(ภาค 2 ตอนที่ 12 สุวัณณภูมิ) พระโสณะพยากรณ์..อนาคตของประเทศไทย
[01] ภาค ๒ ตอนที่ ๑ สมัยพระเจ้าตะวันอธิราช
[02] ตอนที่ ๒ สร้างวัด "พุทธภูมิ" ในอินโดนีเซีย
[03] ตอนที่ ๓ ต้นเรื่องข้าวทิพ
[04] ตอนที่ ๔ วางแผนจารประวัติไว้ให้คนไทยอ่าน
[05] ตอนที่ ๕ พระโสณะพยากรณ์ อนาคตของพระพุทธศาสนา ๓๔ ข้อ
[06] ตอนที่ ๖ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๗-๑๐
[07] ตอนที่ ๗ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๑๑-๑๕
[08] ตอนที่ ๘ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๑๖-๒๐
[09] ตอนที่ ๙ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๒๑-๒๕
[10] ตอนที่ ๑๐ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๒๖-๓๓
[11] ตอนที่ ๑๑ พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๓๔ (ข้อสุดท้าย)
[12] สร้างวัดมหาธาตุ เมืองธัมราช (ช้างค่อม)
[ ภาค 2 ตอนที่ 1 ]
Update 14 สิงหาคม 2560
หลวงพ่อทำพิธีบวงสรวง ที่พระธาตุจอมกิตติ เมื่อปี ๒๕๑๙
จากภาค ๑ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน เล่าว่า
"...คนไทยมาจากกรุงราชคฤห์กับเมืองสาวัตถี คนสองเผ่านี้เข้าทางสายเหนือของประเทศไทย เข้ามาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น ประมาณก่อนพุทธกาล ๒,๐๐๐
ปีเศษ
เราจะพูดกันไปว่าพวกราชคฤห์เป็น "พวกแขก" ความจริงไม่ใช่ สมัยโน้นไม่ใช่แขกครอง แต่พวกไทยอาหมครอง เมืองเวสาลี สาวัตถี กับราชคฤห์นี่
เป็นเมืองที่มีคนไทยมาก ในสมัยนั้น..."
ส่วนคนไทยทางภาคกลางตาม "กเบื้องจาร" ก็ปักหลักปักฐานมาแต่โบราณ ซึ่งได้จบลงใน "ภาค ๑" สมัย พระเจ้าโลกลว้า ไปแล้ว พร้อมกับชี้แจงเรื่อง
"กเบื้องจาร" ว่า ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (หลวงพ่ออ่ำ) วัดโสมนัสฯ เป็นผู้เปิดเผย หลังจากประวัติศาสตร์ช่วงนี้หายไป ๑,๕๐๐ ปีเศษ
โดยเฉพาะสมัยนั้น ท่านเกิดเป็นนักรบคู่พระทัยของพระเจ้าตะวัน มีชื่อว่า ขุนแสนไพล (คู่กับ ขุนภยาแมน) ส่วน "พระเจ้าตะวัน" และ
"เดือนเด่นฟ้า" เป็นใครก็ได้เฉลยกันไปแล้ว และในตอนจบภาค ๒ นี้ จะนำ "คำพยากรณ์ของพระโสณเถระ" มาให้อ่านปิดท้ายกัน
ภาค ๒ พระเจ้าตะวันอธิราช ครองกรุงสุวัณณภูมิ สมัยนี้บ้านเมืองขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ส่วนพระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรืองมาก
ด้วยความอนุเคราะห์ของพระสมณทูต ๕ รูป ที่เดินทางมาจากเมืองปาตลีบุตร โดยความอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช หลังสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๓ เมื่อปี
๒๓๕
สุวัณณภูมิ เมืองทอง
สมัยพระเจ้าตะวันอธิราช พระนางสิริงามตัวเทวี
ต้นออกแผ่วัฒนธรรมไทย
และพระพุทธศาสนาออกต่างแดน
.....เมื่อพระเจ้าตะวันอธิราชขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาแล้ว พระองค์ได้ยกทัพปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ไว้ในพระราชอำนาจทั้งสิ้น
ทรงบำรุงทหารให้เข้มแข็งเหี้ยมหาญศึกตลอดกาล เผื่อศึกภายหน้า ดังคำจารึกที่ต้องขยายความ (วงเล็บ) ให้เข้าใจง่าย ดังนี้
ปี ๒๖๗ ตัวข้ายกกองศึกใหญ่ปราบถึงอ้ารกัน อินทรัฐ ปี ๒๘๑ ตัวข้ายกศึกปราบถึงชาวเง้ (เว้) ชาวภูไท นับปี ๒๙๑ กูยกกลับสู่สุวัณณภูมิ พอขึ้นเดือน ๑๒
ข้ายกกองทัพโจมตี ชาวบาก (บอเนียว) ตปาลา (ฟิลิปปินส์) ไนขัลลอ (ปาปัวนิวกินี) โปลา (ออสเตรเลีย) ข้ากลับถึงเมืองทอง เดือนสิบ เพง (เพ็ญ) ปี ๒๙๗
สมัยนั้นดินแดนของกรุงสุวัณณภูมิ นับว่าเจริญออกไปกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์ยังทรงแนะนำให้ปวงราษฎรประพฤติอยู่ในศีลธรรม มีบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นต้น
เป็นการสืบต่อบวรพุทธศาสนา จาก "โสณุตตระ" ได้เผยแพร่ความรู้นี้ให้ทั่วเมือง ให้การศีกษาเล่าเรียนบาลี บวชแล้วรู้แจ้งอริยสัจ มรรคผล โลกุตรภูมิ
พ้นจากตัณหาต่อไป
อีกทั้งได้ทรงศึกษาลายสือไทยกับ ขอมทองเมือง และ นางพูนเอ็นดู ผู้เป็นย่าสอนตัวเมือง ตัวบ้าน ให้ ต่อมาเมียใหญ่ สิริงามตัว
ท้องคลอดลูกเมื่อ เดือนยี่ ปี ๒๔๖ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นคืนเดือนเพ็ญ เวลาเที่ยงคืน ตวันอธิราชผู้พ่อ จึงขึ้นชื่อว่า เดือนเด่นฟ้า
ตามคืนเดือนเพ็ญนั้น
ต้นแบบนิมนต์พระไปเจริญพระพุทธมนต์ในพระราชวัง
แล้วนิมนต์ พระทองดี ญาณจรโณ ศิษย์ท่านโสณเถระ พระอุตตรเถระ มาสวดพุทธมนต์ เจริญมงคล พระสูตร มากมาย เพื่อป้องกันเหตุร้าย ห้ามอันตราย
เจริญชัยชนะศัตรู ตลอดดินแดนโลกมิเสื่อมสิ้นตลอดโน้น
พระเจ้าตะวันอธิราชกับพระนางสิริงามตัวเทวี มีความศรัทธาสุจริตธรรม เจริญในทาง "สัมพุทธภูมิ" ผู้หมายเป็นเมียพระโพธิสัตว์ สร้างบารมี ๓๐ ทัศ
เจริญกุศลทุกคืนวันมิได้เว้น แม้ว่าจะมีงานใดที่เป็นกุศล พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาพร้อมทั้งใจและวาจา
ผู้เขียนขออธิบาย คำว่า "สัมพุทธภูมิ" แสดงว่าพระนางตั้งความปรารถนาเป็นคู่ของพระเจ้าตะวันอธิราชตลอดไป (ถ้าพระเจ้าตะวัน
คือหลวงพ่อฯ พระนางสิริงามตัว ต้องเป็นท่านแม่ศรี)
ต่อมาพระนางสิริงามตัวเทวีราชชายา ได้คลอดลูกชายเมื่อปี ๒๔๘ ฉลู ให้ชื่อว่า ดาวเด่นฟ้า
พระเจ้าตะวันก็ให้กระทำพิธีเช่นเดียวกับพระโอรสองค์แรก พอถึงปีขาล ๒๔๙ คลอดลูกหญิงให้ชื่อว่า แสงสายทอง (จารเรื่องนี้ไว้ในพุทธกาล ๒๙๘)
สามเณรทองวน ธัมมสุนันโท มีอายุครบบวช
สามเณรทองวน ธัมมสุนันโท ลูกคนเดียวของ ขุนหญิงแม่หวานชื่นใจ เจ้าพ่อโลกลว้า (น้องต่างมารดาของตวันทับฟ้า) เกิดขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พุทธกาล
๒๒๕ พระโสณะ พระอุตตระ ให้บรรพชาเปนสามเณร เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปี ๒๓๖ ท่องจำไตรปิฎก ๑ ปี กับ ๘ เดือน ท่องมหาอัฎฐกถา ๒ ปี พระมูนียะ
สอนว่าคำมคธ กว่าปี จึงพูดได้
พระญาณจรณะ บอกกับสามเณรทองวนว่า ปีนี้เจ้าครบ ๒๐ ปีเต็ม บวชได้แล้ว ให้ไปบอกแม่หวานชื่นใจ และพระเจ้าตะวัน พระนางสิริงามตัวทรงเอาผ้าไหม(ให้ภิกขุ)
บัณฑิตทอง ทำไตรจีวร ๕ ไตร พระโสณะบอกให้ทอดที่กระดูกพระเจ้าโลกลว้า แล้วให้พระอรหันต์ ๕ รูป พิจารณาบังสุกุล
พระโสณะ พระฌานียะ บอกว่าให้สามเณรทองวน ธัมมสุนันทะ เอาไปครองแล้วขอศีลให้ใหม่ กับ พระญาณจรณะ พระเจ้าตะวันผู้เป็นเจ้าภาพในการอุปสมบท โดยมีพระโสณะ
เป็นพระอุปัชณายะ พระอุตตร กับ พระญาณจรณะ เป็นพระคู่สวด ภายในอุโบสถ วัดพระศรีมหาธาตุแดนลว้า เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีพุทธกาล ๒๔๕
พระอุปัชฌาย์โสณะกล่าวว่า ให้ว่าไตรปิฎก ๘ เดือนจบ บอกว่าต่อไปจักไปเกิดเป็น พระอัครสาวกของ พระศรีอาริยเมตไตรย ในอนาคตกาล
หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า ครั้งนี้อาจเป็นครั้งแรก จึงได้จารึกเรื่องไว้ให้ได้พบธรรมเนียม "บังสุกุล"
และธรรมเนียมทำผ้าใหม่ให้เป็นผ้าบังสุกุล
ต้นแบบการสึกแล้วแต่งตั้งเป็น "บัณฑิต"
ต่อมาพระภิกษุชาวไทยองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระทอง ธัมมกาโม ที่ได้ไปอุปสมบทถึงประเทศอินเดีย โดยมี พระมหาติสสะ เจ้าอาวาสวัดอโศการาม
เมืองปาตลีบุตร เป็นพระอุปัชฌาย์ (ท่านเคยเตือนไว้ล่วงหน้าแล้วว่า บวชได้ ๕ ปีจะต้องสึกไปมีเมียมีลูก) หลังจากบวชได้ ๕ ปีก็ลาสิกขาบท เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ ปี ๒๔๕ พระเจ้าตะวันอธิราชและสิริงามตัว ตรัสว่าต้องตั้งให้เป็นบัณฑิต
หลวงพ่ออ่ำอธิบาย คำว่า บัณฑิตทอง เป็นคุณนามสรรเสริญภิกษุผู้มีสติปัญญาดี ซึ่งเรียนจบสอบธารณะได้
เหมือนเวลานี้นิยมเรียกว่า "เปรียญ" (รู้รอบ) ครั้นต่อมา เป็นชื่อผู้สึกแล้วจึงเลิก หรือเปลี่ยนเป็น "บาเรียน" และ "เปรียญ" "พระมหา"
พิธีการสึก หรือลาสิกขานั้นมีอยู่แล้วในวินัย อาจเป็นครั้งแรก จึงจดไว้เป็นแบบอย่างการลาสิกขาว่า ในเมืองไทยนี้บวชแล้วมีอนุญาตให้สึกได้
แม้ในสมัยพระอรหันตเถระ
นับเป็นต้นเหตุครั้งแรก ซึ่งอุปสมบทแล้วลาสิกขาได้ และได้รับการยกย่องแต่งตั้งชื่อเป็น บัณฑิต (ตัว ฑ อ่านเสียง ท ก็ได้ ด ก็ได้)
บัณฑิตเป็นชื่อตั้งคนไทยในท้องถิ่น บวชแล้วสึกออกมา จึงนิยมเรียกกันว่า "ทิด" ซึ่งเป็นการยกย่องผู้ที่ผ่านการบวชมาแล้วนั่นเอง
มอบการบวชให้แก่พระชาวไทย
พระญาณจรณะ เป็นพระรูปแรกในสุวัณณภูมิที่เป็นพระอุปัชฌาย์
พระผิว กัจจายนะ มีอายุครบบวช ๒๐ ปี พุทธกาล ๒๔๖ ปี พรโสณะบอกว่า พาะญาณจรณะ ควรเป็นอุปัชฌาย์ โดยมีพรรษาพอ ๑๐ รับเอาเป็นภาระหน้าที่สืบไป
(กัจจายนะ ผิว) พระโสณะ ให้ พระญาณจรณะ ขึ้นเป็นเถระอุปัชฌาย์ ให้ พระอุตตระ คู่กับ พระภูริยะ สวดญัตติจตุตถกัมมวาจา เมื่อวันขึ้น ๕ ค่ำ
เดือน ๘ ปี ๒๔๖ ส่วน พระโสณเถระ เข้าเปนต้นสงฆ์ คือเป็นประธานสงฆ์ (ในอุโบสถวัดศรีมหาธาตุแดนลว้า)
พระผิว กัจจายนะ อุปสมบทแล้ว พระญาณจรณะจึงให้ว่า อนุสาสน์ พระเถรโสณะเตือนให้ว่าคำไทย พระญาณจรณะจึงได้แปลตรงจากภาษามคธ
อธิบาย ธรรมเนียมนี้ยังถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน คือหลังจากสวดญัตติจบแล้ว พระอุปัชฌาย์จะต้องบอกเป็นภาษาไทยก่อนว่า
"อนุสาสน์ ๘ ประการ" คือ นิสัย ๔ เป็นกิจที่ภิกษุใหม่ควรทำ และ อกรณียกิจ ๔ ที่ภิกษุใหม่ไม่ควรทำ ต่อจากนั้นท่านจะว่าเป็นภาษาบาลี
พระเจ้าตะวันทับฟ้า พระนางสิริงามตัว ฟังแล้ว ตรัสว่าเพราะดี และฟังรู้ว่าอย่างไร พระเถระโสณะ
ให้บอกเป็นคำไทยอย่างนี้ ภิกษุไทยฟังรู้เรื่อง ทำถูกดีแล้ว
พระญาณจรณะ ฟังคำของพระโสณะบอกว่า คณะของเรา ๕ รูป นำบวรพุทธศาสนามาให้คนไทยครบถ้วนแล้ว ทั้งเรื่องทำสังฆกรรม การทำนิมิตสีมา ในเรื่องพระธัมมวินัย
หรือการลงศีลอุโบสถ ถูกตามพุทธบัญญัต
"...ทีนี้ถ้ามีการอุปสมบทอีก คนไทยรับได้หมด ภิกษุสายนี้ คงตลอดคู่พุทธสาสนา ถึงที่สุด..."
....ฟังคำพูดท่านในตอนท้ายนี้ พระโสณะพูดไว้นาน ๒ พันกว่าปีแล้ว ตรงทุกอย่างนะ..ท่านผู้อ่าน อย่าลืมคำว่า "โสณุตตระ" (โสณะ + อุตตระ )
ว่าคนไทยยังเป็นหนึ้คุณความดีของท่านนะ ในฐานะที่พวกเราเป็น "โสณุตตระวงศ์" คือ ชาวสุวัณณภูมิปัจจุบันนี้สืบอายุพระพุทธศาสนามาจากวงศ์ของ
"โสณุตตระ" นั่นเอง...สวัสดี
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 2 ]
(วันที่ 21 สิงหาคม 2560)
สร้างวัด "พุทธภูมิ" ในอินโดนีเซีย
๑. พระเจ้าตะวันอธิราช สร้อยทำเป็นรูปตะวันทรงกลด ช่อรี บอกพระนาม "ตะวัน" มือขวา ถือคนโท มือซ้ายถือขัน หมายถึง เที่ยวหลั่งน้ำอมตธรรม
๒. พระนางสิริงามตัวเทวีสุวัณณภูมิ สร้อยทำรูปงามบอกพระนาม มือขวาถือดอกบัวเดียว หมายถึงใจเดียว ตั้งใจเป็นเมียพระโพธิสัตว์ มือซ้ายถือหอยยอด
ทรงรัดเกล้าชาย
เล่าว่า เมื่อตะวันตั้งเป็นอธิราชินี จึงถอดรัดเกล้าอธิราชสวมให้ ตัวจึงไม่มี พระนางมีรัดเกล้าชาย (เรื่องปรากฎตอน พ.ศ. ๒๙๘-๒๙๙)
ต้นแบบการสวดมนต์
พระญาณจรณะ พระโสณะ ให้คัดพระสูตรอันมีพ้องทั้งในวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก เพื่อสังคีติน้อย (คัดเอาบทสวดที่ไม่ยาวนัก)
ให้คนฟังตามบ้านทั่วแล ได้ นะโม (การปาฐะ) สรณคมน์ (ปาฐะ) มังคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร ธชัคคสูตร อังคุลิมาลสูตร โพชฌังคสูตร สุปุพพัณหสูตร ลงด้วยบท
มารวิชยคาถา เอาเป็นสุดท้าย
พระโสณะหัดให้พระภิกษุที่เป็นคณะสวดได้ดีแล้ว ซึ่งพระโสณะบอกว่าคัดเอาพระสูตรสั้นๆ ดีๆ พอคนฟังได้ ให้พระญาณจรณะเลือกแล้ว พอ "เดือนเด่นฟ้า" มีอายุได้ ๑
เดือน พระเจ้าตะวันขอให้สวดบทป้องกันความชั่วร้าย และขอให้ชนะทั่ว พระโสณะจึงให้พระญาณจรณะลองสวดให้ฟังก่อนถึง ๒ คราว แล้วจึงให้ไปสวด เมื่อเดือน ๓
ข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๔๖
พระญาณจรณะ เมื่อพระเจ้าตะวันอธิราชมาหาบอกว่า มนขอมพิสสณุ กล่าวว่า งามตัว (พระนางสิริงามตัว) มีลูกจะครบ ๔ เดือน
ควรเชิญท่านผู้เปนพระสงฆ์มาจำเริญพุทธมนต์ อวยชนะชัยให้มีความสวัสดี
พระโสณะจึงให้แนะนำเอาบท นะโม, พุทธัง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, ธชัคคสูตร, กรณียเมตตสูตร, รตนสูตร, มังคลสูตร อาฎานาฎิยสูตร
สุนักขัตตะ(สุปุพพัณหสูตต) ลงจบด้วย พุทธพรคาถา (พาหุง บทถวายพรพระ) ภิกษุร้อยองค์ได้สวดพร้อมกัน เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๔๖
อธิบาย โดยทั่วไปการสวดบท ธชัคคสูตร ไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
ซึ่งเป็นหัวใจของพระสูตรนี้ เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า "สวดอิติปิโส" เว้นไว้แต่มีเวลามากและต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร
นี่เป็นที่มาของ พระปริตร หรือบทสวด "เจ็ดตำนาน" และบทสวด "สิบสองตำนาน"
พระโสณะสอนการสวดมนต์ให้อุบาสกอุบาสิกา
บัณฑิตทอง หลังจากสึกแล้ว พระโสณะได้มาหาถึงที่อยู่บอกว่า เจ้าอยู่เป็นคนบ้าน ในถิ่นสุวัณณภูมิไม่มีวิธีสวดวัดของอุบาสกอุบาสิกา ให้เอาคำ นะโม
ตัสสะ, พุทธัง ธัมมัง, อิติปิโส, อริยอุโปสถ (ศีล ๘)
บัณฑิตทอง จึงได้ชักชวนเอา (ห)มอ เสมอ, พ่อขุนอิน, น้องผิวทอง, นายยอดคง, แม่ละออง, ขุนคนอง, ขุนภยาแมน, ขุนแสนไพล, งามตัวหัวหญิง
(สิริงามตัวเทวี) มนขอมพิสสณุ (พระศรีอาริย์โพธิสัตว์ ชาตินี้เกิดเป็นช่างปั้นพระพุทธรูป) เริ่มหัดสวดกัน เมื่อปี ๒๔๖ พระเถรโสณะเรียกว่า
"สังโยคสวดมนต์"
บัณฑิตทอง บอกว่า แปลจากคำมคธให้คนเข้าใจ รู้เรื่องรู้ความหมายได้ดี ได้จำแล้ว สอนท่องจำ ได้พร้อมแล้ว ให้สวดช้าๆ พร้อมกัน ชื่อ "สังโยค"
ทองบัณฑิต สอนคำมคธ ตามพระเถระโสณะสอนภิกษุสามเณร ชื่อ "พุทธมนต์" สวดออกเสียงเป็น "คณะสัชฌายะ" เริ่มหนึ่งเดือน แคล่วคล่องดี
ท่านพระเถระโสณะว่า หัดสวดใช้ได้
ทองบัณฑิต เรียนเสียง เมื่อเปนภิกษุหัดผู้คนเรียน มีมากแล้ว ให้ส่งไปให้ผู้ยังไม่เคยเรียน ถึงเมืองธัมราช (นครศรีธรรมราช) เถือมทอง (นครปฐม)
นองทอง (กาญจนบุรี) อู่ทอง ขุนเมืองไพลทอง เมืองพุทอง พุนพิน พันยอง อ่างทอง มิง ละโว ดงทอง กอกทอง เขื่อนทอง
หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า ชื่อเมืองเหล่านี้ คงมาถึงปัจจุบันก็มี เช่น อู่ทอง อ่างทอง บางชื่อ เช่น นองทอง
