Not logged in [Login - Register]
Go To Bottom
Printable Version | Subscribe | Add to Favourites ตั้งหัวข้อใหม่
[*] posted on 2/10/08 at 16:32 [ QUOTE ]

บทแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ (ไทย-บาลี-อังกฤษ-จีน) VIDEO - MP3




สารบัญ

(เลือก "คลิก" ฟังได้แต่ละเพลง)


01.
บ ท แ ผ่ เ ม ต ต า (บาลี - อังกฤษ)
02. บทสวดไต๋ซือ ไต๋ปุย ขอพรพระแม่กวนอิม
03. โอม มณี เปง เม ฮง 1
04. โอม มณี เปง เม ฮง 2
05. คำ ส ว ด ม ห า ก รุ ณ า ธ า ร ณี สู ต ร
06. ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร



บทแผ่เมตตา (Vedio)

แบบหลวงพ่อวัดท่าซุง
แบบมีเพลงประกอบ


แบบมีเพลงประกอบ
บทแผ่เมตตา (แอนนิเมชั่น)


บทแผ่เมตตา (MP3)



(กรุณากด Play แล้วรอสักครู่)

อะหัง อะเวโร โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากเวร )
อัพยาปัชโฌ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีโฆ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )
มะมะ มาตาปิตุ ( ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า )
อาจาริยา จะ ญาติมิตตา ( จะ ครูอาจารย์ และญาติมิตร )
สะพราหมะจาริโน จะ ( ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยคิโน ขอให้ท่านโยคี ( ผู้ทรงสมาธิ) ทั้งปวงในเขตนี้ )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขู ( ขอพระภิกษทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในเขตนี้ )
สามะเณรา จะ ( และสามเณร )
อุปาสะกา อุปาสิกายา จะ ( ทั้งอุบาสกและ อุบาสิกา )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง จะตุปัจจายะทายะกา ( ขอทายกทายิกา ผู้ให้ปัจจัย๔ แก่พวกเราทั้ง
หลาย )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง อารักขา เทวาตา ( ขอเทวดาผู้อารักขาเราทั้งหลาย )
อิมัสมิง วิหาเร ( ในวิหารแห่งนี้ )
อิมัสมิง อาวาเส ( ในอาวาสแห่งนี้ )
อิมัสมิง อาราเม ( ในอารามแห่งนี้ )
อารักขา เทวาตา ( ขอเทวาผู้รักษาสถานที่เหล่านี้ )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )
สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )
สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )
สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )
สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ เทวา ( ขอเทวาทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งปวง )
สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย ทั้งปวง )
อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน)
อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )
ยถา ลัทธาสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )
กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )
ปุรถิมายะ ทิสายะ ( ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ( ทิศตะวันออก )
ปัจฉิมายะ ทิสายะ ( ในทิศปัจฉิม ( ทิศตะวันตก )
อุตตรายะ ทิสายะ ( ในทิศอุดร ( ทิศเหนือ )
ทักขิณายะ ทิสายะ ( ในทิศทักษิณ ( ทิศใต้ )
ปุรถิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศอาคเนย์ ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )
ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศพายัพ ( ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )
อุตตระ อนุทิสายะ ( ในทิศอิสาน ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )
ทักขิณายะ อนุทิสายะ ( ในทิศหรดี ( ตะวันตกเฉียงใต้ )
เหฎฐิมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องล่าง )
อุปาริมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องบน )
สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย )
สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )
สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )
สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )
สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )
สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย )
สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย )
สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย )
สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย )
สัพเพ เทวา ( ขอเทวา ทั้งหลาย )
สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย )
สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย )
อะเวรา โหนตุ ( อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย )
อัพยาปัชฌา โหนตุ ( อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย )
อะนีฆา โหนตุ ( อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย )
สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( จงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )
ยถา ลัทธา สัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )
กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )
อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( และสัตว์ที่อยู่สูงขึ้นไปจนถึงภวัคคภูมิ )
อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์ที่อยู่เบื้องล่างจนถึงอเวจีมหานรก )
สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )
เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )
อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )
นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ และอุปัทวันตราย )
อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ที่อยูสูงขึ้นไปถึงภวัคคภูมิ )
อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์อยู่เบื้องล่างในอเวจีมหานรก )
สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )
เย สัตตา อุทักเขจารา ( ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ )
อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )
นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย )
อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูเบื้องบนคือภวัคคภูมิลงมา )
อโธ ยาวะ อวิจิโต ( ตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป )
สมันตา จักกะวาเฬสุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลโดยรอบๆ )
เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )
อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )
นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย ทั้งสิ้นเทอญฯ


<< กลับสู่ด้านบน




บ ท แ ผ่ เ ม ต ต า (บาลี - อังกฤษ)



(กรุณากด Play ก่อนแล้วรอสักครู่)


May I be free from enmity and danger.
May I be free from mental suffering.
May I be free from physical suffering.
May I take care of myself happily.

