพอให้เราได้ทำอะไรภายในขอบเขตมากขึ้น เราทุกคนหวังหลุดพ้นจากโซ่ตรวนนี้ก็จงละความหวงห่วงใยลง และทิ้งไป
คนที่ 3
☺ ละทิฐิมานะ ถ้าวันไหนเราไม่พอใจคนมากๆ วันนั้นเราที (ทิฐิมานะ) มาก วันไหนสบายใจ ไม่เห็นใครขัดตา แสดงว่าวันนั้นเราไม่มีทิฐิเป็นตัวกั้นปัญญา
เป็นตัวก่ออวิชชา
☻ (ถาม คนพูดไม่ถูกหู เลยเดินหนี)
☺ ขาดอุเบกขา จำไว้ว่าเราจะพูดอะไรต้องมีความสำคัญ เช่น พูดครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม และจะได้พูดอีก จะทำให้ (ผู้อื่นรู้ว่า)
เรามีวาจาที่สำคัญ
16 สิงหาคม 2521
คนที่ 1 (นั่งสมาธิไม่ค่อยได้ดี)
☺ นั่งสมาธิ แล้วมีสมาธิไหม ?
การนั่งสมาธินั้น ถ้าทำได้ก็ดี แต่จะดียิ่งขึ้น ถ้ารู้จักพิจารณาให้เป็นประจำสำหรับอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม เป็นไหม ?
จับแก้วนั้นก็ให้รู้ว่าจะทำอะไร รู้ว่าแก้วมันแตกได้ มันเป็นอนิจจัง เวลาตากระทบ หูได้ยิน กายสัมผัส ก็ต้องตั้งใจไม่ให้มันเกิดกิเลสความไม่พอใจ
เห็นไม่ดีก็อย่าไปร้อน ได้ยินไม่ดีก็อย่าไปร้อน
พยายามทรงอารมณ์ให้นิ่ง ถ้าจะร้อนก็ให้ร้อนในใจ ตอนหลังๆ มันจะขี้เกียจไปคิดไปสนใจคนอื่นเอง เพราะมันเบื่อ
☻ (ถาม การอภัย เป็นทานไหม ?)
☺ ทานมีหลายชนิด จาคะก็เช่นกัน อภัยก็ถือเป็นทาน เป็นจาคะ เทียบเปรียบเท่าจาคะชนิดอื่น
☻ (ถาม การทำตัวไม่ยุ่งไม่เกี่ยวด้วย จะถือเป็นอภัยไหม ?)
☺ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวเพราะอะไรใจรู้อยู่ แต่จาคะคือการอภัยนั้น อารมณ์จะสบาย จะเฉย จะไม่ทุกข์ไม่ร้อนว่าเดี๋ยวจะต้องวางหน้าวางตนอย่างไร
ไม่ใช่เช่นนั้น จงเร่งใจให้หนัก อย่ารำคาญในเรื่องของโลก อย่ามัวเมาในเรื่องของโลก เราเท่านั้นที่รู้ว่าเราทำอะไรไป เพื่ออะไร ดีหรือไม่ การพูดออกมา
บอกออกมา บางทีก็อาจจะค้านใจเรา ฉะนั้น ทุกๆ อย่างอยู่ที่เรา เราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้ทำ เราเป็นผู้รับผล แพ้หรือชนะอยู่ที่เรา
คนที่ 2
☺ เป็นไง ระงับจิตได้ไหม อย่าเผลอ ถ้าเราทำอายตนะเป็นอุเบกขาเป็นประจำจะก้าวหน้า
เห็นก็เห็นอย่าตกใจ ฟังก็ฟังอย่าตกใจ ได้กลิ่นก็ได้กลิ่นอย่าตกใจ เมื่ออายตนะสัมผัสอะไรก็แล้วแต่ จงใช้สติ นิ่ง ปิดปาก ปิดใจ ให้คิดเฉยๆ ว่าอะไร
คือเกิดอะไร ผลเป็นอย่างไร แล้วค่อยบัญชามาทางวาจา ทำอยู่บ่อยๆ แล้วเราจะทรงสติ ทรงปัญญาเอง ใช้ความนิ่งต่อเหตุที่มากระทบให้มากที่สุดอย่าใช้ความเผลอ
พิจารณาอสุภกรรมฐาน อุทิศบุญ ให้พิจารณาให้ปลง
คนที่ 3 (วันเกิดมีก้อนดำๆ มาทับตัวเหมือนผีอำ นี่คืออะไร ?)
☺ เคยเป็นลูก เขามากอด ยังวนอยู่ในสัมภเวสี เทวดาประจำย่อมให้เข้าถึงตัว
☻ (ถาม เขาลำบากมากหรือ ?)
☺ ยังวนเวียนไม่สบาย ชาติหนึ่งเขาเป็นลูกชายเราแต่ไม่รักดี เกเร ใจจริงเขารักเรา แต่เราเกลียด ตายไป เพราะผลอกตัญญูทางอ้อมจึงรับเคราะห์อยู่
☻ (ถาม ถ้าอโหสิกรรมให้จะช่วยได้หรือ ?)
☺ ขอพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดแล้วแต่ เรื่องนี้เมื่อไม่นานนี้เอง ก่อนลงมา (เกิด) เราอธิษฐานไว้ว่าจะไม่ขอให้ใครอาศัยท้องเกิด เราเป็นคนรักใครรักจริง
ไม่ชอบใครก็อย่ามาให้เห็นหน้า
☻ (ถาม ไม่ดีใช่ไหม ?)
☺ แล้วแต่จะคิด จะว่าดีก็ดี คือไม่ชอบก็อย่ามาเห็นกัน จะได้ไม่ต้องอกุศลกัน จะว่าไม่ดีก็ไม่ดี คือไม่อภัย ทิฐิ แต่ไม่บาป ตัวเราไม่บาป
แต่ลูกบาปเพราะสร้างทุกข์ให้แม่ จงดีใจเสียเถอะว่า วันเกิดทั้งทีได้รู้ผลอดีต ได้ช่วยลูกอีกคน
คนที่ 4 (มีวิสัยพุทธภูมิ)
☺ อย่าคิดให้หนัก ถ้าเราทำอะไรที่แน่วแน่ก็ต้องมั่นใจ เช่น อย่างเราเบื่อทุกข์ เข็ดทุกข์ อยากถึงซึ่งพระนิพพาน
แต่เมื่อรู้ถึงจริยาของตนในภาระพระพุทธเจ้า ก็อย่าคิดว่าจะปรารถนาพระโพธิญาณ ตกลงตอนตายเลยกลายเป็นเทวดาเฉยๆ จะไปดุสิตก็ไม่ไป จะไปนิพพานก็ไม่ไป
อย่าสองใจ
คนที่ 5 (ถามเรื่องการปฏิบัติ)
☺ ศีลน่ะดีแล้ว สมาธิล่ะเป็นยังไง นิ่งไหม
การนั่งสมาธิคือการทำใจให้นิ่งๆ เฉย รวมความคิดไว้ที่จุดเดียว คือคำภาวนา พุทโธ ด้วยใจไม่วอกแวก เห็นทุกข์ไหม ?
☻ (ตอบ เห็น)
☺ เห็นชัดไหม ความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ความตายอย่างเดียว อยู่ที่ขันธ์ 5 รู้จักไหม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ธาตุ 4 รู้จักไหม ดิน น้ำ ลม
ไฟ
ดิน คือเนื้อ ส่วนที่เป็นก้อนๆ ในตัวเรา
น้ำ คือเลือด หนอง น้ำลาย น้ำต่างๆ ในตัวเรา
ลม คืออากาศที่เราหายใจ และที่อยู่ในตัวเรา
ไฟ คือความร้อน พิสูจน์อยู่ในตัวเรา
☺ ทั้งหมดนี้เป็นทุกข์ที่เราต้องดูแล ถึงแม้ว่ามันจะเจ็บก็ไม่เกรงใจเรา มันจะเหี่ยวย่นก็บังคับไม่ได้ มันจะปวดก็ระงับไม่ได้ดังใจเรา
เหล่านี้เป็นทุกข์ ที่เห็นๆ อยู่ในตัวของเรา ร้อยแปดพันประการ
พิจารณาสิ่งเหล่านี้ที่เกิดแก่เรา เท่านี้เราก็จะรู้ว่า ของเรา นั้น จริงๆ มันใช่ของเราไหม และ เรา นั้นมีอยู่ในตัวเราจริงไหม
พิจารณาดูทุกครั้งที่ทำงาน ดูว่าทุกข์ใช่ไหม อะไรบ้างที่ไม่ใช่ทุกข์ หามา มีไหม ?
30 สิงหาคม 2521
☺ ของทุกอย่างขึ้นอยู่กับวาระและกรรม สำหรับผู้ที่ปรารถนาการไม่เกิดนั้น จะต้องทนและทำใจให้รู้ถึงสภาพสังขาร และห่วงต่างๆ
ที่มีความแปรผันเปลี่ยนไปตามโอกาสของโลก ของกรรม ที่เราและคนอื่นทำมาและทำร่วมกัน
☻ (ถาม ถ้าเช่นนั้น จะละทิ้งหน้าที่ของแม่เสียโดยสิ้นเชิงก็ได้หรือ ?)
☺ การทำหน้าที่คือหน้าที่ ไม่ใช่การทิ้ง แต่สำคัญที่ใจทรงอารมณ์ให้นิ่ง รู้ว่าทุกข์ แต่อย่าไปทุกข์ตาม พอแล้ว
13 กันยายน 2521
คนที่ 1 (เวลานอน เหมือนมีใครจะเข้าประทับร่าง)
☺ เป็นเจ้ากรรมนายเวร เขาแกล้งเรา ให้ท้องคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า กับยันต์อิติปิโส 8 ทิศ
คนที่ 2 (ปรารภว่ารู้สึกเบื่อ)
☺ เบื่ออะไร ? เขาเรียกว่าไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ให้ทำอารมณ์ให้สูงขึ้น
☻ (ถาม คือพิจารณาหรือ ?)
☺ ใช่ อย่าย่อท้อ เบื่อ นั้นให้รู้อยู่ที่ใจ แต่กำลังและแรงใจให้เข้มที่จะสู้ สู้เพื่อหน้าที่ นำใจออกมายืนนอกกาย แล้วให้เห็นว่ากายคือกองทุกข์
ไม่ใช่ให้ถอดกายทิพย์นะ แต่ให้สอนตัวเองให้รู้เข็ด รู้จำ
☻ (ถาม เบื่อแล้วท้อ จะยอมแพ้)
☺ ถ้าท้อ เบื่อก็แสดงว่าไม่สู้ ขี้เกียจสู้ เอาเถอะ ทำให้ใจเข้ม แล้วเราจะรู้ด้วยปัญญาเอง ถ้าเราจัดการกับขันธ์ของเราเองไม่ได้แล้ว ใครจะมาทำให้ได้
นั่นต้องใช้แรงใจ กำลังใจอย่างมาก คือการสร้างสมบารมีให้เข้ม
บารมีแปลว่ากำลังใจ กำลังใจที่เต็ม อย่าไปรู้เลยว่าได้แค่ไหน จะได้เพียรทำทุกด้าน
คนที่ 3 (รู้เรื่องอะไรๆ มาแล้ววุ่นวายใจ)
☺ การรับ ไม่ว่ารับรู้ รับใช้ หรือรับสิ่งของก็ตาม จะต้องรู้ว่าที่รับมานั้นเป็นอย่างไร รู้เป็นจำพวก รู้อย่างพิจารณา รู้ด้วยเหตุผล รู้ด้วยปัญญา
เมื่อรู้ของที่รับมาแล้ว ควรใช้ปัญญาพิเคราะห์ออกมาว่าจะกระทำอารมณ์ วางอารมณ์ วางตัว วางท่าทางอย่างไร จงนำอุเบกขามาใช้ให้มาก
เอาความเด็ดขาดเข้าประหารความลังเล
อุเบกขา คือความเหมาะสม ฉะนั้น ปัญหาที่ถามมา ให้ใช้วิธียืดหยุ่น
19 ตุลาคม 2521
คนที่ 1 (ถามวิธีฝากบ้าน)
☺ วิธีฝากบ้านกับท่านจาตุมหาราช ให้จุดธูป 5 ดอก ขอบารมี อธิษฐานต่อท่านท้าวจาตุมหาราช และว่าคาถา เวสสุวัณนัง วิรุฬปักษี วิรุปักษา ธตรฐ
แล้วให้นำธูป 1 ดอกปักกลางที่ ว่า นะโมพุทธายะ ที่เหลือ 4 ดอกให้ปักมุม 4 มุม
คนที่ 2
☺ ต้องหมั่นพิจารณาให้เห็นทุกข์เป็นของปกติ อย่าให้ใจรับมากเกินไป ถ้ารับทุกข์มากไปจะทำให้ขาดสติ รับแค่รู้ว่า เจ็บ ลำบาก พอแล้ว นำมาพิจารณาสอนใจ
เห็นแจ้ง รู้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หมั่นสอนใจ ใจจะได้จำ กลัว ไม่กล้า เมื่อไม่กล้าก็จะตัดสินใจให้ทรงอารมณ์เฉย
เฉยนั้นคือไม่กลัว ไม่กลัวทุกข์ เพราะทุกข์คือของปกติ ไม่กล้า คือไม่กล้าประมาทในทุกข์ เพราะทุกข์อุบัติได้ทุกลมหายใจ
เมื่ออารมณ์ว่าง เฉย จะได้จับมั่นที่คำภาวนา จับคำภาวนาไว้ อย่างไปติดสุข อย่างไปติดรูป ติดแสง
คนที่ 3
☻ (ถาม ทำอย่างไรจึงจะไม่มีศัตรู)
1. ลดความทิฐิมานะลง
2. อย่าจำในสิ่งอกุศล แล้วเอามาเป็นความแค้น
3. อย่าเอากุศลที่คนอื่นทำกับเรามาเป็นเจ้าหัวใจเรา
☺ นี่แหละ เมตตาจะมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเขาด่าเรา คำด่านั้นเป็นอกุศล ถ้าเราเก็บคำด่าเอาไว้ ใจเราก็ขุ่น ร้อน กังวล
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
58
(Update 20-09-53)
คำเทศน์ของ หลวงตาแสง
1 พฤศจิกายน 2521
คนที่ 1 (ปรารภว่าขัดกับคู่ครองที่นับถือคนละศาสนา)
☺ ศาสนาเขาก็สอนเรื่องความดี คือกุศล บุญ
อย่าคิดถึงเรื่องอื่น คิดถึงเรื่องหน้าที่อย่างเดียว หน้าที่มนุษย์สัมพันธ์ควรทำอะไรบ้าง คิดถึงความเป็นครอบครัว คิดถึงความเป็นแม่ เป็นแม่พระของลูก
เป็นภรรยาที่ดีของสามี คืออยู่ก็อยู่ให้เขาสุข ไม่ใช่ด่าทอต่อว่า ดุ อย่างนั้นไม่ใช่ลักษณะของเมตตา
อย่าทำให้เขาเป็นปรปักษ์กับศาสนา ถ้าเราเมตตาเขา กรุณาเขา รักเขา กตัญญูเขา เราควรใช้วิธีตอบสนองความดีของเขา อย่าไปมองเขาในด้านบึ้ง
มองเขาในด้านยิ้มบ้าง ถ้าเราตั้งอคติเป็นอำนาจไว้ เราจะมองเขาด้านอคติตลอดเวลา
คนที่ 2 (ปรารภเรื่องยุ่งในร้านค้า)
☺ ไม่ต้องกังวล หมั่นขอพรเจ้าที่เจ้าทางบ้าง สวดมนต์อย่าให้ขาด ตั้งใจดูการงานให้เห็นเป็นธรรมะ
สิ่งไหนเป็นทักข์ขนัดอารมณ์จากเหตุการณ์ที่มากระทบใจเรา พิจารณาให้เห็นตัวเราในความจริง ยอมรับความเป็นธรรมดาของคน ของโลก แล้วจะสบาย เช่น สรรเสริญกับนินทา
ย่อมมีขึ้นแน่ๆ เพราะเป็นความจริงของงาน มี ชอบ ก็มี ไม่ชอบ โลภ โกรธ หลง ต้องเจอ ต้องพบ ทำใจไว้ว่าเมื่อเจอ เมื่อพบ จะทำอย่างไร ทำได้จะสบายใจ
คนที่ 3 (ทำสมาธิ ยังใจไม่สงบ)
☺ อยู่ที่ตัวเรา ต้องกล้า คือเวลามีใครเขาทำอะไรข้างนอก ไม่ต้องไปสนใจ ลองหลับตาซิ ถ้าเราหลับตาแล้วฟังเสียภายนอก (และ)
ตามหรือสนใจในคำภาวนาอย่างเครียดจะรู้สึกว่าเราจะเกร็งที่หนังตาใช่ไหม ?
