คำขอบรรพชา และ คำสวดนาคหมู่ (แบบวัดท่าซุง และแบบธรรมยุต)
คำขอบรรพชา และ คำสวดนาคหมู่
คำขอบรรพชา (นาคเดี่ยว)
แบบของวัดท่าซุง
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ,
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัญจะ ภิกขุ สังฆัญจะ,
ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง,
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ,
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัญจะ ภิกขุ สังฆัญจะ,
ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง,
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ,
ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัญจะ ภิกขุ สังฆัญจะ,
ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง,
ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง.
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา,
ปัพพาเชถะมัง ภันเต,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา,
ปัพพาเชถะมัง ภันเต,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหต๎วา,
ปัพพาเชถะมัง ภันเต,
อะนุกัมปัง อุปาทายะ.
( หมายเหตุ : ละเภยยาหัง อ่านว่า ละ - ไพ - ยา - หัง )
คำขอบวชแบบ "อุกาสะ" คลิกที่นี่
คำขอบรรพชา (นาคหมู่)
โดย พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต
เริ่มต้น นาคทั้งหมดวางผ้าไตรจีวรไว้ข้างหน้าก่อน นาคผู้เป็นตัวแทนถวายเครื่องสักการะ แด่พระอุปัชฌายะ แล้วนำกราบพระพร้อมกัน ๓ ครั้ง ลำดับนั้น
นาคทุกคนยกผ้าไตรขึ้น ประนมมือ ผู้นำจะกล่าวคำขอบรรพชา ให้นาคทุกคนว่าตามพร้อมกัน ดังนี้...
เอเต มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยามะ มะยัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต,
ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยามะ อุปะสัมปะทัง
มะยัง ภันเต,ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ, วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ โน ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต,ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ, วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ โน ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,ปัพพัชชัง ยาจามะ, อิมานิ กาสายานิ, วัตถานิ คะเหตวา, ปัพพาเชถะ โน ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ในลำดับต่อไป พระอุปัชฌายะรับเอาผ้าไตร ชักอังสะออกสวมให้นาคผู้นำพอเป็นพิธี แล้วให้โอวาทแก่ผู้บรรพชา และบอก กรรมฐาน ๕
(มูลกรรมฐาน) ให้ว่าตามท่านไปทีละบท ดังนี้)
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
(เมื่อทุกคนออกไปห่มจีวรเสร็จแล้ว ผู้นำถวายเครื่องสักการะ จะนำกราบพร้อมกัน ๓ หน แล้วขอให้ทุกคนนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอ สรณะ
และ ศีล ดังนี้)
มะยัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, , สะระณะสีลัง ยาจามะ
(ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะจะกล่าวนำให้ผู้บรรพชาว่าตามไป ดังนี้)
นะโม ตัสสะ.... (ว่า ๓ หน แล้วท่านจะสั่งด้วยคำว่า ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิหรือ เอวัง วะเทหิ
พึงรับว่า อามะ ภันเต ครั้นแล้วท่านจะกล่าวนำต่อไปว่า)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ขอให้นาคทุกคนตั้งใจว่าตามให้ชัดถ้อยชัดคำ)
(เมื่อจบแล้วท่านจะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่า อามะ ภันเต แล้วให้สมาทาน สิกขาบท
๑๐ ตามท่านไปทีละข้อต่อไป)
ปาณาติปาตา เวระมะณี
อะทินนาทานา เวระมะณี
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี
มุสาวาทา เวระมะณี
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี
วิกาละโภชะนา เวระมะณี
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี
มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี
ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะนา เวระมะณี
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า ๓ หน แล้วกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง)
คำขอนิสสัย
สามเณรเข้าทีละ ๓ องค์ พึงอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌายะ แล้ววางบาตรไว้ด้านข้างก่อน ถวายเครื่องสักการะทีละองค์ แล้วกราบพร้อมกัน ๓ หน
นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอนิสสัย
มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามะ,
อุปัชฌาโย โน ภันเต โหหิ (ว่า ๓ หน)