ได้ตั้งกาญจนบุรีทับลงไป นองทองก็หาย
และไพลทอง(ไพรทอง)ได้รูปขุนสรวงนางสางที่ถ้ำฤษี หลังค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์ มีจารึกว่า ขุนไพลทอง ขุนญิงพุ่มทอง ทำ ตั้ง เมืองไพลทองปี ๗๖๘ จึงรู้ว่า
นครสวรรค์เดิมชื่อ ไพลทอง
ตอนปี ๒๕๐ พระญาณจรณะ ส่งภิกษุไปอินทรัฐ (อินเดีย) อีก ๒๐ รูป และมีสามเณร ๗ องค์ พร้อมทั้งมีศิษย์ อีก ๑๕ คน ไปเรือเมื่อวันขึ้น ๓
ค่ำ เดือนอ้าย
หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า พระภิกษุสามเณรคณะนี้ ไม่พบจารึกกลับมา พระเจ้าอโศกมหาราชเจ้าครองอยู่ ๔๐ - ๔๑ ปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่
พ.ศ.๒๑๘ - ๒๕๙ ขณะที่ พ.ศ.๒๕๐ จึงยังเป็นรัชสมัยของพระองค์อยู่ ทางสุวัณณภูมิจึงส่งไป
เป็นอันว่า หลังจากที่คณะสมณทูตได้วางรากฐานในสุวัณณภูมิ มีการให้พระไทยทำการอุปสมบท และทำการลาสิกขาบท พร้อมทั้งสอนพระไตรปิฎก
หัดให้ชาวไทยท่องสาธยายบาลีแบบสังโยค จนคล่องแคล่วดีแล้ว จึงได้เผยแพร่ไปตามหัวเมืองอื่นๆ เป็นการขยายพุทธศาสนาไปในต่างแดนอีกด้วย
พระพุทธศาสนาสุวัณณภูมิไทยไปทะเลใต้
ซ้าย พระพุทธรูปทองสำริด ปางปฐมเทศนา วัดเพชรพลี
ขวา พระพุทธรูปหินทรายแน่น ปางปฐมเทศนา
เดิมอยู่ ณ ชวา มาสถิต ณ วัดพระแก้วไทย
.....เมื่อปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๔๙ ขุนสุถารสสี เจ้าเมืองชวกะ (อ่าน ชะวะกะ - ชวา) ให้ลูกสาวชื่อ ลตูสุวาเทียม เดินทางมาสู่กรุงสุวัณณภูมิ
เพื่อขอนิมนต์ พระโสณะ เดินทางมาที่ เมืองจอกตากอ (จ๊อกจากาต้า)
หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า คำว่า "ลตูสุวาเทียม" ชื่อและเสียงชาวทะเลใต้ หรือแขก นั้น ไทยคงเขียนคำและเสียงไม่ตรงทุกชื่อ
ที่อ่านออกมา คนไทยก็อ่านเขียน ตามเสียงและคำไทย อาจไม่ถูกตลอด
แต่พระเถระได้พิจารณาคัดเลือกคนไทยที่ได้อุปสมบทไปกับท่าน ชื่อว่า พระธัมมสุนันทะ(ทองวน) กับ พระกัจจายนะ (ผิว)
เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนา โดยมี ลตูสุวาเทียม เป็นองค์อุปถัมภก
แต่ต้องรอให้พระใหม่ทั้งสองได้มีอายุพรรษาได้ ๕ พรรษาเสียก่อน พอที่จะมีคุณสมบัติในด้านความประพฤติ เพื่อดูแลหมู่ภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาได้
ครั้นถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีพุทธกาล ๒๕๒ พระเจ้าตวันอธิราช และ พระนางสิริงามตัว จึงให้จัดเสบียงบรรทุกไปในเรือจำนวน ๖ ลำ พร้อมคน ๓๓
คนร่วมเดินทาง อันมี พระโสณะ พระอุตตระ พระมูนียะ พระธัมมสุนันทะ และ พระกัจจายนะ เป็นต้น
โดยคณะทั้งหมดได้เดินทางล่องเรือลงไปทางใต้ ค่อนปีจึงถึง มลัย (มลายา) ได้เทศน์โปรด มังคลสูตร ให้คนที่นั่นแล้ว จึงได้เดินทางต่อไปถึง
มลกะ (มะละกา)
อยู่ที่นั่น ๑ ปี ขึ้นถึงปี ๒๕๔ จึงเข้าประเทศชวกะ ขุนสุถารสสี ในขณะนั้นแก่มากแล้ว ได้มาต้อนรับพร้อมกับเมียชื่อว่า ขุนหญิงสีอิรณู
และลูกคือ ขุนลตูสุวาเทียม ได้เชิญคณะสมณทูตมาพักที่เรือนป่าอุทยาน ชื่อว่า สุลาคการะจตี
สร้างวัด "พุทธภูมิ" ในอินโดนีเซีย
พระโสณะเทศน์ด้วยถ้อยคำชวกะ
.....รุ่งเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีพุทธกาล ๒๕๔ พ่อเมืองพร้อมกับประชาชนชายหญิง ได้พากันถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุทั้งหลาย ที่เดินทางมาจากประเทศไทย
หลังจากทำภัตกิจเสร็จแล้ว พระโสณะเถระ จึงได้แสดงธรรม จุลกัมมาวิภังคสูตร โปรดเจ้าเมืองและพระญาติวงศ์ ตลอดจนประชาชนจนเป็นที่เลื่อมใส
นับเป็นเรื่องอัศจรรย์มากในขณะนั้น ทั้งที่พระโสณะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร แคว้นมคธ แต่ด้วยคุณธรรมอันสูงสุดของท่าน ที่ได้แตกฉานใน "นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ"
คือพูดได้หลายภาษา อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้น ในตอนนี้ กะเบื้องจารได้จารึกไว้ว่า
พระเถระได้เอื้อน (เอ่ย, พูด, เทศน์) เป็นคำชวกะ ให้คนรู้ทั่ว เป็นที่ประหลาดใจแก่ผู้ที่ได้รับฟังเป็นอย่างยิ่ง ขุนลตูสุวาเทียมจึงได้กล่าวว่า
ได้เห็นองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตรงที่ป่านี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เหลือแต่นิมิต คือเครื่องหมายแห่งพระธรรม และพระอรหันตสงฆ์
ที่ตรงนี้จึงควรสร้างให้มีชื่อว่า "พุทธภูมิ"
ในเรื่องนี้ หลวงพ่อพระราชกวี วัดโสมนัส ท่านอธิบายว่า เดิม "พุทธภูมิ" นี้ เข้าใจว่าเป็นแห่งเดียวกับ
"บุโรบุโด" ซึ่งสร้างประมาณ ค ศ ๘๐๐ (พ ศ ๑๓๔๓) ระหว่างรัชสมัย ราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันที่ครองเมืองนครศรีธรรมราช
บุโรบุโด จึงสร้างทีหลัง พุทธภูมิ ถึงพันกว่าปี และยังห่างจากนี้ ๒๕ ไมล์ ส่วนพุทธภูมิที่ท่านจดไว้นี้
ก็เป็นที่ป่าช้าของราชวงศ์ชวาในสมัยนั้น คงจะอยู่ในหรือใกล้ จอกกาต้า ซึ่งบัดนี้ ๒ พันกว่าปีมาแล้ว อาจอยู่ใต้แผ่นดินแล้วสูญไปก็เป็นได้
หลังจากที่ยกที่ป่าช้าให้สร้างวัดแล้ว ขุนสุถารสสี ก็สิ้นพระชนม์ ลตูสุวาเทียม จึงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน
พระโสณะจึงได้กำหนดนิมิตสีมา เมื่อวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๗ พุทธกาล ๒๕๔ ที่จอกกาตอ มี ช่างผุย เป็นผู้วางส่วนกว้างยาวในเนื้อที่ ๕,๐๐๐ วา
ต่อมา พระธัมมสุนันทะ และ พระกัจจายนะ ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อพรรษาครบ ๑๐ แล้ว ครั้นเสร็จภารกิจแล้ว พระโสณะ
จึงเดินทางกลับกรุงสุวัณณภูมิ เมื่อเดือน ๑๒ ปีพุทธกาล ๒๕๕ (ตั้งแต่ปี ๒๕๒ - ๒๕๕)
พระธัมมสุนันทะ และ พระกัจจายนะ อยู่ที่ชวาสร้าง วัดพุทธภูมิ และ วัดพุทธปาลี (วัดนี้สร้างทีหลัง) จนถึง พ.ศ. ๒๙๘ (๔๔ ปี)
เมื่อขุนสุวาเทียมตาย เห็นว่าอาจะมีภัยจึงเดินทางกลับสุวัณณภูมิ
(โปรดติดตามตอน "ต้นเรื่องข้าวทิพ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 3 ]
(วันที่ 28 สิงหาคม 2560)
ต้นเรื่องข้าวทิพ
...หลังจากที่ ภิกษุทอง ธัมมกาโม ได้ลาสิกขาบทแล้ว ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น บัณฑิต ต่อมา ทองบัณฑิต ผู้เป็นศิษย์ของ พระโสณะ
พระอุตตระ ได้เสาะหาวิธีหุงข้าวอันลือชื่อว่า ข้าวมธุปายาสไทย
โดยมี ถั่ว งา น้ำผึ้ง น้ำ อ้อย น้ำตาลโตนด และกะทิ อันมี แม่นางทองดี (ว่าที่แม่ยาย) และลูกสาวชื่อว่า ทิพพา เป็นคนหาหม้อคั่วข้าวตอก
ข้าวตาก ข้าวเม่า ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวละมาน ถั่ว งา แล้วเคี่ยวน้ำอ้อย น้ำผึ้ง ผสมนมวัว หุงเคี่ยวตลอดคืน
เช้าได้นำไปถวายพระโสณะฉันรวมกับพระสงฆ์แล้วได้อนุโมทนา
ทองบัณฑิต ได้เป็นผู้ปรุงข้าวมธุปายาสไทยเป็นคนแรก เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปี ๒๕๗ เมื่อปี ๒๕๘ มีคนนำถั่วงามามากให้ ทิพพา เป็นคนทำ
จึงให้ชื่อว่า พุทธคยา หรือ คยาสาด
ต่อมา ทิพพาสาว เป็นผู้นำข้าวมธุปายาสนี้ไปถวายพระโสณะ พระฌานียะ พระภูริยะ พระอุตตระ และพระมูนียะ พระมหาเถระทั้ง ๕ องค์ จึงกล่าวว่า...
