ประวัติความเป็นมา "วันสงกรานต์" และ อานิสงส์ก่อ "พระเจดีย์ทราย"
สารบัญ (เลือกคลิกที่รายการ)
[01] ประวัติความเป็นมา "วันสงกรานต์"
[02] พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ริเริ่มก่อ "พระเจดีย์ทราย"
[03] พระวสภะเถระ เนรมิต "พระสถูปทราย"
[04] พระปุฬินุปปาทกเถระ - ว่าด้วยผลแห่งการก่อ "เจดีย์ทราย"
[05] พระปุฬินถูปิยเถระ - ว่าด้วยผลแห่งการก่อ "สถูปเจดีย์"
[06] เผยคำทำนาย "นางสงกรานต์" ปี ๒๕๖๒
[07] ตำนานนางสงกรานต์
[ ตอนที่ 1 ]
ประวัติความเป็นมา "วันสงกรานต์"
(ขอบคุณภาพจาก - sites.google. com)
...คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น, ย่างขึ้น, หรือก้าวขึ้น, การย้ายที่ เคลื่อนที่
คือพระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่
ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันที่ ๑๔ เป็น "วันเนา" วันที่ ๑๕ เป็น
"วันเถลิงศก"
กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในเทศกาลนี้ก็มี การทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว "ประเพณีสงกรานต์" ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์มีดังนี้
...๑. ก่อนที่เราจะถือวันสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณ เราถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี
ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต เป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน
ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพลป.พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม
เป็นวันขึ้นปีใหม่จนปัจจุบัน อันเป็นการนับแบบสากล
อย่างไรก็ดี คนไทยในหลายภูมิภาคก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน
ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นต้นมา จึงได้กำหนดเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่
...๒. นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีมอญ พม่า ลาว และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆ อันเป็นชนส่วนน้อยในจีน อินเดีย
ก็ถือว่าสงกรานต์เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน
...๓. ภาคกลางเรียกวันที่ ๑๓ เมษายน ว่า วันมหาสงกรานต์ ซึ่งวันนี้ทางการได้ประกาศให้เป็น วันผู้สูงอายุแห่งชาติ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียก วันเนา
และรัฐบาลสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศให้เป็น วันครอบครัว ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก วันเถลิงศก คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่
...๔. ทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า วันสังขารล่อง ซึ่งบางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกวันเน่า
เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายนเรียก วันพญาวัน คือวันเปลี่ยนศกใหม่
...๕. ภาคใต้ เรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า วันเจ้าเมืองเก่าหรือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์
ส่วนวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันว่าง คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ดังนั้น ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่างๆ แล้วไปทำบุญที่วัด
ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันรับเจ้าเมืองใหม่ คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่นแล้ว
...๖. ตำนานสงกรานต์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์และนางสงกรานต์ที่เรารู้จักกันดีเป็นตำนานที่ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ๗ แผ่น
ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือ ในวัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์
...๗. นางสงกรานต์เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้น "จาตุมหาราชิกา" ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุด มีด้วยกัน ๗ องค์ เป็นพี่น้องกัน และต่างก็เป็นบาทบริจาริกา แปลว่า
นางบำเรอแทบเท้า หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็น เมียน้อยของพระอินทร์ จอมเทวราช และเป็นธิดาของ "ท้าวกบิลพรหม" ในตำนาน
...๘. นางสงกรานต์ มีชื่อตามแต่ละวันในสัปดาห์คือ
- วันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะ
- วันจันทร์ ชื่อ นางโคราคะ
- วันอังคาร ชื่อ นางรากษส
- วันพุธ ชื่อ นางมณฑา
- วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณี
- วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทา
- วันเสาร์ชื่อ นางมโหทร
...๙. นางสงกรานต์แต่ละองค์จะมีพาหนะทรงต่างกัน ตามลำดับแต่ละวัน คือ
- นางทุงษะขี่ครุฑ
- นางโคราคะขี่เสือ
- นางรากษสขี่หมู
- นางมณฑาขี่ลา
- นางกิริณีขี่ช้าง
- นางกิมิทาขี่ควาย และ
- นางมโหทรขี่นกยูง
ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหนะทรง จะมิใช่ปีนักษัตรของปีนั้นๆ ตามที่หลายคนเข้าใจผิด
