Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 31/3/17 at 14:40 [ QUOTE ]

(ภาค 1 ตอนที่ 20 สุวัณณภูมิ) หลวงพ่อสนทนาเรื่อง..คนไทยมาจากไหน ?


อ่านต่อ ภาค 2 ได้ที่นี่ >> http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2413
อ่านต่อ ภาค 3 ได้ที่นี่ >> http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2541

สารบัญ (เลือกคลิกที่รายการ)

[01]
ภาค ๑ ตอนที่ ๑ บทนำ..หลวงพ่อสนทนา
[02] ตอนที่ ๒ ตำนานสิงหนวัติ

[03] ตอนที่ ๓ ประวัติพระปัญญาสามี
[04] ตอนที่ ๔ ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง โดย พระติสสมหาเถระ
[05] ตอนที่ ๕ ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง โดย พระราชพรหมยานมหาเถระ
[06] ตอนที่ ๖ ตำนานพระธาตุพนม (อุรังคนิทาน)
[07] ตอนที่ ๗ พระโสณะ พระอุตตระไปสุวรรณภูมิ
[08] ตอนที่ ๘ ประวัติพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต)
[09] ตอนที่ ๙ พระเจ้าปเสนทิโกศล
[10] ตอนที่ ๑๐ กรุงกบิสพัสดุ์

[11] ตอนที่ ๑๑ พระปุณณะแกะสลักพระในถ้ำเขางู
[12] ตอนที่ ๑๒ เมืองทองและสุวัณณภูมิ
[13] ตอนที่ ๑๓ เมืองทองและสุวัณณภูมิ
[14] ตอนที่ ๑๔ สังคายนาครั้งที่ ๑ ณ สุวัณณภูมิ
[15] ตอนที่ ๑๕ ประวัติพระภิกษุชาวไทย สมัยสุวัณณภูมิ
[16] ตอนที่ ๑๖ ประวัติผู้เป็นต้นกำเนิด "บัณฑิต (ทิด)"
[17] ตอนที่ ๑๗ พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิไปลังกาทวีป
[18] ตอนที่ ๑๘ พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิกลับไปพาราณสี
[19] ตอนที่ ๑๙ พระภิกษุชาวไทยเดินทางกลับสุวัณณภูมิ
[20] ตอนที่ ๒๐ พุทธศาสนาตั้งมั่นใน "สุวัณณภูมิ" แล้ว

ภาค ๑ ตอนที่ ๑ บทนำ


...ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า บทความเหล่านี้เป็นความเชื่อเฉพาะตน หรือว่าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากเป็นความรู้ของครูบาอาจารย์ เรียกว่า "ความรู้จากศาลาวัด" จึงไม่ได้เขียนให้เชื่อทุกคน เพราะตามประวัติศาสตร์เขาก็มีอยู่แล้ว ขอให้ไปอ่านตามที่เขาบันทึกไว้ก็แล้วกัน

ฉะนั้น บทความเหล่านี้จึงไม่น่าที่จะนำออกไปอ้างอิงเป็นหลักวิชาการได้ เพราะว่าอาจจะไปค้านหรือเกิดความเห็นขัดแย้ง ก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกไปได้ ข้อมูลเหล่านี้จึงขอให้อ่านกันเล่นๆ ก็แล้วกัน ไม่ถือว่าเป็นเรื่องจริงจังจนเกินไปนั่นเอง ถือว่าเป็นความรู้ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์เล่าไว้ โดยเฉพาะทางภาคอิสานพระสาย "หลวงปู่มั่น" ก็ยืนยันตรงกัน

ซึ่งจะนำบทความเหล่านี้มาลงให้อ่านกันเป็นตอนๆ หวังว่าท่านที่ชอบเรื่องแบบนี้ คงจะติดตามอ่านกันต่อไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ "สมัยพุทธกาล" จนถึง "สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช" หลังจากทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕ แล้ว พระสมณทูต ๙ สาย ได้เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ แล้วก็มีพระสมณทูตสาย "พระโสณะ พระอุตตระ" เดินทางมาสู่ สุวรรณภูมิ

ซึ่งมีหลักฐานจารจารึกเอาไว้ เพื่อให้คนไทยจะได้รู้ความเป็นจริงว่า พวกเราได้เป็นหนี้บุญคุณ "พระโสณะ พระอุตตระ" เป็นอย่างยิ่ง โดยหารู้ไม่ว่าชาวพุทธในประเทศไทยได้สืบสายสัมพันธ์กันจนเป็น "โสณุตตรวงศ์" คือเป็นวงศ์ของพระโสณะ พระอุตตระมาแต่โบราณนานแล้ว

แต่ยังมีเรื่องที่โบร่ำโบราณยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้เขียนได้พบการบันทึกด้วยตัวของท่านเอง คือเล่าเรื่องประวัติ "พระธาตุศรีจอมทอง" อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่า จะมีหลักฐานชิ้นนี้หลงเหลืออยู่ในประเทศไทย ซึ่งใครๆ ก็คิดว่าห่างไกลกับต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา นั่นก็คือประเทศอินเดีย โดยย้อนเรื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

แต่ทว่าประวัติ "พระธาตุศรีจอมทอง" ที่ได้นำออกมาเผยแพร่ หากค้นหาจาก "กูเกิล" จะพบประวัติที่ไม่ละเอียดนัก โดยเฉพาะจาก th.wikipedia.org คลิกอ่านที่นี่ หรือจากเว็บไซด์ของทางวัดเอง คลิกอ่านที่นี่

ถ้าเปิดดูแล้วจะเห็นได้ว่าอยู่ที่ความเชื่อจริงๆ เพราะไม่มีหลักฐานสมัยพุทธกาลหลงเหลืออยู่เลย (ค้นพบแค่ หลักที่ ๑๐๔ ศิลาจารึกวัดพระธาตุศรีจอมทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๙ เท่านั้นเอง) เมื่อไม่พบหลักฐานสมัยพุทธกาล และด้วยความเชื่อถือตำนานมีน้อยอยู่แล้ว ด้วยคิดว่าคนโบราณอาจจะแต่งหรือเติมเรื่องขึ้นมาเองบ้าง ฉะนั้น ตามหลักวิชาการที่ "วิกิพีเดีย" บันทึกการสันนิษฐานไว้เป็นบรรทัดแรกว่าดังนี้

"...วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506

บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

แต่พอตอนท้ายกลับมี "ตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ" มากล่าวอ้างอิงด้วยว่า

"...ดอยจอมทอง มีสัณฐานเป็นภูเขาดินสูงจากระดับพื้นที่ราบอื่น ยอดดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล มีเมืองๆ หนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองเมืองนั้นชื่อว่า พระยาอังครัฏฐะ

พระยาอังครัฏฐะได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้“ เวลานี้ประทับอยู่เมืองราชคฤห์ ในประเทศอินเดีย จึงอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้วจึงเสด็จมาสู่เมืองอังครัฏฐะ ทรงแสดงธรรมและทรงพยากรณ์ ไว้ว่า

“เมื่อเราตถาคตนิพพานแล้ว ธาตุพระเศียรเบื้องขวาของเรา จักมาประดิษฐานอยู่ ณ ดอยจอมทอง แห่งนี้”

พระพุทธองค์ตรัสดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะทรงสดับพระดำรัสที่ตรัสพยากรณ์นั้นแล้ว ได้ทรงรับสั่งให้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้

กาลล่วงมาถึงรัชสมัยแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย พระองค์ได้เสด็จสู่ดอยจอมทอง ได้ขุดคูหาเปิดอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วทรงรับสั่งให้สร้างพระสถูปไว้ภายในคูหานี้ ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุที่อยู่ในสถูปที่พระยาอังครัฏฐะรับสั่งให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปประดิษฐานในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำคูหาไว้ ทรงอธิษฐานไว้ว่า

“ต่อไปข้างหน้า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้า เสด็จออกมาปรากฏแก่ฝูงชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา”

.

(ภาพศิลาจารึก วัดพระธาตุศรีจอมทอง ด้านที่ ๑ และ ด้านที่ ๒ ระบุ พ.ศ.๒๐๙๙) อ่านคำจารึกได้ที่นี่ sac.or.th

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์คงจะสับสนแน่นอน เพราะการสันนิษฐานตามลักษณะศิลปกรรม บอกว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (คงจะคาดเดาเอาจากที่ขุดพบ "ศิลาจารึก" แล้วก็ตัดประวัติก่อนนั้นออกไปเลย) หรือพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (คาดจากศิลปะการสร้าง แล้วตัดส่วนที่ผ่านมาออกไปเช่นกัน) จะเห็นว่าขัดแย้งกับตำนานอย่างสิ้นเชิงที่บอกว่า สร้างตั้งแต่สมัย "พระยาอังครัฏฐะ" คือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑ ด้วยซ้ำไป

ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบว่า ทางวัดจัดพิมพ์หนังสือประวัติไว้หรือไม่ แล้วจะพิมพ์ครบถ้วนหรือเปล่า แต่เท่าที่ตรวจดูในเว็บไซด์ต่างๆ แล้วก็ยังไม่พบประวัติที่ละเอียดเลย ส่วนใหญ่ก็คัดออกไปเผยแพร่จาก "วิกิพีเดีย" ทั้งสิ้น ซึ่งช่วยกันให้ความรู้ของประวัติที่สับสนไปด้วยกัน คือต้องให้ผู้ศึกษาภายหลังตัดสินใจกันเอง ว่าจะเชื่อหลักวิชาการหรือเชื่อตำนานกันหรืออย่างไร

แต่ถ้าพิเคราะห์ดูในเว็บไซด์ของวัดจะเห็นว่า ได้ตัดประวัติการสร้างสมัยพระยาอังครัฏฐะออกไปเลย โดยทิ้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่ต้น เท่าที่พบหลายแห่งที่มี "พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง" มาแต่โบราณ แต่ก็ไม่กล้าเล่าประวัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล ทั้งที่ตำนานพื้นบ้านที่บรรพบุรุษของตนเองเขียนเล่าไว้ แต่ก็กลัวอับอาย ถ้าฝรั่งต่างชาติบอกอะไร ส่วนใหญ่จะเชื่อกันหมด หากว่าสถานที่สำคัญแต่ละแห่งเป็นอย่างนี้ แล้วใครเล่าจะรักษาประวัติความเป็นมาของตนเองได้ จึงขอถามว่าใครเป็นผู้ทำลายคติ คือความเชื่อถือในโบราณสถานเหล่านี้

เป็นอันว่า ถ้าผู้อ่านได้พบกับบันทึกฉบับนี้แล้ว อาจจะคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ แต่ผู้เขียนเชื่อในความเป็นพระอรหันต์ของท่าน ท่านย่อมไม่บันทึกในสิ่งที่เกินความเป็นจริง โดยเฉพาะท่านได้ระบุชื่อของตนเอง และอ้างชื่อผู้เป็นอาจารย์ของท่านด้วยว่าอยู่ที่ "เมืองปาตลีบุตร" สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งมีการกล่าวถึง เมืองอังครัฏฐะ และ เมืองกุสินารา ที่อยู่ไม่ห่างไกลกันนัก

ผู้เขียนรู้สึกปีติมากที่ได้พบชื่อของท่าน แทบไม่น่าเชื่อว่าชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวเหล่านี้เลยว่า คนไทยสมัยก่อนได้เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีการค้าขายไปมาหาสู่ระหว่างกัน จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ โดยมี พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นองค์ประธาน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕

ฉะนั้น ข้อความใดที่นำมาอ้างอิง อาจจะขัดแย้งกับข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ไปบ้าง ผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ด้วยไม่มีเจตนาที่จะบิดเบือนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด เป็นแต่เพียงนำหลักฐานโบราณเหล่านี้มาไว้ให้อ่านกัน เพื่อมิให้สูญหายไปจากความทรงจำ พร้อมกับการวิเคราะห์ไปด้วย เป็นการเสนอความรู้ที่คนไทยจะได้ศึกษากันอีกมุมหนึ่ง ก่อนอื่นก็นำคำบอกเล่าของ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" มาเริ่มต้นสั้นๆ กันก่อน ดังนี้


พวกเรามาจากไหน..?

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่าที่เขื่อนยันฮี
เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๙



......พวกเรามาจาก "กรุงราชคฤห์มหานคร" กับ "เมืองสาวัตถี" คนสองเผ่านี้เข้าทางสายเหนือของประเทศไทย เข้ามาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น ประมาณก่อนพุทธกาล ๒,๐๐๐ ปีเศษ เราจะพูดกันไปว่าพวกราชคฤห์เป็น "พวกแขก" ความจริงไม่ใช่ สมัยโน้นไม่ใช่แขกครอง แต่พวกไทยอาหมครอง เมืองเวสาลี สาวัตถี กับราชคฤห์นี่ เป็นเมืองที่มีคนไทยมาก..ในสมัยนั้น


"กรุงราชคฤห์" กับ "กรุงรัตนโกสินทร์" เป็นราชวงศ์เดียวกัน

......คำบอกเล่าของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ตอนนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยัน พร้อมกับพงศาวดารที่จะนำมากล่าวในโอกาสต่อไป ซึ่งพอจะสรุปให้ลงกันไปได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วว่า "ราชวงศ์จักรี" ในบัดนี้ก็เป็นเชื้อสายเดียวกันกับ "ราชวงศ์ราชคฤห์" นั่นเอง

จะเป็นไปได้หรือไม่ก็ตาม ในเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้มีโอกาสทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ในสมัยที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงพระชนม์อยู่ และในบัดนี้ พระมหากษัตริย์ไทยที่ได้สืบสันตติวงศ์มาตั้งแต่ "ราชวงศ์เชียงแสน" และ "ราชวงศ์เชียงแสน" ก็สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าสิงหนวัติ ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เล็กร่วมอุทรกับพระราชบิดาของ พระเจ้าพิมพิสาร

พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา หลังจากพระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ไว้ในดินแดนแห่งนี้ เพื่อให้สถิตย์สถาพรอยู่ในหัวใจของชาวไทยตลอดกาล ๕,๐๐๐ พระพรรษาต่อไป

เพราะฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุต่างๆ ที่สำคัญดังกล่าวนี้ จะสังเกตได้ว่า พระอรหันต์ท่านอัญเชิญมาจาก กรุงราชคฤห์ ทั้งสิ้น หรือชื่อดั้งเดิม "นครไทยเทศ" คงจะเป็นเพราะท่านทราบดีว่าคนไทยสองกลุ่มนี้ ได้เคยสืบเชื้อสายมาจากตระกูลเดียวกัน ถึงแม้จะแยกย้ายกันมาอยู่ห่างไกลกัน คนละเขตประเทศก็ตาม ก็ต้องนำกลับมาให้เจ้าของเดิม คือ "ชาวไทย" อีกนั่นเอง จึงขอฝากประวัติศาสตร์ชาติไทย (ที่ไม่เป็นทางการ) ไว้แต่เพียงแค่นี้...


พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย

หลวงพ่อสนทนากับ อ.ยกทรง (วีระ งามขำ) ที่บ้านสายลม

ยกทรง : เอ๊ะ..ที่ในหนังสือ ไทยไม่มีวันสิ้นชาติ ที่บอกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาที่ทางเหนือที่ พระธาตุจอมกิตติ ทรงพยากรณ์ว่าเมืองแห่งนี้จะเจริญรุ่งเรือง จะรับพระพุทธศาสนาได้ ๕,๐๐๐ ปี

หลวงพ่อ : ใช่ !

ยกทรง : อ่านหนังสือแล้วมีคนเขาถามว่า ใครไปฟังพระพุทธเจ้ามา ?

หลวงพ่อ : ฉันฟังเอง !

ยกทรง : หลวงพ่อฟังหรือครับ ?

หลวงพ่อ : ใช่..ไม่เชื่อไปถามพระพุทธเจ้าดู (หัวเราะ) ไม่เชื่อไปถามพระพุทธเจ้าดู ถ้าหาพระพุทธเจ้าไม่พบ ถามพระพุทธรูปก็ได้ ถ้าพระพุทธรูปไม่ปฏิเสธ แสดงว่าฉันพูดตรง ตำนานท่านเขียนไว้อย่างนั้น ในเวลานั้นเป็นป่า ยังไม่มีบ้านเมือง แล้วต่อมาก็มีนามว่า โยนกนคร ใช่ไหม แล้วต่อมามีเมืองชื่อ โยนกนครจริง สมัยก่อนเขารุ่งเรืองมากนะ ดูทองคำเขาเหลือใช้จนกระทั่งเอาไปทำพระพุทธรูปบ้าง ปิดเจดีย์บ้าง ตั้งแต่คอระฆังเจดีย์ขึ้นไป คอระฆังเจดีย์นี่เป็นทองคำ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ พอยอดละ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เห็นไหม..เขารุ่งเรืองไหม ?

ยกทรง : เสียดายเกิดไม่ทันนะครับ

หลวงพ่อ : เดี๋ยวนี้ก็ยังทันอยู่ อย่าง พระธาตุหริภุญชัย น่ะ

ยกทรง : มีทองหรือครับ ?

หลวงพ่อ : คอระฆังนะ..ทองแท้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ยอดกลมๆ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ว่างๆไปซิ

ยกทรง : พระยายมราช ท่านเขียนจดบัญชี

หลวงพ่อ : พระยายมราช..อย่ากลัวท่านเลย กลัวลูกปืนคนเฝ้าดีกว่า (หัวเราะ) ความจริงไม่ต้องใช้ปืนก็ได้ ไต่แบบนั้น ก้อนอิฐก็พอ ขว้างเฉียดๆ หล่นลงมาตายเอง

ยกทรง : เอ๊ะ..พระเกศาที่ทรงอธิษฐานไว้ ยังอยู่หรือกลับไปอินเดียแล้ว

หลวงพ่อ : ยังอยู่..ว่างๆไปขุดซิ จะกลับไปทำไมอินเดีย อินเดียน่ะ..เขาไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในอินเดียใช่ไหม..แล้วเวลานี้พระศาสนามั่นคงที่ไหน ?

ยกทรง : ประเทศไทยครับ

หลวงพ่อ : ใช่..เพราะฉะนั้น จึงทรงพยากรณ์ไว้ที่นี่ เพราะทรงรู้เป็นสัพพัญญูวิสัย รู้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไรใช่ไหม แล้วก็พระพุทธเจ้า..ถ้าเราสันนิษฐานกันจริงๆ ก็ไม่ใช่ลูกแขก !

ยกทรง : หลวงพ่อพูดอย่างนี้..เดี๋ยวต้องไปเถียงกับหนังสือพุทธประวัติบ้าง ไอ้โน่น..ไอ้นี่บ้าง !

หลวงพ่อ : เถียงกับหนังสือคุณก็แพ้ หนังสือนอนเฉยๆ คุณพูดไปๆ คุณก็แพ้ เพราะคุณเหนื่อย อันนั้นเราจะไปโทษท่านไม่ได้ ท่านก็เขียนมาตามสภาวะ เมื่อเกิดขึ้นในอินเดียก็นึกว่าต้องเป็นแขกเสมอไป อย่างประเทศไทย..ที่คนอินเดียเข้ามามากๆ มีไทยเผ่าเดียวหรือมีเผ่าอื่นบ้างใช่ไหม

แล้วประเทศแขกนี่..เขาโตกว่าเราเท่าไหร่ ของเราเท่ากับรัฐๆ หนึ่งของเขาเท่านั้นแหละ อาจจะเล็กกว่าบางรัฐก็ได้..ใช่ไหม พื้นที่เขากว้างกว่าเราตั้งเท่าไหร่ มีตั้งหลายสิบเผ่า เผ่าที่มีความสำคัญที่คิดว่าจะเกี่ยวข้องกันได้คือ ชาวไทยอาหม กับ ชาวไทยมะลิวัลย์ รู้จักไทยมะลิวัลย์ไหม ?

ยกทรง : ไม่รู้จักครับ

หลวงพ่อ : ฉันนี่...

ยกทรง : เอ๊ะ..อย่างไรครับ ?

หลวงพ่อ : ไทยอาหม กับ ไทยมะลิวัลย์ มีเผ่าพันธุ์อยู่ในอินเดีย ปัจจุบันยังมีอยู่ แล้วเรื่องที่น่าพิสูจน์จริงๆ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ชาวอินเดียไม่นิยมไม่ค่อยนับถือ ทั้งที่พระพุทธศาสนายืนยันความจริงมากกว่า แต่ชาวอินเดียชอบ "เชน" มากกว่า ศาสนาเชน "อเจลก" เห็นไหม อเจลกเขามีอำนาจมาตั้งแต่ก่อนมีพระพุทธเจ้า สมัยพระพุทธเจ้าเขายังมีอำนาจอยู่ เวลานี้เขายังมีอิทธิพลอยู่

ทีนี้เราต้องไปฟังเรื่องตำนานที่ท่านเขียนไว้ที่อื่น นอกจาก "พระไตรปิฎก" เรื่อง ท่านโกมารภัจจ์ เป็นหมอประจำพระองค์ ความจริงหนังสือนั่นเขียนยาวไปนิด ว่าลาพระพุทธเจ้ามาทวาราวดี ๑๒ ปี ความจริงไมใช่..ต้อง ๒ ปี ถ้าถึง ๑๒ ปีมันก็มากเกินไปแล้ว นานๆ เข้าออกกิ่ง..ออกก้านนะ

ลามาประมาณ ๒ ปี หรืออาจจะไม่ถึง ๒ ปี ก็ได้ เพราะท่านห่วงมาก..ใช่ไหม กลับไปก็ไปคุยกับพระพุทธเจ้าว่า ชาวทวาราวดีใช้ภาษาโดด ออกเสียงเป็นคำๆ อย่างแทนที่กินของเราก็ "กิน" เขา "ภุญชติ" ใช่ไหม อย่างไปของเรา "ไป" ของเขา "คันตวา" ต่างกัน ทางทวาราวดีเขาใช้ภาษาโดด แล้วพูดไพเราะมาก

พระพุทธเจ้าทรงถามว่า ทางทวาราวดีเขาพูดอย่างไร ลองพูดให้ฟังซิ ท่านก็พูดภาษาทวาราวดี พระพุทธเจ้าก็คุยด้วยภาษาทวาราวดี คุยไปคุยมาพักใหญ่ สนุกสนาน ท่านโกมารภัจนึกขึ้นได้ เอ๊ะ..พระพุทธเจ้ารู้ภาษาทวาราวดีได้อย่างไร หรือรู้ด้วยปฏิสัมภิทาญาณ เพราะปฏิสัมภิทาญาณ..รู้ทุกภาษาใช่ไหม ก็เลยถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงรู้ภาษาทวาราวดีเพราะอะไร พระพุทธเจ้าบอกว่า ชาวกรุงกบิลพัสดุ์ทั้งหมดใช้ภาษานี้เป็นภาษาพื้นเมือง

ยกทรง : โอ้ะ..!!!

หลวงพ่อ : ทำตาโต

ยกทรง : ไม่เคยนึกเคยฝัน !

หลวงพ่อ : จะไปนึกได้อย่างไร ถ้าไปนึกก็ไม่ได้ฝัน ถ้าไปฝันก็ลืมนึก นี้เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าต้องเป็นลูกชาวไทยอาหม ทีนี้เราไปดูในพุทธประวัติ ชาวกรุงกบิลพัสดุ์ นี่ถือศักดิ์ศรีมาก ไม่ยอมแต่งงานกับคนเผ่าอื่น..ใช่ไหม ?

ยกทรง : ครับ

หลวงพ่อ : แล้วพี่บังน่ะ..จะเจี๊ยะไม่ไหวนะ ไอ้ไทยน่ะผสมยากจริงๆ

ยกทรง : กลิ่นตัวแรง

หลวงพ่อ : แกแข็งแรงทั้งร่างกาย..และกลิ่นด้วย (หัวเราะ)

ยกทรง : เดินเข้าใกล้อุดจมูกเลย

หลวงพ่อ : สันนิษฐานดูว่าจะเป็นอย่างนั้นได้ ใช่ไหม.. เป็นอันว่าประวัติที่เขียนมาใกล้ความจริงมาก คือหนึ่งเราอ่านหนังสือมา เรารู้สึกรังเกียจชาวกรุงกบิลพัสดุ์ว่าทำไมถือตัวมากเกินไป ไม่ยอมแต่งงานกับคนเผ่าอื่นก็เกินพอดี คิดว่าถ้าเป็นลูก "ชาวไทยอาหม" ต้องเป็นไปได้แน่ เพราะว่าความเจริญต่างกัน วัฒนธรรมต่างกัน กลิ่นก็ต่างกัน

อันนี้เป็นเรื่องจริงๆ นะ เป็นไปได้เลย มาดูคนไทยกับแขก คนไทยเรานี่นับถือพระพุทธศาสนามากกว่าเยอะ พลเมืองแขกนี่ต้องคิดว่า แขกที่มาไหว้พระพุทธศาสนาที่พุทธคยาน่ะ เป็นแขกพุทธหรือแขกฮินดู ฮินดูเขาเขียนตำราขึ้นมาว่า พระพุทธเจ้าเราเป็นองค์หนึ่งของพระนารายณ์

ยกทรง : โอ้โฮ..!!!

หลวงพ่อ : อวตารลงมา หรืออว..ส้มลงมาก็ไม่รู้ ถ้าอวตาลมาก็หวานหน่อย อว..ส้มลงมา..ก็เปรี้ยวหน่อย

ยกทรง : คัมภีร์นี่เข้าท่า ตอนไปอินเดีย..ไปที่มหาวิทยาลัยนาลันทา มีคนชาวเนปาลเขามาเรียน ไปถามเขา เขาพูดภาษาไทยได้ ผมยังแปลกใจว่าเขารู้ได้อย่างไร

หลวงพ่อ : อ๋อ..เนปาลเหรอ เนปาลนี่ไม่สงสัยแล้ว ตอนไปอินเดีย ท่านทูตบอกว่าน่าจะไปเนปาล ร้อนจัดๆ ฉันก็ขี้เกียจใช่ไหม ขอดูแผนที่เนปาลซิ เขาชี้ให้ดู บอกไอ้นี่เมืองไทยเก่าใช่ไหม คนที่นั่งอยู่บอกว่าใช่ เนปาลน่ะ..ไทยเก่า

ยกทรง : มิน่าเล่า..พูดภาษาไทยว่าเป็นต่อยหอยเลย

หลวงพ่อ : ดีนะ..ไม่ไปนินทาเขา แหม..ไอ้พวกนี้มันสกปรกจริงๆ เขาหันมาตบเลย บอกไอ้บ้า..อายเลย


อ้างอิงจาก : คำสนทนาที่บ้านสายลม จากหนังสือ "รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ" เล่ม ๑๕ หน้า ๔๗๐


"พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย"...ยืนยันโดยองค์หลวงปู่มั่น

เล่าโดย..หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
".......เรื่องมีอยู่ว่า สมัยที่ผู้เล่าอยู่กับท่านพระอาจารย์ที่บ้านหนองผือ (อุดรธานี) มีชาวกรุงเทพมหานครไปกราบนมัสการ ถวายทาน ฟังเทศน์ และได้นำกระดาษห่อธูปมีเครื่องหมายการค้า รูปตราพระพุทธเจ้า (บัดนี้รูปตรานั้นไม่ปรากฏ) ตกหล่นที่บันไดกุฏิท่าน พอได้เวลาผู้เล่าขึ้นไปทำข้อวัตรปฏิบัติท่านตามปกติ พบเข้าเลยเก็บขึ้นไป พอท่านฯ เหลือบมาเห็น

ถามว่า “ นั่นอะไร ?”
ตอบว่า “ รูปพระพุทธเจ้า ขอรับกระผม ”
ท่านกล่าวว่า “ ดูสิ..คนเรานับถือพระพุทธเจ้า แต่เอาพระพุทธเจ้าไปขายกิน ไม่กลัวนรกนะ”
แล้วท่านก็ยื่นให้ผู้เล่า บอกว่า “ ให้บรรจุเสีย ”

ผู้เล่าเอามาพิจารณาอยู่ เพราะไม่เข้าใจคำว่า "บรรจุ" จับพิจารณาดูพระพักตร์เหมือนแขกอินเดีย ผู้เล่าอยู่กับท่านองค์เดียว ท่านวัน (พระอาจารย์วัน อุตตโม) ยังไม่ขึ้นมา

ท่านพูดซ้ำอีกว่า “ บรรจุเสีย”
ถามว่า “ ทำอย่างไร ขอรับกระผม ”
ท่านบอกว่า “ ไหนเอามาซิ ”

ยื่นถวายท่าน ท่านจับไม้ขีดไฟมาทำการเผาเสีย และพูดต่อว่า

“ หนังสือธรรมะสวดมนต์ที่ตกหล่นขาดวิ่นใช้ไม่ได้แล้ว ก็ให้รีบบรรจุเสีย กลัวคนไปเหยียบย่ำจะเป็นบาป”

ผู้เล่าเลยพูดไปว่า “ พระพุทธเจ้าเป็นแขกอินเดียนะ กระผม ”
ท่านฯ ตอบ “ หือ..คนไม่มีตาเขียน เอาพระพุทธเจ้าไปเป็นแขกหัวโตได้ ” ท่านฯ กล่าวต่อไปว่า

“ อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย พระอนุพุทธสาวกในยุคพุทธกาล ตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น ชนชาติอื่น แม้แต่สรณคมน์และศีล ๕ เขาก็ไม่รู้ จะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามากๆ

เราได้เล่าให้เธอฟังแล้วว่า ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่างๆ มีรัฐสักกะ เป็นต้น หนีการล้างเผ่าพันธุ์มาในยุคนั้น และชาวพม่า คือ รัฐโกศลเป็นรัฐใหญ่ รวมทั้งรัฐเล็กๆ จะเป็น วัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น ก็ทะลักหนีตาย จากผู้ยิ่งใหญ่ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสมผสานเป็นมอญ (มัลละ) เป็นชนชาติต่างๆ ในพม่าในปัจจุบัน ส่วนรัฐสักกะนั้นใกล้กับรัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมาสุวรรณภูมิ ตามสายญาติที่เดินทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว”


ผู้เล่าเลยพูดขึ้นว่า “ปัจจุบัน พอจะแยกชนชาติในไทยได้ไหม ขอรับกระผม ?”

“ไม่รู้สิ..อาจเป็นชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุงในพม่าก็ได้” ขณะนั้นท่านวันขึ้นไปพอดี ตอนท้ายก่อนจบท่านเลยสรุปว่า

“ อันนี้ (หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว ทั้งรู้ทั้งเห็นโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น” ผู้เล่าพูดอีกว่า

“แขกอินเดียทุกวันนี้คือพวกไหน ขอรับกระผม ?”

ท่านบอก “พวกอิสลามที่มาไล่ฆ่าเรานะซิ”

“ถ้าเช่นนั้นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้งภาษาสันสกฤตด้วย ?”

“ อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี บางพวกก็ยอมรับเอาไปสืบต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพวกเรา พระพุทธเจ้าสอนให้ละทิ้งหมดแล้ว เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไรก็ทำตาม ” ท่านยังพูดคำแรงๆ ว่า

“ คุณตาบอด ตาจาวหรือ เมืองเรา วัดวา ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมืองไม่เห็นหรือ ?” (ตาบอดตาจาวเป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะกับผู้เล่า)

“ แขก..อินเดียเขามีเหมือนเมืองไทยไหม..ไม่มี มีแต่จะทำลาย โชคดีที่อังกฤษมาปกครอง เขาออกกฏหมายห้ามทำลายโบราณวัตถุ โบราณสถาน แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอเองนั้นแหละ ถ้าได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด !”

“ ของเหล่านี้นั้น ต้องไปตามวาสนาตามวงศ์ตระกูล อย่างเช่น วงศ์พระพุทธศาสนาของเรานั้น เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล เป็นวงศ์ที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติ คุณแปลธรรมบทมาแล้ว คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาธญฺโญ ลองแปลดูซิว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรืออะไรที่ไหนก็แล้วแต่ จะเป็นที่อินเดีย หรือที่ไหนก็ตาม ทุกแห่งตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฏฏ์ ถึงวันนั้นพวกเราอาจจะไปอยู่อินเดียก็ได้”

“ พระพุทธเจ้าทรงวางพระพุทธศาสนาไว้ จะเป็นระหว่างพุทธันดรก็ดี สุญญกัปป์ก็ดี ที่ไม่มีพระพุทธศาสนา แต่ชนชาติที่ได้เป็นอริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย ก็ยังสืบต่อไปอยู่ ถึงจะขาด ก็คงขาดแต่ผู้สำเร็จมรรคผลเท่านั้น เพราะว่างจากบรมครู ต้องรอบรมครูมาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่ ”


ผู้เล่าได้ฟังมาด้วยประการละฉะนี้แล ฯ


อ้างอิงที่มา - คัดลอกจาก หนังสือ "รำลึกวันวาน" โดยกองทุนแสงตะวัน วัดปทุมวนาราม หมวดรำลึกพระธรรมเทศนา หน้าที่ ๒๒๗

(เป็นหนังสือรวบรวมเกร็ดประวัติ ปกิณกธรรม และพระธรรมเทศนา แห่งองค์หลวงปู่มั่น จากบันทึกความทรงจำของ หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ ในสมัยที่ได้อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๙๒ แม้ว่าท่านจะได้ลาสิกขาไปเมื่อครั้งพรรษาประมาณ ๒๐ เศษ แต่เมื่ออายุได้ ๗๐ ปี ได้กลับมาบวชอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ หลวงตาทองคำเป็นผู้ที่มีความจำแม่นยำ ได้เขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ ขณะอายุ ๗๕ ปี เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านมรณภาพไปเมื่อปีที่แล้วนี้เอง)

1. อ้างอิง : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-06-01.htm
2. อ้างอิง : http://www.pantown.com/board.php?id=44699&area=3&name=board5&topic=40&action=view

☺....เป็นอันว่า สมัยก่อนคนไทยได้ศึกษาประวัติศาสตร์มาแล้ว จะเห็นว่าเราไม่มีวัฒนธรรมประเพณีอะไรเลย ไม่มีตัวหนังสือเป็นของตนเอง อ่านแล้วรู้สึกหดหู่หัวใจ ไม่มีความภาคภูมิใจเหลืออยู่เลย ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง คงเหมือนกับจะเหยียบย่ำทำลายความรู้สึกของคนไทยทั่วไป ให้รู้สึกว่าแผ่นดินนี้ตัวเองเพิ่งมาอาศัยอยู่ ตัวอักษรนี้ได้ลอกแบบของชาติอื่น ไม่มีจารีตประเพณีเป็นของตนเองเลย

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากจะตั้งข้อสมมุติฐานบ้างว่า คนไทยอาศัยอยู่ในผืนแผ่นนี้มานานแล้ว พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทยมาแล้ว เรามีอักษรไทย อักษรขอม อักษรมอญ ซึ่งอาจจะนำไปเป็นต้นแบบของอักษรพราหมี หรืออักษรคฤนห์ จะเป็นได้หรือไม่ เพราะขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างวัดให้มีลวดลายไทย งานช่างศิลปะแบบไทยๆ เช่นนี้ ได้เกิดมีขึ้นมานานแล้ว ทำไมเราจะคิดประดิษฐ์อักษรไทยไม่ได้บ้างหรือ

ส่วนคำที่หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "ชาวมคธ" หรือ "รัฐมคธ" ก็รวมกันอพยพมา "สุวรรณภูมิ" ตามสายญาติที่เดินทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว” เรื่องนี้มีหลักฐานปรากฏอยู่ใน "ตำนานสิงหนวัติ" ที่ได้เล่าไว้ว่า ชาวกรุงราชคฤห์ได้อพยพมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงตำนานนี้ ผู้เขียนขอนำข้อมูลจากเว็บไซด์ www.chiangraifocus.com มาอ้างอิงก่อน ดังนี้


ประวัติความเป็นมา
(บทความจาก chiangraifocus.com)

.....จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งอย่างไม่ขาดสายนับตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล หรือก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน ดังจะสรุป ประวัติศาสตร์ความเป็นมาโดยแบ่งเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ ๔ สมัย คือ

สมัยชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์

......บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของชนชาติไทยและอารยธรรมไทย ตั้งแต่ก่อนพ.ศ. ๑๘๐๐ ร่องรอยที่เป็นรูปธรรมของสังคมและอารยธรรมไทยลุ่มน้ำกก ได้แก่ ซากเมืองโบราณ ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดบนสองฝั่งแม่น้ำกก เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีซากเมืองโบราณถึง ๒๗ เมือง ตั้งแต่อำเภอฝางเป็นต้น

แม่น้ำกก จนถึงเมืองเชียงแสน นับเป็นพยานที่ดี ว่าได้มีชนชาติไทยชุมนุมกันตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณแม่น้ำกกอย่างหนาแน่น และได้ขยายตัวมีการสร้างบ้านแปงเมืองกันไม่ขาดสาย ศูนย์กลางทางการเมืองของไทยแห่งลุ่มน้ำกกในยุคแรก ตั้งอยู่ที่ลำน้ำแม่สาย ซึ่งอยู่เหนือแม่น้ำกกขึ้นไปเล็กน้อย

ตำนานสิงหนวัติจดบันทึกไว้ว่า ราชวงศ์กษัตริย์ไทเมือง ชื่อ สิงหนวัติกุมาร อพยพคนไทยจากนครไทยเทศ ลงมาตั้งอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ ณ บริเวณละว้านที (แม่น้ำสาย) และแม่น้ำโขง ตั้งแต่ต้นพุทธกาลก่อนได้ชื่อว่า โยนก

ตำนานสิงหนวัติได้กล่าวว่า บริเวณนี้เป็นดินแดน สุวรรณโคมคำ แต่รกร้างไปแล้ว เมื่อสิงหนวัติกุมารนำไพร่บ้านพลเมืองมาจากนครไทยเทศ จึงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า สิงหนวัตินคร ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โยนกนครไชยบุรี ราชธานีศรีช้างแสน (ช้างแสน แปลว่า ช้างร้อง) และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เชียงแสน และเรียกพลเมืองของโยนกนครว่า ชาวยวน

ตำนานเงินยางเชียงแสน ได้กล่าวถึง ปู่เจ้าลาวจก เป็นผู้ตั้งอาณาจักร เงินยาง หรือ หิรัญนคร เมื่อ พ.ศ ๑๑๘๑ เป็นยุคที่สองต่อจาก โยนกนาคพันธุ์ ซึ่งล่มสลายไปแล้ว โดยตั้งศูนย์กลางอยู่ ณ บริเวณเดียวกับ โยนกนาคพันธุ์เดิม แต่ไพร่บ้านพลเมืองส่วนใหญ่อยู่กันหนาแน่นที่ปากแม่น้ำกก (สบแม่น้ำโขง) อาศัยน้ำท่าที่อุดมสมบูรณ์ทำนา

การปกครองบ้านเมืองก็ใช้พื้นที่ทำนา เป็นเกณฑ์ การแบ่งเขต เช่นแบ่งเป็นพันนา หมื่นนา แสนนา และล้านนาเป็นต้น มีเมืองเชียงแสนเป็นเมืองสำคัญ และมีเมืองเล็กเมืองน้อยที่เรียกว่า "เวียง" เกิดขึ้นตามบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ อีกมากมาย (* อ่านรายละเอียดได้ คลิกที่นี่ *)


เป็นอันสรุปได้ว่า...ถ้าหากว่ายังมีคนไม่เชื่อเรื่องนี้ว่า "พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทย" แสดงว่าผู้นั้นคงไม่เชื่อคุณธรรมของพระอริยสงฆ์ ที่ได้บรรลุธรรมในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ด้วย แต่คงเป็นไปตามอัธยาศัย ทั้งนี้ไม่ได้บังคับใครให้เชื่อ เพราะทุกคนย่อมมีเหตุผลของตนเอง แต่ถ้าหากเปิดใจออกกว้าง ยอมรับฟังจากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ เพื่อเป็นการศึกษาจากตำนานท้องถิ่น ซึ่งจะนำมาอ้างอิงมากมายในโอกาสต่อไป..

(โปรดติดตามตอนต่อไป "ตำนานสิงหนวัติ")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 31/3/17 at 15:08 [ QUOTE ]



[ ตอนที่ 2 ]

ตำนานสิงหนวัติ (จากพงศาวดารโยนก)


...ครั้งนั้น ยังมีพระมหากษัตราธิราชชาติไทยองค์หนึ่ง ทรงนามว่า พระเจ้าเทวกาล เป็นใหญ่แก่ไทยทั้งหลาย เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครไทยเทศ คือ เมืองราชคฤหมหานคร พระองค์มีพระโอรส ๓๐ องค์ พระธิดาก็ ๓๐ องค์

ต่อมาพระบิดาก็อภิเษกให้เป็นคู่ๆ กัน แยกย้ายกันไปครองนครต่างๆ ในจาตุรทิศ เว้นไว้แต่พระเชษฐาองค์โตทรงนามว่า "ภาทิยกุมาร" (เป็นพระชนกของพระเจ้าพิมพิสาร) พระบิดาให้ดำรงตำแหน่งอุปราช เพื่อจะให้สืบราชบัลลังก์ในพระนครไทยเทศในภายหน้า

ฝ่ายราชกุมารองค์น้อยนั้นทรงนามว่า "สิงหนวัติกุมาร" เหตุด้วยมีกำลังมากดุจราชสีห์ ได้พาบริวารผู้คนจำนวนแสนครัว ออกจากเมืองนครไทยเทศราชคฤห์ เดินทางรอนแรมไปตามป่าเขานานถึง ๔ เดือน ก็ไปถึงชัยภูมิที่เคยเป็น "แคว้นสุวรรณโคมคำ" มาก่อนไม่ไกลจากแม่น้ำโขงนัก

ในตอนนี้ ขอแทรกความเป็นมาของ "แคว้นสุวรรณโคมคำ" สักเล็กน้อยว่า แคว้นนี้ เจ้าสุวรรณมุขทวาร เป็นปฐมกษัตริย์สืบขัตติยวงศ์ต่อๆ มา ตามตำนานกล่าวว่าได้ ๘๔,๕๐๐ พระองค์ จึงสิ้นสุดเชื้อกษัตริย์ "วงศ์สุวรรณมุขทวาร"

ยังเหลือแต่เชื้อวงศ์ "พาหิรพราหมณ์" เมืองอุมงคเสลานคร ได้มาเป็นใหญ่เป็นเจ้าในเมืองสุวรรณโคมคำนี้ ต่อมาพระยาขอมนี้ได้ทำการกดขี่ข่มเหงพลเมืองให้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนมาก จึงเกิดอาเพศบ้านเมืองพังทลายล่มจมไปในแม่น้ำขละนที (แม่น้ำโขง)

ฝ่ายพระยาขอมเจ้าเมืองกับชาวขอมในเมืองก็ถึงกับพินาศล้มตายเป็นอันมาก ส่วนชาวเมืองสุวรรณโคมคำที่อยู่ฝั่งฟากตะวันตก ก็พากันไปสู่เมืองอุมงคเสลานครบ้าง ขึ้นไปยังเมืองนครไทยเทศ คือราชคฤห์บ้าง เมืองสุวรรณโคมคำก็ร้างกลายเป็นท่าหลวงไป

ครั้นพวกขอมชาวเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปแล้ว ก็มีแต่มิลักขุชน (ชาวเขา) อาศัยอยู่ตามซอกห้วยราวเขามี ปู่เจ้าลาวจก เป็นใหญ่แก่ลัวะทั้งหลาย ตั้งอยู่ดอยสามเส้า ซึ่งบัดนี้เรียกว่า "ดอยตุง"

อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระพุทธกัสสป" ได้เสด็จอุบัติตรัสในโลกนี้แล้ว ท่านได้เสด็จมาฉันน้ำทิพย์ ณ ถ้ำกุมภ์ ในแว่นแคว้นสุวรรณโคมคำ ก็ได้พยากรณ์ไว้ว่า

"...ภายหน้าจะมีขัตติยะวงศา พระเจ้าสมมัติราช มาแต่ราชคฤห์นครหลวงไทยเทศทิศพายัพ จะมาตั้งแว่นแคว้นสุวรรณโคมคำนี้ เป็นมหาประเทศราชธานี จักได้บำรุงศาสนาพระโคดมพุทธเจ้า อันจะได้มาตรัสในอนาคตกาลก็มีแล..."

ความเป็นมาเรื่อง "ถ้ำกุมภ์"


.....มีถ้ำอันหนึ่งเป็นที่รโหฐาน ชื่อว่า "ถ้ำกุมภ์" เหตุด้วยมีหม้อน้ำทิพย์ ๔ หม้อ อันเทพยดาเนรมิตไว้ภายในถ้ำนั้น ไว้น้ำฉันสำหรับพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ อันจะมาอุบัติได้ตรัสในภัทรกัปป์นี้ ย่อมเป็นพุทธประเพณีต้องเสด็จมาเสวยน้ำทิพย์ในถ้ำนี้ และทรงพยากรณ์ถึงอนาคตประวัติแห่ง "โยนกประเทศ" นี้ทุกๆ พระองค์ แม้แต่พระพุทธกุกกุสันโธก็เคยเสด็จมา ณ ถ้ำคูหานี้

ลำดับราชวงศ์ "สิงหนวัติ"

ตามตำนานสิงหนวัติได้เล่าต่อไปอีกว่า ต่อมาเจ้าชายสิงหนวัติราชกุมารได้พบกับ "พันธุนาคราช" ซึ่งได้แนะนำให้เจ้าชายสิงหนวัติตั้งเมืองอยู่ในที่นั้น แล้วกลับวิสัยเป็นพระยานาคขุดแผ่นดินให้เป็นคูเมือง เจ้าชายสิงหนวัติจึงตั้งเมืองในที่นั้น และตั้งชื่อเมืองว่า "เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร"

จากนั้นอีก ๓ ปี เจ้าชายสิงหนวัติก็ได้แผ่อำนาจปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ในเขตนั้น ตีได้เมืองอุมงคเสลานคร ซึ่งตั้งมานานพร้อมกับเมืองสุวรรณโคมคำ คือป็นเมืองของ "พาหิรอำมาตย์" ดังกล่าวมาแล้ว และปราบได้ล้านนาไทยทั้งมวล

ถัดจากรัชสมัยของพระเจ้าสิงหนวัติแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมา คือ โอรสของพระเจ้าสิงหนวัติ คือ พระยาพันธนติ ถัดจากพระยาพันธนติ ก็คือ พระยาอชุตราช และเมืองนี้ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น "เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น" พระยาอชุตราชขอ นางปทุมวดี จากกัมมโลฤาษี มาเป็นมเหสี ยุคนี้มีการสร้าง พระธาตุดอยตุง และ พระธาตุดอยกู่แก้ว

ลำดับการเสด็จโปรดคนไทยของพระพุทธเจ้า

ขอย้อนกล่าวถึงสมัยพุทธกาล ตามตำนานของไทยที่ได้ค้นคว้าปรากฏว่า พระพุทธเจ้าเกี่ยวข้องกับคนไทย และชาวไทยที่อพยพมาจากนครไทยเทศ หรือกรุงราชคฤห์ตลอดมา โดยเริ่มตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่ ๑๕ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงโปรดพระเจ้าสุทโธทนะและพระประยูรญาติ

หลังจากออกพรรษาแล้ว จึงได้เสด็จโปรดคนไทยที่อาศัยอยู่ในแคว้นโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครนี้ แล้วเสด็จไปประทับในสถานที่ต่างๆ ประดิษฐาน "พระเกศาธาตุ" และตรัสพยากรณ์บ้านเมืองต่างๆ ในที่สุดก็ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๑๖ ณ เมืองอาฬวี (เชียงรุ่ง) สิบสองปันนา หลังออกพรรษาก็เสด็จย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับไปจำพรรษาที่ ๑๗ ณ เมืองราชคฤห์ ดังนี้

ขณะนั้น พระเจ้าสิงหนวัติ ผู้เป็นปฐมวงศ์ได้ย้ายจากเมืองราชคฤห์มาสร้างเมือง พันธุสิงหนวัตินคร คือว่า เมืองโยนกนครไชยะบุรีศรีช้างแส่น ที่นี้ แต่เมื่ออายุท่านได้ ๑๘ ปี (เมื่อโบราณศักราชได้ ๑๗ ตัว) นั้นมาถึงศักราชได้ ๑๙ ตัว พระเจ้าสิงหนวัติราชครองเมืองได้ ๒๐ ปี มีอายุได้ ๑๒๐ ปีก็สวรรคตไป (ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเมืองอาฬวีแล้วกลับมาโปรดอีก) พระยาพันธนติ พระโอรสอายุ ๔๑ ปีได้ครองเมืองต่อ


ในตอนนี้ พระพุทธเจ้าจำพรรษาที่ ๒๐ ณ กรุงราชคฤห์แล้ว ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ถูกพระเทวทัตกลิ้งก้อนหินทำร้าย จนห้อพระโลหิตที่พระบาทเบื้องซ้าย แล้วท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ใส่ยารักษาจนหายดีแล้ว

ยามนั้น พระพุทธเจ้าก็รำพึงถึงหินก้อนหนึ่ง ณ เมืองโยนกที่นี้ อันเป็นที่ประทับนั่งแห่งพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อันล่วงแล้ว พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายจึงได้เสด็จมาประทับนั่ง ซึ่งมีรูปเหมือนมะนาวครึ่งซีก (หงาย) แล้วได้ตรัสพยากรณ์ว่า บ้านเมืองนี้จะรักษาพระพุทธศาสนาได้ครบ ๕,๐๐๐ ปี

ต่อมาหลังจากทรงปรินิพพานแล้ว โบราณศักราชได้ ๑๔๘ ตัวแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรู พร้อมด้วย พระมหากัสสป ลบศักราชเก่าเสีย แล้วตั้งปฐมศักราชใหม่ที่ ๑ (พ.ศ.๑) ยามนั้นพระมหากัสสปพร้อมด้วยคณะ ๕๐๐ องค์ อัญเชิญ พระรากขวัญเบื้องซ้าย มาถวายพระเจ้าอชุตราช แล้วทำพิธีบรรจุลึกลงไป ๘ ศอก ในก้อนหินที่พระพุทธเจ้าเคยประทับนั่ง

จากนั้นพระมหากัสสปก็ได้เนรมิตผ้าธงตะขาบผืนใหญ่ มีความยาว ๑,๐๐๐ วา โดยมีคันธงปักลงไปในหิน ปัจจุบันนี้ยังมีรอยปักอยู่ ต่อมาชาวบ้านที่อยู่ข้างล่างเห็นผ้าธง หรือผ้าตุงโบกสะบัดไปมาเป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกดอยสามเส้า หรือดอยดินแดง หรือเกตุบรรพตแห่งนี้ว่า “ดอยตุง” สืบมา

เวลาต่อมา พระมหากัจจายนะ ได้นำเอาพระบรมธาตุส่วน ตาตุ่มข้างขวา จากถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ เพื่อถวายให้พระเจ้าอชุตราชทรงบรรจุไว้บน ดอยกู่แก้ว ตามที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ก่อนปรินิพพาน ซึ่งเดิมผู้เขียนเข้าใจว่าเอามาบรรจุไว้ที่นี้ ครั้นตามหาดอยกู่แก้วพบแล้ว จึงต้องนำมาทบทวนเพื่อความเข้าใจกันเสียใหม่

ฉะนั้น พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ ที่พระอรหันต์นำมากาลภายหลังปรินิพพาน จึงพอทราบได้ว่าหลังจากนั้นมาถึง พ.ศ.๑๐๐ ก็ได้มีพระอรหันต์ชื่อ พระมหาวชิรโพธิ์ อัญเชิญมาจากที่เดียวกันอีก คือถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ จำนวน ๑๕๐ องค์ ถวายพระเจ้ามังรายนราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอชุตราชนั่นเอง พระองค์ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์ใต้ ส่วนองค์ด้านเหนือเป็นของพระราชบิดา

กษัตริย์องค์ต่อมาคือ โอรสของพระเจ้ามังรายนราช คือ "พระองค์เชือง" นั้น ครองเมืองเดิม ส่วนโอรสชื่อ "ไชยนารายณ์" ไปตั้งเมืองใหม่ ชื่อ "ไชยนารายณ์เมืองมูล" เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแสน ก็มีกษัตริย์ปกครองต่อๆ กันมาจนถึง "พระเจ้าพังคราช" ประมาณ พ.ศ.๙๐๐ จึงเสียแก่พระยาขอมแห่งเมืองอุมงคเสลานครอีกครั้ง (เรียกว่าเสียเมืองกลับไปกลับมา) ต่อมาพระเจ้าพรหมราชโอรส ก็กู้กลับคืนมาอีก "ขอม" จึงเหลือแต่ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้....


