Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 5/1/17 at 09:52 [ QUOTE ]

งานพิธีบวงสรวง ณ พระธาตุดอยตุง ปี 2540, 45, 48, 52, 56, 57


สารบัญ (เลือกคลิกที่รายการ)

ตอนที่ ๑
คำชี้แจงทำความเข้าใจกันก่อน
ตอนที่ ๒ เดินทางสู่พระธาตุดอยตุง ปี ๒๕๔๐
ตอนที่ ๓ ประวัติพระธาตุดอยตุง
ตอนที่ ๔ โอวาทหลวงพ่อที่ดอยตุง
ตอนที่ ๕ งานพิธีบวงสรวง วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๕
ตอนที่ ๖ ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
ตอนที่ ๗ พยากรณ์เมืองเชียงแสน
ตอนที่ ๘ ประทานพระเกศาไว้ที่ถ้ำปุ่มและถ้ำเปลวปล่องฟ้า
ตอนที่ ๙ พระธาตุคู่บารมีของ..พระเจ้าอชุตราช
ตอนที่ ๑๐ พระเจ้าหลวงสวนดอก
ตอนที่ ๑๑ งานพิธีบวงสรวง วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๒

ตอนที่ ๑๒ (ตอนจบ) งานพิธีฉลองสมโภช วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

คำชี้แจง "งานพิธีบวงสรวง" เมื่อปี ๒๕๔๐


"...ขอย้อนเล่าเรื่องการเดินทางไปครั้งนี้ ถือมีจำนวนคนมากมายกว่าครั้งก่อนๆ เพราะเราจะไปสร้างบุญกุศลใหญ่

นั่นคือการไปบูชาความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และบูชาคุณความดีพ่อแม่ของเรา ที่เคยสร้างชาติสร้างแผ่นดินกันมาแล้ว..

ความกตัญญูกตเวทีของพวกเราในครั้งนี้ คงจะได้แผ่เมตตาจิตไปให้ชาวโลก มีความร่มเย็นเป็นสุขในภายภาคหน้า

ถึงแม้จะมีความร้อนแรงจากเปลวเพลิง คือการทำบาปกรรมธรรมอันลามก แต่ความเย็นของหยดน้ำ คือผลบุญที่พวกเราได้ไปบำเพ็ญร่วมกัน

เป็นการกลั่นออกมาจากน้ำใจที่ใสสะอาด พร้อมทั้งอานุภาพของคุณพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก คงจะกระจายความเย็น คือความสุขและความสงบไปบ้าง


ขออธิบายเรื่อง "พิธีตัดไม้ข่มนาม" (ตามโบราณประเพณี)

...ฉะนั้น การเดินทางในโอกาสนี้ เพื่อไปทำพิธีฉลองชัย ณ อาณาจักรเชียงแสน (พระธาตุจอมกิตติ) จึงมิได้ไปในเครื่องแบบชุดขาว คือผู้ทรงศีล

แต่เป็นการไปในชุดฉลองชัยชนะ คือใครจะแต่งชุดอะไรก็ได้ให้ออกเป็นชาวเหนือ จะเป็นชุดที่โพกหัวก็ได้ หรือชุดที่ไม่ต้องโพกหัวก็ได้

เพื่อสมมุติเหตุการณ์ตอนที่กองทัพกู้ชาติของ "พระเจ้าพรหมมหาราช" รบชนะขอมดำ และเมื่อคนไทยเป็นอิสรภาพมีความสุขแล้ว

จึงได้มาฉลองเอกราชอธิปไตย และเทิดพระเกียรติพระเจ้าพรหมบรมกษัตริย์ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้าสามารถ

พิธีกรรมในครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องแต่งกายให้สวยงาม พร้อมทั้งเครื่องประดับตกแต่งให้งามวิจิตร ทั้งหญิงและชาย

เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งเกษมศรี แสดงถึงความอยู่ดีกินดีมีความสุขของคนไทยในสมัยนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นพิธีการ "ตัดไม้ข่มนาม" นั่นเอง

ถึงแม้เหตุการณ์จะผ่านไปเกือบสองพันปีมาแล้ว อาจจะไม่สมจริงสมจังนักก็ตามที แต่เราก็ทำกันไปด้วยความศรัทธา

ไม่จำเป็นต้องเหมือน ๑๐๐ % เพราะบางคนอาจจะแต่งไม่เหมือนกัน ขอจงอย่านำมาอวดหรือแข่งขันกัน

ฉะนั้น ใครจะแต่งหรือไม่แต่งก็ตามที ขอให้ตั้งใจว่าทำเพื่อเป็นพุทธบูชา และบูชาบรรพบุรุษของเราก็เพียงพอ ทุกคนได้บุญเหมือนกันหมด

แต่ถ้าท่านคิดมากเกินไป ว่าแต่งแบบนี้ไม่ถูกบ้าง หรือแต่งอย่างนี้ไม่ควรบ้าง เป็นต้น บุญคงหดหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเราเพียงแต่สมมุติกันเท่านั้น

เนื่องจากชุดบางชุด จำเป็นต้องนำมาแต่งเช่นชุดของ "ชาวไทยเขิน" ก็ต้องมีผ้าประดับบนศรีษะ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่าของเขา ไม่ถือว่าเป็นการสวมหมวก

เพราะเป็นเพียงเครื่องประดับบนบนศีรษะเท่านั้น แม้แต่การประดับดอกไม้ไหวก็เช่นกัน เมื่อเข้าไปในเขตวัด จึงไม่ถือว่าเป็นโทษแต่ประการใด

ถ้าไม่อย่างนั้น พวกกระเหรี่ยงวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม คงจะเป็นโทษกันทั้งหมู่บ้านแล้ว เพราะนั่นเขาก็โพกหัวเข้าวัดเหมือนกัน

กรณีนางวิสาขาที่ยกมาตัวอย่างขึ้นมาอ้าง ความจริงท่านจะเข้าไปในวิหาร จำเป็นต้องถอดเครื่องมหาลดาปสาธน์บนศีรษะก่อน

ส่วนการที่ประดับดอกไม้บนศีรษะนั้น จะนำมาเปรียบเทียบกับนางวิสาขาไม่ได้ เพราะพวกเราอยู่กลางแจ้งบนลานพระเจดีย์ ไม่มีเจตนาจะปรามาสพระรัตนตรัย

อีกทั้งโบราณถือว่าขณะก้มลงกราบนั้น เป็นการถวายดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชาต่างหาก ไม่ควรคิดมากให้เป็นโรคประสาทเปล่าๆ

พิธีกรรมในครั้งนี้ จึงมีการสะดุดก่อนล่วงหน้า และเจ้าหน้าที่จัดงานก็พบกับอุปสรรคในการจัดหาเครื่องแต่งกายมากมายอย่าง แบบไม่เคยเจอมาก่อน

สับสนวุ่นวายตลอดจนถึงวันงาน แสดงให้เห็นถึงพิธีการ "ตัดไม้ข่มนาม" ในครั้งนี้ จะมีผลดีต่ออนาคตของคนไทยสมัยต่อมาอย่างแน่นอน

แต่จะต้องพบกับอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา แล้วจึงจะรุ่งโรจน์โชตนาการ ไปจนถึงยุค "ชาวศรีวิลัย" ในที่สุด

เพราะจุดเด่น หรือหัวใจของพิธีกรรมในครั้งนี้ อยู่ที่เครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นการแก้เคล็ด ที่ชะตาของประเทศ อาจจะประสบกับความทุกข์ยาก

จึงจำเป็นต้องสมมุติเหตุการณ์ ตอนที่เราพ้นจากการเป็นทาสขอมแล้ว เรามีความสุขอุดมสมบูรณ์ มีความมั่งมีศรีสุข ร่ำรวยไปด้วยแก้วแหวนเงินทอง มีความมั่งคั่งเกษมศรีด้วยแร่ธาตุธรรมชาติ มีความปลอดภัยจากข้าศึกศัตรู

โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ ที่หลวงพ่อบอกไว้ว่า เคยเกิดในสมัยเชียงแสนเกือบทั้งสิ้น เมื่อมาเกิดกันในสมัยนี้อีก หากเราจะประสบกับภัยที่จะเกิดขึ้น หรือจะทำให้ยากจนลง

เราก็จะสามารถแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลงไปบ้าง จึงได้มีการแต่งกายให้เห็นถึงความเป็นเศรษฐี มีความร่ำรวยไปด้วยเพชรนิลจินดา เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม ตามเหตุผลดังที่กล่าวมานั่นเอง

ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ขอให้ย้อนกลับไปตอนที่พระเจ้าพรหมจะยกทัพไปรบกับขอม หลวงพ่อเล่าว่า

ท่านก็แต่งกายด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ทั้งแม่ทัพนายกอง และเหล่าทหารทั้งหลาย แสดงความมั่นใจในชัยชนะ

เพื่อเป็นการข่มขวัญข้าศึกไปในตัว ท่านก็บอกว่าเป็นการ "ตัดไม้ข่มนาม" (โดยเฉพาะ "ท่านย่า" เคยมาบอกหลวงพ่อว่า เวลาจะไปไหว้พระธาตุก็ขอให้ลูกหลานนุ่งผ้าถุงกัน)

จึงขอให้ทุกท่านโปรดทราบว่า การทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ เขาจึงให้ระวังเรื่อง "ปาก" และ "กิริยามารยาท" เป็นสำคัญ

แล้วต้องทำด้วยความเคารพจริงๆ แต่บางคนก็ดันไปเรี่ยไรระหว่างงานก็มี และบางครั้งก็กังวลเรื่องปัจจัยจนเกินไป จึงทำให้พิธีกรรมสะดุดไปบ้าง

ผลออกมาจะทำให้เราไม่ราบเรียบเท่าที่ควร จิตใจของเราจึงไม่รวมเป็นหนึ่งกันจริง เพราะมัวแต่ห่วงใยเรื่องที่ยังไม่จำเป็น

คงจะลืมไปว่า ในขณะทำพิธีนั้น เรากำลังอยู่เฉพาะพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลาย

อันมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ผู้เป็นองค์ประธานในพิธี พร้อมทั้งหลวงปู่สุปฏิบัติโนทั้งหลาย ตลอดจนถึงบูรพกษัตริยาธิราช และบรรดาเทพไท้เทวาอารักษ์ทั้งหลาย

บางคนจึงนั่งหันข้างให้บ้าง ลุกออกไปในระหว่างพิธีบ้าง คุยกันในระหว่างนั้นบ้าง เป็นต้น

เพราะฉะนั้น ก่อนงานผู้จัดงานจะไม่พูดเรื่อง "พิธีกรรม" ในรายละเอียด เพราะมิฉะนั้น จะทำให้ผู้ไม่เข้าใจไปดูหมิ่นดูแคลน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

เป็นการตัดรอนผลที่จะกระทำไปในที่สุด เสียผลทั้งตนเองและผู้อื่นไปด้วย จึงรอให้ถึงเวลาเสียก่อน เมื่อนั้นภาพเหตุการณ์ทุกอย่าง จึงเป็นคำตอบได้ดีที่สุด

ในงานแต่ละภาค ที่ได้ไปจัดพิธีกรรมผ่านมาแล้ว ไม่ว่าทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง และงานรวมภาคที่ "วัดพระแท่นดงรัง" เมื่อปี ๒๕๓๙

ทุกคนจะไม่ทราบรายละเอียดพิธีกรรม แต่ให้ไปรู้เอาในวันงานเลย แต่สำหรับงานนี้ ทั้งที่ไม่เปิดเผยในรายละเอียด

แต่มีคนเอาไปพูดเอาไปถามกันมากเกินไป จึงทำให้คนจัดพิธีกรรมมีอุปสรรคในการหาสิ่งของที่จะมาเข้าร่วมพิธี เรียกว่า "เสียเคล็ด" ไปก่อนบ้างแล้ว

เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นเช่นนี้ เห็นท่าว่าจะไม่ดีแน่ จึงได้บนหลวงปู่ ๕ พระองค์ เพื่อขอให้ท่านช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บไว้ และบนท้าวมหาชมภู เพื่อขอให้ท่านช่วยป้องกันเรื่อง"พิธีกรรม" มิให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก

แต่ก็นับว่ายังโชคดี อาศัยที่บรรดาท่านพุทธบริษัทส่วนใหญ่ มีความเข้าใจในพิธีกรรม จึงทำให้สามารถจัดงานผ่านไปด้วยความเรียบร้อย

ทั้งนี้ อาศัยพระบารมีขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย อีกทั้งได้กำลังใจจากท่านเจ้าอาวาส เพราะท่านเห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น

ตลอดถึงเพื่อนภิกษุทั้งหลาย และญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ทั้งรุ่นอาวุโสที่เคยเคารพนับถือท่านมาตั้งแต่ยังมิได้อุปสมบท และคณะศิษย์รุ่นต่อมาเป็นต้น..."


เดินทางสู่พระธาตุดอยตุง
วันเสาร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๐


...เวลาเช้าของวันนี้ บนยอดเขาลมแรงมากผิดปกติ รถเล็กบางคันเริ่มทยอยกันเข้ามา จึงได้ถามว่าเดินทางขึ้นมาสะดวกไหม เขาตอบว่าสะดวก แต่คนขับรถสองแถวพูดกันว่า วันนี้แปลกมาก ที่ไม่มีหมอกเลย...!

จึงทำให้คิดว่า เราโดนความเย็นของลมเสียดีกว่า ที่จะพบกับอันตรายจากหมอก เพราะท่านคงจะสงเคราะห์พวกเรา พัดพาเอาหมอกให้กระจายออกไปจากพื้นที่ ช่วยให้แสงอาทิตย์ได้ส่องลงมา เพื่อช่วยทำให้อากาศอบอุ่นขึ้น

พวกเราจึงมีความสะดวกและปลอดภัย มีความสุขใจขึ้น ทั้งนี้ เป็นด้วยอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุ ตลอดถึงผู้ปกปักรักษาเขตนี้ ที่เราเดินทางมาด้วยความเคารพและมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างจริงใจ

ในขณะที่รอท่านเจ้าอาวาสนั้น ญาติโยมที่เดินทางมาถึงก่อน บางท่านก็เริ่มแต่งกายแบบไทยล้านนา มี ศ.ดร.ปริญญา คณะคุณต๋อย, คุณต้อย และเพื่อนๆ จากการบินไทย เป็นต้น จึงมีคนเข้ามาขอถ่ายรูปบ้าง คงจะเห็นแปลกดีที่ปีนี้มีผู้แต่งกายแตกต่างกันไป

ส่วนคณะทำบายศรี อันมี โยมน้อยที่อยู่เชียงราย แม่ชีเล็ก, และ คุณมณเฑียร ได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อน

โดยมีโยมที่เป็นพยาบาลขับรถมารับของ ต่างก็เข้ามาช่วยกันจัดของบนโต๊ะบวงสรวง เพื่อให้ทันเวลาที่ได้นัดหมายไว้

ในปีนี้ก็มีการจัดห่มผ้าพระเจดีย์เป็นกรณีพิเศษ คือคุณน้อยได้ช่วยเย็บผ้าห่มเจดีย์ โดยแบ่งออกเป็นสององค์

พร้อมกันนั้น คุณสุพัฒน์ ว่านเครือ จากจังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้เตรียม "ตุงตะขาบ" ผืนใหญ่ อันเป็นสัญลักษณ์ของ"ดอยตุง" มาปักไว้เป็นพุทธบูชาอีกด้วย

ต่อจากนั้น คณะของ คุณนราธิป เย็นทรวง ก็ได้นำผ้ามาห่มไว้ที่ฐานข้างล่างอีกด้วย เรียกว่าปีนี้ห่มผ้าเจดีย์เป็นกรณีพิเศษ คือห่มแยกเป็น ๒ องค์ข้างบน และห่มล้อมไว้ที่ฐานรวมทั้งสององค์

ส่วนเรื่องเครื่องขยายเสียง และการบันทึกภาพวีดีโอ ก็มีคณะของ คุณปรีชา, คุณสุพัฒน์, คุณลือชัย ในปีนี้เป็นกรณีพิเศษอีกเช่นกันที่ คณะของคุณปรีชาอุตส่าห์นำรถบรรทุกอุปกรณ์ต่างๆ เดินทางกันมาก่อนล่วงหน้าถึง ๓ คัน..."


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 6/1/17 at 08:56 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๓

ประวัติพระธาตุดอยตุง


...ครั้นถึงเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. เศษ "พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ" พร้อมทั้งคณะได้เดินทางมาถึง

เมื่อท่านพักเหนื่อยสักครู่หนึ่ง จึงได้เริ่มพิธีโดยการอ่านประวัติพระธาตุดอยตุง ประมาณ ๓๐ นาที โดยมีใจความว่าดังนี้...