ลองปล่อยอารมณ์ให้สบายๆ เหมือนเวลาเราหลับตาธรรมดา ผ่อนกล้ามเนื้อที่เราสนใจ เหมือนว่าเราจะหลับ จะรู้สึกสบายใช่ไหม นั่นแหละคือช่วงที่ประสาทไม่เครียด
แล้วพิจารณาคำสอนก็ดี คำภาวนาก็ดี จะจับสมาธิไว ลองซิ แค่คำว่า พุทโธ ลองดูประสาทที่ตาจะเกร็งไหม ลมหายใจจะกระท่อนกระแท่นหรือแรงไปไหม จับอานาปาฯ จะสบาย
ตามโพรงจมูกไหม
ลองนึกบอกกายให้ทำสบายๆ ลองพยายามนะ ทุกคนยังไม่รู้จังหวะตรงนี้ เพราะเป็นลักษณะของการเผลอ (เพราะ) ตั้งใจมากไป จึงไม่ทรงอารมณ์มัชฌิมา
คำภาวนานี้ทิ้งไม่ได้ ส่วนจิตจะจับองค์พระหรือจับลมหายใจก็ได้ คำภาวนานั้นถือเป็นมนต์
☻ (ถาม ยังคุมอารมณ์ไม่อยู่หรือ ?)
☺ ใช่ เพราะใจยังไม่ดื่มด่ำ เวลาเจอคนว่าเรา เราโกรธไหม ถ้าหลวงพ่อไม่พูดกับเรา เราน้อยใจไหม ? จับอารมณ์พิจารณาทันที เพราะจิตกำลังดื่มด่ำกับทุกข์
อย่างเช่น เมื่อคนที่เรารักตาย เราจะเสียใจมาก ใช่ไหม ? เรารีบพิจารณาทันทีว่าความตายมีจริงไหม ไม่ตายได้ไหม ฯลฯ อะไรเช่นนี้
เจอคนว่าเราให้เราเจ็บ เราโกรธ ถ้าเราเผลอไปโกรธเข้า ก็จงให้หายโกรธแล้วพิจารณาว่าที่เขาว่าเรามานั้นจริงไหม ถ้าจริง จิตยอมรับ
ก็จงตั้งใจยอมรับความจริงนั้นอย่าไปตั้งใจโกรธ ไม่ชอบขี้หน้าเขา ตั้งใจให้แน่ที่จะแก้ไข แต่ถ้าคำว่านั้นไม่จริง ก็ให้ตั้งใจเห็นการนินทาเป็นธรรมดา
แม้พระศาสนาก็ไม่พ้น อย่าไปโกรธเขา เขาเกิดมาไม่เหมือนเรา ฯลฯ อะไรเช่นนี้แล้ว จะทำให้รู้สึกโปร่งขึ้น รู้สึกไหม สบาย โล่งขึ้น
แล้วยังมีความรู้สึกชุ่มชื่นนิดๆ แต่ไม่เท่ากับความชุ่มชื่นที่เกิดจากการทำบุญนะ นั่นแหละ เขาเรียกว่าเมตตาเกิด ลองจับความรู้สึกตัวเองให้มาก
คนที่ 4
☺ จำไว้ว่า คนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน และแต่ละคนมีความเกิดไม่เท่ากัน จงอย่านำทางของเราให้เขาเดิน ถ้าเขาอยากจะไปตามทางของเขา
แต่เราต้องเสนอแนะนำทางของเราให้เขา ถ้าเขาไม่ชอบก็สุดวิสัย เพราะชีวิตใครก็ชีวิตของเขา เขาต้องหาความสุขของเขาเอง ทำใจให้สบายนะ
22 พฤศจิกายน 2521
คนที่ 1
☺ จับอานาปาฯ ให้มั่นๆ พิจารณาเห็นกองทุกข์ไหม ให้เริ่มด้วยกรรมบถ 10
กายกรรม 3 รู้ไหม
1. ฆ่าสัตว์
2. ลักทรัพย์
3. ประพฤติผิดในกาม[/color]
วจีกรรม 4 คือ
1. พูดปด
2. พูดส่อเสียดยุยง
3. พูดหยาบคาย ด่าทอ สาปแช่ง
4. พูดไร้ประโยชน์
มโนกรรม 3 คือ
1. คิดปองร้าย
2. คิดผิดทำนองคลองธรรม
3. คิดในอกุศลกรรม
นี่เป็นกรรมบถ 10 ใครยึดถือปฏิบัติจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงศีล ปฏิบัติได้ครบถ้วนตามนี้ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงสมาธิ ปฏิบัติได้แน่แท้เป็นกิจวัตร
จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา
เมื่อมีกรรมบถ 10 นี้เป็นความประพฤติ ก็จะมีจิตสะอาด เมื่อจิตสะอาดแล้วจงพิจารณาว่ากองทุกข์ของธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่คือร่างนี้คือกลไก ส่วนของดิน น้ำ
ลม ไฟ นี้คือขันธ์ 5
☺ ขันธ์ 5 นั้นเข้าใจอย่างไร
รูป คืออะไร ? คือรูปร่างต่างๆ ที่เห็นได้ สัมผัสได้
เวทนาล่ะ ? เมื่อยไหม นั่นแหละ
สัญญา จำอย่างไร ตายกลัวไหม ตัดแขนกลัวไหม ไม่เคยแต่รู้ว่าเจ็บนั่นแหละสัญญา
สังขาร ตัวตน มีเรามีเขา นั่นของเรา นั่นของเขา
วิญญาณ โกรธ หลง โลภ รัก ชอบ เหล่านี้คือวิญญาณ
☺ ขันธ์ 5 พิจารณาได้หรือยัง มันซื่อต่อเราไหม ทำไมเราถึงไม่ต้องการ ? พิจารณาอย่างทุกข์ที่เป็นอยู่ประจำ เช่น ปวดหัว เป็นหวัด รู้สึกอย่างไร
ทรมานไหม แล้วนำมาสู้สัจธรรม
เป็นหรือยัง ตีให้ขาด แยกให้ดื่มด่ำ แล้วจะไปได้
☻ หวังว่าเป็นทางของทุกคนนะ
คนที่ 2
☺ การงานที่ทำอยู่ ขอให้ตั้งจิตพิจารณาอยู่เป็นนิจ อย่าจับเอามาเป็นอารมณ์จนจิตเศร้าหมอง จงตั้งใจแน่วแน่ ถ้าเราไม่ปรารถนาการเกิด
เพราะการเกิดนำมาซึ่งทุกข์
ทุกข์ตอนที่ทรงอยู่ในกายเด็ก พูดไม่ได้ บอกไม่ได้ ต้องการอะไรไม่ได้ดั่งใจ นั่นเป็นทุกข์เยาว์วัย
เมื่อโตขึ้นก็ทุกข์เพราะความเจ็บจากโรคภัย ความเจ็บใจจากโรคภัย ความเจ็บใจเพราะโดนบังคับในสิ่งที่ตนไม่อยากทำ
เมื่อมีวัยอันสมควร จะต้องทนทุกข์ในเรื่องการพลัดพรากจากไปของบิดามารดา การขวนขวายหาเงิน หางาน ตลอดจนทุกข์จากการมีศัตรู วิวาท หรือคู่แข่ง
เป็นมาจนถึงทุกข์เพราะมีครอบครัว
พอถึงวัยกลางคนจงเห็นทุกข์จากการเลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงลูกน้อง ผจญกับความแก่ โรคภัย การใส่ร้ายป้ายสี
เมื่อถึงวัยกลางคน จงเห็นทุกข์จากความแก่ ซึ่งเปรียบกับเด็กทารกก็ย่อมได้ เจอโรคภัยรังควาญมากขึ้น จะทำอะไรจะต้องการอะไรมักจะโดนห้าม
นี่หรือการเกิดมาสบาย นี่หรือขันธ์ทั้ง 5 ที่ว่าดี เราบังคับให้เป็นดั่งใจเราไม่ได้เลย
☺ การเกิดนี้เป็นทุกข์จริงๆ เมื่อพิจารณาเห็นกองทุกข์ของสังขารแล้ว จงพิจารณาให้จิตน้อมไปตามลำดับ แล้วปลงให้ถึงธรรมว่า นี่สังขาร ขันธ์ 5 ธาตุ 4
ทั้งปวงนี้ไม่ใช่ของๆ เรา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นบ้านที่เรามาอาศัยอยู่ชั่วคราวไม่เที่ยงแท้ถาวร เราไม่ต้องการขันธ์ เราไม่ต้องการการเกิด
ปลงให้ได้ตามนี้ทุกวันนะ จิตจะคลายกังวลลง
20 ธันวาคม 2521
(ตอบข้อสงสัยเรื่องการทำมโนมยิทธิด้วยสมาธิขั้นต่ำเพื่อไปดูสวรรค์ ฯลฯ ด้วยตนเอง)
คนที่ 1 (อยากเห็นภาพ)
จิตอย่าพะวงเรื่องการเห็นภาพ ถ้าเห็นก็เห็นเอง การรู้ด้วยจิต นั่นแหละคือภาพ
คนที่ 2 (เห็นว่าตนเองขึ้นไป แต่สงสัยว่าที่เห็นนั้นจริงหรือว่าคิดอุปาทานไปเอง)
☺ จะหลอกทำไม แต่ก็อย่านึกว่าภาพจะปรากฏเสมอไป ตอนจะวางอารมณ์ ให้พิจารณาดูอารมณ์และพรหมวิหารให้ครบเสียก่อน อย่าโลเลไม่แน่ใจ ให้ ไป
อย่างคนโง่ อย่าไปอย่างคนรู้มาก
คนที่ 3 (ทำไมยังขึ้นไปไม่ได้)
☺ อุปสรรคอยู่ที่ใจเรา จิตเป็นผู้รู้ผู้เห็น การที่จะเห็นจะรู้ได้นั้น จิตเราจะต้องมั่นคงเสียก่อน
☻ (ถาม สงสัยคำว่าสัญญากับปัญญา)
☺ เมื่อรู้จะขังไม่มีสัญญา ตัวแรกที่รู้เป็นตัวที่เกิดจากอารมณ์จิตเป็นทิพย์ ถ้าไปพิจารณาเข้าว่าเห็นจริงหรือว่าเป็นสัญญา อารมณ์จะโลเล
อารมณ์ทิพย์นั้นใช้ปัญญา
☻ (ถาม พิจารณาทุกข์ไม่ออก บางคนเห็นว่าทุกข์เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้ แต่บางคนเห็นว่าทุกข์เป็นธรรมดา)
☺ ทุกข์แรก เป็นทุกข์ของคนที่ขาดพรหมวิหาร ทุกข์หลังเป็นทุกข์ของคนที่มีธรรมะ ควรพิจารณาให้รู้จักทุกข์ เห็นกระจ่างว่ามันเป็นทุกข์ เมื่อเห็นแล้ว
ทำใจให้รู้ว่าเป็นปกติของการทรงตัว
☻ (ถาม หากเห็นทุกข์เป็นธรรมดาแล้ว เลยไม่คิดตัดให้เป็นสมุจเฉทปหาน)
☺ ให้พิจารณาอันนี้ว่า เรายังต้องการทุกข์นี้อีกไหม ใจก็จะตอบ ตอบแล้วก็รู้เหตุว่าทำไมจึงไม่เอาอีก พิจารณาทุกข์ใหญ่ๆ เสียก่อน
เมื่อเห็นแล้วจึงค่อยพิจารณาเรื่องเล็กละเอียดลงไป พิจารณาให้อารมณ์เบื่อเกิด อารมณ์เข็ดเกิด ยอมรับสภาพ
อย่างเราน่ะ ตา....จะบอกให้ว่าอย่าไปพิจารณาให้เห็นอย่างคนอื่น เพราะเรามาจากพรหมและอารมณ์ขณะนี้ทรงอยู่ในอนาคามีมรรค
อย่าไปห่วงเรื่องไม่เข้าใจในทุกข์เพราะอารมณ์ของเรามีแต่อุเบกขา ตั้งจิตให้แน่วแน่ ให้เห็นคุณของการไม่เกิด แล้วจับคำภาวนาไปด้วย
คนที่ 4 (ขึ้นไปข้างบนแล้ว ไม่แน่ใจว่าเห็นจริงๆ)
☺ พยายามมั่นใจ ทำใจให้แน่วแน่ เราไม่เชื่อในจิตของตัวเราแล้วเราจะเชื่ออะไร
คนที่ 5 (เป็นครูเขา แต่บางครั้งศิษย์เห็น ครูกลับไม่เห็น)
☺ อย่าไปเอาอารมณ์เข้ามารับ จะกลายเป็นเสียใจ น้อยใจ นั่นคืออารมณ์ของอกุศล ข้อบกพร่องคืออารมณ์วิปัสสนายังอ่อน หมายถึงว่าการพิจารณาอาจจะทำมาก
แต่ซึมเข้าไปน้อย กินใจน้อย การน้อมจิตให้เข้าถึงวิปัสสนา จะต้องมีกำลังสมาธิมั่นคงเสียก่อนที่จะลงมือพิจารณา
พิจารณาไป จับลมหายไป จับคำภาวนา เห็นภาพพระได้ยิ่งดี ทำคู่กันไป เมื่อหยุดเห็นสภาพร่างกายแล้ว ภาพพระจะปรากฏเอง
แต่ภาพพระที่ปรากฏก็จะไม่เหมือนกันทุกครั้งไป แล้วแต่ท่านที่มาคุม ถ้าเปลี่ยนไปจากที่เคยเห็น
ก็ให้รู้ว่าอารมณ์จิตของเราชัดแจ่มใสแก่วิปัสสนาในวันนั้นเท่าใด และหมายถึงท่านนิรมิตให้เห็น เพื่อลองอารมณ์เราว่าบางทีเราฝืนตัวเอง
พยายามจะดันสัญญาออกมา
☻ (ถาม ทำไมยังรับโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้)
☺ ตั้งใจตึงเกินไป แต่บางทีท่านก็ไม่ให้นะ เพราะให้มาแล้วก็ยังทำไม่ได้หรือไม่ได้ทำ ทุกคนระลึกไว้นะ สมเด็จฯ ตรัสสั่งสอนไว้แล้ว ตรัสเพียง 2 ครั้ง
ไม่มีหนสาม เวลารับพระโอวาทแล้วพยายามทำให้ดี
เจริญพรหมวิหารให้บ่อยๆ แล้วจับภาพพระเป็นประธานและครูบาอาจารย์ ตามลำดับ
10 มกราคม 2522
☻ (ถาม อยู่ๆ อารมณ์กำลังดี ทำไมขุ่นขึ้นมาเฉยๆ ได้)
☺ จิตคนเราทุกคน ย่อมมีอยู่ 2 พวกในจิตเดียวกัน คือกุศลฝ่ายหนึ่งกับอกุศลฝ่ายหนึ่ง ทีนี้ตัวใดแจะแรงกว่ากัน
ตัวนั้นก็จะแสดงออกมาโดยบางทีก็ไม่เข้าเรื่อง เช่นนี้ถึงต้องใช้สมาธิ 1 วิปัสสนา 1 เข้าประหาร
ให้แก้ไขโดยใช้วิชชา เช่น บางทีเราเกิดอารมณ์ไม่พอใจ ไม่ชอบใจคนๆ หนึ่ง โดยที่เขาก็ไม่ได้มาทำอะไรให้เรา ดังนี้ จะตั้งใจพิจารณาให้เห็นความดี
คิดถึงธรรมะ พระท่านสอนว่าอย่างไรในเรื่องของคน
หยิบเอาตัวเองขึ้นมาพิจารณาเป็นเบื้องแรกว่าทำไมเราถึงไม่ชอบ กิเลสรึ ? ตัณหารึ ? โลภรึ ? หลงรึ ? หรือไปอิจฉาเขา อันนั้นอยู่ในทุกคน
เมื่อเรายอมพิจารณาและพิจารณาได้แล้ว ใจเราเองนี่แหละจะมีความสุข จริงไหม
☺ ผลของการฝึกธรรมะนั้น อยู่ที่เราจะพอใจฝึกบ่อยๆ หรือนานๆ ฝึก ควรจะหนักในด้านพิจารณา
7 กุมภาพันธ์ 2522
คนที่ 1 (ปรารภการที่ผู้อื่นปฏิบัติการที่เห็นว่าไม่ควรแต่ตน ทำให้ข้องใจมาก)
☺ เรื่องเหล่านี้นะ จงใช้สติปัญญาให้มาก ถ้าเรามั่นใจในความดี บุญกุศลแล้ว จงอย่าได้ท้อแท้ โดยเฉพาะ
ตา..เห็นว่าเราเป็นผู้ปรารถนาพระนิพพานใช้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น จงพยายามปลดสิ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องหนักให้กลายเป็นเรื่องเบาด้วยการปฏิบัติบังคับใจ
ทำได้ไหม? ใช้สมาธิไตร่ตรองนำเอาธรรมะเข้ามาครองใจ แล้วเราจะไม่ทุกข์ร้อน
ผู้ที่ปรารถนาพระนิพพานการพ้นทุกข์นั้น ย่อมจะต้องเป็นผู้รู้อยู่แก่ใจว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความทุกข์และสิ่งโสโครกอันเกิดจากการกระทำของธรรมชาติ
และของสัตว์เดรัจฉานไปตลอดถึงสัตว์ประเสริฐที่เรียกว่ามนุษย์ทั้งสิ้น จงรู้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นสิ่งแน่นอน
เมื่อตั้งใจจะตรงไปสู่การดับขันธ์เข้าพระนิพพาน ก็อย่าได้อาลัยอาวรณ์กับสมบัติ กับสังขาร ขันธ์ 5 และเคราะห์โศก บุพกรรม ก็อย่างได้กลัวเกรง
ให้เห็นสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดา ดังพุทธดำรัสที่ตรัสสอนพวกเธอไปเมื่อครู่
คนที่ 2 (สงสัยเวลาใช้จิตดู เหตุใดจึงเห็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ไม่ตรงกับผู้อื่นเห็น คือคนละองค์กัน)
☺ อย่าลังเลใจ ท่านเสด็จมาหลายองค์ ที่พระนิพพานองค์ใดเป็นประธาน เมื่อเราเข้าแดนพระนิพพานแล้วจะพบท่านเป็นองค์แรก
☻ (ถาม ที่ทำอยู่ เอาจิตจับองค์ปัจจุบัน)
☺ ฉันรู้แล้วว่าเธอจับรูปท่านอยู่ถึงได้พบท่าน ไม่พบองค์ประธาน ท่านมีวาระที่ท่านมาโปรด
เอายังงี้นะ ไม่ต้องสงสัยอะไรทั้งนั้น พระพุทธองค์เป็นพหูสูต สัพพัญญู ฉะนั้น ถ้าเราปรารถนาหรือท่านประทานสงเคราะห์ ท่านจะมาโปรดเราเอง
ฉะนั้นทุกคนอาจเห็นผิดกัน อย่าเสียกำลังใจ ที่ทุกคนเห็นนั้นก็ถูกต้องตามจิตของแต่ละคน สรุปแล้ว ทุกคนจับพระท่านไว้เป็นมงคลที่สุด จริงไหม มั่นใจนะ
คนที่ 3 (ท่านสั่งให้ขึ้นเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างน้อยวันละ 10 ครั้ง ถ้าเวลาแต่งตัวไม่ดีก็ไม่ควรขึ้นเฝ้าขณะนั้นหรือ ?)