พระมหารักขิตะเถระ พระสมณทูต สายที่ ๗

เดินทางถึงโยนกประเทศ

ที่มา - madchima.net

.......จากคำบอกเล่าจากพระเถระที่มีความสำคัญ อันเป็นที่เคารพนับถือทั่วไป อีกทั้งบุคคลที่เล่าถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์ก็ยังพอเชื่อถือได้ เพราะท่านก็อยู่ในสมณเพศเช่นกัน การเล่าเรื่องความเป็นจริงนั้นไม่อาจจะมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าคนไทยได้มีการไปมาหาสู่กัน ระหว่างผู้คนในบ้านเมืองต่างๆ ในแถบลุ่มน้ำโขงกับ เมืองราชคฤห์ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้

ซึ่งดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นความจริง ทั้งๆ ที่หลักฐานที่ปรากฏอยู่ต่างก็ระบุตรงกัน ว่าคนไทยที่อยู่ในอาณาเขตนี้ ยังมีการติดต่อในทางด้านการค้าขาย และในทางศาสนาที่ปรากฏอยู่ใน "อุรังคนิทาน" หรือ "ตำนานพระธาตุพนม" ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก็มีกล่าวถึงเหมือนกัน จึงขอให้ผู้อ่านติดตามเรื่องราวกันต่อไป...

ในตอนนี้จะขอย้อนกล่าวถึงช่วงหลังจาก พระเจ้ามังรายนราช แล้ว พระราชโอรสที่ครองเมืองต่อมาคือ พระองค์เชือง จนถึง พระองค์ชิน, พระองค์คำ และ พระองค์เกิง พระพุทธศาสนกาลล่วงได้ ๒๑๘ พรรษา ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับเมืองราชคฤห์ ก็ยังมีต่อเนื่องถึงกันอีก

ในสมัย "พระองค์เกิง" ตรงกับรัชสมัย "พระเจ้าอโศกมหาราช" ครองเมืองปาตลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า "ปัตนะ") ซึ่งเป็นคนไทยเทศเหมือนกัน โดยย้ายเมืองมาจากกรุงราชคฤห์ ฉะนั้น หลังจากทำสังคายนาครั้งที่ ๓ แล้ว พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ได้ส่งพระสมณทูต ๙ สาย อัญเชิญพระไตรปิฏกพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุเผยแผ่ไปยังนานาประเทศ ดังนี้

สายที่ ๑ พระมัชฌันติเถระไปยัง รัฐกัสมีระคันธาระ
สายที่ ๒ พระมหาเทวเถระไปยัง มหิสกมณฑล
สายที่ ๓ พระรักขิตเถระไปยัง วนวาสีชนบท
สายที่ ๔ พระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยัง อปรันตกชนบท
สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระไปยัง มหารัฐชนบท
สายที่ ๖ พระมัชฌิมเถระ ไปยังเทือกเขาหิมาลัย
(ในหนังสือ "มหาวงศ์" มีหลักฐานที่พบอัฐิธาตุ ณ เจดีย์คีรี คือหมู่พระสาญจิเจดีย์ ในอินเดีย มีหนังสือจารึกบอกไว้ที่ผอบว่า เป็นอัฐิธาตุของพระมัชฌิมเถระ ผู้เป็นสังฆนายกในหิมวันตประเทศ)
สายที่ ๗ พระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของ ชาวโยนก
สายที่ ๘ พระมหินทเถระ ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป
สายที่ ๙ พระโสณะเถระ พระอุตตรเถระ ไปยังสุวรรณภูมิชนบท


โดยเฉพาะสายที่ ๘ พระมหินทเถระ พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาที่ลังกา พร้อมกับ พระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ และ พระภัททสาลเถระ ส่วนสายที่ ๙ พระโสณะ พระอุตตระพร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๓ รูป คือ

พระฌานียะ, พระภูริยะ, พระมูนียะ
ได้เดินทางมาถึงสุวรรณภูมิ ซึ่งมีหลักฐานที่ค้นพบธรรมจักรและกวางหมอบได้ที่พระปฐมเจดีย์ อีกทั้งพบกระเบื้องจารที่จารึกชื่อพระเถระอีก ๓ รูป ที่เดินทางมาพร้อมกับ พระโสณะ พระอุตตระ จากหนังสือ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ โดย พระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) วัดโสมนัสวรวิหาร

...ส่วนพระสมณทูตสายที่ ๗ คือ พระมหารักขิตะเถระ ตามหลักฐานในอรรถกถาบอกว่าท่านไปที่ เมืองโยนก ซึ่งนักประวัติศาสตร์ก็ได้สันนิษฐานว่า อยู่ที่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน แต่ทว่าชื่อของ "พระมหารักขิตะเถระ" กลับมาปรากฏอยู่ใน "ตำนาน" ทางภาคเหนือหลายฉบับ จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า "ชาวโยนก" สมัยนั้นอยู่ที่ไหนกันแน่ ?

ยกตัวอย่างเช่นใน "ตำนานเมืองโยนก" (สมัยนั้นเมืองโยนกกินแดนไปถึงสิบสองปันนา ลงไปถึงเชียงใหม่และ ลำพูนเป็นต้น) ได้บันทึกไว้ว่า พระมหารักขิตะเถระ กับพระเถรานุเถระอันดับหลายรูป ได้นำพระพุทธศาสนามาสู่โยนกประเทศนี้ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ ๙ พระองค์ มาถวายแด่ พระองค์เกิง เจ้านครโยนกนาคพันธุ์บุรี แล้วก็แสดงธรรม "กาฬการามสูตร" โปรดชาวเมืองโยนกสมัยนั้นด้วย

ท้าวเธอมีความเลื่อมใสในพระพุทธคุณ จึงให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนขนาดใหญ่ ๖ องค์นั้น สร้างพระสถูปบรรจุไว้ยังเกตุบรรพต คือ ดอยตุง อีกส่วนหนึ่ง ๓ องค์นั้นให้ อุปราชแสนเมือง นำไปถวาย พระยาสม พระราชบิดาผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ พระยาสมก็ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมธาตุไว้ ณ ตำบลภูกวาว เหนือเมืองไชยนารายณ์

แต่อีกตำนานหนึ่งระบุว่า เป็นพระบรมสารีริกธาตุ (ส่วนหลัง) บรรจุไว้ในโกศเงิน โกศทอง ซ้อนโกศแก้ว โกศละ ๓ องค์ แล้วตกแต่งเครื่องบูชาอาราธนาพระมหาธาตุเจ้าขึ้นตั้งสีวิกายคำ (เสลี่ยงทองคำ) แล้วแห่แหนขึ้นสู่ดอยตุงที่นั้น แต่ก็จะบรรจุรวมกับพระรากขวัญเบื้องซ้ายมิได้ เหตุว่าเจดีย์เก่านั้นอยู่บนก้อนหินนั้นแล จึงเอาไปบรรจุไว้ทางด้านตะวันออกนั้น แล้วก่อเป็นสถูปเจดีย์วิหารทั้งมวล ให้เสร็จวันเดียวกันทั้ง ๓ แห่ง คือที่ดอยตุง ๑ ที่ภูกวาว เมืองไชยนารายณ์ ๑ และ ดอยโยนกบรรพต ๑

พระมหารักขิตเถระพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๘ องค์ มาอยู่เมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแส่นที่นี้ได้ ๓ ปี สร้างพระธาตุเจดีย์ ๓ องค์ ก็สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก็เสด็จกลับคืนสู่ยังเมืองปาตลีบุตร แล้วไปถวายพระพรแก่พระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ส่วนศาสนาในเมืองโยนกนครก็เจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นแล

ส่วนใน "ตำนานพระธาตุลำปางหลวง" จ.ลำปาง ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ "ประชุมตำนานลานนาไทย" เล่าว่า

สถานที่นี้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จมาประทาน "เส้นพระเกศา" ไว้เหมือนกัน พร้อมตรัสสั่งให้พระสาวกนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้หลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน แล้วตรัสพยากรณ์สถานที่นี้ว่า ต่อไปจักมีผู้มาสร้างเป็นเมือง มีชื่อว่า "ลัมภะกัปปะนคร"

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้วนาน ๒๑๘ ปี วันนั้นมีพระยาองค์หนึ่งชื่อ "ศรีธรรมาโศกราช" ทรงสร้างพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังทั่วชมพูทวีป แล้วทรงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองราชคฤห์ มอบให้พระเถระเจ้าทั้งหลายอัญเชิญไปประดิษฐานในพระเจดีย์นั้นๆ

ส่วน พระกุมารกัสสปะเถระ ได้อัญเชิญ พระนลาฏเบื้องขวา และ พระเมฆิยะเถระ เป็นผู้อัญเชิญ ส่วนลำคอข้างหน้าและข้างหลัง มาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ลัมภะกัปปะนคร (พระธาตุลำปางหลวง) ตำนานตอนพระยาศรีธรรมาโศกราชสร้างพระเจดีย์ได้จบลงเพียงเท่านี้

นี่เป็นการบอกเล่าไว้ในตำนานของไทย ส่วนในตำนานของพม่าก็กล่าวไว้เช่นกัน หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า ศาสนวงศ์ โดย พระปัญญาสามี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวพม่า แต่งไว้เป็นภาษาบาลี ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๕ กรมศิลปากรได้แปลและจัดพิมพ์ขึ้น ใจความตอนหนึ่งเล่าว่าดังนี้

พระพุทธศาสนาประดิษฐานในรัฐโยนก ๓ ครั้ง

.....ครั้งนั้น มีหัวหน้าพวกลั๊วะอยู่ริมแม่น้ำปิง ในรัฐโยนก มอบบุตรของตนอายุ ๗ ขวบ แด่พระผู้มีพระภาคให้บรรพชา สามเณรนั้นเพียรทำกรรมฐานเนืองๆ ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ จึงเรียกสถานที่นั้นตามภาษาโยนกว่า "เจียงใหม่" ครั้นนานเข้าก็กลายเป็น "เชียงใหม่" ตั้งแต่นั้นมา ศาสนาก็ประดิษฐานในรัฐโยนก นี่คือการประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนก ครั้งที่ ๑

ลุศาสนา ๒๓๕ พระมหารักขิตะเถระไปรัฐโยนก ได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐต่างๆ หลายแห่ง เช่น กัมโพชะ เชียงตุง หริภุญชะ และอยุธยา เป็นต้น

แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านรวมรัฐเหล่านั้นทั้งหมด กล่าวโดยคำทั่วๆ ไป หมายถึงสถานที่ว่า "ประเทศโยนก" เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง ผู้แต่งคัมภีร์จะบัญญัติความหมายอย่างไรก็ได้

พระมหารักขิตะเถระพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ องค์ ออกจากเมืองปาตลีบุตร มายังประเทศโยนกทางอากาศ ทำให้ชนชาวโยนกทั้งหลายเลื่อมใสด้วยเทศนา "กาฬการามสูตร" พระเถระได้ให้เครื่องประดับ คือมรรคผลแก่ชาวโยนก ประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ คน และได้บวชในสำนักของท่านประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ท่านได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนกด้วยประการฉะนี้

ตั้งแต่นั้นมา พระเถระทั้งหลายที่เป็นศิษย์ปรัมปราของท่านเหล่านั้น มีจำนวนมากขึ้นเหลือที่จะนับคณนา นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนก ครั้งที่ ๒ โดยอาศัย พระมหารักขิตะเถระ เป็นต้น

นอกจากนี้ "ท่านปัญญาสามี" ยังกล่าวถึงประวัติ "พระพุทธปฏิมาแก้วมณี" ท่านได้เล่าไว้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พระวิสสุกรรมเทวบุตร (องค์เดียวกับท่านวิษณุกรรมเทพบุตร) สร้างพระพุทธปฏิมาแก้วมณีให้แก่ "พระนาคเสนเถระ" ในนครลำปาง รัฐโยนก

พระนาคเสนเถระได้ตั้งใจอธิษฐานขอให้พระธาตุมาประดิษฐานอยู่ในพระพุทธปฏิมา พระธาตุก็ได้มาประดิษฐานในองค์พระพุทธปฏิมา ๗ องค์ ข้อความนี้กล่าวไว้ในหนังสือราชประวัติ ( ฉบับพม่า )

พระนาคเสนประดิษฐานศาสนาในโยนก และข้อความนี้ สมตามประมาณกาลเวลาที่กล่าวไว้ในหนังสือมิลินทปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วได้ ๕๐๐ ปี พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินท์จะบังเกิดขึ้น

รัฐโยนกในรัชสมัยของพระเจ้ามิลินท์ พุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พุทธศาสนาเจริญงอกงามโดยอาศัยพระนาคเสนเถระ นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนก ครั้งที่ ๓ โดยอาศัย พระนาคเสนเถระ

จากข้อความที่ ท่านปัญญาสามี แต่งประวัติศาสนาเรื่องการประดิษฐานในรัฐโยนกถึง ๓ ครั้ง คือ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล, สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธกาลที่ ๒, และสมัยพระนาคเสน พุทธกาลที่ ๕ ที่คัดลอกมาข้างต้นนี้เอง ที่ทางกรมศิลปากรได้มีเชิงอรรถ เป็นการอธิบายความหมายของ “รัฐโยนก” ในตอนท้าย ซึ่งเป็นการสันนิษฐานที่แตกต่างกันไปว่า


.....รัฐโยนกที่พระนาคเสนอยู่นั้น คือ เปอร์เซียในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ลำปาง ผู้ประพันธ์เข้าใจว่าโยนกเป็นไทยภาคพายัพ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปก็ไขว้เขวกันหมด พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินท์พลอยเป็นชาวลำปาง, เชียงใหม่ไปหมด ซึ่งที่แท้ท่านเป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ไม่ใช่ไทยภาคพายัพ อนึ่งนครลำปางนั้น ชาวลำพูนเรียกแต่คำนำหน้า คือนคร ไม่เรียกเต็มว่า "นครลำปาง" แต่เขาออกเสียงเรียก "นคร" เป็น "ละกุน" คำนี้ จึงหมายถึงนครลำปาง

งานฟังคำถาพัน หรือประเพณีบุญผะเหวด (พระเวสสันดร)
มีเฉพาะทางภาคกลางและภาคอีสานไปจนถึงประเทศลาว

.....ในตอนท้าย ปริเฉทที่ ๙ พระปัญญาสามียังกล่าวถึง สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระไปยังมหารัฐชนบท ไว้อีกด้วย (นักประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่าที่ บอมเบย์ หรือมุมไบ อินเดีย) ซึ่งเป็นเหตุผลที่น่าสนใจต่อไปว่า

.....ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงเรื่องประวัติศาสนาใน แคว้นมหารัฐ ตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้วสืบต่อไป จริงอยู่ เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๓ สิ้นสุดลงแล้ว พระมหาโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระพร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ องค์ ๕ ทั้งตัวท่านไปรัฐ "มหารัฐ" ยังชนในแคว้นมหารัฐให้เลื่อมใส ด้วยการแสดง "มหานารทชาดก" และ "กัสสปชาดก" ยังผู้มีชีวิต ๔๐,๐๐๐ ให้ตั้งอยู่ในมรรคผลพากันบวชแล้ว ๑๓,๐๐๐ คน พระเถระนั้นได้ประดิษฐานศาสนาใน "แคว้นมหารัฐ" นั้นด้วยประการฉะนี้

นัยว่า คนในมหารัฐนั้น โดยมากเคยทำมิจฉากรรมเช่น บูชาไฟ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พระเถระจึงแสดง "นารทชาดกกถา" และ "มหากัสสปชาดกกถา" ตั้งแต่นั้นมา คนในรัฐนั้นโดยมากชอบฟังชาดกเป็นอย่างยิ่ง และพระภิกษุทั้งหลายก็เทศนา "ชาดกกถา" ให้คฤหัสถ์ฟังอยู่โดยมาก แต่ที่พิเศษกว่าอื่นก็คือ คนทั้งหลายนั้นฟัง "เวสสันดรชาดกกถา" แล้วบูชาด้วยเครื่องไทยธรรมเป็นอันมาก

และแคว้นที่ชื่อ "มหารัฐ" นั้น อยู่ใกล้ประเทศสยาม เพราะฉะนั้นชาวสยามทั้งพระภิกษุและคฤหัสถ์ จึงชอบฟังกันเป็นส่วนมาก แม้ พระมหาธรรมรักขิตเถระ ก็แสดงธรรมแก่ชนชาวสยาม พร้อมกับชนชาวมหารัฐ ยังชนเหล่านั้นให้ดื่มอมตรส (รสนิพพาน)

คำที่ข้าพเจ้ากล่าวในเรื่องประวัติศาสนาในรัฐโยนกทั้งหมดนั้น โปรดทราบว่าข้าพเจ้ากล่าวถึงมหารัฐนี้ด้วย เพราะพระเถระเหล่านั้นประดิษฐานศาสนาโดยทำนองเดียวกัน จริงอยู่..ถึงแม้ว่า พระนาคเสนเถระอยู่ในรัฐโยนก แต่ก็ได้ประดิษฐานศาสนาในประเทศสยามด้วย

พระมหาธรรมคัมภีระ และ พระมหาเมธังกระ ซึ่งเป็นชาวโยนกได้ไปเกาะสีหฬ (ลังกา) พร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ขากลับจากเกาะสีหฬ แวะนครสุโขทัยประเทศสยาม อยู่ยกย่องศาสนาในนครสุโขทัยนั้น ภายหลังจึงมายกย่องศาสนาอยู่นครลำปาง จึงเห็นได้ว่าศาสนาตั้งอยู่ใน รัฐโยนก ก็เท่ากับตั้งอยู่ใน ประเทศสยาม เหมือนกัน

โปรดทราบว่า ศาสนาในรัฐเหล่านี้ คือ มหานคร (มหารัฐ), โยนก, และสยาม ตั้งมั่นด้วยประการดังกล่าวมานี้

...นี่เป็นความเห็นของพระเถระชาวพม่า ที่เห็นว่า มหารัฐ น่าจะเป็นทั้งฝั่งลาวและไทย ซึ่งตรงข้ามกับนักปราชญ์ของไทย ด้วยความเห็นที่ไม่ตรงกันมานานแล้ว แทบไม่น่าเชื่อว่า พระสมณทูต สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ในตำนานของไทยเรียกว่า "ศรีธรรมาโศกราช") หลายสายได้เข้ามาสืบต่อในประเทศสยาม

นอกจากนี้ก็ยังพบชื่อ พระยามิลินท์ ในประวัติ พระธาตุเจดีย์ซาว จังหวัดลำปาง อีก นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องเล่าจาก หลวงปู่สิม ที่อ้างคำบอกเล่าของ หลวงปู่มั่น กล่าวถึง พระนาคเสน และ พระยามิลินท์ ที่เกี่ยวพันกับเมืองลำปางไว้ ดังนี้

ประวัติ พระธาตุเจดีย์ซาว
ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง



.....เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๔ มีพระภิกษุชาวพม่าชื่อ อูวะยันต่าเถระ ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณฑะเล ประเทศพม่า ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่าให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎกแก่พระสงฆ์พม่าในนครลำปาง ในการมาครั้งนั้นท่านได้นำตำนานวัดเจดีย์ซาวติดตัวมาด้วย สันนิษฐานกันว่าเพราะลำปางตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า เมื่อพม่ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ชัยชนะแล้ว ก็ขนเอาของมีค่ากลับไปเมืองพม่าด้วย

ในตำนานที่พระภิกษุพม่านำมานั้นกล่าวว่า เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีพระอรหันต์ ๒ องค์ จาริกมาจากชมพูทวีป เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา และได้มาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่จำพรรษาเผยแพร่ศีลธรรม เทศนาสั่งสอนแก่ผู้คนในถิ่นใกล้เคียงนั้น

ต่อมามีพระยาองค์หนึ่งนามว่า พระยามิลินท์ ได้มาพบปะพระอรหันต์แล้วไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจต่างๆ ได้รับการชี้แจงให้รอบรู้ในเหตุและผล จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระอรหันต์ทั้งสอง จึงได้ปวารณาตนเป็นศิษย์ และประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั้น จึงขอเส้นเกศาจากพระอรหันต์ ๒ องค์
พระอรหันต์ทั้งสองรูปได้ใช้มือลูบศีรษะ มีเส้นเกศาติดมือมารูปละ ๑๐ เส้น แล้วมอบให้พระยามิลินท์

พระยามิลินท์ได้สร้างเจดีย์ขึ้น ๒๐ องค์ โดยอัญเชิญพระเกศาธาตุองค์ละเส้นบรรจุในผอบทองคำ แล้วนำลงประดิษฐานในหลุม เพื่อให้ช่างก่อพระเจดีย์ครอบไว้จำนวน ๒๐ องค์ ต่อมาคนทั้งหลายจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดเจดีย์ซาวหลัง "ซาว" แปลว่า 'ยี่สิบ' และ "หลัง" แปลว่า 'องค์' วัดพระเจดีย์ซาวหลัง แปลว่า วัดที่มีเจดีย์ ๒๐ องค์

เมื่อพระเถระได้นำตำนานมาด้วย จึงอ่านตำนานนั้นให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านต่างมีศรัทธา จึงออกค้นหาพระธาตุของพระอรหันต์จนพบ (ไม่ได้บอกว่าพบเมื่อไร และอ่านให้ฟังเมื่อไร) และมีการขุดพบของโบราณหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (พระแสนแซ่ทองคำ) พระคงลำพูน บรรจุในไห ๑ ไห ซึ่งผู้ค้นพบได้บรรจุไว้ที่เดิมทั้งหมด ข่าวร่ำลือกันไปทั่ว

จนทราบไปถึง เจ้าบุญวาทย์มานิต ท่านจึงรับเป็นประธานในการปฏิสังขรณ์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ คาดว่าช่วงเวลาที่ก่อสร้างนั้นตรงกับรัชกาลที่ ๕ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เสร็จเรียบร้อยเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๔๖๖

แต่เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้ถึงแก่พิราลัยก่อนที่การบูรณะจะเสร็จ แต่ศรัทธาโดยการนำของทายาทเจ้าพ่อก็ทำต่อกันมาจนเรียบร้อย (วิกิพีเดีย - ไม่กล่าวถึงประวัติเหล่านี้เลย)

แหล่งที่มา : เว็บไซต์ "สำนักงานพระพุทธศาสนา" จังหวัดลำปาง คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง

เล่าเรื่อง "ประวัติพระแก้วมรกต"

.
....แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราก็จะเห็นแต่พระพุทธรูป หรือรูปวาดเขียนต่างๆ ที่คนเราเขียนไว้หล่อไว้ ที่สำคัญเมืองไทยเราก็เรียกว่า “พระแก้วมรกต” อยู่ที่พระราชวังหลวงโน่น พวกที่เคยมาที่นี่อาจเคยไปไหว้ไปกราบแต่ว่าที่ท่านจัดไว้นั้นก็สูงไปหน่อย เวลาตาคนเรามองไปถึงพระแก้วนั้นมันเห็นน้อยไปนิดเดียว แต่ไม่ใช่แก้วเขียวเหมือนเมืองไทย เป็นแก้วมรกต

"แก้วมรกต" ก็คือว่าในประเทศอินเดียในภูเขาหิมาลัยลูกใดลูกหนึ่งนั้นแหละ เขาลูกนั้นเป็นหิน เป็นหินแก้วมรกต เมื่อเป็นหินแก้วมรกต เวลาหินในเขาลูกนั้นกลั่นมาเป็นน้ำแก้ว ก็เป็นแก้วมรกต สีเขียว มีฤทธิ์มีอำนาจ พระเจ้าแผ่นดินหลายชั่วพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียนั้นก็ไปได้ลูกแก้วลูกนี้มา แต่ยังไม่ได้แกะสลักเป็นพระพุทธรูปเหมือนเราเห็นทุกวันนี้ เป็นแก้วหรือที่ประเทศไทย เราเห็นโป่งข่ามนั้น มันเป็นหกเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง แหลมปลายเสีย มันหยดออกมาจากภูเขา

เมื่อเป็นสมบัติพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียมานานจนนับประมาณไม่ได้ พอดีมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งอุบัติบังเกิดขึ้น แล้วก็มาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ในแผ่นดินอินเดีย ให้ชื่อว่า "พระยามิลินท์" เป็นคนปฏิภาณโวหารดี สมัยนั้นยังพระอรหันต์เยอะแยะ แต่ว่าท่านพระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่กล้าทัดทานวาทะของพระยามิลินท์

พระยามิลินท์เวลานั้นยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไปไหนมาไหนแกก็ปฏิภาณครอบโลกไปอย่างนั้นแหละ ใครกลัวเพราะคนมีอำนาจ พระอรหันต์เถระสมัยนั้น จึงมาจินตนาการว่า จะทำอย่างไรกับพระยามิลินท์นี้ให้เลื่อมใสในพุทธศาสนา แต่ว่าพวกเราที่เกิดปฏิบัติอยู่นี้ไม่มีใครทัดทานแกได้ คนแบบนี้คงมีอาจารย์ของแกว่าอย่างนั้น

ข้อสันนิษฐานของพระเถระในเวลานั้น เมื่อลงสันนิษฐานอย่างนั้นแล้วก็ ถ้ามีอาจารย์ของท่านพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ก็มาสอน ที่เคยเป็นอาจารย์จึงจะฟังว่าอย่างนั้น พวกเราสมัยนี้สอนมันไม่ฟัง

พระเถระก็เข้าฌานดูว่าเทวดา หรือมนุษย์คนไหน ที่เคยเป็นครูอาจารย์ของพระยามิลินท์นี้ เมื่อพระเถระท่านให้พระที่มีฌานเหาะเหินเดินอากาศไปทั่วมนุสสโลก เทวโลก พรหมโลก ก็ไปเห็นอยู่ในเทวโลก เมื่อสอบถามดูก็เคยเป็นอาจารย์เป็นครูสอนของแกว่าอย่างนั้น “เออ ! อย่างนั้น มันก็ขอ (นิ) มนต์ ขอเชิญเทวดาเจ้าจุติไปเกิดในโลกมนุษย์แล้ว จะได้ช่วยกิจการพระศาสนา” ว่าอย่างนั้น

พระอาจารย์ของพระยามิลินท์ที่เป็นเทวดาอยู่ท่านก็รู้ รับรองว่าจะลงมาจุติปฏิสนธิในโลกมนุษย์นี้ให้ตามต้องการของพระอรหันตขีณาสพ จะได้ช่วยกิจการพระศาสนา ว่าอย่างนั้น ก็เลยแนะนำว่า “ถ้าไปเกิดก็ให้ไปเกิดในตระกูลนั้นตระกูลที่ได้รับจะได้รับรอง พระสงฆ์ก็จะได้เตรียมการรับรองมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย” ว่าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่าตกลงกันดีแล้ว ก็ลงมา

วันนั้น เทวดาตนนั้นก็ลงมาเกิดที่ว่านั้นแหละ เกิดแล้วก็พระสงฆ์องค์เจ้าก็ไปบิณฑบาตบ้านญาติโยมไว้ให้มันพร้อมมูลทุกอย่าง เตรียมการต้อนรับไว้จนกระทั่งเด็กทารกนั้น เจริญวัยใหญ่โตขึ้นมา พอจะบวชเป็นสามเณรได้ ก็ขอจากญาติโยมมาบวชเป็นสามเณรเรียนธรรมะคำสอน ประพฤติปฏิบัติ ก็เป็นอันว่าตกลงทั้งญาติโยมพ่อแม่ของ “พระนาคเสน” ชื่อ “นาคเสน” ว่าอย่างนั้น

พอใหญ่ขึ้นมาอายุครบ ๒๐ อุปสมบทให้เป็นพระ ส่วนการภาวนาก็เรียกว่าได้สำเร็จเป็นขั้นๆ มาจนถึงเป็นพระอรหันตขีณาสพจบพรหมจรรย์ เรียนพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จบเรียบร้อย พร้อมด้วยการละกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดสิ้นไป แล้วจึงได้ไปโต้วาทีกับพระยามิลินท์ เพราะเป็นอาจารย์เก่า

ตามข่าวคราวว่าโต้เถียงกันมาตลอด พระนาคเสนก็มีหน้าที่แสดงธรรม พระยามิลินท์ก็โต้ไป ไม่ยอม พอหนักเข้าๆ ก็มาถึงปัญหาข้อหนึ่ง พระนาคเสนท่านก็ตอบแบบเล่นๆ ล่ะ บอกว่า

“โยม มหาบพิตร มีน้ำก็มีปลา มีนาก็มีข้าว” ว่าอย่างนั้น

“มีอย่างหนึ่งก็ต้องมีอย่างหนึ่ง”

ทีนี้พอว่าถึง มีน้ำปลา มีนามีข้าว ก็จับจุดเอาตรงที่ว่ามีน้ำมีปลา ก็เรียกลูกน้องมา พระเจ้าแผ่นดินสั่งลูกน้องว่า

“ให้ไปขึ้นมะพร้าวมา มาผ่าดู ว่ามีปลาจริงไหม”

นั่นสู้กันด้วยเรื่องเล็กน้อย แขกอินเดียมันมีปัญญาสมัยนั้น ทีนี้ด้วยพระวาจาของพระอรหันต์มันเกิดมีปลาขึ้นมาบัดนี้ มะพร้าวลูกโตๆ มาผ่า มีปลาอยู่ในนั้น จึงยอม ยอมนับถือ จึงยอมนับถือศาสนาพุทธ ยอมเป็นลูกศิษย์ของพระนาคเสน

เมื่อนับถือศาสนาพุทธ ยอมเป็นลูกศิษย์พระนาคเสนแล้ว พระนาคเสนหรือพระอรหันต์ในสมัยนั้น ท่านก็รู้ว่ามีแก้วมรกตลูกหนึ่ง ที่พระแก้วมรกตเมืองไทยเรานี่แหละ

“ว่าขอบิณฑบาตแก้วมรกตที่เป็นมูลสังฆญาตินั้น จะได้ไหมมหาบพิตร”

ก็ถามไป ท่านก็คงตอบว่า พระเจ้าแผ่นดินน่ะ คงจะถามว่า

“จะเอาไปทำไม” ถ้าภาษาไทยเราก็เรียกว่า เอาไปทำไม พระนาคเสนก็ตอบว่า

“คือแก้วนี้เป็นแก้วมีฤทธิ์มีอำนาจ จะนำแก้วไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป พระศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรืองต่อไป” ว่าอย่างนั้น

“เอาถ้าอย่างนั้นก็จะเอามาถวาย”

เมื่อได้ฤกษ์ งามยามดีก็เอามาถวายพระนาคเสน พระนาคเสนก็รับเอาแก้วลูกนี้ พอข่าวคราวว่า พระยามิลินท์ศาสดาหัวแหลม สู้พระนาคเสนไม่ได้ จึงยอมถวายลูกแก้วมรกตว่าอย่างนั้น

ทีนี้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนักแกะอยู่ ตาวติงสาท่านมีนักแกะที่ดีลงมาขอจากพระนาคเสนรับเอาไปแกะจะแกะเป็นอย่างดี จะไม่ให้แตกไม่ให้ทำลาย พระนาคเสนก็มอบให้ แกะเสร็จเรียบร้อยก็เอามาถวายพระนาคเสน พระนาคเสนก็ฉลองสมโภช ทุกสิ่งทุกอย่างตามธรรมเนียมแขกอินเดียในสมัยนั้น

ในพระแก้วมรกตมีอำนาจคือว่าแก้วนั้นก็มีอำนาจ แล้วก็แกะเป็นพระพุทธรูปก็เพิ่มขึ้นไปอีก ทีนี้พระนาคเสนก็อธิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ในองค์พระแก้วนั้น ก็เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมากมาย

เมื่อล่วงเลยจากนั้นแล้ว ก่อนที่พระแก้วมรกตจะได้เสด็จมาประเทศไทยเราน่ะ มีแขก..แขกทางทะเลทรายโน่น เป็นศาสนาอิสลามยกกองทัพมารบอินเดีย ให้เข้าศาสนาอิสลาม แต่ว่าคนแขกสมัยนั้นใจไม่ค่อยสู้เลยยอมให้อิสลามนั้นทำลายสถานที่ จนกระทั่งเผาวัดเผาวา ฆ่าใครไม่นับถือ คือศาสนาอิสลามนี้

สมัยนั้นไม่เลื่อมใสศาสนาพุทธ ค้านทุกอย่าง แล้วยังไม่พอ ถ้ามีพระวัดมีวาที่ไหน ก็ทุบต่อยตี หลวงปู่ได้ไปตั้ง ๒ ครั้งแล้ว พระพุทธรูปต่างๆ นั้นเขาทุบหมด ที่ไหนไปแกะสลักไว้ในภูเขา ในถ้ำ มันก็เอาค้อนเหล็กไปตีจนหน้าตาเสีย ไปตรงไหนที่มันบางๆ อย่างว่าพระกรรณหูนี้ ก็ไม่เหลือล่ะทุบเอาทั้งนั้นล่ะ

พระยามิลินท์มาแล้ว ก็ไม่มีใครต่อสู้ ญาติโยมที่เหลืออยู่ พระสงฆ์สามเณรก็ตกลงมติว่า ท่านคงเข้าฌานดูว่า ในโลกเราต่อไป ประเทศไหนคนพวกใดจะรักษาพระพุทธศาสนา ท่านก็รู้ทีเดียวว่าเมืองไทย ไม่ใช่เป็นเมืองไทยละ (สมัยนั้น) เขาเรียกว่า “ปัจจันตประเทศ” เป็นประเทศที่เรียกว่ายังไม่เจริญ ไม่เหมือนอินเดีย..ว่าอย่างนั้น

เมื่อรู้อย่างนั้นก็เลยเอาลงเรือแบบเรือใบน่ะ จากอินเดีย เกาะลังกานั้นแหละวนรอบมาขึ้นเขมร แล้วก็ขึ้นมาเมืองไทย จนไปหลายที่ เชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ก็มาอยู่ หลังจากนั้นก็เวียงจันทน์ พระแก้วมรกตก็ไปเวียงจันทน์กับพระบาง พระทองคำที่อยู่หลวงพระบาง

รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพมหานครเรานี่แหละ สมัยนั้นยังเป็นแม่ทัพใหญ่อยู่ไปรบทางภาคเหนือทางเวียงจันทน์ ได้ชัยชนะก็เอาพระแก้วมรกตมาไว้ที่เราท่านทั้งหลายเห็นอยู่ที่วัดพระแก้วนี้ ดังนั้น แก้วดวงนี้ แก้วองค์นี้ จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเกิดใหม่ใหญ่ทีหลังยังไม่ได้ไปกราบไปไหว้ ก็ให้ไปไหว้ ท่านเป็นพระพุทธรูป ไปไหว้เมื่อใดวันใดก็ได้ ตามข่าวว่าวันพระท่านก็เปิด ให้ไหว้ได้วันเสาร์วันอาทิตย์ หรือวันใดก็ไหว้ได้ เป็นพระแก้วมรกตโบร่ำโบราณ

ส่วนว่า พระยามิลินท์ และ พระนาคเสน ก็สู้ความแก่ความชราไม่ได้ แก่เฒ่ามาฟันก็หลุด ผมหงอก พระนาคเสนก็ดับขันธ์เข้าสู่นฤพานไป แต่ตามตำนานของ หลวงปู่มั่น ที่รูปท่านอยู่ข้างหลังหลวงปู่นี้ หลวงปู่มั่นนี้ท่านก็มีความรู้พิเศษทางนี้แหละว่า พระนาคเสน ท่านก็อยู่โน้นแหละ..อินเดีย แต่ว่าเมื่อตอนแก่ชรามา เห็นว่าไปไม่รอด ท่านก็เสด็จมาไว้สรีระในปัจจันตประเทศ..ประเทศไทยเรานี้แหละ

ที่สมัยนั้นแต่ก่อนเขาเรียกว่า "ดงพญาไฟ" หรือ "เขาใหญ่" เดี๋ยวนี้เขาใหญ่ก็สงวนไว้ ป่าใหญ่ยังอยู่ มีช้าง มีวัว กระทิง มีพันธุ์สัตว์ต่างๆ ยังเยอะ ช้างก็ยังเยอะอยู่ มานิพพานที่เขาใหญ่ แต่ถ้ำใดก็จำไม่ได้ แต่หลวงปู่มั่นท่านรู้ ท่านเล่าให้ฟัง

ส่วน พระยามิลินท์ นักโต้วาที เมื่อแก่ชรามาก็โต้แก่ชราก็ไม่ได้ อวดดีกับพระยามัจจุราชไม่ไหว พอเห็นว่าท่าไม่ไหว ก็เลยลาราชการมาบวช พระยามิลินท์ปฏิภาณดีก็บวช บวชแล้วก็ภาวนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันตาขีณาสพ แก่เฒ่าชรากาลก็เสด็จมานิพพานที่เมืองไทย ประเทศไทยเรา ที่ (วัด) ลำปางหลวง นครลำปาง เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตอำเภอเกาะคา ผู้ใดไปแล้วก็ไปไหว้ได้ เป็นที่พระยามิลินท์มานิพพานที่นั่น

แล้ววัดลำปางหลวงนั้นเวลานี้ก็มีพระแก้วเหมือนกัน แต่เป็นแก้วเปรียวไม้ไผ่ ไม่ถึงกับเป็นแก้วมรกตเหมือนอยู่ที่พระราชวังเมืองไทยเรานี้..นั่นแหละ พระพุทธรูปท่านก็ดี ท่านไม่โกรธให้ใคร ท่านไม่โลภอยากได้ของใคร

แม้จะเป็นพระแก้วมรกตท่านก็ไม่ดุดันเหมือนคนเรา ท่านก็นั่งภาวนาของท่าน ท่านไม่มีไปซื้อหวยล๊อตเตอรี่เพื่อให้ร่ำให้รวยเหมือนคนเราหรอก นั่งภาวนาลูกเดียว “พุทโธ พุทโธ” ฉะนั้น ผู้ใดได้ไปเห็นก็ให้พากันไหว้ท่านพระแก้วมรกตน่ะ ก็ทำใจของเราทุกคนให้ใสเป็นแก้วมรกตด้วยนะ..

อ้างอิงจาก - "พุทธาจารปูชา" หนังสือพระราชทานเพลิงศพของท่าน (หน้า ๒๑๒)

หลวงพ่อพูดถึงหลวงปู่สิม


".....หลวงพ่อสิมองค์นี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ "ฤาษีลิงดำ" หรือที่ใช้นามว่าเจ้าลิงจัญไร เดินทางไปเชียงใหม่ต้องการจะไปดอยอินทนนท์ ไปพักอยู่ที่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีท่าน พล.อ.ต. ม.ร.ว. เสริม สุขสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าในการเดินทาง

วันนั้นเมื่อเข้าไปในห้องพัก ดร.ปริญญา นุตาลัย ถามว่า หลวงพ่อสิม นี่เป็นพระระดับไหน เวลานั้นเขายังไม่ได้นำรูปมาให้ดู และยังถาม หลวงพ่อสิม นี่เป็นพระอ้วน ๆ มีเนื้อเต็ม ผิวเนื้อค่อนข้างขาวและเป็นคนผิวขาวใช่ไหม คำว่าขาวนี้ไม่ต้องขาวเหมือนผ้าขาว แต่มีสีขาวก็ใช้ได้ ไม่ดำเหมือนลิงดำ ดร.ปริญญา ฯ ก็บอกว่าใช่ ก็เลยบอกว่า พระองค์นี้ดีนะ..ไหว้ได้ พยายามไปไหว้ให้ได้นะ พระประเภทนี้ลิงเคารพ..เป็นพระดี

และเมื่อพูดจบในตอนนั้นก็ปรากฏว่า ดร.ปริญญา ฯ จึงได้นำรูปหลวงพ่อสิม มาให้ดู ความรู้สึกในตอนนั้นก็รู้สึกว่าพระองค์นี้ จัดว่าเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครูที่ควรไหว้สักการะบูชา ทั้ง ๆ ที่ไม่เห็นหน้า ก็ยังตั้งใจบูชาความดีของท่าน

.....หลวงพ่อสิมจะเป็นพระอริยะหรือเปล่า ก็ไปถามท่านเองก็แล้วกัน ขอทิ้งท้ายไว้แต่เพียงว่า...

"หลวงพ่อสิมเป็นพระสุปฏิปันโนแท้.."


อ้างอิง - หนังสือ "ฤาษีทัศนาจร เล่มที่ ๑"

(โปรดติดตามตอนต่อไป "ประวัติพระปัญญาสามี")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 31/3/17 at 17:14 [ QUOTE ]



[ ตอนที่ 3 ]

ประวัติพระปัญญาสามี


...เรื่องราวความเกี่ยวข้องกัน หรือเรียกว่า "พุทธสัมพันธ์" คือความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของคนไทย จึงอยู่ที่ความเชื่อ หรือเรียกง่ายๆ ว่าอยู่ที่ความศรัทธานั่นเองว่า จะเชื่อถือตำนานที่พระอริยสงฆ์นำมาเล่าไว้หรือไม่ ทั้งนี้ก็อยู่ที่ปัญญาของแต่ละคน เพราะหลักฐานมีอยู่แค่ตัวหนังสือเท่านั้น ส่วนวัตถุโบราณนั้นคงจะหายากเต็มที

ฉะนั้น เมื่อตอนที่แล้วได้จบลงตรงคำบอกเล่าของ หลวงปู่สิม ที่ท่านได้อ้างว่ามาจาก หลวงปู่มั่น ทั้งที่ท่านอยู่คนละภาคของประเทศ แต่ท่านยังรู้ถึงความสำคัญของเมืองลำปาง ถึงแม้ว่าประวัติของ วัดพระธาตุเจดีย์ซาว จะอ้างชื่อแค่ พระยามิลินท์ ผู้แตกฉานในหลักธรรม ได้มาสนทนาซักถามปัญหาธรรมกับพระอรหันต์เถระทั้งสองรูป

ความตอนนี้ เราก็พอจะรู้ว่าต้องเป็น พระยามิลินท์ ผู้ซักถามปัญหากับ พระนาคเสน เป็นแน่ (เรื่องนี้ตามประวัติเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๕๐๐ ณ สาคลนคร สมัยนี้มีผู้วินิจฉัยว่าเป็น "แคชเมียร์" ที่อยู่ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ในวิกิพีเดียบอกว่า เป็นกษัตริย์ชาวกรีกนามว่า "เมร์นันเดอร์" นามบาลีว่า "มิลินท์" นั่นเอง) สรุปได้ว่าผู้ที่อ้างว่าอยู่ที่ลำปางทั้ง ๓ สาย ตรงกันโดยไม่ได้นัดหมายไว้ คือ

๑. สายหลวงปู่มั่น
๒. สายพระธาตุเจดีย์ซาว
๓. สายพระปัญญาสามี ชาวพม่า


ผู้เขียนจึงขอย้ำถึงความสำคัญของผู้รจนาคัมภีร์ ศาสนวงศ์ คือ พระปัญญาสามี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวพม่า แต่งไว้เป็นภาษาบาลี ประมาณปี พ.ศ.๒๔๐๕ หรือเมื่อ ๑๕๖ ปี ที่ผ่านมา ซึ่งยุคนั้นความรู้ใหม่ๆ ที่ชาติตะวันตก

โดยเฉพาะอังกฤษที่เข้าไปยึดครองอินเดีย น่าจะยังค้นคว้าและเขียนประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์อินเดีย ยังไม่ตกผลึก และ ยังไม่แพร่หลายครอบงำมาถึงพม่า เพราะอังกฤษเพิ่งจะทำสงครามกับพม่า และยึดครองพม่าได้เบ็ดเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๒๘

ดังนั้น เรื่องราวที่พระปัญญาสามีรวบรวมไว้ จากข้อมูลที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน ในเรื่องประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง และที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าเชื่อถือยิ่ง โดยเฉพาะ เรื่องแว่นแคว้นต่างๆ ที่ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ได้ส่ง พระสมณทูต ๙ สาย ไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ

และมีความขัดแย้งกับที่ ท่านวินเซนต์ อาเธอร์ สมิธ บิดาแห่งประวัติศาสตร์อินเดีย ซึ่งไทยก็ไปเรียนรู้กับเขาด้วย แล้วลงความเห็นว่าแคว้นต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง ลองมาอ่านประวัติของท่านว่า มีความน่าเชื่อถือในภูมิปัญญาและผลงานต่างๆ ของท่านเพียงใด

ประวัติความเป็นมา

....ศาสนวงศ์ เป็นผลงานภาษาบาลีของภิกษุพม่าชื่อ พระปัญญาสามี แต่งไว้โดยสอบทานและรวบรวมเอกสารที่เป็นภาษาพม่าหลายฉบับด้วยกัน มีปรากฏว่ามีผู้รู้เรื่องพม่าดีที่สุดคนหนึ่งชื่อ เมเบิล โบด (Mable Bode, Ph.D.) ได้อ้างถึง "พระปัญญาสามี" และผลงานของท่านพอสังเขปว่า

พระปัญญาสามีมีชีวิตอยู่ในสมัยของ "พระเจ้าสราวดีมิน" และได้เป็นสังฆราชในรัชกาล "พระเจ้ามินดงมิน" ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า ก่อนจะเสียเอกราชแก่อังกฤษในรัชกาลพระเจ้าสีป่อมิน และในรัชกาลพระเจ้ามินดงมิน (ค.ศ. 1852-1877) พม่าย้ายขึ้นไปอยู่เมืองหลวงใหม่คือ "กรุงมัณฑะเล" และพระเจ้ามินดงมิน ได้โปรดให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 ของโลก (ตามขนบนิยมของพม่า) ขึ้นที่เมืองหลวงใหม่นี้เอง

เมื่อสังคายนาสำเร็จแล้วได้จารึกไว้ในแผ่นหินอ่อนทั้งหมด ดร. เมเบิล โบด ได้อ้างถึงผลงานอื่นๆ ของพระปัญญาสามีอีกสองสามเรื่อง มี สีลกถา อุปายกถา อักขรวิโสธนี อาปัตติวินิจฉัย นาคราชุปปัตติกถา โวหารัตถเภท วิวาทวินิจฉัย และ สัททนีติ เป็นต้น โดยเฉพาะ "คัมภีร์สัททนีติ" ถือเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ที่สำคัญเล่มหนึ่ง ที่ภิกษุชาวเมืองพุกามชื่อ "อัคควังสะ" เป็นผู้เขียน แต่คงจะขาดตกบกพร่องอยู่มาก พระปัญญาสามีจึงเขียนขึ้นใหม่

พระปัญญาสามีจะถึงแก่มรณภาพในรัชกาลของพระเจ้ามินดงมิน หรืออาจจะหลังจากนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ งานชิ้นสำคัญคือ ศาสนวงศ์ (สาสนวํส) นี้ ดร.เมเบิล โบด ได้ถอดจากฉบับที่พระปัญญาสามีแต่งเป็นภาษาบาลีออกเป็นตัวอักษรโรมัน โดยสอบทานกับฉบับที่จารในใบลานด้วยตัวอักษรสิงหฬ ซึ่งเก็บรักษาไว้ในหอสมุดบริติชมิวเซียม 2 ฉบับ กับฉบับที่ศาสตราจารย์เซิร์ช โดลเดนเบอร์ก ส่งมาให้อีกฉบับหนึ่ง

ดร. เมเบิล โบดได้เขียนอธิบายแคว้นที่ "พระเจ้าอโศกมหาราช" ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาว่าแคว้นใดอยู่ที่ใด โดยอ้างหนังสือต่างๆ ไว้ในคำอธิบายด้วยเรื่องศาสนวงศ์นี้ได้ตีพิมพ์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440)

ส่วนฉบับพากย์ไทยนั้น กรมศิลปากร ได้ให้ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร ข้าราชการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ แปลถอดจากตัวอักษรโรมันฉบับของ ดร. เมเบิล โบด ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2440 และ แปลเป็นพากย์ไทยโดย ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร ได้พยายามทำเชิงอรรถอธิบายข้อความต่างๆ ที่ควรทราบอีกหลายอย่าง


อ้างอิงที่มา - https://channarongs22.wordpress.com/2011/07/21/วรรณคดีพุทธศาสนา

.....ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาชาวไทย ได้เกิดความสับสน ในพระราชประวัติของ พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นองค์ศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ มาตั้งแต่ที่ได้รับรู้ผลการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก เรื่องช่วงเวลาที่พระเจ้าอโศกมหาราช เกิดขึ้นมาในโลก เพราะจากการลำดับประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำสินธุ ประเทศอินเดียปัจจุบัน

โดยเริ่มตั้งแต่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ ที่เริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังอินเดีย ในราวปี พ.ศ. ๒๑๗ เท่ากับว่าช่วงเวลานั้น พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ ยังไม่ได้เกิดมาลืมตามองดูโลก ซึ่งจะขัดแย้งกับ "พระราชประวัติของพระเจ้าอโศก" ในความรับรู้ของชาวพุทธในแผ่นดินสุวรรณภูมิปัจจุบัน เพราะนอกจากเรื่องราวของพระเจ้าอโศก จะปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาบาลีแล้ว

ในพระราชพงศาวดาร, ตำนาน, ที่สืบต่อๆ กันมา ในแผ่นดินสุวรรณภูมินี้ ย่อมเป็นที่รับรู้กันว่า พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ยิ่งใหญ่นี้ ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นมาในโลกนี้ เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พ.ศ. ๑๘๘ และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์หลังผ่านสงครามช่วงชิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔ (ก่อนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จะยกทัพมายึดครองอินเดียเสียอีก)

และแน่นอนที่สุด..เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ก็คือ การทำตติยสังคายนา หรือ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ และการส่ง คณะพระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ ซึ่งจะปรากฏความไม่ลงรอยกัน..ในประเทศ..แว่นแคว้น ที่ "คณะพระธรรมทูต" ซึ่ง พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา

ระหว่างความเห็นของนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก กับที่ พระปัญญาสามี พระภิกษุชาวพม่าได้บันทึกไว้ใน คัมภีร์ศาสนวงศ์ ทั้งนี้ ก็เพราะ ความสับสนในที่ตั้งของชมพูทวีป..ที่ตั้งของอินเดีย..และที่ตั้งของ "นครปาฏลีบุตร" ของพระเจ้าอโศก เป็นต้น

ในตอนนี้ จึงเป็นปมปัญหาระหว่างความเชื่อที่ว่า "โยนกของไทย" กับ "โยนกของกรีก" อยู่ที่ไหนกันแน่ ต่อไปขอนำคำของท่าน "พระปัญญาสามี" ที่กรมศิลปากรได้แปลและจัดพิมพ์ขึ้นมากล่าวย้ำอีกครั้งว่า

"...ลุศาสนา ๒๓๕ พระมหารักขิตะเถระ ไปรัฐโยนก ได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐต่างๆ หลายแห่ง เช่น กัมโพชะ เชียงตุง หริภุญชะ และอยุธยา เป็นต้น

เมื่อพระพุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พระวิสสุกรรมเทวบุตรสร้างพระพุทธปฏิมาแก้วมณีให้แก่ "พระนาคเสนเถระ" ในนครลำปางรัฐโยนก

รัฐโยนกในรัชสมัยของ พระเจ้ามิลินท์ พุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พุทธศาสนาเจริญงอกงามโดยอาศัยพระนาคเสนเถระ นี่คือการประดิษฐานใน รัฐโยนก ครั้งที่ ๓ โดยอาศัยพระนาคเสนเถระ.."


