ขั้นตอนการฝึก,อานิสงค์,การตั้งกำลังใจและวัตถุประสงค์หลัก โดย คนเมืองบัว
อานิสงค์ในการฝึก มโนมยิทธิ
โดย คนเมืองบัว
1. ดอกไม้ 3 สี / ธูป 3 ดอก / เทียนหนัก 1 บาท 2 เล่ม / ได้อานิสงค์ เบื้องต้น คือ อามิสบูชา แก่พระพุทธเจ้า
2. บริจากเงิน 1 สลึง หรือ 1 บาท เป็นค่าบูชาครู ( คือ พระรัตนตรัย ) ได้อานิสงค์ ใน จาคานุสสติกรรมฐาน
3. สมาทานพระกรรมฐาน ก่อนทุกครั้ง ได้อานิสงค์ ใน พุทธานุสติ ธรรมมานุสสติ สังฆานุสติ และ อิธิษฐานบารมี
4. เมื่อเริ่มนั่งสมาธิ จิตทรงตัวในดี เบื้องต้น ว่างจากกิเลสชั่วขณะ วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน
ได้อานิสงค์ หากตายตอนนั้นได้อยู่ที่ สวรรค์ก่อน
5. เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจ เข้า / ออก ได้อานิสงค์ อานาปานุสติกรรมฐาน
6. เมื่อบริกรรมภาวนา นะ มะ / พะทะ รวมกำลังของกสิณ หากฝึกได้เชี่ยวชาญแล้ว จะทรงอภิญญา 5
นะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุดิน ได้อานิสงค์ ของ กสิณดิน
มะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุน้ำ ได้อานิสงค์ ของ กสิณน้ำ
พะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุลม ได้อานิสงค์ ของ กสิณลม
ทะในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุไฟ ได้อานิสงค์ ของ กสิณไฟ
7. เมื่อในขณะ บริกรรม ภาวนา ตามลมหายใจ เข้า /ออก ให้กำหนดพุทธนิมิต ให้จิตป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้เห็น ได้อานิสงค์
พุทธานุสสติ ในบางกรณี ระลำถึงพระอริยสงฆ์ ได้อานิสงค์ สังฆานุสสติ
8. เมื่อขณะจิตทรงอารมณ์ฌาน ที่ 1 2 3 4 ได้อานิสงค์ ขององค์ฌานต่างตามลำดับ เบื้องต้น จะเกิดความคล่องตัว ในวิปัสสนาญาณ และได้อานิสงค์
ในการเกิดในพรหมโลก ตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึง 12 ตามแต่กำลังใจในการเข้าฌานได้
9. เมื่อมาตั้งกำลังใจในการพิจารณา ใน อริยะสัจจะ ข้อที่ 1 คือ ทุกข์ ในเบื้องต้นอันได้แก่
( ๑ ). ความเกิดเป็นทุกข์
( ๒ ). ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์
( ๓ ). ความพลัดพรากของรักของชอบเป็นทุกข์
( ๔). ความแก่ที่ย่างก้าวเข้ามาเป็นทุกข์
( ๕ ). ความตายที่ก้าวเข้ามาเป็นทุกข์ได้อานิสงค์ ใน ธรรมมานุสสติกรรมฐาน เนื่องด้วย วิปัสสนาญาณ 9
10. เมื่อตั้งใจอธิษฐานว่า ขึ้นชื่อว่าการเกิดใน พรหมโลก เทวะโลก มนุษยโลก อบายภูมิ4 เราไม่ต้องการที่จะไปเกิดอีก
ภายหลังจากตายไปในชาตินี้ เราขอมุ่งตรงอย่างเดียว คือพระนิพพาน ได้อานิสงค์ ขณิกะนิพพาน ในขณะนั้นจิตจะว่างจากกิเลสชั่วขณะ เข้าสู่กระแสแห่ง
อริยะเจ้าเบื้องต้น ( พระโสดาบัน ต้นๆ ) ชั่วขณะ
11. จึงเกิดเป็นทิพย์จักขุญาณ หรือเป็นผลของอภิญญานั้นเอง ได้อานิสงค์ ให้ถอด อทิสมานกาย ได้เพราะจิตว่างจากกิเลส
คือเครื่องเศร้าหมองร้อยใจ
12. เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ พุทธานุสติ
เมื่อได้พบพระอริยะสงฆ์ ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ สังฆานุสติ