"...ตามที่ทราบกันมาแล้วว่า พระบรมธาตุดอยตุงนี้เป็นสถานที่สำคัญ อันเป็นเขตแดนของแคว้นโยนกบุรี

เนื่องจากเป็นสถานที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จมาพร้อมกับพระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย โดยเสด็จมาประทับที่ "ดอยน้อย" ก่อน คือที่ "พระธาตุจอมกิตติ" เมื่อพรรษาที่ ๑๖ ต่อมาได้เสด็จมาที่ "ดอยตุง" นี้เมื่อพรรษาที่ ๒๐

พวกเราเหล่าพุทธบริษัท ที่เป็นลูกหลานของหลวงพ่อ คงจะทราบประวัติความเป็นมาจากท่านบ้างแล้ว ณ โอกาสนี้ อยากจะเพิ่มเติมจาก "พงศาวดารโยนก" บ้าง จาก "ตำนานพระธาตุดอยตุง" บ้าง

เพื่อพวกเราคนไทยจะได้ทราบว่า เจ้าผู้ครองนครแว่นแคว้นโยนกนี้ มีการสืบเชื้อพระวงศ์กันมาอย่างไร และเคยอาศัยอยู่ที่ดินแดนไหนกันมาก่อน

เพราะราชวงศ์นี้ก็ได้สืบราชสมบัติมาจนถึงสมัย "พระเจ้าพรหมมหาราช" และสืบสันตติวงศ์ต่อจนมาถึงปัจจุบันนี้ ตามประวัติขอนำมาเล่าโดยย่อว่า


สมัยพระเจ้าสิงหนวัติ


...สมัยนั้น "พระเจ้าสิงหนวัติ" ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ "พระเจ้าเทวกาล" ผู้ครองนครราชคฤห์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นครไทยเทศ"

พระองค์เป็นโอรสองค์เล็ก จึงได้นำเอาเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย กราบทูลลาพระราชบิดามาสร้างเมืองใหม่ ณ อาณาเขตนี้

ส่วนพระเชษฐาผู้พี่ทรงพระนามว่า "ภาทิยะ" ก็ได้ครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา ซึ่งพระเจ้าภาทิยะองค์นี้แหละ คือพระราชบิดาของ "พระเจ้าพิมพิสาร" ซึ่งพุทธบริษัททุกท่านคงจะรู้จักพระองค์ได้เป็นอย่างดี

เมื่อสมเด็จพระมหามุนีได้สำเร็จพระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ ๑๕ พรรษา จึงเสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเทศน์โปรดพระประยูรญาติด้วย "มหาเวสสันดรชาดก" แล้ว

ครั้นพรรษาที่ ๑๖ พระองค์เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วก็เสด็จมายังแว่นแคว้นโยนก สมัยนั้นมีชื่อว่า "เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร" ซึ่งเคยเป็น "แคว้นสุวรรณโคมคำ" มาก่อนไม่ใกลแม่น้ำโขงนัก

เจ้าชายสิงหนวัติราชกุมารได้พบกับ "พันธุนาคราช" ซึ่งพันธุนาคราชได้แนะนำให้เจ้าชายสิงหนวัติตั้งเมืองอยู่ในที่นั้น แล้วกลับวิสัยเป็นพระยานาคขุดแผ่นดินให้เป็นคูเมือง

เจ้าชายสิงหนวัติจึงตั้งเมืองในที่นั้น หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ก็ได้แผ่อำนาจปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ในเขตนั้น ได้แก่ "พวกขอมดำ" เมืองอุมงคเสลา ชนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อน และปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวล

ขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับที่ดอยน้อยแห่งหนึ่ง พระเจ้าสิงหนวัติจึงได้กราบทูลขออาราธนาพระพุทธองค์ พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ให้ไปฉันภัตตาหารภายในพระราชวัง

ครั้นฉันภัตตาหารเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา ในกาลนั้น พระยาช้างต้นได้ยินเสียง และเห็นฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ ขององค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ตกใจกลัว จึงได้วิ่งออกจากโรงช้าง ร้องส่งเสียงแล่นสะเทือนก้องทั่วโยนกบุรี

เมื่อนั้นพระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า จำเนียรกาลแต่นี้ไปภายหน้า จะมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง จักมาสร้างเมืองขึ้น ตรงที่พระยาช้างไปหยุดยืนอยู่นั้น

ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงให้ชื่อว่า "เมืองช้างแล่น" นานไปคนจะเรียกเพี้ยนไปว่า "เมืองเชียงแสน" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


สมัยพระเจ้าพันติราช

...สมัยต่อมา พระเจ้าพันติราชกุมาร หรือ พระเจ้าคันธกุมาร เสวยราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา บ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุข หลังจากนั้นอีกไม่นานประมาณพรรษาที่ ๒๐

องค์สมเด็จพระธรรมสามิสตร์ พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายก็ได้เสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง ณ ที่ "ดอยตายะสะ" บัดนี้ เรียกว่า "ดอยตุง"

ซึ่งเป็นที่อยู่แห่ง ปู่เจ้าลาวจก หรือ "ลาวจักราช" ผู้เป็นต้นวงศ์ของกษัตริย์ลานนาไทยทั้งหลาย อันมี "พ่อขุนเมงราย" ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

ครั้นภายหลังสถานที่นี้ จึงเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูป ซึ่งประดับประดาด้วย "ธงตะขาบใหญ่" คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "ดอยธง" นานมาก็แปรไปเป็น "ดอยตุง" แต่บางตำนานเรียกว่า "เกตุบรรพต"

ในเวลานั้น องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากนภากาศ ประทับยืนอยู่เหนือก้อนหินก้อนหนึ่ง แล้วทรงมีพุทธบัญชาว่า

"...อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บ้านเมืองที่นี้ต่อไปภายหน้าจักรุ่งเรือง และเป็นที่ตั้งพระศาสนาของตถาคตตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสา เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว จงให้พระมหากัสสปเถระนำเอาพระรากขวัญข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่นี่..."


สมัยพระเจ้าอชุตราช

เมื่อพระเจ้าพันติราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าอชุตราช พระราชโอรสก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นลำดับมา พร้อมทั้งอัครมเหสีผู้มีพระสิริรูปลักษณะโสภางมายิ่งนัก ทรงพระนามว่า "พระนางปทุมวดี"

อันเป็นเวลาเดียวกันที่เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาได้เสด็จดับขันธปรินิพพานพอดี และเมืองนี้ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น "เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น"

ฝ่ายพระเจ้าอชุตราชเจ้าทรงทราบข่าวว่า "นางปทุมวดี" ซึ่งเป็นบุตรีของพระฤาษี ได้อาศัยอยู่ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ คือบริเวณดอยตุงนี้แหละ

ในสมัยพระราชบิดาของพระเจ้าอชุติราช เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองโยนกบุรี ในกาลนั้น ยังมีพระฤาษีองค์หนึ่งชื่อ “กัมมะโล” สร้างอาศรมบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ “ดอยดินแดง” ซึ่งสถานที่ตั้งอาศรมอยู่นั้นชื่อ “ดอยหมอกมุงเมือง” ได้บรรลุฌาณสมาบัติ

วันหนึ่ง กัมมะโลฤาษีออกจากอาศรม เพื่อจะไปหาเก็บลูกไม้หัวมันมาฉันเป็นอาหาร พลันก็ได้ยินเสียงเด็กน้อยร้องไห้อยู่ในพุ่มไม้

ฤาษีกัมมะโลก็เดินเข้าไปดูเห็นเด็กหญิงผู้นี้ จึงได้นำมาเลี้ยงไว้เป็นบุตรีบุญธรรม แล้วตั้งชื่อกุมารีน้อยนี้ว่า “ปทุมวดี”

นางได้ปฏิบัติพ่อเจ้าฤาษี หาเผือกหามันหาผลไม้มาไว้ฉันมิได้ขาด จนกระทั่งนางมีอายุได้ ๑๖ ปี มีรูปสวยงดงามมาก

ยามนั้น ยังมีพรานป่าผู้หนึ่งได้ออกมาป่าขึ้นมาล่าสัตว์ ก็ได้พบเห็นนางปทุมวดีเข้า จึงได้กลับไปบอกเล่าแก่คนทั้งหลาย จนชาวบ้านเหล่านั้นต่างร่ำลือไปทั่วว่า นางปทุมวดีลูกสาวพระฤาษีนั้น งามเลิศประเสริฐยิ่ง

ข่าวนี้จึงได้ทราบถึงพระเจ้าอชุตราช พระบาทท้าวเธอจึงได้รับสั่งให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย หล่อหลอมทองคำ ๔ แสนกหาปนะ เพื่อเป็นการสู่ขอนางต่อพระฤาษี

ครั้นจัดงานอภิเษกสมรสแล้ว พระฤาษีจึงได้มอบทองคำทั้ง ๔ แสนนั้นให้แก่พระนางปทุมวดีแล้วกล่าวว่า

“ลูกเอ๋ย..เจ้าจงเอาทองคำนี้ไปหล่อเป็นรูปกวาง สมมุติไว้ให้เป็นแม่แล้วตั้งไว้ในที่ควร เพื่อได้ไหว้ นบเคารพอยู่เสมอ แล้วเจ้าจักมีอายุยืนยาว...”

ต่อจากนั้น พระเจ้าอชุตราชและพระนางปทุมวดีก็อำลาพระฤาษี แล้วก็พาเอาหมู่เสนาข้าราชบริพารกลับสู่เวียงโยนกบุรี ส่วนพระนางปทุมวดีก็ให้หาช่างทองมาหล่อรูปกวางทอง แล้วก็สร้างมณฑปไว้ ใส่รูปกวางตั้งไว้เหนือแท่นที่บรรทม

ด้วยเดชะกุศลอันพระนางได้กระทำการเคารพตามคำสั่งแห่งพระฤาษีบอกไว้แล้วนั้น พระนางก็ได้สมฤทธิ์ผลคือ มีอายุยืนยาวนานมากนักแล

ส่วนกัมมะโลฤาษีนับตั้งแต่พระเจ้าอชุตราชได้นำเอานางปทุมวดีไปสู่โยนกบุรีไม่นานเท่าใด พระเจ้าอชุตราชและพระมหากัสสปก็กระทำการบรรจุพระบรมธาตุพระรากขวัญ คือกระดูกไหปลาร้าเบื้องซ้ายไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้

พระฤาษีกัมมะโลก็อยู่ปฏิบัติอุปฐากพระมหาธาตุเจ้ามาจนตราบเท่าสิ้นอายุขัย แล้วก็จุติตายไปบังเกิดยังพรหมโลก

ครานั้น พระเจ้าอชุตราชก็หาช่างมาหล่อรูปพระฤาษีผู้เป็นพ่อไว้ที่ ดอยหมอกมุงเมือง ทางทิศตะวันตกแห่งพระมหาธาตุเจ้านั้นแล

ขอย้อนเล่าก่อนหน้านั้นว่า แต่นั้นมาล่วงได้ ๓ ปี ถึงปีมะแม วันเพ็ญ เดือน ๕ พระมหากัสสปเถรเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เป็นบริวาร

ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิธาตุ "พระรากขวัญเบื้องซ้าย" และ พระบรมสารีริกธาตุใหญ่น้อยรวม ๕๐๐ องค์ บรรจุไว้ในผอบแก้วมาถวายแด่พระเจ้าอชุตราช ผู้เป็นเจ้าเมืองโยนกนาคนคร

พระบาทท้าวเธอทรงดีพระทัย จึงพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ทำการสักการบูชาในโยนกบุรีเป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปสู่ดอยตายะสะแห่งนี้

โดยที่พระราชาได้ทรงสร้างผอบเงินและผอบทอง เพื่อสวมซ้อนผอบแก้วไว้ แล้ววางในมณฑปทองคำ ตั้งบนกูบช้าง ทรงตั้งสัตยาธิษฐานขอบารมีสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

หากพระบรมสารีริกธาตุนี้สมควรจะประดิษฐาน ณ ที่ใด ขอโปรดให้ช้างทรงนี้นำไป พระยาคชสารออกเดินจากเมืองเชียงแสนไปเรื่อยๆ

โดย พระเจ้าอชุตราช และ มังรายนราชโอรส เป็นผู้ประคองพระมณฑป ช้างพาเดินขึ้นไปหยุดบนดอยตุง

เมื่อช้างคู้เข่าหมอบลงที่พื้นนั้น พระราชาได้โปรดให้ตั้งขบวนแห่อัญเชิญเครื่องบูชาสักการะพระมหากัสสปเถระพร้อมทั้งพระอรหันต์อีก ๕๐๐ รูป ทำการเจริญพระพุทธคุณ

ในขณะนั้นตรงกับฤดูหนาว เดือนยี่ หมอกปกคลุมบริเวณทั้งหมด แต่วันนั้นด้วยบุญญาภินิหาร บันดาลให้อากาศปลอดโปร่ง มีแสงแดดไม่มีหมอกเลย (พวกเรามาประสบตรงกับเวลาและเหตุการณ์พอดี)

ในขณะนั้น พระเจ้าอชุตราชจึงได้รับสั่งให้ "ปู่จ้าวลาวจก" มาหา แล้วพระราชทานทองคำพันกหาปนะ พร้อมกับตรัสว่า เราจักได้นำเอาพระบรมธาตุเจ้ามาบรรจุไว้ในยอดดอยนี้

เมื่อนั้น พระมหากัสสปะได้อัญเชิญมณฑปทองคำที่ประดิษฐานผอบแก้ว ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เหนือหินก้อนนั้น อันเป็นที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับในสมัยที่ทรงพระชนม์อยู่

พระมหาเถระจึงอธิษฐานขอให้พระบรมธาตุจมลงไปในหินนั้น ในกาลนั้น พระบรมธาตุเจ้าก็เปล่งฉัพพรรณรังสีส่องสว่างไปทั่ว แล้วก็จมลงไปในก้อนหินนั้นลึกประมาณ ๘ ศอก

เมื่อสร้างสถูปครอบแล้ว จึงได้ประดับด้วยธงตะขาบใหญ่ เหตุฉะนี้ ดอยนี้จึงมีนามปรากฏว่า "ดอยธง" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สถานที่แห่งนี้ จึงถือว่าเป็น "ปฐมเจดีย์" ในโยนกลานนาไทยประเทศ บรรดากษัตริย์ขัตติยวงศ์ ซึ่งได้ครองเมืองโยนกสืบๆ กันมา

ย่อมกระทำสักการบูชาและปฏิบัติบำรุงพระบรมธาตุสืบมาไม่ขาดสาย หมู่ลาวจกทั้งหลายก็มอบตนเป็นผู้อุปฐากพระบรมธาตุสืบต่อกันมา

ฝ่ายว่าพระมหากัสสปะและพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อเสร็จภารกิจตามพระพุทธบัญชาแล้ว จึงได้กลับไปสู่เมืองราชคฤห์

ต่อมาได้ไปจำพรรษา "ปิปผลิคูหา" หลังจากนั้น ๗ เดือน ในยามเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตมาฉันแล้ว ก็เข้าไปอำลาพระยาอชุตราช แล้วก็ไปสู่ "เมืองวิเทหรัฐ"


(ปัจจุบันนี้หลวงพ่อบอกว่าอยู่แถวเชียงตุง) แล้วก็เข้าไปสู่ "ดอยเวฬุบรรพต" นั่งสมาธินิพพานในวันพุธยามเช้า มีดอยล้อมไว้ ร่างกายไม่เน่าตราบเท่าถึงศาสนาพระศรีอาริย์

ส่วนพระเจ้าอชุตราชก็เสด็จกลับสู่ราชนิเวศน์ แล้วกระทำบุญให้ทาน รักษาศีล มิได้ขาด ไม่ประมาทในราชธรรม ๑๐ ประการนานได้ ๑๐๐ พรรษาจึงสวรรคต ในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษา

ส่วนพระราชโอรสทรงพระนามว่า "มังรายนราชกุมาร"จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อ ในขณะที่พระศาสดาปรินิพพานไปได้ ๑๐๐ ปีพอดี


สมัยพระเจ้ามังรายนราช
...ครั้งนั้นยังมีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า "พระมหาวชิรโพธิเถระ" กับพระอริยสงฆ์ ๕๐๐ องค์เป็นบริวาร ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุใส่โกศแก้ว จำนวน ๑๕๐ พระองค์ มาจาก "ถ้ำสัตตบรรณคูหา" อันเป็นสถานที่ทำสังคายนา ณ เมืองราชคฤห์ มาถวายพระเจ้ามังรายนราช

พระบาทท้าวเธอทรงปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้ช่างสร้างโกศเงินโกศทองคำ เข้าสวมโกศแก้วอีกซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วก็ตกแต่งเครื่องบูชาทั้งหลาย เป็นต้นว่าข้าวตอกดอกไม้ บุปผามาลัย จุณจันทร์ พร้อมด้วยการประโคมดนตรี เป็นการสักการะจนครบถ้วน ๗ วัน

ในวันที่ ๘ แห่งการสมโภชพระบรมธาตุนั้น พระเจ้ามังรายนราช ผู้เป็นหน่อเนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์ จึงได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย จัดตั้งกองเกียรติยศแล้ว

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ่นสู่พระมณฑปแล้วแห่แหนขึ้นสู่ดอยตุงแห่งนี้ กระทำประทักษิณ พระบรมธาตุองค์เดิม ๓ รอบ แล้วก็ยกเอาโกศพระบรมธาตุขึ้นตั้งเหนือศิลาก้อนนั้น

พระมหาวชิรโพธิเถระ และ พระเจ้ามังรายนราช พร้อมกันอธิษฐานให้โกศที่บรรจุพระบรมธาตุนั้นจมลงไป เป็นดังเช่นที่พระมหากัสสปเถระอธิษฐานไว้นั้น

ยามนั้น พระบรมสารีริกธาตุก็เปล่งรัศมี ๖ ประการ รุ่งเรืองส่องสว่างไปทั่วเมืองโยนกบุรี แล้วก็มุดจมลงไปในก้อนศิลานั้นลึกได้ ๗ ศอก

รวมพระบรมธาตุแห่งพระพุทธเจ้าที่ได้เคยสถิตย์ ณ กรุงราชคฤห์ทั้งสิ้น ซึ่ง "พระเจ้าอชาตศตรู" เป็นผู้ได้รับส่วนแบ่ง หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว จึงได้ทรงอัญเชิญมาจากกรุงกุสินารา

แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระอริยสาวกทั้งหลาย ที่ได้ทรงทราบว่า

ในอนาคตกาลนั้น ประเทศไทยจะเป็นดินแดนที่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน ๕,๐๐๐ ปี ทั้งนี้ เป็นด้วยอำนาจบุญวาสนาของชาวไทยด้วย

จึงเป็นเหตุให้พระบรมสารีริกธาตุ ได้ทยอยเข้ามาประดิษฐานไว้ในยอดดอยแห่งนี้รวม ๖๕๐ พระองค์

ส่วนพระเจ้ามังรายนราช เมื่อพระบาทท้าวเธอทรงบรรจุพระบรมธาตุแล้ว ก็ทรงโปรดให้ช่างก่อเป็นเจดีย์ครอบไว้ เป็นดังพระเจ้าอชุตราชกระทำไว้นั้นทุกประการ คือพระเจดีย์ที่เห็นอยู่ด้านทิศใต้ แล้วก็เอาทองจังโกหุ้มไว้ ใส่ยอดฉัตรหมากชมพูทองคำกับบัวระมวล

แล้วก็กระทำบุญให้ทานเป็นการเฉลิมฉลองได้ ๓ เดือน ถึงเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันวิสาขบูชาพอดีก็ให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัว เป็นผู้รักษาพระบรมธาตุแห่งนี้

แล้วกำหนดเขตแห่งพระบรมธาตุนั้นไว้ เป็นที่อภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย ห้ามมิให้ทำร้ายสัตว์เป็นอันขาด หากผู้หนึ่งผู้ใดฝ่าฝืน หรือกระทำอนาจารในเขตพระธาตุนี้ ได้ชื่อว่าเป็นการหมิ่นประมาท แล้วท่านก็สาบแช่งเอาไว้ตามประเพณีที่เคยกระทำมา

หลังจากนั้น พระองค์ก็อยู่ปฏิบัติรักษาศีล ภาวนา และอุปัฏฐากพระอรหันต์ทั้งหลายตามสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับไปสู่ราชนิเวศน์

ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงได้กลับคืนยังเมืองราชคฤห์ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธศักราช ล่วงแล้ว ๑๕๐ ปี

ตามตำนานเล่าเสริมว่า นอกจากได้สร้างพระเจดีย์ใหม่ไว้แล้ว พระเจ้ามังรายนราชก็ยังได้ทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์องค์เดิมอีกด้วย

จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานอะไร จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐ "ท่านครูบาศรีวิชัย" นักบุญแห่งลานนาไทย พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวพุทธ ได้ทำการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ทั้งสององค์นี้

