Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 12/2/08 at 13:02 [ QUOTE ]

ติดต่อสถานที่พัก หรือ ทำบุญเลี้ยงพระที่วัดท่าซุง และ ระเบียบการบวช


HAPPY NEW YEAR 2022

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๕




ส.ค.ส. ขอส่งความสุขถึง บรรดาสมาชิกทุกท่าน

จึงขออภินันทนาการด้วย "ฤกษ์พรหมประสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๕" ของวัดท่าซุง


จากคณะผู้จัดทำ "เว็บวัดท่าซุง" และ "เว็บตามรอยพระพุทธบาท"





หมายเลข "โทรศัพท์" วัดท่าซุง



ติดต่อเรื่อง "สถานที่พัก" และ "ถวายภัตตาหารพระสงฆ์วัดท่าซุง"


1. ติดต่อเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพลพระ ติดต่อ พระพรชัย สุธมฺมโชโต โทรศัพท์ 089-668-8673

2. พระพิสิษฐ์ เป็นผู้จัดกิจนิมนต์พระภิกษุภายในวัดท่าซุง โทรศัพท์ 063-294-6356

3. สมัครสมาชิก หรือต่ออายุ "ธัมมวิโมกข์" ได้ที่ "สำนักงานธัมมวิโมกข์" หลังโบสถ์ โทรศัพท์ (056) 502-507 มือถือ (084) 616-9164 เวลา 09.30 - 10.30 น. และ 13.00 - 16.00 น.

4. ถ้าต้องการซีดี, หนังสือธรรมะของหลวงพ่อฯ หรือสั่งของทางไปรษณีย์ก็ได้ ธนาณัติหรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย ปท.อุทัยธานี ในนาม

พระครูปลัดสมนึก สุธมฺมถิรสทฺโธ
วัดท่าซุง
อ.เมือง
จ.อุทัยธานี
61000


ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ "ตึกรับแขก" โทรศัพท์ (056) 502 - 506

5. ต้องการติดต่อที่พักทุกแห่ง พระเจ้าหน้าที่ทำงาน เช้าเวลา 09.00 น. - 10.30 น. บ่าย 13.00 น. - 16.00 น.

ก. เพื่อร่วมงานพิธีต่างๆ ของวัด
- ศาลานวราช (พระทนงศักดิ์)
- ศาลา 3 ไร่ (พระอวยพร)
- ตึกขาว (พระครูใบฎีกาบุญชู)
- ศาลา 25 ไร่ (พระนิติ)

ข. เพื่อพักปฏิบัติธรรม
... ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ ณ ศาลานวราช ข้างพระอุโบสถวัดท่าซุง
โทรศัพท์ (056) 502 - 655 เวลาทำงาน ช่วงเช้า 9.00 - 10.30 น. ช่วงบ่าย 13.00 - 16.00 น.
สามารถมาพักปฏิบัติธรรมที่วัดได้ โดยมีข้อปฏิบัติระเบียบการพักปฏิบัติธรรม ดังนี้

- พักครั้งละไม่เกิน 7 วัน
- ต้องมีบัตรประชาชนหรือใบขับขี่เป็นหลักฐาน
- หากเป็นพระภิกษุต้องมีใบสุทธิและใบรับรองจากเจ้าอาวาสที่ท่านสังกัดมาแสดงโดยทางวัด
- พระเจ้าหน้าที่จะขอเก็บไว้เป็นหลักฐานก่อน ไว้จะคืนเมื่อเดินทางกลับ
- ต้องมาติดต่อพระเจ้าหน้าที่ (ไม่ว่าจะขอกุญแจหรือคืนกุญแจ) ต้องติดต่อในช่วงต่อไปนี้เท่านั้นคือ

- ที่พักมีพักเป็นห้องๆ หลายจุดในวัด แยกชายหญิง หากมีคนมากอาจจะแบ่งพักรวมกันบ้าง
- เรื่องอาหารการกินผู้มาปฏิบัติต้องรับผิดชอบตนเอง โดยมีร้านอาหารตั้งอยู่หลายจุดรอบๆ วัด
- ภายในวัด มีร้านสหกรณ์ของวัดจำหน่ายของใช้ของจำเป็นทุกอย่าง
- มีการทำวัตรเช้าที่วิหาร 100 ปีหลวงพ่อฯ เวลา 08.30 - 09.00 น. ทำวัตรเย็นที่วิหาร 100 ปีหลวงพ่อฯ เวลา 17.00 - 18.30 น. (ต้องการฝึก "มโนมยิทธิ" มีทุกวันในเวลา 11.30 - 14.00 น. ที่วิหารแก้ว 100 เมตร)