ส่วนผู้ที่แปลแล้วก็ออกความเห็นปฏิเสธไว้ตอนท้าย ด้วยการโยนไปอยู่ที่ประเทศอื่นต่อไปว่า

"...รัฐโยนกที่พระนาคเสนอยู่นั้น คือ เปอร์เซียในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ลำปาง ผู้ประพันธ์เข้าใจว่าโยนกเป็นไทยภาคพายัพ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปก็ไขว้เขวกันหมด พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินท์พลอยเป็นชาวลำปาง, เชียงใหม่ไปหมด ซึ่งที่แท้ท่านเป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ไม่ใช่ไทยภาคพายัพ..."

นับว่าเป็นเรื่องแปลกที่สุดสำหรับคนไทยในสมัยนี้ เมื่อได้รื้อฟื้นตำนานโบราณมาเล่าสู่กันฟัง พบว่ากษัตริย์กรีกกลับมาสร้างวัดที่เมืองไทย บั้นปลายชีวิตได้ออกบวชแล้วนิพพานที่ลำปาง ส่วนหนังสือ "มิลินทปัญหา" ที่คัดลอกสืบๆ กันมาก็ยังอยู่ในประเทศไทย

ส่วนตัวยังไม่เคยเห็นว่ามี "มิลินทปัญหา" หลงเหลืออยู่ในประเทศเหล่านี้เลย ส่วนพระแก้วมรกตที่ท่านสร้างไว้..ก็ยังอยู่ในเมืองไทย..แล้วก็อยู่ตลอดไป..ใครไม่เชื่อก็ตามใจ นี่ถือว่าเป็นความรู้ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายอีสาน ที่อยู่ห่างไกลกันคนละภาค

แต่ที่อยู่ห่างไกลกันกว่านั้นอีก นั่นก็คือแม้ภิกษุชาวพม่าก็ยังยอมรับว่าอยู่ในประเทศ แปลกไหม่ล่ะ..ท่านผู้อ่าน เมื่อบวกกับประวัติของ วัดพระธาตุเจดีย์ซาว แล้วนับว่าสมคล้องกันมาก เพียงแต่ประวัติของวัดไม่ได้เอ่ยชื่อ พระนาคเสน เพียงแค่บอกว่า ได้มาสนทนาซักถามปัญหาธรรมกับพระอรหันต์ ๒ รูปเท่านั้น

นี่ก็เป็นเรื่องที่ชวนคิดว่า พระอรหันต์ที่สนทนากับพระยามิลินท์ได้นั้นเป็นใคร ท่านต้องเป็นพระที่ไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่ทำให้พระองค์เกิดความศรัทธา จนสร้างพระเจดีย์บรรจุ "เส้นเกศา" ของพระอรหันต์ทั้ง ๒ รูปไว้ ณ สถานที่นี้ นับว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กับใน "มิลินทปัญหา" เป็นอย่างยิ่ง

นั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นสมัยพุทธกาล ๕๐๐ ปี ตอนนี้ขอย้อนไปถึงสมัยพุทธกาลกันต่อว่า ถ้ามีการตั้งคำถามกันว่า แล้วพระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทยหรือไม่ เพราะตามที่ได้ศึกษาพุทธประวัติกันมาแล้ว ต่างก็ทราบว่าพระพุทธศาสนาได้อุบัติ ณ ประเทศอินเดีย แล้วได้มีการเผยแผ่สืบต่อมาทางประเทศศรีลังกา พม่า และไทย เป็นต้น

เรื่องนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีส่วนใหญ่ก็ได้วิเคราะห์ว่า ชาวไทยเริ่มได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ เพราะไม่มีโบราณวัตถุที่จะย้อนถึงสมัยพุทธกาลเลย นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑ - ๙ คิดว่าคงจะมีหลักฐานทางด้านวิชาการเท่านั้น

ทั้งๆ ที่ในหนังสือประวัติพระธาตุตามวัดต่างๆ แถวภาคเหนือได้มีการบันทึกไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทย เช่น พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง, พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน, พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่, พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน, พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยเฉพาะประวัติ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ผู้แต่งได้ออกชื่อตนเองไว้ด้วย

"....ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องนี้ที่หลวงพ่อฯ เล่าไว้ในหนังสือ "ฤาษีทัศนาจร เล่ม ๑" ว่าในสมัยพุทธกาล มีเมืองหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง เมืองนี้มีชื่อว่า "เมืองอังครัฐ" มีดอยจอมทองอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง เป็นดอยที่มีรูปร่างเหมือนกับ "เต่าคำ" มีแม่น้ำ ๒ สายไหลผ่าน คือ "แม่น้ำระมิงคนที" ที่เขาเรียกกันว่า "แม่น้ำปิง" ซึ่งมีศัพท์เพี้ยนมา จากคำว่า "แม่น้ำอิง" แล้วก็มาจากชื่อเดิมว่า "แม่น้ำขุนพู" แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านดอยจอมทอง ทางด้านทิศตะวันออก

แล้วแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ที่มีชื่อว่า "แม่น้ำสักการนที" ในปัจจุบันนี้เรียกว่า "แม่น้ำแม่กลาง" นั่นเอง แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านดอยจอมทองทางด้านทิศตะวันตก แล้วไหลมาบรรจบกับ "แม่น้ำปิง" หรือว่า "แม่น้ำระมิงคนที" ที่ "ตำบลสบกลาง" ซึ่งอยู่ทางใต้ของดอยจอมทอง ห่างกันประมาณพันวา รวมความว่า "ดอยจอมทอง" อยู่ระหว่างกลางของแม่น้ำทั้งสองนั่นเอง

แต่ผู้เขียนยังมีหนังสืออยู่ ๒ เล่ม (เล่ม ๑-๒) ชื่อว่า "ประชุมตำนานล้านนาไทย" เรื่อง ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง โดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ (อ่านประวัติย่อได้ คลิกที่นี่)

ท่านได้คัมภีร์ใบลานเล่มนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ (โดยการแปลจากอักษรไทยยวนของ พระมหาหมื่น วุฑฒิญาโณ ได้แปลไว้เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๘) ผู้เขียนจึงขออนุญาต คุณพันธุ์นพิต โชติสุขรัตน์ ผู้เป็นทายาท เพื่อนำมาลงให้อ่านไว้เป็นหลักฐาน (ผู้เขียนมีอธิบายไว้ในวงเล็บด้วย) โดยท่าน "พระติสสมหาเถระ" ได้เริ่มต้นกล่าวไว้


(โปรดติดตามตอนต่อไป "ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 1/4/17 at 05:13 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 4 ]

ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง

ฉบับบันทึกโดย พระติสสมหาเถระ



...นะโม พุทธายะ นะมิตวา ติโลกโมฬี โลหกูเฏ ปะติฏฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลยาหิกิตติมันตัง มะโนหะรัง... ข้าไหว้ยังพระธาตุจอมหัวข้างขวา แห่งพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐกว่าโลกทั้งสาม อันตั้งอยู่ด้วยกำลังอธิษฐานแห่งพระพุทธเจ้า เหนือจอมทอง อันมีในอังครัฏฐะ อันฦาชาปรากฏมากนัก อันอาจสามารถให้บังเกิดใจเลื่อมใสศรัทธา ยินดีปีติปราโมทย์แห่งโลกทั้งสาม อันโลกทั้งมวลควรปูชาโดยสามารถ อามิสปูชาแลปฏิปัตติปูชา ในกาลทุกเมื่อแล ฯ

ดูกร สัปบุรุษทั้งหลาย เราผู้ชื่อว่า ติสสมหาเถระ ผู้เป็นศิษย์แห่ง พระมหาโมคคัลลิปุตติสสเถระ พระมหาโมคคัลลิปุตติสสเถระองค์นั้น หากเป็นศิษย์สืบๆ มาแต่ พระมหากัสสปะ มาแล

เราจะกล่าวยัง อัจฉริยะ และทิฏฐะ แลฐานะ แลสัณฐาน แลเทส แห่งดอยจอมทองโดยสังเขป ผิแลจะกล่าวโดยวิถารนัยอันกว้าง แต่เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ได้เป็น พระยาสุทัสนะ ในเมืองกุสาวดีราชธานี ตราบถึงกาลอันบรมวลแห่งพระพุทธสัพพัญญู ผิจักเขียนใส่ไว้ในโปฏฐกใบลาน ตำนานอันนี้ จักมีประมาณเท่า คัมภีร์สามันตปาสาธิกวินัยปกรณ์ แล ฯ

ทีนี้ เราจักกล่าวด้วยทิศก่อน ดอยจอมทองนั้น ตั้งอยู่ในปุรัตถิมทิศ หนตะวันออกแห่งเมืองกุสินาราย ไกลประมาณ ๒๗ โยชน์ ฐานะที่นั้นมีเมืองๆ หนึ่ง ชื่อว่า มหาอังครัฏฐะ ดอยจอมทองนั้น ตั้งอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) แห่งเมืองอังครัฏฐะ ไกลประมาณ ๕๐๐ วา มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อว่า "ระมิงคนที" (อ่านว่า ระมิงคะนะที) ไหลลงมาจากทิศเหนือ ไหลมาใกล้เชิงเขาจอมทอง ไกลประมาณ ๕ วา ไหลลงไปทิศใต้ถึงมหาสมุทรแล

ยังมีแม่น้ำสายหนึ่งอีกชื่อว่า "ตักการะนที" ไหลแต่ท้องดอยลูกหนึ่ง ชื่อ "อังคตักการะ" อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกแห่งเมืองมหาอังครัฏฐะ ผ่านมาทางตะวันตกดอยจอมทอง ไกลประมาณ ๓๐๐ วา ไหลไปบรรจบน้ำแม่ระมิงค์ทิศใต้ ไกลดอยจอมทองประมาณ ๒,๐๐๐ วาแล

ดอยจอมทองนั้น มีอาการเหมือนหลังเต่าคำ (ทอง) สูงลำดับขึ้นไปดูงาม ข้างบนราบเสมอกัน งามดุจหินปัณฑุกัมพลศิลา อันเป็นที่นั่งแห่งพระยาอินทราธิราช ดอยจอมทองนั้นสูงกว่าพื้นประมาณ ๔ วา (ปัจจุบันระดับความสูงมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีการตัดถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด ผ่านบริเวณดอยจอมทอง บริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นเนินคล้ายหลังเต่า มีสัณฐานกลม เนื้อที่ประมาณ ๑๓ ไร่ )

พระยาตนเสวยราชสมบัติในเมืองอังครัฏฐะนั้น มีอาณาเตชะมากนัก อยู่รักษาคนทั้งหลายอันเป็นโยธาแห่งตน อันตั้งอยู่ ๒ ข้างน้ำแม่ "ระมิงค์" แลแม่น้ำ "ตักการนที" มีบ้าน ๘ หมื่นตระกูลแล ทิสาทิกถาสมัตตา แล้วเท่านี้ก่อน ฯ

เบื้องหน้าแต่นี้ เราจะกล่าวทรมานกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเรา ยังมีพระชนม์อยู่นั้น พระยามหาอังคราชตนนั้น เสวยราชสมบัติประดุจดั่งพระยามัณฑลิกราชนั้น พระยาตนนั้นประกอบด้วยบุญสมภารได้กตาธิการมากนัก ท่านย่อมตั้งโสตประสาท คอยฟังข่าวสารอันดีมีต้นว่า "พุทโธ อุปันโน" (พระพุทธเจ้าอุบัติแล้วหรือยัง) แต่พ่อค้าทั้งหลายอันไปแลมานั้น

ยังมีในกาลครั้งหนึ่ง ท่านได้ยินข่าวสารแห่งพ่อค้าทั้งหลาย อันมาแต่เมืองราชคฤห์นั้นว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกดังนี้ เมื่อนั้นพระยามีหฤทัยยินดีมากนัก พระยาก็ประทานยังเสื้อแลผ้าเครื่องประดับแก่พ่อค้าทั้งหลายเป็นอันมาก พระยาก็มีปีติชมชื่นยินดีคำนึงในหฤทัยว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว ย่อมนำเอาสัตว์ทั้งหลายข้ามออกจากวัฏฏสงสารเป็นอันมากแท้จริงแล ส่วนพระยาก็อธิษฐานเอาศีล ๕ แล้ว ก็ยกอัญชลีตั้งกระหม่อม แล้วผินหน้าสู่ทิศอุดรกล่าวอายาจนาอาราธนาว่า

“...ข้าแต่พระพุทธเจ้า พระองค์ประกอบด้วยพระกรุณาในหมู่สัตว์เป็นอันมาก วันพรุ่งนี้เช้า ผู้ข้าอยากให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าองค์เป็นประธาน ขอพระพุทธเจ้าตนมีมหากรุณาจงมาสังคหะผู้ข้า เพื่อให้ได้บำเพ็ญยังทานบารมี เพื่อให้เป็นปัจจัยแก่สัพพัญญุตญาณแห่งผู้ข้าแด่เทอญ..”

พระยาอาราธนาฉันนี้แล้ว ในคืนนั้นจวนใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าก็เข้านิโรธสมาบัติ เมื่อพระองค์ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เล็งดูเวเนยยทั้งหลายด้วยพุทธจักขุญาณ ก็เห็นพระยาอังครัฏฐะประกอบด้วยราชศรัทธา อยากให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระองค์เป็นประธาน ครั้นคืนนั้นรุ่งแล้ว ถึงเวลากาลอันควรบิณฑบาต พระองค์ก็อาณัติให้ พระมหาโมคคัลลานเถระ กับพระอรหันต์ ๔ องค์ด้วยกัน ให้ไปสังคหะแก่พระยามหาอังคราชแล..


"กุสินารา" หรือ "กุสาวดี" อยู่ที่ไหนกันแน่..?

........ผู้เขียนขอสรุปสำนวนของท่านง่ายๆ ดังนี้ว่า พระติสสะมหาเถระกล่าวว่า ท่านเป็นศิษย์สืบๆ มาแต่ พระมหากัสสปะ นั้น แล้วท่านก็ได้บรรยายถึงบริเวณสถานที่ตั้ง "ดอยจอมทอง" ในแต่ละทิศอย่างละเอียด และได้กล่าวแต่เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ได้เป็น พระยาสุทัสนะ ในเมืองกุสาวดีราชธานีด้วย

พระติสสะมหาเถระได้ให้ความสำคัญของตำนานนี้ว่า มีความสำคัญเทียบเท่ากับ คัมภีร์สามันตปาสาธิกะ (เป็น คัมภีร์อรรถกถา ที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือ "พระพุทธโฆสะ" เป็นผู้แต่ง)

ดังจะเห็นได้ว่าในสมัยพุทธกาล สองเมืองนี้อยู่ไม่ไกลกันเลย ใน "มหาปรินิพพานสูตร" ก่อนที่จะทรงเลือกสถานที่ปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "เมืองกุสินารา" คือ "เมืองกุสาวดี" ในอดีต ซึ่งพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสุทัสนะจักรพรรดิราช

พระติสสเถระได้เล่าต่อไปอีกว่า ดอยลูกนี้ตั้งอยู่ปุรัตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หรืออยู่ทางตะวันออกแห่ง เมืองกุสินารา ประมาณ ๒๗ โยชน์ (จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า เมืองกุสินารา เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน อยู่ในอาณาเขตประเทศไทย ซึ่งตรงกับที่ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" เคยบอกกับผู้เขียนว่า พระพุทธเจ้าเดินทางมาจาก "ปาวาลเจดีย์" ท่านบอกอยู่ที่ "ดงพญาไฟ" แล้วมาปรินิพพานที่พระแท่นดงรัง)

ตามตำนานนี้บอกว่า "พระธาตุศรีจอมทอง" เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เสด็จมาประทับโปรดเวไนยสัตว์ และเป็นที่ประดิษฐาน พระทิกษิณโมลีธาตุ คือ กระดูกจอมเศียรแห่งพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ (โดยเฉพาะองค์ปัจจุบันนี้ เป็นพระธาตุจอมหัวเบื้องขวาของพระองค์)

ฉะนั้น การที่ พระติสสะมหาเถระ ได้กล่าวถึง "กุสินารา" (แต่ในตำนานนี้บางครั้งเรียก "กุฉินาราย์") ก็คือ "กุสาวดี" แสดงว่าอยู่ในเขตประเทศไทย อีกทั้งท่านเป็นศิษย์ของ พระมหาโมคคัลลิบุตรติสสะมหาเถระ ผู้เป็นประธานทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ ณ เมืองปาฏลีบุตร สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระติสสะเถระจึงเป็นผู้ที่ควรเชื่อถืออย่างแน่นอน ตามหลักฐานที่กล่าวอ้างนี้ ถ้าหลักฐานชิ้นนี้เชื่อถือได้ แสดงว่าเมืองกุสินารามิได้อยู่ที่ประเทศอินเดียเลย เพราะห่างไกลกันนับพันโยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร, ระยะทาง ๒๗ โยชน์ = ๔๓๒ ก.ม.)

สรุปการเดินทางสมัยโบราณ เขาจะไม่อ้อมเหมือนสมัยนี้ที่เป็นทางรถยนต์ การนับระยะทางต้องเป็นทางตรง ฉะนั้น กุสินารา (กาญจนบุรี) กับ อังครัฏฐะ (จอมทอง) จึงมีระยะทางเพียง ๔๓๒ ก.ม. เท่านั้น เพราะอยู่ในอาณาเขต "ประเทศไทย" ในปัจจุบันนั่นเอง

(ผู้เขียนได้ใช้ Google Map ลองคำนวณระยะทางรถยนต์จาก พระธาตุจอมทอง จ.เชียงใหม่ ถึง พระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี ประมาณ ๖๓๘ ก.ม. ในสมัยนั้นการเดินทางอาจจะเดินลัดกว่าทางรถยนต์ การคำนวณระยะทางของท่าน เป็นแค่ประมาณเท่านั้น อาจจะไม่ตรงตามเทคโนโลยีสมัยนี้ แต่ถือว่าอยู่ใกล้กันก็ใช้ได้แล้ว)

(โปรดติดตามตอนต่อไป "ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง" โดย พระราชพรหมยานมหาเถระ)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/4/17 at 08:24 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 5 ]

Update 25 เม.ย. 60


ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง



ฉบับบันทึกโดย พระราชพรหมยานมหาเถระ


...สำหรับในหนังสือ “ฤาษีทัศนาจร เล่มที่ ๑” พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านได้เล่าไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ เช่นกัน อ่านแล้วแทบไม่น่าเชื่อว่าจะตรงกัน เพราะฉบับของหลวงพ่อฯ นั้น ท่านวชิระ หรือที่เรียกว่า ท่านวิเชียร มาเล่าให้ท่านฟัง ขอนำคำพูดของหลวงพ่อมากล่าวไว้เบื้องต้นก่อน ดังนี้

"นี่การที่เขาคุยให้ฟังอย่างนี้ เราก็ต้องถือกันว่าเป็นตำนาน ทีนี้คำว่าตำนาน ก็แปลว่านานๆ จึงได้ตำ หรือว่าตำนานๆ ถ้าเขารีบตำเร็วๆ หมายความว่า ถ้าเรื่องราวมันเกิดขึ้น เขาก็บันทึกไว้ ความละเอียดละออ ความแน่นอนของตำนานก็จะมีในขณะนั้น และเราก็จะได้ความจริงกันมาก

แต่ว่าเรื่องราวที่ปล่อยมาจนนานแล้วจึงตำ หมายความว่าจึงจะได้บันทึกเข้าไว้ อันนี้ความบกพร่องของเรื่องราวต่างๆ ก็อาจจะปรากฏมี หรือว่าดีไม่ดี เดี๋ยวก็จะกลายเป็นว่าแถมเรื่องเข้าไป แถมเรื่องเข้าไปมากมายจนเกินพอดีก็ได้

ฉะนั้น เรื่องราวพระธาตุต่างๆ ก็ดี หรือความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ ก็ดี บรรดาลูกหลานทั้งหลายไปอ่านแล้ว ก็จงใช้ปัญญาพิจารณา อย่าเชื่อจนเกินไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันจริงไปหมด แล้วก็อย่าเพิ่งปฏิเสธเสียเลยทีเดียว เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นเราเกิดไม่ทัน

ขอเริ่มต้นเรื่องราวของ พระธาตุจอมทอง ตั้งแต่สมัยโบราณ ตอนนี้พูดถึงตามตำนานที่เขาคุยกันมาแต่สมัยโบราณ จริงหรือไม่จริงก็ตามใจ เพราะว่าพวกเราทั้งหลายก็เกิดไม่ทัน เมื่อเกิดไม่ทันแล้วก็อย่าเพิ่งปฏิเสธว่ามันไม่จริง แล้วอย่าเพิ่งยอมรับนับถือว่าจริง เอากันจริงแต่เพียงว่า ตัวละครในเรื่องทั้งหมดตายหมดแล้ว แล้วภายในไม่ช้าเราที่อ่านหนังสือเล่มนี้ก็จะตายเหมือนกัน เอากันตรงนี้ดีกว่า

ประวัติที่เขาเล่ากันมามีอย่างนี้ มีอยู่ว่าในสมัยพุทธกาล มีเมืองหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง เมืองนี้มีชื่อว่า "เมืองอังครัฐ" เมืองอังครัฐนี้มีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองเมือง ทรงพระนามว่า อังครัฐ คือมีชื่อเหมือนกับเมือง ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ปรากฏว่ามีพ่อค้ามาจากเมืองราชคฤห์ ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ข่าวนั้นก็เข้าไปถึงพระเจ้าอังครัฐผู้เป็นพระราชา พระองค์ฟังแล้วก็แปลกใจ จึงทรงมีรับสั่งให้พ่อค้าที่มาจากเมืองราชคฤห์นั้นเข้าเฝ้า

เมื่อพ่อค้าเมืองราชคฤห์เข้ามา พระองค์ก็ทรงซักถามด้วยความสนใจ เพราะมีความปรารถนามานานแล้ว ที่จะทรงได้พบพระพุทธเจ้าอย่างเหลือเกิน ครั้นทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจริง และนอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีคนบรรลุตามจริงเสียด้วย จึงมีความเลื่อมใส มีความปราโมทย์ยินดีเป็นที่สุด อาศัยความดีใจที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้น แล้วมีคนมาบอก ความจริงเขาไม่ได้ตั้งใจมาบอก เขามาขายของ พอเขาบอกให้ฟังเท่านี้ อาศัยความดีมีศรัทธา สั่งให้คนไปนำเอาข้าวของเงินทอง ผ้าผ่อนท่อนสไบอย่างดี มาพระราชทานแก่พ่อค้าเป็นอันมาก

เมื่อพระราชาทรงพระราชทานทรัพย์สมบัติแก่บรรดาพ่อค้าทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว หลังจากนั้นอาศัยที่พระองค์มีความเคารพในองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ คือยอมตายเสียดีกว่าที่จะละเมิดศีล ๕ โอ้โฮ..! เก่งขนาดนี้ไม่ใช่เล่น..เก่งมาก

นี่..คนที่มีบุญญาธิการน่ะ เป็นอย่างนั้นนะ เพียงแต่ได้ยินข่าวว่าพระพุทธเจ้าปรากฏมีขึ้นในโลก ตั้งใจเด็ดขาดเลยว่า นับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ละเมิดศีล ๕ เป็นอันขาด ถึงแม้ชีวิตจะตกล่วงจนหาไม่ ก็ช่างมันปะไร เรายอมตายดีกว่าศีลขาด

เมื่อพระเจ้าอังครัฐทรงเลื่อมใสก็รักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ พร้อมด้วยทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ว่า
"ขออำนาจบุญบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสาวก ได้มีพระมหากรุณาทรงโปรดข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนอนาถา คือว่าอยู่ไกลเกินไป ไม่ทราบว่าเวลานี้ เมืองราชคฤห์ตั้งอยู่ที่ไหน การที่จะไปมันก็แสนลำบาก

ถ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระมหากรุณาธิคุณ เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยบรรดาพสกนิกรแล้ว ขอองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมไปด้วยพระสาวกจงเสด็จมา ณ ที่นี้ โปรดข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบรรดาพสกนิกรทั้งหลาย เพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญทานบารมี และสดับพระธรรมเทศนาตามศรัทธาเถิด พระพุทธเจ้าข้า..."

นี่เมื่อพระองค์ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่ทรงศีลองค์เดียว ชวนชาวบ้านชาวเมืองทรงศีลด้วย บอกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็ช่าง ถ้าเรามีความเคารพเสียอย่างเดียว ใจเราถึงแล้วก็ชื่อว่าเราถึงพระพุทธเจ้า ชวนกันรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะทรงทราบจากบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จไปไหน ให้ชาวบ้านรักษาศีล ก็เลยพากันรักษาศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็ตั้งสัตยาธิษฐานอยากจะถวายทานกับพระพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์

ปรากฏว่าการอธิษฐานของพระเจ้าอังครัฐนั้นมีผล เพราะว่าองค์สมเด็จพระทศพลเป็นอัจฉริยะมนุษย์ มีพระพุทธญาณเป็นพิเศษ คืนวันนั้นเอง เวลาใกล้รุ่ง องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณว่า เวลาเช้าวันนี้ควรจะไปโปรดพระเจ้าอังครัฐ แต่ก็ไม่ควรไปเอง ควรจะส่ง พระมหาโมคคัลลานะ พร้อมด้วยสาวกอีก ๔ องค์ไป แล้วองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงได้มีพุทธบัญชารับสั่งให้ พระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายมีฤทธิ์มาก (เพราะว่าพวกพ่อค้าเขามาคุยไว้ว่า พระนี่เหาะได้)

ฉะนั้น เพื่อเป็นการประกาศความเลื่อมใสให้บรรดาประชาชนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ว่า พระสงฆ์สาวกของสมเด็จพระทรงธรรม์เหาะได้จริง ๆ ตามที่พ่อค้าคุยไว้ เมื่อพระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ได้รับบัญชาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็กราบบังคมลาองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเหาะมาจากกรุงราชคฤห์ ให้สมกับที่บรรดาพ่อค้าทั้งหลายเขาเล่าลือกัน เพื่อจะมาสู่เมืองอังครัฐ

ฝ่ายพระเจ้าอังครัฐยังบรรทม แล้วก็ทรงพระสุบินนิมิต คือนอนฝันเห็นไปว่า มีพระยาหงส์ทอง ๕ ตัว บินมาลงที่พระลานหลวง พระองค์ก็สะดุ้งตื่นจากบรรทม แล้วก็ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ที่เหาะมานั้นพอดี

ก็ทรงเข้าใจเลยว่า การที่ฝันว่าพญาหงส์ทองนั้นก็คือพระ คงจะเป็นพระพุทธเจ้ากับพระสาวกมาโปรด เพื่อจะถวายทาน ก็คิดว่าการอธิษฐานของพระองค์มีผล จึงทรงดีพระทัยลงไปนิมนต์พระทั้ง ๕ รูปเข้ามาสู่ท้องพระโรงแล้ว พระราชาก็ประกาศป่าวร้องประชาชนในเมืองอังครัฐให้มาร่วมประชุม แล้วก็โดยเสด็จพระราชกุศล หมายถึงบำเพ็ญกุศลร่วมตามกัน

เมื่อบรรดาประชาชนมาประชุมพร้อมกันแล้ว พระราชาก็อาราธนาพระมหาโมคคัลลาน์ได้ให้โอวาท พระเถระจึงถวายพระพรแจ้งแก่พระเจ้าอังครัฐให้ทรงทราบว่า ตัวท่านเองนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า หากแต่ว่าเป็นพระอัครสาวกที่ได้รับบัญชาให้มา คือมาแทนพระองค์ เพื่อมาโปรดพระเจ้าอังครัฐ เพราะการที่พระองค์อธิษฐานให้องค์สมเด็จพระพิชิตมารมาโปรดนั้น พระพุทธองค์ทรงทราบทุกประการ

พระราชาทรงดีพระทัย แม้จะทรงอธิษฐานอยู่ไกลแสนไกล แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงทราบวาระจิตของพระองค์ได้ จึงขออาราธนาพระโมคคัลลาน์ให้โอวาท พระเถระจึงให้พระราชาและบรรดาประชาชนทั้งหลายสมาทานศีล ๘ ต่อจากนั้นไปพระเจ้าอังครัฐกับประชาชนก็ถวายอาหารบิณฑบาต

เมื่อพระโมคคัลลาน์และพระสงฆ์ ๔ รูปฉันแล้ว พระมหาเถระก็แสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระราชาให้ตั้งมั่นอยู่ในทศพิศราชธรรม ๑๐ ประการ แล้วก็ถวายพระพรลากลับ โดยเหาะจากพระราชฐานไปสู่ ดอยอินทนนท์ สมัยนั้นเรียกว่า "ดอยอังคสักการะ" แล้วพระมหาโมคคัลลาน์ได้พยากรณ์ว่า

"...ต่อไปเมืองอังครัฐจะเป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้า พระพุทธศาสนารุ่งเรืองตลอด ๕,๐๐๐ ปี หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว..."

นี่...ท่านบอกว่า "เมืองเจริญก้าวหน้านะ" ท่านไม่ได้บอกว่า "การเป็นกษัตริย์ก้าวหน้าอยู่ที่นั่น" ท่านบอกว่า "จะเป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าดี" ท่านพูดถึง "เมือง" จำให้ดีนะ เดี๋ยวจะไปเถียงกันว่า "เมืองเจริญก้าวหน้า" เวลานี้ทำไมถึงได้เป็นอำเภอหนึ่งของประเทศไทย ขอให้มีความเข้าใจในศัพท์ของพระท่านไว้ก่อน พระท่านพูดน่ะ ท่านพูดตรง ๆ แต่ไอ้พวกเราเองน่ะ คิดไม่ค่อยตรงกับศัพท์ที่พระท่านพูด จะไปนั่งเถียงกัน

หมายเหตุ ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมว่า คำพยากรณ์ของพระมหาโมคคัลลาน์นั้น พระติสสะมหาเถระกล่าวไว้ละเอียดมาก ผู้เขียนขอนำลงให้อ่านกัน เพราะปกติพระมหาโมคคัลลาน์ไม่พยากรณ์ที่ไหน ส่วนใหญ่เป็นคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า แสดงว่าเมืองอังครัฐมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในตอนนี้หนังสือ ประชุมตำนานลานนาไทย กล่าวว่า



คำพยากรณ์ของพระมหาโมคคัลลาน์

......ครั้งกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงกระทำภัตตานุโมทนา แล้วเทศนา "ทศพิศธรรม ๑๐ ประการ" แก่พระยาอังคราชแล้ว พระเถรเจ้าทั้งหลายก็สั่งอำลาด้วยสมณโวหารว่า

"...สุขิโต โหตุ มหาราชะ..."

ดังนี้แล้วก็เสด็จไปบนอากาศ แล้วลงสู่จอมดอยอังคสักการะ เหตุว่าดอยลูกนั้นเป็นที่พระยาไปกระทำสักการะบูชา อันมีทิศตะวันตกเมืองมหาอังครัฏฐะนั้น พระมหาโมคคัลลานะเล็งดูประเทศเขตบ้านเมืองที่นั้นแล้ว พระเถรเจ้าจึงบอกแก่พระอรหันต์ ๔ รูปนั้นว่า

"...ดุกร อาวุโส ท่านทั้งหลายจงแลดูบ้านเมืองนี้ เป็นที่สุขเกษมชื่นบานดีนัก คนเหล่าใดอยู่ในประเทศนี้แล มีใจบาปหยาบช้าทารุณดังอั้น ชนเหล่านั้นห่อนเจริญ เขาหากจะฉิบหายพลันนัก เพราะบาปกรรมให้ปรากฏ

อันนี้หากเป็นจารีตแห่งเมืองลูกหนี้มาแต่ปฐมกัปป์แล ตั้งแต่กาลนี้ไปจักอยู่เย็นเป็นสุขสำราญชื่นบาน ด้วยข้าวกล้า ของปลูกลูกส้ม ของหวาน แห่งคนทั้งหลายบ่ขาดแล

อีกประการหนึ่ง ประเทศนี้ยังจะรุ่งเรืองด้วยชาวเจ้าสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กระทำสมณธรรมจะสบายด้วยปัจจัยทั้ง ๔ แล..."


ถ้าจะสังเกตคำพยากรณ์ของท่านน่าจะเป็นจริง ยุคปัจจุบันนี้ก็ได้เห็นถึงความเจริญของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ส่วนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ เล่าต่อไปอีกว่า

เมื่อพยากรณ์เสร็จแล้ว พระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป ก็กลับถึงกรุงราชคฤห์โดยทางอากาศ ครั้นเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระพิชิตมารที่พระเวฬุวันแล้ว จึงกราบทูลเรื่องราวที่ไปเมืองอังครัฐให้ทรงทราบทุกประการ

ต่อมาพระเจ้าอังครัฐมีความปรารถนาจะได้เฝ้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วโดยตรง ในการที่พระมหาโมคคัลลาน์ให้ศีล ๘ ไว้ คนที่รับทุกคนในวันนั้น ก็ไม่ยอมละศีล ๘ เป็นว่างานการสร้างชาติ สร้างพลเมืองของชาติ ต้องระงับไปชั่วคราว แต่ไม่เป็นไร วันหลังทำกันใหม่ระงับไว้ชั่วขณะหนึ่ง

พอถึงเวลากลางคืนวันหนึ่ง พระเจ้าอังครัฐก็ตั้งสัตยาธิษฐานว่า ขอองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระพุทธสาวก ขอได้โปรดข้าพระพุทธเจ้าอีกวาระหนึ่ง เพื่อสร้างความชื่นใจให้กับบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ความจริงที่ส่งพระโมคคัลลาน์มาก็ชื่อว่าเป็นการดีแล้ว แต่ว่าบรรดาประชาชนอยากจะนมัสการพระประทีปแก้วอีกโดยตรง เพราะว่าการเห็นพระอรหันตสาวก ก็ชื่อว่าเป็นผู้วิเศษเกินกว่าที่จะคิดไว้ ถ้าหากว่าประชาชนทั้งหลายได้นมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา และได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว อารมณ์จะเข้าถึงธรรมมากกว่านี้

นี่...ความจริงท่านเป็นพระราชาที่ฉลาดมาก เพราะคนในประเทศทั้งหมด ถ้าปรากฏว่าเป็นคนที่มีศีล ๕ หรือทรงธรรม การปกครองประเทศก็เป็นไปด้วยความสะดวก ไม่ยากแก่การปราบปราม เพราะคนเลวไม่มี มีแต่คนดี เมื่อทรงอธิษฐานแล้วก็เข้าบรรทม กลางคืนทรงพระสุบินนิมิต ฝันไปว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งกับบริวารอีก ๕๐๐ เหาะมาสู่ดอยจอมทอง เห็นชาวเมืองทั้งหลายถือดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพญาช้างเผือกกับบริวารเต็มไปหมด

ครั้นตื่นจากบรรทมทรงดำริว่า เมื่อครั้งก่อนนั้น เรามีศรัทธาปรารถนาจะเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็จุดดอกไม้ธูปเทียนอธิษฐาน แล้วก็ไปสู่ห้องที่นอน (ห้องบรรทม) ก็ทรงสุบินนิมิตฝันไปว่าเห็นพญาหงส์ทอง รุ่งขึ้นเราก็เห็นพระโมคคัลลาน์กับพระอรหันต์ทั้ง ๔ รูป เหาะมาให้บำเพ็ญกุศล มาคราวนี้..บางทีเราได้เห็น "ช้างเผือก"อาจจะได้บำเพ็ญกุศลกับองค์สมเด็จพระทศพล หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศักดาใหญ่กว่าพระมหาโมคคัลลาน์ เพราะว่าช้างเผือกนี่เป็นสัญลักษณ์ของบุคคลผู้มีบารมีสูง

ฉะนั้น พระองค์จึงโปรดให้ประชาชนจัดอาหารบิณฑบาต พร้อมไปด้วยเครื่องสักการะเข้าไว้ว่า ดีไม่ดีตอนนี้แหละ พระพุทธเจ้าจะต้องเสด็จ ท่านเสด็จมาคราวนี้ต้องมีพระตามมาถึง ๕๐๐ รูป ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มาเอง ก็ต้องมีพระสงฆ์ผู้มีศักดาใหญ่เป็นหัวหน้ามา

พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ดอยจอมทอง

เมื่อพระราชาได้ทรงรับสั่งให้ประชาชนจัดอาหารบิณฑบาต และเครื่องสักการะเครื่องบูชา ประชุมพร้อมกันคอยอยู่ที่ดอยจอมทอง เพราะว่าในความฝัน ฝันว่าช้างมาลงที่ดอยจอมทอง ห่างจากตัวเมืองไปนิดหน่อย และความจริงก็เป็นดังนั้น

หลังจากพระราชาพร้อมไปด้วยประชาชนทั้งหลายมาประชุมกันที่ตรงนั้นแล้ว ภายในไม่ช้าองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ รูป ก็เหาะมาทางอากาศ แล้วก็ลงที่ดอยจอมทองจริง ๆ เรียกว่าฝันแม่น

เมื่อพระเจ้าอังครัฐได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ พร้อมไปด้วยพระสาวกทั้ง ๕๐๐ รูป ก็เกิดศรัทธาว่า การเห็นพระพุทธเจ้านั้น รู้ทันทีว่าองค์นี้คือพระพุทธเจ้า รู้ยังไง...?

เพราะพรรคพวกพ่อค้าก็มานั่งเทศนาเสียนานแล้ว คุยถึงความงามของพระพุทธเจ้าว่า งามยิ่งกว่าใครทั้งหมด ไม่มีบุคคลใดในโลกนี้ จะมีความงามเสมอไปด้วยพระพุทธเจ้า มีลักษณะสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกประการ ยิ่งไปกว่านั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารยังมีฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ ล้อมพระวรกาย มองไปแล้วคล้ายพระอาทิตย์ทรงกลด งามยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดาและพรหมทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก

เวลานั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้วก็ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ พระวรกายของพระองค์นี้ที่มีความสวยอยู่แล้วก็สวยหนักยิ่งขึ้น คนทุกคนมองแล้ว แหม...ไม่อยากให้พระพุทธเจ้าคลาดแคล้วไปอยู่ที่อื่น มีความชุ่มชื่นไปด้วยอำนาจธรรมปีติ พระราชาพร้อมไปด้วยประชาชนทั้งหลาย ก็พากันถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์

พระพุทธพยากรณ์

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงประทับเรียบร้อย บรรดาประชาชนทั้งหลาย มีพระราชาเป็นหัวหน้า ได้นมัสการองค์สมเด็จพระบรมศาสดากันแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วจึงได้ทรงตรัสกับพระราชาว่า

"เมืองนี้ต่อไปจะก้าวหน้าเจริญมาก ดอยจอมทองนี้จะเป็นที่ประดิษฐาน พระโมลีจอมหัวของเรา คือเป็นกระดูกกระหม่อม หลังจากที่เรานิพพานไปแล้ว พระมหากัสสปจะเป็นผู้นำมาให้

เมื่อเรานิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี จะมีพระธาตุรากขวัญเบื้องขวา คือกระดูกไหปลาร้าข้างขวา กับกระดูกย่อย ๆ รวม ๕ องค์ด้วยกัน (ใน "ตำนานของวัด" บอกว่า "กระดูกด้ามมีดเบื้องขวา" แล้วสันนิษฐานว่าเป็น "พระรากขวัญ" ตรงกันกับหลวงพ่อ) จะนำมาโดย พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งชมพูทวีป จะเสด็จมาขุดอุโมงค์แล้วก็ทรงบรรจุเข้าไว้..."

พระเจ้าอโศกเสด็จมาที่ดอยจอมทอง

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ก็เสด็จมาสู่ดอยจอมทอง พร้อมไปด้วยข้าราชบริพาร เมื่อสร้างอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุใต้พื้นดอยจอมทองแล้ว ก็สร้างโกศเพชร หรือโกศแก้ววชิระให้เป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุรากขวัญ กับ พระธาตุย่อย ๆ บรรจุไว้ในพระอุโมงค์ เมื่อเสร็จแล้วก็ทรงอธิษฐาน ขอให้เมืองนี้จงเจริญรุ่งเรือง แล้วขอให้พระธาตุจงอยู่คู่ไปกับเมืองนี้ตลอด ๕,๐๐๐ ปี

และถ้าหากว่าบรรดาประชาชนประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลธรรมก็ขอให้พระบรมสารีริกธาตุ ออกมาให้ปรากฏแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏนั่นเอง ถ้าประชาชนไม่ตั้งอยู่ในธรรม ก็ขออย่าได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ ซึ่งจากการที่ทรงตั้งสัจจะอธิษฐาน อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชก็เสด็จกลับ

สำหรับเรื่องราวในตอนนี้ พระติสสะมหาเถระ เล่าว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"...ดุกร มหาราชะ สถานที่นี้เป็นที่วิเศษนัก เป็นมหามงคลสถาน เป็นที่มายั้งจอดอยู่แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์แล ราวป่าที่นี้หากเป็นหนทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันจะเดินไปสังคหะสั่งสอนสัตวโลกทั้งหลาย ตั้งแต่มหาสมุทรตราบถึงเมืองวิเทหนครโพ้นแล ฐานะที่นี้เป็นที่อันเกษมสำราญจำเริญสุขสวัสดี แก่ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ ชาวบ้านชาวเมือง แลสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีบุญสมภารได้กตาธิการมาแต่ปางก่อนแท้จริงแล..."

พระพุทธเจ้าเทศนาแก่พระยาดังนี้แล้ว ก็ซ้ำเทศนาแก่พระอรหันต์ ๕๐๐ ว่า

"...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว ธาตุจอมหัวข้างขวาที่ตั้งเกศาโมฬีแห่งตถาคต องค์ใหญ่มีประมาณเท่าเมล็ดลูกมะตัน (พุทรา) ข้างในแวนน้อยนั้น ผิว่าจะเทียบด้วยกหาปณะนั้น มีประมาณเท่าสุวรรณพินทุ คือต่อมคำอันหนัก ๓ ซีกนั้น กับธาตุกระดูกหัว แล ธาตุกระดูกด้ามมีดข้างขวาที่ต่อกัน หากเสด็จตกน่อย ๑ เป็นที่ ๓ กับธาตุย่อย ๔ องค์ รวมทั้งมวลเป็น ๗ องค์ จะมาตั้งอยู่ในสถานที่นี้ข้างหน้าแท้จริงแล

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธาตุโมฬีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันล่วงแล้ว กับธาตุหัวและธาตุดูกด้ามมีดที่ต่อกันกับธาตุย่อย ๔ องค์ ย่อมมาตั้งอยู่ในดอยที่นี้ทุกๆ พระองค์ ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว จักไว้ศาสนาแก่ท่านทั้งหลาย ฐานะที่นี้จักรุ่งเรืองมากนักทั่วชมพูทวีปทั้งมวล มีในกาล ๗ ครั้งแล ท้าวพระยาองค์ใดมีบุญสมภารได้กตาธิการมามาก มีอาณาเตชะมากนัก ปราบชมพูทวีปนี้แล้ว จะได้ยกยอศาสนาพระตถาคตในฐานะที่นี้ให้รุ่งเรืองมากนักแล

นับตั้งแต่พระตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี จะมีพระยาตนหนึ่งชื่อ ศรีธรรมาโศกราช จักเป็นธรรมิกรชปราบท้าวพระยาทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งมวล จักได้มาสร้างแปงอุโมงค์ในพื้นดอยที่นี้ลึกนัก ให้แล้วไปด้วยทองคำทั้งมวล ถานะที่นี้จักเป็นอัคคฐานะแห่งพระยาศรีธรรมาโศกราชแห่งหนึ่งแล

ตั้งแต่พระตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๑,๐๐๐ ปี จะรุ่งเรืองทีหนึ่ง ได้ ๒,๐๐๐ ปี จะรุ่งเรืองอีกทีหนึ่ง ได้ ๓,๐๐๐ ปี ก็จะรุ่งเรืองทีหนึ่ง ได้ ๔,๐๐๐ ปี จะรุ่งเรืองแถมทีหนึ่ง ได้ ๔,๗๕๐ ปี จะรุ่งเรืองแถมทีหนึ่งแล เรื่องราวข่าวสารก็จะแผ่ไปทั่วชมพูทวีปทุกแห่ง ท้าวพระยาตนมีอิทธิฤทธิ์เดชานุภาพปราบสกลชมพูทวีปนี้ จะได้มาบำรุงยกยอศาสนาในฐานะที่นี้ให้รุ่งเรือง

ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่อากาศกับด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ลงเหนือดอยอังคสักการะที่นั้น พระพุทธเจ้าผินพระพักตร์ทอดพระเนตรเล็งดูเมืองมหาอังครัฏฐะทั้งมวล ก็ตรัสกับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปว่า

"...ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ชนบทที่นี้สุขเกษมสำราญชื่นบานด้วยของปลูก ของหวาน ของเคี้ยว ของหิน แห่งบรรดาสัตว์มากนัก ในอนาคตกาลภายหน้านี้ก็จักสุขเกษมหาภัยอันตรายบ่มิได้แก่คนทั้งหลาย คนจำพวกที่มีใจบาปหยาบช้าทารุณ อยู่ในสถานที่นี้บ่ห่อนเจริญ หากปรากฏเห็นด้วยตนเขาแล คนจำพวกที่อยู่ในประเทศเขตบ้านเมืองที่นี้ ประกอบด้วยศีล ๕ - ๘ ประกอบด้วยกุศลธรรมอันดี คนเหล่านั้นย่อมวุฑฒิจำเริญมากนักจริงแล อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีแห่งเมืองมหาอังครัฏฐะนี้มาแล..."

จากนั้นท่านก็เล่าเรื่องราวหลังปรินิพพานแล้ว ณ เมืองกุฉินาราย์ โทณพราหมณ์ปันธาตุพระพุทธเจ้าแก่ท้าวพระยา ๑๖ เมือง ทักขิณโมฬีธาตุตกไปในส่วนธาตุแห่งชาวเมืองกุฉินาราย์ พระมหากัสสปเถรเจ้าได้กล่าวอ้างถึงพระบัญชาของพระพุทธเจ้า แล้วจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองอังครัฏฐะ ต่อแต่นั้นมาท้าวพระยาทั้งหลายก็บังคับว่า ฐานะที่นี้ชื่อว่า "ศรีจอมทอง" จะหายเสีย ท่านทั้งหลายจงเรียกว่า "ศรีจอมทองติโลกโมฬี" ดังนี้เทอะ

ต่อมาสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ได้เสด็จมาสร้างอุโมงค์และสถูปทองคำ ตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าทุกประการ พร้อมทั้งทรงอธิษฐานไว้ด้วยถ้อยคำอีกมากมาย แต่ที่น่าสนใจในความตอนหนึ่งว่า

"...ข้าแต่พระสารีริกธาตุเจ้า แม้ศาสนาพระโคตมะเจ้าตั้งอยู่ตราบเท่า ๕,๐๐๐ พรรษาบริบูรณ์แล้ว ธาตุพระพุทธเจ้าไปรวมกันเป็นแท่งหนึ่งแท่งเดียวแลนิพพานไปก็ดี ส่วนสุวรรณสถูปคำแห่งผู้ข้าทั้งหลาย กับทั้งคูหาแลเครื่องบูชาทั้งมวลเหล่านี้ ขอจงอยาให้ฉิบหายเสีย

สถูปคำหลังนี้จงตั้งอยู่ตราบถึงกาลอันเกิดมาในโลกนี้แห่ง พระพุทธเจ้าอริยเมตไตรย จงให้พระพุทธเจ้าอริยเมตไตรยเจ้า ยกเอายังสุวรรณสถูปคำแห่งผู้ข้าทั้งหลายมาสำแดงให้คนแลเทวดา สัตวโลกทั้งหลายได้กระทำสักการบูชานานประมาณ ๗ วัน เสมอดังเมื่อพระพุทธเจ้าแห่งเรายังทรมาน ยกยัง สุวรรณเจดีย์พุทธกัสสป ออกมาสำแดงแก่คนแลเทวดาทั้งหลายให้ได้กระทำสักการบูชานานประมาณ ๗ วันนั้นแด่เทอญ แม้ว่าคนแลเทวดา ท้าวพระยาแลนาค ครุฑ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ ฤาษี ทิพยาธร ผู้ใดผู้หนึ่งจะมารื้อแลม้างเสีย ก็ขออย่าทำได้แด่เทอญ.."


ความจริงเนื้อความยังมีมากกว่านี้ แต่จะขอนำข้อความในตอนท้าย โดย พระติสสะมหาเถระะ ท่านได้กล่าวว่า

"...ตำนานจารึกแห่งมหาสารีริกธาตุทักขิณโมฬี อันมีในดอยศรีจอมทองที่นี้ เราผู้ชื่อว่า ติสสะเถระ อันเป็นสิสสานุศิษย์แห่งพระมหาโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า หากแต่งไว้โดยสังเขปนัยยะ ด้วยประการดังนี้แล

ผิว่าจะกล่าวโดยวิตถาร ตั้งแต่เมื่อพระโพธิสัตว์เป็นพระยาสุทัสสนะจักรพรรดิราชนั้นเป็นต้นมา ตราบถึงเมืองมหาอังครัฏฐะเป็นที่สุด ตำนานจารึกอันนี้ ผิจะสำแดงติดกับด้วยพิธีทั้งหลาย แลสำแดงยังนามบัญญัติวงศาแห่งท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ คฤหบดี เศรษฐีแลนักบุญ แลสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่ามีบุญสมภาร ซึ่งบรรดาได้ช่วยกันบำรุงให้รุ่งเรือง ในมหาสารีริกธาตุทักขิณโมฬีนั้น ในดอยจอมทองติโลกโมฬีนั้น มิให้เศษไซร้ ตำนานนี้จะใหญ่เท่าคัมภีร์สามันตาปาธาธิกะวินัยยะปกรณ์ แม้จริงแล ในที่นั้น เรากล่าวโดยสังเขปนัยยะด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

อิติสิริ โลหะกูฏ ปัพพะตะ ติโลมุฬิธาตุ กถา สมัตตา.. กิริยาอันกล่าวยังตำนานจารึกแห่งทักขิณโมฬีธาตุ อันมีในดอยจอมทองติโลกโมฬี ก็สำเร็จบริบูรณ์ แล้วเท่านี้จริงแล..."


สรุปตอนท้ายหลวงพ่อฯ มีความเห็นว่า


.....ประวัติที่เขาเล่ากันมามีอย่างนี้ เมืองอังครัฐนี่ ถ้าบรรดาคนที่เคยอ่านเรื่องราวในพระพุทธศาสนา คงจะเจอะชื่อของ "พระเจ้าอังครัฐ" หรือ "เมืองอังครัฐ" ชื่อนี้เป็นชื่อแขกๆ เขาไม่ได้บอกว่าเป็นชื่อไทย หรือว่าเขาไม่ได้ประกาศว่า เวลานั้นเป็นประเทศไทย

ฉะนั้น เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาในประเทศไทยจึงไม่มี แล้วดินแดนแห่งนี้มีนามว่า "เมืองอังครัฐ" จำไว้ให้ดี เขาไม่ได้บอกว่าเป็นเมืองสยาม หรือว่าเมืองไทย ฉะนั้นคำว่า "เมืองไทย" ไม่มีละก้อ บรรดาลูกหลานทั้งหลายเชื่อท่านไว้ด้วย ว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเสด็จเข้ามาในประเทศไทย แต่ว่าเคยเสด็จเข้ามาในแคว้นๆ หนึ่งหรือหลายๆ แคว้น ในดินแดนของเมืองไทยปัจจุบัน

แต่ว่าสมัยนั้นไม่ใช่ประเทศไทย ที่มีนักปราชญ์ทั้งหลายบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยเสด็จเข้ามาในประเทศไทยนั้นเป็นความจริง บรรดาลูกหลานที่รักอย่าเถียง เพราะว่าสมัยนั้นไม่ใช่เมืองไทยนี่ เราจะเรียกกันว่าประเทศไทยไม่ได้ หรือว่าเมืองไทยไม่ได้ เพราะไทยยังไม่ได้เป็นเจ้าของประเทศ เวลานี้เราเข้ามาเป็นเจ้าของทีหลัง เราจะไปเอาประวัติของพระพุทธเจ้า บอกว่าเข้ามาในประเทศไทยนั้นมันไม่ถูก เราจะต้องเรียกชื่อตามดินแดนที่เขาตั้งไว้ในเวลานั้นดีกว่า

ที่เล่ามาอย่างนี้ก็เพื่อบรรดาท่านพุทธบริษัท หรือลูกหลานที่รัก ได้รับทราบความเป็นมาของพระพุทธศาสนากับประเทศไทย ว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ที่นักปราชญ์ทั้งหลายท่านบอกว่า ประเทศไทยกับพระพุทธศาสนา ไม่พบกันมาในกาลก่อน อันนี้เป็นความจริง เพราะว่าเวลานั้นประเทศนี้ เขาไม่ได้เรียกว่าประเทศไทยนี่ พระเจ้าอังครัฐนี่ ถ้าดูตามชาดกหรือตามพระสูตร บางทีจะพบดูเหมือนว่าเคยประสบๆ เคยพบมา..."


