Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 7/9/11 at 13:02 [ QUOTE ]

สถานการณ์ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุงตั้งแต่เริ่ม ถึง วันที่ 13 กันยายน 2554


♠ แผนรับมือกับ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง ปี 2554
♠ ระดับน้ำหน้าหอฉัน และสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา (7 ก.ย. 2554)
♠ ทำความเข้าใจกับ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง
♠ สถานการณ์ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง วันที่ 12 กันยายน 2554
♠ สถานการณ์ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง วันที่ 13 กันยายน 2554
♠ ผู้ร่วมทำบุญ “ป้องกันน้ำท่วม” วัดท่าซุง



เนื่องจากการเตรียมนำวัตถุมงคลที่จะเข้าโบสถ์ แล้วเสร็จไม่ทัน ตามที่กำหนด ทำให้ไม่มีของที่จะนำเข้าพิธี จึงขอ

"งด งานพิธีพุทธาภิเษก ในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2554 "นี้





แผนรับมือกับ "วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง ปี 2554



เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สถานการณ์น้ำทั่วประเทศในตอนนี้ จะมีฝนตกเกือบตลอด และปริมาณน้ำที่สะสมตัวอยู่ก็มาก ขึ้นตามลำดับ ตามข่าวที่ติดตาม จะเห็นว่าจังหวัดทางภาคเหนือมีน้ำท่วมกันแล้วหลายจังหวัด และหลายอำเภอ แม่น้ำสายต่างๆ มีปริมาณน้ำมาก และเขื่อนก็รับน้ำไว้เป็นจำนวนมากแล้ว

ก็ต้องปล่อยน้ำออก อำเภอที่อยู่ปลายแม่น้ำ ก็จะถูกปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาก จะล้นฝั่ง ออกมาท่วม ไร่นาของประชาชน ที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ได้รับความเสียหายตามๆกันไป แต่น้ำที่ปล่อยออกไปของเขื่อนยังไม่มีอาการ จะน้อยลงเลย เพราะเนื่องจากน้ำมีปริมาณมาก และปริมาณฝนก็ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอยู่ในช่วงหน้าฝน ที่ยังมีฝนตกอีกนาน

ถึงแม้ทางวัดซุงจะประสบกับภาวะน้ำท่วมตลอดมา นับตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ยังมีชีวิตอยู่ พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุงก็มีการช่วยเหลืองาน ด้วยการรักษาของสงฆ์ไว้ด้วยชีวิต เท่าที่จำได้จากสถิติน้ำท่วมวัดท่าซุงมาแล้ว ดังนี้ ปี 2523, 2526, 2538, 2545, 2549 โดยเฉพาะในสภาพปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน คือ ท่านพระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ และพระสงฆ์ที่อยู่ภายในวัดท่าซุงก็ได้เตรียมการป้องกันมาอย่างต่อเนื่อง ที่จะดูแลรักษา “สมบัติพ่อให้” ไว้เป็นอย่างดี จากประสบการณ์ที่กระทำมา จึงพอจะสรุปแนวทางได้ดังนี้

1. แนวหน้าวัด (ด้านทิศตะวันออก) จะดูแลป้องกันมิให้น้ำข้ามถนนมา จากแม่น้ำสะแกกรัง
2. แนวข้างวัด 2 ด้าน (ด้านทิศเหนือและทิศใต้) ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน
3. แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด (ด้านทิศตะวันตก) ได้สร้างเขื่อนเป็นแนวถนน กั้นน้ำไว้ถึง 2 ชั้น
4. สระที่เก็บน้ำภายในวัด ก็มีตั้งเครื่องดูดน้ำขนาดใหญ่ไว้คอยสูบออกไปสู่ด้านนอกวัด

แนวถนนหน้าวัด จะดูระดับน้ำที่แม่น้ำสะแกกรัง

แพเลี้ยงปลามีระดับน้ำสูงขึ้น จึงต้องทำสะพานข้ามไป









ระดับน้ำที่วิหารพระองค์ที่ ๑๐-๑๑ (ตรงโคนต้นโพธิ์) มีระดับน้ำขึ้นลงเกือบถึงพื้น





แนวข้างวัด 2 ด้าน ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน

จะเห็นว่าน้ำยังไม่มี ในเขตนอกถนนข้างวัด














แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด

ปริมาณน้ำภายนอกแนวถนนหลังวัดจะสูงกว่าภายใน
เพราะมีน้ำท่วมในระดับหนึ่งแล้ว แต่บริเวณหลังวัดในแนวถนนยังปกติ






