Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 23/10/17 at 22:37 [ QUOTE ]

รายงาน...แผนรับมือและทำความเข้าใจกับ "สถานการณ์น้ำ " ของวัดท่าซุง ปี 2560


♠ แผนรับมือกับ " สถานการณ์น้ำ " ของวัดท่าซุง ปี 2554
♠ ทำความเข้าใจกับ " สถานการณ์น้ำ " ของวัดท่าซุง



แผนรับมือกับ "สถานการณ์น้ำ " ของวัดท่าซุง ปี 2560




เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สถานการณ์น้ำทั่วประเทศในตอนนี้ จะมีฝนตกเกือบตลอด และปริมาณน้ำที่สะสมตัวอยู่ก็มาก ขึ้นตามลำดับ ตามข่าวที่ติดตาม จะเห็นว่าจังหวัดทางภาคเหนือมีน้ำท่วมกันแล้วหลายจังหวัด และหลายอำเภอ แม่น้ำสายต่างๆ มีปริมาณน้ำมาก และเขื่อนก็รับน้ำไว้เป็นจำนวนมากแล้ว

ก็ต้องปล่อยน้ำออก อำเภอที่อยู่ปลายแม่น้ำ ก็จะถูกปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาก จะล้นฝั่ง ออกมาท่วม ไร่นาของประชาชน ที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ได้รับความเสียหายตามๆกันไป แต่น้ำที่ปล่อยออกไปของเขื่อนยังไม่มีอาการ จะน้อยลงเลย เพราะเนื่องจากน้ำมีปริมาณมาก และปริมาณฝนก็ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอยู่ในช่วงหน้าฝน ที่ยังมีฝนตกอีกนาน

ถึงแม้ทางวัดซุงจะประสบกับภาวะน้ำท่วมตลอดมา นับตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ยังมีชีวิตอยู่ พระภิกษุสงฆ์วัดท่าซุงก็มีการช่วยเหลืองาน ด้วยการรักษาของสงฆ์ไว้ด้วยชีวิต เท่าที่จำได้จากสถิติน้ำท่วมวัดท่าซุงมาแล้ว ดังนี้ ปี 2523, 2526, 2538, 2545, 2549,2554 โดยเฉพาะในสภาพปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสวัดท่าซุงองค์ปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล และพระสงฆ์ที่อยู่ภายในวัดท่าซุงก็ได้เตรียมการป้องกันมาอย่างต่อเนื่อง ที่จะดูแลรักษา “สมบัติพ่อให้” ไว้เป็นอย่างดี จากประสบการณ์ที่กระทำมา จึงพอจะสรุปแนวทางได้ดังนี้

1. แนวหน้าวัด (ด้านทิศตะวันออก) จะดูแลป้องกันมิให้น้ำข้ามถนนมา จากแม่น้ำสะแกกรัง
2. แนวข้างวัด 2 ด้าน (ด้านทิศเหนือและทิศใต้) ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน
3. แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด (ด้านทิศตะวันตก) ได้สร้างเขื่อนเป็นแนวถนน กั้นน้ำไว้ถึง 2 ชั้น
4. สระที่เก็บน้ำภายในวัด ก็มีตั้งเครื่องดูดน้ำขนาดใหญ่ไว้คอยสูบออกไปสู่ด้านนอก
5. มีแนวกำแพงป้องกัน น้ำเข้าวิหารแก้ว 100 เมตร

1.แนวถนนหน้าวัด จะดูระดับน้ำที่แม่น้ำสะแกกรัง

แพเลี้ยงปลามีระดับน้ำสูงขึ้น จึงต้องทำสะพานข้ามไป








ระดับน้ำที่วิหารพระองค์ที่ ๑๐-๑๑ (ตรงโคนต้นโพธิ์) มีระดับน้ำขึ้นลงเกือบถึงพื้น





2. แนวข้างวัด 2 ด้าน ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน

จะเห็นว่าน้ำยังไม่มี ในเขตนอกถนนข้างวัด










คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ


3. แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด มีถนน กั้นอยู่ 2 ชั้น

ปริมาณน้ำภายนอกแนวถนนหลังวัดจะสูงกว่าภายใน เพราะมีน้ำท่วมในระดับหนึ่งแล้ว แต่บริเวณหลังวัดในแนวถนนยังปกติ