(โปรดติดตามตอนต่อไป "ตำนานพระธาตุพนม")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/4/17 at 09:34 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 6 ]

Update 2 พ.ค. 60


ตำนานพระธาตุพนม (อุรังคนิทาน)


...ทั้งหมดนั่นปรากฏเป็นหลักฐานจากภาคเหนือมาแล้ว ส่วนภาคอีสานชัดเจน ตาม "อุรังคนิทาน" (ตำนานพระธาตุพนม) บันทึกโดยพระอรหันต์สมัยนั้นเช่นกัน โดยท่านได้เล่าย้อนถึงตอนสมัยพุทธกาลว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนลุ่มแม่น้ำโขงทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา

สมัยนี้หมายถึงลาว เช่น พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ และ พระพุทธบาทภูสี หลวงพระบาง ส่วนไทยก็คือ พระธาตุพนม, พระธาตุเชิงชุม, พระธาตุบังพวน และ พระพุทธบาทบัวบก เป็นต้น ซึ่งคนไทยต่างก็เคารพนับถือ โดยเฉพาะบางแห่งถือว่าเป็น "พระธาตุประจำปีเกิด" ของตน ต่างก็นิยมไปกราบไหว้กันอยู่เสมอ อ่านรายละเอียดได้ คลิกที่นี่

ส่วน พระธาตุพนม ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน (สกลนคร) พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย (อุดรธานี) และ พระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไท) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร) และ พระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง ๕ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์ พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๕๐๐ องค์ ก่อสร้างพระธาตุพนมจนแล้วเสร็จ

หลังจากอัญเชิญ พระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง ๔ ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง ๔ ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา ๑ ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี ๑ ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา ๑ ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก หลักฐานเหล่านี้ก็ยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้..."

เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว พระมหากัสสปเถระก็กลับไปสู่เมืองราชคฤห์ ท่านได้สั่งสอนสามเณร ๓ องค์ จนกระทั่งบวชเป็นภิกษุ แล้วก็ได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ องค์ มีนามว่า พุทธรักขิต ๑ ธรรมรักขิต ๑ สังฆรักขิต ๑ พระอรหันต์ทั้ง ๓ องค์นี้ มาแต่เมืองราชคฤห์มาอยู่ "หนองกก" ใกล้ภูเขาลวง (พระธาตุบังพวน) อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

แล้วได้ไปนำเอาพระยาทั้ง ๕ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ในบ้านเมืองต่างๆ กันไป เพื่อนำมาบวชเป็นภิกษุ สั่งสอนการปฏิบัติธรรมจนลูกศิษย์ทั้ง ๕ องค์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เวลาต่อมาทั้งอาจารย์และศิษย์จึงออกเดินทางไปกรุงราชคฤห์ เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔๕ องค์ มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก่

๑. อัญเชิญ พระธาตุหัวเหน่า จำนวน ๒๙ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่ พระธาตุบังพวน หรือภูเขาลวง ริมน้ำบางพวน (หรือภูลวง) อันเป็นที่อยู่อาศัยของพญาปัพพาลนาคราช
๒. อัญเชิญ พระธาตุฝ่าพระบาทก้ำขวา จำนวน ๙ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ พระธาตุกลางแม่น้ำโขง ณ เมืองหล้าหนองคาย
๓. อัญเชิญ พระธาตุเขี้ยวฝาง ๓ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่ พระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านปะโค จังหวัดหนองคาย
๔. อัญเชิญ พระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน ๔ องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ พระธาตุหอผ้าหอแพ เมืองเวียงจันทน์

ประการสำคัญต่อมา..พระมหาเถระของไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทยจริง เช่น พระสายเหนือ คือ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย, ท่านครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า, หลวงปู่ชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม, ท่านครูบาขาวปี วัดพระบาทผาหนาม เป็นต้น ต่างก็ยอมรับว่าพระพุทธเจ้าเสด็จประทับรอยพระพุทธบาทไว้ทางภาคเหนือของไทย

แม้พระสายอีสาน เช่น หลวงปู่สิม (ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ท่านก็บอกไว้ในหนังสือพระราชทานงานศพของท่านว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อันมีรายละเอียดดังนี้

“.....ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขา หลวงปู่ผู้เทศน์ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ...พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด ๑๒ ศอก...ขนาดนั้น...

พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว ศาสนาพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสมาสอนรื้อขนสัตว์ไปอีก ก่อนนิพพาน ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาด) ลดลงมา คือคนสมัยนั้นก็เรียกว่า มันกำลังทดลง ไม่ได้ใหญ่ขึ้น (ตัวเล็กลง)

เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโนนิพพานไปพร้อมด้วยสาวกแล้ว ศาสนธรรมคำสอนท่านหมดไป ก็มาถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ได้สามรอยละ...

เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปหมดไปแล้ว มาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้ ก่อนที่ท่านจะนิพพานก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ในก้อนหินก้อนเดียวกัน จึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”

คือในโลกนี้แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีกพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมีพระศรีอาริยเมตไตรโยโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้าย เมื่อตรัสรู้แล้ว โปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็มาเหยียบไว้อีก เหยียบทีนี้น่ะดูเหมือนจะใหญ่ คือว่าเหยียบเต็มเลย ก็คล้ายๆ กันกับว่า เหยียบปิดเลย ละลายหินก้อนนั้น เพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้ว ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีก เรียกว่าแผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด... แผ่นดินนี้เรียกว่า “ภัทรกัป” มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์....”

หรือแม้แต่ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม แห่งวัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม เมื่อครั้งยังเที่ยวธุดงค์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยเช่นกันว่า

“.....พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล...”

ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่สมมุติยุติสรุปการทั้งปวงได้อย่างสิ้นสงสัยอย่างสิ้นเชิงแล้วว่า อัน “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” หรือ “พระพุทธบาทรังรุ้ง” และหรือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ ดังที่พรรณนามานี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง และมีความสำคัญอย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

เพราะที่สุด หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุค ก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่สิมยังเป็นสามเณรอยู่ว่า

“เณรสิมนี้ ยังเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อใด จะหอมกว่าหมู่” เมื่อได้เล็งญาณพิจารณาการทั้งสิ้นแล้ว จึงได้กล่าวสรุปปิดท้ายไว้ก่อนละสังขารไม่นานว่า

“....พระบาทสี่รอยนี้ เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรี เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคดมเพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้น เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์ ไหว้พระบาทสี่รอยครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้ารวดเดียวถึง ๔ พระองค์นั่นแหละ....”



.......ส่วนพระสายภาคกลาง คือ หลวงพ่อพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) วัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพฯ ยังได้อ่านพบในกระเบื้องจารว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือน "อาณาจักรสุวรรณภูมิ" จ.ราชบุรี แล้วเสด็จไปประทับรอยพระพุทธบาท ณ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต (อ่านรายละเอียดจากบทความเรื่อง "พิธีบวงสรวง ณ อาณาจักรสุวรรณภูมิ" http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=821) นอกจากนี้ตามหลักฐานจากโบราณสถานที่เก่าแก่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่ "พระแท่นศิลาอาสน์" อีกด้วย อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.sookjai.com/index.php?topic=122712.0;wap2

โดยเฉพาะในหนังสือ "พงศาวดารเหนือ" พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแต่ง แต่ยังดำรงพระเกียรติยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา (น้อย) เป็นผู้รวบรวมเรื่องมาเรียบเรียง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๐ ยังได้เล่าว่า

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปฉันจังหันใต้ต้นสมอ ณ บริเวณเขาสมอแครง (เดิมเรียก "พนมสมอ") อ.วังทอง จ.พิษณุโลก หลังจากเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านพราหมณ์แล้ว ภายหลังพระเจ้าศรีธรรมปิฎก (พระเจ้าพรหมมหาราช) จึงรับสั่งให้สร้าง "วัดพระพุทธชินราช" ตรงบริเวณที่พระพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาตนั้น

ส่วนพระยาธรรมราชา จึงให้ช่างก่อที่บรรจุพระธาตุ โดยตัดเอาแลงมาทำเป็นแผ่นยาวสามศอก กว้างหนึ่งศอก ยาวห้าศอก กว้างสองศอกทำเป็นบัวหงาย หน้ากระดานและทรงมันทำให้งาม ขุดสระกรุด้วยแลงทำด้วยปูน แล้วตั้งฐานชั้นหนึ่ง จากนั้นได้พากันไปขุดเอาผะอบแก้วใหญ่ห้ากำ ที่ใส่พระธาตุมาบูชานมัสการด้วยดอกไม้ ธูปเทียน แล้วเชิญพระธาตุมาที่เมือง ป่าวร้องให้แก่คนทั้งหลายผู้ศรัทธาเอาทองมาประมวญกันได้ ๒๕๐๐ ตำลึงทอง ให้ช่างตีเป็นสำเภาเภตรา แล้วใส่พระธาตุพระพุทธเจ้าลอยอยู่ในน้ำบ่อ

จากนั้นจึงก่อเป็นพระเจดีย์สวมไว้ ใช้เวลาหนึ่งปีจึงแล้วเสร็จแต่ยังไม่มียอด บรรดาชีพราหมณ์ทั้งหลายที่อยู่ในปัญจมัชฌคาม (ผู้เป็นหลานเหลนนางโมคคัลลี) ผู้เป็นมารดาพระโมคคัลลาน์ และนางสารีผู้เป็นมารดาพระสารีบุตร ที่อยู่ในปัญจมคามก็กลายมาเป็นเมืองสวรรคโลก พระธาตุพระสารีบุตรก็บรรจุไว้ในเจดีย์พระธาตุข้างเหนือ พระธาตุโมคคัลลาน์บรรจุไว้ในบ้านนางโมคคัลลี และนางทั้งสองนี้เป็นญาติกัน
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.thaiolden.com/tag/พระราชพงศาวดารเหนือ/ หรืออ่านที่ คลิกที่นี่

แม้แต่ในพระไตรปิฎก "ปุณโณวาทสูตร" พระอรรถกถาจารย์ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ ยังได้กล่าวถึง "รอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่ง" ในชมพูทวีปว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเถระในลังกายังได้บอกพระสงฆ์ไทยว่า รอยพระพุทธบาท ๑ ใน ๕ แห่งนั้น อยู่ในเมืองไทยบนเขา "สุวรรณบรรพต" ในเมืองปรันตปะ (ตรงกับสมัยพุทธกาลที่ พระปุณณะ เดินทางมาที่ สุนาปรันตชนบท) แล้วภายหลังได้พบในแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาเรียกว่า วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754 หรือที่ วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี อ่านประวัติได้ที่ http://www.faiththaistory.com/วัดพระพุทธฉาย-สระบุรี/

นี่เป็นความเชื่อของคนไทยกลุ่มหนึ่ง อาจจะไปค้านกับหลักวิชาการบ้าง ที่คิดว่าตำนานของไทยเล่าเรื่องราวเหล่านี้ยากที่จะเชื่อถือได้ น่าจะเป็นการเขียนภายหลังทั้งสิ้น จึงได้ปฏิเสธตำนานตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะผู้เขียนเคยเห็นบทวิเคราะห์ในตอนท้ายวิทยานิพนธ์ "ตำนานพระเจ้าเลียบโลก" พบว่าไม่ค่อยจะเชื่อถือตำนานเหล่านี้ มองเห็นเป็นเรื่องนิยายปรำปราไป

จึงเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่พุทธสถานในเมืองไทย ส่วนใหญ่มีแค่ชาวบ้านธรรมดาที่เชื่อถือ ผู้ที่เรียนรู้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจ ทั้งๆ ที่พระเจดีย์ของเราก็มีความสำคัญไม่แพ้ในประเทศเมียนมาร์ อย่างเช่น พระเจดีย์ชเวดากอง ชาวมอญและพม่านับถือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ต่างก็เชื่อมั่นว่าเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกรมศาสนาของเขาก็มีงบให้บูรณะ จะเห็นว่าพระเจดีย์ชเวดากองปิดทองงดงามตลอดเวลา อีกทั้งผู้นำของประเทศที่นับถือพุทธศาสนา ต่างก็เดินทางไปกราบไหว้ให้ความสำคัญอยู่เสมอ

ในทางตรงกันข้าม "โบราณสถานของไทย" สภาพอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น จะไปบูรณะซ่อมแซมให้งดงามก็ไม่ได้ เกรงจะไปทำลายศิลปวัฒนธรรม ต้องทำหนังสือขออนุญาตให้ยุ่งยาก นับเป็นเรื่องแปลก แทนที่จะมองเห็นความสวยสดงดงาม กลับไปนิยมความเก่าแก่ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจศิลปะกันเท่าไร ยกตัวอย่างเมืองพุกาม นับตั้งแต่ "องค์การยูเนสโก" เข้าไปช่วยเหลืองบประมาณ เวลานี้พระเจดีย์ที่เก่าแก่ในเมืองพุกาม ส่วนใหญ่ได้รับการซ่อมแซมปิดทองสวยอร่าม นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแห่เข้าไปชมเมืองพุกาม ปีละไม่รู้กี่สิบล้านคน

จึงมีคำถามกันว่า คนไทยสนใจศิลปะการสร้าง หรือสนใจที่จะกราบไหว้เพื่อหวังบุญกุศลกัน ถ้าจะมองย้อนกลับมองตัวเราเองบ้าง นับเป็นเวลากี่สิบปีมาแล้ว ที่คนไทยยังไม่ได้รับการยืนยันว่า คนไทยอาศัยอยู่ในดินแดน "สุวรรณภูมิ" มาเก่าก่อน หรือยังเชื่อว่าอพยพมาทางภูเขาอัลไต หรือว่า "พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยือนถึงถิ่นไทยจริงหรือไม่..?"


* คนไทยอพยพมาจากภูเขาอัลไต (อ่านรายละเอียดได้)
๑. งานค้นคว้าเรื่องความเป็นมาของชนชาติไทย https://pawatsadsukhothai.wordpress.com/2013/07/12/ประวัติความเป็นมาของชน/
๒. เทือกเขาอัลไต กับคนไทย จะเชื่อใครดี http://oknation.nationtv.tv/blog/pakapoo/2008/10/22/entry-1
๓. "สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย" https://www.gotoknow.org/posts/245320

คัมภีร์ศาสนวงศ์

โดย ท่านปัญญาสามี


.......ขอย้อนกล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธศาสนาใน รัฐโยนก โดย ท่านปัญญาสามี ยังได้ระบุถึงพระสมณทูตสายอื่นๆ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชอาราธนาให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาทิเช่น

- พระโยนกรักขิตเถระไปแคว้นวนวาสี ซึ่งท่านระบุว่าอยู่ที่ เมืองศรีเกษตร (อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแปร ในพม่า)

- พระธรรมรักขิตเถระไปแคว้นอปรันตกะ ซึ่งท่านระบุว่าอยู่ที่เมืองพุกาม ในพม่า ทั้งได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนั้น ๆ อย่างละเอียด

- พระมัชฌิมะเถระ (ในหนังสือ "ศาสนวงศ์" ระบุชื่อพระเถระที่ไปด้วย คือ พระกัสสปโคตระ, พระอลกเทวะ, พระทุททภิยะ, พระมหาเรวตะ) ตามประวัติบอกว่าไปยัง ประเทศหิมวันตะ (แต่ท่านปัญญาสามีกล่าวว่าไปรัฐจีน ได้สั่งสอนคนในรัฐทั้ง ๕ ก๊กให้เลื่อมใส แต่ละก๊กได้บวชในสำนักพระเถระประมาณก๊กละ ๑,๐๐๐ คน พระเถระเหล่านั้นได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐจีน ด้วยประการฉะนี้) แล้วท่านกล่าวต่อไปอีกว่า

นัยว่า คนในจีนสมัยนั้นโดยมากบูชายักษ์ คือ นางจัณฑี (เจ้าแม่กาลี) และองค์ปรเมศวร เพราะฉะนั้น พระเถระทั้ง ๕ องค์ จึงสั่งสอนยักษ์และเสนายักษ์ด้วย "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ทำให้ยักษ์เลื่อมใสแล้ว

โปรดทราบว่า รัฐกัสมีระคันธาระ บางแห่งเป็นอาณาจักรของพระเจ้ากรุงจีน และบางแห่งก็แยกอยู่ต่างหาก ไม่ใช่อาณาจักรของพระเจ้ากรุงจีน แต่ครั้งนั้น เป็นอาณาจักรแยกอยู่ต่างหาก ศาสนาของพระผู้พระภาคในรัฐจีน ตั้งอยู่อย่างอ่อนกำลัง ไม่มั่นคง เพราะฉะนั้น ปัจจุบันนี้ (พ.ศ. ๒๔๐๕) ศาสนาในรัฐจีนจึงปรากฏอย่างเลือนลาง เหมือนเมฆหมอกตั้งขึ้นแล้วถูกกำลังลมพัดกระจายไป

- พระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหารัฐ ท่านปัญญาสามีระบุว่า แคว้นที่ชื่อ "มหารัฐ" นั้นอยู่ใกล้ประเทศสยาม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า คนในมหารัฐนั้นชอบฟังชาดกเป็นอย่างยิ่ง และภิกษุทั้งหลายก็เทศนาชาดกกถาให้คฤหัสถ์ฟังอยู่โดยมาก แต่ที่พิเศษยิ่งกว่าอื่นก็คือ คนทั้งหลายเหล่านั้นฟัง "เวสสันตรชาดกกถา" แล้วบูชาด้วยเครื่องไทยธรรมเป็นอันมาก

สมัยนี้คนไทยเรียกว่า "คาถาพัน" หรือที่เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ" คือจะต้องเตรียมสิ่งขอบูชากัณฑ์เทศน์อย่างละ ๑,๐๐๐ อย่าง คาถาพัน คือ ชื่อเรียกการสวดพระคาถา "เวสสันดรชาดก" เป็นภาษาบาลีของพระสงฆ์ ซึ่งมีทั้งหมด ๑,๐๐๐ พระคาถา ซึ่งมักจะสวด "คาถาพัน" ก่อนการเทศน์มหาชาติ

ซึ่งเนื้อเรื่องและความหมายของทั้งคาถาพันและเทศน์มหาชาตินั้น ก็คงเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน คือ พระเวสสันดรชาดกนั้นเอง เพียงแต่ในการเทศน์ฯ นั้นประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ไม่มีความรู้ด้านภาษาบาลีก็สามารถฟังและอนุโมทนาตามพระชาติต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการบำเพ็ญทศบารมีได้ ยังความปีติยินดีมาสู่ผู้ที่ได้รับฟังเป็นอย่างมาก

ซึ่งงานเทศน์มหาชาตินี้ นิยมทำกันหลังออกพรรษาพ้นหน้ากฐินไปแล้วอาจทำในวันขึ้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง

อย่างในนิราศเดือนของ “นายมี” ที่ยกมาข้างต้นก็กล่าวถึงพิธีเทศน์มหาชาติซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๒ แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลางบางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี.....อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ https://www.gotoknow.org/posts/257557

- ส่วนพระสมณทูต สายที่ ๙ พระโสณะ พระอุตตระ เดินทางไปยังสุวรรณภูมินั้น ในหนังสือ "ตำนานพระพุทธเจดีย์" กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีความเห็นว่า พวกพม่ามอญอ้างเอาว่าเป็นเมืองสะเทิม (สุธรรมวดี)

ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าอ้างเอาเมืองที่พระปฐมเจดีย์ยิ่งกว่า เพราะมีโบราณวัตถุเช่น ศิลาธรรมจักรเป็นต้น ทันชั้นสมัยพระเจ้าอโศก แต่คำที่เรียกว่า "สุวรรณภูมิประเทศ" ครั้งนั้น จะหมายรวมแดนดินที่มาเป็นประเทศมอญและไทย ภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างเราเรียก "อินเดีย" ก็เป็นได้

(โปรดติดตามตอนต่อไป "พระโสณะ พระอุตตระ เดินทางไปยังสุวรรณภูมิ")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 18/4/17 at 10:55 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 7 ]

Update 8 พ.ค. 2560


พระสมณทูตสายที่ ๙

พระโสณะ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ


...เรื่องที่กล่าวผ่านมาแล้วนั้น คงจะสอดคล้องกับเรื่องราวในหนังสือ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ โดยอดีตท่านเจ้าคุณ พระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) วัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพฯ จากการอ่านในศิลาจารึกที่เรียกว่า "กเบื้องจาร" ส่วนใหญ่ขุดพบที่บริเวณเมืองเก่า บ้านคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี

ถ้าจะถามว่ามีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหน ผู้เขียนเชื่อในความเป็นสมณเพศของท่าน เพราะได้เคยกราบและสนทนากับท่านตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ คือก่อนที่ท่านจะมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๕ พร้อมกับขออนุญาตท่านนำมาลงในหนังสือ "ธัมมวิโมกข์" ด้วย

อีกประการหนึ่ง ท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านเล่าว่าตอนแรกก็ไม่ทราบว่าตนเองเคยเป็นช้างปาเลไลยกะมาก่อน แต่สมัยยังเป็นพระหนุ่มขณะที่เรียนบาลี ช่วงแปลธรรมบทตอนพระพุทธเจ้าหนีพระภิกษุโกสัมพีมาจำพรรษา ระหว่างนี้จะมีช้างและลิงมาอุปฐาก คอยหาอาหารมาถวายพระพุทธเจ้าทุกวัน ท่านบอกว่าพอแปลมาถึงช้างปาเลไลยกะทีไร จะมีอาการปีติสะอื้นขึ้นมาทันทีโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากได้พบข้อความในกเบื้องจารแล้ว จึงได้ทราบว่าตนเองเคยเป็นช้างเชือกนี้มาก่อนนั่นเอง

ผู้เขียนจึงเชื่อในความเป็นพระภิกษุของท่าน เนื่องจากเป็นพระโพธิสัตว์ระดับ "ปรมัตถบารมี" (พระโพธิสัตว์ระดับนี้ แม้แต่พระอรหันต์ยังต้องให้นั่งหน้า ใครเคยปรามาสท่านไว้ ควรขอขมาไว้จะเป็นการดี) คือได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้ามาแล้ว และได้จัดลำดับอยู่ในกัปนี้นับเป็นองค์ที่ ๑๐ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "สุมังคละ" แม้แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ท่านก็เคยยืนยันไว้สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็นความจริง

เพราะฉะนั้น ถ้าท่านนำเรื่องที่ไม่จริงออกมาเผยแพร่ พระพุทธเจ้าปรับเป็นอาบัติข้อมุสาวาทอยู่แล้ว โดยเฉพาะท่านบวชฝ่ายธรรมยุตด้วยนี่ ถือว่าน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ต่างกับผู้ที่กล่าวโทษท่านหาว่าทำกเบื้องจารปลอม ไม่รู้ว่าคนพูดเหล่านั้นมีศีล ๕ ครบถ้วนหรือเปล่า

อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ มีนักวิชาการอิสระคนหนึ่งเขียนลง นสพ.สุดสัปดาห์ฉบับหนึ่งว่า

"....เรื่องพระเจ้าอโศกส่งพระอุตตรเถระและพระโสณเถระมาเผยแผ่พุทธศาสนายังสุวรรณภูมิ เป็นสิ่งที่ถูกเขียนขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๑๐๐๐ โดยอ้างอิงถึงตัวละครที่เคยมีชีวิตอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่ตัวละครเหล่านั้นไม่ได้เคยเดินทางไปยังสุวรรณภูมิเสียหน่อย

ดังนั้น การที่ใครจะอ้างว่า มีวัดหรืออะไรก็ตามในพื้นที่ประเทศไทย (และรวมทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ที่ในสมัยโบราณแขกอินเดียเขาเรียกว่าสุวรรณภูมินี้) ที่สร้างขึ้นโดยพระสมณทูตทั้งสอง ที่พระเจ้าอโศกส่งมานั้น จึงเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง ก็ในเมื่อพวกท่านทั้งสองไม่เคยธุดงค์เฉียดมาถึงอู่ทอง นครปฐม หรือชุมชนโบราณแห่งไหนละแวกนี้เลยนี่ครับ..."


ความเห็นของนักวิชาการอิสระท่านนี้ อ่านแล้วก็น่าเห็นใจกัน เพราะต่างคนต่างก็เกิดไม่ทัน หลับหูหลับตาเขียนเดากันไปส่งเดช..ไม่ว่ากันนะ แต่ที่น่าเป็นห่วง ดันไปค้านกับพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ตามที่ได้นำลงไปเมื่อตอนที่แล้ว (บังเอิญว่ามาเจอกันโดยไม่ได้นัดหมาย) จึงขอนำคำของพระปรมาจารย์แห่งกรมศิลปากรมาลงอีกครั้ง ดังนี้

เรื่องพระโสณะ พระอุตตระ เดินทางสู่เมืองสุวรรณภูมินี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านแสดงความเห็นในหนังสือ "ตำนานพระพุทธเจดีย์" ไว้ว่า

".....พวกพม่ามอญอ้างเอาว่าเป็นเมืองสะเทิม (สุธรรมวดี) ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าอ้างเอาเมืองที่พระปฐมเจดีย์ยิ่งกว่า เพราะมีโบราณวัตถุเช่น ศิลาธรรมจักรเป็นต้น ทันชั้นสมัยพระเจ้าอโศก แต่คำที่เรียกว่า "สุวรรณภูมิประเทศ" ครั้งนั้น จะหมายรวมแดนดินที่มาเป็นประเทศมอญและไทย ภายหลังทั้งหมด เหมือนอย่างเราเรียก "อินเดีย" ก็เป็นได้..."


- อ่านปัญหานี้ที่เคยถกเถียงกันมาแล้ว http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=17559.0


.......ส่วนหลักฐานด้านโบราณวัตถุที่ขุดพบได้เป็นลายลักษณ์อักษรโบราณ โดยอดีต พระราชกวี อ่านไว้ ในที่นี้จะขอนำเนื้อความที่กล่าวถึง ถ้ำฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี มาให้อ่านกันว่า

พระปุณณเถระ (ปุณณมุนี, บุญพระฤษี, บุญวรอิสิ)
ชาวสวนปราน (สุนาปรันตะ) พริบพลี

......ในสมัยพุทธกาล ขณะนั้น เมืองปราน หรือ "พราน" คงเจริญมีอาณาเขตมาถึงเพชรบุรี หรือเพชรบุรีในขณะนั้นตั้งอยู่ที่ "ปราน" โดยคนสำคัญกลุ่มหนึ่ง และที่เพชรบุรีปัจจุบันอาจเป็นที่อยู่ของคนกลุ่มหนึ่ง และที่เพชรบุรีปัจจุบัน อาจเป็นที่อยู่ของคนชาวช่าง หรือพวกค้า และพวกทำนาหากินอื่นๆ ซึ่งมีชื่อตามที่ใหญ่กว่า "ปราน" ซึ่งมีนามีสวนมาก อันเรียกกันว่า "สวนปราน" ซึ่งอาจจรดไปถึงหลังสวนก็ได้

ชาวเพชรบุรีมีชื่อเสียงในทางดุร้าย ในเรื่องดุร้ายนี้ ในดินแดนแหลมทองดุทั่วไป จึงมีกฎหมายฉบับหนึ่งของไทย ห้ามกินคนเป็นๆ ใน "ปุณโณวาทสูตร" พระพุทธดำรัสตรัสเฉพาะ ชาวสุนาปรันตะ เพราะพระปุณณะเป็นชาวปราน และในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"พวกชาวสุนาปรันตะดุร้ายนักแล ปุณณะ..พวกชาวสุนาปรันตะหยาบช้านักแล... ดังนี้

คำว่า "ปราน" หรือ "พราน" เสียงใกล้กับ "ปรันตะ" ถ้านำคำว่า "สวน" หรือ "สุนา" ต่อเข้าจะเห็นชื่อ "สุนาปรันตะ" ชัดกว่า จะเล่าเรื่องแบบแปลประสมเรียงความต่อตาม อรรถกถา และ กระเบื้องจาร เท่าที่พบแล้ว ดังนี้ (สำนวนโบราณ อาจจะอ่านยากสักนิด แต่เพื่อเป็นการรักษารูปแบบ จึงได้นำมาลงไว้แบบเดิมๆ)

(ภายในถ้ำฤาษี เขางู จ.ราชบุรี)



ช้างปาริไลยกะโพธิสัตว์

บุญญมุนี ถ้ำพุทธ ถ้ำฤาษี เขางู เราเขียนเรื่องนี้คอย ภิกขุอ่ำ อันอุปัชฌายะให้ชื่อว่า ธัมมทัตตะ คนอันพุทธกล่าวว่า ตัวช้างป่าปาริเลยกะมาเกิด ธัมมทัตตะจงอ่าน เขียน ให้คนอ่าน บุณณะผู้มุนีเขียนคำกล่าวของพุทธ ในวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๑ เขียนคำคอยธัมวงสเวที วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ พุทธพัสสาปี ๔๓ ในพัสสาเรานี้ ๒๔

บุณณวรมุนี อยู่ถ้ำพุทธเล่าเรื่องคอยช้างชื่อ ปาริเลยกะ อันพุทธอนุเคราะห์ ๓ เดือน ผู้มีบุญสร้างบารมีมาก พุทธว่าเป็นเผ่าพันพระ พุทธนิพพาน ๒๕๐๐ เป็นภิกขุน้อยชื่อ พระธัมวงสเวที เมื่อใหญ่ขึ้นชื่อ....(พระราชกวี)

เถระอานันทะ ตั้งเราเป็นผู้แทนเสมอ เถระตะวันออก เมืองสุวัณณภูมิ เตือนตนให้เอาภาระทุกอย่าง แม่กุน ผู้เป็นแม่ พ่อกล่อม น้องจุลบุน น้องสาวชื่อแม่เล็ก น้องชายชื่อเสมอ น้องสาวชื่อแม่เจิม เมื่อคุมค้าทั่ว


ตอนนี้ขอนำเรื่องราวตามความในพระสูตร "ปุณโณวาทสูตร" เล่าว่า

.......มีพ่อค้าพานิช ๒ คน อาศัยอยู่ ณ สุนาปรันตะ ครั้งหนึ่งพี่ชายได้นำเกวียน ๕๐๐ ไปค้าขายที่กรุงสาวัตถี ได้ให้กองเกวียนพักอยู่ใกล้ๆ พระเชตวันมหาวิหาร หลังอาหารเช้าแล้วก็นั่งพักผ่อนตามสบายท่ามกลางบริวาร วันนั้น ชาวเมืองสาวัตถีกินอาหารเช้าแล้ว ก็อธิษฐานองค์อุโบสถ นุ่งห่มขาว ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร

เขาเห็นคนเหล่านั้นเดินไป ทราบความว่า คนเหล่านั้นพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรมแล้ว ต่อมา ตนเองพร้อมทั้งบริวารก็พากันไปฟังธรรมพร้อมกับบริษัทเหล่านั้นบ้าง เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมอยู่ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ เขายืนอยู่ท้ายสุดของบริษัท ก็เกิดความคิดอยากจะบวช

ครั้นเมื่อบริษัทเหล่านั้นกลับไปแล้ว เขาจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วทูลอาราธนาเพื่อเสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น พร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์ ณ ที่กองเกวียนซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่ใกล้พระเชตวันมหาวิหาร เขาได้ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับพร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์ หลังจากนั้น เขาได้สั่งมอบหมายทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มีอยู่ให้น้องชายเป็นเจ้าของปกครองดูแล ตนเองเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา


ส่วนเนื้อความใน กระเบื้องจาร เล่าว่า
พระปุณณะภิกขุอยู่เขางู เดิมอยู่ปรานของพ่อบ้านแม่กุน เดินทางถึงมคธ และสาวัตถี พบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ เมื่อพุทธพรรษา ๑๙ โดยมี พระอานนทเถระเป็นพระอุปัชฌายะ พระอุบาลี เป็นผู้ให้สรณะและศีล เมื่อเสร็จแล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า เอหิภิกขุ..เจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิด เมื่อวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ พุทธพรรษา ๑๙


ในอรรถกถา ปุณโณวาทสูตร กล่าวต่ออีกว่า
เมื่อบวชแล้วได้เป็นผู้สนใจพระกรรมฐาน แต่การปฏิบัติไม่เป็นผล จึงคิดที่จะกลับไปปฏิบัติธรรมที่บ้าน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลขอให้ประทานพระโอวาท พระองค์ทรงแสดงธรรมสอนให้ไม่เพลิดเพลินยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เมื่อดับความเพลิดเพลินได้ก็ดับทุกข์ได้ฉะนั้น

พระปุณณะกราบทูลขอไปสุนาปรันตะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ชาวสุนาปรันตะ ดุร้าย ถ้าเขาด่าว่า เธอจะทำอย่างไร?"
ข้าพระองค์คิดว่าด่า ยังดีกว่าทำร้ายด้วยมือ พระพุทธเจ้าข้า

"ถ้าเขาทำร้ายด้วยมือ จะทำอย่างไร?"
ยังดีกว่าใช้ก้อนดินทำร้าย

"ถ้าเขาใช้ก้อนดินทำร้ายจะทำอย่างไร?"
ยังดีกว่าใช้ท่อนไม้ทำร้าย

"ถ้าเขาใช้ท่อนไม้ทำร้ายจะทำอย่างไร?"
ยังดีกว่าทำร้ายด้วยอาวุธ

"ถ้าเขาทำร้ายด้วยอาวุธ จะทำอย่างไร?"
บุคคลบางคนต้องหาคนมาฆ่า แต่นี่ดีที่ไม่ต้องหา ได้คนที่มาฆ่าให้ พระพุทธเจ้าข้า

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอนุโมทนา และตรัสอนุญาตให้ไปได้ ท่านไปอยู่ในที่นั้นได้แสดงธรรมให้อุบาสก ๕๐๐ คน และท่านก็ได้บรรลุวิชชา ๓ ภายในพรรษานั้น


สำหรับเรื่องราวใน "กระเบื้องจาร" เล่าว่า
เมื่อไปสาวัตถี บวชแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้ไปหาพระอานนท์ และสั่งให้ไปหาพระเจ้าพิมพิสารบอกว่า

"พุทธเกิด ๒๑ ฝน ควรแจ้งราชาเมืองทอง ทั้งให้นำสารสหายเมืองติดต่อก่อน เรานำสารมาถึงแม่กุน จุนน้องชายขายไม้หอมทำศาลากว้างใหญ่"


พระพุทธเจ้าและพระสาวกไปสู่สุนาปรันตะ (ปุณโณวาทสูตร)

......ในเช้าวันหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสอง และพระสาวกอื่นๆ รวม ๔๙๙ รูป ได้เสด็จออกมาจากพระเชตวันแล้วขึ้นสู่เรือนยอด อัน วิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิตถวาย ๕๐๐ หลัง อีกหลังหนึ่งว่างเปล่า โดยทางอากาศ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๓๐๐ โยชน์ เพื่อทรงโปรด สัจจพันธฤาษี ที่ภูเขาสัจจพันธุ์

ครั้นแสดงธรรมจนดาบสผู้เห็นผิดได้บรรลุอรหันต์แล้ว จึงตรัสเอหิภิกขุ จีวรและบาตรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ลอยมาสวมใส่ทันที สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับพระภิกษุ ๕๐๐ รูป จึงเข้าไปในเรือนยอด เพื่อเสด็จสู่บ้านพ่อค้า ผู้เป็นน้องชายของพระปุณณะต่อไป ในตอนเช้า พ่อค้าทั้งหลายนำภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ อันมีพระพุทธองค์ทรงเป็นประมุข แล้วนำพระศาสดาเสด็จสู่ มกุฬการาม เพื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรม...


พระปุณณเถระจดพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไว้ ได้พบกระเบื้องจารแผ่นใหญ่ๆ ที่ดอนโตนด ๗ แผ่นได้จดและแปลไว้ด้วย ดังนี้

(พระพุทธรูปปางลีลาหน้าเขางู ราชบุรี)



พระพุทธเจ้าเทศน์คำไทย

พระปุณณะเอาคำพุทธเล่าให้ไทยลวะฟังธรรม ที่สุนาปรันตะ ในบ้านแม่กุนพริบพลี

"นิธิ นิเธติ ปุริโส...เป็นต้น ซึ่งแปลว่า คนฝังสิน (ทรัพย์) ในใต้น้ำลึก เมื่อต้องการสิ่ง ได้เกิดพร้อมแล้ว จักมีเพื่อดอกได้ ของเรา...


สำนวนอาจจะฟังยาก จึงขออนุญาตใช้สำนวนปัจจุบันนี้ เพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นว่า

".....อันบุคคลฝังสินทรัพย์ไว้ในใต้น้ำลึก เมื่อต้องการสิ่งใดก็จะได้มีไว้ใช้เพื่อตัวของเรา คือเพื่อพ้นจากราชภัย พ้นจากโจรภัย เพื่อเปลื้องหนี้สิน หรือเพื่อความอดอยากในยามคับขัน

แม้จะฝังเอาไว้ในที่ดีคือในที่ลึกใต้ลุ่มน้ำถึงเพียงนั้น แต่ทรัพย์สมบัติทั้งหมดมิได้ช่วยสำเร็จผลตลอดคราวแก่เขาเพราะขุมทรัพย์อาจเคลื่อนจากที่ฝังบ้าง เขาอาจจะจำเลอะเลือนไปบ้าง นาคยักษ์ผีทั้งหลายลักพาเอาไป หรือมีผู้ลอบขุดลักเอาไปบ้าง เป็นต้น เมื่อใดเขาเป็นผู้สิ้นบุญ ขุมทรัพย์ทั้งสิ้นหมดหายไปได้

แต่หญิงชายใดก็ตามฝังขุมทรัพย์ไว้ดีแล้ว ด้วยการให้ทาน ด้วยการรักษาศีล ขุมทรัพย์ของหญิงหรือชายนั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้วในผี ในเจดีย์ ในพระสงฆ์ ในคน ในแขกทั้งหลายบ้าง ในแม่ แม้หรือว่าในพ่อ อีกทั้งในพี่น้องญาติทั่วไป ขุมทรัพย์นั่นฝังไว้ดีแล้วใครๆ ชนะไม่ได้

เมื่อตายไปแล้วสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นต้องตัดทิ้งไป ขุมทรัพย์คือบุญไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น ขโมยปล้นเอาไปไม่ได้ ผู้รู้ควรทำบุญทั้งหลายไว้ อันเป็นขุมทรัพย์ที่ติดตามตัวไปได้ ขุมทรัพย์คือบุญนั้นให้ผลทุกอย่าง ที่ชอบใจแก่เทพและมนุษย์ทั้งหลาย สิ่งใดที่เทพและมนุษย์อยากได้ในใจก็จะได้ด้วยบุญสมบัตินั้น

มีผิวงาม ๑ มีเสียงดี ๑ มีส่วนสวยงาม ๑ มีร่างสะสวย ๑ ความเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ๑ ความมีคนล้อมมาก ๑ สิ่งนั้นทั้งหมดคนผีเอาได้ด้วยบุญสมบัตินั้น

นักขุนเมือง ๑ ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ๑ ความสราญหัวขุนที่น่ารัก ๑ เป็นขุนผีฟ้าในสรวงสวรรค์ ๑ นั้นทั้งหมดคนผีเอาได้ด้วยบุญสมบัตินั้น ข้าทาสทรัพย์สมบัติอันเป็นของมนุษย์ ๑ ยินดีใดในแดนสรวงในเทวโลก ๑ นิพพานสมบัติใด ๑ นั้นทั้งหมดคนผีเอาได้ด้วยบุญสมบัตินั้น ความได้เพื่อนดี ๑ ถ้าหมั่นประกอบเอาโดยแยบคาย ๑ เป็นคนคล่องรู้วิชชาวิมุตติ ๑ ปฏิสัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกบารมี ๑ ปัจเจกภูมิ ๑ พุทธภูมิ ๑ นั้นทั้งหมดคนผีเอาได้ด้วยบุญสมบัตินั้น

อันนี้มีประโยชน์ได้มากอย่างนี้ คือบุญสมบัติ "ปุญสัมปทา" คือการถึงพร้อมด้วยบุญ บัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้กระทำบุญแล้ว ดังนี้แล.."


พระศาสดาตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนาดังนี้ แล้วได้ประทับอยู่ณที่นั้นตลอด ๒๓ วัน เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่มหาชน เนื้อความต่อไปในกระเบื้องจารเล่าต่อว่า

พระพุทธพยากรณ์

......พระปุณณเถระผู้กราบทูลอัญเชิญพระพุทธเจ้ามาสุนาปรันตพริบพลี น้องชายคือ "จุน" มาเฝ้าพระพุทธเจ้ากับเหล่าพระอรหันตสาวก เมื่อเดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่บ้านมกุน เดือนอ้าย ขึ้น ๘ ค่ำ พัก ๒ วัน เมื่อเสด็จผ่านเมืองทอง จึงตรัสว่าเมืองทองจักเป็นเมือง "สุวัณณภูมิ" เมืองพุทธศาสนา

ครั้นเสด็จมาถึงชานเมืองจึงตรัสว่า ตรงนี้เป็นเมืองต่อเมืองสุวัณณภูมิ ๕๐๐ ปี พุทธศาสนามั่นคงดี ต่อ ๑,๐๐๐ ปี เป็นเมืองเล็ก พุทธศาสนาบางเหลือแต่ "พุทธนิมิตร" (พระพุทธรูป)

เมืองนี้ ขุนอิน - นางกวักทองมา เคยอยู่เป็นต้นตระกูล ขุนชวดมีคนช้างม้ามากเที่ยวยึดบ้านเมืองสิบสองพันกว่าเมือง พ่อแม่ตั้งเป็น "ขุนอินสิบสองพัน" แล้วขุนอินได้พา นางงามดอกไม้ เมียไป ๑ ปี ถึงเมืองสิบสองพันพา นางไปตั้งเป็นตัวห้องทอง มีข้านางแสนหนึ่งนางได้เป็นผู้คิดผ้าไหมและแพร

เมืองสุวัณณภูมินี้พุทธศาสนาตั้งนานพันปี เมืองจะย้ายมาตั้งตรงที่นี้ชื่อ "เมืองราชพลี" คูหาที่พระพุทธเจ้าอาศัยมีชื่อว่า "ถ้ำฤาษี" (ถ้ำเขางู) คนเชื่อถือมาเคารพในกาลข้างหน้าคือ พระพุทธรูปที่ทำจากที่พระองค์ทรงฉายเงาเอาไว้

เมื่อมาถึงถ้ำจึงเสด็จเข้าไปพักค้างคืน ในตอนเช้ามีชายหญิงนำภัตตาหารมาถวายมากมาย แม้ "ผันทอง" ก็หาอาหารมาถวายในวันนั้น ซึ่งต้องเดินมา ๓๕ นา พระพุทธองค์จึงทรงอนุโมทนาด้วยการเทศน์เป็นคำไทยว่า

"......คนฝังสินทรัพย์ไว้ในใต้แผ่นพื้นน้ำลึก เมื่อต้องการใช้เกิดขึ้นจักมีไว้ใช้ เพื่อตนจะได้พ้นภัยจากขุน พ้นภัยจากขโมย พ้นหนี้พ้นยากเข็ญ เช่นนั้นหาดีเท่ากับฝังในเจดีย์ พระ พ่อแม่ พี่น้องไม่

อันสินทรัพย์นี้แม้คนนาคยักษ์ขโมยลักฉ้อบังโกงเอาไม่ได้ สินทรัพย์อันตนฝังไว้นั้นผู้ให้ทุกสิ่งพอใจ ร่างงาม เสียงเพราะ สูงเยี่ยม แม้เป็นพระราชา พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ ความคล่อง ความรู้ คนไทยทุกคนและลวะทำความดีย่อมได้ดีเห็นดี

หากทำชั่วย่อมได้ชั่วคือ ฆ่าคน และเบียดเบียนคน ช้างม้างัวควาย ถือเอาของคนอื่น ผิดผัวเมียลูกท่าน กล่าวเท็จ เมาเหล้า น้ำหมักดอง อย่างนี้ว่าชั่ว ไม่ทำอย่างนั้น ชื่อว่าดี เช่นไม่ฆ่ากัน เป็นต้น ชื่อดีแล..."

หลังจากพักที่ถ้ำแล้วเมื่อเสด็จผ่านเมืองทอง พระเจ้าทับไทยทองได้พบพระพุทธเจ้าที่โรงช้าง จึงตรัสถามว่า "เจ้าหัวไปเด๋าใด"

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "เว้าไทย บ่ เม่น"

แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าทับไทยทองเสด็จไปมคธ มีสิ่งของฝากมากหลาย ท่านปุณณะเคยไปเที่ยวค้าขายต่างเมือง แล้วพระพุทธองค์จึงเสด็จผ่านพ้นไป


ใจความตอนต่อไปนี้ตามพระสูตร (อรรถกถา) เล่าต่อไปอีกว่า

โดยระหว่างนั้นแม่น้ำชื่อ "นิมมทานที" (ไทยว่านัมทา) ได้เสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำนั้น นิมมทานาคราชกระทำการต้อนรับพระศาสดานำเสด็จสู่นาคพิภพ ได้กระทำสักการะพระรัตนะทั้ง ๓ ประการแล้ว เมื่อพระศาสดาตรัสแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว จะเสด็จออกจากนาคพิภพนั้น พญานาคราชจึงทูลขอรอยพระบาท

สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงรอยพระบาท ณ ฝั่งน้ำนัมทานที แล้วรอยพระบาทนั้นเมื่อคลื่นทั้งหลายสาดมาก็ถูกกลบ เมื่อคลื่นทั้งหลายไปแล้ว รอยพระบาทก็ถูกเปิดเผยออก ได้เป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างมาก


(หลวงพ่ออ่ำกำลังเลือกกะเบื้องจารมาแผ่นหนึ่งให้ชม)


ส่วนใน "กระเบื้องจาร" เล่าว่า
"บุญมุนีอยู่ถ้ำฤษีผู้นำพุทธสู่เกาะคนชาวน้ำ หมู่คนน้ำเกาะแก้วเข้ากราบไหว้ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ชายทะเล พุทธเหยียบดินทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อขึ้น ๑๓ ค่ำ นั้นพุทธมาถึงบ้านแม่กุนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ


อรรถกถากล่าวว่า พระศาสดาเสด็จออกจากนั้นแล้ว เสด็จสู่เขาสัจจพันธ์ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า "เธอให้มหาชนดำเนินไปทางอบายแล้ว เธอจงอยู่ที่นี้แหละ ทำให้พวกเหล่านั้นละลัทธิเดิม แล้วให้ตั้งอยู่ในทางนิพพานเถิด..." แล้วทรงแสดงรอยพระบาทเหมือนรอยตราประทับ ณ ก้อนดินเหนียวเปียกที่หลังหินดาดเป็นก้อน จากนั้นจึงเสด็จสู่เชตวันทีเดียว

กระเบื้องจารกล่าวว่า
พุทธ ปุณณะ เดินทางไปเขาสัจจพันธ พาสัจจพันธไปส่งเขาสัจจพันธ อันสัจจพันภิกขุวอนขอรอยตีนอันเหยียบหิน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย เหยียบหินเชิงเขานั้น พุทธสร้างรอยตีน ณ หินทำรอยใหญ่กว่า ๓ เท่า เถระเดินภุ่มมือตลอดนั้น เสดแล้วพระภิกขุพันหมอบกราบพุทธ พุทธว่าเขาตีนพุทธ




รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง

๑. สุวัณณมาลิก คือรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ที่ลังกา
๒. สุวัณณบรรพต รอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ที่ยอดเขาสุวรรณบรรพต สระบุรี
๓. สุมนกูฏ รอยพระพุทธบาทประทับไว้ที่ยอดเขาสุมนกูฏ ลังกา
๔. โยนกปุระ คือที่วัดพระพุทธบาท ๔ รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เดิมเรียกว่า "พระบาทเขารังรุ้ง"
๕. นัมทานที คือที่เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต

ท่านผู้อ่านคงจะจำได้ที่ผู้เขียนได้ลงไว้ในฉบับก่อนๆ (ข้อเขียนนี้เคยลงใน "ธัมมวิโมกข์" เมื่อปี ๒๕๓๘) แล้วว่า ความจริงรอยพระพุทธบาทที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยมีมาก แต่ที่มีชื่อเสียงปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งบันทึกไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น มีเฉพาะ ๕ แห่งตามที่ลำดับมาแล้วนั้น

สรุปได้ว่ารอยที่ ๒ "สุวรรณบรรพต และรอยที่ ๔ "โยนกปุระ" และรอยที่๕ "นัมทานที" ปรากฏมีอยู่ในประเทศไทยนี่เอง ถ้าดูตามแผนที่ประเทศไทยแล้ว จะเห็นว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับไว้ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ คือภาคเหนือได้แก่ เชียงใหม่ ภาคกลางคือสระบุรี และภาคใต้คือ ภูเก็ต

นับว่าเป็นบุญวาสนาของชาวไทย ที่รอยพระพุทธบาทที่สำคัญทั้ง ๕ แห่งนั้น ได้ปรากฏอยู่ในประเทศไทยตั้ง ๓ แห่ง และ "คณะตามรอยพระบาท" ก็ได้ร่วมกิจกรรมในการ "รณรงค์วัฒนธรรมไทย" ด้วยการฟื้นฟูรอยพระพุทธบาท และเน้นพิธีสักการบูชาตามแบบวัฒนธรรมโบราณประเพณีที่ไม่ซ้ำกันแต่ละภาค

บัดนี้ "คณะศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" ต่างรวมตัวกันทั่วทุกภาค เพื่อร่วมกันสืบสานรอยไทย ด้วยการติดตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา โดยเริ่มตั้งแต่ภาคเหนือ คือรอยพระพุทธบาทที่๔ "โยนกปุระ" ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ และรอยพระพุทธบาทที่ ๕ "นัมทานที" ได้จัดงานฟื้นฟูประเพณี "การลอยกระทง" เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๗

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ก็ได้จัดงานพิธีสักการบูชา "รอยพระพุทธบาทภูสิงห์" จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทข้างซ้ายทางภาคอิสาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งงานที่ผ่านมาก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คิดว่าต่อไปในปีหน้าจะไปทางด้านทิศตะวันตก

.