เมื่อได้พบ เทวดา หรือ พรหม ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ เทวตานุสติ
13. เมื่อได้บารมีมาถึงลำดับที่ 12 นี้แล้วความดีเดิม ที่เคยฝึกได้ อภิญญา 5 จะรวมตัวกันจนเป็นผลในชาติปัจจุบัน เป็นอภิญญา เล็กๆน้อยๆ คือ
ทิพยจักขุญาณ และ ฤทธิ์ทางใจ นั้นเอง ได้อานิสงค์ สามารถที่จะท่องเที่ยว ใน อบายภูมิ 4 , มนุษยโลก , เทวะโลก , พรหมโลก , และ เมืองพระนิพพาน
ในที่สุด
14. เมื่อได้ ฤทธิ์ทางใจ แล้ว จะได้อานิสงค์ เป็นความรู้ตามมาอีก 8 อย่าง หรือ ญาณ 8 นั้นเอง วึ่งท่านจะได้ศึกษาในเนื้อหาต่อไป
15. เมื่อรู้ความไม่เที่ยงใน ภพทั้ง 4 แล้ว และรู้ความเที่ยงในพระนิพพาน จิตก็จะเบื่อหน่ายในการเกิด ในภบทั้ง 4 และตั้งกำลังใจไว้ที่พระนิพพาน
เพียง สถานที่เดียว
ด้วยเหตุทั้งหลายเหล่านี้เองขอให้ข้าพระพุทธเจ้า และหมู่คณะจงได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด
การตั้งกำลังใจในขณะฝึก ฤทธิ์ทางใจ
การตั้งกำลังใจในขณะฝึก สำหรับ ท่านที่ฝึกใหม่ หรือ ท่านที่เคยฝึกแล้วแต่ยังไม่ได้ ฤทธิ์ทางใจ
ควรที่จะเตรียมกำลังใจ ไว้ก่อนพอสมควร ดังนี้
๑.เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นเบื้องต้น
๒.เป็นผู้ให้ทานตามสมควร หรือ ค่าครู
๓. เป็นผู้ที่รักษาศีลดี เป็นปรกติ
๔.มีจิตต์ตั้งมั่นในสมาธิ ตามแต่กำลังใจของตน ท่านหมายเอาถึงจิตต์เป็นสุข เป็นเกณฑ์ หรือทรงฌาน ในระดับต่าง ( ได้แก่ ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ
ฌานที่ ๑ / ฌานที่ ๒ / ฌานที่ ๓ / ฌานที่ ๔ ) หรือ ( อรูปฌาน ๑ / อรูปฌาน ๒ / อรูปฌาน๓ / อรูปฌาน๔ ) ควรที่จะปฏิบัติสมาธิให้มีความต่อเนื่อง
ในกรณีที่ต้องการฝึก ฤทธิ์ทางใจ แบบครึ่งกำลังควรที่จะตั้งกำลังใจดังนี้
๔.๑. กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ตามความเป็นจริง เช่น จังหวะในการหายใจเข้าสั้นหรือยาว ก็มีสติรู้และรักษาระดับจังหวะในการหายใจนั้น
๔.๒. กำหนดรู้ในคำภาวนา ให้ควบคู่กับลมหายใจ คือ เมื่อหายใจเข้า นึกรู้อยู่ในใจว่า นะ มะ กำหนดรู้ในคำภาวนา ให้ควบคู่กับลมหายใจ คือ
เมื่อหายใจออก นึกรู้อยู่ในใจว่า พะ ทะ
๔.๓. กำหนดรู้ในภาพนิมิต ของ พระพุทธเจ้า หรือ พระอริยะสงฆ์ ในอิริยาบทต่างๆ หรือ ตามความพอใจ หรือ จินตนาการความจำ ( สัญญา คือ
การจำได้หมายรู้ ในนิมิต )
ในกรณี ที่จำภาพนิมิต ไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องฝืนอารมณ์จิต หรือบังคับจิตต์ให้มีความรู้สึกว่าเห็น เพราะจะทำให้เกิดความหนักใจ
๔.๔. อิริยาบท ๔ ให้เลือกใช้อิริยาบทอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความพอใจ ในอิริยาบทนั้นๆ
๔.๕.ระยะเวลาในการปฏิบัติสมาธิ หมายเอาอารมณ์จิตต์ที่เป็นสุข เป็นเกณฑ์ เช่น ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที หรือ ๓๐ นาที เป็นต้น
ลำดับขั้นตอนการฝึก ฤทธิ์ทางใจ
แบบครึ่งกำลังมีขั้นตอนดังนี้
1. สมาทานพระกรรมฐาน ก่อน
2. .นั่งในท่าที่สบาย ๆ มือวางแบบสบาย ๆ (ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิ)