☺ ไม่เป็นไร นั่งขี้อยู่ก็ทำได้ เราไม่ได้เอากายไป ที่จริงนั่งขี้อยู่แล้วทำนี่ดีนะ ปลงไปด้วย จะได้เป็นร่างของตนที่ไร้สาระ
และมีกิจวัตรที่เป็นทุกข์
คนที่ 4 (สงสัยว่าการปฏิบัติของผู้อื่นจะเขว)
☺ ไม่อธิบาย จำไว้อย่างหนึ่งว่าเราเข้ามาปฏิบัติธรรม มีธรรมะมรรคผลพระนิพพานเป็นที่สุด จุดสำคัญของการปฏิบัติ คือปัญญา ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติ
สมาธิ มีศีลเป็นพื้น
☻ (ถาม จะสงสารเขาก็เกรงว่าไม่สมควร เพราะคิดว่าเขาสูงกว่า)
☺ พระพุทธศาสนาจะทรงตัวอยู่ได้ก็ด้วยพุทธบริษัท 4 พุทธบริษัท 4 จะรวมตัวได้ก็ขึ้นด้วยความสามัคคี ความสามัคคีจะเกิดได้เพราะอภัยทาน
คนที่ 5 (ขึ้นไปแล้ว ไม่เห็น มีแต่จิตรู้สึกซึ่งอาจเป็นการติดสัญญาก็ได้)
☺ พยายามพิจารณาให้มากๆ เร่งสมาธิให้แน่น จับพระนิพพานและพระพุทธองค์ให้บ่อยๆ เราจงมั่นใจในสมาธิ มั่นใจในพระพุทธองค์
และมั่นใจที่จะปฏิบัติตามพระธรรม เท่านี้เราจะได้เป็นผู้ไม่ประมาทในสังขาร เราไม่รู้ทุกข์ในภายหน้า เราไม่รู้กรรมอกุศลที่จะมีมา เราไม่รู้ว่าจะตายในเมื่อใด
เหล่านี้คือทางที่ไม่แน่นอนในอนาคต ฉะนั้น เธอจงรักษาธรรมะปฏิบัติธรรมะยิ่งชีวิต ดังที่ได้ลั่นวาจาก่อนสมาทานพระกรรมฐานไว้อย่างมั่นคง
มุ่งผลเพื่อตัดสละละขันธ์ 5 ธาตุ 4 กองสังขาร และสมบัติทั้งปวง อย่าท้อถอยทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่กำลังจิต
11 เมษายน 2522
คนที่ 1 (ขอทราบข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน)
☺ จุดอ่อน สอนไปแล้วทั้งนั้น รวมทั้งที่ท่านทั้งหลายมาสงเคราะห์เรา ต้องไปทบทวนดูว่าจิตของเรารับได้ปฏิบัติได้แค่ไหน
ที่สอนไปแล้วนั้น ถึงที่สุดของขันธ์ 5 แล้ว ทำได้ครบก็จะปลดขันธ์ 5 ได้
คนทุกคนที่หวังพระนิพพานเป็นที่ไปนั้น เวลาอารมณ์จิตสงบนิ่ง ละ ตัด ขันธ์ 5 ไม่มีความอาลัยในโลกนี้ ภพนี้ ภพหน้า
แค่ชั่วเวลาลมหายใจเข้าออกก็ถือว่าผู้นั้นมีกำลังใจตัดขันธ์ 5 ได้จริงๆ แต่ทรงอยู่นานแค่ชั่วลมหายใจเข้าออกตอนนั้น ฉะนั้น พระท่านถึงให้พยายามนึกตัดใจ
ทำใจให้เด็ดขาดที่จะละขันธ์ 5 ตลอดเวลาให้ได้นานที่สุด
การตัดขันธ์ 5 นั้น เพียงแต่ทำใจให้สบาย ความกลัวเจ็บ กลัวตาย สารพัดกลัวต้องไม่มี เมื่อความกลัวไม่มีแล้ว จิตจะรู้สึกว่าร่างกายก็ดี ทรัพย์สินก็ดี
ลูกหลานก็ดี เป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะต้องหวง ห่วง กังวล
☻ (ถามถึงอดีต)
☺ อย่าไปติด การติดอดีตมากนั้น ถ้าเกิดตายลงในขณะที่ใจผูกพันอยู่ใจจดจ่ออยู่ ตายไปจะต้องใช้ภพใช้ชาติกันอีก ถ้ายังมีความขุ่นข้องหมองใจในขณะที่จะตาย
เวลาตายไปจะต้องผ่านสำนักพญายมราช
☻ (ถาม ได้ยินเพื่อนฝูงพูดแล้วสะดุดใจ)
☺ เราต้องมีเหตุผลในตัวเรา ถูกหรือผิดเรารู้ เมื่อเรามั่นใจในสิ่งใดแล้ว อย่าไปเขวตามเขา ถ้าเรายังโลเลอยู่ อกุศลจะเกิดในจิตไม่รู้จบ
คนที่ 2 (ทำสมาธิ แต่ไม่เห็นภาพปรากฏ)
☺ จิตสัมผัสแม่นกว่า ภาพนั้น บางทีคือสัญญา มโนภาพ แต่จิตสัมผัสนั้นจะรู้สึกมาเอง
☻ (ถาม ขอวิธีแก้ไขให้สมาธิดี)
ให้ทบทวนตัวบท สมาธิประกอบด้วยอะไร หลักการทำใจให้เห็นสมาธิคืออะไร ไล่ไปเป็นข้อแล้วจะรู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน ต้องไล่ตอนนั้นอย่าเลยไปเสียนะ
พอเรารู้สึกว่าตัวเราบกพร่องก็รีบไล่ข้อบกพร่องให้เจอตอนนั้น แล้วแก้เสียเลย อย่าปล่อยทิ้งไปเวลาพบอย่างนั้น จะเป็นเวลาที่เราจำได้ลึกซึ้ง
เวลาใช้สมาธิ ดูอะไร
1. อย่ากลัวผิด ผิดเป็นผิด ไม่ถึงตาย
2. มั่นใจ มั่นใจในพุทธานุภาพ
3. จับอานาปาฯ ให้มั่นคง ทรงพรหมวิหาร 4 ฝึกนะอย่ากลัว กลัวคืออุปสรรคร้าย
☻ (ถาม อยากให้ช่วยบังคับจิต)
☺ บังคับยังไง ตัวเราเองต้องบังคับตัวเราเองก่อน ถ้าเราบังคับตัวเราเองไม่ได้แล้ว จะให้ใครมาบังคับได้สำเร็จ
☻ (ถาม คนอื่นให้ช่วยดูว่าคนที่ตายไปแล้ว เวลานี้ไม่อยู่ที่ไหน)
☺ การดูให้หรือไม่ ต้องรู้จักกาละอันสมควร บางคนชอบดู แสดงว่าผู้นั้นอาจมีกิเลสต่อไปก็ได้ เพราะกิเลสนั้นมาอยู่ในตัวเรา
อยู่ที่ว่าเราจะไปตีมันให้ขึ้นมาได้หรือไม่ กิเลสจะแสดงออกด้วยการต้องการให้ผู้อื่นสนใจในตน ให้ผู้อื่นสักการบูชาและเชื่อฟังในตน ตนนั้นเป็นคนพิเศษ
นี่คือข้อเสียสำหรับผู้มีวิชานี้ที่จะนำไปใช้ผิดๆ
23 พฤษภาคม 2522
คนที่ 1 (ทำมโนมยิทธิขึ้นข้างบน บางวันก็แจ่มใส บางวันก็ไม่ดี)
☺ พิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้ง อย่าพิจารณาพอเป็นพิธี การที่ขึ้นไปแล้วนั้น ควรหาประโยชน์โดยการพิจารณาสำรวจร่างกาย อารมณ์เราในวันนั้นว่าได้ทำอะไร
มีอะไรไม่ถูกแล้วหาข้อแก้ไขว่าจะต้องดำเนินอารมณ์อย่างไรถึงจะถูกต้อง พบวิมุตติสุข
คนที่ 2 (ขอให้แก้ไขให้)
☺ รู้ว่าเรายังติดอยู่กับอะไร ก็ให้มุ่งแก้ที่จุดนั้น อย่าแพ้ใจตัวเอง ถ้าเรายอมแพ้แสดงว่าเราจะชนะในสิ่งที่เราปรารถนานั้นยาก
คนที่ 3 (การทำสมาธิ ไม่ค่อยมั่นใจนัก)
☺ เราต้องใช้สติปัญญาเหตุผล พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าเราจักต้องพึ่งตนเอง วิธีการพึ่งตนเองนั้นต้องรู้จักคิด พิจารณาว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรไม่ดี
เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องไม่หลอกตัวเอง และพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ประการหนึ่งว่า เหตุที่ตถาคตเทศน์อย่าเพิ่งเชื่อ เมื่อเราทำได้ประจักษ์แก่ตนแล้ว
นั่นแหละคือสิ่งที่ควรเชื่อ
ถ้าใจยึดถือศรัทธา ทำอย่างไรก็ไม่ห่างพระ ถ้าใจโลเลไม่ศรัทธาอะไร ไม่มั่นคง ทำอย่างไรก็ไม่ถาวรในอะไรสักอย่าง จริงไหม ?
ลูกเธอ ถ้าเขารักเคารพใจตัวเธอ เธอจะว่ากล่าวอย่างไรเขาก็ไม่แคลนใจในเธอ ถ้าลูกเธอไม่มีความรักอาลัยในตัวเธอ จะทำดี
พูดดีอย่างไรเขาก็ไม่สนใจมากขึ้นกว่าเดิม ดังนี้อุปมาเช่นกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้ อยู่ที่ตัวเรา
4 กรกฎาคม 2522
คนที่ 1
☺ ขอให้ทรงอารมณ์พิจารณาไว้ตลอดเวลา แต่ไม่ให้เครียด ให้ตั้งอารมณ์สบายๆ ไม่กังวล ไม่รุ่มร้อน แต่ต้องทรงสติ สู้ต่อภาวะ คือภาวะที่มากระทบ
หรือภาวะของผู้อื่นที่เธอได้ประสบ ประสบพบหรือเห็น ได้ยิน สัมผัส แล้วนำสิ่งนี้ขึ้นพิจารณาอย่างรู้ทันว่า สิ่งที่ประสบกระทบทั้งหมดนี้เป็นไปตามวัฏฏะ
และนำไตรลักษณ์เข้าลงท้าย
เธอน่ะ ใจใสมากแล้วนะ จงปลงเพื่อการจากให้บ่อยๆ ทุกอย่างที่ทำเป็นหน้าที่ เพียงแค่มีความสามารถทำ และหน้าที่นี้ก็จะหมดไปตามความสามารถ เมื่อนั้น
จงอย่ากังวลต่อหน้าที่ สิ่งใดเกิดขึ้นได้ ย่อมดับสลายได้เช่นกัน
☻ (ถามถึงคนๆ หนึ่งที่ทำบุญมากและตายสบาย แต่ทำไมเห็นว่าไปตกนรก ?)
☺ ปรามาสพระอริยะ
คนที่ 2
☺ โลกธรรมย่อมเป็นธรรมดาของคนที่ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ พยายามให้ลดลงโดยใช้สติเป็นพื้นฐาน ถ้ามีสติจะเป็นคนอารมณ์เย็น มีแค่นี่แหละมากไหม ทำทีละน้อย
ค่อยๆ ทำ
☻ (ปรารภ มักโกรธ และหงุดหงิด)
☺ อยู่ภายใน ลองนึกดูซิ โกรธแล้วได้อะไร เป็นการหาผล
คนที่ 3 (หลวงตาฯ บอกวิธีให้หมดรักษาตัวเอง)
ว่าคาถา อิติปิโส 3 จบ แล้วใช้คาถามงกุฎ (พระพุทธเจ้า) 3 จบ แล้วใช้คาถาบารมี 10 ทัศน์ บารมี 30 ทัศน์ ทั้งหมดนี้ขณะที่ท่องต้องเห็นพระที่จมูก
(ที่ต้องการรักษา) ให้มีดวนที่หน้าผาก มีดวางไห้พระให้ครบ
กับทุกคน
☺ ตอนนี้ ใครติดขัดในเชิงธรรมะบ้างไหม ?
การฟังคำสอนนี้ ไม่จำกัดอายุ ไม่ว่าผู้มีอาวุโสมากหรือผู้ด้อยอาวุโสก็ตาม ล้วนมีเวลาตายเป็นของแท้ พวกเธอทั้งหลายที่ได้ฟังธรรมะมากาลก่อนๆ ก็ดี
ขอให้รู้ประจักษ์ใจว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท
ฟังแล้วคิด คิดแล้วพิจารณาตาม ไตร่ตรอง ใคร่ครวญดู แล้วพยายามปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการสอนบุคคลต่อบุคคล (คือที่สอนไปเฉพาะเป็นคนๆ ?) ก็ตาม
ควรรับฟังและพิจารณาตามว่า เรานั้นเป็นอย่างที่สอนหรือไม่ นั่นจะเป็นการช่วยฝึกกำลังจิตของตนให้ยอมรับความจริงที่ดูตัวเราว่าสิ่งใดยังขาด ส่วนใดล้น
ไม่ใช่ว่าฟังสอนบุคคลอื่นแล้ว นั่งดูคนอื่นเขาว่าผิดตรงนั้นตรงนี้ ถึงโดนสอน เช่นนั้นก็ขอให้รู้ใจตนเองว่ากำลังจะโดนกิเลสครอบครองเข้าข่ายโมหะ
จึงขอให้ทุกคนหมั่นล้างใจ การล้างใจนี้ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวทำก็ได้ ใจเราดำ ขุ่นมัว มาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย จะมาคิดว่าเดี๋ยวทำก็ได้
อารมณ์ฉันเป็นอย่างนี้ทำเมื่อไหร่ก็ได้
ส่วนพวกอาวุโสน้อยก็คิดว่าตนยังอ่อน ยังไม่ถึงเวลา ถ้าจะคิดเช่นนั้น ตา...ก็ขอถามว่า ถึงเวลา น่ะ เมื่อไร เอาอะไรเป็นกำหนด
เธอรู้รึว่าเดี๋ยวสังขารเธออาจจะหยุดทำงานเสียเฉยๆ ก็ได้ ไม่มีอะไรแน่ เป็นอนิจจังทั้งสิ้น แม้กระทั่งใจของพวกเธอก็ยังเอาอะไรแน่ไม่ได้ จริงไหม ?