ทำพระเจดีย์ครอบองค์เดิม
...กาลต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๙๙ นางทองคำ ฮั้นตระกูล จากจังหวัดพะเยา ได้เป็นเจ้าภาพลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์

ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงได้มีการบูรณะองค์พระธาตุครั้งใหญ่ จนถึง พ.ศ.๒๕๑๔ ถึง พ.ศ.๒๕๑๖ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ดังที่เห็นปรากฏจนทุกวันนี้


จากหลักฐาน th.wikipedia.org เล่าว่า
...ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์เดิม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด

และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง

เนื่องจากพระธาตุองค์เดิม ๒ องค์ที่ตั้งอยู่เวลานั้น เป็นของใหม่ ได้มีการบูรณะเมื่อสามสิบปีเศษที่แล้ว ออกแบบโดยนายช่างสถาปนิกกรุงเทพฯ และเข้าใจว่าพระสถูปเดิมสมัยครูบาได้บูรณะไว้เมื่อแปดสิบปีที่แล้ว อาจถูกทับคล่อมอยู่ภายในองค์เดิม

ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปเดิมที่ถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง อยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ

จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ "ครูบาศรีวิชัย" ให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีงบประมาณทั้งสิ้น ๒๑ ล้านบาท รวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ (ส่วนรายละเอียดจะมีในตอนท้าย)


สมัยพระองค์เกิง

...และยังได้ความรู้เพิ่มเติมไปอีก โดย "พงศาวดารโยนก" เล่าเสริมว่า ในปี พ.ศ.๒๑๘ "พระเจ้าอโศกมหาราช" ทรงอุปถัมภ์ในการทำสังคายนา ครั้งที่ ๓

"พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ" ผู้เป็นประธาน จึงได้ส่งพระสมณฑูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ มีอยู่สายหนึ่งคือ พระมหารักขิตเถระ กับคณะของท่าน ได้นำพระพุทธศาสนามาสู่โยนกประเทศนี้

ตามพงศาวดารบันทึกไว้ว่า พระเถระได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุ ๙ พระองค์ มาถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองนครโยนกบุรี มีพระนามว่า "พระองค์เกิง"

พระองค์จึงทรงให้จัดแบ่งพระบรมธาตุออกเป็นสามส่วน แล้วสร้างพระเจดีย์ประดิษฐานไว้ที่ "ดอยตุง" จำนวน ๖ องค์

อีก ๓ องค์ นั้นให้นำไปบรรจุไว้ ณ ตำบลภูกวาว แล้วได้ทำการฉลองพร้อมกันในวันพุธ เพ็ญเดือน ๔ ปีมะเมีย พุทธกาล ๒๒๙

ขอย้อนกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้ามังรายนราชกันต่อไป ตามตำนานเล่า พระองค์เสวยราชสมบัติต่อจากพระเจ้าอชุตราช ซึ่งตรงกับที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปีพอดี

พระองค์ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์องค์ใหญ่ทรงนามว่า "พระองค์เชือง" และได้ครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา

องค์น้อยทรงนามว่า "พระองค์ไชยนารายณ์" ได้ไปสร้างเมืองใหม่ให้นามว่า เมืองไชยนารายณ์ ต่อมาภายหลังก็กลายเป็น "เมืองเชียงราย" ไป

ในหนังสือเรื่อง ฤาษีทัศนาจรภาคเหนือ หลวงพ่อได้เล่าตามที่มีผู้มาบอกต่อไปว่า พระเจ้ามังรายนราช เสวยราชสมบัติได้ ๓๗ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๓๗ จึงสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๘๙ พรรษา

แล้วก็มีการสืบสันตติวงศ์ต่อมาจนถึงสมัย "พระเจ้าพังคราช" ผู้เป็นพระราชบิดาของ "พระเจ้าพรหมมหาราช"

โดยนับตั้งแต่ "พระเจ้าสิงหนวัติ" ผู้เป็นต้นวงศ์ มาจนถึงสมัย "พระเจ้าพังคราช" รวมทั้งสิ้น ๓๗ รัชกาลด้วยกัน ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๙๐๐ เศษพอดี

ซึ่งในเวลานั้นมีพระอรหันต์มาก พระราชาทุกพระองค์เป็นผู้ทรงธรรม สถาปนาวัดวาอาราม และไหว้พระสวดมนต์กันอยู่ตลอดเวลา..."


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 1/5/19 at 05:40 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๔
โอวาทของหลวงพ่อที่ดอยตุง



(บรรยายโดย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต และ คุณปรีชา พึ่งแสง เมื่อปี ๒๕๔๐)


...ตอนที่แล้วได้เล่าเรื่องประวัติ "พระเจ้าสิงหนวัติ" จนมาถึงสมัย "พระเจ้าพังคราช" คงจะต้องไปรับฟังกันที่พระธาตุจอมกิตติ

แล้วหลวงพ่อได้เล่าไว้ในสมัยที่มา "พระธาตุดอยตุง" เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ต่อไปอีกว่า

"...ลูกบางคนน้ำตาไหล บางคนมีการสะอื้นบางคนมีอาการซึม พ่อคิดว่า ความรู้สึกของลูกในเวลานั้น คงจะพบกับคภาพความเป็นจริง ที่เรามีส่วนร่วมในการบูชาพระบรมสารีริกธาตุบนดอยตุง

ซึ่งพระเจ้าอชุตราชและ พระเจ้ามังรายมหาราช นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ที่ลูกเห็นอยู่เวลานี้ เป็นเจดีย์ที่เขาสร้างขึ้นภายหลัง

สำหรับเจดีย์องค์เดิมอยู่ภายในเป็นทองคำทั้ง ๒ องค์ และในเจดีย์ทองนั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กษัตราธิราชเจ้าทั้งสองพระองค์ คือพระเจ้าอชุตราช พระราชบิดา กับพระเจ้ามังรายมหาราช ราชโอรสนำมาบรรจุที่นี่

การบูชาคราวนั้นเป็นงานยิ่งใหญ่มาก ขณะนี้ลูกบางคนมีอำนาจธรรมปีติ ที่เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านไปอยู่นิพพานมีความสุข

ฉะนั้นอารมณ์ของลูกทั้งหลาย จงอย่าให้มีอารมณ์เป็นทุกข์ มีอย่างเดียวคือ.."ธรรมสังเวช"

ธรรมสังเวชตอนไหน..ตอนที่เราเลวเกินไป จะว่าเลวเกินไปก็ไม่ถูก เพราะการบรรลุธรรม ต้องอาศัยความดีพอสมควร

เขามีกำหนดเวลาเช่น "สาวกภูมิ" ต้องบำเพ็ญบารมีมาแล้ว ๑ อสงไขยกำไรแสนกัป เป็นต้น

แต่พวกเราย่องมาถึง ๑๖ อสงไขย กับแสนกัปแล้ว ก็แสดงว่าเราเอาดีบ้าง ทำถูกบ้าง ทำผิดบ้าง เป็นของธรรมดา การผิดมาในกาลก่อนถือว่าเป็นครูในสมัยนี้ ชาตินี้อย่าให้ผิดต่อไป.."

นี่้ป็นโอวาทที่ท่านให้ไว้ในสมัยนั้น ก็ขอนำมากล่าวไว้เพียงแค่นี้ ต่อไปจะขอเล่าเรื่องในปัจจุบันนี้ว่า...


เริ่มพิธีบวงสรวง

...ต่อไปจะเริ่มทำพิธีบวงสรวง จึงขอให้ทุกท่านตั้งใจอาราธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย

อันมี พระมหากัสสปะเถระ และ พระมหาวชิรโพธิเถระ เป็นต้น ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา อันมี หลวงปู่ป่าน, ครูบาเจ้าศรีวิชัย, หลวงปู่ชุ่ม ผู้สร้างทางขึ้น และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นที่สุด

เทพพรหมทั้งหลาย ทั้งที่ปกปักรักษาอาณาเขตนี้ พระมหากษัตริย์แห่งโยนก และลานนาไทยทั้งหลาย อันมี พระเจ้าอชุตราชเป็นต้น

ตลอดถึงบรรพบุรุษของชาวไทยลาวที่ได้สืบเนื่องจากตระกูลปู่จ้าวลวจักราช เป็นต้น

ขอได้โปรดเสด็จมาอนุเคราะห์พวกเราเหล่าพุทธบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้ตั้งใจอธิษฐานไว้ สมตามความมุ่งมาดปราถนาทุกประการเทอญ

เมื่อท่านพระครูปลัดอนันต์ได้เป็นประธานในการจุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวงแล้ว "อาจารย์ยกทรง"
เป็นผู้เปิดเทปบวงสรวงเช่นเคย

โดยมีญาติโยมทั้งหลาย นั่งล้อมบริเวณลานองค์พระธาตุเต็มไปหมดแทบจะหาช่องว่างไม่ได้เลย

หลังจากหลวงพ่อนำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว อาจารย์ยกทรงกล่าวนำคำขอขมาแบบพิเศษ คือ แบบทางเหนือโดยทั่วไป เรียกว่า "วันทาหลวง" เป็นการขอขมาครบถ้วน ทั้งพระบรมธาตุและพระบาท

โดยพระครูปลัดอนันต์และพระสงฆ์พร้อมอุบาสกอุบาสิกา ได้ยกพานธูปเทียนแพขึ้น แล้วกล่าวคำขอขมาพร้อมกัน

เมื่อวางพานขอขมาที่บนฐานพระเจดีย์แล้ว ศ.ดร.ปริญญา นุตาลัย นำกล่าวคำ "นมัสการวาทพระธาตุดอยตุง" ดังนี้


...ข้าพเจ้า เหล่าลูก มังรายราช
อภิวาท น้อมถวาย พุ่มบายศรี
ของบูชา พระสารี ริกธาตุ
ของสมเด็จ พระธรรมราช ทรงสวัสดิ์

บูชาพระ กัสสปเลิศ ธุดงควัตร
อัญเชิญอัฏ ฐิรากขวัญ บันเหินมา
รวมพระ บรมธาตุ ห้าร้อยองค์
ถวายพงศ์ ภูวรินทร์ ปิ่นนาถา

อติชาต ศัตรู ผู้ปรีชา
อาราธนา สถิตไว้ ใต้ดอยนี้
ขอกราบเบื้อง บาทบงสุ์ พระทรงฉัตร
ปิ่นรัฐ โยนก นครศรี

รังสฤษดิ์ พระอาราม รูจี
ให้โยธี มิลักขุ ดูแลวัด
ปวงข้า ขอประณต วันทนา
พระมหา วชิรโพธิ์ อรหัต

พร้อมฤาษี ห้าร้อยองค์ ทรงศีลพัตร
อัญเชิญรัต นะธาตุ ประยาตมา
ถวายเจ้า จอมวัง มังรายราช
บรมธาตุ ร้อยห้าสิบ สังขยา

ภูบดินทร์ ยินดี ปรีดา
ฐาปนา พระธาตุไว้ ใต้ดอยธง
ทรงสร้าง พระเจดีย์ เจ็ดศอก
ภายนอก ประดับแก้ว เรืองระหง

ครอบบน มหาธาตุ พุทธองค์
พระจอมพงศ์ สมโภช เก้าสิบวัน
ลูกถวาย อภิวาท พระทรงชัย
พระผู้เป็น จอมใจ จอมขวัญ

อัญชลี หมู่พรหม และเทวัญ
ทุกองค์ ทุกชั้น ทุกวิมาน
อภิวันท์ ทุกท่าน ผู้มีคุณ
เกื้อหนุน พระธาตุเจ้า ทุกสถาน

ขออัญเชิญ รับเครื่อง นมัสการ
ที่ลูกหลาน น้อมถวาย บูชา
ขอทุกองค์ จงโปรด โมทนา
เมตตา ปกปัก รักษา

คุ้มครอง กายใจ และวาจา
ให้ข้า มั่นอยู่ ในความดี
ทุกข์โศก โรคภัย จงหายหมด
ปรากฏ แต่พร ทั้งสี่
หวังใด ได้สม สวัสดี
แต่นี้ จวบจนนิพพานเทอญ ฯ


....ในขณะที่กล่าวคำนมัสการนั้น ทุกคนต่างก็กล่าวพร้อมเพรียงกัน ได้จังหวะจะโคนไปด้วยกัน เสียงดังกังวาลไปทั่วทั้งดอยตุง

สร้างความปีติยินดีที่ได้กล่าวคำสรรเสริญต่อหน้าองค์พระบรมธาตุเป็นอย่างยิ่ง ฟังแล้วจับอกจับใจเป็นที่สุด เสียงกระหึ่มไพเราะเยือกเย็นไปทั่ว เข้ากับบรรยากาศที่สดชื่นในยามเช้าของวันนั้น

เมื่อทุกคนกล่าวคำนมัสการจบแล้ว พระครูปลัดอนันต์จึงเข้าไปด้านในองค์พระเจดีย์แล้ว เริ่มพิธีโปรยข้าวตอกดอกไม้ และสรงน้ำหอมรอบองค์พระธาตุทั้งสอง

พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ปี่พาทย์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ มหาชัยแล้วให้ญาติโยมได้กราบไหว้บูชาองค์พระธาตุ เป็นอันเสร็จพิธี

ในงานนี้ มีผู้บริจาคเป็นจำนวนเงินเกือบสองแสนบาท จะนำไปถวายเจ้าอาวาสดอยตุงในปีหน้า สำหรับวัตถุมงคลที่ระลึก พระครูปลัดอนันต์ได้นำลูกปัดประคำเล็ก ๆ ให้ญาติโยมทั้งหลายได้นำเอาไปไว้บูชา

แต่ของมีจำนวนไม่พอกับญาติโยม หากผู้ใดที่ยังไม่ได้ก็อย่าได้เสียใจ เพราะเราได้ไปร่วมพิธีกันในวันนั้น ก็นับว่าเป็นมหากุศล ถึงท่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย หากพึงอนุโมทนาร่วมกัน ก็คงจะเกิดผลบุญมหาศาลเช่นเดียวกัน

เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. พระครูปลัดอนันต์พร้อมด้วยพระสงฆ์ รวม ๕ รูป ได้ฉันภัตตาหารเพลที่นั่น โดยมีคุณป๋องและคุณหนู เป็นเจ้าภาพ

ได้ขนเสบียงอาหารนำมาให้ ๓๐ ชุด แต่คณะผู้จัดสถานที่จำเป็นต้องเดินทางล่วงหน้าไปก่อน จึงมิได้อยู่ฉันร่วมด้วย ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะที่ล่วงหน้ามาก่อน ก็มีคณะโยมน้อยเพื่อมาจัดเตรียมบายศรี คณะเครื่องเสียง คณะที่จะมาแต่งตัว และคณะจัดริ้วขบวน

ส่วนคุณสุพัฒน์ อ.นฤมล ว่านเครือ จากเชียงใหม่ได้รออยู่ก่อนแล้ว เพื่อจัดเตรียมสิ่งของบางอย่างให้พร้อม

เมื่อคณะใหญ่มาถึงจะได้ไม่ขาดตกบกพร่องไป ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทางวัดและชาวบ้านเป็นอย่างดี

ความจริงการเตรียมงานนี้ ได้วางแผนกันมานานแล้ว เพราะนับตั้งแต่ได้เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฟื้นฟูรอยพระพุทธบาท ๔ พระองค์ เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ได้เคยเดินทางมาทำพิธีที่นี่แล้ว แต่ยังขาดที่วัดพระธาตุดอยตุง จึงคิดว่าปี ๒๕๔๐ จะกลับไปอีกครั้งหนึ่ง

แต่ถ้าพิธีกรรมยืดไปถึงค่ำมืด เกรงจะเกิดอันตรายในตอนขากลับลงมา จึงได้ย้อนกลับไปทำพิธีกรรมเป็นพิเศษรวมกันที่วัดพระธาตุจอมกิตติ

ซึ่งคงจะเป็นเพียงครั้งเดียวแค่นี้ เพราะยังมีที่อื่นอีก ๒-๓ แห่ง คิดว่าปี พ.ศ.๒๕๔๒ คงจะได้ครบถ้วนทุกภาคของประเทศ แล้วจะยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

สำหรับเรื่อง "พิธีบวงสรวง ณ วัดพระธาตุดอยตุง" ก็คงจะต้องยุติไว้ก่อน ซึ่งจะต้องรอไปพบกับเรื่องราว "พิธีบวงสรวง ณ วัดพระธาตุจอมกิตติ" ในตอนหน้า

หวังว่าทุกท่านที่ร่วมเดินทางไป หากมีการทำหรือพูด..ขาดตกบกพร่องไป ก็ขอได้โปรดให้อภัยด้วย...สวัสดี


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน





[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/5/19 at 05:56 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๕

งานพิธีบวงสรวง ณ วัดพระธาตุดอยตุง
เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๕

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เรียบเรียง


...ในดินแดนโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสนแห่งนี้ ในอดีตพระเดชพระคุณท่านก่อนที่จะเกิดเป็นพระเจ้าพรหมมหาราชนั้น

ท่านได้เคยเกิดเป็น "พระเจ้ามังรายนราช" โดยเป็นพระราชโอรสของ "พระเจ้าอชุตราชเจ้า" และ "พระนางปทุมวดี" (ท่านแม่ศรี)

ตามประวัติเล่าว่า พระแม่เจ้าได้เคยอาศัยอยู่บนดอยแห่งนี้มาก่อน โดย "พระฤาษีกัมมะโล" เป็นผู้ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย กระทั่งเติบใหญ่อายุ ๑๖ ปี ทรงมีพระสิริโฉมงดงามมาก

เมื่อพรานป่าขึ้นมาพบเห็น จึงกลับไปบอกเล่าให้ชาวบ้านทั้งหลายทราบ แล้วก็ร่ำลือในความสวยงามว่า ลูกสาวพระฤาษีบนดอยดินแดงแห่งนี้ งามเลิศประเสริฐยิ่งกว่าหญิงใดในพื้นปฐพี

จนคำเล่าลือเข้าไป ถึงพระเจ้าอชุตราช พระบาทท้าวเธอจึงให้เสนาอำมาตย์หล่อทองคำ ๔ แสนกหาปนะ เพื่อเป็นการสู่ขอนางจากพระฤาษี แล้วได้ทรงจัดงานพิธีอภิเษกสมรส เพื่อสถาปนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสี

ต่อมาไม่นาน "พระมหากัสสปเถระ" พร้อมด้วยคณะ ๕๐๐ องค์ อัญเชิญ "พระรากขวัญเบื้องซ้าย" บรรจุลึกลงไป ๘ ศอก ในก้อนหินที่พระพุทธเจ้าเคยประทับนั่ง ซึ่งมีรูปเหมือนมะนาวครึ่งซีกหงายขึ้น