3. .ก่อนภาวนาหายใจเข้า และ ออกให้ลึกสุด ๆ 3 ครั้ง
4. .ผ่อนคลายลมหายใจให้อยู่ในระดับปกติ แล้วนำ สติ-สัมปชัญญะ ไปรับรู้ ลมหายใจเข้าและออก
5. .นำสติ-สัมปชัญญะไปรับรู้ คำภาวนา เมื่อหายใจเข้า ให้ท่องในใจว่า '' นะ มะ '' เวลาหายใจออกว่า พะ ทะ
''จะท่องเป็นคำออกเสียงก็ได้ นะครับ แต่ว่าอาจทำให้เกิดการสับสน จนในที่สุดกว่าจะเข้าถึง ฌาน ได้ จะเสียเวลามากไปได้นะครับ
6. .ระหว่างที่ภาวนา ให้แยก สติ-สัมปชัญญะ ความรู้สึกออกไปส่วนหนึ่ง ไปทำการระลึกถึง พุทธานุสสติ โดยให้
ระลึกถึง พระพุทธรูปองค์ใดก็ได้ที่ท่านชอบที่สุด
ระลึกถึง พระพุทธรูปองค์ใดก็ได้ที่ท่านชอบที่สุด ( ตรงนี้อาจจะลำบากสักนิด เพราะบางท่านที่ ฌาน ยังไม่ทรงตัวอาจทำให้ รูปพระพุทธรูปไม่ชัดเจน
ไม่เป็นไรนะครับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้นก่อน ไม่ต้องเพ่งจน ทำให้ปวดหัวหรือปวดตานะครับ หรือบางท่านอาจจะไม่ได้ชอบองค์ไหนเป็นพิเศษก็ จะทำให้ระลึกถึง ยากหน่อย
ตรงนี้ขอแนะนำให้ท่านลองใช้ จินตนาการก่อนสักนิด
ให้พยายามนึกถึงว่าให้เป็น รูปร่างของ พระพุทธรูปก่อน แต่ยังไม่ต้องคิดถึงรายละเอียดขององค์พระท่านนั้นครับ รับรู้แค่นี้ก่อนก็พอ แล้วหลัง ๆ
ไปความชัดเจนจะมีมากขึ้นไปเองครับ ถ้ารีบเพ่งแล้วจะปวดหัวปวดตาได้ครับ เทียบการระลึกถึง พระพุทธรูปได้กับ ปฏิภาคนิมิต ( ในกสิณ )
จนเมื่อจิตทรงตัวระดับหนึ่งแล้ว ภาพพระพุทธรูปจะชัดมากขึ้นจัดเป็น อุคนิมิต ( ในกสิณ ) และจะเริ่มทรงตัวใน ฌาน ระดับต่าง ๆ เริ่มจาก 1 ถึง 4 ตามลำดับ
และให้ตัดอารมณ์ฟุ้งซ่านใน ระดับต้น ๆ ออกก่อน
7. .ภาวนาใช้เวลาพอสมควร ท่านผู้เป็นต้นตำรับท่านบอกว่า กะแค่พอ จิต เป็นสุขทรงอยู่ใน เอกคตารมณ์ เท่านั้น อาจแค่ 1-10 วินาที สำหรับผู้คล่อง
ตัวในการทรงฌานในระดับต่าง ๆ ( 1,2,3,4) อย่างสูง หรือใช้เวลา 10- 30 นาที สำหรับผู้ที่ไม่คล่องใน การทรงฌานในระดับต่าง ๆ ( 1,2,3,4) แบบปกติ
8. เมื่อสมาธิทรงตัวให้มีความสุขอยู่ในฌานนั้น ๆ ได้แล้วในระยะเวลาที่บอกไปในข้อ 7 แล้วให้ลดอารมณ์จิตลงมา ที่อุปจารสมาธิ
เพื่อมาวิเคราะห์วิปัสนาญาณที่ว่า '' ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพรัดพรากจากของที่รักที่ชอบก็เป็นทุกข์ ''
โดยให้พิจารณาด้วยความนอบน้อมในธรรมนั้นจริง ๆ จะมีผลกับความเป็นทิพย์
โดยจะมีอยู่ 3 ระดับคือ
8.1. นอบน้อมในระดับต้น ๆ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนจิตเราตอบจิตของเราเอง
8.2. นอบน้อมในระดับกลาง ๆ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนดูภาพสลัว ๆ จากหนังตะลุง
8.3. นอบน้อมในระดับเต็มที่ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนดูภาพปกติตอนกลางวัน
เหมือนกลางวันของเรานั้นเปรียบเทียบได้กับแสงหิ่งห้อยนะครับ
9. ..จากนั้นนอบน้อมจิต อธิษฐานตัดอวิชชาในขอบเขตที่ว่า '' ขึ้นชื่อว่า พรหมโลก เทวะโลก มนุษย์โลก และอบายภูมิ 4 เราไม่ต้องการอีก
เราต้องการอย่างเดียวว่าเมื่อสังขารสลายจากโลกนี้ไปแล้ว ขอตามรอย พระบาทของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อไป อยู่ที่เมืองนิพพาน