รอยพระพุทธบาทแห่งใหม่

.....แต่ก็บังเอิญได้ทราบข่าวว่ามีการพบรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ที่สระบุรี ซึ่งถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทภาคกลาง แต่เดิมนั้นผู้เขียนพิจารณาแล้วว่ารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนั้น เป็นรอยพระพุทธบาทเดิม มีผู้คนไปกราบนมัสการกันอยู่เสมอแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปฟื้นฟูก็ได้

แต่เมื่อมีข่าวว่าพบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา "พระพุทธฉาย" ซึ่งผู้เขียนได้ไปเห็นมาแล้ว รู้สึกว่ามีความสวยงามมาก ยังคงลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาท คือมีธรรมจักรอยู่ท่ามกลางฝ่าพระบาท อันเป็นรอยพระพุทธบาทข้างขวานั้น จึงถือว่าเป็นบุญลาภของคนไทยที่ได้มีโอกาสพบเห็นในขณะที่มีชีวิตอยู่ เพราะรอยพระพุทธบาทที่ถูกปกปิดซ่อนเร้นมาแต่สมัยโบราณนั้น ไม่ใช่พบเห็นได้ง่าย ต้องถึงวาระกาลอันสมควร จึงจะปรากฏให้เห็นเป็นอัศจรรย์

ฉะนั้นงานติดตามรอยพระพุทธบาททางภาคกลาง อันเป็นรอยพระพุทธบาทที่ ๒ "สุวรรณบรรพต" ซึ่งปรากฏอยู่ในกระเบื้องจารจารึกไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับไว้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพรรษา ๒๒ สมัยนั้น ปี ๒๕๓๘ จึงจำเป็นต้องถูกจัดขึ้นอย่างกระทันหัน เพื่อเป็นการสมโภชรอยพระพุทธบาทที่เปิดเผยออกมา ในขณะที่กำลังดำเนินงานฟื้นฟูรอยพระพุทธบาท ถือว่าเป็นโอกาสดีของพวกเราทั้งๆ ที่มิได้ตั้งใจไว้ก่อน ด้วยประการฉะนี้..

(โปรดติดตามตอนต่อไป "ประวัติพระราชกวี")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 25/4/17 at 08:20 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 8 ]

Update 15 พ.ค. 2560



ประวัติ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร


...ท่านเป็นบุตรของ นายอาทิตย์ และ นางบุญมี ธรรมวิทยวงศ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล จ.ศ. ๑๒๖๗ เวลาเช้ามืด ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๗

พ.ศ. ๒๔๗๓ บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโสมนัสวิหาร เมื่ออายุ ๑๖ ปี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร (จันทร) เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและนักธรรมได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร สำนักเรียนวัดโสมนัสวิหาร

พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านศึกษาได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๙๗ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระธรรมวงศ์เวที"
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชกวี"

ท่านมรณภาพในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ สิริรวมอายุของท่าน ๗๘ ปี (๖๒ พรรษา)



(อธิบายภาพ) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพนฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด วชิระปราสาท พิพิธภัณฑ์วัดเพชรพลี หลังจากพระองค์ทรงประกอบพิธีกรรมเปิดพิพิธภัณฑ์แล้ว ได้เสด็จดำเนินทรงชมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ พระองค์ตรัสพระดำรัสไว้ตอนหนึ่ง

".....ลายสือไทยมีอยู่แล้วแต่โบราณกาลนับพันปี ผู้อ่านไม่ออกไม่ใช่ความผิดของหนังสือ เมื่อมีผู้อ่านออก พวกเราควรรับฟัง ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย และสำนึกรู้ในเหตุผล วัตถุสถานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเรา และของพระพุทธศาสนาในแดนสุวัณณภูมิเด่นชัดขึ้นอีก เราเห็นที่นี่แล้วรู้สึกว่า อู่ทอง สุพรรณ กาญจนบุรี ด้อยลงไปมาก..."

อนึ่ง สมเด็จพระวันรัต อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร เจ้าประคุณสมเด็จเป็นพระรัตตัญญูแห่งยุครูปหนึ่ง เขียนคำไว้อาลัยในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเจ้าคุณราชกวีว่า

“......เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่วัดโสมนัสวิหาร พระราชกวียังเป็นสามเณร กำลังเรียนบาลี สอบได้ถึง ปธ. ๖ ได้ตั้งให้เป็นครูใหญ่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระธรรมวงศ์เวที พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่ พระราชกวี

เวลาที่ข้าพเจ้าไม่อยู่ ได้มอบหมายให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส ความเป็นไปในวัดเรียบร้อยเป็นปกติทุกครั้ง แม้เป็นเวลานาน ๆ ก็ตาม เพราะมีผู้ช่วยและผู้รักษาการแทนที่สามารถ และขอตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ ได้ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรแทน แต่ในหน้าที่พระกรรมวาจาจารย์แล้ว พระราชกวีสวดได้ดีมาก ถูกต้องชัดเจนในภาษาบาลีและไพเราะมาก”



สำหรับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน ได้เคยกล่าวถึงท่านว่า

“......เจ้าคุณพระราชกวี วัดโสมนัสวิหารองค์นี้ ท่านปรารถนาพุทธภูมิ ความจริงยังไม่เคยเจอหน้ากันเลยนะ แต่ก็มีจิตใจยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน อาตมาก็ยอมรับนับถือท่าน ท่านก็ยอมรับนับถืออาตมา ต่างคนต่างฝากข่าวไปหากัน พบกันแค่ข่าว ถึงกระนั้นก็ดี แต่ว่าข่าวของอาตมากับข่าวของท่านนั้นตรงกัน รู้สึกตรงกัน จะหาว่าบ้าก็บ้าเสมอกัน หากว่าดีก็ดีเสมอกัน

ท่านเจ้าคุณพระราชกวีท่านปรารถนาพุทธภูมิ การปรารถนาพุทธภูมินี่ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ว่าอย่าลืมนะ การปรารถนาพุทธภูมินี่ปรารถนาจริง ๆ มันต้องครบทุกอย่าง เพราะปรารถนาพุทธภูมิเพื่อความเป็นครู ทั้งหลักสูตร สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ต้องรู้ทั้งหมด เพราะอะไร เพราะพระคอยบอก”


นี่เป็นคำพูดของหลวงพ่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ แล้วท่านก็มรณภาพในปีเดียวกันคือ ปี ๒๕๓๕ หลวงพ่ออ่ำมรณภาพเดือนมกราคม ส่วนหลวงพ่อของเรามรณภาพเดือนตุลาคม ส่วนคำว่า "พระคอยบอก" นับว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าหลวงพ่อท่านติดต่อกับพระพุทธเจ้าได้นานแล้ว การพูดการเห็นแต่เพียงผู้เดียว อาจจะเป็นที่สงสัยของบุคคลทั่วไปได้ ท่านจึงต้องการที่จะหาพยานรู้เห็นเช่นกัน การที่หลวงพ่ออ่ำอ่านแผ่นกเบื้องจารได้ บางครั้งต้องอาศัยความรู้พิเศษ คือมีพระคอยบอกด้วย เพื่อช่วยให้การเล่าประวัติศาสตร์ของชาติไทยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น นับว่าพระโพธิสัตว์ทั้งสองพระองค์นี้ได้มีความเห็นตรงกัน ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยพบกันเลยในชีวิตจริง อีกทั้งอยู่กันคนละนิกายอีกด้วย หลวงพ่อจึงกล่าวท้าทายผู้ที่สงสัยอีกครั้งว่า

“......ถ้าใครสงสัยที่อาตมาพูดว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้ ถ้าจะบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้ว มีความสูญ ขอให้ไปถามเจ้าคุณพระราชกวีได้ หรือไปถามคนที่เขาปฏิบัติได้ให้ได้จริง ๆ แล้วกัน ที่เขาทำทิพจักขุญาณได้ก็ดี ทำอภิญญาได้ก็ดี เขาตอบได้แน่นอน”

ภาพอัศจรรย์ขณะที่ผู้เขียนเดินทางไปถึง ถ้ำฤาษี เขางู

.

ถ่ายขณะที่ทางวัดมีงานประจำปี มองเห็นก้อนเมฆค่อยๆ พวยพุ่งขึ้นไป
บนท้องฟ้า จนกระทั่งเห็นเป็นพระพุทธรูปปางลีลา (ถ่ายเมื่อปี ๒๕๕๙)
เหมือนกับท่านจะประทานพรให้นำเรื่องนี้ออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง


.

ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ๒ แห่ง

.....สำหรับเนื้อความตอนที่แล้วได้มาจบลงตอนที่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก ๕๐๐ รูป ได้เดินทางมาโปรด ท่านสัจจพันธฤาษี ที่ภูเขาสัจจพันธ์ สระบุรี จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วเสด็จมาที่สุนาปรันตะ เพชรบุรี เพื่อทรงอนุเคราะห์ "จุลปุณ" ผู้เป็นน้องชายของพระปุณณเถระ

หลังจากประทับค้างคืนที่ ถ้ำเขางู ราชบุรี แล้วจึงได้เสด็จผ่านเมืองทอง เมื่อพบกันที่โรงช้าง พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเชิญชวน พระเจ้าทับไทยทอง เดินทางสู่แคว้นมคธ ต่อจากนั้นได้เสด็จไปโปรด พญานัมทานาคราช พร้อมทั้งได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่ เกาะแก้วพิสดาร ภูเก็ต เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ แล้วจึงได้เสด็จกลับไปส่งพระสัจจพันธเถระ พร้อมทั้งได้ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ภูเขาสัจจพันธ์ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพรรษา ๒๒

ขอเชิญติดตามเนื้อความในกเบื้องจาร ซึ่งพระปุณณะได้จารึกไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีคำสั่งให้ อดีตท่านเจ้าคุณราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) จงอ่านเขียนให้คนอ่าน และระบุไว้ชัดเจนว่าเคยเกิดเป็นช้างชื่อว่า "ปาริไลยกะ" ผู้เป็นเผ่าพันธ์ุพระโพธิสัตว์ ได้เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าตลอด ๓ เดือน

พระเจ้าทับไทยทอง

.....พระปุณณะได้กราบทูลอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ สุนาปรันตะ (จาก สาวัตถี มาถึง สุนาปรันต นี้ ตามอรรถกถากล่าวว่า ทางประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ประมาณ ๔,๘๐๐ ก.ม. ซึ่งเป็นระยะประมาณ ความจริงอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าได้) แม้พระพุทธองค์ได้ทรงทักทายพระเจ้ากรุงสุวัณณภูมิด้วยก็ยังไม่รู้ แต่เมื่อพระเจ้าทับไทยทองได้รับพระราชสาส์นจากพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งทรงฝากมากับพระปุณณะ เพื่อทูลเชิญเสด็จสู่แคว้นมคธจึงคิดที่จะเสด็จไปพบด้วย

เนื่องจากพระองค์ได้ทรงทราบว่า พระปุณณะได้พบพระพุทธเจ้าในกรุงสาวัตถี หลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว จึงกลับมาเมืองทองบอกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นในโลกแล้ว ๒๑ ฝน (พุทธพัสสา ๒๑) ผู้คนบูชาทั่วไป พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธได้เป็นผู้ทะนุบำรุงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวก ส่วนเมืองทองถ้าพ่อเมืองอยากเห็น ขอเชิญมาเมืองมคธเพื่อนเองในเวลาที่เห็นสมควร

พระราชสาส์นจากพระเจ้าพิมพิสาร

ยัคเฆ ปิยะ อทิฏฐะ ปุพพะกะ มาริสะ วะสะคู มัญญะหิ อิธะ ฯลฯ แปลว่า

".....ผู้ยอดเจริญที่รัก เพื่อนผู้เช่นกับเรา ไม่เคยเห็นกัน ท่านผู้ถึงอำนาจทรงทราบ ณ ที่นี้ พระสัพพัญญูพุทธ พระธรรม พระสาวกสงฆ์ สมภพแล้ว (มีพร้อมแล้ว) ขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดมาฟังซึ่งอริยธรรม ณ ที่นี้ มาเสวยผลอันชอบใจ ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน..."

พระเจ้าทับไทยทองจึงทรงรับสั่งทองจอมฟ้า ผู้เป็นพระราชโอรสนำเอาขุนเลอไทย และขอมสาย ให้เรียกคนเมืองมาให้ต่อเรือกง ๖๘ ลำเพื่อเดินทางไปมคธ ขุนทองจอมฟ้าจึงเลือกสถานที่สำหรับขนไม้มะค่า สัก ประดู่ เต็ง ตะเคียน มาทำเรือ เมื่อปีฐอ เดือน ๑๐

เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีโล ๑๑๖๘ พระปุณณะมาพบพระเจ้าทับไทยที่หอต้น (พระราชวัง) ได้แนะนำ งามตาเรืองฟ้า ทองประดับตน และ ดวงขวัญใจ ขุนหญิง ๓ เมียใหญ่ของพระราชาให้เอาผ้ายกยองไหมทอง เพื่อนำไปเป็นของขวัญแก่ พระนางเวเทหิ พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นน้องสาวของพระเจ้าปเสนทิโกศล

และนำผ้าไหมยกลายเชิงทอง ๗ ผืน ดอกทองคำ พื้นสีดำอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองทองไทยลว้าไปด้วย ๑๐ ผืน โดยเฉพาะผ้าที่จะนำไปถวายพระอานนท์นั้น ได้นำผ้าไหมไปย้อมสีเหลืองเหมือนสีทองคำอีกด้วย

ส่วนต้นพ่อเมืองคือ พระเจ้าทับไทยทอง ได้เอาผ้าไหม ๑๐๐ ผืน เพื่อถวายองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อีก ๕๐ ผืน เพื่อถวายพระเจ้าพิมพิสารจอมมคธ และ ๕๐ ผืนสีแดงเพื่อพระนางเวเทหิโกศลเทวี



ธ่าน ปุณณ ฤษี ขอ ขุน ญิง งาม
ตาเรือง(ฟ้า) เอิ้น เอา แม่ อู่ ทอง
ด้วย มา ทอ ผืน ผ้า ให้ ผัว
เพื่อ มอบ แก่ พระ นันท อานันท
ผ้าไหม เอาต้ม สีเหลือง(เลือหง)
เหมือน สี คำ คือ เมือง ทอง ไทยลว้า


แผ่นที่ ๑ นี้ ขุดพบที่ บ้านหัวดอน หรือ ดอนโตนด คูบัว พระเจ้าทับไทยทอง หรือ ขุนเสมียนเมือง เขียนไว้ มีชื่อพระปุณณฤษี งามตาเรืองฟ้า เมืองทองชัดเจน ได้มานาน ที่อ่านไม่ออกคือ รูปเส้นสี่เหลี่ยมมีขีดทแยงออกนั้น อ่านไม่ออกอยู่ถึง ๗ ปี (อ่านว่าผืน) นำมาลงไว้เพื่อรู้ว่า พระปุณณเถระ ขอให้พระเจ้าทับไทยทองนำของถวายต่างๆ ไป และก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสุวัณณภูมิ

ครั้นเตรียมเสบียงข้าวปลาอาหารให้มากพอถึง ๑ ปี ขุนลือลบลว้านายเรือเป็นผู้คุมเรือทั้ง ๖๘ ลำ พร้อมกับคนพันหนึ่ง ส่วนพระเจ้าทับไทยทองจึงให้ "ขุนอินเมืองทอง" เป็นผู้คุ้มเมืองกับ "ดวงขวัญใจ" เมียเล็ก แล้วเสด็จไปพร้อมกับเมียใหญ่และเมียกลางคือ "งามตาเรืองฟ้า" และ "ทองประดับตน" โดยมี พระปุณณเถระ เป็นผู้นำทาง ออกเรือเมื่อเดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีโล ๑๑๖๙

เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ พุทธพรรษา ๒๓ จึงเดินทางถึงเมืองมคธ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระเจ้าพิมพิสารทรงพาไปหาพระอานนท์ที่พระเวฬุวัน เพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงเทศน์ "อนุปุพพิกถา" และ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" จนได้เห็นธรรมในเบื้องต้นโสดาบันแล้ว


อนุปุพพิกถา

คำว่า "อนุปุพพิกถา" พระพุทธเจ้าเทศน์เรื่อง ทาน ศีล สวรรค์ กามาทีนวะ (โทษของกาม) เนกขัมมะ (การออกจากกาม)

ในตอนนี้ ท่านได้นำกเบื้องจารซึ่งได้จารึกไว้ ตอนพระปุณณะอยู่ถ้ำฤาษีเขางู กับพระเจ้าทับไทยทอง ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ พุทธพรรษา ๔๓ พระเถระทูลให้ทรงระลึกถึงพระธรรม ที่ได้ทรงสดับจากพระโอษฐ์นั้น แล้วตรัสเล่าให้พระปุณณะจดลงแผ่นกเบื้องจาร (หมายความว่าเขียนหลังจากได้ฟังมาถึง ๒๑ ปี และพระเจ้าทับไทยทองมีพระชนมายุได้ ๑๐๒ ปี ซึ่งก็ยังทรงจำได้ดี) การที่พระปุณณะจดไว้เป็นภาษาไทยเช่นนี้ จึงแน่ชัดว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมด้วยภาษาไทย

"ให้ปุณณะเขียนลงเบื้องคอยธัมมทัตโตอ่าน เมื่อพุทธกาลล่วง ๒๕๐๘ ทับไทยทองกล่าว พุทธว่า พระพุทธองค์ทรงเทศน์ว่า...

ท่านทั้งหลาย "ทาน" อันคนควรให้มีผลให้ไปสวรรค์
หากจะให้ทานทนนานเนิ่นควรมี "ศีล" คือไม่ฆ่าคนและสัตว์ จะมีอายุยืนยาว
ไม่ถือเอาทรัพย์สินคนอื่นๆ ทำให้มีเงินทองมาก
ไม่ผิดในลูกเมียเขา จะทำให้คนเชื่อถือ
ไม่พูดเท็จ ให้มีปากคำจริง
ไม่กินเหล้าเมา ทำให้ไม่เป็นคนบ้าบอ

"สวรรค์" เมื่อให้สิ่งได้ตามใจไม่แน่ หากไม่ได้สมหวังก่อความร้อนใจ
"กาม" นี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เสมอ บังคับไม่ได้ ควรเบื่อหน่าย
เมื่อหน่ายจากโทษแล้วควรชอบใจ "เนกขัมมะ" คือไม่คิดหาลูกเมีย ถึงสงบ


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ทางสุดสอง อันปวงชีไม่ควรทำมาก คือทางความรักอันมากทุกข์ ไม่ใช่ดี อนึ่งทำตนให้ลำบากเปล่า ไม่ใช่ทางพระอริยะเดิน ทาง ๘ อันอริยะเดิน คือ ๑ ทางเห็นชอบ ๒ ดำริชอบ ๓ พูดชอบ ๔ ทำงานชอบ ๕ เลี้ยงตัวชอบ ๖ หมั่นชอบ ๗ ตั้งคิดชอบ ๘ ตั้งใจชอบ

ทาง ๘ อันตถาคตเดินจบรู้เห็นแล้ว ทำดวงตารู้เห็นมีสว่างแจ้ง เห็นธรรมทั้งหลายว่า

"ทุกข์" คือเกิดแก่เจ็บตาย พรากพลัดรัก เจอสิ่งพึงชัง ความไม่ได้สมหวัง อันยึดถือขันธ์ ๕ ทุกข์นี้อันพึงเข้าใจเห็นตามจริง รู้อยู่ กำหนดรู้แล้ว เห็นทุกข์คือ "กาม" ต้องร้อนร่านหา ร้อนมี ร้อนให้ (หาย) นี้ เห็นทุกข์ให้ละ เอาใจออกห่าง ครั้นรู้ละ พึงละ และละแล้ว อันตถาคตขาดสิ้น ควรละความทุกข์

ความทุกข์คนตัดขาดแล้วเป็น ทุกขนิโรธ อันพึงรู้ว่าจริง พึงทำให้แจ้ง ให้แจ้งแล้ว อันทางสายกลาง ๘ ให้ถึงนิโรธ ควรรู้จริง พึงเจริญ เจริญแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พร้อม ๑๒ อันอย่างนี้ เกิดดวงตาผ่องใสขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา


ด้วยพระธรรมเทศนาดังกล่าวนี้ จึงทำให้พระเจ้าทับไทยทองได้ทรงเป็นอริยบุคคลเบื้องต้น คือพระโสดาบัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ตามความในกเบื้องจารได้เล่าถึง "พระเจ้าปเสนทิโกศล" ต่อไป

พระราชสาส์นถึงพระเจ้าปุกกุสาติ

.....แม้ในพระไตรปิฎก เรื่องการส่งพระราชสาส์นนี้มีที่เมืองอื่นเช่นกัน คือมีการติดต่อสื่อสารระหว่างแคว้น คันธาระ เมืองหลวงชื่อ ตักศิลา มีพระมหากษัตริย์นามว่า พระเจ้าปุกกุสาติ แม้ไม่เคยได้พบกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ผู้เป็นอุปัฏฐากแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็เป็นพระสหายกันทางพระราชสาส์น และราชบรรณาการให้แก่กันและกัน

ครั้นพระพุทธเจ้าได้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารก็ได้แจ้งข่าวไปยังพระเจ้าปุกกุสาติให้ทราบข่าว พร้อมทั้งวิธีการเจริญกรรมฐาน เพียงแค่ได้ยินพระนามพระพุทธองค์ พระเจ้าปุกกุสาติก็ปีติท่วมท้นแล้ว พระองค์ได้พยายามสงบอาการปีติ. เพื่อจะอ่านพระราชสาส์นจากพระเจ้าพิมพิสารให้จบ จากนั้นพระองค์ก็ได้เจริญกรรมฐานกระทั่งได้บรรลุฌาน เกิดศรัทธาที่จะมาอุปสมบทกับพระพุทธองค์

พระเจ้าปุกกุสาติได้ทรงสละราชสมบัติเป็นอนาคาริก นุ่งขาวห่มขาว ออกเดินทางมุ่งตรงสู่กรุงราชคฤห์ แต่ด้วยความที่ประชาชนทั้งหลายล้วนมีความรักความอาลัยในพระองค์ จึงพากันเดินติดตามพระองค์ จนพระองค์ต้องเอ่ยถามว่า ยังเห็นว่าพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่หรือไม่ ประชาชนก็ตอบว่า เป็นอย่างนั้นแน่นอน พระเจ้าปุกกุสาติจึงเอากิ่งไม้มาขีดเส้นแบ่งเขตแนว เพื่อมิให้ประชาชนเดินข้ามเขตติดตามพระองค์อีก

ตอนนั้นพระเจ้าปุกกุสาติไม่ทราบข่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จจากราชคฤห์มาอยู่ที่เมืองสาวัตถีแล้ว ซึ่งสองเมืองนี้อยู่ห่างกันตั้งราว ๕๐ โยชน์ (หรือประมาณระยะทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่) พระเจ้าปุกกุสาติสู้อุตส่าห์เดินทางอันยาวไกลเป็นแรมเดือน กระทั่งมาถึงประตูเมืองราชคฤห์ ในเวลาเย็นตอนที่ประตูเมืองปิดแล้ว พระองค์จึงไปขอพักอาศัยอยู่ที่บ้านช่างปั้นหม้อ

พระพุทธองค์ทราบถึงพระประสงค์ และการเดินทางอันยาวไกลด้วยเท้าเปล่าของพระเจ้าปุกกุสาติ พระพุทธองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินด้วยเท้าเปล่าไปพบกับพระเจ้าปุกกุสาติที่บ้านช่างปั้นหม้อในค่ำคืนนั้น โดยมิได้บอกให้พระเจ้าปุกกุสาติทราบว่าพระองค์เป็นใคร

ค่ำคืนนั้น ปุกกุสาติอนาคาริก ได้ดื่มด่ำในพระธรรมเทศนาของผู้ที่เขาเรียกเพียง "ท่านผู้อาวุโส" กระทั่งได้บรรลุธรรม พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีให้ปรากฏ ความปลื้มปีติบังเกิดแก่ปุกกุสาติอย่างท่วมท้นไม่มีประมาณ แต่ทว่า อายุขัยของเขาหมดแล้วหนอ ในตอนเช้า เขาได้ถูกแม่วัวขวิดตายขณะออกไปหาบาตรและจีวร เพื่อจะมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า

สุดท้ายพระเจ้าพิมพิสารได้มานำพระศพของพระเจ้าปุกกุสาติ ผู้เป็นสหายที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อนเลย ไปจัดพิธีเผาอย่างสมพระเกียรติ พระเจ้าปุกกุสาติสวรรคตแล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส อันเป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี และท่านได้บรรลุอรหัตตผลในชั้นนั้นแล ดังนี้


(โปรดติดตามตอนต่อไป "พระเจ้าปเสนทิโกศล ")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 2/5/17 at 08:09 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 9 ]

Update 22 พ.ค. 2560


พระเจ้าปเสนทิโกศล


...เนื้อความในกเบื้องจารเล่าต่อไปว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงต้อนรับพระเจ้าทับไทยทองเป็นอย่างดี แล้วจึงให้ อภัยราชา ผู้เป็นพระราชโอรสนำเสด็จไปสู่เมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงต้อนรับแล้วจึงพาไปสู่พระเชตวัน ได้เห็นร่างนิมิต พุทธรูป ในพระเชตวันนั้น ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ต่อไปจะเจอท่านเล่าว่าปางขอฝน เป็นพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ซึ่งส่งมาในสุวัณณภูมิ

ตามประวัติเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในระหว่างนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลใคร่จะได้เห็นพระพุทธองค์อยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้พระองค์แกะสลักด้วยไม้จันทน์ แล้วประดิษฐานไว้ในสถานที่ที่พระองค์ประทับนั่งอยู่เสมอๆ นั้น

เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์เสด็จกลับจากดาวดึงส์แล้ว จึงเสด็จกลับเข้าไปในพระวิหาร ในทันทีนั้นพระพุทธปฏิมากรก็ละจากที่เดิมเข้าไปบรรจบกับพระองค์ พระองค์จึงตรัสกับพระปฏิมาว่าให้กลับไปยังที่นั่งเดิม ภายหลังเมื่อเราปรินิพพานแล้ว จะเป็นตัวอย่างแก่บริษัท ๔ ซึ่งเป็นศิษย์ของเรา ดังนั้นแล้วพระปฏิมาก็เลื่อนกลับไปสู่ที่นั่งเดิม พระปฏิมากรองค์นี้เป็นพระพุทธปฏิมากรองค์แรกของพระพุทธปฏิมาทั้งหมด และบุคคลอื่นภายหลังได้ถือเอาเป็นตัวอย่างสืบต่อมา


ตำนานพระพุทธรูป "แก่นจันทน์แดง"



พระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์ ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
(th.wikipedia.org)

.......จาก ตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทน์แดง ฉบับพงศาวดารโยนก ถอดความโดย พระมหารุ่งรพ สิริปัญโญ (รุ่งรพ ใจวงค์ษา) มีดังนี้

พระแก่นจันทน์แดงเป็นพระยืน มีแท่นสูง ๖ นิ้ว ส่วนองค์พระสูง ๒๒ นิ้ว วัดโดยรอบได้ ๑๒ นิ้วครึ่ง หนังแปดพันน้ำ จากความในตำนานกล่าวว่าเป็นของโบราณเมือง สุวรรณภูมิ ภายหลังเมืองเกิดศึกสงคราม ราชบุตรเจ้าสุวรรณภูมิสองพี่น้องพากันหนีข้าศึก พระอนุชาชื่อว่า "จันทรราชกุมาร" ได้นำพระบรมธาตุมาไว้ที่ตำบลลำปาง แคว้นเขลางค์นคร พระเชษฐาชื่อว่า "อาทิตยราช" นำพระแก่นจันทน์แดงมาไว้ที่เมืองแจ้ตาก

พระแก่นจันทน์อยู่ที่เมืองแจ้ตากประมาณ ๓๐๐ ปี ต่อมาเมืองแจ้ตากเกิดภัยพิบัติ พระพุทธรักขิตะมหาเถระ จึงได้ไปอัญเชิญมาไว้ที่เมืองแจ้ห่มปลายแม่น้ำวัง มี พระยาหลวงคำแดง เจ้าเมืองแจ้ห่มรับอุปัฏฐากไว้ ครั้นพระยาหลวงคำแดงถึงแก่อนิจกรรม พระยาคำลือ ที่เป็นสหาย "ท้าวตาแหวน" นายบ้านสบสอยเป็นผู้สืบครองเมือง ท้าวตาแหวนได้นำไม้แก่นจันทน์ที่มีค่าแสนคำ นำมาขอแลกเปลี่ยนพระแก่นจันทน์แดงเพื่อนำไปบูชา ณ ตำบลสบสอย

พระพุทธปฏิมากรแก่นจันทน์แดงอยู่ที่เมืองแจ้ห่มได้ ๑๐ ปี จึงย้ายไปบ้านสบสอย ๑๐ ปี พระสีโวหะเถระ หรือ พระสีวัตตะเถระ พระมหาเถระเมืองแจ้ตากขออาราธนากลับไปไว้ตำบลบ้านพลูแขวงเมืองแจ้ตาก ที่อารามตำบลกิ่วหมิ่นนาน ๗๓ ปี ต่อมาเมืองแจ้ตากเกิดศึกสงคราม ปู่เมาจึงไปอาราธนามาไว้ที่วัดหนองบัว แขวงเมืองพะเยาได้ ๓๐ ปี

ขณะนั้นพระยาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ที่มาสวามิภักดิ์พระเจ้าติโลกมหาราชและทรงมอบให้ครองเมืองพะเยา สร้างวัดดอนไชยขึ้น จึงได้อาราธนาพระแก่นจันทน์แดงมาประดิษฐานไว้ที่วิหารวัดดอนไชย กิตติศัพท์ทราบถึง พระเจ้าติโลกมหาราชเจ้า นครเชียงใหม่ จึงโปรดให้ พระธรรมเสนา มาอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดอโศการาม นครเชียงใหม่ ๑๕ ปี

ครั้นถึงแผ่นดิน พระยอดเชียงราย เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ หมื่นหน่อเทพครู เชื้อพระวงค์พระยาเชลียงอุทิศเจียงทูลขอกลับคืนไปไว้เมืองพะเยาดังเดิม และในสมัยพระเมืองแก้วเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้นำกลับไปไว้ ณ วัดศรีภูมิ และภายหลังย้ายมาประดิษฐานที่โบสถ์วัดโพธาราม เมื่อจุลศักราช ๘๘๗ ปีระกา สัปตศกวันพุธ เดือน ๗ ทุติยาสาฒ ขึ้น ๙ ค่ำ
(ปัจจุบันไม่มี "พระแก่นจันทน์แดง" อยู่ที่วัดนี้แล้ว)

เมืองสาวัตถี

เมื่อได้กล่าวถึง "เมืองสาวัตถี" ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสนใจประวัติความเป็นมาของเมืองนี้ พร้อมทั้งพระราชาผู้เป็นศรีสง่าแห่งแว่นแคว้นทรงพระนามว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้มีเรื่องราวจารึกไว้ในพระไตรปิฎกมากมาย

แต่ถ้าจะนำมาเล่าให้หมดก็คงเป็นไปไม่ได้ จะนำมาเฉพาะพระองค์ทรงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของชีวิต ว่ามีการสนทนาธรรมกันด้วยเรื่องอะไรบ้าง และในเมืองสาวัตถีนี้ก็มีสถานที่สำคัญ ๒ แห่ง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าคือ พระเชตวันมหาวิหาร ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และบุพพาราม ของนางวิสาขา

พระเชตวันมหาวิหาร

สมัยพุทธกาลนั้น ตามคัมภีร์พุทธศาสนากล่าวว่า พระเชตวันมหาวิหารนั้นสร้างเป็นวิหาร ๗ ชั้น มีกำแพงและคูเป็นขอบรอบบริเวณภายในมหาวิหาร ๗ ชั้น นั้นเล่ายังปันเป็นส่วนๆ มีที่ประทับของพระพุทธเจ้าเรียกว่า "คันธกุฎี" และทำที่อยู่ของพระสงฆ์สาวก มีสถานที่เจริญธรรม ที่แสดงธรรม ที่จงกรม ที่ฉันอาหาร ที่สรงน้ำและที่พักผ่อนครบถ้วน ไม่มีความงามความสะอาดและความเงียบสงัดในที่ใด ในบรรดาสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในที่อื่นจะเปรียบเทียบได้

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ให้ชื่อวิหารแห่งนี้ว่า "เชตวัน" ตามเจ้าของอุทยานเดิม ซึ่งมีนามว่า "เจ้าเชต" ราคาค่าก่อสร้างทั้งที่ดินและตัวตึกเป็นจำนวน ๓๖ โกฏิกหาปณะ มีราคามากกว่าค่าก่อสร้างพระราชวัง อันเป็นที่ประทับของพระราชาเสียอีก

ในระหว่างที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีคอยเอาใจใส่ตลอด เพราะตามปกติเศรษฐีจะเป็นผู้มีภารกิจมาก แต่ท่านได้มอบงานการค้าให้แก่ผู้อื่นดูแลแทน ส่วนตนเองถือเอาการไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่มหาวิหารนั้นเป็นกิจวัตร ถึงวันละ ๒ ครั้ง เพื่อคอยตรวจตราดูความต้องการของภิกษุ คอยไต่ถามถึงสุขภาพอนามัยของพระพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจ

บุพพาราม

นางวิสาขาเป็นผู้สร้างมหาวิหารหลังนี้ถึง ๙ เดือนจึงจะแล้วเสร็จ ในธรรมบทเรียกว่า "โลหะปราสาท" สร้างโดยใช้ไม้และแผ่นหินทำสองชั้นมี ๑๐๐๐ ห้อง ชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง ชั้นบน ๕๐๐ ห้อง และให้สร้างยอดปราสาทด้วยทองคำสีแดงสุกปลั่งเปล่งแสงบุรอบเป็นถังบรรจุน้ำ ๖๐ หม้อ

และในบุพพารามนั้นยังมีรัตนะปราสาท คือปราสาทเป็นแก้วอีกหลังหนึ่ง ต่างหากจากโลหะปราสาท รัตนะปราสาทนี้เป็นที่แสดงธรรมของ พระสารีบุตร เป็นการสนทนาธรรมกับพระเถระทั้งหมด เรียกว่า "สาวกสันนิบาต"

เพราะเหตุการณ์เช่นนี้ จะมีเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว หลังจากนั้นพระศาสดาจะตรัสพระธรรมเทศนาต่อไปอีก พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง พระอัครสาวกมีเพียงครั้งเดียวนี้เป็นประเพณี

ความเกี่ยวพันระหว่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเมืองสาวัตถีนั้น ผู้เรียบเรียงได้ค้นคว้าสรุปมาพอได้ใจความต่อไปอีกว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จจาริกเมืองเมืองสาวัตถี เพื่อโปรดมหาชนไปและกลับหลายครั้งหลายหน จนกระทั่งถึงพรรษาที่ ๒๑ จึงได้ประทับเป็นการถาวร จนล่วงพรรษาที่ ๔๔ ทรงประทับอยู่ ๒ แห่ง คือพระเชตวันมหาวิหาร และวัดบุพพารามเท่านั้น นับเป็นเวลายาวนานถึง ๒๔ ปี นานกว่าที่ได้เคยประทับมาในที่ใดๆ ทั้งสิ้น พระธรรม ๘๔๐๐๐ นั้น ส่วนมากเป็นธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงที่มหาวิหารแห่งนี้

ในสมัยพุทธกาล แคว้นโกศลมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดแคว้นหนึ่ง เมืองกบิลพัสดุ์ก็เคยเป็นเมืองขึ้นอยู่ในแคว้นโกศล โดยมีกรุงสาวัตถีเป็นเมืองหลวง พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์ปกครอง อัครมเหสีมีพระนามว่า พระนางมัลลิกาเทวี ตามประวัติเล่าว่าหลังจากได้ถวายขนมแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งตรงกับพรรษาที่ ๓๘ ก็ได้พบกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ในระหว่างทางที่กลับมาจากการรบแพ้พระเจ้าอชาตศัตรู โดยได้ฟังพุทธภาษิตตรัสสอนว่า

"ชนะ..ประสพเวร แพ้..นอนเป็นทุกข์ ผู้เข้าสงบเป็นสุข เพราะละ..ชนะ..แพ้..ได้"

ต่อมาในพรรษาที่ ๓๙ ก่อนเข้าพรรษา พระนางมัลลิกาเทวีจึงได้มีโอกาสถวาย อสทิสทาน ถือว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมที่สุด เพราะอีก ๖ ปีพระพุทธเจ้าเสด็จสู่พระปรินิพพาน

สนทนาธรรมเป็นครั้งแรก "ไม่ควรประมาท ๔ อย่าง"

ในพรรษาที่ ๒ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเดินทางไปค้าขายทางเกวียนที่กรุงราชคฤห์ หลังจากที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระพุทธองค์ เพื่อเสด็จโปรดชาวเมืองสาวัตถีเป็นครั้งแรก

ครั้นเมื่อเสด็จมาถึงเมืองสาวัตถีนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาเฝ้าเป็นครั้งแรก พร้อมกับทรงถามว่า
ทำไมจึงทรงเรียกพระองค์เองว่า "พุทธะ" แม้แต่อาจารย์เดียรถีย์ทั้ง ๖ อันมีปุราณกัสสปเป็นต้น ผู้มีสานุศิษย์มากมายและเป็นผู้มีอายุสูงด้วย ได้บวชบำเพ็ญพรตมาก็นานแล้ว ยังไม่กล้าเรียกตนเองว่า "พุทธะ" เลยเหตุไฉนพระองค์จึงได้รับรองตนเองว่าเป็น "พุทธะ" ทั้งๆ ที่อายุก็ยังน้อย บวชก็ยังไม่นานนักเล่า

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า
สิ่งใดที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็จริง แต่เราจะประมาทไม่สนใจเชื่อถือต่อสิ่งนั้นๆ ไม่ได้ มีอยู่ ๔ ประการคือ

๑. เด็กที่เกิดในวงศ์กษัตริย์ ผู้ใดประมาทดูหมิ่นไม่ได้ เมื่อเด็กนั้นเจริญวัยขึ้นจนได้ครองราชสมบัติเมื่อระลึกขึ้นมาได้อาจจะสั่งลงโทษแก่ผู้นั้นได้
๒. งูพิษตัวเล็ก ผู้ใดประมาทดูหมิ่นว่าเป็นงูตัวเล็กนิดเดียว งูนั้นอาจจะทำอันตรายได้เช่นกัน
๓.ไฟ แม้ใครก็ตามดูหมิ่นว่านิดเดียว อาจจะลุกลามให้เกิดเป็นไฟกองใหญ่ขึ้นได้
๔. บรรพชิต ผู้ใดประมาทดูหมิ่นว่าเป็นพระบวชใหม่ไม่น่าเคารพเลื่อมใส ผู้นั้นก็อาจเสื่อมจากประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับ ด้วยอำนาจศีลสมาธิปัญญาก็ได้


แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงสอนเปรียบเทียบหลักพุทธศาสนา กับความคิดเห็นของเดียรถีย์ทั้งหลายให้ฟังพอเป็นสังเขป พระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระสัทธรรมเทศนาจบลงแล้ว จึงทรงเปล่งพระวาจาขึ้นว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ขอถึงพระรัตนตรัยว่า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอันประเสริฐสุดของข้าพเจ้า

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป


ต่อแต่นั้นมาก็เสด็จมาเฝ้าสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เสมอมิได้ขาด แม้จะเสด็จออกไปรบทัพจับศึกก็ตามทั้งขาไปและขากลับ พระองค์จะต้องทรงแวะนมัสการองค์สมเด็จพระพิชิตมารก่อนเสมอ นี้เป็นพระจริยวัตรของพระองค์ ซึ่งทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง พระนางมัลลิกาอัครมเหสีก็ทรงเลื่อมใสและเป็นอัครศาสนูปถัมภกยอดเยี่ยมด้วยพระองค์หนึ่ง

อาจพูดได้ว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากองค์หนึ่งในประวัติพุทธศาสนา คือนอกจากจะเป็นพระเจ้าตาของพระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว ยังเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าวิฑูฑภะ ซึ่งได้ผูกพยาบาทฆ่าชนิดล้างโคตรศากยวงศ์ และแม้ชีวิตของพระเจ้าปเสนทิโกศลเอง ก็จบลงด้วยการกระทำอันสืบเนื่องมาจาก "วิฑูฑภะ" นั่นเอง โดยไปสิ้นพระชนม์ ณ กรุงราชคฤห์ ในขณะที่มีพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ซึ่งตรงกับพรรษาที่ ๔๒ ของพระพุทธองค์

สนทนาธรรมครั้งสุดท้าย "ธรรมเจตียะ"

การเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดาในครั้งนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงหมอบลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทรงจุมพิตพระบาทด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดฟั้นฝ่าพระบาทด้วยพระหัตถ์ การแสดงความเคารพอย่างยิ่งในครั้งนี้ จึงพิเศษกว่าครั้งก่อนๆ เหมือนจะบอกเหตุว่าพระองค์จะมาเข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้ายฉะนั้น

ครั้งนี้แทนที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสภาษิตเรียกว่า "ธรรมเจตียะ" เจดีย์คือพระธรรม โดยตรัสเปรียบเทียบฐานะและพระชนม์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นพระสูตรเดียวที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงแด่พระพุทธองค์ โดยกราบทูลว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าและข้าพระองค์ก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน มีอายุ ๘๐ เหมือนกัน เป็นชาวโกศลเหมือนกันดังนี้ และสิ้นพระชนม์ก่อนพระพุทธเจ้า ๓ ปี


จากหลักฐานที่ค้นคว้ามานี้ จะสังเกตได้ว่าการฟังธรรมจากสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ละครั้ง ไม่มีปรากฏว่าพระราชาจะได้คุณธรรมขั้นไหน เพียงแต่กล่าวว่าจะขอถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะเป็นที่พึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่สงสัยว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอ อาจจะเป็นหน่อเนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง โดยทรงมุ่งหวังปรารถนาพระโพธิญาณ เพื่อการตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพิชิตมารในอนาคตกาลก็ได้

เรื่องเหล่านี้เราก็ยากที่จะหาหลักฐานมายืนยันได้ แต่ก็บังเอิญผู้ขียนมี "บันทึกพิเศษ" ฉบับหนึ่ง ซึ่งได้มาหลายสิบปีแล้ว เป็นบันทึกส่วนตัวของท่านผู้เฒ่าท่านหนึ่ง ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่บันทึกไว้ว่าดังนี้...

สมัยพุทธกาล

"...ในสมัยพุทธกาลฉันเกิดเป็นลูกของ พระเจ้ามหาโกศล คือ หลวงพ่อปาน ต่อมาท่านให้ฉันเป็นพระราชาแทนท่าน มีนามว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ฉันแต่งงานกับเจ้าหญิง ซึ่งเป็นพระภคินี (น้องสาว) ของพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารก็แต่งงานกับน้องสาวฉัน ต่างคนต่างเป็นเกี่ยวดองซึ่งกันและกัน

นายบัญชี เป็นราชวัลลภของฉัน ลุงพุฒิ (พระยายมราช) เป็นพี่ชายภรรยาฉัน เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่พระเวฬุวัน แกเป็นผู้จัดการดูแลความทุกข์สุข และให้ความสะดวกแก่พระสงฆ์

เมื่อตายจากชาตินั้น ฉันไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนชั้น "ดุสิต" พร้อมด้วยบุตรภรรยา เพราะทำบุญร่วมกัน ลุงพุฒิ มาเป็นพระยายม ราชวัลลภมาเป็น นายบัญชีใหญ่ เมืองนรก ถ้าเรียกอย่างทางบ้านเมืองก็น่าจะเรียกว่า "อธิบดีกรมบัญชีกลาง" หรือ "เลขากรมราชทัณฑ์" พระเจ้าพิมพิสารเกิดเป็น ท้าวเวสสุวัณ ในสมัยก่อนจากนั้นฉันเคยเกิดเป็นยักษ์ ต่อมาได้รับเลือกเป็นท้าวเวสสุวัณ เมื่อพ้นจากตำแหน่งท้าวเวสสุวัณก็ไปเกิดเป็นพรหม

ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างฉันกับคณะท้าวมหาราชมี ท้าววิรุฬหก, ท้าววิรุฬปักษ์, ท้าวธตรฐ, ท้าวเวสสุวัณ, พระยายม, นายบัญชี จึงเป็นไปอย่างใกล้ชิดสนิทสนมมาก การบวงสรวงท่านให้อภัยมาสงเคราะห์เสมอ แต่บางรายที่เล่นตลกกับท่าน ท่านก็บอกปฏิเสธไว้ก่อนว่า อย่าทำอะไรเกี่ยวกับท่านอีก ถ้าเชิญท่านก็ไม่มา นั่นเป็นเรื่องความเลวของคน..ช่วยอะไรไม่ได้..."