...๑๐. คำว่า ดำหัวปกติแปลว่า สระผม แต่ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา จะหมายถึงการไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรม ที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา
รวมทั้งการไปขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในเมืองหรือครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา โดยส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยไปไหว้ท่าน
และท่านก็จะจุ่มแล้วเอาน้ำแปะบนศีรษะเป็นเสร็จพิธี
...๑๑. ในสมัยก่อนเมื่อใกล้สงกรานต์หรือวันสงกรานต์ จะมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่คนแต่ก่อนเรียกว่า ตัวสงกรานต์ เป็นสิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายไส้เดือน
แต่เล็กขนาดเส้นด้าย ยาวประมาณ ๒ นิ้ว มีสีเลื่อมพราย เป็นสีเขียว เหลือง แดง ม่วง เปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ จะอยู่กันเป็นฝูงในแม่น้ำลำคลอง
เมื่อกระดิกตัวว่ายน้ำจะทำให้เกิดประกายสีต่างๆ สวยงามแปลกตา ถ้าจับพ้นน้ำ สีจะจางหายไป ตัวจะขาดเป็นท่อนเล็กๆและเหลวละลาย
ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
...๑๓. มูลเหตุของ "การก่อเจดีย์ทราย" มีเรื่องเล่าว่า "พระเจ้าปเสนทิโกศล" ได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร
ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์
แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"...การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ
ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์
พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร,,,"
...ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว จึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้...
ที่มา - www.zabzaa.com/event/songkran.htm
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 2 ]
พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ริเริ่มก่อ "พระเจดีย์ทราย"
"...ในขณะที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ บุพพารามมหาวิหาร ในนครสาวัตถี ได้เทศนาถึงอานิสงส์ก่อ "เจดีย์ทราย"
แล้วตั้งความปรารถนาไว้เป็นใจความว่า
วันหนึ่งเป็นฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าวมาก "พระเจ้าปเสนทิโกศล" ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถให้สบาย ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ ไม่ห่างจากพระนครเท่าใดนัก
พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นทรายขาวสะอาดราบเรียบดีนัก มีพระดำริว่าควรทำเป็นรูปเจดีย์ขึ้นเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ดีกว่าที่เราจะมาเดินเล่นโดยเปล่าประโยชน์
เมื่อทรงดำริเช่นนั้น แล้วก็รีบลงมือก่อเป็นรูปเจดีย์ด้วยพระองค์เอง พวกบริวารทั้งหลายที่ตามเสด็จ ก็ลงมือก่อตามไปด้วย
เมื่อสำเร็จแล้วมองก็เป็นทิวแถวสวยงาม เกิดมีความปิติยินดีเป็นที่ยิ่ง เพราะนับดูแล้วมี ๘ หมื่น ๔ พันองค์
พระบรมกษัตริย์ทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก ก็เสด็จกลับมาสู่บุพพารามมหาวิหารถวายอภิวาท แล้วก็นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลถึง
"อานิสงส์ของการก่อพระเจดีย์ทราย" บูชาพระรัตนตรัย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำมาแล้วโดยตลอด
.... พระพุทธองค์ทรงโปรดประทานพระธรรมเทศนาว่า มหาราชดูกรมหาบพิตรนรชน หญิงชายทั้งหลายเหล่าใด มีศรัทธาเลื่อมใสอุตสาห์พากเพียรพยายาม
ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ทรายใหญ่น้อยก็ดี
มีจำนวนถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์นั้น หรือว่าจะมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ด้วยศรัทธาอันแรงกล้า ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิตลอดร้อยชาติ
ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติบริวารเป็นอันมาก ครั้นตายไปจากมนุษย์โลก ก็จะไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติ
แม้พระตถาคตก็เคยได้กระทำมาแล้ว ในครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีอยู่แล้วพระองค์นำอดีตนิทานมาแสดงต่อไปว่า
สมัยพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
...ครั้งนั้น พระตถาคตได้เกิดในตระกูลอนาถา พอเจริญวัยขึ้นก็ต้องเข้าป่าแสวงหาฟืนมาขายเลี้ยงชีพ กระทำอย่างนี้เป็นอาจิณ
อยู่มาวันหนึ่งได้เห็นทรายขาวสะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่องในราวป่า ก็มีจิตผ่องใสศรัทธาใคร่จะก่อพระเจดีย์บูชาพระรัตนตรัย จึงสละเวลาไม่ตัดฟืนทั้งวัน
ครั้นได้ก่อพระเจดีย์ทรายเสร็จแล้ว ได้ฉีกผ้าห่มผืนหนึ่งปักเป็นธงชัย แล้วบูชาพระรัตนตรัยในพุทธบาทศาสดาของ "พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า"
แล้วตั้งความปรารถนาว่า
"...ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จพระโพธิญาณ ในอนาคตกาลโน้นเทอญ..."