(พระอุปัชฌายะกล่าวว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง, ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ บทใดบทหนึ่ง พึงรับพร้อมกันว่า สาธุ ภันเต
ทุกบทไป แต่นั้นสามเณรพึงกล่าวพร้อมกันว่า)
อัชชะตัคเคทานิ เถโร, อัมหากัง ภาโร, มะยัมปิ เถรัสสะ ภารา (ว่า ๓ หน)
(ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะจะเอาบาตรมีสายคล้องตัวสามเณรทีละองค์ แล้วท่านจะบอกฉายาของผู้บวช และฉายาของท่าน ให้คอยรับ อามะ ภันเต (รับ ๒
ครั้ง)
ต่อไปท่านบอกสมณะบริขาร พึงรับว่า อามะ ภันเต (รับ ๔ ครั้ง) เป็นลำดับไปทีละองค์
พระอุปัชฌายะถามว่า สามเณรตอบว่า
อะยันเต ปัตโต...........................................อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ.............................................อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโค....................................อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก.................................อามะ ภันเต
(ต่อจากนั้นพระอุปัชฌายะบอกให้ออกไปรอข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ พึงหมุนตัวลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่กำหนดไว้
ต่อไปพระคู่สวดจะออกไปถาม พึงรับดังนี้)
พระคู่สวดจะถามทีละองค์ว่า ตอบว่า
๑. กุฏฐัง.......................................................นัตถิ ภันเต
๒. คัณโฑ.....................................................นัตถิ ภันเต
๓. กิลาโส......................................................นัตถิ ภันเต
๔. โสโส........................................................นัตถิ ภันเต
๕. อะปะมาโร................................................นัตถิ ภันเต
๑. มะนุสโสสิ๊...................................................อามะ ภันเต
๒. ปุริโสสิ๊.......................................................อามะ ภันเต
๓. ภุชิสโสสิ๊.....................................................อามะ ภันเต
๔. อะนะโณสิ๊..................................................อามะ ภันเต
๕. นะสิ๊ ราชะภะโฏ..........................................อามะ ภันเต
๖. อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ...............................อามะ ภันเต
๗. ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊.................................อามะ ภันเต
๘. ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง............................อามะ ภันเต
๙. กินนาโมสิ..................................อะหัง ภันเต...(ฉายาของตนเอง)...นามะ
๑๐. โก นามะ เต อุปัชฌาโย................ อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสมา..(ฉายาอุปัชฌาย์)..นามะ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฉายาพระอุปัชฌาย์
ท่านเจ้าคุณพระราชอุทัยกวี (เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี) ฉายา มาเรยฺโย
ท่านเจ้าคุณพระอุทัยธรรมานุวัตร (รองเจ้าคณะจังหวัด) ฉายา สมชาโณ
พระครูอุปการพัฒนกิจ (เจ้าคณะอำเภอเมือง) ฉายา อาภาธโร
พระครูอุทิตศุภการ (รองเจ้าคณะอำเภอเมือง) ฉายา สนฺติกโร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ครั้นสอนซ้อมแล้ว พระคู่สวดจะเดินกลับเข้ามาก่อน แล้วเรียกผู้อุปสมบทเข้ามาว่า
อาคัจฉะถะ เมื่อเดินเข้ามาแล้วกราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำขอบวชพร้อมกันว่า
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,
ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,
ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามะ, อุลลุมปะตุ โน ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,
(เมื่อพระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์เป็นภาษาบาลี สงฆ์รับว่า สาธุ แล้ว พระคู่สวด จะถามเหมือนกับที่ออกไปยืนถามนั้น
หลังจากสวดญัตติจบแล้ว ให้ผู้อุปสมบทลุกขึ้นกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง เมื่ออุปสมบทจนครบจำนวนแล้ว พระอุปัชฌายะจะบอก อนุศาสน์ เป็นภาษาบาลี
จบแล้วให้พระใหม่ทุกองค์รับว่า อามะ ภันเต ลุกขึ้นกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อจากนั้น พระใหม่ผู้นำจะถวายจตุปัจจัยไทยธรรม
แด่พระอุปัชฌายะและพระคู่สวด หลังจากนั้นพระ ใหม่ทุกองค์ตั้งใจอุทิศส่วนกุศล และรับพรจากพระสงฆ์ กราบ ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี
หมายเหตุ : สรุปวิธีจำง่าย ๆ จะมีพิธี ๒ ขั้นตอน คือ...
