คำนมัสการพระรัตนตรัย
(เล่นอัตโนมัติ แต่ถ้ายังไม่มีเสียง กรุณากด Play แล้วรอสักครู่)
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,)
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
(พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,)
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ.,
(ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
และพระอริยสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายยกขึ้นไว้ตามสมควรแก่การบูชาแล้ว.,)
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
(ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม ข้าพเจ้า
ทั้งหลายกราบขอพระบรมพุทธานุญาต,)
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
(ขอพระองค์ผู้มีพระทัยในอันที่จะอนุเคราะห์แก่หมู่ชนผู้จะเกิดมาในภายหลัง,)
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
(ได้โปรดรับเครื่องสักการะเหล่านี้ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มีความทุกข์น้อมถวายบูชา,)
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
(เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขอันเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว. )
(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ.
(พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ.
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง
กะโรมะ เส ฯ
(ในเบื้องต้นแต่นี้ไป พวกเราจงพากันกระทำความนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตื่นแล้วเบิกบานแล้ว โดยพร้อมเพรียงกันเถิดฯ)
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
ได้ ด้วยพระองค์เอง ฯ)
(ว่า ๓ ครั้ง)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
(พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพร้อมเพรียงกันเถิด ฯ)
(รับ) โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
(พระตถาคตเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,)
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
(เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติอันงาม)
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวา,
(เป็นผู้เสด็จไปสู่ที่ดีงามคือพระนิพพาน เป็นผู้รู้แจ้งโลก,)
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัห์มะกัง
(เป็นผู้ฝึกสอนบุคคลอย่างยอดเยี่ยมไม่มีผู้อื่นเทียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้แล้ว ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว
เป็นผู้สามารถจำแนกธรรมสอนหมู่สัตว์ได้ถูกตามอัธยาศัย)
สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง
อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ.,
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอน
โลกนี้กับทั้งเทวดา มาร พรหม พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ และหมู่สัตว์ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตามพระองค์.,)
โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง
ปะริโยสานะ กัลยาณัง,
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล ธรรมอันงามในท่ามกลาง
คือสมาธิ ธรรมอันงามในที่สุดคือปัญญา,)
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง
พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ.,
(ทรงแสดงวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐ พร้อมทั้งอธิบายหัวข้อ และเนื้อความ
ในการปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยไม่เหลือให้สงสัย.,)
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าฯ)
(กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
(พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญ พระคุณแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพร้อมเพรียงกันเถิด ฯ)
(รับ) โย โส สวากขาโต ภะคะวะโต ธัมโม,
(พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก,
(เป็นธรรมที่บุคคลผู้ศึกษาปฏิบัติจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง สามารถปฏิบัติและเห็นผลได้ทุกเมื่อไม่จำกัดกาลเวลา
และเป็นธรรมที่สามารถเรียกร้องให้ผู้อื่นมาดูได้ว่า "ท่านจงมาดูธรรมนี้เถิด",)
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ.
(เป็นธรรมที่บุคคลควรน้อมเข้ามาใส่ใจ และผู้รู้ธรรมแล้วทั้งหลายจะพึงรู้ได้เฉพาะตนเอง
เท่านั้น. (รู้ได้เฉพาะตนเอง หมายความว่า ไม่สามารถบอกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า พระธรรมนั้นดีเลิศวิเศษอย่างไร นอกจากจะปฏิบัติเองแล้ว เห็นผลเอง
เปรียบเหมือนคนกินเกลือที่เค็ม ไม่สามารถ
บอกได้ว่ารสเกลือเค็มอย่างไร นอกจากจะกินเอง แล้วจะรู้ได้เองว่าเกลือนั้นเค็มอย่างไร))
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
(ข้าพเจ้าขอบูชายิ่งต่อพระธรรมคำสั่งสอนของผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อ
พระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ)
(กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
(พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญพระคุณแห่งพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
โดยพร้อมเพรียงกันเถิด ฯ)
(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,)
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว,)
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว,)
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว,)
( (๑) สุปะฏิปันโน หมายถึง พระโสดาบัน (๒) อุชุปะฏิปันโน หมายถึง พระสิกทาคามี
(๓) ญายะปะฏิปันโน หมายถึง พระอนาคามี (๔) สามีจิปะฏิปันโน หมายถึง พระอรหันต์ )
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
(ท่านเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตามลำดับได้ ๘ บุคคล)
(บุรุษ ๔ คู่ ๘ บุคคล คือ คู่ที่ ๑ พระโสดาปัตติมรรค กับ พระโสดาปัตติผล,
คู่ที่ ๒ พระสกิทาคามิมรรค กับ พระสกิทาคามิผล,
คู่ที่ ๓ พระอนาคามิมรรค กับ พระอนาคามิผล,
คู่ที่ ๔ พระอรหัตมรรค กับ พระอรหัตผล. รวม ๔ คู่ ๘ บุคคล ฯ)
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
(ท่านทั้งหลาย ๘ บุคคลนี้ คือ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,)
อาหุเนยโย
(ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่คนทั้งหลายนำมาบูชา)
ปาหุเนยโย
(ท่านเป็นผู้ควรแก่ของที่เตรียมไว้ต้อนรับ)
ทักขิเณยโย
(เป็นผู้ควรแก่การรับทานที่หมู่ชนนำมาถวาย)
อัญชะลีกะระณีโย,
(เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้,)
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ.
(ท่านเหล่านี้เป็นนาบุญของโลกอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีนาบุญอื่นเทียบได้.)
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
(ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระอริยสงฆ์นั้นด้วยเศียรเกล้า ฯ)
(กราบ)
(จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑-๗)
|