ตรงนี้ขอให้ตัดสินใจ อย่าได้ลังเล ถ้าลังเลแล้วจะส่งผลให้เกิดเป็นผลให้ ภาพนิมิตในขั้นตอนการฝึกต่อไปจะมีความ มัวมากขึ้น ( ถือว่ายังมี สักกายทิฏฐิ อยู่
)
10. . ข้อนี้ขอแนะนำเสริมเทคนิค ( จากข้อ 9) ให้นอบน้อมใจเหมือนว่าเราได้ พนมมือไหว้พระเสมือนเราท่านได้อธิษฐานจิต
ต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ในระหว่างนี้อารมณ์จิตจะฟู ( ละจากกิเลสชั่วขณะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกิด ปิติธรรม ) เนื่องจากปีติแห่งธรรมสูงมาก
จิตจะมีอาการเบาสบาย จิตจะชุ่มชื่นในธรรมมาก แล้วขอให้ระลึกด้วยกำลัง ใจของเราท่านว่าได้นอบน้อม อทิสมานกายของเรานั้น
ว่าได้กราบเฉพาะเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า เป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน วาระแรกกราบพระพุทธเจ้า วาระที่สองกราบพระธรรม และ วาระที่สามกราบพระสงฆ์
11. เมื่อนอบน้อมกราบแล้ว จิตก็จะมีความชุ่มชื่นเพราะปีติแห่งธรรมก็ยังคงมีอยู่ (อาจจะมากกว่าข้อ 10 ก็ได้นะครับ สำหรับบางท่าน) ให้ค่อย ๆ
กำหนดเสมือนว่า อทิสมานกายของเราท่านเงยหน้าขึ้น หากจิตที่ได้ทรงฌาน มาดีแล้วได้พอสมควรก็จะมีความรู้สึกคล้ายอย่างกับตาเห็นว่ามี พระพุทธเจ้า ( กายเนื้อ ,
กายพระพุทธรูป หรือ จะเป็นกายพระพุทธรูปแบบปูนปั้น เป็นต้น) หรือ พระอริยะเจ้าที่นับถือ หรือ พรหม หรือ เทวดา ที่ท่านนับถือ ปรากฏอยู่ตรงหน้าท่าน
ตรงนี้เรียกได้ว่าเริ่มจะเห็นกระแสแห่ง โคตระภูญาณ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง โลกียะธรรม กับ โลกุตระธรรม เพราะ มีกำลังจิตและวิปัสนาญาณ พอสมควร
ท่านจึงจะสามารถเห็นองค์พระพุทธเจ้าได้ ( เป็นผลจากข้อ 9 ที่บอกนั่นแหละครับ ว่าถ้าจิตไม่นอบน้อมตัดอวิชชา ด้วยความจริงใจแล้ว
ผลที่ได้ในขั้นนี้จะมีความมัวมากครับ )ซึ่งขั้นตอนนี้ เรียกที่ว่า ''' ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต '''' หากเป็นในสมัยพุทธกาล ก็จะมีปรากฏบ่อย ๆ
ครับ ดังกรณีพระวักลิของ พระอริยเจ้านามว่า พระวักลิ (อ่านว่า วัก-กะ-ลิ) เพราะเหตุแห่ง
ท่าน ติดในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้าเลยทำให้ท่านไม่สามารถ ตัดกิเลสให้เป็นพระอรหันต์ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบดี
จึงทรงแกล้งทำเป็นตรัสไล่พระวักลิออกไปเสีย ท่านพระวักลิน้อยใจ เลยจะไปโดดหน้าผาตาย
ระหว่างที่จะโดดนั้นจิตของท่านมีความน้อยใจที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไล่เลยเบื่อหน่ายในสภาพของคน
ตอนนั้นพระพุทธองค์ ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีแล้วเป็นพระพุทธนิมิตไปเฉพาะหน้าพระวักลิ เสร็จแล้วทรงแสดงธรรมให้พระวักลิเห็นถึงความไม่เที่ยง ของโลกนี้
ซึ่งรวมไปถึงพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้าท่านด้วย หลังจากได้ฟังธรรมแล้วพระวักลิก็สำเร็จอรหัตผลในที่หน้าผา แห่งนั้นหละครับ..........