๑. พิธีบวชเณร (จะมีผู้กล่าวนำคำขอบรรพชา)
๒. พิธีขอนิสสัย และ ขออุปสมบท (ต้องว่าทีละ ๓ คน โดยจัดเป็นกลุ่มๆ ละ ๑๘ คน ต่อพระอุปัยฌายะ ๑ องค์) ฉะนั้น นาคแต่ละชุดๆ ละ ๓ คนนี้
จะต้องซักซ้อมการขานนาค และการกราบให้พร้อมกัน ถ้าหากชุดไหนไม่คล่อง จะให้ชุดอื่นเข้าไปแทนที่ทันที ฯ
*************************
วิธีการเปลี่ยนฉายาพระอุปัชฌาย์
เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี พระราชอุทัยกวี ฉายา มาเรยฺโย (มาเรยฺยัสสะ, มาเรยฺเยนะ)
เจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี พระครูอุปการพัฒนคุณ ฉายา อาภาธโร (อาภาธะรัสสะ, อาภาธะเรนะ)
วิธีการเปลี่ยนฉายาผู้อุปสมบท
ธัมมปภาโส (บวชเดี่ยว - ธัมมะปะภาสัง)
(บวชคู่ - ธัมมะปะภาสัญจะ, ธัมมะปะภาสัสสะ)
ปัณฑิโต (บวชเดี่ยว - ปัณฑิตัง)
(บวชคู่ - ปัณฑิตัญจะ, ปัณฑิตัสสะ)
นรินโท (บวชเดี่ยว - นะรินทัง)
(บวชคู่ - นะรินทัญจะ, นะรินทัสสะ)
ปภากโร (บวชเดี่ยว - ปะภากะรัง)
(บวชคู่ - ปะภากะรัญจะ, ปะภากะรัสสะ)
โอภาโส (บวชเดี่ยว - โอภาสัง)
(บวชคู่ - โอภาสัญจะ, โอภาสัสสะ)
*********************
สวดกรรมวาจาในการอุปสมบท (Video)
แบบ "อุกาสะ" มหานิกาย | แบบ "เอสาหัง" ธรรมยุต |
Link 2 แบบ "อุกาสะ" | Link 2 แบบ "เอสาหัง" |
สวดกรรมวาจาในการอุปสมบท (นาคเดี่ยว) แบบวัดระฆังฯ MP3
วันทาสีมานมัสการพระในโบสถ์
คำขอบรรพชา (เอสาหัง)
ขอสรณะ และ ศีล ๑๐
รับศีล ๑๐
ขอนิสสัย
สมมติคู่สวด
สอนซ้อม
ขออุปสมบท
สวดกรรมวาจาในการอุปสมบท (นาคคู่)
แบบของวัดท่าซุง
นะโม ๓ จบ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, อายัสมะโต มาเรยยัสสะ อุปะสัม ปะทาเปกขา, ยะทิ
สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, อะหัง, ปุณณัจะ, สุภัญจะ, อะนุสาเสยยัง.
พระคู่สวดเดินออกไปถาม
สุณะสิ๊ ปุณณะ, อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล, ยัง ชาตัง, ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต, สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง, อะสันตัง นัตถีติ
วัตตัพพัง, มา โข วิตถาสิ, มา โข มังกุ อะโหสิ, เอวันตัง ปุจฉิสสันติ, สันติ๊ เต, เอวะรูปา อาพาธา...? (ถามทีละคน)
กุฏฐัง, คัณโฑ, กิลาโส, โสโส, อะปะมาโร,
มะนุสโสสิ๊, ปุริโสสิ๊, ภุชิสโสสิ๊, อะนะโณสิ๊, นะสิ๊ ราชภะโฏ,
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ, ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง,
กินนาโมสิ, โกนามะ เต อุปัชฌาโย.