May my parents, teachers, relatives and friends,
fellow Dhammafarers may they be free from enmity and danger.
May they be free from mental suffering.
May they be free from physical suffering.
May they take care of themselves happily.

May all yogis in this compound be free from enmity and danger,
be free from mental suffering, be free from physical suffering.
May they take care of themselves happily.

May all monks in this compound, novice monks,
laymen and laywomen disciples
may they be free from enmity and danger.
May they be free from mental suffering.
May they be free from physical suffering.
May they take care of themselves happily.

May our donors of the four supports (clothings, food, medicine and lodging)
be free from enmity and danger, be free from mental suffering,
be free from physical suffering. May they take care of themselves happily.

May our guardian devas in this monastery, in this dwelling, in this compound - may the guardian devas be free from enmity and danger, be free from mental suffering, be free from physical suffering. May they take care of themselves happily.

May all beings, all breathing things, all creatures, all individuals,
all personalities, may all females, all males, all noble ones, all worldlings,
all deities, all humans, all those in the four woeful planes -
may they be free from enmity and danger. May they be free from mental suffering.
May they be free from physical suffering. May they take care of the mselves happily.

May all beings be free from suffering, may whatever they have gained,
not be lost, all beings, all owners of their karma -

in the eastern direction,
in the western direction,
in the northern direction,
in the southern direction,
in the southeast direction,
in the northwest direction,
in the northeast direction,
in the southwest direction,
in the direction below,
in the direction above,

may all beings, all breathing things, all creatures, all individuals,
all personalities, all females, all males, all noble ones, all worldlings,
all deities, all humans, all those in the four woeful planes -
may they be free from enmity and danger.
May they be free from mental
suffering. May they be free from physical suffering.
May they take care of themselves happily.

May all beings be free from suffering. May whatever they have gained,
not be lost. All beings are owners of their karma.
As far as the highest planes of existance to as far down as the lowest plane
in the entire universe, whatever beings that move on earth -
may they be free from mental suffering and enmity .
May they be free from physical suffering and danger.

As far as the highest plane of existance to as far down as the lowest plane
in the entire universe whatever things that move on water -
may they be free from mental suffering and enmity.
May they be free from physical suffering and danger.

As far as the highest plane of existance to as far down as the lowest plane
in the entire universe whatever things that move in air -
may they be free from mental suffering and enmity.
May they be free from physical suffering and danger.


<< กลับสู่ด้านบน




บทสวดไต๋ซือ ไต๋ปุย ขอพรพระแม่กวนอิม





(กรุณากด Play ก่อนแล้วรอสักครู่)


".......นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชือ ไต่ปุย กิวโคว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก๊ำ กวงสีอิมผู่สัก ( กราบ )

นำโมฮุ๊ก นำโมฮวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก
ถั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียลอฮวดโต เกียลอฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ล้อเกียฮวดโต ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี้ซิ้ง
เจ็กเฉียก ไจเอียงฮวยอุ่ยติ้ง นำโม ม่อออ ปวกเยี่ยะ ปอล่อบิ๊ก ( กราบ )

.........( ภาวนาวันละหลายจบยิ่งมีอานิสงส์มาก )

คำแปล บทสวด ไต๋ซือ ไต๋ปุย

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ พระผู้เปี่ยมล้นด้วยพระมหาเมตตา พระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ขอได้โปรดบำบัดทุกข์โศก โรคภัยอันตรายทั้งปวง ข้าพเจ้าขอน้อมถึง พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์

ขอได้โปรดขจัดปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัยทั้งปวงให้หมดสิ้นไป ขอความสุข สมปรารถนาทุกประการ จงมีแด่ข้าพเจ้า ขอเทพเจ้าเบื้องบน และเทพเจ้าเบื้องล่างทั้งหมด ได้โปรดปัดเป่า ให้เวรกรรม และสรรพเคราะห์ทั้งมวล จงหมดสิ้นไป"