จากนั้นพระมหากัสสปเถระก็ได้เนรมิตผ้าธงตะขาบผืนใหญ่ มีความยาว ๑๐๐๐ วา โดยมีคันธงปักลงไปในหิน ปัจจุบันนี้ยังมีรอยปักอยู่ (เดิมมี "รอยพระพุทธบาท" อยู่ข้างองค์พระธาตุ ปัจจุบันหายไปแล้ว)

ต่อมาชาวบ้านที่อยู่ข้างล่างเห็นผ้าธง หรือผ้าตงโบกสบัดไปมาเป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกดอยสามเส้า หรือดอยดินแดง หรือเกตุบรรพตแห่งนี้ว่า “ดอยตุง” สืบมา

เวลาต่อมา "พระมหากัจจายนเถระ" ได้นำเอาพระบรมธาตุส่วน "ตาตุ่มข้างขวา" จากถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์

เพื่อถวายให้พระเจ้าอชุตราชทรงบรรจุไว้บน "ดอยกู่แก้ว" ตามที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ก่อนปรินิพพาน

ซึ่งเดิมผู้เขียนเข้าใจว่าเอามาบรรจุไว้ที่นี้ ครั้นตามหาดอยกู่แก้วพบแล้ว จึงต้องนำมาทบทวนเพื่อความเข้าใจกันเสียใหม่

ฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ ที่พระอรหันต์นำมากาลภายหลังปรินิพพาน จึงพอทราบได้ว่าหลังจากนั้นมาถึง พ.ศ.๑๐๐ ก็ได้มีพระอรหันต์ชื่อ "พระมหาวชิรโพธิ์" อัญเชิญมาจากที่เดียวกันอีก คือถ้ำสัตบรรณคูหา จำนวน ๑๕๐ องค์

ถวาย "พระเจ้ามังรายนราช" ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอชุตราชนั่นเอง พระองค์ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์ใต้ ส่วนองค์ด้านเหนือเป็นของพระราชบิดา

และตามที่เข้าใจกันว่า พระธาตุดอยตุง เป็นปฐมเจดีย์แห่งโยนกเชียงแสนนั่นคงไม่ใช่ เพราะตามตำนานบอกว่า

พระมหากัจจายนะอัญเชิญพระธาตุตาตุ่มบรรจุไว้บนดอยกู่แก้ว จมลงไปในอุโมงค์เก่าอันเป็นที่เคยบรรจุ "พระเกศาธาตุ" มาก่อน นับตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

นั่นก็แสดงว่า พระเจดีย์ได้เกิดมีขึ้นก่อนแล้ว ทั้งที่พระธาตุจอมกิตติก็ดี ซึ่งมีพระเกศาธาตุบรรจุอยู่เช่นเดียวกัน

ฉะนั้น สถานที่ใดมีพระเกศาธาตุบรรจุอยู่ แสดงว่าสร้างมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงปรินิพพาน ส่วนที่มีแต่พระบรมสารีริกธาตุ เป็นการแสดงว่าพระสาวกอัญเชิญมาบรรจุภายหลังจากที่ปรินิพพานแล้ว

จึงมีข้อเปรียบเทียบได้ว่า พระธาตุดอยตุงมีพระบรมธาตุ "รากขวัญเบื้องซ้าย" และพระบรมธาตุส่วนต่างๆ รวม ๖๕๐ องค์

ส่วน "พระธาตุดอยกู่แก้ว" มี "พระเกศาธาตุ" และพระบรมธาตุส่วน "ตาตุ่มข้างขวา"

สำหรับ "พระธาตุจอมกิตติ" มีทั้ง "พระเกศาธาตุ" และ พระบรมธาตุส่วน "แขนข้างขวา" และ "พระบรมธาตุหน้าผาก" อีก ๑๑ องค์ ที่ "พระพุทธโฆษาจารย์" นำมาถวาย "พระเจ้าพังคราช" เมื่อ พ.ศ.๙๐๐

ส่วนที่เหลืออีก ๕ องค์นำไปบรรจุไว้ที่ "พระธาตุดอยทอง (จอมทอง)" ในเมืองเชียงราย ซึ่งเดิมมีทั้ง "พระเกศาธาตุ" และพระบรมธาตุส่วน "นิ้วพระหัตถ์" ของพระองค์บรรจุอยู่ก่อนแล้ว

ต่อมาสมัย "พ่อขุนผาเมือง" ก็นำมาบรรจุไว้ที่พระธาตุจอมกิตติอีกสมัยหนึ่ง ส่วนสมัยปัจจุบันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้บรรจุไว้อีกเช่นกัน

รวมถึงสมัยพวกเราที่ได้ร่วมกันสร้างพระเจดีย์องค์เล็กไว้อีก ๓ องค์ รวมความว่าพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าได้มีการบรรจุไว้หลายสมัย


...สรุปว่าพอจะได้ไล่เลียงต่อไปว่า พระธาตุส่วนไหนอยู่ที่ไหน พอที่จะค้นหาได้บ้างว่า

- พระบรมธาตุแขนขวา อยู่ที่ พระธาตุจอมกิตติ เชียงราย
- พระบรมธาตุแขนซ้าย อยู่ที่ พระธาตุจอมทอง พะเยา
- พระบรมธาตุกระหม่อม อยู่ที่ พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
- พระบรมธาตุท้ายทอยเบื้องขวา อยู่ที่ พระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
- พระบรมธาตุท้ายทอยเบื้องซ้าย อยู่ที่ พระธาตุดอยน้อย เชียงใหม่

(หมายเหตุ ) "พระธาตุแขนขวา" อยู่ที่พระธาตุจอมกิตติ ระบุไว้ตาม "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" อัญเชิญมาบรรจุไว้สมัย "พระเจ้าอโศกมหาราช" ประมาณ พ.ศ.๒๑๘)

- พระบรมธาตุคอทั้งหน้าหลัง อยู่ที่ พระธาตุลำปางหลวง
- พระบรมธาตุข้อมือซ้าย อยู่ที่ พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
- พระบรมธาตุข้อศอกซ้าย อยู่ที่ พระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
- พระบรมธาตุข้อศอกขวา อยู่ที่ พระธาตุแก่งสร้อย จังหวัดตาก
- พระบรมธาตุกระดูกคาง ซ้ายและขวาอยู่ที่เชียงใหม่
- พระบรมธาตุหน้าอก อยู่ที่ พระธาตุพนม
- พระบรมธาตุหัวเหน่า อยู่ที่ พระธาตุบังพวน สกลนคร

- พระบรมธาตุรากขวัญเบื้องซ้าย อยู่ที่ดอยตุง
- พระบรมธาตุรากขวัญเบื้องขวา อยู่ที่ เมืองอนุราชปุระ ลังกา
- พระบรมธาตุมันสมอง อยู่ที่ พระธาตุจอมทอง เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา

นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดและสูงที่สุด ทรงบัญชาให้พระสาวก อัญเชิญไปไว้ส่วนสูงที่สุดของสุวรรณภูมิ เมื่อถึงเวลาก็จะได้ทำพิธีกราบไหว้ รวมกันทุกส่วนของพระองค์ทีเดียวเลย

เป็นอันว่า ย้อนกลับมาสรุปได้ว่า "พระธาตุดอยตุง" ซึ่งอยู่บนยอดเขาสูงประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร พวกเราก็ได้มากันทุกปี

สมัยก่อน "หลวงปู่ชุ่ม" ได้นำพวกชาวเขามาแพ้วถางทางขึ้นประมาณ ๑๗ ก.ม. จนปัจจุบันนี้ก็มีการลาดยางอย่างสะดวก


ถ้าจะย้อนกลับไปนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชุตราช พระธาตุแห่งนี้มีอายุสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว พวกเราอาจจะเคยร่วมสร้างกันมาก่อนก็เป็นได้

รวมทั้งที่พระธาตุจอมกิตติด้วย ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ เคยกล่าวเอาไว้ว่า

โอวาทหลวงพ่อที่ดอยตุง
"...พ่อมองดูหน้าลูกรักทุกคนที่นั่งอยู่ในที่นี้ พ่อคิดว่าลูกทุกคนคงจะเกิดในสมัยนั้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลง คือตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย มีความสุขบ้าง มีความทุกข์บ้าง

ในที่สุดก็ตาย แล้วก็เกิด..แล้วก็ตาย มาเป็นคนสมัยนี้ นี่เป็นความรู้สึกของพ่ออย่างเดียว พ่อไม่ยืนยัน แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็คงเกิดหลายวาระ

การเกิดแล้วตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแต่ละชาติมันก็มีแต่ความทุกข์ มีภาระในการปกครอง มีภาระในการบริหารในการกิดทุกครั้ง เราก็หวังในความรุ่งเรืองของชีวิต แต่แล้วในที่สุดสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็หมดไป

ฉะนั้น ขอบรรดาลูกรักทั้งหลาย ที่ได้อภิญญาสมาบัติและวิชชาสาม จงใช้อภิญญาสมาบัติและวิชชาสามที่ได้ มุ่งพระนิพพานอย่างเดียว

การที่จะท่องเที่ยวไปดูภพดูชาติต่างๆ เป็นของดี แต่ก็อย่าเอาจิตไปยุ่งกับโลกีย์วิสัย คือ ความโลภ และความโกรธ

คิดว่าชนชาตินั้นเคยเป็นศัตรูของเขา ชนชาตินี้เคยเป็นมิตรของเรา นี่เป็นทรัพย์สินของเรา อย่างกับคนที่มีอุปาทานกินใจ

พ่อคิดว่านั่นเป็นอารมณ์ของความบ้ามากกว่า เรื่องของคนละชาติ มันก็เป็นคนละชาติ จะเอามาบวกกับชาตินี้ไม่ได้

ขอลูกจงอย่าติดอาการอย่างนั้น เป็นการแสดงถึงการติดด้วยอำนาจกิเลส คือตัณหาเป็นสำคัญ มีอวิชชาเป็นเบื้องหน้า ควรจะคิดอย่างเดียวว่า..เราจะทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด...สวัสดี"


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/5/19 at 04:37 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๖

ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เรียบเรียง


...ขอเล่าสรุปเรื่องการ "ตามรอยพุทธพระบาท" โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าจากตำนานและสถานที่จริง ซึ่งต้องขออนุญาตเจ้าอาวาสเดินทางออกจากวัดหลายครั้ง

บางครั้งต้องเข้าป่าลึก เพื่อเป็นการสำรวจร่องรอยการประกาศพระศาสนา ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะในสถานที่แต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน

บางแห่งพระองค์จะประทับรอยพระบาทไว้ บางแห่งจะประทานเฉพาะเส้นพระเกศาธาตุไว้อย่างดียว บางแห่งมีทั้งรอยพระบาทและพระเกศาธาตุ

แต่มีทั้ง ๒ อย่างนี่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีแต่ละอย่างเท่านั้น จึงทำให้ทราบว่า ถ้าพระเจดีย์องค์ไหน บรรจุเส้นพระเกศาธาตุไว้ ถึงไม่มีรอยพระพุทธบาท ก็จะทราบว่าสถานที่นั้น เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเช่นกัน

เพราะฉะนั้น “งานตามรอยพระบาท” จึงทำให้ทราบเส้นทางการบำเพ็ญบารมีของ “ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย” นั่นก็คือ ท่านจะบูรณะพระเจดีย์ตาม “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก”

ที่ได้บอกสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะอาณาเขตเมืองเชียงแสนนี้ มีมากมายหลายแห่ง ไม่ใช่มีเฉพาะพระธาตุดอยตุง และพระธาตุจอมกิตติเท่านั้น เวลานี้ก็ได้สำรวจไปบ้างแล้ว แต่ที่ยังไม่พบก็ยังมีอยู่บ้าง


พระเกศาธาตุ และ รอยพระพุทธบาท
...ณ โอกาสนี้ จะขอประมวลตามที่สำรวจไปแล้ว จึงทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ดอยตุง ไม่ได้ประทานเส้นพระเกศาธาตุไว้ แต่ได้ทรงประทานเส้นเกศาไว้ที่พระธาตุจอมกิตติ

และยังมีหลายแห่ง ในบริเวณนี้ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ที่พระเจ้าอชุตราชเสด็จไปทรงสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ เพราะสมัยนั้น เมืองโยนกอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของปัจจุบันนี้

หลังจากเมืองล่มจมน้ำไปแล้ว โบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงแสนสมัยนั้น จึงได้สูญหายไปจากคนสมัยนี้ แต่พวกเราโชคดีที่ยังมีแผนที่ คือตำนาน การได้ติดตามมาเป็นเวลา ๖ ปี จึงทำให้ทราบว่า

การที่พระพุทธเจ้าเสด็จมานั้น นอกจากจะวางฐานพระศาสนาต่อจากอินเดียและลังกาแล้ว พระองค์เสด็จมาตามพุทธประเพณีที่ พระพุทธกุกสันโธ พระพุทธโกนาคม และ พระพุทธกัสสป เสด็จมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ในกาลต่อไป "พระศรีอาริย์" ก็จะเสด็จมาอีกเช่นกัน ไม่ใช่มาเฉพาะที่ วัดพระพุทธบาท ๔ รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เท่านั้นนะ

ตามประวัติเล่าว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชาวเชียงแสน ๒ ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อพรรษาที่ ๑๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อพรรษาที่ ๒๐

ครั้งแรก หลังจากออกพรรษาที่ ๑๕ แล้ว พระองค์เสด็จไปโปรดคนไทยที่เมืองกบิลพัสดุ์ ต่อจากนั้นจึงเสด็จมาโปรดคนไทยที่เมืองโยนกนี้


พระธาตุดอยกู่แก้ว
...เมืองเชียงแสน (เก่า) สมัยนั้นเรียกว่า "เมืองพันธุสิงหนวตินคร" หรือ "เมืองโยนกบุรีศรีนาคพันธุ์" อันมี "พระเจ้าสิงหนวติ" เป็นผู้ครองนคร ซึ่งเป็นคนไทยที่ย้ายเมืองมาจากกรุงราชคฤห์

ตามที่เล่าไปเมื่อปี ๒๕๔๐ ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่ดอยน้อย คือพระธาตุจอมกิตติก่อนนั้น ความจริงยังไม่ถูกต้อง เพราะสมัยนั้น พระธาตุจอมกิตติยังไม่รุ่งเรือง เนื่องจากอยู่ไกลจากเมืองหลวง

ฉะนั้น "ดอยน้อย" ตามที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาครั้งแรกนั้น ได้ไปตรวจดูแล้วพบว่าอยู่ใกล้เมืองเก่า คือที่เวียงหนองหล่ม (ล่ม) ปัจจุบันอยู่ที่ทะเลสาบเชียงแสน

ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จมาในระหว่างดอย (กู่แก้ว) เพราะเป็นที่สงบร่มเย็น มีลำห้วยและป่าไม้ น่ารื่นรมย์เหมือนดั่งเขาแก้วกู่วงกตนั้นแหละ

พระพุทธเจ้าได้พบ "พระมหากัสสป" กับทั้งหมู่ลูกศิษย์ ๕๐๐ องค์ อยู่ที่นั้น พระสาวกทั้งหลายเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้ว ก็ขึ้นไปต้อนรับกราบไหว้พระพุทธเจ้าที่สันดอยนั้น

พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า ภิกขเว..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอมาในที่นี้แล้วจักไปในที่ใดอีก

พระมหากัสสปเถระเจ้าจึงทูลตอบว่า ภันเต ภะคะวา ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อว่าจักพากันมาไหว้และบูชายังต้นไม้ศรีมหาโพธิ์น้อยต้นหนึ่ง อันมีในประเทศบ้านเมืองนี้ พระพุทธเจ้าข้า

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า ไม้มหาโพธิ์น้อยต้นนั้นวิเศษแท้แล หากเป็นต้นไม้มหาโพธิ์ อันพระตถาคตตรัสรู้นั้น เทวบุตรตนหนึ่งชื่อว่า “สุริตตะ” นั้น จะนำเอาแก่นมันมาปลูกไว้เป็นที่สักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลายนั้น

ต่อจากนั้น พระองค์จึงยกพระหัตถ์ข้างขวาเสยเส้นพระเกศา แล้วให้พระยาอโศกกับพระมหากัสสปพร้อมกันเอาบรรจุไว้ ณ สถานที่นั้น แล้วตรัสทำนายว่า

พระตถาคตนิพพานไปแล้ว "พระมหากัจจายนะ" จักเอาพระธาตุ “กระดูกตาตุ่มข้างขวา” แห่งพระตถาคตมาบรรจุไว้ในที่นี้อีก

สถานที่นี้จักได้ชื่อว่า “ดอยกู่แก้ว” เหตุว่าเป็นที่พบแห่งลูกศิษย์พระตถาคตนั้น (ดอยกู่แก้ว ปัจจุบันนี้คือ วัดพระธาตุดอยกู่แก้ว ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย)


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/5/19 at 10:12 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๗

ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
ตอน พยากรณ์เมืองเชียงแสน


...พระเจ้าสิงหนวัติได้ทราบข่าวการเสด็จของพระพุทธเจ้า จึงเสด็จมาพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย ณ บนดอยน้อย (พระธาตุดอยกู่แก้ว) แห่งนี้ ซึ่งไม่ไกลจากเวียงโยนก

ครั้นพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดแล้ว พระองค์จึงขออาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย ไปฉันภัตตาหารในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น

เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์และพระอรหันต์ทั้งหลายก็พักอยู่ที่นั้นคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งแจ้งแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมด้วยเหล่าพระสาวกแวดล้อมเป็นบริวาร จึงเสด็จเข้าไปสู่เมืองโยนกบุรี เพื่อฉันภัตตาหารภายในพระราชวัง

ครั้นทรงฉันภัตตาหารเสร็จก็ทรงอนุโมทนา ในกาลนั้น พญาช้างต้นได้เห็นฉัพพรรณรังสีรัศมี ๖ ประการ ก็ตกใจกลัววิ่งหนีออกจากโรงช้างไปสู่ริมฝั่งแม่โขง ร้องส่งเสียงแล่นสะเทือนอยู่ที่นั้น

เมื่อนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ พระสารีบุตรได้ทูลถามถึงเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“สารีปุตตะ..ดูก่อนสารีบุตร พระตถาคตกับภิกษุทั้งหลายมาในที่นี้ ช้างต้นแห่งพระเจ้าสิงหนวตินี้ วิ่งหนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ร้องแล่นสะเทือนอยู่ที่นั้น

ต่อไปภายหน้าจะมีกษัตริย์องค์หนึ่ง จักมาสร้างเมืองขึ้นตรงที่พญาช้างไปหยุดอยู่นั้น ให้ชื่อว่า “ไชยะบุรีศรีช้างแล่น” จำเนียรกาลผ่านไปภายหลัง คนจะเรียกเพี้ยนไปว่า “เชียงแสน”