การฟังเทศน์หรือคำสอน ขอให้พิจารณาตามแล้วรู้เห็นตามตัวอย่างของคนใกล้เคียง
18 กรกฎาคม 2522
☺ ขอให้ทุกคนหมั่นตั้งใจสำรวจตรวจสอบวิธีพิจารณาตามไป ในระหว่างสอนคนอื่นขึ้นข้างบน (สอนมโนมยิทธิ)
การพิจารณามรณัสสตินี้อย่าละเว้น จงพิจารณาไปเรื่อยๆ เป็นปกติ อย่าให้ขาด เธอไม่รู้ว่าวันใดการจากไป การสูญเสียสูญสิ้นจะเกิดขึ้น
และต้องรู้จักการทรงอารมณ์ในขณะพิจารณาให้ได้ คือเมื่อพิจารณาวาระสุดท้ายของตนเองก็ดี ของภาระ พันธะอื่นๆ ก็ดี จงอย่านำจิตใจของตนเข้า (ไป) หดหู่ ไม่แจ่มใส
อยู่ในความเศร้า
จะทำให้ระดับจิตในขณะนั้นเทียบเคียงกับว่า นั่นแหละ (คือ) ที่ใจจิตของเธอยังมุ่งมั่นปรารถนาในสังขาร วิญญาณ และขันธ์ 5 ธาตุทั้ง 4 อยู่
ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยของการเกิดทั้งสิ้น
จงหมั่นพิจารณา ให้อารมณ์ทรงอยู่ในความเฉย ทรงอารมณ์รู้ว่าเหตุปัจจัยที่เราพิจารณาน้อมตามไปนั้นคือความจริง ความจริงที่ไม่ควรอาลัยหาอีกต่อไป
สิ่งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้หลงมัวเมา ยึดในวัฏฏะต่างๆ เมื่อใดเธอได้พิจารณาแล้ว มีจิตเป็นปกติ สบายอยู่ ไม่ท้อถอยแล้ว
เมื่อนั้นเธอจะได้อารมณ์ที่ควรทรงอยู่แน่นอน
การที่ได้มาฟังคำสอนต่างๆ แล้วนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องกายกับจิต คือกายนั้นให้ละ ให้ทิ้ง ล้วนมีเหตุไม่แน่นอน และยังเป็นส่วนที่โสโครกอีกด้วย
ส่วนจิตที่เธอได้รับฟังไปก็คือการจะทรงจิต ล้างจิต ด้วยวิธีการฝึกต่างๆ เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญของอริยบุคคลที่ทำให้ถึงอรหัตผลนั้น มีข้อความสั้นๆ คือ
แยกกายออกจากจิต หรือแยกจิตออกจากกาย
ถ้าเธอสามารถรู้หน้าที่ของกาย วาระของกาย หน้าที่ของจิต และวาระของจิตได้อย่างถูกต้องและเด็ดขาดแล้ว เมื่อนั้นจะสามารถตัดขันธ์ 5 ธาตุ 4
ได้อย่างแน่นอน
คนที่ 1
☺ รู้ไหมว่าใคร (ที่มาสอน)
☻ (ตอบ เข้าใจว่าหลวงตาแสง)
☺ ตาซ้ายหรือตาขวา พยายามหัดให้ทรงตัว อย่าลำเอียง
☻ (ถาม หมายถึง รักคนหรืออะไร ?)
☺ เข้าข้างใจตัวเองซิ อย่าเข้าข้างใจตัวเอง ลำเอียง ไม่ใช่ว่ารังเกียจใคร ลำเอียงคือชอบมาก ชอบน้อย ไม่ชอบโดนว่า ฉันไม่ได้ให้ไปชอบหรือเกลียดใคร
ให้ทรงอารมณ์เฉย อย่างนี้ต้องจับเข้าป่าเสียให้เข็ด ไปไหม ?
☻ (ตอบ ไม่ไป)
☺ ถ้าไปจะมารับ
☻ (ถามถึงการฝึกเพื่อน)
☺ ตามอัธยาศัยตามความสามารถของคนเรียน ดูอย่าง ตาเล็ก....ซิ เขาสอนแล้วก็แล้วกัน
☻ (ถาม ใคร ?)
☺ ไม่รู้จักรึ ? ไม่รู้ก็ไม่รู้ต่อไป
หมายเหตุ: - ตาเล็ก คงหมายถึงหลวงพ่อซึ่งเมื่อก่อนมีชื่อเล่นอย่างนั้น
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
59
(Update 2/10/53)
คำเทศน์ของ หลวงตาแสง
15 สิงหาคม 2523
คนที่ 1
☺ วาระคนจะถึงที่สุดเมื่อใดเราไม่รู้ แต่อารมณ์จะทำให้ผู้ใกล้จะหมดสภาพสังขารไปสู่สุคติหรือทุคติอยู่ที่อารมณ์
ร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องพังสลายไปเรารู้อยู่ แต่ถ้าไม่อยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ เราก็ต้องผ่อนตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง
คนที่ 2
☺ วิธีปฏิบัติของอุเบกขาคืออย่างไร ?
คือเฉย ช่างมัน ช่างเขา ใครจะรักเราไม่รักเรา (ก็) เรื่องของเขา แต่เราก็ทำความดี มีน้ำใจเมตตาปราณี กรุณาทุกคน
อย่าลืมนะ
คนที่ 3 (เป็นเด็กหญิง จะไปต่างประเทศ)
☺ รู้จักรักษาตัวนะ เราก็รู้อยู่แล้วว่าศีลเป็นของดี เป็นของจริง หรือของไม่ดี แยกคิดเอา เวลาที่อยากจะตามเพื่อนหรือสังคม
จงใช้สติปัญญาให้มากๆ อย่าเอาความร้อนของอารมณ์ทำตนหุนหันพลันแล่น จะเสียใจอยู่ที่ตัวเรา
คนที่ 4 (ถามปัญหาสอนมโนมยิทธิ พาศิษย์ขึ้นไปดูเทวโลก)
☺ จับหลักธรรมไว้ ไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้ถาวร ทุกข์ และวนเวียน หลักอริยสัจ เกิด-เริ่มต้น แก่-มีอายุ เก่าลง เจ็บ-เสื่อมชำรุด ผุ ตาย-สลาย พังหมดอายุ
แล้วใช้หลักทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์ นำหัวข้อเหล่านี้เข้าตั้งแล้วนำภูมิเหตุเข้าหาประเด็น จะตอบได้เอง เข้าใจหรือยัง ลองไป (ตรวจ) ทานดูนะ
ถ้าไม่เข้าใจตาจะอธิบายให้
☻ (ถาม ศิษย์เห็นทรงจีวร ไม่เห็นทรงชุดเทวดา)
☺ ต้องให้เขาลงมาพิจารณาใหม่ ผู้ที่จะพาไปนิพพาน (ได้นั้น) คนนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องสังขารเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
แล้วเขาจะเห็นองค์สมเด็จทรงชุดพระนิพพานในพระจุฬามุนีแล้วถึงจะพาขึ้นไปได้
คนที่ 5
☺ มหาสติปัฏฐานสอนไว้อย่างไร ตอบรวบเป็นอย่างเดียว
☻ (ตอบ ไม่ให้สนใจร่างกาย)
☺ เห็นทุกข์ ทุกข์ของโลกที่อาศัยอยู่ ทุกข์ของภาระที่ได้รับ ทุกข์ของภาวะที่ดำรง นี่คือทุกข์ เรารู้ เราเห็น เรารู้สึก
แต่เหล่านี้มาจากความรักทั้งสิ้น รัก เรา รักใน ตัวเรา รักฐานะ รักในกิเลสต่างๆ จะปัดป้องสิ่งเหล่านี้ได้โดยเรารู้สภาพความจริงของคน สัตว์
สิ่งของทั้งหลาย (ว่า) ไม่มีอะไรถาวร ล้วนเสื่อมสลายพังไปในที่สุด จะมีอะไรเป็นสาระแก่นสาร จะหลีกหนีได้โดยปัญญาในพระกรรมฐาน
☻ (ถาม ทำอย่างไรจะไม่ให้หนีสิ่งที่มากระทบต่อหน้า)
☺ เฉย ทุกคนรักหรือเกลียดเรารู้ ถ้าใจเรามีอุเบกขาพอ เราจะไม่ร้อนใจ ถ้าเราไม่ทำให้ใครร้อน
☻ (ถาม ถ้าเรามีความเห็นไม่ตรงกับคนอื่นอีกหลายคนล่ะ ?)
☺ พิจารณาซิ ตา....เคยสอนไว้ว่า ในการพิจารณาที่จะดูจุดบกพร่องของตนเองได้นั้น อย่ามองเห็นว่าตัวเราดีแล้ว ตัวเราเก่ง
เมื่อนั้นถ้าเรายังเห็นตัวเราในทัศนะอย่างนี้ต่อไป
☺ ตา.....เราในกายนั่นแหละจะบอด คนสูงมักดูตัวไม่ทั่ว เพราะคิดว่าตัวสูงกว่าคนทั้งปวง คนต่ำมักดูตัวเสมอเพราะอยากสูง
และเจียมตนว่าต่ำ นี่แหละเป็นอุปมานะ เดี๋ยวจะเสียใจกับ (คำพูดของ) ตา....อีก
☺ (ปรารภ ไม่ได้ไปสนใจคนอื่น แต่คนอื่นชอบแหย่จนอยากหนี เพื่อคนอื่นจะได้สบาย)
โลกธรรมกินกายนะ โลกธรรมกินใจนะ ถ้าเช่นนั้นก็แสดงว่าธรรมะเราอ่อนน่ะซิ ทำไมจึงหนี หนีแล้วได้อะไร หนีแล้วจะดีขึ้นรึ ถามใจเราซิ
เราเป็นคนผู้แสวงหาทางขจัดกิเลส กิเลสอยู่ที่ใจและขจัดได้ด้วยกำลังใจ ถ้ากำลังใจยังท้อถอยอยู่ บารมีคือกำลังใจยึดมั่นอย่างไร จริงไหม ?
☻ (ถาม จะเจออย่างนี้ตลอดไปไหม ?)
☺ มีใครบ้างที่ไม่เจอ ตาเองเจอมามากกว่าเราต้องมากตายังทนเลย อาจารย์ของเราสอนไว้อย่างไร ? ถ้าเราอ่อนแอ
แสดงว่าเราไม่รักต่อคำสอนของอาจารย์เรา จริงไหม ? ก้าวไปข้างหน้า นี่คือทางของเรา เอาเถอะ ถ้าเธอชนะใจเธอครั้งนี้สำเร็จ เธอจะได้ธรรมะอีกก้าวหนึ่ง
กำลังใจจะแข็งขึ้น ที่จะเป็นทางไปสู่ที่สุดแห่งธรรมะ ตอนนี้แหละจะเป็นช่วงสำคัญ
คนที่ 6 (ทำบุญให้คนตายแล้วยังเห็นเขาในสภาพคนธรรมดา แปลว่าอะไร ?)
☺ ยังวนเวียนอยู่ (สัมภเวสี) รอการผ่านสำนักพญายมฯ จะขึ้น (สวรรค์) หรือลง (นรก) ยังไม่แน่
☻ (ถาม คนตายแล้วไปเกิดเป็นภุมเทวดา เพราะอะไร ?)
☺ การที่จะเป็นภุมเทพก็ดี เป็นรุกขเทพก็ดี อยู่ที่การทำบุญของผู้นั้นอย่างหนึ่ง เป็นด้วยผูกพันในบุญชนิดใดชนิดหนึ่ง (ด้วย) อีกอย่างหนึ่งด้วย
จะเอาแน่ไม่ได้
คนที่ไม่บาปจริงๆ ท่านพญายมราชท่านไม่เอาลง (นรก) คนที่ลงนรกได้ (น่ะ) เก่งจริงๆ นะ
29 สิงหาคม 2522
คนที่ 1 (ถามถึงลูกที่ตาย)
☺ ช่วงชีวิตของคนนั้น ไม่มีอะไรเป็นแก่นเป็นสารมากนัก เกิด แก่ แล้วก็ตายเป็นวาระ ฉะนั้นในเวลาที่ยังมีชีวิตอาศัยในร่างกายอยู่
มีสติสมบูรณ์ ควรตั้งใจให้รู้สภาพสภาวะของความเป็นจริงที่เราผจญอยู่บนโลก เราจะได้ไม่หลง เราจะได้ไม่มัวเมา
เราจะได้ไม่คลั่งไคล้ในสมบัติที่สมมุติขึ้นมา สมบัตินี้หมายถึงคุณสมบัติก็ดี วุฒิสมบัติก็ดี เกียรติสมบัติก็ดี ทรัพย์สมบัติก็ดี
ทุกอย่างล้วนมีอายุเวลาให้เราปลื้มใจได้อย่างมาก 50 ปี แล้วก็สูญสลายไปในที่สุด
คนที่ 2 (เป็นแพทย์ ไม่อยากให้คนชราทรมาน)
☺ เรื่องนี้นะ เธอต้องวางใจเป็นปกติว่า เราจะทำดีเท่าที่เราทำได้ สิ่งใดเกินวิสัยไม่สามารถทำได้ก็อย่าเสียใจ
ถือเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม แต่ละคนมีกรรมเป็นของตนเอง มีทางเดินและที่ไปเป็นของตนเอง แม้แต่องค์สมเด็จพระบรมครูทรงช่วยสัตบุรุษได้ด้วยการสอนธรรมโปรด
(เท่านั้น)
คนที่ 3 (มีคนพูดว่าการพับกลีบดอกบัวที่บูชาพระไม่ดี)
☺ คนนั้นคงพับดอกบัวไม่ได้ดี เพราะเขาถือว่าเขาพับไม่เป็นมั้งหรือขี้เกียจพับมั้ง การพับดอกบังถวายพระนั้น
เป็นสิ่งส่อเจตนาของผู้ถวายพระว่าผู้นั้นอยากถวายพระด้วยความประณีต บรรจง เคารพ และพยายามทำด้วยความศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คนที่ 4 (ถามเรื่องกำลังมีเคราะห์)
☺ คนเราเวลายามเคราะห์นั้น อะไรๆ ก็ดูจะเป็นอุปสรรค มิตรก็ดูจะเป็นอุปสรรค มิตรก็จะไม่เข้าใจ อย่าว่าแต่มิตร
เวลาเคราะห์ร้ายหมายังเมินเลย
☺ แต่ตัวเคราะห์จริงๆ อยู่ที่ใจของเรา ฉะนั้น จะต้องแข็งแกร่งเด็ดเดี่ยว แล้วเราจะหาความสุขได้แม้กายจะลำบากก็ตาม
นี่แหละธรรมที่เธอได้
☺ ไม่ต้องกังวลนะ ปั้นปลายชีวิตจะสบาย จงเชื่อมั่นในบุญกุศล เธอเป็นคนทำบุญประพฤติธรรม มีธรรมะ จะได้รับบุญนี้อย่างแน่นอน
คนที่ 5 (จะมีลูกปฏิบัติตัวอย่างไร)
☺ ศีล สมาธิ ปัญญา
สมาธิไม่ต้องหลับตาทำตลอดไป สมาธิหมายถึงเรามีสติทรงอยู่ รู้ว่าเรามีใจกำลังทำอะไรอยู่ พูดง่ายๆ คือสมาธิ ได้แก่ การตั้งใจทำอะไรแน่นอน
ปัญญานั้น คือการใคร่ครวญในเหตุการณ์ที่กระทบในผลที่ได้
คนที่ 6 (ในการพิจารณา มี 2 ใจ แย้งกันเอง)
☺ จุดอ่อนของเธอรู้ไหม จะมีอยู่ตัวหนึ่งที่คอยแทรกอารมณ์อยู่ทำให้ตัวเราทุกข์ ตัวนั้นคือตัวเสียใจ ใช่ไหม ?
ตัวนี้จะแทรกเวลาเรากระทบอะไรที่เป็นความกังขาขึ้นมา
☻ (ถาม วิธีแก้)
☺ ต้องงดเว้นตัวนี้โดยเรารู้ทัน คือเมื่อเกิดอารมณ์นี้ขึ้นมา พิจารณาว่าทำไม ถามตัวเองว่าเพราะเหตุอะไร
เมื่อจิตพิจารณาได้บ่อยว่าที่เจ้าตัวแทรกนี้หาเหตุผลไม่ได้ นานเข้าเราจะชิน อย่าใจอ่อนนะ เสียใจทำไม ได้อะไรขึ้นมา แล้วจะมีปัญญา
12 กันยายน 2522
คนที่ 1 (ขอให้สอน)
☺ เสียใจมีมากหรือน้อย น้อยใจมีมากหรือน้อย
☻ (ตอบ มีอยู่)
☺ แน่นอน เป็นธรรมดาของคนทุกคน เพราะทุกคนยังรักตัวเองอยู่ ปรารถนาไม่สมหวังก็เสียใจ โดนเขานินทาว่าร้ายก็น้อยใจ
เหล่านี้เป็นผลที่เรายังติดในวิธีคิดของเราว่าทุกอย่างที่เราทำไปมีความถูกต้อง อันที่จริง ความถูกต้องนี้เป็นเฉพาะในส่วนที่ตัวเราได้ลำเอียงคิดไปเอง
ที่ลำเอียงนี้ก็เพราะว่าเรายังรักตัวเราอยู่ ยังปกป้องคุ้มครองตัวเราอยู่ ไม่ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นจะผิด หรือสมควรประการใด เพราะอะไรรู้ไหม ?