น้ำที่อยู่ภายในคลองยาง ในป่าธุดงค์ ก็มีการเตรียมพร้อม

มีเครื่องสูบน้ำ ที่จะคอยสูบน้ำออก








ประตูระบายน้ำจากสระน้ำนี้ สูบน้ำออกลงสู่คลองยางข้างกำแพงวัด





ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/9/11 at 08:33 [ QUOTE ]



ระดับน้ำหน้าหอฉัน และสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา


ณ.วันที่ 7 กันยายน 2554


วัดท่าซุงได้ติดตามระดับน้ำที่ขึ้นและลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีผลกระทบต่อวัด และกิจกรรมต่างๆ ที่วัด จะต้องดำเนิน การขึ้น-ลงของระดับน้ำ ปริมาณน้ำของเขื่อนที่เก็บกักน้ำ และน้ำที่เขื่อนแต่ละแห่งได้ปล่อยน้ำลงมา ได้พยายามที่จะดูระดับน้ำต่างๆที่ ผ่านเข้ามาในแม่น้ำสะแกกรัง

เวลา 6.00 น. - 17.00 น.ของวันที่ 7 กันยายน นี้มีน้ำขึ้น 3 cm สรุป 4 ช.ม. น้ำขึ้น 1 cm เพราะแต่ก่อน 2 - 3 วันที่ผ่านมา น้ำขึ้นเร็วมาก ใน 24 ชั่วโมง น้ำขึ้นไป 27 cm. ในรอบ 3 วันที่ผ่านมา ชั่วโมงละเซนต์ อย่างนี้อันตราย แต่ตอนนี้น้ำชะลอตัว น้ำไม่ขึ้นเร็วเหมือนแต่ก่อน


ตอนนี้ปริมาณน้ำลดลงมา เรียกว่าน้ำชะลอตัว ณ.วันนี้ เขื่อนเจ้าพระยา ปล่อยน้ำ


สถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา




คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย




รายงานระดับน้ำหน้าหอฉัน วันที่ 7 กันยายน 2554 .
ระดับน้ำสะแกกรัง เวลา 06.00 - 17.00 น. (ระดับน้ำขึ้น 3 เซนติเมตร)



ถ้าน้ำขึ้นในระดับนี้ ก็คาดว่า


งานครบรอบมรณภาพของหลวงพ่อในวันที่ 24 - 25 กันยายน 2554

ก็จะสามารถดำเนินการจัดงานได้ตามปกติ




คลิปวีดีโอ..การบรรจุถุงทรายไว้เตรียมกั้นน้ำรอบบริเวณวัด
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554




จากการป้องกันต่างๆ ทั้งเสริมแนวผนังกำแพง ,ทำเขื่อนถนนที่สร้างไว้ ใน ปี 53 และที่สำคัญคือการเตรียมกระสอบทรายไว้สำรอง ทำให้มีแนวโน้มว่า สามารถป้องกันน้ำไม่ไห้เข้าวัดได้

ภาพพระและญาติโยมตระเตรียมกระสอบทราย









































สรุปก็คือวัดปลอดภัยเพราะได้เตรียมการป้องกันไว้หมดแล้ว

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/9/11 at 15:33 [ QUOTE ]



ทำความเข้าใจกับ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง


ระดับน้ำสะแกกรัง เวลา 06.00 - 17.00 น. (ระดับน้ำขึ้น 1 เซนติเมตร)
ระดับน้ำอยู่ที่เลข 336 ต่างจากเมื่อวาน 332



จากกราฟ การแสดงผลของระดับน้ำ นำมาให้วิเคราะห์ และทำความเข้าใจกันเลยว่า ทางวัดท่าซุง ได้ทำการป้องกัน มิให้น้ำทะลักเข้ามา แต่ถ้าปล่อยปกติให้น้ำเข้ามาได้ ในขณะนี้ จะเห็นว่าที่

พื้น 100 เมตร ก็จะมีน้ำท่วมสูงถึง เกือบ 70 เซ็นต์ แล้ว
หน้าตึกขาว น้ำท่วมถึง เกือบ 40 เซ็นต์
หอฉัน ยังไม่ท่วม เหลืออีกสัก 40 เซ็นต์ น้ำจะท่วมถึง
พื้นบนวิหาร 100 เมตร เหลืออีก 50 เซนต์ น้ำจะท่วมถึง

พื้นปูนโบสถ์ เหลืออีก 50 เซ็นต์ น้ำจะท่วมถึง
ผิวถนนหน้าวัด เหลืออีก 1.50 เมตร น้ำจะท่วมถึง
คั้นกั้นน้ำ ที่อยู่รอบวัด เหลืออีก 2 เมตร น้ำจะท่วมถึง