คำขอเรียกผู้บวชเข้ามา
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, อายัสมะโต มาเรยยัสสะ อุปะสัม ปะทาเปกขา อะนุสิฏฐา เต มะยา, ยะทิ สังฆัสสะ
ปัตตะกัลลัง, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, อาคัจเฉยยุง
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัญจะ ปุณโณ, อะยัญจะ สุโภ, อายัสมะโต มาเรยยัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา, ยะทิ สังฆัสสะ
ปัตตะกัลลัง, อะหัง ปุณณัจจะ, สุภัญญจะ, อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยัง.
สุณาสิ๊ ปุณณะ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล, ยัง ชาตัง ตัง ปุจฉามิ, สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง, อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง, สันติ เต,
เอวะรูปา อาพาธา...?
กุฏฐัง, คัณโฑ, กิลาโส, โสโส, อะปะมาโร,
มะนุสโสสิ๊, ปุริโสสิ๊, ภุชิสโสสิ๊, อะนะโณสิ๊, นะสิ๊ ราชภะโฏ,
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ, ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง,
กินนาโมสิ, โกนามะ เต อุปัชฌาโย.
(ถามเหมือนครั้งแรก)
กรรมวาจาอุปสมบท
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัญจะ ปุณโณ, อะยัญจะ สุโภ, อายัสมะโต มาเรย ยัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา, ปะริสุทธา
อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะ จีวะรัง, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ, อายัสมะตา
มาเรยเยนะ อุปัชฌาเยนะ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ปุณณัญจะ สุภัญจะ อุปะสัมปาเทยยะ, อายัสมะตา มาเรยเยนะ
อุปัชฌาเยนะ, เอสา ญัตติ.
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัญจะ ปุณโณ, อะยัญจะ สุโภ, อายัสมะโต มาเรยยัสสะ อุปะสัมปะทาเปกขา, ปริสุทธา
อันตะรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณะมิเมสัง ปัตตะ จีวะรัง, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจันติ, อายัสมะตา มาเรยเยนะ
อุปัชญาเยนะ, สังโฆ ปุณณัญจะ สุภัญจะ อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา มาเรยเยนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสมะโต
ขะมะติ, ปุณณัสสะ จะ, สุภัสสะ จะ อุปะสัมปะทา, อายัสมะตา มาเรยเยนะ อุปัชฌาเยนะ, โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ, โส
ภาเสยยะ
ทุติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ, สุณาตุ.....(เหมือนครั้งแรก)
ตะติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ.....เหมือนครั้งแรก)
อุปะสัมปันโน สังเฆนะ, ปุณโณ จะ, สุโภ จะ, อายัสมะตา มาเรยเยนะ อุปัชฌาเยนะ, ขะมะติ สังฆัสสะ, ตัสมา ตุณหี,
เอวะเมตัง ธาระยามิ ฯ
บุพพกิจสำหรับภิกษุใหม่
กิจเบื้องต้นที่พระบวชใหม่จะต้องกระทำคือการ พินทุ กับการ อธิษฐาน เครื่องบริขาร
โดยพระพี่เลี้ยงจะแนะนำให้ คือ
การทำ พินทุกัปปะ เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุว่า จะต้องทำเครื่องนุ่งห่ม ของใช้บางอย่างให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้
เป็นหน้าที่พระอุปัชฌาย์จะแนะนำ หรือมอบหมายให้พระรูปหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงแนะนำการทำพินธุกัปปะให้ การทำพินธุกัปปะต้องใช้ดินสอดำหรือสีดำ
ทำจุดให้เป็นวงกลมหรือเลขศูนย์เล็ก ๆ โดยใช้ดินสอลากลงไปที่มุมใดมุมหนึ่ง พอเป็นที่สังเกต พร้อมกับเปล่งคำว่า อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ
เมื่อทำการพินทุกัปปะแล้วต้องทำการอธิษฐานบริขารนั้นด้วย จึงจะใช้ได้ บริขารที่กำหนดให้อธิษฐาน เช่น ไตรจีวร บาตร ผ้าปูนั่ง เป็นต้น
ควรแยกอธิษฐานเป็นอย่าง ๆ ไป มีคำอธิษฐาน ดังนี้
ผ้าสังฆาฏิ อธิษฐานว่า อิมัง สังฆาฏิง อธิษฐานมิ
ผ้าอุตตราสงค์ (จีวร) อธิษฐานว่า อิมัง อุตตราสังตัง อธิษฐานมิ
ผ้าอันตรวาสก (สบง) อธิษฐานว่า อิมัง อันตะระวาสะกัง อธิษฐานมิ
บาตร อธิษฐานว่า อิมัง ปัตตัง อธิษฐานมิ
ผ้าปูนั่ง อธิษฐานว่า อิมัง นิสีทะนัง อธิษฐานมิ
ผ้าปูที่นอน อธิษฐานว่า อิมัง ปัจจะถะระณัง อธิษฐานมิ
ผ้าอาบน้ำฝน อธิษฐานว่า อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อธิษฐานมิ
เนื้อที่พระภิกษุฉันไม่ได้ มีสิบอย่าง ชาวบ้านไม่ควรถวาย คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อหมี
เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว และเนื้อเสือเหลือง