(โปรดติดตามตอนต่อไป "กรุงกบิสพัสดุ์")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 8/5/17 at 08:44 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 10 ]

Update 29 พ.ค. 2560


กรุงกบิสพัสดุ์


...จากหนังสือ พุทธศาสนสุวัณณภูมิปกรณ์ เล่าต่อไปอีกว่า พระปุณณะเล่าว่าได้พาพระเจ้าทับไทยทองสู้เดินถึงถิ่น "กปิลพัสดุ์" อันเป็นถิ่นเดิมของพระพุทธเจ้า เมื่อเดือน ๖ วันขึ้น ๘ ค่ำ พระเจ้ามหานาม ทรงออกมาต้อนรับถึง มหาวันดงใหญ่ ทูลเชิญให้พักที่ห้องปราสาทเดิมของเจ้าชายสิทธัตถะและพระนางยโสธรา ต้นมหาราชทูลเชิญต้นทับไทยทองเข้าร่วมเสวยพระกระยาหาร

แต่ก่อนที่จะเดินทางมานี้ พระปุณณะเล่าให้พระเจ้าทับไทยทองฟังว่า เคยมาเยี่ยมคนเผ่าศากยะ โดย พระอานนท์ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์พามาพร้อมกับบอกว่า

ชาวเมืองกบิลพัสดุ์พูดไทยได้เหมือนกัน ซึ่งพระเจ้ากรุงสุวัณณภูมิก็ยังไม่ทรงเชื่อตรัสว่า จะต้องไปเห็นและได้พูดได้ฟังกันจริงๆ เสียก่อน ครั้นเมื่อเห็นหน้ากันแล้วพระเจ้ามหานามตรัสทักพระเจ้าทับไทยทองว่า

"เชิญขึ้นเวียงเรา..!" แล้วเชิญเข้าเวียงเมืองพร้อมกัน ดังนี้


พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย (อาหม)

เนื้อความตามกเบื้องจารนี้ ตรงตามคำบอกเล่าของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ซึ่งท่านได้ยืนยันว่า พระพุทธเจ้าเป็นชาวไทยอาหม โดยเฉพาะหลังจาก ท่านหมอชีวกโกมารภัจ เดินทางกลับมาจากเมืองทวาราวดี (นครปฐม) ได้มาเข้าเฝ้าองค์สมเด็จบรมครู แล้วกราบทูลว่าชาวเมืองทวาราวดีพูดไพเราะมาก

สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเป็นภาษาทวาราวดี จนเป็นที่แปลกใจแก่ท่านหมอชีวกโกมารภัจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลถามว่าการที่พระองค์ตรัสได้เช่นนี้ เป็นเพราะความเป็นพระพุทธเจ้าหรืออย่างไร องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงตรัสตอบว่า ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ต่างก็พูดกันด้วยภาษาเช่นนี้

ในหนังสือ "ทิพยอำนาจ" เรียบเรียงโดย พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ก็ได้อ้างอย่างนี้เช่นกัน (หน้า ๓๘๘-๓๘๙) ว่าภาษาสุวรรณภูมิเป็นภาษากำเนิดของพระองค์เอง ชาวศากยะพูดกันด้วยภาษานี้ หมอชีวกจึงกราบทูลชมว่า เป็นภาษาไพเราะสละสลวยฟังเข้าใจง่าย แต่ละคำมีความหมายตายตัว แล้วหลวงพ่อได้เล่าต่อไปอีกว่า

จังหวัดนครปฐมหรือที่เรียกกันว่า "เมืองทวาราวดี" ก็ต้องถือว่าเป็นเมืองแม่ในการประกาศพระพุทธศาสนา รู้จักกับพระพุทธเจ้า รู้จักกับพระอรหันต์ รู้จักกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังอยู่

การเดินทางจากกรุงกบิลพัสดุ์มหานครมาถึงจังหวัดนครปฐมหรือทวาราวดี ใช้เวลาเดินจริงๆ ไม่เกิน ๑๗ วัน พ่อค้าใช้เวลาเดินประมาณค่อนเดือน คือครึ่งเดือนเศษๆ เพราะมีความหนักมาก เขาเดินลัดตัดทาง ทางตรงเขามี เขาเดินกันเป็นปกติ พ่อค้าใช้เวลาเดินเท่านั้น ไม่ใช่ของนาน ถ้าหากว่าเดินเท้าเปล่าก็เดินได้ไม่เกิน ๑๗ วันเป็นอย่างช้า

พิธีบวงสรวงที่กรุงกบิลพัสดุ์

......เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ ผู้เขียนพร้อมด้วยคณะประมาณ ๓๐ กว่าคนได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งคือสถานที่ประสูติตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน โดยมีกำหนดการทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาที่ซากเมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาล ด้วยการจัดเตรียมบายศรีไปจากประเทศไทย

ในฐานะที่เป็นปฐมราชธานีมาในอดีต ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งศากยวงศ์ขององค์สมเด็จพระบรมครูผู้ประกาศพระศาสนาไปทั่วชมพูทวีป เมืองกบิลพัสดุ์เคยรุ่งเรืองมาในอดีตกาลนับตั้งแต่ พระเจ้าโอกกากราชผู้เป็นต้นวงศ์ จนมาถึงสมัยพระเจ้ามหานาม ผู้เป็นพระอนาคามี

ต่อมาในช่วงกาลพรรษาที่ ๔๓ กรุงกบิลพัสดุ์ก็ต้องมาย่อยยับเพราะฝีมือของพระเจ้าวิฑูฑภะไป ในที่สุดตระกูลศากยะถูกฆ่าฟันล้มตายไปเหมือนใบไม้ร่วง ที่เหลือตายก็ต้องหลบหนีไปอยู่ที่อื่นส ภาพบ้านเมืองจึงถูกทิ้งรกร้างจนกระทั่งบัดนี้

เมื่อผู้เขียนพร้อมคณะได้ไปถึงเขตประเทศเนปาล มีมัคคุเทศน์คนหนึ่งได้มาต้อนรับเขาบอกว่า เคยมาบวชที่สุพรรณบุรี จึงสามารถพูดไทยได้บ้าง จึงถามเขาว่าชื่ออะไรเขาตอบว่าชื่อ "นันทะ" นามสกุล "ศากยะ" พร้อมกับชี้ไปที่แม่ชีอีกท่านหนึ่ง ซึ่งมาด้วยกันบอกว่าแม่ชีท่านนี้ก็มีเชื้อสายศากยวงศ์เช่นกัน

หลังจากได้ทราบเช่นนั้นรู้สึกแปลกใจ จึงได้ซักไซร้ไล่เลียงจนได้ทราบความว่า ยังมีผู้รอดชีวิตในคราวครั้งนั้น ต่างก็หนีกระจัดกระจายไป บางคนหนีไปทางพม่าก็มี ส่วนที่ประเทศเนปาลนี้ยังมีหมู่บ้าน "ตันเสน" ซึ่งยังมีชาวศากยะสืบเชื้อสายมาแต่ครั้งพุทธกาลอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเหนียวแน่น

อีกประการหนึ่งที่มั่นใจว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนไทย ซึ่งเป็นข้อรับรองคำบอกเล่าของหลวงพ่อได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือรูปร่างหน้าตาจะเป็นเครื่องบอกได้ชัดเจนกว่าเหตุผลอย่างอื่น โดยเฉพาะคุณนันทะมีรูปร่างไม่ใช่ดำเป็นแขก แต่กลับมีผิวขาวจมูกโด่งผมดำหยิกเล็กน้อย ที่เรียกกันว่าแขกขาวนั่นเอง

เมื่อมาถึงกรุงกัตมัณฑุเมืองหลวงของประเทศเนปาล ขอให้เขาชี้คนเนปาลแท้ๆ ที่ว่าแท้ๆ นั้นเนื่องจากประเทศเนปาลมีคนหลายเผ่ามารวมกัน หลังจากที่เขาชี้ให้ดูโดยเฉพาะสตรีมีรูปร่างหน้าตางดงามมาก ผิวขาว รูปร่างสูงโปร่ง จมูกโด่ง แต่งตัวลักษณะคล้ายกับคนไทย เดินไปมาก็เรียบร้อย

เพราะฉะนั้นตามที่นักปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่า พระพุทธเจ้าเป็นแขกนั้น ถ้าจะได้ไปเที่ยวหมู่บ้านตันเสน ประเทศเนปาล อาจจะได้คำตอบเป็นอย่างดีว่า พระพุทธเจ้าต้องเป็นคนไทยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นก็คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ยังเป็นโบราณราชประเพณีมาตั้งแต่สมัยกรุงกบิลพัสดุ์

กรุงกบิลพัสดุ์เป็นสถานที่สำคัญในกาลก่อน นอกจากจะเป็นที่อาศัยของเจ้าชายสิตธัตถะและพระนางยโสธราแล้ว จนถึงพรรษา ๒๙ จึงทรงออกผนวช และยังเป็นที่อาศัยของพระอริยเจ้าอีกมากมาย มีพระเจ้าสุทโธทนะมหาราชและพระประยูรญาติที่ทรงออกผนวชเช่น พระอานนท์ พระอนุรุธ พระนันทะ พระภัททิยะ พระกิมพิละ พระภคุและพระเทวทัต เป็นต้น


จากไปเป็นพระโพธิสัตว์
กลับมาเป็นสมเด็จพระบรมศาสดา

......ท่านผู้อ่านอาจจะอยากทราบว่าหลังจากพระโพธิสัตว์เจ้าทรงออกผนวช และได้ตรัสรู้ประกาศพระสัจธรรม แล้วยังมีเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างไร ได้เสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อีกกี่ครั้ง และทรงปฏิบัติพุทธกิจอะไรบ้าง ผู้เขียนจึงขอสรุปมาให้ทราบไว้ ดังนี้

องค์สมเด็จพระชินสีห์ได้เสด็จกลับมาอีกประมาณ ๓-๔ ครั้ง เพื่อทรงโปรดพระราชบิดาและพระน้านาง ตลอดถึงบรรดาพระประยูรญาติของพระองค์ โดยได้เสด็จมาในฐานะองค์สมเด็จพระบรมศาสดาใน "พรรษาที่ ๓" หลังจากพระราชบิดาทรงส่งอำมาตย์ทูลเชิญถึง ๙ ครั้ง ในครั้งที่ ๑๐ จึงทรงรับนิมนต์จากกาฬุทายีอำมาตย์ เมื่อเสด็จถึงจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เดินจงกรมบนอากาศ แล้วแสดงธรรม เวสสันดรชาดก ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมาเป็นที่อัศจรรย์ ในหมู่ที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติ

พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรจงกราบพระราชโอรสของพระองค์ด้วยความเลื่อมใส ซึ่งเป็นการกราบครั้งที่ ๒ ของพระองค์ โดยครั้งแรกได้กราบในพิธีแรกนาขวัญ ขณะที่เป็นสิทธัตถะราชกุมาร เสด็จอยู่ใต้ร่มหว้าทรงเจริญอานาปานสติ จนเงาของร่มไม้มิได้เคลื่อนไหว

วันต่อมาตรัสพระธรรมเทศนาให้พระพุทธบิดาบรรลุพระอนาคามีผล และพระนางมหาปชาบดีบรรลุโสดาปัตติผล

ในวันที่ ๓ พระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางพิมพา พร้อมด้วยพระอัครสาวกทั้งสองแล้วตรัสแสดงธรรมแก่มหาชนในกรุงกบิลพัสดุ์

วันที่ ๔ ทรงโปรดพระอนุชาต่างพระมารดา ซึ่งเป็นวันวิวาหมงคลของพระนันทะ ด้วยอุบายพาพระนันทะไปเที่ยวชมนางฟ้าบนสวรรค์ด้วยกายเนื้อ ภายหลังได้ออกบวชจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์

ในวันที่ ๗ แห่งการเสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาทรงนำ พระราหุลมาเฝ้าขอราชสมบัติที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสียสละแล้ว พระศาสดากลับประทานทรัพย์อันประเสริฐกว่าสมบัติทั้งหลาย คือรับสั่งให้พระสารีบุตรจัดการให้พระราหุลบรรพชาเป็นสามเณร ในขณะมีพระชนมายุ ๗ ปีเท่านั้น ท่านจึงเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ภายหลังเมื่อมีอายุครบอุปสมบทแล้วก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ ในขณะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธบิดาในที่สุด

หลังจากประทับอยู่ ๗ วันเต็ม จึงเสด็จกลับเมืองราชคฤห์ ศากยวงศ์ทั้ง ๖ องค์ ตามเสด็จออกบวชด้วยกันคือ พระภัททิยะ พระ อนุรุทธ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ พระเทวทัต พร้อมกับ อุบาลี ช่างตัดผมประจำพระราชวัง

ต่อมาได้เสด็จมาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ในพรรษาที่ ๕ เสด็จเยี่ยม พระเจ้าสุทโธทนะ ในขณะประชวรหนัก พร้อมด้วย พระนันทะ พระอานนท์ พระราหุล และพระสาวกเป็นเป็นอันมาก ได้ตรัสเทศนาโปรดพระราชบิดาให้บรรลุพระอรหันต์ แล้วพระเจ้าสุทโธทนะก็ปรินิพพาน ได้ทรงจัดการถวายเพลิงพระศพแล้วจึงเสด็จกลับเมืองเวสาลี

ขณะนี้พอดีที่พวก ศากยะ กับ โกลิยะ กำลังจะประหัตประหารด้วยแย่งน้ำทำนากัน พระพุทธองค์จึงทรงโปรดระงับศึกระหว่างพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ด้วยทรงตั้งคำถามว่า น้ำกับคนอย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงออกผนวชพร้อมด้วยบริวารอีกเป็นจำนวนมาก ขอบวชเป็นนางภิกษุณี แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต จนกระทั่งพระอานนท์ทูลอ้อนวอน พระศาสดาจึงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุณีได้ด้วย ครุธรรม ๘ ประการ พระน้านางจึงเป็นนางภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา

ต่อมาเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี พระนางพิมพายโสธรา ทรงดำริว่า พระสวามีก็ได้เสด็จออกบรรพชาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระราหุล ลูกชายก็ได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระองค์ ด้วยจะมีประโยชน์อันใดที่จะอยู่โดดเดี่ยวต่อไป จึงเสด็จไปทูลขอบวชเป็นนางภิกษุณีในนครสาวัตถี

ต่อมาในพรรษาที่ ๑๕ สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาเป็นครั้งที่ ๓ ประทับ ณ นิโครธาราม ริมฝั่งแม่น้ำโรหินี เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงสงเคราะห์ห้ามหมู่พระประยูรญาติ มิให้ทะเลาะกันเรื่องน้ำอีกเช่นเคย ในครั้งนี้พระญาติทั้งสองฝ่ายถวายราชกุมาร ๕๐๐ ซึ่งมีชายาแล้วทั้งสิ้นให้อุปสมบทแล้วก็ได้เป็นพระอรหันต์ ต่อมาพระชายาหม้ายทั้ง ๕๐๐ จึงไปบวชเป็นภิกษุณีในสำนักพระนางมหาปชาบดี

และ พระเจ้าสุปปพุทธะ ราชบิดาของพระนางพิมพาสวรรคตถูกแผ่นดินสูบ เพราะได้พูดใส่ร้ายพระพุทธองค์ต่างๆ นานา เนื่องจากโกรธหาว่าทรงทอดทิ้งพระนางพิมพา และทำให้พระเทวทัตราชบุตรถูกแผ่นดินสูบ ผลที่สุดตัวเองก็ถูกแผ่นดินสูบในวันที่ ๗ นั่นเอง

ในพรรษาที่ ๔๓ เสด็จเป็นครั้งที่ ๔ เนื่องจากเกิดเหตุร้ายกับพระประยูรญาติ ด้วย พระเจ้าวิฑูฑภะ แห่งกรุงสาวัตถี ยกกองทับมาฆ่าฟันพวกศากยะล้มตายเป็นอันมาก ครั้งนี้เสด็จไปประทับ ณ นิโครธารามเป็นการด่วน เพื่อโปรดพระญาติที่ยังเหลืออยู่

เรื่องราวที่เกิดขึ้นก็มีเพียงแค่นี้ เพราะอีก ๒ พรรษา คือ พรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน กรุงกบิลพัสดุ์ที่เคยรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล ก็ต้องมาสิ้นสุดยุติแต่เพียงแค่นี้...สวัสดี


(โปรดติดตามตอนต่อไป "พระปุณณะสลักพระในถ้ำเขางู")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 15/5/17 at 04:24 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 11 ]

Update 5 มิ.ย. 2560


พระปุณณะแกะสลักพระในถ้ำฤษี เขางู



...หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า... รูปพระมหาปุณณเถระ ทองดอกบวบ ที่ฐานจะเห็นลายสือไทย อ. คือ อรหันตปุณณะ ณ มือขวาแสดงท่าชนะมาร ณ มือซ้ายประคองดอกบัวบาน ซึ่งมีกลีบอย่างนี้ สัญญลักษณ์ของช่างเพชรบุรีโบราณที่เรียกว่า กลีบบัวเต้าตาล หรือกลับบัวจาวตาล ดอกบัวนั้น

ถ้าดูจะเห็นเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดตะหมาด อันเป็นเครื่องหมายทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จมา ช่างผู้หล่ออาจเป็นภิกษุรู้ธรรมวินัยดี ตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้บัญญัติพระวินัย ยังไม่ได้ทรงอนุญาติจีวรกระทง ท่านจึงห่มจีวรแผ่นผ้า ซึ่งมีชายปรากฎ ได้ทำรูป มือ เท้า เหมือนช้าง แสดงสัญญลักษณ์เดินป่าอย่างช้าง สัญญลักษณ์ "สุวัณณภูมิ" ทุกส่วนสั้นหมด

ท่านไปฟังธรรม ณ ชมพูทวีป และได้อุปสมบทกับพระพุทธองค์ มาบรรลุอรหัตผล ณ เพชรบุรี (เดิมชื่อ พริบพลี) ได้กราบทูลเชิญ พระพุทธองค์เสด็จมาที่ไทย


คำอธิบายรูปภาพมีเพียงแค่นี้ จึงขอเริ่มเรื่องกันต่อไป..แต่ก่อนอื่นขอสรุปกาลเวลาเมื่อตอนที่แล้วให้ทราบดังนี้ว่า

......สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ประสูติเป็นพระสิตธัตถบรมโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก่อน พ.ศ.๘๐ (ตรงกับปีโลไทย ๑๑๑๐) มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา จึงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก่อน พ.ศ.๕๑ ปี (ตรงกับปีโลไทย ๑๑๓๙)

ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระชนมายุ ๓๕ ก่อน พ.ศ.๔๕ ปี (ตรงกับปีโลไทย ๑๑๔๕) เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ตลอด ๔๕ พรรษา ณ วันเพ็ญกลางเดือน ๖ จึงมีพระชนมายุเต็มบริบูรณ์ ๘๐ ดังนี้ เริ่มนับเป็น พ.ศ.๑ (ตรงกับไทยเดิม ปีโล ๑๑๙๐)

หลังจากคณะชาวกรุงสุวัณณภูมิได้แวะเยี่ยมเยียนคนไทยด้วยกันที่กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว พระปุณณะซึ่งเป็นผู้นำคณะของพระเจ้าทับไทยทองออกเดินทางต่อไปถึง ลุมพินี อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ โดยช้างพระราชทานของพระเจ้ามหานามชื่อว่า "อมตคช"

ส่วน พระเจ้ามหานาม ทรงราชรถเสด็จออกนำหน้าถึงอุทยานกว้างใหญ่ ห่างเมืองราว ๓๒๘ เส้น พระเจ้าทับไทยทองทรงปลูกต้นสาละเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ พุทธพรรษา ๒๓ และเสด็จกลับสู่กรุงสุวัณณภูมิ เมื่อพุทธพรรษา ๒๔โดยตอนต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้กลับมาด้วย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพระกรุณาให้นำมาปลูกไว้ในดินแดนสุวัณณภูมิ พระราชาได้นำมาปลูกเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พุทธพรรษา ๒๕ ให้ชื่อที่นั้นว่า บ้านโพธิ์งาม

เมื่อกลับมาถึงบ้านเมืองแล้วเริ่มเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนชาวเมืองละว้า โดยมีพระปุณณะเป็นผู้แสดงธรรม เพื่อชาวสุนาปรันตะจะได้รู้แจ้งมรรคผลนิพพาน ได้สร้างพระอุโบสถและพระอารามให้ชื่อว่า วัดปุณณราม แล้วมอบให้พระปุณณเถระเมื่อพุทธพรรษา ๒๔ (ปีโล ๑๑๖๙) แล้วให้เปลี่ยนชื่อ "เมืองทอง" เป็นคำมคธว่า สุวัณณภูมิ เมื่อปีโล ๑๑๗๐ (พุทธพรรษา ๒๕)

ต่อมาพระเจ้าทับไทยทองสุวัณณภูมิจึงทรงตั้ง ทองจอมฟ้า ให้เป็น "ขุนเมืองทอง สุวัณณภูมิ" เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีโล ๑๑๘๖ ปีฉลู ตั้ง งามตาเรืองฟ้า เป็น "แม่อยู่หัวเมืองทองสุวัณณภูมิ" เมื่อวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีโล ๑๑๘๖

ในกาลต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้พระราชทานพระพุทธรูป (พระไม้แก่นจันทน์) พระราชาแห่งกรุงสุวัณณภูมิจึงให้ ขุนทองจอมฟ้า สร้างอุโบสถใหญ่ ทางด้านตะวันตกของเมืองทองแล้วถวายแก่สงฆ์ เมื่อพุทธพรรษา ๔๓ (ปีโล ๑๑๘๘)

แล้วจึงให้มีงานฉลอง ๕ วัน อัญเชิญพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้แก่นจันทน์นี้ให้คนได้กราบไหว้บูชาสักการะ มีงานแห่น้ำแห่บกในวันเพ็ญเดือน ๑๒ อีก ๓ วัน เป็นพุทธบูชา แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นกลับมาตั้งในพระอุโบสถ ให้คนทั่วไปได้กราบไหว้ด้วยดอกไม้เทียนธูปทุกคืนวัน ทับไทยทองให้เสมียนจารไว้ในพุทธพรรษา ๔๓


คำอธิบาย โดย หลวงพ่ออ่ำ

๑. อาจเนื่องมาจากที่กระทำครั้งนั้นจึงมีพิธีแห่พระ ที่เรียกกันว่า "พิธีชักพระ" แต่ที่ราชบุรีเลิกหมดแล้วเพราะพวกขี้เมาก่อความวุ่นวาย จึงต้องเลิกไปประมาณ พ.ศ.๒๔๖๘

๒. ตามคัมภีร์สังคีติยวงศ์ว่า "พระเจ้าวิตุภะ" หรือ "วิฑูฑภะ" ส่งมาในนามของพระเจ้าปเสนทิโกศลราชบิดานั้นคงจะจริง เพราะพุทธพรรษา ๔๓ นี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งถูกพระเจ้าวิฑูฑภะยึดราชสมบัติ อันเป็นเหตุให้เสด็จไปสวรรคต ณ กรุงราชคฤห์ ดังนี้

ภูเขาหินปูนไทยที่มีรูปเซาะเป็นลายจารึก
ที่ถ้ำฤษี เขางู จังหวัดราชบุรี



.....พระพุทธรูปไทยองค์แรกมีจารึกว่า ชื่อบุญวระฤษีงู คิรฺ สมาธิ คุปฺตะ ชื่อ บุญพระฤษีคุ้มครองสมาธิ ณ เขางู เนื้อหินปูนจะเห็นเซาะยืนยันอยู่ ตัวที่ขาวชัดนั้นได้ใช้แป้งขาวลงตามลายเส้นเดิมให้ลงสีจึงขึ้นชัด และ พุทธพัสสา ๔๔ เห็นชัดเจนใช้แป้งลงร่างให้ คุณวิเชียร, อาจารย์ราตรี, น.ส.สมศรี เจียรณัย เอาสีเขียนวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕ และพระมหาปุณณะ ท่านได้จารึกชื่อพร้อมกับสลักกาลไว้ว่า พุทธพัสสา ๔๔ จึงรู้เรื่องได้ ถ้ามิเช่นนั้นก็คงจะไม่มีการรู้จักไทยตลอดกาล


กเบื้องจารที่พระปุณณเถระ จารึกไว้ ณ ถ้ำพระฤษีเขางูนั้น ที่เขียนเป็นลายสือไทยเดิม และตัวชัดเจนจะเห็นภิกขุ แต่ที่จารึกเป็นภิกษุ จึงอ่านให้ได้ความว่าภิกขุ ได้ถ่ายรูปและนำมาลงเฉพาะหน้า ๒

แผ่นลำดับอ่านที่ ๑๓๗ หน้า ๒

ภิกขุ ผู้คน เรียก
คำไทย ชื่อว่า ชี เราเป็น
ภิกขุ ผู้บวชจากคำของ
พุทธ เมื่อชาวไทย
เอิ้น ชื่อชี ฟังคล้าย
ฤษี เขียน ปุณณ
วรฤษีงูคิรสมาธิคุปต

(วรฤษีงู เห็นชัด)

บุณวรอิสิ อยู่ถ้ำ ข้างพระ ทำร่างพุทธองค์นั่งถ้ำ ต้นที่หนึ่ง ในพุทธสา ๔๔ เราว่าพุทธต้นที่หนึ่งในสุวัณณภูมิ ไทยลว้า ภิกขุผู้คนเรียกคำไทยชื่อว่า "ชี "เราเป็นภิกขุผู้บวชจากคำของพุทธ เมื่อชาวไทยเอิ้นชื่อว่า "ชี" ฟังคล้ายฤษี เขียน "บุญญวรฤษีงู คิร สมาธิคุปต"

.......กเบื้องจารเล่าเรื่องต่อไปอีกว่า...พระปุณณะอยู่ข้างเขางู ในถ้ำมีงูใหญ่ งูอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งพระเจ้าทับไทยทองทรงอนุเคราะห์ มีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ "ผัน" ได้นำอาหารมาถวาย ครั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว ผันได้วอนขอให้พระเถระช่วยสลักเป็นพระพุทธรูป ตามที่พระพุทธเจ้าเคยมาฉายนิมิตไว้ที่ผนังถ้ำ

พระเถระเห็นด้วยกับคำของผัน จึงนั่งนึกถึงคำที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า คูหาที่พระตถาคตมาอาศัยนี้ จะมีชื่อว่า "ถ้ำฤษี" จะมีคนเชื่อถือมาเคารพในกาลข้างหน้า เมื่อคนทำการสลักขึ้น จึงอาศัยพุทธเงาในถ้ำนี้ จึงสลักองค์พระพุทธในถ้ำฤษี เป็นรูปนั่งเทศนาธรรม ซึ่งเราเคยเห็นเมื่ออยู่สาวัตถี เมื่อเข้าพุทธพรรษา ๔๐


พระปุณณะได้สลักพระพุทธรูปไว้ในถ้ำ เฝ้าทำถึง ๔ ปี แล้วเสร็จในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ พุทธพรรษา ๔๔ โดยมีพระเจ้าทับไทยทองมาทรงช่วยกระทำด้วย ต่อมาพระเถระได้นิพพานเมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง พุทธพรรษา ๔๔ เมื่อมีอายุได้ ๖๕ ปี นับโดยพรรษาได้ ๒๕ พรรษา



"ยอร์ช เซเดซ" อ่านว่า "บุญ วระ ฤ ษี - ศรี ส มาธิ คุปฺต" ไม่ได้แปลไว้ และไม่ได่อ่าน "งู" และ บ. ญ. ง. ส. ธ. มีเค้าเหมือนตัวปัจจุบัน แต่ "ยอร์ช เซเดซ" ไม่ให้เป็นลายสือไทย ยกไปให้อินเดียใต้ เฉพาะ "งู" ที่เป็นทั้งลายสือไทย และชื่อไทยไม่อ่าน ไม่ยอมให้เป็นของไทย และคนไทยทั้งชาติ เว้นธรรมวงศ์ (พระราชกวี) ยอมเชื่อตลอดกัน ด้วยเหตุอ่านหนังสือไทยไม่ออก


บางส่วนของ คำนำในการพิมพ์ครั้งที่ ๒

"......เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๒๐ ครู นักเรียนโรงเรียน ส.น. ได้ให้ร่วมไปเพื่อบรรยายจารึก และลายสลักพระ ครั้นได้ดูลายจารึก ก็ปรากฏว่า มีผู้เอารักดำใหม่ลงลบลายจารึกเกือบหมด เฉพาะที่ฝรั่งเขียนลอกเอาไปนั้นได้เอาแป้งผงลงไว้ เมื่อลบแป้งออกก็เกือบมองไม่เห็นลายเส้น คงจะเป็นพวกนั้นจงใจเจตนาเพื่อลบลายหลักฐาน - ได้กระทำแล้ว นี่แหละ..ฝีมือพวกจงใจทำลายของไทย

ปัจจุบัน...แม้แต่จาก "เว็บราชบุรีศึกษา" ก็ยังเชื่อกันตาม ยอร์ซ เซเดซ ตามข้อมูลข้างล่างนี้

......ใน ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้มีคนมาลักลอบจารึกข้อความต่อเติมคำจารึกเดิมนั้นด้วยอักษรไทยปัจจุบัน แต่ประดิษฐ์ให้พิสดาร แปลงเส้นและตัวอักษรให้ดูแปลกเหมือนเป็นจารึกโบราณ คือเพิ่มคำว่า “ชื่อ” ที่หน้าอักษรจารึกของเก่าและเพิ่มคำว่า “พุทธพัสสา ๔๔” เป็นบรรทัดที่ ๒ ต่อจากอักษรจารึกของเดิม ทำให้จารึกถ้ำฤษีเขางู เมืองราชบุรี เปลี่ยนสภาพไป.....


.......แต่ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ได้เสด็จ ถ้ำฤษีเขางู รูปถ่ายแสดงให้เห็นตัวจารึกที่สมบูรณ์ทั้งแถวบนแถวล่าง ยืนยันว่า "พุทพัสสา ๔๔" มีมานานแล้ว มิได้เพิ่งต่อเติมในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ตามที่กล่าวหา

คลิกอ่าน "เว็บราชบุรีศึกษา" ได้ที่นี่ http://rb-history.blogspot.com/2011/02/3.html

ในตอนนี้ตามความในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ต่อไปอีกว่า

.......ครั้งนั้นมีพวกพระภิกษุเป็นอันมากได้ยินข่าวแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลถามว่า

"พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะท่านได้กระทำกาละเสียแล้ว ท่านมีคติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า"

"ภิกษุทั้งหลาย ปุณณะเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรม จึงได้ปรินิพพานแล้ว"

ดังนี้ มหาชนจึงได้กระทำบูชาร่างของพระเถระตลอด ๗ วัน แล้วจึงประชุมเพลิงด้วยไม้หอม แล้วเก็บอัฏฐิธาตุของท่านบรรจุไว้ในพระเจดีย์ (ดูรูปพระเจดีย์ที่เขางู อยู่ในบริเวณวัดราชสิงขร)



หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า.....รูปนี้ สุระ สรณาคมน์ ถ่าย พ.ศ.๒๔๙๕ ยังมีใบเสมาประดับอยู่บริบูรณ์ คือใบสีมาวัดราชสิงขรเก่า หรือวัดราชพลี เมื่อวัดร้างแล้ว เข้าใจว่า พระครูสิริปัญญามุนี (อ่อน อาสโภ)ได้บูรณะพระเจดีย์แล้วนำใบสีมา มาประดับไว้ประมาณ พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๕๐ จึงยังเหลืออยู่ให้เห็น ใบสีมาแบบนี้แสดงว่า วัดราชสิงขรเดิม สร้างสมัยราชพลี พ.ศ.๑๑๐๐ - ๑๕๐๐ และเรียกกันว่า วัดราชพลี (ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๖๐ พังไปหมดแล้ว ทราบว่าทางวัดกำลังจะบูรณะขึ้นใหม่ - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง)

อ่านความเห็นได้ที่นี่ - https://www.gotoknow.org/posts/622195

พบหลักฐานของ "พระปุณณะ" ที่อู่ทอง สุพรรณบุรี



จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี บนพระพิมพ์ ๖ (ปุณโณสุนาปรันโต)

.......เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ปีเตอร์ สกิลลิ่ง (Peter Skilling) และ ศานติ ภักดีคำ ได้เดินทางไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพระพิมพ์ จึงได้พบพระพิมพ์องค์นี้รวมถึงองค์อื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีการอ่าน-แปล จึงได้ทำการอ่าน-แปลทั้งหมดลงในบทความชื่อ “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี” ตีพิมพ์ในวารสาร Fragile Palm Leaves เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

เนื้อหาโดยสังเขป...กล่าวถึงพระนามของ พระปุณณสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวนอสีติมหาสาวก ชื่อเดิมว่า ปุณณะ เกิดที่เมืองท่าชื่อ สุปปารกะ ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย โดยผลัดกันนำกองเกวียน ๕๐๐ คัน เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ ภายหลังจากได้พบพระพุทธเจ้า เกิดศรัทธาจึงออกบวช ยกสมบัติให้น้องชายทั้งหมด ได้บำเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนสืบมาจนถึงปรินิพพาน ณ แคว้นสุนาปรันตะนั้น


อ้างอิง - http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=770

เมืองท่า "สุปปารกะ" แคว้นสุนาปรันตะ

.....ผู้เขียนขอเพิ่มเติมคำว่า "เมืองท่าสุปปารกะ" ซึ่งได้พบเห็นคำนี้หลายแห่งในพระไตรปิฎก เดิมไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน แต่เมื่อได้พบว่าอยู่ในแคว้น สุนาปรันตะ อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของ พระปุณณะ จึงทราบว่าเป็นสถานที่เดียวกันกับ พระพาหิยะ (ผู้เลิศทางตรัสรู้เร็วพลัน)

ตามประวัติเล่าว่า ท่านเดินเรือบรรทุกสินค้าไปขายที่ สุวัณณภูมิ แต่เรือล่มต้องลอยคอไปที่เมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งคือ ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท
(คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ) คำว่า "อปรันตชนบท" พระปัญญาสามีวินิจฉัยว่าเป็นอันเดียวกับ "สุนาปรันตชนบท" แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายทางเรือกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว

พระปุณณะก็เดินเรือสินค้าจากสุวัณณภูมิไปขายที่เมืองสาวัตถี พระพาหิยะก็นำสินค้าของตนไปค้าขายที่สุวัณณภูมิอยู่เป็นประจำ เพราะมีบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเลเหมือนกัน จึงมีอาชีพเป็นพ่อค้าทางเรือ นับว่าเป็นเรื่องบังเอิญที่ผู้เขียนใช้กูเกิลเป็นคู่มือค้นหาในพระไตรปิฎก จึงทำให้พบหลักฐานว่า พระปุณณะเป็นชาวสุวัณณภูมิจริง

เพราะว่าตาม "พจนานุกรมพุทธศาสน์" บอกชื่อเดิมว่า "ปุณณะ" เกิดที่เมืองท่าชื่อ "สุปปารกะ" ในแคว้นสุนาปรันตะ เมื่อเติบโตขึ้น ได้ประกอบการค้าขายร่วมกับน้องชาย ผลัดกันนำกองเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวค้าขายตามหัวเมืองต่างๆ


อ้างอิง - พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ของ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คลิกอ่านที่นี่

(.....แต่ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า "ท่าเรือสุปปารกะ" แคว้นสุนาปรันตะ คือ "สุวัณณภูมิ" หรือเมืองไทยของเรา แม้ในอรรถกถา "ปุณโณวาทสูตร" ก็ไม่มีคำว่าสุวัณณภูมิ ต่อเมื่อได้อ่าน "พาหิยสูตร" จึงพบคำนี้อยู่ในประวัติของท่าน เมื่อนำมาปะติดปะต่อ จึงทราบว่าเป็นสถานที่เดียวกัน คือเรือล่มกลางทะเล แล้วท่านลอยน้ำมารอดตายอยู่ที่ชายฝั่งทะเลของไทยนั่นเอง.....)

ฉะนั้น เมืองสาวัตถีจึงมีพ่อค้านำสินค้าไปขายระหว่างกันตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่จะนำข่าวที่พระพุทธเจ้าอุบัติมาเล่าสู่กันฟัง ตราบจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงมีข้อวินิจฉัยในทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะ เมืองคูบัว ราชบุรี และ เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี ตามแผนที่ด้านล่างจะเห็นว่า สมัยโบราณตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลของไทย

แผนที่ "ทะเลโบราณ" ในยุคทวารวดี


......กรมทรัพยากรธรณีได้เลือกเส้นทางตามรอยทะเลโบราณมาเป็นหนึ่งในเส้นทางเรียนรู้สำคัญ เพื่อย้อนเวลาไปฉายภาพให้เห็นถึงความน่าฉงนของพื้นที่หัวอ่าว ก.ไก่ หรืออ่าวไทยตอนบนในอดีต ในสมัยที่กรุงเทพฯ ยังคงเป็นทะเลโคลนตมอยู่ พร้อมเชื่อมโยงให้เห็นถึงเส้นทางเดินเรือในสมัยทวารวดี ที่มีเมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองท่าสำคัญ

เมืองโบราณอู่ทองยุคนั้น ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลโคลนตมหรือ “ทะเลโบราณ” ที่กินพื้นที่หัวอ่าว ก.ไก่ (หัวอ่าวไทยตอนบน) ในปัจจุบัน เว้าลึกเข้ามาไกลถึงสุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี (ยุคนั้นพื้นที่ กรุงเทพฯ และเมืองริมอ่าวไทยตอนบน) อย่างสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ยังคงเป็นทะเลโบราณอยู่)

ผอ.นิรันดร์ ชัยมณี นักธรณีชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรธรณี ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า โลกที่หมุนอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่างพื้นที่อ่าวไทยปัจจุบัน ในอดีตเมื่อ ๓๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว เคยเป็นผืนแผ่นดินเชื่อมต่อกับผืนแผ่นดินของหมู่เกาะชวา กะลิมัน ตัน เรียกว่า แผ่นดินชุนดา(Sundaland)

จากนั้นเมื่อร่นเวลาเข้ามาเมื่อ ๑๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว หลังสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกได้ละลายลงสู่มหาสมุทร เกิดปรากฏการณ์ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นทั่วโลก สำหรับเมืองไทย (ในยุคโบราณ) น้ำทะเลได้รุกเข้ามาถึงอยุธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี โน่น

ก่อนที่น้ำทะเลจะทรงตัว มีระดับสูงกว่าปัจจุบัน ๔-๕ เมตร เมื่อราว ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีก่อน จากนั้นก็เกิดการตกตะกอนของแม่น้ำที่ปากอ่าว ขณะที่น้ำทะเลค่อยถอยร่นไป เกิดเป็นทะเลโคลนตมขึ้น กลายเป็นเส้นทางการค้าขายสำคัญแห่งดินแดนสุวัณณภูมิและสมัยทวารวดีนั่นเอง


ขอบคุณที่มา - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000073389



(โปรดติดตามตอนต่อไป "เมืองทองและสุวัณณภูมิ")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 22/5/17 at 05:08 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 12 ]

Update 12 มิ.ย. 2560


เมืองทองและสุวัณณภูมิ



...ทองจอมฟ้า เมื่อพ่อทับไทยทองตายเดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ พุทธกาล ๑๒ อายุ ๑๑๘ ปี เผาผีปีพุทธกาล ๑๓ ทองจอมฟ้าแบ่งสินให้เมีย ๒๒ คน ลูก ๓๕ คน สนมนาง ๕๕ คนเฒ่านาง ๑๐๐ คน

ทองจอมฟ้าได้ครองแทนพ่อ จึงย้าย "วัง" หรือ "เมือง" มาสร้างใหม่ที่หนองยาว คือ "คูบัว" ปัจจุบันนี้ เสร็จ ปีโล ๑๑๖๙ พ.ศ.๕



แผนที่บริเวณเมืองทองและสุวัณณภูมิ

......ทองจอมฟ้า ผู้ลูกขุนเมือง เมื่อครองเมืองสุวัณณภูมิอายุเข้า ๖๕ ปี ปีโล ๑๒๐๒ พ.ศ.๑๒ เมียชื่อ ทองงามเมืองฟ้าท้องคลอดลูกหญิงชื่อ "ดาวทองงาม" พ.ศ.๑๓ เมื่อพุทธกาลได้ ๑๕ คลอดลูกชายชื่อ "เลืองทับขุนไทย" และคลอดลูกหญิงชื่อ "เลืองทองจอมญิง" ในปีพุทธกาล ๑๗ ทองจอมฟ้าให้ขุนเสมียนเมืองเขียนในพุทธกาล ๓๓

ทองจอมฟ้า กรุงสุวัณณภูมิ ผู้ได้รับพุทธศาสนาดำเนินธรรมตามทับไทยทองผู้พ่อ ปีพุทธกาลได้ ๒๘ ให้ ขุนขันทองยกกองศึกสู่มืองเสืองไทอู่ทอง ขุนหาญสู้ตายในสนามสู้ รู้ถึงขุนเมืองและเมียกองทองคู่ผัวเมีย จึงถวายเงินทองดอกไม้ธูปเทียนขอเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองทอง

เมื่อสองผัวเมียมาถึงในเมืองเข้าไหว้พระพุทธรูปอันอยู่ในอุโบสถ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้าง หลังจากพระองค์สวรรคตแล้ว วิฑูฑภะจึงได้ประทานให้ชาวสุวัณณภูมิ เมื่อทั้งสองได้กล่าวคำอธิษฐานแล้ว จึงพากันกลับไปเมืองอู่ทอง พุทธกาล ๒๙

ต่อมา ทองจอมฟ้า ลูกพ่อเมืองทับไทยทองสุวัณณภูมิ ผู้คุ้มองค์พระพุทธรูปไม้จันทน์หอมให้หอมขอมช่างจำลองออกมา ๑๒๒ องค์ แล้วพระราชทานให้แก่ขุนเมืองออกทั้งหลายไว้เป็นพระประธาน เพื่อให้ชาวเมืองได้กราบไหว้ทุกเช้าเย็น และให้ขุนเมืองทุกเมืองไทยตั้งอยู่ในศีลธรรม ทองจอมฟ้าเขียนไว้ใน ปีพุทธกาล ๒๙



ขุนทองจอมฟ้า ผู้สร้างเมืองทองสุวัณณภูมิ บอกชื่อไว้ที่สร้อยทำเป็นเม็ดๆ คือเม็ดทอง และหมายถึงข้อกฎหมายที่พ่อกระทำไว้ มือขวาชี้แผ่นดิน มือซ้ายถือหอยยอดเครื่องหมายมหาขุน

เลืองทับขุนไทยพ่อเมือง ลูกขุนทองจอมฟ้า ครองปีพุทธกาล ๔๓ อายุ ๒๘ เมื่อพุทธกาลล่วงเข้า ๔๔ เมียชื่อ ดวงขวัญมา ท้องคลอด เลืองลือขุนไทย ในเดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีฉลู หม่อมเมียแม่นางถนอมนวลคลอดลูกหญิงชื่อ นวลงาม ถนอมเมืองเข้าปีมะเมีย เมียดวงขวัญมาดับ มีเมียชื่อ เอี่ยมขวัญทอง แม่มีลูกชายพุทธกาล ๔๓ ชื่อ เลืองลพขุนไทย เมื่อพุทธกาล ๖๐ แม่ถนอมดับมีเมียชื่อ เต็มงามตัว มีลูกชื่อ เลืองทองขุนไทย ปี ๖๑

เลืองลือขุนไทย เป็นขุนเมื่ออายุขึ้น ๒๘ ปีพุทธกาลได้ ๗๓ ครองเมืองลวะนั้นต่อจากพ่อของตน มีลูกแต่เมียใหญ่ชื่อ เลืองลบลว้าขุนชาย แม่เอื้อเจ้าเสิมสีเลี้ยงบำรุง พ่อเลืองทับขุนไทยตายในเดือน ๓ มาฆบูชา จึงขึ้นแทนในแผ่นดินถิ่นลว้าโดยธรรมปราศจากอคติ พุทธกาล ๗๘

เลืองลือลว้าผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง รักษาศีลรักษาธรรมทุกคืนวัน พระสุฬภู สอนเป็นผู้แนะนำอริยธรรมความดีถูกผิด ทั้งโทษและคุณ เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ใหญ่

เมื่อพุทธกาล ๑๕ พระสุฬภูได้ไปถึงแดนพาราณสี ราชคฤห์ เพื่อพบต้นพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เข้านิพพานแล้ว ๑๕ ปี จึงพบ ท่านอานนทเถระ ได้เรียนธรรมวินัยจบพระไตรปิฎกครบ ๑๐ พรรษา แล้วได้มาสู่สุวัณณภูมิ บวชเรียนธรรมวินัยสอนคนไทย และแสดงธรรมแก่ผู้มีใจใฝ่ดีในวันอุโบสถ พระภิกขุสุฬภูสอนเขียนในพุทธกาลล่วงหน้า ๗๘

เลืองลบลว้า สุวัณณภูมิ เมื่อครองเมืองทอง ปีพุทธกาล ๙๖ เมียชื่อ นางเรือนทอง เมียน้อยชื่อ นางงามสง่า เมื่อปีจอมจอ พ.ศ.๑๐๑ นางเรือนทองมีลูกชื่อ ลือลบลว้า ปี ๑๐๓ งามสง่าออกลูกหญิงชื่อ งามเรือนใจนางเจริญงามท้องออกลูกหญิงชื่อ เจริญงามตา

ลือลบลว้า ลูกขุนเลืองลบลว้า เมื่อครองเมืองพุทธกาล ๑๒๕ เมียชื่อ เรียงเรือนฟ้า เมียน้อยชื่อ ดอกไม้ฟ้า เมื่อพุทธกาล ๑๒๖ เรียงเรือนฟ้ามีลูกชายชื่อพ่อตั้งให้ว่า เลอลบลว้าลูกไทย ดอกไม้ฟ้ามีลูกหญิงชื่อ เดือนทับฟ้า เมื่อลุปี ๑๓๑ เรียงเรือนฟ้ามีลูกชายชื่อ ไทยลือฟ้า

เลอลบลว้า ลูกขุนลือลบลว้า เมื่อครองเมือง ลุเข้าปี ๑๕๘ นางเมียชื่อ รุ่งแสงฟ้า เมียน้อยชื่อ เรืองแสงทอง นางรุ่งแสงฟ้าคลอดลูกชายพุทธกาล ๑๕๙ เดือน ๕ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชื่อลือเลอลว้าเมืองทอง เดือน ๖ มีงานฉลอง ๑๕ วันเลอ (ลบ) ลว้าเขียน

ลือเลอลว้า เมืองทองขุนไทย เจ้าพระยาเมืองสุวัณณภูมิ ต้นโปรดเมียน้อยชื่อ พูนเอ็นดู เป็นที่โปรดปราน นางมีความรู้ในการจารอักษรบาลี อักษรไทย จึงเล่าเรื่องนี้ไว้หลายพุทธกาล ล่วงพุทธกาล ๒๗๘ ท้องมีลูกคนแรกชื่อว่า โลกลว้าพุทธบุตตพูนเจริญ ท่านให้จัดงานฉลองเป็นอย่างดี

ลือเลอลว้า ลูกขุนเลอลบลว้าเหนือหัว เมืองไทยลว้า ลูกแม่รุ่งแสงฟ้า เมื่อเมืองเหนือขอมทวาไทย เมืองเถือมจึงจัดคัดลูกศึกไทยลาว ทั้งนายไพร่เกวียนช้างม้าเสบียงพร้อมไปอู่เชียงเหล็ก โลวธงไช พนมถ้ำ ถึงเมืองอู่หิน เวียงนัม ตัวกลับสู่เมืองทองแหล่งลว้าปี ๒๑๔ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย นางพูนเอ็นดู ผู้เมียลือเลอลว้าเขียนสือนี้เมื่อพุทธกาล ๒๑๗


อธิบาย - เมืองเถือม(ทอง) คือ นครปฐม


ภาพถ่ายชุดนี้ ตัวชัดเจน มีชื่อขอม หรือ ขอม ชายหญิง ในตำแหน่งครูอาจารย์ เฉพาะแผ่น ๑๑๖ มีทองผงเหลืองอร่ามเต็มหน้า จึงเข้าใจว่าเมืองทองฃอมไทย เป็นเจ้าผู้ใหญ่ด้วย

- เมือง ทอง ฃอม ไทย เมือง เถือม(ทอง)
- มา อยู่ สุวัณ ภูมิ บอก
- สือ ฃอม ไทย (แก่)นาง พูน
- เอน ดู เมีย ลือ เลอ
- ลว้า บอก เมื่อ ปี ขาน
- พุ ท ธ ก า ล ๑ ๗ ๗


เมืองทอง ขอมไทยเมืองเถือม มาอยู่สุวัณณภูมิ บอกสือขอมไทย แก่นางพูนเอ็นดู เมียลือเลอลว้า บอกเมื่อปีขาน พุทธกาล ๑๗๗ เมืองทอง ผู้อาของพูนเอ็นดู ผู้ลือเลอลว้าเอ็นดูให้ทองเงินเลี้ยงดูทั้งลูกเมีย พร้อมเขียนพุทธกาล ๑๗๗

ลือเลอลว้า ตั้ง พูนเอ็นดู เป็นแม่อยู่หัวในเมืองทองไทยลวะ ตั้งโลกลว้า ให้เป็นขุนเมือง เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ พุทธกาล ๒๐๐

โลกกนลว้า (อ่านว่า โลกกะนะละว้า) ราชาธิปตีสุวัณณภูมิ เมื่อครองเมืองพุทธกาล ๒๒๐ ขุนเมืองอู่ทองให้ลูกสาวเป็นเมียชื่อว่า ก้านตาเทวี เมื่อเป็นสาวเข้า ๒๒ พ่อให้มาเมืองทอง เดือน ๑๒ แต่งงานเป็นขุนนางสาวพ.ศ. ๒๒๑ แม่คุมนางเดือนหนึ่งหกคืนกลับไป

เมื่อลุปีกุน พ.ศ.๒๒๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘๘ เมียคลอดลูกเมื่อดวงตวันเที่ยงตรง จึงให้ชื่อว่า ตวันทับฟ้า ขุนเมืองไทย เมื่อเข้าปีชวด พ.ศ.๒๒๓ เมียน้อย มิ่งเมืองทอง ท้องคลอดลูกหญิงชื่อ งามสายทอง เสมียนเขียนไว้ เมื่อพุทธนิพพาน ๒๒๓

โลกกนลว้า ทั้งเมียและตวันขันเอา "อโศก" เป็นเพื่อนผู้มีสืออ้างเป็นสหายเมือง ศิรยอมาตย์ มาเมืองทองส่งสือเล่าเรื่อง มีสงฆ์ปลอมบวชในพุทธจักรมากให้ขจัดทั่วเมือง แล้วนิมนต์ "โมคคัลลี" เป็นหัวหน้าสังคายนาธัมมวินัย ที่ปาตลีปุต มคธ เชิญร่วมพิธีของอรหันตสงฆ์ในปี ๒๓๔ อมาตยศิรยะกลับ พร้อมส่งขุนอินทรมนตรี น้องไปปี ๒๓๓

โลกกนลว้า เมืองทอง ผู้มีอโศกราชามคธเป็นเพื่อน ขุนอินทรมนตรีเมื่อร่วมสังคายนาที่ ๓ ปี ๒๓๕ แล้วกลับพร้อมสือมีความเมืองมคธว่า ภิกขุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา มีศีลธรรมงามพร้อม เมืองสุวัณณภูมิควรมีสงฆ์ผู้บริสุทธิ์เข้าสังคายนา มีความรู้ดีมาในสุวัณณภูมิ จะส่งภิกขุห้าองค์ เดือนกัตติกะ คอยรับ โลกลว้าเขียนพุทธกาล ๒๔๐


อธิบาย - เดือนกัตติกะ คือ เดือน ๑๒

(โปรดติดตามตอนต่อไป "พระเจ้าอโศกมหาราช")


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 29/5/17 at 03:52 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 13 ]

Update 19 มิ.ย. 2560


พระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาโมคคัลลีปุตตติสสเถระ

ส่งพระสมณทูตสายที่ ๙ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา

ณ สุวัณณภูมิ เมืองทอง



** หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า ๑. ด้านหน้า พระโสณะ พระอุตตระ ได้ที่ โคกประดับอิฐ คูบัว จะเห็นห้อยเท้า ทำมือแบบปฐมเทศนา แต่ทำเศียรโล้นแบบพระสงฆ์ ถ้าเป็นพระพุทธรูป จะทำแบบนี้แต่จะมีพระเมาลีและเกตุมาลาสั้น เป็นเครื่องหมายว่าเป็นพระพุทธรูป (แต่ในที่นี้ไม่มี จึงเป็นพระสงฆ์)

๒.ด้านหลัง เส้นขวานั้น เอาแป้งลูบเห็นขึ้นชัดเจน ลายสือเขียนว่า "โสณเถ" (ร อยู่อีกด้านหนึ่ง) "อุตตร เถ" (ร อยู่อีกด้านหนึ่ง) ลายล่างคือ สุวัณณภูมิ

ชุดนี้มีครบ ๕ องค์ แต่เจ้าของทุบเล่นเสียบ้าง ไม่ทันได้ จึงเก็บได้เพียง ๒รูป แม้จะปรากฏเพียง ๒ รูปก็ตาม ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่า ท่านมาอยู่ที่สุวัณณภูมิ ทั้งได้กระทำสังฆกรรมพระธรรมวินัย หรือวางแบบพระธรรมวินัยไว้ เช่น สระโบสถ์ พระมหาธาตุ นิมิต สีมา ฯลฯ ที่นั้นๆ ปรากฏอยู่ ได้ทำแผนที่ และถ่ายรูปไว้



.......ความตอนนี้ พระญาณจรณะ ได้จารึกไว้ว่า พระเจ้าตวันอธิราช ได้ขอให้เล่าเรื่องย้อนตอนที่ พระโสณะ มาสุวัณณภูมิ โดยพระโสณะเล่าให้ฟังว่า

** หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า - พระญาณจรณะ (เดิมชื่อ ทองดี) ตอนนี้ยังไม่ได้บวช เมื่อตวันขอให้เขียนเรื่องนั้น พ.ศ.๒๗๘ เห็นเรื่องอยู่ตอนนี้ จึงนำมาเรียงไว้ตอนนี้ กะเบื้องชุดนี้ทำแผ่นใหญ่ยาวกว่า เป็นชุดต่างหากจากชุดเดิม

พระโมคคัลลีปุตตติสสะมหาเถระ เลือกเอา พระโสณะ พระฌานียะ พระอุตตระ พระ ภูริยะ พระมูนียะ เป็นคณะสงฆ์ครบ ๕ องค์ คือ จะส่งภิกขุห้าองค์ เดือนกัตติกะ (กัตติกมาส ตรงกับเดือน ๑๒ ไทย) พอที่จะทำการอุปสมบทและสวดปาติโมกข์ได้ แล้วให้พระโสณะเลือกหาผู้คนได้ อตุลยะ และเมียชื่อ อตุลยา แล้วก็ อิสสระพราหมณ์ เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา มีคนมาก พระโสณะเลือกเอาเพียง ๓๘ คน

พระเจ้าอโศกนิมนต์พระโมคคัลลีให้มองทางสุวัณณภูมิว่า เห็นดีแน่แล้วหรือ พระโมคคัลลีตอบว่าพระโสณะเป็นผู้มีความเหมาะสม ทั้งได้แนะนำพระโสณะเถระว่า

.....ท่านผู้เจริญไปสุวัณณภูมิ จงตั้งพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ให้บรรพชาอุปสมบท หัดผู้คนให้รู้ถึงศีล และอยู่ (รักษา) อุโบสถ...

พระโมคคัลลีกล่าวต่อไปว่าไปเผยแพร่พุทธศาสนาในสุวัณณภูมิ เมื่อมั่นในสุวัณณภูมิแล้ว ถิ่นอินทร (อินเดีย) อันชื่อ "ชมพูทวีป" และถิ่น "สุวัณณภูมิ" อันโสณะผู้ไปตั้งพุทธศาสนา โสณะจะมีชื่อตั้งอยู่ในหมู่ภิกษุสามเณรว่า เป็นผู้นำธัมมวินัยไปตั้งให้ได้อุบาสกอุบาสิกามากแล (เรื่องนี้คงเป็นเรื่องจริง เพราะคนไทยรู้จักชื่อเสียงของท่านเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่รู้รายละเอียดประวัติการตั้งพุทธศาสนาของท่าน เช่น ธรรมเนียมการทอดกฐิน, การหัดสวดมนต์ เป็นต้น)

อ้างคำทำนายของพระพุทธเจ้าว่า
พระพุทธศาสนาในเมืองไทย จะตั้งมั่นนานนับหมื่นปี

ในตอนนี้พระโสณะก็เล่าว่า พระโมคคัลลีเคยเล่าให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าแก่พระปุณณะว่า ถิ่นสุวัณณภูมิจะเป็นเมืองวรพุทธศาสนา โสณะมาก่อตั้ง ภิกษุสามเณรเอาศีลธรรม พุทธศาสนาตั้งมั่นหมื่นปี

บวชชีแทนภิกษุณี

พระโมคคัลลีกล่าวแก่พระโสณะต่อไปว่า เมื่อโสณะถึงเมือง เมื่อผู้คนพอใจทั่วเมือง แล้วอุปสมบทภิกษุบรรพชาสามเณร บวชให้หญิงเป็น ชี มีชื่อว่า อุบาสิกา เว้นการครองเรือน ถือศีลแปด รับข้าวอันผู้คนเอื้อให้ เอาพรหมจริยะ (ประพฤติพรหมจรรย์) ได้แทนภิกษุณี

พระโสณะเล่าว่า พระโมคคัลลีกล่าวว่า

"......ต่อไปในกาลข้างหน้าชื่อ ชี จะเป็นแบบอย่าง มีผู้นำเอาไปทำตามได้ เหมือนพระพุทธเจ้าให้นางสากิยานี (ชายาหม้ายของเจ้าชาย ๕๐๐ องค์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ที่ออกบวชก่อนหน้านี้) คอย "ครุธรรม" เพื่อบวชเป็นนางภิกษุณีต่อไปชื่อ ชี จะคงอยู่แทนภิกษุณีตลอดพุทธศาสนาของเมืองไทย....."