- ในวัดมีมีรถบัสที่ดัดแปลงเป็นรถนั้ง 2 แถวหรือไม่ก็มีรถสามล้อเครื่องให้ใช้บริการตาม
สะดวก
- ห้ามดื่มเหล้าและเล่นการพนันรวมทั้งอบายมุขทุกอย่าง
-ต้องเคารพในสถานที่และทำตามระเบียบของวัดท่าซุงอย่างเคร่งครัด

เวลาเปิดปิดวิหาร


วิหารแก้ว 100 เมตร
เช้า เปิดเวลา 09.00 น. - 11.30 น.
บ่าย เปิดเวลา 14.00 น. - 16.00 น.

วิหารสมเด็จองค์ปฐม - มณฑปพระศรีอาริย์
เช้า เปิดเวลา 09.00 น. - 10.30 น.
บ่าย เปิดเวลา 13.00 น. - 16.00 น.
(วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิด 09.00 น. - 16.00 น.)

ศาลานวราช
เช้า เปิดเวลา 08.00 น. - 10.30 น.
บ่าย เปิดเวลา 13.00 น. - 16.00 น.

6.ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” วัดท่าซุง โทร : (056) 502-599

7.โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา โทร : (056) 502-509





บ้านสายลม


เปิดทำการตั้งแต่ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น. (หยุดวันอาทิตย์) โทรศัพท์ (02) 616 - 7177

◄ll กลับสู่สารบัญ



[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
[*] posted on 13/2/08 at 10:15 [ QUOTE ]


ระเบียบการอุปสมบท วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


คณะกรรมการสงฆ์ วัดท่าซุง

วันที่ 10 ก.พ. 2551


ขอชี้แจงให้ผู้ที่ประสงค์จะมาสมัครบวชได้ทราบเรื่อง “ระเบียบการรับสมัครบวช” วันที่มาสมัครบวชนั้น ทางวัดจะแจก “ระเบียบการบวช” ให้แก่ผู้สมัคร ซึ่งท่านได้ออกกฎระเบียบให้พระที่มีหน้าที่รับสมัครบวช และผู้ที่จะมาบวชได้ถือเป็นข้อปฏิบัติไว้ ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยได้เพิ่มเติมคำในวงเล็บไว้ด้วยดังนี้

๑. ให้มาติดต่อกับพระเจ้าหน้าที่ (พระนันทณัฎฐ์ tel. 098-254-5698) เพื่อรับระเบียบการบวช

๒. ต้องศึกษา “นวโกวาท” (ปัจจุบันนี้มีหนังสือคู่มือ “โทษละเมิดพระวินัย” ให้อ่านก่อน) ให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อตรวจสอบกำลังใจว่าจะปฏิบัติตามได้ไหม

๓. ต้องเป็นบุคคลที่มี ศีล ๕ ครบถ้วน กรรมบถ ๑๐ ครบถ้วน มี พรหมวิหาร ๔ มี สังคหวัตถุ ๔ และสามารถ รักษาศีล ๘ ได้ในบางโอกาส

๔. ต้องฝึก มโนมยิทธิ ให้ได้ก่อนบวชทั้งการฝึกครึ่งกำลัง ฝึกท่องเที่ยว และฝึก ญาณ ๘ ได้จนเป็นที่พอใจของครู และตัวเองมั่นใจ (จะต้องมีใบเซ็นรับรองผลจากครูผู้ฝึก แนบใบสมัครด้วย)

๕.ประการสำคัญ ต้องซักซ้อมขานนาค พร้อมพิธีกรรมในการอุปสมบท จากพระผู้ ฝึกสอนโดยไม่เกียจคร้าน และทำได้ดี

๖. ต้องช่วยเหลือกิจการงานของสงฆ์ โดยไม่เกียจคร้าน (และไม่เลือกงานด้วย)

๗. ไม่เป็นผู้ต้องคดีอาญา หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เป็นโจรผู้ที่กำลังถูกเจ้าหน้าที่ ติดตาม ถ้าทราบในภายหลังต้องออกจากวัด

๘. เป็นผู้มีอาการ ๓๒ ครบถ้วน ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ (ในปัจจจุบันนี้ ต้องมีใบรับรองแพทย์มาด้วย ถ้าหมอตรวจเลือดพบว่ามีเชื้อเอดส์ หรือยาเสพติดก็ห้ามบวช)