นี่ก็คือตัวอย่างของการที่บอกว่า ''' ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ''' ในสมัยพุทธกาลครับ
12. . เมื่อเห็นพระตถาคตแล้วในขั้นตอนนี้ควรตัดความฟุ้งซ่าน (อย่างกลาง ๆ เช่นว่า เอ...นี่นิมิตหลอกเราหรือเปล่า เป็นต้น) ออกเสียให้หมด
เพราะในขณะที่กำลังใจของท่านในขณะนั้น จะมีคุณธรรมของ ทาน,ศีล,ภาวนา ซึ่งส่งผลให้เกิด ปัญญา ได้ครบถ้วน อยู่แล้วบริบูรณ์
ท่านย่อมเห็นพระพุทธเจ้าไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่ให้ตัดสัญญาความจำของลักษณะทางกายของพระองค์ท่านออกเสีย ให้คิดแบบคนฉลาดน้อย ๆ ว่า ""
กายของพระองค์ท่านจะเป็นแบบใดก็ไม่สนใจ เราถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน
13.. เมื่อหมดความสงสัยแล้ว ก็กราบพระพุทธองค์ขอให้ได้ทรงโปรด นำอทิสมานกายของเราท่านไปยังพระจุฬามณีย์เจดีย์สถาน ในเขตของสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์
โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 เทคนิค ในการแก้ปัญหาที่บางท่านพบเจอคือ มักจะบอกกันว่าจิตไม่เคลื่อนออกจากกายเนื้อให้แก้ไขดังนี้
13.1. . ยึดมั่นในกายเนื้อนี้มากไป เลยทำให้สงสัยว่ากายทิพย์ จะออกไปได้อย่างไร (
ให้แก้ไขโดยการพิจารณาทบทวนข้อ และข้อ 9 ) อีกครั้งหรือจนกว่าจะหายยึดมั่น
13.2.. ยึดมั่นถือมั่นในโลกธาตุ เกี่ยวกับพระรูปพระโฉมของพระพุทธองค์ว่า ทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมไม่เป็นแบบนั้น เป็นต้น วิธีแก้ไขคือให้ใช้
กฎพระไตรลักษณ์ เข้ามาพิจารณาร่วมว่า ในขอบเขตที่ว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป
แม้แต่พระรูปพระโฉมของพระพุทธองค์ก็ตาม'
13.3. ..ให้อธิฐานเพิ่มเติมว่า กุศลใดที่เคยบำเพ็ญมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ถ้าหากอธิฐานไม่ตรงพระนิพพาน
ข้าพระพุทธเจ้าขอเปลี่ยนอธิฐาน เพื่อขอพระนิพพาน ในชาตินี้
13.4. .ให้อธิฐาน ขอขมาลาโทษต่อพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ''' ขั้นตอนนี้จะสังเกตุว่าบางท่าน อาจจะมี พระพุทธนิมิตไม่ครบสมบูรณ์ทั้งองค์
เช่น อาจจะ เศียรขาดบ้าง ขาขาดบ้าง แขนขาดบ้าง ทองถูกลอกไป บ้าง เป็นต้น ''' ถ้าเกิดมีการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ต้องอธิฐานขอชำระหนี้สงฆ์ด้วยนะครับ (
ให้ดูบทขอขมา )
13.5 ให้ใช้พระพุทธนิมิตนั้นแหละมาเป็น กสิณ โดยที่เราควรจะขอบารมี ท่านให้ทำภาพนิมิตขึ้นมา (โดยปกติของการฝึก กสิณ นั้นเราท่านต้อง
กำหนดรู้ภาพนิมิตเองโดยที่ต้องใช้อำนาจจิตของตน เองบังคับองค์กสิณให้ได้ตามใจปรารถนา) เช่น ขอพระบารมีของพระองค์ท่านได้โปรดสงเคราะห์
โปรดขยายพระวรกายของพระองค์ท่านให้ใหญ่ขึ้น....หรือเล็กลงก็ได้ เสร็จแล้วเมื่อท่านสงเคราะห์ตาม ที่เราขอท่านแล้ว เราก็กราบท่าน
หรือจะขอให้พระองค์ท่านสงเคราะห์ให้พระองค์ ขยับพระวรกาย ให้ไกลออกไปหรือร่นใกล้เข้ามา.....
เมื่อพระองค์ทรงสงเคราะห์เราแล้วเราก็กราบท่านด้วยนะครับ จนเมื่อจิตได้ที่แล้วพอใจแล้ว จิตจะมีความคล่องตัวสูงมาก (ต้องอย่าห่วงร่างกายนะครับ) และขอ
พระบารมีของพระองค์ท่านให้โปรดนำเราไปยัง พระจุฬามณีเจดีย์สถาน เราก็รวบรวมจิตที่คล่องแล้ว พุ่งอทิสมานกายตามพระองค์ท่านไปเลย
แต่เราท่านไม่ควรไปตามลำพังควรจะเกาะชายจีวรของพระองค์ท่าน หรือ เกาะแท่นที่ประทับของท่านไปก็ได้ ระหว่างนี้ถ้ามีความฟุ้งซ่านต้องรีบ
ตัดออกไปทันที
14.. ในกรณีที่อทิสมานกายเหาะไปได้ช้ามากเกินไป ให้อธิฐานด้วยความนอบน้อมแด่พระพุทธนิมิตว่า
พระพุทธเจ้าขอเพิ่มความเร็วเป็น 1 เท่า 2 เท่า ไปจนถึง 10 เท่าตามแต่ใจของแต่ละท่านต้องการ พออธิฐานเสร็จให้ภาวนา นะมะ พะทะ จนกว่าจะถึง
15. . เมื่อถึงพระจุฬามณีแล้ว อารมณ์จิตจะรู้สึกว่าหยุด
15.1 บางท่านจะเห็น พระจุฬามณีแจ่มชัด หรือ อาจเห็น พรหม หรือ เทวดา หรือ วิมานของเทวดา ได้ทันที
15.2 หากขึ้นถึงพระจุฬามณีแล้วเกิดความมืดเข้ามาแทนที่ ก็ต้องพิจารณาตาม ข้อ และ( 9) ใหม่อีกครั้ง
ทันที สภาวะธรรมของท่านที่จะเห็นก็ จะสว่างขึ้นและสามารถรู้เรื่องต่าง ๆ ของสวรรค์ได้ และควร ขอพระบารมีเพื่อลองรับสัมผัสว่า
อารมณ์จิตของการที่เป็นเทวดา อยู่ในสวรรค์นั้นมีความสุขเช่นใด และลองเทียบกับความสุขของมนุษย์ดู
16. .จากนั้นให้พิจารณาข้อ และ 9) อีกครั้ง จึงตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปพระนิพพาน คราวนี้ท่านทั้ง หลายก็จะได้รู้กันเสียทีว่า
พระนิพพานนั้นสูญหรือไม่สูญ ตามที่พระพุทธเจ้าพระองค์ไม่เคยตรัสว่า นิพพานสูญ จะสูญไปก็แต่กิเลสเท่านั้น
เสร็จแล้วขอพระบารมีเพื่อไปชมวิมานของเราที่พระนิพพาน หรือจะขอพระบารมีเพื่อไปที่ไหนก็ได้ตามใจเรา...........