เพราะขาดสติ
ตา.........ขอสอน ไม่ได้ว่าเรานะ สอนทั่วๆ ไปด้วย จะได้เป็นประโยชน์
☺ ตัวสติ นี้จะเป็นผู้รู้ ให้เราไม่ยึดถือตัวเรา แต่จะทำให้รู้จักเหตุผลของสิ่งใด ควรหรือไม่ควร คำว่าควรหรือไม่ควรกับกาลเทศะนั้น
เป็นคำที่มีความหมายกว้าง จะยกว่าความควรความถูกต้องนั้น เรายึดถือตามหลักพระศาสนา แต่หลักพระศาสนาก็มิได้กำหนดกฎเกณฑ์อะไรไว้ตายตัว เพราะมันเป็นระเบียบ
เป็นวัฒนธรรมของคนต่อคน
☺ จึงได้มีสิ่งยึดว่า ความดีความถูกต้อง ต้องเป็นไปตามหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมของพระพุทธเจ้าก็ได้มาจากธรรมชาติของโลกธรรมชาติของคนสัตว์ว่า
อะไรควรเว้น อะไรไม่ควรเว้น เข้าใจหรือยังอันนี้ ?
เมื่อใดเราเจอคำเตือน เจอคำนินทา เจอคำต่อว่า จงฟังอย่างใจกว้างและพิจารณาว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นเป็นจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็เก็บไว้ ยอมรับ และแก้ไข
นี่แหละจะเป็นกระจกส่องตัวเรา เพราะตัวเราบางคนก็ยังไม่รู้ตัวตนของคนผู้นั้นดี ถ้าคำเหล่านั้นเขาว่ามาแล้วไม่ตรงความจริง
เราก็ควรรู้อารมณ์ของเราดีว่าควรวางอารมณ์อย่างไร และยอมรับในคำที่มากระทบให้เป็นครูทดสอบจิตต่อโทสะ ดีทั้งนั้นนะ ฟังไว้เถอะใครจะว่าก็ จริงไหม ?
☺ ถ้าอารมณ์ที่เราฟังแล้วรู้สึกจะทนไม่ไหว ก็แสดงว่าเรายังขาดความอดทน แม้แต่องค์พระศาสดายังไม่พ้นคำนินทา ที่นี้ถ้าเราฟังได้
กำลังใจจะก้าวไปเยอะมาก เพราะจะทำให้ใจ จิตเราเกิดอภัยทาน เกิดเมตตา เกิดกรุณา และเป็นผลให้เราสามารถดับไฟในตัวเราได้
☺ ตา........ ให้คติไว้นะ คนเราเกิดมา มีจิตเป็นตัวก่อ ตายไป มีจิตเป็นตัวไป ทุกสิ่งทุกอย่างจิตเป็นผู้สร้างสรรค์ทั้งบุญและบาป
ดังนั้น การที่เราจะทำอะไรให้สำเร็จได้ต้องอยู่ที่กำลังของจิต กำลังของจิตจะเกิดเมื่อมีศรัทธา ศรัทธาตัวนี้นะ จะทำให้เราสู้สำเร็จ
คนที่ 2 (ปรารภสมาธิไม่ดี)
☺ ค้นดูในตัวเรา ศีล ไข้ โรค
(ตา...ว่า) พักน้อย (ไป)
ใช้คำภาวนา อย่าลืมว่าเรายังแยกกายกับจิตให้รู้ต่างกันไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเวลาที่กายชำรุด รวนไป ก็จะส่งผลไปหาจิต จึงอยากให้
(ปฏิบัติดังนี้คือ) เวลาที่กายชำรุดนั้น ควรให้จิตเกาะคำภาวนาหรือพิจารณาแทนที่จะเกาะกาย
คนที่ 3 (เขาว่าขึ้นพระจุฬามุนีได้นานแล้ว แต่ตัวเองไม่รู้สึกว่าได้ขึ้นไป)
☺ เวลาขึ้นไป ให้ใช้วิปัสสนาญาณให้มากที่สุด บนนั้น อารมณ์จะเบากว่าปกติ ใจจะรู้สึกมั่นคง
☻ (ถาม การตัดขันธ์ 5 รู้สึกว่าเข้าใจ แต่ตัดไม่ขาดจริง)
☺ ความรู้สึก คือความเข้าใจ เราเข้าใจในธรรมะที่ปฏิบัติได้ เราจะต้องนำมาใช้ เวลาที่มากระทบ แต่ถ้าไม่รู้สึกในอารมณ์นั้น
แสดงว่าเราไม่ได้สนใจในสิ่งนั้น
☻ (ถาม รู้สึกว่าพระจุฬามุนีหมอง)
☺ ให้ดูภาพที่ปรากฏขึ้น ภาพพระจุฬามุนีก็ดี เป็นประกายหรือเป็นสี แสดงว่าจิตเราในขณะนั้นทรงอารมณ์อย่างไร
ถ้าจิตใสละเอียดมากจะเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกายไปทั่ว เห็นเครื่องทรงชัดเจน รูปลักษณะดังที่เห็นนั้นก็จะเห็นรูปร่างข้างเคียงได้ชัด
แสดงว่าจิตเราตอนนั้นบริสุทธิ์
คนที่ 4 (ขอให้เตือน)
☺ วิธีสั้นๆ ง่ายๆ นะ
ทุกข์มีแน่ เป็นปกติ อนิจจังมีอยู่ในทุกสิ่ง อนัตตามีอยู่ตลอดเวลา ความหมายของสามคำนี้ รู้นะ ? จะไม่อธิบายล่ะ เวลาเจอ-พบเหตุต่างๆ
นำสามตัวนี้ให้รู้อยู่แก่ใจ ใจจะได้ไม่ยึดถือ เวลาตรวจอารมณ์ดูว่าราคะความต้องการในโลกธรรม หรือโลกธาตุมีไหม
โลภะ โทสะ โมหะ มีไหม มากน้อยหรือไม่ ดูอารมณ์ ถ้าเกิดขึ้นให้พิจารณาดูว่าเกิดขึ้นแล้วได้อะไร สุขหรือทุกข์ แล้วแต่จะหาคำตอบออกมา
นอกนั้นให้ทำไปตามปกติ
☻ (ถาม บางเวลาจิตมันเฉย)
☺ ดีซิ จิต (อย่าง) นี้ ตา...ต้องการมาก เพราะความเฉยจะเป็นสมาธิ ทรงฌาน
คนที่ 5 (ไม่ได้นั่งสมาธิ แต่บางทีมันเฉยเอง)
☺ สมาธิไม่ใช่ว่าต้องไปนั่งขัดสมาธิ แล้วสมาธิจึง (จะ) เกิด
เฉยกับเบื่อต่างกัน ความเฉยนี่นะ ไม่รู้ทุกข์สุข ไม่รู้เศร้า ดีใจ เป็นอารมณ์นิ่ง เบา ลอย เหม่อ นั่นคืออารมณ์ของการเสวยวิมุตติสุข
คล้ายกับพวกอิ่มในฌาน
☺ เออ ตา.... ขอสอนนิดหนึ่งว่า ที่เบื่อนั้น ความรู้สึกของเราเบื่อ เราจะต้องแยกดู (อีก) ว่าเราขี้เกียจจึงได้เบื่อ หรือว่าเอือม
เราเข็ด หรือไม่สู้ ถ้าเราพิจารณาได้ว่าอาการเบื่อของเราที่เกิดขึ้นมานั้น เป็นความเอือมระอา เข็ด แสดงว่าอารมณ์ของเราเริ่มตัดเริ่มถอนแล้ว
☺ ให้เร่งพิจารณาต่อไป เมื่อผ่านขั้นตอนการเบื่อไปได้แล้ว จะมีอารมณ์นิ่ง เฉย ไม่เดือดร้อนต่อความผิดหวัง อนิจจังของโลก นี่แหละนะ
เป็นอารมณ์ที่จะสอนพวกเธอ
22 กันยายน 2522
คนที่ 1 (บางทีจิตไม่มีโทสะ แต่ปากมันพูดไปเสียก่อน)
☺ เราดูใจเราไม่ลึกซึ้งพอนะซิ ใจคิด ใจรู้ แล้วจึงค่อยทำลงไป ถ้าเราบังคับใจได้ ใจจะสามารถคุมอารมณ์ คุมการกระทำอยู่
ถ้าไม่รู้ใจตัวเอง อารมณ์จะคุมใจ นี่แหละถึงสอนว่าการทำสิ่งใดๆ ให้นำสติมาคุมตน ถ้าเรามีสติรู้ตัวเรา เราจะรู้ว่าควรวางตนอย่างไร อะไรควรงดเว้น
เมื่อมีสิ่งยั่วมาถึงตัว ถ้าเรามีสติอยู่ เราจะรู้ว่าสิ่งที่มายั่วนั้นมีอุปสรรค มีอิทธิพลต่อเราไหม เราย่อมจะรู้ ใจจะเป็นผู้รู้ ผู้เฉย
แล้วจะมีปัญญาต่อมาว่า เราควรจะทำอย่างไรต่อสิ่งที่มายั่วตัวเรา ปัญญานั้น คือเหตุผลที่จะยั้งสิ่งนี้
รวมทั้งยั้งราคะ โลภะ โทสะ พระท่านสอนอยู่ประจำว่าเราจะต้องมีเหตุรู้อยู่ และรู้ผลจากเหตุนั้น ไม่ว่าเราจะกิน จะพูด จะทำ จะนั่ง จะนอน
ล้วนต้องใช้เหตุผลทั้งสิ้น ถ้าเธอมีเหตุผลที่จะกระทำจะคิดดีแล้ว เธอจะเป็นผู้ที่หาทางได้ด้วยตัวเอง
☺ คนที่มีโทสะอยู่นั้น มักจะมีไฟทิฐิมานะยึดอยู่ มักจะขาดเมตตา กรุณา
☻ (ปรารภ คิดเพียงแต่จะเอาชนะ)
☺ เอาปากไว้ที่ใจ ไม่ใช่เอาใจไว้ที่ปาก ทุกคนน่ะ ตราบใดที่ยังมีเวรกรรม มีขันธ์อยู่ ทุกคนที่ไม่รู้จักดับกิเลสจะต้องเป็น
ไม่มีใครดีกว่ากันมากนัก ถ้าดีแล้วคงไม่ต้องลงมาเป็นทุกข์โศกอยู่อย่างที่เป็น พระราชาก็ทุกข์อย่างพระราชา ยาจกก็ทุกข์อย่างยาจก ทุกข์มีอยู่ทุกเพศทุกวัย
ไมจำกัดฐานะ แต่ละคนก็มีทุกข์ตามแบบของตนเอง
เราเป็นสุขได้ถ้าต้องการ คือเราต้องบังคับใจได้ เราเป็นนายใจเรา แต่ทุกวันนี้เรามักมีใจเป็นนายเรา
คนที่ 2 (เห็นภาพไม่ชัด ไม่แน่ใจ)
☺ การที่จะรู้นี่นะ ขอใช้คำว่ารู้แต่เหตุ การรู้นี้บางทีเราไม่ต้องตั้งท่า รู้ จะเกิดเองทีหลัง อาจจะโดยทิพย์ คือญาณ
หรือโดยปัญญาพิจารณา
☺ ให้ตั้งอารมณ์ที่ เฉย เมื่อต้องการรู้ จงต้องการอย่างสบายๆ ถ้าใช้คำว่า อยากดู ก็ออกจะใจร้อนไปหน่อย ถ้าตั้งจิตเข้มจะทึบ
ถ้าตั้งจิตอ่อนจะรวนเร ถ้าจะให้แจ่มใสต้องตั้งจิตสบายๆ อย่าไปพิจารณาว่าใช่-ไม่ใช่
คนที่จะมาให้เราฝึกนั้นมีหลายประเภท จะต้องใช้สมาธิหน่อย แต่อย่าเครียด และจงนำเอาสิ่งที่กระทบนั้นมาเป็นปัญญา ความผิดพลาดย่อมมีเป็นปกติ
เราต้องพร้อมที่จะรับความผิดอยู่ตลอดเวลาใช่ไหม ?
31 ตุลาคม 2522
คนที่ 1
☺ พระพุทธเจ้าท่านสอนเท่านี้ก็มีเท่านี้ ถึงแม้จะเป็นความจำก็ตามเถอะ เราควรนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นคุณแก่ใจแก่ตัวเรายิ่งขึ้น
เพราะธรรมนั้นฟังง่าย ฟังเข้าใจ พูดง่าย คิดว่าทำง่าย แต่แท้จริงแล้วปฏิบัติต่อตัวเองนั้นยาก
☻ (ถาม บางทีเหมือนมีอะไรรบกวน)
☺ รบกวนก็รบกวนไป ฉันไม่สนใจ นี่เป็นเหตุที่จะทำให้ก้าวได้ไกล ดูพุทธประวัติ อันองค์บรมครูท่านก่อนเสด็จตรัสรู้ได้เป็นพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ได้ทรงศึกษาหลายสถาน ตั้งแต่ทรมานไปจนอดอาหารให้ทรงขันธ์ไม่อยู่ แล้วถ้าจะรู้ว่านั่นไม่ใช่หลักแท้จริงใช่หรือไม่
ทุกคนย่อมมีความดื้อทิฐิมานะอยู่ในจิต เป็นเหตุที่ทุกคนจะหลงง่ายหรือเชื่อยากดุจภาษิตว่า ไม่เคยเป็นก็ไม่รู้จัก ไม่เห็นชั่วที่สุดก็ไม่เห็นดีที่สุด
เราเห็นสีขาว เรารู้ได้ไหมว่าสีขาวที่เห็นนั้นขาวที่สุดหรือยัง ทำอย่างไรจึงจะรู้
ใช่แล้ว ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดคือตัวเรา มัชฌิมาปฏิปทา
☺ อีกประการหนึ่ง จิตเรานี่แหละที่จะรู้ปัญญา เธอรู้ใช่ไหมว่าถ้าฝืนกันเอาเป็นเอาตายน่ะมีแต่พังกับบ้า ถ้าฝึกอ่อนๆ ไปนะเหมือนน้ำเซาะหิน แต่ถ้าพอดีๆ
ก็จะเป็นตอนอย่างกับเดินขึ้นบันได สำคัญที่ว่าอย่าใจร้อน อย่าวู่วาม ใช้อารมณ์เอาชนะ
ที่จริงนะ การฝึกปฏิบัติธรรมะนี่ จะว่าทำให้คนเห็นแก่ตัวก็เหมือนจะว่าทำให้คนขี้เกียจก็คล้าย จะว่าเป็นคนใจดำก็คล้าย
ให้คิดว่าเราทรงขันธ์ 5 อยู่ เราอยู่อย่างตัวละครในสังคม เราก็ต้องทำหน้าที่ต่างๆ ไปแต่ก็ไม่ใช่ฝืน และก็ไม่ใช่ยินดี
ยินดีทำให้จิตผูกพันความสุขที่ต้องการจะได้ คือไม่ผูกพันอะไร
☻ (ถาม อุเบกขาหมายถึงปล่อยวาง ไม่เอาไหน เหมือนคนใจดำ แล้วจะต่างกับคนใจดำอย่างไร ?)