ครั้นทำลายขันธ์แล้วไปเกิดอยู่ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานสูง ๑๒ โยชน์ เสวยทิพย์สมบัติอยู่ถึง ๒ พันปีทิพย์ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วได้
จุติมาเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี
แล้วได้ท่องเที่ยวอยู่ในมนุษย์โลก บำเพ็ญบารมีญาณจนเต็มเปี่ยมดีแล้ว จึงได้มาอุบัติเป็นพระตถาคต ดังที่มหาบพิตรปรารภอยู่ขณะนี้
เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว "พระเจ้าปเสนทิโกศล" พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายก็มีความยินดีโสมนัส ในการที่พระองค์ทรงก่อ "พระเจดีย์ทราย"
บูชาคุณพระรัตนตรัยโดยไม่เปล่าประโยชน์ดังนี้แล..."
ที่มา - http://www.84000.org/anisong/17.html
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 3 ]
พระวสภะเถระ เนรมิต "พระสถูปทราย"
"...ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา ตอนอรรถกถาเถรคาถา กล่าวถึง "อานิสงส์ของการก่อเจดีย์ทราย" ไว้ว่า
ในกาลสมัยของโลกที่ว่างจากพระพุทธเจ้า "พระวสภะเถระ" เกิดในตระกูลพราหมณ์ เมื่อเจริญวัยขึ้นเป็นผู้มีอัธยาศัยไปในเนกขัมมะ ละการครองเรือน ออกบวชเป็นดาบส
แล้วไปสร้างอาศรมอยู่บนภูเขาชื่อว่า "สมัคคะ" ไม่ไกลป่าหิมพานต์
วันหนึ่งคิดว่าตนเป็นผู้หาคนบูชาไม่ได้ เป็นผู้มีความทุกข์ในโลก จึงเนรมิต "พระสถูปทราย" กระทำการบูชาทุกวันตลอดอายุ ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลก
ต่อมาจุติจากพรหมโลกไปบังเกิดในดาวดึงส์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภพสุดท้ายไปเกิดในตระกูลลิจฉวี กรุงเวสาลี ในพุทธุปบาทกาล นามว่า "วสภะ"
เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้วไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
พระมาลัย (บทความจาก khaosod.co.th)
...สำหรับในวรรณกรรมทางศาสนาของล้านนา กล่าวถึง "อานิสงส์ของการก่อเจดีย์ทราย" ไว้ในเรื่อง "มาลัยเถรวัตถุ"
เดิมชื่อภาษาบาลีว่า "มาเลยฺยสุตฺต" สันนิษฐานว่าแต่งในเมืองลังกา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อมาพระภิกษุล้านนาชื่อ "พุทธวิลาส" ขยายความให้พิสดาร
ให้ชื่อว่า "ฎีกามาลัย"
ความตอนหนึ่งว่า "พระมาลัย" ถามพระอินทร์ว่า เทวบุตรที่มานั้นเป็นใคร ใช่เป็น "พระศรีอริยเมตไตรย" หรือไม่
พระอินทร์ตอบว่า ไม่ใช่ หากแต่เป็นเทวบุตร ซึ่งเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ เกิดเป็นชายยากจน หาเลี้ยงชีพด้วยการหาหญ้าหาฟืนขาย
วันหนึ่งไปที่ท่าน้ำเห็นทรายกองดูขาวงาม จึงนำทรายนั้นมาก่อเป็น "เจดีย์ทราย" กุศลที่ได้ก่อพระเจดีย์ด้วยทรายนั้น
เมื่อตายไปแล้วก็ได้มาเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
คติความเชื่อเรื่องบุญของชาวพุทธทำให้เกิดประเพณีก่อ "เจดีย์ทราย" เรื่องราวในคัมภีร์ทางศาสนาต่างๆ รวมถึงเรื่อง "มาลัยเถรวัตถุ" ดังกล่าว
นับว่ามีอิทธิพลต่อความเชื่อของชาวล้านนา ในเรื่องนรกสวรรค์ บาปบุญคุณโทษ อานิสงส์ และ "พระศรีอริยเมตไตรย" น่าจะเป็นต้นกำเนิดของประเพณีของก่อ
"เจดีย์ทราย" ในวันสงกรานต์
อีกประการหนึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า ตลอดปีที่คนเข้าไปในวัด เมื่อกลับออกมาก็มีดินของวัดติดเท้ามาด้วย
ดังนั้น ในหนึ่งปีจะต้องขนทรายเข้าวัดเป็นการทดแทน โดยนำทรายนั้นมาก่อเป็น "เจดีย์ทราย" เชื่อว่าเป็นการทำบุญที่ยังอานิสงส์มาก พร้อมทั้งได้มีโอกาส
"ชำระหนี้สงฆ์" ไปด้วย ดังนี้
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 4 ]
ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗
ว่าด้วยผลแห่งการก่อ "เจดีย์ทราย"
"...[๗๗] เราเป็นดาบสชื่อ "เทวละ" อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อันอมนุษย์ เนรมิตให้ ณ ภูเขานั้น
ครั้งนั้นเรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไป
ครั้งนั้น ศิษย์ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ในป่าใหญ่ เราออกจากอาศรมก่อ "พระเจดีย์ทราย"
แล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น
เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นแล้วเข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอจงบอกแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ
เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดมียศใหญ่เหล่านั้น
ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร
มีคุณเป็นอย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่เหล่านั้นเป็นดังฤา
เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและเหมือนผลมะกล่ำ
อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ
อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการถือตัว และดูหมิ่น ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้น พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง
ทรงประกาศวิการ ๖ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น
ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็นเช่นนี้
พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใครเทียมเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใครๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ
ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน เชื่อฟังถ้อยคำของเรา
มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ทราย
ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะ คำรณดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.
เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ณ ที่ใกล้พระสถูป คือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็นศาสดา พระองค์นั้น
เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.
เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังหนอเจ็บหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง
ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียร
อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวนกันมาคร่ำครวญ เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน
"แน่ะ..ท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและกลางวัน
ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ"
เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง
ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อ "เจดีย์ทราย" ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน
ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใด เราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัยฉันนั้นเหมือนกัน
ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำเอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้
...ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล (จบ ปุฬินุปปาทกเถราปทาน)
ที่มา - http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=1687&Z=1761
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 5 ]
ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘
ว่าด้วยผลแห่งการก่อ "สถูปเจดีย์"
"...[๘๘] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ "ยมกะ" เราได้ทำอาศรม สร้างบรรณศาลาไว้ที่ภูเขานั้น
เราเป็นชฎิลผู้มีตบะใหญ่มีนามชื่อว่า "นารทะ" ศิษย์สี่หมื่นคนบำรุงเรา
ครั้งนั้น เราเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ คิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา เราไม่บูชาอะไรๆ เลย ผู้ที่จะกล่าวสั่งสอนเราก็ไม่มี ใครๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี
เราไม่มีอาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในป่า ศิษย์ผู้ภักดีพึงบำรุงใจครูทั้งคู่ได้ อาจารย์เช่นนั้นของเราไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์
สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหาสิ่งที่ควรเคารพก็ควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักชื่อว่าเป็นผู้มีที่พึ่งพำนักอยู่ ใครๆ จักไม่ติเราได้
ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีแม่น้ำซึ่งมีชายหาด มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจเกลื่อนไปด้วยทรายที่ขาวสะอาด ครั้งนั้น เราได้ไปยังแม่น้ำชื่อ "อมริกา"
ตะล่อมเอาทรายมาก่อเป็น "เจดีย์ทราย"
พระสถูปของพระสัมพุทธเจ้าผู้ทำที่สุดภพ เป็นมุนี ที่ได้มีแล้ว เป็นเช่นนี้ เราได้ทำสถูปนั้นให้เป็นนิมิต เราก่อพระสถูปที่หาดทรายแล้วปิดทอง
แล้วเอาดอกกระดึงทอง ๓๐๐ ดอกมา
เราเป็นผู้มีความอิ่มใจ ประนมกรอัญชลีนมัสการทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์
ฉะนั้น ในเวลาที่กิเลสและความตรึกเกี่ยวด้วยกามเกิดขึ้น เราย่อมนึกถึง เพ่งดูพระสถูปที่ได้ทำไว้ เราอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำสัตว์ออกจากที่กันดาร
ผู้นำชั้นพิเศษ ตักเตือนตนว่าท่านควรระวังกิเลสไว้
แน่ะ..ท่านผู้นิรทุกข์ การยังกิเลสให้เกิดขึ้นไม่สมควรแก่ท่าน ครั้งนั้น เมื่อเราคำนึงถึงพระสถูปย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน
เราบรรเทาวิตกที่น่าเกลียดเสียได้ เปรียบเหมือนช้างตัวประเสริฐ ถูกเครื่องแทงหูเบียดเบียน
ฉะนั้น เราประพฤติอยู่เช่นนี้ได้ถูกพระยามัจจุราชย่ำยี เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก เราอยู่ในพรหมโลกนั้นตราบเท่าหมดอายุ
แล้วมาบังเกิดในไตรทิพย์ ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๘๐ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์
โดยคณนานับมิได้
เราได้เสวยผลของดอกกระดึงทองเหล่านั้น ดอกกระดึงทอง ๒๒,๐๐๐ ดอก แวดล้อมเราทุกภพ เพราะเราเป็นผู้บำเรอพระสถูป ฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกับตัวที่ตัวเรา
เหงื่อไม่ไหล เรามีรัศมีซ่านออกจากตัว
โอ..พระสถูป เราได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำอมริกาได้เห็นดีแล้ว เราได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวก็เพราะได้ก่อพระสถูปทราย
อันสัตว์ผู้ปรารถนาจะกระทำกุศลควรเป็นผู้ยึดเอาสิ่งที่เป็นสาระ ไม่ใช่เป็นด้วยเขตหรือไม่ใช่เขตความปฏิบัตินั่นเองเป็นสาระ
บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลหลวง พึงถือเอาท่อนไม้เล็ก วิ่งไปสู่ทะเลหลวงด้วยคิดว่า เราอาศัยไม้นี้จักข้ามทะเลหลวงไปได้
นรชนพึงข้ามทะเลหลวงไปด้วยความเพียรอุตสาหะ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว จึงข้ามพ้นสงสารไปได้
เมื่อถึงภพสุดท้าย เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี มารดาบิดาของเรา เป็นคนมีศรัทธานับถือพระพุทธเจ้า
ท่านทั้งสองนี้เป็นผู้เห็นธรรมฟังธรรม ประพฤติตามคำสอน ท่านทั้งสองถือเอาผ้าลาดสีขาว มีเนื้ออ่อนมากที่ต้นโพธิ์มาทำพระสถูปทอง
นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระศากยบุตร ทุกเย็นเช้าในวันอุโบสถ
ท่านทั้งสองนำเอาพระสถูปทองออก กล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ยับยั้งอยู่ตลอด ๓ ยาม เราได้เห็นพระสถูปเสมอ จึงระลึกถึง "เจดีย์ทราย"
ขึ้นได้นั่งบนอาสนะอันเดียวได้บรรลุอรหัตแล้ว. (จบ ภาณวารที่ ๒๒)
...เราแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นปราชญ์นั้นอยู่ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี จึงออกจากเรือนบรรพชาในสำนักของท่าน เราได้บรรลุอรหัตแต่อายุ ๗ ขวบ
พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุทรงทราบคุณวิเศษของเราจึงให้เราอุปสมบท เรามีการกระทำอันบริบูรณ์ดีแล้ว แต่ยังเป็นทารกอยู่ทีเดียว
ทุกวันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว ข้าแต่พระฤาษีผู้มีความเพียรใหญ่ สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง
ล่วงพ้นความเกี่ยวข้องทั้งปวง นี้เป็นผลแห่ง "พระสถูปทอง" เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
...ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล (จบ ปุฬินถูปิยเถราปทาน)
ที่มา - http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=2007&Z=2068
"...นี่เป็นผลของการบูชาพระเจดีย์ ที่ทำให้ได้มาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในกรณีของ "พระปุฬินุปปาทกเถระ" และ "พระปุฬินถูปิยเถระ"