สั่งไม่ให้ยุ่งเรื่องการเมือง กลัวคนไทยดุ เพราะเคยกินคนมาก่อน

พระญาณจรณะจดพระดำรัสของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งตรัสแก่พระโสณะเตือนว่า ไม่ให้เกี่ยวข้องเรื่องของบ้านเมือง ควรให้เอาใจผู้คนทั้งขุนเมืองให้พอ พราหมณ์อย่าเพิ่งสอนลัทธิพราหมณ์ เพราะคนเมืองทองดี แต่เดิมมีใจดุ กินคน แต่มีใจดีมั่นคงคุ้มครองตัวเองได้ ป้องกันนำหมู่ตัวได้ ถ้าทำให้โกรธคงจะยกกันมาถึงถิ่นคนชมพูทวีปกินเป็นแน่แท้

เมื่อถึงเดือนอ้ายขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๓๕ ปีไทยฉลู คณะพระสมณทูตจึงได้เดินทางมาถึง เมืองช้างค่อม(นครศรีธรรมราช) ก่อน แล้วเรือจึงเดินทางมาถึงเมืองทอง พระเจ้าโลกลว้า ขุนเมืองพร้อมลูกตัว "ตวัน" และเมีย "ก้านตาเทวี" ผู้ต้อนรับพระโสณะ พระฌานียะ พระภูริยะ พระอุตตระ พระมูนียะ เชิญท่านพักอยู่ที่ วัดปุณณาราม (เป็นวัดเดิมสมัยพระปุณณะ) ดำรงอริยสงฆ์พร้อมกัน

ส่วนอำมาตย์ อตุลยะ กับหมู่คนที่มาด้วยกันอีก ๓๘ คน มี พราหมณ์สุธีระ มุทุหุตตะ อิสสระ ตัวนางพราหมณี และ นางอาตุลยา ภริยาอตุลยะ พร้อมภริยาคนอื่นๆ ให้อยู่บ้านข้างคูข้างวัดปุณณาราม

สำหรับ สามเณรนิตตยะ สามเณรอิสิธชะ สามเณรคุณะ พราหมณ์ธนียะ พราหมณ์สุธนี อุบาสกเขมกะ อุบาสิกาอนีฆา ผู้เป็นคนหาอาหารพร้อมเป็นศิษย์

ในตอนเช้า มีการแสดงพระธรรมเทศนา พรหมชาลสูตร มีคนบรรลุมรรคผลถึงสรณะ ชายบวชเป็นภิกษุ ๑,๐๐๐ คน หญิงบวชเป็นชี ๑๐๐ คน พุทธกาลได้ ๒๓๖ พระเจ้าโลกลว้าเมื่อเอาใจองค์พระโสณะ อุตตระ
ฌานียะ ภูริยะ มูนียะ ผู้เพื่อนอโศกส่งมาพร้อมคน ๓๘ คน มี "อตุลยะ" เป็นหัวหน้า จึงขอเอาอโศกเป็นเพื่อนทั้งที่ไม่เคยเห็นหน้ากันในอินทระ (อินเดีย) โน้น ตัว "วีตโศก" ขอ "ตวัน" เป็นเพื่อน เมียชื่อ "รักขิตา" ขอ "ก้านตา" เป็นเพื่อนต่อกัน


สรุป : พระโมคคัลลีบุตติสสเถระ และ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระอรหันตเถระ (ปัญจวัค คือ ๕ รูป) มาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ สุวัณณภูมิ คือ
พระโสณเถระ พระฌานียเถระ พระภูริยเถระ พระอุตตรเถระ และ พระมูนียเถระ
และ สามเณรคุณะ, อิสิธชะ, นิตตยะ
เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา
พราหมณ์ ๔
(พราหมณ์ และ พราหมณี)
คณะอำมาตย์ อตุลยะ ท่านผู้หญิง อาตุลยา กับประชาชนพุทธบริษัทอีก ๓๘ คน

พระเจ้าโลกลว้า พร้อมด้วย "ตวัน" และ "ก้านตา" หม่อมเมียขอใส่บาตรต่อพระโสณะ ฌานียะ ภูริยะ อุตตระ มูนียะ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปี ๒๓๖ในวันนี้มีการอุปสมบทคน ๑,๐๐๐ คน ๓๕ วัน ชุดแรกมี ๑๐ คน

คนที่หนึ่ง พระญาณจรณะ โดย พระโสณะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุตตระ สวดญัตติ พระฌานียะ เป็นผู้สอนอนุศาสน์ บวชแล้วเรียนพระไตรปิฎก ๒ ปีจบ และให้บวชสามเณร ๑๕๕ องค์ ๑ เดือน บวชหญิงเป็นชี ๑๐๐ คน เมื่อภิกษุณีไม่ได้มี จึงถือศีลสิกขาบท ๘ อย่าง พระโสณะบอกว่าง่ายดี ไม่ต้องถือศีลของนางภิกษุณี มิต้องปาราชิกแพ้ตลอดชีพ


ภิกษุณีบวชด้วย "ครุธรรม ๘ ประการ"

การที่มิได้บวชเป็นนางภิกษุณีนั้น เนื่องจากนางภิกษุณีมิได้มาด้วย ตัวอย่างนางสากิยานี ๕๐๐ คน ที่นุ่งห่มผ้ากาสายะ ก่อนที่จะเป็นนางภิกษุณีก็ต้องบวชชี เพื่อรอบวชด้วยครุธรรมถึง ๖ เดือน เมื่อมาถึงป่ามหาวันที่นอกซุ้มประตูกูฎาคารสาลา พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นหัวหน้าต้องยืนร้องไห้บอกแก่พระอานนท์ว่า พระพุทธเจ้าไม่ยอมให้ผู้หญิงบวชในพระธรรมวินัย

พระอานนท์จึงให้คอยอยู่ก่อน แล้วเข้าไปกราบทูลเพื่อขออนุญาต แต่พระพุทธเจ้าไม่ยอมถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์ขอเพื่อให้มาตุคามมีโอกาสทำให้แจ้งมรรคและผล องค์สมเด็จพระทศพลจึงบัญญัติให้สากิยานีบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย ครุธรรม ๘ ประการ เพราะฉะนั้น สากิยานีบวชคอยครุธรรมนั้น ก็เป็นเหมือนชีเป็นผู้บวชคอยเช่นนั้นเหมือนกัน

ครั้นพระอานนท์เรียนครุธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงไปบอกให้ "แม่ชีมหาปชาบดีโคตมี" รับเอาไปปฏิบัติ ฝ่าย พระราหุล จำนำไปบอกให้ พระนางพิมพา รับเป็นภิกษุณี ที่เหลือพระเถระอื่นๆว่า ให้ฟังเป็นภิกษุณีตรงนอกซุ้มประตูกูฎาคารสาลา พอออกคำรับ "ครุธรรม" จากพระอานนท์ จึงเป็นภิกษุณีทั้งที่ยังมิเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

ต่อมามีผู้โจทฟ้องพระเถรีปชาบดีโคตมีว่าไม่มีอุปัชฌาย์ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า เราเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้บัญญัติให้ "ครุธรรม" แก่นางปชาบดีโคตมี จึงยอมให้รวมภิกษุณีสงฆ์ ดังนี้


** หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า - พรหมชาลสูตร มาในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (พระไตรปิฎกเล่ม ๙) หน้า ๑-๖๐ มีใจความคือ

จุฬสีล ศีลเล็กอันได้แก่ศีลห้า
มัชฌิมสีล ศีลกลาง อันได้แก่ศีล ๘ และศีล ๑๐
มหาศีล ศีลใหญ่อันได้แก่ ภิกขุปาติโมกขสังวรศีล และ ภิกขุนีปาติโมกขสังวรศีล

พระโสณเถระได้แสดงธรรมเนียมการรักษาศ๊ล และสอนให้กระทำไว้ ฉะนั้น พิธีรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ประจำวันพระ จึงมีปรากฎอยู่ในหมู่คนไทยทั่วไป และไทยทุกชั้นได้รักษาประเพณีมาตลอดกระทั่งปัจจุบัน ที่พิเศษเห็นได้ชัดก็คือ ตั้งธรรมเนียมบวชชีไว้

อย่างคำปรารภของท่านว่า ผู้หญิงไม่ต้องปาราชิกแพ้ตลอดชีพ คือว่าถ้าผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณี ต้องมีพระภิกษุณีเป็นอุปัชฏฌาย์ และเมื่อบวชแล้วสึกออกไปถือเป็นปาราชิก กลับมาบวชอีกไม่ได้

แต่ถ้าถือบวชเป็นชีแล้ว แม้จะสึกหรือมีศีลขาดก็สมาทานถือใหม่ได้ เพราะไม่ได้บวชตามวินัย จึงไม่เป็นผู้ชื่อว่าพระภิกษุณีตามพระวินัยและสังฆกรรม ทั้งในเวลานั้นก็ไม่มีพระภิกษุณีมาด้วย จึงบวชพระภิกษุณีไม่ได้ ไทยจึงไม่มีพระภิกษุณีกระทั่งถึงปัจจุบันนี้


พระโสณะกล่าวว่า พระโมคคัลลีเล่าว่า ภิกษุณีจักสิ้นเมื่อพุทธกาล ๑,๐๐๐ ปี กว่าเหล่านางสากิยานีบวชรอเช่นไร ชีบวชรอภิกษุณีสงฆ์เช่นนั้น พระโมคคัลลีจึงไม่ส่งภิกษุณีสงฆ์มาด้วย ชีคงบวชแทนภิกษุณีคู่ภิกษุตลอดไป ต่อมา มนขอมพิสณุ เรียก ขอมเฉย สร้าง วัดมหาธาตุ เริ่มลงหลักวัดเมื่อปี ๒๓๖ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ

** หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า - ชีหญิง "ชี" ชื่อคำไทย เป็นทั้งชายและหญิง เฉพาะที่พระโสณบวชนี้ ผู้ชายบวชเป็นภิกขุ หญิงบวชเป็นชี หรือแม่ชี สถานที่พระโสณเถระบวชในคราวนั้น คงอยู่ที่ที่เรียกกันว่า "สระบางควายใหญ่" หรือ "โสนใหญ่"


ที่นั่นยังมีที่ที่เรียกกันว่า "ศาลแม่ชี" คงเรียกกันว่า "สางแม่ชี" แล้วเลือนมาเป็น "ศาลแม่ชี" คือชีที่บวชกันนานเข้าก็ตาย ฝัง หรือเผากันใกล้ๆ นั้น คนที่ตายแล้ว ไทยลว้า ลาวเดิม เรียกว่า "สาง"


ต้นผู้ริเริ่ม "ทอดกฐิน" ของชาวไทย

เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๙ ปี ๒๓๖ พระเจ้าโลกลว้า พร้อม "ตวัน" และ "ก้านตา" เข้าถาม พระโสณะ เรื่องที่พระพุทธเจ้าอนุญาต ผ้ากฐิน พระโสณะจึงเล่า "กฐินวิธี" ว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตออกพรรษาแล้ว ๑ เดือน คือ

๑. กฐินทำด้วยผ้าใหม่
๒. ผ้าไม่เป็นอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์
๓. เป็นผ้าบังสุกุล, ผ้าตลาด, ผ้าทำในวันนั้น
๔. และผ้าจีวร สบง สังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่งอันภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ครอง
ดังนี้

พระเจ้าโลกลว้าตรัสว่า ปีนี้ผ้าไม่มีพอทำผ้ากฐินไว้ปีหน้าสั่งให้ปลูกฝ้าย ๑๕,๐๐๐ ในทุ่งหลวง เมื่อได้แล้วให้หญิงข้างในวัง ๕๐ นาง หาฟืมทอผ้าทำเป็นผืนใหญ่พอกฐินปีหน้า

ครั้นถึงปี ๒๓๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ พระเจ้าโลกลว้า, ตวัน, ก้านตา พร้อมกันอุ้มผ้าทอดกฐินต่อหน้าสงฆ์ ที่แพอุโบสถในสระน้ำ ผ้ากฐินนั้น พระโสณะ ตัดทำเป็นผ้าสบงครอง ที่เหลือแจกให้ภิกษุสามเณรบอกว่า ให้ใช้เป็น "อติเรกจีวร" (ผ้าอาศัย) หลังจากนั้นท่านแนะนำว่าให้ทอดกฐินทุกปี



** หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า - สระน้ำนี้อยู่ระหว่าง "วัดโขง" กับ "วัดหนองวัด" ปัจจุบัน คนยังเรียกกันว่า "สระโบสถ์" ขณะนั้นเมื่อพระสงฆ์ชุดนั้นๆ มาอยู่วัดปุณณาราม ที่พระเจ้าทับไทยทองสร้างนั้น คงไม่ได้ฝังลูกนิมิตทำสีมา พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยเมื่อพรรษา ๒๐ แล้ว จึงน่าจะยังไม่มีพิธีทำลูกนิมิต สวดผูกสีมา

พระเถระชุดนั้น คงเห็นว่า วัดปุณณาราม ไม่มีนิมิตและสีมา จึงขอพระราชโองการใช้สระน้ำโดยทำแพใหญ่หรือเรือขนานหลายลำให้ใหญ่พอปักหลัก เรียกว่า "อุทกุเขปสีมา" คือ สีมาน้ำ ตามพระพุทธานุญาติให้ใช้ทำสังฆกรรมต่างๆ กระทั่งสร้างวัดมหาธาตุสำเร็จ แต่ก็ยังคงใช้กันต่อมา

เมื่อพระภิกษุมีมาก ทำอุโบสถในโรงอุโบสถเดียวไม่หมด ก็แบ่งกันมาทำในสีมาน้ำบ้าง จึงเรียกกันว่า สระโบสถ์ ตลอดมากระทั่งทุกวันนี้


(โปรดติดตามตอนต่อไป สังคายนาครั้งที่ ๑ ณ กรุงสุวัณณภูมิ)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 5/6/17 at 07:57 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 14 ]

Update 26 มิ.ย. 2560


สังคายนาครั้งที่ ๑ ณ สุวัณณภูมิ ปีพุทธกาล ๒๓๗


เกิดเป็นต้นแบบ "การสวดมนต์" มาจนถึงปัจจุบันนี้

......เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๑ ในสุวัณณภูมิ พระเจ้าโลกลว้า ให้ "มนขอมพิสณุ" คิดสร้างพระพุทธรูปเอาไว้ ใช้ปูนขาวสร้างปางนั่งเทศนาอย่างไม้หอม พระพุทธรูปไม้จันทน์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่โรงประชุมภิกษุนั้น พระโสณะลงพระพุทธคุณมีบท "อิติปิโส" เป็นต้นไว้เป็นที่แทนองค์พระพุทธเจ้า เมื่อพาภิกษุกราบ แล้วพากัน "สัชฌายะ ปาฐะ" สวดพระบาลี เหมือนกับที่สวดมนต์กันในปัจจุบันนี้

องค์พระโสณะ พระฌานียะ สอนวินัย, ธรรมะ, พุทธวจนะ ให้ภิกษุสามเณรหัดสวดหมู่ แต่เมื่อพุทธกาล ๒๓๖ ให้หัดกล่าวเสียงคำมคธ ว่าคำช้าๆ ทวนท่องจำดีถูกแล้ว เอามงคลสูตร, รัตนสูตร, กรณียสูตร, ขันธปริตตสูตร, ธชัคคสูตร ครั้นกล่าวรวมกันพร้อมด้วยเสียงเข้ากัน แล้วให้ซ้อมสวดพร้อมๆ กัน


หลวงพ่ออ่ำอธิบาย - ประเพณีสัชฌายะ นี้ยังคงอยู่ถึงบัดนี้ที่เทศน์และสวด "แจง" เป็นแบบสวดสังโยค สวดช้าๆ อย่างท่านเขียนเล่าไว้ ในการเทียบเสียงและคำไทยกับคำมคธนั้นคงยากลำบาก เพราะคนละภาษา คนละความ

พระเถระชุดนั้นได้พยายามมาก แม้พระไทยซึ่งก็ทรงความอุตสาหะใหญ่ จึง ฟัง จำ ท่อง สวดสัชฌายะ กว่าจะเข้ากันได้กับคำชาวมคธ และไทยด้วยกันเอง ถึงกระนั้นก็ยังรับดำรงสืบกันมาได้ ทั้งมีอยู่ในหมู่พระสงฆ์ไทยเท่านั้น

ตอนนี้ เป็นเพียงจัดทำคณะซ้อมสวด หรือสัชฌายะ เริ่มพิธีจริงกันในปีต่อไป กระนั้นก็ยังก่อนสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่สิงหล ลังกาทวีป ซึ่งไม่ได้ลงคัมภีร์ต่างๆ จึงไม่ปรากฎเรื่อง ปรากฎแต่ในประเพณี "แจง" ของพระสงฆ์ไทย


องค์พระโสณะ ฌานียะ ภูริยะ อุตตระ มูนียะ ให้ พระญาณจรณะ เป็นหัวหน้าภิกษุชุดต้น ๓๐ องค์ นั่งประจำที่ในโรงชื่อว่า "ธัมมสภา" เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ พุทธกาล ๒๓๖ ทำพิธีซ้อมสัชฌายะธัมมะ สวดมนต์ให้ภิกษุและสามเณรฟัง

เมื่อ พระโสณะ ให้ พระญาณจรณะ ซ้อมกับภิกษุทั้งหลายดีแล้ว พระเจ้าโลกลว้าจึงให้สร้างศาลาพอแก่ภิกษุ ซึ่งพระโสณะเห็นว่าพอคราวละ ๕๐ องค์ แล้วให้เริ่มพิธีสงฆ์สังคายนา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พุทธกาล ๒๓๗ มีหญิง ๒,๓๒๔ คน ชาย ๓,๓๖๙ คน หญิงเป็นผู้หาอาหารมาถวายในตอนเช้า ขุนไทยโลกลว้าให้ชายประจำที่ ๒๐๐ คน หญิง ๗๕ คน ไว้ทำความสะอาดศาลา

พระโสณะ อุตตระ ฌานียะ ภูริยะ มูนียะ มี ญาณจรณะ สวดนำให้หมู่ภิกษุว่าตาม เมื่อคล่องปากดีแล้วให้ว่าเป็นหมู่ สวดมาได้ ๑๐ เดือน พระโสณะว่าเป็นดี ภิกษุไทยทำได้แล้ว นานมามี ชี
ถึง ๒ พันขอเป็นผู้เข้าสวดด้วย พระโสณะบอกว่าให้สวดตามภิกษุสงฆ์


หลวงพ่ออ่ำอธิบาย

.......ครั้งนี้เป็น "คณะสัชฌายสังคีติพิธี" จริง และเป็นการวางแบบอีกอย่างหนึ่ง เป็นสวดมนต์, เป็นทั้งในพิธีการไหว้พระสวดมนต์, เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีการอื่นๆเช่น ถวายพรพระ, อนุโมทนาวิธี, แม้ในพิธีบำเพ็ญกุศลต่างๆ เช่น โกนจุก, ทำบุญอายุ, ตลอดถึงพิธีการศพ เช่น สวดมาติกา, สวดอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์, และสวดหน้าไฟ เป็นต้น

พระสมณทูตสายที่ ๘ ประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป



(มิสสกบรรพต เมืองอนุราธปุระ)

ส่วนในลังกา (สีหลทวีป) พระมหินทเถระ พระอิฎฎิยะเถระ พระอุตติยเถระ พระภัททสาละเถระ พระสัมพลัตเถระ และ สุมนสามเณร (ลูกนางสังฆมิตตาเถรี) และ ภัททกะ หรือ ภัณฑกะ อนาคามีอุบาสก ณ วันเพ็ญ เดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๓๖

ท่านทั้ง ๖ มีฤทธิ์มาก ได้อภิญญา ๖ ไปโดยทางอากาศ ลงพัก ณ ภูเขาชื่อ มิสสกบรรพต ได้พบ พระเจ้าเทวานัมปิยติสส ซึ่งทรงล่าเนื้อ ณ ที่นั้น ได้สนทนารู้เรื่องแล้วทรงอาราธนา ได้แสดง จุลลหัตถิปโทปมสูตร ให้ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ แล้วเชิญเข้ากรุงอนุราธบุรี ถวายปราสาทชื่อ มหาเมฆวัณณิยะ เป็นสังฆาราม

เมื่ออุปสมบทชาวลังกาเป็นพระภิกขุมากแล้ว ได้ทรงสร้างถูปาราม (อารามพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) เพื่อทำสังคายนา พระมหินทเถระได้เลือก พระมหาอริฎฐะ เป็นผู้กล่าว เพราะทรงจำพระไตรปิฎกได้แม่นยำ



(ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ)

เมื่อภิกษุบริษัท และราชบริษัท ประชุมพร้อม ณ มณฑปถูปาราม วันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๓๘ พระมหาอริฎฐะ ได้กล่าวสวดพระไตรปิฎกมุขปาฐะ เป็นสังคายนาครั้งที่ ๔ ซึ่งเป็นแต่การกล่าวหรือสวดเช่นเดียวกัน แต่สวดองค์เดียว ไม่เป็นคณะสาธยาย หรือ "คณะสัชฌายสังคีติ" อย่างไทย

และสังคายนาครั้งที่ ๔ นี้ พระมหาอริฎฐะ กล่าวสวดเป็นแบบมุขปาฐะ ทั้งบาลีและอัฎฐกถา จบในระยะกาล ๙ เดือน (บางแห่งว่า ไปจบ ๙ เดือน) เมื่อจบแล้ว องค์อื่นๆ ที่จำได้ก็คงสวดสาธยายสืบๆ กันต่ออีก (ในคัมภีร์ญาโณทยปกรณ์ ท่านกล่าวว่า "อนิยมิตฺตกาล" คือ ไม่กำหนดกาลจบ)

พระมหาอริฎฐะ กล่าวสวด และแม้องค์อื่นกล่าวสวดต่อ คงกล่าว "มุขปาฐะ" พระไตรปิฎกตลอดถึงอัฎฐกถา ซึ่งชาวลังกาคงฟังไม่รู้เรื่อง พระมหินทเถระเป็นต้น จึงแปล "มหาอัฎฐกถา" มูลภาสา คือ ภาษามคธเดิม เข้าสู่ภาษาลังกา ที่มีชื่อว่า "สีหลัฎฐกถา"


สร้างวัดศรีมหาธาตุ แดนลว้า

พระเจ้าโลกลว้า พระนางก้านตาเทวี ทั้งสองสู้สร้าง วัดศรีมหาธาตุ แดนลว้า คนไทยลว้าเมืองไทยร่วมกันสร้างให้พระอรหันต์องค์ พระโสณะ ฌานียะ ภูริยะ อุตตระ มูนียะ ปี ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ อันเป็นพุทธบูชาเทอญ โดยให้ มนขอมพิสณุ ขอมเฉย ขอมเมือง ขอมสอนคนพันกับหมื่นคน มนขอมพิสณุ สร้างองค์พระพุทธปางมารแพ้, องค์พระพุทธนั่งเทศนาธรรม, และองค์พระพุทธนั่งสมาธิ (รวม ๓ องค์)



มนขอมพิสสณุ (เมตเตยยโพธิสัตว์) ทองสำริด เครื่องหมายถางป่าสร้างวัด ๑๒ วัด คือ ประภามณฑลใช้กิ่งมีใบไม้ หมวกใช้รูปเถาวัลย์ มีฐานเป็นรูปดอกบัวบาน หมายถึงจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต (พระศรีอาริยเมตไตรย ชาตินี้ท่านเกิดเป็นช่างสร้างวัด, สร้างพระพุทธรูป)

เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วในเดือน ๕ จึงสร้าง พระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า แล้วขึ้นชื่อว่า วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า ให้มนขอมพิสณุจารร่างพระพุทธรูป แล้วนิมนต์พระอรหันตสงฆ์ มีองค์ พระโสณะ ฌานียะ ภูริยะ อุตตระ มูนียะ ให้ผูกลูกนิมิตรขันธสีมา เสร็จแล้วนิมนต์ทั้ง ๕ องค์ ให้เข้าอยู่จำพรรษา ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์สุขสำราญ สบายใจดี สามัคคีเว้นชั่ว สงบชอบโดยดี พุทธศาสนาเผยแพร่ทั่วแดนสุวัณณภูมิ

พระโสณะ พระอุตตระ เป็นต้น สอนธัมมะ เรียนทั่วราชวงศ์ลวะ และผู้มุ่งธรรม ใจมีความปรารถนาโลกุตตรภูมิ ท่านสอนให้บรรลุเห็นแจ้งตลอด โลกลว้าให้ขุนเสมียนจารไว้ พุทธกาล ๒๓๘


แผ่นประกาศถวาย วัดพระศรีมหาธาตุ แดนละว้า ยาว ๒๗ นิ้ว กว้าง ๑๑ นิ้ว ซึ่งพระเจ้าโลกลว้า เขียนระบุชื่อพระอรหันต์ ๕ องค์ คือ โสณ ฌานีย อุตตร มูนีย ปี พ.ศ.๒๓๘ อาจเป็นแบบพระราชทานวิสุงคามสีมาในกาลต่อมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบพระราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมาฉบับแรก


๑. โ ล ก ก น ล ว้า ก้าน ตา เทวี ทั้ง สอง สู้ส้าง วัดพระศรีมหาธาตุแดนละว้า
๒. คน (ไทย) ละว้า เมืองไทย ให้อรหัน (ตฺ) อง (ค) โสณ
(โสณชัดเจน)
๓. ฌานีย ภูริย อุตตร มูนีย ปี ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ (ซ้อนกัน)
๔. อั น เ ป น พุ ท ธ บู ช า แ ล (หรือ เทอญ)


ออกกฎหมาย

พระเจ้าโลกลว้า ราชาสุวัณณภูมิ ออกประกาศกฎหมายลวะ เมืองทอง แม้ทวยไทยลาวผู้ผิดในสงฆ์, อุโบสถ, อาราม, วิหาร, พระพุทธรูป, เจดีย์, วัตถุอันถาวร

ผู้ผิดทุจริตร้ายกาจในตัวคน สัตว์ ช้าง ม้า ควาย งัว สวน ไร่นา เรือน บ้าน ถิ่นฐาน เรือ แพ สวนไม้ เผือก มันถั่ว งา ข้าว ท่านให้ลูกขุนพิสูจน์ความจริงชี้พยานหลักฐานแล้ว ท่านให้ใช้ค่าปรับแล้ว แม้มันใช้ ท่านให้คาดโทษไว้แล้ว แม้มันขืนทำซ้ำ ท่านให้เฆี่ยน สักหน้า ว่ามันประทุษร้ายของคนอื่น

มันผู้ไม่เข็ดคร้ามความผิดนั้น เมื่อมันขืนกลับก่อความร้าย ท่านให้ขึงลนไฟ พอง จนเจ็บปวดแล้ว มัดตนตากแดด ลมฝน ทรมานให้สมกับโทษแล้วปล่อยให้มันเป็นอิสระ ผู้ร่วมกระทำผิด หรือผู้บอกวิธีทางให้ช่วยขวนขวายไปประทุษร้ายผู้มีธัมมะ โดยไม่เกรงกลัวความผิด ท่านให้มัดมันฐานสมรู้ร่วมคิด

ส่วนผู้ประทุษร้ายสงฆ์องค์อรหันต์ หัวหน้าหมู่ภิกษุในอุโบสถอาราม ให้เป็นข้าในภิกษุ แม้สามเณรเป็นศิษย์เป็นคนงานทุกอย่าง มิให้ขัดขืน แม้มันขัดขืนภิกษุสามเณร โทษมันตายแท้ ขุนเสมียนใหญ่จาร พุทธกาล ๒๓๘

พระเจ้าโลกลว้า พร้อม "ตวัน" "ก้านตา" นำผ้ากฐินทอดหน้าสงฆ์ในอุโบสถ วัดศรีมหาธาตุ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีพุทธกาล ๒๓๘ พระโสณะ ให้ พระฌานียะ ครองผ้าและว่าปีหน้า พระภูริยะ พระอุตตระ พระมูนียะ ครองผ้าตามลำดับพรรษากัน

ตวันอธิราชหมั้นกับสิรินทิรา

ต่อมาขุนโลกลว้าไปเมืองเถือมทอง (นครปฐม) ตวัน ไปเที่ยวต้องตัว สิรินทิรา เมื่อตอนเล่นเพลง จึงขอสิรินทิราให้ตวันเมื่อเดือน ๑๒ ขึ้น ๑ ค่ำ วันอู่ศุกร์ ปี ๒๓๙ หมั้นกัน ๒ ปี

พระชาวไทยไปเรียนพระไตรปิฎกที่อินเดีย เมื่อปี ๒๓๙

พระเจ้าโลกลว้า สุวัณณภูมิ ผู้เป็นเพื่อนของพระเจ้าอโศกส่ง พระทองดี ญาณจรโณ (พระญาณจรณะ) ไปสู่อินทรรัฐ (อินเดีย) ให้ขุนเสมียนเขียนหนังสือฝากเพื่อนผู้เป็นพุทธสาวก เดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พุทธกาล ๒๓๙ เพื่อเรียนพระไตรปิฎกกับ พระโมคคัลลีปุตตติสสะ พร้อมภิกษุรวม ๑๐ องค์ คือ

ภิกษุอ้อม, ภิกษุถม, ภิกษุเติมอุ่น, ภิกษุเคลื่อน, ภิกษุอิน, ภิกษุขุย, ภิกษุแถน, ภิกษุโทน, ภิกษุกระต่าย และมีผู้เป็นศิษย์ทั้ง สามเณรทองวน สามเณรผิว พร้อมคนอื่นและคนงานเป็น ๑๐ คน ทั้งต้นเรือเป็นเพื่อนเดินทางไปในเรือด้วยกัน พร้อมทั้ง พราหมณ์อิสสระ ผู้ที่พระเจ้าโลกลว้าฝากไปให้พบกับพระสหายอโศก ขุนเสมียนเขียนคำใน พุทธกาล ๒๔๐


(โปรดติดตามตอนต่อไป ประวัติพระชาวไทย ๑๐ รูป ในสุวัณณภูมิ )


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/6/17 at 05:21 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 15 ]

Update 3 กรกฎาคม 2560


ประวัติพระภิกษุชาวไทย สมัยสุวัณณภูมิ



พระญาณจรณะ รูปเศียรโล้นแบบพระสงฆ์ นาคปก ๕ เศียร หมายถึง เขางู (เดิมเขางู มี ๕ ยอด เวลานี้ถูกระเบิดไป ๒ ยอด) ด้านหลังมีอีก ๙ องค์ เป็น ๑๐ คือพระเถรรุ่นแรกที่ไปศึกษา ณ ชมพูทวีป พระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า จึงทำไว้ข้างหน้า อีก ๙ องค์เป็น "อนุจร" หรือ บวชทีหลัง จึงทำไว้ข้างหลัง และแบบตามหัวหน้า

ประวัติภิกษุทองดี ญาณจรโณ
.....คนพ่อชื่อ ขุนลือเลอลว้า คนแม่ชื่อ นางอินสีทอง เมื่อแม่มีตน เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ปีมะโรง พุทธกาล ๒๑๕ ขอมเฉย กล่าวว่า ตนผู้นี้ผิดคน หัวใหญ่ผิดคน มือใหญ่ยาวถึงเข่า ควรเป็นพระขอมผู้พุทธสาวกชั้นยอด

ญาณจรณะ เมื่ออุปสมบท วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปี ๒๓๖ พระโสณะ เป็นพระอุปัชณายะ พระอุตตระ สวดญัตติจตุตถกัมวาจา ชุดแรกมี ๑๐ คน ตัวเป็นคนที่หนึ่ง พระฌานียะ สอนอนุสาสน์ ๒ ปี เรียนจบ ๓ ปิฎก

ญาณจรณะ อุปัชฌายะ ให้อุปสมบทคนจำนวน ๑,๐๐๐ คน ๓๕ วัน ให้บวชสามเณร ๑๕๕ องค์ ๑ เดือน บวชหญิงเป็น "ชี" อุบาสิกา ๑๐๐ คน ภิกษุณีไม่ได้มี จึงถือสีลสิกขาบท ๘ อย่าง พระโสณะบอกว่าง่ายดี ไม่ต้องถือ "ภิกขุนีปาติโมกข์" มิต้องปาราชิก แพ้ตลอดชีพ

๑. ประวัติภิกษุอ้อม สรโณ
.....พ่อชื่อ ขุนอินทมนตรี แม่ชื่อ อร่ามศรีขุนหญิง เป็นลูกคนที่ ๔ ชื่อ อ้อมอร่าม เป็นเพื่อนเกลอกับ ขุนทองดี (พระญาณจรณะ) ออกบวชพร้อมกัน พระโสณะ อุปัชฌาย์ให้มีชื่อคำมคธว่า สรโณ เดิมอยู่บ้านอู่เรือ เคยคุมเรือใบค้าถึงถิ่นชาวกะ ไนขัลลอ คนเงาะ คนชาวป่า คนผีกินคน มีผู้หญิงชายไม่นุ่งผ้าไม่ห่มผ้า อยู่คบไม้ ในโพรงดิน ในถ้ำ พบในปี ๒๓๒ แล้วบวช เมื่อปี ๒๓๖

๒. ประวัติภิกษุถม สุวัณณาภรโณ
.....เดิมชื่อ ทองถม ลูกพ่อ ถิ่นทอง แม่ แสงทอง บ้านคุ้งพยอม เป็นเพื่อนกับ ขุนทองดี ผู้ชวนให้อยู่เรียนหนังสือกับขอมครูที่เมืองดอนโตนด แล้วให้เป็นหัวศึกประจำอยู่ในกองศึกสุวัณณภูมิ (คนขวา) คู่กับน้อง ทองแถม คนซ้าย

ทองถม เพื่อนญาณจรณะ (ทองดี) เห็นเพื่อนเฝ้าท่องหนังสือเห็นว่าดี จึงเข้าหา พระเจ้าโลกลว้า วอนขออนุญาตอุปสมบท เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงเข้าอุปสมบทกับพระโสณะ ให้ชื่อคำมคธว่า สุวัณณาภรโณ เข้าบวชพร้อมกับเพื่อนเป็นชุดแรก

๓. ประวัตภิกษุเติมอุ่น ฐิตาภโย
.....พ่อชื่อ เจริญ แม่ชื่อนาง อุ่นใจ ตูเดิมชื่อ เติม ครั้งป่วยมากจึงเปลี่ยนเป็นชื่อ อุ่น แต่ไม่มีใครเรียกชื่อ "อุ่น" เรียกกันว่า "เติมอุ่น" ที่อยู่เดิมบ้านชาวถอ เพื่อนเกลอ ทองดี เมื่อเที่ยวใต้ทั่วแล้วบอกกันจะไปเหนือ พอดีข่าวมาถึงว่า พระโสณะ พระอุตตระ และ อตุลยะ อยู่ที่ ช้างค่อม (นครศรีธรรมราช)

ขุนโลกลว้า ชวน ขุนตวัน ก้านตา และ ทองดี ไปเรือกับ ขุนอินทมนตรี (น้องชายขุนโลกลว้า) จำนวนเรือ ๑๐๐ ลำ ออกเดินทางเมื่อวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย เวลา ๒ วันถึง รอรับคณะพระโสณะพร้อมออกเดินทางกลับมาถึงสุวัณณภูมิ แล้วทองดีชวนบวชด้วยกัน อุปัชฌาย์ให้ชื่อว่า ฐิตาภโย

๔. ประวัติภิกษุเคลื่อน สรณคมโน

.....คนพ่อชื่อ พันโส แม่ชื่อ ครวน ตัวชื่อ เคลื่อน เคยมีสาวรัก เมื่อครองเรือนอยู่บ้านบางใหญ่ ไม่อยากอยู่กับเมีย ถม (ภิกษุถม) ชวนให้บวช และ เคลื่อน เคยไปหา พระโสณะ ครั้งแรกถึงเมืองช้างค่อม อันพระโสณะให้ สามเณรอิสิธชะ สอนธัมมะและวินัย พระโสณะให้ชื่อคำมคธว่า สรณคมโน

๕. ประวัติภิกษุอิน อินทปัญโญ
.....พ่อชื่อ อ่อน แม่ชื่อ พลวงทอง ตัวชื่อ อิน บ้านอยู่คลองช้างสี่หมื่น เป็นคนศึกคู่มือขวา ทองดี (พระญาณจรณะ) และได้ชวนบวชตอนอายุ ๒๒ เมื่อเข้ามาหา พระะโสณะ พระเถระแนะนำผู้ขอบวชให้หัดว่าคำบาลี พระภูริยะ พระอุตตระ พระมูนียะ เป็นผู้ฝึกสอน พระฌานียะ เป็นผู้สอบทานคำ พระโสณะเถระ ให้คำชื่อมคธว่า อินทปัญโญ บวชพร้อมเพื่อนๆ ครั้งแรก


๖. ประวัติภิกษุขุย อนาลโย
.....พ่อชื่อ สี แม่ชื่อ นางขม ตัวชื่อ ขุย เมื่ออยู่บางใหญ่เคยมาอยู่บ้านเมืองดอนโตนด เรียนหนังสือกับ ขอมเฉย เมื่อเดินทางไป ช้างค่อม หลังจากกลับมาแล้ว ขุนเมือง (พระเจ้าโลกลว้า) พร้อมทั้ง ทองดี (พระญาณจรณะ) เฝ้าอ้อนวอนให้บวชด้วยกัน พระโสณะตั้งชื่อมคธว่า อนาลโย

๗. ประวัติภิกษุแถน มารชโย
.....นะโม พุทธัสสะ..พ่อชื่อ โสภณ แม่ชื่อ ทองก้อน ตัวนั้นชื่อ แถน เป็นชาวกาหลง ชานเมือง ญาณจรณะ (ทองดี) อ้อนวอนให้บวช เมื่อออกบวชแล้วพระโสณะให้ชื่อมคธว่า มารชโย บวชในอุโบสถแพน้ำ

๘. ประวัติภิกษุโทน ทันตมโน
.....พ่อชื่อ ทวนทอง แม่ชื่อ ขุนหญิงฝนนำ พ่อตูได้เป็น ขุนตะวันออก เมื่อวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย ปีพุทธกาล ๒๑๕ เอาหญิงเป็นภรรยา ๒๕ คน ตั้งแต่สุวัณณภูมิไปตลอด ซาบาก ชาวกะ ไนขัลลอ โปลาตปาลา (ชื่อบ้านเมืองสมัยก่อน คำว่า "ชาวกะ" อาจจะเป็น "ชวา" หรือ "อินโดนีเซีย" ก็ได้)

โทนผู้ ญาณจรณะ เพื่อนเกลอชวนว่า ชายที่มีเมียมากเป็นบาป จึงขัดว่ามีความสนุกด้วยกันไม่เป็นบาปหรอก เพื่อนบอกว่าบาป เพราะทำให้ผู้หญิงร้องไห้ ตี ถีบ เตะ ต่อยหญิง เมื่อเห็นจริงตามนั้นจึงยอมบวช แล้วพระอุปัชฌาย์จึงให้ชื่อมคธว่า ทันตมโน

๙. ประวัติภิกษุกระต่าย
.....พ่อชื่อ คูณ แม่ชื่อ โพทอง ตัวชื่อ กระต่าย ที่อยู่แควอ้อม ข้างบ้านแถน แถน(ภิกษุแถนชวนบวช) ให้บวช มีอายุเข้า ๒๑ แม่ยินยอมแล้วจึงได้นำน้องชายคนที่ ๓ หาพระโสณะเพื่อถวายให้เป็นลูก กระต่าย เพื่อนทองดีเข้าบวชพร้อมจบพระไตรปิฎก พระอุปัชฌาย์ให้ไปอินทร (อินเดีย) พระโสณะเตือนว่าอย่าให้ขายหน้าพระโมคคัลลีบุตรติสสะ

๑๐. ประวัติสามเณรทองวน (ธัมมสุนันโท)
.....พ่อผู้เป็นต้น โลกลว้า แม่ชื่อ หวานชื่นใจ เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี แม่พาไปหา พระโสณะ พระอุตตระ ให้เข้าบวชเป็นสามเณรคนแรก ในวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปี ๒๓๖ พระอุตตระ เป็นผู้ให้ศีล และให้ท่องพระไตรปิฎก ได้ท่องจบ ๑ ปี กับ ๘ เดือน

๑๑. ประวัติสามเณรผิว (กัจจายโน)
.....เป็นลูก ขุนอิน แม่ ผ่องใส เกิดวันขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ ปีมะแม พุทธกาล ๒๒๖ พระอุตตระ ให้บรรพชาเป็นสามเณร วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีพุทธกาล ๒๓๖ อุปัชฌาย์ให้ชื่อว่า กัจจายโน ได้สามเณร อิสิธชะ นิตตยะ และ คุณะ เป็นเพื่อนสามเณร
พระอุตตระ สอนพระไตรปิฎก สอนมหาอรรถกถา และ มุทุหุตตพราหมณ์ สอน "ไอศวร" และสอน "อักษรพราหมิน" พระมหาเถระสอนวินัยแก่สามเณรฝึก ๓ ปี จึงให้ไปอินทร (อินเดีย) เพื่อเรียนธัมมวินัยต่อไป เที่ยวทั่วทั้ง กบิลพัสดุ์ และ สีหล (ลังกา) ๕ ปี จึงเดินทางกลับ


(โปรดติดตาม ประวัติผู้เป็นต้นกำเนิด "บัณฑิต (ทิด)" และ "พิธีกวนข้าวทิพย์" )


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 19/6/17 at 08:28 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 16 ]

Update 10 กรกฎาคม 2560


ประวัติผู้เป็นต้นกำเนิด "บัณฑิต (ทิด)"


ประวัติสามเณรทอง (ธัมมกาโม)
.....บ้านเกิด "คลองบางลว้าใหญ่" ไลใจ เป็นแม่ พ่อชื่อ ไทยไหมทอง เมืองเถือมทอง (นครปฐม) เกิดวันอา (อาทิตย์) ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีพุทธกาล ๒๒๑ บวชอายุ ๑๖ กับ สามเณรทองวน พระอุปัชฌาย์ให้ชื่อไว้ว่า ธัมมกาโม

พระอุตตระ สอน "ทีฆนิกาย" ตอนพรหมชาลสูตร, สามัญญผลสูตร ส่วน "พระวินัย" จำปาติโมกข์ได้ และ "พระอภิธรรม" จำถึงวิภังค์ พระอุปัชฌาย์ โสณะ บอกว่าดีกว่าจำไม่ได้ แล้วให้ไปอินทร (อินเดีย) กับ สามเณรอิสิธชะ และ สามเณรคุณะ เมื่อกลับไปบ้านแล้วถึงสึก (ท่านทำนายไว้ล่วงหน้า)

หลังจากกลับมาสึกแล้ว จึงได้รับตำแหน่ง "บัณฑิต" ซึ่งยังคงมีคำเรียกสั้นๆ มาถึงปัจจุบันนี้ว่า ทิด จึงเป็นคนแรกของคำนี้ ธัมมสุนันโท ว่า ตวันอธิราช ให้จดเรื่องนี้เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปี ๒๗๘ บัณฑิตทอง อ้างตัวเป็น "บัณฑิต" ต้องเป็นผู้เขียนจึงเขียนประวัติไว้ว่า

บัณฑิตทอง ได้ตั้งเป็น บัณฑิต ในปี ๒๕๖ มีเมียชื่อ มาลาทิพพา พระเจ้าตวันอธิราชปลูกเรือนให้ข้างวัดมหาธาตุ พระมหาเถระทั้ง ๕ องค์ ไปสาธยายพระพุทธมนต์และฉันภัตตาหารเช้า พร้อมกับพระญาณจรณะและองค์อื่นๆ เมื่อปี ๒๖๐

ปาตลีบุตร มคธ

ญาณจรณะ เมื่อมาอยู่ถิ่นมคธ อิสสระพราหมณ์ เป็นผู้พาเข้าไปเฝ้า พระเจ้าอโศกมหาราช ณ กรุงปาตลีบุตร วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๖ พุทธกาลเดือนเต็ม ๒๓๙ แล้วถวายพระราชสาส์นของ พระเจ้าโลกลว้า เมื่อพระองค์ตรัสถามถึง พระโสณะ ที่เมืองทอง อิสสระพราหมณ์ จึงกราบทูลว่าสุขสมบูรณ์ดี

แล้วทรงรับสั่งให้ อตุลยะ และ อาตุลยา กลับไปสุวัณณภูมิ ช่วยกันประคับประคองเพื่อนและ พระโสณะ ฌานียะ ภูริยะ อุตตระ มูนียะ และผู้คน คุ้มพระพุทธศาสนาแผ่ให้ทั่วในเมืองทอง ทั้งหญิงและชายในเมืองทอง เป็นคนมีความคิดดี มีศีล ใจชอบธัมมะ เมื่อชอบจักตั้งใจสืบพุทธศาสนาได้ และ มหาราชอโศก ตรัสสอน พระญาณจรณะ ผู้มาพร้อมภิกษุ ๑๐ รูปว่า...

"...ท่านมามคธ ปาตลีบุตร จงตั้งใจเรียนธัมมวินัย พุทธพจน์ เพื่อสืบพระศาสนา อีกทั้ง พระปุณณะ เคยนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมพระอรหันต์ไปถึงเมืองทอง พระพุทธองค์ทรงเอื้อคนไทยเคยคุ้นกับคนไทย ๒๖๕ ปี มาแล้ว

พระเจ้าทับไทยทอง เคยมามคธ (ราชคฤห์) ทรงพบ พระเจ้าพิมพิสาร และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวฬุวนาราม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เคยเอื้อคนไทยมาแล้ว อีกทั้ง พระโมคคัลลี เคยเล่าถึง "เมืองทอง" ว่าพระพุทธเจ้าเคยพยากรณ์ว่า

"...พระโสณะ...จะนำเอาพุทธศาสนามาตั้งมั่นอยู่ใน "สุวัณณภูมิ" หลายพันปี จนถึงหมดพุทธศาสนา..."

พระญาณจรณะอยู่ในอโศการาม พระเจ้าอโศกฝากให้ พระโมคคัลลี สอบวินัยปิฎก เรียนสอบสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ปีหนึ่งจำหมดแล้วสอน ๒ ปี พระเจ้าอโศกเอาอาหารมาถวายทุกวัน คนชาวมคธดีเป็นอันมาก มีคนมาถามข่าวอยู่เสมอ คนอันมีองค์ พระเจ้าอโศก พร้อมเมียชื่อ สีลญาณวตี เมียคนที่ได้มาถือศีลด้วยกันนี้เป็นคนที่ ๒๒๕ไม่มีลูกชายมีแต่ลูกหญิงชื่อ เทวราสินี

พระญาณจรณะ เมื่ออยู่ในอโศการามอันใหญ่โต มีพระอุโบสถ พระพุทธรูป ทั้งล้อธัมมจักรกวางหมอบ และตัวสีหะคู่ อันหมายถึงอโศกดีคู่ดุได้แก่สีหะคู่กวางและโค อโศการามกว้าง ๑๕๐ เส้น ยาว ๒๐๐ เส้น มีภิกษุ ๒ พัน อยู่ประจำ อยู่ทางทิศใต้เมืองปาตลีบุตร มีภิกษุชื่อ ติสสะเถระ เป็นหัวหน้าตลอดราชคฤห์ แทนตัว พระโมคคัลลี อันเข้าไปอยู่ในสวนหลวงของพระเจ้าอโศก ดังนี้


พระเจ้าอโศกมหาราชยืนยันคำพยากรณ์
"อนาคตพระพุทธศาสนาในประเทศไทย"

......เรื่องนี้ท่านผู้อ่านคงจะได้ทราบว่า คำว่า "ทิด" หรือ "บัณฑิต" นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ แทบจะไม่มีใครล่วงรู้เลย ถ้าไม่ได้การจารึกเอาไว้เป็นหลักฐาน ไหนเลยชาวไทยจะรู้คุณค่าแห่งประวัติการสืบต่อพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะทาง "ภาคกลาง" วัฒนธรรมประเพณีว่ามีที่มาตั้งแต่เมื่อไร ประการสำคัญ มีการยืนยันจาก "พระเจ้าอโศกมหาราช" ตรัสยืนยันคำพยากรณ์ "อนาคตพระพุทธศาสนาในประเทศไทย" ว่า

"....พระโสณะ...จะนำเอาพุทธศาสนามาตั้งมั่นอยู่ใน "สุวัณณภูมิ" หลายพันปี จนถึงหมดพุทธศาสนา"

.....ด้วยเหตุนี้ จึงขอนำประวัติ "เมืองปาตลีบุตร" มากล่าวไ้ว้โดยย่อ ดังนี้

ประวัติเมืองปาตลีบุตร

(อ้างอิง - th.wikipedia.org/wiki/ปัฏนา)


.......ปัฏนา (ชื่ออื่น : ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย "ปัฏนา" เป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดย พระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับการเตรียมทำสงครามกับ แคว้นวัชชี

หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ และมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือ พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา (ครั้งที่ 3) ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ

ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ


......ตามความใน ปาฏลิคามิยสูตร ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาและได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ข้ามฝั่งแม่น้ำเพื่อข้ามมายังหมู่บ้านนี้ ชาวบ้านจึงเรียกท่าที่พระองค์เสด็จขึ้นและประตูหมู่บ้านที่พระองค์เสด็จเข้าว่า โคตมติตถะ และ โคตมทวาร ตามลำดับ ซึ่งหลังจากพระองค์ได้ทอดพระเนตรที่ตั้งของหมู่บ้านห่างไกลแห่งนี้แล้ว ได้ทรงทำนายไว้ว่า

".....อานนทะ ดูก่อนอานนท์ มหาอำมาตย์ในแว่นแคว้นมคธชื่อ "สุนีธะ" และ "วัสสการะ" จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่งว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น
.....อานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งที่ประชุมของเหล่ามนุษย์ผู้เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย 3 อย่าง (เท่านั้น) จักมีแก่เมืองปาฏลิคาม (คือ) จากไฟ จากน้ำ และจากความแตกแห่งกันและกัน."
ดังนี้


(โปรดติดตาม "พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิไปลังกาทวีป" )


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 3/7/17 at 07:50 [ QUOTE ]


.