พระภิกษุใหม่จะต้องอยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ และเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ตาม
พระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้อง ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคติของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ให้สมกับที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
*****************
|
|
คำแปลวิธีขออุปสมบท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะพึงขออย่างนี้
อุปสัมปทาเปกขะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออุปสมบทอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง ...
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ...
ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้อุปสมบท
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้. ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ...
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ. ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พราหมณ์ขออุปสมบท
[๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประณีตไว้ที่ในพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้มีความดำริว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันโภชนะที่ดี นอนบนที่นอนที่เงียบสงัด ถ้ากระไร
เราพึงบวชในพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเถิด ดังนี้ แล้วได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายให้เขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว.
ครั้นเขาบวชแล้ว ประชาชนให้เลิกลำดับภัตตาหารเสีย. ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คุณจงมาเดี๋ยวนี้ พวกเราจักไปบิณฑบาตร.
เธอพูดอย่างนี้ว่า กระผมมิได้บวชเพราะเหตุนี้ว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ถ้าท่านทั้งหลายให้กระผม กระผมจักฉัน ถ้าไม่ให้กระผม กระผมจะสึก ขอรับ.
พวกภิกษุถามว่า อาวุโส ก็คุณบวชเพราะเหตุแห่งท้องหรือ?
เธอตอบว่า อย่างนั้นซิ ขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้
เพราะเหตุแห่งท้องเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ ภิกษุ ข่าวว่า เธอบวชเพราะเหตุแห่งท้อง?
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูกรโมฆบุรุษ
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท บอกนิสสัย ๔ ว่าดังนี้:-
นิสสัย ๔
๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลากภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท.
๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน. (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)
๓. บรรพชา อาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.
๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.
อุปัชฌายวัตรภาณวาร จบ
*****************************
การบอกนิสสัย
[๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา. พวกภิกษุได้บอกนิสสัยแก่เธอก่อนบวช. เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า
ถ้าเมื่อกระผมบวชแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายพึงบอกนิสสัยแก่กระผม กระผมก็จะยินดียิ่ง บัดนี้ กระผมจักไม่บวชละ เพราะนิสสัยเป็นสิ่งที่น่าเกลียด
เป็นปฏิกูลแก่กระผม. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบอกนิสสัยก่อนบวช รูปใดบอก ต้องอาบัติ *ทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พออุปสมบทแล้ว
เราอนุญาตให้บอกนิสสัย.
อุปสมบทด้วยคณะ
[๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวกสองบ้าง มีพวกสามบ้าง มีพวกสี่บ้าง.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมีพวกหย่อน ๑๐ รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก ๑๐ หรือมีพวกเกิน ๑๐.
พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก
[๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีพรรษาหนึ่งบ้าง มีพรรษาสองบ้าง อุปสมบทสัทธิวิหาริก. แม้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร มีพรรษาเดียว
อุปสมบทสัทธิวิหาริก. ท่านออกพรรษาแล้ว มีพรรษาสอง ได้พาสัทธิวิหาริกมีพรรษหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ
พวกเธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ?