๙. ไม่รับคนที่มีอายุมากเกินกว่าที่ทางคณะกรรมการสงฆ์กำหนดไว้เข้ามาอุปสมบท

๑๐. เมื่อเห็นว่าปฏิบัติตามได้ดีเป็นที่พอใจแล้ว จะต้องนำ ผู้ปกครอง หรือ ผู้รับรอง มาด้วย พร้อมกับนำ สำเนาหลักฐาน ดังนี้

(๑)บัตรประชาชนของผู้จะบวช และผู้ปกครอง
(๒)ทะเบียนบ้านของผู้จะบวช และผู้ปกครอง
(๓) ใบหมายเกณฑ์ทหารหรือกองหนุน
(๔)ใบวุฒิการศึกษา
(๕)ใบตรวจสอบประวัติการกระทำผิดเพื่อขออุปสมบท จากสถานีตำรวจ
(๖) ถ้าเป็นข้าราชการ ให้นำใบลาอุปสมบทมาด้วย
(๗) ใบตรวจโรค (ยาเสพติด, เอดส์ และสุขภาพ)
(๘) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มา 5 รูป


๑๑. ต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา เป็นที่แน่ชัด ถ้าบิดามารดาตายแล้ว หรือแยก กันอยู่เด็ดขาดด้วยกรณีใดก็ตาม ต้องให้ผู้ปกครองปัจจุบันอนุญาต ถ้ามีภรรยาแล้ว ต้องได้ รับอนุญาตจากภรรยาก่อน

๑๒. จะต้องยืนยันและรับรองว่า จะปฏิบัติตามระเบียบของวัดและพระวินัยครบทุก ข้อได้ ถ้าละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง จะยอมออกจากวัดตามคำสั่งของ คณะกรรมการสงฆ์ ทันที หรือไปเองโดยไม่รอรับคำสั่ง ถือเป็นการลงโทษตนเองในฐานะที่เป็นคนดี

๑๓. ผู้ที่ไม่สามารถจะบวชที่วัดท่าซุง แต่ตั้งใจไว้ว่าบวชแล้วจะมาอยู่ที่นี่ ให้ปฏิบัติ ตามนี้
ก. ฝึกมโนมยิทธิได้จนเป็นที่พอใจ และศึกษาระเบียบวินัยของวัดจนเป็นที่เข้าใจ
ข. เมื่อทราบระเบียบวินัยของวัดแล้ว ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามระเบียบของวัดได้
๑๔. เมื่อตกลงรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องมาอยู่วัดก่อนบวช อย่างน้อย ๑๐ วัน

(ในกรณีนี้ เวลานี้มักจะมีผู้มาต่อรองกับผู้รับสมัครเสมอว่า ขอให้นัดวันบวชก่อน เลยได้ไหม เราเองฟังแล้วก็หนักใจ เพราะอุปฌาย์ท่านก็อยู่ต่างวัด การจะนัดแต่ละครั้ง ก็ต้องแน่นอน ถ้านาคทำตามระเบียบไม่ได้ เราไปนัดไว้ก่อนก็เสียหาย เพราะเคยมีตัวอย่างมาแล้ว จะต้องไปขอโทษท่านถึงวัด
จึงขอแจ้งให้ผู้ที่จะบวชทั้งหลายทราบว่า กว่าที่จะกำหนดวันบวชได้นั้น ท่านจะต้อง ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวนี้ เวลานี้จึงให้อยู่ที่วัดอย่างน้อย ๑๐ วัน ซึ่งจะมีข้ออื่นต่อไปอีกว่า)

๑๕. ถ้าหากว่าบกพร่องในข้อหนึ่งข้อใด หลังจากตกลงกันแล้วก็จะไม่ให้บวช
๑๖. เมื่อฝึกมโนมยิทธิแล้ว ซ้อมขานนาคได้ดีแล้ว จะต้องนำเข้าพบหลวงพ่อ ทั้งนี้ แล้วแต่พระเจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรว่าเป็นเวลาใด
๑๗. การรับผู้มาบวช ให้เป็นหน้าที่ของพระที่รับสมัครบวช พระที่สอนมโนมยิทธิ และพระคู่สวด เพื่อรวมกันพิจารณา (ปัจจุบันนี้ จะปรึกษากับเจ้าอาวาสและพระที่เป็นกรรมการ สงฆ์ด้วย ไม่ได้ตัดสินใจเองแต่ผู้เดียว)