<< กลับสู่ด้านบน



โอม มณี เปง เม ฮง 1





(กรุณากด Play ก่อนแล้วรอสักครู่)

ธิเบตออกเเป็น "โอม มณี เปง เม หุง"
จีนออกเป็น "โอม มณี แปะ มี่ ฮง


<< กลับสู่ด้านบน




โอม มณี เปง เม ฮง ( 2 )





(กรุณากด Play ก่อนแล้วรอสักครู่)


คำว่า ‘โอม มณี เปง เม ฮง เป็นมหามนต์ 5 คำที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถชำระล้างกาย วาจา ใจของผู้ที่สวดมนต์ ท่องบ่นภาวนา และปฏิบัติสมาธิด้วยเสียงมหามนต์ 5 คำนี้ ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณที่มีความเป็นสัตว์นรก เปรต เดรัจฉาน อสูร หรือแม้กระทั่งความเป็นเทพในตัวเราให้หมดสิ้น ให้เป็นกาย วาจา ใจ ที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ประดุจหนึ่งเดียวกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

มณี - คือ เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นอสูร คือ ความอิจฉาริษยา อาฆาต ปองร้าย พยาบาท และ ความเป็นสัตว์โลก รัก โกรธ เกลียด ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้
เปง - คือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นเดรัจฉาน สภาพที่เป็นสัตว์ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้
เม - คือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นเปรต ความโลภให้หมดไปจากใจ
ฮง - คือเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นสัตว์นรก ดุร้าย ป่าเถื่อน ไร้ศีลธรรมให้หมดไปจากใจเราได้

<< กลับสู่ด้านบน




คำ ส ว ด ม ห า ก รุ ณ า ธ า ร ณี สู ต ร





(กรุณากด Play แล้วรอสักครู่)

นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย • นำ มอ ออ ลี เย •
ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย • ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
• หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
• งัน • สัต พัน ลา ฮัว อี • ซู ตัน นอ ตัน เซ
• นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
• ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ • นำ มอ นอ ลา กิน ซี
• ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม • สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
• ออ ซี เย็น • สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
• มอ ฮัว เตอ เตา • ตัน จิต ทอ • งัน ออ พอ ลู ซี • ลู เกีย ตี
• เกีย ลอ ตี • อี ซี ลี • หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ • สัต พอ สัต พอ
• มอ ลา มอ ลา • มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน • กี ลู กี ลู กิด มง
• ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี • หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี • ทอ ลา ทอ ลา
• ตี ลี นี • สิด ฮู ลา เย • เจ ลา เจ ลา • มอ มอ ฮัว มอ ลา
• หมก ตี ลี • อี ซี อี ซี • สิด นอ สิด นอ • ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
• ฮัว ซอ ฮัว ซัน • ฮู ลา เซ เย • ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา • ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
• ซอ ลา ซอ ลา • สิด ลี สิด ลี • ซู ลู ซู ลู • ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
• ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย • มี ตี ลี เย • นอ ลา กิน ซี • ตี ลี สิด นี นอ
• ผ่อ เย มอ นอ • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ถ่อ เย •หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ทอ ยี อี • สิด พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ
• นอ ลา กิน ซี • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ ลา นอ ลา • ซอ ผ่อ ฮอ
• สิด ลา เซง ออ หมก เค เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิต ตี
• ชอ พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • งัน สิด ติน ตู • มัน ตอ ลา • ปัด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ

...................................................................................................................................................... ..........

มนต์บทนี้ผูกเป็นคาถา ๘๔ ประโยค มีคำแปลดังนี้

๑. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
นำ มอ - ความนอบน้อม
ฮอ ลา ตันนอ - ความเป็นรัตนะ
ตอ ลา เหย่ - 3
เย - นมัสการ ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
หมายถึง..การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณา และเปี่ยมด้วยศรัทธา
ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน

๒. นำ มอ ออ ลี เย
นำ มอ - ความนอบน้อม
ออ ลี - องค์อริยะ
เย - นมัสการ
ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล วัตถุประสงค์แห่งบทนี้... พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน หากแต่จิตเป็นอจล มีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

๓. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
ผ่อ ลู กิด ตี - การเพ่ง พิจารณา อีกนัยหนึ่งคือความสว่าง
ซอ ปอ ลา - เสียงของโลกอันเป็นอิสระ
เย - นอบน้อมนมัสการ
ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์
เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน
จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้ จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

๔. ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
ผู่ ที (โพธิ) - ตรัสรู้
สัต ตอ (สัตว์) - การมีชีวิต อารมณ์
พอเย - น้อมคารวะ
ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม ก็จะถึงความหลุดพ้น...