"...ข้าวสาวทิพพา.." ต่อมาจึงมีคนเรียกตามคำพระเถระว่า "ข้าวทิพ" มาจนกระทั่งบัดนี้
นี่คือประวัติความเป็นมาของ พิธีกวนข้าวทิพ และ คยาสาด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้
ถ้าไม่มีกะเบื้องจารจารึกไว้ พวกเราชาวไทยคงจะไม่ทราบประวัติความเป็นมาอย่างแน่นอน
ครั้นทราบถึงพระเจ้าตวันอธิราช พระบาทท้าวเธอจึงทรงโปรดให้ ทองบัณฑิต ทำไว้เป็นเสบียง เพื่อภายหน้ามีศึกมาทั่วจะได้พร้อมสู้
ข้าวนี้แช่น้ำแล้วพองขึ้นได้ เมื่อกินกับน้ำทำให้อิ่มทน ให้ทำปีพุทธกาล ๒๕๘
ต่อมา ทองบัณฑิต ได้แต่งงานอยู่กินกับเมียชื่อ ทิพพา มีลูกหญิง เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีพุทธกาล ๒๖๑ ให้ชื่อว่า "ทองคำ"
(บัณฑิตทอง)ว่า มีลูกญิงจะได้ (เป็นดอกไม้สวยงาม ประจำบ้านแล้วจะได้) แต่งงาน
ทองบัณฑิต อยู่กินด้วยทิพพา ทำสวน นา สินได้ มีลูกชายเมื่อวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปี ๒๖๓ มีชื่อว่า ทองสองสี แม่ไปล่ว่า ไทยทิพ จึงชื่อ
ไทยทิพ บัณฑิตทองว่า มีลูกผู้ชายไว้ปัพพัชชา (บวช)
พ่อสอนลูก
.....ตามที่ได้เล่าไว้แล้วว่า พระเจ้าตะวันอธิราช และ พระนางสิริงามตัวเทวี ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ และพระราชธิดา ๑ พระองค์
ตามกเบื้องจารเล่าว่า
เดือนเด่นฟ้า เรียนสือไทยในสำนัก พระญาณจรณะ ส่วนน้อง ดาวเด่นฟ้า และ แสงสายทอง สนุกเล่นมาก เรียนสือได้น้อย
รู้น้อย โดยมีครู "ขอมสอน" เป็นผู้สอนอ่าน เขียนสือ
นอกจากการเรียนหนังสือจากครู "ขอมสอน" แล้ว ยังมีการเรียนรู้ วันเดือนปี, เวลา, ฤดู เป็นต้น เช่น เดือนคู่, เดือนเต็ม, คี่, ขาด, เดือน ๘/๘ มี ๓๐วัน
เดือนเพิ่ม เดือน ๗ มี ๓๐ วัน เมื่อถึง ๔ ปีเพิ่ม (อธิกวาร) เรียนอินกินตวันเดือน (สุริยคราส - จันทรคราส) อันมีในปีไหนบ้าง
ส่วน เวลา มีการเรียนรู้ ผาน้อย - ผา - อัน (ผาน้อย = วินาฑี, ผา = นาฑี, อัน = ชั่วโมง)
รู้แดด - น้ำ - ลม - ฝน
เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม นับชื่อ หน้าหนาว
เดือน ๔ - ๕ - ๖ นับชื่อ หน้าร้อน
เดือน ๗ - ๘ - ๙ นับชื่อ หน้าฝน
เดือน ๑๐ - ๑๑ - ๑๒ นับชื่อ หน้าน้ำ ตามของลว้าไทย
กเบื้องจารจารึกต่อไปว่า สมัยนั้นมีการสอนให้รู้จักการ เก็บส่วย (ภาษีอากร) และวิธีการทำ เงินตรา ซึ่งมีการจารึกไว้ดังนี้
ปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๕๖ เดือนเด่นฟ้า ดาวเด่นฟ้า แสงสายทอง ขอแม่สิริงามตัวเทวี สุวัณณภูมิ ผู้สอนส่วยเมือง, กอบเมือง, ขนอนเมือง, อาญาเมือง, ลือชา
ส่วยตลอดปีเก็บ ๑ คราว
แล้วหาเงิน ทำเงิน ธัมจัก (อันละ) ตำลึง ตวัน อันละ ๑ ดำรอง(บาท) ตราดาวล้อมเดือน ๑ สลึง เดือนเว้า ๑ เฟื้อง เงินตรากวางนอนเงยหน้า ๑ อันต้น(สตางค์)
เงินตราช้างคู่อันละชั่ง
นอกจากนี้ยังมีอัตราเงินเดือนของเจ้าเมือง, เมียใหญ่, เมียน้อย, เสมียน ตลอดจนถึงทหารและบ่าวไพร่ทั้งหลาย มีคำจารึกไว้ดังนี้
คนขุนเมืองทอง ๑ ปี เดือนอ้ายได้ ๑๐ ชั่ง เป็นค่าขวัญ
เมียผู้ใหญ่ ๔ ชั่ง เมียน้อน ๓ ชั่ง ขุน ๒ ชั่ง
เสมียนเมืองทอง ๖ ดำรอง
คนศึก ๖ สลึง
ผู้ขุนแทนพ่อเมือง ๔ ชั่ง
ลูกเมียน้อยเมื่อเป็นขุนศึกเมือง (หรือ) เสมียนเมือง ๒ ชั่ง
ลูกญิงเป็นขุนนางเมือง ๒ ชั่ง
ลูกญิงเป็นนางใน ๑ ชั่ง
ลูกญิงว่างเปล่า ๒ ตำลึง
มีขอมอิน ๑ ชั่ง
ทองงามขอมญิง ๑๐ ตำลึง
เบี้ยไพร่หลวง หมื่น ดำรอง, พันมี ๑๐ คน, ร้อยตำลึง ร้อยมี (ร้อยคน) พันดำรอง หมู่มีพันคน ๒ พันดำรอง
อีกห้าร้อยคน คนละ ดำรองกึ่ง (เพื่อไพร่เมือง) เมียใหญ่พ่อเมืองคุมเบิก (ขุน) ผู้คุมคลังหลวงจ่าย (จารพุทธกาล ๒๕๘)
แต่งตั้ง "สิริงามตัว" เป็นพระมเหสี
......ตะวันอธิราช พ่อเดือนเด่นฟ้า ตั้ง สิริงามตัว (เทวีสุวัณณภูมิ) เป็น แม่อยู่หัวเมือง เนา (เนา คือ "ใน" เป็นคำไทยลว้า
ลาวเดิม) เมืองสุวัณณภูมิ ตั้งเมื่อวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ พุทธกาล ๒๕๓ จอ (ตามคำนาณ น่าจะเป็นปีกุน) เป็นแม่อยู่หัวเมืองทองคนไทยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๙ เมื่อเดือนเด่นฟ้ามีชันษา ๑๓ ตะวันอธิราชผู้พ่อสอนวิธีการปกครอง, การทำศึกสงคราม, การต่อเรือ, การจัดทัพ, ยุทธวิธี
การจัดการบ้านเมืองของผู้แพ้และเชลย ปรากฏในจารึกกเบื้องจารดังนี้
พระเจ้าตะวัน ผู้พ่อ "เดือนเด่นฟ้า" สอนลูกให้รู้ความเมือง, ข้อกฎหมายบ้านเมือง, ให้รู้จักตั้งผู้คนให้มีตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ขุนวัง ขุนคลัง
ขุนเสมียน ขุนเมืองออกขุนว่ากฎหมาย มีหมู่ แขวง หัวหน้า เป็นต้น และได้เรียนการทำศึก ทั้งทางทะเลและทางบก กองม้า กองช้าง
กองหน้า มีกองปีกขวาซ้าย กองใหญ่ อยู่กลาง กองหลัง ลูกหนุนสะเบียง ตัวขุนศึกผู้รู้ทางศึก ในเขา, ทุ่ง, ป่า, เมือง, กองช้าง, ม้า
ศึกตะเวนหน้า กองเคลื่อน กองรุก ขุนศึกนำลูกศึกเข้าโจมตี
กองหน้าไม้ยิงเบิกทาง กองขุนลูกทัพตลุย ขุนศึกต้องรู้การจัดบ้านเมือง, ผู้ที่เป็นเชลย, ข้าวของอย่าเอาหมด ให้เหลือคนคุ้มบ้านเมือง อย่าขืนใจเมียเขาและเด็ก
ซึ่งเป็นผู้แพ้ แล้วต้องรู้แพ้ชนะ
พระเจ้าตะวันสอนไว้เมื่อพุทธกาล ๒๖๑ แล้วตั้ง เดือนเด่นฟ้า เป็นขุนเมือง สุวัณณภูมิ เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีพุทธกาล ๒๖๔ (ปี ๒๖๔
เป็นปีที่พระโสณะนิพพาน)
ต่อมา พ.ศ. ๒๖๕ ก่อนส่งลูกไปปกครองเมืองอู่ทอง ในขณะที่เดือนเด่นฟ้ามีชันษา ๑๙ ตะวันอธิราชสอนวิธีปฏิบัติตนให้เป็นขุนเมืองที่ดี คล้ายกับทศพิธราชธรรม
ดังจารึกต่อไปนี้
.....พระเจ้าตะวันได้ส่งไปอยู่ เมืองอู่ทอง เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๖๕ พ่อสอนความเมืองอีกว่า
๑ ต้องรู้จักอ่อนน้อมผู้ที่ควรอ่อนน้อม
๒ ผู้มีความดีควรยกขึ้น
๓ ผู้ใหญ่มีศีลมีธรรม ควรฟังแล้วทำตาม
๔ หญิงใดไม่ควรขืนใจผิดธรรมดา
๕ อันที่นับถือกฎหมายไม่ควรถอน
๖ เด็กน้อยไม่ควรเอาเปรียบ
๗ ผู้ผิดควรให้ลงโทษสมความผิด
๘ คนมีความชอบ ควรต่อของขวัญ
๙ ขุนเมืองผู้ปกครองคน ควรเลี้ยงคน และสัตว์ให้ดี
๑๐ เมื่อมีข้อขัดแย้งในที่ชุมนุมชน ให้ขุนเมืองเป็นผู้ชี้ขาด
หากมีศึกมาติด ขุนคุมผู้คน อันเป็นลูกศึกออกสู้ศึก ทำคนให้เป็นไท ผู้มีหวังค้า..ให้ค้า ผู้มีหวังทำงาน..ให้นา ให้สวน
ผู้เที่ยวเบียดเบียนผู้อื่นให้จับขังไว้
เดือนเด่นฟ้าได้ฝึกเป็นขุนปกครองเมือง ระหว่างที่พระราชบิดายังมีพระชนม์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๐ ปี (พ.ศ. ๒๖๕-๓๐๕)
พระธัมมสุนันโท (ทองวน) เมื่ออยู่จอกกาตอ ช่วยสร้าง พุทธภูมิ พระโสณเถระกลับไปสู่สุวัณณภูมิแล้ว เมื่อมีปีพรรษาเข้าครบสิบแล้ว
เอาภาระเป็นพระอุปัชฌายะ คู่กับ พระกัจจายโน (ผิว) ให้อุปสมบทแก่ชายชาวชาวกะ
แม้พระเถร มูนียะ มาพา พระกัจจายโน ไป ดุลุงดมิลิปีบาลี (บาหลี?) ให้ไปเป็นพระอุปัชฌายะ พระกัจจายโนพาภิกษุร่วมสิบองค์ เดือน ๖
ปีพุทธกาลล่วงแล้ว ๒๕๘ อันนึ่ง (อนึ่ง) พระธัมมสุนันโท ได้บวชภิกษุพันสี่องค์แล้ว ได้ฟังข่าวว่าพระโสณะป่วย จึงกลับมาหา (๒๖๔)
(โปรดติดตามตอน "วางแผนจารประวัติไว้ให้คนไทยอ่าน" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 4 ]
(วันที่ 4 กันยายน 2560)
วางแผนจารประวัติไว้ให้คนไทยอ่าน
.....หวังว่าคงเข้าใจในเจตนารมย์ของท่านเจ้าคุณ พระราชกวี (หลวงพ่ออ่ำ) ในฐานะที่ท่านเคยเกิดเป็น ขุนแสนไพล ในอดีต
โดยได้รับคำสั่งจากพระอรหันต์โสณะ นำมาอ่านให้คนไทยได้รู้เรื่องกัน ซึ่งมีใจความจารึกไว้ดังต่อไปนี้...