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาก็มีความลำบากน้อย
พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
พระองค์ทรงกำจัดเสียด้วยข้อปฏิบัติ. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือจักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง
จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า เธอมีพรรษาได้เท่าไร ภิกษุ?
อุป. ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาได้สอง พระพุทธเจ้า.
ภ. ภิกษุรูปนี้เล่ามีพรรษาได้เท่าไร?
อุป. มีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ภิกษุรูปนี้เป็นอะไรกับเธอ?
อุป. เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ
เธอยังเป็นผู้อันผู้อื่น พึงโอวาทอนุศาสน์อยู่ ไฉนจึงสำคัญตนเพื่อโอวาทอนุศาสน์ผู้อื่นเล่า เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ซึ่งมีความพัวพันด้วยหมู่เร็วเกินนัก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบทรูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
พระอุปัชฌายะมีการศึกษาน้อยกว่าสัทธิวิหาริก
[๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่าเรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้อุปสมบท.
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา.
แม้ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อพระอุปัชฌายะว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะขึ้นโต้เถียงแก่พระอุปัชฌายะ
แล้วหลีกไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นตามเดิม.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว
ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลาไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้
แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลมให้อุปสมบท
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้
แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลมให้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก
ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใด
ให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ฉลาดผู้สามารถ มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
ทรงอนุญาตอาจารย์
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระอุปัชฌายะทั้งหลายหลีกไปเสียก็ดี สึกเสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่มีอาจารย์
ไม่มีใครตักเตือน ไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต. เมื่อประชาชนกำลังบริโภค
ย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง
ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาตเล่า
เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไป ข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง
ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยงพราหมณ์
ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย
จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร ...
จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์
อาจารย์จักตั้งจิตสนิทสนมในอันเตวาสิกฉันบุตร อันเตวาสิกจักตั้งจิตสนิทสนมในอาจารย์ฉันบิดา
เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และอันเตวาสิกนั้น ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา ๑๐ อยู่ อนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสสัย.
วิธีถือนิสสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึงถืออาจารย์อย่างนี้
อันเตวาสิกนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หน
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่,
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่
อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือรับว่าจงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย
รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว, ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา
ไม่เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว.
******************************
อาจริยวัตร
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์.
วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้
อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้
เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บผ้าอาสนะ
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย.
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวายประคตเอว พึงพับผ้าสังฆฏิให้เป็นชั้นถวาย
พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำด้วย
ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้น กลัดดุม ล้างบาตรแล้วถือไป
เป็นปัจฉาสมณะของ
อาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด
พึงรับผ้านุ่งมา.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร
แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้ว เดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวรมาวางไว้ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง
พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน.
ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม.
อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เตียงตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตูขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา
พึงเอาผ้าเช็ดน้ำบิดแล้ว เช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม
เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดดทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตร
บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ
พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน
เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มีพึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี
พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น
ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อาจารย์
อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น.
ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรมานัต อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอสงฆ์พึงอัพภานอาจารย์.
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องทำ
อันเตวาสิกพึงทำหรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม
หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์
เมื่อย้อมจีวรพึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้
ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย
ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป
ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป
นำบิณฑบาตมาให้ ไม่บอกลาอาจารย์ก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ
ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาล จนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
อาจริยวัตร จบ
******************************
อันเตวาสิกวัตร
[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก
วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้:-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์อันเตวาสิก ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสน์.
ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงให้บาตรแก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บาตรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก
ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงให้จีวรแก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก
ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงให้บริขารแก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บริขารพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก.
ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์ลุกแต่เช้าตรู่ แล้วพึงให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออันเตวาสิกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำรับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้
เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นให้
พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำด้วย พึงปูผ้าอาสนะที่นั่งฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่า เพียงเวลาเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า พึงเตรียมตั้งไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว
ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับ
ตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำบิณฑบาตเข้าไปให้ พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้ว พึงให้น้ำ รับบาตรมา
ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร
แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อเก็บจีวร เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้.
ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พึงให้จุณ ให้ดิน
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ
อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน
แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน.
อันเตวาสิกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เตียงตั่งอาจารย์พึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตูขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขียงรองเตียง
กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน พื้นเขาทาสีดำขึ้นรา
พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัดเสีย ขนกลับปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ด เสีย ขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดด ขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี
อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด ทำให้สะอาด ตบเสีย
แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิมกระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร
แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก
ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ
พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน
เปิดกลางคืน.
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำไว้ในหม้อชำระ.
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น
ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น
ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อันเตวาสิกนั้น.
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อาจารย์พึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรอัพภาน
อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก.
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออันเตวาสิกนั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงซักอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องทำ อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ใครๆ พึงทำจีวรของอันเตวาสิก ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ
พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก
เมื่อย้อมจีวรพึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
อันเตวาสิกวัตร จบ
******************************
ว่าด้วยการประณาม
[๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกจะไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พวกอันเตวาสิกยังไม่ประพฤติชอบตามเดิม. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ประณามอันเตวาสิกผู้ไม่ประพฤติชอบ.
วิธีประณาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกอย่างนี้ว่า ฉันประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย
หรือพึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปฐากฉัน ดังนี้ ก็ได้ อาจารย์ย่อมยังอันเตวาสิกให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้
อันเตวาสิกชื่อว่าเป็นอันถูกประณามแล้ว ถ้ามิให้รู้ด้วยกาย มิให้รู้ด้วยวาจา มิให้รู้ด้วยทั้งกายและวาจา อันเตวาสิกไม่ชื่อว่าถูกประณาม.
สมัยต่อมา พวกอันเตวาสิกถูกประณามแล้ว ไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อันเตวาสิกขอให้อาจารย์อดโทษ. พวกอันเตวาสิกไม่ยอมขอให้อาจารย์อดโทษอย่างเดิม.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอันเตวาสิกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อาจารย์อดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายอันเหล่าอันเตวาสิกขอให้อดโทษอยู่ ก็ไม่ยอมอดโทษ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาจารย์อดโทษ.
อาจารย์ทั้งหลายยังไม่ยอมอดโทษอย่างเดิม. พวกอันเตวาสิกหลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียบ้าง.
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์อันพวกอันเตวาสิกขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้
รูปใดไม่ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายประณามอันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบ ไม่ประณามอันเตวาสิก ผู้ประพฤติมิชอบ. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบ อาจารย์ไม่พึงประณาม รูปใดประณาม ต้องอาบัติทุกกฏ. แต่อันเตวาสิกผู้ประพฤติมิชอบ อาจารย์จะไม่ประณามไม่ได้
รูปใดไม่ประณาม
ต้องอาบัติทุกกฏ.
องค์แห่งการประณาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิก ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณาม คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรประณาม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรประณาม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ
เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มี
โทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อประณามมีโทษ เมื่อไม่
ประณาม ไม่มีโทษ คือ
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ
เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.
การให้นิสสัย
[๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้นิสสัย
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้มีปัญญาทราม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้
แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้นิสสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้เฉียบแหลม
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้มีปัญญาทรามพวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้
แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้นิสสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา ... พวกอันเตวาสิก เป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้นิสสัย รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้นิสสัย.
นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์
[๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์หลีกไปเสียก็ดี สึกเสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์ก็ดี
ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่านิสสัยระงับ. พวกเธอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕
อย่าง ดังนี้ คือ
๑. อุปัชฌายะหลีกไป
๒. สึกเสีย
๓. ถึงมรณภาพ
๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์ และ
๕. สั่งบังคับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่างนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่าง ดังนี้ คือ
๑. อาจารย์หลีกไป
๒. สึกเสีย
๓. ถึงมรณภาพ
๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์
๕. สั่งบังคับ และ
๖. ไปร่วมเข้ากับอุปัชฌายะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่างนี้แล.
การให้นิสสัย จบ.
***************************************
|
|
|