☺ ไม่เอาไหน คือเหมือนไม่เอาเรื่อง เพราะเอาเรื่องไม่เป็น แต่อุเบกขาหมายถึงการวางอารมณ์ให้มีเหตุผล เช่น เราเตือนคน
จงระวังว่าถึงวาระที่สามแล้วเขาไม่เชื่อก็ปล่อยเขาไป เตือนเขา เขาไม่เชื่อ แล้วจะพยายามไปทำไม
แต่เราก็จงรู้ว่าเราได้ช่วยเขาแล้วนะ เป็นต้น อาจเป็นกรณีอื่นๆ อีกก็ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีคนมาให้ช่วยโดยเราช่วยได้แล้วเราเฉยเสีย
นั่นแหละไม่เอาไหนชนิดใจดำ ผิดกันนะ
คนที่ 2 (ขอกำลังใจสู้สิ่งที่ประดังมารอบด้าน)
☺ กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ากำลังใจอ่อน ความกลัวจะครอบงำสติ จะไม่มีปัญญา จะพ่ายจะแก้อะไร (ก็) ไม่ถูก แต่ถ้าใจเราสู้จริงๆ
แล้วพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า มีกำลังสติ มีใจยึดมั่นในพระนิพพานเป็นที่สุด เราก็จะต้องรู้ว่าพระนิพพานไม่มีทุกข์ ทุกข์มีกลัว มีห่วง มีหวง
นั่นเป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้ว่ากำลังใจจะมีได้ ต้องทรงอย่างใด
คนที่ 3
☺ สิ่งที่หนักที่สุดคือทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยเหตุคือรัก พลัดพราก เสื่อมสลาย ในโลกธรรม 8 ของพระพุทธองค์นั้นกำหนดไว้ถูกต้องดีแล้ว
มีลาภก็มีเสื่อมลาภ เราอย่าหวังในลาภ เพราะลาภนั้นคือของได้เปล่า ของได้เปล่าก็เกิดจากการทำบุญ ฉะนั้น อย่ายึดลาภเป็นปัจจัย
บางคนอ้างว่าถ้าขาดลาภเป็นปัจจัยแล้ว จะดำรงชีพทำบุญได้อย่างไร ฉันก็ขอตอบว่าถ้าขาดลาภปัจจัยในหมู่ของพวกทำบุญแล้วก็ให้รู้ไป การติดในสรรเสริญก็ตาม
การติดในนินทาก็ตาม ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่จริงตามความจริงแล้ว เราจะไปร้อนใจทำไม
มียศมีเสื่อมยศ นี่เป็นสิ่งคู่กับอำนาจ คนใดผู้คนไหนที่มีอำนาจตลอดกาล ฉะนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของโลกที่มีการสร้าง และก็ทำลาย
26 ธันวาคม 2522
คนที่ 1
☺ อย่าไปวิตกอะไรให้มากไปเลย มันจะเป็นทุกข์ใจทุกข์กายเราเปล่าๆ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา การทำงานการตั้งใจทุกอย่างมันอยู่ที่ความหวังตั้งไว้แรง
ถ้าความแรงของกำลังที่ทำไปนั้นมันไปแรงตามความตั้งใจ ก็ย่อมเวทนาในตัวเป็นธรรมดา
ทุกคนมุ่งตรงกันที่เป้าหมาย แต่วิถีทางไม่เหมือนกัน ตามแต่กำลัง ตามแต่ความสามารถ อย่าได้นำเอาทางวิถีเหล่านี้มาเป็นทุกข์เลย จะทรมานใจเราเปล่าๆ
คนที่ 2
☺ สิ่งที่ผ่านเข้ามาในจิต ที่ทำให้ทุกข์เกิด ทำให้ขัดข้อง ทำให้วิตกกังวลต่างๆ ควรเก็บไว้ในจิต นิ่ง ให้อารมณ์ละเอียดก่อนแล้วค่อยคิดทบทวน
เมื่อคิดไขได้ ก็ทิ้งไป ถ้าคิดแล้วไขไม่ได้ก็ให้วางออกไปชั่วคราว แต่อย่าให้มีกำลังเหนือสติเราได้
คนที่ 3
☺ ทุกๆ อย่างเป็นธรรมดา แต่บางทีความธรรมดาเหล่านี้เรานึกไม่ถึง เพราะว่ามันธรรมดาเกินไป เข้าใจหรือยัง ของใกล้กัน บางทีก็หาไม่พบ
คนที่ 4
☺ อย่าให้จิตเศร้าหมองนะ บางปัญหาจะวนเวียนอยู่ในจิต เป็นเพราะเราอารมณ์ไม่กระจ่าง ยังต้องหาในจิตเราให้ได้ว่า เรายังมีอะไรเป็นอวิชชาอยู่ในจิต
ทุกข์ในใจมีอะไรบ้าง ? ผิดหวัง-ทุกข์ หวังมาก-ทุกข์ ต้องการแล้วไม่ได้-ทุกข์ ไม่ต้องการ-ทุกข์ พบ-ทุกข์ ไม่พบก็ทุกข์ อะไรบ้างที่ไม่ทุกข์
เหล่านี้เป็นอวิชชาของความต้องการ
☻ (ถาม ฝันในสิ่งที่ไม่อยากทำ)
☺ ใช่ นั่นคือตัวร้าย ที่เป็นตะกอนอยู่ในจิตซึ่งทุกคนพยายามปิดบัง อำพรางไว้ แม้กระทั่งต่อตัวของตัวเอง สักกายทิฐิ มานะ เป็นบาปที่ยากมากๆ ด้วย
ผู้สามารถสู้ด้วยตัวเองได้ คือผู้ที่มีความกล้า พระเป็นแต่เพียงผู้บอก
13 กุมภาพันธ์ 2523
☺ เรามีหน้าที่ก็ต้องยอมรับหน้าที่ที่เราต้องทำ ด้วยใจผ่องใส ไม่ใช่ว่าทำหน้าที่โดยทุกข์ พระท่านสอนว่าทุกข์นั้นให้รู้ไว้ จำไว้
แต่อย่าติดในทุกข์ เมื่อไม่ติดในทุกข์ จิตใจจะเบิกบานที่จะสางงานและหน้าที่นั้น ให้สำเร็จได้ตามประสงค์
คนอีกมากเมื่อเห็นภาวะลำบากแล้วท้อ ลำบากแล้วเบื่อ นั่นเป็นทุกข์ที่สร้างขึ้นด้วยใจให้ใจติดในทุกข์ ไหนๆ เกิดแล้ว ก็ต้องยอมรับนับถือในสภาวะที่เป็นอยู่
อย่าคิดเบื่อคิดถอย เธอต้องสู้ทน เพื่อจะไม่ต้องเกิด
21 กุมภาพันธ์ 2523
คนที่ 1 (มีปัญหาการปฏิบัติ)
1. ขณะจิตที่จะได้บุญ คือจิตสบายใจใช่ไหม เมื่อสบายใจ สมาธิ สติก็จะแรงในกำลัง
2. ทุกคนมีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัว แต่ว่าส่วนใดจะมีมากกว่ากันเท่านั้น
3. ในเรื่องการปฏิบัติ ให้ถือมัชฌิมาปฏิปทา บางคนนะ ฟังการปฏิบัติว่ายากแสนยาก แต่แท้จริงแล้วเส้นผมบังภูเขา
ที่ตัวเองไม่ยอมเขี่ยเพราะชอบ นี่คือจุดที่พวกเรายังติดอยู่นิดเดียวกันทั้งนั้น
คนที่ 2 (ถามเรื่องภาพที่เห็นใจจิต)
☺ อย่าไปคิดว่านึกเอง หรือขึ้น (ไปข้างบน) จริง อย่าได้คิด คิดว่าเราเฝ้ากราบพระพุทธองค์แล้วเป็นพอ จะจริงหรือไม่จริงก็ช่าง
ขืนคิดอย่างกังวลจะทำให้อุปาทานกิน
☻ (ถามเรื่องทำบุญให้คนตาย)
☺ ถ้าตั้งใจทำบุญแล้วจงทำไป ถึงแม้เธอจะทำสังฆทานให้พระพุทธองค์ก็ไม่เสีย
คนที่ 3 (ถามถึงผู้มีความคับแค้นทางใจ)
1. เป็นเรื่องของการเจริญธรรม และช่วงของกฎแห่งกรรม มาในรูปทำลายสุขภาพ
2. ร่างกายจะแข็งแรง อยู่ที่ใจที่สมบูรณ์ นี่เป็นความจริงที่จะเกิดกับทุกคนได้
3. รับรองว่าไม่มีอันตรายเลยในพุทธศาสนิกชน ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เธอยอมตายถวายชีวิตให้ตถาคต
ตถาคตย่อมเป็นชีวิตเดียวกับเธอ
4. ความผิดคือครู เด็กเมื่อเดินได้ย่อมจะต้องรู้จักล้ม การล้มทำให้เด็กเจ็บ ความเจ็บทำให้เด็กจำ จำที่จะเดินอย่างไรแล้วไม่ล้ม
14 พฤษภาคม 2523
คนที่ 1
☺ ทำอารมณ์ให้เบาสบาย หายจากภาระทั้งที่มีภาระ หายจากพันธะทั้งที่มีพันธะ เพราะจิตรู้ว่าภาระและพันธะนั้น ถ้ายึดเป็นของเรา
ภาระและพันธะนั้นก็คือตัวเรา ซึ่งจะแยกแยะไม่ออกจากกัน ในเมื่อทำอารมณ์ให้คลายและรับสุข ข่มใจไว้ได้ จะมองภาระพันธะด้านใด ก็จะมองด้วยความสุขุม รู้ทางรอด
ทางออก รู้ทางปฏิบัติ และรู้ธรรมะ
☻ (ถาม จะแยกความแตกต่างระหว่างปัญญาในสมาธิกับปัญญาในสัญญาได้อย่างไร ?)
☺ สัญญานั้น ต้องรู้ให้ออกว่าเป็นสัญญาคติ หรือสัญญาอคติ ถ้าเรารู้สัญญาคติและสัญญาอคติ และแยกออกจากกันได้
ก็จะรู้สัญญาในปัญญา คือรู้ดี รู้ชอบ รู้ธรรมะ ฉะนั้นจึงแยกสิ่งไม่ดี สิ่งที่ไม่ใช่กุศลออกไปได้ด้วยปัญญา
ปัญญาคือรู้แจ้ง รู้แจ้งในเหตุ คนเราจะตัดสินใจ จะทำอะไร สิ่งไรลงไป ต้องใช้ปัญญา คือผู้นั้นจะต้องรู้แจ้งในเหตุ ในที่มาของเหตุ
ไม่ใช่ทำเพราะความด้อยปัญญา คือเป็นผู้อยากจะทำในอคติ
คนที่ 2
☻ (ถาม เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น นึกว่า ช่างมัน จะเป็นอุเบกขาหรือไม่)
☺ เสียงมันบอกสำเนียงให้ ชั่ง เสียก่อน เวลาพิจารณาตัดสินในข้อที่มาหาตัว จงใช้วิจารณญาณ คือสามัญสำนึกถูกผิด
พิจารณาว่าควรหรือไม่ แล้วจึงตัดสินใจว่าช่างมันหรือช่างเขา
ทุกข์ทุกอย่างมาแต่เหตุ เธอมีข้อปัญหามากมายและก็มีข้อธรรมะมากมายเช่นเดียวกัน จงหาเหตุเมื่อมีความ เมื่อเธอรู้เหตุแห่งความนั้นแล้ว จงหาข้อดีข้อเสีย
แล้วพิจารณาตามไตรลักษณ์ก่อนที่จะทำ ถ้าคิดในชั้นต่อไป จงเห็นความนั้นด้วยพรหมวิหาร 4
☻ (ถาม อุเบกขา บางทีเหมือนใจดำ)
☺ อุเบกขาสอนให้คนรู้จักประมาณตน 1
☺ สอนให้รู้จักความสงบที่พึงกระทำ 1
☺ สอนให้คนรู้จักกาลเทศะและประมาณตัวเอง
☺ พุทธดำรัสตรัสไว้ว่า เราจะมิทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วยตัวเรา และเราจะไม่ทำให้ทั้งคนอื่นและตัวเราเดือดร้อนด้วยตัวเรา
นี่คือปฏิปทาของผู้ปฏิบัติมรรคผล จะสอนให้ผู้ปฏิบัติกระทำสิ่งใดด้วยความพอดี พอเหมาะ พอควร จะสอนจิตให้รู้สึกถึงสภาพการละ วาง สละ
18 มิถุนายน 2523
คนที่ 1 (ทำสมาธิดูใจ ได้ยินคล้ายคำว่า โยม และเห็นมีรูปกล่อง)
☺ ไตรลักษณ์พรหมวิหาร อริยสัจ โยงเข้าซิ พรหมวิหารมีความสำคัญในด้านยกกำลังจิตให้เข้าสู่อารมณ์พรหม
☻ (ถาม แล้วที่รวมอยู่ในกล่อง แปลว่าอะไร ?)
☺ กล่องมีกี่มุม
☻ (ตอบ 4 มุม)
☺ มีด้านกี่ด้าน
☻ (ตอบ 6 ด้าน รวมฝาด้วย)
☺ โยงซิ
☻ (ตอบ รวมเป็น 10 คือสังโยชน์ 10 หรือ ?)
☺ เออ รู้แล้วถามทำไม
☻ (ถาม เวลาเห็นบางคนแล้วสงสารจับใจ เกิดความเศร้า อย่างนี้ไม่ถูกใช่ไหม ?)
☺ พอสมควร ทำจิตให้มีเมตตาในอุเบกขา มีความสงสาร แล้วจิตจะต้องรู้ถึงสภาพสภาวะของกรรมที่บุคคลนั้นมี
☻ (ถาม เมื่อเช้าวานนี้มีโทสะ)
ความโกรธคือโทสะใช่ไหม โทสะเกิดเพราะอะไร ? คนเราจะมีโทสะเกิดขึ้นเพราะมีโมหะจิต นึกว่าฉันถูก เธอผิด แล้วฉันต้องชนะ
โมหะเกิดเพราะสติไม่สามารถคุมอารมณ์จิตได้
คนที่ 2 (ยังไม่แจ่มแจ้งเรื่องการไปนิพพาน)
☺ ต้องพิจารณาไว้ในใจนะว่า อยากจะไปนิพพานเพราะอะไร เพราะเบื่อ เบื่ออะไร จะต้องรู้ว่าการเบื่อนั้น
เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันเป็นธรรมดาปกติของคน ของโลก มีเหตุ 3 ข้อ คือ ทุกข์-ความลำบาก อนิจจัง-ความไม่แน่นอน และอนัตตา-ความผันแปร เปลี่ยนไปตลอดเวลา
ซึ่งมีสภาพเป็นเกิด แก่ เก่า เจ็บ ชำรุด ผุ แล้วตาย พังไปในที่สุด เหล่านี้เป็นปกติ เธอรู้ไว้เช่นนี้ทุกวัน เธอจะรู้ความหมายของนิพพาน
สิ่งที่ทุกข์อยู่ จงพิจารณาไว้เป็นครู อย่าได้ยึด อย่าได้แบกไว้เป็นอารมณ์ จะทำให้จิเศร้าหมอง แล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา
คนที่ 3 (ใจมักจะขุ่น)
☺ ให้พิจารณาว่าทำอย่างไร จึงจะไม่มีความขุ่นได้
เรื่องของใจนี่นะ จะต้องพักใจให้ตะกอนนอนก้น ถึงจะช้อนตะกอนออกได้ ถ้ายังกวนให้ขุ่นอยู่ ลำบากที่จะซ้อน แต่เมื่อตะกอนนอนก้นได้แล้ว
ช้อนตะกอนออกยังไม่ได้หมด เพราะการช้อนนั้นจะทำให้น้ำหลุกหลิก ตะกอนจะตีขึ้นเหมือนดังอารมณ์โทสะ
คนที่ 4 (ตัวเองกำลังมีเคราะห์ ถ้าไปเยี่ยมพ่อที่เจ็บหนัก เกรงจะพาเคราะห์ไปซ้ำเติมท่าน)
☺ ถือเอาความกตัญญู อานิสงส์แรงช่วยให้หมดเคราะห์โดยพลัน อานิสงส์ความกตัญญูทำให้เคราะห์คลาย จากใหญ่เหลือเป็นเคราะห์เล็ก
จากเคราะห์เล็กเหลือเป็นเคราะห์นิดๆ
☻ (ถาม พ่อยังมีเวลาอีกนานไหม ?)