สรุปได้ว่า การดูแล และป้องกัน มิให้น้ำเข้ามาท่วมวัดนั้น ได้ทำกันมาอย่างดี ผ่านความคิด ความเห็นจากหลวงพ่อพระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ และพระผู้ใหญ่ ตลอดจนทีมงานของพระที่ได้ร่วมกันทำ


แผนผังแสดงตำแหน่งแนวกำแพงกันน้ำท่วมวัดท่าซุง




1. แนวหน้าวัด (ด้านทิศตะวันออก) มีถนนกั้นมิให้น้ำ จากแม่น้ำสะแกกรัง เข้าถึง
2. แนวข้างวัด 2 ด้าน (ด้านทิศเหนือและทิศใต้) ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน
3. แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด (ด้านทิศตะวันตก) ได้สร้างเขื่อนเป็นแนวถนน กั้นน้ำไว้ถึง 2 ชั้น

แต่เนื่องจาก ในแนวถนนหน้าวัด นั้นอาจจะมีปล่อยน้ำจากเขื่อน และน้ำจากส่วนต่างๆ ที่ลงมาลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งอาจทำให้น้ำล้นตลิ่งได้ จึงต้องเตรียมกระสอบทรายไว้กันน้ำข้ามถนนเข้ามา หลวงพ่อพระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ หลวงพ่อพระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร และพระผู้ใหญ่อีกหลายท่าน ได้มาช่วยกันเอาทรายใส่ถุงไว้ เพื่อเป็นการป้องกันไว้

ยังมี ตำรวจจากอำเภอเมืองอุทัยธานี และเจ้าหน้าที อพ ปร. ได้มาร่วมด้วยช่วยกัน เป็นอย่างดี ยังมีหน่วยงานทางราชการอีกหลายหน่วยงาน แสดงเจตนาเข้ามาช่วยเหลืออีกมาก ทางคณะสงฆ์ วัดท่าซุง ก็ต้องขอขอบคุณไว้เป็นอย่างสูง แล้วจะนำภาพมาให้ได้ชมกันในโอกาสต่อๆ ไป

ในวันนี้ มีคณะตำรวจ กับ อพ ปร. ได้มาช่วยกันนำ บรรจุทรายลงถุง














หลวงพ่อพระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร มาช่วยยกถุงทราย และขนถุงทราย




หลวงน้าก็มาช่วยกันตักทรายลงถุงเตรียมไว้กั้น น้ำที่จะเข้ามาท่วมวัด





มีญาติโยม พุทธบริษัท เข้ามาช่วยกันทำงานตลอด







ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/9/11 at 15:39 [ QUOTE ]



สถานการณ์ " วิกฤตน้ำ " ของวัดท่าซุง


วันที่ 12 กันยายน 2554


ในช่วงระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนือง จนทำให้น้ำในแม่น้ำสะแกกรัง เริ่มที่จะขยับตัวสูงขึ้น

พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุง จึงของดบิณฑบาตร จนกว่าน้ำจะลด



ระดับน้ำวันที่ 11 กันยายน 2554 เวลา 05.45 น.


ระดับน้ำวันที่ 12 กันยายน 2554 เวลา 10.45 น.


คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย




เย็นวันที่ 11 ได้นำเรือมาให้ 2 ลำ เรือใหญ่ และเรือเล็ก





มีคณะบุคคลได้เข้ามาช่วยเหลืองานที่วัด




วัดท่าซุง น้อมต้อนรับด้วยความยินดี





ภาพติดตั้งปั๊มในป่าธุดงค์ 3 เครื่อง














เนื่องจาก วันที่ 11 - 12 นี้ได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสะแกกรังสูงขึ้น
จนเกือบจะล้นตลิ่งออกมา จึงจะย้ายที่ฉัน ของพระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุง ไปฉันภัตตราหาร กันที่ 3 ไร่










ดูตรงวิหารพระองค์ที่10 - 11 (โค่นโพธิ์) น้ำขึ้นเกือบล้นขอบปูนแล้ว



รอบๆวัด เริ่มมีน้ำมากขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านก็ต้องใช้เรือกันแล้ว







ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/9/11 at 14:42 [ QUOTE ]



สถานการณ์ “วิกฤตน้ำ" วัดท่าซุง


วันที่ 13 กันยายน 2554


ในช่วงระยะเวลานี้ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนือง จนทำให้น้ำในแม่น้ำสะแกกรัง เริ่มที่จะขยับตัวสูงขึ้น ยังมีน้ำที่ไหลลงมา อยู่เรื่อยๆ

เปรียบเทียบระดับน้ำในวันที่ 12 กับวันที่ 13 จะเห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจน ว่าระดับน้ำมามากขึ้นเรื่อยๆ

ระดับน้ำวันที่ 13 กันยายน 2554 เวลา 10.45 น.