[ ตอนที่ 17 ]

Update 17 กรกฎาคม 2560


พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิไปลังกาทวีป

ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี


...ต่อมาพระญาณจรณะได้เดินทางสู่ ตัมพปัณณิ พระเจ้าอโศกส่งมาดูผลงานที่ พระมหินทะ, พระอิฏฏิยะ, พระอุตติยะ, พระสัมพละ, พระภัททสาละ พร้อม พระอริฏฐะ ทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ด้วยตั้งให้คงมั่นพุทธศาสนาในลังกา (คณะพระสมณทูต สายที่ ๘)

ตัวพร้อมคณะถึง ตัมพปัณณิ ปีพุทธกาล ๒๔๐ พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ เชิญพักในพระอุโบสถ ฟังธรรมเช้าเย็นกลางคืน โดยได้เข้าดูคณะแต่ง อรรถกถาวินัยปิฎก, สุตตันตปิฎก, อภิธัมมปิฎก อีกรวมปีหนึ่งจึงเดินทางกลับ


อธิบาย : ตัมพปัณณิ แปลว่า (เกาะ) คนฝ่ามือแดง เป็นชื่อหนึ่งของลังกาทวีป หรือ สิงหล, สิงหฬ คือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน พระสมณทูตสายที่ ๘ นั้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระราชโอรสของพระองค์ที่เป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยคณะอีก ๕ รูป คือ

๑. พระมหินทเถระ ๒. พระอัฏฏิยะ ๓. พระอุตติยะ ๔. พระภัทธสาละ ๕. พระสัมพละ พร้อมด้วย สุมนะสามเณร และ.ภัณฑกะอุบาสก ทั้ง ๗ ท่านนี้ล้วนเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ได้เดินทางจากเมืองปาตลีบุตรจนถึงลังกาทวีป แล้วได้เหาะลงภาคพื้นยอดเขาสูงของ มิสสกะบรรพต

ซึ่งเป็นยอดหินโล้นก้อนใหญ่สูงชัน ๙๐ องศา ไม่มีบันไดขึ้นลง ส่วนที่ตั้งจากพื้นราบนั้นสูงโดยประมาณ ๒๕ เมตร โดยเฉพาะ "พระมหินทเถระ" และหมู่คณะนั้นได้เสด็จขึ้นไปยืนปรากฏให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทอดพระเนตรเห็นอยู่ตรงนั้น นับเป็นสิ่งปาฏิหาริย์อย่างยิ่ง เพราะผู้ที่เหาะได้เท่านั้นจึงจะขึ้นไปถึงจุดนั้นได้ ณ จุดนั้นจึงเรียกกันว่า มหินทเล หรือ มหินดเล แปลว่า สถานที่ที่พบพระมหินทะ


มิสสกะบรรพต หรือ "มหินทเล"


พุทธประวัติของลังกากล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จไปลังกาทวีปถึง ๓ ครั้งด้วยกัน

.....๑. เมื่อคราวเสด็จไปเป็นครั้งแรก หลังตรัสรู้ได้ ๙ เดือน เสด็จโดยพระองค์เดียว เพื่อปราบพวกยักษ์ที่กำลังทะเลาะกัน โดยประทับยืนบนอากาศ ตรงกับสถานที่สร้าง พระเจดีย์มหิยังเกน่า (มหิยังคณะเจดีย์) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองมหิยังเกน่า เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้

และก่อนเสด็จกลับไปชมพูทวีป พระพุทธองค์ได้ทรงประทาน พระเกศาธาตุ ปอยหนึ่งแก่ สุมนเทพบุตร ผู้สถิตอยู่บน ยอดเขาสุมนกูฏ (ศิริปาทะ) ได้บรรจุไว้ ณ พระเจดีย์มหิยังเกน่า มาจนถึงวันนี้

.....๒. เสด็จพระองค์เดียวเหมือนกัน ไปยังเกาะที่อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ชื่อ เกาะนาคะทีปะ เพื่อต้องการทรมานพญานาคผู้เป็นลุงและหลาน

.....๓. เสด็จมาพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปาราม, ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์, ที่่ตั้งมุติงคณเจดีย์, ที่ตั้งฑีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้ง กัลยาณีเจดีย์ ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทรงแสดงธรรม

ปัจจุบันได้สร้างเจดีย์ครอบบัลลังก์นั้นไว้ชื่อ กัลยาณีเจดีย์ ณ วัดกัลยาณี เมืองโคลัมโบ จากนั้นจึงเสด็จไปที่ ยอดเขาสุมนกูฏ คือยอดเขา ศิริปาทะ ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนยอดเขาแห่งนั้น


ฉะนั้น ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงปรินิพพาน จึงได้ตรัสสั่งพระอินทร์ให้ตามอารักขา พระเจ้าวิชัย ซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ของ พระเจ้าสีหพาหุ และ พระนางสีหสีวลี ในชมพูทวีป ถูกพระราชบิดาลงโทษเนรเทศ ได้เดินทางจากชมพูทวีป และมาถึงเกาะนี้ในวันที่พุทธปรินิพพาน

ฝ่ายข้าราชบริพารซึ่งเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง เมื่อขึ้นฝั่งแล้วก็ลงนั่งพัก เอามือยันพื้นดิน เมื่อยกมือขึ้นมา มือก็เปื้อนแดงด้วยดินที่นั่น ซึ่งมีสีแดงกลายเป็นคนมือแดง (ตมฺพ [แดง] + ปณฺณิ [มีฝ่ามือ] = ตมฺพปณฺณิ [มีฝ่ามือแดง]) ก็จึงเรียกถิ่นนั้นว่า ตัมพปัณณิ

แล้ว ณ ถิ่นนั้น เจ้าชายวิชัยได้รับความช่วยเหลือจากยักษิณีที่รักพระองค์ รบชนะพวกยักษ์แห่งเมืองลังกาปุระ จึงได้ตั้งเมืองตัมพปัณณินครขึ้น เป็นปฐมกษัตริย์ต้นวงศ์ของชาวสีหล หรือสิงหฬ จากนั้น ชื่อ ตัมพปัณณิ ก็ขยายออกไปกลายเป็นชื่อของทั้งเกาะหรือทั้งประเทศ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเกาะลังกาของชาวสิงหล โดยการนำของ พระมหินทเถระ ในครั้งนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศมหาเมฆวันทอุทยานเป็นวัด เรียกว่า “วัดมหาวิหาร” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท

พระมหินทเถระได้นำเอา พระไตรปิฎก และ อรรถกถา ไปสู่ลังกาด้วย การเดินทางไปสู่ลังกาของพระมหินทเถระในครั้งนั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวลังกา เพราะท่านมิเพียงแต่นำเอาพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ท่านยังได้นำเอาอารยธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมเข้าไปด้วย

ต่อมา พระนางอนุฬาเทวี มเหสีและสตรีบริวารจำนวนมาก ปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช ทูลขอพระราชธิดาของพระองค์ ซึ่งได้ออกผนวชจนเป็นพระอรหันต์แล้ว คือ พระสังฆมิตตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ด้านทักษิณา (ใต้) สู่ลังกาทวีป และพระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นอุปัชญาย์บรรพชาอุปสมบทแก่สตรีชาวลังกา ได้ตั้งคณะภิกษุณีขึ้นในลังกาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


......ข้อสังเกต การที่ พระโสณะเถระ มาสู่สุวัณณภูมิ ท่านมิได้นำนางภิกษุณีมาภายหลัง เหมือนกับพระมหินทเถระไปสู่ลังกา เพื่อบวชให้แก่กุลสตรีชาวศรีลังกานั้น ท่านคงจะมีเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งกระมัง จึงได้มีการ บวชชี ให้แก่หญิงไทย แทนการบวชเป็นนางภิกษุณีเหมือนกับที่ลังกา

ดังจะเห็นได้ว่า สถานภาพของ "แม่ชี" ที่เริ่มมีกันมาตั้งแต่สมัยพระโสณะเถระ (พ.ศ.๒๓๖ เป็นต้นมา) ปัจจุบันก็ยังอยู่คู่กับเมืองไทยตลอดไป โดยชาวไทยยอมรับนับถือหญิงไทยว่า ถ้าโกนหัวห่มผ้าสีขาว แสดงว่าผู้นั้นออกบวชด้วยการถือศีล ๘ และประพฤติพรหมจรรย์ คือไม่ครองเรือน

อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการล่วงละเมิดศีล หรือทำลายพรหมจรรย์ของตนให้เสียหายแต่อย่างใด แม่ชีมีการประพฤติปฏิบัติอยู่กับวัด โดยมีการแบ่งเขตสถานที่พักแยกออกไป เพื่อไม่ปะปนกับพระสงฆ์แต่อย่างใด จนกระทั่งสามารถปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูง เมื่อตายไปแล้วปรากฏว่ากระดูกเป็นพระธาตุเช่น คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ, คุณแม่ชีนารี การุณ หรือคุณแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เป็นต้น

แต่สมัยนี้นิยมบวชแบบไม่โกนหัวก็มี ทั้งหญิงและชาย ที่เรียกว่า "บวชชีพรหมณ์" โดยการปฏิบัติธรรมช่วงสั้นๆ ไม่ได้บวชแบบตลอดชีวิต สามารถบรรลุมรรคผลเช่นเดียวกัน ดังที่พระโสณะกล่าวไว้ว่า

"....เมื่อภิกษุณีไม่ได้มี จึงถือศีลสิกขาบท ๘ อย่างง่ายดี ไม่ต้องถือศีลของนางภิกษุณี มิต้องปาราชิกแพ้ตลอดชีพ..."

ด้วยเหตุนี้ หากผู้ใดที่ต้องการบวชเป๋็นนางภิกษุณีละก้อ ขออย่าได้คิดทำแบบนั้นเลย เพราะขัดต่อมติของพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่หยังรู้เหตุการณ์ภายภาคหน้าของพระพุทธศาสนาดีว่า ประเทศใดสมควรจะทำอย่างไร การที่ท่านนำพระพุทธศาสนาออกไปเผยแผ่ ๙ สาย พร้อมกับนำพระไตรปิฎกไปด้วย เพื่อให้เหมาะสมแก่คนในประเทศนั้นๆ ท่านได้ปรึกษาหารือกับคณะสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์อย่างถี่ถ้วนดีแล้ว


.....ฉะนั้น การนำพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีมาด้วย จึงยากต่อการเรียนรู้ของคนท้องถิ่น เพื่อความสะดวกในการสั่งสอน ต่อมาจึงได้มีการทำสังคายนา ครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ประชุมสงฆ์อรหันต์จำนวน ๖๘,๐๐๐ รูป กระทำ ณ ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๑๒ ปี พ.ศ. ๒๓๘

พระมหินทเถระ ทำหน้าที่ปุจฉา พระอริฏฐมหาเถระ (เป็นหลานของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ) เป็นผู้วิสัชนา ทำอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ ซึ่งเป็นแต่การกล่าวหรือสวดเช่นเดียวกัน แต่สวดองค์เดียว ไม่เป็นคณะสาธยายอย่างไทย (การสังคายนาครั้งนี้ หลวงพ่ออ่ำระบุว่าทำอยู่ ๙ เดือน)

และสังคายนาครั้งที่ ๔ นี้ พระมหาอริฎฐะ กล่าวสวดเป็นแบบมุขปาฐะ ทั้งบาลีและอัฎฐกถา เมื่อจบแล้ว องค์อื่นๆ ที่จำได้ก็คงสวดสาธยายสืบๆ กันต่ออีก ทั้งพระไตรปิฎกตลอดถึงอัฎฐกถา ซึ่งชาวลังกาคงฟังไม่รู้เรื่อง พระมหินทเถระเป็นต้น จึงแปล "มหาอัฎฐกถา" มูลภาสา คือ ภาษามคธเดิม เข้าสู่ภาษาลังกา ที่มีชื่อว่า "สีหลัฎฐกถา"

สีหลัฎฐกถา หรือ อัฎฐกถา, อรรถกถา ที่เป็นคำอธิบายของพระอรหันต์ แต่เป็นภาษาลังกา มีความสำคัญมาก ด้วยเหตุนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ จึงได้เดินทางไปแปลกลับมาเป็นภาษามคธเดิม คือภาษาบาลี เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๕๖ แล้วได้นำพระไตรปิฎกและอัฎฐกถามาถวาย พระเจ้าพังคราช และ พระเจ้าพรหมมหาราช ณ โยนกนครเชียงแสน โดยเฉพาะชาวไทยได้ใช้ศึกษาหาความรู้กันอยู่เวลานี้นี่แหละ




(โปรดติดตาม "พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิกลับไปพาราณสี" )


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 10/7/17 at 06:07 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 18 ]

Update 24 กรกฎาคม 2560


พระภิกษุชาวสุวัณณภูมิกลับไปพาราณสี

พาราณสี


...พระญาณจรณะมา พาราณสี พร้อมคณะปี ๒๔๑ เดือนยี่ ขึ้น ๑ ค่ำ พักที่ วิหารมูลคันธะ อันพระเจ้าอโศกสร้างไว้เป็นที่ระลึก เมื่อพระพุทธเจ้าได้แสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้ ปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ รู้แจ้ง

เมื่อพระเจ้าอโศกสร้าง มูลคันธะวิหาร กับสร้าง เสาหินคู่ มีหนังสือแจ้งไว้ให้อ่าน มีโคยืนคู่ สีหะคู่นอน กวางคู่หมอบ ตรงนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อ ปัญจวัคคีย์ มีชื่อว่า อิสิปตนมิคทายวัน ซึ่งเป็นที่พระเจ้าอโศกให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย ห้ามมิให้ใครฆ่าสัตว์เหล่านี้

พุทธคยา

พระญาณจรณะมา คยาสีสะ มาถึงต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้านั่งรู้ความจริง มีสถูป, วิหารใหญ่, ต้นโพธิ์ที่แท้จริง ๑๐ หรือ ๑๒ อ้อม พระโสณะสั่งให้ตอนมาปลูกในเมืองทอง จึงให้ ด้วง มาดูเห็นหน่อใกล้ต้น แต่ด้วงควรไปขอต่อ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ก่อน เมื่อต้นเดือน ๓ พุทธกาล ๒๔๑ หน่อต้นอ่อนขึ้นเห็นควรจึงเอามาเอง

พระไทยอุปสมบทเป็นองค์แรกในอินเดีย

สามเณรทอง ธัมมกาโม เมื่ออยู่ใน อินทร(อินเดีย) อโศการาม องค์พระเจ้าอโศกธัมมราชาเอาผ้าไตรจีวรมาให้ แล้วตรัสว่า

"ตะวัง ติจีวะรัง คัณหะ อุปะสัมปะทัง ละเภยะ ยาสิ พุทธะสาสะเน" แปลว่า

ท่านโปรดรับไตรจีวรนี้ พึงได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนาเถิด

ครั้นองค์พระราชาทรงอุปถัมภ์ปวารณา และให้เข้าขอบวชต่อ พระมหาติสสะเถระ เมื่อปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๔๑

พระมหาติสสะเถระ กล่าวว่าการอุปสมบทคนไทยในอินทร (อินเดีย) ไม่เคยมี บัดนี้จะมีการให้อุปสมบท จึงให้ พระญาณจรณะ สวดญัตติ เมื่อปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๔๑ เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำเวลาบ่าย ๕ อันโมง

เมื่อ ธัมมกาโม เป็นภิกษุแล้ว อุปัชฌาย์มหาติสสะกล่าวว่า
"ตะวัง อาจะริเยนะ สัทธิง สุวัณณะภูมิง..." เป็นต้นแปลความว่า
เจ้าจงไปสู่สุวัณณภูมิกับอาจารย์ ในกาล ๕ พรรษา เจ้าจักสึก โสณะได้ให้ชื่อว่า "กามะ" เพราะเหตุใด เจ้าจักสึกเพราะเหตุนั้น


คำอธิบาย ผู้เขียนขอย้อนกล่าวถึง พระทอง ธัมมกาโม หลังจากอุปฌาย์บวชให้แล้ว ภายหลังก็เดินทางกลับไปลาสึกตามคำทำนายไว้ทุกประการ จนเป็นต้นแบบ "บัณฑิต" หรือ "ทิด" จนถึงปัจจุบันนั้

ส่วน พระมหาติสสะ ผู้เป็นอุปัชฌาย์นี้ สมัยนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดอโศการาม ในเมืองปาตลีบุตร (เป็นแทน พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ซึ่งเข้าไปอยู่ในสำนักที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างถวายไว้ในพระราชวัง) ถ้าผู้อ่านจำได้ในตอนต้น "ตำนานพระธาตุศรีจอมทอง" เล่าโดย พระติสสะมหาเถระ ผู้เขียนไม่ทราบว่าเป็นองค์เดียวกันหรือไม่ ฝากไว้ให้พิจารณากันต่อไป

อนึ่ง ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ เล่าไว้ใน ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า มีความตอนหนึ่งว่า มีพระอาจารย์ใหญ่รูปหนึ่ง สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้มาสอนธรรมะหลวงพ่อด้วย ท่านบอกกับหลวงพ่อว่า ท่านนิพพานตอนมีอายุได้ ๙๒ ปีกับ ๔ เดือน

ผู้เขียนมีความเข้าใจคำว่า "อาจารย์ใหญ่" สมัยนั้นก็มีแต่ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ เท่านั้น ท่านเป็นประธานในการทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ และเป็นประธานในการส่ง พระสมณทูต ๙ สาย เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ ผู้เขียนนับถือท่านในฐานะที่เป็นผู้มีพระคุณอย่างสูงสุด สำหรับพระพุทธศาสนาที่ยังตั้งมั่นอยู่ในสุวัณณภูมิจนถึงปัจจุบันนี้




เสาอโศก, วิหารมายาเทวี และซากอิฐเก่าๆ ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล



“ลุมพินีวัน” สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
(ขอบคุณภาพจาก dhammajak.net)



เสาอโศก และวิหารมายาเทวี ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล
ด้านหน้ารั้วเหล็กที่ล้อมเสาอโศกมีแผ่นทองเหลืองที่ถอดคำจารึกฯ ติดไว้



แผ่นทองเหลืองที่ถอดคำจารึกด้วย อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) มีใจความว่า
“พระเจ้าอโศกเสด็จมาประกอบพิธีบูชาที่นี่ เพราะพระพุทธเจ้าประสูติที่นี่”

ลุมพินี


๑. ญาณจรโณ พร้อม ด้วย คณ (ญาณจรณ จารไว้ยุ่งๆ)
๒. เดินถอ ลุมพินี อโสก (ลุมพินีเห็นชัด อโสกก็เห็นเส้นชัด)
๓. อธิราช สั่งวีตโสก
๔. นำ มี สห ภิกขุ คน ๑๒๒
๕. ลุมพินี ที่ คน รู้ ว่า พุทธบังเกิด
๖. มหามายา เทวี พัก พึ่ง สวน รัง
๗. นางออกลูก ตรงนี้ ลุมพินี


.....พระญาณจรณะพร้อมด้วยคณะเดินถึง ลุมพินี พระเจ้าอโศกอธิราชสั่ง วีตโศก (เป็นน้องชายของพระเจ้าอโศก) เดินนำมีสหภิกษุคน ๑๒๒ ลุมพินีนี้ที่คนรู้ว่า เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงบังเกิด พระมหามายาเทวี ทรงพักพึ่งสวนรังนางออกลูกตรงนี้ ลุมพินีพระเจ้าอโศกสร้างหินเป็นหลักศิลาต้นหนึ่ง มีล้อธัมมจักร โคคู่สีหะ มีหนังสือของพระเจ้าอโศกชื่อ "พราหมิน" เขียนว่า

"ในที่นี้ อโศกอภิสิตตะ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๓๘ มาถึงลุมพินี ที่อันพุทธเกิด พาฝูงคนพ้นทุกข์" พระญาณจรณะมา ปี ๒๔๒ เดือน ๖

ลายสือพราหมิน กลม และ เหลี่ยม (หลวงพ่ออ่ำอธิบาย)

.....สิลาเลขา หินเขียน และ เสาหิน ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงให้สร้าง พ.ศ.๒๓๘ แม้พระญาณจรณ(ทองดี) และคณะได้ไปเห็น มีจารึกตัวพราหมิน กลม และเหลี่ยม จึงนำมาเป็นตัวอย่าง และได้นำรูปเสาหินซึ่งมีตัวจารึกพิมพ์ มาด้วย


๑. เทวานะ ปิเยนะ ปิยะทะสินะ ลาชินะ วีสะติวะ สาภิสิเตนะ
๒. อะตะนะ อาคาจะ มะหียิเตนะ หิทะ พุเธ ชาเต สักยะมุนีติ
๓. สิลา วิคะฑะภีจา กาลาปิตะ ลีลาถังเภจะ อุสะปาปิเต
๔. หิทะภะคะวัง ชาเตติ ลุมินิคาเม อุพะลิเกกะเฏ
๕. อะถะ ภาคิเยจะ

๑. พระราชาปิยทัสสี ทรงเป็นที่รักของเทพยดา อภิเศกแล้วยี่สิบปี
๒. ด้วยพระองค์ได้เสด็จมา ด้วยมหาพยุหยาตรา ณ ที่นี้ พระพุทธเกิดแล้ว ทรงพระนามว่าสักยมุนี
๓. ให้กระทำศิลาจารึก และให้ยกเสาสิลาด้วย
๔. ในเพราะที่นี้ พระผู้มีพระภาคเกิดแล้ว คือ ลุมมินิคาม ให้ยกเลิกเก็บภาษี
๕. ซึ่งได้เก็บอยู่ หนึ่งใน ๘ ของผลได้


จากนั้นคณะพระภิกษุชาวสุวัณณภูมิก็เข้าไปเยี่ยมพวกศากยะ ผู้เป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้าที่ กรุงกบิลพัสต์ หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว จึงสนทนากับผู้สูงอายุเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนได้ฟังขุนอินพูดกันว่า เมื่อพันห้าร้อยปีที่ผ่านมา "อิน" ตั้งชื่อ "อินทรสากยะ"

อธิบาย : ขอย้อนกล่าวสมัย ขุนอินสากอไทย และสูหานไทย สองพี่น้องจากเมืองแมน คือสุวัณณภูมิ เข้ายึดครองเมืองที่หิมวันต์ เมื่อปีโล ๘๖๒ ตั้งชื่อว่า อินทสากราชา จึงมาเป็นต้นตระกูลของกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระญาติกันมาตั้งแต่สมัยนั้น

ดังจะเห็นคำว่า อินทรรัฐ หรือ อินเดีย มีคำว่า "อิน" นำหน้า ซึ่งตรงกับบรรพบุรุษไทยชื่อว่า ขุนอินเขาเขียว ครองเมืองแมน และคำว่า "สากอ" อาจจะกลายเป็น "สากยะ" ก็เป็นได้ นับว่าเป็นเรื่องแปลกมาก

ถ้าเป็นจริงแสดงว่าคนไทยได้อพยพไปนานแล้ว โดยเฉพาะชาวกรุงกบิสพัสดุ์ยังพูดคำไทยกับคณะของพระญาณจรณะ คนแก่คนเฒ่าที่นั่นจึงพูดถึง "ขุนอินสากยะ" หรือ "ขุนอินสากอไทย" ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ต่อจากนั้นท่านก็ไปที่กุสินารา เมื่อญาณจรณะ (ดี) ศิษย์พระโสณะ ถูกส่งไปอินทร (รัฐ) ปาตลีบุตร มคธรัฐ พระเจ้าอโศกมหาราชฝากพระโมคคัลลีบุตร เรียนพระไตรปิฎกจบ พร้อมปุจฉาแปลความครบ ๓ ปี

แล้วเที่ยวไปสู่ "สังเวชนียสถาน" คือที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และ ปรินิพพาน อันพระเจ้าอโศกส่งไปตลอดอินทรรัฐ (อินเดีย) อีก ๒ ปีแล้วมา ตัมพปัณณิ (ลังกา) อีกปีหนึ่ง จึงกลับมาสุวัณณภูมิ
(พ.ศ. ๒๓๙ - ๒๔๔)

(โปรดติดตาม "พระภิกษุชาวไทยเดินทางกลับสุวัณณภูมิ" )


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 17/7/17 at 05:57 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 19 ]

Update 31 กรกฎาคม 2560


พระภิกษุชาวไทยเดินทางกลับสุวัณณภูมิ


...พระเจ้าโลกลว้า เจ้าเมืองสุวัณณภูมิ ได้ทำการต้อนรับ พระดี ญาณจรณะ กับภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อขึ้นวัน ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปี ๒๔๔ โดยมี พระโสณะ พระฌานียะ พระภูริยะ พระอุตตระ พระมูนียะ พร้อมกับ ตวันทับฟ้า ราชโอรส เสด็จมาต้อนรับ

โดยการยกขบวนช้าง ม้า คน อย่างสมเกียรติ แห่จากอู่เรือเดินเข้าเมืองตอนค่ำ พระเจ้าโลกลว้า สุวัณณภูมิ เมื่อ พระดี ญาณจรณะ ส่งสารจากพระเจ้าอโศก ผู้เป็นเจ้าเมืองมคธ ฝากมาถวายมีใจความว่า

"...เมืองสุวัณณภูมิควรมีภิกษุมาก ภิกษุควรเล่าเรียนพระธัมมวินัย พระพุทธศาสนา ควรฝึก (ประพฤติ) ทุกคน..."

ตวันทับฟ้า ผู้พ่อตั้งให้ไปดูแลเมืองพลิบพรี (เพชรบุรี)

ขุนศรีเมือง กับ สิริงามตัว แม่นางศรีทองอ่อน เมียเญ่า ผู้ต้อนรับ พาขึ้นเรือนอยู่ ทำงานเรือน อาหาร ผ้านุ่งห่ม เมื่อพุทธกาล ๒๔๓ อยู่พลิบพรี สาวนางสิริงามตัว ผู้มีความเสน่หาเฝ้าเยี่ยมเยียนทุกเช้า พ่อแม่ก็มิห้าม สิรินทิรา เทพธิดา นางเมียหลวงว่า ตัวไม่มีลูกยอมให้ แต่งงานเดือน ๕ ปี ๒๔๔

อธิบาย ขุนศรีเมียง กับ แม่นางศรีทองอ่อน เดิมเป็นเจ้าเมืองพลิบพรี ยกลูกสาวชื่อ สิริงามตัว ให้ตวันทับฟ้า (่ตะวันอธิราช) ซึ่งมีเมียอยู่แล้วชื่อ สิรินทิรา นางเป็นเมียหลวงบอกว่าแต่งงานมายังไม่มีลูก จึงยอมให้ตวันทับฟ้ามี สิริงามตัว เป็นเมียน้อยอีกคน

พระเจ้าโลกลว้าสวรรคต

ต่อมากเบื้องจารจารึกไว้ว่า ตวันทับฟ้า สิรินทิรา สิริงามตัว เมื่ออยู่เมืองพลิบพรี เข้าปีพุทธกาล ๒๔๕ พ่อโลกลว้า ป่วยหนัก พ่อตาย วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน พุทธกาลเข้า ๒๔๕ ชุมไฟ (ประชุมเพลิง) วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีพุทธกาล ๒๔๖


สรุปเหตุการณ์สมัยพระเจ้าโลกลว้า (พ.ศ. ๒๒๐ - ๒๔๕)

.....พระเจ้าโลกลว้า และ พระนางก้านตาเทวี ครองสุวัณณภูมิ เมื่อศักราชปีโลที่ ๑๔๑๐ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๒๐) เป็นผู้ต้อนรับพระสมณทูตทั้ง ๕ รูป (พระโสณะ พระอุตตระ เป็นต้น) ที่ พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ และ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมาเผยแพร่ศาสนาหลังจากสังคายนา ครั้งที่ ๓ แล้ว (พ.ศ.๒๓๕)

พระโสณเถระเทศน์ "พรหมชาลสูตร" ด้วยภาษาไทย แสดงให้เห็นถึง "ปฏิสัมภิทาญาณ" คือการพูดได้หลายภาษา จากความเป็นอรหันต์ของท่าน (หลังจากนั้นท่านได้ไปเทศน์โปรดคนชวาด้วยภาษาของเขา จนเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งจะเสนอในตอนต่อๆ ไป) จนคนไทยเลื่อมใสกันมาก พากันออกบวชทั้งหญิงชายนับพันคน ต่อมาพระองค์ทรงโปรดให้สร้าง วัดศรีมหาธาตุ (บริเวณคูบัว) ไว้เป็นที่จำพรรษา พระโสณเถระจึงได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์อีกด้วย


....เรื่องนี้ถ้าเข้าไปอ่านในพระไตรปิฎกแล้ว เหมือนกับเป็นคนละเรื่องกันเลย แต่ก็ขอนำมาเป็นหลักฐานไว้จาก www.84000.org และผู้พิมพ์ลงเว็บได้เพิ่มคำอธิบายไว้ด้วย นับว่าเป็นเรื่องแปลกดีที่ใส่ความเห็นของตนเองไว้ด้วย โดยวิเคราะห์ว่า "แคว้นสุวัณณภูมิ" เป็นแค่เพียงเกาะหนึ่งเท่านั้น

พระโสณกะกับพระอุตตระไปประกาศพระศาสนาที่สุวรรณภูมิ
(วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๑๓-๑๖)

ฝ่ายพระโสณกเถระกับพระอุตตรเถระได้ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ. ก็โดยสมัยนั้นที่แคว้นสุวรรณภูมินั้น มีนางรากษส ๑ ตนหนึ่งขึ้นมาจากสมุทร เคี้ยวกินพวกทารกที่เกิดในราชตระกูล

ในวันนั้นเอง มีเด็กคนหนึ่ง เกิดในราชตระกูล. มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระเถระแล้ว สำคัญอยู่ว่า ผู้นี้จักเป็นสหายของพวกรากษส จึงพากันถือเอาอาวุธไปประสงค์จะประหารพระเถระ.

พระเถระพูดว่า พวกท่านถืออาวุธมาทำไมกัน ?
มนุษย์เหล่านั้นพูดว่า พวกรากษสย่อมเคี้ยวกินพวกเด็กที่เกิดแล้วๆ ในราชตระกูลพวกท่านเป็นสหายของรากษสเหล่านั้น.

พระเถระพูดว่า พวกข้าพเจ้าหาได้เป็นสหายของรากษสไม่ พวกข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นสมณะ งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ จากความประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ฉันหนเดียว มีศีล ประพฤติพรหมจรรย์มีกัลยาณธรรม.

พระเถระทรมานพวกรากษสให้หนีไปแล้วป้องกันเกาะไว้ ก็ในขณะนั้นเอง นางรากษสตนหนึ่งพร้อมด้วยบริวาร ขึ้นมาจากสมุทรด้วยคิดว่า เด็กเกิดในราชตระกูลพวกเราจักเคี้ยวกินเด็กนั้น. พวกมนุษย์เห็นนางรากษสตนนั้นแล้ว ก็กลัวร้องเสียงดังว่า นางรากษสนี้กำลังมา เจ้าข้า !

พระเถระนิรมิตอัตภาพมากหลายกว่าพวกรากษสเป็นสองเท่า ปิดล้อมข้างทั้งสองด้วยอัตภาพเหล่านั้น กั้นนางรากษสนั้น พร้อมทั้งบริวารไว้ตรงกลาง.

นางรากษสตนนั้นพร้อมทั้งบริษัท ได้คิดดังนี้ว่า สถานที่นี้จักเป็นของอันรากษสเหล่านี้ได้แล้วแน่นอน ส่วนพวกเราก็จักเป็นภักษาของรากษสเหล่านี้. พวกราษสทั้งหมดได้รีบหนีไปแล้ว.

ฝ่ายพระเถระขับไล่รากษสเหล่านั้นให้หนีไปแล้ว จนมองไม่เห็น จึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ.

อนึ่ง ท่านให้หมู่มหาชน ซึ่งประชุมพร้อมกันอยู่ในสมัยนั้นเลื่อมใส ด้วย "พรหมชาลสุตตันตกถา" ทั้งให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์และศีลแล้ว.

ก็ในสันนิบาตนี้ ประชาชนประมาณหกหมื่นได้บรรลุธรรมแล้ว. พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย บวชแล้ว. กุลธิดาประมาณหนึ่งพันห้าร้อยนาง ก็บวชแล้ว.

พระเถระนั้นได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นสุวรรณภูมินั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. จำเดิมแต่นั้นมา ชนชาวสุวรรณภูมิก็ได้ตั้งชื่อพวกเด็กที่เกิดในราชตระกูลว่า โสณุตตระ (โสณุดร) สืบมา.

พระโสณะและพระอุตตระ ผู้มีฤทธิ์มาก
ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ แล้วขับไล่ปีศาจทั้งหลาย
ให้หนีไป ได้แสดงพรหมชาลสูตร แล้วแล.


ผู้พิมพ์ลงในเว็บอธิบายคำว่า "เกาะ" ดังนี้

.....นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่า ประเทศไทยของเรานี้อยู่ ในแหลมทอง คือ แคว้นสุวรรณภูมิ ได้รับพระพุทธศาสนาในคราวที่พระโสณกเถระและพระอุตตรเถระถูกส่งให้มาประกาศพระศาสนาในภาคนี้

......แต่ถ้าจะสันนิษฐานอีกแง่หนึ่งแล้ว ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะใจความในเรื่องนี้บ่งชัดอยู่แล้วว่า สถานที่ท่านทั้งสองไปประกาศนั้นเป็น "เกาะ" ไม่ใช่เป็นแผ่นดิน เชื่อมติดต่อกัน และท่านก็ได้ทำการป้องกันเกาะไว้โดยรอบ มิให้พวกผีเสื้อน้ำมารบกวนประชาชนได้

.....อนึ่ง ถ้าแหลมทองนี้รวมทั้งประเทศพม่า ญวน ลาว เขมร และไทย อย่างที่พวกนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์เข้าใจแล้วก็ยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ท่านจะป้องกันได้อย่างไรขอได้โปรดพิจารณาดูเถิด.


.....เป็นอันว่า ตามหลักฐานที่เป็นต้นตำรับกลับไม่แน่ชัดว่า "สุวัณณภูมิ" อยู่ที่ไหนกันแน่ จนกระทั่งบัดนี้ คนไทยส่วนใหญ่ก็หาลงตัวไม่ เพราะมีเรื่องของรากษส (ปีศาจ) เข้ามาเกี่ยวเนื่อง ความเชื่อความศรัทธาจึงมีน้อย

แม้หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำ (อดีตพระราชกวี) จะนำเรื่องราวเหล่านี้มาเสนอ แต่ก็ถูกคัดค้านโจมตีอย่างหนัก แล้วลูกหลานไทยจะเชื่อถืออะไรกันแน่ ไอ้โน่นก็ไม่ใช่..ไอ้นี่ก็ไม่จริง แต่ในเมื่อผู้เขียนได้ยินหลวงพ่อ "พระราชพรหมยาน" ยืนยันว่า หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำเกิดมาชาตินี้ เพื่อทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ เอาละ..เราก็จบกันเพียงแค่นี้นะ ใครไม่เชื่อก็ไม่ต้องมายุ่งกันดีกว่า จึงขอสรุปเหตุการณ์สมัย "พระเจ้าโลกลว้า" ต่อไปอีกว่า...

......นับเป็นกษัตริย์ไทยที่ให้มีพิธีทอดกฐิน คือ ถวายผ้ากฐินพระราชทาน เป็นพระองค์แรก และ พิธีจุลกฐิน ก็มีขึ้นในสมัยของท่านเป็นครั้งแรก จนกลายเป็นประเพณีนิยมสืบมา และในสมัยของพระองค์ มีการส่งพระภิกษุสงฆ์ของไทยไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ประเทศอินเดีย จำนวน ๑๑ รูป สามเณร ๓ รูป ณ วัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดใหญ่มากสมัยนั้น กว้าง ๑๕๐ เส้น ยาว ๒๐๐ เส้น มีพระภิกษุ ๒,๐๐๐ รูปอยู่เป็นประจำ พระมหาติสสะเถระ เป็นเจ้าอาวาส

วัดนี้อยู่ทางตอนใต้ของเมืองปาตลีบุตร แคว้นมคธ (ปัญจาบ) ใน พ.ศ. ๒๓๙ ศึกษาที่วัดอโศการาม ๒ ปี แล้วพระเจ้าอโศกมหาราชจัดให้ไปดูงานพระศาสนาที่ลังกา (สีหล) เนื่องจาก พระมหินทะเถระ พร้อมคณะสงฆ์ ๕ รูป กำลังเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่นั่น

พระญาณจรณะ พร้อมคณะสงฆ์ไทย ๑๐ รูป สามเณร ๓ รูป อยู่ที่ลังกา ๑ ปี จึงกลับมาที่พาราณสี พ.ศ.๒๔๑ พักอยู่ ๒ - ๓ เดือน แล้วจึงเดินทางกลับสุวัณณภูมิ พร้อมอัญเชิญกิ่งตอน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากต้นที่พระพุทธเจ้านั่งตรัสรู้นั้นกลับมาด้วย

หนึ่งในสามเณรทั้ง ๓ รูป ที่ไปพร้อมกับพระญาณจรณะ เพื่อศึกษาธรรมในครั้งนั้น ชื่อ ผิว เมื่อบวชเป็นพระได้ชื่อว่า พระกัจจายโน เมื่อบวชเณรได้เรียนและปฏิบัติอยู่ ๓ ปี จึงร่วมเดินทางไปพร้อมคณะของพระญาณจรณะ ตามบันทึกว่า "เรียนธัมมวินัยต่อไป เที่ยวทั่ว กบิลวัตถุ สีหล ๕ ปีกลับ"

แสดงว่าพระญาณจรณะเองก็คงอยู่ในอินเดียและลังกา รวม ๕ ปีเช่นกัน พระผิว กัจจายโน ในเวลาต่อมาได้ร่วมกับ พระทองวน ธัมมสุนันโท เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาถึงชาวกะ (ชวา) หลายปี ซึ่งจะมีการสรุปในตอนต่อไป

.....พระเจ้าตะวันอธิราช พระนางสิริงามตัวเทวี ครองสุวัณณภูมิต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕ ในสมัยของพระองค์นอกจากการเสริมสร้างโรงเรียนและกองทัพบ้านเมืองแล้ว หลังจากมีการบวชพระ บวชสามเณร และบวชชีแล้ว ยังส่งเสริมให้พระสงฆ์เรียนการสวด "สาธยายพระไตรปิฎก" เรียนสวดสังโยค มีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาบาลี มีการมอบพัดยศให้ จนถึงการแต่งตั้งพระไทยขึ้นเป็น "สมเด็จพระสังฆราช" และมีการปั้นพระพุทธรูปตั้งเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ

พร้อมกับฝึกหัดชาวไทยชายหญิงให้มีกิริยามรรยาทที่ดี โดยแนะนำวิธีการกราบพระ ตั้งนะโม การสวดมนต์พิธี สวดทำนองสังโยคอย่างปัจจุบันนี้ จัดให้มีการไหว้พระสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และในพิธีการต่างๆ เช่นการถวายพรพระ อนุโมทนาวิธี โกนจุก ทำบุญอายุ ด้วยการนิมนต์พระไปสวดมนต์ และถวายภัตตาหารตามบ้านเรือน เช่น

ในงานทำบุญวันเกิด, วันแต่งงาน, หรือพิธีการศพ เช่น สวดมาติกา สวดอภิธรรม ๗ พระคัมภีร์ และสวดหน้าไฟ โดยมีพระโสณะเถระ เป็นผู้นำฝึกสอน นอกจากนี้ยังมีพิธีกวนข้าวทิพย์ ข้าวกระยาสารท ข้าวยาคู อันเนื่องมาจากข้าวมธุปายาส เป็นต้น สมัยพระเจ้าตะวันอธิราชเป็นผู้วางระเบียบให้เป็นประเพณีไทย จนสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้


หมายเหตุ : นัยว่าบุคคลผู้นี้ไม่ใช่ใครอื่นที่เกิดมาช่วยจรรโลงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ตลอด ได้แก่ พระเจ้าพรหมมหาราช นั่นเอง หากสนใจพระจริยาวัตรของพระองค์ สามารถติดตามอ่านได้ใน ภาค ๒ ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระองค์ทรงขึ้นครองกรุงสุวัณณภูมิต่อไป

(โปรดติดตาม "ภาค ๑ ตอนที่ ๒๐" ต่อไป)


◄ll กลับสู่ด้านบน



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 24/7/17 at 04:20 [ QUOTE ]


[ ตอนที่ 20 ]

Update 7 สิงหาคม 2560


พุทธศาสนาตั้งมั่นใน "สุวัณณภูมิ" แล้ว


...คำว่า "สุวัณณภูมิ" ตามความเข้าใจเดิม คิดว่าเป็นดินแดนในแหลมทอง โดยรวมคือ ไทย พม่า ลาว เขมร ญวน เป็นต้น ส่วนชาวพม่าต่างก็เข้าใจว่าเป็น เมืองสะเทิม (สุธรรมวดี) ปัจจุบันคนพม่าเรียก "ตะโท" (Thaton) คนแถวนี้เป็นชาวมอญมาแต่โบราณ

แต่ครั้นเมื่อได้พบหลักฐานนี้แล้ว "สุวัณณภูมิ" ต้องโฟกัสให้แคบเข้าไปอีกว่า ได้แก่ดินแดนประเทศไทยแน่นอน ในส่วนที่เป็น ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นเกาะเป็นเกะอย่างที่วิเคราะห์กันไป

และเดิมที่เข้าใจว่า "พระโสณะ" และ "พระอุตตระ" มาที่สุวัณณภูมิเพียง ๒ รูปเท่านั้น ความจริงท่านมากันครบ ๕ รูป มีสามเณรและอุบาสกอุบาสิกามาด้วย เหมือนกับคณะของ "พระมหินทเถระ" ที่ไปลังกา

สมัยก่อนกเบื้องจารเหล่านี้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ "พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ" จึงสวนกระแสกับประวัติศาสตร์เดิม ถึงแม้จะมีข่าวว่าทำปลอมขึ้นมาก็ตาม แต่เรื่องราวก็ไม่น่าจะทำปลอมกันได้ง่าย เพราะประวัติความเป็นมา สามารถตรวจสอบเทียบเคียงกันได้

อนึ่ง หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำได้ให้ลูกศิษย์ของท่าน นำหนังสือเล่มนี้ทูลเกล้าถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙ หากเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเอง ก็คงจะมิบังควรเป็นอย่างยิ่ง แต่ผู้เขียนเชื่อในศักดิ์ศรีความเป็นพระของท่าน เชื่อที่หลวงพ่อวัดท่าซุงยืนยันว่า หลวงพ่ออ่ำเป็นช้างปาเลไลยกโพธิสัตว์ ผู้เขียนขอเอาความเชื่อไว้แค่นี้ก็พอ นี่ประการหนึ่ง

ส่วนประการที่ ๒ ถามว่าหลวงพ่อวัดท่าซุงรู้เรื่องนี้มาก่อนไหม คำตอบว่าท่านรู้มาก่อนแล้ว โดย คุณเดือนฉาย (ต้อย) คอมันตร์ อดีตประธานศูนย์สงเคราะห์ฯ ซึ่งได้นำเรื่องจาก "กเบื้องจาร" ลงใน "หนังสือพระราชทานเพลิงศพ" ของคุณพ่อ คือ ศ.ดร.เดือน บุนนาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕

พี่ต้อยได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เคยกราบเรียนเรื่องนี้ถวายหลวงพ่อฯ พร้อมกับถามหลวงพ่อว่า พระเจ้าตะวันอธิราช เป็นใคร หลวงพ่อบอกว่าเป็นท่านเอง

โดยเฉพาะชื่อ "เดือนเด่นฟ้า" หรือ "จันทร์แจ่มฟ้า" นี่หลวงพ่อพูดถึงมานานแล้ว แม้ในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อรุ่นเก่าที่บ้านสายลมก่อนปี ๒๕๒๐ จะพูดถึงกันอยู่เสมอ เพราะว่าชื่อนี้หลวงพ่อพูดที่ "พระธาตุจอมกิตติ" หลังกลับมาจาก "ท่องเชียงแสน" เมื่อปี ๒๕๑๗ มีใจความตอนหนึ่งว่า


"...ใจมันลอยๆ เลยล่อไปนึกถึงความดี อุทิศความดี หรือสนองความดีของพระมหากษัตริย์องค์นี้ ที่ทรงพระนามว่า ภูมิพลอดุลยเดช กลายเป็นบอกว่า เป็นกษัตริย์ที่ทรงพระนามว่า จันทร์แจ่มฟ้า เข้าให้ นี่ไปนึกถึงความดีของพระองค์ ที่ฉายแสงให้คนมีความสุขเหมือนพระจันทร์เต็มดวง.."

การที่เอาคำพูดของหลวงพ่อมายืนยันก็เพื่อเปลื้องความสงสัย จึงขอให้อ่านด้วยความตั้งใจเถิด แล้วจะเกิดผลมหาศาล ขอให้เชื่อความสามารถของหลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำ ถ้าท่านไม่มีทิพจักขุญาณจริง หลวงพ่อของเราคงไม่พูดเช่นนี้ ท่านรู้จักกันมาก่อนปี ๒๕๒๐ อย่างแน่นอน

ต่อมาปี ๒๕๓๒ ผู้เขียนและท่านเจ้าอาวาสไปกราบท่าน ขออนุญาตลงหนังสือธัมมวิโมกข์ ภายหลังหลวงพ่อบอกว่า ชาตินี้หลวงพ่ออ่ำลงมาเกิดเพื่อทำหน้าที่โดยเฉพาะ พระโพธิ์สัตว์ระดับนี้มีเทวดาตามอารักขามาก หลังจากนั้นข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไป จึงมีคนไปกราบท่านมากขึ้น

จนกระทั่งหลวงพ่อใกล้มรณภาพ ท่านยังได้ปรารภเรื่องนี้ที่ตึกรับแขกว่า ต้องการทำหนังสือเล่มนี้ให้เป็นเล่มเล็กๆ (เพราะหนังสือเดิมเป็นเล่มหนามาก) เรื่องนี้พระที่ตึกรับแขกท่านเล่าให้ฟัง

การที่ผู้เขียนนำเรื่องนี้ออกเผยแพร่อีก จากกเบื้องจาร ๑,๒๐๐ แผ่น มีเพียง ๒ แผ่นที่เอาไปพิสูจน์ จึงไม่ควรเหมาทั้งหมด เราควรมุ่งเอาเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ เพื่อสนองเจตนารมย์ของพระโพธิสัตว์ใหญ่ทั้งสองพระองค์ ที่ท่านต้องมรณภาพไปก่อนในปีเดียวกัน

ฉะนั้น ถ้าได้อ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้ว จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก แม้แต่ชื่อของพระสมณทูตทั้ง ๕ รูปที่มาสุวัณณภูมิ ก็ไม่เคยมีใครทราบมาก่อน หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำก็พยายามนำประวัติของ "พระปุณณะ" และ "พระสัจจพันธ์" จาก "กเบื้องจาร" มาเทียบเคียงกับอรรถกถาในพระไตรปิฎกไปด้วย ดังนี้


คนไทยเป็นพระอรหันต์ ๒ รูป ในสมัยพุทธกาล

.....๑ พระปุณณเถระ อรหันต์ไทยองค์แรก ที่ได้ไปรับ "เอหิภิกขุ" จากพระบรมศาสดา ณ กรุงสาวัตถี เมื่อวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ พุทธพัสสา ๑๙ ได้ชื่อว่า ปุณณเถระ ปฏิบัติอยู่ ๓ ปีไม่ได้มรรคผล จึงกลับมาบ้านเกิดที่ สูนาปรันตะ (สุวัณณภูมิ)

ในพุทธพัสสา ๒๑ (ตรงกับ ปีโลที่ ๑๑๖๖) ได้นำพระศาสนาเผยแพร่ที่สุวัณณภูมิ โดยพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก ๔๔๙ รูป ถึงเขาสัจจพันธคีรี (สระบุรี - สุวัณณภูมิ) เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำเดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒

.....๒ พระสัจจพันธะเถระ อรหันต์ไทยรูปที่ ๒ ที่ได้รับ "เอหิภิกขุ" จากพระศาสดา เป็นรูปแรกในประเทศไทย ณ เขาสัจจพันธคีรี และได้ทูลขอรอยตีนพุทธ (รอยพระพุทธบาท) ไว้ที่เขาสัจจพันธคีรี

หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำบอกว่า เรื่องนี้มีผู้รู้บางคนอธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า พระพุทธศาสนาจะเสื่อมในอินเดียหลังพุทธกาล ๑,๐๐๐ ปี สาวกทั้งหลายจึงทูลขอให้พระองค์หาทางยืดเวลาออกไป ทรงเห็นว่ามีอยู่ ๒ แห่ง ที่พระพุทธศาสนาจะยั่งยืนต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง (๕,๐๐๐ ปี) คือที่ลังกา (สิงหล) และเมืองทอง (สุวัณณภูมิ)

เมื่อพระปุณณเถระมาทูลเชิญเสด็จโปรดชาวเมืองทอง พระองค์จึงรับคำเชิญเสด็จพร้อมทั้งพระอรหันต์ ๔๙๙ รูป ประทับบนพระมณฑปเรือนยอดลอยมาทางอากาศ นับว่าพระองค์ให้ความสำคัญต่อแผ่นดินทอง หรือเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับพระราชาเสด็จมากับเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพาร พร้อมด้วยกองเกียรติยศฉะนั้น ผู้เขียนพอจะสรุประยะเวลาไว้ง่ายๆ ดังนี้


พุทธพัสสา ๒๒ เดือนอ้าย
...ขึ้น ๘ - ๙ ค่ำ - เสด็จถึงสุนาปรันตะ (บ้านมกุน) นายจุลปุณณะ (น้องชายพระปุณณะ) สร้างเรือนไม้จันทน์หอมไว้ต้อนรับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ปัจจุบันนี้แถว วัดเพชรพลี (เดิมชื่อวัดพริบพรี) จ.เพชรบุรี พักอยู่ ๒ วัน แถวถ้ำเขางู จ.ราชบุรี เทศน์โปรดชาวบ้านชื่อ "ผันทอง" ที่มาถวายภัตตาหารด้วยคำไทย
...ขึ้น ๑๐ ค่ำ - เสด็จผ่านเมืองทอง (แถวคูบัว) พบพระเจ้าทับไทยทอง จึงเชิญให้ไปแคว้นมคธ
...ขึ้น ๑๑ - ๑๒ ค่ำ - พระปุณณเถระนำเสด็จสู่ "เกาะแก้ว" ทรงแสดงธรรมโปรดคนชาวน้ำ (ชาวเล)
...ขึ้น ๑๓ ค่ำ - ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่เกาะแก้ว (นัมทานที บางแห่งเรียก นิมมทานที) ปัจจุบันนี้คือ เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต
...ขึ้น ๑๔ ค่ำ - เสด็จย้อนกลับมาถึงบ้านมกุน คนไทยเรียก "บ้านแม่กุน" (แม่กุน เป็นแม่ของพระปุณณะ)
...ขึ้น ๑๕ ค่ำ - เสด็จไปส่งพระสัจจพันธเถระ ที่เขาสัจจพันธคีรี ตรัสสั่งให้อยู่สอนคนแถวนั้น แล้วประทานรอยพระพุทธบาทไว้เป็นแห่งที่ ๒ จากนั้นจึงเสด็จกลับถึงพระเชตวัน ณ กรุงสาวัตถี ในวันเดียวกัน

รอยพระพุทธบาทเกิดขึ้น ๒ แห่ง ในประเทศไทย

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในแผ่นดินทองถึง ๘ วัน ตามหลักฐานชิ้นนี้ (ปุณโณวาทสูตร และ กเบื้องจาร) จะเห็นได้ว่า มีภิกษุชาวไทย ๒ รูปที่ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง คือ พระปุณณเถระ และ พระสัจจพันธเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย พร้อมกับเกิดขึ้นของ รอยพระพุทธบาท ในประเทศไทยอีก ๒ แห่งด้วย

ถ้าจะถามความเห็นของชาวพุทธ ส่วนใหญ่เชื่อว่ารอยที่ปรากฏ ณ ฝั่งน้ำนัมทานที อยู่ที่อินเดียหรือไม่ก็ลังกา ใช่ไหม แต่ถ้าได้อ่านรายละเอียดวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จแล้วจะเห็นว่า รอยทั้งสองแห่งอยู่ไม่ไกลกันเท่าใดนัก

หากอยู่ห่างไกลคนละประเทศอย่างที่เข้าใจกันแล้ว พระพุทธองค์คงไม่เวียนไปเวียนกลับให้เสียเวลา (ตามอรรถกถากล่าวว่า "สาวัตถี" กับ "สุนาปรันตะ" ห่างไกลกัน ๓๐๐ โยชน์ ประมาณ ๔,๘๐๐ ก.ม.)

.....๓ พระโสณะเถระ พระอุตตระเถระ พระฌานียะเถระ พระภูริยะเถระ พระมูนียะเถระ พระอรหันต์ทั้ง ๕ รูปนี้ เป็น "คณะสมณทูต" ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมาเผยแพร่พระศาสนา สายที่ ๙ ขึ้นฝั่งที่นครศรีธรรมราช (สมัยนั้นเรียก ช้างค่อม)

แวะพักอยู่ระยะหนึ่ง จึงเดินทางต่อมาทางเรือยังสุวัณณภูมิเมื่อ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๕ ปีฉลู ตรงกับพระสมณทูต ๕ รูป เหมือนกันที่เดินทางไปลังกา อันมี พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ พระภัททสาละ

.....๔ พระญาณจรณะเถระ เดิมชื่อ "ทองดี" พระโสณะเถระเป็นพระอุปัชฌาชย์ พระอุตตระเถระ สวดญัตติจตุตถกรรมวาจา ต่อมาเป็น พระสังฆราช องค์แรกของสุวัณณภูมิ

.....๕ พระกัจจายนะเถระ เดิมชื่อ "ผิว" เป็นพระสงฆ์ไทยที่ไปช่วยพระโสณะเผยแพร่ศาสนาในอินโดนีเซีย (จอกตากอ) และอยู่ "ชวา" ช่วยเจ้าเมือง "ขุนลตูสุวาเทียน" สร้าง "วัดพุทธภูมิ" จนเสร็จ

......๖ พระธัมมสุนันโท เดิมชื่อ "ทองวน" เป็นโอรสของ "พระเจ้าโลกลว้า" กับ "นางหวานชื่นใจ" (น้องชายต่างมารดาของตะวันอธิราช) บวชเป็นสามเณรรูปแรกของไทย ขณะอายุ ๑๒ ปี เมื่อขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ พ.ศ. ๒๓๖ สามารถท่องพระไตรปิฎกจบ ภายในระยะเวลา ๘ เดือน ต่อมาเป็นสังฆราชองค์ที่ ๒ ของไทย เมื่อ พ.ศ. ๓๑๔


จบสมัย "พระเจ้าโลกลว้า" ครองกรุงสุวัณณภูมิ


(โปรดติดตาม "ภาค ๒ ตอนที่ ๑ สมัยพระเจ้าตะวันอธิราช" ต่อไป คลิกที่นี่)



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 7/8/17 at 05:20 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 12/6/21 at 16:34 [ QUOTE ]


.

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top