☺ ว่างั้นไม่ถูก ควรอธิษฐานอย่าให้ท่านมีทุกขเวทนา
ต่อไปหลวงตาสั่งให้ร่วมวงฝึกสมาธิเพื่อฟื้นฟูของเดิม
☺ ที่เธอเห็นด้านหน้าใช่พระพุทธองค์ แต่การเห็นต่างกัน ตำแหน่งเหนือหน่อยจะเป็นองค์พระสมณโคดมกับองค์พระศรีอาริยเมตไตรย
แล้วพระพุทธเจ้าอีกสองพระองค์ด้านองค์ปัจจุบัน ทางด้านพระศรีอาริยเมตไตรย จะมีพระโพธิสัตว์รองอีก 3 พระองค์ ส่วนด้านหน้าเธอจริงๆ ที่ฉันว่านั้น คือ
ท่านหลวงพ่อของเธอกับฉัน
เอาละนะ ฉันบอกให้แล้ว ในเวลาฝึกภาพปรากฏกับเธอเพียงไร ถูกหรือไม่ จงเร่งในสมาธิความสงัดของจิตที่จะกั้นนิวรณ์ และที่สำคัญ
คืออารมณ์พิจารณา บางคนพิจารณาเร็วเหมือนท่อง
☺ พิจารณา คือไตร่ตรอง คือทบทวน และที่สำคัญคือต้องซึมซาบ อันนี้สำคัญนะ เพราะใจเราเหมือนคนดื้อ มีแต่ความมุทะลุ
บางทียังแกร่ง (เสียอีก) บางทีก็ขยันพิจารณา แต่ใจยังดื้อ จะเป็นมากเฉพาะเวลาไม่มีทุกข์ เวลามีทุกข์ก็เชื่อหมด ทำไม่ล่ะ รู้ไหม ? เพราะเราเข็ดไม่เป็น
เอาละนะ จงจำพระโอวาทไว้นะ จำได้ไหม จงแน่วแน่ที่จะชนะกิเลสมาร พูดง่ายๆ คือ ต้องสู้กับใจตัวเอง
เอาละ ตา.........ไปละ ดึงแล้ว ลา
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
60
(Update 19/10/53)
2 กรกฎาคม 2523
☺ ตั้งใจไว้เสมอนะ เวลาพิจารณาหรือใคร่ครวญในทุกอารมณ์จิต ข้อธรรมต่างๆ ก็รู้ซึ้งกัน จะมีก็การทรงอารมณ์ของจิตอยู่ในทุกวันนี้ จงเห็นทุกข์ รู้ทุกข์
แต่อย่าไปติดในทุกข์ บางคนรู้ เบื่อ นำไว้ในจิตและใคร่ครวญจนทุกข์กินใจ
จิตจะหมกอยู่ในความเศร้าหมอง มองอะไรดูน่าชัง น่าเบื่อ น่าขยะแขยงไปหมด นั่นไม่ถูก ประการเช่นนี้จะทำให้จิตขุ่นอยู่ตลอดเวลา
อาการเครียดทางสมองจะทำลายจิต
พวกหนึ่งจะเห็นโลกนี้มีความสุข จะทำให้จิตหลง จะมีความโลภ ละโมบในสุขนั้น สิ่งที่ดีที่ควรคือ ตั้งจิตไว้ให้อยู่ตรงกลาง คือรู้ในสภาวะของไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามสิ่งนี้จะข่มใจไม่ให้ฟุ้ง
จงรู้ว่าเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้นกับตัวเรานั้น มันเป็นของธรรมดาโลก ปกติโลก อย่าให้ทุกข์ส่วนหนึ่ง สุขส่วนหนึ่งมากินใจ ทำให้ใจไม่เสมอด้วยธรรม
เช่นนี้แล้วเธอจะหาสุขทางคติได้
รู้ไว้เถอะ ความวุ่นวายเป็นนิสัยของปุถุชน จงอย่างใส่ใจ พิจารณานำมาแค่สาระในปัญหาที่ผจญเท่านั้น เราอยู่กับโลก ต้องมีกลุ่มชนในขณะที่ดำรงฆราวาสอยู่
จงทำใจในสิ่งที่สะอาด ความสะอาดของจิตจะเกิดขึ้นโดยจิตปราศจากความเศร้าหมอง
จิตไม่หลงละโมบ กิเลส ตัณหา นั่นคือจิตจะต้องทรงอารมณ์กลางสบายๆ นี่แหละคืออุเบกขาของจิตที่จะบังคับอารมณ์ให้รู้สภาพของกาย ของขันธ์
จึงเป็นญาณที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ
รู้จุดเล็กๆ น้อยๆ ไว้หลายทางแล้ว ก็ควรจะหาจุดที่ตรงอุปนิสัยของแต่ละคนกันได้แล้วนะ ที่ยังไม่เจอะเพราะทิฐิและมานะ
สองตัวนี้ปิดกั้นตนเองให้ผิด ให้ถือ ตัวฉัน ของฉัน อยู่
ฉันดีแล้ว ฉันไม่ผิด ฉันรู้แล้ว นี่แหละที่จะทำให้เธอไม่สามารถหาจุดอ่อนของจิตเธอ จะไม่เจอเพราะคิดว่าตนเองทำแล้ว ทั้งๆ
ที่ยังมิได้ลงมือทำ ขอติงกันไว้เท่านี้
23 กรกฎาคม 2523
คนที่ 1 (ถามเหตุที่เกิดขึ้นกับตนในตอนบ่าย)
☺ เธอปฏิบัติธรรมใช่ไหม เธอรู้ว่าธรรมะเป็นอย่างไร
เกิด 1 แก่ 1 เจ็บ 1 ตาย 1 ปกติ อนิจจัง ความไม่แน่นอน ทุกข์-ความลำเค็ญ อนัตตาเป็นสิ่งวนเวียน เหล่านี้คือของปกติที่จะต้องเกิดขึ้น อยู่กับคน สัตว์
และวัตถุธาตุ ดูอย่างองค์พระศาสดาซิ ทรงรักษาสังขาร ขันธ์ ให้พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ไหม ? นี่คือหลักธรรมที่เธอเป็นผู้ปฏิบัติ หวังไว้ว่าจะต้องทำให้ได้
ความดี บุญกุศลต่างๆ ที่กระทำเพื่อชดใช้เวรกรรมนั้น เพื่อบรรเทาทุกขเวทนา ไม่ให้คนที่รับทุกข์นั้นต้องทุกข์เวทนาต่อไป เป็นสิ่งดี ถ้าบุญกุศลจะดับ
ระงับทุกขเวทนานั้น เพื่อสภาพหมดไปของร่างกาย
คนที่ 2 (ถามเรื่องที่ผจญอยู่)
☺เมื่อเรายังมุ่งทำดีเป็นจริยา เหล่านี้จะช่วยพยุงรักษาให้เธอได้ค่อยๆ หลุดพ้นจากบ่วงกรรม แต่ขอบอกไว้เพื่อใจจะได้ชิน
คือเธอนี้จะต้องชดใช้กรรมสุดท้ายจนสุดชีวิต แต่ผลที่ได้คือธรรมะ จะได้สมปรารถนา พุทธโอวาทที่ว่าคนเห็นทุกข์คือคนเห็นธรรม คนที่รับทุกข์คือคนที่รับธรรม
อะไรๆ ไม่สำคัญเท่าใจ ถ้าใจเป็นสุข อยู่ในห้องแคบๆ ก็สุขได้
คนที่ 3
☻ (ถาม ทำไมนอนไม่หลับ เวียนๆ ลอยๆ ?)
☺ มีกรรมตัวหนึ่งที่คอยกั้นอยู่ เธอเคยทำให้พระท่านคอย สมัยหนึ่งเธอเป็นชาย ไปอยู่วัดเป็นลูกศิษย์วัด ชอบเที่ยว
ให้พระท่านคอยเปิดกุฏิให้
คนที่ 4 (ถามเรื่องการทำจิต)
☺การทำจิตรับในสิ่งที่ควรรับได้ เป็นของปกติ แต่การทำจิตปล่อยในภาวะต่างๆ นั้น เป็นของทำลำบากนะ คนทุกคนรับได้ แต่ตั้งจิตปล่อยไม่ได้ ทุกข์
รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร ถ้าจิตแบกทุกข์ไว้จะทำให้จิตเศร้า ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าทำให้จิตรู้แค่ภาวะได้
แสดงว่าเราทรงจิตให้อยู่เหนืออารมณ์คือการมีสติ
20 สิงหาคม 2523
คนที่ 1 (มีตัวอะไรมาทำรังในศาลพระภูมิ และศาลเอียง)
☺ไม่เป็นไร ศาลพระภูมิหมายถึงการที่เราแสดงความเคารพสักการบูชาท่าน ท่านไม่ได้อยู่ในศาลนั้น
คนที่ 2 (ขอคำสอน)
☺จำคำของพระพุทธองค์ไว้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทำในสายกลาง จิตก็เช่นกัน อย่าให้ตกเพราะเศร้าหมอง อย่าให้สูงเพราะปิติ ปีติกับปิติต่างกัน ปีติคือจิตอิ่ม ปิติคือจิตโลด อันแรกดีกว่า
คนที่ 3 (เรื่องขัดใจกับลูก)
☺ ลูกไม่ใช่ของเรา เขามีชีวิตของเขา แม่คือผู้ให้ผู้สละ เพราะอยากให้เขามาเกิดทำไมใช่ไหม?
ทำหน้าที่ก็ส่วนทำหน้าที่ ถ้ามีแค้นในการทำนั้น ก็จะเป็นบาปทางใจ เกิดความทุกข์ จะโกรธ ไม่พอใจ เราจะให้ลูกดีเสียอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้อย่างยิ่ง
แต่เราชอบที่จะทำให้เขาดีที่สุด ตามกำลังบุญของเขาและของเรา ถ้าคิดว่าต้องถึง (กับ) บังคับ ก็ให้พิจารณาง่ายๆ ว่า ตัวของเราเอง บังคับเอาแน่ได้ไหม
ลูกเปรียบดังเชือก ยิ่งผูกแน่นมากแก้ก็ลำบาก ผูกพอประมาณแก้ง่าย เสียใจเพราะชอบประเมินความหวัง น้อยใจเพราะหวังจนเกินไป เปรียบเทียบดู ทำใจนะ
8 ตุลาคม 2523
คนที่ 1
☺ความเจ็บเป็นของธรรมดา จงอย่าเอาใจเข้าไปท้อถอยกับเวทนานั้น จงตั้งระดับจิตให้ผ่องใส แล้วความเจ็บในใจจะไม่มี ตั้งใจไว้ว่าสิ่งทุกอย่าง กิจทุกอย่าง
อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา
ทุกคนมีอายุที่ชรามากขึ้น เป็นธรรมดาของสังขารที่จะเสื่อมลง กิจวัตรที่เคยทำมาในอดีตอาจจะต้องผันแปรบ้างตามสภาพเวลา อย่าไปเคร่งครัดมาก
ทุกอย่างสำคัญที่เจตนาบริสุทธิ์จิตสะอาดเพราะไร้กังวล จะไร้กังวลได้ต้องมีสติ จะมีสติได้ต้องครองธรรม
คนที่ 2 (ติดทุกข์)
☺ เมื่อรู้ว่าที่เป็นอยู่นั้นเป็นทุกข์ ก็ควรให้รู้อยู่เป็นปกติ เมื่อรู้แล้ว จงตัดใจว่าเราจะหนี หนีโดยพยายามละซึ่งกิเลส
และอุปกิเลสทั้งมวล
จะให้จิตเข็ดก็ต้องทรมาน
☻ (ถาม พิจารณาแล้วเห็นความไม่ดีของตนมากขึ้น)
☺ พิจารณาอย่างนี้ อย่าให้เวทนากินใจ เวทนากินใจได้เพราะเราสงสารตัวเอง กลัวตัวเองลำบาก นี่ ที่ว่าคนเราสละตัวเองนั้น
ยากที่ตรงนี้
☻ (ถาม ห่วงวัด กลัวจะไปไม่ไกล)
☺ อย่าไปกลัว เชื่อเถอะ ถ้าใจยังเห็นขันธ์ 5 เป็นทุกข์ แล้วไม่อยากเกิด รับรองได้ว่าสมปรารถนา แต่ถ้าใจยังหวง-ห่วงในขันธ์ 5 อยู่ จิตก็จะหนักเช่นนี้
ลองไปพยายามดูนะ ทุกข์แล้วมีประโยชน์อะไรที่จะแบกไว้ รู้ชั่ว รู้ดี รู้ทุกข์แล้ว ควรจะรู้ทางที่ผ่าน ในเมื่อกายยังไม่ทิ้งขันธ์
จิตก็สามารถทำให้สู่ภาวะพระนิพพานทางใจได้ พอสงบ เป็นวิธีดับทุกข์
คนที่ 3 (ถูกโกง)
☺ ของเช่นนี้นะ ที่ไม่มีใครแจ้งแถลงไขให้ฟังเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเราถือเป็นกฎแห่งกรรม แล้วจงอโหสิกรรมไป ให้ทำใจไว้ว่าได้ก็ได้
ไม่ได้ก็ไม่ใช่ของๆ เรา แล้วจะสะดวกทั้งทางโลกทางธรรม
คนที่ 4
☺ ที่ใจกังวลอยู่ ตัดได้ไหม อย่างเช่นก่อนนอนเป็นกังวลไหม หรือจิตรับพะวงไหม ถ้ายังไม่เคยทำก็ลองดูนะ เวลาที่ตัดภาระ ตัดกังวล
เป็นตัวของตัวแล้วจิตนิ่ง สบาย
คนที่ 5
☺ จำไว้อยู่ประการหนึ่งว่า ทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ มาจากใจ ไปที่ใจ สำเร็จโดยใจ
คนที่ 6
☺ ตั้งใจไว้ให้อยู่ในอุเบกขา ทุกอย่างอยู่ที่คำว่าพอดี อย่าไปวิตกเกินพอดี และอย่างไปคิดเกินพอดี
กับทุกคน
☺ ทุกคนจำได้ว่า หลักของการสู่นิพพานนั้น มีอยู่ว่า เราไม่มีในเรา เราไม่มีใจเราหมายถึงว่า เราทุกคนไม่ห่วง หวง ในร่างกาย
ขันธ์ 5 ธาตุ 4 อีกแล้ว
ฉะนั้น จะต้องมุ่งเข้าสู่ใจตัวใหญ่ ต้องล้างอุปกิเลสและเหล่าอวิชชาที่มี นั่นก็หมายความว่าละลักษณะปรุงแต่งแทนธรรมชาติทั้งปวงออกไปเสีย
จงยอมรับในกฎแห่งกรรม จงยอมรับในเวลาภาวะ ความเป็นจริงของธรรมชาติที่เป็นวัฏสงสาร
เมื่อเธอได้รู้หลักเหล่านี้จนจำได้แล้ว ก็จงอย่าเอาใจไปเป็นของเหล่านี้ ร่างกายมีเจ็บ มีแก่ มีตาย เป็นธรรมดา ก็อย่าได้เอาใจเข้าไปเจ็บ เข้าไปร่วมแก่
และไปพะวงความตายอยู่ จงอย่าให้ภาวะที่ภาวนาอยู่เป็นทุกข์ แล้วเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าพิจารณารู้ทุกข์แล้วว่าทุกข์เพียงไร ก็จงอยู่แค่รู้
อย่าได้นำใจเข้าไปแบกเป็นภาระ เมื่อใดจิตเข้าไปแบกเป็นภาระทุกข์นั้นไว้ ทำให้ใจเศร้าหมอง ใจจะล้า อ่อนเพลีย เมื่อนั้นอาการอย่างนั้นไม่ใช่เบื่อตัวจริง
แต่เป็นเพราะใจเรายังห่วงกลัวทุกข์จะเข้ามาหา เมื่อนั้นจะรู้ว่าใจยังไม่ยึดมั่นพระนิพพานจริง
จิตที่จับปรับให้เข้าสู่ระดับการปฏิบัตินั้น จะต้องบังคับจิตให้สู้ ต้องเดินไปตามวิถีของธรรม จะไม่ท้อถอย เหล่านี้เธอจะต้องมีพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทาง
ไม่ยากสำหรับคนสู้
ธรรมะในตอนหลังนี้จะเป็นเรื่องละเอียดของจิต เพราะว่าหลักส่วนใหญ่ก็ได้ฟังกันมาจนเป็นที่เข้าใจแล้ว เวลาการปฏิบัติของเธอมีข้อทดสอบอยู่ตลอดเวลา
ควรใช้ให้เข้ากันได้ การไปนิพพานนั้น จะต้องมีบารมีเต็มหรือบารมีสูง ฟังเช่นนี้รู้สึกยาก แต่คำว่า
บารมี นั้นคือกำลังใจ กำลังของจิต กำลังใจจะเกิดขึ้นเพราะเราสู้ ปรารถนาแรงกล้า ไม่กลัว
สรุปข้างต้นก็คือ การไปพระนิพพานต้องสู้ อย่ากลัว อย่ากลัวตัวเองลำบาก อย่ากลัวทรมาน อย่ากลัวทุกอย่าง
22 ตุลาคม 2523
คนที่ 1
☺ ตั้งใจและปฏิบัติไปเถอะ แล้วจะมีผลในทุกๆ ด้านที่ปรากฏ อันที่จริงนะพวกเธอทั้งหลายที่ตั้งใจมั่นในการปฏิบัติน่ะ ดีแล้วนะ
จะได้ประโยชน์กับชีวิตทำงาน และประโยชน์จากจิตใจที่มุ่งหวังในธรรมะ ธรรมะสอนให้เรารู้จักกับธรรมชาติ ความปกติของโลกของคน ในที่ๆ ดำรงอยู่ร่วมกัน
อารมณ์ สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ว่า ธรรมะเป็นแนวทางแห่งตน ตน ในที่นี้หมายถึงจิต การจะพบ ภพภูมิต่างๆ
อยู่ที่จิต จิตเป็นผู้รู้ ผู้เห็น และเป็นตัวไป จุดหมายที่สำคัญคือการทำจิตให้สะอาดด้วยวิถีทางที่ได้ปฏิบัติกันดีอยู่แล้ว
เวลาปฏิบัติ ให้ใช้จิตสัมผัสธรรมให้มาก จะถามอะไรไหม ?
เทศน์สอนไปก็จะซ้ำซาก เพราะท่านก็เคยสอนกันมานานแล้ว อยู่ที่การปฏิบัติของพวกเธอ อย่าหลอกตัวเอง อย่าปฏิบัติที่ปาก แล้วจะผ่องใส
คนที่ 2 (ทราบมาว่าจะเป็นสาวกพระศรีอาริยเมตไตรย คงจะไปนิพพานไม่ได้ในชาตินี้กระมัง ?)