ระดับน้ำวันที่ 12 กันยายน 2554 เวลา 14.45 น.



คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย


อธิบาย กราฟแท่งที่ระดับน้ำต่างๆ ของแต่ละสถานที่ ดังนี้
☺ พื้นปูนหน้าวิหารแก้ว 100 เมตร ถ้าไม่มีการป้องกันน้ำท่วมไปแล้ว สูง 109 เซนต์
☺ พื้นชั้นล่าง 25 ไร่ ถ้าไม่มีการป้องกันน้ำท่วมไปแล้ว สูง 92 เซนต์
☺ พื้นที่หอฉัน ตอนนี้น้ำท่วมไปแล้ว สูง 21 เซนต์ ป้องกันไม่ได้เพราะติดแม่น้ำ (ดังภาพ)
☺ พื้นวิหาร 100 เมตร (บนตัวอาคาร) ถ้าไม่มีการป้องกันน้ำท่วมไปแล้ว สูง 13 เซนต์
☺ พื้นปูนหน้าโบสถ์ ถ้าไม่มีการป้องกันน้ำท่วมไปแล้ว สูง 12 เซนต์
☺ ระดับถนนหน้าวัด น้ำยังไม่ท่วมเพราะทำไว้สูง
☺ ระดับเขื่อนปูน ทำไว้ป้องกันอย่างเต็มที่

กราฟแท่งแสดงระดับน้ำกับสถานที่ต่างๆ ณ.วันที่ 13 กันยายน 2554 .


กราฟแท่งแสดงระดับน้ำกับสถานที่ต่างๆ ณ.วันที่ 9 และ 13 กันยายน 2554


แสดงถึงระดับกราฟเส้นที่น้ำสูงขึ้นตลอด จนถึงวันนี้ที่ 13 กันยายน


คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย




ในวันนี้ น้ำได้เริ่มเข้ามาที่หอฉันแล้ว

















ตรงวิหารพระองค์ที่ 10-11 ก็ต้องปิด เพราะมีน้ำท่วมถึง









ช่วยกันนำถุงทรายที่เตรียมไวัไป กั้นที่น้ำจะเข้ามา ระดับน้ำเพิ่มขึ้นตลอดเวลา





















◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/9/11 at 15:08 [ QUOTE ]



ผู้ร่วมทำบุญ “ป้องกันน้ำท่วม” วัดท่าซุง



1. คุณ กนกอร ลีลาพจน์สัณห์ และเพื่อน ๆ ลูกหลานหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน

ถวายถุงกระสอบทราย 16 x 25 จำนวน 3,000 ใบ

มุลค่า 9,000 บาท


2. โยมจุฑาวรรณ โอฬารวัฒน์

ถวายค่าจักรเย็บกระสอบ

มูลค่า 8,000 บาท


3. พระนิติ ( หลวงปู่ตี๋ )

ถวายค่าจักรเย็บกระสอบ

มูลค่า 4,000 บาท


4. พระสุรเชษฐ์ สีลเตโช

ถวายค่าจักรเย็บกระสอบ

มูลค่า 4,000 บาท


5. คณะถาวร

ถวายกระสอบ 16 x 24 จำนวน 2,000 ใบ

มูลค่า 4,200 บาท


6. มิสเตอร์ เชค Mr.Shake

ร่วมทำบุญเลี้ยงคณะทำงานช่วยกรอกกระสอบทรายและป้องกันน้ำท่วม

มูลค่า 20,000 บาท


7. คุณ อนัญญา บุญเสนอ

ร่วมทำบุญเลี้ยงคณะทำงานช่วยกรอกกระสอบทรายและป้องกันน้ำท่วม

มูลค่า 5,000 บาท


8. ไม่ประสงค์ออกนาม

ร่วมทำบุญงานป้องกันน้ำท่วม

มูลค่า 150 บาท


9. คุณ ศิวรินทร์ คุรุธรรมจารุ , คุณ สิริลักษณ์ อินทรโชติ , คุณ รัตนา ขันทีท้าว , คุณ วรรณา แก้วบุตร คุณ ดรุณี สุวรรณกูฏ , ด.ช. กฤษดา สายสุจริต

ร่วมทำบุญงานป้องกันน้ำท่วม

มูลค่า 560 บาท


ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/9/11 at 17:39 [ QUOTE ]


update 13-9-54

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top