พระธาตุจอมกิตติ
...ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหลาย เสด็จออกจากเมืองไปทางทิศอีสานแล้ว จึงไปสู่ไม้มหาโพธิ์น้อย ตามที่ช้างไปร้องแล่นสะเทือนอยู่นั้น

พระพุทธเจ้าก็ขึ้นสู่ดอยน้อยแล้ว นั่งขัดสมาธิหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกแล้วจึงตรัสว่า

“...อันไม้มหาโพธิ์มาตั้งอยู่บนดอยนี้ ช้างต้นแห่งพระเจ้าสิงหนวติก็มาร้องอยู่ที่นั้น ภายหน้าพระตถาคตนิพพานไปแล้ว ๑ พันปี จักมีพระยาองค์หนึ่งมียศศักดิ์มาก จักมาตั้งเมืองอยู่นั้นแล้ว

เมื่อภายหลังคนทั้งหลายจักสร้างที่ไม้มหาโพธิ์น้อยต้นนั้นให้เป็นอาราม แล้วจักเรียกชื่อว่า “อารามมหาโพธิ์” (ปัจจุบันอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใกล้ตลาดเชียงแสน)

ครั้นแล้ว พระมหากัสสปและบริวารทั้งหลาย ก็พากันนมัสการต้นมหาโพธิ์น้อย แล้วก็กลับมาหาพระพุทธเจ้า เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าก็ประทานเส้นพระเกศา

แล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรบรรจุไว้ปลายดอยนี้ไว้เป็นศรีแก่เมือง เพราะต่อไปจะเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า

เมื่อพระตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๙๐๐ พระพรรษา จักมีสาวกของตถาคตองค์หนึ่งชื่อ "พุทธโฆษาจารย์" จักไปเอาพระบรมธาตุพระนลาฏ คือกระดูกหน้าผาก มาบรรจุเพิ่มไว้ ณ ที่นี้ ต่อจักได้ชื่อว่า "พระธาตุจอมกิตติ" จักมียศมีศักดิ์รุ่งเรืองมากนักแล

(เรื่องนี้ทำให้ทราบว่า สมัยพระพุทธโฆษาจารย์นำพระบรมธาตุมาถวายพระเจ้าพรหมมหาราช ๑๖ องค์นั้น เป็นพระบรมธาตุส่วนหน้าผาก)

พระธาตุภูข้าว (สามเหลี่ยมทองคำ)
...ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ก็เสด็จไปพักที่ดอยเรือหมื่นถ้อย และไปประทานเส้นพระเกศาไว้บนดอย *พระธาตุภูข้าว ที่สบรวก แล้วก็ทรงจำพรรษาที่เมืองอาฬวี คือเมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา

ครั้นออกพรรษาที่ ๑๖ แล้ว จึงเสด็จกลับมาถึงแม่น้ำน้อย อันเชี่ยวและใสงามนัก พระองค์จึงทรงข้ามแม่น้ำนั้น เพราะแม่น้ำนี้มีน้ำใส คนทั้งหลายจึงเรียกว่า น้ำแม่ใส ต่อมาจึงกลายเป็น แม่สาย มาจนบัดนี้

แล้วพระองค์ก็ได้ทรงประทานเส้นพระเกศาไว้อีกหลายแห่ง คือ ดอยโยนก ดอยรัง *ดอยเวา ดอยแว่น ดอยคา เกาะดอนแท่น วัดพระเจ้าล้านทอง *ดอยจัน และบ้านช่างของดอกไม้

รอยพระพุทธบาทผาเรือ
...อีกทั้งได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่ *ผาเรือ และ สันทรายหลวง แล้วจึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์

*พระธาตุภูข้าว ปัจจุบันนี้บางแห่งก็เรียก พระธาตุปูเข้า อยู่ที่ ต.สบรวก อ.เชียงแสน ใกล้สามเหลี่ยมทองคำ

*ดอยเวา คือ พระธาตุดอยเวา อ.แม่สาย

*ดอยจัน คือ วัดมหาธาตุดอยจัน บ.ดอยจัน ต.โยนก อ.เชียงแสน

*ผาเรือ คือ วัดพระพุทธบาทผาเรือ ต.ท่าข้าวเปลือก อ.แม่จัน

พระธาตุดอยตุง
...ในการเสด็จครั้งที่ ๒ นั้น พระพุทธองค์เสด็จมาในพรรษาที่ ๒๐ เวลานั้น พระเจ้าสิงหนวติครองเมืองได้ ๒๐ ปี มีพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษาก็สวรรคต

พระโอรสคือ "เจ้าพันติราช" จึงขึ้นครองแทน เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าถูกพระเทวทัตกลิ้งหินก้อนหนึ่ง หวังจะปลงพระชนม์พระพุทธองค์ แต่มีหินอีกก้อนหนึ่งโผล่ขึ้นมารับ จึงทำให้สะเก็ดหินถูกพระบาทจนห้อพระโลหิต

หลังจากหมอโกมารภัจรักษาหายดีแล้ว ยามนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็รำพึงถึงหินก้อนหนึ่ง อันเป็นที่ประทับนั่งแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ในอดีต อันมีอยู่ที่เมืองโยนกนี้แล้ว

พระพุทธเจ้าก็พาเหล่าสาวกทั้งหลายเสด็จเลียบฝั่งแม่น้ำโขง เห็นยอดเขาสามเส้าที่อยู่ปลายเขตแห่งเมืองโยนกบุรี แล้วจึงเสด็จไปทางอากาศสู่ดอยสามเส้า หรือดอยดินแดง คือดอยตุงนี้

พระพุทธองค์ได้เสด็จไปบิณฑบาตที่บ้านปู่เจ้าลาวจก แล้วจึงขึ้นมาประทับบนหินก้อนหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา หินก้อนนี้มีสัณฐานเหมือนดั่งลูกมะนาว ที่ตัดแบ่งครึ่งแล้วหงายเอาไว้ฉะนั้น

ด้วยอำนาจแห่งพระสัพพัญญูเจ้า หินก้อนนี้ก็จมลงไปใต้ดิน ๕ ศอก แต่อยู่เหนือพื้นดิน ๗ ศอกครึ่ง พื้นลานหินกว้าง ๑๐ ศอก แล้วพระองค์หันไปทางทิศตะวันออกตรัสว่า

“ภิกขเว..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าอันล่วงแล้ว ครั้นว่าอายุใกล้ปัจฉิมวัยไปแล้ว ก็ย่อมมานั่งบนหินก้อนนี้ แล้วก็ลงไปฉันข้าวที่ “ถ้ำปุ่ม” ตีนดอยนี้

ถ้าว่าพระตถาคตนิพพานไปแล้ว จงให้มหากัสสปเอา "พระรากขวัญ" คือกระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย มาบรรจุไว้ยังหินก้อนนี้เถิด

จักมีฤาษีตนหนึ่งมาอยู่เฝ้าที่นี้ เมืองโยนกนครอันนี้จักเป็นราชธานีใหญ่ แล้วจักเป็นที่ตั้งพระศาสนาตราบเท่า ๕,๐๐๐ ปี”


โอวาทหลวงพ่อที่ดอยตุง
...สำหรับเวลาหนึ่งชั่วโมงต่อไปนี้ ก็จะขอปรารภเรื่องการเดินทางไปไหว้ "พระธาตุจอมกิตติ" แล้วก็ "พระธาตุดอยตุง" เมื่อวันที่ ๙,๑๐,๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๑

ความจริงรู้สึกขอบใจบรรดาลูกๆ ทั้งหลายที่ได้ให้ทำการฝึก "มโนยิทธิ" รวมความว่าที่ได้รับการสั่งสอนมาแล้ว ดีใจที่ลูกรักทุกคนไม่ทำให้พ่อแม่เหนื่อยเปล่า

การฝึกพระกรรมฐานถ้าเอาดีในสถานที่ ถ้าเป็นการสอบได้สอบตก เขาก็ต้องถือว่าการให้คะแนนเต็มร้อย ได้ศูนย์ แต่ทว่าบรรดาลูกรักทั้งหลายทั้งหมดปรากฏว่า

ทำงานนอกสถานที่ได้ดี ในที่แถวนั้นเป็นที่ประกอบไปด้วยความวุ่นวาย ไม่ใช่เป็นที่สงบ ต่างคนต่างก็พบกันแต่ละจุด

ทั้งนี้ที่หลวงพ่อไม่บังคับก็เพราะว่าต้องการให้เป็นไปตามอัธยาศัยแล้วก็ทราบดีแล้วว่าวงสมาธิยังแคบอยู่ นอกจากองค์สมเด็จพระบรมครูเท่านั้น ที่จะเห็นอะไรทุกอย่างครบถ้วน แล้วก็ทุกเวลา

แม้แต่พระอรหันต์เองถ้าไปที่ไหน ถ้าเห็นอะไรก็ยังต้องถาม เพราะว่ามีสมาธิหรือมีณานในวงแคบจำกัด

คนที่น่ารักอีกคนหนึ่งนั้นก็คือ "เงาะ" ซึ่งเดิมทีไม่ได้อะไรกับเขาเลย แต่อาศัยความพากเพียรมีมุมานะ จิตประกอบไปด้วยอิทธิบาททั้ง ๔ ประการ สามารถสร้างทิพจักขุญาณ และมโนมยิทธิ ขึ้นมาได้ในเวลากระทันหัน

แล้วก็ลูกรักทุกคนที่บอกว่า ที่มีความรู้สึกว่าตัวยังไม่ดีพอ ยังจะต้องศึกษาต่อไป ถ้อยคำนี้เป็นที่ถูกใจของพ่ออย่างยิ่ง เพราะว่าพ่อต้องการให้ลูกชาย และลูกหญิงทั้งหมดมีความรู้สึกอย่างนี้

ขึ้นชื่อว่าคำว่าดี ยังจะไม่มีสำหรับเรา ถึงแม้ว่าเราจะได้อรหัตผล ก็จงคิดว่าคำว่าดีก็ยังไม่มี ทั้งนี้เพราะว่าถ้าขันธ์ ๕ ยังมีอยู่เพียงใด คำว่าดีก็จะยังไม่ปรากฏ

เพราะจิตใจเรายังอยู่ในโลกที่วุ่นวายอยู่ที่ขันธ์ ๕ ประกอบไปด้วยความเป็นทุกข์ แต่ว่าขันธ์ ๕ มันทุกข์ ใจของลูกก็จงอย่าทุกข์.."


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/5/19 at 10:46 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๘

ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
ตอน ประทานพระเกศาไว้ที่
"ถ้ำปุ่ม" และ "ถ้ำเปลวปล่องฟ้า"


...หลังจากพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนก้อนหิน ที่มีสัณฐานเหมือนดั่งลูกมะนาว ที่ตัดแบ่งครึ่งแล้วหงายเอาไว้ ตามพุทธประเพณีพระพุทธเจ้าองค์ก่อน

แล้วตรัสสั่งให้พระมหากัสสปเอา "พระรากขวัญ" คือ "กระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย" มาบรรจุไว้ยังหินก้อนนี้ หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว

หลังจากนั้นก็เสด็จลงไปฉันเช้าที่ "ถ้ำปุ่ม" (ถ้ำกุมภ์) แล้วทรงลูกเอาพระเกศาให้บรรจุไว้ที่ประตูถ้ำที่นั้น พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นปลาปิ้ง ๓ ตัว มีในบาตรที่นั้นแล้ว

จึงทรงอธิษฐานให้มีชีวิตแล้วก็ให้พระอานนท์เอาใส่บาตรไปล้างแล้ว ก็เอาเทไว้ในท้องดอยทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บังเกิดอัศจรรย์เป็น "ถ้ำปลา" มีน้ำไหลผ่านเข้าไปใต้ท้องดอยจนถึงทุกวันนี้

แล้วองค์สมเด็จพระชินสีห์ก็เสด็จขึ้นไปประทาศพระเกศาบรรจุไว้ใน "ถ้ำเปลวปล่องฟ้า" เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแล้วจึงเสด็จไปบรรทมยัง "ถ้ำตูบ" เมืองขอม จากนั้นจึงเสด็จกลับสู่เมืองราชคฤห์

สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เชิงดอยตุง
...ขอย้อนกลับมาถึงตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ดังนี้ แล้วประสงค์จะฉันน้ำ พระอานนท์จึงไปตักในสระอันหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตีนดอย

ภายหลังพระมหากัสสปได้อธิษฐานสระน้ำ ที่พระอานนท์มาตักน้ำไปถวายพระพุทธเจ้าไว้แก่คนทั้งหลายแล้วกล่าวว่า

บุคคลใดจักขึ้นไปไหว้พระมหาธาตุเจ้า ให้ชำระตนเสียในสระนั้นก่อน จักผ่านพ้นภัยอันตราย หากปรารถนาอันใดให้ว่า

"ชะยันโต โพธิยา ไปรอด สุขิตา โหนตุ" ๓ ครั้ง แล้วอาบและกิน แล้วจึงขึ้นไปเถอะ จักสัมฤทธิ์ผลแก่ผู้นั้น สระอันนี้มีอานุภาพเสมอกับสระน้ำที่อยู่เชิงเขาคิชฌกูฏ ในเมืองราชคฤห์นั้น

ตามตำนานได้เล่าต่อไปว่า ครั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปก็ได้นำพระบรมธาตุ คือ "พระรากขวัญเบื้องซ้าย" มีขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ จำนวน ๕๐๐ องค์

(แต่มีผู้มากระซิบบอกหลวงพ่อว่า เป็นพระรากขวัญเบื้องขวาเบื้องซ้าย ท้ายทอย และจอมกระหม่อม) มาถวายพระเจ้าอชุตราช พระราชโอรสของพระเจ้าพันติราช ซึ่งพระองค์ได้สวรรคตไปในขณะพระพุทธเจ้าปรินิพพานพอดี

พระเจ้าอชุตราชทรงครองราชย์ด้วยทศพิธราชธรรม และได้ขยายอาณาเขตเมืองโยนกไปทางทิศเหนือจรดหนองแส ทิศใต้ถึงลพบุรี

ทางด้านตะวันออกไปจนถึงเมืองจุฬนี คือตังเกี๋ย ทางทิศตะวันตก ถึงแม่น้ำคงในเขตพม่า เมืองโยนกบุรีสมัยนั้นจึงเป็นเมืองใหญ่มาก

หลังจากปรินิพพานแล้ว เริ่มตั้งศักราชที่ ๑ ในปีเมิงเม็ด เพ็ญเดือน ๕ ยามนั้น พระมหากัสสปมีอายุก็ได้ ๑๒๐ ปีเต็ม จึงคิดในใจว่าในกลางเดือน ๖ นี้ เราจักเข้าปรินิพพานแล้ว

จึงได้นำพระบรมธาตุดังกล่าวแล้ว ๕๐๐ องค์ ใส่โกฏแก้วมีลักษณะดอกบัวตูม พร้อมกับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เดินทางสู่เมืองโยนกบุรีทางอากาศ แล้วเล่าเหตุตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ถวายแด่พระเจ้าอชุตราช

เมื่อนั้นพระองค์ก็มีพระทัยยินดี หวังจะสนองตามพระพุทธบัญชา จึงพาเหล่าเสนาอำมาตย์ อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นคชสารพร้อมด้วยมังรายนราชโอรส เป็นผู้ประคองพระมณฑปเดินขึ้นไปหยุดบนดอยตุง

ในเวลานั้นตรงกับฤดูหนาว เดือนยี่ ตรงกับที่เรามากันพอดี พระเจ้ากรุงโยนกบุรีจึงร่วมกับพระมหากัสสปเถรเจ้า บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในผอบแก้ว

โดยพระมหาเถระอธิษฐานขอให้พระบรมธาตุ จมลงไปในหินก้อนที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จประทับนั่ง พระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์จมลงไปในก้อนหินลึก ๘ ศอก

เมื่อสร้างพระเจดีย์ครอบแล้ว พระมหากัสสปจึงได้เนรมิตคันธงตะขาบใหญ่ เมื่อคนทั้งหลายเห็น จึงเรียกว่า "ดอยธง" หรือ "ดอยตุง" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ต่อมาพระเจ้าอชุตราชและพระราชโอรสได้อัญเชิญ "พระเกศาธาตุ" ไปบรรจุไว้ ณ ถ้ำปุ่ม (ถ้ำกุมภ์) และ ถ้ำปลา (ถ้ำเปลวปล่องฟ้า) แล้วได้ทำพิธีและฉลองพร้อมกับพระธาตุดอยตุง

พระธาตุเจดีย์ทั้งสองแห่งนี้ จึงเป็นพระธาตุคู่บารมีของ "พระเจ้าอชุตราช" และ" พระเจ้ามังรายนราช" เช่นกัน

เพราะเหตุนั้น พระธาตุดอยตุงจึงไม่มีพระเกศาธาตุ เพราะได้อัญเชิญ "พระเกศาธาตุ" มาทำพิธีบรรจุไว้ที่นี่แทนนั่นเอง

ต่อมาพระมหาเถระก็ทูลลาไปสู่ดอยเวฬุบรรพต ในเมืองวิเทหรัฐ เหนือเมืองเชียงตุง แล้วนั่งสมาธินิพพานในวันพุธยามเช้านั้น..."