(พระสุธรรมยานเถระ)


วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๘





ระเบียบเพิ่มเติม


นอกจากนี้ทางวัดขอแจ้งระเบียบเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ มรณภาพแล้ว ได้มีพระที่บวชจากวัดท่าซุงลาออกไปอยู่ที่อื่นหลายองค์ เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสแล้ว ส่วนใหญ่ก็มีความประพฤติดี ไม่มีข่าวในทางเสียหาย เพราะได้รับการอบรมสั่งสอนไปจากครูบาอาจารย์แล้วเป็นอย่างดี

แต่ที่ออกไปสร้างความเสื่อมเสียให้แก่สำนักก็มีอยู่บ้าง ที่มีจริยาไม่งามซ่อนอยู่ เพื่อดึงความศรัทธาของคนบางคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะยี่ห้อ “วัดท่าซุง” ที่หลวงพ่อปูพื้นฐาน ความศรัทธาไว้ มักจะเป็นที่นิยมของผู้ที่เลื่อมใส จึงเป็นช่องทางให้พระบางองค์ที่ออกไป สร้างความมัวหมองให้กับวัด ความประพฤติเสื่อมเสียเช่นนี้ มีผู้มาแจ้งข่าวหลายรายแล้ว

ฉะนั้น คณะกรรมการสงฆ์ จึงลงมติว่า ต่อไปนี้ทางวัดจะไม่รับผู้ที่ประสงค์จะบวชแล้วไปอยู่ที่อื่น หรือตั้งใจบวชอยู่ที่วัด แต่ภายหลังต้องการออกไปอยู่ที่อื่น ทางวัดจะไม่อนุญาต นอกจากจะต้องลาสิกขาบทเสียก่อน ทั้งนี้ ถ้ามีจริยาเรียบร้อยดี ขณะอยู่ที่วัดไม่มีความประ พฤติเสียหาย โดยได้รับการอบรมสั่งสอน ๕ ปีแล้ว จึงจะพ้น นิสสัยมุตตกะ คือพอที่จะดูแล ความประพฤติของตนเองได้ตามพระธรรมวินัย คณะกรรมการสงฆ์ก็จะพิจารณาเฉพาะเป็นรายบุคคล

แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องออกไปจริง ๆ ด้วยเหตุผลที่ดี ที่จะต้องกลับไปสู่ภูมิลำเนา เดิม เพื่ออยู่ใกล้โยมบิดามารดา ในคราวที่ท่านป่วยไข้ไม่สบาย หรือชราภาพมากแล้ว จำเป็นต้องรักษากำลังใจของท่าน อย่างนี้ถือว่าเป็นการกตัญญู จะต้องไปสร้างที่อยู่ไว้ กรณีนี้ทางวัดก็ไม่ขัดข้อง

ฉะนั้น ถ้าจะบวชเพื่อหวังพ้นทุกข์จริง ทางวัดยินดีที่จะรับและสนับสนุน แต่มีข้อแม้ ว่าจะอนุญาตให้อยู่ไปทีละพรรษา โดยก่อนบวชจะต้องอยู่วัดไม่น้อยกว่า ๓ เดือน คือ อยู่วัดมากกว่าบวชชั่วคราว เพื่อให้นาคได้รับการอบรมความประพฤติอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งให้เวลาปรับตัวเองเข้ากับหมู่คณะได้เป็นอย่างดี

เป็นอันว่า การรับสมัครบวช จะมีอยู่ ๒ ประเภท คือประเภท บวชชั่วคราว ตั้งแต่ ๑๐ วัน ๑๕ วัน ๑ เดือน หรือ ๓ เดือน จะต้องมาอยู่วัดก่อน อย่างน้อย ๑๐ วัน แต่ถ้าสมัครบวชประจำ โดยยังไม่มีกำหนดวันสึก จะต้องมาอยู่วัด อย่างน้อย ๓ เดือน บวชแล้วจะดูความประพฤติไปทีละ ๑ พรรษา หากมีจริยาในทางเสียหาย ก็จะให้ลาสิกขาบททันที ถือว่าบวชแล้วไม่สามารถรักษาความดีไว้ได้ อยู่ไปก็สร้างความเดือดร้อนให้แก่ส่วนรวม.

ค่าใช้จ่ายในการอุปสมบท : ค่าอัฏฐบริขารและค่าภัตตาหาร ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท

[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top