ท่านนำทรายมาก่อเป็น "พระเจดีย์" เพื่อเป็นเครื่องสักการะให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผลของการบูชาพระเจดีย์ แม้ได้เกิดมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ได้ครอบครองรัตนะทั้งเจ็ดประการ แต่สิ่งสำคัญในประโยชน์สุด คือการได้เข้าถึงธรรมะภายใน
อันเป็นรัตนะอันสูงสุด และงดงามที่สุด เป็นเหตุให้พระมหาเถระทั้งสองรูป ละจากรัตนะภายนอกเข้ามาสู่รัตนะภายใน อันเป็นรัตนะอันประเสริฐยิ่งกว่ารัตนะใดๆ
ด้วยประการดังนี้แล..."
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 6 ]
เผยคำทำนาย "นางสงกรานต์" ปี ๒๕๖๒
...ในทุกๆ ปี นางสงกรานต์จะลงมาพร้อมคำทำนาย ซึ่งในแต่ละปีนั้นนางสงกรานต์ก็จะสลับกันลงมา แต่ละนางนั้นก็จะมีคำทำนายที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
ในปีนี้นั้นนางสงกรานต์จะเป็นใคร มีคำทำนายในปีนี้ว่าอะไร ไปอ่านกันเลย...
ต้องเกริ่นก่อนว่านางสงกรานต์นั้นเป็นธิดาของ "ท้าวกบิลพรหม" หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1
ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง
โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์
วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันพุธที่ 14 เมษายน เวลา 3 นาฬิกา 39 นาที 36 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันอังคาร ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู
นางสงกรานต์นามว่า "รากษสเทวี" ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนูศร เสด็จนอนหลับตา
มาเหนือหลังวรวาหะ (สุกร) เป็นพาหนะ
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ เสาร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 400 ห่า ตกในเขาจักรวาล 160 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 120 ห่า ตกในมหาสมุทร 80 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 40
ห่า น
เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีกรกฏ ชื่ออาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีนี้ นาคราชให้น้ำ 6 ตัว ทำนายว่า ฝนดีตลอดปี
เกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ 0 ชื่อ "ปาปะ" ข้าวกล้าในไร่นาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง
จะฉิบหายเป็นอันมากแล ฯ
วันเถลิงศก ตรงกับ วันศุกร์ที่ 16 เมษายน เวลา 07 นาฬิกา 37 นาที 12 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันศุกร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีฉลู
เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1383 ปีนี้ วันอาทิตย์เป็นธงชัย วันจันทร์เป็นอธิบดี วันเสาร์เป็นอุบาทว์ วันพุธเป็นโลกาวินาศ
ขอขอบคุณ ภาพ : กรมประชาสัมพันธ์
ขอขอบคุณ ข้อมูล : hyhora.com
เผยคำทำนายฝนฟ้า ธัญญาหาร และดวงเมือง
โดย อาจารย์คฑา ชินบัญชร
...รากษสเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร มีคำนำนายของปีนี้ว่า จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงภัยและโจรผู้ร้าย ผู้คนจะเจ็บไข้นักแลฯ, วันพุธเป็น
"วันเนา" ข้าวจะแพง คนทั้งหลายจะได้รับความทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่,
วันพฤหัสบดีเป็น "วันเถลิงศก" พ่อค้าพานิชย์ทั้งหลาย อันไปค้าขายในประเทศต่างๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทอง และมีความสุขเป็นอันมากแลฯ, นางสงกรานต์
ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
|
|
[ ตอนที่ 7 ]
ตำนานนางสงกรานต์
"...สำหรับเรื่องราวความเป็นมาของนางสงกรานต์นั้น มีบันทึกไว้บนจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า
ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล โดยบ้านของเศรษฐีคนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน
วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีที่ไม่มีบุตร จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร
แต่แม้ว่าเศรษฐีจะตั้งจิตอธิษฐานอยู่นานกว่าสามปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร
กระทั่ง วันหนึ่งเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ "ราศีเมษ" เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอไปถึงก็ได้นำข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง
แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น
รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานเทพบุตรให้องค์หนึ่ง นาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี
ไม่ช้าเทพบุตรก็คลอดออกมา เศรษฐีจึงตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
เวลาผ่านไป "ธรรมบาลกุมาร" โตขึ้นได้เรียนรู้ภาษานก และเมื่ออายุเจ็ดขวบ ก็ได้เรียนไตรเภทจบ ธรรมบาลกุมาลจึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย
อยู่มาวันหนึ่ง "ท้าวกบิลพรหม" ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา
แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร เสีย ซึ่งปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารก็คือ
- ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ?
- ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน ? และ
- ตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ?
เมื่อได้ฟังคำถามดังนั้น "ธรรมบาลกุมาร" ไม่สามารถตอบได้ จึงขอผัดผ่อนท้าวกบิลพรหมไปอีก 7 วัน ระหว่างนั้น "ธรรมบาลกุมาร" ก็ได้พยายามคิดหาคำตอบ
กระทั่งล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่า หากไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้
ก็ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม
ตอบปัญหาได้แล้ว
...นับเป็นโชคดีที่ธรรมบาลกุมารสามารถฟังภาษานกได้ และบังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัว ผัวเมียเกาะทำรังอยู่ ธรรมบาลกุมารจึงได้ยินนกสองตัวผัวเมียสนทนากัน
โดยนางนกอินทรีถามสามีว่า
พรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด สามีได้ตอบนางนกไปว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่า เพราะตอบปัญหาไม่ได้
นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า
- ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า
- ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
- ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
เมื่อได้ยินดังนั้น "ธรรมบาลกุมาร" ก็ได้จดจำสิ่งที่สามีนกพูดไว้ กระทั่งวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมารได้นำคำตอบดังกล่าวไปตอบกับท้าวกบิลพรหม
เมื่อท้าวกบิลพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกันแล้วบอกว่า
จะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ตามคำท้าไว้ แต่ปัญหาก็คือ พระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใดก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น
อย่างเช่น หากตั้งเศียรไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้โลก แต่ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง หรือถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง
ด้วยเหตุนี้ ท้าวกบิลพรหม จึงมอบหมายให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร โดยให้ "นางทุงษะ" ผู้เป็นธิดาองค์โต เป็นผู้เริ่มต้น
ซึ่งนางทุงษะก็เชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที
จากนั้นปประดิษฐานไว้ใน "ถ้ำคันธชุลี" ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่า เป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7
ก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุก ๆ ปี
และเนื่องจากเทพธิดาทั้ง 7 ปรากฏตัวในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น นัยก็คือ "พระอาทิตย์" เพราะ "กบิล"
หมายถึง "สีแดง"
ทั้งนี้ ในแต่ละปี "นางสงกรานต์" แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ และจะมีนามอาหาร อาวุธ สัตว์ที่เป็นพาหนะต่าง ๆ กัน ดังนี้
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
◄ll กลับสู่สารบัญ
Credit - nakhu.com/ประวัติ-นางสงกรานต์/
|
|
|
|
|