17. . เมื่อฝึกได้แล้วควรรักษาอารมณ์ไว้ให้ดีเพื่อจะได้นำไป ตัดกิเลสตามลำดับต่อไป และก็เตรียมเรียน ท่องเที่ยวในไตรภูมิ และ ญาณ 8
ต่อได้เลยนะครับ
จบขั้นตอนเบื้องต้นการฝึก ฤทธิ์ทางใจ แบบครึ่งกำลัง
ขั้นตอนเบื้องต้นการฝึก ฤทธิ์ทางใจเต็มกำลัง
ลำดับขั้นตอน
1. .นำผ้าแดง หรือกระดาษแข็ง ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม กะขนาดให้สามารถนำมาผู้ปิดหน้าได้
2. .เขียนคาถาบนหน้ากากว่า " นะ โม พุท ธา ยะ " หรือจะเป็นภาษาขอมก็ได้ถ้าเขียนเป็น
3. .สมาทานพระกรรมฐาน ( ดูหน้า 2 )
4. .เสร็จแล้วให้ตั้งกำลังใจว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถ้าจะต้องตายเพราะการฝึกนี้ก็ขอยอมตายเป็นอะไรให้รู้ไป
ตายเพื่อความดีแบบนี้เรายอมตายได้
5. .ให้ผ้าแดงปิดตา เขียน ยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
6. .ใช้คาถากำกับในการท่องภาวนาว่า """ นะ โม พุท ธา ยะ "" หรือ สัมมาอรหันต์ หรือ สัมปจิตฉามิ
หรือ นะมะพะทะ หรือ โสตัตตะภิญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง ท่องคาถาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ว่าคาถานั้นก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจด้วยเช่นกัน
( ไม่ต้องท่องออกมาก็ได้เหมือนกับที่อธิบายไปแล้วในการฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลัง เมื่อจิตทรงตัวในเขต ของ อุปจารสมาธิ
จะมีอาการของปิติ 5 อย่างเกิดขึ้นเหมือนพระกรรมฐานกองอื่นๆ ได้แก่๑) ขนลุกชูชัน ๒) ตัวไหวโยกโครง ๓) น้ำตาไหลริน ๔) เหมือนกายขยายไปรอบข้าง ๕)
เหมือนกายขยายสูงขึ้น หากมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น ผู้ฝึกไม่ต้องตกใจหรือกังวลใดๆ เพราะเมื่อชินแล้วจะหายไปเอง[/color]
7.. พอภาวนาไประยะหนึ่งจิตจะเริ่มทรงตัวขึ้นเรื่อย ๆ ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดขึ้นและแผ่วเบาลง
ซึ่งจะมีลักษณะไม่สอดคล้องกับคำภาวนา ก็ไม่ต้องสนใจ ภาวนาไปอย่างเดียว
มโนมยิทธิแบบเต็มกำลังกับครึ่งกำลัง
โดยที่คำภาวนาในตอนนี้จะมีลักษณะที่ถี่ขึ้น และอาจมีอาการปีติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมากขึ้น หรือ คำภาวนาอาจหายไปเลยก็ได้ อยู่ใน ฌานที่ 3
8. .พอถึงลำดับ ฌาน ที่ 4 ทรงตัวพอสมควรกำลัง ฌาน ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น จาก
อุปจารสมาธิแล้วเพิ่มขึ้นไปเป็น ฌาน 1->2->3->4 หรือ จาก ฌาน 4->3->2->1-> อุปจารสมาธิ จะเป็นแบบนี้สลับไปมาโดยอัตโนมัติ
ซึ่งช่วงนี้เองสภาวะความเป็นทิพย์จะเกิดขึ้น ทำให้ท่านจะเห็นเป็น อาโลกสิณ เช่น ช่องแสง, แสงพุ่งเข้ามาหา, ประตู ,โพรงถ้ำ , พระพุทธเจ้าเสด็จมารับบ้าง
,หรือ อาจเป็นพระอริยเจ้ามารับบ้าง เป็นต้น
9. . เมื่อเห็นแล้วให้รวบรวม กำลังใจน้อมนำจิตพุ่งตามแสง ( พุทธรังสี หรือท่านอื่น ๆ ) ที่มารับนั้นไป
บางครั้งจะเหมือนมีพลังมหาศาลมาดูด กายในของเราออกไปถ้ามีลักษณะดูดเช่นนี้ ก็ให้พุ่งกำลังใจออกตามไปเลยเช่นกัน