.....พระโสณะท่านรู้ล่วงหน้าว่าจะนิพพาน ในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีพุทธกาล ๒๖๔ และสั่งให้ไว้ศพท่าน ๑๐ วันแล้วเผา (พระอุตตระ,
พระฌานียะ, พระภูริยะ, พระมูนียะ ยังคงอยู่ช่วยพระศาสนาจนมรณภาพทุกองค์ในสุวัณณภูมิ)
คณะสมณทูตทั้ง ๕ รูปนี้ ได้ปฏิบัติศาสนกิจของท่านสมบูรณ์แบบ ยังผลให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ปวงชนชาวไทยลวะ
จนเป็นที่เล่าลือไปถึงชวา จนถึงกับนิมนต์พระสงฆ์ไทยไปสร้างวัดในชวามาแล้ว
พระโสณะและคณะของท่านได้ช่วยวางระเบียบแบบแผนตามวินัยสงฆ์ วางต้นแบบสวดมนต์ (สมัยนั้นเรียก "จำเริญพระพุทธมนต์" สมัยนี้กลายเป็น "เจริญพระพุทธมนต์")
ตลอดพิธีการทำบุญต่างๆ จัดวิธีการสาธยายพระไตรปิฎก ส่งพระสงฆ์ไทยไปเล่าเรียนที่อินเดียและลังกา เป็นต้น
พระสมณทูตทั้ง ๕ สายที่ ๙ ณ สุวัณณภูมินี้ ท่านได้อุทิศชีวิตเป็นพุทธบูชา ชาวไทยลว้าเป็นหนี้บุญคุณท่านอย่างล้นเหลือ
และเชื่อกันว่าทุกท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จารึกในกเบื้องจารทุกแผ่นที่กล่าวถึงการมรณภาพของท่าน แต่ละองค์ใช้คำว่า "นิพพาน"
คำพยากรณ์ครั้งสุดท้ายก่อนนิพพาน
.....พระโสณเถระเป็นหัวหน้าคณะสมณทูตที่ปรีชาสามารถ และทรงคุณธรรมอันสูงส่ง เมื่อยังมีชีวิตอยู่ท่านได้สั่งสอนให้คนไทยชายหญิงได้ออกบวชกัน
จึงมีทั้งพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี โดยเฉพะสั่งสอนพระไทยได้เป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งแนะนำให้พระเจ้าโลกลว้าทรง "ทอดกฐิน" เป็นครั้งแรกอีกด้วย
ก่อนท่านจะดับขันธปรินิพพาน ท่านยังเป็นห่วงลูกหลานไทยจะไม่รู้ประวัติความเป็นมา ทั้งๆ ที่กำลังป่วยใกล้มรณภาพ เพื่อให้จารจารึกลงกเบื้องจารไว้ ความสำคัญมี
๒ เรื่อง คือ
๑. การแนะนำให้สร้างวัด สร้างเมือง
๒. การพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตของพระพุทธศาสนา และบ้านเมืองของชนชาติไทยต่อไป
การที่พระโสณะท่านว่าให้สร้างเมืองนั้น คงจะหมายถึงบูรณะพัฒนาก่อสร้างเพิ่มเติมมากกว่า เพราะส่วนมากเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยกันมานานแล้ว
แต่บางแห่งอาจมีพลเมืองไม่มากนัก เมืองที่พระโสณเถระบอกให้สร้างและพัฒนา คือ
๑. เถือมทอง หรือ "ถมทอง" คือที่ตั้ง นครปฐม ปัจจุบันนี้
๒. อู่ทอง หรือ "สองพัน" หรือ สุพัณณบุรี (สุพรรณบุรี)
๓. นองทอง หรือ "เต็มทอง" ท่านให้ตั้งชื่อใหม่ว่า กาญจนบุรี หลังจากสร้างเสร็จแล้ว
๔. พริบพรี หรือ "พริบพลี" ให้ตั้งชื่อว่า เพชรพริบพลี (เพชรบุรี)
๕. ช้างค่อม เป็นเมืองที่พระโสณะกับคณะสมณทูตขึ้นจากเรือ ปัจจุบันเป็นแถวปากน้ำ ตำบลท่าเรือ นครศรีธรรมราช
ขณะนั้น พระโสณเถระมีอายุ ๑๑๐ พรรษา ก่อนนิพพาน ๑๒ วัน (วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปี ๒๖๔) ท่านบอกให้หาคนจารึกคำพยากรณ์ของท่านลงในกเบื้องจารไม่น้อยกว่า ๙๗
แผ่น แต่หลวงพ่ออ่ำเขียนลงให้อ่านเพียง ๓๑ แผ่น ประมวลได้ ๓๔ ข้อ (เลขในวงเล็บเป็นหมายเลขกเบื้องจารที่คูบัว) จึงขอเริ่มเรื่องดังต่อไปนี้...
.....ครั้นถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีพุทธกาล ๒๖๔ พระโสณะ กับ พระอุตตระ ทูลเชิญ พระเจ้าตะวันกับพระนางสิริงามตัว
พระโอรสเดือนเด่นฟ้า ขุนแสนไพล และ ขุนภยาแมน สองนักรบคู่พระทัย พร้อมกับ พระฌานียะ พระภูริยะ พระมูนียะ พระญาณจรณะ และ พระธัมมสุนันทะ
ซึ่งเดินทางกลับมาจาก จอกกาตอ (ชวา) หลังจากทราบว่า พระโสณะ อาพาธ มาเพื่อให้จารึกเรื่อง "สุวัณณภูมิ" ไว้
เมื่อได้ฟังคำพระโสณะแล้ว พระเจ้าตะวันจึงมีรับสั่งให้ชุมนุม ขอมอิน ขอมมี ขอมสอน และ มนขอมพิสณุ พร้อมลูกมือ ๘ คน เป็นผู้เขียน
พร้อมทั้งทรงแต่งตั้งให้ เดือนเด่นฟ้า เป็นผู้รับฟังคำบอกเล่าของพระโสณะ แล้วเขียนให้ตรงกับคำกล่าวนั้น ส่วน พระนางสิริงามตัว
ทรงช่วยจัดเลี้ยงคนด้วยข้าวและขนม เดือนเด่นฟ้า จึงเขียนจารึกตามคำของพระโสณะว่า...
...น่าเสียดายที่ต้องขอจบเพียงเท่านี้ก่อน กำลังจะเข้าถึงตอนสำคัญของเรื่อง เพราะคำพยากรณ์ของท่านนี้ นับเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยนี้
เพื่อกำลังใจและความมั่นใจในอนาคต จึงขอให้ติดตามอ่านคำพยากรณ์ในตอนต่อไป..สวัสดี
(โปรดติดตามตอน "พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 5 ]
(วันที่ 11 กันยายน 2560)
พระโสณะพยากรณ์
อนาคตของพระพุทธศาสนา ๓๔ ข้อ
.....นี่เป็นหลักฐานคำพยากรณ์ในกเบื้องจาร แผ่นนี้มีความสำคัญมาก ซึ่งถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับหนังสือ พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์
จึงขอเริ่มคำพยากรณ์ดังต่อไปนี้...
...(คำพยากรณ์ที่ ๑) เมื่อถึงปีพุทธกาล ๒๕๐๘ ภูมิพลราชา ครองกรุงเทพ เมื่อนั้น แสนไพล เกิดเป็นภิกษุชื่อว่า
ธัมมวงศ์เวที (หลวงพ่ออ่ำ) เป็นผู้เอามาอ่านออกความ จากเรื่องที่ปิดหายไปพันห้าร้อยปี (จาก พ.ศ. ๑๐๐๐ กว่าถึง พ.ศ. ๒๕๐๘)
เผยออกให้คนรู้เรื่องความเป็นมาของพุทธศาสนา
...(คำพยากรณ์ที่ ๒) เมื่อ เดือนเด่นฟ้า ดาวเด่นฟ้า และ พระเจ้าตะวัน พระนางสิริงามตัว ได้สร้างสงฆ์ เผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะมีอานิสงส์ให้ถึงสุคติหมื่นชาติเทียว (เลขที่ ๑๗๗/๑)
(คำพยากรณ์ที่ ๓) เดือนเด่นฟ้าจะไปเกิดเป็น ภูมิพลเลกราชา กรุงเทพมหานคร เมื่อนั้นสุวัณณภูมิฟื้นชื่อ มีคนรู้ทั่ว (เลขที่ ๑๗๗/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๔) สุวัณณภูมิจะดำรงอยู่พันสี่สิบห้าปี (๑๐๔๕) ต่อนั้นชื่อคูเมืองได้ชื่อว่า คูบัว เมืองมีชื่อว่า ราชพลี คือราชบุรี ณ
กาลต่อมา (๑๗๗/ ด้านข้างทั้ง ๔)
...(คำพยากรณ์ที่ ๕) เมื่อปีพุทธกาล ๙๘๖ พระพุทธโฆสะ แปลธรรมวินัยในสีหล (ลังกา) เมื่อนั้นจักเขียนคำว่าอย่างนี้..
ในช่วงพันปีแรก จะมีพระอรหันต์ครบ
พันปีที่ ๒ ยังมีพระอรหันต์ระดับสุกขวิปัสสโก
พันปี ๓ เหลือพระอนาคามี
พันปี ๔ เหลือพระสกิทาคามี
และพันปี ๕ เหลือพระโสดาปัน
พ้นพันปีที่ ๕ ไร้พระอริยะ (๑๗๖/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๖) เดือนเด่นฟ้าลงคำพระโสณะอรหันต์ ผู้ทำนายเมืองสุวัณณภูมิต่อไปว่า พ้นสองพันสี่ร้อยปีปลาย (๒๔๐๐) จะมีชื่อว่า เมืองไทย คนไทย (๑๗๘/๑)
พันปีที่ ๑ และพันปีที่ ๒ ยังคงอรหันต์สุกขวิปัสสโก
พันปีที่ ๓ ยังคงพระอนาคามี
พันปีที่ ๔ ยังคงพระสกิทาคามี
พันปีที่ ๕ ยังคงพระโสดาบัน
พันปีที่ ๖ สิ้นพระอริยะ
พันปีที่ ๙ สิ้นภิกษุสามเณร
หมื่นปี สิ้นพระพุทธพจน์ (๑๗๘/๒)
อธิบาย พระโสณะได้อ้างคำนายของ พระพุทธโฆษาจารย์ แห่งเมืองสุธรรมวดี แล้วท่านก็ได้พยากรณ์ว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยจะอยู่นานถึงหมื่นปี
ส่วน พระโสณะ ก็ได้เล่าประวัติความเป็นมาของตัวท่านเองว่า
.....แม่มีชื่อว่า นางตาปนีพราหมณี บิดาชื่อว่า สรเสนพราหมณ์ หุตนโคตร อาศัยอยู่ที่บ้านสามคี เมืองมคธ
เมื่ออุปสมบทนั้นมีอายุ ๓๒ ปี พระจันทวัชชี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสิคควะ เป็นอาจารย์ แล้วได้เสร็จกิจเป็นพระอรหันต์ เมื่ออายุ ๖๕ ปี
จบพระไตรปิฎก ๓
ต่อมาขณะที่มีอายุได้ ๘๐ ปี พระโมคคัลลีปุตตติสสะ ให้เข้าร่วมสังคายนาครั้งที่ ๓ ครั้นถึงอายุ ๘๑ ปี จึงได้เดินทางมาสู่สุวัณณภูมิ เดี๋ยวนี้อายุเข้า
๑๑๐ ปีแล้ว มีพรรษาได้ ๗๘ มาอยู่สุวัณณภูมิ ๒๙ ปี จักเข้านิพพานในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ จงเผาผีในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (ท่านสั่งให้ตั้งศพไว้ ๑๐ วัน
แล้วจึงทำฌาปนกิจ)
(โปรดติดตามตอน "พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 6 ]
(วันที่ 18 กันยายน 2560)
พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๗-๑๐
สร้างวัดตรงที่พระพุทธเจ้าเคยมาประทับ
...(คำพยากรณ์ที่ ๗) ในตอนนี้ พระโสณะได้แนะนำ พระนางสิริงามตัว ว่าสมัยพุทธกาล พระปุณณะ ได้มาถึงสุนาปรันตะ เมืองพริบพรี เพชรบุรี
ควรสร้างเมืองไว้ที่นี่ เพื่อเมื่อหน้าให้คนระลึกถึงพระปุณณะ ซึ่งเป็นผู้นำเอาพระพุทธศาสนามาครั้งก่อน (๑๐๕/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๘) ต่อมาพระนางสิริงามตัวก็ได้สร้างเมืองและวัดแล้ว พระฌานียะ ได้ไปกำหนดสีมาและนิมิต เพื่ออยู่สอนคน