โอวาทหลวงพ่อที่ดอยตุง
"...ยังมีลูกหลายคน อย่างปู แป๊ว แล้วใครต่อใครหลายคน ที่อดทนต่อความหนาวความร้อน คิดว่านี่ขันธ์ ๕ มันป่วย ขันธ์ ๕ มันร้อน ขันธ์ ๕ เราไม่ป่วย เราไม่ร้อน

การตัดสินใจแบบนี้ถูก แล้วการที่ลูกทั้งหลายเห็นทุกคนถูกต้องหมดทั้งนี้ไม่ใช่เอาใจลูก พ่อถ้าถือว่าเหตุผลแล้วพ่อไม่เอาใจใครทั้งหมด ต้องถือว่าใครผิดก็ผิด

ใครถูกก็ถูก ดีใจที่ลูกของพ่อทุกคนไม่มีมานะทิฏฐิ ยังมีความรู้ตัวว่ายังน้อยด้อยต่อความดี ตอนนี้พ่อปลื้มใจมาก ทำให้พ่อเพิ่มความรักลูกมากอีกหลายร้อยเท่า

เป็นอันว่าต่อนี้ไปพ่อจะขอพูดเรื่องของลูก ก็เพราะเรื่องของพ่อเอง คือการเดินทางไปคราวนี้ ตามปกติทุกคนก็ควรจะจำไว้ด้วย แล้วบางคนก็ทำแล้ว

นั่นก็คือเริ่มต้นตั้งแต่อยู่สถานที่ของตน หัวค่ำและเช้ามืด ก่อนหลับหรือตื่นใหม่ๆ ใช้อารมณ์สมาธิวิปัสสนาญาณให้แจ่มใสขึ้นถึงพระริพพาน ทรงจิตให้สบาย

แล้วก็ดูทางไปเสียก่อน ตั้งแต่ต้นจนปลายที่เราไปถึง มันจะมีอุปสรรคอะไรบ้าง จะพบอะไรบ้าง จะพบอทิสสมานกายอะไรบ้าง ดูไปเสียก่อน บันทึกไป

แล้วก็ในขณะเดินทางก็ตรวจไปอีกตลอดทาง ใช้ทั้งในเวลาหลับตาและเวลาลืมตา เรื่องนี้เป็นของดี เพราะว่าเราทราบไม่ได้ว่าเราจะตายเวลาไหน เราพร้อมที่จะตาย เพราะว่าขันธ์ ๕ มันพัง

แล้วก็จงอย่าลืมว่าขณะที่เรายกจิตออกจากร่างไปสู่ภพต่างๆ เรารู้หรือเปล่าว่าร่างกายมันเมื่อย มันปวด เราไม่รู้ นี่ถ้าร่างกายมันพังมันก็พัง เราไม่ได้พังไปด้วย

สิ่งที่เราจะอยู่ก็คือพระนิพพาน เป็นอันว่าสำหรับเรื่องราวในระหว่างทางพ่อก็ไม่ต้องเล่าให้ฟัง เพราะลูกทุกคนได้กันมา ผสมผเสกันมาถูกทางหมด ถูกต้องทั้งหมด

ถ้าจะมาเล่าให้ฟังก็เป็นการซ้ำกัน ก็ขอพูดถึงเรื่องพระธาตุจอมกิตติ เอาสักหน่อย..สักนิดดีไหม ตอนเดินทางว่าจะไม่พูด

เป็นอันว่านับตั้งแต่เวลาก่อนออกจากพื้นที่ ทั้งพระอรหันต์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทวดาทุกชั้น ท่านก็โมทนาแล้วก็ห้อมล้อม

บรรดาปิยสหายของพ่อทั้งที่อยู่นิพพาน อยู่ที่พรหม กามาวจรสวรรค์ ท่านก็พร้อมหมด แต่การขัดข้องของรถพ่อทราบล่วงหน้า แต่ว่าปฏิเสธไม่ได้ แต่ว่าทราบว่าลูกรักของพ่อทุกคน จะไม่มีอันตรายก็เบาใจ..."


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 23/5/19 at 05:42 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๙

ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
ตอน พระธาตุคู่บารมีของ..พระเจ้าอชุตราช


...ต่อมาในวันเพ็ญ เดือน ๗ เป็นวันอาทิตย์ "พระมหากัจจายนะ" ก็ได้นำพระบรมธาตุกระดูก "ตาตุ่มข้างขวา" มีทั้งหมด ๓ ขนาดเช่นกัน จำนวน ๖๕ องค์

บางแห่งว่า ๒๔ องค์ ใส่ไว้ในโกฏแก้วมรกตมีวรรณะสีเขียว พร้อมกับพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มาโดยทางอากาศสู่เมืองโยนกนคร แล้วบอกความแด่พระเจ้าอชุตราชตามที่พระพุทธเจ้าทำนายไว้

พระบาทท้าวเธอจึงมีความศรัทธาได้สร้างโกฏทองคำสวมโกฏแก้วไว้ แล้วอัญเชิญไปบรรจุไว้บน "ดอยกู่แก้ว" โดยพระมหากัจจายนะอธิษฐานจมลงไปในก้นอุโมงค์ อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุก่อนนั้น

พระบรมธาตุก็กระทำปาฏิหาริย์รุ่งเรืองมาก แล้วพาเอาโกฏทั้ง ๔ ชั้น จมลงไปในอุโมงค์นั้นแล แล้วพร้อมกันสร้างพระเจดีย์ใส่ฉัตรเสร็จแล้ว ก็ทำการฉลองแล้ว เดือน ๘ ออกค่ำ ๑ พระมหากัจจายนะก็กลับสู่เมืองราชคฤห์

กาลเวลาต่อมา พระเจ้าอชุตราชก็เสด็จไปสร้างพระเจดีย์ ๒ องค์ อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุก่อนนั้น ณ ถ้ำปุ่ม (ถ้ำกุมภ์) และ ถ้ำปลา (ถ้ำเปลวปล่องฟ้า)

สมัยพระเจ้ามังรายนราช
...พระองค์ทรงกระทำบุญให้ทานตราบเท่ากาลสวรรคต ในขณะพระชนมายุ ๑๒๐ พรรษา "พระเจ้ามังรายนราช" จึงได้ครองราชย์สมบัติต่อมาในปี พ.ศ.๑๐๐ ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ ๔๖ พรรษา

สมัยนั้นจึงมีการสร้างพระเจดีย์บนดอยตุงอีกองค์หนึ่ง เพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่ "พระมหาวชิรโพธิเถระ" พร้อมด้วยคณะอีก ๕๐๐ องค์ อัญเชิญมาจากกรุงราชคฤห์

เพื่อถวายพระเจ้ามังรายนราช จำนวน ๑๕๐ องค์ รวมกับพระรากขวัญเบื้องซ้ายอีก ๕๐๐ องค์ เป็น ๖๕๐ องค์ (แต่ที่นี่ไม่มีเส้นพระเกศา) เพราะมีที่ถ้ำปุ่ม (ถ้ำกุมภ์) ถ้ำปลา (ถ้ำเปลวปล่องฟ้า) แล้ว

ในขณะที่ทำพิธีบรรจุนั้น พระบรมสารีริกธาตุก็เสด็จขึ้นเปล่งรัศมีส่องสว่างไปทั่ว แล้วก็มุดจมลงไปในก้อนหินนี้ลึกได้ ๗ ศอก เนื้อความโดยละเอียดได้เล่าไปแล้วเมื่อปี ๒๕๔๐

สำหรับตอนนี้จะเล่าต่อจากคราวนั้นว่า พระเจ้ามังรายนราชทรงมีราชบุตร ๒ องค์ ราชธิดา ๒ องค์ ราชบุตรผู้พี่มีนามว่า "พระองค์เชือง" ผู้น้องชื่อว่า "ไชยนาราย"

เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระองค์เชืองจึงได้ครองเมืองต่อมา ส่วนพระองค์ไชยนารายก็ได้ไปสร้างเมืองใหม่ให้นามว่า "เมืองไชยนาราย" ต่อมาจึงกลายเป็นเชียงรายไป (เมืองเก่าอยู่ห่างจากตัวเมือง ๑๖ กม.)

สำหรับเจ้าเมืองเชียงรายองค์นี้ มีเรื่องน่าสนใจที่จะเล่าให้ฟังว่า...

...หลังจากสร้างเมืองใหม่แล้ว พระองค์ก็ได้สร้างวิหาร ตรงที่พระพุทธเจ้าเคยมานั่งสถิตฉันภัตตาหารที่ "นายช่างของดอกไม้" ให้ทานนั้น

แล้วสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลงรักปิดทอง จึงมีชื่อว่า “บุปผารามวิหารสวนดอก” ตามคำพระพทธเจ้าทำนายไว้นั้นแล ซึ่งจะนำไปเล่าในตอนหน้า


โอวาทหลวงพ่อที่ดอยตุง
"...เราเดินทางกันคราวนี่ รถของเราจริงๆ ๑๐ คัน รวมทั้งรถของคุณประเสริฐอีก ๑ คัน เป็น ๑๑ คัน เป็นขบวนใหญ่มาก

ไปถึงที่ไหนก็มีบรรดาปิยสหายเก่าๆ ยืนเป็นทิวแถวแล้วก็รอบล้อมร่วมขบวนไปด้วย ยืนระหว่างกลางทางบ้าง โบกมือโบกไม้แสดงความดีใจ

พ่อถามเขาว่า "ดีใจอะไร ?"
เขาก็ตอบว่า "ดีใจที่ลูกหลานของเขาดี"

ถามว่า "ดีตรงไหน ? "
บอก "ดีทุกคนรู้จักความตาย รู้จักสร้างความดี แล้วก็รู้จักว่าโลกนี้เป็นทุกข์"

พวกเราเป็นสุข เพราะเขาเป็นพระอริยะกันหมด พวกเทวดาหรือพรหม แม้จะยังไม่ได้อรหันต์เขาก็ไม่มีขันธ์ ๕ เขาสบาย

เขาก็ชี้หน้าคนนั้นคนนี้เขาออกชื่อ เขารู้จักชื่อหมด บางคนเขาก็เรียกชื่อว่า...เขาบอกดีใจ คนนี่มันเป็นพี่ คนนี่มันเป็นน้อง

คนนั้นมันเป็นเพื่อน คนนี้เคยไล่เตะกันมา คนนี้เขกหัวกันมา คนนี้เคยด่ากันมา เขาสนุกสนาน รู้สึกว่าเขาสนุกสนานกันมาก

ตอนกลางคืนคืนแรกที่ถึงสถานีวิทยุ (ของทหารอากาศเชียงราย) ความจริงเรื่องนี้นะเราจะต้องขอขอบคุณ แล้วถือว่าเป็นหนี้บุญคุณท่าน นาวาอากาศโทภาสกร, คุณสมศักดิ์ แล้วก็เจ้าหน้าที่ทั้งหมด

ตลอดถึงแม่ครัวที่ทำอาหาร จงทราบว่าเขาจัดอาหารให้เราคราวนี้เขาขาดทุน เขาไม่ได้มีกำไรอะไรเลย นี่เขาคิดเวลาละเท่าไรนี่

เราคิดดูให้ดี เราไม่ต้องไปล้างถ้วยล้างชาม ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งหมด แล้วก็ไม่ได้กินแต่พวกเรา รวมทั้ง
พิษณุโลกและศรีสัชนาลัยด้วย

แล้วเงินที่พวกเราช่วย เขาไปจ่ายค่าอาหารประมาณ ๗๐๐ บาท เจ้าของก็เลยเติมให้เป็น ๑๐๐๐ บาท แล้วมาคืนให้หลวงพ่อ นี่งานอย่างนี้เราหาไม่ได้นะ คนอย่างนี้เราหายาก

คืนนั้นหัวหน้ายามเขาออกมาคุยกับลูกๆ เลิกแล้วเขาก็เลยไปคุยกับหลวงพ่อ ประมาณตี ๔ เศษเขาจึงกลับไป แล้วหลวงพ่อก็หลับ หลับก็เหมือนคน

ถ้าพูดกันตามชาวบ้านธรรมดาก็เหมือนไม่ได้หลับ แต่ว่าถ้าเราหลับกันด้วยกำลังณาน และวิปัสสนาญาณ เราหลับกันเล็กน้อยก็มีการพอ.."


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 28/5/19 at 05:22 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๑๐

ตามเส้นทางเสด็จของพระพุทธเจ้า
ตอน พระเจ้าหลวงสวนดอก
วัดสวนดอก ต.บ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย


...พระองค์ไชยนาราย พระราชโอรสของพระเจ้ามังรายนราช หลังจากสร้างเมืองใหม่แล้ว พระองค์ก็ได้สร้างวิหาร ตรงที่พระพุทธเจ้าเคยมานั่งสถิตฉันภัตตาหารที่ "นายช่างของดอกไม้" ให้ทานนั้น

แล้วสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลงรักปิดทอง จึงมีชื่อว่า “บุปผารามวิหารสวนดอก” ตามคำพระพทธเจ้าทำนายไว้นั้น


ประวัติวัดสวนดอก


...ในเรื่องการเสด็จมา ณ สถานที่นี้ มีใจความตามที่เล่าไปแล้วว่า ในพรรษาที่ ๑๖ หลังจากพระพุทธองค์เสด็จมาจากดอยจัน (พระธาตุดอยจัน) อันเป็นสถานที่พักบรรทมแล้ว

จึงเสด็จเลียบริมฝั่งแม่น้ำโขงล่องไปบิณฑบาตที่ "บ้านสบกก" ขณะนั้นมีช่างของดอกไม้ผู้หนึ่งได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดความเลื่อมใสใคร่จะถวายทาน จึงได้ชักชวนภรรยาและลูกพร้อมทั้งเพื่อนบ้านทั้งหลาย ร่วมกันนำอาหารมาถวายใส่บาตร

องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลาย จึงได้เสด็จไปนั่งฉันภัตตาหาร นอกหมู่บ้านช่างของดอกไม้นั้น ช่างของดอกไม้จึงไปตักน้ำจากแม่น้ำโขงมาถวาย แล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุโมทนา พร้อมกับตรัสทำนายว่า

เมื่อพระตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑๕๐ ปี อุบาสกคือว่าช่างของดอกไม้นี้ จักได้เกิดเป็นพระราชาชื่อว่า “ไชยนาราย” จักได้มาสร้างพระรูปของพระตถาคตไว้ในที่นี้ ตรงที่พระตถาคตนั่งฉันข้าวอยู่ที่นี้

แล้วก็สร้างมหาวิหารเป็นทานได้ชื่อว่า “บุปผาวิหาร” แล้วจักเรียกชื่อว่า “พระเจ้าหลวงสวนดอก” แม่น้ำนี้ภายหน้าจะมีชื่อว่า “แม่น้ำของ” ตามเหตุของอุบาสกผู้ชื่อว่า “ของดอกไม้” นี้


ตำนานเมืองโยนก ตามคัมภีร์ใบลาน อักษรล้านนา

"...ศักราชได้ ๑๕๐ ตัว ปีเบิกสี เดือน ๗ ออก ๘ ค่ำ วันอาทิตย์ พระไชยะนารายตนเป็นลูกพระยามังรายนะราช กษัตริย์เมืองโยนกนคร ออกไปตั้งเมืองภูกวาว ดอนมูน หื้อเป็นเมืองแล้วเข้าอยู่ที่นั้นแลก็ลวดชื่อว่า เวียงไชยะนารายณ์

เมืองมูนว่าอั้นแลลูน (ภายหลัง) นั้นท่านก็สร้างบุปผารามวิหาร พระพุทธเจ้ามาสถิตนั่งอยู่ฉันข้าวบิณฑบาต ที่ช่างของดอกไม้หื้อเป็นทานนั้นเป็นมหาวิหารแล้ว ก็สร้างพระพุทธรูปเจ้าองค์ใหญ่แล้ว ก็ใส่รักหางติดคำ (ปิดทอง)

บัวระมวลแล้ว ก็ฉลองกระทำบุญหื้อทานเป็นมหาทานอันใหญ่ในเดือน ๕ เป็งวันพุธ ก็แล้วบัวระมวล ตามดั่งคำพระพุทธเจ้าทำนายแล ที่พระพุทธรูปเจ้าหลวงอยู่นั้นก็ได้ชื่อว่า บุปผารามวิหารสวนดอก แต่นั้นมาแล.."


หมายเหตุ - เวียงไชยนารายณ์ เมืองมูน (สันนิฐานว่าควรอยู่บริเวณ ปงเวียงไชย บ้านปง ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย)

ต้องสืบค้นหาอยู่นาน

...ในเวลาต่อมา ผู้เขียนก็ได้พยายามสืบหาจนพบ แล้วก็ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ โดยการสร้างองค์พระและวิหารขึ้นใหม่ แล้วได้มีการเดินทางไปร่วมทำบุญกันหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ต่อมาวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๒ หลังจากทำพิธีบวงสรวงที่ "พระธาตุจอมกิตติ" กันแล้ว จึงได้เดินทางมาร่วมทำบุญสร้าง "พระเจ้าหลวงสวนดอก" ซึ่งขณะนี้สร้างศาลาครอบองค์พระเจ้าหลวงสวนดอกเรียบร้อย

ผู้เขียนได้บรรยายรายละเอียดความเป็นมา โดยมี อ.นคร โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม เป็นผู้ประสานงานกับทางวัดสวนดอก


เวลา ๑๓.๓๐ น. เจ้าอาวาสวัดท่าซุงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สวดอิติปิโส และสวดคาถาเงินล้าน ๓ จบ นำโดย หลวงพี่โอ มีพระไปร่วมงานประมาณ ๑๕ รูป


หลวงพ่อพระครูปลัดอนันต์ และคณะของพระอาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ชักชวนญาติโยมร่วมทำบุญที่พระเจ้าหลวงสวนดอกทั้งหมด ๑๕๘,๙๗๒.๒๕ บาท ไม่น่าเชื่อว่าจะได้เงินมากขนาดนี้

ลูกหลานหลวงพ่อใจบุญกันจริงๆ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง ปัจจุบันนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีผู้คนไปกราบไหว้กันอยู่เสมอ


วิหารพระเจ้าหลวงสวนดอก หน้าตัก ๑๒ ศอก ได้สร้างเสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว สิ้นงบประมาณ ๒ ล้านบาท เวลา ๑๔.๓๐ น. จึงเดินทางกลับที่พัก..สวัสดี


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/6/19 at 06:51 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๑๑

งานพิธีบวงสรวง ณ วัดพระธาตุดอยตุง
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๒

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เรียบเรียง


...ขอเล่าเรื่องพิธีบวงสรวง เมื่อปี ๒๕๕๒ เวลา ๐๗.๓๐ น. ท่านพระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโธ (สมัยนั้น) เดินทางออกจากที่พักเดินทางไปพระธาตุดอยตุง โดยมีลูกศิษย์ลูกหลานหลวงพ่อเริ่มเดินทางมาถึงบ้างแล้ว

ปีนี้อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่งแจ่มใส พระครูสมุห์พิชิต (หลวงพี่โอ) หลวงพี่ชัยวัฒน์ , ดร.ปริญญา ก็เดินทางมาถึงเหมือนกัน

เนื่องจากการเดินทางขึ้นมาบนพระธาตุดอยตุงนั้นลำบาก เพราะเส้นทางแคบ ที่จอดรถข้างบนพระธาตุก็มีน้อย คณะพระสงฆ์ที่มาเตรียมงานล่วงหน้า ร่วมกับทหารเรือหน่วย นปข.