4. น้ำที่อยู่ภาย ในป่าธุดงค์ ก็มีการเตรียมพร้อม

มีเครื่องสูบน้ำ ที่จะคอยสูบน้ำออก ประตูระบายน้ำจากสระน้ำนี้ สูบน้ำออกลงสู่คลองยางข้างกำแพงวัด






5.มีแนวกำแพงป้องกัน น้ำเข้าวิหารแก้ว 100 เมตร


คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ









ทำความเข้าใจกับ " สถานการณ์น้ำ " ของวัดท่าซุง



ภาพกราฟ แสดง สถานการณ์น้ำที่จะเข้าท่วมภายในวัด

คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ


กราฟ แสดง สถานการณ์น้ำขึ้น ตั้งแต่วันที่ 15 – 21 ตุลาคม 2560


คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ


ระดับน้ำท่าน้ำหอฉัน เวลา 06.00 - 18.00 น. วันที่ 23 ต.ค. 2560 (ระดับน้ำขึ้น 3 เซนติเมตร)
ระดับน้ำอยู่ที่เลข 385 ถึง 388

เลขระดับน้ำวันนี้ 388 เซ็นติเมตร
พื้นกระเบื้องหอฉัน(392) อีก 4 เซ็นติเมตร น้ำถึง
พื้นถนนหลังโรงขนมปัง(427) อีก 72 เซนติเมตร
ถนนหลวงหน้าบ้านดาบตกูล(460) น้ำข้าม

กราฟ แสดง สถานการณ์น้ำขึ้น ตั้งแต่วันที่ 22 – 31 ตุลาคม 2560


คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ


จากกราฟ การแสดงผลของระดับน้ำ นำมาให้วิเคราะห์ และทำความเข้าใจกันเลยว่า ทางวัดท่าซุง ได้ทำการป้องกัน มิให้น้ำทะลักเข้ามา แต่ถ้าปล่อยปกติให้น้ำเข้ามาได้ ในขณะนี้ จะเห็นว่าที่

พื้นปูน 100 เมตร ก็จะมีน้ำท่วมสูงถึง เกือบ 99 เซ็นต์ แล้ว
หน้าตึกขาว เกือบ 80 เซ็นต์
พื้นปูนโบสถ์
หอฉัน ยังไม่ท่วม เหลืออีกสัก 2 เซ็นต์ น้ำจะท่วมถึง
พื้นบนวิหาร 100 เมตร
ผิวถนนหน้าวัด เหลืออีก .80 เมตร น้ำจะท่วมถึง
คั้นกั้นน้ำ ที่อยู่รอบวัด เหลืออีก 1.2 เมตร น้ำจะท่วมถึง

คลิกที่รูป..เพื่อขยายภาพ


สรุปได้ว่า การดูแล และป้องกัน มิให้น้ำเข้ามาท่วมวัดนั้น ได้ทำกันมาอย่างดี ผ่านความคิด ความเห็นจากหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล และพระผู้ใหญ่ ตลอดจนทีมงานของพระที่ได้ร่วมกันทำ

1. แนวหน้าวัด (ด้านทิศตะวันออก) มีถนนกั้นมิให้น้ำ จากแม่น้ำสะแกกรัง เข้าถึง
2. แนวข้างวัด 2 ด้าน (ด้านทิศเหนือและทิศใต้) ได้ทำเป็นแนวผนังกำแพงปูน
3. แนวรักษาป่าธุดงค์หลังวัด (ด้านทิศตะวันตก) ได้สร้างเขื่อนเป็นแนวถนน กั้นน้ำไว้ถึง 2 ชั้น

แต่เนื่องจาก ในแนวถนนหน้าวัด นั้นอาจจะมีปล่อยน้ำจากเขื่อน และน้ำจากส่วนต่างๆ ที่ลงมาลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งอาจทำให้น้ำล้นตลิ่งได้ จึงต้องเตรียมกระสอบทรายไว้กันน้ำข้ามถนนเข้ามา

◄ll กลับสู่สารบัญ


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top