แล้วหาคนมาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ สามเณร นางชี เป็นแบบแก่คนรุ่นหลัง (๑๐๕/๒)
พระโสณะก็ได้เล่าประวัติของสถานที่นี้ให้ฟังต่อไปว่า
...เดิมที นายจุล ชื่อมคธว่า จุลปุณณะ ซึ่งเป็นน้องชาย มหาปุณณะ ผู้อาราธนาพระพุทธเจ้ามาสู่สุนาปรันตะพริบพรี เมื่อปีพุทธพรรษา ๒๒
นายจุลมีลูกชื่อ จอม จอมเป็นผู้สร้างเมืองพริบพรี แล้วมีลูกชื่อ สีพริบพรี สีพริบพรีมีลูกชื่อ เติมสี เติมสีมีลูกชื่อ
ขุนเจริญเมือง ขุนเจริญเมืองมีลูกชื่อ ขุนสีดำรง
ขุนสีดำรงมีลูกชื่อ ขุนสีนำเมือง ขุนสีนำเมืองมีลูกชื่อ ขุนสีคนไทย ขุนสีคนไทยมีลูกชื่อ ขุนสีพี่น้อง ขุนสีพี่น้องมีลูกชื่อ
ขุนสีคนเมือง ขุนสีคนเมืองมีลูกชื่อ ขุนสีเมืองฟ้า มีเมียชื่อว่า สีทองอ่อน ต่างสืบกันมาอย่างนี้ (๑๐๘/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๙) พระนางสิริงามตัว จดคำของพระโสณะไว้ว่า ให้สร้างเมืองชื่อ เพชรพริบพรี สร้างวัดที่ มกุน (บ้านแม่กุน)
อันเป็นสถานที่พระปุณณะอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จมาพัก ๒ วันคืน
ในสมัยนั้น จุลปุณณะ น้องชายได้สร้างศาลา ๕๐๐ ห้องด้วยไม้จันทน์หอม ให้พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มาพักเมื่อคราวนั้น
ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมพระอรหันต์กลับไปแล้ว พระปุณณะยังอยู่ และตั้งชื่อที่นั้นว่า วัดพริบพรี (๑๐๘/๒)
รอยพระพุทธบาท ๒ รอย
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๐) เดือนเด่นฟ้า ลงคำพระโสณะต่อไปว่า ที่ สัจจพันธคีรี(สระบุรี) พระพุทธเจ้าเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้บนโนนหินให้
สัจจพันธเถระ พร้อมผู้คนกราบไหว้ และเป็นที่พำนัก ณ เมืองละโว้ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองสระบุรี สมัยก่อนตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเชื่อมจากอ่าวไทย
คือภาคกลางในปัจจุบัน)
จากนั้นก็ทรงประทับพระพุทธบาทไว้อีกหนึ่งรอย ณ แขวงเมืองเกาะแก้ว (ภูเก็ต) ใกล้ฝั่งน้ำท่าทะเลใหญ่ รอยพระพุทธบาทนี้ ให้คนน้ำ (ชาวเกาะ หรือชาวเล)
เคารพกราบไหว้บูชา (รอยนี้ชื่อ นัมทานที)
ต่อไปภายหน้าลุปี พ.ศ. ๑๑๒๕ (๑๐๗/๑) ผู้คนชาวเมืองต่าง ๆ รู้ข่าว จะพากันไปเที่ยวกราบไหว้บูชา เมื่อปีพุทธกาล ๒๕๐๐ แล้ว แสนไพล
อ่านกเบื้องจารดูรู้เรื่อง แล้วเปิดเผยให้คนอ่าน รู้เรื่องความเป็นมา และจะมีภิกษุชื่อ มหากอบ เป็นคนเมืองอื่นมาชวนคนชื่อ ทองดำ
สร้างเรือนยอดใหญ่ (พระมณฑป) เจริญรุ่งเรือง (๑๐๗/๒)
รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง
.....คำจารึกตอนนี้ ผู้อ่านคงจะเกิดความมั่นใจได้ดีว่า แผ่นดินสุวัณณภูมิเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จอย่างแน่นอน
และเป็นแผ่นดินไทยที่รองรับ พระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้าจริงๆ อีกทั้งรอยทั้งสองแห่งนี้ก็อยู่ใกล้กัน
โดยเฉพาะ รอยพระพุทธบาทที่ ๕ ณ นัมทานที ใน อรรถกถาปุณณสูตร บรรยายไว้ว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จ (ประทับอยู่ที่สุนาปรันตะ - เพชรบุรี)
โปรดพระปุณณะ ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จ (พร้อมพระสาวก ๕๐๐ รูป) ไปยัง ฝั่งแม่น้ำนัมทานที อันมีอยู่โดยลำดับ
พญานาคนัมทา กระทำการต้อนรับพระศาสดา ให้เสด็จเข้าไปสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะต่อพระรัตนตรัย พระศาสดาแสดงธรรมแก่พระยานาคนั้น
แล้วออกจากภพนาค. พระยานาคนั้นอ้อนวอนว่า
"...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทานสิ่งที่ควรสละแก่ข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า.."
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำนัมทานที รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นหลากมาย่อมปิด เมื่อคลื่นไปแล้วย่อมเปิดออก
ความถึงพร้อมด้วยมหาสักการะได้มีแล้ว ดังนี้
ที่มา - http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=112
.....เพราะฉะนั้น รอยพระพุทธบาทที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ๕ แห่ง (ส่วนที่อยู่ใน ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ทางภาคเหนือ และ
ตำนานพระธาตุพนม ทางภาคอีสาน มีอยู่อีกมากมาย) คืออยู่ที่ศรีลังกา ๒ แห่ง และอยู่ในประเทศไทย ๓ แห่ง ได้แก่
๑. สุวัณณมาลิก (ศรีลังกา)
๒. เขาสัจจพันธคีรี (วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี)
๓. เขาสุมนกูฏ (ศรีลังกา)
๔. โยนกปุระ (วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)
๕. แม่น้ำนัมทานที (เกาะแก้วพิศดาร จ.ภูเก็ต)
....ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยจึงมีประเพณีลอยกระทงมาแต่โบราณ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ ๕ ณ นัมทานที ตามที่ นางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทง
เพื่อลอยจากกรุงสุโขทัยไปบูชาที่นี่ (เกาะแก้วพิศดาร) โดยฝากไปกับพระแม่คงคานั่นเอง ขอเชิญชมคลิปวีดีโอจัดทำโดย คุณ Apimook Arayasirikul
(โปรดติดตามตอน "พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 7 ]
(วันที่ 25 กันยายน 2560)
พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ (ข้อที่ ๑๑-๑๕)
ผู้สร้างเมืองธัมราช (นครศรีธรรมราช)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๑) เมืองสุวัณณภูมินี้จะตั้งอยู่ถึงพันสี่สิบห้าปี (๑๐๔๕) จะย้ายไปช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) ที่เราพักอาศัยในก่อนนั้น
(คณะของพระโสณะเดินทางมาจากเมืองปาตลีบุตร ได้มาขึ้นฝั่งที่ช้างค่อมก่อน แล้วจึงเดินทางไปที่กรุงสุวัณณภูมิ) อัน พระมูนียะ จะไปบำรุง
เดือนเด่นฟ้าจะเป็นผู้สร้างเมือง, วัดมหาธาตุ, กวางหมอบ, ล้อธัมมจักร, พระอุโบสถ, พระเจดีย์ ให้ชื่อว่า เมืองธัมราช (๑๐๖/๑)
...เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องจริง ถ้าอ่านไปเรื่อยๆ จะพบว่ามีการย้ายเมืองไปอยู่นครศรีธรรมราช โดยกษัตริย์ ๒ พี่น้องจากสุวัณณภูมิ
มีนามว่า พระเจ้าจันทรภาณุ และ ขุนอินไศเรนทร์ ภายหลังเกิดศรัทธาทางลัทธิมหายาน จึงเน้นหนักไปทางพระโพธิสัตว์
ปัจจุบันนี้ที่ผ่านมาไม่กี่ปี จึงมีชื่อเสียงมากจากวัตถุมงคลอันลือชื่อ นั่นก็คือ จตุคาม รามเทพ นั่นเอง
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๒) แล้วพระโสณะก็ได้สั่งให้สร้างเมืองและสร้างวัดตามสถานที่อื่น ๆ อีกดังนี้
เดือนเด่นฟ้าฟังคำพระโสณะเอาใส่หัว ให้สร้างเมืองเถือมทอง (นครปฐม) เมืองอู่ทอง เมืองนองทอง (กาญจนบุรี) เมืองพริบพรี (เพชรบุรี) เมืองช้างค่อม
(นครศรีธรรมราช) เมืองพุนพิน (สุราษฎร์ธานี) ตามคำพระโสณะสั่ง (๑๐๖/๒)
พระโสณะกล่าวต่อไปว่า เมืองนองทอง นั้น ตัว นางโห่มาดี เคยครองเมืองมาก่อน เมื่อนางมาสู่เมืองแมน (สมัยก่อนสุวัณณภูมิมีชื่อว่า เมืองแมน)
ร่วมสร้างเมืองทอง มาเป็นเมีย ขุนโลลาย เราเคยอยู่เทศนาสอนคนนองทอง จึงควรสร้างเมืองแล้วให้ชื่อว่า กาญจนบุรี (๑๐๙/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๓) และควรสร้าง พงตึก บ้านของนางโห่มาดี อู่ทองเขาเขียว เมื่อก่อนหน้านี้ มนขอมพิสณุ ตั้งเรือนใหญ่
สร้างเมืองแล้วให้ชื่อว่า กาญจนบุรี ควรให้ อุตตระ ไปร่วมทำวัดมหาธาตุ และวัดที่ ดงสัก ในเมืองโกสิน หรือโกสินราย (๑๐๙/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๔) เมืองอู่ทองนี้ เมื่อถึงพุทธกาล ๑๒๗๐ จะเป็น เมืองสองพัน ลุขึ้นพุทธกาล ๑๕๑๗ จะชื่อ สุพัณณบุรี ต้องทำศึกชนะศรีวีชัย
ที่เมืองธัมราช (๑๑๐/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๕) ส่วน เมืองเถือมทอง ต่อไปจะเป็นเมืองไทย ชื่อ ทวาราวดี แล้วจึงเป็น นครปฐม พุทธกาล ๑๒๐๒ พ่อ ฟ้าเมือง
ตั้งชื่อใหม่ เมื่อตายแล้ว ใต้ฟ้า ผู้เป็นโอรส จะสร้างเรือนยอดประชุมเพลิงพ่อ แล้วสร้างวัด พระเมรุ มีเจดีย์ พระอุโบสถ พอถึงปี ๑๕๕๐
พานเมืองฟ้า และ อู่ทอง ร่วมกันทำศึกขับพวกเขมร (๑๑๐/๒)
เมืองเถือมทอง เมื่อปี ๑๑๐๒ มี ผู้สร้างเมือง ชื่อไทยทวาลาว (ไทยทวาราวดี) แล้วพานเมืองฟ้าตีศึกเขมร ปี พ.ศ. ๑๕๕๐ หนีมาที่ปากน้ำแล้วให้ชื่อ มหาชัย
(๑๑๑/๑) เห็นควรมี (วัด) มหาธาตุ พระภูริยะ พร้อมภิกษุสงฆ์ไปร่วมกำหนด ลูกนิมิต สีมาต้นให้ถูกต้อง (ตามวินัย) (๑๑๑/๒)