เพื่อช่วยกันจัดรถในการนำคนขึ้นพระธาตุ ก็ได้รับความสะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่คณะอื่นที่มาเที่ยวเฉยๆ ไม่ค่อยเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ ดื้อนำรถขึ้นไป ก็ไปติดกลางทาง ทำให้เสียเวลาอีก

ถ้าคนไม่เคยมาและได้มาปีนี้ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นพระธาตุดอยตุงแบบเก่าคือทรงปราสาทอีกแล้ว เพราะรื้อถอนไปหมดแล้ว

เมื่อปี ๒๕๔๙ เปลี่ยนเป็นแบบทรงเจดีย์สมัยที่ "ท่านครูบาศรีวิชัย" มาบูรณะไว้ เมื่อปี ๒๔๔๖ เพราะดูเป็นแบบศิลปะทางล้านนาหน่อย

พระธาตุดอยตุงที่เห็นวันนี้ทำเป็นรูปทรงเจดียแล้วทั้งสององค์ ปิดทองจังโกเหลืองอร่ามทั้งสององค์ โดยคณะศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

อันมีพระครูปลัดอนันต์ เป็นประธาน ทางกรมศิลป์ให้ทำได้แค่นี้ การบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงและสถานที่โดยรอบองค์พระธาตุ เป็นหน้าที่ของกรมศิลป์เป็นผู้ทำ

ค่าใช้จ่ายในการปิดทองจังโกรอบองค์พระเจดีย์ทั้งสององค์ เป็นเงิน ๔ ล้าน ๒ แสนบาท ในการทำฉัตรปิดทองทั้งสองฉัตร ประมาณ ๕ แสนบาท

ฉะนั้นการที่พวกเราร่วมกันเป็นเจ้าภาพบูรณะพระธาตุดอยตุงนั้น พระครูปลัดอนันต์ก็ได้ทำตามประสงค์แล้ว ได้บุญตั้งแต่เริ่มตั้งใจทำแล้ว

ในปีนี้ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุน้อย มาร่วมพิธีด้วย พระครูปลัดอนันต์ได้ขอให้ท่านชี้แจง เรื่องที่ไม่สามารถยกฉัตรได้ในปีนี้ให้สาธุชนทราบ จะได้มีความเข้าใจในทางเดียวกัน

ท่านก็บอกว่า ทางคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายไม่ได้รับหนังสือในพิธียกฉัตรครั้งนี้ ทางคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายและชาวบ้านขอให้รอไว้ก่อน เพราะอยากจะทำพิธีใหญ่ มีการแห่แหนและการฉลองอย่างมโหฬาร ปีนี้เตรียมการไม่ทันก็ขอเป็นปีหน้า

พระครูปลัดอนันต์ก็เพิ่งทราบเรื่องนี้ จากพระสงฆ์ที่มาเตรียมงานล่วงหน้า ก่อนเดินทางมาเพียง ๑ วัน ก็ไม่ว่าอะไร

แต่ก็เสียความรู้สึกของพวกเราหลายคนที่ตั้งใจมาทำพิธียกฉัตรกันจริง ๆ ส่วน คุณนราธิป เย็นทรวง เคยจัดรถมา ๒ คัน ปีนี้เพิ่มเป็น ๕ คัน คุณแดง (เพ็ญศรี) ๒ คัน และคุณวิชัย การไฟฟ้าอีก ๒ คัน

ทำพิธีบวงสรวง
...เวลา ๐๙.๑๐ น. พระครูปลัดอนันต์ ทำพิธีบวงสรวงเสร็จแล้ว นำบูชาพระรัตนตรัย หลวงพี่ชัยวัฒน์นำขอขมาพระรัตนตรัยแบบทางเหนือ

จบแล้วพระครูปลัดอนันต์นำสวดอิติปิโส และคาถาเงินล้าน ๑ จบ ปีนี้พระครูปลัดอนันต์ไม่ให้เอาน้ำอบน้ำหอมไปประพรมและโปรยดอกไม้ที่องค์พระธาตุ เพราะไม่อยากให้ทองที่องค์พระธาตุเศร้าหมองไป

หลวงพี่ชัยวัฒน์ขอให้พระครูปลัดอนันต์กล่าวโมทนาแก่ผู้ที่มาร่วมพิธีในวันนี้ มีตอนหนึ่งพระครูปลัดอนันต์กล่าวว่า

เงินที่พวกเราบริจาคกันมา เพื่อบูรณะพระธาตุดอยตุงและพระธาตุจอมกิตติ ปัจจุบันนี้มีเงินเหลืออยู่ ๑๓ ล้านบาทเศษ ก็จะได้เป็นทุนในการบูรณะต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

เวลา ๑๐.๐๐ น. ย้ายที่นั่งไปฝั่งตรงข้ามเพื่อทำพิธีที่พระเจดีย์องค์เล็ก

พิธียกฉัตรพระเจดีย์จำลอง (องค์เล็ก) แทน
...ถึงแม้ปีนี้จะไม่ได้ร่วมกันทำพิธียกฉัตรประดิษฐานบนยอดพระธาตุดอยตุงทั้งสององค์ แต่ท่านพระครูปลัดอนันต์ก็เตรียมแผนการให้มีพิธียกฉัตรจนได้

วันนี้เราก็มีพิธียกฉัตรที่องค์พระธาตุดอยตุงจำลอง ขนาดเล็ก ๒ องค์ พระครูปลัดอนันต์ทำไว้ เพื่อให้คนไม่ไปปิดทองที่องค์พระธาตุองค์ใหญ่

ใครจะปิดทองก็ปิดที่องค์พระธาตุดอยตุงจำลององค์เล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าองค์พระธาตุดอยตุงองค์ใหญ่ ห่างจากองค์พระธาตุองค์ใหญ่ ประมาณ ๑๐ เมตร

ก่อนจะทำพิธียกฉัตร ต้องเทปูนลงในองค์พระธาตุจำลองก่อน แล้วยึดน็อตติดกับแท่นใหญ่อย่างแน่นหนาแข็งแรง เสร็จแล้วจึงเริ่มทำพิธียกฉัตร

ระหว่างทำพิธียกฉัตรท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นครึ้มกระทันหัน อากาศเย็นเยือกกว่าเดิมอีก แปลกจริง ๆ เป็นที่เข้าใจกันว่า ท่านผู้มีพระคุณข้างบนมาโมทนากันเยอะมากๆ

พระครูปลัดอนันต์, พระครูสมุห์พิชิต, พระชัยวัฒน์, พระอาจินต์ ประพรมน้ำอบและโปรยดอกไม้ พระสงฆ์ชยันโต ต่อจากนั้นญาติโยมก็สรงน้ำพระธาตุกัน

พระธาตุดอยตุงจำลองทั้งสององค์นี้ทำได้สวยงามจริงๆ ลักษณะองค์พระธาตุเหมือนองค์จริงมาก ปิดทองเหมือนกัน ฉัตรก็เหมือนกัน

ทั้งนี้เป็นผลงานของ คุณชุมนุมพร ชวนานนท์ และ นายช่างวิเชียร แก้วแดง ส่วนปะรำพิธีที่เห็นอยู่นั้น เป็นการออกแบบโดยโรงงานไทยโอเชียน "ร่มลีโอ" โดยสามีของ คุณรัตนา ชินบุตรานนท์ นั่นเอง

เมื่อเรียบร้อยแล้ว ดร. ปริญญา นำอุทิศส่วนกุศล จบแล้วพระสงฆ์ให้พร เสร็จพิธีเวลา ๑๐.๔๕ น.

คุณต๋อยและคณะ นิมนต์พระสงฆ์ทุกรูปฉันภัตตาหารเพลที่วัดน้อย และเลี้ยงอาหารแก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีด้วย เข้าแถวกันยาว

ปีนี้ พล.ร. ต. ณัฏฐพงศ์ ผุดเหล็ก และคุณเจี๊ยบ นำกาแฟและขนมมาเลี้ยงด้วย และคณะพระประกอบบุญ (อ๊อด) วัดมหาวัน เลี้ยงซาลาเปา

จึงขอโมทนากับ คณะคุณต๋อย, พล.ร. ต. ณัฏฐพงศ์ ผุดเหล็ก และคุณเจี๊ยบ, คณะพระอ๊อด มา ณ โอกาสนี้

และขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา ที่อนุเคราะห์ให้คุณต๋อยและคณะพักที่วัด และเตรียมอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงคนที่วัด

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุน้อย ที่เมตตาให้พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ฆราวาส ที่มาเตรียมงานได้พักอาศัยอย่างสะดวกสบาย เมื่อฉันเพลเสร็จแล้ว พระครูปลัดอนันต์เดินทางกลับวัดท่าซุง

เป็นอันว่า การเดินทางมาร่วมกันทำพิธีบวงสรวง ที่พระธาตุดอยตุงและพระธาตุจอมกิตติ ปีละ ๑ ครั้ง ถึงแม้ว่าจะเดินทางไกลไปหน่อย

แต่บรรพบุรุษบุพการีและเพื่อนทหารหาญแห่งโยนกนคร ท่านคงดีใจและปลื้มใจกันมาก ที่ลูกหลานและพี่น้องของท่าน ยังมีความระลึกนึกถึงท่านอยู่

สำหรับบางท่านอาจจะมีความลำบากอยู่ เมื่อได้รับผลบุญที่พวกเราอุทิศให้อย่างใกล้ชิด ท่านเหล่านั้นก็คงจะมีความสุข เมื่อบุญเต็มก็จะได้ไปเสวยสุข ณ สุคติภพ

ส่วนพวกเราที่ได้มีโอกาสเดินทางไปถือว่ามีบุญ จึงสามารถเดินทางไปถึง ไม่มีอุปสรรคมากมาย และได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระเกศาธาตุของพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด

มีอานิสงส์แห่งพุทธานุสสติเป็นอันมาก กลับไปก็จะได้มีโชค มีลาภ มีชีวิตอันสดใส มีความสุขความเจริญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ และแทบจะตรงกับ "วันเด็ก" ทุกปีเลย

ขอพระบารมีแห่งพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่พระธาตุดอยตุงและพระธาตุจอมกิตติ จงดลบันดาลให้ทุกท่านมีความสุข มีความเจริญ สมความปรารถนาในชีวิตและในการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงพระนิพพานด้วยเทอญ..


** สำหรับ เรื่องนี้ปี ๒๕๕๒ ก็ผ่านไปด้วยดี ซึ่งมีรายละเอียดทั้งข้อมูลและภาพอยู่ที่นี่ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=937

** จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จึงได้มีงานพิธีฉลองฉัตร ณ พระธาตุดอยตุง (องค์ใหม่)

หลังจากสมเด็จพระเทพฯ (สมัยนั้น) ทรงทำพิธียกฉัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะขอนำไปเล่าในตอนต่อไป อันเป็นตอนสุดท้ายของพระธาตุดอยตุง

...แต่ก่อนที่จะจบรายการ ผู้เขียนเพิ่งนึกขึ้นได้ว่า สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ช่วงบั้นปลายของท่านนะ ปกติท่านจะนำคณะศิษย์เดินทางไปกราบไหว้ทุกปี

ในปีนั้นหลังจากหลวงพ่อทำพิธีบวงสรวงแล้ว พระท่านได้มาพยากรณ์ว่า คนที่มาทั้งหมดนี่ไปนิพพานได้ทุกคน เว้นไว้แต่มีอยู่คนหนึ่งที่ไปไม่ได้..เพราะยังเมาอยู่

ในตอนนั้น พวกเราทุกคนที่กลับมาแล้วก็ลืมกันไปแล้ว เพราะไม่รู้ว่าเป็นใคร คนมากเหลือเกิน หลังจากนั้นปรากฏว่าไปโผล่ที่บ้านสายลม แต่ไม่เห็นตัวคนนั้นนะ เพียงแต่เขียนจดหมายฝาก "อาจารย์ยกทรง" มากราบเรียนหลวงพ่อว่า ดังนี้...


ยังไปนิพพานไม่ได้..เพราะชอบกินเหล้า
...ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ตอนที่ขึ้นไปนมัสการ พระธาตุดอยตุง หลวงพ่อบวงสรวงเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อได้พูดว่า

เออ...มีอยู่คนหนึ่งนะ ไปนิพพานไม่ได้ เพราะว่าชอบกินเหล้าอยู่

ผมขอบอกได้เลยคนนั้นไม่ใช่อื่นไกล ที่แท้คือผมเอง ปกติผมดื่มเป็นประจำเลยครับ ทำไมหลวงพ่อรู้ได้ทั้งๆ ที่ไม่เคยบอกเลย

...ที่จะเรียนถามก็คืออย่างนี้ ผมขอบอกหลวงพ่อว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะขอเลิกดื่ม และจะขอตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อไปพระนิพพานชาตินี้ หลวงพ่อจะอโหสิกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหน่อยเถิดขอรับ

หลวงพ่อ :ไม่ต้องอโหสิกรรม มีผลแน่นอน ไปได้...ถ้าเขาเลิกได้นะ

ผู้ถาม : เลิกปุ๊บ... ปฏิบัติปั๊บ นี่ไปได้

หลวงพ่อ : ไปได้ๆ ๆ ยังขัด ๆ อยู่แค่นั้นแหละ ขัดอยู่แค่นั้นเอง...วันนั้นน่ะ

ผู้ถาม : นี่ไม่ต้องไปไกล กลิ่นก็ไม่มี แต่ความจริงเขาบอกนะครับ ก่อนที่จะไปดอยตุง ดื่มเบียร์เข้าไปหน่อยหนึ่ง พอหอมปากแก้หนาว เขาสารภาพแล้วนะ นึกว่าจะดื่มต่อไปนี่เลิกแล้วนะ โมทนาด้วย


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/6/19 at 04:56 [ QUOTE ]


ตอนที่ ๑๒ (ตอนจบ)

งานพิธีฉลองสมโภช พระธาตุดอยตุง (องค์ใหม่)
เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เรียบเรียง


...นับเป็นเวลานานหลายปีที่รอคอย นับเป็นเวลานาน..กว่าจะรวบรวมข้อมูลมาให้อ่านกันได้ เพื่อเป็นเกียรติของวัดท่าซุง ในการที่จะศึกษาความเป็นมาของศิษย์รุ่นหลังในอนาคต

ทั้งนี้ เมื่อตอนที่แล้วได้เล่าเรื่อง "งานพิธีบวงสรวง" ปี ๒๕๕๗ เป็นการเล่าเรื่องหลังจากการเปลี่ยนแบบ "องค์พระธาตุดอยตุง" ใหม่เสร็จแล้ว ซึ่งมีอุปสรรคต่างๆ มากมาย ที่ผู้เขียนอยากจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของวัดท่าซุง

ในตอนนี้ จึงขอย้อนถึงเรื่องราวเมื่อปี ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นตอนที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่สามารถจะทำพิธียกฉัตรได้ ต้องรอให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (สมัยนั้น) ทำพิธียกฉัตรเมื่อปี ๒๕๕๖ ก่อน

ด้วยเหตุนี้ ท่านพระครูปลัดอนันต์ (เจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง) ในขณะนั้น จึงได้ดำริทำพระธาตุดอยตุงองค์เล็ก (จำลอง) เพื่อทำพิธียกฉัตรแทนองค์ใหญ่ไปก่อน

สมเด็จพระเทพฯ เสด็จยกฉัตรแล้ว
...ต่อมาปี ๒๕๕๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธียกฉัตรเรียบร้อยแล้ว

ณ บัดนี้ พวกเราเหล่าคณะศิษยานุศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จะได้สมความปรารถนาเสียที

ในเมื่อรอเวลาตามกำหนดการที่จะถึงวันนี้ ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่จะได้กลับมาเยือนถิ่นเกิดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหลายคนเชื่อว่า เคยมีอดีตกาลกัน ณ สถานที่นี้

พวกเราเหล่าลูกหลานหลวงพ่อ "พระราชพรหมยาน" มั่นใจว่าน่าจะเคยเกิดร่วมสมัย จะเป็นสมัย "พระเจ้าพรหมมหาราช" ผู้สร้างพระธาตุจอมกิตติก็ดี หรือสมัย "พระเจ้ามังรายนราช" ก็ตาม ที่เป็นผู้สร้างพระธาตุดอยตุงแห่งนี้

บรรยากาศ ณ พระธาตุดอยตุง



ในตอนเช้าวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีการนัดพบกันว่าจะทำพิธีบวงสรวง เวลา ๙.๓๐ น. มีหลายคณะที่ได้ขึ้นมาค้างคืน ณ วัดพระธาตุน้อย (ใกล้พระธาตุดอยตุง)

โดยเฉพาะคณะหลวงพ่อโอ ซึ่งมีคณะหลวงพี่พระปลัดสมนึก พร้อมคณะพระสงฆ์วัดท่าซุงและฆราวาสได้เดินทางมาล่วงหน้าก่อนแล้ว

เพื่อจัดเตรียมสถานที่และจัดทำบายศรี นับตั้งแต่ที่พระธาตุจอมกิตติ ทั้งนี้พระสงฆ์ที่มาจากวัดท่าซุง เป็นคณะที่รับช่วงต่อจากคณะของหลวงพี่ชัยวัฒน์

ซึ่งสมัยก่อนท่านก็ต้องมาเตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อนเช่นนี้มานานหลายปี ส่วนบายศรีสมัยก่อนจัดทำโดยคณะคุณป้าน้อย จังหวัดเชียงราย

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคณะของหลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯ เดินทางมาถึง จึงได้รับความสะดวกทุกประการ ทั้งสถานที่นั่งและสถานที่จอดรถ

โดยเฉพาะโต๊ะบายศรีมีการจัดเตรียมไว้พร้อมแล้ว ซึ่งเข้ากับบรรยากาศในตอนเช้า ที่มีหมอกสลัวๆ เหมือนกับตอนหน้าหนาวเดือนมกราคม ที่พวกเราเคยเดินทางกันมาทุกปี

นับเป็นเรื่องเหลือเชื่อจริงๆ ที่บรรยากาศเช้านี้เหมือนกับตอนนั้น ทั้งๆ ที่ตอนนี้อากาศเริ่มร้อนแล้ว เมื่อวันก่อนหน้านี้กลางวันอากาศจะร้อนจัดมาก ทุกคนรู้สึกดีใจต่างก็ยิ้มแย้มทักทายกัน

บริเวณลานพระธาตุดอยตุงดูกว้าง มีการรื้อศาลาออกไป โดยเฉพาะหลุมที่ฐานองค์พระธาตุด้านข้าง ได้มีการปรับพื้นที่เสมอกันแล้ว ทำให้สามารถเดินเวียนเทียนได้โดยสะดวก

ขณะนี้มีพวกเราเริ่มทะยอยเดินทางมาถึง บางคนก็แวะทานข้าวต้มเช้าที่วัดพระธาตุน้อยด้านล่าง บางคนเสร็จแล้วก็จอดรถไว้แล้วเดินขึ้นมา มีหลายคนที่แต่งกายในชุดล้านนาสวยงาม

บางคนก็แต่งธรรมดา เพราะไม่ได้นัดหมายกันเป็นทางการ แต่ความจริงก็ได้พยายามประกาศในทางเว็บไซด์แห่งนี้มาก่อนแล้ว

ก่อนที่จะเล่าเรื่องต่อไป อยากจะย้อนเหตุการณ์ตอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกฉัตร เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

โดยก่อนหน้านั้น มีฝนตกมีลูกเห็บตกลงมาทางภาคเหนือตอนบน จนเป็นข่าวโดยทั่วไปแล้วนั้น ผู้เล่าได้นำคลิปวีดีโอมาให้ย้อนดูกันด้วยนี้แล้ว



...วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.30 น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระธาตุดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง

ในการนี้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระประธานประจำอุโบสถ จากนั้น ทรงประกอบพิธียกฉัตรเจดีย์พระธาตุดอยตุง ซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยได้บูรณะเมื่อปี 2470 ถึง 2473

ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ภายใต้โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดพระธาตุดอยตุง เมื่อปี 2549 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ในการนี้ ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมที่กำพูฉัตร ซึ่งพุทธศาสนิกชนและผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันจัดทำขึ้นเป็นศิลปะล้านนา เพื่อให้มีความสง่างามสมกับพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย

พระธาตุดอยตุง สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนคร ซึ่งคืออำเภอแม่จันในปัจจุบัน ซึ่งพระมหากัสสปะเถระ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือ กระดูกไหปลาร้า มาถวาย

จึงได้สร้างพระสถูปเป็นที่ประดิษฐานและให้ทำตุงยาว 3000 วา ปักที่ยอดเขา เมื่อตุงปลิวไปถึงที่ใด ก็ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูป โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายพระธาตุดอยสุเทพ

ต่อมาพระเจ้ามังรายนราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาวชิรโพธิเถระ มาถวายขึ้นอีกองค์หนึ่งตั้งอยู่เคียงกัน จึงทำให้เห็นว่ามีเจดีย์ 2 องค์ ณ พระธาตุดอยตุงนี้ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป



ขอเล่าเรื่องต่อไปว่า ก่อนที่จะถึงหมายกำหนดงานพิธียกฉัตร ทางวัดพระธาตุดอยตุง โดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์ววัฒน์ เจ้าคณะอำเภอแม่สาย และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง

ได้ทำการปิดทองคำเปลวใหม่ทั้ง ๒ องค์ พร้อมกับเตรียมจัดสถานที่ให้สวยงาม ซึ่งมีหลวงพี่พระปลัดสมนึก และ หลวงพี่พระสมุห์มงคลเวทย์ จากวัดท่าซุงเป็นผู้ประสานงาน

โดยมีญาติโยมฝากร่วมทำบุญปิดทองไปด้วยจำนวนเงินนับหมื่นบาท ส่วนหลวงพี่ชัยวัฒน์ก็ได้ร่วมทำบุญครั้งนี้ จำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท




หลังจากประดับดอกไม้อย่างสวยงามแล้ว ปรากฏว่าก่อนงานเพียงวันเดียว ลูกเห็บได้ตกลงมาอย่างหนัก (ตามที่ได้เห็นภาพด้านล่างนี้)




พระบรมฉายาลํกษณ์สมเด็จพระเทพฯ ได้จัดทำไว้อย่างสวยงามและสมพระเกียรติ



ทางสำนักงานเลขาธิการในสมเด็จพระเทพฯ ก็ได้เดินทางมาเตรียมจัดสถานที่รับรอง




องค์พระธาตุปิดทองใหม่เสร็จแล้วทั้งสององค์ (จึงห้ามปิดทองและสรงน้ำ)


คณะกรรมการมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ พร้อมด้วยคณะศิษย์ส่วนหนึ่งได้เดินทางไปร่วมพิธียกฉัตรในครั้งนี้ด้วย

ต่อไปก็ขอเล่าเรื่องวันงานที่ ๑๗ ก.พ. ว่าขณะนี้พระสงฆ์และญาติโยมทุกคนก็เริ่มทยอยขึ้นมาบนองค์พระธาตุ เพื่อได้มองดูความสำเร็จและความสวยงามให้ชื่นใจ


(หลุมคันตุงใหญ่มีมาตั้งแต่สมัยพระมหากัสสป คือมีมาตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาลแล้ว
ไม่ใช่มีเมื่อ พ.ศ.๑๔๕๔ อย่างที่เขียนป้ายไว้ ไม่ทราบว่าใครมาเขียนป้ายให้คนสับสน)

...ก่อนที่จะเริ่มพิธีบวงสรวง หลวงพี่ชัยวัฒน์ได้ชักชวนญาติโยมช่วยกันถวายผ้าตุงที่หลุมใหญ่ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยที่ "พระมหากัสสป" ท่านมาอธิษฐานปักผ้าธงผืนใหญ่ไว้เหนือยอดเขาแห่งนี้ ชาวบ้านเห็นผ้าธงบนยอดดอย จึงเรียกว่า "ดอยตุง" มาตั้งแต่บัดนั้น

เริ่มพิธีบวงสรวงสักการบูชา


เมื่อได้เวลาตามกำหนดการแล้ว หลวงพ่อท่านเจ้าคุณภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาสวัดท่าซุง จึงได้เริ่มทำพิธีบวงสรวง แล้วทำพิธีกล่าวคำ "วันทาใหญ่"

เพื่อขอขอมากรรม และสวดอิติปิโส คาถาเงินล้าน นั่งสมาธิประมาณ ๕ นาที แล้วจึงได้เดินไปสรงน้ำและโปรยดอกไม้โดยรอบ




ขณะนี้ทางวัดกำลังจะสร้างรั้วรอบองค์พระธาตุด้านใน เพื่อป้องกันมิให้องค์พระธาตุเสียหาย จึงได้เขียนป้ายห้ามปิดทองและสรงน้ำ พวกเราจึงต้องห่มผ้าสไบทองและสรงน้ำกันที่ขอบรั้วด้านนอก


ช่วงนี้บรรยากาศเย็นสบายจริงๆ ลมพัดผ่านในขณะทำพิธีบวงสรวง เหมือนจะรับรู้รับทราบถึงความตั้งใจในความสำเร็จของพวกเราในครั้งนี้ ที่ได้รอเวลามานาน

มีทั้งอุปสรรคนานัปการ กว่าจะได้มาถึงวันนี้ได้ พวกเราจึงมีความปลื้มปีติยินดี ท้องฟ้าก็คราคร่ำด้วยเมฆหมอก เหมือนกับประกาศการเป็นสักขีพยานในการสักการบูชาของพวกเราในครั้งนี้


ก่อนจะเสร็จพิธี หลวงพ่อโอได้เดินประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่พวกเราจนรอบองค์พระธาตุ ต้องขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในความเมตตาของท่านในครั้งนี้

และก่อนจะเลิกงานหลวงพี่ชัยวัฒน์ได้ประกาศว่า ท่านย่าเคยสั่งลูกหลานผ่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อไว้ว่า ถ้าลูกหลานจะมากราบไหว้สถานที่แห่งนี้ควรจะนุ่งผ้าถุง


ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้บอกให้พวกเราแต่งกายชุดล้านนาในปีหน้า ส่วนหลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯ ก็หยอกล้อพวกเราว่า ให้เตรียมไว้ทั้งสองวันเลยนะ

คือทั้งที่พระธาตุจอมกิตติและพระธาตุดอยตุง แล้วอย่าลืมเตรียมดอกไม้ไหวมาด้วยนะ แหม..ในเมื่อท่านพูดอย่างนี้ ภายหลังได้ยินพวกเราพูดกันมาคงจะเตรียมกันมาในงานหน้ากันแล้วละ

แล้วอย่าไปคิดมากด้วยละ ว่าเป็นการปรามาสพระรัตนตรัย นี่เรามาจัดงานกันกลางแจ้ง ไม่ได้เหมือนอย่าง "นางวิสาขา" ที่เข้าไปในวิหารก็ต้องถอดเครื่องประดับบนศีรษะเป็นธรรมดา

คนที่คอยพูดยุแหย่เช่นนี้ ไม่ได้หวังดีจริง เพราะท่านเจ้าคุณฯ ก็สนับสนุนให้แต่งกันเต็มที่ อีกทั้งโบราณกาลเขาก็แต่งกันมาแต่อดีต ไม่ใช่เพิ่งจะมาทำกัน

ถ้าเรายิ่งแต่งเครื่องประดับมากเท่าไร ก็รวยมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ใครอยากซวย..อยากจนอยู่อย่างนี้..ก็ไม่ต้องไปนะค่ะ..งานนี้


แต่ต้องไม่ลืมว่า หลวงพี่ได้สั่งไว้ว่าเราไม่ได้แต่งมาเพื่อจะอวดกัน แต่เราแต่งเพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัย ส่วนคนไหนไม่สะดวกก็แค่นุ่งผ้าถุงให้เรียบร้อยก็พอแล้วค่ะ

ขออนุโมทนาทุกท่านที่ได้ร่วมเดินทาง และที่ไม่สามารถจะเดินทางไปได้ หากการเล่าผิดพลาดพลั้งไปบ้าง ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย..สวัสดีค่ะ


(โปรดติดตามตอนต่อไป)

◄ll กลับสู่ด้านบน





[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/1/20 at 02:09 [ QUOTE ]



..ภาพนี้เพิ่งจะนำออกมาโพสต์ เพราะสมัยนั้นผู้เขียนเพิ่งบวชได้ไม่กี่วัน โชคดีที่เขียนไว้ให้จำได้ว่า "ไปร่วมงานยกฉัตร พระธาตุดอยตุง 5 พ.ค. 20"

ผู้เขียนบวชเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2520 บวชได้แค่เพียง 10 วันเท่านั้น พอดีหลวงพ่อกับหลวงปู่ชัยวงศ์ ท่านเตรียมจะไปยกฉัตรใหม่ ที่พระธาตุดอยตุง สมัยนั้นกำหนดงานตรงกับวันฉัตรมงคลพอดี

ช่วงนั้นยังไม่มีพระติดตามไปกับหลวงพ่อ พวกเราอยากไปร่วมพิธีเหลือเกิน เพราะโอกาสไม่ใช่มีบ่อยๆ จึงนัดกับพระที่เพิ่งบวชใหม่ด้วยกัน คือ หลวงตาเกษม (ที่ยืนข้างผู้เขียน)

แล้วก็พระที่บวชก่อนอีก 3 รูป องค์แรกคือ หลวงพี่สมชาย, หลวงพี่เกรียงศักดิ์ ทั้งสองรูปนี่มรณภาพไปแล้ว ส่วนอดีตพระไพโรจน์ได้ลาสึกไปแล้ว เป็นเพื่อนอยู่ที่สยามกลการด้วยกัน ภายหลังเป็นผู้จัดคิวพระให้เดินทางไปกับหลวงพ่อ

ส่วนโยมเสื้อลายนั่น จำชื่อไม่ได้แล้ว ลูกชายเคยบวชอยู่วัดท่าซุงแล้วก็สึก รับอาสาขับรถพามาที่ดอยตุง แต่ยังไม่ถึงพระธาตุ ได้ยืนถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก แล้วก็มีภาพนี้เพียงภาพเดียวเท่านั้น ที่เหลือก็ลืมเหตุการณ์ไปหมดแล้ว


พิธียกฉัตร 5 พฤษภาคม 2520
...แต่ส่วนที่ยังพอจะเล่าได้บ้าง จากบันทึกของ คุณอัญเชิญ มณีจักร (ชาโดว์) ดังนี้

"..หลวงพ่อท่านและหลวงปู่วงศ์ได้ทำพิธียกฉัตร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2520 หลวงปู่วงศ์เป็นผู้จัดหาฉัตรมาสวมยอดพระเจดีย์ ท่านได้บรรจุพระธาตุข้าวไว้ในนั้นด้วย

มีพวกเรา 10 กว่าคนเท่าที่จำได้ มีพี่ชอ คุณเนียร คุณแอ๊ยุพดี จักษุรักษ์ ข้าพเจ้า พี่เหม่..เลิศลักษณ์ ศรีสิงหสงคราม เอ๊าะ..อายุธ นาครทรรพ เด็กหนุ่ม นั่งรถตู้ไปรับหลวงปู่ที่วัดจามเทวี ลำพูน นอนที่กองพันสัตว์ต่างเชียงใหม่ 1 วัน

รุ่งขึ้นเช้าไปเชียงราย นอนที่วัดเม็งราย ถึงวัดเม็งรายเย็นแล้วฝนตกอีกด้วย จึงทำอะไรไม่ได้ รุ่งขึ้นอีกวันคือ วันที่ 4 พ.ค. 2520 จึงทานข้าวแต่เช้านำฉัตรและบายศรีเครื่องบวงสรวงขึ้นดอยตุง

โดยเปลี่ยนรถเป็นรถสองแถวเจ้าถิ่นนำขึ้นไป เพราะรู้และชำนาญทาง ทางยังขรุขระฝุ่นตลบไปหมด ทางแคบด้วย ขึ้นลงชันมากกว่านี้ เวลารถลงเขา เขาจะขับเร็วมากเพื่อจะได้มีกำลังส่งเมื่อรถขึ้นเขา

ดีว่าข้าพเจ้านั่งรถคันเดียวกับหลวงปู่วงศ์ จึงไม่กลัวเท่าไร ถึงวัดเชิงดอยตุง หลวงปู่วงศ์นั่งไหว้ตั้งนาน แล้วหาพะอง คือบันไดที่เป็นไม้ไผ่ยาวๆ ต้นเดียวแล้วเจาะรูเอาไม้เสียบเล็ก ๆ พอเหยียบขึ้นไปได้ หาและทำที่นั่นแหละ

แล้วเอาขึ้นรถไปถึงยอดดอย ใกล้ ๆ จะถึงสูงชัน คนต้องลงเดิน รถพาขึ้นไม่หมด ถึงเจดีย์แล้วหลวงปู่ก็ขึ้นบันไดเองถึงยอดเจดีย์ เป็นว่ายอดตันไม่มีรูให้เอาฉัตรเสียบได้

ผู้ชายจัดการทางเจดีย์ ผู้หญิงข้าพเจ้า พี่ชอ คุณเนียร ประกอบบายศรีทำด้วยกระดาษทอง ข้าพเจ้าทำเองที่บ้านใส่ปี๊ปไป กระทงก็กระดาษทองทั้งหมด ดอกไม้ก็ใช้ดอกไม้แห้งประดับตัวบายศรี

ส่วนกระทงเอาดอกไม้สด จัดไม่ทันเสร็จดีพวกผู้ชายบอกลงไปก่อน ฉัตรใส่ไม่ได้ ต้องไปหาช่างทำเป็นหมวกสวมเอา ถึงเชียงรายมืดแล้ว ช่างเหล็กก็แน่ทำทั้งคืน

เช้ามืดคณะล่วงหน้าไปก่อนตื่นแต่เช้ามืด ไปรับหมวกที่เขาทำฉัตรติดไว้ขึ้นดอย ตุง จัดการไม่ทันเสร็จ คณะหลวงพ่อท่านก็ไปถึง จึงช่วยกันใหญ่

หลวงปู่มหาอำพัน บุญ-หลง วัดเทพศิรินทร์ ไปพร้อมหลวงพ่อท่าน ได้เอาทองคำเปลวไปติดฉัตรและแบ่งให้ข้าพเจ้า พี่ชอได้ติดด้วย

หลวงพ่อทำพิธีบวงสรวง
...ขณะที่พวกผู้ชายเอาฉัตรปีนขึ้นไปติดบนยอดเจดีย์ อากาศเป็นใจ คือลมพัดเอาก้อนเมฆมาบังวิวข้างล่าง ไม่ให้เห็นความสูงจากยอดเจดีย์ลงไปที่เชิงเขา ไม่ต้องกลัวความสูง

สวมฉัตรและห่มผ้าเจดีย์ 2 องค์เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อท่านทำพิธีบวงสรวง แล้วนำเดินเวียนเทียนรอบเจดีย์ด้วย คณะหลวงพ่อท่านเสร็จแล้วกลับเลย คณะล่วงหน้าไปก่อนกลับทีหลัง คือนอนที่วัดเม็งรายอีก 1 คืน

รุ่งขึ้นไปส่งหลวงปู่ชัยวงศ์ที่วัดท่าน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน หลวงปู่เอาบายศรีกระดาษทองไว้บูชาที่วัดท่าน นอนที่นั่นอีก 1 คืน จึงได้กลับกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นปลื้มสุดขีด เห็นรูปเจดีย์พระธาตุดอยตุงมีฉัตรสวยงามที่ไหน ก็นึกปลื้มใจมากทุกครั้ง ว่าเราได้ร่วมทำด้วย

หลวงพ่อท่านบอกว่า การยกฉัตร "พระธาตุดอยตุง" กับ "พระธาตุจอมกิตติ" นั้น เพื่อแก้ เคล็ดหรือป้องกันไม่ให้คอมมูนิสต์ หรือต่างชาติยึดครองแผ่นดินของเราได้ จึงรอดปลอดภัยเป็นไทยจนทุกวันนี้..."


เหตุที่ต้องเปลี่ยนฉัตร
"...สมัยนั้น พระธาตุดอยตุงยังไม่เจริญ ทางขึ้นก็ยังเป็นลูกรัง จากการสร้างของหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก พร้อมด้วยชาวบ้านแถวนั้น ประมาณ 17 กม.

องค์พระธาตุจึงขาดการบูรณะ เพราะไม่มีเจ้าอาวาสอยู่ประจำ เหตุว่าบางรูปก็ลาสึกไปอยู่กับสาวชาวดอยบ้าง บางรูปก็ถูกฆ่าตายบ้าง

การบูรณะสมัยนั้นจึงง่ายไม่ต้องทำเรื่องถึงกรมศิลปากร ตอนนั้นหลวงพ่อจึงมอบหมายให้หลวงปู่ชัยวงศ์ไปหาฉัตร พวกกะเหรี่ยงก็ไปหาที่มีรูปแบบคล้ายพม่าหรือมอญ

ต่อมาทางราชการมองเห็นถึงเรื่องความมั่นคงในอนาคต เพราะเขตแดนของพระธาตุดอยตุงอยู่ใกล้เขตแดนของพม่า มีเส้นแบ่งเขตแดนอยู่บนสันเขา อาจจะมีข้อพิพาทในภายหลังได้

ถ้าเขาเอาพระธาตุดอยตุงที่มีฉัตรคล้ายพม่าเป็นข้ออ้าง เขาสามารถขยายเขตแดนเข้ามาได้ นี่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เขาเอาเป็นเหตุได้ ซึ่งเคยมีตัวอย่างทางภาคใต้มาแล้ว

ซึ่งผู้เขียนเคยเดินธุดงค์บนสันเขา จากวัดพระธาตุผาจม ที่แม่สาย สามารถเดินมาถึงดอยตุงได้ แต่ก็พลัดหลงเข้าไปในเขตพม่า จึงรู้ว่าเส้นเขตแดนอยู่ใกล้กัน

ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนฉัตรใหม่ ให้เป็นรูปแบบของไทย เรื่องนี้ก็เป็นอันยุติข้อสงสัยได้ เพราะสมัยท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ก็ได้นำคณะศิษย์เป็นเจ้าภาพ ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุทั้ง 2 องค์ พร้อมฉัตรใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จึงขอให้ตั้งจิตอนุโมทนาร่วมกัน เพราะได้ผลบุญตั้งแต่สมัยพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จนมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ เพื่อให้ได่ผลสำเร็จสมความปรารถนาเช่นกัน

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต
อัพเดท 8 พฤษภาคม 2563



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/5/20 at 06:29 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 9/1/22 at 05:55 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top