๕. หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
หม่อ ฮอ - ใหญ่มาก
สัต ตอ - สัตว์โลก หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญ
พอ เย - น้อมคารวะ
เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล
ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

๖. หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
หม่อ ฮอ -ใหญ่มาก
เกีย ลู - กรุณา
นี เกีย - จิต
เย - คารวะ
ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

๗. งัน
งัน (โอม) - นอบน้อม
ขอนอบน้อม บูชาถวาย
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง
ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

๘. สัต พัน ลา ฮัว อี
สัต พัน ลา - อิสระ
ฮัว อี - อริยะ
องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด
กาย ใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

๙. ซู ตัน นอ ตัน เซ
การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ
หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ
เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้
เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง
เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

๑๐. นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
นำ มอ - นอบน้อม
สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง - ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์
ออ ลี เย - การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้
ผู้ที่จะน้อบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง
จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้ ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์
หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆ
จะคิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

๑๑. ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
ผ่อ ลู กิด ตี - จิตต้องกับธรรม
สิด ฮู ลา - ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
เลง ถ่อ พอ - เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)

๑๒. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
นำ มอ - นอบน้อม
นอ ลา กิน ซี - การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ
ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์
ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นแบบอย่างและเจริญรอยตาม
สาธุชนผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรมยิ่งต้องมีความเมตตากรุณาจิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์
รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

๑๓. ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
ซี ลี หม่อ ฮอ - ความเมตตากรุณาอันไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
พัน ตอ ซา เม - ผู้มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า มารทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้
...พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่าชาวโลกถือเอาความรวย, มีชื่อเสียง,
ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์
พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล
เมื่อจิตว่างแล้ว พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

๑๔. สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
สะ - การได้เห็น
พอ - เสมอภาค
ออ - พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
ทอ เตา ซี พง - ธรรมไม่มีขอบเขต
ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

๑๕. ออ ซี เย็น
ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ

๑๖. สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
สะ พอ สะ ตอ - พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
นอ มอ พอ สะ ตอ - พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
นะ มอ พอ เค - พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง
ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา คนหรือสัตว์
ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

๑๗. มอ ฮัว เตอ เตา
ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต
ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง
โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

๑๘. ตัน จิต ทอ
ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ ก็จะไม่บริสุทธิ์
ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

๑๙. งัน ออ พอ ลู ซี
งัน - นอบน้อม เป็นบทนำ
ออ พอ ลู ซี - เป็นพระโพธิสัตว์ หมายถึงพระธรรมคือความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส)
หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม
ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

๒๐. ลู เกีย ตี
เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ
มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ
สิ่งสำคัญ...ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์

๒๑. เกีย ลอ ตี
ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่
เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

๒๒. อี ซี ลี
กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด

๒๓. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
หม่อ ฮอ - ความไพศาลของพุทธธรรม ทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติได้
ผู่ที - เห็นโลกนี้เป็นสูญ
สัต ตอ - การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ
มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด

๒๔. สัต พอ สัต พอ
พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

๒๕. มอ ลา มอ ลา
ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง
ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป
ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล
เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

๒๖. มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
มอ ซี - ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
ลี ทอ ยิน - การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้
และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

๒๗. กี ลู กี ลู กิด มง
กี ลู - การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
กิด มง - ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)

๒๘. ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
ตู ลู - ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
ฟา เซ เย ตี - มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

๒๙. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้
ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนหัน
กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

๓๐. ทอ ลา ทอ ลา
เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

๓๑. ตี ลี นี
ตี - โลก
ลี - สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
นี - พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่

๓๒. สิด ฮู ลา เย
เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

๓๓. เจ ลา เจ ลา
ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า
กระหึ่มไปทั่วสารทิศธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ
เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

๓๔. มอ มอ ฮัว มอ ลา
มอ มอ - การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
ฮัว มอ ลา - ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใขยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ
หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม

๓๕. หมก ตี ลี
หลุดพ้น
ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

๓๖. อี ซี อี ซี
การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ
ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

๓๗. สิด นอ สิด นอ

เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา
ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น
แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย.