(โปรดติดตามตอน "พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 8 ]
(วันที่ 2 ตุลาคม 2560)
พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ (ข้อที่ ๑๖-๒๐)
เข้ายุคศรีวิชัย
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๖) หลังจากยุคสุวัณณภูมิแล้ว ศรีวิชัย จะใหญ่ขึ้น ครั้งนั้น เมื่อ ขุนอินไสเรนทร์ และ ขุนอินเขาเขียว ตั้งเป็นต้น
(ราชวงศ์) ไสเรนทร์ พุทธศาสนาอ่อนลง (๑๑๓/๑) เป็นพราหมณ์มากขึ้น
(ท้าวจตุคามรามเทพ ประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช)
(สมัยศรีวิชัยจะเห็นว่า นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์ หนักไปทางมหายาน แล้วกลับมามีชื่อเสียงในสมัยนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยในนาม
ท้าวจาตุคามรามเทพ สองพี่น้องที่นครศรีธรรมราช)
มีการตัดศักราช พุทธกาล เป็น จุลกาล และ ภาษามคธ (บาลี) น้อยลง คนหันไปนิยม ภาษาสันสกฤต มากหลาย ผู้จะบวชเป็นภิกษุมีน้อย
แต่สามเณรมีมาก เพราะหมายจะเป็นพระโพธิสัตว์กัน พอถึงปี ๑๓๕๐ ก็จะมีดีขึ้นมาบ้าง (๑๑๓/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๗) เมื่อพุทธกาล ๑๑๔๘ หลังจาก พระพุทธโฆสะ แปลคำสีหลมาสู่ภาษามคธแล้ว จะมีภิกษุชื่อ แก้ว ธัมมรัตโน
แปลธัมมวินัยมาสู่คำเมือง พุทธศาสนาเริ่ม (๑๑๔/๑) เจริญขึ้น มีคนศึกษาเล่าเรียนพระธัมมวินัย อินทรภาณุ เป็นผู้เอื้อเฟื้อให้สอบ
มีภิกษุต่างเมืองเรียนบาลีกัน แต่ในอินทรรัฐ (อินเดีย) พุทธพจน์เสื่อม มีแต่คำสอนของคนอื่นมาก ส่วนสีหล (ลังกา) ไทย พุทธพจน์ยังคงดี (๑๑๔/๒)
สมัยยุคสุโขทัย
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๘) เมื่อพุทธกาล ๑๕๕๐ เมืองไทยทวาราวดี คู่กับ เมืองสองพัน ช่วยกันขับเขมรและศรีวิชัยแตกไป ละโว้ (เปลี่ยนชื่อ)
เป็นเมือง กัมโพช (ตอนนี้คงจะตกเป็นเมืองขึ้นของขอม) ต่อมา ขุนศรีนาวนำเถือม (นำถม) สร้างเมืองสุโขทัยเมื่อปี ๑๗๖๕ แล้ว แพ้ขุนขอมกัมโพช
(๑๑๕/๑)
เมื่อ พระยาฟ้าเมืองราช (พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ปรากฏว่ามาจากราชบุรีนี่เอง)ไทยทวาลาวดี (ไทยทวาลาว) ไปนำ ขุนบางกลาง (ท่าว) เมืองยาง
มาสู้ขุนลำพองเมืองกำโพช เอาเมืองคืนแก่ขุนแล้วตั้งขึ้นเป็น ขุนศรีอินทราทิตย์ มีลูกชื่อ ร่วงคำแหง(พระร่วง + รามคำแหง ท่านเลยเรียกรวมเป็น
"ร่วงคำแหง") ร่วงคำแหงมีลูกชื่อ เลอไทย เลอไทยมีลูกชื่อ ธัมมราชา ลือไทย พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ปี ๑๘๒๕ (๑๑๕/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๑๙ พุทธกาล) ครั้นถึงพุทธกาลกว่า ๑๕๐๐ ปี อินทรรัฐ (อินเดีย) หมดพุทธสาสนา เมื่อถูกหมู่คนมิจฉาทิฏฐิครอง ส่วนในสีหล (ลังกา)
จะเสื่อมในพุทธกาล ๑๗๐๐ เมื่อปี ๔๕๐ จะมีการจารจารึกพระไตรปิฎกและคัมภีรอรรถกถา (สมัยก่อนนิยมท่องจำกัน เพิ่งจะเริ่มจารึกไว้ในสมัยนี้)
แล้วพระพุทธโฆสะไปคัดลอก (๑๑๗/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๐) เมื่อปี ๙๘๕-๙๘๗ พระพุทธโฆสะเถระ แปลอรรถกถา จากภาษาสีหลมาเป็นภาษามคธ ตามที่ พระมหินทเถระ ทำไว้เมื่อพุทธกาล ๒๔๐
ต่อมาพุทธกาล ๑๕๘๗ มีคัมภีร์ชื่อ ฎีกา เกิดขึ้น ปี ๒๐๒๖-๒๐๗๐ มี โยชนา และ อนุฎีกา เกิดขึ้นที่เมืองนพีสี เชียงใหม่ และ สุโขทัย
ต่อไปปี ๒๓๑๐ อยุธยาหาย (เสียกรุงครั้งที่ ๒) กรุงเกิดใหม่ ชื่อ กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. ๒๓๒๕) (๑๑๗/๒)
(โปรดติดตามตอน "พระโสณะพยากรณ์ ๓๔ ข้อ" ต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 9 ]
(วันที่ 9 ตุลาคม 2560)
พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๒๑-๒๕
พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๑) เดือนเด่นฟ้า ลงคำตามพระโสณะว่า พุทธกาล ๒๐๐๐ แล้ว เมืองนพีสี (เชียงใหม่) พุทธสาสนารุ่งเรือง
มีภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย แต่งคัมภีร์มูลภาษามาก ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พร้อม (๑๒๑/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๒) พุทธศาสนาทางด้าน สีหล (ลังกา) เสื่อม ภิกษุหมดสิ้น โคสราชา (พระเจ้าบรมโกศ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ให้
พระอุบาลี ภิกษุสงฆ์สยามไปสู่สีหล ตั้ง สยามวงศ์ ในสีหล มีวินัยธัมมะ มีภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา อีกคราว (๑๒๑/๒)
(หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า ในหนังสือ "สยามูปสัมปทา" คือ เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์ "สยามวงศ์" ในลังกาทวีป เล่าว่า สีหลลังกาทวีป
พระสงฆ์วงศ์พระมหินทเถระ หมดสิ้น พ.ศ.๒๐๗๐ ว่างพระสงฆ์อยู่ ๑๐๕ ปี จึงนำพระสงฆ์ไปจาก "ยะไข่" ก็สิ้นสุดอีก
จนถึง พ.ศ.๒๒๙๕ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงห์ ทรงอาราธนาพระสงฆ์สยามวงศ์ "พระโสณะ" ไปประดิษฐาน ณ วัดบุปผาราม นครศิริวัฒนบุรี ประเทศลังกา
เริ่มอุปสมบทชาวลังกาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖)
พยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และ กรุงรัตนโกสินทร์
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๓) เดือนเด่นฟ้า ลงคำพระโสณะว่า เมืองกรุงศรีอยุธยา อยู่ ๔๐๐ กว่าปี (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๐) ยอดฟ้าราชา
ก่อสร้างกรุงเทพมหานคร ตั้งยืน ๑๕๕๐ ปี (กรุงเทพจะอยู่ถึง พ.ศ. ๓๘๗๕) ราชาตลอดล้วนมีธรรม (เป็นพุทธศาสนิกชนตลอด ๒๕๖๐ ปีมาแล้ว ไม่เคยมีเปลี่ยน)
(๑๖๕/๑)
เมื่อนั้น พุทธพจน์เข้าถึงคนเมืองไทย อีกทั้งภิกษุสามเณรดีเป็นตัวอย่างคนตลอดทั่วทุกเมือง (๑๖๕/๒) แล้วพระโสณะได้สั่งว่าให้ พระญาณจรณะ เอา
มูลธาตุ เป็น มูลกัจจาย เพื่อเป็นแบบเรียน "บาลี" ต่อไปภายหน้า (๑๙๔/๑)
แล้วให้ พระทองวน ธัมมสุนันทะ และ พระผิว กัจจายนะ ช่วยแปลเป็นคำไทย เมื่อเรียน ท่อง, จำ, เป็น, รู้, แปล, ได้ง่าย (๑๙๔/๒)
(แสดงว่าพระโสณะท่านเป็นห่วงลูกหลานไทย จึงวางแผนให้เรียนภาษาบาลีได้ง่ายขึ้น)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๔) เมื่อพุทธนิพพานกาล ๒๔๓๐ เมื่อ มหาสมณะ (พระมหาสมณเจ้า กรมวชิรญาณวโรรส) แปลพุทธพจน์เอาจากมูลนี้ แล้วแก้ใหม่ให้ชื่อว่า
ไวยากรณ์ (๑๙๕/๑)
ครั้งนั้น เรียนง่าย ภิกษุสามเณร (ตลอดถึง อุบาสก อุบาสิกา แม่ชี) เรียนพุทธพจน์มาก สือไทยออกนอกเมือง พุทธศาสนาตั้งในไทย แพร่ไปทั่วโลก (เช่น
เข้าไปในคัมภีร์คนขาว คนดำ) (๑๙๕/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๕) พุทธกาล พ.ศ. ๒๕๐๐ ก่อนนี้ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๓๐ ด้วงราชา (พระพุทธยอดฟ้า) เป็น (ต้น) ผู้รวมธรรม ทรงให้ชำระพระไตรปิฎก เมื่อ พ ศ ๒๓๓๑
มหามกุฎ (รัชกาลที่ ๔) จะฟื้นฟูธัมมวินัย (และตั้งนิกาย) ธัมมยุต (๑๑๘/๑)
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 10 ]
(วันที่ 16 ตุลาคม 2560)
พระโสณะพยากรณ์ ข้อที่ ๒๖ - ๓๓
พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปทั่วโลก
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๖) เมื่อพุทธกาล ๒๕๐๐ ปีแล้ว พุทธศาสนาออกสู่เมืองคนขาว (ความจริงถึงก่อน พ ศ ๒๕๐๐) เมืองคนแดง เมืองคนดำ ทั่วถึงแดนคนมัว
พุทธธัมมศาสนาซึ่งอยู่กับคนเหลือง เจริญทั่วถิ่นเมือง มีไทยเป็นต้นจนครบ ๕๐๐๐ (ปี ซึ่งหมดอริยะ แต่ปุถุชนยังประพฤติอยู่ถึงหมื่นปี) (๑๑๘/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๗) พุทธกาล ๒๕๐๐ ปี ภูมิพล อุปสมบทแล้ว (ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๙๙ ถ้านับอย่างลังกาและชมพูทวีปก็ พ.ศ. ๒๕๐๐) ฟื้นคนหลับ
ปลุกพาให้เห็นพุทธพจน์ นำคนข้างนอกนับถือมาก (๑๙๘/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๘) เมื่อถึงปี ๒๕๐๘ มีอารามเกิดใน อลังกลัฏฐะ (อังกฤษ) แม่นางอลิสเบท (พระราชินีอลิซาเบธ) เป็นผู้อุปถัมภ์
ภูมิพลช่วยแนะอุบาสกอุบาสิกา ภิกษุ สามเณร (๑๙๘/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๒๙) เมื่อพุทธกาล ๒๕๑๐ มีอารามใน เยรมนี ภูมิพลอุปถัมภ์นำ (๑๙๙/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๓๐) ปี (พุทธกาลล่วงแล้ว) ๒๕๑๒ หลังศึกใหญ่เมืองเยรมนีพื้น (คำว่า "ศึกใหญ่" คงหมายถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒)
