หอฉัน - ตึกอินทราพงษ์ - อาคารเสริมศรี - ตึกกองทุน
dd>ซุ้มประตูทางเข้าวัด มีห้องที่พักยาม สามารถปีนบันไดขึ้นไปข้างบนได้ โดยมีพระเจดีย์เล็กๆ อยู่ตรงกลาง นี่เป็นภาพเก่าที่หลวงพ่อมาสร้างไว้สมัยก่อน
ก่อนที่จะสร้างเป็นซุ้มทรงไทย ส่วนศาลาหลวงพ่อ ๕ พระองค์ อยู่ซ้ายมือของเรา เดิมมีธนาคารข้าวและมีโรงสีข้าวอีกด้วย เวลานี้รื้อไปหมดแล้ว
เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่
ภาพแรกเป็นตึกทรงไทย ๒ ชั้น เดิมเป็นศาลาเก่าเรือนไม้โย้เย้มานาน ตั้งแต่สมัยเจ้าอาวาสองค์เก่า หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่จึงได้รื้อแล้วสร้างใหม่
พร้อมทั้งไปสร้าง "เรือนผีเสื้อ" กลางน้ำไว้ เพื่อเป็นการชำระหนี้สงฆ์อีกด้วย ภาพต่อมาเป็นตึกสูง ๔ ชั้น อยู่ริมถนนทางขวามือของเรา
ไว้เป็นที่พักเจ้าหน้าที่ทำบายศรีของวัด
ภาพนี้เป็น "ตึกกองทุน" เป็นตึกหลังคาทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ทำงานเกี่ยวเทปบันทึกเสียงของหลวงพ่อ และพระที่ออกใบอนุโมทนาบัตร
ส่วนชั้นบนเป็นที่พักของพระสงฆ์ สมัยก่อนตอนที่ท่านสร้างใหม่ๆ ได้ใช้เป็นที่รับแขก และเจริญพระกรรมฐานด้วย
ส่วนการที่ท่านตั้งชื่อว่า "ตึกกองทุน" นั้น เป็นเพราะในตอนนั้น มีการตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจน ซึ่งมีผู้บริจาควัตถุสิ่งของและปัจจัยเป็นจำนวนมาก
ท่านจึงได้ตั้งเป็น "กองทุนมูลนิธิหลวงพ่อปาน - พระมหาวีระ ถาวโร" ปัจจุบันยังเรียเจ้าหน้าที่ทำอาหารเลี้ยงพระที่สวนไผ่ว่า "คณะกองทุน" อยู่เลย
ตึกที่สร้างใหม่หลังร้านอาหารสวนไผ่ คงจะตั้งชื่อเดิมว่า "ตึกกองทุน" อีกนั่นแหละ
ภาพแรกคือ "ตึกเสริมศรี" เป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องพัก และเคยเป็นที่เจริญกรรมฐาน ก่อนตึกกองทุน ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องพักของพระ
พระครูปลัดอนันต์ และพระครูสมุห์พิชิต ก่อนที่จะย้ายไปวิหารร้อยเมตร ท่านทั้งสองเคยอยู่อาศัยที่นี่มาก่อน หลวงพ่อตั้งชื่ออาคารนี้ "เสริมศรี"
ตามชื่อของท่านเจ้าภาพ คือ ม.ร.ว.เสริมศรี ศุขสวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านเจ้ากรมเสริม ศุขสวัสดิ์
ภาพต่อมาคือ ตึกสองชั้นที่เรียกกันว่า "หน้าตึก" เดิมเป็นที่พักของหลวงพ่อ ต่อมาท่านได้ไปสร้างตึกกลางน้ำ จึงได้ไปพักที่นั่นในเวลากลางคืน
ตอนเช้าท่านก็กลับมาทำงานที่ "ตึกอินทราพงษ์" ซึ่งท่านได้สร้างเสริมออกมาเป็นตึกทรงไทยชั้นเดียว ดังที่เห็นในภาพนั่นแหละ
เพื่อเป็นห้องทำงานและพักผ่อนในตอนกลางวัน
อีกทั้งยังเคยเป็นห้องบันทึกเทปออกจำหน่ายอีกด้วย หลวงพ่ออนันต์และหลวงพ่อโอ ผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปทำ (ต่อมาได้ย้ายไปทำที่ตึกธัมมวิโมกข์
ติดกับตึกลางน้ำ) ในภาพจะเห็นด้านหน้าประตุบันไดทางขึ้น พระได้ก่ออิฐไว้กันน้ำท่วม ตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันก็ยังไม่ได้รื้อ
คงปล่อยไว้เป็นอนุสรณ์ต่อไป
ถ้าหากใครเดินผ่าน "ตึกอินทราพงษ์" ควรจะยกมือไหว้ เพื่อเป็นการเคารพสถานทีที่ท่านเคยพักอาศัยและทำงานในเวลากลางวัน
ส่วนหน้าตึกจะมีห้องพักสำหรับพระอยู่เวรยามตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพราะว่าสมัยวัดท่าซุงมีภัยอันตรายมาก เวลานี้ไม่มีใครอยู่เวรยามกันแล้ว
ส่วนโทรศัพท์ที่เคยรับสาย ก็เปลี่ยนไปเป็นพระเจ้าหน้าที่ที่ศาลานวราช ใครจะสอบถามอะไรก็ติดต่อได้
ภาพนี้คือ "หอฉัน" และ "ที่พักพระอาคันตุกะ" เป็นอาคารหลังใหญ่ ๓ ชั้น ชั้นล่างเป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์วัดท่าซุงฉันภัตตาหาร
ชั้นบนเป็นสถานที่พักสำหรับพระอาคันตุกะ ส่วนที่สามเป็นห้องพักของพระวัดท่าซุง
|