10.. เมื่ออทิสมานกายหลุดออกไปจากกายเนื้อจริง ๆ (ผลของการที่จะหลุดได้ต้องเข้าถึง ฌาน 4
แต่สภาวะที่เหมาะสมที่จะให้กายทิพย์ออกไปได้คือ อุปจารสมาธิ ) ร่างกายของคุณตอนนี้อาจจะทรงตัวไม่อยู่ อาจจะต้องนอนราบไปเลยก็ได้
ในช่วงนี้จะมีความรู้สึกทางกายเพียง 2-10%เท่านั้นที่คอยจะควบคุมร่างกายไว้ หรืออทิสมานกายหลุดออก ๘๐%ขึ้นไป
11.. ขอใหัสังเกตุว่า การฝึกเต็มกำลังในเบื้องต้น พระ หรือ เทวดา หรือ พรหม จะพาท่านไปเที่ยว
โดยที่ท่านที่พาเราไปนั้นท่านอาจพาไปได้ 2 ที่คือ
11.1.ถ้าเป็นสุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาขึ้นไป
11.2. ถ้าในโลกมนุษย์ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหา ผู้ฝึกจะส่องตั้งแต่ระดับสายตา
11.3. ถ้าเป็นทุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาลงมา
12.. เมื่อฝึกจนคล่องแล้ว ญาณ 8 ก็จะตามมาเอง
13.. นำกำลัง ฌาน ต่าง ๆ ที่ฝึกได้แล้ว มาตัดกิเลส ( สังโยชน์) อีกที
14. . และอธิฐานให้จิตมีความรักในพระนิพพาน
มีข้อสังเกต 2 ประการณ์
1. ขณะที่กำลังถอดอทิสมานกายแบบ เต็มกำลังนั้นทีสุดของการไปเราจะไม่มีความสามารถ ที่จะมีสติควบคุมสังขารเราไว้ได้ เล็กน้อย(
ส่วนใหญ่ของผู้ฝึกได้ใหม่ๆ ) มักต้องล้มลงนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่นครับ ถ้ามีความชำนานแล้วจะอยู่ได้ทั้ง 4 อิริยาบทครับ ในระยะต้นๆที่คุณเป็นอยู่
ควรหลับตาครับ ถ้าลืมตาจะไปได้เพียง มโนฯครึ่งกำลังครับ
2. การพุ่งออกของอทิสมานกาย แบบเต็มกำลังในระยะต้นๆ จะไปตามที่พระท่านให้ไป เมื่อชำนานแล้วกำหนดจิตไปได้ทุกที่ อารมณ์กลัวตาย ครับ
ให้ลองคิดดูว่าชีวิตนี้เกิดหนเดียวตายหนเดียว แต่เราตายในชาตินี้หรือเดี๋ยวนี้ เราจะยอมตายเพื่อพระนิพพาน จะไม่ยอมตายเพราะทำชั่วเด็จขาด
เพียงนี้ไม่ช้าก็ไปได้ครับ
การพุ่งออกไปในระยะต้นๆ ไม่แน่ครับว่าจะได้พบหลวงพ่อก่อน รวมความว่าพบท่านผู้ใดก็ขอบารมีท่านก็แล้วกันครับ เรื่องคาถากำกับ
แล้วแต่ความคุ้นเคยมาแต่ปางก่อน ของแต่ละบุคคลครับ ในวาระจิตที่กำลังเข้าฌาน ในลำดับต่างๆ ในการฝึก " ฤิทธิ์ทางใจ แบบเต็มกำลัง " นั้นมักมีนิวรณ์ 5 +
อุปกิเลส เข้ามากินใจแทรกระหว่างการประคับประคอง กำลังใจให้ทรงฌาน
ถ้าได้ " ฤทธิ์ทางใจครึ่งกำลัง " มาก่อนจะมีอาการ ลักษณะเดียวกันนี้มาก คือ
1. เหมือนว่ามีกำลังจิตอีก ส่วนหนึ่งไปคอยเฝ้าดูว่า มีความเคลื่อนไหวต่างๆเช่นไร
2. กำลังจิตกำลังทรงอารมณ์ถึงระดับไหนแล้ว
อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด
3. อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด เช่น ดิ่งขึ้นข้างบน หรือ ออกทาง ซ้าย -- ขวา หรือ หน้า -- หลัง
จะเป็นประการใดกันแน่
4. ไม่เห็นเหมือนที่ได้รู้มาเลย นะ
5. อาการหายใจเริ่มถี่กระชั้นเหลือเกิน แทบจะกลั้นใจตายอยู่แล้ว หยุดดีกว่า
6. กลัวว่าไปแล้วจะไม่กลับ ทั้งๆที่ยังไม่ได้เคยไปเลย
จากนั้นจึงฝึก ญาณ 8 ต่อไป
ในประการทั้ง 6 อย่างนี้ มักเป็นอุปสรรค์ในการฝึกฤิทธิ์ แบบเต็มกำลัง