เมื่อนั้นพุทธศาสนาแพร่เข้าในคำคนผิวขาว เจริญถึงคนมากแล (๑๙๙/๒)
...(คำพยากรณ์ที่ ๓๑) เดือนเด่นฟ้า ลงคำโสณะว่า เมื่อพุทธกาล (ล่วงแล้วกว่า) ๒๕๑๑ เอมุยเป็น อมริกรัฏฐะ แล้วคหบดีชื่อ เอสัน
เป็นหัวหน้าก่อสร้างอาราม (๒๐๐/๑) หาคนอมริกะผู้เข้ามาบวชเป็นภิกษุ สามเณร (ในไทย) อุบาสก อุบาสิกา พร้อมเข้าไปอยู่เป็นแบบอย่าง (๒๐๐/๒)
หลวงพ่อเจ้าคุณอ่ำอธิบายว่า ตัวเลขและชื่อเหล่านี้ อ่านยากลำบากมาก อาจอ่านไม่ถูก เมื่อเป็นที่เชื่อได้
จะประชุมกันอ่านใหม่นี้เท่ากับอ่านฉบับร่างไปก่อน
...(คำพยากรณ์ที่ ๓๒) เดือนเด่นฟ้า ลงคำพระโสณะว่า เมื่อพุทธกาล ๒๕๐๐ มีงานฉลองพุทธนาม (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
มีการจัดงานฉลองกึ่งพุทธกาล ๒๕ พุทธศตวรรษ) ทั้งอินทร (อินเดีย) สีหล (ลังกา) กรุงเทพ (ไทย) พม่า (เมียนมา) มรัมมะ (มอญ) แปลพระไตรปิฎก
แจกทั่วถึงเมืองคนขาว, แดง, ถึงถิ่นคนมัว (๑๓๒/๑)
...(คำพยากรณ์ที่ ๓๓) เดือนเด่นฟ้า ลงคำพระโสณะว่า ปี ๒๕๒๕ พุทธศาสนาสู่ถิ่น อัสตริก (ออสเตรเลีย) พุทธพจน์, วัด, ภิกษุ สามเณร อุบาสก
อุบาสิกา, สังฆกรรม ในนั้น (๑๒๓/๒)
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 11 ]
(วันที่ 23 ตุลาคม 2560)
พระโสณะพยากรณ์ข้อ ๓๔ (สุดท้าย) ก่อนนิพพาน
...(คำพยากรณ์ที่ ๓๔) เดือนเด่นฟ้า คงคำพระโสณะ (ว่า แต่นี้ระหว่างถึง) พุทธกาล ๒๐๐๐ ปี พุทธศาสนาจะมั่นคงในไทย ราชาตรงธรรม แม้จะมีเสื่อม
(บ้างบางกาล) แต่พุทธศาสนาไม่หมด ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา คนทั่วไปมีศีลธรรม ไทยในดิน (แดน) พุทธศาสนา (ตั้งอยู่ดีตลอด และถึงห้าพันปี และถึงหมื่นปี)
(๑๒๒/๑)
เดือนเด่นฟ้า เมื่อฟัง ให้เขียนตรงคำพระโสณะ หวังคนหลังอ่าน, เห็น, เรื่องเมืองสุวัณณภูมิ เมืองทองไทยลว้า จารเมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พุทธกาล ๒๖๔
(๑๖๔/๑) (ก่อนมรณภาพ ๔ วัน) แล้วพระโสณะกล่าว (ก่อนจะนิพพาน) ว่า
"...ปวงสัตว์เกิดและตาย คู่กันมาทั่วทั้งหมด อย่าควรประมาท แล้วตายเหมือนสัตว์ตาย..." (๑๖๔/๒)
เดือนเด่นฟ้า ดาวเด่นฟ้า ประคับประคองพระโสณะซึ่งป่วยหนัก แม่สิริงามตัว หายาและข้าวให้ แต่แล้วท่านก็นิพพานเมื่อ วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖
ปีพุทธกาล ๒๖๔
แล้วสร้างเรือนยอด (พระเมรุ) ทำการประชุมเพลิง เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ตามที่สั่งไว้ แล้วนำอัฐิธาตุมาบรรจุไว้ที่พระพุทธรูปในพระอุโบสถ
วัดพระศรีมหาธาตุแดนลว้า (๒๓/๒)
.....เดือนเด่นฟ้า ผู้แทนขุนเมืองตะวันอธิราชเจ้าผู้พ่อ พ่อตั้งเป็นขุนเมืองทอง เมื่อวันอันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง พุทธกาล ๒๖๔ ตัวข้า
ขุนเมืองผู้เว้นชั่ว เอาภูมิพุทธธรรม ตามต้นตัวขุนเมืองผู้พ่อสอน อย่างพุทธธรรมทุกอย่าง ทั้งกฎหมายบ้านเมือง การปกครองผู้คน, ชาย, หญิง, คนขึ้น (คำว่า
"คนขึ้น" คงหมายถึงผู้ใต้บังคับบัญชา)
เดือนเด่นฟ้า ผู้ครองเมืองแทนตะวันสุวัณณภูมิ พระฌานียเถระ ให้ภิกษุทั้งสามเณร เรียนหลักศีลธรรม ให้ทราบบาลี, อรรถกถา, วินิจฉัยวัตถุ, มีโทษ,
ปราศโทษ, ทางดี, ชั่ว, ความเข้าใจในพุทธพจน์, รู้เทศน์ธรรมะ, แปล, พระสูตร
แล้วให้หาตัว พระภิกษุอ้อม สรโณ ผู้เป็นศิษย์พระโสณะ มีความรู้ดี, สมัตถะ (สมัยนี้คงหมายถึง "สมรรถภาพ" คือ "มีความรู้ความสามารถดี")
ควรที่เอาธุระสอนบาลีธรรมวินัย ให้มาสอนภิกษุสามเณร ให้ทราบบาลีธรรมะ ทั้งศีลปาติโมกข์, ศีลอุโบสถ, ศีลห้า, ให้รู้ความ, ให้เข้าใจความ, ให้ตรงความจริง,
ตามข้อพุทธบัญญัติ เขียนในพุทธกาล ๒๖๕ (๒๓/๑)
หมายเหตุ
...เป็นอันว่า หลังจาก พ.ศ. ๒๖๔ ที่พระโสณเถระพยากรณ์ หลังจากนั้น พ.ศ. ๒๔๗๐ "เดือนเด่นฟ้า" ได้มาเกิดเป็น ภูมิพลมหาราชา และ
"แสนไพล" ก็ได้มาเกิดเป็น พระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) วัดโสมนัสวิหาร สมดังคำพยากรณ์ของพระโสณเถระทุกประการ
แม้การพยากรณ์เรื่องอายุของ "พระพุทธศาสนา" หรือความมั่นคงของประเทศไทย จะยืนยาวไปตลอดนับพันนับหมื่นปี โดยเฉพาะที่มีคนหนักใจในเรื่องสถาบัน
"พระมหากษัตริย์" ท่านบอกว่าอยู่นานนับพันปีเช่นกัน
หลวงพ่ออ่ำอธิบายว่า - เท่าที่อ่านมาแล้ว เจอเท่านี้ อาจยังมีอีก หรืออาจแตกหักเสียหายสูญไป ทราบได้เท่านี้ก็ได้เรื่องแล้ว และ
ตัวเลขเหล่านี้อาจอ่านไม่ถูกได้
อนึ่ง แผ่นนี้ว่าขึ้น ๘ ค่ำ ส่วนแผ่นก่อนว่าประชุมเขียนวันขึ้น ๕ ค่ำ เข้าใจว่าคงไม่ได้เขียนเสร็จในวันเดียวเฉพาะแผ่นนี้อาจเขียนวันขึ้น ๘ ค่ำ
หรือเขียนเสร็จเรียบร้อยวันขึ้น ๘ ค่ำ
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
[ ภาค 2 ตอนที่ 12 ]
(วันที่ 30 ตุลาคม 2560)
สร้างวัดมหาธาตุ เมืองธัมราช (ช้างค่อม)
.....ครั้นพระโสณะพยากรณ์และนิพพานแล้ว คงยังเหลือคณะพระสมณทูตอีก ๔ รูป พระเจ้าตะวันอธิราชจึงได้ทรงปฏิบัติตามคำสั่งของพระโสณะก่อนที่จะนิพพาน คือ
สร้าง "วัดมหาธาตุ" คู่กับ "เมืองธัมราช"
อีกทั้งยังมีเหตุการณ์ก่อนที่ท่านจะนิพพานอีก โดยขอให้ "พระเจ้าตะวันอธิราช" ยกกองทัพไปช่วยสงบศึกในเมืองปาตลีบุตร หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตแล้ว
บรรดาพระโอรสต่างก็แย่งกันครองเมือง ซึ่งมีการจารจารึกเหตุการณ์ไว้ดังนี้
.....พระเจ้าตะวันอธิราชมีรับสั่งให้ "พระเจ้าเดือนเด่นฟ้า" พร้อมด้วยพระชายาสองพระองค์ คือ "แม่หญิงดอกไม้หอม" และ
"แม่หญิงสีงามเรือน" ไปครอง "เมืองช้างค่อม"
โดยในปี ๒๗๐ ได้สร้างเมืองใหม่ที่ดินทราย แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ "เมืองธัมราช" สันนิษฐานว่าคงจะเป็น ต ท่าเรือ ในสมัยปัจจุบันนี้
แล้วตั้งขุนศึกทั้งหลายขึ้นมาไว้ป้องกันบ้านเมือง
พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าคิดสร้างเรือใหญ่ไว้ สำหรับเดินทางออกทะเลหลวงได้ เอาคนชาวเมืองมาฝึกหัด ให้เรียนรู้ทางเรือ, รู้ทิศ, รู้ทางลม, คลื่น, ทางดาว
ฝึกเดินเรือไปมา แล้วสอนให้ออกรบ การคุมเชลย และการจัดปกครองบ้านเมือง
ต่อมาปี ๒๗๑ จึงทรงสร้าง "วัดมหาธาตุ" เข้าคู่เมืองธัมราช ช่างคุ้ม, แม่หญิงดอกไม้หอม, และ สีงามเรือน หา คนน้ำ และ คนเขา มาร่วมทำ โดยนิมนต์
"พระมูนียะ" ผู้มีอาวุโสน้อยที่สุดใน ๕ องค์ ของคณะพระโสณะ พระอุตตระ ไปพร้อมภิกษุสงฆ์รวม ๑๐ รูป ร่วมสร้าง "วัดมหาธาตุธัมราช"
แล้วผูกลูกนิมิตขันธสีมา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีพุทธกาล ๒๗๒ โดยพระมูนียะเลือกเอาสถานที่ที่พระโสณะเคยมาพักสอน "คนน้ำ" สร้างพระอุโบสถ
โดยมีกวางหมอบ ล้อธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ เหมือนกับที่นครปฐม แล้วเอาคนขนดินทำอิฐ เพื่อก่อพระเจดีย์
หมายเหตุ
...คำว่า พระโสณะเคยมาพักสอน "คนน้ำ" แต่ใน "พระวินัยปิฎก" (เล่ม ๔ มหาวรรค) เล่าว่าเป็น "นางรากษส" โดย "พระโสณะ" และ "พระอุตตระ" ผู้มีฤทธิ์มาก
ไปยังแคว้นสุวรรณภูมิ แล้วขับไล่ปีศาจทั้งหลาย ให้หนีไป ได้แสดง "พรหมชาลสูตร" แล้วจึงได้ตั้งอารักขาไว้โดยรอบเกาะ ดังนี้
เรื่องนี้ก็คล้ายกับ "พระปุณณะ" เหาะไปช่วยน้องชายที่ติดค้างอยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง ให้พ้นภัยจากพวก "อมนุษย์" ทั้งหลาย (อรรถกถาปุณโณวาทสูตร)
แสดงว่าสมัยก่อน "เกาะ" ทั้งหลายมีอันตรายจากพวกภูตผีปีศาจเหล่านี้ แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระเถระ แล้วก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ในกเบื้องจารจึงได้บันทึกไว้ว่า "คนน้ำ"
** ข้อมูลเหล่านี้ คงต้องฝากไว้ให้ท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาณกันเอาเอง
เตรียมทำศึกในชมพูทวีป
.....พระโสณะเมื่ออยู่ที่สุวัณณภูมินอนป่วยอยู่ แล้วได้พูดกับพระเจ้าตวันอธิราชก่อนที่จะนิพพานว่า "ชมพูทวีป" (อินเดีย) ปั่นป่วนนัก หลังจาก
"พระเจ้าอโศกมหาราช" เสด็จสวรรคตเมื่อปีพุทธกาล ๒๕๙ บรรดาลูกๆ ทั้งหลายแย่งราชสมบัติ ถึงกับทำสงครามฆ่ากันตายทั่วพื้นปฐพี
ถ้าหากพระองค์เสด็จไปจักห้ามได้ เพื่อเป็นการหยุดยั้งไว้บ้าง แล้วพระโสณะก็ได้ให้ "ผ้าคาดพุง" (ผ้ารัดอก) พร้อมกับบอกว่าเอาไว้เพื่อป้องกันภัย
เมื่อถึงยามคับขัน เอาผ้าผืนนี้พันคอหรือหัว จะทำให้พ้นภัยไม่อด...
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่ด้านบน
|
|
|
|
|