๓๘. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
ออ ลา ซัน - ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
ฮู ลา เซ ลี - การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

๓๙. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
ฮัว ซอ - ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
ฮัว ซัน - ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย
ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

๔๐. ฮู ลา เซ เย
จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

๔๑. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

๔๒. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

๔๓. ซอ ลา ซอ ลา
ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

๔๔. สิด ลี สิด ลี
ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

๔๕. ซู ลู ซู ลู
น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

๔๖. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า
ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

๔๗. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

๔๘. มี ตี ลี เย
มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค
รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

๔๙. นอ ลา กิน ซี
นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

๕๐. ตี ลี สิด นี นอ
ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

๕๑. ผ่อ เย มอ นอ
สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

๕๒. ซอ ผ่อ ฮอ
ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์ พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

๕๓. สิด ถ่อ เย
ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด
สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้

๕๔. ซอ ผ่อ ฮอ
ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย

๕๕. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

๕๖. ซอ ผ่อ ฮอ
เน้นย้ำประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

๕๗. สิด ทอ ยี อี
สิด ทอ - ความสำเร็จ
ยี อี - ความว่างเปล่า
ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)

๕๘. สิด พัน ลา เย
เป็นความอิสระสมบูรณ์ เป็นการกล่าวถึงบรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสระธรรม

๕๙. ซอ ผ่อ ฮอ
อสังสกฤตธรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง

๖๐. นอ ลา กิน ซี
ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา

๖๑. ซอ ผ่อ ฮอ
แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

๖๒. มอ ลา นอ ลา
มอ ลา - มโนรถ ความหวัง ความประสงค์
นอ ลา - อนุตตรธรรม
การปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์

๖๓. ซอ ผ่อ ฮอ
พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

๖๔. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

๖๕. ซอ ผ่อ ฮอ
คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้

๖๖. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ - สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
ออ สิด ถ่อ เย - สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

๖๗. ซอ ผ่อ ฮอ
ความเมตตาอันสูงสุด

๖๘. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
เจ กิด ลา - การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
ออ สิด ถ่อ เย - ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้
การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ

๖๙. ซอ ผ่อ ฮอ
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้ จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

๗๐. ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
ปอ ทอ มอ กิด - พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
สิด ถ่อ เย - ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส

๗๑. ซอ ผ่อ ฮอ
ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณา
ในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

๗๒. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
นอ ลา กิน ซี - รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
พัน เค ลา เย - เถระเพ่งโดยอิสระ
เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

๗๓. ซอ ผ่อ ฮอ
การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

๗๔. มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
มอ พอ ลี เซง - ผู้กล้า
กิด ลา เย - สภาวะเดิม
คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม
หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

๗๕. ซอ ผ่อ ฮอ
เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้
มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยขน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

๗๖. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย
เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ
โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

๗๗. นำ มอ ออ ลี เย
เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม
ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา
จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด
ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

๗๘. ผ่อ ลู กิต ตี
พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี
มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้...
แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง
ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

๗๙. ชอ พัน ลา เย
ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น

๘๐. ซอ ผ่อ ฮอ
สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน

๘๑. งัน สิด ติน ตู
สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม

๘๒. มัน ตอ ลา
สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ

๘๓. ปัด ถ่อ เย
สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

๘๔. ซอ ผ่อ ฮอ
สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้
รวมเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์

<< กลับสู่ด้านบน




ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร

( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )





(กรุณากด Play ก่อนแล้วรอสักครู่)

อายาวะโลกิติซัวรา โบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน
วียาวะโลกิติสมา ปัญจะ สกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา
อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะ สูญนิยะตา อีวารูปา
รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง
ยารูปัง สา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง
อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม
อีฮา สารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา
อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนา อาปาริปุนา
ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานา วียานัม
นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง
สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา
นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียา เจียโย
ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย
นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ
นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม
ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา
จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส
วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม
ทรียาวะ เรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา
อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิ สัมโบดา
ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา
มหาวิทยะ มันทรา อะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา
สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิ เจียจัว
ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ
"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โบดิซัวฮา"


คำแปล ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า
และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้
สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป
รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย
สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง
ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง

ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ
ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส
ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ
ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย
และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์
และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์
และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์
ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง

พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น
พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา
ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น
อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่
เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน


อานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

1.เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
2.เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
3.เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด

สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน และต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า

"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา"

ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ท่านกล่าวว่า ท่านสวดบทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

<< กลับสู่ด


[ PROFILE ] [ FIND ] [ U2U ]
ตั้งหัวข้อใหม่

Go To Top