" ขอแนะนำให้ท่านทำอารมณ์จิต อุเบกขา สักหน่อยผลการปฏิบัติจะก้าวหน้าครับ
.การศึกษาวัตถุประสงค์หลัก ในการฝึก ฤทธิ์ทางใจ
เมื่อฝึกปฏิบัติ ได้ ฤทธิ์ทางใจ ได้แล้วพึงปฏิบัติตนให้ทรงกำลังใจ ดั่งนี้
๑. เพื่อปฏิบัติตน มีญาณทิพย์ เป็นเครื่องรู้ใน เพื่อใช้ควบคู่กับ พระกรรมฐาน 40 หรือ มหาสติปัฏฐาน 4 จะเกิดความแตกฉานได้รวดเร็วมาก
๒.เพื่อปฏิบัติตน สื่อความหมายข้อธรรม กับครูอาจารย์ ที่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ที่เป็น พระพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์ใดองค์หนึ่ง พระโพธิ์สัตว์ พรหม เทวดา ท่านจะมาสอนเราในทางสมาธิของความเป็นทิพย์
๓. เพื่อปฏิบัติตน ให้รู้ตัวทั่วพร้อมในการทำความดี ในระดับต่าง ตั้งแต่ มนุษย์ คุณธรรมของ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
หรือแบบโพธิ์ญาน เป็นต้น
๔.เพื่อปฏิบัติตน ในทรงอารมณ์ นิพพิทาญาณ ที่มั่นคงจนตลอดชีวิต
๕.เพื่อปฏิบัติตนให้ก้าว เข้าสู่พระนิพพาน ในปัจจุบันชาติ เป็นที่สุด ( ก่อนตายเล็กน้อย )
ผลจากการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " มี 8 ประการเป็นความรู้ที่พิเศษแด่นักปฏิบัติ มีดังนี้
๑.มีทิพย์จักขุญาณ มีความรู้สึกคล้ายตาเห็น เป็นเบื้องต้น
๒. ปุพเพนิวาสนุสสตญาณ รู้ระลึกชาติตนเอง และคนอื่นไดได้ นับชาติไม่ถ้วน
๓. อตีตังสญาณ รู้ประวัติความเป็นมาของสถานที่ต่างๆ รู้เรื่องในอดีต ของคน สิ่งของ ไม่จำกัดกาลเวลา
๔. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตต์ ของตนเอง และ จิตต์ของบุคคลอื่นๆ ว่าปรุงแต่งดีหรือไม่ดี อย่างไร
๕.จุตูปปาตญาณ . รู้จุติ ของตนเอง คนและ ต่างๆ ไม่จำกัด
๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้ในปัจจุบัน ของตนเอง และคนอื่น ในสถานที่ต่างๆ ในระยะเวลาเดียวกัน
๗.อนาคตังสญาณ รู้ในอนาคต ของตนเอง และคนอื่น
๘.ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลของกรรมดี และกรรมไม่ดี ของคนและ ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน
อาสวคยญาน
วิธีพิจารณาเพื่อมาเป็น " อาสวคยญาน " โดยนำญาณรู้ทั้ง ๘ อย่าง ที่กล่าวมาในข้อที่ ๒.๓ มาร่วมพิจารณา กับ วิปัสสนาญาณ
๙
" วิปัสสนาญาณ ๙ " ได้แก่
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็นความเกิด และความดับ ในทุกสิ่ง
๒.ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็นแต่ความดับในทุกสิ่ง
๓.ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ที่จะมาเกิดใหม่อีกครั้ง
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕.นิพพทานุปัสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย มีจิตต์รักใน พระนิพพาน
๖.มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘.สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร
๙.สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาโดย อนุโลม ปฏิโลม เพื่อเข้าใจใน อริยสัจ 4 ก้าวเข้าสู่พระนิพพาน
|
|
|
|