☺ เธอเคยเป็นนักเรียนมา ย่อมเข้าใจว่าเวลาสอบไล่ ถ้าเธอได้เรียนสม่ำเสมอและดูตำราไว้พร้อม เธอคิดว่าสอบได้ไหม ?
☻ (ตอบ สอบได้)
☺ เช่นกัน ถ้าคนใดขาดการดูตำรา แล้วมีคนมาบอกว่าสอบได้แน่ๆ เธอจะสอบได้ไหม ?
☻ (ตอบ ไม่ได้)
☺ เช่นกันอีก เมื่อจิตปรารถนาการไม่เกิด ไม่หวงห่วงในโลก ไม่อาลัยในสมบัติหรือความจริงที่เป็นไปตามวิถี
ทุกอย่างย่อมสำเร็จสมประสงค์
พระพุทธองค์ทรงสอนให้คนรู้จักพึ่งตนเอง หมายความว่าสอนให้คนมีความเชื่อมั่นในตัวเองใช่ไหม ? ฉะนั้น ถ้าเธอปรารถนาอะไรแล้ว
จงเชื่อมั่นในความสามารถในตัวเรา และก็จงพยายามทำให้บรรลุความมุ่งมาดปรารถนานั้น
☺ เมื่อจิตไม่ปรารถนาการเกิดก็ไม่ต้องเกิด ทำได้ไหม ธรรมะมี นำไปปฏิบัติเสีย ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นไปตามคำนั้นเสมอไป นำอุทาหรณ์ที่ฉันยกมาปฏิบัติ
ถ้าใครว่าเธอสอบตกแต่เธอดูหนังสืออ่านตำรากระจ่าง จะตกรึ
☻ (ตอบ ไม่ตก)
☺ เช่นกัน สมปรารถนา
คนที่ 3 (ปัญหาเรื่องกายในกาย)
☺ กายในกาย หมายถึงวิธีการพิจารณากายนอกกับจิต จิตหรือกายในเป็นตัวฟุ้ง ตัวอารมณ์ผันแปรต่างๆ
แต่ดีแล้วที่ตรวจจิตอยู่ตลอดเวลา
อารมณ์จิตของแต่ละคนในแต่ละเวลาต่างกัน เวลาบางทีเราไม่ห่วง ไม่กลัวความตาย เมื่ออยู่ในสภาพนั้น จิตในตอนนั้นจะใสดังพระอรหันต์ แต่ไม่ถึงนะ
อารมณ์ที่ว่านี้ ตา.... .ขอใช้คำว่า ไม่ห่วง เป็นอารมณ์ไม่ห่วง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ลืมพระนิพพาน
เพราะเราปฏิบัติอะไรต้องมีจุดหมาย
4 มีนาคม 2524
คนที่ 1 (ถามวิธีรักษาคนไข้โรคมะเร็งคนหนึ่ง)
☺ วันพระ 15 ค่ำ ทรงศีล 8 บวงสรวง ขอศีล แต่งชุดขาว
☺ เวลารักษาให้ใช้คาถา พุทธังทลาย ธัมมังหาย สังฆังสูญ แล้วลูบลง กลั้นหายใจ 1 อึด ว่าคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
แล้วเดินลมจากศูนย์ไปยังที่เจ็บ ศูนย์ คือยอดอก เอามือแตะท้ายทอยของคนที่เจ็บแล้วเดินลม ให้ลมเป็นเส้นสีแดงลงมาตามกระดูกเอกของหลัง เขาเรียก
กระดูกเอกะ เพราะเป็นกระดูกทรงตัว ทำเป็นไหม ? ให้สีแดงไล่ลงมาตามกระดูกแขน ทั่วตัว แล้วสักพักก็ไล่ลมสีขาวขึ้นหัว ทำทุกวันตั้งแต่วันพระ 15
ค่ำเป็นต้นไป ประมาณ 3 อาทิตย์ติดต่อกันทุกวันนะ
☻ (ถาม ต้องไปต่างจังหวัดระหว่างนั้น เกี่ยวกับกิจการ)
☺ ไม่ตายหาได้ไหม เงินน่ะ ความกตัญญูน่ะไม่ได้ทำกันง่ายๆ แต่ความรัก เมตตาปราณี คอยติดตามนะ เงินกับความกตัญญูทำก็ต้องด้วยศรัทธา
พ่อสอนไว้มากพอแล้วจะไม่สอนซ้ำอีก พ่อแม่เลี้ยงลูก 10 คนย่อมเลี้ยงได้อย่างเต็มใจ ลูก 10 คนจะเลี้ยงพ่อแม่สักคนไม่ได้เชียวรึ จริงไหม ?
ทำด้วยความเต็มใจนะ ไม่เต็มใจจะลำบากนักหากท่านตายไป คนคิดเรื่องบุญกับคิดเรื่องเงินต่างคนละใจ คนคิดที่จะหาเงินเขาก็ต้องคิดว่าเงินสำคัญ
บุญ-กตัญญูเป็นรองเพราะไม่ค่อยเห็นผลดังใจ น้ำจิตน้ำใจซื้อกันไม่ได้ น้ำเงินอีกสิบปีจะหาก็ยังมีโอกาส พ่อพูดมาจริงไหม ? คนอื่นล่ะ จริงไหม ?
บางคนรวยล้นฟ้า แต่โอกาสที่จะทำกตัญญูทนแทนพระคุณนั้นยังไม่มีโอกาส ชีวิตนี้ยังมีโอกาสอะไรบ้างที่ทำให้ท่านได้ เงินให้ท่านรึ ?
ซื้อของให้ท่านรึ ? ท่านก็มากด้วยทุกอย่าง น้ำใจ น้ำแรงกายนี่แหละหาไม่ได้
ของเหล่านี้อยู่ที่กำลังใจ กำลังศรัทธา บางรายบอกให้ไปทำบุญ เช่น รับ-ส่งพระ เขาก็คิดเสียดายเวลาสนุก คิดเสียดายค่ารำ คำนึงความเหน็ดเหนื่อย
บุญจะมีรึ
ทำกำลังใจเสียใหม่ อย่าทำใจด้วยความเบื่อ อย่าทำใจเพื่อแสดงว่าเต็มใจอยู่ภายนอกหน้า แต่หนักใจอยู่ภาย (ใน) ใจ พูดกันเสียตรงๆ ว่า
ได้-ไม่ได้อย่างไร บุญจะมีกว่านั่งทรมาน ทีหลังใช้ปัญญา อย่าโวยวาย คิดพิจารณาก่อนพูด ก่อนทำ
คนที่ 2
☺ ฉันอยากขอเรื่องการเจริญศรัทธาคน
การพูด ถ้าพูดในทางให้คนไม่มีศรัทธาแล้ว เอาตัวเองเข้าอ้างในการเห็น (จากมโนมยิทธิ) ก็จะทำให้คนที่ไม่รู้จริงบาป
กับการเห็น ควรรู้จักดู เพราะนิสัยปุถุชนคนธรรมดาที่ยังไม่ถึงเขตอรหัตมรรคนั้น ยังมีใจแฝงข้างฝ่ายตนเองอยู่ จงถือให้เหมือนภิกษุ
อย่าแสดงให้เกิดอุตริมนุสธรรม จริงแท้แค่ไหนรู้ที่ใจ เราไม่รู้ว่ากรรมเราจะเปิดเมื่อไร จริงไหม
แล้วเราไม่รู้ว่ากรรมที่จะเสวยอายุเราเมื่อไร แล้วเราเป็นผู้ปรารถนาการไม่เกิดอีกแล้ว ฉะนั้น กรรมต่างๆ ย่อมมีมามาก เรามีช่องว่างอยู่มาก ฉะนั้น
จงระวังการเฝือ ช่วยกันเตือนด้วย อย่างเช่นเราว่าเราเห็นสีฟ้า คนอื่นว่าที่เห็น (นั้น) ไม่จริง อารมณ์ (ก็) จะฟุ้ง จะร้อนคนอื่นที่เขาว่าไม่จริง
นี่ประการหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าคนเรายังยึด ฉันถูก ฉันดี อยู่ ถ้าดูบ่อยมานะจะมาหา อันนี้ขอนะ เพื่อประโยชน์ของเราเอง
ทั่วไป
☺ อยากจะสอนการทำใจขณะเจอทุกข์
คนที่มีทุกข์ด้วยร่างกาย มักเข้าถึงจิตใจ เป็นเช่นนี้อย่าเพิ่งดึงดันในเรื่องพิจารณาให้เด็ดขาด จงตั้งใจละ
อย่าหวังในสิ่งอันเป็นที่รัก อย่าท้อถอยให้กำลังใจหดหู่ในภายใน จงอย่าสร้างความหวังในสิ่งที่ตนครอง จำไว้เถอะ ว่าถ้าจิตผูกพันกับสิ่งใดแล้ว
จิตจะผูกดังเชือกมัดของ ทุกข์จะมากเท่า (ที่) จิตผูก
การจะแก้จิตผูกพันนั้น จงใช้อุเบกขาเข้าช่วย อย่าไปนึกท้อถอยหรือเสียใจ น้อยใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่
อย่าได้กลัวในสิ่งที่ตนดำรงสภาพนั้นอยู่ ถ้าปรารถนาการไม่เกิดเป็นอารมณ์ จงใช้สิ่งที่ดำรงสภาพปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ในการพิจารณา ตัด สละ ละ ให้มากที่สุด
อย่าปล่อยให้โอกาสนี้หมดไป
☺ หวังว่าคงจะเริ่มได้ดีนะ
25 มีนาคม 2524
คนที่ 1
☺ คนทุกคนเกิดมาด้วยกรรม รู้ใช้ไหม ?
☺ คนทุกคนเกิดมาใช้กรรม รู้ใช่ไหม ?
☺ คนทุกคนเกิดมามีกรรม รู้ใช่ไหม ?
ฉะนั้น เราจะต้องยอมรับกฎแห่งกรรม และก็ใช้เขาไป หน้าที่ที่มีนั้นปฏิบัติให้ดีที่สุด กรรมอกุศลจะได้เบาบางลงไป ธรรมะจะได้เมื่อ
(พบ) ทุกข์ แต่ธรรมะจะมีผลเมื่อสุข ตั้งใจไว้ให้แน่วแน่ในการปฏิบัติ อย่าให้มีสองอยู่ในใจ
คนที่ 2
☺ อย่าให้โทสะเกิด จะตัดอารมณ์สมาธิ พยายามได้ไหม ? รับปากนะ ดี เคราะห์จะได้เข้าถึงยาก
คนที่ 3
☺ ผู้ปฏิบัติธรรมควรรู้อยู่ในเวลาที่ใช้สติปัญญา รู้จักสำรวมในการพูด ในการคิด ในการกระทำ ในภาวการณ์ประนอมตนยังไม่พร้อมนั้น
การปฏิบัติธรรมควรจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่าได้เห็นตนเองว่าสูงจน (ทำให้) เห็นอย่างหนึ่งอย่างใด (ที่) ไม่ต้องอัธยาศัยว่าต่ำ
เราอย่าได้เปรียบเทียบว่าเราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา สิ่งนี้จะทำให้ขาดความสำรวม จะดันปัญญาไปในทางเดรัจฉาน
นี่เป็นอุปกิเลสที่จะทำให้จิตอยู่ในความเศร้าหมอง เป็นอันแน่วแน่ว่าเราทุกคนปรารถนาการไม่มีภพ ไม่มีชาติอีกต่อไป ก็จงมุ่งมั่นในคำว่าตัวเราไม่มีในเรา
เราไม่มีของเรา
แค่นี้จะตีความออกขยายได้หลายทาง จงนำไปพิจารณาเถิดว่าเราจะปฏิบัติได้แค่ไหน แต่ถ้าตราบใดจิตยังหลง ห่วงในตัวของเราอยู่นั้น จะทำให้จิตยึดมั่นอยู่ใน
ฉันดี ถ้ายังมีคำว่า ฉันดี อยู่ในใจ เราจะหาจุดบกพร่องในตัวเราไม่ได้ หรือได้ยาก
22 กรกฎาคม 2524
คนที่ 1 (ทำไมทำมโนมยิทธิ บางครั้งเห็นเป็นดวงพุ่งออกไป บางครั้งเป็นอีกร่างหนึ่งพุ่งออกไป ?)
☺ เพราะอารมณ์ไม่เท่ากัน อารมณ์ใสจึงจะเห็นเป็นร่างออกไป
☻ (ถาม อยากเห็นสิ่งที่ต้องการดูให้เห็น แต่ไม่เห็น)
☺ เพราะยังมีอารมณ์กังวล อารมณ์พุ่งเจาะจงเกินไป พูดง่ายๆ คืออารมณ์ขณะนั้นยังไม่ใสพอ
☻ (ถาม ลูกแต่งงานโดยไม่บอก)
☺ คนทุกคนล้วนมีทุกข์ แต่อยู่ที่ว่าคนแต่ละคนนั้นจะแก้ทุกข์หรือจะเก็บทุกข์ ทุกข์บางเรื่องก็ต้องพยายามแก้ ปลดไป
ถ้าทุกข์นั้นพิจารณาแล้วว่าไร้สิ่งดี
☻ (ถาม คิดแล้วกลายเป็นพยาบาท อยากเห็นหายนะของเขา)
☺ พยาบาทแล้วได้อะไร ? เพราะอะไรถึงพยาบาท ?
อันนี้เป็นทิฐิ คนที่รู้ว่าผิด แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการทำผิด ฉันก็ต้องคอยจนความเสี่ยงของเขาน้อยลง แล้วฉันถึงจะแนะได้ เราจะเข้าไปช่วยคน
แต่เขาปิดประตูบ้านไม่ให้เข้า แล้วเราจะช่วยเขาได้อย่างไร บอกซิ
เธอต้องล้างด้วยตัวเธอเอง ในเมื่อเธอปิดบ้านไม่ให้คนเข้า เธอก็ต้องช่วยตัวเธอเอง
☻ (ตอบ อยากเปิด)
☺ ติดอยู่นิดเดียว อภัยทาน
☻ (ตอบ ใหญ่มาก)
☺ ฉันเห็นน่ะนิดเดียว คนเราถ้าปรารถนาการไม่เกิด ปรารถนาพระนิพพานเป็นหลักแล้ว ต้องเข้าใจคำว่า เราไม่มีในตัวเรา สิ่งนี้หมายถึงเราไม่มีในร่างกาย
ขันธ์ 5 ธาตุ 4 ไม่มีในสมบัติ เมื่อตายแล้วเราไม่มีสิทธิในอะไรเลย แม้นแต่กายที่เรารักยิ่งหวงแหนยิ่ง แล้วนับประสาอะไรกับคนอื่น สิ่งอื่นๆ
ทั้งหมดนี้เป็นสมมุติทั้งสิ้น
ในเมื่อเธอยังจับ ยังอาลัยอาวรณ์ในการเลี้ยงลูกจนกลายเป็นทิฐิ เอาชนะ แสดงให้เห็นว่าเธอยังกลัวการพลัดพราก ยังกลัวความตายอยู่
☻ (ตอบ จากไปโดยการตายเสียยังดีกว่า)
☺ จากตาย จากเป็น ก็เหมือนกัน แต่เราไปสมมุติเอาเองว่าจากตายสบายกว่าจากเป็น
☻ (ถาม เขาอาจถูกคุณไสยได้ไหม ?)
☺ ฉันไม่ขอตอบ แต่ขอตอบว่าเขาเป็นปุถุชน เราควรอวยพร ถ้าเธอรักลูก
คน น่ะ หมายถึงว่ามีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ถ้าเราบีบมากจะแตกง่าย ตัวอย่างมีแล้ว ถ้าเราไปเข้มงวดมาก
เขามีอะไรก็ไม่เป็นชิ้นเป็นตัวให้เห็น มัวแต่หลบไปหลบมา ซ่อนไปซ่อนมา อันนี้เป็นหลักธรรมดาที่พ่อแม่ หรือคนที่จะเป็นพ่อแม่ควรคำนึงไว้
ปลงใจให้มากๆ อย่าไปผูกไว้แน่น มีคำหนึ่งซึ่งท่านพรสวรรค์เคยพูดไว้ดีมาก คนเรา ถ้ารักอะไร ก็เหมือนเชือกผูก ถ้าผูกสบายๆ พอสมควร
เวลาจะแก้เชือกก็แก้ง่ายไม่เจ็บมือ ถ้ารักมากก็ผูกแน่น เวลาแก้ก็ลำบาก ใช้เวลานาน เจ็บมือด้วย
อุปมาเช่นกัน ถ้าเรารักมากจะให้ลืมกันนั้นแสนยาก ใช้เวลานาน แถมยังเจ็บช้ำใจตนเหมือนที่เจ็บมือ
ถ้าพูดถึงหน้าที่ที่เธอรักลูกนั้นฉันให้คะแนนเต็ม เพราะอย่างนี้ถึงต้องมีความแค้นมาก เชือกมันผูกแน่นเกินไป มือจึงเจ็บมาก
((( โปรดติดตามตอนต่อไป )))
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|